[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:45:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และประวัติถ้ำผาปล่อง  (อ่าน 4084 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 กันยายน 2555 15:30:01 »

.

หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร
สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่


ประวัติหลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร
(พระญาณสิทธาจารย์)

พระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร  มีนามเดิมว่า  สิม  วงศ์เข็มมา  เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๒  ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา  เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ นาฬิกา ณ บ้านบัว  ตำบลสว่าง  อำเภอพรรณานิคม  จังหวัดสกลนคร  โยมบิดา–โยมมารดา ชื่อนายสาน  และนางสิงห์คำ  วงศ์เข็มมา  ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕  โดยมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน

เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี  ได้ขออนุญาตโยมบิดา – โยมมารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม บ้านบัว  เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙  ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง  โดยมีพระอาจารย์สีทองเป็นพระอุปัชฌาย์  ต่อมาคณะกองทัพธรรมของ พระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต  ได้เดินธุดงค์มาเผยแผ่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน  โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม   จังหวัดนครพนม  สามเณรสิมจึงได้โอกาสฟังธรรมทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือพระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต  พระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม  และพระอาจารย์มหาปิ่น  ปญฺญาพโล

สามเณรสิม  ได้เผ้าสังเกตข้อวัตรปฏิบัติ ของพระอาจารย์มั่น   พระอาจารย์สิงห์  และพระอาจารย์มหาปิ่น  แล้วได้บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก  จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์มั่น  และได้ขอญัตติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย  จากนั้น สามเณรสิมได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านข่า  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม  เมื่อสามเณรสิมอายุครบบวช  ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส  ตำบลพระลับ  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒  ตรงกับวันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง  โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (หลวงปู่จันทร์  เขมิโย)  เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระปลัดดวงจันทร์  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่ “พุทฺธาจาโร”  แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า



ชีวิตในสมณเพศ ท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ว่า “โสสานิกังคะ”  คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร  และที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา)  ท่านได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับพระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม  เป็นเวลานาน ๓ ถึง ๔ ปี  ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานสำคัญ ๆ หลายรูป เช่น พระอาจารย์เทสก์  เทสฺรํสี,  พระอาจารย์ขาว  อนาลโย,  พระอาจารย์ผั้น  อาจาโร,  พระอาจารย์อ่อน  ญาณสิริ,  พระอาจารย์ลี  ธมฺมธโร  และพระอาจารย์มหาบัว  ญาณสมฺปนฺโน

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๙  เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน  ติสฺโส)  แห่งวัดบรมนิวาส  กรุงเทพฯ   ได้เดินทางไปเยี่ยมพระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม  ที่วัดป่าจักราช  สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของพระสิม  ขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากพระอาจารย์สิงห์  เกิดชื่นชอบถูกใจ  ถึงกับปรารถนาจะชวนพระสิมไปอยู่ด้วยกับท่าน  จึงเอ่ยปากขอตัวกับพระอาจารย์สิงห์  ซึ่งท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของพระสิม  ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เช่นท่านสมเด็จฯ  อีกทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป  พระสิมจึงได้ร่วมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มากับสมเด็จฯ  ได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส  เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย  พร้อมทั้งได้อุปัฏฐากรับใช้ ปรนนิบัติสมเด็จฯ ด้วยจริยาดีเยี่ยม  รวมถึงได้มีโอกาสทำหน้าที่อบรมสั่งสอน  แนะแนวการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางแบบพระธุดงค์กรรมฐาน ให้แก่พระภิกษุสามเณร และผู้ที่สนใจเป็นจำนวนมาก

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๐  หลังออกพรรษาแล้ว ท่านได้กราบขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์  เพื่อเดินทางกลับบ้านเกิด  ตามคำอาราธนาของบรรดาญาติพี่น้อง คือ หมู่บ้านบัว  อำเภอพรรณนานิคม  จังหวัดสกลนคร  ต่อมาท่านได้ปรารภจัดสร้างวัดธรรมยุติกนิกายขึ้น  ในเขตบ้านบัว  โดยมีคณะศรัทธาคือญาติ เป็นโยมอา เป็นผู้ถวายที่ดิน เพื่อจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น “วัดสันติสังฆาราม”

สำหรับประวัติของการธุดงค์ของท่านนั้น  ท่านพระอาจารย์สิม ได้ออกเดินทาง ปฏิบัติกรรมฐานไปในหลายจังหวัดในเขตภาคอีสาน  ภายหลังท่านทราบข่าวว่า หลวงปู่มั่นได้จาริกมาบำเพ็ญแถบภาคเหนือ ท่านจึงเดินทางตามมา จนพบหลวงปู่มั่น ณ ที่สำนักสงฆ์บ้านแม่กอย พระอาจารย์สิมได้รับคำแนะนำอุบายธรรมเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น  จนการปฏิบัติธรรมของท่านก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก  ครั้นเมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว  ท่านได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอสันกำแพงเข้าพักที่วัดโรงธรรมสามัคคี  ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์ชั่วคราว  ซึ่งสถานที่อันเป็นที่ตั้งโรงธรรมนี้ เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยมาพำนัก  และจำพรรษา เช่น หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต  พระอาจารย์ชอบ  ฐานสโม  พระอาจารย์แหวน  สุจิณฺโณ  และพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม  เป็นต้น

ต่อมาท่านได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคีเป็นเวลา ๕ พรรษา  ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓  ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๘๗  หลังจากนั้นจึงย้ายไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะ  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่  อันเป็นช่วงระยะเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้ง ๒  บ้านเมืองอยู่ในสภาพยับเยิน  จิตใจของประชาชนขาดที่พึ่ง  เดือดร้อนเป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีจิตคิดสงเคราะห์  อาศัยความเมตตาและความเพียรเดินไปโปรดแสดงธรรมแก่ศรัทธา  ในวันหนึ่ง ๆ ท่านเดินโปรดหลาย ๆ หมู่บ้าน และหลาย ๆ สถานที่เพื่อปลอบชโลมจิตใจแก่บรรดาศรัทธาญาติโยม  ให้ได้มีพระสัทธรรมในคุณพระรัตตรัยเป็นที่พึ่งพิงแก่บุคคลเหล่านั้น

ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว  ท่านได้จาริกธุดงค์บำเพ็ญเพียรยังสถานที่วิเวกอีกหลายแห่ง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่  ท่านได้พบกับศิษย์คนแรก ที่ท่านได้ทำการอุปสมบทให้ ในระยะที่ท่านมาจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ คือ สามเณรทองอินทร์ (เมื่ออุปสมบทแล้วคือพระมหาทองอินทร์  กุสลจิตฺโต  ต่อมาได้รับเลื่อนสมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระนพีสีพิศาลคุณ  ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ของวัดสันติธรรมต่อจาหลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร)  และได้มีโอกาสพบ เจ้าชื่น  สิโรรส  คหบดีชาวเชียงใหม่ โดยได้ปวารณาตัวรับใช้เป็นศิษย์  ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๘  เจ้าชื่นพร้อมครอบครัว ได้อพยพหลบภัยสงคราม ไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ  พระอาจารย์สิม ได้ธุดงค์กลับไปจำพรรษา ณ ที่นั้นด้วย  ท่านจึงเปรียบเสมือนเป็นที่พึ่งอันสูงสุด  สำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด  จิตใจระส่ำระสายด้วยเพราะเหตุแห่งมหาสงครามโลก  ครั้นปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๙  เมื่อสงครามหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ  เจ้าชื่นจึงอบยพกลับคืนสู่ตัวเมืองเชียงใหม่  จึงได้อาราธนาพระอาจารย์สิม  และพระมหาทองอินทร์ให้ย้ายเข้ามาจำพรรษาที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์  กีรติปาล (คิวริเปอร์)



ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐  เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง  ท่านจึงปรารภเรื่องการสร้างวัด วัดสันติธรรม  จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธาของสานุศิษย์  โดยหลวงปู่ได้เข้ามาพำนักและจำพรรษาที่วัดสันติธรรม  จังหวัดเชียงใหม่  แต่โดยส่วนลึกในจิตใจของท่าน ยังคงปรารภการทำความเพียรเสมอ  โดยการออกวิเวกตามป่าเขาและโพรงถ้ำต่าง ๆ  ในบริเวณใกล้เคียงเช่น ดอยสุเทพ  และสถานที่อื่น  จนกระทั่งต้นปีพุทธศักราช ๒๕๐๓  ท่านได้เดินทางมายังสำนักสงฆ์ถ้ำปากเปียง  ตำบลบ้านถ้ำ  อำเภอเชียงดาว   จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นบริเวณพื้นที่ติดกับภูเขาใหญ่ สูงเป็นอันดับ ๓ ของประเทศไทย คือ ดอยหลวงเชียงดาว  ด้วยอัธยาศัยและความชอบใจในความร่มรื่น และความสงัด  ของสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าสมบูรณ์ขนาดใหญ่ของดอยหลวงเชียงดาว  หลวงปู่จึงได้หลบความวุ่นวายในเมือง  และปลีกตัวออกมาบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำปากเปียงอยู่บ่อยครั้ง

จนกระทั่งในฤดูหนาวปีพุทธศักราช ๒๕๐๓  ลุงติ๊บ  อุไร  ชาวบ้านบ้านถ้ำ  ได้เป็นผู้นำทางพาท่านปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็ก ๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูงตามคำปรารภที่ว่า “กิเลสจะได้เข้าหายาก”  จนกระทั่งได้พบ “ถ้ำผาปล่อง”  มีลักษณะเป็นถ้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก  มีปล่องทะลุตลอดด้านหน้าและหลัง ตั้งอยู่บนเขา หลังดอยหลวงเชียงดาว  ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านปรารภว่า จะเป็นสถานที่สุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวิตของท่าน  หลวงปู่ท่านได้พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียง  ต่อจากนั้นท่านได้แวะเวียนมาเชียงดาวบ่อยครั้ง  เพื่อไปพักที่ถ้ำผาปล่องอยู่เสมอ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๔  พระอาจารย์ลี  ธมฺมธโร (พระวิสุทธิธรรมรังสี)  เจ้าอาวาสวัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรปราการ  ซึ่งเป็นศิษย์องค์หนึ่งในสายพระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต  เช่นกัน  ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติ   ขออาราธนาหลวงปู่ให้รับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส  หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการามในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส  จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๐๘  และในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ หลวงปู่ได้รับการขอร้องจากท่านพระนิโรธธรรมรังสี (หลวงปู่เทสก์  เทสรํสี)  ให้ช่วยปกครองเพื่อรับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาสอีกด้วย

ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ ถึง ๒๕๐๙  หลวงปู่มีอาการอาพาธด้วยโรคไต  รวมทั้งโรคปอดที่เคยป่วยเรื้อรังเดิมบ่อยครั้ง ด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพดังกล่าวท่านได้ตัดสินใจวางภารกิจต่าง ๆ โดยลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าและเจ้าอาวาสทั้ง ๓ วัดที่ท่านดูแลอยู่  เพื่อเดินทางมาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องเป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐

ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐  หลวงปู่ได้ทำการพัฒนา สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่องมาอย่างต่อเนื่อง  ในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไปมาโดยตลอด  จนกระทั่งเจริญรุ่งเรือง ปรากฏเป็นสถานที่มีชื่อเสียงในการสั่งสอนอบรมกรรมฐาน  ด้วยวิธีการเจริญอานาปานสติและการภาวนา “พุทโธ”  รวมทั้งอุบายธรรมอันประกอบด้วยโวหาร คติธรรม ยังให้เกิดสัมมาทิฎฐิ มีคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในจิตใจของผู้มาปฏิบัติ

จวบจนกระทั่งในช่วงบั้นปลายของชีวิต  เมื่อหลวงปู่มีอายุย่างเข้า ๘๐ ปี ท่านเริ่มออกอาการอาพาธด้วยโรคชรามาเป็นลำดับกล่าวคือ  อ่อนเพลียหมดกำลัง ฉันภัตตาหารได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังมีอาการปวดตามข้อกระดูกของโรคเก๊าท์   บางครั้งควบคุมการขับถ่ายได้ยาก แต่ถึงกระนั้นจิตใจท่านก็ยังคงเข้มแข็ง  มีขันติธรรมเป็นปรกติ  โดยท่านยังคงเมตตาปฏิบัติกิจพระพุทธศาสนา  อบรมสั่งสอนให้ธรรมะแก่ภิกษุสงฆ์และศรัทธาประชาชน ตามโอกาสอันควรอยู่เสมอ

อนึ่ง จากสาเหตุจากคุณงามความดี ที่หลวงปู่ได้เมตตาอบรมสั่งสอนประชาชนให้ตั้งมั่นในศีลธรรม และรู้รักสามัคคีในสถาบันของชาติ  ผลปรากฏได้แจ้งชัดและความทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท  โดยในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕  หลวงปู่ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณะศักดิ์เลื่อนจากที่พระครูสันติวรญาณ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระในราชทินนามที่ พระญาณสิทธาจารย์  ต่อมาในคืนวันที่ ๑๓ สิงหาคม ทางคณะศิษยานุศิษย์สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  ได้จัดขอโอกาสจัดพิธีมุทิตาจิตสักการะถวาย  โดยจัดให้มีพิธีการเจริญพระพุทธมนต์ฉลองสมณศักดิ์ถวายแด่หลวงปู่  ในขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หลวงปู่ได้นั่งบนรถเข็นและกวาดสายตามองดูสภาพบรรยากาศภายในถ้ำและเหล่าคณะศิษย์ คล้ายกับว่าเป็นการทอดสายตาแทนการกล่าวลา  ซึ่งเป็นการลาจากที่ไม่หวนกลับคืนมาอีกแล้วในโลกนี้  โดยสายตาของหลวงปู่ที่ทอดมองดูสิ่งต่าง ๆ เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารที่ท่านอบรมเจริญไว้ดีแล้ว และยังได้แผ่กระแสความเมตตาที่เยือกเย็นต่อเหล่าศิษยานุศิษย์ส่วนสุดท้ายในเบื้องปลาย คือกระแสแห่งอุเบกขาธรรม เป็นการวางลาจากภาระหน้าที่ทั้งหลาย ลาจากทั้งบุญและบาป ไ ม่มีสิ่งใดที่ต้องห่วง ติดข้องในใจ เปรียบเหมือนน้ำกลิ้งบนใบบัว  น้ำก็ไม่ติดใบบัว  ใบบัวก็ไม่ติดน้ำ

จวบจนกระทั่งถึงราวเวลา ๒๑.๓๐ นาฬิกา หลังจากเสร็จสิ้นพิธีมุทิตาจิตสักการะถวายให้แก่ท่าน หลวงปู่ยังคงนั่งพักอยู่ในถ้ำจนถึงเวลาราว ๒๒.๐๐ นาฬิกา  ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พัก ด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง  และได้มรณภาพละสังขารในเวลาประมาณช่วงเข้ามืดด้วยอาการสงบ  สิริรวมอายุของหลวงปู่ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน  อายุพรรษา ๖๓ พรรษา

ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ หีบทองทึบ พวงมาลาประดับหน้าหีบศพ  และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการบำเพ็ญกุศลสัตตมวาร  ปัญญาสมวาร และสตมวาร  และในการพระราชทานเพลิงศพพระญาณสิทธาจารย์ ณ สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  จังหวัดเชียงใหม่

ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๖  อันเป็นวันพระราชทานเพลิงศพ โดยมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด  โดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง  พร้อมด้วยสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก  ทรงมีพระเมตตาเสด็จมาเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์  ตลอดจนพระเถรานุเถระ และบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศต่างมาแสดงความเคารพสักการะในคุณความดีของท่านในวาระสุดท้าย

ในชาตินี้ หลวงปู่ท่านได้ทำกตัญญูคุณบูชาแก่พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสมฐานะแล้ว  กล่าวคือท่านได้ยังประโยชน์ตนให้สมบูรณ์พร้อมแล้ว  แต่ด้วยเมตตาธรรมอันหาประมาณมิได้  ท่านได้ทำกิจพระศาสนา อบรมสั่งสอนเหล่าศรัทธา สานุศิษย์   ทำหน้าที่สงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้อย่างดีเต็มที่ตามกำลังสติปัญญาและวาสนา  ตราบเท่าสิ้นอายุขัย  สมกับฉายานามว่า “พุทฺธาจาโร” คือ “ผู้ประพฤติตามแบบอย่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” อย่างแท้จริง

บัดนี้คงเหลือแต่ธรรมานุสรณ์ที่เป็นมรดกของท่านคอยย้ำเตือน เสมือนว่าหลวงปู่ยังคงดูแลเหล่าสานุศิษย์อย่างใกล้ชิด  หนึ่งในข้อธรรมมรดกนั้นคือ “มรณํ เม ภวิสฺสติ”  เตือนให้เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท เร่งสร้างกุศล ภาวนาละกิเลส  ยังประโยชน์ ทั้งหลายให้บริบูรณ์ต่อไป  สมดังที่สมัยหนึ่งหลวงปู่ได้ให้โอวาทธรรมไว้ว่า

                                                                 “ชีวิตของเราเป็นของไม่ยั่งยืน
                                                                 เป็นของที่จะต้องตายลงโดยแท้แน่นอน
                                                                 เวลานี้เราอาจจะได้ยินข่าวมรณกรรมของผู้อื่น  ของพระอื่น
                                                                 แต่อีกไม่นาน ข่าวนั้นต้องเป็นของเราบ้าง
                                                                 เพราะทุกชีวิต จะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น
                                                                 ฉะนั้น อย่าประมาทเรื่องความตาย
                                                                 ให้เร่งภาวนา ทำจิตใจให้หมดกิเลส
                                                                 หมดทุกข์ หมดร้อน
                                                                 ให้ได้ก่อนความตายจะมาถึง”



ที่มา : ๑๐๒ ปี พระญาณสิทธาจารย์  หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร   สงวนสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อจำหน่าย จัดพิมพ์โดย สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  ตำบลเชียงดาว  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๗๐

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2555 19:37:04 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 กันยายน 2555 15:31:54 »

.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2555 19:35:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2555 19:35:05 »

.


สำนักสงฆ์ถ้าผาปล่อง  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่  
ภาพจาก : เที่ยวเชียงใหม่.com

ประวัติถ้ำผาปล่อง

สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง   เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย  ตั้งอยู่ที่ชายเขาด้านหลังดอยหลวงเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่  ถ้ำผาปล่องมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่มีทางทะลุหน้าหลัง  มีหลังคาโครงเหล็กคลุมถ้ำวิหารใหญ่  และภายในบริเวณประดิษฐานพระประธาน  ถัดมาจะมีรูปเหมือนหลวงปู่  พร้อมแท่นบรรจุอัฐิธาตุของท่าน  บริเวณภายในถ้ำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และประกอบศาสนกิจ  ด้านข้างซ้ายของถ้ำเยื้องขึ้นเนินหินมีพระเจดีย์ทอง  ลักษณะเป็นเจดีย์เปิดสามารถเข้าไปใช้สอยพื้นที่ภายในได้  โดยจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เครื่องอัฐบริขารของพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร)  ส่วนบริเวณโดยรอบเป็นที่ตั้งของถ้ำ  เป็นที่ตั้งของโรงน้ำร้อน  ศาลาอเนกประสงค์สำหรับรองรับผู้มาปฏิบัติธรรม โรงครัว และกุฏิ  ซึ่งตั้งอยู่โดยรอบในละแวกป่า  ในเขตพื้นที่ประมาณ ๓๘๕ ไร่

แต่เดิมขณะที่หลวงปู่มาพบถ้ำผาปล่องแห่งนี้ในช่วงฤดูหนาวประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๓  โดยมีชาวบ้านชื่อลุงติ๊บ  อุไร  พาท่านเดินตามทางเดินล่าสัตว์ของนายพราน  ลัดเลาะขึ้นมาตามซอกเขา  จนพบถ้ำซึ่งยังคงมีลักษณะรกร้าง สภาพขณะนั้นมีเถาวัลย์ปกคลุมรุงรัง  ข้างในมีขี้เลียงผา  สภาพบรรยากาศเหม็นอับ และชื้นมาก  บางครั้งเป็นที่พักชั่วคราวของนายพราน  ซึ่งในละแวกนี้มีสัตว์ใหญ่หลากหลายนานาชนิด ได้แก่ เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ เก้ง หมูป่า นกกก และพันธุ์สัตว์ที่ปัจจุบันหาได้ยากอยู่เป็นจำนวนมาก  หลังจากหลวงปู่ได้มาพำนักภาวนา  ชาวบ้านและนายพรานต่างเกรงใจไม่รบกวนมาล่าสัตว์อีกต่อไปในบริเวณนี้

ครั้งต่อมาหลวงปู่ได้มาบำเพ็ญภาวนา  อาศัยที่ถ้ำผาปล่องอยู่บ่อยครั้งตั้งแต่ปี ๒๕๐๓ – ๒๕๓๕  เมื่อครั้งแรกได้แผ้วถางทำความสะอาดภายในถ้ำและทำแคร่  ภายหลังได้ปลูกกุฏิเล็ก ๆ มุงด้วยหญ้าคาอยู่ภายในถ้ำ  ความเป็นอยู่ในขณะนั้นยากลำบากทุรกันดาร  ทางเดินเป็นขั้นบันไดดิน ฤดูฝนทางลื่นมาก  อีกทั้งความชื้นในอากาศมีสูง  แต่ด้วยความที่หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีความอดทน  และความเพียร  ประกอบกับความถูกจริตในความวิเวก  จึงบำเพ็ญเพียรอยู่ในสถานที่แห่งนี้เป็นต้นมา  ต่อมามีผู้ทราบถึงกิตติศัพท์คุณงามความดีของหลวงปู่ในความเป็นพระมหาเถระของท่าน   รวมถึงโวหารธรรม  อันแสดงด้วยความเมตตาจึงมีความร่มเย็นในเนื้อหาของธรรม อันประกอบด้วยกุศโลบายและข้อคิดจากประสบการณ์ชีวิต  และการปฏิบัติของหลวงปู่  ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดตามสัจธรรมความจริง  จึงมีผู้เดินทางมาศึกษาอบรมจิตกับหลวงปู่โดยมิได้ขาด และเพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี

โดยมีข้อวัตรที่หลวงปู่ได้วางไว้เป็นหลักในการปฏิบัติของสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่องดังต่อไปนี้
เวลา ๓.๐๐ น.  สัญญาณระฆังใหญ่ดัง
เวลา ๓.๓๐ น.  ทำวัตรเช้า  เสร็จแล้วมีการแสดงธรรมเทศนาอบรมจิตภาวนา
เวลา ๖.๐๐ น.  บิณฑบาตที่หมู่บ้านถ้ำ มีเส้นทางรับบาตร ๓ สายในหมู่บ้านบ้านถ้ำ
เวลา ๘.๐๐ น.  ฉันภัตตาหาร เสร็จแล้วล้างบาตร ปัดกวาด ทำความสะอาดบริเวณถ้ำและสถานที่ฉัน  หลังจากนั้นจึงพักผ่อน หรือปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย
เวลา ๑๕.๐๐ น. สัญญาณระฆังเล็กดัง พระสงฆ์ และผู้มาปฏิบัติธรรมช่วยกันปัดกวาดเสนาสนะและลานวัด
เวลา ๑๗.๐๐ น. ฉันน้ำปานะ
เวลา ๑๙.๐๐ น. สัญญาณระฆังใหญ่ดัง
เวลา ๑๙.๓๐ น. มีการแสดงพระธรรมเทศนา  อบรมจิต

ภาวนาเสร็จแล้วจึงมีการทำวัตรเย็นร่วมกัน  หลังจากนั้นไปจนถึง ๓.๐๐ น. จึงเป็นการพักผ่อนหรือปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย



สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
ภาพจาก : photo.lannaphotoclub.com

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐  หลวงปู่ได้เริ่มเข้าจำพรรษาเป็นครั้งแรก  ได้มีพระภิกษุอยู่ร่วมกับท่านอีก ๓ รูปในปีพรรษา     ต่อมาภายหลังได้มีพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้น  ในบางปีมีมากถึงกว่า ๓๐ กว่ารูปมาโดยตลอด  เมื่อมีบุคคลเข้าศึกษา และปฏิบัติธรรมมากขึ้น  หลวงปู่สิมท่านจึงได้จัดสร้างและปรับปรุงเสนาสนะอันมีวิหาร (ถ้ำผาปล่อง)  ศาลา เรือนพัก กุฏิ ที่พักเรือนแม่ชี โรงครัว ห้องน้ำ แท้งค์น้ำ การเดินระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า บันไดทางเดินขึ้น – ลง ถ้ำผาปล่อง  และกั้นแนวเขตรั้วโดยรอบบริเวณสำนัก  พร้อมทำแนวกันไฟป่ารอบพื้นที่จำนวน ๓๘๕ ไร่  ตลอดจนถนนลาดยางต่อจากหมู่บ้านถ้ำจนถึงถ้ำผาปล่องเป็นระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร  และในบั้นปลายชีวิตได้สร้างสิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือ “พระธาตุเจดีย์พุทธาจารานุสรณ์”

จากที่หลวงปู่ได้เคยกล่าวเกี่ยวกับถ้ำผาปล่องในพระธรรมเทศนาใจความว่า ถ้ำผาปล่อง แห่งนี้ได้เกิดมาตั้งแต่ตั้งฟ้าตั้งแผ่นดิน  แต่เดิมเป็นหน้าผาติดกับภูเขาใหญ่  ต่อมาหินผาแตกออกแยกเป็นแผ่น  ขณะที่เอียงล้มลงได้หักพับ ยันกันเป็นหน้าจั่วกลายเป็นถ้ำใหญ่  มีปล่องทะลุถึงกัน  อากาศถ่ายเทได้สะดวก  ไม่เป็นที่อยู่ของค้างคาวเพราะนกเหยี่ยวบินเข้ามาจับกินได้  จึงเป็นถ้ำที่อยู่สบายเพราะอากาศปลอดโปร่ง และตั้งอยู่บนที่สูง  ไม่มีผู้คนมารบกวน  เหมาะแก่การเจริญภาวนา   ท่านได้กล่าวต่อไปอีกว่า ถ้ำผาปล่องครั้งโบราณ ในภัทรกัปป์นี้  ได้ผ่านองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วทั้ง ๔ พระองค์ คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากกุสันโธ  พระพุทธเจ้าโกนาคมโน  พระพุทธเจ้ากัสสโป  และองค์ปัจจุบันคือพระพุทธเจ้าโคตโม  ทั้งได้ผ่านมาอีกหลายยุคหลายสมัยจนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ก็ยังได้มีผู้มาบำเพ็ญทำความเพียรในสถานที่แห่งนี้อยู่เสมอ

ครั้งหนึ่งท่านเล่าว่าได้เคยพบครกและสากหินโบราณสำหรับตำยาอยู่บนซอกหิน  แสดงว่าเคยมีผู้มาบำเพ็ญเพียร อาศัยที่ถ้ำผาปล่องแห่งนี้มาก่อน  ซึ่งดอยหลวงเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ที่เป็นมงคลแห่งหนึ่งในประเทศไทย  ได้มีพระอรหันต์มาดับขันธ์ในบริเวณเขตดอยหลวงเชียงดาวนี้อยู่หลายองค์  อนึ่งท่านเคยเล่าเรื่องนิทานเกี่ยวกับถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า  ซึ่งตั้งอยู่บนดอยหลวงเชียงดาวโดยมีหลวงปู่มั่นเป็นผู้ให้หลวงปู่ตื้อ  อจลธมฺโม  ขึ้นไปค้นหา  และพบจนประวัติอันพิสดารได้เล่าขานต่อกันมา เรื่องราวทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ จึงทำให้เห็นได้ว่าดอยหลวงเชียงดาว อันเป็นสถานที่ตั้งถ้ำผาปล่องเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลแห่งหนึ่งในประเทศไทย

อนึ่ง ถ้าจะกล่าวโดยลักษณะภูมิศาสตร์และภูมิประเทศแล้ว ตามหลักธรณีวิทยา ถ้ำผาปล่องซึ่งตั้งอยู่บนดอยหลวงเชียงดาว  เป็นแผ่นดินที่ดันตัวขึ้นจากพื้นโลก เป็นแนวเขตเทือกเขาเดียวกันกับภูเขาหิมาลัย  ผ่านมาทางประเทศพม่า และเป็นแนวสันเขาเดียวกับดอยสุเทพ  อันมีส่วนปลายสุดมายังประเทศไทย  ซึ่งดอยหลวงเชียงดาวก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวนี้  จึงมีความคล้ายคลึงกันทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศน์  แต่ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของดอยหลวงเชียงดาว คือเป็นภูเขาสูงตั้งตระหง่าน อยู่ท่ามกลางเทือกเขาอื่น ๆ ด้วยความสูงประมาณ ๒๑๗๕ เมตร  หากนับตามลำดับความสูงจัดเป็นอันดับที่ ๓ ของประเทศไทย รองจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก  นอกจากนั้นยังมีพันธุ์พืช พันธุ์ไม้ และพันธุ์สัตว์ที่มีคุณลักษณะเป็นเอกลักษณ์พิเศษ เฉพาะท้องถิ่นประจำของดอยหลวงเชียงดาว  เนื่องจากเป็นดอยสูงใหญ่จึงเป็นแหล่งที่มีกระแสลม และก้อนเมฆมาปะทะกับไอร้อนและไอเย็นของภูเขา  จึงมักเกิดฝนตกชุกชุม  ทำให้ดอยแห่งนี้มีพืชพันธุ์ไม้ และสัตว์อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๑๖  ทางราชการได้ประกาศให้สถานที่บริเวณดอยหลวงเชียงดาว รวมถึงสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่องให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ  ถัดมาในปีพุทธราช ๒๕๒๑  ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกา เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว

ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐  หลวงปู่ได้เริ่มเข้ามาจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง  จนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต และได้มรณภาพในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕  ในระหว่างที่ท่านมีชีวิต และได้มรณภาพในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕  ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่และพำนักอยู่ในถ้ำผาปล่อง  ถือได้ว่าท่านได้ใช้สถานที่ถ้ำผาปล่องเป็นที่พักอาศัย และจำพรรษา เป็นระยะเวลายาวนานที่สุดกว่าแห่งอื่น  เปรียบเสมือนดั่งว่าเป็นเรือนอาศัยหลังสุดท้ายของหลวงปู่  ด้วยสถานภาพอันสมควรด้วยธรรมะสัปปายะของถ้ำผาปล่องมีสูงมาก  จนท่านได้กล่าวเป็นภาษิตว่า “ทำใจของเราให้เข้ากับอากาศถ้ำผาปล่อง  ใจให้เย็นสบาย”

หลังจากที่หลวงปู่มรณภาพแล้ว ฝ่ายปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ได้แต่งตั้ง พระครูสันตยาธิคุณ  อดีตเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่  ภายหลังได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น “พระนพีสีพิศาลคุณ” (ปัจจุบันได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว)  เป็นหัวหน้าผู้ปกครองสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  ภายหลังต่อมาจนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๑  จึงได้มอบหมายแต่งตั้งให้พระอาจารย์เมธา  สุเมโธ (พระครูโสภณกิตยาภรณ์)  เป็นหัวหน้าผู้ปกครองสำนักสงฆ์  จวบจนถึงปัจจุบัน




ที่มา : ๑๐๒ ปี พระญาณสิทธาจารย์  หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร   สงวนสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อจำหน่าย จัดพิมพ์โดย สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  ตำบลเชียงดาว  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๗๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2555 20:00:43 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2555 19:51:20 »

.

........สงวนสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อจำหน่าย .........


ข้อความ " สงวนสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อจำหน่าย " คัดลอกตามเจตนารมณ์ของสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่องเพียงบางส่วน จากหนังสือ ๑๐๒ ปี พระญาณสิทธาจารย์ หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร  
ซึ่งใจความโดยครบถ้วนในหนังสือปรากฎดังนี้

"สงวนสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อจำหน่าย  แต่หากบุคคลใดมีจิตศรัทธาพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน  สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ก็ขออนุโมทนา และสามารถจัดพิมพ์ได้ โดยมิต้องขออนุญาต"

จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน...Kimleng : sookjai.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2555 19:53:15 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บารมี 10 เสียงธรรมเทศนา โดย หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
เสียงธรรมเทศนา
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 2344 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2555 12:23:54
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.557 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มกราคม 2567 10:16:07