[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 13:49:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้  (อ่าน 2235 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 กันยายน 2555 14:15:31 »



           http://i104.photobucket.com/albums/m166/charityproject_2006/c48.jpg
๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น
ไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว
ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 530&Z=3541

รูปนามมันก็ประกอบด้วยขันธ์ห้านั้นแหล่ะ และขันธ์ห้าก็คือชีวิต
แต่ชีวิตจะเป็นขันธ์ห้าได้ ต้องกำหนดรู้หรือรู้

คนจึงแตกต่างจากสัตว์ในเรื่องขันธ์ห้า ทั้งๆที่มีชีวิตเหมือนกัน
สัตว์กำหนดรู้ไม่ได้ ส่วนพืชมันไม่มีขันธ์ห้า...

แล้วทำไมต้องรู้หรือกำหนดรู้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
การรู้ต้องรู้ด้วยสัมมาทิฐิ รู้สภาพตามความเป็นจริง
ดังนั้นถ้ามีใครบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องเพราะ
ขันธ์ห้าต้องกำหนดรู้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่อ่านตามตำรา


43170.ชีวิต (ชีวิตินทรีย์- อินทรีย์คือชีวิต)
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43170&p=306880#p306880


ชีวิตเป็นสมมุติบัญญัติ ที่บรรดาอรรถกถาจารย์กำหนดขึ้นมา
เพื่อให้ทราบถึงสภาวะปรมัตถ์ธรรมที่เรียกว่า...ปฏิจสมุบาท

เกิด...แก่....เจ็บ...ตาย เป็นวัฎฎะสงสาร หรือเรียกว่าช่วงเวลาของชีวิต
ช่วงชีวิตหนึ่ง หมายถึงการดำเนินการของปฏิจจสมุบาท เริ่มตั้งแต่รูปนามจนถึง
มรณะนี่คือหนี่งช่วงชีวิต

ถ้าเราจะเอาขันธ์ห้าไปเปรียบกับชืวิต มันไม่ถูกต้องนัก..เพราะ
ช่วงเวลาหนี่งชีวิต มีการเกิดดับของขันธ์ห้านับครั้งไม่ถ้วน


และที่สำคัญชีวิต(ปฏิจจสมุบาท)เป็นเรื่องของ...อวิชา
ส่วนขันธ์ห้าเป็นเรื่องของ...วิชชา

ที่เกิดปฏิจจสมุบาท(ชีวิต)ขึ้นเป็นเพราะ เรายังไม่รู้ความมีอยู่ของขันธ์ห้า
การจะรู้ความมีอยู่ของขันธ์ห้าได้นั้น เราจะต้องได้รู้หรือเห็นกฎธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์เสียก่อน
กระบวนการขันธ์ห้าจึงจะเกิดขึ้นได้ ธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์มีลักษณะดังนี้...
ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ,
ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ธรรมชาติของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
แล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายให้รู้ตาม มี ๓ อย่าง
แสดงความตามพระบาลีดังนี้
๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน;


เมื่อเราได้รู้ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยามแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนว่า
กำหนดรู้ไตรลักษณ์เพื่อรู้ สฬายตนะ*12 และขันธ์ห้า ให้รู้ว่า ทั้งสองเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน

สรุปก็คือ ควรกำหนดรู้ไตรลักษณ์ สฬายตนะ**12 และขันธ์ห้าด้วยความเพียร
ก็จะรู้ว่า ชีวิตเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เป็นกองทุกข์ ทำให้เกิดกระบวนการวัฏฏสงสารไม่สิ้นสุด


แยกให้ดูความแตกต่างของขันธ์ห้ากับชีวิตตามเหตุปัจจัย....
ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตแต่เป็นรูปนาม อันมีเหตุปัจจัยมาจาก...วิญญาณ
ส่วนชีวิตมีเหตุปัจจัยมาจากกระบวนการวัฏฏสงสาร นั้นคือการทำงานของรูปนามจนถึงมรณะ

--------------
        .................

ที่กายของเราเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยนามมาคอยบ่งการ
และตัวที่บ่งการ เรียกว่า....ชีวิตินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ไม่ใช่รูปแต่เป็นนาม ในทางปรมัตถ์มันเป็นอาการของจิต
เป็นสิ่งที่มาทำให้เกิด อาการ32 ทางกาย

-------------------------
                 ....................

ทำความเข้าใจสักนิด ปฏิจสมุบาทกับไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ไตรลักษณ์เป็นกระบวนการขันธ์ห้า เป็น....วิชชา
ปฏิจสมุบาทเป็นวงจรชีวิต เป็น.............อวิชา

ไตรลักษณ์ มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
แต่ปฏิจสมุบาท เกิดแล้วเป็นเหตุปัจจัยที่สืบต่อเนื่อง

บางท่านเกิดความเข้าใจผิดว่า ไตรลักษณ์เป็นอันหนื่งอันเดียวกับปฏิจสมุบาท
อาจเป็นเพราะคำบัญญัติที่ว่า อนุโลมปฏิจจสมุบาทกับปฏิโลมปฏิจจสมุบาท
อนุโลมเป็นปฏิจจสมุบาทสายเกิด ...สมุทยวารหรือสมุทัยสัจจ์
แต่ปฏิโลมปฏิจจสมุบาทสายดับ......นิโรวาธหรือนิโรธสัจจ์

ปฏิจจสมุบาทสายเกิด ก็คือความคงอยู่ของปฏิจสมุบาท
ปฏิจจสมุบาทสายดับ ก็คือความดับไปของวงปฏิจสมุบาท ความหมายอีกอย่างก็คือ
ความไม่มีปฏิจจสมบาท

การเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า เป็นคุณลักษณะที่เอามาดับ
สมุทยวารหรือเหตุแห่งทุกข์ นั้นก็คือการดับไปแง่กระบวนการปฏิจจสมุบาท
ลืมบอกว่า ปฏิจจสมุบาทเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดทุกข์

ดังนั้นที่กล่าวมาตรงกับที่เคยกล่าวไว้ว่า

ทุกข์และสมุทัย..อยู่ในกระบวนการปฏิจจสมุบาท
ไตรลักษณ์ซึ่งเป็นมรรคและนิโรธผลของมรรค...อยู่ในกระบวนการขันธ์

------------------------
                      ....................

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เป็นอันดับแรก นั้นก็คือรู้ทุกข์และสาเหตุแห่งทุกข์
สิ่งที่ทำให้พุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นก็ตรงนี้ พระพุทธองค์ทรงบอกให้รู้
ความหมาย
ของทุกข์และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

ทุกข์ของพระพุทธเจ้าก็คือ ...การเกิด แก่ เจ็บ ตายหรือวัฎฎสงสารเป็นทุกข์
และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือชีวิตหรือกระบวนการปฏิจจสมุบาท

ต่อมาจึงค้นพบวิธีการดับทุกข์ นั้นก็คืออริยมรรค ท่านใช้อริยมรรคมาแทงตลอดปฏิจจ์ฯ
จนสายปฏิจจ์ขาดเกิดเป็นนิโรธ นี่แหล่ะเป็นการค้นพบอริยสัจจ์สี่ที่สมบูรณ์

ความหมายของคำว่า...รู้ ต้องเข้าใจด้วยว่า รู้อย่างหนึ่งเพื่อเอามาดับอีกอย่างหนึ่ง
สองสิ่งที่ว่าจึงไม่ใช่อย่างเดียวกัน อริยสัจจ์สี่กับปฏิจจ์สมุบาทจึงเป็นคนละอย่างและตรงข้ามกัน
คือมีอย่างหนึ่งต้องไม่มีอย่างหนึ่ง

สี่สิบห้าปีของพระพุทธเจ้า เป็นการเพียรพยายามที่จะให้ คนทุกชั้นวรรณะเข้าใจ
แก่นธรรมของพระองค์ หรือพูดง่ายๆว่า พยายามที่จะเปลี่ยนความคิดของคนที่
ยึดแต่เพียงว่า ความดีกับความชั่ว ทำดีแล้วขึ้นสวรรค์เป็นสุข ทำชั่วตกนรกเป็นทุข์
สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ การเกิดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าจะทำดีทำชั่วล้วนเป็นทุกข์
การไม่ต้องเกิดมาวนเวียนในการทำดีและชั่วเท่านั้น จึงจะพ้นทุกข์

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างบน ล้วนแล้วแต่มีมาก่อนที่พระพุทธองค์จะประกาศศาสนาเสียอีก
ศาสนาพราหมณ์ก็สอนเรื่องความดี ความชั่วแบบนี้ ลัทธิขงจื้อก็สอนเรื่องมงคลต่างๆเหล่านี้

แต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้ว่า ความดีความชั่วที่เป็น การกระทำ มันไม่ใช่ สาระ
ความเป็นจริงมันอยู่ที่จิต และสาระของจิตก็คือ ความเป็นกุศลและกุศล

--------------------------
                  .....................

สติปัฎฐานคืออะไร >> สติปัฏฐาน 4 = ที่ตั้งของสติ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง
คือตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง


อธิบายตามความหมายข้างบน การทำสติปัฏฐาน คือการใช้สติมาระลึกรู้
สัมมาทิฐิมาเป็นหลักในการพิจารณาธรรม ธรรมที่ว่าก็คือทุกข์

นั้นคือผู้ที่จะทำสติปัฏฐานเพื่อการตรัสรู้ได้นั้นจะต้อง
มีปัญญาสัมมาทิฐิแล้วเท่านั้น สติปัฏฐานไม่ใช่ทำเพื่อหาปัญญาสัมมาทิฐิ
แต่สติปัฏฐานเป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฐิ
เป็นองค์ธรรมเพื่อปัญญาวิมุตติ หรือการดับทุกข์


เห็นหลายคนในนี้เข้าใจผิดคิดไปเองว่า การทำสติปัฏฐานเป็นการทำ
เพื่อหาปัญญาสัมมาทิฐิ ไม่ใช่ครับ แต่มันเป็นการทำเพื่อละกิเลสครับ

จำไว้เลยว่า การใช้สติปัฏฐานทำเพื่อละกิเลสเพื่อการดับทุกข์
ส่วนสติธรรมดาคือการระลึกรู้ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน เพื่อหาไตรลักษณ์
หาปัญญาสัมมาทิฐิ


----------------------------
                    .........................

กองทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล อยู่ในปฏิจจสมุบาท ถ้าเราเรียกชีวิตเป็นปฏิจจสมุบาท
กองทุกข์ก็คือชีวิตด้วยเช่นกัน

ทั้งปฏิจจสมุบาทหรือชีวิต มันมีเหตุปัจจัยหนื่งที่ทำให้เกิดทุกข์
นั้นก็คือ อุปาทานขันธ์

มีบางคนเข้าใจผิดคิดว่า ขันธ์ห้าคือชีวิต...ผิดครับ
ส่วนที่เป็นชีวิตหรือปฏิจจ์ เขาเรียกว่า อุปาทานขันธ์

อุปาทานขันธ์ เป็นการรวมกันหรือเป็นปัจจัยร่วมระหว่าง อุปาทานในปฏิจจ์กับขันธ์ห้า
พระพุทธองค์สอนให้รู้การมีอยู่ของขันธ์ห้า ก็เพื่อให้แยกขันธ์ห้าออกมาจากปฏิจจ์
เมื่อแยกขันธ์ห้าออกมาจากปฏิจจ์แล้ว
ปฏิจจ์หรือชีวิตก็เป็นส่วนหนึ่ง ขันธ์ห้าก็เป็นส่วนหนึ่ง

พอจะเรียกได้ว่า ปฏิจจ์หรือชีวิตเป็นทุกข์ ขันธ์ห้าเป็นผู้รู้ทุกข์

---------------------------
                             ...................

การใช้สติในฐานกายหรือที่เรียกว่า กายานุปัสสนา ท่านกำหนดให้ทำเพื่อละกิเลส
กิเลสที่ว่าก็คือการยึดมั่นถือมั่นในกาย นั้นก็คือ สังโยชน์สักกายทิฐิ

อธิบายได้ดังนี้ การใช้สติบนฐานกายก็คือ การเอาสติไประลึกรู้สัมมาทิฐิ
เอาสัมมาทิฐิมาพิจารณากาย ดูกายไปตามความเป็นจริงว่า
กายเป็นเพียงสิ่งที่ จิตหลงไปยึดเป็นตัวเป็นตน
ยกตัวอย่างให้ดูธรรมหนึ่งจากหลายธรรมในเรื่องกาย เช่น
การพิจารณา ธาตุมนสิการ นั้นก็คือการใช่สติ พิจารณากายไปตามความเป็นจริงว่า
กายที่หลงยึดอยู่นั้น แท้จริงเป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลมไฟ
มาประชุมกันด้วย เหตุปัจจัยเพียงชั่วขณะ
เหตุปัจจัยที่ว่าก็คือสังขาร สังขารมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันไม่คงทน
เมื่อมนสิการได้ดังนี้ จิตก็จะคลายจางความยึดมั่น
หรือคลายกำหนัดในกาย เป็นการ ละสังโยชน์สักกายทิฐิ

กายานุปัสสนาในบรรพของอานาปานสติ ท่านมีจุดประสงค์ให้รู้ถึง"กายสังขาร"
กายสังขาร ก็คือการที่จิตไปปรุงแต่งให้กายมีการกระทำไปในลักษณะต่างๆนั้นเอง

ท่านให้รู้ว่าลมหายใจอันเกิดที่กาย ยาวบ้าง สั้นบ้าง มีความแตกต่างกัน
อันความแตกต่างนี้ มันเกิดขึ้นเพราะ จิตสังขารหรือสังขารไปปรุงแต่งกาย
ให้เกิดอาการเหล่านั้น สรุปก็คืออาการเหล่านั้นเกิดได้เพราะ สังขาร
และด้วยเหตุที่ว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั้น
เมื่อกายสังขาร(ลมหายใจ) เกิดเพราะสังขาร เมื่อไม่ยึดมั่นสังขาร มันก็จะทำให้ไม่
ยึดมั่นถือมั่นกายไปด้วย การไม่ยึดมั่นกาย ก็จะเป็นการ ละสักกายทิฐิ


สติที่ใช้ทำสติปัฏฐาน ต้องเป็นอินทรีย์ที่มีพละ หรือเรียกว่า..สติที่มีกำลัง
ที่สำคัญต้องมีความเพียรมาคอยช่วยเกื้อหนุน เกื้อหนุนอะไร ก็คือ...
สติที่มีกำลังดีแล้ว อาศัยความเพียร ให้ไประลึกรู้ สัมมาทิฐิ ให้เกิดอยู่เนื่องๆ

43226.ชีวิต .....เป็นส่วนของปฏิจจสมุบาท เข้าใจมั้ย!
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&p=307221#p307221

*  5) สฬายตน (Six sense - bases) ได้แก่ อายตนภายใน 6 อย่างคือ
1. จักขุ ตา
2. โสตะ หู
3. ฆานะ จมูก
4. ชิวหา ลิ้น
5. กายะ กาย
6. มโน ใจ


คำว่า สฬายตน มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ฉ+ อายตนะ ฉ แปลว่า หก อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแดนต่อภายใน 6 แห่ง (เมื่อ 2 คำ ต่อกันเข้า ฉ เปลี่ยนเป็น สฬ ตามกฎในภาษาบาลี) หน้าที่ของอายตนภายในทั้ง 6 อย่างก็คือ รับความรู้จากโลกภายนอก แล้วรายงานต่อไปยังใจซึ่งเป็นศูนย์กลาง และขณะเดียวกันใจก็สามารถรับรู้โดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านอายตนะ (ประตู) อื่น ๆ ได้ด้วย
(+ ผัสสะ อายตนภายนอก 6 = 12)
ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination) - http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2101.0.html


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: ไตรลักษณ์ กระบวนการขันธ์ห้า วิชา วงจรปฏิจสมุบาท อุปาทานขันธ์ อวิชา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.71 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 13:03:58