[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 กันยายน 2567 07:25:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "งานช่าง-คำช่างโบราณ" หมวดพยัญชนะ ก - ฮ  (อ่าน 59213 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 21:01:58 »

.





- "งานช่าง - คำช่างโบราณ" เป็นผลงานของศาสตราจารย์ ดร.สันติ  เล็กสุขุม  
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ซึ่งอธิบายความหมายศัพท์ของงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และการช่างประณีตศิลป์ไทย  
นอกจากนี้ยังแสดงความคิดเห็นและข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับงานศิลปกรรม ที่ท่านได้จาก
การศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบกับศิลปวัฒนธรรมในสายวัฒนธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างละเอียด  

- ศาสตราจารย์ ดร.สันติ  เล็กสุขุม  ท่านได้กรุณามอบต้นฉบับหนังสือวิชาการชุดนี้ให้กรมศิลปากร
เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมและอนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่ อำนวยประโยชน์กับนักเรียน นักศึกษา
และผู้ที่ต้องการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับงานศิลปะการช่างไทยอันเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนในอดีต

 

"งานช่าง-คำช่างโบราณ"

หมวดพยัญชนะ


กรอบเช็ดหน้า, วงกบ
กรอบเช็ดหน้า คือวงกบของประตูหรือหน้าต่าง เช่นที่ปราสาทแบบเขมร  สลักจากหินทราย  หน้ากรอบตกแต่งแนวเป็นคิ้วเล็ก ๆ เรียงขนานกัน  คือตัวอย่างความงามที่ช่างเขมรโบราณให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่นของงานประดับ

ความเป็นมาของศัพท์ “กรอบเช็ดหน้า”  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเข้าใจว่าเกิดจากที่มีการผูกผ้าขาวเท่าผืนผ้าเช็ดหน้าไว้ที่กรอบวงกบประตู  เพื่อเป็นที่หมายหรือเพื่อเป็นการทำขวัญเมื่อยกขึ้นตั้ง

อนึ่ง การประกอบท่อนไม้สี่ท่อน  แต่ละท่อนบากปลายให้เป็นรูปลิ่มคล้ายปากของกบ ประกบกันเป็นกรอบสี่เหลี่ยม คือที่มาของชี่อ “วงกบ”



กรอบเช็ดหน้าของประตูทางเข้าบริเวณศาสนสถาน ปราสาทเมืองต่ำ บุรีรัมย์ ศิลปะแบบเขมร ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๖
คิ้วเล็ก ๆ ยาวขนานกันไปตามความยาวของหน้ากรอบ คืองานประดับที่เพิ่มความงาม
และดูเหมือนว่าช่วยให้เกิดบรรยากาศเมื่อผ่านเข้าสู่บริเวณอันศักดิ์สิทธ์ของศาสนสถาน
นอกจากนี้หน้าที่สำคัญยิ่งของกรอบเช็ดหน้าคือ รองรับน้ำหนักกดของทับหลัง


กรอบหน้าบรรพ  กรอบหน้าบัน
คือ “ปั้นลม” หรือ “ป้านลม” อันเป็นกรอบเรียบง่ายปิดประกบไขราที่ต่อเนื่องออกมาจากจั่ว  กรอบหน้าบรรพที่เป็นส่วนประดับก็มี เช่น หน้าบรรพซุ้มประตู  หน้าต่าง ของอุโบสถ วิหาร พระที่นั่ง ปราสาทราชวัง  กรอบหน้าบรรพ ผ่านการพัฒนาการมายาวนาน  จนมีลักษณะงดงามเป็นเอกลักษณ์ของอาคารฐานันดรสูงของไทย  งานประดับกรอบหน้าบรรพ มีต้นเค้าจากรูปพญานาคสองตัว  เลื้อยแยกเฉียงลงมาที่ตอนล่างของกรอบ  หลักฐานมีอยู่ที่หน้าบรรพปราสาทเขมร  สำหรับกรอบหน้าบรรพในศิลปะไทย  สลักเป็นส่วนต่าง ๆ ของพญานาคที่ผ่านการคลี่คลายมาเป็นลักษณะประดิษฐ์  ภายหลังมีชื่อเรียกเลียนลักษณะ เช่น ช่อฟ้า นาคลำยอง (นาคสะดุ้ง) ใบระกา นาคเบือน หางหงส์


อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง  ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  
สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒)  
บูรณะปรับปรุงครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

กรอบหน้าบรรพในศิลปะไทย คือพัฒนาการโดยธรรมชาติของงานช่างไทย ซึ่งมีแนวทางเฉพาะที่เด่นชัดยิ่ง  กล่าวคือ เดิมมีต้นแบบจากกรอบหน้าบรรพแบบศิลปะเขมรซึ่งได้แรงบันดาลใจจากรูปพญานาค  เมื่อผ่านเข้าสู่ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา  เค้าของลักษณะใหม่ที่คลี่คลายจากต้นแบบคงมีเป็นลำดับมา  และเข้าใจว่าเมื่อถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา กรอบหน้าบรรพจึงมีลักษณะเด่นชัด ตกทอดมาในศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์  ดังที่ได้ชมความงดงามกันอยู่ในปัจจุบัน


กระจัง
รูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์  ภายในแบ่งออก ๓ ส่วน  สองส่วนล่างมีกระหนกหันหลังชนกันรองรับส่วนบน คือส่วนที่สาม  ใช้ประดับเรียงแถวตามขอบของแท่นฐาน  กระจังขนาดเล็กสุดมีรายละเอียดน้อยหรือไม่มีรายละเอียดเลยก็ตาม ดูคล้ายตาอ้อย  อันเป็นที่มาของชื่อ “กระจังตาอ้อย” ขนาดใหญ่กว่าจึงเรียกว่า “กระจังเจิม” และเพราะขนาดใหญ่ที่สุด  รายละเอียดมากที่สุด จึงได้ชื่อว่า “กระจังปฏิญาณ”  กระจังเจิมกับกระจังปฏิญาณ  มักประดับเรียงสลับสับหว่างกัน  โดยที่กระจังปฏิญาณอยู่กลาง  เป็นประธานในแถว  กระจังที่ประดับสุดด้านทางซ้ายและขวาเรียกว่า “กระจังมุม”  กรณีที่ประดิษฐ์ให้กระจังแต่ละตัวในแถวเอนลู่ไปทางเดียวกัน เรียกว่า “กระจังรวน”  การประดับกระจังเป็นแถวมีระเบียบของจังหวะช่องไฟ  ครูช่างบางท่านอธิบายง่า กระจังมาจาก “กะจังหวะช่องไฟ” แต่มีที่อธิบายแปลกไปว่า  กระจังอาจมีที่มาจากคำเขมร  ที่หมายถึงเผชิญหน้า  เข้าเค้ากับการประดับเรียงแถวอวดด้านหน้าของกระจังซึ่งประดับตามแนวขอบของแท่นฐาน


กระจัง ไม้ลงรัก ปิดทอง ประดับบุษบกธรรมาสน์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนารายณ์ ลพบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (มีตัวอักษรจารึก พ.ศ.๒๒๒๕
ที่กระดานรองนั่ง ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)


๑.กระจังปฏิญาณ พ้องกับขนาดใหญ่เด่นชัดเป็นประธานในแถว
๒.กระจังเจิม ใหญ่ย่อมลงมา
๓.กระจังมุม ประดับมุม
๔.กระจังตาอ้อย ขนาดเล็กสุด

งานประดับแถวกระจังบนขอบฐาน  คำนึงถึงจังหวะช่องไฟ  และความสูงต่ำ  เพื่อทำหน้าที่สำคัญโดยเชื่อมโยงฐานกับส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาคือพนักของอาสนะ  ให้กลมกลืนเป็นเอกภาพ  อนึ่ง งานประดับแถวกระจังให้ห่างออกจากพนักอาสนะช่วยให้เกิดมิติ  เพิ่มความงามให้แก่งานประดับชนิดนี้ด้วย


กระหนก
ลวดลายพื้นฐานอันสำคัญยิ่งของงานประดับอย่างไทยโบราณ ลักษณะคล้ายเลขหนึ่งไทยต่อจุกแหลม คือภาพรวมทางพัฒนาการหลังรับแบบอย่างจากศิลปะอินเดียเมื่อพันกว่าปี  มาจนถึงปัจจุบันมีเรียกชื่อว่ากระหนก  แบบที่มีทรงเรียวเพรียว  ยอดสะบัด  มีชื่อขยายลักษณะว่า “กระหนกเปลว”  เพราะปลายสะบัดคล้ายเปลวไฟ คำขยายตามลักษณะกระหนกยังมีอีกมาก เช่น กระหนกหางหงส์  กระหนกผักกูด  


ลวดลายปูนปั้น ประดับฐานซากโบราณสถาน "เขาคลังใน"
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์ ศิลปะทวารวดี
พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔


กระหนก ปูนปั้น ประดับหน้าบรรพหน้าต่าง
ด้านเหนือของวิหารวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เข้าใจว่าปั้นในสมัยการซ่อม
ช่วงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๗๕)

ที่มาของคำว่ากระหนก  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  มีลายพระหัตถ์แปลว่า “ทอง”  เกิดจากเรียกลวดลายทองที่ช่างโบราณเขียนประดับตู้พระธรรม  คือ ตู้ลายทอง  ภายหลังจึงกลายเป็นชื่อเรียกลักษณะหยักปลายสะบัดของลายทองนั้น คือ ลายกระหนก

ต้นแบบของกระหนก หรือลายกระหนกที่ปัจจุบันเรียกกัน  มีอยู่ในศิลปะทวารวดีซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ  จึงอนุโลมเรียกกันว่า กระหนกแบบทวารวดี  โดยมีส่วนเป็นแรงบันดาลใจให้สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงย้อนกลับไปนำเอารูปแบบมาปรุงเป็นลายที่เรียกกันว่า “กระหนกผักกูด”  เพราะลักษณะที่ขดม้วนของลายดูคล้ายใบของต้นผักกูด  แต่ปัจจุบันมีที่เข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า  ใบผักกูดคือต้นแบบที่ช่างใช้ออกแบบให้เป็นลายกระหนกผักกูด

หลักฐานสำคัญที่ช่วยให้เราทราบขั้นตอนการปั้นปูนประดับ ว่ามีการร่างด้วยเส้นสีดำก่อนการปั้น  ลักษณะบางพลิ้วของกระหนก ซึ่งปั้นแปะรายละเอียดไว้ภายใน  ช่อกระหนกแยกกิ่งต่อก้าน  ก่อนที่จะเป็นระเบียบแบบแผนรัดกุมยิ่งขึ้น  อันเป็นลักษณะต่อมาของศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์




กระทง ปูนปั้น ด้านนอกของผนักสกัดหลัง วิหารวัดไลย์ ลพบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


กระทง สลักไม้ บุษบกธรรมาสน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒

กระทง
ศัพท์นี้ มักทำให้นึกถึงกระทงใบตองประดิษฐ์ในงานเครื่องสด  แต่ศัพท์ช่างหมายถึงงานที่ปั้นด้วยปูนหรือสลักจากไม้ก็ตาม เพื่อประดับตอนล่างของผนังหรือแผงใด ๆ

งานประดับกระทงคงเป็นแนวทางให้มีการดัดแปลงมาประดับชุดกระจัง  ซึ่งจะได้รับความนิยมแทนที่กระทงในที่สุด  งานปูนปั้นประดับตอนล่างของแผงรูปเล่าเรื่องชาดก  รองรับแนวล่างของแผง  เท่ากับเน้นความสำคัญของแผงให้เด่นชัดเป็นสัดส่วน  อนึ่ง ลักษณะของกรอบกระทงและรายละเอียดตกแต่งภายในกรอบ  สะท้อนถึงการปรับปรุงจากงานประดับในศิลปะสมัยล้านนา


กระเบื้องเชิงชาย กระเบื้องหน้าอุด
ด้านหน้าเป็นแผ่นสามเหลี่ยม มีเดือยออกทางด้านหลังเพื่อเสียบเข้าไปในลอนกระเบื้องมุง กระเบื้องเชิงชายทำด้วยดินเผาหรือดินเผาเคลือบ การที่ใช้ประดับเรียงราย โดยอุดชายคาของกระเบื้องลอน นอกจากเพื่อให้เกิดความงามของแนวชายคาแล้ว  ยังอุดเพื่อกันฝนสาดเข้าไปตามช่องของลอนกระเบื้องมุง  และกันหนูหรืองูเข้าไปภายในอาคาร โดยผ่านทางช่องของลอนกระเบื้อง


กระเบื้องเชิงชายเรียกอีกอย่างว่ากระเบื้องหน้าอุด
ประกับชายคาเพื่ออุดช่องโค้งซึ่งเป็นหน้าตัดของกระเบื้องลอน
ที่มุงเป็นหลังคาพระระเบียงคด วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ  ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑–๒๔๕๓)

แถวแผ่นสามเหลี่ยมซึ่งปลายแหลมเอนงอนเล็กน้อย ช่วยให้แนวตัดของชายคาที่ซ้อนลดหลั่นเกิดจังหวะความงามเรียงไล่ระดับตามแนวของชั้นชายคา


กลีบขนุน
ชื่อเรียกส่วนประดับบนมุมชั้นซ้อนเป็นส่วนบนของ “เจดีย์ทรงปรางค์” รูปร่างของกลีบขนุน คงดูคล้ายหนึ่งในสี่ส่วนของลูกขนุนผ่าตามตั้ง จึงเข้าใจว่าคือที่มาของชื่อที่เรียกตามลักษณะว่ากลีบขนุน ต้นแบบของงานประดับนี้ คือ บรรพแถลง  (รูปจั่วอันเป็นด้านหน้าของอาคาร) ของปราสาทแบบเขมร  อันเป็นต้นแบบของเจดีย์ทรงปรางค์


ปรางค์วัดส้ม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐

กลีบขนุน ทั้งประดับมุมของชั้นซ้อน และประดับบนตอนกลางของด้านของปรางค์องค์นี้  เหลืออยู่ไม่ครบตามตำแหน่ง  และอยู่ในสภาพชำรุด  แต่สำคัญที่เป็นเบาะแสของงานช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คืองานประดับปูนปั้นเป็นลวดลายเล็ก ๆ ที่กลีบขนุน  ลายเล็ก ๆ นี้ก็คลี่คลายจากต้นเค้าที่ปราสาทแบบเขมรด้วยเช่นกัน  ครั้นผ่านมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ลงมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  จึงกลายเป็นกลีบขนุนเรียบเกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับอีกต่อไป  (เช่นปรางค์ทั้งแปดองค์ ที่เรียกว่า อัษฎามหาเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ)


กาบ
งานประดับที่เรียกชื่อตามลักษณะของกาบที่หุ้มลำต้นหรือกิ่งก้านของต้นไม้  เช่น กาบต้นไผ่  กาบต้นกล้วย  ช่างประดับกาบ โดยหุ้มสันตอนบนและตอนล่างของเรือนธาตุ  หุ้นสันของตอนบนเรียกว่า “กาบบน” ตอนล่าง เรียกว่า “กาบล่าง” และงานประดับเข้าชุดกัน หุ้มสันระหว่างบนกับล่าง เรียกว่า “รัดอก” หรือ “ประจำยามอก”  งานประดับเช่นนี้มีแบบอย่างมาก่อนในศิลปะสมัยล้านนา  กาบมีแบบต่าง ๆ กันตามความนิยมของยุคสมัย  กล่าวคือ กาบไผ่  คลี่คลายลักษณะจากกาบไผ่  โดยขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น  สะบัดที่ปลายยอด  พื้นที่ภายในกาบประดับลวดลายเป็นขอบเป็นแนว  ใช้ประดับเฉพาะที่ส่วนล่าง เช่น โคนเสาประตูอุโบสถ  วิหาร  ชื่อของกาบฟังไพเราะมียศศักดิ์อยู่ในที  สอดคล้องกับลักษณะงานในเชิงออกแบบ  โดยมิได้มีความหมายตามชื่อ


กาบ ปูนปั้น ประกอบด้วย “กาบบน”  “รัดอก” “กาบล่าง” ประดับจากบนลงล่างโดยลำดับ  
ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ศิลปะสมัยล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑]

งานปูนปั้นประดับเช่นนี้ ช่วยลดพื้นที่ว่างเปล่า ความนูน – ความลึก  ของลวดลายช่วยให้เกิดระดับพื้นผิวที่แตกต่าง  ลวดลายละเอียด  ภายในประกอบกันอย่างเป็นระบบระเบียบจึงจับตาจับใจ ชวนให้มองไม่รู้เบื่อ


กาบบน ประจำยามอก (รัดอก) กาบล่าง ของเสาหน้าต่างซุ้มบรรพแถลง
พระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหาปราสาท ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑)


ช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายปรับปรุงแบบงานประดับในศิลปะสมัยล้านนาที่เพิ่งกล่าวผ่านมา โดยที่เสาหน้าต่างขนาดเล็กของซุ้มบรรพแถลง พื้นที่ประดับมีอยู่น้อย เหมาะกับลักษณะเรียบง่ายของงานประดับ กาบบน ประจำยามอก และ กาบล่าง  อนึ่ง ขนาดที่เล็ก เรียบง่ายของ กาบบน และกาบล่าง เทียบกับลักษณะของกาบไผ่ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก "กาบไผ่"


กาบพรหมศร ปูนปั้น ลงรักปิดทองประดับชิ้นกระจกสี พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒) บูรณะปรับปรุงครั้งสำคัญ
ในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)

กาบพรหมศรผ่านการปรุงแต่งลักษณะจาก "กาบไผ่" ซึ่งเรียบง่ายมีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ความละเอียดประณีตของงานประดับภายในจึงมีได้มาก ส่วนประดับสำคัญนี้เชื่อมโยงส่วนฐานกับโคนผนังของตัวอาคาร งานประดับนี้ย่อมเกิดจากข้อคำนึงถึงความประสานกลมกลืนของส่วนแตกต่างที่ติดต่อเนื่องกัน ได้พบเป็นปรกติในงานช่างโบราณของไทย  อนึ่ง ได้กล่าวไว้บ้างแล้วเกี่ยวกับชื่อเรียก กาบพรหมศร ซึ่งไพเราะเพราะเป็นคำของกวี แต่มิได้มีความหมายเจาะจงแต่อย่างใด

กำมะลอ
กำมะลอ ในทางช่างหมายถึง ภาพหรือลวดลาย ระบายด้วยสีฝุ่นผสมยางรักซึ่งกรองจนใส  วาดระบายลงบนผิวเรียบของแผ่นไม้ที่เตรียมพื้นให้เรียบสนิทด้วยยางรักข้น  ซึ่งมีส่วนผสมเถ้าของใบตองซึ่งละเอียดเป็นผง (เมื่อผสมแล้วเรียกว่ารักสมุก)  เส้นสีทองอันแวววาวอันเกิดจากฝีมือช่าง  เป็นลักษณะเด่นของงานช่างประเภทนี้


กำมะลอ ยางรักผสมสีฝุ่นสีแดง หีบพระธรรม
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ 
(พิจารณาจากกระหนกหางกินนร กินรี เทียบเคียงได้กับกระหนก
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เช่น กระหนกที่เป็นงานปูนปั้น จากหน้าบรรพ
หน้าต่างวิหารวัดมเหยงค์ พระนครศรีอยุธยา ฝีมือบูรณะในรัชกาล
สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ และจากตู้ลายรดน้ำฝีมือครูจากวัดเซิงหวาย)

โดยกรรมวิธีแล้ว กำมะลอคงมีต้นทางจากจีน  บรรยากาศของภาพกำมะลอประดับหีบพระธรรมใบนี้ออกทางจีน  โดยเฉพาะลักษณะของต้นไม้ ดอก ใบ และโขดหินเนินผาที่ประกอบฉาก พื้นสีแดงของภาพที่สดจัดกว่าปรกติ เกิดจากเคียงคู่ด้วยสีทอง ในขณะเดียวกันสีทองก็สดเข้มขึ้นเพราะพื้นสีแดง


กินนร  กินรี
กินนร  กินรี ท่อนบนเป็นมนุษย์ท่อนล่างเป็นนก  เพศผู้เรียกว่า  กินนร  เพศเมียเรียกว่า กินรี  อาศัยอยู่ตามถ้ำในป่าหิมพานต์  เรื่องของกินนร  กินรี  ผัวเมีย มีอยู่ในชาดกเรื่องที่ ๔๘๕  เล่าเรื่องอดีตพระชาติหนึ่งของพระพุทธองค์ ว่าเสวยพระชาติเป็นพญาจันทรกินนร  พระนางพิมพายโสธรา เสวยพระชาติเป็นพระจันทกินรี อาศัยอยู่บนยอดเขาหิมพานต์ยอดหนึ่ง มีนามว่า “จันทรบรรพต”  อนึ่ง กินนร  กินรี  แต่มีท่อนล่างเป็นเนื้อทราย  (ละมั่ง) เรียกว่า“กินนร กินรีเนื้อ”


กินนร กินรี สีฝุ่นบนกระดาษ สมุดภาพจากวัดหัวกระบือ (เขตบางขุนเทียน) กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีตัวหนังสือที่เขียนระบุ พ.ศ.๒๒๘๖ (ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ๒๔ ปี)

บรรยากาศเบาบางของภาพเกิดจากสีที่ช่างเขียนเลือกใช้  มีมิติใกล้-ไกลเกิดจากสีเข้มของโขดหินกับสีแดงสดที่มุมขวาล่างของภาพ ทีท่าเคลื่อนไหวของกินนร กินรี ท่ามกลางต้นไม้มีดอกสะพรั่งด้วยสีชมพูอมส้ม งานตัดเส้นที่ใบหน้า กิริยาอาการเชิงนาฏลักษณ์ และกระหนกหางกินนร กินรี ล้วนเป็นข้อมูลสำคัญสอดคล้องกับปี พ.ศ.๒๒๘๖ ที่เขียนระบุไว้ในสมุดภาพนี้


เกณฑ์สมมาตร
เกณฑ์สมมาตร  เป็นชื่อที่นักวิชาการและช่างปัจจุบันใช้  หมายถึง พื้นที่ สัดส่วน รูปทรง ลักษณะ หรือแม้สีสัน  ที่มีตำแหน่งควบคู่อยู่ในซีกตรงข้ามกัน


แผนผังวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง พ.ศ.๒๐๓๔

แม้วัดนี้หลงเหลือหลักฐานว่ามีงานสร้างเสริมเพิ่มเติมในระยะต่อมา แต่เจตนาในการรักษาเกณฑ์สมมาตรยังเด่นชัด  เกณฑ์สมมาตรเป็นคำใหม่  อนุโลมใช้เรียกในที่นี้  โดยหมายถึงงานช่างที่ออกแบบรูปทรง และจัดการพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกของปราสาทราชมนเทียร วัด อุโบสถ หรือวิหาร ก็ตาม เพื่อให้เกิดระเบียบที่สอดคล้องกับฐานานุศักดิ์ โดยมีบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ สง่างาม ดังกล่าวนี้มักมีเกณฑ์สมมาตรเป็นสำคัญ


เกี้ยว
เกี้ยวหมายความได้หลายทาง  สำหรับทางช่างหมายถึง เครื่องประดับศีรษะ  ทำนองพวงมาลัยหรือผ้าโพกศีรษะ  ภายหลังประดิษฐ์ให้งดงามทำด้วยโลหะมีค่า  เกี้ยวถูกยืมไปใช้ในความหมายของส่วนประดับตอนบนของสิ่งก่อสร้างบางอย่าง เช่น “ประตูเกี้ยว” หมายถึง ประตูประดับตอนบนด้วยแผงไม้เป็นครีบโดยฉลุลวดลายเพิ่มเติมความงดงาม


จิตรกรรมฝาผนังตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ครึ่งแรกหรือกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓

ประตูมีเสาและคานคือรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง เมื่อประดับแผงไม้ ตอนบนมีแนวเป็นละลอกคล้ายคลื่น แผงประดับที่เรียกว่าเกี้ยวนี้ เปลี่ยนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าของประตูให้งามแปลกตาให้รู้สึกถึงความเป็นประตูได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


หมวดพยัญชนะ
ขัดสมาธิเพชร
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิของพระพุทธรูป พระเพลา (ขา) ขัดกัน พระบาท (ฝ่าเท้า) ทั้งสองข้างหงาย ได้พบที่พระพุทธรูปบางรุ่นของศิลปะสมัยล้านนา อนึ่ง ชื่อศิลปะสมัยล้านนา หรือศิลปะล้านนา นิยมเรียกกันมาก่อนว่า “ศิลปะเชียงแสน” และเรียกแบบอย่างของพระพุทธรูปว่า “พระพุทธรูปเชียงแสน”


พระพุทธรูป (พระอิริยาบถ) ขัดสมาธิเพชร  
พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย สำริด  ลงรัก  ปิดทอง  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ศิลปะสมัยล้านนา (ศิลปะเชียงแสน)  
พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑

ขัดสมาธิเพชรเป็นอิริยาบถของพระพุทธรูปที่มีอยู่ในสมัยราชธานีเมืองพุกาม ประเทศพม่า (พุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๘)  ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๘)  พระพุทธรูปรุ่นแรก (มีที่เรียกว่าพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง)  ในศิลปะสมัยล้านนาได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะสมัยเมืองพุกาม  จึงเข้าใจว่า พระอิริยาบถของพระพุทธรูปในศิลปะสมัยล้านนา  ขัดสมาธิเพชรมีมาก่อนขัดสมาธิราบ (พระเพลาขวาทับพระเพลาซ้าย)  แต่ภายหลังความเข้าใจเปลี่ยนไปด้วยเหตุผลที่ว่าพระอิริยาบถขัดสมาธิทั้งสองแบบได้พบควบคู่กันในดินแดนแถบอินโดจีนและเอเชียใต้มาก่อน สำหรับพระพุทธรูปรุ่นหลังของศิลปะสมัยล้านนา (มีที่เรียกว่า พระพุทธรูแบบสิงห์ทอง) ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปในศิลปะสมัยสุโขทัย และพระพุทธรูปในศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตามลำดับ


ขัดสมาธิราบ
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิของพระพุทธรูปส่วนใหญ่ในศิลปะไทย พระเพลา (ขา) ขวาทับพระเพลาซ้าย


พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ สำริด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ *

พระพุทธรูปสมัยศิลปะสุโขทัยส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดที่สำรวจพบ ซึ่งอยู่ในพระอิริยาบถขัดสมาธิราบ โน้มนำให้รู้สึกผ่อนคลายไปกับเส้นรูปนอกเลื่อนไหล สัมพันธ์กับปริมาตรเชิงประติมากรรม  อนึ่ง พระอิริยาบถขัดสมาธิราบนิยมต่อเนื่องยาวนานมาก่อนในศิลปะลังกาทั้งสมัยเมืองอนุราธปุระ (พุทธศตวรรษที่ ๔–๑๖)  และต่อมาในสมัยเมืองโปลนนารุวะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗–๑๘) ด้วย

*พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่องค์นี้ หล่อสำริด มีจารึกที่ฐาน (“จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง” จารึกสมัยสุโขทัย) ลักษณะอักษรช่วยให้ประมาณกำหนดอายุได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐  อนึ่ง พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่นิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย จนล่วงมาในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็ยังมีหลักฐานว่านิยมสร้างกัน


เขาพระสุเมรุ
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นแกนจักรวาลในอุดมคติโบราณ


จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวหนังสือปรากฏอยู่กับจิตรกรรม ระบุ พ.ศ.๒๒๘๘  
ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ

ภาพเขาพระสุเมรุปรากฏร่วมกับเขาสัตตบริภัณฑ์เสมอ  จึงเป็นอันสมบูรณ์ตามสาระสำคัญว่าด้วยเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางจักรวาล  โดยที่เขาสัตตบริภัณฑ์คือเจ็ดเขาวงแหวน  โอบล้อมเขาพระสุเมรุเป็นลำดับตั้งแต่วงในสุดสูงใหญ่รองจากเขาพระสุเมรุ  ไล่เรียงลดความสูงใหญ่ลงเป็นลำดับจนถึงวงนอกสุด  นายช่างเขียนภาพเขาพระสุเมรุกับเขาบริวารให้เป็นแท่งตั้ง  จึงเห็นภาพเขาพระสุเมรุสูงเด่นเป็นประธานอยู่กลาง


เขาพระสุเมรุ ตู้ลายทอง (ตู้ลายรดน้ำ, ตู้พระธรรม)  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓

แนวความคิดเดียวกับจิตรกรรมจากวัดเกาะแก้วสุทธารามที่เพิ่งผ่านมา แต่เพิ่มเติมความน่าสนใจที่ส่วนล่างของภาพด้วย คือเรื่องราวของป่าหิมพานต์และประชากร  เช่น มีภาพสระอโนดาต  ซึ่งหนังสือโบราณเล่าว่าแวดล้อมด้วยภูเขาหิมพานต์ ๕ เขาที่ยอดโน้มลงมาปกคลุมสระนี้ไว้ น้ำในสระอโนดาตไม่เคยเหือดแห้งแม้ไหลออกไปโดยปากช่องทั้งสี่ คือ ปากราชสีห์ ปากช้าง ปากม้า ปากโค เท่าใดๆ ก็ดี


เขาพระสุเมรุ ประติมากรรม สำริด ปิดทอง  
ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน สันนิษฐานว่าเป็นงานรุ่นหลัง  
คงหล่อขึ้นราวปลายศตวรรษที่ผ่านมา

เขาพระสุเมรุ  มีปราสาทสีทองเป็นประธานอยู่เหนือวงแหวนเจ็ดวง (คือเขาสัตตบริภัณฑ์) รูปแบบการนำเสนอเช่นนี้นับว่าแปลกเป็นพิเศษ อนึ่ง วงแหวนทั้งเจ็ดมีรูปนูนต่ำเป็นโขดเขา ป่าไม้ ซึ่งมีรูปแบบเอื้อต่อการคะเนอายุการสร้างที่กล่าวข้างต้น


เขามอ
ใช้เรียกโขดหินที่ก่อจำลองในสวน หรือที่วาดเป็นภาพทิวทัศน์ของจิตรกรรมไทยโบราณ ลักษณะคล้ายโขดหินตามธรรมชาติ


จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม ธนบุรี  
ประวัติวัดระบุการสร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๕๒)  
ผ่านการบูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

ฉากในเรื่องเวสสันดรชาดก สีสดเข้มขับสีทองให้สุกใส อาศรมอย่างจีนของพระเวสสันดร ต้นไม้ พุ่มใบ และโขดเขาแบบเขามอ พื้นดินระบายด้วยสีมืด รวมทั้งสีฟ้ามืดของท้องฟ้า ล้วนกำหนดได้ว่าเป็นงานช่างสมัยบูรณะ ภาพพระอินทร์ในท่าเหาะอยู่ภายในกรอบ คือการเน้นให้เห็นเด่นชัด ขณะเดียวกันก็หมายถึงการเนรมิตปิดบังกายด้วย


เขาไม้
ภาพโขดหินเป็นแท่งคดโค้ง เลื่อนไหล มีแง่มุมปุ่มปมยักเยื้องคล้ายลำต้นไม้ บ้างก็มีโพรงเล็กโพรงน้อยทำนองตอไม้ใหญ่ ช่างปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาปรับปรุงเขาไม้จากภาพเขียนจีนที่ประกอบอยู่ในฉากทิวทัศน์ ภาพเขาไม้ในจิตรกรรมไทยโบราณได้รับความนิยมสืบเนื่องลักษณะมาในจิตรกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ระยะแรกด้วย


จิตรกรรมฝาผนังตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์  
วัดพุทไธสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓

ฉากการไปนมัสการพระพุทธบาท ณ สถานที่ต่างๆ เช่น ที่พระพุทธบาทที่ประดิษฐานบนสัจจพันธคีรี  อันเป็นการเดินทางรอนแรมด้วยศรัทธา ลักษณะเฉพาะที่บ่งว่าเป็นภาพเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยาได้แก่ ภาพน้ำแบบอุดมคติ โขดเขาไม้ และประชากรน้ำประเภทต่างๆ ดูน่ากลัว เช่น จระเข้ ปลายักษ์ ผู้หญิงคงเป็นนางเงือก แมงกะพรุน รวมทั้งที่เด่นชัดประกอบอยู่ใน ฉากอีกอย่างหนึ่ง คือภาพเขาไม้


หมวดพยัญชนะ
ครุฑ
ครุฑ : เรื่องราวของครุฑแยกเป็นครุฑพาหนะของพระนารายณ์เทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามของศาสนาฮินดู หมายถึง พระมหากษัตริย์ ตามคติที่ทรงเป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์  และครุฑรู้จักในชื่อ “ครุฑพ่าห์” หมายถึง ราชพาหนะมีมาอย่างช้าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ผ่านมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีพระราชลัญจกรประจำรัชกาลเป็นรูปครุฑยุดนาค  ซึ่งเชื่อมโยงจากเรื่องครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน


ครุฑยุดนาค พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๕๒) บูรณะปรับปรุงครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

การประดับแถวรูปครุฑยุดนาคที่ฐานของอุโบสถ ไม่น่าจะมีความหมายเจาะจง แต่หากลากเข้าหาความ ก็คงอธิบายได้ว่าครุฑเป็นพระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์สมมุติหมายของพระนารายณ์อวตาร อย่างไรก็ดี กล่าวในเชิงประดับประดา แถวประติมากรรมรูปครุฑยุดนาคลงรักปิดทอง โดยมีสีสันละลานตาที่เกิดจากชิ้นเล็กๆ ของกระจกสีต่างๆ รวมทั้งสีทองของลวดลายปั้นที่ประกอบอยู่ด้วย  คือรสชาติของงานประดับอย่างไทยโบราณโดยแท้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระราชลัญจกรเป็นรูปครุฑยุดนาค  ลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ความว่า พระองค์ทรงออกแบบรูปครุฑโดยไม่ยุดนาคถวายรัชกาลที่ ๕ และทรงเล่าเหตุผลระคนพระอารมณ์ขันว่า ครุฑจับหรือยุดนาค ดูเป็นครุฑตะกลามเต็มที ไปไหนต่อไหนต้องหิ้วอาหาร (คือนาค)  จึงทรงออกแบบครุฑพ่าห์เป็นเพียงรูปครุฑกางแขนซึ่งมีปีก  ใช้กันมาในราชการตั้งแต่นั้นมา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2559 14:23:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2555 19:16:28 »

.

หน้าบรรพพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ คงผ่านการบูรณะหรือสลักขึ้นใหม่ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
และการบูรณะครั้งสำคัญหลังสุดอยู่ในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)


พญาครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ แม้ขณะทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระนารายณ์ก็ยังจับนาคไว้ด้วย เรื่องปรัมปรามีอยุ่ว่า พญาครุฑมีฤทธิ์มากกว่านาคทั่วไป ยกเว้นเป็นพญานาคซึ่งมีชาติตระกูลสูง เช่น วาสุกรีนาคราช อนันตนาคราช  พญาครุฑเคยจับนาคที่หัว แต่มักพลาดหลุดไปได้ เพราะนาคมีน้ำหนักมาก เมื่อรู้ตัวว่าพญาครุฑโฉบลงมาจับ นาคก็รีบกลืนก้อนศิลาใหญ่ๆ ไว้ ให้มีน้ำหนักมากๆ แต่ครั้นพญาครุฑได้วิธีจับนาค โดยหิ้วที่หางของนาคให้หัวนาคห้อยลง นาคจำต้องสำรอกหินออกจากปาก พญาครุ๓จึงเหาะหิ้วเอานาคไปเป็นอาหารได้สำเร็จ


จิตกรรมฝาหนัง พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๓


เมื่อเหล่าอมนุษย์จากหมื่นจักรวาลพากันมาชุมนุมในวาระที่พระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มักเรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่าเทพชุมนุม หนังสือ "พระปฐมสมโพธิกถา" เล่าปรัมปราคติดังกล่าวข้างต้นว่า อมนุษย์เหล่าน้้นต่างนั่งแทรกโดยแยกจากหมู่เหล่าของตน ปะปนกับหมู่อื่นโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ เช่นพญานาคอยู่กับพญาครุฑทั้งที่เป็นศัตรูกัน รูปพญาครุฑสังเกตได้ง่ายที่มีจงอยปาก รูปพญานาคเป็นรูปเทวดาสวมมงกุฏมีปลายยอดเป็นรูปหัวพญานาค นายช่างวาดเป็นรูปเทวดาเพื่อรักษาระเบียบช่องไฟ เพราะหากวาดเป็นรูปพญานาคช่องไฟก็จะไม่ได้ระเบียบ

คันทวย
คันทวย : ติดตั้งไว้ตอนบนของเสาให้เอนขึ้นไปรับน้ำหนักชายคา (เต้า)  ศัพท์นี้ฟังมาว่าเพราะดูคล้ายคันของกระบวยตักน้ำ  ต่อมาคงทั้งเรียกตัดคำและทั้งเสียงที่เคลื่อนคล้อย จากคันบวย มาเป็นคันทวย และกลายเป็น “ทวย” ในที่สุด  แต่ก็มีบางคำบอกว่าทวยหมายถึง “ระทวย”  แปลว่า แอ่น งอน


คันทวย พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยาศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑–๒๒  คงผ่านการบูรณะในพุทธศตวรรษที่ ๒๓  
การบูรณะครั้งสำคัญหลังสุดอยู่ในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

คันทวยในภาพ หากไม่เป็นของเดิม ก็ทำขึ้นใหม่ในคราวบูรณะครั้งรัชกาลที่ ๓ โดยเลียนแบบเดิม  ลักษณะและแบบอย่างที่เชื่อได้ว่าเป็นแบบอย่างงานช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  เพราะเค้าโครงที่หยักโค้งคว่ำ-หงายยักเยื้องสลับกัน  ความล่ำหนาและลวดลายที่สลักประดับคันทวยมีเค้าเก่า  แตกต่างจากคันทวยในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือหลังจากนั้น  ซึ่งรูปแบบลักษณะแตกต่าง ทั้งแบบบางกว่า  ลวดลายที่สลักประดับประดาก็คลี่คลายมากแล้ว และทำสืบทอดกันมาในปัจจุบัน


คันทวยพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงออกแบบ ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓)


รูปแบบที่พัฒนาจากคันทวยในศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จครู ทรงออกแบบตามแนวประเพณี ให้มีลักษณะเข้มแข็งสมหน้าที่ค้ำรับน้ำหนัก กระนั้นก็ยังแฝงลักษณะที่โปร่งเพรียวกว่า เมื่อเทียบกับคันทวยแบบศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาที่พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ (ดูภาพที่ศัพท์ คันทวย ที่เพิ่งผ่านมา)


เครื่องตั้ง
เครื่องตั้งหมายถึง สิ่งของที่ตั้งบนโต๊ะเป็นเครื่องบูชา ได้แก่ แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียน พานดอกไม้ พานผลไม้  เป็นต้น


ภาพเครื่องตั้ง จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม ธนบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔)


เครื่องตั้งกำหนดเริ่มจากธรรมเนียมจีน รูปแบบของเครื่องตั้งจึงเป็นอย่างจีน ภาพเขียนอย่างจีนเช่นนี้ พร้อมกับรูปแบบของพระอุโบสถที่ตามเค้าจีน คือความสอดคล้องในเชิงช่าง  เกิดจากพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดแนวให้ช่างดำเนินการ ดังมีพระราชดำริในงานก่อสร้าง งานปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เป็นอันมาก


เครื่องยอด
เครื่องยอด หมายถึง ยอดแหลม  ทรงกรวย  ตั้งอยู่เหนือสันหลังคาของพระมหาปราสาท พระราชมนเทียร


พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
เครื่องยอดไม้ ลงรักปิดทองประดับกระจก ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑–๒๔๕๓)


ยอดของพระมหาปราสาทนับจำนวนได้ห้า  หมายถึง พระมหาปราสาทห้ายอด  ยอดประธานอยู่กลาง  ประจำทิศทั้งสี่ด้วยยอดบริวาร  ความสำคัญเชิงช่างของยอดบริวารทรงกรวย คือเชื่อมโยงแนวนอนที่ลำดับลดหลั่นขึ้นมาของหลังคากับแนวตั้งของทรงกรวยยอดประธาน  ให้เกิดความต่อเนื่องโดยลำดับ



หมวดพยัญชนะ
จระนำซุ้ม
จระนำซุ้ม คือช่องเว้าที่ผนัง  ทำไว้สำหรับประดับประติมากรรม  จระนำ ประกอบด้วย “เสา” และ มักต้องมี “ซุ้ม” อยู่ด้วย  เพราะเท่ากับรูปจำลองของอาคาร กล่าวคือ “เสา”  เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเรือน ส่วน “ซุ้ม” แทนจั่ว ซึ่งหมายถึงหลังคา อนึ่ง ช่างโบราณมักเรียกจระนำโดยรวมๆ ว่า “ซุ้มจระนำ” หรือสั้น ๆ ว่า “ซุ้ม” แทนการเรียกว่า “จระนำซุ้ม”


จระนำซุ้มเรียงรายประจำชั้นซ้อนลดหลั่น ปูนปั้น เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี ลำพูน
ศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘

 
ปูนปั้นประดับ  โดยเฉพาะงานประดับซุ้มของจระนำด้วยแถวรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบไม้  คือลักษณะเฉพาะของศิลปะหริภุญชัย ที่เกี่ยวข้องกับแบบอย่างของซุ้มในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม  แต่แปลกจากครีบแหลมอย่างครีบของพญานาคในศิลปะแบบเขมร  บรรดาพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในจระนำทุกองค์ผ่านการบูรณะมาแล้วไม่มากก็น้อย แต่ร่องรอยดั้งเดิมยืนยันถึงการเกี่ยวข้องกับศิลปะพุกาม เช่นพระอูรุ (ต้นขา) ไม่มีรัดประคด (ปั้นเหน่ง-เข็มขัด) จึงไม่มีพับหน้านาง แตกต่างกับแบบอย่างเขมรที่รัดประคดคาดทับพับหน้านางซึ่งเป็นแนวดิ่ง


จังโก
จังโก ไม่ทราบว่าคำนี้เคลื่อนมาจากคำใด ที่เรียกว่าจังโก หมายถึง โลหะผสมรีดให้บางเรียบ เพื่อหุ้มหรือที่เรียกว่าบุเจดีย์ นิยมอยู่ในศิลปะสมัยล้านนา เมื่อบุแล้วลงยางรักอย่างใสที่จังโกเพื่อปิดแผ่นทองคำเปลว ก็จะได้ผิวเรียบเป็นเนื้อทองคำ


พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน  
จังโก ลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑


แผ่นจังโกรีดบางหุ้มเจดีย์ โดยตรึงด้วยตะปูโลหะ เมื่อลงรักปิดทอง สีทองสุกอร่ามกลางประกายแดดและแสงไฟ การดุนนูนที่แผ่นจังโกเป็นรูปพระพุทธองค์ หรือลวดลายประดับ ก่อนลงรักปิดทองก็เป็นที่นิยมอยู่ในศิลปะสมัยล้านนาด้วย


จัตุรมุข
จัตุรมุขหมายถึง อาคารหรือเจดีย์รูปทรงใดๆ ก็ตามที่มีมุขต่อยื่นออกเท่ากันทั้งสี่ด้าน หรือยื่นสองด้านตรงข้ามให้ยาวกว่าอีกสองด้านที่เหลือก็มี


ภาพวาดเจดีย์ทรงระฆัง มีมุขยื่นออกทั้งสี่ทิศ (จัตุรมุข)
ของวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย


มีตัวอย่างอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๐๓๕  ก่อเป็นเจดีย์ประธานรูปแบบเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน เรียงกันสามองค์ แต่ละองค์มีจัตุรมุข เชื่อว่าเกี่ยวโยงโดยเป็นต้นแบบให้งานสร้างเจดีย์ประธานวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย ซึ่งสร้างเป็นเจดีย์ประธานแต่เพียงองค์เดียว


จิตรกรรมไทยประเพณี
จิตรกรรมไทยประเพณี เรียกอีกอย่างว่า “จิตรกรรมไทยโบราณ” ซึ่งผ่านพัฒนาการมายาวนาน สาระที่ช่างนำมาเป็นหัวข้อสำหรับวาดภาพ คือแนวเรื่องอุดมคติอันเนื่องในพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ หรือชาดก เป็นต้น  ลักษณะอุดมคติของภาพสอดคล้องกับแนวเรื่อง เช่นการระบายสีเรียบแล้วตัดเส้นขอบคมทั้งโครงนอกและทั้งรายละเอียด จำนวนสีที่มีจำกัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ เมื่อผ่านสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จำนวนสียิ่งเพิ่มทั้งสดเข้มด้วย นิยมอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  อนึ่ง นอกจากจิตรกรรมที่วาดบนฝาผนัง เรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” แล้ว ยังมีที่วาดบนแผ่นไม้ เช่น บานประตู หน้าต่าง หากวาดบนกระดาษ เรียกว่า สมุดภาพ วาดบนผืนผ้าเรียกว่า พระบฏ


จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ  
ประวัติว่าเขียนขึ้นในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒)  
บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)


สีสดเข้มของภาพ การปิดทอง ท้องฟ้ากับต้นไม้สีมืด รายละเอียดประกอบฉากมาก คือลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของงานช่างเขียนในรัชกาลที่ ๓ ความเป็นภาพอย่างอุดมคติของภาพนี้ นอกจากโดยรวมแล้ว ยังมีตัวอย่างที่ชี้ชัด กล่าวคือภาพตอนโทณพราหมณ์อาสาแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ แต่ลักลอบเอาพระทักษิณทาฒธาตุเบื้องบน (พระเขี้ยวแก้วซี่บนขวา) ซ่อนไว้ที่มวยผม พระอินทร์รู้จึงลอบอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วองค์นั้นขึ้นไปประดิษฐานในจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ดูภาพในศัพท์ จิตรกรรมไทยประเพณี /1)  อนึ่ง อาจารย์วิทย์ พิณคันเงิน ครูช่างอาวุโส เคยกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ภาพพระอินทร์ในท่าเหาะ เหาะโดยหายตัว จึงไม่มีผู้ใดในฉากรู้เห็นดังกล่าวนี้ นับเป็นลักษณะทางอุดมคติอย่างหนึ่งของจิตรกรรมไทยโบราณ  


ภาพขยายจากภาพที่เพิ่งผ่านมา ความเป็นอุดมคติของเนื้อหา
และลักษณะของภาพ เช่นภาพพระอินทร์ในท่าเหาะ (โดยไม่มีผู้ใดเห็น)



จุฬามณีเจดีย์
จุฬามณีเจดีย์ หรือ “เจดีย์จุฬามณี” สถิต ณ ศูนย์กลางจักรวาลอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ  ซึ่งหมายถึงสวรรค์ดาวดึงส์ ด้วยพระอินทร์ผู้ครองสวรรค์ชั้นนี้ สร้างเจดีย์จุฬามณีไว้เพื่อประดิษฐานพระเกศาของเจ้าชายสิทธัตถะโพธิสัตว์ที่ทรงปลงคราวผนวช  และหลังถวายเพลิงพระพุทธสรีระ  พระอินทร์ได้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วขึ้นมาประดิษฐานไว้อีก พระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ ทั้งโดยตำแหน่งที่ตั้งและโดยความหมาย คือพระพุทธองค์สถิต ณ ศูนย์กลางจักรวาล


เจดีย์จุฬามณี จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดไชยทิศ ธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔


สภาพชำรุดของจิตรกรรมฝาผนัง โดยเฉพาะของวัดทางฝั่งธนบุรี ล้วนน่ากังวล นับวันจะวิกฤตยิ่งขึ้น เพราะนอกจากภาพลบเลือนด้วยภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ ความชื้นจากใต้ดินเป็นสำคัญแล้ว  ภัยจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เกี่ยวข้องก็มีส่วนทำลายในหลาย ๆ ประการ บางวัดลบภาพเขียนเดิมแล้วจ้างช่างเขียนขึ้นใหม่ ซึ่งหากเพราะชำรุดทรุดโทรมจนไม่มีทางอื่นก็ไปอย่าง  แต่ที่ยังอยู่ในสภาพอันสมควรบำรุงรักษาไว้ แต่กลับลบทิ้งเพราะอยากได้ของใหม่


สีแดงสดจัดเป็นพื้นหลังของภาพ ภาพจุฬามณีเจดีย์อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งภาพชำรุดไปบางส่วน  
ภาพพระอินทร์ สังเกตได้จากสีเขียวเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยที่ส่วนแขน ตำแหน่งภาพพระอินทร์นั่งพนมมือใกล้พระมาลัย
เพราในท้องเรื่องมีการสนทนาธรรม  ส่วนพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเหาะจากด้านบนทางซ้าย  มีสินเทา(วาดทำนองริบบิ้นแบบจีน)
ล้อมให้เด่นจากพื้นหลังท่ามกลางบริวารเหล่าเทพยดานางฟ้า ซึ่งตำราบางเล่มบอกว่ามีจำนวนถึงแสนโกฏิ


ปรัมปราคตินิทานเรื่องพระมาลัย เล่าว่าพระมาลัยได้ไปเยี่ยมชมทั้งนรก และสวรรค์ดาวดึงส์  ซึ่งท่านได้นมัสการจุฬามณีเจดีย์  ได้สนทนาธรรมกับพระอินทร์ผู้ครองสวรรค์ชั้นนี้ ท่านได้พบและสนทนากับพระศรีอาริย (พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย) พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดุสิต (ที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อนเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อตรัสรู้ สวรรค์ชั้นนี้อยู่เหนือขึ้นไปจากสวรรค์ดาวดึงส์) เพื่อนมัสการพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ด้วย พระมาลัยนำเนื้อความจากการสนทนามาถ่ายทอดสั่งสอนผู้คนเรื่องการทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วต้องตกนรก


  เจดีย์
เจดีย์ คือสิ่งก่อสร้างอันควรแก่การเคารพบูชาในพุทธศาสนา คติโบราณหมายถึงสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ เช่น จุฬามณีเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระพุทธองค์  รูปทรงต่างๆ กันของเจดีย์ที่ร่วมเกณฑ์ทางช่าง คือส่วนล่างที่เรียกว่าฐานแผ่กว้าง  สอบที่ส่วนกลาง  ขึ้นไปเป็นส่วนบนที่มักเรียกว่ายอด ลักษณะที่แตกต่างกันของรูปทรง เป็นที่มาของชื่อเรียกบ่งลักษณะต่อท้ายคำว่าเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรงระฆัง เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม  อนึ่ง มีคำที่ความหมายพ้องกับเจดีย์คือ สถูป จึงมีที่เรียกควบรวมว่า สถูปเจดีย์


เจดีย์เพิ่มมุม (หรือที่เรียกว่า เจดีย์ย่อมุม) วัดไชยวัฒนาราม  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓)


สภาพชำรุดของเจดีย์เพิ่มมุมองค์นี้ เช่น ส่วนล่างชำรุดจนศึกษารูปแบบไม่ได้แน่ชัด กรมศิลปากรจึงจำเป็นต้องบูรณะโดยก่ออิฐล้อแนวที่หลงเหลือเพื่อเสริมความแข็งแรง  เจดีย์เพิ่มมุมแบบนี้ของวัดไชยวัฒนารามมีต้นแบบอยู่ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ผ่านพัฒนาการมาเป็นรูปแบบในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และหมดความนิยมไปอย่างรวดเร็วหลังรัชกาลของพระองค์ โดยเกิดความนิยมเจดีย์เพิ่มมุมลักษณะใหม่อีก เรียกกันว่าเจดีย์ทรงเครื่อง


เจดีย์ช้างล้อม
ด้วยแรงบันดาลใจจากศิลปะลังกา  เจดีย์แบบนี้นิยมสร้างในศิลปะสมัยสุโขทัย และแพร่หลายไปตามเมืองในเครือข่าย ด้วยเจดีย์ช้างล้อมก่อบนฐานสี่เหลี่ยมซึ่งประดับด้วยรูปช้างที่รายเรียงอยู่ทุกเหลี่ยม เจดีย์ช้างล้อมบางองค์มีรูปช้างครึ่งตัวโผล่ออกจากผนังของฐาน  บางองค์ก็เป็นช้างทั้งตัว ที่เป็นช้างทั้งตัวมีอยู่ที่เจดีย์ประธานของวัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย


เจดีย์ช้างล้อม วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย
ศิลปะสมัยสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙


องค์เจดีย์และรูปช้างที่ล้อม  ล้วนใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุ เพราะบ่อศิลาแลงมีอยู่ไม่ไกลจากย่านนั้น  งานก่อและโกลนศิลาแลงเป็นโครงของรูปช้าง  แล้วจึงพอกปูนปั้นแต่ง  คือวิธีการที่สะดวกและทุ่นแรง


เจดีย์มีช้างรอบฐาน วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา
สร้างในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ใน พ.ศ.๑๙๘๑


ในทางการเมือง  ราชธานีใดก็ตามมักไม่เอาแบบอย่างสำคัญของเจดีย์จากราชธานีอื่นมาสร้าง  กรุงศรีอยุธยาไม่ได้เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองในเครือข่ายของสุโขทัย  แต่กลับมีการสร้างเจดีย์ช้างล้อมตามอย่างในศิลปะของราชธานีสุโขทัย  กรณีนี้คงเป็นข้อยกเว้น  โดยความสัมพันธ์เครือญาติ  กล่าวคือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แห่งกรุงศรีอยุธยา  มีมเหสีเป็นเจ้าหญิงแห่งราชธานีสุโขทัย


เจดีย์ทรงเครื่อง
เจดีย์ทรงเครื่อง คือเจดีย์เพิ่มมุม (ย่อมุม) แบบหนึ่งที่มีทรวดทรงเพรียวเรียว โดยทั่วไปมีคำอธิบายว่าชื่อเรียกเจดีย์ทรงนี้เพราะมีลวดลายปูนปั้นประดับประดาอยู่ด้วย  แต่ที่ควรพิจารณายิ่งกว่าคือ เจดีย์ทรงนี้มี “บัวทรงคลุ่ม” รองรับทรงระฆังส่วนยอดแทนที่จะเป็น ปล้องไฉน กลับทำบัวทรงคลุ่มซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเรียกว่า บัวทรงคลุ่มเถา ลักษณะดังกล่าวมาเช่นนี้แปลกจาก เจดีย์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุม (ย่อมุม)


เจดีย์ทรงเครื่อง อิฐ ปูน ลงรัก ปิดทอง  
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๓๒๕-๒๓๕๒)  
หรือรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)


เค้าโครงของเจดีย์ทรงเครื่องผ่านมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  มาเป็นความงามและความนิยมอยู่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ ๓ ครั้นเปลี่ยนแผ่นดินมาในรัชกาลที่ ๔ พระราชนิยมก็เปลี่ยนเป็นเจดีย์ทรงระฆัง


เจดีย์ทรงปรางค์
เจดีย์ทรงปรางค์นิยมเรียกว่าปรางค์ โดยไม่มีคำว่า เจดีย์  จึงมักเข้าใจผิดกันไปว่า ปรางค์ไม่ใช่เจดีย์ รูปทรงแท่งของเจดีย์ทรงปรางค์ มีผู้เปรียบว่าคล้ายทรงฝักข้าวโพด ช่างไทยสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ด้วยแรงบันดาลใจจากแบบอย่างของปราสาทแบบเขมร


ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในรัชกาลสมเด็จบรมราชาธิราชที่ ๒
(เจ้าสามพระยา) ใน พ.ศ.๑๙๖๗


พัฒนาการของเจดีย์ทรงปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ผ่านจากปรางค์ต้นแบบ คือพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี โดยมีส่วนฐานสูงขึ้น ส่วนกลาง (เรือนธาตุ) เอนสอบจากแนวตั้งฉากเล็กน้อย และต่อเนื่องขึ้นสู่ส่วนบนซ้อนชั้นลดหลั่นด้วยรูปทรงเพรียวกว่าก่อน  โดยรวมแล้วปริมาตรเชิงประติมากรรมจึงน้อยกว่าปรางค์ต้นแบบ


เจดีย์ทรงปราสาทยอด
เจดีย์ทรงปราสาทยอด คือ เจดีย์ซึ่งมีเรือนธาตุ  เหนือขึ้นไปมีทรงระฆังต่อยอดด้วยทรงกรวย


เจดีย์แปดเหลี่ยมวัดสะดือเมือง (ร้าง) เชียงใหม่ ศิลปะสมัยล้านนา  
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐


ส่วนฐานทรงแปดเหลี่ยม รองรับเรือนธาตุแปดเหลี่ยม ต่อเนื่องขึ้นไปเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นลักษณะเป็นชุดหลังคาลาด  ส่วนประดับประจำแต่ละชั้นชำรุดร่วงไปหมดแล้ว  เชื่อว่าเคยเป็นรูปบรรพแถลง  ต่อจากชั้นซ้อนขึ้นไป คือทรงระฆังซึ่งส่วนล่างเหลือร่องรอยของรูปบรรพแถลงด้วย  เหนือทรงระฆังต่อยอดทรงกรวยมีที่เรียกว่า ปล้องไฉน  กรวยเรียบต่อเป็นยอดบนสุดคือ ปลี เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบที่มีฐานและเรือนธาตุแปดเหลี่ยมองค์นี้ เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักวิชาการในฐานะงานช่างระยะแรกของราชธานีเชียงใหม่  ทั้งรูปแบบของเจดีย์ และงานปูนปั้นประดับเช่นที่ซุ้มซึ่งมีทั้งสมัยการสร้าง และสมัยการซ่อมที่เหลืออยู่ร่วมกัน


เจดีย์วัดป่าสัก (ทรงปราสาทห้ายอด) เชียงแสน  
ศิลปะสมัยล้านนา ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙


โดยทั่วไป ส่วนที่มักชำรุดของเจดีย์ห้ายอด คือยอดบริวารขนาดเล็ก ประจำบนสี่มุมของเรือนธาตุ ยอดบริวารมุมหนึ่ง (ทางขวา)  ชำรุดร่วงไปแล้ว  ยอดประธานขนาดใหญ่กว่าก็ไม่เว้น  ชำรุดมากบ้างน้อยบ้างทั้งสิ้น โดยเฉพาะปลายยอด  อนึ่ง เจดีย์บริวารที่ประจำมุมช่วยให้เส้นนอกของยอดประธานกับเรือนธาตุเชื่อมโยงกันได้แนบเนียนยิ่งขึ้น


เจดีย์ราย ทรงปราสาทห้ายอด วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย  
ศิลปะสุโขทัย  ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙


เจดีย์รายทรงปราสาทยอดแบบนี้ ช่างของสุโขทัยได้แรงบันดาลใจจากเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะสมัยล้านนา (เช่น เจดีย์วัดป่าสัก) ซุ้มของจระนำ ยิ่งชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับที่มีอยู่ในศิลปะสมัยล้านนาที่เรียกว่า ซุ้มฝักเพกา รวมทั้งทรงระฆังที่ซ้อนลดหลั่นของยอดประธานโดยไม่มีบัลลังก์สี่เหลี่ยม เป็นต้น  ส่วนรสนิยมของช่างสมัยสุโขทัยที่ปรากฏอยู่ด้วย ได้แก่ พระพุทธรูปลีลาภายในจระนำซุ้ม


เจดีย์ยอด (ส่วนบน) ทรงกลีบมะเฟือง
เจดีย์ยอด (ส่วนบน) ทรงกลีบมะเฟือง : แบบอย่างผสมผสานของเจดีย์ทรงนี้ มีชื่อเรียกโดยหมายถึงส่วนยอด (ส่วนบน) ที่ดูคล้ายผลมะเฟือง


เจดีย์ยอด(ส่วนบน) ทรงกลีบมะเฟือง
 เป็นเจดีย์รายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐


ยอด (ส่วนบน) ทรงกลีบมะเฟืองคงปรับปรุงจากส่วนบนซึ่งเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นของเจดีย์ทรงปรางค์  โดยตัดชั้นซ้อนทั้งหมดออกไป  กลายทรงแท่งเรียบ เพิ่มหยักมุมให้แท่งเรียบ ก็ได้รูปแบบรูปทรงแปลกตา ที่เรียกว่า ยอดทรงกลีบมะเฟือง  การประดับแถวรูปเทพพนม ปั้นด้วยปูนไว้ที่โคนของทรงกลีบมะเฟือง  ช่วยให้รูปลักษณ์ใหม่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก  เจดีย์ทรงนี้ได้พบบ้างที่แถบชัยนาท และเหนือขึ้นไปคงไม่เลยไปกว่าแพงเพชร แต่น่าแปลกที่ยังไม่เคยสำรวจพบเจดีย์รูปทรงนี้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


เจดีย์ทรงระฆัง
นิยมอยู่ในศิลปะสมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  โดยมีทรงระฆังขนาดใหญ่ อันเป็นลักษณะเด่นที่ดูคล้ายรูประฆัง จึงมีที่เรียกอีกอย่างว่า “เจดีย์ทรงระฆังกลม”  ทั้งนี้เพื่อให้แตกต่างจากเจดีย์ที่มีทรงระฆังสี่เหลี่ยมอีกชื่อหนึ่งของเจดีย์ทรงระฆัง คือ เจดีย์ทรงลังกา  เพราะเข้าใจกันว่าปรับปรุงแบบอย่างมาจากเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะลังกา


เจดีย์วัดเขาพนมเพลิง ศรีสัชนาลัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙


เจดีย์วัดสามปลื้ม (วัดร้าง) ถูกเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางวงเวียน พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐

เจดีย์วัดเขาพนมเพลิง ศรีสัชนาลัย เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ประธาน ก่อไว้บนยอดภูเขา  รูปแบบสำคัญคือ ลวดบัว เป็นชุดบัวถลา  อันเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย  บัวถลาเส้นบนของชุดรองรับลวดบัวที่เรียกว่า บัวปากระฆัง  ทรงระฆังขนาดใหญ่ บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม  รองรับส่วนยอดทรงกรวย  กล่าวได้ว่าเจดีย์องค์นี้มีสัดส่วนปริมาตรจากฐานที่สอบขึ้นเป็นทรงงามของระฆัง  ตั้งต่อด้วยบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะได้สัดส่วนกับส่วนยอดทรงกรวย

เจดีย์วัดสามปลื้ม เจดีย์ทรงระฆังองค์นี้ คงมีอายุเก่าสุดที่เหลืออยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควรเก่าก่อนแบบอย่างอื่นของเจดีย์ทรงเดียวกัน เพราะส่วนฐานแปดเหลี่ยมซึ่งคาดประดับลวดบัวลูกฟักขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ของท้องไม้  ลวดบัวลูกฟักเป็นงานประดับมีอยู่ที่ฐานของเจดีย์ทรงปรางค์  ระยะแรกซึ่งใกล้ชิดกับต้นแบบคือฐานของปราสาทศิลปะแบบเขมร



พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน  
ศิลปะสมัยล้านนา สมัยรัชกาลพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๑)



เจดีย์ประธาน (หนึ่งในสามที่เรียงกันเป็นเจดีย์ประธาน)วัดพระศรีสรรเพชญ  
พระนครศรีอยุธยา ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๐๓๕


พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน : เจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา มีลักษณะสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ คือ ทรงระฆังขนาดเล็ก เพราะตั้งอยู่บนฐานกลมซึ่งซ้อนลดหลั่นกันถึงสามฐาน และฐานล่างสุดเป็นฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ  ซึ่งมีหยักมุมเรียงเป็นชุด  มุมประธานอยู่กลางมีขนาดใหญ่  มุมเหล่านี้ยกเป็นครีบแหลมส่งจังหวะขึ้นเป็นชุดฐานกลมของทรงระฆัง

เจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา : การเรียกเจดีย์ทรงระฆัง  เหมาะกว่าเรียกเจาะจงว่า เจดีย์ทรงลังกา  เพราะมุขที่ยื่นออกทั้งสี่ทิศมีเจดีย์ยอดที่หลังคามุข  อาจสืบสาวไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับแหล่งบันดาลใจอื่นได้ด้วย นอกเหนือจากศิลปะลังกา คือศิลปะพม่าที่นิยมมาก่อนตั้งแต่ในสมัยเมืองพุกาม



พระศรีรัตนเจดีย์  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๘) ปิดด้วยชิ้นกระเบื้องสีทองในรัชกาลที่ ๕

รัชกาลที่ ๔ โปรดให้ถ่ายแบบเจดีย์ประธานจากวัดพระศรีสรรเพชญ  พระนครศรีอยุธยา มาสร้างพระศรีรัตนเจดีย์ ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ว่า การถ่ายแบบมิได้หมายความว่าทำทุกอย่างให้เคร่งครัดเหมือนต้นแบบ  ความนิยมรูปแบบของเจดีย์ในรัชกาลที่ ๔ แตกต่างจากรัชกาลที่ ๓ เกือบสิ้นเชิง  กล่าวคือในรัชกาลที่๓ มีพระราชนิยมเจดีย์ทรงเครื่อง แต่เปลี่ยนไปในรัชกาลที่ ๔  ด้วยพระราชนิยมเจดีย์ทรงระฆังกลม ดังแบบอย่างของพระศรีรัตนเจดีย์ เป็นต้น


เจดีย์บริวาร, เจดีย์ราย
เจดีย์ทรงใดก็ตามที่มีขนาดย่อมหรือขนาดเล็ก ก่อไว้ประจำมุมหรือประจำด้านของเจดีย์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของวัด  แต่กรณีเดียวกันหรือต่างกรณีก็ตาม เจดีย์บริวารอาจหมายถึงเจดีย์ขนาดเล็กอื่นๆ ที่เรียงรายเป็นแถวแนวภายในวัดด้วย


เจดีย์บริวาร, เจดีย์ราย วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)  กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)

บรรดาเจดีย์บริวาร, เจดีย์รายภายในวัดโพธิ์  ล้วนเป็นเจดีย์ทรงเครื่อง สืบทอดรูปแบบลักษณะมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ผ่านมาเป็นที่นิยมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลที่ ๓ ก่อนจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความนิยมสร้างเจดีย์ทรงระฆัง  อันเป็นพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๔


เจดีย์ประธาน
เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์อื่น ๆ และก่อสร้างในตำแหน่งสำคัญเด่นเป็นประธานของวัด


เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ  สุโขทัย  
ศิลปะสมัยสุโขทัย  ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙


เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัดมหาธาตุ สุโขทัย อาจมิใช่เป็นองค์ที่สร้างคราวแรกสร้างวัด  เพราะมีร่องรอยของการบูรณะครั้งสำคัญ ซึ่งคงอยู่ในรัชกาลพระเจ้าลิไท (ราว พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๑)  ร่องรอยดังกล่าวสร้างทับซ้อนเจดีย์องค์เดิมที่คงมีรูปทรงอื่น  อนึ่ง เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม  คงพัฒนาขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าลิไท  ทั้งนี้ เกี่ยวข้องกับแนวคิดที่ว่า พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่  ซึ่งมีพระพักตร์รูปไข่  ก็เป็นที่นิยมมากในรัชกาลของพระองค์ ควบคู่กับเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ตุลาคม 2558 15:00:59 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2555 16:08:37 »

.

เจดีย์มอญ-พม่า
ชื่อเรียกเจดีย์ดังกล่าวเกิดจากความนิยมผสมผสานกันในแหล่งกำเนิดคือประเทศพม่า  เมื่อชาวพม่าและชาวมอญเข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทย  มักสร้างเจดีย์โดยเลือกเอาที่นิยมอยู่ในวัฒนธรรมของตน  ความเกี่ยวโยงระหว่างชาวมอญกับชาวพม่าในอดีตอันยาวนานมีผลต่อลักษณะร่วมของเจดีย์ คือชุดฐานสี่เหลี่ยมด้านเท่ายกเก็จ  แต่ละชั้นเอนลาดลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นทรงระฆังซึ่งต่อยอดทรงกรวย  โดยไม่มีบัลลังก์สี่เหลี่ยมคั่นระหว่างทรงระฆังกับยอดทรงกรวย



เจดีย์มอญ-พม่า วัดมหาธาตุ นครชุม กำแพงเพชร  
ศิลปะมอญ-พม่า  ครั้งรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)


ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๓ (เรียกว่า จารึกนครชุม) พบที่วัดนี้ มีเนื้อความตอนสำคัญว่าด้วยพระเจ้าลิไทเสด็จมาสร้างเจดีย์บรรจุพระมหาธาตุ แต่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เศรษฐีกะเหรี่ยงผู้หนึ่งปฏิสังขรณ์แปลงรูปเป็นเจดีย์พม่า  เข้าใจว่าก่อทับองค์เดิมซึ่งคงชำรุดจนปฏิสังขรณ์ไม่ได้  และอาจเป็นเจดีย์บรรจุพระมหาธาตุองค์ที่พระเจ้าลิไททรงสร้างไว้ ซึ่งคงเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม  เจดีย์แบบมอญ-พม่า  มีลักษณะเด่นที่ชุดฐานสอบขึ้นผ่านทรงระฆังต่อเนื่องจนถึงส่วนยอด  โดยไม่มีบัลลังก์สี่เหลียมคั่น ปลายยอดมีมงกุฏหรือบางทีก็มีฉัตรประดับ


เจดีย์ยอด
เจดีย์ยอดหมายถึง ทรงเจดีย์ขนาดเล็กประดับไว้บนสันหลังคามุข  หรือประดับประจำบนมุมของเรือนธาตุ


ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
(เจ้าสามพระยา) พ.ศ.๑๙๖๗


เจดีย์ยอดในภาพนี้ตั้งเหนือสันหลังคา  แม้ข้อมูลชัดเจนว่าเจดีย์ทรงปรางค์มีที่มาจากปราสาทแบบเขมร  แต่เจดีย์ยอดที่สันหลังคาปราสาทแบบเขมรยังไม่เคยพบ  แต่กลับได้พบเป็นปรกติในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘)  ดังกล่าวนี้เป็นที่มาของความเห็นที่ว่า ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น นอกจากมีแหล่งบันดาลใจจากศิลปะในวัฒนธรรมเขมรจากสุโขทัยแล้ว ยังมีจากพม่าด้วย


เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เรียกกันมาก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” หรือ “เจดีย์ทรงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์” เจดีย์แบบนี้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของราชธานีสุโขทัย บางองค์เด่นชัดว่าส่วนยอดมีร่องรอยปูนปั้นประดับเป็นรูปกลีบบัวเรียงรายไว้โดยรอบ คือที่มาของชื่อเรียก “ทรงยอดดอกบัวตูม”


เจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน สุโขทัย
ศิลปะสมัยสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐


เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นสัญลักษณ์ของราชธานีสุโขทัย  แต่เมื่อตกอยู่ใต้อำนาจปกครองของกรุงศรีอยุธยา  ความนิยมสร้างเจดีย์สัญลักษณ์ของราชธานีสุโขทัยก็หมดลงด้วย  เจดีย์ทรงนี้สะท้อนภูมิปัญญาของช่างสุโขทัยที่ผสมผสานลักษณะบางประการจากปราสาทแบบเขมรซึ่งมีรูปทรงล่ำสัน  และคงมีบางส่วนของแรงบันดาลใจจากเจดีย์วิหารในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกามด้วย  เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมคือรูปทรงใหม่ที่ห่างจากความล่ำสันอย่างปราสาทแบบเขมร  เพราะมีขนาดที่พอเหมาะพอดีกับสัดส่วนอันเพรียวงามตามรสนิยมเฉพาะในวัฒนธรรมสุโขทัย



หมวดพยัญชนะ
ช่องไฟ  
คือพื้นที่ว่าง ถี่ – ห่างระหว่างตัวภาพ หรือลวดลายใดๆ


ตู้ลายรดน้ำ  ตู้ลายทอง ฝีมือครูช่างจาก “วัดเซิงหวาย”  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  กรุงเทพฯ


ช่องไฟใหญ่ - น้อย - ถี่ - ห่าง  มีจังหวะยักเยื้องมากหลาย ละลานตา คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สีดำกับลวดลายสีทอง  


ช่อฟ้า
ช่อฟ้า: ส่วนประดับที่ยอดแหลมของกรอบหน้าบรรพ  ช่อฟ้า อาจกลายมาจากคำว่า “ฉ้อฟ้า”  ปรากฏในหนังสือเก่า โดยอาจหมายถึง เฉาะ ฟัน หรือ ผ่าฟ้า

       
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒)


ความงามของหลังคาทรงจั่วเกิดจากส่วนประดับสำคัญ คือยอดจั่วมีช่อฟ้าสีทอง เรียวขึ้นไปสะบัดปลาย รูปแบบเฉพาะของช่อฟ้าที่มีเสน่ห์ตามรสนิยมไทยภาคกลาง โดยผ่านการคลี่คลายเป็นลำดับมาในช่วงหลายร้อยปี ต้นเค้าคือหางของรูปพญานาคซึ่งความยาวยักเยื้องของลำตัวเป็นกรอบหน้าบรรพของปราสาทแบบขอม


ชั้นเขียง
ชั้นเขียง หรือ “ฐานเขียง” : แท่นสี่เหลี่ยมเรียบ คล้ายเขียงที่ใช้ในงานครัว  แม้ว่าลักษณะเรียบง่าย แต่ชั้นเขียงก็มีความสำคัญและมีประโยชน์มาก ช่างไทยโบราณใช้ชั้นเขียงเริ่มต้นในงานก่อ คือล่างสุดคล้ายเป็นยกพื้น นอกจากนี้ช่างไทยโบราณยังใช้ชั้นเขียงแทรกระหว่างฐาน หรือระหว่างชั้นที่ต่อเนื่องกันขึ้นไป อาจแทรกหนึ่งชั้นหรือมากกว่าตามจังหวะรูปทรง เพื่อให้ได้สัดส่วนและจังหวะงามของรูปทรงจากการซ้อนลดหลั่น


ลายเส้นของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ซึ่งมีชั้นเขียงซ้อนลดหลั่นเป็นชุด
และชั้นเขียงที่แทรกระหว่างฐานซ้อนฐานเจดีย์ทรงอื่นก็เช่นกัน
มักมีชั้นเขียงแทรกให้เส้นนอกได้จังหวะงามๆ ด้วย



ชั้นรัดประคด
ชั้นรัดประคด : ชุดชั้นซ้อนลดหลั่นอยู่ที่ส่วนบนของเจดีย์ทรงปรางค์  ชั้นรัดประคดมีที่มาจากชุดชั้นวิมานของปราสาทแบบเขมร  คำไทยยืมศัพท์จากลักษณะคอดของเอวของภิกษุ สามเณร อันเกิดจากคาดผ้า หรือด้ายถักเป็นแผงยาวคล้ายเข็มขัดที่เรียกว่า ประคดเอว


ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
ศิลปะสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙


ชุดชั้นรัดประคดของเจดีย์ทรงปรางค์ระยะแรก ที่ยังไม่ห่างลักษณะจากต้นแบบคือปราสาทแบบเขมร  สังเกตได้ว่ายังเด่นชัดด้วยมิติลึก – ตื้น  ภายหลังจึงลดน้อยลงเป็นลำดับผ่านสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อนึ่ง ในภาพนี้กลางด้านของชุดชั้นรัดประคดแต่ละชั้นที่เคยประดับด้วยบรรพแถลง  เมื่อบรรพแถลงชำรุดร่วง จึงเห็นเป็นช่อง เรียกว่า ช่องวิมาน (คือ ช่องบัญชร ช่องหน้าต่าง) แต่ละชั้นของช่องวิมาน คือแต่ละชั้นที่ซ้อนลดหลั่นตามความหมายของปราสาทประเภทเรือนชั้น


ชั้นวิมาน
ชั้นวิมาน : ชั้นซ้อนลดหลั่นเป็นชุด ส่วนบนอยู่เหนือเรือนธาตุของปราสาทแบบเขมร  ชั้นซ้อนแต่ละชั้นย่อจำลองจากเรือนธาตุ ทุกมุมของชั้นซ้อนแต่ละชั้นประดับด้วยบรรพแถลง  ซึ่งหมายถึงอาคารจำลอง  ทราบได้จากมีรูปเทวดาสลักไว้ภายใน จึงเข้ากับชื่อเรียกชั้นวิมาน และเมื่อช่างไทยปรับปรุงมาใช้ที่เจดีย์ทรงปรางค์ มีที่เรียกว่า ชั้นรัดประคด และที่เรียกว่า บรรพแถลง ก็ผ่านการปรับปรุงลักษณะมา และได้ชื่อใหม่ว่า กลีบขนุน


ปราสาทพนมรุ้ง บุรีรัมย์  
ศิลปะแบบเขมร  พุทธศตวรรษที่ ๑๗


ส่วนบนทรงพุ่มประกอบด้วยชั้นซ้อนลดหลั่นเป็นชุดชั้นวิมาน คือที่มาของชั้นรัดประคดที่ใช้เรียกชั้นซ้อนลดหลั่นของส่วนบนเจดีย์ทรงปรางค์


ชาดกทศชาติ
ชาดกทศชาติ : นิทานพุทธศาสนาเล่าเรื่องพระอดีตชาติของพระพุทธเจ้า พระองค์เสวยพระชาติเป็นลำดับมา ๕๕๐ ชาติ  เรียกว่า “ชาดก ๕๕๐ ชาติ”  สิบชาติสุดท้าย คือ ชาดกทศชาติ เป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่างไทยโบราณนำมาใช้เล่าเรื่องด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง หรือภาพบน  สมุดไทย


จิตรกรรมผนังกรุชั้นที่สอง ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗


ภาพเรื่องมหาชนกชาดก (ชาดกลำดับที่สองของทศชาติชาดก) ตอนนางมณีเมฆขลาอุ้มพระมหาชนกให้รอดพ้นจากจมน้ำตายหลังเรืออับปาง การนำเสนอที่จำกัดด้านรายละเอียดและจำกัดจำนวนสี ตลอดจนองค์ประกอบภาพและลักษณะภาพที่ช่างเขียนนำเสนอ มีข้อแตกต่างจากภาพที่เขียนของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และยิ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่ามีรายละเอียดมากกว่า จำนวนสีก็มากกว่า


จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดคงคาราม  ราชบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)


ภาพเรื่องมหาชนกชาดก ตอนเดียวกับภาพในหน้าก่อนนี้ แต่มีรายละเอียดของฉากประกอบเรื่อง และจำนวนสีมากกว่า  ภาพอาการเคลื่อนไหวของบุคคลแสดงอารมณ์สอดคล้องกับภาพท้องฟ้าที่มีก้อนเมฆยามมีพายุ  ภาพเรือพลิกคว่ำ ผู้คนว่ายน้ำหนีตายจากคลื่นลม หรือให้พ้นจากเป็นเหยื่อของสัตว์น้ำทีท่าดุร้าย บ่งชี้สมัยของการเขียนภาพที่พัฒนามามากจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
 

ชุดบัวถลา
ชุดบัวถลา : คือชื่อเรียกที่หมายถึงลวดบัว (คิ้ว) ที่เอนลาดตรงกับคำกริยาว่า “ถลา” ลวดบัวลักษณะดังกล่าวเรียงซ้อนลดหลั่นกันสามเส้น จึงเรียกเป็นชุดบัวถลา มีตำแหน่งอยู่ใต้บัวปากระฆัง ชุดบัวถลาเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสมัยสุโขทัย


เจดีย์ขนาดเล็ก (บางครั้งเรียกเจดีย์จำลอง)  สำริด ลงรักปิดทอง
ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย


ชุดบัวถลาของเจดีย์แบบศิลปะสุโขทัย ประดับอยู่ใต้บัวปากระฆังซึ่งรองรับทรงระฆัง อย่างไรก็ดีลักษณะเฉพาะขององค์ประกอบนี้ บางครั้งก็มีปรากฏอยู่ที่เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เป็นเพียงบางครั้งบางกรณี เช่น ปรากฏที่เจดีย์ทรงระฆังของวัดสมณโกศ พระนครศรีอยุธยา


เชิงบาตร
เชิงบาตร : ชื่อเรียกเทียบเคียงลักษณะคอดของที่รองบาตรพระ  ช่างโบราณทำไว้ที่ส่วนฐานของอาคาร เช่น อุโบสถ วิหาร  โดยใช้ส่วนคอดของเชิงบาตรเป็นพื้นที่ประดับรูปประติมากรรม  เชิงบาตรยังมีที่เรียกอีกอย่างว่า “เอวขัน”  หมายถึง เอวที่คอด  อนึ่ง เชิงบาตรยังใช้หมายถึงส่วนที่คอดอยู่เหนือเรือนธาตุที่มีรูปครุฑแบกของเจดีย์ทรงปรางค์  โดยมีชื่อเรียกว่าเชิงบาตรครุฑแบก


ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗


เชิงบาตรในกรณีนี้รองรับส่วนกลาง คือ เรือนธาตุ เป็นการย่อรูปแบบจากฐานล่างเพื่อเชื่อมโยงขึ้นไปที่เรือนธาตุ พื้นที่คอดเว้ากรณีนี้ หากมีการประดับก็คงเพียงแถวลวดลายประดับขนาดเล็ก ๆ เรียงประดับแนวขอบ เป็นต้น


ฐานเชิงบาตร (ครุฑแบก) พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)  
และผ่านงานบูรณะสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


ฐานของพระอุโบสถที่คอดเป็นทำนองให้เปรียบเทียบกับลักษณะของเชิงบาตร พื้นที่คอดเว้าประดับด้วยแถวรูปครุฑยุดนาค เป็นที่มาของชื่อเรียก “เชิงบาตรครุฑแบก"


ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗


เชิงบาตรที่มีครุฑแบก นอกจากเรียกงานประดับที่ส่วนฐานดังภาพที่ผ่านมา เหนือเรือนธาตุของเจดีย์ทรงปรางค์ก็มีด้วย  โดยเจาะจงเรียกส่วนคอดที่ประดับรูปครุฑยุดนาคเท่านั้น  อนึ่ง หัวของพญานาคทำไว้ที่เบื้องหน้าที่เท้าของพญาครุฑ  ทำเพียงเป็นสัญลักษณ์ เพราะมิได้มีลำตัวขึ้นไปที่มือของพญาครุฑซึ่งโดยปกติต้องจับ (ยุด) พญานาคไว้


ปรางค์วัดนครโกษา ลพบุรี ศิลปะสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙

ระเบียบของการประดับรูปครุฑที่ชั้นเชิงบาตร มีมาก่อนการสถาปนาราชธานีที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยประดับเฉพาะบนมุมขนาดใหญ่สุด ที่เรียกว่ามุมประธานของชั้นเชิงบาตร ส่วนมุมย่อยที่ขนาบตั้งประดับด้วยบรรพแถลง และทุกมุมของชั้นลดหลั่นเหนือขึ้นไปตั้งประดับเพียงบรรพแถลงเท่านั้น จะเป็นต้นแบบสำหรับงานประดับกลีบขนุนของเจดีย์ทรงปรางค์ในกรุงศรีอยุธยา เช่นที่ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะที่เพิ่งกล่าวผ่านมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ตุลาคม 2558 16:08:40 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2555 14:54:54 »

.
หมวดพยัญชนะ
ซุ้ม
ซุ้ม คือสัญลักษณ์ของหลังคา หากมีเสาคู่ตั้งขึ้นเพื่อรับซุ้มก็ครบความหมายว่า คือรูปจำลองของเรือน เช่น จระนำประตูซุ้ม  หน้าต่างซุ้ม


ซุ้มประตูประธาน และประตูซุ้มขนาบข้าง
ผนังสกัดหน้า อุโบสถวัดบรมพุทธาราม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พ.ศ.๒๒๒๕


ซุ้มของประตูประธาน คือลักษณะของปราสาท (เรือนฐานันดรสูง) คือ ชั้นซ้อนลดหลั่น ต่อขึ้นไปด้วยยอดซึ่งชำรุดหักหาย จึงอยู่ในประเภทซุ้มทรงปราสาทยอด ใต้ลงมาเป็นส่วนกลางคือเสาคู่รองรับซุ้ม ตอนล่างประดับลวดบัวในลักษณะของฐาน มองผ่านประตูซุ้มเข้าไปมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ  พระพุทธรูปจึงเสมือนประดิษฐานอยู่ในปราสาทยอดที่เป็นสัญลักษณ์ด้วย  ส่วนซุ้มของประตูข้างเป็นแบบเดียวกันทั้งที่ขนาบข้างซ้ายและข้างขวาของประตูประธาน  ในภาพคือซุ้มทางซ้ายซึ่งยังไม่ชำรุดมากนัก เป็นซุ้มทรงบรรพแถลง มีเสาคู่รองรับด้วยรูปแบบทำนองเดียวกัน  จึงมีความหมายเดียวกัน คือเป็นซุ้มสัญลักษณ์ของปราสาทประเภทเรือนหลังคาทรงจั่วซ้อนชั้น อันเป็นเรือนฐานันดรสูงเช่นกัน แต่ด้อยกว่าซุ้มสัญลักษณ์ของปราสาทยอด


ซุ้มทรงปราสาทยอด
ซุ้มทรงปราสาทยอด อยู่ต่อจากเสากรอบประตู หรือเสากรอบหน้าต่าง ซุ้มทรงปราสาทยอดมีลักษณะเฉพาะอันประกอบด้วยชั้นซ้อนลดหลั่นและต่อเนื่องขึ้นไปเป็นยอดแหลม (มีที่เรียกว่า ซุ้มยอด) หากเป็นยอดทรงปรางค์ อาจเรียกได้ว่า “ซุ้มยอดปรางค์” นับเป็นซุ้มทรงปราสาทยอด ดังเพิ่งกล่าวมาในศัพท์ “ซุ้ม”


ภาพขยายซุ้มของประตูประธาน และซุ้มประตูทางข้าง
ผนังสกัดหน้า อุโบสถวัดบรมพุทธาราม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. ๒๒๒๕


การซ้อนชั้นเช่นนี้มีต้นแบบเหลืออยู่ที่เมรุทิศ, เมรุราย ของวัดไชยวัฒนาราม (คือชั้นซ้อนแบบ “เสาตั้งคานทับ” ทำนองชั้นซ้อนที่เป็นส่วนบนของเจดีย์ทรงปรางค์) ส่วนยอดมีร่องรอยของทรงฝักข้าวโพดที่หมายถึงเฉพาะส่วนบนของเจดีย์ทรงปรางค์เช่นกัน และมักเรียกกันว่ายอดปรางค์  ซึ่งเมื่อผ่านสมัยกรุงศรีอยุธยามาสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลักษณะของซุ้มแบบชั้นซ้อนยังสืบทอดลงมา แต่ยอดเปลี่ยนเป็นเรียวแหลม อันเป็นอีกแบบอย่างหนึ่งของซุ้มยอดที่มีอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายด้วย


ประตูซุ้มทรงปราสาทยอด ผนังสกัดหน้า
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕ –๒๓๕๒)  
บูรณะปรับปรุงครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

ซุ้มที่มีชุดชั้นซ้อนประเภทเสาตั้งคานทับประกอบ คือแบบเดียวกับชุดชั้นซ้อนของซุ้มประตูอุโบสถวัดบรมพุทธาราม  ทั้งนี้ แตกต่างจากชุดชั้นซ้อนแบบหลังคาลาด แต่มียอดเรียวแหลมเช่นกัน


ประตูซุ้มทรงปราสาทยอด
วิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี (สร้างคราวบูรณะบนฐานรากเดิม)
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๓


ซุ้มทรงปราสาทยอดแบบนี้ (ปลายยอดหักชำรุด) ประกอบด้วยชุดหลังคาลาด นิยมทำกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยต่อเนื่องมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เทียบได้กับแบบอย่างหลังคายอดของพระมหามณฑป หรือพระมหาปราสาท เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง  ช่างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นิยมประตูซุ้มทรงปราสาทยอดประเภทชุดหลังคาลาด ควบคู่กับประเภทชุดหลังคาชั้นซ้อนแบบเสาตั้งคานทับ แต่ประเภทชุดหลังคาลาดได้รับความนิยมต่อเนื่องมากกว่า


ซุ้มบรรพแถลง ซุ้มทรงบรรพแถลง (ซุ้มบันแถลง)
ซุ้มบรรพแถลง ซุ้มทรงบรรพแถลง : กรอบสามเหลี่ยมรูปจั่ว ตั้งบนเสาคู่ซึ่งมีฐานรองรับอยู่เบื้องล่าง อันเป็นรูปสัญลักษณ์ของเรือนฐานันดรแบบหนึ่ง ซุ้มบรรพแถลงของหน้าต่างหรือประตูก็ตาม ล้วนเป็นเช่นเดียวกับซุ้มทรงปราสาทยอด นอกจากใช้ประโยชน์ของความเป็นประตู หน้าต่าง และงานประดับด้วยซุ้มให้งดงามยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นรูปสัญลักษณ์ของเรือนฐานันดรสูง เข้าทำนองเรือนสัญลักษณ์ซ้อนอยู่กับเรือนจริง


ภาพขยายซุ้มบรรพแถลงซึ่งเป็นซุ้มซ้อน
ประตูทางข้างของผนังสกัดหน้า อุโบสถวัดบรมพุทธาราม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พ.ศ.๒๒๒๕


เส้นกรอบซุ้มที่มีส่วนโค้งรับกันเป็นทอดเช่นนี้ ให้ความรู้สึกอ่อนหวานระคนเข้มแข็ง ลักษณะเช่นนี้จะหายไปเมื่อผ่านเข้าสู่สมัยศิลปะของกรุงรัตนโกสินทร์ อนึ่ง น่าเสียดายที่งานประดับส่วนยอดซุ้ม และสองข้างอันเป็นปลายกรอบซุ้มของอุโบสถแห่งนี้ชำรุดร่วงหมดแล้ว


ซุ้มฝักเพกา
ซุ้มฝักเพกา: คำช่างไทย ยืมชื่อมาจากฝักของต้นเพกาที่แบนยาวคล้ายใบดาบ  อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “ซุ้มขนนก” ตั้งเรียงประดับที่ขอบนอกของกรอบซุ้ม


ซุ้มฝักเพกา เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน
ศิลปะสมัยล้านนา ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙


ซุ้มฝักเพกา (ซุ้มขนนก) ของจระนำ ซึ่งมีอยู่ทั้งสี่ด้านของเรือนธาตุ  เจดีย์วัดป่าสัก คือแบบอย่างเฉพาะซุ้มอันมีชื่อเรียกว่าเคล็ค (clec) ของเจดีย์วิหารในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงแบบอย่างเจดีย์ทรงนี้กับแรงบันดาลใจที่ได้จากศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกามได้ด้วย  รูปแบบของเจดีย์วัดป่าสัก เรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทยอด หรือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด เพราะมียอดประธานหนึ่งแวดล้อมด้วยยอดบริวารอีกสี่


เจดีย์รายภายในวัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย  
ศิลปะสมัยสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙


ซุ้มผักเพกา (ซุ้มขนนก) ของเจดีย์รายองค์นี้ สะท้อนถึงการเกี่ยวข้องกับศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม อาจเกี่ยวข้องโดยตรงหรือผ่านมาทางศิลปะสมัยล้านนาเช่นเจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน


ซุ้มหน้านาง
ซุ้มหน้านาง : รูปแบบของซุ้มเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะสมัยสุโขทัย ลักษณะคล้ายคลึงมีมาก่อนในศิลปะลังกาสมัยเมืองโปลนนารุวะ  ความโค้งของซุ้มที่ดูคล้ายกรอบใบหน้าคนอันเป็นที่มาของชื่อเทียบเคียงกับกรอบหน้าของสตรี


เจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัย
ประจำทิศตะวันออกของพระมหาธาตุ วัดมหาธาตุ สุโขทัย
ศิลปะสมัยสุโขทัย ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๙


ชื่อเรียกทางช่าง โดยเทียบเคียงลักษณะของกรอบหน้า ว่า “กรอบหน้านาง” สะท้อนความคิดคำนึงในวัฒนธรรมไทยโบราณที่ยกย่องความงามของหญิง  อนึ่ง รูปแบบของซุ้มมีอยู่ก่อนในศิลปะลังกา เช่นเดียวกับลวดลายที่ประดับปลายกรอบซุ้ม และที่ยอดซุ้ม ซึ่งปูนปั้นที่พอกประดับหลุดร่วง เหลือเพียงโกลนที่ช่วยให้เข้าใจได้ว่า คงรองรับงานปั้นปูนเป็นรูปหน้ากาล เพราะตำแหน่งเดียวกันของซุ้มด้านอื่นยังเหลืองานปูนปั้นรูปหน้ากาล อันเป็นแบบอย่างที่มีมาก่อนในศิลปะลังกาเช่นกัน


เซี่ยวกาง
เซี่ยวกาง : ทวารบาลอย่างจีน วาดเป็นภาพ บางทีก็สลักไม้ มักยืนกางขาหรือยืนบนหลังสิงโต บางทีมือข้างหนึ่งยกขึ้น อีกข้างหนึ่งลูบหนวด แต่ที่ทำท่าเป็นอย่างอื่นก็มี  อากัปกิริยาอย่างงิ้ว  แตกต่างจากที่ท่านิ่มนวล  ดูงามอย่างทวารบาลของไทย  ทางจีนมีที่เรียกเซี่ยวกางว่า เซียวมึ้งกง แปลว่า ทวารบาล


เซี่ยวกาง สลักไม้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง - ปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓)


สมัยกรุงศรีอยุธยา งานสลักไม้ประดับบานประตูคงเป็นที่นิยมมาก่อนความนิยมบานประตูเป็นลวดลายประดิษฐ์ ประดับด้วยชิ้นมุก สำหรับเซี่ยวกางสลักไม้ในภาพนี้ น่าสังเกตว่าในส่วนของลวดลายประดิษฐ์ ช่างสลักได้อย่างยอดเยี่ยม ขณะที่กิริยาอย่างงิ้วของเซี่ยวกางยังเก้อเขิน  แสดงว่าช่างถนัดงานสลักสรีระน้อยกว่างานสลักลวดลาย


เซี่ยวกาง บานประตูอุโบสถวัดไชยทิศ ธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔


ทวารบาลอย่างจีน (เซี่ยวกาง) มีหลักฐานอยู่ในศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายดังเพิ่งกล่าวผ่านมา  เซี่ยวกางแสดงถึงบทบาทของชาวจีนที่ใกล้ชิดกับวัดวาอาราม (รวมทั้งปราสาทราชวังด้วย) ทวารบาลอย่างจีนมีมาก่อนทวารบาลอย่างตะวันตก  ซึ่งเป็นรูปทหารฝรั่งยืนยาม สลักจากศิลา ประดับทางขึ้นฐานพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม แต่คงเป็นฝีมือช่างจีนครั้งรัชกาลที่ ๓


หมวดพยัญชนะ
ฐาน
ฐาน คือแท่นหรือชั้นที่รองรับส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไป  โดยมีงานประดับตกแต่งฐาน ที่เรียกว่า ลวดบัว หรือ คิ้ว ลักษณะต่าง ๆ

ฐานชุกชี
ชุกชี มีที่มาจากภาษาอาหรับ ว่า “ชูกะเชอ” หมายถึง แท่นฐานสำหรับตั้งสิ่งของมีค่า เมื่อกลายมาเป็นคำช่างไทยก็ออกเสียงว่า ฐานชุกชี  ความหมายหนึ่งของฐานชุกชี คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป จึงมีที่เรียกว่า “รัตนบัลลังก์” ด้วย


พระวิหารวัดภูมินทร์  น่าน
ศิลปะสมัยล้านนา  สร้างและปรับปรุงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕


บนฐานชุกชี (รัตนบัลลังก์)  มีเสาเป็นแท่งสี่เหลี่ยม พระพุทธรูป ๔ องค์ประดิษฐานประจำเหลี่ยมทั้งสี่ ดังนี้ ชวนให้นึกถึงโครงสร้างเสากลางรับน้ำหนักในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘)  แต่คงเป็นการย้อนไปเอาแบบอย่างมาปรับปรุงใช้  โดยไม่เกี่ยวกับหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง คือเพียงให้สอดคล้องกับทางเข้าสี่ทิศของวิหาร เรียกว่าเป็นวิหารจัตุรมุข  จะได้เห็นพระพุทธเจ้าจากทั้งสี่ทิศทางเข้า


ฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย
ฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย เรียกอย่างสั้นว่า ฐานบัว  ซึ่งแตกต่างจาก “ฐานรูปดอกบัว” (ปัทมาสน์)  ฐานบัวน่าจะหมายถึงแท่นที่ประดับด้วยลวดบัว  (คิ้ว)  ซึ่งคาดประดับตามแนวนอน ลวดบัวลักษณะต่าง ๆ  มีที่เด่นชัดคือ ลวดบัวที่ดูคล้ายรูปตัดของกลีบบัวคว่ำซึ่งประดับตอนล่าง  และลวดบัวคล้ายรูปตัดของกลีบบัวหงายประดับตอนบน  จึงเรียกกันว่า ฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย  ความหมายของศัพท์ที่กลืนกล้ำความหมายกัน ระหว่างแท่นที่มีลวดบัวประดับกับฐานที่เป็นรูปบัวหงาย – บัวคว่ำ มีอยู่ไม่น้อยในงานช่างไทย


ฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย วัดมหาธาตุ  สุโขทัย  
ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐


พระพุทธรูปภายในวิหารซึ่งชำรุดและกรมศิลปากรบูรณะโดยปั้นขึ้นใหม่จากโครงเดิม รวมทั้งฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย  สองฐานตั้งซ้อนกัน  ฐานชนิดนี้เรียบง่ายที่สุดในบรรดาฐานที่ช่างไทยนิยมใช้ (ยกเว้น “เขียง” หรือ “ชั้นเขียง” ที่มักเรียกกันว่า “ฐานเขียง”)


ฐานบัวลูกแก้วอกไก่
ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ประดับลวดบัวเพิ่มเติมจากฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย ด้วย “ลวดบัวลูกแก้วอกไก่”  หนึ่งหรือสองเส้นไว้ที่ระนาบของท้องไม้ ลวดบัวดังกล่าวนูนเป็นสันที่กลางเส้น  คงดูคล้ายอกของไก่  โบราณจึงใช้เป็นชื่อเรียกลวดบัวแบบนี้เพื่อขยายลักษณะที่ตกแต่งฐาน


ฐานอุโบสถวัดกุฎีดาว พระนครศรีอยุธยา  
บูรณะครั้งสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๗๕)  
และผ่านการบูรณะของกรมศิลปากรด้วยแล้ว


งานก่อฐานและตกแต่งด้วยลวดบัว มีร่องรอยหลักฐานให้สังเกตได้ว่า ช่างโบราณเริ่มจากก่ออิฐ ถากอิฐให้เป็นเค้าโครง เช่น ลวดบัวหงาย ลวดบัวคว่ำ และลวดบัวลูกแก้วอกไก่ เป็นต้น เพื่อสะดวกสำหรับการฉาบปูน


ฐานบัวลูกฟัก
ฐานบัวลูกฟัก : งานประดับลวดบัวเพิ่มเติมที่ระนาบท้องไม้ของฐานบัว เป็นแถบคล้ายหน้ากระดาน แถบดังกล่าวปาดขอบให้มนเล็กน้อย ชื่อเรียกโยงไปหาลักษณะของลูกฟักซึ่งมนที่หัวและท้าย  ฐานอันมีลวดบัวลักษณะเฉพาะเช่นนี้มีมาก่อนในศิลปะแบบเขมร อย่างช้าเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗


ศาลตาผาแดง  สุโขทัย ศิลปะแบบเขมรก่อนราชธานีสุโขทัย
ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ส่วนบนทลายจนหมด)


ฐานบัวลูกฟักเป็นชื่อที่ช่างไทยรู้จัก และใช้กันมากกว่าอีกชื่อหนึ่งซึ่งไม่แพร่หลาย คือ “ฐานรัดประคด” หรือ “ราตคต” ก็มี  หมายถึง แถบคาดทับ “ท้องไม้”  เทียบกับรัดประคดที่เอวของพระภิกษุ สามเณร  อนึ่ง คำว่า ท้องไม้ หมายถึง ระนาบในสุดของฐาน


ฐานประทักษิณ
ฐานประทักษิณ : ฐาน หรือลานสำหรับเดินเวียนขวา (เวียนประทักษิณ)  เพื่อแสดงคารวะสิ่งอันควรเคารพสักการะเช่นเจดีย์ที่สร้างไว้กลางลานของฐานชนิดนี้ เรียกลานของฐานเช่นนี้ว่า “ลานประทักษิณ”


วัดช้างล้อม สุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัย  
ศิลาจารึกที่วัดนี้ช่วยประมาณการกำหนดอายุการสร้างได้ว่าอยู่ใน พ.ศ.๑๙๒๗


ลานประทักษิณของวัดช้างล้อมซึ่งเป็นวัดร้าง  หลังคาทลายลงเหลือเพียงตอเสาที่เรียงรายอยู่เป็นแนว แสดงว่าเคยมีหลังคาคลุม


ฐานไพที
ฐานไพที : ฐานที่รองรับสิ่งก่อสร้างหลายอย่างหลายประเภท เช่น เจดีย์ประธาน เจดีย์บริวาร  หรืออาคาร สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ไว้ด้วยกัน  หากเรียกว่า “ฐานร่วม” ก็คงได้


สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บานฐานไพที วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) บูรณะปรับปรุงครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓
(พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) และรัชกาลต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน


ฐานไพทีรองรับพระศรีรัตนเจดีย์  มีพระมหามณฑปอยู่ทางตะวันออก (ขวา) และถัดไปทางตะวันออกอีกคือปราสาทพระเทพบิดร


ฐานสิงห์
ฐานสิงห์ : ส่วนล่างของฐานบัวมีขาประดิษฐ์ให้งดงาม ดูว่ามีเค้าของขาสิงห์  คือที่มาของชื่อฐานสิงห์ ชื่อเรียกขาสิงห์พลอยให้เกิดชื่อเกี่ยวเนื่องตามมา เช่น เรียกส่วนหน้าของขาสิงห์ว่า แข้งสิงห์  หลังขาสิงห์เรียกน่องสิงห์ ซึ่งมีครีบน่องประดับ ยังมีบัวหลังสิงห์ รักแร้สิงห์ นมสิงห์ ท้องสิงห์ มีครีบท้องประดับ และกาบเท้าสิงห์


ฐานสิงห์เป็นฐานของหน้าต่างอุโบสถวัดบรมพุทธาราม พระนครศรีอยุธยา  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๒๕)

นอกจากเป็นฐานของช่องหน้าต่างอุโบสถโดยทั่วไปแล้ว ฐานสิงห์ยังใช้ตกแต่งที่ฐานของอุโบสถด้วย  อุโบสถแห่งนี้ก็เช่นกัน  อนึ่ง เจดีย์ของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายก็มักล้วนมีฐานสิงห์ก่อซ้อนลดหลั่นเป็นชุดด้วย  โดยผ่านความนิยมต่อเนื่องมาในศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนแม้ปัจจุบันก็ยังนิยมกันทั้งฐานอุโบสถ วิหาร และฐานเจดีย์ เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ตุลาคม 2558 10:52:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 มกราคม 2556 15:39:12 »

หมวดพยัญชนะ
ดาวเพดาน
ดาวเพดาน : งานประดับเพดานของอาคาร เช่น อุโบสถ วิหาร หรือพระที่นั่ง ชุดของดอกดวงดารดาษเป็นจังหวะโดยมีแบบแผนคือ ดอกประธานอยู่กลาง กระจายเป็นดอกบริวารอย่างมีระเบียบงดงาม ทำไว้ทั้งที่เป็นงานวาดระบายด้วยสีและปิดทอง หรือสลักไม้ปิดทอง ดาวเพดานมีที่เรียกในชื่ออื่นที่ไม่เป็นที่นิยมนัก คือ “ดาราราย”  อีกชื่อหนึ่ง คือ “เกือกพวง”


ดาวเพดาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑  (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)  
บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔)


เมื่อยังไม่ติดตั้งดวงไฟที่ดาวเพดานแต่ละชุด ความงดงามของดาวเพดานเกิดขึ้นเพราะความมลังเมลืองด้วยแสงจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาทางช่องประตู ช่องหน้าต่าง แต่หลังติดตั้งดวงไฟ (ดังภาพ)  แสงจ้าจากหลอดไฟเปลี่ยนบรรยากาศจากเดิม จนลืมรู้สึกถึงสัมผัสจากธรรมชาติภายนอก


ดาวเพดาน พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ คงผ่านการบูรณะในพุทธศตวรรษที่ ๒๓
และครั้งสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


ดาวเพดานงามด้วยรายละเอียด ด้วยจังหวะช่องไฟของงานประดับ พื้นสีแดงเน้นสีทองของลายประดับ ดอกดวงใหญ่น้อยแพรวพราวด้วยประกายจากชิ้นกระจกสี


ดินเผา
ดินเผา : ดินที่ผ่านการปรุงและนวดจนเนื้อแน่นก่อนนำมาปั้นรูป หรือปั้นเป็นก้อนก่อนจะนำเผาเป็นอิฐ หรือนำมาผสมน้ำให้เหลวเพื่อเทกรอกใส่แม่พิมพ์ รูปดินดิบเมื่อผ่านขั้นตอนเผาจนสุก ก็กลายเป็นดินเผาที่แกร่งและทนทานมาก


ตุ๊กตาดินเผา รูปคนจูงลิง
ศิลปะทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
พุทธศตวรรษที่ ๙–๑๐


มีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับรูปคนจูงลิง เช่นที่กล่าวว่าเป็นคติความเชื่อของคนสมัยทวารวดีที่อุปมาอุปไมยใจคนว่าสอดส่ายซุกซนเหมือนลิง  ต้องได้รับการฝึกอบรมจึงจะดีได้  หรือข้ออธิบายทำนองว่าเป็นเจตนาสร้างเพื่อหักส่วนหัวที่เรียกว่า ตุ๊กตาเสียกบาล  รวมทั้งความเห็นที่ว่าเป็นเพียงรูปตุ๊กตาดูเล่นโดยมิได้มีนัยใด ๆ ในเชิงคติสอนใจ  ตุ๊กตาดินเผารูปคนจูงลิงได้พบทั่วไปในแหล่งโบราณคดีทวารวดี ซึ่งมีทั้งทางภาคกลาง ภาคเหนือที่ลำพูน เป็นต้น


เศียรพระพุทธรูป ดินเผา  ศิลปะหริภุญชัย  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติลำพูน  พุทธศตวรรษที่ ๑๘


งานช่างของสมัยเมืองหริภุญชัยมีชื่อเสียงด้านงานดินเผา  โดยเฉพาะการทำพิมพ์เพื่อหล่อเป็นรูปด้วยการกรอกน้ำดินและผ่านการเผาให้สุกเป็นรูปดินเผา  ชิ้นส่วนชำรุดจำนวนมาก รวมทั้งที่เหลือเฉพาะเศียรพระพุทธรูป เศียรเทวดา ยืนยันถึงคำกล่าวข้างต้น  อนึ่ง รูปแบบของเศียรพระพุทธรูป มีที่พิเศษนอกเหนือจากลักษณะท้องถิ่น และไม่มีสกุลช่างใดเหมือน คือ ความสมจริง เช่นที่เจตนากรีดเส้นเล็ก ๆ เป็นเส้นพระขนง (เส้นคิ้ว) และมักไม่เว้นการทำเส้นพระมัสสุ (หนวด)



หมวดพยัญชนะ
ตริภังค์
ตริภังค์ : ท่ายืนเอียงสามส่วน คือ ศีรษะ ไหล่ และสะโพก


พระพุทธรูปปางประทานพร  ศิลา  
ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ พุทธศตวรรษที่ ๑๐–๑๑
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


เกิดจากอิริยาบถยืนที่เอียงสะโพก  อันเป็นทีท่าผ่อนคลายที่งดงามตามรสนิยมของชาวอินเดียโบราณซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของกรีก – โรมัน  ตริภังค์แพร่หลายจากอินเดียมาสู่งานช่างในอดีตของดินแดนในภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมดินแดนไทยพบในสมัยศิลปะทวารวดี  ซึ่งรับนับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืนแบบตริภังค์ไม่เป็นที่นิยมในงานช่างฝ่ายเถรวาทของสมัยศิลปะรุ่นต่อ ๆ มาในดินแดนไทย รวมถึงปัจจุบันด้วย


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ดินเผา  
ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พระองค์ทรงห่มหนังกวาง (แถบที่พาดผ่านพระอุระข้างซ้าย)  ซึ่งช่างได้สลักรูปหัวกวาง เหลืออยู่เป็นเค้าราง ๆ  การห่มหนังกวางเป็นอาภรณ์อย่างหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ทรงถือคนโฑน้ำ (ชำรุด) ที่พระหัตถ์ขวา  พระโพธิสัตว์คือรูปเคารพของผู้รับนับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ซึ่งคงเป็นส่วนน้อยที่ปะปนอยู่กับฝ่ายเถรวาทอันเป็นส่วนใหญ่ในวัฒนธรรมทวารวดี  งานช่างฝ่ายเถรวาทนิยมสร้างพระพุทธรูป ขณะที่ฝ่ายมหายานนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์


ตรีมุข
ตรีมุข: ส่วนที่ก่อยื่นออกจากตัวอาคารคือมุข  มีทางเข้าที่ด้านหน้า และด้านข้างทั้งสอง รวมสามด้าน


ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ใน พ.ศ. ๑๙๖๗
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)


ตรีมุขซึ่งหมายถึงทางเข้าสามทางมีต้นแบบที่ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘–๑๙ (ก่อนตั้งราชธานีที่กรุงศรีอยุธยาราว ๑๐๐ ปี)  ย้อนขึ้นไปได้ถึงต้นเค้าอันซับซ้อน เช่น ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา  ซึ่งสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗


ตู้พระธรรม
ตู้พระธรรม: มีที่เรียกว่า “ตู้ลายรดน้ำ”  ที่ทำเป็นหีบเรียกว่า “หีบพระธรรม” หรือ “หีบลายรดน้ำ”


ตู้พระธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๓


ตู้พระธรรม ประเภทที่เรียกว่า ตู้ลายรดน้ำ หรือ ตู้ลายทอง  ตู้ใบข้างหน้าในภาพมีชื่อเสียงมาก ได้ชื่อว่า “ตู้ครูวัดเซิงหวาย”  หมายถึง ฝีมือช่างระดับครู ได้มาจากวัดเซิงหวาย  ฝีมือระดับครูที่ชัดเจน เป็นอิสระ  ออกแบบเขียนลวดลายประดิษฐ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ คือตัวตนของครูช่างโดยแท้  อนึ่ง มีคำอธิบายว่า ก่อนที่จะเป็นตู้พระธรรมอยู่ตามวัด คงเป็นตู้เครื่องเรือนของเจ้านายในราชสำนัก สำหรับเก็บใส่เครื่องใช้ไม้สอย หรือใส่เสื้อผ้า เป็นต้น  ต่อมาคงมีผู้นำไปถวายวัด เมื่อเห็นดี ทำตามๆ กันมา  จนกลายเป็นเรื่องของวัดเพื่อใส่พระธรรมคัมภีร์ แล้วเรียกว่า “ตู้พระธรรม”


ตู้พระธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓


รูปเทพทวารบาล  ทางขวามีสามเศียรหมายถึงพระพรหม (พระพรหมมีสี่เศียร ข้อจำกัดของภาพเขียนจึงให้เห็นได้เพียงสามเศียร)  ทางซ้ายมีเพียงเศียรเดียวคงเป็นพระอินทร์  ท่ายืนที่มีจังหวะลีลาเชิงนาฏลักษณ์  เศียรเด่นด้วยประภามณฑลที่ล้อมรอบ  ประภามณฑลผลักระยะให้ดูเด่นออกจากพื้นหลังที่เป็นท้องฟ้าไกลออกไป มีก้อนเมฆใหญ่ – น้อยลอยละล่อง  ดังกล่าวนี้คือกรรมวิธีลวงตาให้เห็นเป็นระยะไกล – ใกล้ ของภาพที่มีเพียงสีดำและสีทอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ตุลาคม 2558 11:33:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 21 มกราคม 2556 15:09:47 »

หมวดพยัญชนะ
ทวารบาล
ทวารบาล : รูปเทวดายืนสลักจากไม้ หรือวาดเป็นภาพประดับบานประตู บานหน้าต่าง  หมายถึง เทพผู้พิทักษ์รักษา อันเป็นสิริมงคลตามคติไทย หากเปลี่ยนเป็นรูปภาพขุนศึกจีน ก็มีชื่อเฉพาะว่า เซี่ยวกาง


บานประตูสลักไม้ จากสถูปหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง  รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๔๒
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา


ทีท่าของเทพทวารบาลยังไม่ได้จังหวะครบถ้วนความงามเมื่อเทียบกับส่วนประดับประดา เช่น ลวดลายช่อดอกไม้ที่พระหัตถ์ ประภามณฑลพร้อมกระหนกที่ปลาย และร่มฉัตรกับริ้วผ้าที่พลิกม้วน


ทวารบาล จิตรกรรมบนบานประตูพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓


เทพทวารบาลในงานจิตรกรรมมีทีท่านุ่มนวล  อิริยาบถยืนที่มีจังหวะงดงาม พระหัตถ์อยู่ในทีท่าอ่อนโยน บรรดาลวดลายที่ประกอบในภาพล้วนแสดงถึงฝีมือช่างชั้นครู  หากกล่าวถึงงานช่างโบราณระหว่างงานเขียนกับงานสลัก  คงเป็นประเด็นของงานช่างเขียนที่งานครบถ้วน  ฝีมือก้าวหน้ากว่างานของช่างสลัก  โดยเฉพาะในส่วนของรูปภาพ เช่น ทวารบาล


ทับหลัง คานทับหลัง
ทับหลัง คานทับหลัง : แท่งหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน  มีความหนาเพราะทำหน้าที่เป็นคานรับน้ำหนักส่วนบนคือหน้าบรรพ  ทับหลังตั้งอยู่บน (หลัง) กรอบวงกบประตู จึงเป็นที่มาของคำเรียกอย่างสั้นว่า ทับหลัง  เรียกอย่างยาวว่า คานทับหลัง  ช่างเขมรโบราณสลักรูปเล่าเรื่องหรือลวดลายประดับทับหลังให้งดงามและมักมีความหมายทางด้านคติความเชื่อ อันเป็นข้อมูลในการกำหนดอายุโดยเปรียบเทียบลักษณะทางวิวัฒนาการ


ปราสาทแบบขอมหลังหนึ่งในบริเวณปราสาทเมืองต่ำ บุรีรัมย์  
ศิลปะแบบเขมร ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗


ทับหลังหรือคานทับหลัง ทำหน้าที่รับน้ำหนักที่กดลงจากตอนบนคือหน้าบรรพ  ขนาดและสัดส่วนของทับหลังไม่มีเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับรูปแบบรูปทรงของปราสาท เช่น ทับหลังขนาดใหญ่ในภาพนี้  แตกต่างจากทับหลังขนาดเล็กกว่ามาก เช่น ทับหลังของปราสาทของพระวิหาร ศรีสะเกษ  ซึ่งร่วมสมัยกับปราสาทเมืองต่ำแห่งนี้ แต่แผนผังของปราสาท (พื้นที่ของศาสนสถาน) และรูปแบบปราสาท (แบบอย่างสถาปัตยกรรม) นั้นแตกต่างกัน


เทพชุมนุม
เทพชุมนุม : โดยทั่วไปหมายถึง เหล่าอมนุษย์วรรณะต่าง ๆ เช่น เทวดา ยักษ์ วิชาธร (วิทยาธร)  พญาครุฑ  พญานาค  เป็นต้น พากันมาร่วมชุมนุมครั้งสำคัญ คือ เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ  อมนุษย์ทั้งหมื่นจักรวาลที่มาชุมนุมกัน  ทางช่างเรียกว่า เทพชุมนุม  มักวาดไว้บนพื้นที่เหนือหน้าต่างของผนังด้านข้างของอุโบสถ เหล่าผู้มีฤทธิ์นั่งเรียงสลับโดยไม่ลำดับบุญบารมีว่าสูงหรือต่ำกว่ากัน


เทพชุมนุม จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชระบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓

อมนุษย์จากหมื่นจักรวาล  พากันมาชุมนุมแสดงความยินดีที่พระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ปรัชญาพุทธศาสนาแฝงอยู่ในเรื่องอุดมคติตอนนี้ที่ระบุว่า เหล่าอมนุษย์ต่างประเภท ต่างชั้นวรรณะมาร่วมชุมนุมไม่มีข้อรังเกียจ และในวาระนั้น ภพนรก ภพมนุษย์ ภพสวรรค์ ต่างเปิดเห็นกันโดยตลอด

ความเด่นชัดในเชิงช่างของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้คือ การใช้สีสดจัดอย่างมีจังหวะอันเหมาะสม ทุกสีจึงกลมกลืนไปด้วยกันอย่างมีเอกภาพ  จำนวนมากของเหล่าอมนุษย์ล้วนพนมมืออยู่ภายในแถวที่เรียงซ้อนกัน แต่ไม่ชวนให้รู้สึกซ้ำซาก เพราะช่างเขียนสลับปรับท่านั่งให้เห็นเป็นมุมด้านเฉียงบ้าง มุมด้านข้าง ลายผ้านุ่งที่ยังเหลืออยู่แสดงถึงการยักย้ายสลับสีอย่างช่ำชอง  เช่นเดียวกับความมากหลายที่ช่างเขียนเลือกสลับปรับเปลี่ยนสี  รวมทั้งรูปสามเหลี่ยมเรียงแถวที่ตอนบนของแต่ละแถว  ซึ่งพื้นที่ของสามเหลี่ยมแต่ละรูปประดับด้วยภาพช่อลายดอกไม้มากหลายลักษณะและสีสัน



เทพชุมนุม จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ  ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เขียนขึ้นในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒) บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


เหล่าเทพยดาชุมนุม  นอกจากตอนพระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีวาระอื่น  เช่น การนมัสการเจดีย์จุฬามณี ที่เข้าใจว่าเป็นวาระนี้เพราะพระอินทร์ระบายสีเขียวนั่งนมัสการขนาบข้างภาพเจดีย์ ภาพนี้อยู่เหนือช่องประตูของผนังสกัดหลัง อยู่ด้านตะวันตกและเหนือช่องประตูของผนังสกัดหน้า ซึ่งอยู่ด้านตะวันออก มีภาพแถวเทวดานมัสการเจดีย์เช่นกัน เข้าใจว่านมัสการทุสสะเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดุสิต



เทวรูป
เทวรูป : รูปเคารพในศาสนาฮินดู  มีทั้งเทพเจ้าสูงสุด ได้แก่พระศิวะ (พระอิศวร) พระนารายณ์ (พระวิษณุ) และพระพรหม  ส่วนเทพเจ้าชั้นรอง ได้แก่ พระคเณศ ท่าวกุเวร (ท้าวชัมพล)  เหล่าเทพเจ้าประจำทิศต่าง ๆ เป็นต้น รูปเคารพเหล่านี้ล้วนมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคำสั่งสอนทางศาสนา  กล่าวคือ แสดงสาระสำคัญแห่งศักดานุภาพของแต่ละพระองค์


ศิวะลึงค์ (มีที่เรียกว่า เอกามุขลึงค์)  ศิลา  
ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ ๑๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


หากให้คำอธิบายว่า ส่วนล่างเป็นแท่นสี่เหลี่ยม หมายถึง พระพรหมคือพรหมภาค  ส่วนทรงแปดเหลี่ยม หมายถึง พระนารายณ์ เรียกชื่อว่า วิษณุภาค  และส่วนบนซึ่งเป็นทรงกระบอก หมายถึง รุทรภาค คืออีกชื่อหนึ่งของพระศิวะ ก็หมายถึงการรวมศักดานุภาพของเทพเจ้าสูงสุดทั้งสามไว้ที่ศิวะลึงค์  อย่างไรก็ดี การพิจารณาเชิงช่างได้ข้อสังเกตว่า แท่นสี่เหลี่ยม เมื่อขึ้นถึงส่วนกลางเปลี่ยนเป็นแปดเหลี่ยม เท่ากับปาดมุมสี่เหลี่ยมให้เป็นแปดเหลี่ยม เพื่อให้เกิดความกลมกลืนส่งต่อขึ้นไปเป็นส่วนบนทรงกระบอก  ทั้งนี้ ยังมีข้อคำนึงถึงการติดตั้ง โดยส่วนสี่เหลี่ยมและส่วนแปดเหลี่ยมที่ฝังอยู่กับส่วนรองรับล่างสุดที่เรียกว่า โยนี หมายถึง พระอุมามเหสีของพระศิวะ (โยนีรองรับน้ำที่รดศิวะลึงค์ จึงเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์)  โยนีจึงตรึงศิวะลึงค์ให้มั่นคงไม่ล้มลง  อนึ่ง ยังมีข้ออธิบายว่า แท่งศิวะลึงค์ คือ เค้าโครงของปราสาทแบบเขมร


เทวรูปพระนารายณ์ ศิลา ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า  
พุทธศตวรรษที่ ๙–๑๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ด้วยลักษณะเก่าเทียบเคียงกับศิลปะอินเดียโบราณรุ่นพุทธศตวรรษที่ ๘ – ๙  เทวรูปพระนารายณ์องค์นี้แสดงให้เห็นว่าช่างสลัก ซึ่งอาจเป็นช่างท้องถิ่นที่เรียนรู้จากต้นแบบ ได้รู้ปัญหาของวัสดุ คือ ศิลา ว่าแข็งแกร่งแต่เปราะ จึงสลักโดยเหลือเนื้อศิลาไว้เสริมความแข็งแรง แต่ก็หักชำรุด เหลืออยู่ทางซ้ายและขวาที่ด้านข้างของส่วนล่างพระวรกาย ชายพกที่ช่างสลักให้เหลือศิลาจากส่วนฐานขึ้นมาเพื่อเสริมความแข็งแรงด้วย กระนั้นก็หักชำรุดจนได้ (กรมศิลปากรได้ต่อชิ้นส่วนหักชำรุดที่เหลือกลับเข้าที่เดิม)  อนึ่ง ศิราภรณ์ (หมวก) ทรงกระบอก คือลักษณะหนึ่งที่ช่างสมัยนั้นสลักสำหรับเทวรูปพระนารายณ์โดยเฉพาะ โดยมีลักษณะทางประติมานวิทยา (ลักษณะที่บ่งบอกความหมายของรูปเคารพ) เช่น ทรงมีสี่กร ทรงถือจักร สังข์ คทา และดอกบัว (หมายถึงธรณี) ร่วมอยู่ด้วย


เทวรูปพระนารายณ์ (พระวิษณุ) ศิลา  
ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


สี่กร (ชำรุด)  อันเป็นลักษณะของรูปพระนารายณ์ ท่ายืนเอียงสะโพก  แสดงศักดานุภาพที่แฝงด้วยความงามสง่านุ่มนวล ได้พบว่านิยมสร้างสำหรับเทวรูปในศาสนาฮินดู รูปพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็นิยมด้วย  อนึ่ง รอยต่อที่ข้อพระบาททั้งสองที่หัก ซึ่งกรมศิลปากรซ่อมแซมตามหลักฐาน นับเป็นสภาพชำรุดที่เป็นปรกติของประติมากรรมสลักจากศิลาอันเป็นวัสดุแข็งแกร่งแต่เปราะ


เทวรูปพระกฤษณะโควรรธนะ ศิลา  
ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ ๑๒– ๑๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พระวรกายที่เอนเอียงแบบตริภังค์ พระกรซ้ายซึ่งชำรุด เคยอยู่ในท่ายกขึ้น นักวิชาการจึงอธิบายว่าเป็นพระกฤษณะ (อวตารหนึ่งของพระนารายณ์) ทรงยกภูเขาโควรรธนะเพื่อปกป้องคนเลี้ยงโคกับฝูงโคให้พ้นจากฤทธิ์โทสะของพระอินทร์ น่าเสียดายที่ประติมากรรมนี้ชำรุด ไม่เหลือชิ้นส่วนให้ซ่อมแซมได้ครบสมบูรณ์


เทวรูปพระอาทิตย์ ศิลา
ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


กรณีที่รูปแบบหรือสัญลักษณ์ของประติมากรรมคลุมเครือ  ไม่มีหลักฐานชัดเจนให้ระบุได้ว่าเป็นรูปเทพเจ้าองค์ใด นักวิชาการต้องพยายามหาหลักอ้างอิง เช่นในกรณีนี้ เหตุผลหนึ่งในบรรดาข้อมูลอื่นที่โน้มน้าวให้นักวิชาการเชื่อว่าเป็นเทวรูปพระอาทิตย์ คือ แผ่นวงกลมที่เป็นพื้นหลังของพระเศียรอันควรเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาทางช่างเพิ่มเติมความเข้าใจได้อย่างหนึ่ง ไม่ว่าแผ่นวงกลมจะหมายถึงดวงอาทิตย์หรือไม่ก็ตาม กล่าวคือ แผ่นวงกลมเป็นศิลาชิ้นเดียวกับเทวรูป ช่างสลักได้เหลือไว้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้พระศอ คือให้ต่อเนื่องจากพระอังสะขึ้นไปถึงพระเศียร  พระศอของประติมากรรมรูปนี้จึงไม่หักชำรุด


เทวรูปพระนารายณ์ ศิลา  
ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


แม้อยู่ในสภาพชำรุด แต่ความเด่นชัดของสัดส่วนตลอดจนลักษณะทางกายวิภาคแสดงว่าเป็นงานช่างที่มีพัฒนาการระดับสูงแล้ว ท่ายืนกางพระเพลา (ขา) เล็กน้อย แสดงอาการมั่นคงด้วยกล้ามพระมังสา (กล้ามเนื้อ) ที่ตึงแน่นของพระอูรุ (โคนขา)  พระอุระ (อก)  ยืดพระพาหา (ไหล่ต่อเนื่องไปถึงศอก)  ผายและกางออกแสดงอำนาจแห่งฤทธานุภาพของพระองค์


เทวรูปพระนารายณ์ สำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย
าวรัชกาลพระเจ้าลิไท (พ.ศ.๑๘๙๐ – ราว พ.ศ.๑๙๑๑)  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


สมัยราชธานีสุโขทัย พุทธศาสนาเถรวาทรุ่งเรืองเป็นหลักสำคัญ กระนั้นก็มีการเคารพบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดูด้วย  ดังศิลาจารึกบางหลักของสมัยสุโขทัยระบุว่ามีการหล่อเทวรูปพระอิศวร  เทวรูปพระนารายณ์ เป็นต้น เทวรูปในศิลปะสมัยสุโขทัยมีลักษณะทางสุนทรียภาพทำนองเดียวกับพระพุทธรูปในศิลปะสมัยเดียวกันนี้ โดยเฉพาะพระพุทธรูปหมวดใหญ่ เช่น พระพักตร์รูปไข่ พระอังสา (บ่า) ใหญ่  บั้นพระองค์ (เอว) เล็ก  แสดงถึงความเป็นงานช่างร่วมสมัย


เทวรูปพระอิศวร (พระศิวะ) สำริด
ศิลปะสมัยสุโขทัย ราวรัชกาลพระเจ้าลิไท (พ.ศ.๑๘๙๐–ราว พ.ศ.๑๙๑๑)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


เช่นเดียวกับเทวรูปพระนารายณ์ที่เพิ่งผ่านมา คือ สุนทรีภาพอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่สร้างเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ตามความหมายของพระอิศวร คือพระองค์ประทับยืนเหนือโยนี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ตุลาคม 2558 14:53:15 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556 11:43:08 »

.
หมวดพยัญชนะ
นกคาบ, ลาย
ลายนกคาบ เรียกเพราะมีจะงอยคล้ายปากนกโดยมีกระหนกประกอบอยู่ด้วย ช่างใช้ลายนี้เพื่อให้ได้จังหวะก่อนจะต่อลายหรือแยกลายไปตามทิศทางที่กำหนด


ลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบรรพ อาคารทรงตึก (มีที่เรียกอาคารนี้ว่าเป็น วัดเตว็จ)
พระนครศรีอยุธยา ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓


ลายวงโค้งมีที่เรียกว่า ก้านขด เช่นลายนี้ คงแปลงจากลายฝรั่ง คือ ลายใบไม้พลิกข้าง ตรงจุดแยกของก้านขดมีลายประดับดูคล้ายหัวนก เป็นที่มาของชื่อลายนกคาบ เข้าใจว่าแปลงจากลายฝรั่งเช่นกัน โดยจะกลายลักษณะอย่างรวดเร็วโดยเป็นลายประดับแบบกรุงศรีอยุธยา


ลายเส้นจากตู้พระอภิธรรม ฝีมือครูจากวัดเซิงหวาย
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พัฒนาการของลายนกคาบลักษณะต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๒ แบบตามแต่ใจชอบของช่าง เช่น ที่วาดเป็นจะงอยปากนกก็มี ปากแบบจระเข้ก็มี


นภศูล, นพศูล
“นภ” แปลว่า ท้องฟ้า “ศูล” แปลว่า เครื่องมือที่มีปลายแหลมอย่างหนึ่ง เช่นหอกซึ่งเป็นอาวุธมีด้ามยาว นภศูลจึงแปลว่าอาวุธที่เสียดขึ้นไปกลางท้องฟ้า ส่วน นพศูล แปลว่า อาวุธเก้าแฉก  นภศูล และ นพศูล  สะกดเอาแน่ไม่ได้ แต่ที่แน่คือใช้ประดับเป็นยอดของเจดีย์ทรงปรางค์  ซึ่งต้นแบบของการประดับมีมาก่อนที่ปราสาทแบบเขมร


นภศูล โลหะ ประดับเป็นยอดเจดีย์ทรงปรางค์ วัดระฆังโฆษิตาราม ธนบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างราวรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒)


ปลายส่วนบนที่สอบมนของเจดีย์ทรงปรางค์ เมื่อต่อยอดด้วยนภศูลจึงงามครบถ้วน  นภศูลประดับเป็นยอดปราสาทแบบเขมร และเจดีย์ทรงปรางค์ของไทยเสมอ ที่ใดไม่มีเป็นเพราะชำรุดเสียหายไปทั้งสิ้น


นภศูล โลหะ ลงรักปิดทอง ที่ปรางค์มุมองค์หนึ่งของพระอุโบสถ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  วัดนี้บูรณะปรับปรุงจากวัดเก่า
ที่มาก่อนตั้งกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)
และสร้างเสริมเพิ่มเติมครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


ตัวอย่างนภศูล รูปทรงสัดส่วนงามเพรียว ด้วยรสนิยมอย่างไทยผิดจากความล่ำสันแข็งขันอย่างเขมร


นาคเบือน
นาคเบือน: อยู่ที่ปลายล่างทั้งสองของข้างกรอบหน้าบรรพ เค้าโครงที่เรียบง่ายแต่งดงามของนาคเบือน คลี่คลายจากพญานาคห้าเศียรซึ่งมีอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันที่ปราสาทแบบเขมร ไม่แน่ว่าช่างไทยทำนาคเบือนมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ทำสืบเนื่องมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะหมดความนิยมลง และหันมาทำหางหงส์แทน


นาคเบือน ไม้ลงรักปิดทอง
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)


นาคเบือนของพระมหาปราสาทองค์นี้ คงเป็นระยะปลาย ก่อนที่ความนิยมจะเปลี่ยนเป็นหางหงส์ นาคเบือนมีต้นคิดต้นแบบเดียวกับหางหงส์ คือพญานาคห้าเศียรจากศิลปะแบบเขมร แต่ด้วยรสนิยมอย่างไทย รูปทรงหนาหนักในศิลปะเขมรจึงได้รับการพัฒนาในแนวเรียบง่ายโดยที่ยังรักษาเค้าของห้าเศียรพญานาค ก่อนจะเปลี่ยนเป็นหางหงส์



นาคปัก
นาคปัก : ชื่อตามลักษณะและตำแหน่งที่ประดับ คือเป็นรูปพญานาคห้าเศียร ตั้งประดับ (ที่มาของคำว่า “ปัก”) บนมุมประธานของชั้นซ้อนลดหลั่นของปราสาทแบบขอม


นาคปัก ปราสาทพนมรุ้ง ศิลา บุรีรัมย์
ศิลปะแบบเขมร  ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗

นาคปัก ปักหรือตั้งประดับเป็นหลักบนมุมประธานซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามุมย่อยที่ขนาบ นาคปักของปราสาทแบบเขมรช่วยให้จังหวะของพื้นที่เป็นสัดส่วนยิ่งขึ้น โดยที่ต่อมาจะมีพัฒนาการอยู่กับเจดีย์ทรงปรางค์ด้วย


นาครวย  ตัวรวย
นาครวย ตัวรวย คือตัวไม้ที่แยกเฉียงลงมาจากยอดจั่วที่ประดับช่อฟ้า นาครวยไม่คดโค้งหรือหยักสะดุ้ง คำว่า นาคมีที่มาจากรูปพญานาค ปลายล่างคือเค้าของหัวพญานาคโดยทั้งแบบที่เป็นหางหงส์ และแบบที่เรียกว่า นาคปัก  คำว่า นาค มี “รวย” เพิ่มขึ้น คงได้จากลักษณะที่ระทวยเป็นแนวเอนลาด  แต่ก็อาจเข้าใจไปได้ว่า คือการประดับแถวใบระกา ทำให้เรียก นาครวย หรือ ตัวรวย โดยหมายถึง ร่ำรวยใบระกา


นาครวย พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
เดิมเป็นวังหน้า กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาททรงครอง
และสร้างไว้ในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕ – ๒๓๕๒)
ได้รับการปรับปรุงในรัชกาลที่ ๓ และต่อมารัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓)
โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร


นาครวยที่เรียบง่ายดูเหมือนว่าถูกกำหนดให้เป็นลักษณะของวังหน้า เพื่อให้แตกต่างจากนาคลำยอง หรือตัวลำยอง  ซึ่งมีส่วนคดโค้งที่ตกแต่งความงามสง่าให้เด่นชัดยิ่งขึ้น สมกับเป็นงานช่างของพระราชวังหลวง


นาคลำยอง ตัวลำยอง
นาคลำยอง ตัวลำยอง : ช่างไทยหมายถึงเรียกลำตัวของพญานาค ซึ่งประดิษฐ์เป็นกรอบหน้าบรรพของปราสาทแบบเขมรมาก่อน เมื่อมีพัฒนาการในศิลปะไทย ลำตัวพญานาคคลี่คลายมามาก ตอนล่างคดโค้งเป็นจังหวะสอดรับกันด้วยลักษณะแปลกจากเดิม มีชื่อเรียกว่า นาคสะดุ้ง โดยมีครีบนาคที่เรียกว่าใบระกาประดับเรียงเป็นแถว


นาคลำยอง หรือกรอบหน้าบรรพมุข
ของพระระเบียงคด วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)
บูรณะปรับปรุงจากวัดเก่าที่มีมาก่อนตั้งกรุงเทพฯในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)
และสร้างเสริมเพิ่มเติมครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


ส่วนล่างที่คดโค้งช่วยให้นาคลำยองงามคมคายยิ่งกว่านาครวย  โดยเฉพาะจังหวะตวัดปลายแหลมลงที่เรียกว่า “งวงไอยรา” ก่อนจะเริ่มส่วนโค้งเป็นคลื่นลงมาที่ปลายกรอบซุ้มซึ่งออกเป็นหางหงส์



หมวดพยัญชนะ
บรรพแถลง (บันแถลง)
บรรพแถลง (บันแถลง) : มีที่สะกด “บันแถลง”  โดยทั่วไปคือรูปจั่วอันเป็นด้านหน้าของอาคาร ซึ่งหมายถึงหลังคาด้วย รูปอาคารจำลองอันเป็นสัญลักษณ์ของปราสาทหรือวิมาน คือบรรพแถลงของปราสาทแบบขอม สลักจากแท่งหิน  เพื่อประดับบนมุมของส่วนบน ซึ่งเป็นชุดชั้นซ้อนลดหลั่น บรรพแถลงของปราสาทแบบขอม ประกอบด้วยฐานรองรับเสาซึ่งหมายถึงตัวอาคารและครอบด้วยจั่วซึ่งหมายถึงหลังคา  ความเป็นวิมานหรืออาคารจำลองที่กล่าวมานี้ ชัดเจนยิ่งขึ้นจากรูปสลักบุคคล เช่น มีรูปเทวดาภายในวิมานจำลองนี้ด้วย  อนึ่ง มีคำเรียก “นาคปักบรรพแถลง” เพราะตั้งประดับนาคปักกับบรรพแถลงคู่เป็นชุดกัน มีเฉพาะที่ปราสาทแบบเขมร ส่วนบรรพแถลงที่เป็นสัญลักษณ์ของอาคารจำลองแบบไทย เป็นรูปหน้าบรรพมีกรอบ ไม่ทำเสา ไม่มีฐาน สำหรับประดับเรียงขนาดน้อยใหญ่ตามขอบหลังคาลาดลดหลั่นของหลังคายอดของมณฑป


บรรพแถลง ศิลา ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ศิลปะแบบเขมร กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗


งานประดับที่มีสองนัยสำคัญ คือ บรรพแถลง  นัยแรก ความเป็นงานประดับที่ลดพื้นที่ว่างเปล่าและช่วยให้เกิดความต่อเนื่องกลมกลืนของพื้นที่บริเวณนั้น  นัยที่สอง บรรพแถลงมีความหมายที่เป็นรูปสัญลักษณ์ของอาคารจำลองหรือวิมาน เติมเต็มความหมายของความเป็นเรือนชั้นหรือเรือนฐานันดรสูง  บรรพแถลงของปราสาทแบบเขมร มีจังหวะของการประดับที่น่าสนใจ  กล่าวคือ บรรพแลงที่เป็นรูปด้านหน้า เห็นได้เต็มใบ ใช้ประดับบนกลางด้านทั้งสี่ (ประจำทิศ)  ส่วนที่ใช้ประดับบนมุม (ประจำมุม) บรรพแถลงก็หักฉาก จึงมีสองซีก เห็นได้จากสองมุมมองแต่ละมุมมองเห็นได้ครึ่งซีก


พระมหามณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕ – ๒๓๕๒)  
บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)


หลังคาลาดซ้อนชั้นเป็นชุดของสถาปัตยกรรมฐานันดรสูงรูปทรงนี้ มีบรรพแถลง ใหญ่ – น้อย  ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของอาคารจำลอง ซึ่งทำเฉพาะรูปจั่ว (หลังคา) ตัดเสา ตัดฐานออก      


บัลลังก์
บัลลังก์ : แท่นฐานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ แต่เมื่อใช้เป็นองค์ประกอบของเจดีย์ ทำตั้งไว้บนทรงระฆังก็เรียกบัลลังก์ บางทีก็เรียกบัลลังก์ว่า “ฐานยอด”


พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔ – ๒๔๑๑)

พระเจดีย์องค์นี้รัชกาลที่ ๔  โปรดให้ถ่ายแบบจากเจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญ  พระนครศรีอยุธยา  ซึ่งส่วนที่เป็นบัลลังก์เด่นชัด สะท้อนถึงการเกี่ยวข้องกับการทำบัลลังก์เหนือระฆังของเจดีย์โบราณในประเทศศรีลังกา

บัวปลายเสา  บัวหัวเสา
บัวปลายเสา  บัวหัวเสา : ส่วนประดับที่ปลายเสาให้เป็นรูปกลีบบัว  บัวหัวเสามีหลายลักษณะแตกต่างกันไป อันเป็นเครื่องบ่งชี้พัฒนาการตามยุคสมัย


บัวปลายเสา ดินเผา วิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ.๒๐๔๒


กลีบบัวเล็กๆ  ประกอบกันเป็นทรงดอกบัวประดับเป็นบัวปลายเสา วิหารหลวงแห่งนี้มีเสาซึ่งประดับด้วยบัวหัวเสา ไม่น้อยกว่า ๔๐ ต้น  เหมาะแก่การผลิตกลีบบัวจากแม่พิมพ์ เมื่อได้กลีบบัวเป็นดินดิบแล้ว นำไปเผาให้สุกเป็นกลีบบัวดินเผา เหมาะแก่งานประดับเป็นบัวปลายเสาที่มีจำนวนมาก หากใช้ปูนปั้นต้องใช้เวลามากกว่านัก ทั้งขนาด ความสม่ำเสมอก็ไม่ได้เท่า


บัวปลายเสา ในเมรุองค์หนึ่งของวัดไชยวัฒนาราม
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๒ – ๒๑๙๙)


สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีบัวปลายเสาประกอบจากรูปกลีบบัวยาว เรียวปลายทำนองใบหอก ก่อนที่จะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วเป็นกลีบบัวรูปยาวมนแหลมที่ปลายกลีบทำนองใบดาบ


บัวหัวเสา วิหารหลวง วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น วัดนี้สร้างใน พ.ศ.๑๙๖๗  
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)  
แต่ผ่านการบูรณะมาเป็นลำดับ โดยเฉพาะในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
ดังลักษณะทางพัฒนาการบัวหัวเสาของมุขโถงด้านหลังของวิหารหลวง


กลีบบัวยาว มนแหลมที่ปลายกลีบทำนองใบดาบ เรียกว่า “บัวแวง” (แวง แปลว่า ดาบ)  นิยมอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑ – ๒๒๗๕) เช่นกลีบบัวหัวเสาประดับผนังวิหารวัดมเหยงคณ์ และประดับผนังวิหารวัดกุฎีดาวด้วย แห่งหลังนี้บูรณะในรัชกาลถัดมาคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑)  เมื่อย่างเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปลายกลีบบัวคลี่คลายด้วยลีลาเรียวสะบัดปลาย


บัวปากระฆัง
บัวปากระฆัง : ชุดลวดบัว รองรับปากระฆัง


พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑)


ทรงระฆังมีชุดลวดบัวรองรับ ชุดลวดบัวดังกล่าวนี้ประดับแถวกลีบบัว ทำนองแถวบัวคว่ำ – บัวหงาย  จึงดูเป็นรูปดอกบัวบานรองรับทรงระฆัง  ศัพท์นี้จึงมีสองนัย นัยหนึ่งคือ ลวดบัว (คิ้ว) ประกอบด้วยลวดบัวเป็นชุด อีกนัยหนึ่งคือ บัวคว่ำ – บัวหงาย


 ใบระกา
ใบระกา : แผ่นสามเหลี่ยมคล้ายใบไม้ เทียบได้กับครีบเป็นแถวของลำตัวพญานาค ประดับเรียงเป็นแถวตามแนวยาวของนาครวย


ใบระกาประดับนาคลำยอง กรอบหน้าบรรพมุขพระระเบียงคด วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)  
บูรณะปรับปรุงจากวัดเก่าที่มีมาก่อนตั้งกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๕๒)  
และสร้างเสริมเพิ่มเติมครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)


แถวใบระกาซึ่งมีที่มาจากแถวครีบของพญานาค  ต้นเค้ามีอยู่ที่รูปพญานาคประกอบกันเป็นกรอบหน้าบรรพของปราสาทแบบเขมร  แถวใบระกามีความหมายเป็นส่วนประกอบในชื่อนาครวย  ซึ่งอาจเกี่ยวข้องเพราะประดับใบระกาจำนวนมาก เรียงเป็นแถว จึงได้ชื่อ นาครวย (ระกา) หรือตัวรวย (ระกา)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2558 10:18:06 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 มีนาคม 2556 17:33:45 »

.
หมวดพยัญชนะ
ประตูยอด
ประตูยอด : ส่วนบนของประตูที่ต่อยอด เช่น ยอดทรงฝักข้าวโพดอย่างปรางค์ หรือยอดเรียวแหลมตั้งขึ้นจากชุดชั้นซ้อนลดหลั่น


ประตูยอด อิฐฉาบปูน ปั้นปูนประดับ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๑๑)


ชุดหลังคาที่ซ้อนเป็นชั้น ต่อยอดที่แม้ไม่ใช่ยอดเรียวแหลม แต่เป็นทรงแท่งของส่วนบนเจดีย์ทรงปรางค์ ก็เรียกกันว่าประตูยอด รูปแบบของประตูยอดเช่นนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เข้าใจว่าโปรดให้ใช้แบบอย่างที่มีอยู่ในพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์คงยังมีตัวอย่างหลงเหลืออยู่ ประตูยอดคือตัวอย่างฐานันดรศักดิ์สูงของงานก่อสร้างในวัฒนธรรมไทย ทำไว้เป็นประตูสำคัญของพระบรมมหาราชวัง หรือเป็นประตูเมืองก็มี


ประตูหลอก
ประตูหลอก : คือ งานก่ออิฐ หิน หรือศิลาแลงก็ตาม สลักเลียนแบบประตูมีบานปิด  ลักษณะเฉพาะเช่นนี้สำคัญสำหรับปราสาทแบบเขมร อันเป็นส่วนของความสงบเงียบ ความขลังและศักดิ์สิทธิ์


ประตูหลอก ศิลา ปราสาทบ้านพลวง สุรินทร์
ศิลปะแบบเขมร พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗

เพราะเป็นประตูหลอก ก่อและสลักจากศิลา จึงทำหน้าที่เป็นผนังรองรับน้ำหนักจากส่วนบน ศาสนสถานรูปแบบใดก็ตามที่บานประตูปิด สร้างบรรยากาศลี้ลับ ให้ความรู้สึกตรงข้ามกับศาสนสถานที่บานประตูเปิด เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ ในศิลปะไทยซึ่งแม้มีพัฒนาการจากปราสาทแบบเขมรก็ตาม แต่เจดีย์ทรงปรางค์มีบานประตูเปิดทั้งสี่ด้าน สามด้านหมายถึงจระนำซุ้มมีพระพุทธรูปประดิษฐาน เสมือนพระพุทธองค์ประทับอยู่ภายในคูหา ด้านที่สี่คือคูหาจริงซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน


ประภามณฑล
ประภามณฑล : คือ พระรัศมี ที่เปล่งออกจากวรกายของพระพุทธองค์  ช่างทำไว้เป็นแนวรอบนอกของพระวรกาย หรือเพียงรอบพระเศียร  ในพุทธประวัติกล่าวว่า สัปดาห์ที่สี่หลังพระพุทธองค์ตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับในรัตนคฤห (เรือนที่ล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันมีค่า – เรือนแก้ว)  ทรงพิจารณาพระอภิธรรมที่ได้ตรัสรู้ สิ้นสัปดาห์นั้นประภามณฑลเปล่งออกรอบพระวรกายเป็นครั้งแรก  อย่างไรก็ตาม ช่างมักวาดหรือปั้นพระพุทธรูปมีประภามณฑลด้วยเสมอ ทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่สี่


พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางเทศนาสั่งสอน สำริด  
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๕  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง สุพรรณบุรี

ประภามณฑลเป็นวงอยู่เบื้องหลังพระเศียร ซึ่งหมายถึงพระรัศมี ที่เปล่งรอบพระวรกาย เพราะนอกจากแสดงบุญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ในเชิงช่างประภามณฑลเน้นความงดงามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป

พระรัศมี : ประภามณฑลเป็นวง มีรูปเปลวอยู่โดยรอบ แสดงถึงแบบอย่างอันเกี่ยวข้องกับลักษณะที่มีอยู่ก่อนในศิลปะอินเดียแบบปาละในแคว้นเบงคอล ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระยะนั้น



ปล้องไฉน
ปล้องไฉน : ป้องไฉนอยู่เหนือบัลลังก์ ของเจดีย์ทรงระฆัง ที่มาของปล้องไฉน คือ ร่ม (ฉัตร)  ช่างทำเป็นทรงกรวย  ปั้นพอกเป็นวงแหวนซ้อนเรียงกัน (หมายถึง วงฉัตร หรือเรียกอีกอย่างว่า ใบฉัตร ซ้อนชั้นกัน)  จึงเป็นที่มาของชื่อที่ช่างไทยเรียกเลียนลักษณะของปี่ไฉน


พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์  สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๑๑)


ปล้องไฉนพัฒนารูปแบบจากร่ม (ฉัตรวลี) ของเจดีย์ต้นแบบ เช่น มหาสถูปที่สาญจีในศิลปะอินเดียโบราณ ร่ม (ฉัตรวลี) ดังกล่าว ทำจากศิลา สกัดเป็นแผ่นวงกลม ไล่เรียงขนาดจำนวน ๑ – ๓ แผ่น  กลางแผ่นเจาะรูไล่เรียงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้เหมาะสำหรับสวมลงไปในแกนศิลาทรงกรวย ซึ่งติดตั้งบนบัลลังก์ที่ตั้งเหนือทรงระฆัง  ปล้องไฉนพัฒนารูปแบบและกรรมวิธีทางช่างอยู่ในศิลปะโบราณของประเทศศรีลังกา  โดยก่ออิฐเป็นแกนทรงกรวยขนาดใหญ่ แล้วจึงปั้นปูนเป็นวงแหวนเรียงเป็นชุดจากโคนขึ้นไป  ได้แพร่หลายมาสู่ดินแดนไทยดังที่มีอยู่กับเจดีย์ศิลปะสมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


ปลี
ปลี : ปลายยอดของกรวยต่อขึ้นไปจากปล้องไฉน  ปลีคลี่คลายควบคู่มากับปล้องไฉน  ต้นแบบของปลีคงเป็นดุมของร่ม (ฉัตรวลี) แนวพัฒนาการที่ยืดทรงดูคล้ายปลีกล้วย คือที่มาของคำศัพท์นี้


พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์  สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๑๑)


ต่อจากปล้องไฉนขึ้นไปที่เรียกว่าปลี  มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ ผ่านมาถึงตอนปลายของสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดความนิยมเจดีย์รูปทรงใหม่ คือ เจดีย์ทรงเครื่อง  ซึ่งมีทรวดทรงยืดสูง  ปลีก็ยืดสูงขึ้นไปตามสัดส่วน  ทางช่างจึงใช้ลูกกลมหรือรีก็ตาม เรียกว่า “ลูกแก้ว”  คั่นจังหวะที่ยืดสูงนั้น ตอนเหนือลูกแก้วขึ้นไปเรียกตามตำแหน่งว่า “ปลียอด”  ส่วนตอนใต้จากลูกแก้ว เรียกว่า “ปลี” ตามเดิม


ปัจเจกพุทธเจ้า
ปัจเจกพุทธเจ้า : พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ตรัสรู้ด้วยตนเอง และไม่เผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ผู้ใด พระปัจเจกพุทธเจ้าผ่านการบำเพ็ญบุญบารมีมาในอดีตชาติอันนับไม่ถ้วน เมื่อมาเกิดในชาติสุดท้ายเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ หรือนักบวช คิดเบื่อหน่ายโลก จึงรักษาศีลภาวนาได้สำเร็จพระโพธิญาณ และเหาะมาชุมนุมจำศีลกัน ณ ถ้ำนันทมูล ในเขตคันธมาทน์อันเป็นภูเขาสำคัญลูกหนึ่งในหมู่เขาหิมพานต์


จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)


ปรัมปราคติเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้าในบรรยากาศป่าหิมพานต์  ช่างเขียนได้สอดแทรกลักษณะสมจริงไว้มาก อันเป็นไปตามสมัยเริ่มหัวต่อของกระแสวัฒนธรรมสมจริงอย่างตะวันตก ดังภาพพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เขียนอย่างพระภิกษุ ภาพช้างที่ใช้งวงใช้เท้าจับไม้ไผ่ เพื่อช่วยกันสีให้เกิดประกายไฟ ก่อกองไฟลดความหนาวเย็น บ้างก็ชูงวงถวายดอกไม้บูชาเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า


ปัทมาสน์
ปัทมาสน์ : พุทธอาสน์ทำเป็นรูปดอกบัวบาน


พระพุทธสิหิงค์ สำริด  พระที่นั่งพุทไธสวรรค์  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


ปัทมาสน์  หมายถึง รูปดอกบัวบานเป็นอาสน์ที่ประทับของพระพุทธองค์  นิยมอยู่ในศิลปะล้านนาตั้งแต่เริ่มพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา  แต่ปัทมาสน์ของพระพุทธสิหิงค์องค์นี้คงทำขึ้นภายหลังจากกรมพระราชวังบวรฯ  โปรดให้อัญเชิญลงมาจากเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์   การที่พระพุทธรูปสำคัญองค์นี้ประทับขัดสมาธิราบ เค้าพระพักตร์ค่อนข้างมนกลม  ชายจีวรเป็นแผ่นยาวลงมาจรดพระนาภี  ชวนให้เข้าใจได้ว่าเป็นแบบอย่างทางกรุงศรีอยุธยา


ปาง (มุทรา)
มุทรา : การสื่อแสดงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ด้วยมือ เช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ คือ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระหัตถ์ซ้ายที่วางบนพระเพลา หรือปางมารวิชัย ที่พระหัตถ์ขวาวางพาดที่พระชงฆ์  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา เป็นต้น  คำว่าปางที่นิยมใช้กันในความหมายของเหตุการณ์ตอนหนึ่งๆ ในพุทธประวัติด้วย เช่น ปางประสูติ  ปางนาคปรก  ปางยมกปาฏิหาริย์  ปางลีลา  ใช้กันตามสะดวกต่อๆ กันมา


ปางมารวิชัย
ปางมารวิชัย : พระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบหรือขัดสมาธิเพชรก็ตาม  พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย คือ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนเพลา (ขา)  พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่ชงฆ์ (เข่า) เป็นการชี้พระหัตถ์ลงธรณีเพื่อเรียกแม่พระธรณีเป็นพยานในบุญญาบารมีของพระองค์ที่ทรงสั่งสมมาในพระอดีตชาติอันนับไม่ถ้วน ใน ที่สุดเหล่ามารที่มาผจญแตกพ่ายไป ดังมีที่เรียกอีกอย่างว่า ปางชนะมาร


พระพุทธรูป ศิลา ศิลปะทวารวดี ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


น่าสังเกตว่า พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีที่ทำปางมารวิชัยมีน้อย ดูเหมือนว่าน้อยกว่าปางสมาธิด้วยซ้ำ  กล่าวถึงอิริยาบถยืน ก็ได้พบมากกว่าอิริยาบถประทับนั่ง  อนึ่ง พระพุทธรูปปางมารวิชัยทำได้เฉพาะในพระอิริยาบถประทับนั่ง


ปางประทานธรรม (ปางแสดงธรรม ปางประทานอภัย)
ปางประทานธรรม : พระพุทธรูปรุ่นแรก ทรงแสดงพระหัตถ์ข้างเดียว หรือสองข้างก็ตาม  จีบพระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) เป็นวง  ตำราว่าหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม บ้างก็ว่าหมายถึงทรงประทานอภัย ปางนี้ทำได้ทั้งพระอิริยาบถประทับนั่ง และพระอิริยาบถยืน


พระพุทธรูป สำริด ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๖  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง สุพรรณบุรี


พระพุทธรูปทวารวดีคือระยะแรกรับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย  แม้ลักษณะท้องถิ่นเริ่มเด่นชัดมาเป็นลำดับแล้ว แต่หลักความรู้ก็ยังเคร่งครัด เช่นการทำนิ้วพระหัตถ์ของปางทรงแสดงธรรม  อย่างไรก็ตาม โดยข้อจำกัดของวัสดุและกรรมวิธีทางช่าง เช่นการจีบนิ้วพระหัตถ์ที่มักหักชำรุด คงมีส่วนทำให้เกิดลักษณะคลี่คลายอย่างน่าสนใจ


พระพุทธรูป ศิลา ศิลปะทวารวดี
พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


งานสลักศิลาซึ่งเรียกอย่างสามัญว่าสลักหิน  คือการทำงานกับวัสดุแข็งแกร่งแต่เปราะ  นิ้วพระหัตถ์จึงเป็นประเด็นที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อหลีกเลี่ยงการหักชำรุด  คงทำให้ช่างสลักทุกนิ้วพระหัตถ์แนบอยู่กับอุ้งพระหัตถ์  ดูคล้ายกำพระหัตถ์ ความคลี่คลายจากข้อจำกัดของวัสดุและกรรมวิธีดังกล่าวยังมีต่อไปอีก


พระพุทธรูป สำริด  ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง  
ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พระหัตถ์แสดงปางประทานอภัย  คลี่คลายมาโดยที่ช่างทำนิ้วพระหัตถ์ตรง คือแบฝ่าพระหัตถ์  ซึ่งสะดวกสำหรับกระบวนการหล่อโลหะ และได้นิ้วพระหัตถ์ที่ไม่ชำรุดเสียหายโดยง่าย รูปแบบลักษณะของพระหัตถ์ที่เปลี่ยนใหม่นี้ ภายหลังคงทำให้เกิดมีความคิดเทียบเคียง โยงให้เข้ากับเหตุการณ์บางตอนในพุทธประวัติ เช่นอธิบายเป็นปางห้ามสมุทรบ้าง ปางห้ามญาติบ้าง  ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิม คือ ปางประทานธรรมหรือแสดงธรรม


ปางไสยาสน์ (พระอิริยาบถไสยาสน์)
ปางไสยาสน์ : พระพุทธรูปในพระอิริยาบถไสยาสน์ (นอน) หากเทียบกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ มีตอนสำคัญคือ มหาปรินิพพาน


พระพุทธรูปไสยาสน์ ปูนปั้น ลงรักปิดทอง
วัดพระรูป สุพรรณบุรี  ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐


พระพักตร์ของพระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้ จัดได้ว่าอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  เพราะรูปแบบลักษณะทำนองเดียวกับพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่สาม  ซึ่งพบมากในกรุของปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา  สร้างใน พ.ศ. ๑๙๖๗  พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้   นอกจากมีขนาดใหญ่ที่สุดของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นที่รู้จักกันในปัจจุบันแล้ว ยังสมควรยกย่องฝีมือช่างปั้นที่แสดงพระอิริยาบถไสยาสน์ได้งามอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น พระอุระที่เอนลาดในแนวเฉียง  ต่อเนื่องเป็นพระศอ  พระพักตร์ และพระเศียรได้ด้วยความเข้าใจสรีระที่อยู่ในพระอิริยาบถนอน เอนพระเศียรโดยมีพระหัตถ์ขวารองรับ


พระพุทธรูปไสยาสน์  ปูนปั้น ลงรักปิดทอง  
ในวิหารวัดพระนอน  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗–๒๓๙๔)


พระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาพระนอน  ศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓  ลักษณะพิเศษที่น่าเอาใจใส่ยิ่งคือ  พระบาทของพระพุทธรูปองค์นี้มีงานช่างมุก ทำเป็นลายรูปสัญลักษณ์ของมงคล ๑๐๘ ประการ ตามอุดมคติโบราณ  โดยจัดเรียงอย่างมีระบบและมีความงดงามไม่มีที่ใดเหมือน (ลายบนฝ่าพระบาททั้งสองอยู่เลยขอบภาพทางขวา)


ปางประทานอภัย (ปางลีลา)
ปางประทานอภัย : ปางซึ่งแสดงด้วยพระหัตถ์ สัมพันธ์กับพระอิริยาบถสี่ คือ นั่ง ยืน นอน (ไสยาสน์)  และเดิน (ลีลา)  พระอิริยาบถลีลาพระหัตถ์ปางประทานอภัยเช่นนี้ มีที่นิยมเรียกรวบให้สั้นว่า พระพุทธรูปลีลา หรือพระพุทธรูปปางลีลา


พระพุทธรูปลีลา สำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย  
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๐ ประดิษฐานในพระระเบียงคด วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ

พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย นอกจากมีชื่อเสียงว่างดงามยิ่ง โดยเฉพาะที่จัดไว้ใน “หมวดใหญ่”  ซึ่งพระพักตร์รีคล้ายรูปไข่ พระพุทธรูปลีลาองค์นี้อยู่ในหมวดใหญ่ด้วย พระอิริยาบถลีลาเป็นการเฉพาะในศิลปะสุโขทัย ได้แพร่หลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้งานช่างของกรุงศรีอยุธยาบ้าง ปัจจุบันก็ยังอยู่ในความนิยมด้วย


ปิดทองล่องชาด
ปิดทองล่องชาด : งานไม้ สลักนูน ลงรักปิดทองที่ตัวลาย ลึกลงจากตัวลายคือพื้นลายทาสีแดง และอาจมีประดับชิ้นกระจกสีได้ด้วย


แผงไม้เป็นส่วนของดาวเพดานจากคูหาปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ  
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ศรีสัชนาลัย
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ราว พ.ศ. ๒๐๑๗  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย


แผงไม้สลักลวดลายละเอียดซึ่งลักษณะของลายเกี่ยวข้องกับรสนิยมอย่างจีน  ช่างสมัยนั้นอาจรับเข้ามาปรับปรุงโดยตรง หรืออาจผ่านจากศิลปะสมัยล้านนา  ซึ่งอยู่ในช่วงกว่า ๑๐ ปีที่หลักฐานด้านเอกสารระบุว่ากองทัพของเชียงใหม่ ราชธานีแห่งแคว้นล้านนา ลงมาเผชิญหน้ากับกองทัพของกรุงศรีอยุธยาที่เมืองศรีสัชนาลัย  อนึ่ง ลวดลายประดับที่งามอย่างพิเศษของ แผงไม้นี้ไม่เป็นที่กล่าวขวัญกัน ทั้งที่สำคัญเพราะเป็นจุดหักเหด้านแบบอย่าง รสนิยมในงานประดับของศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา


ปูนปั้น
ปูนปั้น : วัสดุและกรรมวิธีทางช่าง  ปูนปั้นเตรียมจากส่วนผสมอันมีปูนขาวเป็นหลัก  โดยนำไปหมักน้ำ เพื่อให้เหนียว เนื้อแน่น   ส่วนผสมสำคัญได้แก่ ทรายร่อนละเอียด  น้ำอ้อยในฐานะที่มีความเหนียว เป็นต้น  นำมาโขลกตำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับปูน  จึงมีที่เรียกว่า “ปูนตำ”  ในการปั้นช่างจะพอกเพิ่มทีละชั้นจนได้ความหนา ได้เค้าโครงรูปทรงตามต้องการ ต่อจากนั้นก็ตกแต่งรายละเอียด  งานปั้นปูนนอกจากพอกเพิ่มแล้ว ยังขูด ขุด ควักเอาออกได้ หากพอกหนาเกินต้องการ  แม้เมื่องานสำเร็จ  ปูนแห้งแข็งแล้ว ก็ยังแก้ไขด้วยการพอกเพิ่ม หรือถากทุบเอาออกได้ นับเป็นความคล่องตัว  แต่ส่วนที่ด้อยคือไม่คงทนหากเทียบกับงานสำริด หรืองานสลักหิน


ปูนปั้นประดับหน้าบรรพอุโบสถ วัดสระบัว เพชรบุรี  
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย–สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓–๒๔


งานปั้นปูนประดับของช่างเพชรบุรีมีชื่อเสียงในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน  ลายกระหนกที่ปลายเรียวสะบัดพลิ้ว เกิดจากส่วนผสมปูนที่เหนียวและแกร่งเป็นพิเศษ จึงได้ชื่อว่า ปูนเพชร  อย่างไรก็ตาม มีคำอธิบายที่แตกต่างว่า ปูนเพชร มีความหมายว่าเป็นปูนของช่างเมืองเพชร แต่ไม่ว่าคำอธิบายเป็นเช่นไร  เมื่อมีชื่อว่าปูนเพชร ย่อมสะท้อนชื่อเสียงงานช่างประเภทนี้ของเพชรบุรี


ปูนปั้นประดับกระจก
ปูนปั้นประดับกระจก : งานปูนปั้นที่มีการประดับชิ้นกระจกสีต่างๆ ให้ความงดงามทั้งความนูน ความลึกในเชิงประติมากรรม พร้อมกับรสชาติทางจิตรกรรมที่เกิดจากสีสดใสของชิ้นกระจก  ช่างโบราณใช้กระจกสีต่างๆ ซึ่งบางและอ่อนตัวได้ (มีที่เรียกว่า “กระจกเกรียบ”)  นำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนปิดชิ้นกระจกต้องทา (ยาง)  รักสมุก (ยางรักใสผสมเถ้าใบตองเพื่อให้ข้น) บนพื้นที่ที่จะปิดประดับก่อน เพื่อให้ชิ้นกระจกติดอยู่ได้


เสาเฉลียงหน้าของอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๕๒)  
บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)


งานปูนปั้นลงรักสมุกเพื่อปิดทองและประดับชิ้นกระจกสี มีกระบวนการทางช่าง เริ่มจากออกแบบลวดลายเพื่อประดับให้เหมาะกับพื้นที่ จัดลำดับความนูนพ้นระนาบ  จัดจังหวะช่องไฟที่โปร่ง – ถี่ และสอดสี สอดไส้ลาย เป็นต้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2558 10:47:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 มีนาคม 2556 10:28:34 »

.
หมวดพยัญชนะ
ผ้าทิพย์
ผ้าทิพย์ : ผ้าทิพย์ หมายถึง ผ้าที่ปูไว้บนพุทธอาสน์ที่พระพุทธองค์ประทับนั่ง
หากเป็นภาพวาด ช่างวาดผ้าทิพย์โดยออกแบบให้มีชายผ้าห้อยลงทางด้านหน้าของพุทธอาสน์ ระบายสีตกแต่งให้ดูเป็นลายผ้า
หากเป็นงานปั้น ลวดลายผ้านั้นมักลงรักปิดทอง หากพื้นลายปิดประดับด้วยชิ้นกระจกสี ความงดงามแวววาวก็จะเพิ่มขึ้น



พระพุทธรูป โลหะผสม
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔)  
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ชายผ้าปู (นิสีทนะ) บนพุทธอาสนะหรือรัตนบัลลังก์ที่พระพุทธองค์ประทับ คืองานประดับตกแต่งเพิ่มความงามและเน้นความหมายแห่งรัตนบัลลังก์ด้วย


หมวดพยัญชนะ
พนัสบดี
พนัสบดี : สัตว์ในนิทานปรัมปรา เดิมมีข้ออธิบายว่า คือการรวมลักษณะเด่นของพาหนะเทพเจ้าทั้งสามในศาสนาฮินดู คือ ครุฑ พาหนะของพระนารายณ์ หงส์ พาหนะของพระพรหม และโค พาหนะของพระอิศวร สัตว์ในปรัมปราคติดังกล่าวมีปากคล้ายครุฑ ปีกคล้ายหงส์ และมีเขาคล้ายโค ปรากฏอยู่ในศิลปะทวารวดี เป็นพระพาหนะของพระพุทธเจ้า แต่มีข้อมูลที่ชวนให้คิดแตกต่างจากข้ออธิบายข้างต้นว่า รูปแบบทำนองเดียวกันที่ยักเยื้องเป็นหลายแบบหลายประเภท มีมาก่อนแล้วในศิลปะอินเดียโบราณ ทั้งที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู


พระพุทธเจ้าประทับเหนือพนัสบดี ศิลา
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ความหมายของรูปพระพุทธเจ้าประทับเหนือพนัสบดี ที่ยังมีประเด็นโต้แย้ง ต้องรองานศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายความรู้ความเข้าใจด้านคติความเชื่อ ทั้งนี้น่าจะให้ความสำคัญแก่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธรรมจักรศิลาในวัฒนธรรมทวารวดี


พระบฏ
พระบฏ : ภาพวาดเรื่องราวทางศาสนาบนผืนผ้า นิยมวาดเรื่องพุทธประวัติหรือเรื่องชาดกทศชาติ


พระบฏ ภาพเขียนบนผ้า ศิลปะสมัยล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่


หลังจากทรงเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ดาวดึงส์แล้ว พระพุทธองค์เสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์ใกล้กับประตูเมืองสังกัสสะ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาคอยนมัสการรับเสด็จ ทั้งภาพ (รวมส่วนที่ชำรุดหายไปด้วย) ใช้สีแดงระบาย ให้ความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์บรรเจิดจ้า สีแดงใช้ระบายเป็นฉากหลังแต่ลวงตาว่าอยู่ห่างไกลด้วยภาพช่อดอกไม้ใหญ่ – น้อยนานาพรรณลอยละล่อง  อนึ่ง ช่อดอกไม้ดังกล่าวบางช่อ คือข้อมูลบ่งชี้ว่าเกี่ยวข้องกับดอกไม้ปรับปรุงจากงานประดับในวัฒนธรรมจีน


พระสงฆ์สาวก
พระสงฆ์สาวก : พระสงฆ์สาวก : รูปพระสงฆ์สาวก โดยทั่วไปหมายถึงพระอรหันต์ รูปแบบหลักคือประนมมือ กลางเศียรไม่มีอุษณีษะ ดวงตาเบิกโดยไม่หรี่ลงต่ำ


พระสงฆ์สาวก ดินเผา ศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

ประติมากรรมดินเผา คืองานช่างสำคัญในศิลปะหริภุญชัย มีกรรมวิธีปั้นรูปเพื่อทำพิมพ์ประกบ (คือพิมพ์สองชิ้น หน้า – หลัง ประกบกันเมื่อเทกรอกน้ำดิน) ผ่านกระบวนการเทกรอกน้ำดิน รอให้แห้งโดยผึ่งลม ผึ่งแดด จนรูปดินดิบแห้งสนิทก่อนจึงนำเข้าเตาเผา เริ่มที่ไฟอ่อนก่อนเร่งความร้อนขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ความร้อนแผ่ได้ทั่วถึงทั้งรูป หากความร้อนแตกต่างกันมาก การขยายตัวของรูปดินดิบขยายตัวไม่เท่ากัน ก็จะปริ แตก เสียหาย กรรมวิธีดังกล่าวศึกษาจากร่องรอยของแนวประกบที่หลงเหลือ และอาศัยความรู้จากการหล่อในปัจจุบันช่วยขยายความ


พระอดีตพระพุทธเจ้า
พระอดีตพระพุทธเจ้า : อุดมคติในพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งมีว่า พระพุทธเจ้าจำนวนอันนับไม่ได้ อุบัติลงมาตรัสรู้บนโลกมนุษย์ก่อนพระพุทธเจ้าศากยมุนีของเรา ช่างเขียนโบราณมักเขียนบอกเล่าไว้ด้วยภาพพระอดีตพุทธเจ้าเรียงรายเป็นแถว


จิตรกรรมฝาผนังคูหา ปรางค์มหาธาตุ วัดมหาธาตุ ราชบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ต่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐


จิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้คือตัวอย่างของงานช่างในช่วงหัวต่อของการปรับรับรสนิยมใหม่ๆ ดังปรากฏที่พระพักตร์ของเหล่าพระอดีตพุทธเจ้า ซึ่งมีทั้งรูปไข่แบบศิลปะสมัยสุโขทัย พระพักตร์เหลี่ยมแบบศิลปะอู่ทอง และที่ผสมผสานแบบทั้งสองดังกล่าวข้างต้นก็มี


พระพุทธบาท (รอยพระพุทธบาท)
พระพุทธบาท (รอยพระพุทธบาท) : พระพุทธบาท  หมายถึง รูปพระพุทธบาทที่มีลายลักษณ์อันมีความหมายเป็นมงคล ๑๐๘  ประการ  มีความหมายเช่นเดียวกับรอยพระพุทธบาทตามความเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงกดประทับเป็นรอยไว้


รอยพระพุทธบาท ไม้ ลงรักปิดทอง ประดับมุก ศิลปะสมัยล้านนา
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และมีจารึกระบุการซ่อมใน พ.ศ. ๒๓๓๗


ภาพประดับมุกที่แสดงคติเรื่องมงคล ๑๐๘ ถัดล่างลงมาเป็นเรื่องศูนย์กลางจักรวาล คือเขาพระสุเมรุ แวดล้อมด้วยเขาวงแหวนทั้งเจ็ดที่เรียกว่า สัตตบริภัณฑ์ แต่ละวงของเขาบริวารเหล่านี้แสดงเป็นแท่งสูงลดหลั่น ขนาบเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นประธานอยู่กลาง เหนือยอดเขาพระสุเมรุคือสวรรค์ดาวดึงส์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล


พระพุทธรูป
พระพุทธรูป : คือรูปสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พัฒนาการด้านรูปแบบของพระพุทธรูปช่วยให้หยั่งทราบความเปลี่ยนแปลงด้านแนวความคิดทางช่าง ฝีมือช่าง ซึ่งสะท้อนรสนิยมของยุคสมัย ที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับแหล่งบันดาลใจจากดินแดนใกล้ – ไกล

พระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี
พระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี : สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจทั้งด้านคติความเชื่อและรูปแบบงานช่างของสมัยทวารวดี อันเป็นแรกเริ่มงานพุทธศิลปะในดินแดนก่อนที่จะเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน แหล่งกำเนิดแรงบันดาลใจคือพุทธศาสนาและงานช่างของประเทศอินเดีย


พระพุทธรูป ศิลา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี คือ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม เม็ดพระศกใหญ่ พระขนงแนวนอนคล้ายรูปปีกกา ซึ่งสัมพันธ์กับพระนลาฏกว้าง ริมพระโอษฐ์หนา ทรงจีวรห่มคลุม แต่ที่ห่มเฉียงก็มี พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน พระชงฆ์มีขอบจีวรพาดผ่านเป็นวงโค้งเป็นลักษณะเด่น เช่นเดียวกับพระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานธรรม ซึ่งสอดคล้องเป็นความสมมาตร (สองข้างเท่ากัน) กับพระอิริยาบถ


พระพุทธรูป ศิลปะศรีวิชัย
พระพุทธรูป ศิลปะศรีวิชัย : คาบสมุทรภาคใต้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๙ มีเมืองท่าสำคัญอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือแหล่งการค้าการติดต่อกับดินแดนภายนอกทั้งใกล้ ไกล โดยเฉพาะที่มาจากชวาภาคกลาง (ในประเทศอินโดนีเซีย) เวียดนาม การติดต่อทางบกกับเขมรก็มีด้วย เป็นต้น


พระพุทธรูปนาคปรก สำริด ศิลปะศรีวิชัย  ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ลักษณะอันเป็นเค้าจากศิลปะเขมร คือ เศียรพญานาค และพระพักตร์ของพระพุทธรูปซึ่งความกลมเนียนก็ชวนให้นึกถึงสุนทรียภาพอย่างศิลปะชวาภาคกลางด้วย พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้แสดงปางมารวิชัย เป็นกรณีที่พบน้อยมาก ส่วนใหญ่มักทำปางสมาธิ  เพราะความหมายหลักของปางมารวิชัย คือขณะก่อนพระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้ แต่เหตุการณ์ที่มีพญานาคปรกพระพุทธองค์ ล่วงเลยหลังการตรัสรู้มาในสัปดาห์ที่หกแล้ว  พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ถอดออกได้ ๓ ส่วน คือ ส่วนขนดคือลำตัวของพญานาค  ส่วนองค์พระพุทธรูปและส่วนที่เป็นพังพาน ทั้งสามส่วนประกอบเข้ากันได้พอดี แสดงถึงประสบการณ์ในการสร้างระดับสูง และกระบวนการสร้างได้มีการตระเตรียมอย่างดี ตั้งแต่สร้างรูปหุ่น การทำพิมพ์โดยแยกส่วน การหล่อและการประกอบส่วนที่แยกเข้าด้วยกัน


พระพุทธรูป ศิลปะแบบเขมร
พระพุทธรูป ศิลปะแบบเขมร : มีหลักฐานของวัฒนธรรมเขมรในดินแดนก่อนที่จะเป็นประเทศไทย ซึ่งแพร่หลายอยู่ราว ๒๐๐ ปีก่อนที่จะเสื่อมถอยไปหลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร


พระพุทธรูปนาคปรก ศิลา ศิลปะเขมร ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

 
พระพุทธองค์ประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางสมาธิตามแบบแผนของพระพุทธรูปนาคปรก  ประเด็นทางช่างสำหรับพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ คือ ทรงครองจีวรห่มคลุม แต่ช่างมิได้สลักจีวรซึ่งปกติควรมีอยู่ระหว่างพระพาหา (แขน) กับพระปรัศว์ (สีข้าง)


พระพุทธรูป ศิลา ศิลปะแบบเขมร พุทธศตวรรษที่ ๑๘– ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี


รสนิยมแบบเขมรที่พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้คลี่คลายลงมากแล้ว แต่ก็ยังเหลือลักษณะบางประการ ได้แก่ อุษณีษะรูปกลีบบัว พระรัศมี ทรงดอกบัวตูม  พระนลาฏ (หน้าผาก) กว้าง  อันเป็นพระพักตร์แบบเขมร  แต่ก็มีเค้ามนงาม เผยให้เห็นสุนทรียภาพแนวใหม่ที่เริ่มปรากฏแล้ว พระขนงยังเป็นแนวนอนคล้ายปีกกาอยู่บ้าง มีขอบไรพระศกและจีวร (บางท่านเรียกว่า สังฆาฏิ) เป็นแผ่นยาวใหญ่ ปลายตัดตรง ทั้งหมดที่กล่าวจะคลี่คลายเป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทองรุ่นแรก


พระพุทธรูป ศิลปะหริภุญชัย
พระพุทธรูป ศิลปะหริภุญชัย : เมืองต่างๆ ในภาคเหนือก่อนรวมเป็นแว่นแคว้นล้านนา มีเมืองหริภุญชัยเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนา ซึ่งควบอยู่กับความเป็นศูนย์กลางด้านงานช่างในศาสนาด้วย


พระพุทธรูป ดินเผา ปูนปั้น เจดีย์แปดเหลี่ยมวัดกู่กุด (วัดจามเทวี)
ศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘


พระเศียรของพระพุทธรูปเป็นงานดินเผา พระวรกายเป็นงานปูนปั้น เข้ากันอย่างกลมกลืนเพราะส่วนที่เป็นพระฉวี (ผิวกาย) ลงรักปิดทอง (ร่องรอยของยางรักสีดำยังหลงเหลือให้เห็น) ส่วนที่เป็นจีวรทาสีแดงคล้ำ ความแตกต่างของผิววัสดุจึงไม่มีให้สังเกตเห็น

พระนลาฏกว้างเป็นลักษณะสำคัญ มีอยู่ทั้งพระพักตร์พระพุทธรูปแบบเขมร และแบบทวารวดี ขณะที่ขอบสบงไม่มีรัดประคดและพับหน้านาง แต่นูนสอบลงเป็นรูปสามเหลี่ยมตามแนวของพระอูรุ (ต้นขา) คือลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปพม่าแบบพุกาม ชายจีวรเบื้องล่างมีจีบริ้วที่เป็นลักษณะเด่นชัดอีกประการหนึ่งที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับแบบอย่างที่มีอยู่ก่อนในศิลปะพุกาม



พระพุทธรูป ศิลปะสมัยสุโขทัย
พระพุทธรูป ศิลปะสมัยสุโขทัย : ในช่วง ๒๐๐ ปี ของศิลปะสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปมีพัฒนาการอย่างกว้างๆ ๓ ขั้นตอน แรกสุดมีชื่อเรียกว่า หมวดรัดตะกวน (ชื่อวัดที่แรกพบพระพุทธรูปแบบนี้จำนวนหนึ่ง) คือแบบที่มีลักษณะร่วมกับพระพุทธรูปในศิลปะสมัยล้านนา เช่น พระพักตร์ค่อนข้างอวบอ้วน พระขนงโก่ง ปลายพระนาสิกแหลม ไม่มีไรพระศก ทรงจีวรห่มเฉียง ชายจีวรสั้นระดับราวพระถัน (ราวนม) แบบต่อมาความอวบอ้วนลดน้อย พระพักตร์รูปไข่ ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี (ท้อง) ปลายจีวรแยกหยักทำนองเขี้ยวตะขาบเด่นชัดยิ่งขึ้น มีชื่อเรียกว่า หมวดใหญ่ เพราะได้พบจำนวนมาก แบบที่สามเป็นแบบสุดท้าย พระพักตร์แป้น หากเห็นว่ามีเค้าเหลี่ยมอยู่บ้าง ก็อาจเกี่ยวข้องกับพระพักตร์ของพระพุทธรูปจากศิลปะของกรุงศรีอยุธยาที่แพร่ขึ้นมา หมวดหลังสุดนี้เรียกกันว่า หมวดพระพุทธชินราช


พระพุทธรูป หมวดใหญ่ สำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


วงพระพักตร์และเครื่องแต่งพระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย คือการเริ่มต้นสุนทรียภาพอย่างใหม่ในวัฒนธรรมของผู้คนกลุ่มใหม่ คงมีพื้นฐานทางชาติพันธุ์แตกต่างจากเขมร เพราะพระพักตร์กลม หรือรูปไข่ แตกต่างจากพระพักตร์เหลี่ยมของพระพุทธรูปแบบเขมร พระนลาฏของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยแคบ จึงเน้นวงพระพักตร์รูปไข่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีพระขนงโก่งรับกับแนวพระนลาฏ ดังกล่าวนี้แตกต่างจากพระนลาฏกว้างแบบเขมรหรือแบบหริภุญชัยก็ตาม ซึ่งมีพระขนงต่อเนื่องแนวนอนคล้ายรูปปีกกา


พระพุทธรูป ศิลปะสมัยล้านนา
พระพุทธรูป ศิลปะสมัยล้านนา : บางทฤษฎีกำหนดว่าพระพุทธรูปศิลปะสมัยล้านนา (เดิมเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสน) มี ๒ รุ่น รุ่นที่ ๑ พระพักตร์และพระวรกายอวบอ้วน ชายจีวรสั้น ปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ พระรัศมี รูปดอกบัวตูม  รุ่นที่ ๒ ได้รับอิทธิพลจากลักษณะของพระพุทธรูปสุโขทัย  บางองค์แม้ยังอวบอ้วนแต่ก็มีพระรัศมีรูปเปลวแบบพระพุทธรูปสุโขทัยด้วย  ชายจีวรยาวปลายหยักเขี้ยวตะขาบแบบพระพุทธรูปสุโขทัยเช่นกัน แต่เดิมนั้นเรียกรุ่นที่ ๑ ว่าพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง  รุ่นที่ ๒ ว่าพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สอง  อนึ่ง ราชธานีเชียงใหม่ของแคว้นล้านนายาวนานลงมาร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปล้านนาจึงรับแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปแบบกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย จัดเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยล้านนารุ่นหลัง


พระพุทธรูป สำริด ศิลปะสมัยล้านนา ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย ลำพูน


พระพุทธรูปล้านนารุ่นแรก (เชียงแสนสิงห์หนึ่ง) พระรัศมี ที่ชำรุดหาย คงเป็นรูปดอกบัวตูม พระนลาฏยังมีแนวกว้างอยู่บ้าง จีวรสั้นเหนือพระถัน ชายจีวรหยักรูปเขี้ยวตะขาบ ฝีมือช่างระดับสูงสะท้อนที่ความสมส่วนเชิงอุดมคติของพระวรกายและพระพักตร์แห่งพุทธสภาวะ

แหล่งบันดาลใจมากกว่าหนึ่งที่ควบซ้อนกันอยู่กับลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ คือศิลปะอินเดียแบบปาละที่ผ่านมาทางศิลปะพม่า สมัยเมืองพุกามและศิลปะหริภุญชัย



พระพุทธรูป ศิลปะแบบอู่ทอง
พระพุทธรูป ศิลปะแบบอู่ทอง : แหล่งที่สร้างพระพุทธรูปแบบนี้ อยู่ทางภาคกลาง อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ มีอยู่ ๓ รุ่น  รุ่นที่ ๑ สืบเนื่องอย่างใกล้ชิดกับแบบเขมร  รุ่นที่ ๒ มีลักษณะของพระพุทธรูปหมวดใหญ่จากศิลปะสุโขทัยเข้าผสม  รุ่นที่ ๓ ลักษณะพระพุทธรูปจากศิลปะสุโขทัยเพิ่มมากยิ่งขึ้นและได้พบจำนวนมากในกรุของปรางค์ประธานวัดราชบูรณะซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗ อันเป็นระยะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงควรเรียกว่าเป็นศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้ด้วย


พระพุทธรูปปางมารวิชัย สำริด ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๑ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ความเชื่อมโยงกับพระพุทธรูปแบบเขมร ยังสังเกตได้จากพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระนลาฏกว้าง มีไรพระศกแต่ขนาดเล็ก พระขนงอยู่ในแนวนอนคล้ายรูปปีกกา ริมพระโอษฐ์ค่อนข้างหนา ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรเป็นแผ่นยาวปลายตัดตรง


พระพุทธรูป สำริด ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒ ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ลักษณะผสมผสานระหว่างพระพุทธรูปอู่ทอง รุ่นที่ ๑ กับรุ่นที่ ๒ เด่นชัด  กล่าวคือ พระพักตร์เริ่มคลายจากรูปเหลี่ยม ขณะที่พระอุษณีษะและพระรัศมี ย้อนกลับไปได้แบบอย่างจากพระพุทธรูปในศิลปะแบบเขมร แต่แผ่นชายจีวรเล็กลง และที่สำคัญคือชายจีวรแยกออกเป็นรูปเขี้ยวตะขาบซึ่งแสดงถึงการเกี่ยวข้องกับแบบอย่างจากพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยแล้ว  อนึ่ง รัตนบัลลังก์ คือเค้าโครงของรูปดอกบัวบาน เพียงแต่มิได้ประดับรูปกลีบบัวคว่ำ – กลีบบัวหงาย  โดยที่รูปแบบดังกล่าวของรัตนบัลลังก์จะต่อเนื่องอยู่ในพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓ ด้วย


พระพุทธรูปปางมารวิชัย สำริด ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พระนลาฏกว้าง พระพักตร์มีเค้าเหลี่ยม มีไรพระศก ทรงครองจีวรเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่น ปลายตัด แบบอู่ทอง รุ่นที่ ๑ แต่พระรัศมีเป็นรูปเปลวอันเป็นลักษณะที่มีอยู่ในศิลปะสมัยสุโขทัย จึงจัดเป็นแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒


พระพุทธรูป สำริด ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓ มีแบบอย่างของพระพุทธรูปแบบศิลปะสมัยสุโขทัยเข้าผสมมากแล้ว พระรัศมีรูปเปลว  พระพักตร์รูปไข่แต่ยังเหลือไรพระศก พระขนงโก่ง ชายสังฆาฏิแยกคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระวรกายเพรียวยิ่งขึ้น  ได้พบจำนวนกว่าร้อยองค์  ขณะที่พระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๑ และรุ่นที่ ๒ ได้พบรวมกันไม่ถึง ๒๐ องค์ จากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา  ซึ่งสร้างในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗  งานสร้างปรางค์ประธานของวัดนี้คงอยู่ในระยะเดียวกับความนิยมสร้างพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓  ฉะนั้น พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นนี้จึงจัดว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นด้วย


พระพุทธรูป  ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธรูป  ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา : สืบเนื่องจากพระพุทธรูปในศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓ ที่เพิ่งกล่าวผ่านมาว่าอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น วงพระพักตร์ของพระพุทธรูปของศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง มีเค้าแป้นที่ชวนให้นึกถึงลักษณะโดยรวมของพระพุทธชินราชไม่มากก็น้อย ส่วนพระวรกายอวบอาจเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปแบบล้านนา ช่วงของกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง มีความนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยอยู่ด้วย  ครั้นผ่านมาในกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีความนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ โดยมีพระพักตร์คมเข้มเป็นลักษณะสำคัญ


พระพุทธรูปปางมารวิชัย สำริด ลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๒๑–๒๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ฐานหรือที่เรียกว่ารัตนบัลลังก์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ประดับด้วยฉากเหตุการณ์ตอนพระโพธิสัตว์ทรงเรียกแม่พระธรณีบีบน้ำจากมวยผมของพระนาง น้ำจำนวนอันนับไม่ได้คือเครื่องแสดงบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ที่ทรงสั่งสมมาในอดีตในช่วงเวลาอันนับไม่ถ้วนเช่นกัน น้ำท่วมท้นเหล่ามารทำให้ต้องยอมพ่ายแพ้ จากนั้นพระโพธิสัตว์จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉากเหตุการณ์ดังกล่าวคือรูปธรรมของอุดมคติขยายความหมายของพระพุทธรูปปางมารวิชัย


พระพุทธรูป ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระพุทธรูป ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : สืบทอดพุทธลักษณะจากพระพุทธรูปแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังหลักฐานของพัฒนาการด้านรูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ แต่ในส่วนของพระพักตร์มีลักษณะใหม่ ดูอ่อนเยาว์ของทั้งพระพุทธรูปที่ทรงเครื่องใหญ่ และที่ไม่ทรงเครื่อง (พระพุทธรูปแบบปรกติ) คือความเด่นชัดของลักษณะในบรรยากาศใหม่ทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างจากอดีตราชธานีกรุงเก่า


พระพุทธรูป สำริด ลงรักปิดทอง พระอุโบสถวัดราชนัดดาฯ กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)


พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย เป็นแบบอย่างมีมาตั้งแต่แรกสร้างพุทธศิลปะในดินแดนไทยเมื่อกว่าพันปีก่อน โดยวางพระหัตถ์ขวาไว้ที่พระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ซึ่งแตกต่างจากวางที่พระชานุ (เข่า) วางพระหัตถ์ไว้ที่พระชงฆ์สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่พระโพธิสัตว์ทรงชี้นิ้วพระหัตถ์ลงที่พระธรณี แต่หากวางพระหัตถ์ที่พระชานุ น่าจะเป็นเรื่องของช่างที่ให้ความสำคัญแก่จังหวะความงามด้วย และพร้อมกับจังหวะดังกล่าว ช่างยังมักปั้นนิ้วพระหัตถ์ให้มีลีลา (ตรงกับที่เรียกกันว่า กรีดนิ้ว)

พระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ดูอ่อนเยาว์ แตกต่างจากพระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยก่อน พร้อมทั้งการจัดชายจีวร (หรือสังฆาฏิ) ให้วกจากพระอังสะมาที่กลางพระอุระเพื่อดิ่งตรงลงจรดพระนาภี



พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย
พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย : แตกต่างจากพระพุทธรูปปรกติ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้องมีอาภรณ์เครื่องประดับ เช่น มงกุฎ กรองศอ (สายสร้อย) และอื่นๆ แต่ยังนับว่าน้อยกว่าเครื่องประดับพระวรกายพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่


พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย สำริด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒


พระพุทธรูปทรงเครื่อง ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปานประทานอภัย มงกุฎทรงสูงเทียบเค้าได้กับมงกุฎของทวารบาลสลักไม้ของบานประตูจากวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา

พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยองค์นี้ค้นพบในพระอุระของพระพุทธรูปมงคลบพิตรซึ่งเชื่อว่าสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓ – ๒๑๗๑)



พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่
พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ : พระพุทธรูปทรงอาภรณ์ประดับอย่างมาก มีที่เทียบว่าดังจักรพรรดิราช เข้าใจกันโดยทั่วไปว่ามาจากพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์ ทรงปราบพญาชมพูบดีซึ่งเป็นพระราชาผู้ร่ำรวยและมีฤทธานุภาพมาก พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพุทธบารมีว่าพญาตนนี้หากบรรพชาจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพุทธศาสนา จึงโปรดให้เชิญมาเฝ้า แล้วพระพุทธองค์ทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระราชาธิราช ทรงเครื่องอาภรณ์มากยิ่งกว่าพญาชมพูบดีทุกประการ เมื่อได้สดับธรรมจากพระพุทธองค์จนหมดทิฐิแล้วพญาตนนี้จึงขอบรรพชา


พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๑๙๙)

วัดหน้าพระเมรุคงมีอยู่แล้วอย่างช้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เชื่อว่าได้รับการบูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะพุทธลักษณะของพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพักตร์เสี้ยม พระขนงโก่งรับกับขนาดใหญ่ของเปลือกพระเนตร พระนาสิกโก่งปลายแหลม ริมพระโอษฐ์อิ่ม

ทั้งหมดที่กล่าวมา เทียบได้ส่วนละเล็กละน้อยกับพระพักตร์ของพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ปูนปั้น ซึ่งประดิษฐานภายในเมรุทิศ เมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา วัดนี้สร้างขึ้นในรัชกาลนั้นด้วย  อนึ่ง พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ของวัดหน้าพระเมรุได้รับการบูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ลวดลายประดับของเครื่องทรง คงปั้นซ่อมแซมขึ้นตามแบบอย่างเดิมไม่มากก็น้อย



พระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ : ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หมายถึง สภาวะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่น นิทานชาดกซึ่งพระพุทธเจ้าศากยมุนีเสวยพระอดีตชาติเป็นพระโพธิสัตว์ จนแม้เมื่อเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงผนวชและตรัสรู้แล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้า สำหรับพระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายาน มีมากหลาย ล้วนทรงฤทธิ์อำนาจ แต่ยังไม่ทรงตรัสรู้ เพราะทรงรั้งรอเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากวัฏสงสาร


จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดประตูสาร สุพรรณบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

 
เจ้าชายสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงปลงพระเกศาในคราวทรงผนวช ก่อนจะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด สีสดเข้มพื้นหลังมืด คือแบบอย่างที่นิยมในหมู่ช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ ๓ นายฉันนะกับม้ากัณฑกะในกริยาเศร้าโศก ฆฏิการพรหมประทับนั่งประนมกร บนพานมีไตรจีวรซึ่งทรงนำมาถวายพระโพธิสัตว์ ส่วนพระอินทร์อยู่ในท่าเหาะเพื่อจะอัญเชิญพระเกศาที่พระโพธิสัตว์ทรงปลง เพื่อขึ้นไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ดาวดึงส์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2558 11:02:37 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 20 มีนาคม 2556 11:44:42 »

.

พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย
พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย : พระโพธิสัตว์สถิต ณ สวรรค์ชั้นดุสิต พระองค์จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป


พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด ศิลปะแบบเขมร
พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


รูปเจดีย์ที่ด้านหน้าศิราภรณ์ คือหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงว่าประติมากรรมรูปนี้ คือพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร : พระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งในพุทธศาสนามหายาน พระองค์กำเนิดจากพระพุทธเจ้าอมิตาภะ  ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์พระองค์นี้จึงมีรูปพระพุทธเจ้าอมิตาภะขนาดเล็กอยู่ที่ด้านหน้าของศิราภรณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงได้รับความนับถือมากที่สุดในบรรดาพระโพธิสัตว์พระองค์อื่นเพราะพระองค์ประจำอยู่ในยุคปัจจุบัน ความที่ได้รับความนิยมนับถือกันมาก จึงมีหลายพระนามหลายรูปแบบ


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สำริด ศิลปะศรีวิชัย
ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


เครื่องทรงอันงดงามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (มีพระธยานิพุทธเจ้าที่ศิราภรณ์) ประกอบกับพระพักตร์ พระวรกายที่แม้บางส่วนชำรุดหายไป ก็ยังแสดงถึงสุนทรียภาพที่สัมพันธ์กับประติมากรรมในศิลปะชวาภาคกลางของประเทศอินโดนีเซียโบราณ


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลาศิลปะแบบเขมร
ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

 
พระธยานิพุทธเจ้าที่อยู่เบื้องหน้าศิราภรณ์คือสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลาหรือหินทราย แข็งแกร่ง แต่เปราะ ช่างเขมรโบราณจึงสลักส่วนล่างให้ใหญ่กว่าปรกติเพื่อความแข็งแรงทนทาน กระนั้นข้อพระบาทก็ยังหัก (กรมศิลปากรต่อเข้าที่เดิม) ส่วนพระกรที่หักไม่พบชิ้นส่วน


พระมาลัย
พระมาลัย : เบื้องหน้าจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ดาวดึงส์ พระมาลัยถือตาลปัตรกำลังสนทนากับพระอินทร์


จิตรกรรมสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงธนบุรี รัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๐–๒๓๒๔)


เบื้องหน้าจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ดาวดึงส์ พระมาลัยถือตาลปัตรกำลังสนทนากับพระอินทร์


พระอินทร์
พระอินทร์ : มีผิวกายสีเขียว ครองสวรรค์ดาวดึงส์ ราชธานีของพระองค์ชื่อสุทัศน์ พระอินทร์ทรงช้างเป็นพาหนะชื่อเอราวัณ ทรงเป็นประมุขแห่งเทวดา ๓๒ องค์ ทรงนับถือพุทธศาสนาและคอยช่วยเหลือพระพุทธเจ้า


จิตรกรรมสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงธนบุรี
ศิลปะกรุงธนบุรี รัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๐–๒๓๒๔)


ภาพพระอินทร์นั่งประนมกรนมัสการพระมาลัย เบื้องหน้าจุฬามณีพระเจดีย์ บนสวรรค์ดาวดึงส์

พลแบก
พลแบก : มักหมายถึงไพร่พล เช่น ยักษ์ ลิง อยู่ในท่าแบกฐานอาคารสิ่งก่อสร้าง


พลแบก ปูนปั้น ประดับปีกด้านใต้ของปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ  ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ.๑๙๖๗


แม้ชำรุด แต่รูปร่างล่ำสันของเหล่าพลแบกก็แสดงถึงลักษณะของประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ลวดลายเครื่องประดับโดยเฉพาะเชือกเกลียวที่คาดอก สัมพันธ์กับที่มีอยู่ในศิลปะสุโขทัย รูปแบบของลวดลายอันมีแบบอย่างเฉพาะพร้อมทั้งกรรมวิธีปั้นประดับ อันเป็นหลักฐานของงานช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นที่พบเช่นเดียวกัน ในงานปั้นปูนร่วมสมัย เช่นที่วัดส้ม  ซึ่งชัดเจนว่าใช้เครื่องมือที่ไม่แหลม ไม่คม เป็นหลักในการปั้นแต่งลวดลาย แตกต่างจากร่องรอยอันเกิดจากเครื่องมือแหลมคม กรีด และขุดขูดปูนให้เกิดเป็นตัวลายที่ได้พบทั่วไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย


พลแบก ปูนปั้นประดับแท่นสีมา อุโบสถวัดสระบัว เพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔)
และคงผ่านการบูรณะปรับปรุงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย)

นอกจากการประดับงานปูนปั้นแล้ว ช่างปั้นปูนได้เพิ่มเรื่องฐานุนาศักดิ์ของชั้นลดหลั่น โดยปั้นรูปยักษ์แบกฐานล่าง ฐานถัดขึ้นไปเป็นแถวรูปครุฑแบก แล้วจึงขึ้นถึงชั้นบัวทรงคลุ่ม ซึ่งรอบรับใบสีมาคู่ การที่ครุฑถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งดังกล่าว เพราะมีคติอย่างหนึ่งว่า ครุฑอยู่ระหว่างพิภพกับสวรรค์


พุทธประวัติ
พุทธประวัติ : วรรณกรรมเรื่องพุทธประวัติเล่มสำคัญที่ปัจจุบันรู้จักกันดี คือ พระปฐมสมโพธิกถา  สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเรียบเรียงจากหนังสือคัมภีร์เก่า พระปฐมสมโพธิกถา มีอยู่ ๒๙ ปริเฉท (บท) เริ่มจาก “วิวาหมงคลปริวรรต” คือ อภิเษกสมรสพุทธบิดา – พุทธมารดา และจบด้วย “อันตรธานปริวรรต”  หมายถึง บทที่ว่าด้วยเหตุแห่งการเสื่อมสูญของพุทธศาสนา


จิตรกรรมฝาผนังกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗


ผนังกรุล่างของปรางค์ประธาน มีจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ พระอดีตพุทธเจ้า และเรื่องชาดก เป็นต้น สภาพชำรุดบางแห่งเป็นร่องรอยเกิดจากกลุ่มคนร้ายที่บุกรุกลงไปโจรกรรมสมบัติล้ำค่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑  เรื่อง พุทธประวัติตอนตรัสรู้ในสัปดาห์ที่หก มีอยู่ว่าตลอดสัปดาห์นั้น เกิดพายุฝนหนักเป็นอุทกภัย พญานาคชื่อ มุจลินต์ ขึ้นจากสระน้ำขดลำตัวล้อมพระพุทธองค์พร้อมทั้งแผ่พังพานปกป้องพายุฝน ความตอนนี้ช่างเขียนถ่ายทอดเป็นภาพพระพุทธองค์ประทับบนเรือหัวพญานาค ส่วนภาพมานพหนุ่มนั่งประนมกรเบื้องหน้าพระพุทธองค์ พุทธประวัติระบุว่า คือ พญานาคมุจลินต์แปลงกายคราวหลังเมื่ออากาศวิปริตกลับสู่สภาวะปรกติตอนสิ้นสุดสัปดาห์


พระพุทธรูปนาคปรก สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


พุทธประวัติตอนเดียวกับภาพที่ผ่านมา เรียกกันว่า พระพุทธรูปนาคปรก เป็นรูปแบบอุดมคติที่ช่างถ่ายทอดจากรายละเอียดในพุทธประวัติ การที่ช่างออกแบบให้พระพุทธองค์ประทับนั่งเหนือขดลำตัวพญานาค โดยมีพังพานพญานาคแผ่อยู่เบื้องหลัง เป็นงานออกแบบที่เน้นความงดงามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปให้เด่นชัดยิ่งขึ้น


พระพุทธรูปนาคปรก พระนาม “พระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฎราช”  โลหะ ปิดทอง
ประดิษฐานภายในอาคารชื่อเดียวกับพระนาม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ
เททองเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


พุทธประวัติตอนเดียวกับภาพที่ผ่านมา คือสัปดาห์ที่หกหลังการตรัสรู้ ช่างปัจจุบันสร้างประติมากรรมด้วยแรงบันดาลใจจากสุนทรียภาพของพระพุทธรูปสุโขทัย แต่ทำพญานาคปรกพระพุทธองค์ตามที่เคยมีมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังมีตัวอย่างอยู่ที่วิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนฯ หล่อทองแดงขัดเกลี้ยง หน้าตักกว้างประมาณ ๑ ศอก  สร้างขึ้นตามที่ระบุอยู่ในพุทธประวัติ โดยคำนึงถึงความสมจริง ซึ่งตรงกับนาคปรกพระพุทธเจ้ามากกว่าพระพุทธรูปนาคปรก

 
หมวดพยัญชนะ  

ภาพกาก
ภาพกาก : เรียกตัวภาพประกอบฉากในจิตรกรรมแบบแผนประเพณีไทย เช่น ภาพชาวบ้าน ทหารเลว ซึ่งได้พบมากเป็นลำดับตั้งแต่จิตรกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นช่วงรัชกาลที่ช่างเขียนภาพกากได้อย่างมีชีวิตชีวา ตามอากัปกิริยาในชีวิตประจำวัน ภาพกากมิได้หมายถึงคุณภาพต่ำของฝีมือช่าง แต่หมายถึงภาพประกอบฉากเหตุการณ์ที่มีส่วนให้ความหมายของเรื่องสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น


จิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)


ชาดกเรื่องจันกุมาร มีภาพพิธีบูชายัญพระโพธิสัตว์และพระญาติพระวงศ์ จัดขึ้นโดยพราหมณ์ชั่ว แต่เกิดโกลาหลเพราะพระอินทร์เหาะลงมาทำลายพิธี ภาพพราหมณ์ที่ถูกชาวบ้านรุมประชาทัณฑ์ เพราะคั่งแค้นแทนพระโพธิสัตว์และพระญาติพระวงศ์ กิริยาใบหน้าดุร้ายขณะเดียวกันก็น่าขำขันของผู้คนในฉาก ช่วยให้ความหมายของภาพกากชัดเจนยิ่งขึ้น

ภาพตัวพระ, ภาพตัวนาง
ภาพตัวพระ, ภาพตัวนาง : คือภาพพระราชา ภาพนางกษัตริย์ รวมทั้งภาพพระราชวงศ์ชั้นสูงและภาพเทวดา นางฟ้า อากัปกิริยาอย่างนาฏลักษณ์ แช่มช้อย มียศศักดิ์ วาดอย่างประณีต ปิดทองตัดเส้นอาภรณ์เครื่องประดับอย่างวิจิตรบรรจง


จิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)


ชาดกเวสสันดร ตอนฉกษัตริย์ หมายถึงหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์หกพระองค์ คือ  พระเจ้าสญชัย พระนางผุสดี และพระราชบุตร คือ พระเวสสันดร กับพระมเหสี คือ พระนางมัทรี และกุมารชาลี พระกุมารีกัณหา ต่างทรงกันแสงหลังพลัดพรากจากกันนาน ทีท่านาฏลักษณ์เป็นลักษณะเด่นเฉพาะของภาพตัวพระ ภาพตัวนาง


ภาพประดับมุก
ภาพประดับมุก : ภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการประดับชิ้นของเปลือกหอยมุกลงบนแผ่นไม้ที่ลงพื้นด้วยรักสมุก (ยางรักผสมเถ้าใบตอง) งานช่างประเภทนี้ต้องอาศัยความประณีตทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การเลื่อยเปลือกหอยมุกเป็นชิ้นเล็ก ๆ  นำมาประดับเป็นลวดลายเรียงกันตามแบบลายที่ร่างไว้ เสร็จแล้วถ่ายลายลงบนพื้นงานที่ลงรักสมุกไว้  ต่อจากนั้นจึงขัดผิวลวดลายให้เรียบ ก็จะได้ภาพประดับมุกที่แวววาวออกสีรุ้งบนพื้นรักสีดำสนิท งานช่างประเภทนี้นิยมทำประดับบานประตู บานหน้าต่าง หรือประดับผิวภาชนะที่ออกแบบเป็นพิเศษ


บานประตูมุก วิหารพระพุทธชินราช  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ.๒๒๙๙  


ตัวอย่างของการออกแบบชั้นครู ที่เน้นจังหวะช่องไฟ และจังหวะของน้ำหนักอ่อน – แก่ จึงหลีกเลี่ยงความซ้ำขององค์ประกอบเช่นนี้ได้ ทั้งการเพิ่มความสำคัญของภาพในวงกลางด้วยลวดลายเคล้าภาพ มีหนุมาน หงส์ กินรี เป็นต้น ประกอบกับความแวววับวิจิตรของเหลือบสีเปลือกหอยมุกที่จับตาจับใจเป็นพิเศษ


พระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)

ภาพวิจิตรของเหตุการณ์ตอนศึกกุมภกัณฑ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ จังหวะของน้ำหนักขาวกับน้ำหนักดำเป็นอิสระตามลีลาของการวางภาพซึ่งเลื่อนไหลไปตามเหตุการณ์ในท้องเรื่อง กรรมวิธีสำคัญของช่างที่ใช้เน้นภาพให้ชัดเจน คือช่องไฟใหญ่น้อยของพื้นดำ รวมทั้งรายละเอียดมาก - น้อย เกิดจากการจัดเรียงชิ้นหอยมุก ที่เกิดผลลวงตา เป็นมิติใกล้ - ไกลของส่วนหลัก ส่วนรองของภาพ


หมวดพยัญชนะ  

มกร
มกร  : รูปสัตว์ในเทพนิทาน  มีหัวคล้ายจระเข้บ้าง บ้างก็คล้ายช้าง  มีสองขาหน้า ลำตัวสั้น มีหางคล้ายปลา


มกรปลายกรอบซุ้มของเจดีย์ทรงปราสาทประจำทิศ ปูนปั้น
วัดมหาธาตุ สุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๙


รูปมกรมีหางเป็นแถวกระหนกเรียงคดโค้งเป็นจังหวะ อันเป็นลักษณะที่ผ่านมาจากศิลปะลังกา ซึ่งรวมทั้งลักษณะของซุ้มแบบโค้งหน้านางและยอดซุ้มมีรูปหน้ากาลด้วย


มณฑป
มณฑป : อาคารที่มีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากหลังคาเป็นทรงกรวยเหลี่ยมประกอบด้วยชั้นหลังคาเอนลาดซ้อนลดขนาด คือสัญลักษณ์ของเรือนยอดในความหมายของปราสาท


มณฑป อิฐฉาบปูน วัดศรีชุม สุโขทัย
ศิลปะสมัยสุโขทัย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ส่วนหลังคาทลายลงหมดสิ้น


มณฑปที่มีหลังคาทรงกรวยเหลี่ยม ประกอบจากหลังคาลาดซ้อนลดหลั่นต่อเนื่องเป็นยอดแหลมหลังคาดังกล่าวหมายถึงเครื่องยอดหรือหลังคายอด นอกจากเป็นหลังคายอดของมณฑปแล้ว ยังเป็นหลังคายอดของพระมหาปราสาท เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นผลจากพัฒนาการอันยาวนานของหลังคายอด มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

กรมศิลปากรเคยพบหลักฐานการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเป็นจำนวนมากคราวบูรณะมณฑปวัดศรีชุม เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๐  จึงเข้าใจได้ว่าหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง  ดังรูปทรงสันนิษฐานที่แสดงไว้ในที่นี้ เชื่อว่าเป็นรูปทรงก่อนจะมีพัฒนาการลำดับมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



พระมหามณฑป ก่ออิฐ ไม้ ลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่  ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔)


ความงามของมณฑปอยู่ที่หลังคาลาด ซ้อนลดหลั่น แต่ละชั้นประดับด้วยบรรพแถลง ใหญ่ - น้อย ประดับยักเยื้องบนกระเปาะที่ยื่นมาก ยื่นน้อยอย่างมีจังหวะ  อนึ่ง เหนือจากหลังคาลาดซ้อนบนสุดเป็นยอดแหลม มีองค์ประกอบต่างๆ ผสมผสานจากส่วนประกอบของเจดีย์ทรงเครื่อง และเจดีย์ทรงปรางค์ ซึ่งเป็นแบบอย่างงานช่างร่วมสมัยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายแล้ว


มาลัยเถา
มาลัยเถา : คือลวดบัวแบบหนึ่ง ดูคล้ายท่อนมาลัย คาดอยู่ใต้ทรงระฆังของเจดีย์ มักคาดไว้สามเส้นซ้อนลดหลั่น อันเป็นที่มาของคำว่า “เถา”  ขยายมาลัย เป็น มาลัยเถา


มาลัยเถาของพระศรีรัตนเจดีย์  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๑๑)


ลวดบัว - มาลัยเถา เป็นแบบอย่างของเจดีย์ทรงระฆังสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่หากเจดีย์ทรงระฆังมีชุดบัวถลาแทนมาลัยเถา ก็เป็นแบบอย่างนิยมเฉพาะเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสมัยสุโขทัย


มุขเด็จ
มุขเด็จ : กระเปาะที่ต่อจากด้านหน้าของอาคารออกเป็นมุข  นอกจากเรื่องของความงดงามเชิงสถาปัตยกรรมแล้ว มุขเด็จยังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในการทรงปฏิบัติพระราชกิจพิธี คงเคยเรียกว่า “มุขเสด็จ” มาก่อนที่จะกร่อนคำกลายมาเป็นมุขเด็จ
 

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)  บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗–๒๓๙๔)


อุโบสถ หรือวิหารก็ตาม ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เช่น ที่วัดมเหยงคณ์ วัดกุฎีดาว วัดบรมพุทธาราม  ที่มีมุขยื่นออกทางด้านหน้าและด้านหลัง เรียกว่า มุขหน้า มุขหลัง เป็นมุขโถงคือไม่มีผนังกั้น


มุขโถง
มุขโถง : มุขไม่มีฝา นิยมสร้างสำหรับอุโบสถ หรือวิหาร


มุขโถง พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒


บรรยากาศใหม่จากวัฒนธรรมตะวันตกผสมผสานกับแบบแผนประเพณีในรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดลักษณะผสมผสานอันชวนมอง เช่น รูปแบบประเพณีของมุขโถง ของหลังคา หน้าบรรพ โดยมีหินอ่อนเป็นวัสดุของงานก่อสร้างจากตะวันตกควบคู่กับเหล็กหล่อที่เป็นลายฝรั่ง ใช้ประดับเป็นลูกกรงระเบียงของลานฐานพระอุโบสถ


มุขประเจิด
มุขประเจิด : มุขโถงขนาดเล็กยื่นจากหน้าบรรพ รองรับด้วยเสาที่ตั้งขึ้นจากหลังคากันสาด


ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓


มุขประเจิดเชื่อมโยงแผงสกัดของหน้าบรรพกับแนวลาดเทของหลังคากันสาด ช่วยเปลี่ยนพื้นที่ว่างตรงนั้นให้งามสง่าด้วยการซ้อนชั้นหลังคา พร้อมทั้งเพิ่มความชัดเจนของความเป็นเรือนฐานันดรสูงด้วย


เม็ดน้ำค้าง
เม็ดน้ำค้าง : รูปกลมหรือทรงดอกบัวตูม ประดับปลายยอดของปลี บ้างก็เรียกชื่อไพเราะอิงความหมายทางศาสนาว่า “เม็ดนิพพาน"


พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)


เม็ดน้ำค้าง คือ งานเพิ่มเติมในเชิงประดับ เกิดขึ้นภายหลัง อาจในราวกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง หรือตอนปลาย จึงไม่ควรเข้าใจผิดไปว่า เม็ดน้ำค้างมีที่มาดั้งเดิมคือดุมฉัตร เพราะดุมฉัตรพัฒนามาเป็นปลี


เมรุทิศ, เมรุราย (เมรุมุม)
เมรุทิศ, เมรุราย (เมรุมุม) : หนังสือเก่าของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กล่าวถึง วัดไชยวัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา ว่าพระศรีมหาธาตุทรงปรางค์ มีเมรุทิศ เมรุราย ซึ่งหมายถึงทรงปราสาทก่อไว้ประจำทิศ ประจำมุม มีระเบียงเชื่อมต่อล้อมเป็นบริเวณระเบียงดังกล่าว เรียกว่า ระเบียงคด


เมรุทิศ เมรุราย (เมรุมุม) วัดไชยวัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๓


มีการแปลความหมายเมรุทิศ เมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม ว่าคือกำแพงจักรวาล ล้อมรอบทวีปทั้งสี่ ซึ่งแทนค่าด้วยปรางค์ขนาดเล็กสี่องค์ที่ประจำมุมทั้งสี่ของปรางค์ประธานอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล  อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดเนื้อหาจากคำบอก หรือจากหนังสือคัมภีร์ใดๆ อันเป็นแรงบันดาลใจ มีข้อจำกัดที่เงื่อนไขของงานก่อสร้าง พื้นที่ วัสดุ และกรรมวิธีในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ การทำความเข้าใจจึงต้องยืดหยุ่นเสมอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ตุลาคม 2558 15:55:19 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 30 มีนาคม 2556 14:35:02 »

.
หมวดพยัญชนะ
ยกเก็จ ยกกระเปาะ - ย่อเก็จ ย่อกระเปาะ
ยกเก็จ ยกกระเปาะ - ย่อเก็จ ย่อกระเปาะ : เมื่อมีการเพิ่มพื้นที่ของระนาบด้าน ก็เกิดเป็นกระเปาหรือที่เรียกอีกอย่างว่า “เก็จ” การเกิดกระเปาะ ทำให้เกิดมุมเพิ่มขึ้น เช่นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส (หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ตาม) เมื่อเพิ่มกระเปาะ ก็เท่ากับทำให้เกิดมุมเพิ่มขึ้น  ดังนั้นเก็จหรือกระเปาะซึ่งเป็นส่วนที่นูนพ้นระนาบ จึงตรงข้ามความหมายของ ย่อเก็จ ย่อกระเปาะ ที่เรียกกันจนเคยชิน จนผิดกลายเป็นถูกไปแล้ว


ภาพประกอบความเข้าใจว่า ยกเก็จ ยกกระเปาะ กับ ย่อเก็จ ย่อกระเปาะ

ข้ออธิบาย เป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ หลายครั้งต่างวาระกัน ในหนังสือชุด สาส์นสมเด็จ ประมวลได้ว่า ตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมมีสี่มุม เมื่อเพิ่มพื้นที่ คือเพิ่มกระเปาะ คือการเพิ่มมุม หรือทำให้มุมเพิ่มขึ้น ซึ่งทรงเรียกว่า ยกมุม ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ย่อเก็จ ย่อกระเปาะ ย่อมุม จึงให้ความหมายตรงข้ามกับ ยกเก็จ หรือ ยกกระเปาะ


ยกเก็จ ยกกระเปาะ - ย่อเก็จ ย่อกระเปาะ
ย่อมุม เพิ่มมุม : คำว่า เจดีย์ย่อมุม มีผู้อธิบายว่า เป็นการแตกมุมใหญ่ของรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมี ๔ มุม ออกเป็นมุมย่อย หาก ๑ มุมเดิมแตกเป็นมุมย่อย ๓ มุม เมื่อแตกทั้ง ๔ มุมเดิม รวมแล้วได้ ๑๒ มุม คือที่มาของคำว่า เจดีย์ย่อมุมสิบสอง หรือ “ย่อมุมไม้สิบสอง” ที่กล่าวมานี้คือความเข้าใจที่ตรงข้ามกับ ยกมุม หรือ เพิ่มมุม



การที่เรียกตามกันมาว่า ย่อมุม ได้ประโยชน์ในการสื่อสารว่าหมายถึงลักษณะอย่างใด การเรียกชื่อด้วยความเข้าใจการเกิดของมุมว่า เพิ่มมุม แต่อาจทำให้สับสนเพราะผิดจากที่เคยเรียกกันมา กระนั้นยังนับว่าได้ประโยชน์ ช่วยให้จับประเด็นทางวิวัฒนาการด้านรูปแบบของเจดีย์ทรงต่างๆ ได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเรียกถูก หรือผิด บางครั้งก็ไม่สำคัญ งานช่างคือความรู้สึกนึกคิดผนวกกับประสบการณ์ บางครั้งก็ตรง บางกรณีก็พลิกผันไปต่างๆ นานา สุดแต่สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของช่างแต่ละคน เช่นเดียวกันผู้เสพ หรือผู้ศึกษางานช่าง ย่อมมีความคิดประสบการณ์ต่างๆ กันได้เช่นกัน อนึ่ง ที่เรียกว่าย่อมุมไม้สิบสอง มีคำว่า “ไม้” อยู่ด้วย หมายถึงความเป็นเครื่องไม้ ซึ่งงานสร้างของช่างไทยเราใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก จึงมีคำว่าไม้ติดมาทั้งที่เป็นก่ออิฐฉาบปูน ดังลายพระหัตถ์ของสมเด็จครูที่ทรงเรียกงานก่อโดยมีศัพท์ของงานไม้ปนอยู่ด้วย


หมวดพยัญชนะ
ระเบียงคด
ระเบียงคด : ระเบียงทางเดิน มักมีหลังคาคลุม ที่มาของคำว่า “ระเบียงคด” เกิดจากแผนผังรูปสี่เหลี่ยมของระเบียงหักมุมฉาก (คด) ล้อมรอบบริเวณของสิ่งก่อสร้างประธาน


ภาพสันนิษฐานระเบียงคดล้อมรอบกลุ่มเจดีย์ประธาน
วัดมหาธาตุ สุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๐


ระเบียงคด คือขอบเขตของสิ่งก่อสร้างประธาน ระเบียงคดช่วยเน้นความสำคัญ ความเป็นสัดส่วนของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในบริเวณ รูปแบบที่เดินชัดของระเบียงคดมีมาอย่างช้าก็ตั้งแต่สมัยศิลปะสุโขทัย ผ่านมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ระหว่างรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่๓ เช่นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) หรือวัดสุทัศนฯ เป็นต้น  อนึ่ง ภายในระเบียงคดมีพระพุทธรูปประดิษฐานเรียงราย มักเป็นแบบแผนควบคู่อยู่กับการสร้างระเบียงคดด้วย


รัดอก
รัดอก : ส่วนประดับคาดกลางองค์ประกอบใดๆ เช่น คาดกลางองค์ระฆัง หรือคาดส่วนกลางของเสา


รัดอกทรงระฆัง อิฐ ปูนปั้น เจดีย์เชียงยืน วัดพระธาตุภุญชัย ลำพูน
ศิลปะสมัยล้านนา ปลายพุทธศตวรรษ ๑๙–๒๐


รัดอกที่ทรงระฆัง อาจมีความหมายอันเป็นจุดประสงค์เพื่อการประดับให้งดงาม รัดอกที่ทรงระฆังในศิลปะสมัยล้านนาปรับปรุงรูปแบบมาจากงานประดับส่วนเดียวกันในศิลปะพม่า  ที่นิยมอย่างยิ่งมาตั้งแต่สมัยเมืองพุกาม ซึ่งรับจากศิลปะอินเดียอีกทอดหนึ่ง


รัศมี (พระรัศมี)
รัศมี (พระรัศมี) : ในที่นี้หมายถึงเฉพาะรูปคล้ายเปลว หรือดอกบัวตูม เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ช่างใช้แสดงความเป็นพระสัมพุทธเจ้า โดยประดับอยู่เหนือพระอุษณีษะ ทำไว้ทั้งที่เป็นรูปประติมากรรม และภาพจิตรกรรม


พระพุทธรูป สำริด ศิลปะอู่ทองรุ่นที่ ๒
พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร


พระรัศมีของพระพุทธรูป คือส่วนสำคัญทั้งความหมาย และความงามเชิงช่าง ด้านความหมายคือสัญลักษณ์ของความเป็นพระพุทธเจ้า วรรณกรรมทางพุทธศาสนากล่าวถึงประภามณฑลที่แผ่ออกโดยรอบพระวรกายเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สี่หลังจากทรงตรัสรู้ ตลอดสัปดาห์นั้นพระสัพพัญญูทรงพิจารณาพระอภิธรรมที่ทรงตรัสรู้ ความแตกต่างของรูปหรือภาพของพระสงฆ์สาวก คือไม่มีพระรัศมี  อนึ่ง พระรัศมีรูปเปลว หรือรูปดอกบัวตูมก็ตาม ช่วยให้รูปทรงปริมาตรของพระเศียรนูนด้วยพระอุษณีษะ และสอบขึ้นเป็นพระรัศมี ได้เส้นรอบนอกของรูปทรงที่สมบูรณ์


เรือนแก้ว
เรือนแก้ว : เรือนแก้ว แปลจาก รัตนคฤห  หมายถึงเรือนที่ล้วนแล้วไปด้วยแก้วมณี พระอินทร์เนรมิตถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ตลอดสัปดาห์ที่สี่หลังการตรัสรู้ เรือนแก้วในเชิงช่าง วาดหรือปั้นอย่างสัญลักษณ์ คือ เสาคู่ รับหลังคาทรงจั่ว คือ ซุ้มเรือนแก้วเป็นงานออกแบบที่งดงามนิยมทำกันแพร่หลาย และนอกจากมีความหมายกับความงามดังกล่าวมา เรือนแก้วของพระพุทธรูป คือการเน้นพระพุทธรูปให้งามเด่นพ้นฉากหลังด้วย


เรือนแก้ว สำริด ปิดทอง เรือนแก้วล้อมพระวรกายพระพุทธชินราช วิหารพระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑–๒๒


ตลอดสัปดาห์ที่สี่หลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับในเรือนแก้วที่พระอินทร์เนรมิตถวาย เรือนแก้วเป็นรูปสัญลักษณ์ของเรือนที่ล้วนแล้วไปด้วยแก้วมณีล้ำค่า และมีความหมายเชิงภูมิปัญญาช่างและฝีมือช่าง


พระพุทธองค์ประทับในเรือนแก้ว จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ วัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตัวเลขเขียนไว้ในจิตรกรรมแห่งนี้ ระบุ พ.ศ.๒๒๗๗


เหตุการณ์ในสัปดาห์ที่สี่หลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับพิจารณาพระอภิธรรมภายในเรือนที่ล้วนแล้วไปด้วยแก้วมณี ที่เรียกว่า เรือนแก้ว หรือรัตนคฤห  พระอินทร์เนรมิตถวาย ช่างเขียนภาพเรือนแก้วอย่างเรือน มิได้เขียนอย่างรูปสัญลักษณ์

เรือนชั้น
เรือนชั้น : ตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณแล้ว เรือนหลายชั้นหมายถึงปราสาท เป็นที่อยู่ของผู้มีอันจะกิน หรือผู้มีฐานันดรสูง ภายหลังจึงมีพัฒนาการมาหมายถึงพระมหาปราสาทที่ประทับของพระมหากษัตริย์  และศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพเช่น พระพุทธรูป หรือเทวรูปก็ตาม


เรือนชั้น ปราสาทจำลอง ศิลา ศิลปะแบบเขมร
พุทธศตวรรษที่ ๑๖- ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๗
พิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย นครราชสีมา


ปราสาทแบบขอม (เรือนชั้น) มีที่เรียกว่า อาคารจำลอง หรือปราสาทจำลอง เป็นปราสาทประเภทเรือนชั้นซ้อนลดหลั่น แต่ละชั้นย่อจำลองจากชั้นล่างสุด ปราสาทจำลองแบบนี้สำหรับประดับบนมุมของชั้นซ้อนลดหลั่นของปราสาทแบบขอมซึ่งมีรูปแบบทำนองเดียวกัน อนึ่ง ปราสาทจำลองรูปแบบเช่นนี้เป็นที่นิยมมาก่อนที่จะพัฒนามาเป็นอาคารจำลองแบบรูปสัญลักษณ์


ปราสาทพนมรุ้ง ศิลา บุรีรัมย์
ศิลปะแบบเขมร พุทธศตวรรษที่ ๑๗


เรือนชั้นอันหมายถึงชั้นที่ซ้อนลดหลั่นเป็นส่วนบนของปราสาทแบบเขมรองค์นี้ มีประเด็นคลี่คลายสำคัญเมื่อเปลี่ยนการประดับของส่วนบน จากรูปอาคารจำลองบนมุมประธานของแต่ละชั้นซ้อน มาเป็นบรรพแถลง ทำให้ส่วนบนเป็นทรงพุ่มชัดเจนยิ่งขึ้น


เมรุ วัดไชยวัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ.๒๑๗๓


รูปแบบของเรือนชั้นอีกลักษณะหนึ่ง แสดงถึงการซ้อนชั้นลดหลั่น ชัดเจนกว่าเรือนชั้นของทรงปราสาทแบบศิลปะเขมร


ปรางค์มุมระเบียงคดของพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


เรือนชั้นแบบปราสาทในศิลปะเขมร  พัฒนาอยู่ในศิลปะไทยยาวนานเรื่อยมา และกลายมาเป็นแบบอย่างตามรสนิยมเฉพาะในศิลปะไทย ซึ่งชั้นซ้อนลดหลั่น (ในความหมายเดิม คือความเป็นเรือนชั้น) ไม่แสดงปริมาตรเด่นชัด แตกต่างจากต้นแบบคือปราสาทแบบเขมรอย่างเด่นชัด


เรือนยอด
เรือนยอด : คือเรือนฐานันดรสูง เช่นเดียวกับเรือนชั้น แต่เรือนยอดมียอดแหลม เช่น ปราสาทราชวัง หากสร้างเพื่อเป็นเจดีย์จึงมีรูปแบบเฉพาะที่ต่างออกไปบ้าง เช่นที่เรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทยอด


หมู่ปราสาทยอดหรือเรือนยอด  นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างระหว่างรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒ ถึงรัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๑๑


ยอดแบบต่างๆ ของเรือนยอด แสดงถึงการผสมผสานข้ามแบบอย่าง ซึ่งพบเสมอในงานช่างไทย การผสมผสานนอกจากได้แบบอย่างใหม่แล้ว ยังหมายถึงการพัฒนาเพิ่มรูปแบบลักษณะให้มากหลาย อันเป็นความเจริญงอกงาม


เรือนธาตุ ครรภธาตุ
เรือนธาตุ ครรภธาตุ : ใช้เรียกส่วนกลางของเจดีย์ทรงใดๆ ก็ตาม เทียบได้กับส่วนกลางของเรือนอันเป็นส่วนที่อยู่อาศัย (ส่วนล่างของเรือนคือ ฐาน หรือ เสา ส่วนบนคือ ยอด หรือ หลังคา)


เจดีย์แปดเหลี่ยม วัดกู่กุด (วัดจามเทวี) ลำพูน ศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘

ส่วนกลางของเจดีย์แปดเหลี่ยมองค์นี้ แต่ละเหลี่ยมมีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป จระนำซุ้มคือรูปจำลองของประตูซุ้มของอาคาร ประตูซุ้มของอาคารก็คือรูปจำลองอาคาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ตุลาคม 2558 14:49:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 03 เมษายน 2556 14:16:06 »

.
หมวดพยัญชนะ
ลวดบัว คิ้ว
ลวดบัว คิ้ว : บางทีเรียกตัดคำเป็น “บัว” ทำให้เข้าใจกันผิดไปว่าหมายถึงดอกบัว  ลวดบัวหรือคิ้วมีลักษณะต่างๆ กัน  นูนมากน้อยลดหลั่นกัน ใช้ประดับระนาบนอน หรือระนาบตั้งก็ตาม เช่น ประดับแท่นสี่เหลี่ยมด้วยคิ้วลักษณะต่างๆ  ได้เป็นฐานที่เรียกว่าฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย  หรือฐานบัวลูกแก้วอกไก่ เป็นต้น

ลวดบัวเชิง : เรียกย่อเป็น บัวเชิง หมายถึง คิ้วลักษณะต่างๆ ประดับเรียงเหลื่อมล้ำเป็นชุด อยู่ที่ส่วนล่างของผนังเรือนธาตุ


ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
ศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ.๑๘๐๐


ปรางค์รุ่นแรกในศิลปะไทยองค์นี้ ยังมีลักษณะหลายประการที่ใกล้เคียงกับต้นแบบคือปราสาทแบบเขมร เช่น ลวดบัวเชิงประดับที่เชิงผนัง ลวดบัวขนาดใหญ่แต่ละเส้นประดับเข้ากันเป็นชุดต่างมีปริมาตรชัดเจน สัมพันธ์กับรูปทรงล่ำสันที่ยังเด่นชัดขององค์ปรางค์ ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของชุดลวดบัวเชิง คือประดับแนวเฉียง เพราะทำหน้าที่ประสานแนวนอนของฐานกับแนวตั้งฉากของเรือนธาตุ ให้ต่อเนื่องกันได้อย่างกลมกลืน


ลวดบัวรัดเกล้า
ลวดบัวรัดเกล้า : เรียกย่อคำเป็นบัวรัดเกล้า  หมายถึง คิ้วลักษณะต่างๆ ประดับเรียงเหลื่อมล้ำเป็นชุด อยู่ที่ส่วนบนของผนังเรือนธาตุ


ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี  
ศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๑๘๐๐


ลวดบัวรัดเกล้าแต่ละเส้นประกอบเป็นชุด ประดับอยู่ที่ยอดผนังเรือนธาตุ ลวดบัวแต่ละเส้นมีปริมาตรมาก สัมพันธ์กับรูปทรงล่ำสันขององค์ปรางค์ ความสำคัญอีกประการหนึ่งของชุดลวดบัวรัดเกล้า คือ การประดับเป็นแนวเฉียงรับกับแนวตั้งฉากที่ขึ้นมาจากโคนผนังเรือนธาตุ


ลวดลายประดับ
ลวดลายประดับ : ศิลปะไทยเด่นเป็นพิเศษด้านงานประดับอันมีลวดลายประดับวิจิตร ประณีต ลักษณะหลากหลายที่มีความซ้ำอยู่มาก แต่ไม่น่าเบื่อหน่าย เพราะความคิดของช่างที่ยักย้าย สลับปรับเปลี่ยน แปลงแบบ แปลงลักษณะไปได้ต่างๆ นานา ดังนั้น ภายใต้กฎระเบียบแบบแผน ลวดลายประดับในศิลปะไทยจึงมีอิสระอย่างยิ่ง

ลายกรวยเชิง
ลายกรวยเชิง : ลวดลายรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมชี้ขึ้น เรียงประดับต่อเนื่องกันในแนวนอน อยู่เหนือเส้นบนสุดของลวดบัวเชิง ลายกรวยเชิงประดับเข้าชุดกับลายเฟื่องอุบะ


ลายกรวยเชิง ปูนปั้น ปรางค์วัดส้ม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ลายกรวยเชิงบางทีก็เรียกลายกรุยเชิง  มีรูปแบบคลี่คลายในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเพราะมีการสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ที่สำคัญหลายองค์ มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อม เจดีย์ทรงปรางค์มีพื้นที่เหมาะสำหรับงานประดับลวดลายปูนปั้นประเภทต่างๆ  ทั้งนี้แตกต่างจากเจดีย์ทรงระฆัง ซึ่งไม่มีพื้นที่มากนักสำหรับงานประดับลวดลายปูนปั้น


ลายดอกจอก
ลายดอกจอก : ดอกกลมกลางดอกเป็นตุ่มคล้ายเกสร กลีบขนาดเท่าๆ กันแผ่ออกมาโดยรอบ จึงเป็นรูปคล้ายดอกจอก  แต่บ้างก็เรียกดอกกลม ใช้เรียงแถวเป็นจังหวะ หรือเรียงสลับกับลายอื่น เช่นสลับกับลาย “สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน” เรียกตามลักษณะว่า “ลายดอกจอกสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน” หรือ “ลายดอกกลมสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน”  ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่ง เรียกโดยรวมกับลายอื่นที่ผสมเข้าด้วยกันว่า “ลายประจำยามก้ามปู”


ปรางค์ หมายเลย ๘ ในพื้นที่ทางใต้ วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐


ลายดอกจอก หรือดอกกลม คือตัวอย่างสำคัญอย่างหนึ่งของงานประดับไทย ที่สามารถประดับร่วมกับลวดลายอื่นได้ เป็นลวดลายอย่างใหม่ ระเบียบอย่างใหม่ หลายหลากรูปแบบ

ลายดอกจอก (ดอกกลม) สลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (ลายประจำยามก้ามปู)
ลายดอกจอก (ดอกกลม) สลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (ลายประจำยามก้ามปู) : ปรางค์ หมายเลข ๘ ในพื้นที่ทางใต้ วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา ศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐


ลายดอกจอก หรือดอกกลม ประดับร่วมกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ได้เป็นชุดลายดอกกลมสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
นิยมเรียกกันว่า ลายประจำยามก้ามปู


ลายประจำยาม หมายถึง ลายดอกสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักใช้ประดับตามมุม หรือมีตำแหน่งประดับที่กลางด้าน จึงได้ชื่อว่าประจำยาม  ส่วนก้ามปู หมายถึง กระหนกสองตัวประกอบกัน ลักษณะคล้ายก้ามปู  ประดับทางซ้ายและขวาของดอกกลม รวมเรียกว่า ลายประจำยามก้ามปู น่าสังเกตว่าไม่มีชื่อลายดอกกลม หรือดอกจอก รวมอยู่ด้วย

ลายดอกไม้ร่วง
ลายดอกไม้ร่วง : ภาพดอกไม้ร่วง ขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง หรือขนาดเท่าๆ กัน บางแห่งมีมากหลายลักษณะ ประหนึ่งว่าโปรยปรายจากสวรรค์  ดอกไม้ร่วงนอกจากช่วยให้เกิดบรรยากาศอันเป็นสิริมงคลแล้ว ยังทำหน้าที่ลดจังหวะของพื้นที่ว่างที่มีมากเกินไป


เนมียราชชาดก  จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดคงคาราม ราชบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑)


ดอกไม้ร่วงในฉากเมนียราชโพธิสัตว์เสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ดาวดึงส์ตามคำทูลเชิญของพระอินทร์ เพื่อสนทนาธรรม ผู้ที่ได้อ่านวรรณกรรมบางเรื่องที่กล่าวถึงดอกไม้ร่วงในฉากต่างๆ ของชาดก หรือโดยเฉพาะในพุทธประวัติ ซึ่งบรรยายฉากดอกไม้สวรรค์ที่โปรยปรายคลอกับแว่วบรรเลงดนตรีทิพย์


ลายดอกลอยก้านแย่ง
ลายดอกลอยก้านแย่ง : ลายประเภทนี้มีมากหลายลักษณะ เค้าโครงเด่นชัด เป็นดอกประดิษฐ์แบบใดแบบหนึ่ง ประดับเรียงห่างกันเป็นจังหวะ คือที่มาของชื่อ “ดอก(ที่)ลอย(พ้นพื้นหลัง) ระหว่างดอกเชื่อมด้วยก้านโยงที่เป็นตาข่ายหรือตาราง จึงได้ชื่อว่า “ก้านแย่ง”  บางทีก็เรียก “ก้านแยก”  ลายดอกลอยก้านแย่ง  ทั้งที่เป็นงานจิตรกรรม หรืองานสลักเสลาก็ตาม ทำขึ้นเพื่อตกแต่งพื้นที่เป็นแผง จึงเรียกได้อีกว่า”ลายแผง”  คือเรียกลักษณะโดยรวม ไม่บ่งชี้ลักษณะของลายละเอียด


ลายดอกลอยก้านแย่ง จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) หลังจากนั้นได้มีการซ่อมแซมมาเป็นระยะ
ครั้งสำคัญหลังสุด กรมศิลปากรได้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อไม่นานมานี้


พื้นที่ขนาดใหญ่ที่เขียนลายดอกลอยก้านแย่ง (ลายแผง)  ซึ่งมีรายละเอียดของการออกแบบหลายแนวทาง ตั้งแต่ลักษณะของตัวลาย การใช้สี สลับสี หรือสอดสี ยักเยื้องจังหวะถี่ – ห่างของช่องไฟ ต่างๆ นานา  คือข้อมูลบันทึกให้ผู้ศึกษาได้หยั่งทราบความสัมพันธ์ทางสังคมจากที่มาของงานออกแบบเหล่านั้น เช่นกรณีนี้ ลายดอกมีเค้าจีน ใบเป็นเค้าใบไม้ฝรั่ง ลายกระหนกที่แซมอยู่เล็กน้อยทำนองแนวไทย  โดยรวมของลวดลายประดับเช่นนี้ในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔  มีที่เรียกว่า ลายเทศ


ลายเทศ
ลายเทศ : ลวดลายประดับได้แรงบันดาลใจผสมผสานจากศิลปะตะวันตกและศิลปะจีน  ช่างไทยนำมาปรุงแต่ง จึงได้ชื่อว่า ลายเทศ  เป็นที่นิยมมากตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ เช่นงานออกแบบเป็นกรอบประตู กรอบหน้าต่างของอุโบสถ วิหาร


ลวดลายประดับกรอบประตู พระอุโบสถวัดราชโอรส ธนบุรี
ศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


งานประดับกรอบเช่นนี้ ปรับแปลงจากกรอบรูป หรือกรอบกระจก คงอยู่ในแนวจีน เช่นเดียวกับลวดลายประดับซึ่งเป็นลักษณะจีนโดยมีลวดลายลักษณะของตะวันตกผสมอยู่ด้วย อันเป็นที่มาของคำว่า ลายเทศ กรอบเช่นนี้แตกต่างจากงานประดับประตูด้วยซุ้มตามแบบแผนประเพณีเดิม


จิตรกรรมประดับเสา ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑) ผ่านการบูรณะแล้ว


ลายประเภทดอกลอยก้านแย่ง ลายเด่นคือดอกพุดตาน ปรับปรุงจากลายแบบจีน ผสมลายใบไม้สีทองก็เด่น ปรับปรุงจากลายฝรั่ง พื้นสีมืดมีลายทำนองฝรั่งด้วย แม้ไม่มีลายไทย-ลายกระหนกให้เห็นเด่นชัด แต่ลายเหล่านี้ประกอบกันด้วยรสนิยมอย่างช่างไทย แม้เรียกว่า ลายเทศ ก็ตาม


ลายไทย
ลายไทย : ลายไทย คงใช้เรียกกันมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง ที่เรียกว่าลายไทยโดยอนุโลมในที่นี้หมายถึงลายเก่าแก่กว่าพันปีที่แรกมีในดินแดนไทย  คือ ลายประดับในศิลปะทวารวดี ได้แรงบันดาลใจจากลวดลายแบบหนึ่งในศิลปะอินเดียโบราณ ซึ่งติดตามพัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันได้


กระหนกปลายกรอบซุ้ม ดินเผา (ชำรุด) ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ปลายกรอบซุ้มของศิลปะทวารวดีประกอบจากวงโค้งประดับด้วยกระหนก ทำนองเดียวกับปลายกรอบซุ้มของศิลปะร่วมสมัยในช่วงเวลาเดียวกัน คือศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร แต่ศิลปะเขมรซึ่งยืนยาวกว่าโดยที่ต่อมาส่วนปลายกรอบซุ้มได้คลี่คลายเป็นรูปพญานาคห้าเศียร


กระหนก ปลายกรอบซุ้ม ปูนปั้น เจดีย์รายภายในวัดเจดีย์เจ็ดแถว
ศรีสัชนาลัย ศิลปะสมัยกรุงสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙

แถววงโค้งสลับต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงตัวยอด คดโค้งทำนองคดกริช อันเป็นจังหวะของตัวกระหนกที่คลี่คลายมายาวนานและกลายมามีลักษณะเฉพาะตามรสนิยมของปัจจุบัน


ลายกรวยเชิง ปูนปั้น เสาอุโบสถ (หรือวิหารก็ตาม)จากวัดภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางต่อตอนปลาย ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(กรมศิลปากรย้ายมาติดตั้งไว้ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา)


ชื่อเรียกลายกรวยเชิงระบุเค้าโครงและตำแหน่งที่ลายนี้ประดับ กรวยเชิงประกอบจากลายต่างๆ อันมีกระหนกเป็นหลักสำคัญ ล่างลงมาเป็นลายในแนวนอน (เรียกว่า “ลายหน้ากระดาน”)  ซึ่งความกระชับของลวดลาย คือความสมบูรณ์ของงานออกแบบและฝีมือปั้น


ลายประดับหน้าบรรพ หอพระราชพงศานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑)


พระราชลัญจกรของรัชกาลที่ ๔ คือรูปมงกุฎประดับอยู่ภายในกรอบซึ่งมีลายใบไม้ม้วนแบบฝรั่งประกอบ รายล้อมด้วยกระหนกเครือเถา อันเป็นอีกลักษณะหนึ่งของงานออกแบบอันมีกระหนกเป็นลายหลัก


ลายไทย – ลายกระหนก” ฝีมือ ถวัลย์  ดัชนี ในภาพ “พญาครุฑ”  
ซึ่งเป็นรายละเอียดของภาพ “เทพชุมนุม Trinity”  สีน้ำมันทองคำเปลว
บนผ้าใบ ๒๐๐ x ๔๐๐ ซม. (ไม่ระบุปีที่เขียนภาพ)  (ภาพจาก “ปาฐกถา ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๗,
๑๕ กันยายน ๒๕๔๕  เรื่อง “ความรักเยี่ยงบิดามีต่อบุตร”  แสดงปาฐกถา
โดย นายถวัลย์  ดัชนี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ)

 
ลายไทย – ลายกระหนก  ด้วยแรงบันดาลใจจากแบบศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้รับการนำมาปรับใช้ในปัจจุบัน กลายเป็นลักษณะเฉพาะของถวัลย์ ดัชนี


พระเมรุทรงปราสาทยอด ส่วนล่างที่ประดับด้วยผ้าทองย่น
ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง (ระหว่างวันที่ ๑๔ ถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑)


ลวดลายไทยประเภทต่างๆ ผูกลายจากกระหนก  ฉลุ – ตัดจากผ้าทองย่น ประดับฐานพระเมรุมุมตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของฐานสิงห์ ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์เป็นลายซ้อนไม้ (คือฉลุไม้แต่ละส่วนของลาย นำมาซ้อนกันให้เกิดปริมาตร) เป็นแบบเพื่อทำพิมพ์และหล่อด้วยไฟเบอร์ แล้วจึงปิดด้วยผ้าทองย่นและกระดาษตะกั่วสี


ฉากบังเพลิง สลักไม้ เขียนสี และประดับชิ้นกระจกสี พระเมรุทรงปราสาทยอด ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง
(ระหว่างวันที่ ๑๔ ถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑)



ลายเฟื่องอุบะ
ลายเฟื่องอุบะ : ด้วยความหมายของมาลัยดอกไม้ ประดับเรียงเป็นราวแขวนที่ยอดผนัง ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลายเฟื่องอุบะประดิษฐ์อยู่ในโครงของรูปสามเหลี่ยมปลายชี้ลง มีประดับปราสาทแบบเขมรมาก่อน ได้ผ่านพัฒนาการมาเป็นลายประดิษฐ์อย่างแท้จริง โดยประดับเข้าชุดกับลายกรวยเชิง ที่เชิงผนังของเจดีย์ทรงปรางค์


ปรางค์วัดส้ม พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ลายเฟื่องอุบะ  ปั้นปูนประดับยอดผนังตอนใต้จากลวดบัวรัดเกล้า  สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ลายเฟื่องอุบะมีแบบเดียวกับลายกรวยเชิง แต่เพียงกลับบนเป็นล่าง คือลายเฟื่องอุบะชี้ปลายแหลมลง


ลายรดน้ำ
ลายรดน้ำ : ลายหรือภาพที่เกิดจากกรรมวิธีพิเศษอันประณีตด้วยเส้นสาย และจังหวะช่องไฟ  พื้นผิวของแผ่นไม้ทาด้วยยางรักสีดำผสมเถ้าใบตอง เรียกว่า “รักสมุก” เมื่อขัดผิวจนเรียบสนิทดีแล้ว จึงทายางรักใส เรียกว่า “รักเช็ด”  หรือ “รักเกลี้ยง”  แล้วเขียนลายหรือภาพตามที่ได้ออกแบบไว้ด้วยสีเหลืองของหรดาล เขียนหรือระบายปิดพื้นที่ของตัวลายหรือตัวภาพ แล้วจึงปิดแผ่นทองคำเปลวจนเต็มพื้นที่ จากนั้นจึงรดน้ำจนทั่ว หรดาลที่เขียนไว้ละลายออกหมด ทองที่ปิดทับหรดานก็หลุดตาม เหลือแต่ภาพลายทองบนพื้นรักดำ การรดน้ำจึงเป็นที่มาของชื่อ ลายรดน้ำ แต่ที่เรียกว่า ลายทอง ก็มี


ลายรดน้ำ (ลายทอง) ตู้พระธรรม (ฝีมือครูของวัดเซิงหวาย) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ  
ศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๓


ลายรดน้ำมีเพียงสีดำกับสีทองคำเปลว ที่จะให้งามจับตาได้ต้องอยู่ที่ความคิดและฝีมือช่าง   เช่น ตู้ฝีมือครูช่างใบนี้ ส่วนล่างของภาพเป็นลายกระหนกเลื่อนไหลอย่างอิสระ เคล้าด้วยภาพสิงโตจีน ส่วนบนเป็นลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดูเหมือนพลิ้วไหวตามสายลมอ่อน เป็นที่อยู่อาศัยของบรรดานก กระรอก ทั้งส่วนบนและส่วนล่างดังกล่าวมีลักษณะแตกต่าง แต่ร่วมกันประกอบเป็นงานช่างชิ้นเยี่ยมนี้


ลายสอดสาน, ลายกรอบ
ลายสอดสาน, ลายกรอบ : ชื่อที่ตั้งเรียกในที่นี้ เกิดจากวงโค้งหรือคดโค้ง สอดสานกัน ได้เป็นแบบแปลกๆ โดยมีกรอบรูปเหลี่ยมหยักมุมประกอบอยู่ด้วย ลวดลายที่ประกอบอยู่ด้วยกัน มีทั้งลายกระหนก (คือลายประดิษฐ์) และลายพรรณพฤกษา (เลียนอย่างธรรมชาติ)


ลายวงโค้งสอดสาน หรือลายกรอบ ปูนปั้น ผนังสกัดหลัง วิหารวัดไลย์ ลพบุรี  
ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑


ลายกรอบที่เกิดรูปของเส้นเรขาคณิตสอดสานกับวงโค้ง และลายใบไม้อิงธรรมชาติ แซมแทรกร่วมกับลายกระหนก บ่งชี้ว่าคือช่วงเวลาของงานช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ได้รู้จักรับรู้งานช่างในรสนิยมมุสลิมเปอร์เซีย จีน รวมทั้งล้านนา


ลายประดับมุม
ลายประดับมุม : การใช้ลายประดับมุม เกี่ยวข้องกับแหล่งบันดาลใจจากจีนซึ่งมีที่ทำเป็นรูปค้างคาวสำหรับประดับมุมมาก่อน ลายประดับมุมเช่นนี้นอกจากเพื่อให้เกิดความงดงามแล้ว ยังเปลี่ยนมุมหักฉากของพื้นที่สี่เหลี่ยมให้โค้งมน ได้เป็นพื้นที่รูปรี


ลวดลาย (ชำรุดบางแห่ง) ประดับผนังวิหาร ปูนปั้นวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย
ศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลาย ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือพุทธศตวรรษที่ ๒๑


ลายประดับมุม ประดับในตำแหน่งเดียวกับลายค้างคาวในงานประดับอย่างจีน ลักษณะของลายวงโค้งประกอบด้วยกระหนกประดับที่มุม แปลกตาสำหรับลายประดับแบบสุโขทัย และแบบกรุงศรีอยุธยาก็ยังไม่เคยพบที่เก่าก่อน กล่าวในเชิงช่างแล้ว  ลายประดับมุมทั้งสี่นี้ทำหน้าที่เปลี่ยนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมให้เป็นพื้นที่รูปรี เพื่อบรรจุลวดลายภายในได้แปลกเป็นรสชาติใหม่  อนึ่ง ลวดลายภายในพื้นที่รูปรีสอดคล้องกับลักษณะของลายประดับมุม (รวมทั้ง ลายสอดสาน, ลายกรอบ)   ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับรสนิยมอย่างจีน โดยที่ลักษณะผสมผสานคงเกี่ยวข้องกับงานประดับอย่างเปอร์เซีย และล้านนาด้วย


ลายฮ่อ
ลายฮ่อ : ที่มาของชื่อเรียกศัพท์นี้ เรียกตามกันมาโดยรับรู้ว่า คือลายคล้ายแถบผ้าพลิกพลิ้วอย่างจีน  ทำหน้าที่เน้นความสำคัญของภาพเหตุการณ์หรือแยกภาพเหตุการณ์หนึ่งออกจากภาพอีกเหตุการณ์หนึ่ง หน้าที่ของลายฮ่อจึงไม่ต่างจากสินเทา


ลายฮ่อ จิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔


เนมียราชชาดก มีประเด็นสำคัญ คือ พระอินทร์  โปรดให้อัญเชิญเนมียราชผู้ทรงศีล ขึ้นไปเพื่อสนทนาธรรมกับพระองค์และเหล่าเทวดา ณ สุธรรมสภาปราสาทบนสวรรค์ดาวดึงส์  เนมียราชขอให้พาลงไปดูเมืองนรกโดยไพชยนต์ราชรถที่พระอินทร์ส่งมารับ ก่อนจะเสด็จขึ้นไปสนทนาธรรมบนสวรรค์ ช่างเขียนภาพเมืองนรกไว้ล่างสุดของผนัง (ชำรุดมาก) โดยมีลายฮ่อคั่น ส่วนเหนือขึ้นไปซึ่งเป็นเมืองสวรรค์ มีภาพสุธรรมสภาปราสาท    ซึ่งลายฮ่ออีกเส้นหนึ่งคั่นครอบเป็นขอบเขตแยกออกจากพื้นที่สีแดง โดยสมมุติเป็นอากาศธาตุ มีเหล่าเทพยดาพากันเหาะมาเพื่อร่วมฟังการสนทนาธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ตุลาคม 2558 15:11:40 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 03 เมษายน 2556 15:34:43 »

.
หมวดพยัญชนะ
วิชาธร, วิทยาธร, นักสิทธิ์, คนธรรพ์
วิชาธร, วิทยาธร, นักสิทธิ์, คนธรรพ์ : อมนุษย์ระดับรองจากเทพยดา มีฤทธิ์เหาะได้ อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ช่างมักวาดเป็นภาพเทวดาเหาะในท่าโลดโผน เพราะชอบอวดฤทธิ์เดช และมักวาดผสมผสานลักษณะและเครื่องแต่งกายอย่างชาวเทศ เช่น จีน หรือฝรั่งมุสลิม (เช่น เปอร์เซีย) ตามแต่จินตนาการของช่าง


วิชาธร นักสิทธิ์ คนธรรพ์  จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตัวเลขเขียนไว้ในจิตรกรรมแห่งนี้ ระบุปี (ที่เขียนภาพ) พ.ศ. ๒๒๗๗


ผู้มีฤทธิ์เหล่านี้คืออมนุษย์ อยู่ในป่าหิมพานต์ มีคุณวิเศษระดับหนึ่ง คือเหาะได้ แต่ยังมีกิเลสนิสัยเช่นมนุษย์ รายละเอียดมีบอกเล่าอยู่ในหนังสือเก่า อมนุษย์ในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถแห่งนี้มีหลากหลายประเภท แยกแยะไม่ได้แน่ชัด เชื่อว่าจุดประสงค์หลักของช่างเขียนราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา คือวาดภาพอมนุษย์เป็นผู้คนชนชาติต่างๆ ที่ตนรู้จักพบเห็น โดยแสดงลักษณะเฉพาะทั้งรูปร่าง หน้าตา และเครื่องแต่งกาย ด้วยนัยแห่งโลกียวิสัยของผู้มีฤทธิ์ระดับล่าง


วิหาร
วิหาร : ชื่อเรียกอาคารหลังคาคลุม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นเดียวกับอุโบสถ แต่อุโบสถมีใบสีมาปักไว้ด้านนอกประจำแปดทิศ เพื่อบ่งบอกว่าเป็นเขตกระทำสังฆกรรม วิหารบ่งถึงความสำคัญทั้งในด้านตำแหน่งที่ตั้งและขนาดใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ซึ่งนิยมสร้างวิหารไว้ทางด้านหน้าของวัด คือทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน ภายหลังความนิยมเปลี่ยนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเรื่อยมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย  ซึ่งความสำคัญของวิหารมีแนวโน้มลดลงมาก ขนาดก็เล็กลง และบางวัดก็ไม่สร้างวิหารไว้ด้วย


วิหาร วัดนายโรง ธนบุรี
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)


พบไม่บ่อยนักที่วิหารอยู่เคียงข้างกับอุโบสถ หากไม่เป็นเพราะมีเหตุเจาะจงด้านการใช้งาน ก็เหตุจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนไปมาสัญจรหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินมากขึ้น พื้นที่สร้างวัดก็ย่อมมีข้อจำกัด กฎเกณฑ์ที่มีอยู่จึงต้องปรับเปลี่ยน ตัวอย่างมีอยู่เด่นชัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น วัดขนาดใหญ่ทุกวัดมีตำแหน่งทิศทางอยู่โดยมีแบบแผนแน่ชัด เมื่อผ่านสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางมาสู่ตอนปลาย จำนวนวัดที่มีอยู่มาก เมื่อสร้างเพิ่มขึ้น ขนาดของวัดและการใช้พื้นที่ก็ได้รับผลกระทบดังที่กล่าวมา


หมวดพยัญชนะ
ศิขร
ศิขร : ทรงคล้ายฝักข้าวโพด อันเป็นส่วนบนของศาสนาคารทางพุทธศาสนาหรือศาสนาฮินดูในศิลปะอินเดียโบราณ ส่วนบนนี้ประกอบจากลักษณะย่นย่อของชั้นอาคารซ้อนลดหลั่น ได้เป็นต้นแบบให้เจดียวิหารมหาโพธิ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่)



เจดียวิหารมหาโพธิ วัดมหาโพธาราม (วัดเจดีย์เจ็ดยอด) เชียงใหม่  ศิลปะสมัยล้านนา รัชกาลพระเจ้าติโลกราช พ.ศ. ๒๐๓๗  ต้นเค้าของทรงศิขร มีอยู่ในสถาปัตยกรรมอินเดียโบราณ โดยเฉพาะเจดียวิหารมหาโพธิ ที่พุทธคยา  ซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์ของปราสาทซ้อนลดหลั่นขึ้นไปในทรงแท่งสอบเทียบกับทรงของฝักข้าวโพด



หมวดพยัญชนะ
สมาธิ (ปาง)
สมาธิ (ปาง) : ปางคือการสื่อความหมายด้วยมือ เมื่อพระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปวางหงายบนพระหัตถ์ซ้ายซึ่งอยู่บนพระเพลา (ตัก) คือ ปางสมาธิ โดยทั่วไปไม่เจาะจงทำในพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง นอกจากบางตอนเช่น ในสัปดาห์ที่หกหลังตรัสรู้ ที่เรียกกันว่าพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่ก็มีข้อยกเว้นไปทำปางมารวิชัย


พระพุทธรูป ศิลา สลักนูนศิลปะทวารวดี
พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปาราจีนบุรี


พระพุทธรูปแสดงพระหัตถ์ปางสมาธิองค์นี้ เป็นงานสลักนูนสูง หมายถึง นูนพ้นพื้นหลังมาก เมื่อเทียบกับด้านข้างทั้งสองที่สลักรูปสถูปจำลอง ซึ่งนูนเพียงเล็กน้อยจัดเป็นงานสลักนูนต่ำ อย่างไรก็ตามจัดเป็นงานสลักนูนสูงเมื่อพิจารณาพระพุทธรูปเป็นหลัก


สมาธิ (อิริยาบถ)
สมาธิ (อิริยาบถ) : พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระชงฆ์ขวาซ้อนบนพระชงฆ์ซ้าย เห็นฝ่าพระบาทขวาข้างเดียวเรียกว่า ขัดสมาธิราบ (วีราสน์)  หากพระชงฆ์ขัดไขว้กันเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้างเรียกว่า ขัดสมาธิเพชร (วัชราสน์)


พระพุทธรูปนาคปรก (พังพานของพญานาคหักหาย) ขัดสมาธิราบ (วีราสน์) ศิลา
ศิลปะแบบเขมร ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ช่างสลักให้เห็นว่าทรงห่มคลุม ดังแนวนูนของขอบจีวรเป็นวงรอบพระศอ จีวรระหว่างพระปรัศว์ (สีข้าง) กับพระกรข้างซ้ายจึงสอดคล้องกับการห่มคลุม แต่ที่ข้างขวากลับเจาะทะลุตามการห่มเฉียง อาจเป็นความพลั้งเผลอ หรือสับสนของช่าง ดังกล่าวนี้มิใช่ตัวอย่างเดียวที่เคยพบในประติมากรรมเขมร


พระพุทธรูป ขัดสมาธิเพชร (วัชราสน์) สำริด ศิลปะสมัยล้านนา
พุทธศตวรรษ ๒๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพ


พระพุทธรูปในศิลปะสมัยล้านนา พระพักตร์ พระวรกายอวบอ้วน พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เคยเรียกกันว่าพระพุทธรูปแบบเชียงแสน และจัดว่าแบบนี้เป็นรุ่นแรก แต่ปัจจุบันมีการศึกษาทบทวน ได้พบข้ออธิบายใหม่ว่าควรเป็นงานสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยย้อนไปนำแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นเก่าก่อนมาผสมผสาน  อนึ่ง งานช่างทั้งประติมากรรม (ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปด้วย) สถาปัตยกรรม และจิตรกรรม มีอยู่ทั่วไปทุกเมืองของภาคเหนือซึ่งในอดีตเรียกรวมว่าแคว้นล้านนา ปัจจุบัน นักวิชาการจึงนิยมเรียกงานช่างโดยรวมว่า ศิลปะล้านนา กระนั้นความคุ้นเคยกับคำว่า “พระพุทธรูปเชียงแสน” หรือ “ศิลปะเชียงแสน” ก็ยังนิยมใช้กันอยู่


สมุดไทย
สมุดไทย : สมุดไทยทำจากเยื่อต้นข่อย หน้าสมุดยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับทบเป็นตั้ง เมื่อคลี่ทบออกก็ดูได้สองหน้าติดต่อเนื่องกัน สมุดไทยหากเป็นสมุดมีภาพวาด เรียกว่าสมุดภาพ เช่น สมุดภาพไตรภูมิ  อนึ่ง ที่เรียกว่าสมุดภาพไตรภูมิคงเป็นเพราะเจาะจงเรียกภาพเรื่องไตรภูมิเป็นสำคัญ แม้มีภาพเรื่องพุทธประวัติและภาพเรื่องชาดกร่วมอยู่ด้วยก็ตาม


จิตรกรรมสมุดภาพ ฉบับกรุงธนบุรี
ศิลปะกรุงธนบุรี รัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๔)


พุทธประวัติตอนมารผจญ ภาพอุดมคติทางขวาคือพญามารนำเหล่ามาร (บุคลาธิษฐานกิเลส) คุกคามพระโพธิสัตว์ รูปใบโพธิ์แทนองค์พระโพธิสัตว์ ถัดลงมาคือแม่พระธรณีกำลังบีบน้ำจากมวยผมของนาง ท่วมเหล่ามาร ภาพพญามารอยู่ในท่าพนมกรยอมแพ้อยู่ทางซ้าย หลังจากเหล่ามารแตกพ่ายไปแล้ว พระโพธิสัตว์ ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ


สลักไม้
สลักไม้ : งานสลักไม้มีกรรมวิธีทำนองเดียวกับงานสลักหิน  ซึ่งสลักเอาส่วนที่ไม่ต้องการออกไปเพื่อให้ได้รูปตามที่ต้องการ แต่ไม้เป็นวัสดุก่อนกว่าหิน ความคล่องตัวของการสลักไม้จึงมีมากกว่า หากสลักผิดพลาดอาจแก้ไขได้ไม่ยากนัก หรือหากความหนาของไม้ไม่มากพอก็อาจต่อเติมได้ ภายหลังงานเสร็จสิ้น ตกแต่งผิวไม้ที่สลักสำเร็จแล้ว มักลงรักเพื่อปิดทอง


ทวารบาลที่บานประตูในวิหารพระม้า งานสลักไม้ ลงรักปิดทอง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
นครศรีธรรมราช เชื่อว่าเป็นงานที่ทำขึ้นใหม่คราวบูรณะครั้งรัชกาลที่ ๕ (๒๔๑๑-๒๔๕๓)


ลายประดับแบบเก่า เช่น กรอบประดับลายดอกกลมสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายประดับที่อกเลาเป็นลายรักร้อย อันเป็นลายในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และลายประดับมุมในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เช่น ที่วิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย หรือที่วิหารวัดไลย์ ลพบุรี  อย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของทวารบาลดูใหม่และไม่มีเค้าที่เกี่ยวข้องกับลวดลายประดับ ทั้งนี้ รวมทั้งอาภรณ์เครื่องประดับองค์ที่ค่อนข้างแปลก คงเป็นฝีมือช่างคราวปฏิสังขรณ์ที่ไปสืบค้นหาแบบอย่างของลวดลายเก่ารุ่นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มาผสมผสานกัน และเชื่อว่าเป็นงานของช่างส่วนกลางมากกว่าช่างท้องถิ่น


งานสลักไม้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ศิลปะท้องถิ่น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปลายพุทธศตวรรษที่๒๕


งานสลักไม้ประดับบานประตู สะท้อนให้เห็นงานช่างอย่างพื้นบ้าน เศียรพญานาคมีการตกแต่งด้วยการระบายสีฉูดฉาด โดยมีสีทองเป็นหลัก ปีกของพญานาคที่เพิ่มขึ้น คือ จินตนาการผสมผสาน ปิดทองประดับกระจกสี งานไม้สลักเช่นนี้ ได้พบทั่วไปตามวัดในท้องถิ่นอีสาน


สลักหิน
สลักหิน : งานสลักหินคือสกัดเอาเนื้อหินส่วนที่ไม่ต้องการออกจากแท่งหิน เพื่อให้เกิดรูปร่างตามที่ต้องการ หากผิดพลาดเช่นสลักออกมากเกินไปก็แก้ไขได้ยากหรือไม่ได้เลย  ขั้นตอนการสลักหินจึงต้องรัดกุม ทั้งนี้ตรงข้ามกับงานสลักไม้ หรือปูนปั้น แต่ข้อดีของงานสลักหินคือคงทนกว่า


ธรรมจักร ศิลา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ธรรมจักรที่สลักเลียนแบบของจริง คือที่มาของข้อสังเกตว่า ระยะเริ่มแรกทำลักษณะสมจริงตามต้นแบบ เมื่อทำมาก รู้จักดีเข้าใจดีแล้ว รูปแบบจะเคลื่อนคล้อยตามความคิดความถนัดที่มีมากขึ้น เช่น สลักแบบนูนต่ำ มิได้สลักตามแบบของจริงดังระยะแรกคือสลักให้ทะลุเป็นซี่กงล้อ



พระพุทธรูป ศิลา กรณีที่มีขนาดเท่าคนจริง หรือแม้ขนาดย่อมกว่าก็ตาม โดยไม่ต้องกล่าวถึงขนาดใหญ่เช่นพระพุทธรูปองค์นี้ช่างสลักเลือกใช้หินหรือที่เรียกว่า ศิลา   ก้อนใหญ่หรือเล็กตามสัดส่วนที่จะสลัก เช่น ส่วนพระเพลา (หน้าตัก) ต่อด้วยศิลาอีกก้อนสำหรับสลักส่วนบั้นพระองค์ (ลำตัว) และส่วนพระเศียรอีกก้อนหนึ่ง ที่เป็นเช่นนี้มีประเด็นสำคัญคือ ประหยัดแรงงานและเวลาในการสลักให้เป็นรูปทรงของส่วนที่ต้องการ ครั้นสลักได้ครบองค์แล้วจึงใช้รักสมุก (ยางรักผสมเถ้าใบตอง) ทาอุดผิวพรุนของหิน และตกแต่งปิดรอยต่อของศิลา แล้วขัดให้เรียบก่อนทาน้ำยางรักใส (รักเกลี้ยง รักน้ำเกลี้ยง) เพื่อปิดแผ่นทองคำเปลวก็ได้เป็นพระพุทธรูปทองคำ


สวรรค์ดาวดึงส์
สวรรค์ดาวดึงส์ : คือศูนย์กลางจักรวาล เป็นที่ประดิษฐานจุฬามณีเจดีย์  พระอินทร์ครองสวรรค์ชั้นนี้  โดยมีสหายเทวดาอีก ๓๒ องค์  ทิพยวิมานของพระองค์ คือ “ปราสาทไพชยนต์” มี “ช้างเอราวัณ” เป็นพาหนะ และมี “สุธรรมสภา” เป็นที่ประชุมของเหล่าเทวดา เป็นต้น


จิตรกรรมสมุดภาพ ฉบับกรุงธนบุรี (สมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี เลขที่ ๑๐)
ศิลปะสมัยกรุงธนบุรี รัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๙


ภาพสวรรค์ดาวดึงส์อยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ของสมุดภาพเล่มนี้ เป็นคู่มือศึกษาทำความเข้าใจวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิได้เป็นอย่างดี ช่างเขียนให้รายละเอียดตามท้องเรื่องไว้มาก ที่เป็นเช่นนี้เชื่อว่าเกิดจากการจัดทำสมุดภาพเล่มนี้ ซึ่งบันทึกอยู่ในบานแผนกของสมุดภาพนี้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้.... “...จัดพระสมุดเนื้อดี ส่งให้ช่างไปเขียนภาพในสำนักสมเด็จพระสังฆราช” เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชบอกเรื่องและคัดข้อความภาษาบาลีประกอบไว้ด้วย

สกัดหน้า
สกัดหน้า : หมายถึง ด้านหน้าของอาคารซึ่งสั้นกว่าด้านข้าง กล่าวคืออาคารที่มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านสั้นคือด้านสกัด ด้านยาวคือ ด้านข้าง ยังมีที่เรียกสกัดหน้า เทียบเคียงกับกลองซึ่งมีหนังขึงหัวท้าย เรียกว่า “หุ้มกลอง”


ผนังสกัดหน้า อุโบสถ วัดใหญ่โพธิ์ประทับช้าง พิจิตร
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ.๒๒๔๔


ร่องรอยของผนังสกัดหน้าที่มีประตูเข้าสามประตู ล้วนเป็นประตูยอด น่าจะใช้เป็นตัวอย่างแสดงฐานานุศักดิ์ของอุโบสถ ว่าพระมหากษัตริย์โปรดให้สร้าง และทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่ง (สมเด็จพระเจ้าเสือประสูติที่ตำบลนี้)

กล่าวเช่นนี้เพราะอุโบสถของบางวัดที่พระมหากษัตริย์โปรดให้สร้างมีที่ทำประตูยอดเพียงประตูกลาง ประตูที่ขนาบเป็นเพียงประตูซุ้มบรรพแถลงเช่น อุโบสถวัดบรมพุทธาราม



สกัดหลัง
สกัดหลัง : เข้าคู่กับ สกัดหน้า


ผนังสกัดหลัง อุโบสถ วัดใหญ่โพธิ์ประทับช้าง พิจิตร
ศิลปะกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ. ๒๒๔๔


โดยทั่วไป ผนังสกัดหลังมีประตูเพียงสองประตู ขณะที่ผนังสกัดหน้ามีสามประตู
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ตุลาคม 2558 15:20:12 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 03 เมษายน 2556 16:38:47 »

.
สัณฐานจักรวาล
สัณฐานจักรวาล : คติความเชื่อของชาวพุทธ ว่าด้วยสภาวะของจักรวาลหนึ่ง มีแกนกลาง คือเขาพระสุเมรุ  ภูเขาศักดิ์สิทธิ์นี้แวดล้อมด้วยมหาสมุทรและเขาวงเหวนเจ็ดวง (สัตตบริภัณฑ์)  ช่างเขียนวาดภาพสัณฐานจักรวาลสืบต่อกันมา ด้วยมุมมองจากระดับตา ใช้เชิงช่างช่วยในการออกแบบ คือมีแท่งกลางแทนเขาพระสุเมรุซึ่งสูงใหญ่ที่สุด และมีเขาเล็กกว่าขนาบข้าง ต่ำลดหลั่นลงมาข้างละเจ็ดแท่ง หมายถึง เขาวงแหวนเจ็ดวง วรรณกรรมระบุไว้ว่า พ้นปริมณฑลของเขาสัตตบริภัณฑ์ มี ๔ ทวีป เช่น ชมพูทวีปเป็นอาทิ อันเป็นแดนเกิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถัดออกไปจนสุดเขตจักรวาลคือกำแพงจักรวาล ช่างโบราณมักวาดป่าหิมพานต์ไว้ที่เชิงเขาพระสุเมรุ  ดิ่งลงไปเป็นนรกขุมต่างๆ  ซ้อนขึ้นไปที่ยอดเขาพระสุเมรุคือสวรรค์ดาวดึงส์ และสวรรค์ชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปเป็นลำดับ อาทิ สวรรค์ชั้นดุสิตซึ่งเป็นที่สถิตของพุทธมารดา พุทธบิดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย ถัดขึ้นไปอีก คือสวรรค์ชั้นรูปพรหม อรูปพรหมตามลำดับอันเป็นแดนแห่งความว่างจนถึงที่สุดก็ขึ้นถึงสภาวะแห่งนิพพาน


(บน) ภาพจำลองสัณฐานจักรวาล มุมมองจากเบื้องสูง แสดงเขาพระสุเมรุเป็นประธานอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยเขาวงแหวนเจ็ดวง (สัตตบริภัณฑ์)  ถัดจากวงแหวนนอกสุด คือ ทวีปทั้งสี่ ทั้งหมดมีสีทันดรสมุทรเป็นอาณาบริเวณโดยมีกำแพงจักรวาลกั้นล้อมเป็นวงนอกสุด

(ล่าง) ภาพจำลองสัณฐานจักรวาล มุมมองจากระดับตา แสดงชื่อเขาวงแหวนแต่ละวง มีระดับวงโคจรของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ใต้จากเขาพระสุเมรุกับเขาบริวาร หยั่งลึกลงไปในมหาสมุทร เท่าความสูงเหนือจากระดับน้ำมหาสมุทร  ภาพปลาอยู่ใต้เขาพระสุเมรุ หมายถึง ปลาอานนท์ที่หนุนพื้นพิภพ


สินเทา
สินเทา : หมายถึง แถบหยักฟันปลาในงานจิตรกรรมไทยโบราณ ช่างใช้เน้นความสำคัญ เช่นเน้นภาพปราสาทราชวังให้งามเด่น หรือใช้คั่นฉากเหตุการณ์หนึ่งกับอีกเหตุการณ์หนึ่ง หรือบางแห่งใช้คั่นเรื่องหนึ่งอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น  ทั้งผลักระยะลวงตาของภาพให้เห็นเป็นใกล้ – ไกล


จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓


สินเทามีลักษณะทางวิวัฒนาการอันสังเกตได้ว่า ขอบนอกที่ประกอบจากแขนงเล็กๆ ตั้งเรียงสูงต่ำไล่เลี่ยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จะเรียงเท่ากันอย่างมีระเบียบในงานช่างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนที่สินเทาจะหมดความนิยมลงเกือบสิ้นเชิงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


จิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓


สินเทาครอบแถวรูปอมนุษย์นั่งพนมมือในคราวมาชุมนุมแสดงความชื่นชมยินดีในวาระที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ช่วยให้เกิดขอบเขตที่ระบายสีแดงเป็นพื้น เน้นแถวภาพเหล่าอมนุษย์ให้เด่นชัดขึ้นอีก พร้อมกันนั้นสินเทาก็ทำให้เกิดพื้นที่ว่างตอนบนเพื่อเขียนภาพช่อดอกไม้


จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตัวเลขเขียนไว้ในจิตรกรรมแห่งนี้ระบุ พ.ศ.๒๒๗๗


งานออกแบบพิเศษของจิตรกรรมอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม ไม่เหมือนแห่งใดตรงที่ช่างเขียนใช้สินเทาเป็นกรอบรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียงลำดับจนเต็มผนังทั้งด้านขวาและด้านซ้ายของพระประธาน ดังกล่าวนี้คือลักษณะสมมาตร คือเค้าโครงของภาพเป็นแบบเดียวกันทั้งสองผนัง ภายในกรอบเขียนภาพเล่าเรื่องในพุทธประวัติ (ในชุด เจ็ดสัปดาห์หลังตรัสรู้ และชุด ปูชนียสถานแปดแห่งในพุทธศาสนา) พื้นที่นอกกรอบ เขียนภาพผู้มีฤทธิ์คือ วิชาธร (วิทยาธร) นักสิทธิ์ คนธรรพ์


จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)


ฉากพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ดาวดึงส์ เน้นเบื้องหลังด้วยสินเทา ช่วยให้เกิดพื้นที่สำหรับระบายสีแดง ซึ่งช่วยเน้นฉากเหตุการณให้เด่นชัดยิ่งขึ้นทั้งที่อยู่ไกลจากสายตา  ถัดมาฉากที่อยู่ใกล้สายตามากกว่า คือภาพปราสาท ช่างวาดสินเทาให้เป็นหยักฟันปลาน้อยใหญ่ดูเด่นชัดยิ่งกว่า ทั้งแทรกรายละเอียดวาดระบายด้วยสีแดง พื้นที่ระหว่างเส้นสินเทากับภาพปราสาทระบายด้วยสีดำ ช่วยขับความเด่นชัดของทั้งสินเทาและภาพปราสาทสมกับอยู่เบื้องหน้าฉากเสด็จลงจากสวรรค์ดาวดึงส์ที่อยู่ไกลออกไป


สีฝุ่น



สีฝุ่น : สีที่เตรียมจากวัสดุจากธรรมชาติ นำมาผสมกาวน้ำ เช่น กาวกระถิน กาวหนังสัตว์ เพื่อเขียน วาด ระบายลงบนผนังปูนบนแผ่นไม้ แผ่นผ้า หรือบนกระดาษ สีหลักที่ช่างโบราณสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยาตอนต้นมีใช้ไม่กี่สี เช่น สีขาว สีดำ สีแดง หรือเหลือง เป็นต้น  ภายหลังจำนวนสีจึงเพิ่มขึ้น คงได้จากต่างประเทศ เช่น จีน  การผสมสีหลักเข้าด้วยกัน นอกจากช่วยให้ได้สีแปลกๆ เพิ่มขึ้นแล้วยังทำให้เกิดชื่อเรียกสีเพิ่มตามมาด้วย เป็นต้นว่า
สีขาว  เตรียมจาก ดินขาว ปูนขาว เป็นต้น
สีเขียว  ได้จากดินเขียว  หากเป็นสีผสมก็เกิดจากสีครามผสมกับสีเหลือง สีเขียวคุณภาพดี เรียกว่า “เขียวตั้งแช” จากประเทศจีน
สีคราม  ได้จากต้นคราม
สีดำ  ได้จากเขม่า  จากถ่านไม้ หรือจากถ่านอันเกิดจากกระดูกสัตว์เผาจนไหม้เป็นถ่าน
สีดินแดง  ได้จากดินแดง เมล็ดพืช และจากแร่ธาตุ เช่น สีดินแดง  ซึ่งได้จากดินแดง หรือดินลูกรัง “สีแดงลิ้นจี่”  ได้จากเมล็ดของต้นชาดหรคุณ  “สีแดงเสน”  เตรียมจากตะกั่ว ส่วนสีแดงชาดซึ่งมีคุณภาพดี  กล่าวกันว่าต้องมาจากประเทศจีน
สีดินเหลือง  ได้จากดินเหลือง ซึ่งมีสีหม่น  ส่วนสีเหลืองใส ได้จากยางของต้นรง สำหรับเหลืองหรดาล  ได้จากหรดาลหิน เป็นต้น
สีนวล คือสีใดๆ ที่เจือด้วยขาว เช่นสี “เหลืองนวล” คือสีเหลืองที่มีสีขาวผสม
สีมอ คือสีใดๆ ที่เจือด้วยสีดำ  สีครามเจือสีดำเรียกมอคราม

สีฝุ่นต้องผสมกาวเพื่อเขียน วาด หรือระบาย แต่ก่อนอื่นต้องขัดผิวของแผ่นพื้นที่จะวาดให้เรียบ และลงรองพื้นด้วยเพื่อไม่ดูดสีที่วาด แล้วขัดให้เรียบอีกครั้ง ในการระบายสีบนพื้นที่ใหญ่ใช้แปรง ทำจากเปลือกต้นลำเจียกหรือต้นกระดังงา ตัดเป็นท่อนพอเหมาะมือ นำไปแช่น้ำให้นุ่ม แล้วทุบปลายให้แตกเป็นขนแปรง งานระบายสีบนพื้นที่ขนาดเล็กใช้พู่กันทำจากขนหูวัว งานตัดเส้นขอบและรายละเอียดของภาพมีที่ใช้พู่กันขนาดเล็กสุด จึงมีชื่อเรียกว่า “พู่กันหนวดหนู”  แต่ทำจากขนหูวัวเช่นกัน  สีฝุ่นที่ต้องผสมกาวซึ่งได้จากยางต้นกระถินเทศ (กาวกระถิน หรือ “กาวอารบิค”)  หรือจากการเคี่ยวหนังวัว ควาย หนังกระต่ายเรียกว่า “กาวหนังสัตว์”  กาวนี้มีที่เรียกว่า “น้ำยา”  แต่ก็มีที่เรียกโดยหมายถึงสีฝุ่นที่ผสมน้ำกาวแล้ว  การปิดแผ่นทองคำเปลวที่ส่วนประดับประดา ช่างใช้ยางจากต้นมะขวิดทาพื้นที่ที่ต้องการปิดทอง เช่น ส่วนที่เขียนเป็นมงกุฎ หรือเครื่องประดับอื่นๆ ของภาพตัวพระภาพตัวนาง ส่วนที่ระบายสีหรือส่วนที่ปิดทองตัดเส้นให้เป็นรูปร่างและรายละเอียดตามต้องการด้วยสีดำหรือสีแดง




แถบสีต่างๆ ระบายด้วยสีฝุ่นผสมกาว บนกระดาษ พร้อมทั้งให้ชื่อสีที่เรียกกัน แถบสีทั้งหมดเกิดจากการผสมสีหลัก ได้แก่ สีแดง สีคราม สีดำ สีขาว สีเหลือง ได้เป็นสีต่างๆ ที่ช่างเขียนไทยโบราณใช้กัน
(แถบสีนี้ อาจารย์อมร ศรีพจนารถ ผู้ล่วงลับ ครูช่างในอดีตอีกท่านหนึ่งของผู้เรียบเรียง ท่านได้กรุณาจัดทำให้ ขอกราบด้วยความระลึกถึงพระคุณไว้ ณ ที่นี้ ...ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม)



เสาหาน เสาหาร
เสาหาน เสาหาร : เสาขนาดเล็กตั้งเรียงเป็นจังหวะบนบัลลังก์ เพื่อรองรับส่วนยอดทรงกรวย ประกอบด้วย ปล้องไฉน ปลี


พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑)


เสาหาน เสาหาร ออกเสียงเหมือนกัน รวมทั้งที่สะกด เสาหาญ มีผู้ให้ความหมายต่างๆ กันไป ทำให้เกิดประเด็นว่าสะกดอย่างไรจึงถูกต้อง สำหรับเสาที่ตั้งเรียงอยู่เหนือบัลลังก์ “เสาหาน” ยังหาความหมายไม่ได้ หากสะกด “เสาหาร” แปลได้ความว่าหารแบ่ง น่าจะเหมาะหากหมายถึงแบ่งกันรับน้ำหนักกดจากส่วนบน จังหวะเรียงของเสาหารที่มีอยู่ มีระเบียบเป็นจังหวะกับมุมและด้านของบัลลังก์ที่เสาหารตั้งขึ้นไปรับน้ำหนักกดของปล้องไฉน


หมวดพยัญชนะ
หน้ากาล
หน้ากาล : รูปหน้าสัตว์ในเทพนิทาน มองเห็นทางด้านหน้า บางครั้งเรียกว่า “เกียรติมุข” บ้างก็เรียกว่า “สิงหมุข” เพราะดูคล้ายหน้าสิงห์ มักทำประดับเหนือประตูทางเข้าอาคารหรือคูหา มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาศาสนสถาน


หน้ากาล ปูนปั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙


หน้ากาลมีที่ประดับประจำตรงยอดซุ้มประตู ขณะที่มีข้อมูลว่าเป็นความนิยมอยู่ในศิลปะสมัยสุโขทัย แต่กลับไม่ได้พบตัวอย่างแน่ชัดในศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงชวนให้เชื่อว่าในราชธานีและแว่นแคว้นสุโขทัยเกี่ยวข้องด้านศาสนาและศิลปะที่มีต้นแบบจากลังกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา  อย่างไรก็ตาม ในศิลปะเขมรก็นิยมทำหน้ากาลอยู่ด้วย บางทีอาจมีส่วนเป็นที่มาของหน้ากาลในศิลปะของสุโขทัยก็ได้


หน้าบรรพ หน้าบัน
หน้าบรรพ หน้าบัน : แผงปิดจั่วหลังคาทั้งด้านหน้าและสกัดหลังของอาคาร มีการประดับประดาแผงดังกล่าวด้วยรูปเรื่อง หรือลวดลายที่เรียกว่าลายประดับหน้าบรรพ (หน้าบัน)


หน้าบรรพ พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ผ่านการบูรณะสำคัญมาไม่น้อยกว่าหนึ่งหรือสองครั้ง)


งานประดับหน้าบรรพที่นิยมมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ รูปพระนารายณ์ทรงครุฑโดยมีลวดลายประกอบเป็นพื้นหลัง ผ่านมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รูปพระนารายณ์ทรงครุฑก็ยังเป็นที่นิยม ดังเช่นหน้าบรรพพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ที่แม้ผ่านการบูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ แล้วก็ตาม  กล่าวถึงงานช่างในรัชกาลที่ ๓ งานประดับหน้าบรรพ มีที่เปลี่ยนแปลงโดยทำเป็นลายดอกไม้ ใบ ก้านแย่งลงรัก ประดับชิ้นกระจกสี เช่นหน้าบรรพของวิหารพระนอน วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)  กรุงเทพฯ  กลับมากล่าวสำหรับสกุลช่างเพชรบุรีในปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อเสียงด้านฝีมือดีเท่าเทียมช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จึงมีประเด็นสับสนอยู่เสมอ ระหว่างฝีมือช่างโบราณกับฝีมือช่างปัจจุบันที่รับหน้าที่ซ่อมปรับแปลง ดังหน้าบรรพของอุโบสถบางวัดในเพชรบุรี


หลังคาชั้นซ้อน
หลังคาชั้นซ้อน : คือลักษณะของหลังคาปราสาท ที่เรียกว่า เรือนชั้น ไม่ว่าจะหลังคาทรงจั่วซ้อนชั้น ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากชุดหลังคาตัดซ้อนลดหลั่นแบบปราสาทแบบเขมร หรือแบบส่วนบนของเจดีย์ทรงปรางค์


เรือน (รูปจำลองวิหาร) ไม้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕


สภาพชำรุดของเรือนจำลองนี้ แสดงให้เห็นหลังคาที่ซ้อนชั้นเกิดจากการก่อสร้างตามวิชาช่าง ไม่ว่าได้คิดหรือไม่ก็ตามว่า หลังคาซ้อนชั้นเกิดจากการลดรูปของเรือนชั้นซ้อนโดยตัดฝาออก จึงได้เป็นหลังคาชั้นซ้อน (หมายเลย 1, 1 ก. คือภาพเฉียงเน้นด้านข้างของเรือน และหมายเลข 2, 2 ก. คือภาพเฉียงเน้นด้านหน้าของเรือน


หัวเม็ดทรงมัณฑ์
หัวเม็ดทรงมัณฑ์ : งานประดับหัวเสา เช่นหัวเสาของแนวกำแพงแก้ว (คือกำแพงเตี้ยๆ มองเลยผ่านไปได้ เพราะก่อไว้เพียงเพื่อแสดงขอบเขตอันศักดิ์สิทธิ์ของอาคาร เช่น อุโบสถ วิหาร หรือเจดีย์ก็ตาม)  หัวเม็ดทรงมัณฑ์ป่องที่ส่วนล่าง สอบเป็นชั้นซ้อนลดขนาดขึ้นไปจนถึงปลายแหลม  ได้พบหลักฐานว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีงานประดับหัวเม็ดทรงมัณฑ์มาก่อน อันเป็นทำนองเดียวกับงานประดับหลังคาซ้อนชั้นของทรงมณฑป จึงเข้าเค้ากับชื่อหัวเม็ดทรงมัณฑ์
(ทรงมณฑป)



หัวเสาของกำแพงแก้วของพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง ศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒)  
บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔)


หัวเม็ดทรงมัณฑ์ ซึ่งเป็นรูปย่อของหลังคาทรงกรวยครอบทรงสี่เหลี่ยมของมณฑป  ความที่นิยมทำกันมาก การคลี่คลายปรับแปลงก็มากตาม เสาหัวเม็ดทรงมัณฑ์ จึงกลายมาได้หลายลักษณะ แบบที่เรียบง่ายที่สุด คือ “เสาหัวเม็ด” ซึ่งอาจเหลือเค้าของการซ้อนชั้นอยู่บ้าง หรือทำเพียงลูกกลมเติมจุก ประดิษฐ์เป็นหัวเสาเพนียดคล้องช้าง เสาหัวสะพาน เป็นหัวเสาบันไดบ้านก็มีทำกันอยู่ในปัจจุบัน


หางหงส์
หางหงส์  : ชื่อเรียกหางหงส์คงเกิดขึ้นภายหลัง คราวเดียวกับที่เรียก ใบระกา ช่อฟ้า เพราะเรียกกันตามลักษณะที่คลี่คลายมามากแล้ว ชื่อเรียกหางหงส์อาจเกิดจากที่พบว่าส่วนล่างของกรอบหน้าบรรพมีการประดับรูปหงส์ ซึ่งหางของรูปหงส์เป็นแผ่นรูปสามเหลี่ยมในเค้าโครงคล้ายกระหนก ดังที่มีอยู่บ้างในศิลปะสมัยสุโขทัย ลักษณะของหางหงส์เป็นแผ่นหนา แบ่งลายภายในด้วยการสลักลึก – นูน โดยที่ยังสังเกตเค้าโครงได้ว่าเป็นโครงของเศียรนาคห้าเศียรมีอยู่ในศิลปะเขมรโบราณมาก่อน


หางหงส์ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง ศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๕๒)  
บูรณะครั้งสำคัญในรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


รูปนอกของหางหงส์คือเค้าโครงของพญานาคห้าเศียรซึ่งสอดคล้องกับรายละเอียดที่แบ่งภายใน หางหงส์มีสองด้านสลักเหมือนกัน แต่ละด้านเห็นเพียงเศียรพญานาคสามเศียร อธิบายว่าเศียรนอกสุดที่สูงกว่าเศียรอื่นคือเศียรกลาง อีกสองเศียรขนาดเล็กลดหลั่น ส่วนลายขนาดเล็กสุดหันไปทางตรงข้ามคือตัวจบจังหวะเศียรพญานาค ไม่รวมเป็นเศียรพญานาค



เปรียบเทียบพญานาคห้าเศียร ศิลปะแบบเขมร (ชิ้นส่วนจากกลุ่มปราสาทสด๊กก๊กธม สระแก้ว) กับพญานาคห้าเศียรอันเป็นงานประดิษฐ์ในรสนิยมอย่างไทย (ปัจจุบันเรียกกันว่า “หางหงส์”) สำหรับส่วนที่ต่อเนื่องเป็นขนาดเล็กสุด แยกห่างจากเศียรพญานาคเล็กน้อยไม่ใช่เศียรของพญานาค เพียงมีไว้เพื่อจบจังหวะของพญานาคห้าเศียรให้แนบเนียน ส่วนต่อเนื่องดังกล่าวยังเหลือเค้าปรากฏที่หางหงส์ด้วยคือลายตัวที่เล็กสุดที่หันไปทางตรงข้าม


หิมพานต์
หิมพานต์ : ในบริเวณกำแพงจักรวาลทางทิศใต้มีชมพูทวีป ป่าหิมพานต์อยู่ในทวีปนั้น ภูมิประเทศเป็นป่าเขา มีที่เรียกว่าภูเขาหิมพานต์ เพราะมีทิวเขามากมาย ดินแดนลี้ลับนี้ ชุ่มชื้น รื่นรมย์ อบอวลไปด้วยบรรยากาศที่ไม่มีอยู่ในแดนมนุษย์ แม่น้ำและสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์สองเท้า สี่เท้า เรียกว่าสัตว์หิมพานต์ (ประชากรหิมพานต์) ทั้งที่เป็นสัตว์บกสัตว์น้ำ เช่น ช้าง ม้า วัว นก ปลา และสัตว์ในจินตนาการ เป็นต้นว่า ราชสีห์ คชสีห์ กินนร กินรี ต้นไม้ที่คุณวิเศษต่างๆ นอกจากดอกอันงามด้วยสีสดสวยแล้วยังส่งกลิ่นหอมไปทั่ว และต้นไม้วิเศษอื่น เช่น ต้นนารีผลด้วย หิมพานต์จึงเป็นวิจิตรวรรณกรรมอันเป็นแรงบันดาลใจสำหรับช่างเขียนจิตรกรรมเสมอ


หิมพานต์–สัตว์หิมพานต์ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)


บรรยากาศพิเศษของภาพอุดมคติหิมพานต์ มากด้วยสีสัน สด เข้ม จังหวะการใช้สีสะท้อนถึงความแตกต่างด้านน้ำหนักเข้ม อ่อน ที่ช่วยผลักระยะใกล้ – ไกลซึ่งกันและกัน  ดังกล่าวนี้เป็นประเด็นศึกษาที่น่าสนใจ ควรมีการวิเคราะห์วิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะเป็นส่วนเด่นชัดของงานช่างเขียนในรัชกาลที่ ๓ ที่เบ่งบาน มีรากฐานแน่นหนามั่นคงแล้ว โดยมีประเด็นสำคัญที่มักมองข้ามกัน คือ คุณลักษณะที่เด่นชัดยิ่งขึ้นนี้เพราะดูดซับแรงกระตุ้นจากกระแสวัฒนธรรมตะวันตก

หมวดพยัญชนะ
อกเลา
อกเลา : คือแท่งไม้เป็นสันดิ่งกลาง ทาบปิดแนวประกับบานหน้าต่าง หรือบานประตู บนอกเลามีงานประดับตอนบน กลาง และล่าง ที่เรียกว่า “นมอกเลา” หรือบางครั้งเรียก “นมประตู”


บานประตู สลักไม้ จากวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา)


อกเลามีงานสลักตกแต่ง เพื่อให้กลมกลืนสอดคล้องกับบานที่มีงานสลักประดับประดา แนวตั้งของอกเลาวางลายประดับที่ช่วยกำกับจังหวะว่างเปล่าให้งามได้อย่างเหมาะสม คือวางดอกรูปครึ่งของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนครึ่งล่างไว้ตอนบนของอกเลา และลายเดียวกันแต่เป็นครึ่งบนไว้ตอนล่างของอกเลา ตอนกลางวางดอกสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเต็มรูป ระหว่างจังหวะบน ล่าง เชื่อมโยงด้วยแถวเส้นตั้งขนาดเล็กๆ

อุโบสถ
อุโบสถ : อาคารสำหรับพระสงฆ์กระทำสังฆกรรม   โดยมีใบสีมาแสดงขอบเขตอันศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ใบสีมาขนาดใหญ่คงปักบนดิน ภายหลังจึงมีแท่นรองรับ ขนาดของใบสีมาจะเล็กและบางลงอีกพร้อมทั้งแท่นรองรับที่สูงขึ้น ในมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์


อุโบสถวัดนายโรง ธนบุรี ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑)

ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้วที่ทำซุ้มครอบใบสีมา ซุ้มสีมาของอุโบสถของวัดนี้ทำหลังคาทรงกูบ ใบสีมาแปดใบประจำแปดทิศหลักคือกฎเกณฑ์ สี่ใบประจำทิศหลัก อีกสี่ใบประจำทิศเฉียง


อุษณีษะ
อุษณีษะ : ส่วนที่โป่งนูนกลางพระเศียรพระพุทธรูป เรียกว่า อุษณีษะ ซึ่งมีเม็ดพระศกปกคลุม เป็นหนึ่งในลักษณะมหาบุรุษ  เนื่องจากอุษณีษะเป็นพระรัศมี  ลักษณะคล้ายดอกบัวตูมหรือคล้ายรูปเปลว อันเป็นสัญลักษณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  อุษณีษะควบคู่กับพระรัศมีเสมอ เห็นชัดเจน เป็นต้นว่า พระเศียรของพระพุทธรูปในศิลปะสมัยสุโขทัย ศิลปะแบบอู่ทอง ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา และศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


พระพุทธรูป ศิลา ศิลปะแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


กล่าวเฉพาะในเชิงช่าง อุษณีษะเชื่อมโยงอยู่ระหว่างพระเศียรกับพระรัศมี ให้เกิดความต่อเนื่องกลมกลืน อุษณีษะซึ่งเป็นส่วนของมหาบุรุษลักษณะกับพระรัศมีอันหมายถึงสภาวะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีความหมายอันเป็นอุดมคติและให้ผลด้านสุนทรียภาพ


หมวดพยัญชนะ
ฮินดู
ฮินดู : ศาสนาฮินดู เรียกกันว่าศาสนาพราหมณ์มาก่อน ต่อมาเกิดมี “ตรีมูรติ” คือรวมเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ในศาสนาฮินดู คือ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม จึงเรียกศาสนาฮินดู


หน้าบรรพ และทับหลัง ศิลา ปราสาทพนมรุ้ง บุรีรัมย์
ศิลปะแบบเขมร กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗

เรื่องราวของเทพเจ้าตามความเชื่อในศาสนาฮินดูมีมาก ที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งคือนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งมีเทพเจ้าสูงสุดทั้งสามของศาสนาฮินดูเกี่ยวข้องอยู่ในเหตุการณ์ สืบเนื่องจากพระศิวะทรงฟ้อนรำด้วยจังหวะรุนแรงเมื่อคราวสิ้นสุดกัลป์ คือการทำลายล้างเพื่อเริ่มต้นกัลป์ใหม่ (รูปสลักที่หน้าบรรพ)  บัดนั้นพระวิษณุ (พระนารายณ์)  ซึ่งทรงบรรทมเหนือพญาอนันตนาคราชกลางเกษียรสมุทร ทรงให้มีดอกบัวผุดจากพระนาภี บนดอกบัวนั้นมีพระพรหมประทับอยู่เพื่อทรงสร้างโลกขึ้นใหม่

จบบริบูรณ์


หัวข้อ งานช่าง – คำช่างโบราณ คัดจากหนังสือ “งานช่าง–คำช่างโบราณ” ผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ  เล็กสุขุม อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร   

หนังสือดังกล่าว จัดเป็นตำราทางวิชาการที่มากด้วยคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง ได้อธิบายความหมายของคำศัพท์ประกอบภาพกราฟฟิก ผสมผสานกับความคิดเชิงเปรียบเทียบกับศิลปวัฒนธรรมในสายวัฒนธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อวิเคราะห์งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และการช่างประณีตศิลป์ไทย อันเป็นผลงานที่เกิดจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน และท่านผู้เป็นเจ้าของผลงาน (ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม)  ได้กรุณามอบต้นฉบับหนังสือชุดนี้ให้กรมศิลปากรเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมและอนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจงานด้านศิลปวัฒนธรรม  ที่ต้องการค้นคว้าความรู้ด้านศิลปะของการช่างไทย

ขอกราบขอบพระคุณท่านศาสตราจารย์ ดร.สันติ  เล็กสุขุม ที่กรุณารวบรวมผลงานของผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรมไทย อันเป็นข้อมูลนามธรรม ที่ให้ก่อเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน และตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาของบรรพชนไทยในอดีตแก่ผู้ต้องการศึกษาค้นคว้า มา ณ ที่นี้ ด้วยความเคารพยิ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ตุลาคม 2558 15:43:03 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: วงกบ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.552 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 กันยายน 2567 07:02:18