[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 09:22:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ข้อเด่นและข้อด้อย  (อ่าน 2104 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 16:22:11 »



              

                   ข้อเด่นและข้อด้อย

    ภายหลังจากที่แสดงเรื่องสมถะและวิปัสสนาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายข้อ เด่นและข้อด้อย ตลอดจนวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จะแบ่งเป็นสองส่วนอันได้แก่ ๑ กรณีทั่วไป เพราะไม่รู้การดำรงอยู่ใน ความว่าง และ ๒ กรณีเฉพาะ อธิบายถึงวิธีขจัดข้ผิดพลาดและการออก นอกทางนานาชนิด

ข้ออธิบายความผิดพลาด
    การพักจิตโดยไม่ปรุงแต่งเป็นกุญแจดอกเดียวเพื่อการเห็นแจ้งในมุขปาฐะ เพื่อภาวนาทุกสำนักเช่น มหามุทรา ซอกเชน แลมเดร โฌ ชิจิ และอื่น ๆ มุขปาฐะปรากฏอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากอินทรีย์และ อัธยาศัยในการ เรียนรู้ของคนแตกต่างกัน

๑. นักภาวนาบางคนระบุการภาวนาเฉพาะปราศจากความคิด ซึ่งการรับรู้ ทางอายตนะทั้งหกจบสิ้น นี่เรียกว่า " การไถลสู่ทางแห่งสมถะแบบทึ่ม ๆ "
๒. บางคนทึกทักว่าการภาวนาคือภาวะทึม ๆ กลาง ๆ โดยไม่มีสติกำกับ
๓. บ้างก็ถือว่าภาวนาคือ ความสดใสอย่างสมบูรณ์ ความสุขที่คงเรียบง่าย หรือความว่างอย่างเต็มที่ และยึดติดกับประสบการณ์นี้
๔. บ้างก็แบ่งการภาวนาเป็นส่วน ๆ เชื่อว่าวัตถุประสงค์ของการภาวนา คือภาวะที่จิต " ว่าง " ระหว่างที่ความคิดหนึ่งสิ้นสุดลงและเริ่มต้นของ ความคิดต่อไป

๕. บางคนก็ตั้งหลักไว้ว่า " ธรรมชาติแห่งจิต คือธรรมกาย มันว่างและ ไม่สามารถจับฉวยได้ " และคิดว่า " ทุกสิ่งว่างจากความดำรงอยู่จริง มันคล้ายมายาภาพลวงตา คล้ายกับอวกาศ " และถือว่านี่เป็นการภาวนา นี่คือการอยู่ในขั้วแห่งการคิดเอา
. บางคนคิดว่าทุกสิ่งที่คิดหรือทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือการภาวนา เขาไถลไป กับความเขลาเพราะพลังความคิดแบบปุถุชน
๗. คนที่เหลือส่วนใหญ่เห็นว่าการคิดเป็นสิ่งบกพร่องและหักห้ามมัน เขาเชื่อว่าการพักจิตอยู่ในการภาวนาภายหลังจากควบคุมความคิดและ ผูกมัดตนเองไว้กับการเจริญสติที่แข็งทื่ออันหนึ่ง หรือตบะทางใจอย่าง หนึ่ง


    พูดสั้น ๆ จิตอาจนิ่ง วุ่นวาย ด้วยความคิดหรืออารมณ์รบกวนหรือสงบ ในรูปแห่งประสบการณ์ที่เป็นสุข แจ่มชัด หรือไร้ความคิด ถ้ารู้ที่จะดำรง จิตในธรรมชาติดั้งเดิม อย่างตรงไปตรงมาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นไม่ต้อง สร้างอะไร ปฏิเสธ หรือเปลี่ยนแปลงอะไร นี้หาได้ยากมาก ๆ ราวกับ ว่าจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติให้ผิด แต่สอดคล้องกับข้อความที่มีเขียนกล่าว ไว้ในตำรา พระสูตร คำสอนของอาจารย์ ฯลฯ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 16:26:41 »




ขจัดข้อบกพร่องเฉพาะ
    บูรพาจารย์แห่งทุกสายปฏิบัติได้สอนเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดและ เข้มข้น ผู้เขียนจะกล่าวอย่างง่าย ๆ
ความยึดถือในประสบการณ์ ๓ อย่าง คือ ความสุข แจ่มชัด และไร้ ความคิดขณะภาวนาจะเป็นเหตุให้เกิดในภพทั้งสามคือ กาม รูปภพ อรูปภพ เมื่อสิ้นสุดอายุก็เกิดในอบายภูมิอีก จึงไม่ใช่ทางสู่พุทธภูมิ
 
    เมื่อกล่าวอย่างละเอียดก็มีฌานทั้งหมดอยู่เก้าระดับ เมื่อยู่ในสมถะ จิตจะพ้นจากความรู้สึกหยาบ ๆ แห่งผู้ดูและสิ่งถูกดู แต่จะถูกล่าม โซ่ไว้ด้วยมโนคติแห่งผู้ภาวนาและวัตถุแห่งการภาวนา เรียกว่า " สมาธิระดับปฐมฌาน " ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะนี้เป็นสิ่งที่เกิด ในระดับปฐมฌาน การภาวนาเช่นนี่เป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดาระดับ ปฐมฌาน
 
    ทำนองเดียวกัน ทุติยฌาน เป็นอิสระจากวิตกและวิจารหากแต่ยังคง สัมผัสกับปีติและสุข
    ฌานที่สาม เป็นอิสระจากความเคลื่อนไหวของจิต คงอยู่ได้กับลม หายใจเข้าออก
    ฌานที่สี่ เป็นอิสระจากความคิดทุกประเภท เป็นความสว่างไสวที่ไม่มี ข้อจำกัด คล้ายอวกาศ

    สิ่งพิเศษของสมาธิคือ เป็นบาทฐานสำหรับการภาวนา หากทำด้วยความ ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นการออกนอกแนวมหามุทรา เป็นเหตุให้เกิดในโลก สวรรค์ภพใดภพหนึ่ง
    ข้อต่อไปคือคนอาจคิดว่า " ปรากฏการณ์ทั้งปวง ไม่มีที่สุดคล้ายกับอากาศ หรือวิญญาณไม่มีเศษส่วนและไม่ปรากฏ ไม่มีที่สุด " หรือ " สัญญาไม่ใช่ มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ไม่ใช่การกระทำของจิต " หรือ " จิตว่างไม่มีอะไรเลย " สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดในอรูปโลก เรียก อากาสานัญจายตนะ วิญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    สมาธิ ( มีความสงบเป็นอารมณ์ ) ( นิพพานในสาวกยาน ) เป็นภาวะที่ละ ทิ้งภาวะเหล่านี้ และความเกี่ยวข้องกับรูปก็ถูกขจัดไป ( ละรูปสัญญา ปฏิฆะสัญญา ) รวมทั้งหยุดปราณและจิต แม้ว่าจะเป็นสมถะอย่างเยี่ยม หากในที่นี้ย่อมไม่เป็นการภาวนาที่ผิดหากมีวิปัสสนากำกับอยู่ด้วย
    ฌานทั้ง ๙ มีคุณค่าอยู่ เช่น ทำให้มีญาณทัสสนะอันวิเศษและมีอำนาจ พิเศษ แต่การบรรลุการตรัสรู้ไม่ใช่อำนาจวิเศษเหล่านี้ ถ้าท่านได้รับสิ่ง เหล่านี้และเกิดเหลิง อวดดี ควรรู้ไว้ว่าเป็นอุปสรรคต่อการตรัสรู้


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 16:37:53 »




หันเหแปดทาง
หลังจากอธิบายข้อผิดพลาดและทางแห่งความไถลแล้ว ต่อไปจะอธิบาย ทางที่หันเหอีกแปดทาง

๑. เพราะไม่เข้าใจว่าแก่นแท้แห่งจิตเป็นเอกภาพระหว่างรูปลักษณ์และ ความว่าง ทรงไว้ซึ่งความพิเศษในทุกแง่มุม ความสัมพันธ์ที่ไม่มีสิ่งกีด ขวางระหว่างเหตุผล เธอไถลสู่ความสนใจเฉพาะแง่ความว่าง ข้อผิด นี้เรียกว่า " ขอไถลแบบพื้นฐานจากแก่นแห่งความว่าง "
๒. กรณีคล้ายกันคือ ภายหลังเอาจริงกับการปฏิบัติ แม้ว่าจะมีความคิด ที่ถูกเกี่ยวกับแก่นแท้ตามธรรมชาติ แต่กลับไม่เคยประสบกับความจริง เช่นนั้นด้วยตนเอง หรือประสบกับมันแต่กลับไม่เข้าใจมัน แม้ว่าเธอจะ สามารถอธิบายมันต่อผู้อื่น เรียกว่า " ไถลออกจากแก่นแท้แบบชั่วคราว "

๓. แม้ว่าขณะนี้เธอต้องการมรรค แต่เธอกลับปรารถนาผลอื่น ๆ นี่คือ " การไถลอกนอกทางชนิดพื้นฐาน "
๔. ไปคิดว่าการดำรงสติแบบธรรมดาสามัญ ๆ ไม่เพียงพอ และไปค้นหา การภาวนาด้วยการกระทำที่มากมายซับซ้อน และก็ไปค้นหามันจากที่โน่น ที่นี่ เรียกว่า " การไถลออกนอกทางแบบชั่วคราว "

๕. เมื่อบางสิ่ง เช่น อารมณ์รบกวนเกิดขึ้น กลับไม่รู้วิธีใช้มันเป็นมรรค กลับไปหาวิธีภาวนาอื่น ๆ ในสาวกยาน เรียกว่า " การไถลออกนอกวิธี แบบพื้นฐาน "
๖. ไม่รู้จักใช้สิ่งที่เกิด เช่น ความคิด เป็นทางในการปฏิบัติ กลับขัดขวาง หรือทำลายมันก่อนที่จะอยู่ในการภาวนา เรียกว่า " การไถลออกนอกวิธี แบบชั่วคราว "

๗. ไม่รู้ว่าธรรมชาติของจิตว่างอยู่แต่เดิมแล้ว และไม่มีรากเหง้า กลับไป สร้างความคิดขึ้นมา เช่น " มันไม่มีธรรมชาติแห่งตัวตน " หรือ " มันเป็น ความว่าง " หรือ " มันว่างแบบเป็นครั้งคราว " เรียกว่า " การไถลแบบพื้น ฐานสู่ความว่างแบบเหมา ๆ "
๘. คิดว่า " ก่อนนี้ฉันวอกแวกเพราะตามความคิดอยู่ แต่บัดนี้ฉันภาวนา แบบสบาย ๆ " ติดอย่างเหนียวแน่นอยู่กับความคิดนั้น หรือคิดว่ามีสติ อยู่ขณะที่ไม่มี หรืออื่น ๆ เรียกว่า " ไถลสู่ลักษณะทั่วไป "

สรุป
เมื่อไม่รู้กุญแจสำคัญคือภาวะธรรมชาติแห่งจิตและไม่ขจัดความสงสัย เรื่องนี้ ย่อมเสี่ยงต่อการไถลสู่ทางผิดที่ดูคล้าย ๆ การภาวนา หลาย ๆ อย่าง การมุ่งต่อทางผิดที่คล้ายการภาวนาโดยไม่รู้จุดสิ้นสุดเป็นความ สูญเปล่า บางคนได้สร้างสมเหตุปัจจัยสู่อบายภูมิ เช่น เกิดเป็นนาค เพราะทำสมถะภาวนา จึงไม่ต้องภาวนาในทางผิด

นอกจากนี้ บางคนยังถือภาวะทื่อ ๆ มัวซัว หรือภาวะเกียจคร้าน เฉื่อยชา ซึ่งปราศจากความคิดว่าเป็นสมถะ เขาคิดว่าวิปัสสนาคือการวิเคราะห์ ด้วยความคิด เขาคิดว่าภาวะจิตที่มีอารมณ์เดียวและยึดอยู่แน่นว่าเป็นสติ และเห็นว่าอุเบกขา ( จิตวางเฉย ) ว่าคือภาวะแห่งธรรมชาติ เขาคิดว่า จิตสามัญของผู้ไม่เคยเห็นโฉมหน้าเดิมแท้ของจิตเป็นจิตเดิมแท้อันปราศจาก การปรุงแต่ง เขาถือว่าสมาธิ หรือความสงบสุขซึ่งปราศจากทุกข-เวทนารบกวนว่าเป็นความสุขที่แท้ ( เป็นมาแต่เกิด ) เขาเข้าใจผิดเกี่ยว กับการจับฉวยนิมิตโดยไม่เคยรู้ไม่เคยมั่นใจในภาวะว่างที่ปราศจากนิมิต ว่าเป็นการรู้แจ้งตนเองที่เป็นอิสระจากนิมิตและวิตก เขาเข้าใจผิดว่า ความเขลา ( ทึ่ม ) เพราะความตระหนักรู้ถูกขัดขวางว่าเป็นปัญญาชนิด ไร้มโนคติ

กล่าวย่อ ๆ ความผิดพลาดทุกชนิด ความผิดที่คล้ายคลึง การไถล และ ความหันเห เกิดจากเบื้องแรกคือไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่ถูกเช่น สั่งสม ( เหตุที่จำเป็น ) ไม่ขจัดมลทินต่าง ๆ ดังนั้น ความเศร้าหมอง จากกรรมชั่วจึงไม่หมดไป โดยที่ไม่เคารพบูชาสรรพสิ่ง จิตใจย่อมแข็ง ทื่อน้อมไปได้ยาก ไม่ขจัดข้อสงสัยในจุดสำคัญแห่งการปฏิบัติ เธอติดกับ ทฤษฎีและคำพูด มากขึ้น ท้ายสุด ไม่ได้มีจิตใจมุ่งสู่การปฏิบัติสุด จิตใจ เธอเป็นคนภายนอกต่อธรรมะ ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมหรืออุบาสก อุบาสิกาแต่เป็นคนทำลายคำสอนของสายปฏิบัติ มีสิ่งนี้มากมายในยุค แห่งความมืดนี้ The Seven Wheel of Kshitigabha Sutra กล่าวว่า

" เมื่อไม่ยอมรับกรรมและวิบาก
บุคคลก็กลายเป็นคนนอกพุทธศาสนา สนับสนุนลัทธิขาดสูญ
ย่อมเกิดในอเวจีเมื่อตายไปแล้ว

ย่อมล้างผลาญทั้งตนเองและผู้อื่น "
เธอจึงควรปฏิบัติด้วยความฉลาดและไม่เป็นดังที่กล่าวมา



http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4819.0.html

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 7 4733 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2555 15:24:26
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา :ภาคสอง มรรคมหามุทรา สมถะและวิปัสสนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2084 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2555 15:07:33
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ปัญจมรรค และ ทศภูมิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2174 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:56:23
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ประสบการณ์และการรู้แจ้ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 7 3836 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 17:34:02
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่สาม ผลมหามุทรา ตรีกายแห่งพุทธะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 4968 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2555 15:59:13
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.674 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 มีนาคม 2567 11:56:38