[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 08:15:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ  (อ่าน 2052 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.83 Chrome 21.0.1180.83


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 กันยายน 2555 16:33:07 »





โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ

โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
ประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4,
อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8

รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37




1.) สติปัฏฐาน 4 คือ การเจริญสติระลึกรู้
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องรูปธรรม
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรม
ในส่วนความรู้สึกจากสัมผัส
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรม
ในส่วนของการรับรู้
4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่อง
ทั้งรูปธรรมและนามธรรม




2.) สัมมัปปธาน 4 คือ ความเพียรพยายาม
1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น




3.) อิทธิบาท 4 คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล
1. ฉันทะ คือ ความพอใจและเต็มใจ
2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน
4. วิมังสา คือ ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น




4.) อินทรีย์ 5 คือ ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในอารมณ์
1. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่
2. วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรเป็นใหญ่
3. สตินทรีย์ คือ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นใหญ่
4. สมาธินทรีย์ คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
5. ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้ง




5.) พละ 5 คือ ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค
1. สัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะ
ธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา
2. วิริยะพละ คือ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
3. สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลัง
ให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
4. สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลัง
ต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
5. ปัญญาพละ คือ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้
เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลง




6.) โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
1. สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียร
4. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกายใจ
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง




7.) มรรคมีองค์ 8 คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง

5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

http://www.unzeen.com/article/437/โพธิปักขิยธรรม-7-หมวด-37-ประการ




โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37
เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ

สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5
พละ 5
โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8




โพธิปักขิยธรรม ในบางแห่งตรัสหมายถึงโพชฌงค์ 7[1] เช่น
"ภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรมย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ...
สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้."
"ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า
เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด
บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่ง
โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
"

ส่วนที่ตรัสถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการโดยตรง เช่น
"ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเพียร
ในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี



โพธิปักขิยธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัคคีธรรมมี ๓๗ ประการคือ
๑. สติปัฏฐาน ฐานเป็นที่กำหนดของสติ
 ๑.๑การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๑.๒การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ๑.๓การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) ๑.๔การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)
๒.สัมมัปปธาน หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม
 ๒.๑การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน) ๒.๒การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว(ปหานปธาน) ๒.๓การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน(ภาวนาปธาน) ๒.๔การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อมไป(อนุรักขปธาน)

๓.อิทธิบาท เป้าหมายของความเจริญ
 ๓.๑ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น(ฉันทะ) ๓.๒ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น(วิริยะ) ๓.๓ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ(จิตตะ) ๓.๔ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น(วิมังสา)
๔.อินทรีย์
๔.๑ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา) ๔.๒ให้เกิดความเพียร (วิริยะ) ๔.๓ให้เกิดความระลึกได้ (สติ) ๔.๔ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ) ๔.๕ให้เกิดความรอบรู้ (ปํญญา)
๕.พละ กำลัง
 ๕.๑ความเชื่อ (ศรัทธา) ๕.๒ความเพียร (วิริยะ) ๕.๓ความระลึกได้ (สติ) ๕.๔ความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.๕ความรอบรู้ (ปํญญา)
๖.โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้
 ๖.๑มีความระลึกได้ (สติ) ๖.๒มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ) ๖.๓มีความเพียร (วิริยะ) ๖.๔มีความอิ่มใจ (ปีติ) ๖.๕มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ) ๖.๖มีความตั้งมั่น (สมาธิ) ๖.๗มีความวางเฉย (อุเบกขา)

๗.มรรค หนทางดับทุกข์
 ๗.๑ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ) ๗.๒ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ) ๗.๓ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต(สัมมาวาจา) ๗.๔ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ) ๗.๕ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด(สัมมาอาชีวะ) ๗.๖ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ) ๗.๗ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔(สัมมาสติ) ๗.๘ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
กิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ 37 ประการ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 4058 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2553 18:00:18
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
พร ๔ ประการ
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
Kimleng 0 1573 กระทู้ล่าสุด 26 สิงหาคม 2555 17:55:05
โดย Kimleng
โพธิปักขิยธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1426 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2559 02:15:25
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวด่วน] - ครม.เห็นชอบกำหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 65 จำนวน 11 หมวด 51 รายการ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 168 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2565 02:22:29
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - เจ้าของรถนำแผ่นป้ายทะเบียนซีดจาง หมวด 3กก - 4กฆ กรุงเทพมหานคร มาเคลือบสีใหม่ฟรี ภา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 117 กระทู้ล่าสุด 13 ธันวาคม 2565 06:01:43
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.162 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มีนาคม 2567 19:43:25