[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:25:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประทีปแห่งมหามุทรา :ภาคสอง มรรคมหามุทรา สมถะและวิปัสสนา  (อ่าน 2074 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 ตุลาคม 2555 12:24:04 »



               

                     ภาคสอง มรรคมหามุทรา

สมถะและวิปัสสนา
" ภาวนาแห่งมรรคมหามุทรา อธิบายสมถะและวิปัสสนา ข้อผิดพลาด และคุณภาพ ภาวนา หลังภาวนา ความเข้าใจผิด วิธีเดินไปตามมรรค และอื่น ๆ "
       คำว่า ภาวนา ที่ใช้กันในสายปฏิบัติต่าง ๆ ล้วนมีความหมายแตกต่างกัน ได้มากมาย แต่ในที่นี้หมายถึงการลุถึงจิตในสภาวะธรรมชาติของมัน ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว เธอไม่ภาวนาในการสร้างสิ่งใดขึ้นมาในใจ เช่น วัตถุที่มีสีและรูปทรงโดยเฉพาะ หรือไม่ใช่การภาวนาโดยการใคร่ครวญ ด้วยเจตนาขณะที่กดการคิดการรับรู้ อย่างเช่น การสร้างความว่าง ( หลอก ๆ ) ภาวนาหมายถึงการดำรงอยู่ในภาวะตามธรรมชาติของจิตโดยไม่ปรุงแต่ง สิ่งใดขึ้นมา

กล่าวอย่างเจาะจง จิตมีความสามารถและความฉลาดอยู่มากมาย บุคคล พวกมีอินทรีย์แก่กล้า ไหวพริบดี ซึ่งเคยปฏิบัติมาก่อน ย่อมสามารถระลึก ถึงแก่นแท้ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติชนิดมีขั้นตอนด้วยสมถะ และวิปัสสนา แต่คนพวกอื่น คนธรรมดาต้องแนะนำไปตามลำดับ ดังนั้น เธอควรเริ่มต้นด้วยสมถะที่มีนิมิต เช่น ท่อนไม้ ก้อนหิน รูปเคารพ หรือเสียง หรือปฏิบัติปราณ พินทุ ฯลฯ แล้วจึงเข้าสู่สมถะที่ไม่มีนิมิต

สมถะ
สมถะที่แท้มีการสอนโดยวิธีการเหล่านี้
๑. ไม่ปล่อยให้จิตส่งออกไปกับวัตถุใด ๆ ทั้งภายในและภายนอกแต่พักอยู่ ในความสดชื่น ไม่วอกแวกตามธรรมชาติ
๒. ไม่ควบคุมทวารทั้งสามอย่างเคร่งครัดเกินไป แต่พักอย่างเป็นอิสระใน สภาวะแห่งการไม่กระทำตามธรรมชาติ
๓. ไม่ปล่อยให้สาระแห่งความคิดและความตื่นรู้ ( สติ ) แยกจากกันและ เป็นสิ่งที่ต่างกันราวกับเป็นขาถอนพิษ แต่จงพักอยู่ในความใสกระจ่าง แห่งการรู้ และการตื่นในตนเอง
ชื่ออื่น ๆ เช่น " ไม่วอกแวก " " ไม่ภาวนา " " ไม่ปรุงแต่ง " ก็ใช้กันกับ สามข้อข้างบนนี้

วิโมกข์มุข ๓ ( อนิมิตตวิโมกข์ อัปปนิหิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ ) ที่สอน ในสาวกยาน ก็พบได้ในสมถะทั้งสามแบบนี้ เมื่อจิตละจากการตามการ กระทำหรือเหตุการณ์ก็เรียก " อนิมิตตวิโมกข์ " เมื่อจิตปัจจุบันเป็นอิสระ จากความวุ่นวาย ( เพราะจิตสร้างขึ้น ) หรือการรับและปฏิเสธ " สิ่งนี้กำลัง เกิดขึ้น ฉันต้องทำสิ่งนี้ " เป็นสุญญตวิโมกข์ เมื่อจิตเป็นอิสระจากความ คาดหวัง เช่นสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิดในอนาคต เช่นเดียวกับเป็นอิสระจาก ตัณหา เช่นหวังว่าจิตจะเข้าสู่ภาวนา หรือกลัวว่าจะไม่ เรียก " อัปนิหิต วิโมกข์ " สิ่งเหล่านี้มีอยู่ เพียงแต่เธอพักจิตอยู่ในภาวะตามธรรมชาติ โดยปราศจากการทำลาย หรือสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้นมา ( ไม่ปรุงแต่ง )

เมื่อจิตอยู่ในภาวะนี้และความคิดเกิดขึ้นโดยกะทันหัน เพียงแต่รู้แก่นแท้ ของตนเองอย่างกระจ่างชัด ก็พียงพอแล้ว ไม่ต้องพยายามด้วยเจตนา ใด ๆ ที่จะยับยั้ง หรือเพ่งอยู่ในภาวนา หรือควบคุมมันด้วยกรรมวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าการกระทำใดก็ตามไม่ใช่หัวใจแห่งการดำรงธรรมชาติแห่งจิตไว้ใน ภาวะไร้การปรุงแต่ง

แม้ว่าสายปฏิบัติอื่น ๆ มีวิธีปฏิบัติมากมายเกี่ยวกับสิ่งนี้ แก่นของเรื่องนี้  อยู่ที่การระลึกและแก่นแท้ของปรากฏการณ์ ถ้าเธอแสวงหาวิธีปฏิบัติ อย่างอื่น ก็ไม่ใช่มหามุทราดังที่ท่านสรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า



" การภาวนาของสรรพสัตว์ล้วนสูญเปล่า
เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้สำหรับภาวนา
บุคคลไม่ควรปล่อยใจให้วอกแวก ( ออกนอก ธรรมชาติแห่งจิต - ผู้แปล )
แม้ชั่วขณะ สิ่งนี้ ฉันประกาศว่าคือ มหามุทรา "

ดังนั้น ด้วยการพักอยู่ในธรรมชาติแห่งจิต ตามที่มันเป็นประสบการณ์ ทั้งสามแห่งสมถะก็จะปรากฏขึ้นเองอย่างช้า ๆ มันเป็นอย่างไรเล่า ขั้น แรกจะรู้สึกกระวนกระวายมากกว่าเดิม กระทั่งมีความคิดมากกว่าเดิม บางครั้ง ช่วงระหว่างการคิดแต่ละครั้ง จิตจะหยุดนิ่งอยู่ชั่วขณะ อย่าคิด ว่าการคิดเป็นความบกพร่อง แม้ว่าจนกระทั่งปัจจุบันจิต มันคิดตลอด เวลา แต่เธอไม่เคยตระหนัก จุดนี้คือการรู้ความแตกต่างระหว่างคิดและ หยุดนิ่ง เป็นประสบการณ์แรกแห่งสมถะ อุปมาได้กับน้ำตกจากหน้าผา

    หลังจากดำรงรักษาการภาวนาไว้อย่างนั้น จะควบคุมความคิดส่วนใหญ่ ได้ เธอจะสุภาพและผ่อนคลาย เริ่มสัมผัสความสุขได้ทั้งร่างกายและ จิตใจ และเธอจะไม่ชอบเอาธุระกับกิจกรรมอื่น ๆ แต่จะยินดีในการภาวนา จะเป็นอิสระจากความคิดเป็นส่วนใหญ่ มีข้อยกเว้นน้อยมาก นี่เป็นขั้น ที่สอง อุปมาได้กับกระแสน้ำไหลรินเนิบนาบ

    ต่อมา ภายหลังจากการปฏิบัติด้วยความพยายามอย่างไม่ขาดตอน ร่างกาย เธอจะได้รับแต่ความสุข ปราศจากทุกขเวทนาใด ๆ จิตใจใสกระจ่างปราศ จากความคิด ไม่สนใจวันและคืนที่ผ่านไป เธอสามารถอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อน ไหวได้นานเท่านานเท่าที่ยังทำภาวนาอยู่ ทั้งไม่มีอันตรายใด ๆ อารมณ์รบกวน ต่าง ๆ สงบลง และไม่มีความหมกมุ่นเกี่ยวกับบางสิ่งเช่นอาหารและเครื่อง นุ่งห่ม ได้พบญาณทัสสนะอันวิเศษ และเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย การแสดง ออกต่าง ๆ เหล่านี้คือขั้นสุดท้ายของสมถะ ซึ่งอุปมาได้กับมหาสมุทรแห่ง ความสงบ

    นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้ติดต่อกับอาจารย์ผู้มีความสามารถ และบางคน ที่ขยันมากแต่ศึกษามาน้อย มักหลงไปกับสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกัน สามัญ ชนก็มักเห็นเป็นผู้วิเศษ นำไปสู่หายนะทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น จึงควรระวัง
    ความพยายามในสมถะยังไม่จัดเป็นส่วนหลักแห่งมหามุทรา แต่มันเป็น พื้นฐานที่สำคัญ กยัลวา ลอเร กล่าวว่า

" สมถะทึ่ม ๆ ปราศจากความกระจ่างชัด
เธออาจภาวนาเช่นนี้นานเท่านาน
หากปราศจากความความเห็นแจ้ง
หากครอบครองความว่องไวและความตื่นรู้ที่คมชัด
การภาวนาก็ ( สำเร็จในเวลา ) สั้นมาก "



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2555 13:09:45 »




วิปัสสนาคือส่วนหลัก
ถ้ายังไม่ขจัดข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งจิตว่าเป็นเช่นไร เช่น มี ลักษณะรูปธรรม มีสี รูปร่าง ฯลฯ มีจุดเกิด ดำรงอยู่ ดับไป หรือ มีอยู่ไม่มีอยู่ สัสสตะ หรืออุจเฉทะ เธอจะไม่สามารถรู้ธรรมชาติได้ ตามเป็นจริง และไม่สามารถรักษาการภาวนาอย่างเป็นธรรมชาติและ เป็นไปเองได้ ถ้าไม่รู้สิ่งนี้ ไม่ว่าจะทำสมถะ ( ทำให้หลง ) และควบ คุมจิตให้นิ่งเพียงใด เธอจะไม่สามารถอยู่เหนือกรรมและวิบากในภพ ทั้งสามได้ จึงควรชำระความคิดให้ถูกต้องกับครูอาจารย์ที่มีความ สามารถ 

กล่าวโดยเฉพาะมนตราอย่างลับเป็นหนทางแห่งการให้พรและความสุข เธอควรปฏิบัติตนในทางที่จะรู้ถึงพรและความสุขที่อาจารย์ของเธอได้รับ โดยวิธีนี้ เธอจะได้รับประสบการณ์แห่งการตื่นรู้ซึ่งอธิบายในภาคของ หลักธรรม ซึ่งปรากฏมีตั้งแต่เริ่มต้นในฐานะของตรีกาย เธอจะประสบ กับมันโดยตรง เป็นการตื่นขึ้นมาเห็น ไม่ใช่ลักษณะแห่งความคิดรวบยอด ซึ่งไม่สุดโต่งในด้านมีหรือไม่มี เที่ยงแท้ ( สัสสตทิฏฐิ ) หรือ สูญ ( นัตถิกทิฏฐิ ) แม้ว่าจะประสบและเข้าใจโดยเป็นความรู้แจ้ง ความตื่น ความว่าง และความแบ่งแยกไม่ได้ การตื่นรู้นี้ไม่สามารถสรรหาถ้อยคำใด ๆ มา เปรียบเที่ยบได้ และมันอยู่นอกระเบียบแห่งการบรรยายด้วยคำ สภาวะนี้ การตื่นในความจริงและการเห็นแจ้งตามธรรมชาตินี้คือวิปัสสนาที่แท้

สิ่งแรกสุด คนสามัญไม่เคยแม้ชั่วขณะที่จะแยกจากการรู้แจ้งตามธรรมชาติ นี้ แต่เนื่องจากไม่เคยมีผู้ชี้แนะและให้พร เขาเหล่านั้นจึงไม่ตระหนักถึงสิ่งนี้ นอกจากนี้สิ่งนี้ก็ยังมีอยู่ในสมถะและเป็นผู้สังเกตภาวะแห่งการคิดหรือความ สงบ มันเป็นผู้กระทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด มันก็เหมือนกับเธอไม่เห็น ตัวเอง กระบวนการแห่งความคิดในคนธรรมดาก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจาก ภาวนาในรูปแห่งการคิด นอกจากนี้ประสบการณ์แห่งสมถะตลอดจนความ สงบจากการคิด ก็ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากวิปัสสนาแสดงตัวในลักษณะเช่นนั้น แต่เพราะไม่เคยเห็นแก่นแท้แห่งจิตที่ปราศจากมโนคติ สิ่งเหล่านี้กลับกลาย เป็นความหยุดนิ่งธรรมดาไม่ใช่หนทางสู่การตรัสรู้ ภายหลังจากที่เธอ ตระหนักถึง แก่นแท้ของเธอ จะไม่มีภาวะหนึ่งใด ไม่ว่าจะเป็นการหยุดนิ่งหรือ การคิดซึ่งไม่เป็นวิปัสสนาหรือ มหามุทรา Lorepa กล่าวว่า

" เมื่อเธอไม่ ทำใจให้หยุดเฉย เสียแล้ว
ไม่ว่าสิ่งใด ปรากฏเป็น อายตนะทั้งหก
ทุกสิ่งล้วนเป็นประสบการณ์ สู่การหลุดพ้น ทั้งสิ้น

เธอ รู้หรือไม่ นักภาวนา"



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2555 15:07:33 »




White Tara

เอกภาพแห่งสมถะและวิปัสสนา
โดยทั่วไปแล้วสมถะหมายถึงอยู่ในภพอันสงบ สดใส และปราศจากการคิด ภายหลังจากที่ความคิดสลายลง วิปัสสนาหมายถึงการเห็นแจ้งแก่นแท้แห่ง จิต ซึ่งเป็นความรู้จักตัวเอง ไม่มีการกระทำ เป็นอิสระจากการขยายหรือ การลดทอน ความหมายอื่น เช่น สมถะหมายถึงการปราศจากความคิด และ วิปัสสนาหมายถึงการรู้แก่นแท้แห่งความคิด มีคำอธิบายอื่น ๆ มากมาย แต่ความจริงแล้วไม่สามารถก้าวพ้นความเป็นเอกภาพ ( แบ่งแยกจากกันเป็น ส่วน ๆ ไม่ได้ - ผู้แปล ) ระหว่างสมถะและวิปัสสนา ความหยุดนิ่งหรือ การคิดล้วนก็เป็นกิจกรรมของจิต การตระหนักรู้แก่นแท้แห่งจิตไม่คิดว่า คิดหรือหยุดนิ่งเป็นธรรมชาติแห่งวิปัสสนา

สมถะไม่ใช่การเกี่ยวข้องกับการเกาะติดกับอารมณ์ภายนอกทางอายตนะ ทั้งหก วิปัสสนาเป็นการรับรู้ที่ไม่มีการข้องขัด ดังนั้น ภายในขณะแห่ง การรับรู้ ย่อมมีเอกภาพแห่งสมถะและวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์

การเห็นแก่นแท้ของความคิดอย่างชัดแจ้งฉับพลันเป็นสมถะ ความเป็น อิสระอย่างธรรมชาติและปราศจากมโนคติเป็นวิปัสสนา ดังนั้น ในขณะ แห่งการคิด สมถะและวิปัสสนาก็ยังเป็นเอกภาพกัน

นอกจากนี้ เมื่อเห็นแก่นแท้โดยปราศจากหลงไปกับอารมณ์รบกวน แม้ว่า จะรุนแรง เป็นสมถะ ความตื่นรู้ซึ่งรู้เห็นอารมณ์ และอารมณ์รบกวน อยู่ในความว่าง ไม่แยกจากกันเรียกว่าวิปัสสนา ดังนั้นเอกภาพแห่งสมถะ และวิปัสสนาจึงไม่แยกจากกันแม้เมื่อมีอารมณ์รบกวนที่รุนแรง


สรุป
แก่นแท้แห่งจิตไม่ปรากฏเป็นการหยุดนิ่งหรือการคิด การอุบัติ การสิ้นสุด ดีหรือชั่ว ปรากฏการณ์ทั้งปวงคือการแสดงออกแห่งจิตของ เธอ ทำนองเดียวกัน สมถะและวิปัสสนาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก คือเอกภาพที่แยกจากกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้คนเข้าใจได้ง่าย จึงสอนกันในชื่อและประเภทต่าง ๆ

สมถะโดด ๆ จึงถูกระบุว่าไม่เพียงพอสำหรับมหามุทราภาวนาเพราะ
ฌานของพวกนอกพุทธศาสนาหรือแม้ของอนุพุทธะหรือปัจเจกพุทธะ หรือของพวกเทวะจึงจัดเป็นของสามัญ ดังนั้น จึงไม่ใช่หนทางที่แท้ ของการเพิ่มพลังชนิดที่ ๔ ( empowerment of mantra ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในมหามุทรา การยึดมั่นกับความหยุดนิ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ มหามุทราเป็นโอกาสแห่งการปฏิบัติต่อทุกสิ่งในฐานะธรรมกาย ถ้ายึดถือความหยุดนิ่งว่าดี ว่าเป็นภาวนา และเห็นการคิดว่าเลว ไม่ใช่การภาวนานั้น ไม่สอดคล้องกับการเห็นว่าทุกสิ่งคือธรรมกาย หรือการปล่อยทุกสิ่งไว้โดยปราศจากเสกสรรค์ปรุงแต่ง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2555 15:32:35 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลิ้งค์ค่ะ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 7 4718 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2555 15:24:26
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ข้อเด่นและข้อด้อย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2101 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:37:53
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ปัญจมรรค และ ทศภูมิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2168 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:56:23
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ประสบการณ์และการรู้แจ้ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 7 3806 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 17:34:02
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่สาม ผลมหามุทรา ตรีกายแห่งพุทธะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 4954 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2555 15:59:13
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.488 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 23:28:18