[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 14:20:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน  (อ่าน 4728 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 กันยายน 2555 19:08:21 »





ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
คำนำ
(ของผู้แปลสู่พากย์ไทย)

พุทธ ศาสนาวัชรยานไม่ควรเป็นยาหม้อใหญ่สำหรับคนไทยแต่ควรเป็นยา อีกขนานหนึ่งสำหรับรักษาโรคกิเลสของคน สำหรับผู้มีอุปนิสัยที่เหมาะ สมในการรับยาขนานนี้แล้ว ยาขนานนี้อาจให้ผลในการรักษาโรคชะงัด นัก ดังนั้นเราจึงควรเพ่งพินิจพุทธศาสนาแบบวัชรยานด้วยใจที่เที่ยงธรรม เพื่อให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าบรรลุผลต่อสรรพสัตว์หมู่มากที่สุด
 
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งได้เป็นสามส่วนคือ หลักธรรม มรรค และผล หลักธรรมมีใจความสำคัญคือ จิตเดิมแท้ ซึ่งไม่ต่างจากพุทธ ศาสนาแบบเซนนัก ซึ่งนับว่ามีเนื้อหาที่สุขุมลึกซึ้งเป็นที่เสพอย่างยิ่ง ของผู้ใคร่ในธรรมรส มรรคเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นลำดับขั้นตอน พร้อม ทั้งรายละเอียดแสดงผลที่ปรากฏในแต่ละขั้นตอน ซึ่งนับว่าเป็นข้อเด่น ของหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้นักปฏิบัติได้เรียงลำดับตรวจสอบตนเอง ได้ วิธีปฏิบัติเป็นวิธีชั้นสูงคือการดำรงจิตไว้ในธรรมชาติแห่ง ความไม่ปรุงแต่ง ส่วนผลแสดงในรูปของตรีกายซึ่งไม่มีกล่าวไว้ในหลักธรรมของ เถรวาท แต่อย่างใด
 
ในบทที่ว่าด้วยทางที่ผิดนั้น ยังได้อธิบายทางที่ผิดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน เกือบทุกทาง จะมีผลให้เราเพิ่มความระมัดระวัง คอยตรวจสอบการปฏิบัติ ไม่ให้ผิดพลาดตามที่กล่าวไว้ นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อป้องกันตนเองจากการภาวนาผิดวิธี นับว่าเป็นข้อเด่นอีกประการหนึ่ง ของหนังสือนี้ การรู้ความผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทำให้เรามีความรอบรู้ในสมถะและวิปัสสนามากขึ้น และทำให้เรามีความเชี่ยวชาญในการ ทำภาวนามากขึ้นเพราะมีความรู้ " รอบ " คอบมากขึ้น

 
อย่างไรก็ตาม มีเนื้อหาหลายเรื่องที่ฟังดูแล้วเหมือนไม่น่าจะถูกต้อง สำหรับ กรณีนี้ผู้แปลขอให้อย่าเพิ่งปฏิเสธหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่เราควรทำคือใคร่ควรญ เสียใหม่ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง การศึกษาธรรมะจากหนังสือเล่มนี้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อตามในทันที และไม่จำเป็นต้องปฏิเสธในทันที แต่ควรให้เวลาสำหรับการ นำไปปฏิบัติ ทดสอบจนกว่าจะหยั่งรู้ด้วยตนเอง อันควรเป็นท่าทีของชาวพุทธ ตามหลักกาลามสูตร
 
อาจจะมีหลายเรื่องในหนังสือเล่มนี้ที่เราไม่เห็นด้วย แต่จะไม่ทำให้หนังสือ ลดคุณค่าลงไปแต่อย่างใด หากยังมีข้อดีอีกมากมายสำหรับเราที่จะหาได้จาก หนังสือเล่มนี้
 
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นของวัชรยาน ซึ่งเน้นการปฏิบัติแบบโพธิสัตว์ เราจึงได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติแบบนี้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับยุคปัจจุบัน ซึ่งมีพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ในที่ต่าง ๆ เพศต่าง ๆ ทั้งฆราวาสและบรรพชิต
 
เนื่องจากศัพท์บางคำมีความหมายที่ถอดเป็นภาษาไทยได้ยาก จึงได้จัดภาค ประมวลศัพท์ ไว้ท้ายเล่มด้วย เพื่อให้ผู้สนใจเทียบเคียงหาความหมายที่แท้จริง

 


หนังสือเล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยความช่วยเหลือจากหลายท่าน
ได้แก่พระไพสาร ฉันทธัมโม ช่วยพิมพ์ต้นฉบับ
พระเมตตา วชิรนันโท อำนวยความสะดวก ทางด้านพจนานุกรม
และคำแนะนำที่มีค่าหลายประการ เป็นต้น จึงขอแสดง ความอนุโมทนามาในที่นี้

 
พระศักดิชัย กิตติชโย
สำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน
ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
( ๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ตรงกับ มาฆบูชา เพ็ญเดือน ๔ ปีวอก )

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 กันยายน 2555 20:45:54 »



     

            คำแนะนำมหามุทรา
 
คำว่ามหามุทราเป็นคำที่เข้าใจยาก ณ ที่นี้ ผู้แปลจึงขอคัดลอกคำอธิบาย มหามุทราจาก " สีหนาทบันลือ " มาเป็นส่วนแนะนำให้ผู้อ่านได้เข้าใจ มหามุทราให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
" มาถึงตรงนี้คงจะเป็นการดีหากได้กล่าวถึงมหามุทรา ซึ่งเกี่ยวโยงอยู่กับ เรื่องการเข้าสัมพันธ์กับธรรมชาติพื้นฐาน ในการปฏิบัติโยคะตามแนวทาง วัชรยาน
มหา แปลว่า ' ใหญ่ ' และ มุทรา แปลว่า ' สัญลักษณ์ ' ดังนั้น มหามุทรา จึงหมายถึง ' สัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ ' นี่คือ แก่นหลักของการปฏิบัติในตันตระโยคะ ( ขั้นต่ำ ) ทั้งหมด ทั้งกิริยาโยคยาน อุปโยคยาน และโยคยาน ล้วนมีการปฏิบัติเพื่อเข้าสัมพันธ์กับต้นกำเนิดพื้นฐาน หรือ ฉี ในภาษาธิเบต ซึ่งหมายถึง ' ภูมิหลัง ' ดังนั้น โยคะเหล่านี้จึงเป็นโยคะ ต้นกำเนิดพื้นฐาน หรือโยคะแห่งภูมิหลัง หรือโยคะแห่งธรรมชาติพื้นฐาน มีข้อแตกต่างอยู่ระหว่างโยคะขั้นสูงซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึง กับโยคะขั้นต่ำ ซึ่งมุ่งที่จะกระทำการร่วมกับรากฐาน โยคยานทั้งสาม แห่งตันตระขั้นต่ำ ยังสัมพันธ์อยู่กับการปฏิบัติทางฝ่ายมหายาน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะกระทำการ ร่วมกับศักยภาพพื้นฐานเช่นกัน ดังนั้น จึงเต็มไปด้วยการกล่าวอ้างอิงถึง การก้าวสัมพันธ์กับต้นกำเนิด เข้าสัมพันธ์กับศักยภาพพื้นฐาน
 
" หลักการนี้เชื่อมโยงอยู่กับชีวทัศน์ของมหายาน ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กับศักยภาพแห่งตถาคตครรภ์ อันเป็นธรรมชาติพื้นฐาน ดังนั้นเองทุกสถานการณ์ในชีวิตของคุณจึงเป็นสิ่งที่ใช้การได้ ทั้งยังกล่าวกันอีกว่า มหามุทรา หรือสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่นี้ มุ่งที่กระทำการกับต้นกำเนิดพื้นฐานหรือศักยภาพพื้นฐานนั้นเอง ดังนั้นเอง โยคะทั้งสามแห่งตันตระขั้นต่ำ จึงยังเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับบางสิ่ง
ที่คุณอาจกระทำการร่วมด้วยได้ คุณมีศักยภาพอยู่ในตัวแล้ว คุณมี เมล็ดพันธุ์ อยู่แล้ว
 
" มหามุทราคือหนทางที่จะชักนำเอาสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกัน อันได้แก่ ความเว้นว่างอันไพศาล สุญญตา และการสำแดงออกภายในสุญญตา หลักการแห่งสุญญตาคือหลักการที่ว่าด้วยนิรวาณและการสำแดงออกของความ สับสน ซึ่งอุบัติขึ้นรอบ ๆ นิรวาณนั้น ซึ่งก็คือสังสาระ ดังนั้น มหามุทรา จึงเกี่ยวพันกับเรื่องที่ว่าจะนำสังสารและนิรวาณให้มาบรรจบรวมกันได้ อย่างไร ข่าวสารทั้งมวลจาก สังสารวัฏฏ์ ไม่ว่าจะเป็นราคจริต โทสะ และ อารมณ์ความรู้สึกทั้งมวล ซึ่งอาจบังเกิดขึ้นในชีวิตจริง สิ่งเหล่านี้มิได้ถูก ปฏิเสธหรือขับไล่ไสส่ง ทว่ากลับถือว่าเป็นส่วนที่ใช้การได้ของ ธรรมชาติพื้นฐาน ซึ่งเราอาจเข้าสัมพันธ์ด้วยได้ นี่ล้วนเป็นสถานการณ์ซึ่งใช้การได้ และไม่เพียงแค่ใช้การได้เท่านั้น ทว่ายังบรรจุล้นปรี่ด้วยข่าวสารอันจะช่วยกันผลักดันเราเข้าสู่สถานการณ์ซึ่งช่วยให้เราจัดการกับตนเองได้ เรากำลังถูกผลักเข้าไปสู่สถานการณ์พื้นฐานดังกล่าว
 
" ดังนั้น มหามุทราก็คือการเรียนรู้ที่จะกระทำการร่วมกับข่าวสารแห่งจักร วาล ซึ่งก็คือข่าวสารพื้นฐานในสถานการณ์ชีวิตอันเป็นหลักธรรมคำสอน ด้วยเช่นกัน เราไม่จำเป็นต้องไปศึกษาพระธรรมคำสอนที่มีอยู่ในศาสนา เท่านั้น หากเรายังสามารถอ่านสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในสถานการณ์ชีวิตได้อีก ด้วย เราอยู่อย่างไร ที่ไหน สถานการณ์อันมีชีวิตเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วย ข่าวสาร ซึ่งเราอาจอ่าน ถอดรหัส และกระทำการร่วมกับมัน
 
" ถ้าหากคุณขับรถเร็วเกินไป ก็จะได้ใบสั่ง แต่ถ้าหากขับช้าเกินไป ก็จะถูก รถข้างหลังบีบแตรไล่ ไฟแดงหมายถึงอันตรายไฟเขียวหมายถึงไปได้ ไฟ เหลืองหมายถึงเตรียมตัวออกรถหรือเตรียมหยุด
 
" แรกสุด เราจะต้องพัฒนาสัญญาความหมายรู้อันกระจ่างชัดขึ้นมาเสียก่อน
อันก่อเกิดขึ้นจากการถอนทำลายทวิภาวะอันเป็นเครื่องกางกั้นลงโดยอาศัย หลักธรรมสุญญตา นี่คือญาณทัศนะแห่งโพธิสัตว์ หลังจากได้ถอนทำลาย อุปสรรคหรือม่านหมอกอันบดบังลงแล้ว เราก็เริ่มรับรู้โลกแห่งปรากฏการณ์ได้ อย่างกระจ่างชัดดังที่มันเป็น นั้นคือประสบการณ์แห่งมหามุทรา มิใช่มหายาน นั้น จะเพียงแต่ถอนทำลายทวิภาวะอันเป็นเครื่องขวางกั้นลงเท่านั้น ทว่ามัน ยังมอบความมั่งคั่งให้แก่จิตใจของเรา เราจะกลับรู้สึกชื่นชมเห็นค่าในโลก อีกครั้งหนึ่งโดยปราศจากอคติหรืออุปสรรคขัดขวางใด ๆ
 
" หากจะว่าไปแล้ว ประสบการณ์แห่งสุญญตานั้นเป็นประสบการณ์ด้านลบ โดยสิ้นเชิง นั้นคือการตัดทิ้งถอนทำลายลง มันยังเต็มไปด้วยอาการอันต่อสู้ ดิ้นรน และหากมองจากบางแง่มุมแล้ว คุณก็อาจกล่าวได้ว่าสุญญตานั้นจำเป็น ต้องอาศัยจุดอ้างอิง จุดอ้างอิงแห่งอุปสรรค ที่ขวางกั้นอยู่ระหว่างตัวเรากับ ผู้อื่น ก่อให้เกิดจุดอ้างอิงแห่งไร้อุปสรรค ทว่าหลักการแห่งมหามุทรากลับ ไม่ต้องการอาศัยแม้แต่อุปสรรคที่ดำรงอยู่หรือแม้สิ่งใด ๆ เลย
เพื่อมาเป็นแรงต้าน มันเป็นเพียงการสำแดงออกอันบริสุทธิ์และตรงไปตรงมาของโลกแห่ง การแลเห็นและกลิ่นและกายสัมผัส ในฐานะที่เป็นประสบการณ์อันดำรงอยู่ ด้วยตนเองของมณฑล จะไม่มีการสะกดยับยั้งหรือเหนี่ยวรั้งใด ๆ สิ่งต่าง ๆ จะถูกแลเห็นและรับรู้อย่างเที่ยงตรงคมชัดและงดงาม โดยไม่ต้องหวั่นเกรงว่า จะกลับตกเข้าไปอยู่ภายใต้มัน "



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 กันยายน 2555 23:24:28 »



       

             ภาคนำ สรุปมหามุทรา
มหามุทรามี 3 กระสวน มหามุทราสุตตะ มหามุทรามนตรา มหามุทราแก่นแท้

   ๐มหามุทราสุตตะ เป็นการเข้าถึงความเป็นพุทธะโดยปัญจมรรคและทศภูมิ
 
   ๐มหามุทรามนตราเป็นประสบการณ์แห่งความยินดี ( นันทิ ) ๔ ระดับโดยการ เพิ่มพลังชนิดที่ ๓ ซึ่งนำไปสู่ความว่าง ๔ ระดับ นัททิ ๔ ระดับได้แก่ ๑ ) นันทิ ๒ ) อภินันทิ ๓ ) นิรนันทิ ๔ ) บุพนันทิ ( ยินดีโดยธรรมชาติ ) นำไปสู่วิธีแห่ง การรู้แจ้งทัศนะแห่งมหามุทรา คำพูดตามที่นิยมก็คือ " เข้าถึงปัญญาที่แท้ โดยวิธีของปัญญาที่เป็นสัญลักษณ์ " ปัญญาที่เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ความว่าง ๔ ระดับ ซึ่งมาจากนันทิทั้ง ๔ ขณะที่ปัญญาทีแท้ คือ มหามุทราแห่งสภาวะ ธรรมชาติและปราศจากการปรุงเสริมเติมแต่งในลักษณะนี้ เรียกว่า มหามุทรา มนตรา
 
   ๐มหามุทราแก่นแท้ ถูกบรรยายในความหมายของแก่นแท้ ธรรมชาติและการ แสดงออก
แก่นแท้คือความไม่เกิดขึ้น ธรรมชาติ คือ ความไม่ขัดข้อง และ การแสดงออก คือ สิ่งที่ปรากฏออกในหลาย ๆ ลักษณะ มหามุทราแก่นแท้ สามารถระบุลงไปโดยวิธีที่ฉลาดคือ " มหามุทราแก่นแท้คือ จิตธรรมดา ๆ ล้วน ๆ ซึ่งพักอยู่ในภาวะตามธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง "
 
แม้ว่าคำสอนเรื่อง ๐มหามุทราและซอกเซนแห่งภาวะธรรมชาติจะต่างกันโดย คำศัพท์ หากความหมายไม่ต่างกันเลย ด้วยคำสอนนั้น จิตขณะมรณวิถี ผสมกับธรรมกาย ขณะที่ร่างกายกำลังแตกสลาย และเป็นไปได้ที่จะบรรลุถึง การตรัสรู้ที่แท้และสมบูรณ์ด้วยร่างกายนี้
 
มหามุทราในภาวะนี้คือการรู้แจ้งอย่างไร้มลทินของครูอาจารย์ของอินเดีย ( โดยปราศจากข้อยกเว้น ) ได้แก่ ครูผู้ควรบูชาหกท่าน ผู้สูงสุดสองท่าน และมหาสิทธาอีกแปดสิบท่าน เพียงแค่ได้ยินคำว่า มหามุทรา ก็นำไปสู่การสิ้นสุดแห่งสังสาระ
 
อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ตรังโป เทอร์ตัน เชรับ โอเซอร์ บรรยายไว้ว่า
มหามุทราและซอกเซน
ต่างกัน
เพียงคำศัพท์แต่มิใช่ความหมาย
 
ในแง่มุมของมหามุทรา " มูลฐาน " " มรรค " และ " ผล " มหามุทรามูลฐาน คือ แก่นแท้ที่ไม่เกิด ธรรมชาติที่ไม่ถูกกีดขวาง และการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ระบบซอกเซนอธิบายในสามแง่มุม คือ แก่นแท้ ธรรมชาติ และความกรุณา
 
   ๐มรรคมหามุทรา คือ จิตธรรมดา เปล่าๆ ล้วนๆไม่มีสิ่งใดห่อหุ้ม ถูกปล่อยอยู่ในภาวะธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง
 
   ๐ผลมหามุทรา คือ การได้รับธรรมกาย แห่งการไม่ภาวนา โยคะสี่แห่ง มหามุทราคือ เอกัคคตา เรียบง่าย หนึ่งรส และไม่ภาวนา ผลจะเกิดเมื่อ บรรลุถึงธรรมกายแห่งการไม่ภาวนา
 
   ๐เอกัคคตา โยคะแรกของมหามุทรา มีสามระดับ ปฐม มัชฌิมะ และอุดม หรือ ชั้นต้น กลาง สูง ตามลำดับ เอกัคคตาส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมถะ และความก้าวหน้าตามลำดับ ผ่านสมถะมีนิมิต ไม่มีนิมิต และสมถะชนิด ที่พระสุคตทรงยินดี ระหว่างกระบวนการนี้ ความยึดมั่นถือมั่นจะค่อย ๆ ลดลง ขั้นต่อไปคือ..
 
   ๐เรียบง่าย มีความหมายว่า ไม่ยึดติด ระหว่างระดับ ขั้นต้น กลาง และสูง ความยึดติดจะค่อยห่างหายไป ขณะที่ เอกัคคตาเป็นสมถะเสียส่วนใหญ่ เรียบง่ายมักเป็นวิปัสสนา
 
   ๐หนึ่งรส คือ ภาวะที่สมถะและวิปัสสนาผสมกันเป็นเนื้อเดียวปรากฏการณ์ และจิตเกิดร่วมกันเป็นหนึ่งรส บุคคลไม่จำเป็นต้องจำกัดขอบเขตปรากฏการณ์ อยู่ที่หนึ่งและวิญญาณอยู่อีกที่หนึ่ง แต่ความยึดติดด้วยทวิภาวะแห่งปรากฏการณ์ และจิตใจหลอมรวมกัน เป็นหนึ่งรสในมิติที่ไม่เป็นคู่
 
เมื่อเข้าเงียบอยู่ที่เขากัมโป คุรุกัมโปปะ ได้กล่าวกับสาวกว่า " การรวมกัน ระหว่างจิตและปรากฏการณ์คล้ายอย่างนี้ " แล้วท่านก็วาดมือผ่านเสากลางห้อง ส่วนบนและล่างของเสาก็แยกจากกัน ผู้ดูแลกลัวมากคิดว่าหลังคาจะ หล่นลงมา จึงนำหินชนวนมาแทรกกลาง การกระทำของกัมโปปะแสดงว่า ท่านถึง หนึ่งรสระดับสูง ซึ่งโลกและสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์ทวิลักษณ์ ทั้งหลาย รวมกันเป็นหนึ่งรสในโลกแห่งความไม่เป็นคู่ มโนคติที่เป็นคู่ทั้งหลาย เช่นดีและชั่ว บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ สุขสบายและเจ็บปวด ดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ วัตถุแห่งการยอมรับและปฏิเสธ รับและละเลย ความหวังและความกลัว ทุกสิ่งผสมรวมกับเป็นหนึ่งรส ที่ประทับแห่งธรรมกาย 
ที่จุดนี้อาจจะยังมีความชื่นชมในลักษณะแห่งหนึ่งรส ขั้นเหนือขึ้นไปคือ..

   ๐" ไม่ภาวนา " แม้มโนคติเพียงเล็กน้อยของผู้ดู สิ่งถูกดู นักภาวนาและ อารมณ์แห่งการภาวนา ล้วนละลายหายไปจากการก่อร่างของจิต ดังนั้น ธรรมกายแห่ง " ไม่ภาวนา " ก็บรรลุถึงซอกเซนเลย เรียกภาวะนี้ว่า " การดับไปของปรากฏการณ์ขั้นเหนือมโนคติ " ไม่มีการภาวนาและไม่มี การสรรสร้างสิ่งใด
นั่นคือธรรมกาย

 
เมื่อถึงเอกัคคตา ไร้การยึดติด
ระหว่างเรียบง่าย ไม่สุดโต่ง
ไม่ผูกพันกับหนึ่งรส
ไม่ภาวนาอยู่เหนือจิตแบบมโนคติ

ดังนั้นฉันจึงได้ให้โครงร่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับมหามุทราแล้ว
 
ตุลกู เออร์เจน รินโปเช
นากี กัมโป เนปาล ๑๙๘๘

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2555 14:46:51 »





อารัมภบท

มหามุทรา บริสุทธิ์สิ้นเชิงตั้งแต่แรกเริ่ม
ธรรมชาติที่หมดจดจากสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
ปัญญาสูงสุดและสว่างไสวแห่งธรรมกาย
ฉันขอแสดงความเคารพด้วยการ เห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง

 
แม้ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่ในแก่นของมัน
แต่การแสดงออกของมันแสนมหัศจรรย์
ฉันจะอธิบายเพื่อเธอจะเห็นธรรมชาติของตนเอง
ลักษณะของธรรมชาติที่แบ่งแยกไม่ได้

แก่นแท้แห่งคำสอนซึ่งมีมากมายประมาณไม่ได้ของพระพุทธองค์คือ สติปัญญาแห่งตถาคตาซึ่งมีอยู่ในตามธรรมชาติแล้วในสรรพสิ่งทั้งหลาย คำสอนและ ( มรรค ) ยานนานาแบบที่แท้คือคำสอนเพื่อให้เห็นธรรมชาติ นี้ มีประตูสู่ธรรมะสำหรับสรรพสัตว์อยู่มากมายเท่าอุปนิสัยของสรรพสัตว์ เอง นี่เกิดจากพลญาณจากพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในหมู่คำสอนทั้งหลายคือคำสอนที่สูงส่งและลัดสั้นที่สุด และท้ายสุดแห่ง จุดยอดในสายวัชรยานมนตราลับ มีชื่อเลื่องลือไปเช่นพระอาทิตย์และพระจันทร์ คือมหามุทราซึ่งเป็นวิธีที่เลิศสุดและตรงสุด ง่ายสุด ในการเปิดเผยโฉมหน้า ตามธรรมชาติแห่งจิตของเธอ ที่ซึ่งกายทั้งสามปรากฏอยู่แล้ว เป็นการเดินทาง บนถนนหลวงโดยสิทธาและวัชรธรทั้งหลาย ฉันจะอธิบายความหมายใน ประเด็นสำคัญ ๆ ในสามภาค
 
๑ . มหามุทรามูลฐาน ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง ความหมายของหลักธรรม อธิบายย่อ ๆ ในแง่มุมของความสับสนและความหลุดพ้น
 
๒ . มรรคมหามุทรา กระแสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ลักษณาการแห่งทางผ่าน มรรคและภูมิทั้งสิบ อธิบายจากแง่มุมของสมถะและวิปัสสนา
 
๓ . ผลแห่งมหามุทรา ลักษณาการที่สวัสดิภาพของสรรพสัตว์ บรรลุถึงโดยการ เห็นแจ้งตรีกายแห่งพุทธะซึ่งบริสุทธิ์ไร้ราคี และสูงสุด อธิบายในลักษณะสรุป


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2555 14:54:38 »





ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
 
หลักธรรม
 
มหามุทรามูลฐาน ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง ความหมายของหลักธรรม อธิบายย่อ ๆ ในแง่มุมของความสับสนและความหลุดพ้น
 
แก่นแท้ ( natural essence ) ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นสังสาระหรือนิพพาน ไม่ถูกจำกัดด้วยความหมายใด ๆ เป็นอิสระจากขอบเขตแห่งการขยายหรือ ย่อย่น ไม่อาจทำให้เกิดมลทินหรือมัวหมองด้วยถ้อยคำ เช่นน่ายินดีหรือ ไม่น่ายินดี เป็นอยู่หรือสาบสูญ มีหรือไม่มี สัสสตะหรืออุจเฉทะ ตัวตน หรืออย่างอื่น และอื่น ๆ เพราะว่าไม่สามารถระบุด้วยด้วยถ้อยคำใด ๆ แก่นแท้จึงเป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ในรูปแบบใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะแสดง ออกมาในรูปใด แก่นแท้ล้วนไม่มีความมีตัวตนจริง ๆ มันเป็นความว่าง เป็นอิสระจากข้อจำกัดของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลาย เป็นอสังขต- ธรรมธาตุ แต่เบื้องต้นแล้วที่มันเป็นธรรมชาติที่กายทั้งสามแห่งพุทธะ ปรากฏออก และมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า " มหามุทรามูลฐานแห่งแก่นแท้ของ สรรพสิ่ง " คุยหครรภตันตระ ( Guhyagabhatantra ) สอนว่า
 
" แก่นแท้แห่งจิตไม่มีมูลฐานหรือรากเหง้า
มันเป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ทั้งปวง "
 
แก่นแท้นี้ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่ปรากฏเฉพาะในกระแสจิตแห่งปัจเจกคน หนึ่งหรือพระพุทธะองค์หนึ่งเท่านั้น แต่มันเป็นมูลฐานของทุกสิ่งที่ปรากฏ และแสดงตนอยู่ ทั้งสังสาระและนิพพาน
 
เมื่อเธอรู้ถึงธรรมชาติของมัน สำเหนียกสภาวะที่แท้ของมัน เธอคือพระพุทธเจ้า เมื่อเธอไม่รู้ ไม่สำเหนียกมัน และยังสับสน เธอคือสรรพสัตว์ ดังนั้น มันจึงเป็น มูลฐานแก่การท่องเที่ยวไปในสังสาระ และจึงเรียกว่ามูลฐานแห่งสังสาระและ นิพพาน ท่านพรหมมินทร์ สรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า
 
" จิตหนึ่งเดียวนี้เป็นพืชพันธุ์ของทุกสิ่ง
จากสิ่งนี้ มีทั้งสังสาระและนิพพาน "
 
จากแก่นแท้นี้มีการปรากฏรูปแบต่าง ๆ กันมากมาย ขึ้นกับว่ามันถูกรู้หรือไม่ ถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นมูลฐานแห่งกายทั้งสามที่แบ่งแยกไม่ได้ ไม่มีข้อบกพร่องทั้งดีทั้งชั่ว ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงแก่นนี้ได้ สาวกยาน เรียกว่า อสังขตธรรม มันเป็นธรรมชาติมูลฐานขั้นดั้งเดิม
 
ธรรมชาตินี้แสดงตนเป็นกลาง ๆ และไม่แบ่งแยก ไม่ว่าจะรู้จักมันหรือไม่ เรียกกันว่า " มูลฐาน " " อาลยะ " เพราะมันเป็นมูลฐานแก่ทั้งสังสาระและ นิพพาน อาลยะนี้ ไม่ใช่ความไม่มีอะไรเลยและไม่ใช่ความว่างแบบไม่มีเลย เป็นความตื่นรู้ ความสว่างไสว ( ปภัสสระ ) ที่มีอยู่ด้วยตนเองไม่รู้จักสิ้นสุด ความตื่นรู้นี้ซึ่งเรียกว่า " วิญญาณมูลฐาน " เปรียบได้กับกระจกและความ ชัดของมัน



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2555 15:09:59 »





การแยกชั้นปฐม

ต่อไปเป็นการอธิบายการแยกระหว่างสังสาระและนิพพานจากต้นกำเนิดคือ " มูลฐาน "
จากมุมมองด้านปัญญาต่อมูลฐานนี้ สาระของมันคือความว่าง ธรรมชาติ ของมันคือการตืู่้นรู้ และสองสิ่งนี้แยกจากกันไม่ได้ ประกอบเป็นการระลึกรู้ เพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นพุทธะและองค์สำคัญแห่งมรรคจึงเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า " มูลฐานแห่งการกระทำทั้งปวง " " ตถาคตครรภ์ " " ธรรมกายแห่ง การรู้แจ้งในตนเอง " " ญาณแห่งปัญญา " " พุทธะในใจเธอ " และอื่น ๆ การจำแนกชื่อแก่ลักษณะด้านนิพพานเหล่านี้ล้วนมีความหมายเหมือนกัน ลักษณะทางด้านปัญญาเหล่านี้ควรสำเหนียกรู้ด้วยตนเองทุก ๆ คนที่ปฏิบัติ เพื่ออริยมรรค


เนื่องจากความเขลาต่อสิ่งนี้ เธอไม่ตระหนักรู้แก่นแท้ของเธอเอง ไม่รู้ ภาวะตามธรรมชาติของเธอเอง เมื่อเป็นอย่างนี้เธอมืดมัวต่อภาวะของเธอ เรียกว่า " ความเขลาเกิดร่วม " หรือ " ความมืดแต่เบื้องบรรพกาล " เพราะ มันเป็นพื้นฐานที่วุ่นวายและความหลงผิดต่าง ๆ เกิดขึ้น จึงเรียกอีกชื่อ หนึ่งว่า " มูลฐานแห่งอนุสัย " ดังนั้น มันจึงเป็นมูลฐานแห่งความสับสน ของสรรพสัตว์ " ตันตระประตูแห่งการรู้แจ้ง " ( openness of realization tantra ) กล่าวว่า
 
" เนื่องจากการตระหนักรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจากมูลฐานนี้
ความไม่ตื่นรู้อย่างสมบูรณ์แห่งจิต
คือมูลฐานแหางความเขลาและความสับสน "
 
สิ่งที่เกิดร่วมกับความเขลาคือ ทิฏฐิ ๗ เนื่องจากความหลง เช่นภวตัณหา

จากความเขลาเกิดร่วม เป็นบ่อเกิดแห่งอุปทานในตนเองและการระบุ ตัวตน จากตนเองนำไปสู่การมีอุปาทานใน " ผู้อื่น " เมื่อไม่รู้ว่าการแสดง ออกเช่นนี้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ( การแสดงความเป็นบุคคล ) ตนก็ไป ยึดถือราวกับเป็นวัตถุภายนอกอย่างหนึ่ง การสับสนเพราะยังไม่รู้ธรรมชาติ ของอุปาทานในผู้รับรู้และสิ่งถูกรู้ เรียกว่า " ความเขลาแห่งมโนคติ " หรือ " มโนวิญญาณ " เป็นปฏิกิริยาการเข้าใจระหว่าง วัตถุและจิต ว่าแบ่งแยกต่างหากจากกัน และเป็นบ่อเกิดแห่งทิฏฐิ ๔o อันเกิดจากตัณหา เช่น อุปาทาน
 
จากการแสดงออกของมโนวิญญาณ อนุสัยและความสับสนหลายอย่าง เกิดขึ้นและแผ่ขยาย โดยกระบวนการปฏิจจสมุปบาท เช่น กระแสแห่ง กรรม และความไม่รู้ในอาลยะ ทำให้ กาย จิต ถูกปรุงแต่งอย่างสมบูรณ์ วิญญาณทั้งห้า สัญญาห้า เป็นปฏิจจสมุปปันธรรม
 
ปราณใหญ่ทั้ง ๕ และปราณย่อยทั้ง ๕ กลายเป็นพาหะแห่งสังขารเช่นนี้ โดยความเคยชินจะเกิดความยึดถือด้วยความสับสน การปรากฏตัวของเธอ จะเป็นเหมือนกับโลกและผู้อยู่อาศัย จากพื้นฐานนี้ทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกปรุง แต่งขึ้น เรียกอีกชื่อว่า จิตที่เศร้าหมอง มันเป็นกระแสที่ไหลผ่านอายตนะ ทั้ง ๕ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นและอื่น ๆ จึงเรียกอีกชื่อว่า " วิญญาณ ๕ " สิ่งที่เกิดร่วมคือทิฏฐิ ๓๒ อันเกิดจากโทสะ เช่น วิภวตัณหา และอื่น ๆ 

ในวิถีทางนี้ " มูลฐานแห่งอนุสัย " เป็นเสมือนรากเหง้า และอนุทิฏฐิ ๘o เป็นเสมือนกิ่งก้าน ก็เติบโตอย่างช้า ๆ และความสับสนก็ต่อเนื่อง โดยวิถี ทางนี้เธอเดินทางเวียนว่ายในวัฏฏะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่เป็นหนทางแห่ง ความสับสนของสรรพสัตว์ผู้ยังไม่ตื่น

 
เพราะความสับสนนี้ แนวโน้มสู่สังสาระและนิพพานยังคงอยู่ใน " มูลฐาน " ในลักษณะของ " พีชะ " วัตถุที่หยาบทั้งปวง นาฑีทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ปราณะ และพินธุแห่งกายภายใน ตลอดจนถึงปรากฏการณ์ทั้งปวงแห่งสังสาระ และนิพพาน โลกและสรรพสัตว์แห่งภพทั้งสาม ปรากฏออกมาภายนอกใน ลักษณะที่ผูกพันกันและกัน เหมือนกับวัตถุในความฝัน เป็นมายาปรากฏเพียง ผิวเผิน ไม่มีจริง เพราะความเคยชินที่จะยึดมั่นถือมั่นว่าเที่ยงแท้ รวบยอดและ ยึดฉวยว่าเป็นจริงแท้ เธอประสบกับความยินดียินร้ายแห่งภพทั้งสามและภูมิ ทั้งหก เธอหมุนวนไปในกระแสแห่งเหตุและผลของสังสาระ ลักษณะของ สรรพสัตว์ล้วนเป็นเช่นนี้



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2555 15:16:33 »





แก่นแท้มั่นคงยั่งยืน

แม้ว่าจะสับสนและท่องเที่ยวไปในสังสาระ ธรรมชาติแห่งตถาคตครรภ์ แก่นแท้แห่งการตื่นรู้ ไม่เคยบกพร่องหรือลดลงแม้แต่น้อยนิด taknyi tantra กล่าวว่า
 
" สรรพสัตว์ทั้งหลายคือพุทธะ
แต่ถูกปกคลุมแล้วด้วยเครื่องเศร้าหมอง "

 
เมื่อกล่าวอย่างที่สุด ธรรมชาติดั้งเดิมนี้ปรากฏอย่างแจ่มชัดในลักษณะแห่ง ตรีกาย ในที่สุดก็ยังคงปรากฏเป็นตรีกายเมื่อบรรลุอริยผลแล้ว เมื่อมลทินถูก ชำระและความรู้แจ้งสองประการสมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ ลักษณะทั้งคู่แห่ง ความสับสนและความเป็นอิสระ เป็นสลากแก่สภาวะที่ยังไม่เป็นอิสระจาก มลทินแห่งความหลงและอวิชชา uttara tantra ( อุตรตันตระ ) กล่าวว่า
 
" มันเป็นอย่างเมื่อก่อนนี้ และจะเป็นต่อไป
เป็นธรรมชาติที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง "

 
แม้ธรรมชาติแห่งจิตจะบริสุทธิ์อยู่เอง เหมือนอย่างแก่นแท้แต่ดั้งเดิมของมัน ความสับสนชั่วขณะ หรือความเขลาร่วมซึ่งปิดบังเธอเกิดจากเธอเอง คล้าย สนิมเคลือบทองคำ กรรมวิธีชำระความมืดมัวมีสอนอยู่มากมาย แก่นแท้นี้ ซึ่งเป็นปัญญาที่มีอยู่เอง ไม่เคยแปรเปลี่ยนในกาลทั้งสาม และปราศจาก มโนคติทั้งปวง เป็นปัญญาที่แท้และจริง มรรคทั้งหลายจึงรวมอยู่ใน " มรรคและปัญญา " นั่นเป็นการตระหนักรู้ของผู้ชนะข้าศึกคือกิเลสแล้ว
 
เธอคิดว่าเป็นไปได้หรือที่ " มูลฐาน " เพียงอย่างเดียวจะแยกเป็นได้ทั้ง สังสาระและนิพพาน มันก็เหมือนกับการบูร ซึ่งมีประโยชน์และโทษใน การรักษาโรคก็ได้ แล้วแต่เหตุจากความเย็นหรือร้อน นอกจากนี้ สารพิษ ซึ่งปกติทำให้ถึงตาย สามารถใช้เป็นยาได้ถ้าใช้โดยชาญฉลาด ทำนอง เดียวกัน เธอก็หลุดพ้นเมื่อตระหนักและสำเหนียกธรรมชาติเดียวแห่ง " มูลฐาน " และหลงอยู่เมื่อไม่ตระหนักรู้ " มูลฐาน " และเข้าใจว่าเป็น ตัวตน ดังนั้น " มูลฐาน " จึงเปลี่ยนเพราะรู้ หรือ ไม่รู้ ท่านนาคารชุน กล่าวว่า
 
" เมื่อปกคลุมด้วยตาข่ายแห่งอารมณ์วุ่นวาย
บุคคลก็เป็น ' สรรพสัตว์ '
เมื่อเป็นอิสระจากอารมณ์วุ่นวาย
บุคคลก็เป็น ' พุทธะ ' "
 
ด้วยเหตุนี้ การรับรู้ปรากฏการณ์ทั้งปวงด้วยวิธีที่ฉลาดจากคำสอนใน มหามุทรา เธอจะสามารถดำรงรักษาความมั่นคงในธรรมชาติแห่ง " มหามุทรามูลฐาน " เธอสามารถขจัดมนทินจากความคิดที่สับสนด้วย มรรคมหามุทรา และจับฉวยตรีกาย ซึ่งเป็นผลมหามุทรา ดั้งนั้น เธอเปิดประตูสู่กำไรสองต่อ บุคคลผู้ถูกกระแสกรรมบงการอยู่ควร ค้นหาครูอาจารย์ที่สามารถ และควรปฏิบัติตาม เช่น สัทธาปรูฑิตาปฏิบัติ ตามมณีภัทร หรือ นโรปะปฏิบัติตามติโลปะ เธอควรทำให้สุกงอมโดย วิธีเพิ่มพลัง ( empewerment ) ซึ่งเป็นประตูสู่วัชรยาน และควรทำความเพียรกระทั่งมีผลปรากฏโดยไม่หยุดเพื่อหาความสบาย เกียจคร้าน หรือ ว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องเล็กน้อย นี่เป็นสิ่งมีค่าในฐานะคำแนะนำ ชั้นต้นเพื่อการหลุดพ้น
 
กล่าวโดยเฉพาะ โดยความอุทิศตนต่ออาจารย์อย่างเต็มที่ และควรเน้นที่ การปฏิบัติโดยปราศจากความเสแสร้งแกล้งทำ นอกจากนี้ เธอควรมั่นใจ ที่จะได้รับพรด้วยความกรุณาอันอบอุ่นจากท่าน นี่คือแก่นอันศักดิ์สิทธิ์ใน ประเพณีของวิทยาธรนิกายกาจู มหาสันติธาราตันตระ ( great pacifying river tantra ) กล่าวว่า
 
" ปัญญานี้ ไม่สามารถบรรยายได้
บรรลุได้โดยการปฏิบัติการสะสม
และการขจัดกิเลสเครื่องปกปิด
และการให้พรจากอาจารย์ผู้รู้แจ้ง
ควรเข้าใจว่าเป็นการหลงทางถ้าใช้วิธีอื่น "

 
ทีนี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติเป็นหลัก ไม่ว่าสายปฏิบัติใดก็ตาม หยั่งถึงการ ภาวนาจากหลักธรรม หรือหยั่งถึงธรรมจากการภาวนา สิ่งสำคัญยิ่งยวด คือการรับการให้พรจากอาจารย์


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2555 15:24:26 »


      
         * The 16th Gyalwa Karmapa

   ธรรมที่แท้

โดยทั่วไป ยานที่ต่างกันและสำนักวิชามากมาย มีวิธีต่างกันมากมายในการ รองรับหลักธรรม และต่างก็มีหลักพื้นฐานของตน เพราะทุกยานล้วนแสดง ถึงการเผยแผ่ธรรมอันประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระชินสีห์ เราจะไม่ วิพากษ์ว่าดีหรือไม่ดี บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เพียงแต่ยินดีเท่านั้น
 
ในหัวข้อนี้ หลักธรรมก็คือ แก่นแท้แห่งจิต ปรากฏอยู่เองตั้งแต่เริ่มต้น ใน ลักษณะที่บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ เป็นอิสระ ( วิมุตติ นิพพาน ) ในกาละทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต จากการปรุงแต่งแห่งการเกิด ตั้งอยู่ และดับ สลายไป และลักษณะเช่นมาและไป แก่นแท้แห่งจิตไม่มัวหมองเพราะมโนคติ แห่งอุปาทานในสังสาระและนิพพาน และมรรค มันไม่สามารถขยายและย่นย่อ อย่างเช่น มีอยู่หรือไม่มีอยู่ เป็นอยู่หรือไม่เป็นอยู่ ถาวรหรือไม่ถาวร ดีหรือชั่ว สูงหรือต่ำ มันอยู่เหนือการจับเท็จหรือพิสูจน์ ยอมรับและปฏิเสธ และการ เปลี่ยนแปลงแห่งปรากฏการณ์ทั้งปวงในสังสาระและนิพพาน
 
ธรรมชาติที่แท้ดั้งเดิมหรือสภาวะของมันเป็นอิสระในลักษณะแห่งรูปลักษณ์ และความว่างที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ และเป็นเอกภาพที่กระจ่างชัดแห่งความ สว่างไสวและความว่าง มันเป็นความอิสระที่เปิดโล่งและแผ่ซ่านไปทั่วอย่าง สมบูรณ์แม้ในธรรมที่เกิดเอง นี่เป็นแกนแห่งหลักธรรม เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของมัน ปรากฏอยู่เองแต่ดั้งเดิม และเป็นแก่นแห่งสังสาระและนิพพาน ไม่มี หลักธรรมอื่นนอกเหนือจากนี้อีก
 
การเห็นแจ้งความบกพร่องเพราะการเข้าใจแบบทวิลักษณ์ โดยการเข้าใจ ลักษณะเดิมแท้นี้เรียกว่า " การเห็นแจ้งหลักธรรม " " การเห็นแจ้งแก่นแท้ แห่งจิต " หรือ " การเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่ง " ตามที่กล่าวไว้ใน Doha Kosha
 
" เมื่อรู้แจ้ง ทุกสิ่งก็เป็นดังนั้น
ไม่มีใครจะรู้มากไปกว่านั้น "

 
ตามความจริงแล้ว ทั้งหมดทั้งสิ้นแห่งรูปลักษณ์และความดำรงอยู่ สังสาระ และนิพพาน ล้วนเป็นการแสดงตัวของตรีกาย จิตของเธอก็เช่นกัน มีธรรมชาติ แห่งตรีกายและตัวมันก็ไม่อยู่ต่างหากไป จากปรมัตถธรรมธาตุ ธรรมที่เป็น สังสาระทั้งปวง ล้วนมีอยู่ในคุณลักษณะของจิต ธรรมที่เป็นมรรคล้วนแล้วมีอยู่ ในหลักธรรม ธรรมที่เป็นผลมีอยู่ในกำลัง ( อินทรีพละ ) ของจิต
 
แก่นแท้ที่ไม่เกิดของจิตคือ ธรรมกาย การแสดงออกโดยไม่ติดขัดเรียกว่า สัมโภคกาย การทำหน้าที่แปรเปลี่ยนในลักษณะใด ๆ ก็ตามคือ นิรมาณกาย ตรีกายนี้มีอยู่เองและเป็นสิ่งที่แยกจากกันเป็นส่วน ๆ ไม่ได้ การตระหนักและ การดำรงอยู่ในภาวะนี้เรียกว่าการรู้ธรรมแท้ การรู้อย่างอื่น ๆ ความเข้าใจหรือ การภาวนาที่ใช้ความคิดทึกทักเอา หรือการอ้างถึงความเป็นคู่ เช่น เป็นอิสระ หรือไม่เป็นอิสระ ธรรมดาหรือพิเศษ ดีหรือเลว และอื่น ๆ ไม่มีสอนใน
มหามุทรา

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4807.0.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2555 15:26:34 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น: พุทธศาสนาวัชรยาน การปฏิบัติแบบโพธิสัตว์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประทีปแห่งมหามุทรา :ภาคสอง มรรคมหามุทรา สมถะและวิปัสสนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2079 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2555 15:07:33
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ข้อเด่นและข้อด้อย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2103 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:37:53
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ปัญจมรรค และ ทศภูมิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2174 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:56:23
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ประสบการณ์และการรู้แจ้ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 7 3821 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 17:34:02
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่สาม ผลมหามุทรา ตรีกายแห่งพุทธะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 4961 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2555 15:59:13
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.468 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 20:55:05