[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 16:37:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชนะความโกรธด้วยการให้อภัย  (อ่าน 2755 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2553 18:26:03 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>





ชนะความโกรธ ด้วยการให้อภัย มันเริ่มต้นจากความไม่พอใจ อรติ แปลว่า ความไม่พอใจ บางทีแปลว่า ความริษยา ปฏิฆะ ความขัดเคืองหงุดหงิด โกธะ โทสะพลุ่งพล่าน คิดประทุษร้าย ถ้าทำได้ก็ทำไป ทำด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง โกธะ คือขุ่นมัวหรือที่เรียกว่าโกรธ โกรธนั้นเป็นภาษาที่ยังไม่ได้แปล โกรธนี่ยังไม่ถึงกับลงมือแต่ว่าด่าก่อน คือขุ่นอยู่ภายใน ยังไม่แสดงออกทั้งกาย วาจา ใจ แต่ถ้าโทสะแล้วลงมือเลย โทสะนั้นพลุ่งพล่านออกมา มันกลายเป็นในระดับพฤติกรรม ข้างต้นกว่านั้นมันก็ยังอยู่ใน พวกปริยุฏฐานกิเลส พวกกลุ้มรุมอยู่ในจิตใจถ้าทำได้ก็ทำไป ถ้า ทำไม่ได้ก็ผูกพยาบาทกันไป คราวหน้าจะเล่นงานให้สะใจ อันนี้เป็นพยาบาท พอเป็นพยาบาทก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล เป็นกรรมบถขาด ขาดตรงที่พยาบาท เพียงแต่โกรธ ก็ยังไม่ขาดโทสะถ้ายังไม่กระทำก็ยังไม่ขาด แต่ถ้ามาถึงพยาบาท ศีลกรรมบถก็ขาด เพราะว่ามันมีมโนกรรมอยู่ตัวหนึ่ง คือพยาบาท อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ อันนี้พูดถึงกระแสสายของความโกรธ
คราวนี้ก็เอาชนะ เอาชนะความโกรธด้วยการให้อภัย ก็ นึกว่าคนเราทุกคนมีข้อบกพร่อง เขาก็มีข้อบกพร่อง คนอื่นก็มี ข้อบกพร่อง คนเราดีไม่ทั่วชั่ว
ไม่หมด บางส่วนดีบางส่วนไม่ดี ก็ให้อภัยไป พยายามให้อภัยไป เอาชนะความโกรธได้ด้วยการให้อภัย คนเก่ง ๆ นักปราชญ์ เป็นนักให้อภัยทั้งนั้น พระพุทธเจ้า พระเยซู มหาตมะ คานธี หรือใครที่เป็นคนทางด้านนี้ เขาเป็นนักให้อภัย ให้อภัยแล้วใจสบาย ความโกรธก็หมดไปด้วย
เราควรจะให้อภัยคนเช่นไร ให้อภัยแก่คนที่ควรให้อภัย ถ้าเผื่อว่าต้องเอาโทษ ก็ต้องลงโทษตามสมควร คือถ้าเขาทำผิดก็ต้องลงโทษ ไม่ใช่ให้อภัยเรื่อยไป อย่างนั้นไม่ได้ มันผิดหลักการปกครอง หลักการปกครองมันอยู่ที่ว่า ลงโทษคนที่ควรลงโทษ ให้รางวัลสำหรับคนที่ควรให้รางวัล ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง คนที่ทำความผิดเป็นอาจิณ เราก็อภัยอยู่เรื่อยอย่างนี้ใช้ ไม่ได้ พลอยทำให้เขาเสีย ถ้าเป็นลูกก็ทำให้เขาเสีย เราต้องไม่ประพฤติธรรมให้คนอื่นเขาเสีย อย่างเมตตากรุณาก็เป็นการฆ่าความโกรธ ละความโกรธ แต่เราต้องไม่เมตตากรุณาจนเสียความ ยุติธรรม ความยุติธรรมมันเว้นอคติ ไม่มีอคติ เว้นอคติ 4 ก็คือ ความยุติธรรม ถ้าบอกว่าใช้เมตตาด้วยอคตินี่ไม่ได้เลย เพราะว่า เป็นลูกของเรา เป็นลูกน้องของเรา ต้องใช้เมตตาอย่างนี้ทำให้ เสียความยุติธรรม ถ้ามีอคติแล้วเสียความยุติธรรม
ถ้าเผื่อ 2 อย่าง คือ เมตตากรุณากับความยุติธรรมมา เผชิญหน้ากัน หมายความว่าถ้าจะประพฤติเมตตากรุณา ก็จะเสีย ความยุติธรรม ถ้าตั้งอยู่ในความยุติธรรม ก็จะเสียความเมตตา กรุณา อย่างนี้ให้เลือกเอาอย่างไร อันนี้ทางจริยศาสตร์ท่านให้ตั้งอยู่ ในความยุติธรรม ยอมเสียเมตตากรุณา ความจริงเมตตากรุณามัน แฝงอยู่ในความยุติธรรม คือเมตตาต่อเขา ไม่อยากให้เขาเสียมาก ไปกว่านั้น ก็เลยทำไปด้วยความยุติธรรม ดูเหมือนว่า
ไม่มีเมตตากรุณา ความจริงเมตตากรุณามันก็แฝงอยู่ในความยุติธรรมนั่นแหละ แต่บางทีก็ทำไปด้วยความเมตตากรุณา ให้อภัยแล้วก็เสียความยุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น พวกเราเป็นครู ถ้านักเรียนส่งข้อสอบในการสอบ เราก็มีเมตตากรุณากับนักเรียน เราก็ให้ A หมดเลย สงสารให้ A หมด
เลย ตอบผิด ตอบถูก ตอบดี ตอบปานกลาง ก็ A หมด อย่างนี้มันเสียความยุติธรรม คนที่ตั้งใจเรียนดีได้ A ก็ไม่ยุติธรรม เพราะคนที่ไม่เรียนเลยได้ A คนที่ได้ A โดยไม่ควรได้ก็จะเสียความนับถือเอาด้วย



.....................ขอเชิญดาวน์โหลดไฟล์ตามอัทยาศัย..........................






Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2553 19:39:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2553 18:27:49 »



เพราะฉะนั้น เรื่องเมตตากรุณาจึงต้องมองถึงความยุติธรรม ด้วย เมตตากรุณาที่เสียความยุติธรรมนี่ใช้ไม่ได้เลย ต้องดำรงรักษาความยุติธรรมเอาไว้ ถ้าเผื่อมันมาเผชิญหน้ากัน การละความโกรธด้วยการให้อภัย การให้อภัยในที่นี้ก็จะต้องมีความยุติธรรมหรือตัวอุเบกขาเข้ามากำกับด้วย อุเบกขาไม่ใช่เฉย ๆ เป็นตัวเว้น อคติ เมตตาเกินอุเบกขา กรุณาเกินอุเบกขา มุทิตาเกินอุเบกขา ถ้าอย่างนี้ก็เสียความยุติธรรม อุเบกขาเป็นธรรมะตัวรักษาธรรม เมตตา กรุณา มุทิตาเป็นการรักษาคน แต่อุเบกขาเป็นการรักษาธรรม ถ้าไม่เสียความยุติธรรมก็ใช้ได้ ถ้าเสียความยุติธรรมก็คง ไม่ได้
ความโกรธ ลองดูเข้าไปในคุก คนในคุกนี่ ความโกรธ ความโลภ ความหลง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสามอย่างรวมกันมันส่งเข้าไป แล้วก็มองไปทางไหนก็ดูเหมือนว่า เห็นแต่คนที่ลำบาก ก็กิเลส 3 ตัวนี้เป็นตัวก่อตั้ง แต่ถ้าโกรธจนระงับไม่อยู่ก็ต้องลำบาก สุดแล้วแต่ตัวไหนจะออกหน้า ตัวไหนเป็นแรงหนุนทีนี้มองดูไปอีกแง่ว่าทรัพย์สมบัติ ชีวิต แล้วก็เวลาที่มีค่า ของมนุษย์ ก็ถูกทำลายล้างผลาญไปเพราะความโกรธ โลภ หลง มากมายเหลือเกิน ในที่นี้เน้นเรื่องความโกรธนะครับ หรือว่าเน้นเรื่องความหลงด้วยก็ได้ พวกนักการพนันนี่เพราะความหลง หลงคิดว่าเล่นการพนันแล้วจะรวย ปรากฏว่าพออยากรวยก็เกิดความโลภขึ้นมา เล่นไปแล้วเกิดเสียขึ้นมาก็เกิดความโกรธ ยิงกัน โกงกัน ก็กล้าเสี่ยง พวกนี้กล้าเสี่ยง กล้าได้กล้าเสีย กล้าทำ ทีนี้มองไปอีกแง่ว่ากุศลกรรมหรือความดี ก็ไม่ต้องเสี่ยงเลย เกิดผลดีอย่างเดียว แต่ว่าทำไมคนจึงไม่ค่อยกล้าทุ่มตัวลงไปให้หมดตัว ถ้าถือตาม พระพุทธภาษิตก็ได้นะครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน คนส่วนมากเป็นคนชั่ว เป็นคนทุศีล
เหมือนกับที่สญชัยปริพาชกพูดกับพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรว่า “คนฉลาดก็ไปหาพระพุทธเจ้า คนโง่ก็มาหาเรา คนโง่ในที่นี้ก็คือคนทุศีล ตราบใดที่คนโง่ยังมาหาเราอยู่ ไม่ต้องกลัวว่าจะอดตาย อยู่กับคนโง่




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2553 18:49:28 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2553 18:29:59 »





บางคนบอกว่า หาว่าผมโง่ ผมโง่ผมมีเงินเยอะได้อย่างไร คนโง่นี่เป็นคนมีเงินก็ได้ เป็นคนจนก็ได้ อย่างพราหมณเอกสาฎก
เขามีผ้าผืนเดียว สุดท้ายก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จนก็ฉลาด
ได้ หรือนางวิสาขาถือว่าเป็นคนรวยก็ฉลาด แต่ว่าพ่อผัวเป็นคนรวย
ก็โง่ เรียกว่าการที่ร่ำรวยหรือว่าเรียนสูง ๆ ไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเป็นคนโง่หรือคนฉลาดในความหมายของศาสนาพุทธ
ถือตามพระสูตรบางพระสูตรที่ท่านกำหนดไว้ พระมหาโกฏฐิตะถามพระสารีบุตรว่า คนเช่นไรเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญาดี พระสารีบุตรตอบว่าไม่รู้อริยสัจตามความเป็นจริงเรียกว่า คนมีปัญญาไม่ดี เมื่อรู้อริยสัจตามความเป็นจริงแล้วเรียกว่าเป็นผู้มี ปัญญาดี ถ้าเอาตรงนี้เป็นหลัก คนก็มีปัญญาน้อยเหลือเกิน เพราะว่ารู้อริยสัจตามความเป็นจริงนี่รู้ยาก ต้องละสมุทัยด้วย รู้แจ้ง นิโรธ รู้ทุกข์ตามความเป็นจริง แล้วมรรคก็เจริญได้บริบูรณ์ด้วย สมุทัยที่ควรละก็ละได้ด้วย เรียกว่ารู้จริง อันนี้กำหนดอย่างสูง ถ้าเอาตามมาตรฐาน คนโง่ก็ยิ่งมากขึ้น
ทีนี้ก็มีคนแย้งว่า ถ้าโลกมีแต่คนชั่วป่านนี้โลกคงแตกไป แล้ว แสดงว่าโลกนี้มีคนดีมาก โลกจึงอยู่ได้ มันก็อยู่ได้ แต่มัน ก็อยู่อย่างเลอะ ๆ อยู่อย่างรบราฆ่าฟันกัน ไม่ได้อยู่อย่างสะอาด



.... (:LOVE:)ข้อธรรมคำสอนของอาจารย์ วศิน อินทสระ.... รัก


http://forums.212cafe.com/boxser/



................................คำอนุโมทนา............................



ขอกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้เป็นปัจจัยได้เกื้อหนุน บิดา มารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้มีพระคุณ  บูรพคณาจารย์ เหล่าสรรพสัตว์ทุกภพภูมิ เจ้ากรรม  นายเวรทุกภพ - ชาติ เหล่าเทวา พระยายมราชเจ้า พระยามัจจุราชเจ้า พระแม่คงคา พระแม่ธรณี สัตว์มีเท้า สัตว์ไม่มีเท้า เหล่าวิญญาณไร้ญาติ เหล่านาคี หมู่เปรต หมู่มาร ขอให้สงบเย็นกายปราศจากกรรมทุกข์เข็ญนา ๆ ประการรอดพ้นภัยพิบัติทั้งปวงและอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันเทอญ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2553 19:37:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: เกิด กุศล อกุศล ธรรมมะ ใน แต่ล่ะ วัน dhamma บางครั้ง ให้ อภัย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.299 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มกราคม 2567 08:38:42