[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 22:42:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทรงปรารภการสอนพระราชา (ราโชวาทชาตกํ)  (อ่าน 2171 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2555 01:55:10 »




ทุกนิบาตชาดก
๑. ทัฬหวรรค
๑. สองราชาประกวดความดี (ราโชวาทชาตกํ)

   [๑๕๑]    ทฬฺหํ ทฬฺหสฺส  ขิปติ ...    พลฺลิโก  มุทุนา  มุทํ...ฯ
   [๑๕๒]   อกฺโกเธน  ชิเน  โกธํ   อสาธํ  สาธุนา  ชิเน
            ชิเน  กทริยํ  ทาเนน   สจฺเจนาลิกวาทินํ
            เอตาทิโส  อยํ  ราชา   มคฺคา  อุยฺยาหิ  สารถีติ ฯ

ความนำ
      พระพุทธเจ้า เมื่อประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน ทรงปรารภการสอนพระราชา ได้ตรัสพระธรรมเทศนาคือคาถาที่ปรากฏ  ณ เบื้องต้น 

ปัจจุบันชาติ
          การสอนพระราชานั้นมีรายละเอียดในเตสกุณชาดก จัตตาลีสนิบาต เรื่องเกิดขึ้น ในวันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าโกศลทรงทำการรื้อคดีความซึ่งผู้พิพากษาได้วินิจฉัยอย่างมีอคติ ทรงตัดสินใหม่ด้วยความยุติธรรม จากนั้น พระองค์ได้เสวยพระกระยาหารเช้าแล้วเสด็จไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อกราบทูลเรื่องคดีความให้ทรงทราบ
      พระบรมศาสดาตรัสว่า “ขอถวายพระพร ชื่อว่าการตัดสินคดีความโดยทำนองคลองธรรมเป็นความดีและเป็นทางสวรรค์โดยแท้ ก็ข้อที่มหาบพิตรได้รับโอวาทจากสำนักของอาตมภาพแล้วทรงวินิจฉัยคดีโดยถูกต้องไม่น่าอัศจรรย์เลย แต่การที่พระราชาทั้งหลายในกาลก่อนทรงสดับโอวาทของบัณฑิตผู้ไม่ได้เป็นสัพพัญญูแล้วตัดสินคดีความอย่างถูกต้อง เว้นจาก อคติ ๔ บำเพ็ญทศพิธราชธรรม บำเพ็ญทางสวรรค์นี้แหละน่าอัศจรรย์กว่า” อันพระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนาแล้ว ทรงนำเรื่องอดีตชาดกมาสาธกยกอธิบายให้ฟัง ดังต่อไปนี้

อดีตชาติเนื้อหาชาดก
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระองค์มีพระราชโอรสพระนามว่าพรหมทัตกุมาร ต่อมา พระองค์ได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาผู้สวรรคตแล้ว ทรงทำหน้าที่ตัดสินคดีความด้วยความยุติธรรมยิ่ง ทำให้เหล่าอำมาตย์ผู้พิพากษาดำเนินรอยตามพระองค์อย่างเคร่งครัดจนทำให้เรื่องราวร้องทุกข์หมดไป ผู้พิพากษาทั้งหลายนั่งอยู่ในโรงศาลก็ไม่มีคดีความใด ๆ ให้ต้องวินิจฉัยคดีเลย จนโรงศาลต้องกลายเป็นที่รกร้าง
พระราชาทรงดำริว่า เราครองราชย์โดยธรรมจนทำให้ไม่มีเรื่องราวร้องทุกข์ให้ต้องตัดสินอีกเลย บัดนี้ เราควรสืบดูให้แน่ว่า มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมของเราที่เบียดเบียนชาวบ้านบ้างหรือไม่? ถ้ารู้โทษนั้นจักได้ละเว้นเสีย ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ก็ทรงสืบสวนโทษของพระองค์อยู่ตลอดเวลา
ในชั้นแรก พระองค์ไม่พบคำตำหนิในหมู่ข้าราชบริพารจึงทรงดำริว่า เข้าใจว่า คนเหล่านี้คงจะกลัวเราจึงไม่กล้ากล่าวตำหนิโทษเรา จึงให้ตรวจสอบต่อไปทั้งภายในและภายนอกพระนคร ก็พบแต่คำสรรเสริญอย่างเดียว เพื่อความรอบคอบพระองค์จึงเสด็จประพาสต้นโดยการปลอมพระองค์ไม่ให้ใครรู้ตรวจสอบโทษของพระองค์ไปจนถึงชายแดน เมื่อไม่พบคำตำหนิใด ๆ จึงทรงบ่ายพระพักตร์กลับจากชายแดนมาตามทางหลวง


ขณะนั้น เป็นเวลาเดียวกับพระเจ้าโกศลพระนามว่าพัลลิกะทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรมออกตรวจสอบพระนครเช่นเดียวกับพระองค์ กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้ประทับรถม้ามาประจันหน้ากันที่ทางเกวียนแห่งหนึ่งซึ่งไม่สามารถจะหลีกกันได้
สารถีของพระราชาทั้งคู่ต่างก็สั่งให้อีกฝ่ายหนึ่งหลีกไปด้วยอ้างถึงองค์เหนือหัวที่ประทับนั่งในรถม้า เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน สารถีของพระเจ้าพาราณสีจึงนึกถึงอุบายอย่างหนึ่งได้ จึงทำการสอบถามถึงวัย คุณวุฒิ และชาติตระกูลต่าง ๆ ปรากฏว่าพระราชาทั้งคู่ มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน จึงต้องหันมาถามในเรื่องคุณความดีมีศีล เป็นต้น
สารถีของพระเจ้าพัลลิกะจึงประกาศโทษของพระราชของตนด้วยนึกว่าเป็นคุณงามความดีด้วยคาถาแรกว่า

 “พระเจ้าพัลลิกราชทรงชนะคนกระด้างด้วยความกระด้าง
ทรงชนะคนอ่อนโยนด้วยความอ่อนโยน  ทรงชนะคนดีด้วยความดี
ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความไม่ดี พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่นนั้น
ดูก่อน นายสารถี ขอท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิด” ดังนี้

   ลำดับนั้น สารถีของพระเจ้าพาราณสีจึงกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงฟังพระคุณของพระราชาของเราแล้ว” ครั้นแล้วได้กล่าวคาถาที่สองว่า

   “พระเจ้าพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี  ทรงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำสัตย์  พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่นนั้น
ดูก่อน นายสารถี ขอท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิดฉะนั้น” ดังนี้

ความหมายของสองคาถาข้างต้น
      นายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะอธิบายคุณลักษณะของเจ้านายของตนว่า “พระราชาของเราใช้ทุกวิธีทางในการจะเอาชนะคน เช่น ถ้าเป็นคนไม่ดีก็ใช้ความชั่วเข้าชนะ แต่ถ้าเจอคนดีก็ใช้อุบายที่ดีในการเอาชนะใจคนเหล่านั้น เป็นต้น”
      ส่วนนายสารถีของพระเจ้าพาราณสีได้กล่าวอธิบายคุณลักษณะเจ้านายของตนว่า “พระราชาของเรา ใช้ความดีมีประการต่าง ๆ ในการชนะความชั่วมากมาย”
      เมื่อนายสารถีของพระเจ้าพาราณสีกล่าวพรรณนาคุณสมบัติของพระเจ้าพรหมทัตเสร็จ พระเจ้าพัลลิกะจึงทรงยอมรับในคุณความดีของพระเจ้าพรหมทัตว่ามีเหนือพระองค์ จึงมีรับสั่งให้นายสารถีของพระองค์ถอยรถถวายทางแด่พระเจ้าพาราณสี
       พระเจ้ากรุงพาราณสีจึงได้ถวายโอวาทแด่พระเจ้าพัลลิกะ แล้วเสด็จกลับไปยังกรุงพาราณสี ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์ได้เข้าสู่สวรรค์ ฝ่ายพระเจ้าพัลลิกะทรงรับโอวาทแล้ว ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปสู่สวรรค์เช่นเดียวกัน
        พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า “นายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะในครั้งนั้นได้กลับชาติมาเกิดเป็นพระโมคคัลลานะ พระเจ้าพัลลิกะได้มาเป็นอานนท์ สารถีของพระเจ้าพาราณสีได้มาเป็นสารีบุตร ส่วนพระราชาคือตถาคตเอง ฉะนี้แล”

สรุปสุภาษิตจากชาดกนี้
       อวดเก่งเป็นสมบัติของคนโง่ อวดโก้เป็นคุณสมบัติของคนจน

วิเคราะห์แนวคิดเชิงจริยธรรมอันเป็นหัวใจหลักในชาดกนี้
      ชาดกนี้ชี้ให้เห็นถึงความยุติธรรมเป็นบ่อเกิดแห่งความดีงามและความมั่นคงของรัฐ ผู้นำจึงต้องมีความเที่ยงธรรมเป็นคุณสมบัติแรกเพื่อป้องกันความวุ่นวายอันเกิดจากสิ้นศรัทธาในระบบรัฐและนำไปสู่การปฏิวัติ
      อีกประการหนึ่ง อุดมการณ์ของผู้นำก็จะกลายเป็นนโยบายของรัฐได้ ดังนั้น           จึงควรปรับอุดมการณ์ให้สอดคล้องกับหลักธรรม เหมือนที่พระราชา ๒ พระองค์วินิจฉัย                  หลักจริยศาสต์คือความดีและชั่วที่ต่างกัน จนนำไปสู่การประกวดแข่งความดีกัน
          พระราชาพระองค์หนึ่งมีความเห็นว่า เพื่อเป้าหมายไม่ต้องคำนึงถึงวิธีการ ในขณะที่พระราชาอีกพระองค์หนึ่งเห็นว่า คำว่า ดี ต้องมาจาก ๓ ดี คือ ๑. เจตนาที่ดี จากนั้น จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อมาคือ  ๒. วิธีการที่ถูกต้อง  ขั้นสุดท้ายคือ ๓. ผลที่ออกมาต้องดี ทำได้ดังนี้ จึงจะเรียกว่าทำดีถูกดี
     ในชาดกนี้มีการแข่งขันกันในเรื่องนโยบายของรัฐว่าของใครจะมีนโยบายที่ดีกว่ากัน พระเจ้าโกศลนึกว่าคุณสมบัติของพระองค์เป็นความดีสูงสุด เข้าตำราตามสุภาษิตที่ได้ยกไว้            แต่เมื่อได้พบคนดีที่มีความเป็นสัมมาทิฎฐิจึงทำให้พระองค์ต้องยอมรับด้วยความจริงใจ ฯ
      
๒๑/๕/๒๕๕๑

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.492 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 06:17:47