[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 12:42:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บารมี ๑๐ คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)  (อ่าน 6480 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 01:27:51 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]





ตอนที่ ๑ คำว่า "บารมี"
 
จาก หนังสือ บารมี ๑๐
 
 
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับวันนี้ก็จะขอเริ่มต้นเรื่อง บารมี ๓๐ ทัศ เพื่อเป็นการสนองความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะว่าคำว่า บารมี บรรดาท่านทั้งหลายส่วนใหญ่มักจะมีความหนักใจกัน เมื่อเราพูดกันถึงว่าการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน หรือปฏิบัติเพื่อความดีในด้านของพระพุทธศาสนา อาตมาได้ยินมาเป็นปกติ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้ามักจะกล่าวกันว่า บารมียังไม่ถึงบ้าง บารมียังอ่อนอยู่บ้าง หรือ ยังไม่มีบารมีเพื่อจะปฏิบัติบ้าง

การที่บรรดาท่านพุทธบริษัทปรารภอย่างนี้ อาตมาก็เห็นใจ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าอาตมาเข้าใจดีในคำว่า บารมี เดิมทีเดียวอาตมาเองก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับบรรดาท่านพุทธบริษัท คิดว่าคนที่จะปฏิบัติเอาดีในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเข้าถึงความดีสูงสุดได้ต้องมีบารมีมาเต็มแล้ว ตามที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาก็ทรงตรัสแบบนั้น

ทีนี้คำว่า บารมี นี่เราไม่เข้าใจกัน นี่อาตมาไม่พูดถึงว่า บรรดาพุทธบริษัทไม่เข้าใจ พูดว่าอาตมาเองน่ะมีความไม่เข้าใจเรื่องบารมีมาก่อน แล้วก็บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาจจะมีความดีกว่าอาตมามาก คือว่าท่านทั้งหลายอาจจะรู้จักคำว่าบารมีจริง ๆ มาก่อนก็ได้ แต่ว่าเรื่องนี้อาตมาขอยอมประกาศตรงๆ แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ยอมรับว่าอาตมาโง่เรื่องบารมีมามาก แล้วก็โง่มานาน อายุใกล้จะ ๖๐ ปี แล้วจึงได้รู้จักคำว่า บารมี

ความจริงการปฏิบัติในด้านบารมีอาตมาทำถูก ทั้งนี้ก็ต้องขอประทานโทษ อย่าถือว่าเป็นการยกย่องตัวเองเกินไป ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น คือทำมาแบบชนิดที่เรียกว่าบังเอิญถ่ายอุจจาระตรงร่อง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการทำไป ไม่รู้หรอกว่าบารมีแปลว่าอะไร

ตามที่ศึกษากันมา บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาตมาเคยเรียนภาษาบาลี ครูท่านก็สอนว่า บารมี แปลว่า เต็ม และ ปรมัง แปลว่า อย่างยิ่ง ก็คือเต็มไม่บกพร่อง ทีนี้เราก็เข้าใจกันว่าเต็ม เต็มกันอยู่เสมอ เลยไม่ทราบว่าบารมีเต็มตรงไหน อาตมาเป็นทั้งนักเรียน เป็นทั้งครู เป็นทั้งนักเทศน์ ก็สอนผิดเทศน์ผิดเข้าใจผิดมาตั้งแต่เป็นนักศึกษา ทั้งนี้อาตมาไม่โทษครูบาอาจารย์ เห็นจะเป็นเพราะว่าอาตมาเลวเกินไป ที่ไม่ได้สนใจไต่ถามครูบาอาจารย์ให้เข้าใจว่า บารมีหมายความว่าอะไร

อาตมาทราบเอาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๓ ปีนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมามาอยู่ที่ วัดจันทาราม หรือ วัดท่าซุง นี้แล้ว ก่อนหน้านั้นนิดหนึ่ง อาตมาอยู่กระต๊อบโคนต้นโพธิ์เพราะว่าที่วัดนี้ไม่มีอะไรเป็นหลักเป็นฐาน มีกุฏิโกรงเกรง ๆ อยู่ ๓ หลัง สองหลังที่รื้อไปก็ใช้การอะไรไม่ได้ ฝาก็โปร่งหลังคาก็ผุ พื้นก็ผุ รอดก็ไม่ดี ก็รื้อออกไป ยังเก็บไว้แต่เฉพาะกุฏิที่ท่านเจ้าอาวาสอยู่หลังเดียว คือมีสภาพแข็งแรง ศาลาก็โย้เย้ โบสถ์ก็ร้าว วิหารก็พัง หอสวดมนต์ใช้การไม่ได้ เมื่อท่านเจ้าอาวาสนิมนต์มา ก็ต้องไปปลูกกระต๊อบอยู่โคนต้นโพธิ์

ปีที่มานั้นเป็นวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ย้ายมาจาก วัดสะพาน โดยการอาราธนาของทางเจ้าอาวาสคือ พระครูสังฆรักษ์ (อรุณ อรุโณ) ได้จัดขบวนแห่ไปรับถึงวัด ไปกันเป็นร้อย ๆ คน ไม่ใช่คนสองคน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ปลายปี ท่านพลอากาศตรี หม่อมราชวงศ์เสริม สุขสวัสดิ์ พร้อมด้วยคณะของท่าน ทอดกฐินเป็นปีที่ ๒ คือปีแรกท่าน พลอากาศตรี พะเนียง กานตรัตน์ สมัยนั้นมียศขณะนั้น เวลานี้เป็นพลอากาศเอกแล้วได้มาทอดกฐินถวายโดยการสนับสนุนของ นาวาอากาศเอก อาทร โรจนวิภาต (ปัจจุบันยศพลอากาศเอก)เป็นผู้ติดต่อให้เพราะบวชอยู่ด้วย หลังจากนั้นจึงได้สร้างกุฏิขึ้นมาใหม่เป็นตัวตึก ๒ ชั้น พร้อมด้วยศาลาการเปรียญและวิหารสำหรับเอาพระที่เห็นควรแก่การบูชาประดิษฐานไว้ที่นั้น

ปีนั้นพอสร้างเสร็จก็ปรากฏว่าน้ำท่วม ต้องหนีขึ้นชั้นบน ชั้นล่างท่วมหมด ไปดูที่กุฏิเก่า (กระต๊อบที่อยู่)น้ำแค่คอ นี่เป็นบุญแท้ ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท
การสร้างกุฏิกับศาลาคราวนี้ มีทุนเดิมอยู่สามพันกับเจ็ดสิบห้าบาทเท่านั้น แต่ต้องใช้เงินทั้งหมดประมาณห้าแสนเศษ แต่ที่ผ่านไปได้ด้วยดีก็เพราะอาศัยบรรดาท่านพุทธบริษัทที่มีความเคารพในศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ช่วยกันสงเคราะห์ ซึ่งมีท่านพลอากาศตรี หม่อมราชวงศ์เสริม สุขสวัสดิ์ และ คุณเฉิดศรี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นภรรยา เป็นหัวหน้าในการชักชวนพวกเพื่อนทั้งหลายมาร่วมบำเพ็ญกุศล จึงได้อาศัยกุฏิหลังนั้นสอนบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนเนื่องในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ก่อนจะเข้าถึงเรื่องบารมีกัน ก็มาเล่าเรื่องเบื้องต้นกันเสียก่อน เพื่อความเข้าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท

มีคืนวันหนึ่งน้ำท่วมขึ้นมาแล้ว แต่ว่าท่วมไม่มาก ยังไม่ถึงพื้น ขณะนั้นอาตมามีร่างกายไม่ดี ความจริงอาตมานี่ป่วยไข้ไม่สบายมาตลอดชีวิต ร่างกายไม่ปกติกับเขา เพราะเป็นคนสร้างความชั่วไว้ในอดีตมาก คือในชาติที่เป็นอดีตอาตมาสร้างปาณาติบาตไว้มากบรรดาท่านพุทธบริษัท กรรมเก่าเขาก็ตามสนอง อาการความไข้มันเครียดหนักแต่อาตมาก็ไม่แสดงออกทางกาย เว้นไว้แต่บางครั้งที่ลุกไม่ไหว บรรดาประชาชนทั้งหลายจึงจะทราบว่าป่วยมาก ทั้งนี้เพราะอะไร ไม่ใช่มายาบรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมามีความอดทน ทนต่อกฎของกรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีต ถือว่าเป็นการชำระหนี้ความชั่วไป มันจะเบียดเบียนร่างกายเพียงใดก็ช่างมัน เพราะองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ว่า

ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
ร่างกายเป็นบ้านเช่าชั่วคราวเท่านั้น

นี่กระแสพระพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังก้องอยู่ในโสตประสาทของอาตมาอยู่ตลอดเวลา

ปรากฏว่าในคืนวันนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัทซึ่งมาขอเรียนพระกรรมฐาน มากันครบถ้วน ถึงเวลาใกล้ ๒๐.๐๐ น. อาตมาก็ขึ้นธรรมาสน์ หวังจะสงเคราะห์บรรดาท่านพุทธบริษัทด้วยบทสอนพระกรรมฐานตามที่มีความรู้ ความจริงความรู้ในด้านนี้ของอาตมาเห็นจะน้อย ยาวไม่แค่หางอึ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ดี ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทมีความปรารถนา อาตมาก็สงเคราะห์เท่าที่จะรู้ เท่าที่จะทำได้ อะไรก็ตามถ้าทำไม่ได้สิ่งนั้นไม่สอน เพราะทราบดีว่าถึงสอนก็ผิด

ทีนี้วันนั้น เมื่อขึ้นไปบนธรรมาสน์แล้ว ก่อนที่จะให้ศีล ได้นำบรรดาท่านพุทธบริษัททำวัตรสวดมนต์ ก็ปรากฏว่าเจ้าร่างกายทรชนที่มันเป็นศัตรูใหญ่ของอาตมา ที่อาตมากล่าวว่าร่างกายนี้มันเป็นศัตรูกับอาตมาก็เพราะว่ามันไม่ดีสักคราว ไม่ว่าวันไหนบรรดาท่านพุทธบริษัท จำได้มาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี ร่างกายของอาตมานี้มันไม่เคยปกติ มันให้โทษอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งอาตมาเบื่อหน่ายมันเต็มทีแล้ว จึงได้เชื่อองค์สมเด็จประทีปแก้วว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา อาตมาไม่สนใจมันนัก มันจะดีจะชั่ว มันจะทรงตัว มันจะพัง ก็ช่างหัวมัน ไม่คำนึงถึงมันอีก เพราะเจ้าศัตรูนี่ถ้าขืนคบไว้ก็สร้างแต่ความลำบากกายลำบากใจให้ปรากฏ

ก่อนที่จะนำบรรดาท่านพุทธบริษัทนมัสการองค์สมเด็จพระบรมสุคต เจ้าร่างกายจอมร้ายมันก็แสดงอาการออก คืออาเจียนอย่างหนัก (นี่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓) การอาเจียนไม่ยับยั้งผ่านไปประมาณ ๒ กระโถน รู้สึกหน้ามืด ใจสั่น กายหวิว เกือบจะทรงตัวไม่ไหว ขณะนั้นปรากฏว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มานั่งอยู่ด้วย ต่างก็พากันรายงานบอกว่า ถ้าร่างกายไม่ดีก็นิมนต์หลวงพ่อลงจากธรรมาสน์ ไม่ต้องสอน เขาจะทำกันเอง แต่อาตมาก็คิดในใจว่า ถ้ายิ่งร่างกายไม่ดีแล้ว อาตมาก็จะคุมกำลังใจให้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่แน่ใจว่าการขึ้นมานั่งบนธรรมมาสน์คราวนี้จะเดินลงไปเองหรือว่าจะให้ชาวบ้านเขาอุ้มลงไป เพราะว่ากำลังใจมันสิ้นลมปราณลงไปเสียก่อน

ในฐานะที่อาตมาประกาศตนเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร จึงบอกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทว่า ท่านไม่ต้องห่วง ถ้าอาตมายิ่งจะตายในขณะนี้ด้วย เรื่องการเจริญพระกรรมฐานจะให้งดนี้ไม่ได้แน่นอน เพราะยิ่งป่วยยิ่งเร่งรัดให้มาก เพราะเบื่อเจ้าร่างกายที่มีความอกตัญญูไม่รู้จักคุณที่เราขุนอยู่ตลอดเวลา อยากจะกินอะไรก็หาให้ ต้องการอะไรก็หาให้ แต่มันไม่เคยตามใจเรา ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้พูดเพราะเจ็บใจร่างกาย แต่เจ็บใจใจของตัวเองที่ไปคบกิเลสเข้าไว้

วันนั้นเมื่อเสร็จจากการอาเจียน บ้วนปาก ทรงกำลังใจดีแล้ว เห็นว่าร่างกายไม่รวน ก็นำบรรดาท่านพุทธบริษัททำวัตรสวดมนต์ สมาทานพระกรรมฐาน แล้วก็มานั่งพิจารณาตัวเองว่า เวลานี้ใจมันหวิวเกือบจะขาดใจ เสียงที่กล่าวออกไปก็ไม่ค่อยจะออก หน้ามืด มองคนข้างล่างดำไปหมด จำไม่ได้ว่าเป็นใคร แต่ก็ควบคุมกำลังใจ ทรงสติสัมปชัญญะตามสมควร คิดว่าวันนี้บางทีเราจะไม่ได้ลงเอง จะต้องถูกหามลง เพราะว่าสิ้นลมปราณเสียบนธรรมาสน์ จึงได้ตัดสินใจว่า
วันนี้ต้องสอนบรรดาท่านพุทธบริษัทเรียกว่าเอากันเฉือนขั้นสุดท้ายกันเลย เรียกว่าทิ้งทวนหรือว่าทิ้งไพ่ใบสุดท้าย และพุ่งทวนเล่มสุดท้ายที่มีอยู่ นั่นก็คือคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมครูที่เรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ

วันนั้นสอนบารมี ๑๐ ทัศ แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายจะมีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจเพียงใด อาตมาก็ไม่ทราบ เพราะสอนไม่ค่อยตรงเป้าหมาย เมื่อสอนเสร็จเวลาผ่านไปก็ดับไฟ สั่งให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพากันเจริญพระกรรมฐานทรงสติสัมปชัญญะ คือว่าตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้คำภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย เพราะการภาวนาก็ดีพิจารณาก็ดีนี่ อาตมาไม่ขัดใจใคร ใครเคยทำแบบไหนคล่องมาแล้ว ให้ทำอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เพราะอะไร...?

เพราะว่าการภาวนาหรือพิจารณาที่ทำมาแล้ว ถ้าไม่ผิดก็ไม่ควรจะเปลี่ยน เพราะแบบปฏิบัติมีมากด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้จึงจะถูก ทำอย่างไรก็ตาม ถ้าปรารภจิตเป็นสมาธิระงับจากนิวรณ์ หรือปรารภจิตเป็นปฏิปักษ์ขันธ์ ๕ ใช้ได้หมด ถ้าตรงกับแนวคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตแล้ว อาตมาไม่ปฏิเสธการปฏิบัติของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
เมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทเริ่มปฏิบัติ อาตมาก็คิดในใจว่าร่างกายไม่ดีแบบนี้เราจะทนมันอยู่ทำไม ไปเสียจากร่างกายดีกว่า ปล่อยให้มันนั่งอยู่ตรงนี้ พอสัญญาณบอกเวลาปรากฏเราจึงจะกลับมา ฉะนั้นจึงได้ไปเสียจากกาย ไปไหว้พระ จะไปแบบไหนอันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมาไม่บอก บอกไม่ได้ ไปอย่างไร ไปโดยวิธีไหน อยากจะรู้ก็ปฏิบัติกันเอาเอง แต่ความจริงมันก็ไม่ใช่ของดีของเด่นอะไรนัก การไปได้มาได้ถ้าใจเหลิงเกินไปก็ยังลงนรกได้ ไม่ใช่ของพิเศษ เมื่อออกไปแล้วก็พบองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์

นี่ขวางกับชาวบ้านเขาแล้ว เขาบอกว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว จะพบกันได้ยังไง นั่นมันเรื่องของเขาบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย นี่มันเรื่องของอาตมา อาตมาพบกันได้ก็แล้วกัน เมื่อพบแล้วก็เข้าไปนมัสการองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว พอเงยหน้าขึ้นมาพระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า "สัมพเกษี วันนี้เธอสอนบารมี ๑๐ ทัศใช่ไหม ...?"

ก็กราบทูลพระองค์ว่า "ใช่พระพุทธเจ้าข้า"

พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า "สัมพเกษี บารมีแปลว่าอะไร...?"
ตอนนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายขอได้โปรดทราบว่า ถ้าอาตมาสอนถูกพระองค์จะไม่ทรงตรัสแบบนั้น อาตมารู้ทันรู้เท่าเข้าใจทันทีว่า การสอนวันนี้ผิดพุทธพจน์บทพระบาลี

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทการสอนนี้ไม่ใช่ว่ามันจะถูกเสมอไป มันก็ผิดได้เหมือนกัน เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรมีพระพุทธฎีกาตรัสถามแบบนั้นอาตมาก็ทราบ จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่แน่ใจนักพระพุทธเจ้าข้า แต่ที่เรียนกันมา ครูสอนว่าบารมีแปลว่าเต็ม"

พระองค์จึงทรงตรัสถามว่า "อะไรมันเต็ม และมันเต็มแบบไหน สมมุติว่าเธอจะปฏิบัติในทานบารมี ทำยังไงทานบารมีมันถึงจะเต็ม ถ้าหากว่าจะนำของมาให้เต็มโลก เธอจะไปขนมาจากไหน ถ้าเราจะไม่นำของมาให้ ทำยังไงทานบารมีมันจึงจะเต็ม...?"

แบบนี้มันก็อยู่ด้วยกันทั้งนั้นแหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าคนอย่างอาตมา ถ้าหากว่าท่านที่เป็นนักปราชญ์ดีกว่าอาตมาก็ไม่เป็นไร ท่านไปได้ เพราะท่านมีความเข้าใจ ท่านมีความฉลาด อาตมาบอกแล้วนี่ว่าอาตมามีความรู้ไม่เท่าหางอึ่ง คือยาวไม่เท่าหางอึ่งหรือไม่แค่หางอึ่งเพราะความโง่มันมาก
เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสแบบนั้นก็ทูลถามพระองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจในบารมีพระพุทธเจ้าข้า"

พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "สัมพเกษี เธอเข้าใจ ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่ว่าเธอดีแต่เฉพาะบริโภคเองเท่านั้น แต่การที่จะแบ่งปันให้บุคคลอื่นน่ะ เธอไม่มีความฉลาด การที่เธอตั้งกำลังใจในด้านบารมี ๑๐ ทัศ เป็น ๓๐ ทัศ ด้วยกัน ๓ ชั้น เธอทำได้ แต่ว่าวันนี้เธอสอนบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เธอทำไม่ถูก เธอจงมีความเข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่าบารมีนี้มันแปลว่าเต็ม แต่อะไรมันเต็มตถาคตจะบอกให้ว่า บารมีนี่ควรจะแปลว่ากำลังใจเต็ม"

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จำไว้ให้ดีว่า คำว่าบารมีก็คือกำลังใจ ทำกำลังใจให้เต็ม ตอนนี้ซิชักจะฉลาดขึ้นมาทันที มานึกในใจว่าเรานี่มันแสนจะโง่เสียมาก
กำลังใจเต็มตอนไหนบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านก็ทรงให้ทวนเรื่องบารมี ๑๐ ทัศ ว่ามีอะไรบ้าง อาตมาก็ถวายคำตอบแก่พระองค์ว่า

๑. ทานบารมี
๒. ศีลบารมี
๓. เนกขัมมบารมี
๔. ปัญญาบารมี
๕. วิริยบารมี
๖. ขันติบารมี
๗. สัจจบารมี
๘. อธิษฐานบารมี
๙. เมตตาบารมี
๑๐. อุเบกขาบารมี

องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สัมพเกษี ถูกแล้ว บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ไม่มีอะไรบกพร่อง คือ

. จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
. จิตพร้อมในการทรงศีล นี่ซิบรรดาพุทธบริษัท พร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ ไม่ใช่ปล่อยให้ศีลมันหล่นไป
. จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะก็แปลว่าการถือบวช บวชผมยาว บวชผมสั้น บวชโกนหัว ไม่โกนหัว ได้ทั้งนั้น
. จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารอุปาทานให้พินาศไป
๕. วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
. ขันติ มีทั้งอดทั้งทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
. สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง ไม่มีอะไรในคำว่าไม่จริงสำหรับใจเรา ในด้านของการทำความดี
. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดีไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
๑๐. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว อย่างที่เธอเป็นวันนี้ อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมัน ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า วันนี้ยังไม่สอนอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัท เรามาคุยกันในคำว่า บารมี ทั้งหลายได้ทราบชัดว่า บารมีที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ให้เราสร้างให้มันเต็มนั้น ก็คือสร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งคิด เราจะมานอนคิด เราจะมาทรงจิตว่า เอ๊...บารมีของเรามันไม่มีนี่ ชาติก่อนบารมีของเรามันไม่พอ บารมีของเรายังไม่เต็ม เราจะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ยังไงได้

ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย มีความเข้าใจตามนี้ พอยังจะรู้รึยังว่าเราสามารถจะสร้างบารมีได้ด้วยอาศัยกำลังใจ ความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัทมี กำลังใจอย่างเดียวเท่านั้นที่เราจะทำให้มันดีหรือไม่ดี อันนี้ก็ตรงกับพระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในเรื่อง พระจักขุบาล ว่า

มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ นี่ความจริงเรื่องนี้ก็เรียนกันมาแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่เวลาปฏิบัติจริง ๆ มันทำไมถึงลืมก็ไม่ทราบ

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคงจะเข้าใจคำว่า บารมี แล้วอย่าลืม บารมีแปลว่าเต็ม แต่ส่วนที่เราจะทำให้เต็มนั้นก็คือกำลังใจ ให้กำลังใจมันพร้อม พร้อมที่จะทรงความดีในด้านบารมีไว้ ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย
ที่นำบารมีทั้ง ๑๐ ประการมากล่าวในตอนนี้ก็เพราะว่า ในตอนต้นพูดเรื่องพระโสดาบันเข้าไว้ เห็นว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาจจะคิดว่า แหม...มันยากเกินไป ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบันมันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์

ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ
ศีล เราก็ตัดความโกรธ
เนกขัมมะ ตัดอารมณ์ของกามคุณ
ปัญญา ตัดความโง่
วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
ขันติ ตัดความไม่รู้จักการอดทน
สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์บริบูรณ์
เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเราไม่ปรารภ

เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทสมบูรณ์เพียงใด คำว่า พระโสดาบัน นั้นบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะรู้สึกว่าง่ายเกินไปสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท

ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนที่มีบารมีเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ มีกำลังใจเต็มทุกอย่างใน ๑๐ ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เรียกว่าพระโสดาบัน แล้วท่านเรียกว่าอะไร ท่านเรียกว่า พระขีณาสพ แปลว่า ผู้มีอาสวะอันสิ้นไปแล้ว หรือเรียกว่า พระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาอันดับสูงสุดเข้าถึงซึ่ง พระนิพพาน ได้

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี

 หัวเราะลั่น

http://www.luangporruesi.com/326.html


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 01:28:21 »


ตอนที่ ๒ ทานบารมี

 
จาก หนังสือ บารมี ๑๐
 
 
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้มาเริ่มเรื่องบารมีต้นกัน บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทราบแล้วนี่ว่าบารมีคืออะไร ขอย้อนกันสักหน่อยดีไหม...เผื่อว่าจะลืมไป
 
บารมีก็คือกำลังใจยังไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัท อย่าลืมว่าความดีในพระพุทธศาสนานี่ขึ้นอยู่กับกำลังใจอย่างเดียว เพราะท่านทั้งหลายยังคงจำได้ว่าคนเราถ้าตายไปแล้ว ที่เขาบอกว่าไปตกนรก ไปขึ้นสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน เขาไม่ได้ไปกันอย่างอื่น เขาเอาใจไปกัน เขาไปกันด้วยกำลังใจ
 
ที่นี้สำหรับบารมีที่เราจะสร้างขึ้นไว้ เราจะสร้างเพื่อไปไหนล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน ไปส่งเดชตามที่เราจะพึงไป ถ้าเราสร้างควรมดีไว้ เราก็ไปในส่วนดี คำว่า เรา ในที่นี้คือจิต ไม่ใช่กาย
 
องค์สมเด็จพระทศพลทรงกล่าวว่า บารมีคือกำลังใจ นี่บรรดาท่านทั้งหลายเห็นความโง่ของอาตมาไหม...? ท่านทั้งหลายจงอย่าคิดว่าคนที่เป็นครูท่านอยู่ในเวลานี้เป็นคนฉลาด แต่ที่แท้แล้วองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถท่านบอกว่า จอมโง่ โง่เพราะอะไร โง่เพราะไม่รู้จักคำว่า บารมีมันคืออะไร....? เหมือนกับคนที่ขี่ควาย คนที่ขี่ช้าง ไม่รู้จักว่า ควายเป็นยังไง ช้างเป็นยังไง ขี่ได้ใช้งานได้ แต่ไม่รู้จักชื่อ อันนี้ได้แก่อาตมาเอง บรรดาท่านพุทธบริษัท
 
ทานบารมี เป็นบารมีต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าเรายังไม่ไปนิพพานจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ยังได้ จะเกิดเป็นเทวดาก็ได้ จะเกิดเป็นพรหมก็ได้ หรือจะไปนิพพานก็ได้ ตามใจบรรดาท่านพุทธบริษัทให้เลือกเอา ประเดี๋ยวจะมาหาว่ามานั่งเกณฑ์กันเข้าไปนิพพาน ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าไปได้ก็ไป ถ้าไปไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไป จะไปหรือไม่ไปก็ตามใจบรรดาท่านทั้งหลาย
 
เรามาดู ทานบารมี กันก่อน ว่าที่องค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าทานบารมีเต็มแล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงรับรองว่ามีหวังไปนิพพานได้
 
คราวนี้เราก็มานั่งพิจารณาถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร ถึงรากเหง้าของกิเลสอันถือว่าเป็นแม่บทของกิเลสบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือว่าเป็นสีหลักผสมกับสีอื่นๆ เขาเรียกว่าว่า แม่สี ทีนี้แม่ของกิเลสก็คือรากเหง้าของกิเลสนั่นเอง หรือจะเรียกว่า จอมกิเลส ก็ได้
 
จอมบงการของกิเลสก็ได้แก่กิเลส ๓ ประการ คือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง
 
สำหรับโลภะ ความโลภ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ทำลายด้วยการให้ทาน เพราะการให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการให้ ส่วนโลภเป็นตัวดึงเข้ามานี่เป็นศัตรูกัน
ที่นี้ว่ากันถึงกิเลสทั้ง ๓ ประการ มันก็เหมือนกับโต๊ะ ๓ ขา โต๊ะถ้ามีอยู่ ๓ ขา หากเราทำลายเสียขาใดขาหนึ่งได้ ที่เหลืออีก ๒ ขามันก็ทรงตัวไม่ไหว มันก็ต้องสลายไปด้วย
 
ที่นี้เรามาดูการให้ทานที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ทำลายความโลภ การให้ทานนี้น่ากลัวว่าจะต้องแบ่งเป็นหลายระดับด้วยกัน มิฉะนั้นการให้ทานก็จะไม่สมบูรณ์แบบ
การให้ทานบรรดาท่านพุทธบริษัทเป็นปัจจัยใน กามาวจรสวรรค์ องค์สมเด็จพระพิชิตมารกล่าวว่า การให้ทานนี้จัดเป็น ๓ ระดับด้วยกัน นี่แบบหนึ่งนะ อันที่จริงมันมีหลายแบบทาน 3 ระดับ คือ
 
. ทาสทาน เวลาที่เราจะให้ทาน เราก็ให้ของเลวกว่าของที่เรากินเราใช้
. สหายทาน เวลาที่เราให้เราก็ให้ของเสมอกับที่เรากินเราใช้
. สามีทาน เวลาที่เราจะให้เราให้ของดีกว่าที่เรากินเราใช้
 
นี่เป็นเครื่องวัดกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทเราวัดใจของเราเองว่า เวลาที่เราจะให้ทานน่ะ การให้ทานนี้ต้องให้เพื่อการสงเคราะห์อย่างเดียว ไม่ให้เพื่อหวังผลตอบแทน
 
นี่อย่าลืมนะบรรดาท่านพุทธบริษัทหรือท่านพระโยคาจรทั้งหลายผู้ประกอบความดีเพื่อความเป็นพระ คือเป็นผู้ประเสริฐ ไม่ใช่ว่าเราให้ทานแล้วก็มานั่งนึกทีหลังว่าเจ้าคนนี้เราให้ไปแล้ว นางคนนั้นเราให้ไปแล้ว แต่ให้ไปแล้วมันไม่รู้จักบุญคุณ ไม่รู้จักตอบแทนเราสักที ถ้าท่านทั้งหลายมีเจตนาในการให้ทานแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่าเป็นการให้ทานที่มีกำลังใจยังไม่เต็ม บารมีส่วนนี้ยังมีกำลังอ่อนอยู่ แล้วก็เป็นบารมีที่ดึงลงอบายภูมิได้ง่าย ๆ
 
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราให้ทานแล้วหวังผลในการตอบแทนในการตอบสนอง ถ้าเขาไม่ตอบสนองเรา เราก็เกิดความกลุ้มใจ ความไม่สบายใจมันเกิด ถ้าความไม่สบายใจมันเกิด จิตมันก็มัวหมอง พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า
 
"จิตเต สังกิลิฎเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา"
"ก่อนที่เราจะตาย ถ้าจิตของเราเศร้าหมองละก็มีหวัง ทุคติเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดียรัจฉาน" เกิดเป็นคนก็หาความสุขไม่ได้ แบบนั้นเขาไม่ชื่อว่าเป็นการให้ถือว่าเป็นการยืมไป
 
ถ้าเราให้กันด้วยความเต็มใจ เราให้จริง ๆ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ ทานตัวนี้ต้องมีจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยการสงเคราะห์ปรารถนาให้เขามีความสุขจากวัตถุที่เราให้ หรือว่ากำลังใจที่เราให้ ถ้าเราให้ไปด้วยการสงเคราะห์จริง ๆ แต่ทว่าเวลาให้นะบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ถ้าเขามาขอเรา เรายังต้องแบ่งว่า ไอ้นี่ยังใช้ได้ไม่ให้ นี่ดีเกินไปเรายังไม่ได้ใช้ เรายังไม่ให้ ให้เฉพาะของที่เราไม่ต้องการจะกินไม่ต้องการจะใช้ของเลว ๆ เราจึงจะให้ ถ้าถามว่าการให้แบบนี้ดีหรือไม่ดีอาตมาก็ตอบว่าดี เพราะเกิดชาติหน้าเราก็เป็นมหาเศรษฐีได้ อย่างอาฬวีเศรษฐี เป็นต้น
 
อาฬวีเศรษฐี เกิดมาในสมัยองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ อาฬวีเศรษฐีคนนี้ใช้ของดีไม่ได้ ผ้าผ่อนท่อนสไบต้องเก่าต้องช้ำเสียก่อนจึงจะใช้ได้ ของที่จะกินเข้าไปถ้าเป็นของดี ๆ เช่น ข้าวมธุปายาส แกก็กินไม่ได้ ข้าวเต็มเม็ดที่เรียกกันว่าว่าข้าว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์หรือ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ แกก็กินไม่ได้ ต้องกินข้าวหักหรือปลายข้าว แต่ว่าแกก็เป็นมหาเศรษฐีได้
 
องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า "อานันทะ ดูก่อน อานนท์ อาฬวีเศรษฐีเป็นมหาเศรษฐีขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยการให้ทานเป็นสำคัญ แต่ว่าการให้ทานของอาฬวีเศรษฐีนั้นให้ทานเป็นทาสทาน คือของดีไม่ให้ ให้แต่ของเลว" แต่ก็ยังมีผลบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน เกิดมาเป็นคนยังเป็นมหาเศรษฐีได้ ก็เบ่งกับยาจกได้เหมือนกัน ในการให้ทานประเภทนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ถือว่าบารมียังต่ำ นับเป็นบารมีต้น
 
องค์สมเด็จพระทศพลทรงเปรียบเทียบต่อไปว่า ถ้าเราให้ทานเป็นสหายทาน ให้เพื่อเป็นการสงเคราะห์ เวลาที่เราจะให้ ให้ของดีของกินของใช้สม่ำเสมอกับที่เรากินเราใช้และก็ให้ด้วยความเต็มใจ ด้วยการสงเคราะห์ ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งหมด อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมสุคตกล่าวว่าทานของท่านจัดเป็นอุปบารมี มีความแน่นแล้ว อุป แปลว่าเข้าไป ใกล้ มั่น แสดงว่าเดินเข้าไปหาพระนิพพาน ไม่ถอยหลัง แล้ว เดินใกล้เข้าไปทุกที ๆ ไม่ถอยหลัง
 
ต่อไปถ้ากำลังใจของเรานี้ดีขึ้นไปกว่านั้น เวลาที่เราจะให้ทานก็ต้องดู ไอ้ของนี่มันช้ำแล้วให้แล้วมันไม่ดี เขาจะตำหนิเอา หรือประการหนึ่ง ไหน ๆ เราจะให้ก็ควรจะให้ของดี เพราะว่าคนทุกคนต้องการของดี ส่วนของบริโภคก็เหมือนกัน ปกติเรากินน้ำพริกผักต้มได้ แต่เวลาเราจะทำบุญหรือเราจะให้ทาน ต้องให้ของดี ๆ ทำบุญด้วยของดี ๆ อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาทรงตรัสว่า เป็น ปรมัตถบารมี ในด้านของวัตถุหรือกำลังใจ อย่าลืมว่าวัตถุที่มันจะไปได้ต้องอาศัยกำลังใจบรรดาท่านพุทธบริษัท
 
การให้ทานอย่างนี้เป็นการเปรียบเทียบง่าย ๆ ให้บรรดาพุทธบริษัทเข้าใจว่า มันอาศัยกำลังใจอย่างเดียวมันจะเต็มหรือไม่เต็ม ดูกำลังใจของเรา วัดที่วัตถุที่เราให้แล้วก็ดูกำลังใจของเราว่าเรามีความห่วงใยในทานของเราไหม...ให้แล้วเราหวังผลตอบแทนบ้างหรือเปล่าบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเราไม่หวังผลตอบแทน ให้ด้วยการตัดขาดและให้ของดีได้อย่างนี้เป็นอันว่าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีกำลังใจเต็มตามสมควร นี่มีความเต็มพอใช้ได้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย แต่ยังก่อน....นี่มันเต็มกันแค่วัตถุ
 
แต่ทานที่มีความสำคัญยิ่งไปกว่านี้อีกทานหนึ่ง นั่นคือทานที่ไม่ต้องลงทุน ทานจุดนี้เป็นทานอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย คือ อภัยทาน ทานตัวนี้มีความสำคัญมากแต่ก็ต้องบวกกับวัตถุเหมือนกัน วัตถุทานเราต้องให้แต่ว่ากำลังใจในการให้อภัยก็ควรจะมี เพราะทานประเภทนี้นอกจากว่าจะเป็นทานที่มีกำลังสูงส่งและไม่ต้องลงทุนแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบอกว่า บวกด้วยอำนาจเมตตาบารมีนี่เป็นอันว่าการให้ทานทั้งทีนะบรรดาท่านพุทธบริษัทถ้ากำลังใจในการให้ทานของเราเต็ม ท่านทั้งหลายจะอย่าพึงคิดว่าเราจะมีผลแต่เพียงทานบารมีเท่านั้น การให้ทานคราวเดียวบรรดาท่านพุทธบริษัท บารมี ๑๐ ประการ ล้อมรอบเข้ามาครบหมด นี่จะอธิบายให้ฟังเพื่อความเข้าใจง่ายของบรรดาท่านพุทธบริษัท คือว่า
 
ก่อนที่เราจะให้ทานเราก็ลองคิดดูว่า เราให้เพื่อการสงเคราะห์ไม่ใช่ให้ทานเพื่อโก้ และก็ไม่ใช่ให้ทานเพื่อหวังผลตอบแทน เป็นการตัดจริง ๆ การให้ทานของเราจุดนี้เราต้องการตัดกิเลส คือ โลภะ ความโลภ เพราะความโลภเป็นตัวดึงเข้า ทานเป็นตัวขยายออก นี่บรรดาท่านพุทธบริษัทจำตัวนี้ไว้ให้ดี
 
ไอ้การดึงเข้านี่มันเป็นการก่อสร้างศัตรูหนัก แต่ว่าการขยายออกนี่เป็นการสร้างมิตรอย่างหนัก คนให้ทานมีประโยชน์มาก แต่ทว่าอย่าไปหวังผล เพราะคนรับทานแล้วแต่จิตเป็นทรชน คือทรยศต่อบุคคลผู้ให้ก็มีอยู่ เช่นองค์สมเด็จพระบรมครูให้ พระเทวทัต ให้ทุกอย่าง ให้ทั้งวัตถุให้ทั้งกำลังใจแต่ว่าคนจังไรประเภทนั้นไม่รู้สึกในคุณของพระพุทธเจ้า
 
การให้ทานที่เราอย่าไปสนใจกับการตอบสนองการรู้คุณ เราต้องการอย่างเดียวคือตัดกิเลสได้แก่โลภะ ความโลภ
 
อาตมาได้บอกกับบรรดาท่านพุทธบริษัทไว้ในตอนต้นแล้วว่า การให้ทานถ้าเราตัดความโลภได้ตัวเดียวความโกรธกับความหลงอีกสองตัวมันก็พังไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่พังหมดแต่ทว่ากำลังของมันมีน้อยเกินไป จะเหลือแต่เพียงอนุสัยเท่านั้น มันเป็นยังไงล่ะบรรดาทางพุทธบริษัทถึงเป็นแบบนั้นได้ จะอธิบายให้ฟังโดยย่อจะได้ไปยืดยาดนัก
 
การให้ทานเพื่อหวังในการสงเคราะห์ หวังตัดความโลภจากจิต อันนี้จึงจะเป็นกำลังใจตามที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร์มีความประสงค์
 
ที่เรียกว่า บารมี หรือทานบารมีนี้ ในเมื่อเราให้ทานเพราะอาศัยมีความรัก มีความสงสารเป็นปัจจัย ถ้าเราเกลียดแล้วเราก็ให้ไม่ได้เหมือนกัน เพราะเรายังไม่ใช่พระอรหันต์นี่ เวลานี้เรายังบำเพ็ญบารมีอยู่จะไปเอากำลังเท่าองค์สมเด็จพระบรมครูหรือว่ากำลังใจเท่าพระอรหันต์นั้นเป็นไปไม่ได้
ทีนี้ก็ลองคิดกันดูว่า ถ้าเราเกลียดเราจะให้ได้ไหม....? ไม่ได้แน่บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่าว่าแต่สละวัตถุเลยแม้แต่กำลังใจที่คิดจะให้มันก็ไม่มี ทีนี้การให้ทานเราต้องบอกอะไรเข้ามาบ้าง ก่อนจะให้หวังในการสงเคราะห์ หวังในการเกื้อกูล อาศัยความรัก ความสงสาร เป็นสำคัญ
 
ความรักความสงสารเป็นอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เป็น เมตตาบารมี เห็นหรือยัง...นี่เราจะให้ทานแล้วเมตตามันเข้ามาค้ำจุนอยู่ เข้ามาประคับประคอง นี่เป็นสองบารมีเข้าควบกันแล้ว
ทีนี้คนในเมื่อเมตตาบารมีปรากฏ มีเมตตาแล้วอะไรมันตามมาอีกบรรดาท่านพุทธบริษัท ตัวเมตตาเกิดขึ้นแล้วศีลมันก็ปรากฏ เพราะศีลจะมีกับใครได้นั้นต้องมีเมตตาเป็นพื้นฐาน การให้ทานเรามีทั้งเมตตาทั้งกรุณาทั้ง ๒ ประการ คือรักและสงสารในเขา ศีลก็วิ่งเข้ามาช่วยประคับประคองในทานเข้าไปอีกจุดหนึ่ง
 
การให้ทานของเรานี้นี่บรรดาท่านพุทธบริษัท เราต้องการตัดโลภะ ความโลภ เราหวังพระนิพพานเป็นปัจจัย เราไม่ได้หวังอะไรเป็นเครื่องตอบแทน จิตมันก็บริสุทธิ์ การให้ทานตัวนี้ไม่ใช่ว่าผู้ชายให้ทานแก่สตรี สตรีให้ทานแก่ชายเพื่อหวังในการร่วมรักกันในกามารมณ์นะ ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะว่าเราให้เพื่อการสงเคราะห์ ไม่ใช่ซื้อความรักด้วยการให้ทานในวัตถุ
คราวนี้ เนกขัมมบารมี คือการถือบวชมันก็ปรากฏ เนกขัมมะ ที่เขาถือกันได้ในชั้นต้นก็โดยตัดนิวรณ์ ๕ ประการ คือ
 
. ความรัก ด้วยอำนาจกามารมณ์
. ความโกรธ เรามีเมตตาเสียแล้ว จะโกรธยังไงล่ะ
. ตัวง่วง เราไม่โกรธแล้วตั้งใจให้ทานมันจะง่วงตรงไหน
. อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน เราตั้งใจไว้แล้วว่าเราทั้งรักทั้งสงสาร จิตมันตรงแน่ว มันจะฟุ้งซ่านไปไหน
. ความสงสัย (ในเนกขัมมะ) มันก็ไม่ปรากฏ เพราะเราเชื่อองค์สมเด็จพระบรมสุคตว่า การให้ทานเป็นการตัดความโลภ เป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน กำลังใจเรามันเต็มเสียแล้ว ถ้าเราสงสัยเราจะให้ยังไง นี่เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร
เห็นไหมบรรดาท่านพุทธบริษัท การให้ทานคราวเดียวเนกขัมมบารมีวิ่งเข้ามาชนอีก เป็น ๔ บารมีแล้ว
 
อีกบารมีหนึ่งที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบอกว่า ปัญญาบารมี ลองมาคิดพิจารณากันดูให้ดีว่า คนโง่น่ะจะมีใครไห้ทานไหม...คนโง่เขาไม่ให้ทานหรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท เขาเสียดายของ เพราะถือว่าของของเขาหามาได้โดยยาก ไม่มีใครเขาให้ ไม่มีกินไม่มีใช้ก็ช่าง ตัวอยากไม่หาทำไม
 
แต่คนที่จะให้ทานได้ต้องอาศัยเป็นคนมีปัญญา เอาปัญญาเข้าไปพิจารณาในตอนต้น เอาแบบต่ำ ๆ นะบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน เรียกว่าต่ำมากที่สุด นั่นก็คือเรามาพิจารณาว่าการให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการผูกมิตรทำจิตใจให้มีความสุข เราไปทางไหนก็ตามถ้าเรามีเพื่อนมาก มีคนเป็นที่รักมาก เราก็มีความสุข เพราะอันตรายมันมีน้อย กล่าวคือช่วยป้องกันอันตรายได้ ทำใจให้เป็นสุข ให้มีความเป็นอยู่เป็นสุข เพราะการให้ทานก็ด้วยอำนาจเมตตาบารมีเป็นผู้นำ
 
การให้ทานนี่ต้องมีเมตตาบารมีเป็นผู้นำ ถ้าขาดเมตตาบารมีนำแล้ว การให้ทานมีผลไม่ได้ ในเมื่อเรามีเมตตาจิตคนที่คิดประทุษร้ายก็น้อยเต็มที เว้นไว้แต่ผู้ร้ายขององค์สมเด็จพระชินสีห์คือ พระเทวทัต หรือเผ่าพันธ์ของเขาเท่านั้น นี่ปล่อยเขาเขาไปบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ทีนี้มีปัญญาสูงไปกว่านั้น เขาก็คิดว่า การให้ทานนี่เป็นการทำลายความโลภ เป็นการทำลายการเกิดที่จะมาสู่คนให้รับผลความทุกข์ต่อไป นี่คนที่มีปัญญาใหญ่เขาก็จะพิจารณาอย่างนี้ ฉะนั้นการให้ทานสักทีก็ต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องประกอบ เอาละซีบรรดาท่านพุทธบริษัท ปัญญาบารมีก็มากับทานอีกแล้ว
 
อีกบารมีมีหนึ่งที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบอกคือ วิริยบารมี วิริยะ แปลว่า ความเพียร คนที่จะให้ทานในระยะแรกๆ ที่มีบารมียังอ่อน ถ้าไม่มีความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่ หรือความขี้เหนียว ความหวงแหนในทรัพย์สินของตน อันนี้อาตมารับรองผลเลย ถ้าไม่มีความเพียรตัดไอ้ตัวนี้ให้ทานไม่ได้ ต้องใช้ความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ คือความตระหนี่เหนียวแน่นให้สลายตัวไป ไม่ยังงั้นทำไม่ได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท
 
อีกประการหนึ่งคนที่ตั้งใจจะให้ทาน หวังผลในทานบารมี ถ้าเราจะให้ทานด้วยวัตถุเรา ก็ต้องเพียรหาวัตถุเข้ามา นี่วิริยบารมีก็ตามมา ถ้าหากว่าเราจะให้ทานเป็นอภัยทานคือกำลังใจไม่ประกาศเป็นศัตรูกับใคร เราก็ต้องมีความเพียรตัดความโกรธ ตัดความพยาบาท นี่เป็นอันว่าการให้ทานครั้งเดียว วิริยบารมีวิ่งตามเข้ามาอีกแล้ว
 
ต่อไปบารมีที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ขันติ คือความอดทน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ วัตถุทานที่เราจะได้มาบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เราต้องหามาด้วยความเหนื่อยยาก เราหามาด้วยความลำบากอย่างยิ่ง กว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงจะมีเงินจะมีของ ต้องเหน็ดเหนื่อยด้วยประการทั้งปวง ถ้าไม่อดทนในการหาละก็เราก็ไม่มีวัตถุในการให้ทาน นี่เรื่องของทาน ขันติบารมีวิ่งเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง
 
ตานี้ขันติ ความอดทนที่ต้องเสียทรัพย์สินที่หามาได้โดยยาก นี่มันมีความสำคัญมากบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่ขาดขันติบารมีแล้วหยิบอะไรไม่ได้ คิดว่าแหม...ของสิ่งนี้ซื้อมาแพง กว่าเราจะมีเงินซื้อก็มีแต่ความลำบากมีความยุ่งยากด้วยประการทั้งปวง จะให้เขาทำไมหนอ....ใจมันก็ไม่สบาย ตอนนี้ก็ต้องเอาขันติเข้าข่มใจ อดทนเข้าไว้ ว่าเราอดเปรี้ยวเพื่อกินหวาน เราให้วัตถุทานเพื่อหวังพระนิพพานซึ่งเป็นที่มีความสุขในเบื้องหน้าหรือถ้าจะกล่าวกันโดยย่อก็คิดว่าเราให้ทานนี่หวังผลในความร่ำรวยอาฬวีเศรษฐี หรือ ทานัง สัคคโส ปาณัง เราให้ทานนี่เพื่อต้องการไปสวรรค์เป็นเทวดา เป็นนางฟ้าสบาย ๆ อย่างนี้กำลังใจต้องมีความอดทน ต้องมีปัญญาเข้ามาปลอบ มีวิริยะความเพียรเข้ามาข่มขี่ ตัดมัจฉริยะความตระหนี่ให้มันพินาศไป
 
ที่นี้บารมีต่อไป สัจจบารมี เราตั้งใจไว้แล้วนี่ ว่าเราจะให้ทาน เราทำกิจการงานทั้งหมดเพื่อจะรวบรวมทรัพย์สินบริจาคทาน เพื่อหวังพระนิพพาน เพื่อหวังสวรรค์ เพื่อหวังพรหม เพื่อหวังความเป็นมนุษย์ที่ร่ำรวย เราก็ต้องให้จนได้ เราจะไม่ยอมเสียสัจจะความจริงใจ เอาเข้าแล้ว นี่การให้ทานตัวเดียว ควบสัจจบารมีเข้าอีก
 
ต่อไป อธิษฐานบารมี ตัวที่ตั้งใจไว้ว่า นี่เราจะต้องให้ทานเพื่อเป็นการทำลายความโลภให้หมดไปจากใจ คือว่าเราจะให้ทานเพื่อความอยู่เป็นสุขในชาติปัจจุบัน หรือว่าเราจะให้ทานเพื่อความปรารถนาว่า ผลของทานนี้นั้นสามารถจะส่งผลให้ไปสวรรค์ได้ ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า ทานัง สุคคโส ปาณัง ทานย่อมเป็นบันไดให้ไปสวรรค์ นี่เราตั้งจิตอธิษฐานไว้แล้วว่าคุณธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ
 
๑. เกิดเป็นมนุษย์ที่มีความร่ำรวย ๒. เกิดเป็นเทวดา ๓. เข้าพระนิพพาน เราตั้งจิตอธิษฐานไว้แล้ว เกิดมาชาตินี้ต้องจับเอาจุดนี้ให้ได้ จุดใดจุดหนึ่งที่เราต้องการ เมื่อจิตอธิษฐานตั้งใจไว้จริง ๆ ปักหลักให้ตรงเป๋ง อย่างนี้มันจึงจะให้ทานได้
 
ถ้ากำลังใจของเราไม่มี คือที่คิดแล้วมันมีความโลเลไม่ตั้งจิตตรงไว้ในกาลก่อนว่าปรารถนาในการให้ทาน ผลของทานมักจะกลายเป็นทานอะไรล่ะ เป็น ศรัทธาหัวเต่า ผลุบเข้าผลุบออกดึงออกมาแล้วก็กลับยัดเข้าไปใหม่ นี่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย การให้ทานตัวเดียวอธิษฐานบารมีก็วิ่งเข้ามาอีก เหลือตัวเดียว คือ อุเบกขาบารมี อุเบิกขาบารมีตัวนี้จะเข้ามาสนับสนุนตรงไหน ก็ตรงที่ให้ไปแล้วซิบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าความขัดข้องใจอะไรมันเกิดขึ้น เช่น เงินเรามีอยู่ ๕๐๐ บาท เราให้ทานไปเสีย ๒๐ บาท มันเหลือ ๔๘๐ บาท ทีนี้มีกิจที่จะพึงต้องทำ มันเกิดขึ้นมาโดยไม่ได้คิดไว้เกิดมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินสัก ๕๐๐ บาท แต่ว่าจิตของเรานี้เชื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถว่า ทานเป็นผลของความสุข เดือดร้อนมันก็เกิดขึ้นแล้วซิ สตางค์ ๒๐ บาทนี่มันไม่พอดีนี่ ถ้าเราไม่ให้ทานไปเสียเราก็มีจ่ายพอดี แต่นี่บังเอิญกิจนี้มันมาทีหลัง คิดให้ทานไปเสียก่อน แต่เราเชื่อองค์สมเด็จพระชินวร คิดว่า ช่างมันเถอะ ความลำบากเพียงแค่ ๒๐ บาท ไม่เป็นไร ไหน ๆ เราก็ตั้งใจไว้แล้ว ความทุกข์ร้อนนิดหน่อยมันจะเป็นไรไป เพราะผลที่เราให้ไปมันมีประโยชน์มากกว่านั้น คือ
 
ถ้าบุญบารมีของเรายังอ่อน จะต้องเร่ร่อนไปในวัฏสงสารเราก็จะเกิดเป็นมนุษย์ที่มีความบริบูรณ์สมบูรณ์ได้ ถ้าบารมีของเรามีขึ้นหน่อยแล้วไซร้ เราก็สามารถจะไปเกิดบนสวรรค์ได้
 
เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พูดเรื่องของทานวันนี้ ก็ขอยุติแต่เพียงนี้
 
http://www.luangporruesi.com/327.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 01:29:24 »


 
ตอนที่ ๓ ศีลบารมี

 
จาก หนังสือ บารมี ๑๐
 
 
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้ก็มาปรารภกันถึงบารมีที่ ๒ คือ ศีลบารมี วันก่อนได้พูดถึง ทานบารมี มาแล้ว

แต่ทว่าขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าลืม คำว่าบารมี บารมี นี่แปลว่า กำลังใจ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า "ท่านที่มีบารมีเต็มแล้วย่อมเป็นพระอรหันต์ได้ และเข้าถึงพระนิพพาน" ก็จงเข้าใจว่า คำนี้พระพุทธเจ้าหมายถึงว่า ท่านทั้งหลายมีกำลังใจเต็มที่จะทรงศีลบารมีให้ครบถ้วน

คำว่า ศีล แปลว่า ปกติ, บารมี แปลว่า เต็ม ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงรักษาความปกติให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ อาตมาจะไม่พูดถึงลักษณะของศีลทั้งหมดจะพูดเฉพาะศีล ๕ ประการ
แต่ว่าทั้งนี้ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือหวังดีตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จงเข้าใจว่า คำว่า ศีล นี่แปลว่า ปกติ แล้วก็ปกติท่านปฏิบัติอยู่ในศีลประเภทไหน เป็นศีล ๕ ก็ตาม ศีล ๑๐ ก็ตาม ศีล ๘ ก็ตาม ศีล ๒๒๗ ก็ตาม จงรักษาความปกติของศีลประเภทนั้นไว้ให้ครบถ้วน อย่าให้ขาดตกบกพร่อง

และอีกประการหนึ่ง คำว่าศีลแปลว่าปกตินี้ เพราะปกติคนก็ดี สัตว์ก็ดี มีความพอใจตามนั้น นี่ขอให้สร้างความเข้าใจตามนี้เข้าไว้ จะขอพูดเรื่องคำว่าปกติของศีลให้ฟังจะได้ง่ายต่อการปฏิบัติ เอาเฉพาะ ศีล ๕ จัดว่าเป็นศีล ที่มีอันดับต่ำที่สุด ศีล ๕ นี้ ปกติของบุคคลที่เป็นปุถุชนคนธรรมดามีความต้องการกัน แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ต้องการศีล ท่านอาจจะแปลกใจว่าทำไมอาตมาจึงพูดอย่างนั้น อาจจะบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยเทศน์อย่างนี้นี่

ปกติของคนก็ดี สัตว์ก็ดี ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกาย และก็ไม่ต้องการให้ใครมาทำลายร่างกายถึงกับสิ้นชีวิต นี่ขอให้ท่านทั้งหลายถือความรู้สึกของท่านเป็นสำคัญว่า ตัวท่านเองน่ะมีความรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือเปล่า...? ถ้าหากว่าท่านต้องการให้ใครเขามาฆ่าให้ท่านตายละก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย จะได้ช่วยสงเคราะห์ให้เร็วเข้า และถ้าท่านต้องการให้ใครเขาทรมานบีบคั้นร่างกายท่านให้เจ็บปวด มีทุกขเวทนาอย่างหนักก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย

ประการที่สอง ท่านมีทรัพย์สมบัติอยู่แล้ว ท่านต้องการให้ใครมายื้อแย่งทรัพย์สมบัติท่านหรือเปล่า....? เอาตัวของท่าน เอาใจของท่านเป็นประกัน เป็นเครื่องยอมรับ หมายความว่าเอาตัวของท่านนี่แหละเป็นตัวยืน เอาจิตใจของท่านเป็นจิตใจยืน ท่านมีทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ท่านต้องการให้ใครเขามาลักเขามาขโมย มายื้อมาแย่ง มีบ้างไหม ...? เคยคิดบ้างหรือเปล่า...? ไม่มี ถ้าคนไม่ไร้สติเขาตอบว่าไม่มี ฉันหามาลำบาก

และคนที่เรารัก เราต้องการให้ใครเขามายื้อแย่งความรักของเราไหม...?
นี่ยามปกติถ้าเราจะพูดกันอย่างเป็นการเป็นงาน เราต้องการให้ใครเขามาโกหกมดเท็จเราบ้างหรือเปล่า...?

ยามปกติเราต้องการให้ชาวบ้านเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้าไหม....?
ไม่มี อาตมาพูดเองตอบเอง ตอบได้ ตอบแทนท่าน นี่ส่วนใหญ่กำลังใจของเรา นอกจากว่าเราจะมี

ประสาทหรือว่าจิตวิปริตจึงจะคิดฝืนอารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้

อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ทั้งคนและสัตว์มีความปรารถนาเสมอกัน ที่คนเรามีความรู้สึกว่าสัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของตนนี่คิดด้วยความโง่เท่านั้น ไม่ใช่ความฉลาด อาตมาขอพูดตรงไปตรงมา ถ้าสัตว์มันเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของเรา เวลาที่เราเดินเข้าไปหามัน มันก็ต้องรับเดินเข้ามาหาเรา เต็มใจให้เรากินมันเป็นอาหาร หรือฆ่ามันมาเพื่อเป็นอาหารของเรา แต่ทว่าสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มีความคิดอย่างนั้น ในเมื่อเราจะไปจับมันก็วิ่งหนี ปลาก็ว่ายน้ำหนี นกก็บินหนี สัตว์เดินดินก็เดินหนี สัตว์เลื้อยคลานก็เลื้อยหนี อาการที่หนีนี่แสดงว่าเขารักชีวิตของเขา เขาไม่ต้องการให้เราไปทำลายชีวิตของเขา ความรู้สึกของคนและสัตว์มีความรู้สึกเสมอกัน มีความต้องการแบบนี้เท่ากัน
รวมความว่า ปกติคนและสัตว์มีความประสงค์ในกฎ ๕ ประการเท่านั้น พระพุทธเจ้าจึงเรียกกฎ ๕ ประการ ว่า ศีล แปลว่า ปกติ คือว่าเป็นปกติที่คนและสัตว์ทั้งหมดต้องการ คือไม่ต้องการให้ใครมาทำอันตรายกับเราแบบนั้น

ไม่ต้องการให้ใครเขามาฆ่า ไม่ต้องการให้ใครเขามาทำร้าย
ไม่ต้องการให้ใครเขามาลักของขโมยของ ยื้อแย่งของและทรัพย์สิน
ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งความรัก
ไม่ต้องการให้ใครโกหก
ไม่ต้องการให้ใครเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้าคำว่า คนบ้า ในที่นี้ก็ได้แก่ การดื่มสุราเมรัย ของมึนเมา อาการที่มึนเมาเข้าไปแล้ว บรรดาท่านทั้งหลายมันก็ไม่ต่างอะไรกับคนบ้า ดีไม่ดีคล้ายสัตว์สี่เท้าเสียอีก นอนเหมือนสัตว์ที่เท้า มีอาการเหมือนสัตว์สี่เท้าก็ยังทำได้

นี่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ใช่ปกติ ปกติของมนุษย์แปลว่าใจสูง ไม่ต้องการอย่างนั้น นี่พูดถึง ศีลบารมี ถ้าเป็นพระ เป็นเณร หรือผู้รักษาอุโบสถ ก็ทรงอาการอย่างนั้นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ให้มันเป็นปกติ

ทีนี้การรักษาศีลให้เป็นปกติทำยังไง...? ใน อุทิมพริกสูตร องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

"สาวกของเราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่แนะนำให้บุคคลอื่นทำลายศีล และก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว" อาการอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ใจของท่านทรงได้แล้วหรือยัง...?

ถ้าจะถามว่าปฏิบัติศีลแบบไหนเป็น ปรมัตถศีล จึงจะ เข้าถึงพระนิพพานได้ ถ้าเราตอบกันไปแบบเล่นสำนวนก็ตอบกันได้แบบสบาย ๆ เมื่อไรมันก็ไม่จบ
ถ้าเรามาสรุปตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า
"เราแนะนำบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเรา (ในนั้นท่านเรียกกันว่า ยามสี่ คือ ไม่มีสุรา และเวลานี้เรามาเทียบกันได้กับศีล ๕) เราแนะนำแบบนี้ว่า

1. เธอจงอย่าเป็นผู้ทำลายศีลด้วยตนเอง
2. เธออย่ายุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล และก็
3. ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว

เราสอนแบบนี้ สาวกของเรารับฟังแล้วปฏิบัติตามเรา จึงประกาศผล และสาวกของเราจึงยอมรับผลว่าได้มรรคได้ผลสมความปรารถนา"

นี่ว่ากันโดยใจความเป็นภาษาไทย ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถามว่า จะรักษาศีลอย่างไหนจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้...? ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทยึดศีลข้อนี้เข้าไว้ แบบนี้นี่แหละ ๓ ประการ

ถ้าจะถามว่า ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในศีลบารมี ถ้ามีกำลังใจครบถ้วน เรามีทานบารมีควบด้วยหรือเปล่า...?อาตมาก็ต้องตอบว่ามี ที่มีก็คือ อภัยทาน เพราะคนที่จะมีศีลได้ต้องมี เมตตา และมี กรุณา ทั้ง ๒ ประการ เราก็มีทาน การให้คืออภัยทาน ให้อภัยแก่บุคคลผู้ผิด เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์
เว้นไว้แต่ว่าบุคคลผู้มีเจตนาปฏิบัติผิดพระวินัย หรือ ระเบียบกฎข้อบังคับ อย่างที่เป็นกฎข้อบังคับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสุมพุทธเจ้าทรงวางไว้ พระองค์ก็ยังทรงลงโทษ ถ้าผิดแบบนี้เราไม่ให้อภัย เพราะเรามีความรักในเขา เรามีความสงสารในท่านผู้นั้น ถ้าไม่ลงโทษตามระเบียบวินัยก็จะปล่อยให้เขาเลวเกินไป เป็นอันว่าเราไม่รัก

ตามคติโบราณท่านบอกว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ท่านว่าอย่างนั้น ถ้าวัวควายของเราถ้าไม่ผูกไว้มันก็จะอดหญ้าตาย ดีไม่ดีผู้ร้ายก็ขโมยเอาไปฆ่าหรือเอาไปทรมาน ก็จัดว่าเป็นการไม่รักวัวรักควาย ถ้ามีลูกหญิงลูกชายเราปล่อยให้เหลิงกันไปตั้งแต่เด็ก พอโตแล้วเอาไม่ไหว ก็แสดงว่าเราไม่รักลูก ลูกเลวเราจะมาร้อนใจอะไร

นี่ถ้าหากว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ท่านว่าอย่างนั้น ถ้าเขาผิดระเบียบวินัย เราก็ต้องลงโทษ ถ้าหากว่าถ้าเป็นความผิดอย่างอื่นที่ไม่เสียหาย เราก็ให้อภัย จัดเป็นอภัยทาน นี่รักษาศีลเราก็มีทานด้วย

ในด้าน เนกขัมมะ เนกขัมมะ นี่เขาเรียกว่า ไม่มีการพยาบาท ไม่โกรธไม่พยาบาท ในเมื่อเรามีเมตตาเสียแล้ว ไอ้ตัวโกรธตัวพยาบาทที่มันเนื่องไปด้วยกิเลสมันจะมีขึ้นมาได้ยังไง นี่เรารักษาศีลเราก็มีเนกขัมมะ บารมีมันรวมตัวกัน

ถ้าจะถามว่ารักษาศีลมี ปัญญาบารมี ควบด้วยไหม...? ก็ตอบได้ง่าย ๆ ว่า คนโง่น่ะไม่มีใครเขารักษาศีล คนที่ทำลายศีลน่ะไม่ใช่คนฉลาด เพราะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตน นี่คนที่รักษาศีลได้ครบถ้วนบริบูรณ์ก็เป็นคนมีปัญญาบารมีอยู่แล้ว ไม่ยาก ไม่เห็นอะไรจะยาก

ถ้าจะถามว่ารักษาศีลแล้ว วิริยบารมี ตามมาด้วยหรือ เปล่า...? ก็ต้องตอบว่ามี เพราะนิสัยเดิมของเราเป็นคนใจโหดร้าย ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คิดว่าสัตว์เป็นอาหารของเรา แต่เรางดเว้นเสีย ต้องหักห้ามอารมณ์แบบนี้เป็นต้น เราเคยยิงเนื้อยิงสัตว์ ทำลายชีวิตสัตว์ ทำลายร่างกายบุคคลอื่น เรางดไม่ทำ แทนที่จะใช้ความโหดร้ายเข้ามาประจำใจ เรากลับมีเมตตา กรุณา คือความรัก ความสงสารเข้ามาประจำ ฝืนอารมณ์เดิม หักห้ามอารมณ์เดิมเข้าไว้ กว่าจะทำได้มันต้องใช้เวลา นี่ต้องใช้ วิริยะ ความเพียร

ถามว่า ขันติบารมี ล่ะมีไหม...? อ๋อ... ก็การอดกลั้นยังไวล่ะ... สมมุติว่าท่านทั้งหลายที่อยากจะกินเหล้าเมาสุราเคยกินเหล้าเมาสุรามาแล้ว รักษาศีลอยากจะให้ศีลบริสุทธิ์มันมีความอยากเข้ามาก็ต้องอดเข้าไว้ กลั้นเข้าไว้คิดว่าเราจะเอาดี หรือว่าคนที่ชอบเจ้าชู้ ลูกเขาเมียใคร ผัวเขาผัวใครไม่เลือก ชอบใจสัมผัสดะ เราก็ต้องใช้ขันติบารมีว่าเวลานี้เรารักษาศีล เราไม่ทำ ใช้ขันติเข้าควบ ใช้วิริยะ ใช้ปัญญา

ทีนี้ถามว่า ถ้าเราปฏิบัติแต่ศีลบารมีอย่างเดียว สัจจบารมี จะมีด้วยหรือเปล่า...? สัจจะนี่แปลว่า ความจริง ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ เราเป็นคนจริง เราไม่ใช่คนหลอก เราจะรักษาศีลจริง ๆ เราไม่ได้รักษาศีลหลอก ๆ เราก็ต้องมีความจริงว่าเราจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดมุสาวาท ไม่ดื่มสุราเมรัย เราต้องมีความจริงใจว่า เราจะไม่ทำเองด้วย เราจะไม่ยุให้คนอื่นเขาทำ และจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นเขาทำแล้ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส สัจจะคือความจริงตัวนี้ ต้องทรงอยู่เป็นปกติ ถ้าขาดสัจจะเมื่อไรศีลพังเมื่อนั้น เห็นหรือยังว่า สัจจบารมีก็มี

ทีนี้ถ้าจะถามว่าถ้าเจริญศีลบารมีแล้ว อธิษฐานบารมี มีไหม...? อธิษฐานนี่มันตัวตั้งใจไว้แต่เดิมนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าความตั้งใจไม่ทรงอยู่ เปลี่ยนแปลงเมื่อไร ศีลพังเมื่อนั้น ถ้าคิดว่าไม่เป็นไร จะกินเหล้าสักประเดี๋ยว ลาศีลนิดหนึ่ง เห็นไหม เวลานี้เราต้องการประโยชน์ ขอโกหกสักนิดเถอะ ลาศีลก่อน นี่ถ้าไร้อธิษฐานบารมีมันเป็นอย่างนั้น อธิษฐานบารมีตัวตั้งใจเดิม ต้องทรงไว้ว่าเราจะเป็นคนที่มีศีลบริสุทธิ์ มันต้องมี อธิษฐาน

สำหรับ เมตตาบารมี ไม่ต้องพูดกัน เพราะการทรงศีลต้องมีเมตตาอยู่แล้ว ถ้าไม่มีเมตตาศีลไม่มี
เวลาที่เราจะรักษาศีล อุเบกขาบารมี ต้องมีไหมล่ะ...? ก็ขอตอบได้ว่า อุเบกขาบารมีมันต้องมีซิ...อย่างชนิดที่เรียกว่าเราไม่ทำร้ายเขา แต่เขากลั่นแกล้งเรา เราก็อดไว้ ใจมัยอยากจะสู้ ใจมันอยากจะสู้เขา ใจมันอยากจะทำร้ายเขาต้องใช้ ขันติ ความอดทน วิริยะ คุมเข้าไว้ ปัญญา คอยห้ามปราม สัจจะ ทรงตัวเข้าไว้ บอกไม่ได้ เราตั้งใจไว้แล้ว อธิษฐาน ทรงจิตเข้าไว้ว่าปักหลักนิ่งเข้าไว้แล้วจะทำเขาไม่ได้ อุเบกขา เลยต้องพยายามทรงตัว ยืนเฉยเข้าไว้ อะไรมันจะมาที่มันจะเป็นอันตรายเป็นเครื่องทำลายศีล เรายืนเฉยเข้าไว้

เฉยทำไม...? เพราะเราต้องการ พระนิพพาน เราไม่ต้องการความเกิดอีก เราจะปิดกั้นความเกิด เราต้องมีอุเบกขา อุเบกขาตัวนี้ความจริงในด้านบารมีนี่เป็นตัวสูงมาก แต่เราจะเอาไว้พูดกันในคราวหลัง บารมีนี่จะพูดกันมากก็คงไม่มีกี่บารมีนัก

นี่เราจะเห็นได้ว่าการบำเพ็ญบารมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องมีบารมีอีก ๙ อย่าง มาประกอบเข้าเป็นเครื่องประดับหรือเป็นเครื่องประคับประคองหมดทั้ง ๙ อย่าง รวมเป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน

นี่เป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีความเข้าใจว่า บารมีของเรายังไม่ครบถ้วน ยังบกพร่อง หรือว่า เราเป็นคนไม่มีบารมีเลย ก็จงทราบว่า บารมีน่ะมีอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูไม่ได้กีดไม่ได้กันเรื่องบารมี ทุกคนมีบารมีได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแจกบารมีให้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท คำว่า แจก ก็หมายถึงว่า การแนะนำ ไม่ใช่ยกบารมีส่วนตัวมาแจกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่มันแจกกันไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันเป็นกำลังใจของแต่ละคน

มีหลายท่านด้วยกันเคยมาหาอาตมา บอกว่าอยากจะขอบารมีให้ช่วยสงเคราะห์ให้ตัวของท่านดีขึ้น แต่เพื่อความสุขของท่านผู้นั้น อาตมาก็บอกว่า "สาธุ ดีแล้วอาตมาจะสงเคราะห์ในการแบ่งปันบารมีให้" ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าทำได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท เพื่อเป็นการรักษากำลังใจของท่านผู้พูด ความจริงบารมีมันอยู่ที่ตัวท่านแล้ว แต่ทว่าถ้าเราขาดกำลังใจเสียอย่างเดียว ทุกอย่างมันก็ทำไม่ได้ ถ้าท่านทั้งหลายพวกนั้นยังมีความรู้สึกอยู่ว่า ตัวท่านเองเป็นผู้ไม่มีบารมี ท่านก็จะขาดกำลังใจ

ในเมื่อท่านมาขอบารมีก็บอกว่า เอ้า! ให้ สงเคราะห์ให้ เต็มใจให้ รับก็แล้วกัน อาตมาพร้อมที่จะมอบให้เสมอ เมื่อเวลามอบให้ท่านก็คือมอบกำลังใจ เพราะว่าถ้าเราไม่ให้กำลังใจท่านผู้นั้น ท่านผู้นั้นก็จะไม่ทรงความรู้สึกว่าท่านมีกำลัง

ทีนี้เมื่อรับฟังอย่างนี้แล้วท่านอาจจะคิดว่าอาตมาน่ะช่วยได้ สามารถจะสงเคราะห์ให้ท่านเป็นผู้มีบารมีสูงสุดได้ ก็จะเกิดกำลังใจขึ้นมาว่าเราได้พระช่วยแล้ว นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายถ้าเคยฟังมาก็อาจจะคิดว่าอาตมานี่เป็นผู้แจกบารมีได้เก่ง แต่คงจะไม่เป็นเช่นนั้น

มีหลายท่านด้วยกันมากัน บางทีหลาย ๆ ท่านมักจะมา พอถามว่า "มาทำไม" บอกว่า "มาชมบารมี" คำนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ฟังแล้วก็ไม่สะดุดใจอะไร แต่ทว่าท่านทั้งหลายเราคิดกันใหม่ดีกว่า บารมีของใครไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่บารมีของเรา เราตั้งใจจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นิพพาน แล้วก็สร้างบารมีของเราให้ครบถ้วน คือกำลังใจ ตั้งใจไว้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้พูดเฉพาะ ศีลบารมี เราพยายามทรงศีลของเราให้บริสุทธิ์ ระมัดระวังทุกสิกขาบท อย่าลืมว่า ท่านเป็นปุถุชนคนธรรมดา มีศีล ๕ ต้องบริสุทธิ์ ถ้าท่านยังบอกว่าจำเป็นจะต้องละเมิดอย่างโน้นข้ามอย่างนี้ ก็ถือว่าท่านไม่พร้อมที่จะแสวงหาความดี

ท่านที่รักษาอุโบสถ เป็นสามเณร เป็นภิกษุ จงถือสิกขาบททุกสิกขาบทยิ่งกว่าชีวิต จงคิดว่าถ้าเราบกพร่องในสิกขาบทหนึ่ง นั้นคือศีลของเราพังไปเสียแล้ว เราเองก็ถือว่าไม่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นยังไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เราฝ่าฝืนพระพุทธบัญญัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ ให้ปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลนี่เป็นกฎข้อบังคับว่าเราจะต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเราจะทรงตัวเป็นพุทธสาวกไม่ได้

ถ้าสรุปรวมความแล้ว หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทรงกำลังใจ 3 ประการครบถ้วน คือ

๑. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒. เราจะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลใดทำลายศีล
๓. เราจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว

เท่านี้เป็นที่พอใจขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเป็นผู้มีศีลบารมีครบถ้วนเต็มจำนวนที่พระพุทธเจ้าต้องการ

ถ้าท่านมีศีลครบถ้วน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้เข้าถึง สรณคมน์ ตามนิยมของพระพุทธศาสนา คนประเภทนี้จะลงอบายภูมิไม่ได้ อย่างเลวก็เกิดเป็นมนุษย์ แต่ว่าเป็นมนุษย์ชั้นดี มีรูปร่างหน้าตาสวย มีความเฉลียวฉลาด มีทรัพย์สมบัติเยือกเย็น มีคนใต้บังคับบัญชาก็ตั้งอยู่ในโอวาท บริวารตั้งอยู่ในโอวาท มีวาจาเป็นสัจจะ มีวาจาเป็นทิพย์ พูดอะไรใครก็ชอบ ไม่ขาดสติสัมปชัญญะ

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท ว่ากันมาถึงเรื่องศีล และการประกอบของบารมีอื่นกับศีล ก็พอสมควรแก่เวลา สำหรับวันนี้ก็ขอยุติเรื่องศีลไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแต่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี
 
 
http://www.luangporruesi.com/328.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 01:29:41 »


ตอนที่ ๔ เนกขัมมบารมี

 
จาก หนังสือ บารมี ๑๐
 
 
วันนี้เรามาพูดกันถึงบารมีที่ ๓ คือ เนกขัมมบารมี เนกขัมมบารมี เราแปลกันว่า การถือบวช สำหรับคนอื่นเขาจะแปลกันว่าอย่างไรนั้นไม่สำคัญบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สำหรับเนกขัมมบารมีนี่กำลังหลายชั้น
 
เนกขัมมบารมีเบื้องต้นบรรดาท่านสาธุชนหรือพระโยคาวจรทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงให้ถือการบวชใจ นี่เราบวชใจกันนะ เราไม่ได้บวชกาย เราบวชใจ การบวชเฉพาะกาย ถือเพศสมณะเฉพาะกาย แต่ไม่บวชใจด้วย ก็ช่วยให้เราลงนรกหนักขึ้น เป็นการหลอกลวงชาวบ้าน หลอกลวงตัวเอง คิดว่าตัวดีแล้ว ไม่สมกับความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วที่มีความปราถนาจะให้เราเป็นสุขคือตัดความเกิด นี่เรามานั่งดูบารมีว่าการที่พูดกันมาถึงด้านพระโสดาบันท่านทำได้หรือไม่ได้ ถ้ายังเป็นพระโสดาบันไม่ได้ก็มานั่งคลำบารมี
ในทางที่ถูกแล้วถ้าเรามีบารมี ๑๐ เราไม่ต้องปฏิบัติอย่างอื่น เรามาคลำกันแต่เฉพาะบารมีเท่านั้นมันก็พอแล้ว เพราะว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงรับรองไว้แล้วว่า ถ้าใครมีบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ เป็นปรมัตถบารมี ท่านผู้นั้นก็เป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา

ถ้าเราจะไม่ศึกษาอะไรกันอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่บารมีก็พอ อาตมาได้พูดไว้แต่ตอนต้นว่าเราบวชใจกัน เราไม่ได้บวชกาย เราบวชตน คำว่าตน หรือคำว่า เรา ก็ได้ จิต เรามานั่งบวชจิต จิตที่บวชตอนต้นที่เรียกว่าเลยจากความเป็นคนเข้ามานิดหนึ่งมาเป็นมนุษย์ เราเกิดกันมาทีแรกเราเป็นคน มันยังไม่เป็นมนุษย์ คนนี่มันแปลว่ายุ่ง อารมณ์ของเรามันยุ่งจัด บางทีร่างกายยังไม่ทันไปใจมันไปแล้ว ใจก็คือเรา

ตานี้เราจะทำอย่างไรล่ะ การบวชตนระยะแรกนี่เอากันแค่ กัลยาณชน ยังไม่ถึง อริยชน ก็คือองค์สมเด็จพระทศพลทรงแนะนำให้ระงับ นิวรณ์ ๕ ประการ
นี่จำไว้ให้ดีนะท่านบรรดาพระโยคาวจรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายมีความประสงค์ต้องการโดยเฉพาะว่าเราต้องการเป็นพระอริยเจ้า เราเบื่อการเกิด เพราะเกิดมันเป็นทุกข์ ถ้าเราจะไม่เกิดเราก็ต้องมีบารมีครบถ้วน แต่ว่าไม่ใช่ท่องบารมีไว้ครบ จำได้แบบนกแก้วนกขุนทองแบบนั้นไม่ใช่ ถ้าจำแบบนั้นท่านก็เป็นนกแก้วนกขุนทองตลอดไป จะเป็นพระอริยเจ้าเข้านิพพานไม่ได้ ต่อไปนี้เรามานั่งบวชกันดีกว่า ท่านทั้งหลายที่เคยบวชกันมาเข้าเป็นภิกษุเป็นสามเณรน่ะ บวชครบถ้วนแล้วหรือยัง

ระยะการบวชในตอนต้นนี้เรายังไม่บวชเอาดีเกินไป เอาดีจากความเป็นคนมาเป็นมนุษย์เท่านั้น ตอนนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงแนะนำว่า ท่านทั้งหลายจงทำกำลังใจให้มีความเบื่อหน่าย เห็นโทษในกามคุณ คือความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย การสัมผัสเนื่องในกามารมณ์ หรืออารมณ์ที่หมกมุ่นไปด้วยกามคุณ

กามคุณ นี่ก็แปลว่า การมั่วสุมไปด้วยโลกียวิสัย ระงับใจเสียให้ได้ นี่เป็นข้อที่ ๑
ข้อที่ ๒ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสอนให้ระงับ ยังไม่ตัดนะ คำว่าระงับ นี่แปลว่า กดคอเข้าไว้ คือ ระงับความโกรธ ระงับความพยาบาท

ข้อที่ ๓ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถแนะนำบอกว่า เวลาที่เราตั้งใจระงับอารมณ์ จิตที่พอใจในกามคุณ และระงับความโกรธ ความพยาบาท ความง่วงมันจะเข้ามาครอบงำ ในเมื่อความง่วงมันครอบงำแล้ว เราก็ต้องหาทางระงับความง่วงเสีย ด้วยการลืมตาให้กว้างบ้าง เอามือขยี้ตาบ้าง เอาน้ำล้างหน้าบ้าง แหงนดูดาวบ้าง ลุกขึ้นเดินเสียบ้าง มันจะได้คลายความง่วง

ข้อที่ ๔ ตอนนี้อารมณ์ใจของเราฟุ้งซ่านก็ต้อง ระงับอาการฟุ้งซ่าน ของอารมณ์เสีย ให้ทรงอยู่ในอารมณ์ที่เราต้องการโดยเฉพาะว่า มันเป็นคุณ ตามที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ

ข้อที่ ๕ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เราไม่ต้องสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่าไม่สงสัย ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ไม่ใช่ว่าฟังแล้วจะเชื่อเสียทีเดียว อันนี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ นี่กล่าวโดยหัวข้อ

ทีนี้เวลาที่เราจะเข้าไประงับนิวรณ์ ๕ ประการ เพื่อเป็นการถือบวชขั้นต้นจากความเป็นคนมาเป็นมนุษย์ ยังไม่เป็นพระ นี่ท่านนักบวชในพระพุทธศาสนาระงับกันได้หรือยัง ถ้ายังละก็โปรดทราบว่าอย่าว่าแต่ท่านเป็นพระเลย เป็นมนุษย์ก็ยังเป็นไม่ได้

การระงับนิวรณ์คืออารมณ์ของกามคุณทั้ง ๕ ประการ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เราพอใจของสวย เราพอใจของหอม เราพอใจรสอร่อย เราพอใจสัมผัสที่เราต้องการระหว่างเพศ จิตใจมั่วสุม กลัดกลุ้ม พะวักพะวงอยู่ในโลกียวิสัย อยากจะคลุกเคล้าอยู่ในอำนาจของกามคุณ ตอนนี้มันจะดีอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตามปกติชาวบ้านเขาเห็นดีกัน แต่ว่าชาววัดเห็นว่าไม่ดี วัดตัวนี้ควรจะเรียกว่า วัตระ คือปฏิบัติเพื่อความไม่เกิด เพื่อความเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ เราก็มาระงับกันเสียด้วยอำนาจของอสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง และก็กายคตานุสสติ ๑ อย่าง รวมเป็น ๑๑ อย่างด้วยกัน

อสุภกรรมฐาน ก็พิจารณาเห็นความไม่สวยสดงดงามของคนและสัตว์ทั้งหมด หรือวัตถุต่างๆที่เราเห็นว่าสวย นี่เราพูดกันเฉพาะบารมี จะเอาเรื่องนี้มาพูดให้จบน่ะมันไม่ได้ แบบฉบับมีแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ใน คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือ วิสุทธิมรรค ขอได้โปรดไปหากันเอาเองก็แล้วกัน จะให้อาตมาแนะนำในที่นี้ทั้งหมดนั้นมันเกินวิสัย ถ้าเราจะพูดกันให้จบก็ต้องพูด พระกรรมฐานทั้ง ๔๐ อย่าง หรือว่า มหาสติปัฏฐาน ให้จบ ก็ไม่ใช่เวลา ไม่ใช่กาล ไม่ใช่สมัย แนะนำกันเข้าไว้

ถ้าเราใช้อสุภ ๑๐ อย่าง กับกายคตานุสสติอีก ๑ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งที่เราพอใจ ใจเราระงับความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส และอารมณ์ที่หมกมุ่นในกามคุณระงับลงไปได้ชั่วขณะ เรียกว่าระงับเป็นบางขณะ ไม่ใช่ว่าทุกขณะ เวลาที่เราตั้งใจระงับมันระงับเวลาที่เราจะเดินเหินไปไหนความรู้สึกมันเป็นอย่างนั้น แต่ว่าบางคราวความต้องการมันก็มีอยู่ อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมครูเรียกกันว่า ฌานโลกีย์ จัดว่าเป็น มนุษย์ หรือว่าเป็นกัลยาณชน แนะนำกันเพียงเท่านี้นะ

สำหรับข้อที่ ๒ นี่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำว่าจงระงับความโกรธความพยาบาท คือการจองล้างจองผลาญ เขามาพูดเขามาทำเราไม่ชอบใจ เราก็จ้องจะแก้มือแก้แค้น อย่างนี้ไม่เป็นการสมควร เพราะว่าเป็นอารมณ์ของความชั่ว ทำตัวให้มีทุกข์ คำว่า ตัว คือ เรา ไม่ใช่ร่างกาย ถ้าเราตายจากชาตินี้แล้วจะเสวยทุกขเวทนา เมื่อทรงอยู่ก็จะประกอบด้วยทุกข์ คือความเร่าร้อน เพราะว่าความโกรธเป็นอาการของการเผาผลาญร่างกายและจิตใจให้ทรุดโทรม

คนที่โกรธง่ายแก่เร็ว บรรดาท่านพุทธบริษัท บางทีเราจะเห็นพระอริยเจ้าอายุตั้ง ๖๐ ปีเศษ เราก็ไปนั่งนึกว่าท่านอายุประมาณสักสี่ห้าสิบปี แต่ก็ยังดี บางองค์อายุเกือบจะ ๘๐ ปี เราคิดว่าอายุท่าน ๓๐ ปีเท่านั้น นั่นเราก็จะพิจารณาได้ว่า พระคุณท่านเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงตั้งแต่เมื่อไร ร่างกายของพระคุณท่านไซร้ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงนัก เพราะใจมันสบาย คือร่างกายของเราจะแก่มากแก่น้อยทรุดโทรมมากทรุดโทรมน้อยมันอยู่ที่ใจเหมือนกัน

ถ้าอารมณ์ใจของเราสบายแล้ว ร่างกายคือความเผาผลาญทางใจมันน้อย ร่างกายมันก็ทรุดโทรมน้อย ถ้าเราคาดร่างกายของบุคคลผิด ก็เพราะว่าเราคาดจิตใจของเขาผิด เราไปมองดูร่างกายของคนที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ไฟที่อยู่ไหนทำลายที่นั่นเผาผลาญที่นั่น ความโกรธ พระพุทธเจ้าว่าเป็น โทสัคคิ ไฟคือโทสะ
ความโกรธถ้ามันเกิดขึ้นเราจะระงับด้วยวิธีไหน อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแนะนำว่า ให้ใช้พรหมวิหาร ๔ ประจำใจเป็นปกติ หรือว่าถ้าพรหมวิหาร ๔ ยังไม่เป็นที่พอใจ ไม่ถูกกับอารมณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้ใช้กรรมฐาน ๔ อย่าง คือ วรรณกสิณ ได้แก่กสิณที่มีสี คือ กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งตามอัธยาศัย

ถ้าเราปฏิบัติโดยใช้ตามนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ถูกใจ อารมณ์ใจของเราจะมีความสุข และก็สามารถจะระงับความโกรธไว้ได้ ยังไม่ตัดนะ บอกแล้วว่ายังไม่ตัด เอาแค่ระงับชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ในเมื่อความโกรธมันเกิดขึ้นเราก็คว้าพรหมวิหาร ๔ มาใช้ทันทีเป็นเครื่องประหัตประหาร กสิณ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่เราชอบใจ เอามาใช้โดยเฉพาะ ความโกรธ มันจะระงับ มันจะตกลงไป แต่มันไม่ไปไหนหรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท มันยังนอนอยู่ในใจ หรือนอนอยู่ในเรา บางครั้งบางคราวมันก็จะโผล่ขึ้นมาอีก ถ้าเราทำบ่อยๆ กำลังมันก็จะเพลียไป นิวรณ์ตัวที่ ๒ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรให้ทรงระงับด้วยกรรมฐานแบบนี้

สำหรับข้อที่เรียกว่า ความง่วง ได้พูดมาแล้วแต่ตอนต้น ตอนนี้ไม่พูดมันจะซ้ำกัน

ต่อไปข้อที่ ๔ ถ้าอารมณ์ใจฟุ้งซ่าน องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญ อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นการระงับความฟุ้งซ่านของจิต การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานทำยังไง ในวิสุทธิมรรคก็ดี ในคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานก็ดี ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็ดี มีอยู่แล้วครบถ้วนบริบูรณ์ ดูตามนั้นก็แล้วกัน ตำรับตำรามีแล้วจะมานั่งสอนซ้ำตำรามันก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะอะไร เพราะว่าคนถ้าไม่ตั้งใจจริงเสียอย่าง สอนเท่าไรก็ไม่เอาถ่าน พูดเท่าไรคนพูดก็เหนื่อยเปล่า ดูในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง อย่าง พระเทวทัต เป็นทั้งญาติ เป็นทั้งพี่ แต่ว่าพระเทวทัตที่เอาดีไม่ได้ก็เพราะเป็นคนไม่สนใจเรื่องความดี มีจิตใจกำเริบเสิบสาน พอได้ฌานสมาบัติก็นึกว่าตัววิเศษ ไม่ยอมเชื่อคำแนะนำคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ นี่ถ้าเราไม่เอาดีเสียอย่างเดียวพูดเท่าไรมันก็ไม่ดี

ถ้าเอาดีแล้ว ดูตัวอย่างที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงแนะนำแก่บรรดาพุทธบริษัท คือ เปสการีธิดา ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ คือตรัสเป็นคำถามสั้นๆ ว่า

"เธอมาจากไหน " "เธอจะไปไหน" "เธอไม่รู้หรือ..." หรือว่า "เธอรู้หรือ"
เพียงเท่านี้บรรดาท่านพุทธบริษัท นางมีความเข้าใจเพราะองค์สมเด็จพระจอมไตรยกมือสาธุในคำตอบของเธอ
เมื่อพระองค์ถามว่า "เธอมาจากไหน..?"
เธอตอบว่า "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
ในข้อนี้เธออธิบายว่า การที่เธอมาจากบ้านจะไปหาพ่อนั้นพระพุทธองค์ทรงทราบ แต่ว่าถามว่ามาจากไหนหมายความว่าตอนก่อนที่จะเกิดน่ะเธอมาจากไหนนางไม่ทราบ อันนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงสาธุ
แล้วข้อต่อไปพระองค์ทรงถามว่า "แล้วเธอจะไปไหน..."
เธอตอบว่า"ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
ข้อนี้เธออธิบายว่า เพราะว่าเมื่อเธอตายไปแล้วเธอจะไปไหนนั้นเธอไม่ทราบ อันนี้พระพุทธเจ้าก็สาธุ
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงถามว่า "เธอไม่ทราบหรือ...?"
เธอตอบว่า "ทราบพระเจ้าข้า"
เธออธิบายว่า เธอเกิดมาแล้วเธอต้องตายแน่ เธอทราบ
พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า "เธอทราบหรือ...?"
เธอตอบว่า "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"

เธออธิบายว่าการตายของเธอน่ะ จะตายช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายเย็น ตายกลางคืน ตายมืด ตายสว่าง ตายด้วยอาการอย่างนี้เธอไม่ทราบ
อันนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงสาธุ เมื่อพระพุทธเจ้าสาธุเพียงแค่ ๔ วาระ เธอก็ได้สำเร็จ พระโสดาปัตติผล นี่ถ้าเราพูดกันถึงว่า คนดีเสียอย่างเดียวแนะนำเพียงนิดเดียวเขาก็มีผล

อันนี้ก็เหมือนกัน ที่อาตมาพูดนี่ พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทศพลมีมาแล้ว หนังสือที่เป็นคู่มือก็มีมาก ถ้าเรามานั่งอธิบายกันตอนนี้มันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเป็นคนดี ถ้าดีเสียอย่างเดียว คำแนะนำคำเดียวก็มีประโยชน์ ถ้าหากว่าแนะนำอย่างนี้แล้ว คู่มือสำหรับดูก็มี คำอธิบายมีพร้อม เรายังเอาดีไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไร สำหรับการที่จะอธิบายให้ท่านฟังต่อไป นี่ก็เอากันแค่แนะนำเท่านั้นบรรดาท่านพุทธบริษัท

ข้อ ๕ ไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระรัตนตรัย เราก็ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาว่า อะไรหนอที่พระพุทธเจ้ากล่าวมาเป็นความจริงหรือไม่จริง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าเรามีเกิดก็ต้องมีแก่ มีป่วย มีตาย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสอย่างนี้เป็นความจริงไหม ไม่ต้องไปเอาอะไรมาก เอาเท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท เชื่อได้แล้วหรือยัง....?
อีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ใช้ปัญญาพิจารณาตาม ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกข์ เป็นต้น ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มันจริงหรือไม่จริง ใช้ปัญญาพิจารณาเอา นี่เป็นอันดับต้นที่เราจะระงับนิวรณ์ ๕ ประการ นี่แค่เป็นคนเท่านั้น

ถ้าหากว่าเราระงับนิวรณ์ ๕ ประการนี้สงบไปแล้ว เราก็ชื่อว่าเราเริ่มบวชเบื้องต้น บวชแต่ว่ายังไม่ดีนัก แค่ระงับความชั่ว บวชชั่วขณะ ไม่ใช่บวชตลอด เนกขัมมบารมียังไม่ใช่ขั้นดี ขั้นดีเขาทำกันอย่างไร....? ก็ตัดนิวรณ์ ๕ ประการนี้ให้มันบรรลัยไปทั้งหมด ให้มันละเอียดไปเลย

เมื่อจิตมันสงบระงับดีแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ใช้วิปัสสนาญาณ คือ อริยสัจ จะใช้แบบอริยสัจก็ได้ แบบพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ได้ แบบฉบับมีอยู่แล้ว ตามนัยที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงสอน ประหัตประหารนิวรณ์ให้มันพินาศไป ให้มันพังไปเสียให้หมด ความรักในรูป เสียง กลิ่น รส ให้มันพินาศไปเลย ให้มันหมดไปจากใจ อารมณ์ฟุ้งซ่านไม่มีในใจ การสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไม่มี เราเชื่อด้วยอำนาจของปัญญา

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า คำว่าบารมีในที่นี้เราพร้อมแล้วหรือยัง กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทพร้อมแล้วหรือยัง พร้อมที่จะระงับนิวรณ์ ๕ แล้วก็ตัดนิวรณ์ ๕ ถ้าใจมันยังค้างตอนใดตอนหนึ่งอยู่อีกเพียงนิดเดียวเพียงเท่านี้ อย่าลืมว่าท่านยังไม่ดี มีบารมีไม่ครบ

นี่การสร้างบารมีก็คือการสร้างกำลังใจ ทำใจของเราให้ครบถ้วนที่จะเป็นเจ้านายเหนือหัวนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ ไม่ใช่นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนั้นมาเป็นเจ้านายเรา คือจิต

ทีนี้อยากจะถามว่า ถ้าเจริญเนกขัมมบารมี บารมีอื่นช่วยไหม...? ก็ตอบได้ทันทีว่าช่วยทั้งหมด แต่ว่าอย่าพูดกันไปเลย เวลามันจะช้า เทียบกันเอาก็แล้วกันว่า ถ้าเราไม่โกรธ เราให้อภัย ก็เป็นทาน เป็น อภัยทาน ที่เราระงับศีล จิตใจเราไม่ร้ายไม่ทำลายเขา มันก็เป็นศีล ศีลมันต้องเข้ามาคุม การที่จะคุมอย่างนั้นได้ พิจารณาเห็นคุณของการระงับนิวรณ์ก็ต้องใช้ ปัญญา

สำหรับ วิริยะ ความเพียร เพราะอารมณ์ใจของเราแก่กล้าในด้านความชั่ว ตกเป็นทาสของนิวรณ์ เราจะเป็นไทก็ต้องใช้ความเพียรเข้ามาตัดความเป็นทาสให้หมดไป ขันติ ความอดใจ ในเมื่ออารมณ์เดิมมันเข้าสิง มันต้องอดกลั้นใจเข้าไว้ มันมี สัจจะ ทรงความดี คือความจริงว่าเราจะไม่ยอมเป็นทาสของนิวรณ์ อธิษฐาน ที่ตั้งใจไว้อย่างไรตั้งตรงไว้อย่างนั้น ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เมตตา นี้มีอยู่แล้ว ถ้าหากว่าเราไม่ขาด เราไม่ทำลายเขา คือไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธไม่พยาบาท อาศัยความเมตตาเป็นสำคัญ อุเบกขา ทรงอารมณ์จิตมั่น เฉยต่ออารมณ์ที่ร้ายที่จะเข้ามายุ่งกับใจ ไม่เอากับมัน มันจะกวนใจเป็นประการใดก็ตามบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เราไม่ยอมมันทุกอย่าง

บารมีข้อที่เรียกว่า เนกขัมมบารมี นี้ ถ้าจะพูดกันไปมันยาวมาก ที่พูดแบบนี้ก็เพียงตัดให้สั้นลงมา เพื่อให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถ้วนหน้ามีความเข้าใจว่ากำลังใจของท่านเต็มในด้านเนกขัมมบารมีอันดับไหน ถ้าเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ คือว่า จิตใจของเราขาดเด็ด กระเด็นจากความรักในกามคุณ ๕ ความโกรธความพยาบาทไม่มี มีเมตตาแทน อารมณ์ฟุ้งซ่านไม่มี จิตเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ ความง่วงเหงาหาวนอนไม่ปรากฏ เมื่อนึกถึงธรรมะขึ้นมาเมื่อไร ก็ใจสว่างเมื่อนั้น ผลสุดท้ายขึ้นชื่อว่าการสงสัยเรื่องพระนิพพานไม่มีสำหรับเรา และเราก็มีความเข้าใจดีเรื่อง พระนิพพาน

พอเห็นพระนิพพานชัด เห็นกันยังไงบรรดาท่านพุทธบริษัท ตอบดีไหม หรือว่าไม่ตอบ ไม่ตอบดีกว่า ทำบารมีเสียให้เต็มซิท่านทั้งหลาย เรื่องนิพพานที่เถียงกันมาเถียงกันไปน่ะ เราไม่จำเป็นต้องเถียงถ้าทำบารมีให้เต็ม

มีหลายท่านด้วยกันที่เขียนหนังสือบ้าง พูดบ้าง บอกว่ารู้ได้ยังไงว่าพระองค์ไหนเป็น สุปฏิปันโน อันนี้เป็นของไม่ยาก ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเลิกเสพกามเสีย มีบารมีทั้ง ๓๐ ประการครบถ้วน คือ ๑๐ ประการนี่เป็น ปรมัตถบารมีหมด เรียกว่า ๓๐ ประการ เพียงเท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน การจะรู้ว่าองค์ไหนเป็น พระสุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน ญายปฏิปันโน สามีจิปฏิปันโน คือว่าเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ มันก็เป็นของง่าย คือของเด็กเล่น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเราถึงเสียแล้วนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าถึงแล้วมันรู้แล้ว ใครเป็นอะไรก็รู้กันได้เป็นของไม่ยาก

สำหรับเนกขัมมบารมีที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่าขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายโดยถ้วนหน้าจงทำกำลังใจให้มันเต็ม ถ้าเต็มเมื่อไรเป็นพระอรหันต์เมื่อนั้น

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน วันนี้ก็ขอยุติไว้แค่เพียงเท่านี้ เฉพาะเนกขัมมบารมีก็พึงทราบว่า เป็นบารมีที่เราทำคราวเดียวครบ ๑๐ บารมีด้วยกัน
ในที่สุดนี้ก็ขอความสุขความสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี
 
http://www.luangporruesi.com/329.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 01:30:20 »


 
ตอนที่ ๕ ปัญญาบารมี

 
จาก หนังสือ บารมี ๑๐
 
 
ท่านสาธุชนทั้งหลาย สำหรับวันนี้ก็มาปรารภกับบรรดาท่านพุทธบริษัทถึง บารมีที่ ๔ ความจริงเรื่องบารมีนี้อาตมาจะไม่พูดเป็นตอนถึง ๑๐ ตอน เพราะว่าเสียเวลาเปล่า เพราะอะไร ก็เพราะว่าบารมีแต่ละบารมีเมื่อปฏิบัติแล้วก็ควบกันอยู่เสมอไป ก็สร้างความเข้าใจให้เกิดแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทอยู่แล้ว

วันนี้เรามาพูดกันถึงบารมีที่ ๔ คือ ปัญญาบารมี ดีไม่ดีก็อาจจะยกเลิกกันไปเสียเลยเรื่องบารมี ทั้งนี้เพราะอะไรก็เพราะว่าถ้าถึงปัญญาบารมีแล้วก็ควรจะจบกันได้ เพราะปัญญาบารมีนี่เป็นบารมีครอบจักรวาล ถ้าเรามีปัญญาเสียอย่างเดียวบรรดาท่านพุทธบริษัท อย่างใดทั้งหมดไม่ต้องมีก็ได้ เพราะว่าปัญญานี้เหมือนกับ รอยเท้าช้าง รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายที่ในป่าถ้าเหยียบลงไปก็เล็กกว่ารอยเท้าช้างทั้งหมด ฉะนั้นในมรรค ๘ องค์สมเด็จพระบรมสุคตจึงเอา สัมมาทิฏฐิ คือตัวปัญญาเป็นที่ตั้งอยู่ตัวหน้า

ทีนี้การที่เราจะรักษาศีลได้ จะมีสมาธิได้ จะให้ทานได้ จะทรง เนกขัมมบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ทั้งหมดก็อยู่ที่ ตัวปัญญา ตัวเดียว เพราะอาศัยที่เรามีปัญญาเท่านั้นเราจึงทรงได้ ถ้าเราไม่มีปัญญาเราก็ทรงไม่ได้ ฉะนั้นเรื่องบารมีเราจบกันตรงนี้ดีไหม จะได้ไม่ยืดยาดเกินไป

ปัญญา ตัวนี้ก็ต้องจัดว่าเป็นปัญญาตัวสำคัญ แยกไว้เป็นสองปัญญาด้วยกัน คือ ปัญญาที่เป็นโลกีย์ กับ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระ

ปัญญาที่เป็นโลกีย์ ก็เรียกว่า รู้จักรักษาตัวรอดเป็นยอดดี ในเรื่องการทำมาหากินอาตมาจะไม่พูด จะพูดแต่เฉพาะปฏิบัติเพื่อ เอาตัวรอดจากอบายมุข ก่อน

ทีนี้คนที่เขามีปัญญาจริง ๆ เขาก็จะมองเห็นว่าการให้ทานเป็นของดี และการให้ทานนี่เป็นการผูกมิตร ดึงกำลังจิตของคนให้เข้ามาเป็นมิตรเป็นเพื่อนกัน ดีกว่าการทำลายคนที่ให้ทานไว้เสมอนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายไปที่ไหนย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้รับ เว้นไว้แต่คนที่มีสันดานเยี่ยง เทวทัต เท่านั้น ก็มีอยู่ในโลกนี้ ไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าเป็นอย่างคนประเภทนี้มีแต่ความอกตัญญูไม่รู้คุณคน เราก็ต้องใช้ปัญญาหลีกเลี่ยงเสีย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ธรรมดาเราจะยกย่องขึ้นมาว่านี่เป็น กฎของกรรม เพราะเราโง่เกิดมาในโลก คำว่าโลก แปลว่า มีอันที่จะต้องฉิบหายไปไม่มีอะไรเป็นการทรงตัว เอาแน่นอนกันไม่ได้
ทีนี้คนที่มีปัญญาจริง ๆ จึงได้คิดว่า การให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เขาจะรู้คุณเราหรือไม่รู้คุณเห็นช่าง เรามีความสบายใจเพราะการให้ทานก็แล้วกัน อย่างนี้เรียกว่า ปัญญาเอาตัวรอด เรียกว่า รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

ทีนี้คนที่มีปัญญาก็ทราบด้วยว่าศีลเป็นของดี เพราะปกติเรามีความต้องการความสุขในด้านไหน ก็ด้านที่เรียกว่าไม่ต้องการให้ใครเขามาทำร้ายเรา มาลักขโมยเยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของเรา มายื้อแย่งความรักเรา มาโกหกมดเท็จเรา และเราไม่ต้องการความเป็นบ้า

ถ้าเราทรงศีลไว้เราก็จะพ้นจากเหตุทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้ หรือคนทั้งหมดรักษาได้ทุกคนก็จะมีความสุข ยิ่งไปกว่านั้น ตัวปัญญาก็มองเห็นว่าถ้าเราทรงศีลบริสุทธิ์แล้ว อบายภูมิเราไม่ไป ตายแล้วเราก็มีความสุข นี่เรียกว่า ปัญญาขั้นรักษาตัวรอดเป็นยอดดี

มาใน เนกขัมมบารมี คือการระงับนิวรณ์ ๕ ยังไม่ตัด ทั้งนี้ก็เพราะว่าเพื่อทำจิตใจของเราให้มีความสุข ทำอารมณ์จิตให้เยือกเย็น เมื่อจิตมีความสุข จิตมีความเยือกเย็นก็เป็นที่พอใจของเรา คนมีปัญญาจึงจะทรงเนกขัมมบารมีได้เห็นว่าเนกขัมมบารมีเป็นของดี

ส่วน วิริยบารมี ปัญญาก็มองเห็นว่า จิตใจของเรามันทรามอยู่เป็นปกติ เราก็ต้องฝืนอารมณ์ข่มจิต ใช้ความพากเพียรที่จิตมันจะไหลลงต่ำ เราก็ดันให้ขึ้นมาสูง ถึงจะลงไปหาความชั่วเราก็พยายามดันเข้าหาความดี ต้องมีความเพียร มีปัญญาเสียตัวเดียว ปัญญาเห็นว่าความเพียรในการที่กั้นจิตไม่ให้ไปสู่ความชั่ว ให้ทรงตัวไว้ในความดีเป็นของดี จึงทรงวิริยบารมีไว้เป็นปกติ ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา กรรมที่เราทำ ทำด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มันก็เหมือนกัน ใช้ปัญญาพิจารณาก่อนแล้วจึงทำ ว่ามันดีหรือมันชั่ว

นี่มีปัญญาตัวเดียวมันก็พอแล้วนี่บรรดาท่านพุทธบริษัทเขาเรียกว่า บารมีครอบจักรวาล
สำหรับด้าน ขันติ ความอดทนต่ออารมณ์ที่เราไม่พอใจ จะเป็นความทุกข์ความกระทบกระเทือนทางกายหรือทางใจก็ช่าง เราทรงขันติความอดทนไว้ เพราะเราเชื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรว่า ถ้าเราอดทนเข้าไว้ไม่ปล่อยให้จิตใจมันไหลไปสู่ความชั่ว ไปมัวเมาในขันธ์ ๕ มากเกินไป องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่า ท่านผู้นั้นมีความสุขทั้งในชาติปัจจุบัน และ สัมปรายภพ ปัญญาก็จะมองเห็นได้ชัด

ถ้าเขาด่าเรามา เราก็ด่าเขาไป เรื่องการด่ามันก็ไม่จบ ถ้าเขาด่าเรามา เรานิ่งเฉย การด่ามันก็จบ เพราะคนด่ามันเหนื่อยไปเอง นี่ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ

ทีนี้เมื่อมีปัญญาแล้ว ด้าน สัจจบารมี ก็ครบถ้วนเต็มกำลังใจ เพราะอะไร เพราะเราเป็นคนฉลาด ใช้ปัญญาพิจารณาดูแล้วว่าสิ่งใดมันดีสิ่งใดมันชั่ว อะไรก็ตามเป็นเหตุของความชั่ว เราตั้งใจไว้แล้ว มีสัจจะ เราจะทรงความจริงไว้ว่า ความชั่วเราจะไม่ให้มายุ่งกับใจของเรา
นี่คนมีปัญญาก็ใช้ปัญญาพิจารณาว่า อะไรมันเป็นจุดหมายของความชั่วหรือความดี เมื่อเห็นว่าสิ่งนี้เป็นของดีแน่ เราก็ตั้งใจตั้งสัจจะไว้ว่า เราจะไม่ยอมละความดี ตัวนี้เป็น สัจจธรรม จะทรงทาน ทรงศีล ทรงเนกขัมมะเข้าไว้มันเป็นผลของความสุข แล้วก็มีความจริงไว้เฉพาะเท่านี้ นี่อาศัยปัญญาเท่านั้นเป็นตัวควบคุม

แล้วมา อธิษฐานบารมี เราตั้งใจไว้แล้วนี่ว่า เราจะไม่ยอมทำจิตใจของเราให้ไปสู่ความชั่ว เราจะไม่ยอมให้จิตของเราคลาดเคลื่อนไปจากหลักของจิตที่เราปักเข้าไว้ เราปักไว้ตรงไหน เราปักไว้ว่า
เราจะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เราจะให้ทานเป็นปกติ เราจะมีเมตตาอยู่เสมอ เราจะมัวเมาหรือไม่ยอมเป็นทาสของนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการในด้านเนกขัมมบารมี

อารมณ์ตัวนี้ปักไว้ให้ตรง ไม่ยอมขยับเขยื้อนเหมือนกับหลักที่ปักแน่นแล้ว อย่างนี้ก็ชื่อว่า เราเป็นสาวกขององค์สมเด็จประทีปแล้ว แต่ต้องอาศัยปัญญาเข้าควบคุมสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะมีได้ก็เพราะอาศัยปัญญาเข้าคุม

มาตัว เมตตา บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าหากว่าเราขาดปัญญาเสียตัวเดียว เมตตาก็ทรงอยู่ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราเมตตาในเขา แต่บางทีหรือว่าหลาย ๆ คราวอาจจะมีเป็นจำนวนมากที่เราไปพบกับคนอกตัญญูที่ไม่รู้คุณคน ไม่รู้อะไรมันเป็นปัจจัยของความดีหรือความชั่วเมตตาเขาแล้ว เขากลับอกตัญญูสนองตอบด้วยความโหดร้าย แต่ทว่าอาศัยคนที่มีปัญญาเท่านั้น บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะถือว่านี่มันเป็นโลกธรรมดา นินทา ปสังสา ความสุขความทุกข์มันเป็นเรื่องธรรมดาของชาวโลก ที่เราต้องมาเกิด มากระทบกระทั่งพบกับคนที่หาความดีไม่ได้ไม่รู้จักคุณคนทำความดีมองไม่เห็นความดี ก็เพราะอาศัยเราโง่

คนที่มีปัญญาเขาไม่โทษคนอื่นเขาโทษตัวเอง ว่าเพราะอาศัยเราโง่มาในชาติก่อน ในกาลก่อนเราไม่ทรงความดีเข้าไว้ เราไม่แสวงหาความฉลาด เราจึงได้ตกมาเป็นทาสของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม ต้องกลับมาเกิดใหม่

นี่คนที่มีปัญญาเขาคิดอย่างนี้ แทนที่จะไปเจ็บใจคนที่สร้างความไม่มี เป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณคนมีจิตประกอบไปด้วยอกุศล แทนที่เขาจะคิดอย่างนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัทเขาไม่คิด คนที่มีปัญญาน่ะไม่คิดอย่างนั้น เขาจะโทษตัวเองว่าเรามันโง่เกินไป ถ้าเราฉลาดเชื่อคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร เข้าไปนิพพานเสีย แล้วมันจะมีอะไรล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัท มันก็ไม่มีอะไรอีก
สำหรับด้าน อุเบกขาบารมี นี่ใช้ปัญญาเข้าควบคุมจิตใจของเราให้เฉยเข้าไว้ อะไรที่มันเกิดขึ้น ศิษย์ทำผิดวินัยและเป็นไปเพื่อความทุกข์ จิตใจจะหาความสุขไม่ได้ถ้าเราไปเกาะ เราก็ใช้ปัญญามาเป็นเครื่องพิจารณาว่า

เราอยู่ในโลก ถ้าเราหมุนไปตามนั้น เราไม่วางเฉยเสียไม่ทรงตัวเฉยเข้าไว้จิตใจก็จะประกอบไปด้วยกุศล การที่เราต้องการปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระทศพล ต้องการเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ มันจะเป็นได้ยังไง และเมื่อมีอะไรที่ไม่ชอบใจไม่ถูกใจ ก็ถือว่า ช่างเถอะ ตามเดิม วางเฉยเข้าไว้

นี่ปัญญาที่ใช้แบบนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เป็นปัญญาที่รู้จักรักษาตัวรอดเป็นยอดดีเท่านั้น ยังไม่พ้นอำนาจ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม

ทีนี้เรามาใช้ปัญญาเบื้องสูงกัน เอาเป็นตัวจบ พูดกันง่าย ๆ นี่จบบารมีกันเสียเลยก็ดี จะได้ไม่พูดกันเลอะเทอะไป มาจบบารมีกันเสียเลย

ปัญญาเราใช้ทานบารมีเราใช้ในด้านไหน การที่เราจะให้ทาน บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าเรามีปัญญา ปัญญาของเราเต็ม เราก็คิดอย่างเดียว ไม่ใช่ว่าเราจะสงเคราะห์คนอื่น การให้ทานเราสงเคราะห์ตัวเราเอง สงเคราะห์ตรงไหนล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัท สงเคราะห์ตรงที่เราให้ทาน เราตัดโลภะความโลภ เพราะความโลภมันเป็นรากเหง้าของกิเลส

ถ้าเราเป็นทาสของความโลภ เราก็ต้องเกิดมามีความทุกข์ ให้ไปแล้วคนเขาจะรู้คุณเราหรือไม่รู้คุณช่างเขา เขาจะเห็นว่าเราดีหรือเราชั่วไม่สำคัญ เราให้เพื่อทำลายความชั่วที่มันจมอยู่ในสันดานของเราให้มันหมดไป คือ ความโลภ หรือว่า มัจฉริยะ ความตระหนี่แน่นเหนียว เมื่อความโลภไม่มีเสียตัวเดียว ความเบาใจมันก็เกิด ลอยตัวได้แล้วบรรดาท่านพุทธบริษัท เราเป็นคนใกล้พระนิพพานเต็มที นี่ปัญญาเขาใช้กันอย่างนี้

ทีนี้ตอนที่เรามารักษาศีลรักษาเพื่ออะไรกัน การรักษาศีลนั้นมันเป็นพื้นฐานที่เราจะได้เข้าถึงพระนิพพาน เพราะเป็นบันไดขั้นที่ ๒ ที่เรานำมาเป็นการระงับ โทสะ กับ พยาบาท ทำลายอารมณ์ชั่ว ความวุ่นวายของใจ ความเร่าร้อนข้องใจ ความโหดร้ายของใจ

การรักษาศีลนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เราไม่รักษาเพื่อความโลภ เพื่อให้ใครเขามาบูชา ไม่ต้องการให้คนเขามาบูชา ไม่ต้องการให้เขามาสรรเสริญ ใครเขาจะบูชา ใครเขาจะสรรเสริญเราหรือไม่ไม่สำคัญ เรารักษาศีลนั้น เราต้องการอย่างเดียวคือ แงะรากฐานของโลภะให้พินาศไป เรายังขุดรากไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ตัดต้นโค่นต้นลงมาเสียให้ได้ ให้มันเหลือแต่ตอ

ต่อไปก็ใช้ปัญญาพิจารณาในด้าน วิปัสสนาญาณ ละขันธ์ ๕ เสีย ให้หมด เป็นอันว่าไอ้ตัวแห่งความโลภ ความโกรธ มันก็จะสิ้นรากสิ้นเหงา สิ้นโคนลงไป ต้องใช้ปัญญาตัวนี้เข้ามาพิจารณาเรื่องการรักษาศีล ต้องคุมศีลให้บริสุทธิ์ คือ
ไม่ทำเอง ไม่ยุให้คนอื่นเขาทำลาย ไม่ยินดีเมื่อทำลายแล้ว หรือเมื่อคนอื่นเขาทำลายแล้ว นี่ใช้ปัญญาพิจารณาตัวเดียว

มาตอน เนกขัมมบารมี ตอนถือบวช ตอนนี้มี กามฉันทะ เราระงับไว้ได้ด้วยอำนาจ อสุภกรรมฐาน กับ กายคตานุสสติ กดคอมันเข้าไว้ แล้วก็ห้ำหั่นมันด้วยอำนาจของปัญญา พิจารณาว่ากามคุณ ๕ มีกายเป็นตัวนำ เราพอใจในกายแล้วพิจารณาดูในกายว่ามันสกปรกแล้วเอามันไว้ทำไม นอกจากจะสกปรกมันยังทำลายจิตใจเราด้วย แล้วมันก็ไม่ช่วยให้เรามีความสุข เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ โยนทิ้งมันไปเสียเลย ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ 5 แบบนี้ จะไม่มีสำหรับเราต่อไป เลิกคบกันไป เลิกติดใจในกายไม่ว่ากายของใครทั้งหมด

นี่เนกขัมมบารมีที่เขาใช้กันด้วยอำนาจของปัญญา เขาใช้ตัวนี้ นี่มันเป็นของไม่ยาก ทำใจให้มันเต็ม คำว่า เต็ม เราอย่าให้มันบกพร่อง อย่าให้จิตอื่นอารมณ์อื่นเข้ามายุ่ง ทำอารมณ์ให้มันเต็มให้มันเป็นปกติ คิดอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา การเป็นอรหันต์เป็นของไม่ยาก ตานี้ตัวปัญญาไม่ต้องมาพูดกัน มาไล่เบี้ยอย่างอื่นกันต่อไป

เอาปัญญาเข้าไปใช้ใน วิริยะ ความเพียรอีก ตอนนี้เพียรตรงไหน เพียรตัดสังโยชน์ 10 ประการให้พินาศไป ใช้สักกายทิฏฐิตัวเดียวเข้าประหัตประหาร พิจารณาว่า สภาพร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา และเมื่อมันไม่เป็นเราไม่เป็นของเราเสียอย่างเดียวแล้ว สิ่งอื่นทั้งหลายในโลกจะมีอะไรเป็นของเราอีก นี่ต้องใช้ความเพียร เอาปัญญาเข้ามาจับ ใช้ความเพียรให้มีประโยชน์ อย่าเอาความเพียรไปประกอบสิ่งที่เป็นโทษเข้ามายุ่ง ไม่เอา
นี่ปัญญาตัวนี้เป็นปัญญาที่เป็น ปรมัตถบารมี จับความเพียรตัวนี้เข้ามายึดสังโยชน์เป็นสำคัญ ทำลายให้พินาศไป ส่วนร่างกายคือขันธ์ 5 ทิ้งเสียได้แล้ว อย่างอื่นไม่เหลือ บรรดาท่านพุทธบริษัท หากความเหลือไม่ได้ ความเป็นอรหันต์ปรากฎกันตอนนี้ จะไปคุยกันทำไมเรื่อง พระโสดาบัน มันเป็นของง่าย ๆ ของเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ นี่ง่ายเกินไป

ถ้าเราใช้ปัญญาในด้าน ขันติบารมี ความอดทนอดใจ อดทนเข้าไว้ว่าอารมณ์อันใดที่มันเป็น อุปกิเลส กิเลสเล็กก็ดี กิเลสใหญ่ก็ดี เรื่องความไม่ดีที่มันจะเข้ามา ยับยั้งมันด้วยอำนาจขันติบารมี วิริยบารมีมาทางวิ่งหนี แต่บังเอิญมันจะกวดทัน ยั้งมันเข้าไว้ ไม่ยอมให้มันเข้ามายุ่งในใจ อดทนอดกลั้น ไม่ยอมหวั่นไหวไปตามด้วย อำนาจของกิเลส มีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ยันมันด้วยอำนาจขันติ มันจะเข้าประตู เฉยเสีย ไม่เปิดยอมรับมัน เมื่อเราไม่เปิดประตูยอมรับมัน มันจะมาได้ยังไง จะเข้าได้รึ มันก็เดินวนมาวนไป วนไปวนมา เข้าไม่ได้มันก็กลับไปเอง นี่ปัญญาต้องใช้ความเฉียบขาด เรียกว่าถ้าเราทรงความอดทนไม่ได้เราตายเสียดีกว่า นี่เป็นปัญญาตัวสุดท้าย บารมียกยอดกันเพียงแค่นี้

ทีนี้มาด้าน สัจจบารมี ความจริงใจ ใช้ปัญญาควบคุมความจริงเข้าไว้ เราเลือกไว้แล้วนี่ว่าสิ่งนี้มันเป็นของดีของเลว เลือกเอาของดีเข้าไว้ ทรงแต่ความจริงว่า เราจะค้นคว้าหาแต่ความดีเท่านั้น ทำลาย สักกายทิฏฐิ คือร่างกายให้พินาศไป ตัดว่าร่างกายไม่เป็นที่พอใจของเรา ความโลภมันก็ไม่มี ความโกรธมันก็ไม่มี ความหลงมันก็ไม่มี ไอ้ตัวที่หลงใหญ่ก็คือ หลงกายว่าเป็นเราเป็นของเรานี่แหละ มันก็เลยหลงตัวอื่นต่อไป นี่เราทรงสัจจะเข้าไว้ว่า เราจะจริง คือการทำลายกิเลสทั้ง 3 ประการให้พินาศไปด้วยอำนาจของ อริยสัจ

ทีนี้มา อธิษฐานบารมี เราตั้งใจไว้โดยเฉพาะว่าเราต้องการพระนิพพาน อย่างอื่นไม่ไป ใครจะมายกยอปอปั้นยังไงเราไม่เอา เพราะว่าเราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระจอมไตรพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าท่านดีกว่าเรา เป็นกษัตริย์ และก็มีทรัพย์สมบัติมาก มีความดี มีปัญญาทุกอย่าง ทุกสิ่งสมบูรณ์บริบูรณ์ พระองค์ยังไม่หลง ตั้งใจเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็ไปจริง ๆ ในเมื่อเราเป็นพุทธบริษัทชายหญิงของพระพุทธเจ้า ในเมื่อพระองค์ทิ้งอย่างอื่นได้เราก็ทิ้งได้ เราจะเก็บมันไว้ทำไม เราก็ตั้งใจตรงเฉพาะพระนิพพาน ใครจะชวนไปทางไหนฉันไม่ยอมไป ไปทีเดียว คือพระนิพพานเท่านั้น ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ ทำอะไรนิดทำอะไรหน่อยเราทำเพื่อพระนิพพาน นี่คนที่มีปัญญาเขาใช้อย่างนี้ ปัญญาเป็นบารมีครอบจักรวาล

และองค์สมเด็จพระประทีปแก้วบอกว่า จงมีเมตตาเป็นปกติ เมตตานี่เป็นตัวยืนสำคัญบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เลี้ยงทั้งทาน เลี้ยงทั้งศีล เลี้ยงทั้งวิปัสสนาญาณ เพราะเมตตาเป็นอาการที่สร้างอารมณ์ใจให้เยือกเย็น ไม่มีกังวลใยอย่างอื่น มีจิตคิดอย่างเดียว คือคิดสงเคราะห์ รักคนอื่น สงสารคนอื่น เกรงว่าเขาจะมีทุกข์เราไม่ต้องการยัดเยียดความทุกข์ให้แก่บุคคลอื่น ต้องการอย่างเดียวยัดเยียดความสุขให้แก่เขาด้วยอำนาจของ เมตตา

แล้วก็ใช้ปัญญาเข้ามาพิจารณาว่า การที่เมตตานี่เราไม่ได้คิดในเขาเราสงเคราะห์ให้เขาข้ามฟาก คือพ้นจากบ่วงทุกข์ไปได้ชั่วขณะ หรือจะตลอดกาลก็ตามใจ นี่มันเป็นเรื่องของเขาเราอย่าไปผูกพัน ช่วยแล้วเขาปฏิบัติได้หรือไม่ได้นี่มันเรื่องของเขา นี่มันก็ของไม่ยาก ถ้ามีปัญญาเข้ามาพิจารณาแล้วเมตตามันก็ไม่สลายตัว มันทรงตัว มันเต็ม มันอิ่มบริบูรณ์ ใช้ปัญญาตัวเดียวบรรดาท่านพุทธบริษัท

สำหรับ อุเบกขาบารมี ตัวนี้ขั้นสูง อุเบกขานี่แปลว่าความวางเฉย ต้องใช้เป็น สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉยในสังขารคือร่างกาย มันจะเป็นอะไรก็ช่างหัวมัน โลกทั้งโลก ทรัพย์สินทั้งหลายมันจะเป็นอะไรก็ช่างหัวมัน ร่างกายมันป่วยจะตายมีทุกขเวทนาสาหัส เราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ จะไปแยแสอะไรกะมัน ช่างมัน มันอยากป่วยเชิญมันป่วยไป มันอยากตายเชิญมันตายไป ตัดตัวนี้ได้มันก็มีความสุข เราเฉยเข้าไว้เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า อัตภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ ๕ นี่มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สำหรับวันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี


เหลืออีกครึ่งเล่ม จะค่อย ๆ ทยอยลง มอบเป็นธรรมบรรณาการแด่ท่านทั้งหลาย สาธุ เจริญธรรม
 
http://www.luangporruesi.com/330.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: บารมี ๑๐ คำสอน พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง - ชั้นต่างๆ ของเทวดา
ธรรมะจากพระอาจารย์
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 3939 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2556 13:53:26
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
วิธีทรงอารมณ์สมาธีให้ได้เร็ว ๆ (พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1258 กระทู้ล่าสุด 29 กันยายน 2559 01:41:03
โดย มดเอ๊ก
โทษละเมิดพระวินัย โดย...พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
เอกสารธรรม
Maintenence 0 1686 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2561 10:07:15
โดย Maintenence
พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 797 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2563 14:20:20
โดย ใบบุญ
วันปลอดนรกการ (วันนรกหยุดทำการ) - พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 1 5350 กระทู้ล่าสุด 05 พฤษภาคม 2564 19:58:42
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.305 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 02:31:30