[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 05:52:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ประสบการณ์และการรู้แจ้ง  (อ่าน 3807 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:05:34 »



         

ประสบการณ์และการรู้แจ้ง
ภายหลังจากพากเพียรจนจิตตั้งมั่นในความเป็นกลางโดยไม่เกิดความ ผิดพลาด หรือทิฏฐิและการปฏิบัติที่ผิด และไม่ไถลออกนอกทางหรือ หันเหไปทางอื่น และกำกับความรู้ด้วยสติ โดยไม่ปล่อยให้เสียเวลา อยู่กับความสับสนอย่างคนทั่ว ๆ ไป ท่านจะได้รับประสบการณ์ และ ความรู้แจ้ง ตามระดับแห่งอินทรีย์หรืออัธยาศัย

โดยทั่วไป เพราะมีระบบต่าง ๆ กันมากมายตามแต่อาจารย์ผู้ทรงคุณ จึงมีระบบแบ่งประสบการณ์และความรู้แจ้งที่แตกต่างกันมากมาย บ้างก็ว่าภายในแบบโยคะสี่ ภายหลังบรรลุถึง " ความเรียบง่าย " จะ ไม่มี " ภาวนา " หรือ " หลังภาวนา " ที่แยกกันได้บ้าง ก็แยกเป็น " ภาวนา " " หลังภาวนา " สำหรับประสบการณ์ และความรู้แจ้งแต่ละอย่าง ๆ บ้างก็มี " ภาวนา " หรือ " หลังภาวนา " สำหรับโยคะ แต่ละขั้น แท้จริงแล้ว จึงมีระบบต่าง ๆ กันมากมาย

ทำนองเดียวกัน มีระบบต่าง ๆ มากมายเพื่อจัดประเภท ประสบการณ์ และรู้แจ้ง บ้างก็ว่าระดับทั้งสามแห่งเอกัคคตา เป็นแค่ประสบการณ์ ไม่ใช่การรู้แจ้ง คำสอนต่าง ๆ มีรายละเอียดต่าง ๆ มากมายอย่างเช่น ยอมรับว่าเห็นแก่นแท้แห่งจิตเมื่อถึงระดับ " ไม่ภาวนา " และอื่น ๆ


เนื่องจากคำสอนต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการแสดงถึงความกรุณาที่จะฝึกคน ที่มีอินทรีย์ อธิมุตติ ( อัธยาศัย ) และสภาพแห่งจิตที่ต่างกัน พูดด้วยความ เคารพ เธอไม่ต้องไปถือคำสอนหนึ่งว่าเลิศเลอ ผู้เขียนไม่ได้เข้าถึง สังเกตุ เห็น หรือเข้าใจสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่สามารถตั้งบรรทัดฐาน ว่าอะไรถูกประเด็นหรือถูกต้อง อะไรไม่ถูกประเด็นหรือไม่ถูกต้อง นั่น เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดผู้ไม่สามารถแยกสีที่สวยและน่าเกลียด ได้ เมื่อเทียบกับความเข้าใจของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนจะบรรยายระดับชั้น เหล่านี้โดยสังเขป

ภาวนาและหลังภาวนา
ศัพท์ " ภาวนา " และ " หลังภาวนา " มีอยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งสองขั้น ซึ่งได้แก่ " ขั้นพัฒนา " และ " ขั้นเสร็จสมบูรณ์ " สิ่งนั้นคืออะไร " ภาวนา " หมายถึงมุ่งอยู่ที่อารมณ์แห่งการปฏิบัติโดยปราศจากการผสมผสานกับกิจกรรมอื่น ๆ และ " หลังภาวนา " หมายถึงการภาวนาขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นระหว่างพักปฏิบัติ สภาวะจิตขณะนั้นเรียก " ปัญญาผลลัพธ์ " และ " สัญญาผลลัพธ์ " โดยทั่วไปมักเรียกกันอย่างนี้ นอกจากนี้ ในกรณีเช่นนี้ เราเรียก " ภาวนา " เมื่อผู้เริ่มเรียนอยู่ในการฝึกปฏิบัติชนิดจริงแท้ และ " หลังภาวนา " เมื่อเขาทำกิจกรรมเช่น เดิน ไปโน่นไปนี่ ทานอาหาร นอน และอื่น ๆ สำหรับนักปฏิบัติจริงจัง " ภาวนา " และ " หลังภาวนา " แยก จากกันไม่ได และเป็นอิสระจากความวอกแวกและความสับสน การปฏิบัติเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:10:56 »




ประสบการณ์และการรู้แจ้ง

เพื่อให้เข้าใจคำว่า ประสบการณ์และการรู้แจ้ง " ประสบการณ์ " หมายถึง การปฏิบัติเพื่อคุณธรรมระดับสูงหรือต่ำ ซึ่งไม่ผสมผสานกับแก่นแท้แห่ง แห่งจิต และมีทัศนะแห่งการกำจัดบางสิ่ง ( เช่นกิเลส ) และบริวาร หรือ อาจกล่าวว่า " ประสบการณ์เป็นการรักษาไว้ซึ่งทัศนะแห่งผู้ภาวนาและ วัตถุแห่งภาวนา " และ " การรู้แจ้งหมายถึงการปฏิบัติและจิตไม่ได้แยก จากกัน แต่แสดงออกมาเป็นแก่นแท้แห่งจิต ซึ่งปรากฏผลเป็นผลที่แน่นอน " กล่าวสั้น ๆ สองแง่มุมนี้ปรากฏไม่เฉพาะในบริบทแห่งการภาวนา แต่ยัง หมายไปถึงส่วนใหญ่แห่งการปฏิบัติมรรคด้วย เช่น คุรุโยคะ กรุณาและ โพธิจิต ระดับแห่งการพัฒนา และอื่น ๆ

ตัวอย่างจะช่วยให้เข้าใจ เพราะได้ยินเรื่องราวหรือความคิดเกี่ยวกับวัชร- อาสนะ ( ท่าแห่งการบริหารกายแบบโยคะอย่างหนึ่ง - ผู้แปล ) เมื่อนึก ภาพและเรื่องราวในใจ และสามารถอธิบายผู้อื่นได้ นี่เรียก " สุตมยปัญญา " เมื่อมองจากที่ไกล ๆ หรือมองที่แผนผังทำให้เข้าใจโดยคร่าว ๆ เรียก " ประสบการณ์ " เมื่อปฏิบัติเอง เห็นเองอย่างละเอียดลออ และเข้าใจ อย่างลุ่มลึกอย่างแนบแน่นเกี่ยวกับมัน เรียกว่าการเกิดแห่ง " การรู้แจ้ง "

บุคคลสามประเภท

หัวข้อเหล่านี้จะเข้าใจหรือไม่ขึ้นกับระดับจิตใจของบุคคล ซึ่งสามารถ แบ่งออกเป็นสามจำพวก บุคคลจำพวกที่บังเกิดความเข้าใจ " ประสบ- การณ์ " และ " รู้แจ้ง " โดยเพียงแค่เห็นสัญลักษณ์ หรือสามารถทำให้ คุณภาพสมบูรณ์ได้ในทันทีโดยไม่ต้องปฏิบัติยากลำบาก เรียก " พวกฉับ พลัน " นี้คือพวกที่ได้ " รู้แจ้ง " ด้วยการฝึกฝนในครั้งก่อน บุคคลพวก ที่มีคุณภาพแห่งประสบการณ์และ " การรู้แจ้ง " ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่มีขั้นตอน ที่แน่นอน และไม่สามารถจัดเป็นชั้นสูงหรือชั้นต่ำได้ เรียก " พวกข้ามขั้น ตอน " อีกพวกคือค่อยเลื่อนชั้นเป็นขั้นตอนแน่นอน เรียก " พวกค่อยเป็น ค่อยไป " ซึ่งรวมประชาชนทั่วไปด้วย เนื่องจากบุคคลสองกลุ่มแรก สามารถรวมในพวกมีลำดับแห่งพวกค่อยเป็นค่อยไป จึงจะอธิบายวิธี ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:13:55 »





โยคะสี่
ยานสามัญสอนว่าบุคคลบรรลุพุทธะได้โดยภูมิทั้งสิบ และมรรคทั้งห้า แต่ที่นี่จะอธิบายการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป คือโยคะสี่โดยเฉพาะ สายดรักโป กาจู ( dakpo kagyu ) แต่ละระดับยังแบ่งย่อยออกเป็น ชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง ผลทั้งหมดจึงเป็น ๑๒ ระดับชั้น ซึ่งเป็นสาระแห่งคัมภีร์ ชื่อ ตันตระแห่งความลับสุดหยั่งรู้ ซึ่งอรรถาธิบายโดย lord Dawo Shonnu มีใจความดังนี้

โดยสีหสมาธิ
จิตกระจ่างชัดเนื่องจากเอกัคคตาจิตที่ไม่หวั่นไหวแผ่รัศมีไปทั่ว
มันปลุกปัญญาแห่งการรู้โดยตนเองในตนเองจากภายใน
และจากอัพยาที่มีเสถียรภาพ เธอพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ


ระดับสอง สมาธิแห่งมายา
สืบเนื่องจากภาวนาที่ยิ่งใหญ่ชนิดเรียบง่าย
ปรากฏสิ่งที่คาดคิดไปถึงไม่ได้เป็นพลังแห่งสมาธิ
และบรรลุถึงอัคคี เธอเป็นนายเหนือการเกิดใหม่


ระดับสาม สมาธิแห่งการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญ
ความหลากหลายกลายเป็นหนึ่งรส บรรลุการหยั่งรู้ถึงภูมิทั้งสิบ
เธอบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นในฐานะแห่งชินบุตรในกาลทั้งสาม
และเมื่อบรรลุถึงอนุตระ ความก้าวหน้าจะไม่มีการชะงัก


ระดับสี่ วัชรสมาธิ
เป็นความพากเพียรปฏิบัติ " ไม่ภาวนา "
ปัญญาของเธอหยั่งรู้ถึงพุทธภูมิ
สิ่งที่ปรากฏเองโดยปราศจากความพยายามคือคุณอันสูงสุด


ระดับและความหมายได้อธิบายอย่างกว้างขวางใน ลังกาวตารสูตร เช่นกัน อาจารย์ศานติปะได้อธิบายสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียดโดย การ อธิบายตาทั้งห้า สัพพัญญุตาญาณ และอื่น ๆ และนอกจากนี้ ตาม หลักมหามุทราในนิกายนิงมะ คุรุรินโปเช ยังได้สอนความหมายเหล่า นี้ ตามอย่างรัดกุม ใน Nekyi sintig ท่านได้อธิบายว่า

เอกัคคตาจิต
ด้วยใจที่มีคุณธรรมและความชั่วถูกชำระให้บริสุทธิ
ท่านเลิกละอกุศลกรรมโดยอัตโนมัติ

เรียบง่าย
แก่นแท้แห่งจิตเป็นอิสระจากสิ่งปรุงแต่ง
ท่านละเลิกอุปาทาน แห่งผู้รู้และสิ่งถูกรู้

หนึ่งรส
เมื่อทุกปรากฏการณ์คือ ธรรมกาย
ท่านเลิกละความคิดรวบยอดต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ


และไม่ภาวนา
โดยรู้แจ้งว่าสังสารและนิพพาน
ว่างเปล่าจากความเป็น " ตัวตน "

    ท่านเลิกละความยึดถือในสิ่งคู่ทั้งปวง ดังนั้น ท่านจึงสอนโยคะสี่ผสานปธานสี่
    ยิ่งกว่านั้น คุรุรินโปเช สอนว่า
 
อัคคี คือการเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งจิต อนุตตระ คือการเห็นความไม่เกิด ในฐานะแห่งธรรมกาย โดย อัพยา ท่านอยู่เหนือการปฏิเสธสังสาระและรับนิพพาน คุณวิเศษ คือทั้งสังสาระและนิพพานหลอมรวมกันในจิตหนึ่ง
    ในคำสอนนี้ได้รวมโยคะสี่และความมั่นใจสี่ประการแห่งมรรคแห่งการ ผสม
    ซึ่งความหมายก็เหมือนกับข้างบน
    ต่อไปจะอธิบายหนทางก้าวหน้า ซึ่งความหมายที่แท้ของโยคะสี่นี้แสดง ออก
    และวิธีที่ภูมิทั้งสิบและหนทางทั้งห้าในระบบพระสูตรบรรลุความสมบูรณ์

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:17:22 »



     
            http://www.facebook.com/warawut.srisopark   

เอกัคคตา
เมื่อกุลบุตรได้ละความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตและสำคัญหมายในอาจารย์ของตนว่าเป็นดังพุทธะ ได้รับการสั่งสอน และอาศัยอยู่ในที่อันสงัด เขาอยู่เป็นสุข ปลอดโปร่งใจ ไร้ความคิดฟุ้งซ่าน และจิตมีความตั้งมั่น ยังเก็บความรู้สึกไว้ว่า " การภาวนา เป็นการหลุดพ้นจากความคิดโดย การตระหนักรู้ " นี้เป็นปฐมเอกัคคติ ( เอกัคคตาชั้นต้น )

แม้ว่าบุรพจารย์ในสายปฏิบัติ จะจัดเอกัคคตาทั้งสามระดับว่าเป็นสมถะ สำหรับความเข้าใจของฉัน ต้องมีบุคคลระดับต่าง ๆ กัน นอกจากนี้ สำหรับผู้รู้สภาวะดั้งเดิม ธรรมชาติที่แท้คือทั้งสมถะและวิปัสสนาจะ ปรากฏเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ ดังนั้น ควรเข้าใจในที่นี้ว่าสมถะมีวิปัสสนา ครอบคลุมอยู่ด้วย ปัญญาผลลัพธ์มีความเด่นอยู่ที่ความยึดมั่นในตัวตน ( แข็งกระด้าง ) ระหว่างฝันจะไม่ต่างจากบุคคลสามัญสามัญมากนัก กล่าวย่อ ๆ เพราะท่านเพิ่งเริ่มปฏิบัติ มีความขึ้นลงมากมายในความ ยากง่ายในการดำรงการปฏิบัติ

ในระดับมัชฌิมเอกัคคตา ( เอกัคคตาชั้นกลาง ) ท่านสามารถดำรงการ ปฏิบัติไว้ได้นานเท่าที่ท่านต้องการ บางครั้งสมาธิเกิดขึ้นแม้จะไม่ภาวนา ปัญญาผลลัพธ์ มีความยึดมั่นในตัวตน ( และแข็งกระด้าง ) น้อยกว่า ดังนั้น การรับรู้จึงเป็นเปิดกว้างมากขึ้น และการสั่งสมคุณธรรมก็เกิดขึ้น แม้ขณะหลับ กล่าวง่าย ๆ เวลาแห่งการภาวนาก็เป็นการภาวนา ( จริง ๆ )

หลังจากอุดมเอกัคคตา ( เอกัคคตาชั้นสูงสุด ) ตลอดวันและคืน การภาวนากลายเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีขีดคั่น ประกอบด้วย ความสุข ความชัดเจน ความสว่างไสว และปราศจากวิตกวิจาร ไม่ต้องแบ่งปัน ประสบการณ์ผลลัพธ์ และปัญญาผลลัพธ์ สมาธิมีความต่อเนื่องโดยตลอด ท่านเป็นอิสระจากเครื่องเสียดแทงทั้งภายในและภายนอกและ ไม่เกี่ยวข้องกับความยึดติดในรูปเสียง ฯลฯ คำสอนยังกล่าวว่า ท่าน บรรลุอภิญญาและอิทธิปาฏิหาริย์ อย่างไรก็ดี ท่านยังไม่พ้นจากการ ยึดติดในความดีเลิศ และไม่หลุดพ้นจากโซ่ตรวนแห่งมโนคติที่ยึดติด ในการภาวนา

มีความแตกต่างกันมากมายในด้านความสามารถในหมู่ผู้ปฏิบัติเอกัคคตา เช่นเดียวกันความขยันของแต่ละคน กล่าวได้ว่าเธอจะเห็นแก่นของเอกัคคตา หรือไม่ก็ขึ้นกับว่าเธอได้ประสบและมั่นใจในการตื่นรู้ในภาวะแห่งสุข สว่างไสว และไร้คิดหรือไม่ ทำนองเดียวกันความสมบูรณ์ในการปฏิบัติ ขึ้นกับว่าประสบการณ์นี้ต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว ความคิดจะกลายเป็น การภาวนาหรือไม่ขึ้นกับว่าจะมีสติกำกับอยู่หรือไม่ คุณภาพขึ้นกับว่า กระแสแห่งจิตมีความอ่อนโยนแค่ไหน ความแพร่กระจายแห่งพีชะแห่ง รูปกายขึ้นกับว่าความกรุณาที่ปราศจากความยึดติดเกิดขึ้นหรือไม่ใน ระหว่าง " ปัญญาผลลัพธ์ " ทักษะต่อความสัมพันธ์ขึ้นกับเธอสามารถ เชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลได้ดีหรือไม่ สิ่งเหล่านี้คือมาตรวัดที่สอน โดยบูรพาจารย์สายกาจู


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:20:19 »




เรียบง่าย
เมื่อได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับเอกัคคตา ถ้าเธอยังทุ่มเทในการปฏิบัติ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของความเย่อหยิ่งทะนงตน และยึดติดกับภาวะอัน วิเศษบางอย่าง เธอจะเข้าถึงความเรียบง่าย ( หมายความว่าขั้นนี้ผู้ปฏิบัติ จะเลิกสนใจสิ่งวิเศษมหัศจรรย์ใด ๆ กลับมาสู่ความเรียบง่ายตามธรรมดา - ผู้แปล ) พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เธอจะพบอย่างถูกต้องว่าแก่นแท้ตามธรรมชาติของจิตเป็นอิสระจากการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไป ในระหว่าง " ปัญญาผลลัพธ์ " เธอจะเป็นอิสระเมื่อกำกับสภาวะจิตด้วยความมีสติ ซึ่งจะนำเธอกลับสู่การภาวนา อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่กำกับไว้ด้วยความมี สติ ภาวะ " หลังภาวนา " จะกลายเป็นความยึดมั่นและแข็งกระด้าง ระหว่างฝันก็ไม่แน่ว่า เธอจะมีความสับสนหรือไม่ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ความเรียบง่ายชั้นต้นคือภาวะเมื่อเธอยังยึดมั่นกับความว่างอยู่บ้าง เช่น การคิดว่า " ปรากฏการณ์ใด ๆ ของการดำรงอยู่ การแสดงออกไม่ใช่ สิ่งอื่นนอกจากความว่าง "

เมื่อถึงความเรียบง่ายชั้นกลาง ความยึดมั่นในความว่างและความยึดถือ ในความคิดว่าเป็นความจริงจะถูกชำระให้บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม ความ ยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ภายนอกว่าจริงยังไม่ถูกขจัดออกจนหมดสิ้น ระหว่าง " ปัญญาผลลัพธ์ " และระหว่างหลับ ความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น เป็นครั้งคราว และเธอก็มีความขึ้นลงในกรปฏิบัติด้วยเช่นกัน

ความเรียบง่ายชั้นสูงสุดเกิดเมื่อได้ตัดความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับสังสาระและ นิพพาน ภายใน ภายนอก ปรากฏการณ์และจิต และอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น เธอเป็นอิสระจากความยึดมั่นต่อภาวะ เช่น " ความมั่นหมาย " " ไม่มั่นหมาย " " ว่าง " " ไม่ว่าง " และอื่น ๆ การภาวนาในระหว่างกลางวันจะผ่านไปโดยราบเรียบไม่มีอาการสะดุดเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ความยึดมั่นถือมั่นมักเกิดในระหว่างฝัน อย่างไรก็ตาม สติยังไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น การมีสติที่คมชัดจึงเป็นสิ่งจำเป็น กล่าวย่อ ๆ ในระหว่างความเรียบง่ายนี้ เพราะว่าท่านประสบความว่างเป็นส่วนใหญ่ และมีประการณ์แห่งความ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ว่าจริงแท้ ความอุทิศตนต่อการปฏิบัติ สัญญา ที่บริสุทธิ์และความกรุณาอาจลดลง การไม่ตกเป็นเหยื่อของความว่างที่เกิดขึ้นมาเป็นศัตรู จึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด

ณ จุดนี้ การเห็นแก่นสารของความเรียบง่ายขึ้นกับว่า ความเศร้าหมอง หรือความเชื่อมั่นในประสบการณ์ที่ยึดติดกับความว่าง จะถูกชำระล้างให้ บริสุทธิ์ได้หรือไม่ ความสมบูรณ์แห่งการปฏิบัติขึ้นกับว่า เธอจะเป็นอิสระ จากความหวังและความกลัว หรือชำระล้างทัศนะผิด ๆ เกี่ยวกับความหมายมั่นและความว่างได้หรือไม่ ฯ ความคิดจะปรากฏขึ้นในฐานะเป็นการภาวนา หือไม่ขึ้นกับว่า ในระหว่างการภาวนาเพื่อเห็นโฉมหน้าที่แท้แห่งความคิด ความรู้แจ้งว่า ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากความว่าง เกิดขึ้นในระหว่างประสบการณ์และระหว่างหลับหรือไม่ จะเชี่ยวชาญในการแพร่เมล็ดพันธุ์แห่งรูปกายได้แค่ไหนขึ้นกับว่า สามารถจัดการให้โพธิจิตและความบันดาลใจ เกิดร่วมกันได้แค่ไหน ภายหลังจากที่รู้เหตุและผลของความว่างแล้ว เธอ ควรรู้จุดแบ่ง


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:24:29 »




หนึ่งรส
หลังจากสิ้นสุดการรู้แจ้งความเรียบง่าย เธอเข้าใจความหมายและความแตกต่าง ของความเป็นคู่ เช่น สังสาระและนิพพาน ปรากฏการณ์ความว่าง การริเริ่มและความสิ้นสุด สัมพันธ์และสมบูรณ์และอื่น ๆ ว่าล้วนเป็น หนึ่งรสในมหามุทรา แม้ว่าเธอจะสามารถใช้ทุกสิ่งในการปฏิบัติสู่การรู้แจ้ง ได้ แต่หากยังคงยึดมั่นกับประสบการณ์เหล่านี้หรือกับความรู้แจ้งเอง นี่ เป็นหนึ่งรสขั้นต้น

เมื่อได้ชำระความยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้แล้วเธอรู้แจ้งประสบการณ์และจิต ว่าเป็นสิ่งแยกกันไม่ได้ ไม่มีแม้ความยึดมั่นในประสบการณ์และความรู้ แจ้ง ( (จิตรู้) ที่ไปรู้แจ้งประสบการณ์ ) นี้เป็นหนึ่งรสชั้นกลาง คือ เป็น อิสระจากผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้

โดยกำลังทวีคูณที่เห็นประสบการณ์มากมายมีหนึ่งรส แสดงออกซึ่ง ปัญญาอย่างทวีคูณ นี้คือหนึ่งรสขั้นสูง

บูรพาจารย์ในสายปฏิบัติ
ได้สอนกันว่า " ภาวนา " และ " หลังภาวนา " จะผสมปนเปกันที่จุดนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ปรากฏการณ์หรือความคิด ใด ๆ ที่ปรากฏขึ้นเมื่อมองในแง่มุมของแก่นแท้แล้ว มันคือธรรมกายหรือ ธรรมภูตแต่ดั้งเดิมนั่นเอง แต่ในแง่มุมที่มันแสดงออกหรือปรากฏต่อคน ที่ยังหลงอยู่ มันก็ยังคงรักษาภาวะ เช่น ความดำรงอยู่อย่างเป็นตัวตน และความยึดมั่นมั่นในภาววิสัย จิตวิสัย ชั่วขณะที่หลุดพ้นคือชั่วขณะที่มี สติตื่นรู้ด้วยตนเอง ซึ่งไม่พบในโยคะชั้นต่ำ

ขณะดูแลรักษาความคิดด้วยสติในกรณีนี้ หมายความว่า ยอมให้สิ่งใด ๆ เกิดขึ้นโดยไม่ต้องเจริญสติหรือไประลึกรู้แก่นสารอะไรจากที่อื่น ๆ อีก สิ่งนี้ขึ้นกับว่าได้รู้จักแก่นสารของหนึ่งรสหรือยัง การปฏิบัติจะสมบูรณ์ หรือไม่ขึ้นกับว่าความยึดมั่นถือมั่นในวิธีการ " แก้อารมณ์ " ยังคงอยู่ หรือหนึ่งรสเกิดขึ้นเป็นทวีคูณหรือไม่ " ความคิดเกิดขึ้นในฐานะที่เป็น การภาวนา " ขึ้นอยู่กับว่าสัญญาทั้งหกซึ่งเกิดขึ้นแล้วอยู่เหนือความผูกมัด และความหลุดพ้นหรือไม่ คุณภาพของการภาวนาขึ้นอยู่กับว่าปัญญา เป็นนายต่อเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกและอิทธิปาฏิหาริย์หรือไม่ ความเป็นนายต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับว่า หนึ่ง มีการเกิดแห่งหนึ่งรส อย่างทวีคูณ โดยการรวมตัวกันของจิตและปรากฏการณ์หรือไม่ สอง เหตุและผลของการเป็นนายต่อปรากฏการณ์ได้นำมาสู่มรรควิถีหรือไม่ ความแพร่หลายของพีชะแห่งรูปกายขึ้นอยู่กับว่าทรัพย์ คือการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น สามารถเกิดขึ้นโดยพลังแห่งความกรุณาชนิดที่ปราศจาก ความพยายามและความแบ่งแยกหรือไม่ มีผู้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้มากมาย


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:27:52 »




ไม่ภาวนา
เมื่อผ่านพ้นสิ่งเหล่านี้ เธอก็ได้ปฏิบัติหนึ่งรสอย่างสมบูรณ์แล้ว ปรากฏการณ์ทวิลักษณ์เช่นภาวนาหรือไม่ภาวนา ฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน ได้ถูก ชำระให้บริสุทธิ์ และเธอก็ได้หลุดพ้นสู่รากเหง้าดั้งเดิมซึ่งประสบการณ์ ทั้งหลายคือการภาวนา " ไม่ภาวนาชั้นต้น " คือ การเกิดขึ้นแห่งความยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นความหลงและละเอียดอ่อนระหว่างหลับเช่นเดียวกับ ระหว่าง " ประสบการณ์ผลลัพธ์ "

" ไม่ภาวนาชั้นกลาง " คือเมื่อความยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นความหลงเหล่านี้ ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเวลากลางวันและกลางคืนกลาย เป็นการภาวนาที่ต่อเนื่องและยิ่งใหญ่ และจึงหยั่งรู้ถึงแก่นแท้แต่ดั้งเดิม แต่เพราะความคงอยู่ของวิญญาณห้า ซึ่งปกปิดปัญญาไว้ คือความเศร้า หมองของปัญญาชนิดทวินิยม ดังนั้น เมื่อยังไม่เป็นอิสระจากสิ่งนี้จึงเรียก ว่า ไม่ภาวนาชั้นกลาง

เมื่อความไม่รู้ทางด้านภาวะไร้คิด ซึ่งคือความมัวซัวจากความรู้แบบทวินิยม ซึ่งคล้ายเศษของอาลยวิญญาณได้รับการชำระจนบริสุทธิ์ ความสว่างไสว แห่งแม่และลูกหลอมรวมกัน และทุกสิ่งสุกงอมสู่ปัญญาและความกรุณา ที่แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกทิศทาง คือธรรมกายอันเป็นธรรมชั้นเอก นี้คือ " ไม่ภาวนาชั้นสูงสุด " ซึ่งเรียกว่า พุทธภาวะที่สมบูรณ์สุด เป็นการได้รับ ผลชั้นสูงสุด

การเห็นสาระของการไม่ภาวนาไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกเหนือจากการเห็นแจ้ง สิ่งที่เคยเห็นในขั้นหนึ่งรส และดังนั้นจึงขึ้นกับว่า จิตซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ต่ออารมณ์ภาวนาหรือความเคยชินต่าง ๆ ถูกชำระให้บริสุทธิ์หรือไม่ ความสิ้นสุดแห่งการไม่ภาวนาขึ้นอยู่กับว่า ความเศร้าหมองของอวิชชา แนวโน้มแห่งปัญญาแบบทวินิยมหมดสิ้นกำลังด้วยปัญญารู้แจ้งหรือไม่ ความคิดเกิดในฐานะที่เป็นภาวนาหรือไม่ ขึ้นกับว่าแนวโน้มของอาลยะ ละลายกลายเป็นปัญญาแห่งธรรมธาตุหรือไม่ การเกิดขึ้นของคุณภาพขึ้นกับว่ากาย ( วัตถุ ) แสดงเป็นหรือหลุดพ้นสู่กายรุ้ง จิตสู่ธรรมกาย และ ภพสู่ความบริสุทธิ์สิ้นเชิง หรือไม่ พีชะแห่งรูปกายจะเกิดขึ้นจริง ขึ้นกับ ว่าธรรมจักรอันประดับด้วยกาย วาจา ใจ บรรลุสวัสดิภาพของสรรพสัตว์ ทั่วสากลจักรวาลหรือไม่ การชำระล้างปรากฏการณ์สัมพัทธ์ทั้งหลายสู่ ธรรมธาตุ ขึ้นกับว่าได้ทำความสมบูรณ์แห่งพุทธภาวะอันสูงสุดหรือไม่ บุรพาจารย์สายกาจได้บรรยายเรื่องเหล่านี้และแยกแยะไว้อย่างเด่นชัด


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 17:34:02 »



                 

สรุป
เพื่อสรุปให้รวบรัด เอกัคคตาหมายถึง สามารถดำรงการภาวนาได้นาน เท่าที่ต้องการ เรียบง่ายหมายถึงรู้ว่าธรรมชาติที่แท้คือจิตธรรมดา และ รู้ว่ามันปราศจากฐานที่ตั้งหรือที่อิงอาศัย หนึ่งรสหมายถึง หลุดพ้นจาก ความยึดมั่นถือมั่นด้วยทวินิยมในสังสาระ และนิพพานด้วยความตื่นรู้ ไม่ภาวนาหมายถึง ความเศร้าหมองทั้งหลาย เพราะอกุศลกรรมและ ความเคยชิน ถูกชำระให้บริสุทธิ์ สาระสำคัญของโยคะสี่เป็นอย่างนี้

กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง ความแตกต่างระหว่างภาวนาและไม่ภาวนา ของเอกัคคตาคือเป็นภพหรือไม่ ความแตกต่างระหว่างภาวนาและ หลังภาวนาของเรียบง่าย คือมีสติหรือไม่ ระดับเหนือหนึ่งรส ภาวนา และหลังภาวนา ผสมกัน จึงแยกความแตกต่างไม่ได้

และยังมีอีกคือ ธรรมชาติของความคิดที่เกิดขึ้นอย่างไร้คิดคือ เอกัคคตา เกิดขึ้นอย่างความว่างคือ เรียบง่าย เกิดขึ้นเป็นความเท่าหรือเสมอกัน คือ หนึ่งรส ความสับสนสว่างไสวเป็นสติปัญญา ไม่ภาวนาอยู่เหนือกว่า คำพูด เช่น สับสน หรือไม่สับสน

และยังมีคำสอนอีกว่า การประสบผลสูงสุดเมื่อบรรลุเอกัคคตาคือ การ เข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างความหยุดนิ่งและการเกิดความคิด สำหรับ " เรียบง่าย " การประสบผลสูงสุด คือ การเข้าใจความแบ่งแยก ไม่ได้ระหว่างความสับสนและความหลุดพ้น สำหรับหนึ่งรส คือ การ เข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างปรากฏการณ์และจิต สำหรับไม่ภาวนา คือ การเข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่าง " ภาวนา " และหลังภาวนา

นอกจากนี้ ยังมีคำสอนว่าเอกัคคตาคือระหว่างที่จิตมีความยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน ภาวะความเรียบง่ายคือภาวนาและหลังภาวนา ภาวะหนึ่งรส คือเอกภาพ ไม่ภาวนาคือจิตรู้แจ้ง

ท้ายสุด เมื่อถึงเอกัคคตา ความคิดสงบระงับลง เมื่อถึงความเรียบง่าย รากเหง้าของความคิดถูกตัดขาด เมื่อถึงหนึ่งรส ปัญญาที่มีอยู่เองส่อง สว่างจากภายใน และไม่ภาวนาคือ การบรรลุถึงความตั้งมั่น กล่าวย่อ ๆ การแยกแยะและจำแนกชนิดต่าง ๆ มีมากมายแสดงได้ไม่มีสิ้นสุด แต่ หลักสำคัญมีดังนี้คือ การตระหนักรู้ภาวะดั้งเดิมแห่งจิต ภาวะที่แท้ตาม ธรรมชาติ การรู้วิธีดำรงจิตตามธรรมชาติตามสามัญธรรมดาไม่ถูกทำลาย โดยความปรุงแต่งเป็นสิ่งสำคัญเพียงประการเดียว ฑากินี นิกุมา ผู้ทรง ไว้ซึ่งปัญญากล่าวว่า



ถ้าคนไม่เข้าใจว่า อะไรที่เกิด คือการภาวนา
เธอจะบรรลุสิ่งใดโดยใช้ศาสตร์ที่ดีสุด
สัญญา ( วิปลาส ) ไม่สามารถละทิ้งได้
แต่เป็นอิสระทันทีเมื่อรู้ว่านั่นเป็นมายา




http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4820.0.html

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 7 4718 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2555 15:24:26
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา :ภาคสอง มรรคมหามุทรา สมถะและวิปัสสนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2074 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2555 15:07:33
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ข้อเด่นและข้อด้อย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2101 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:37:53
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ปัญจมรรค และ ทศภูมิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2168 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2555 16:56:23
โดย เงาฝัน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่สาม ผลมหามุทรา ตรีกายแห่งพุทธะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 4954 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2555 15:59:13
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.634 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 มีนาคม 2567 06:19:11