[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 01:59:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บิดผ้า-หิ้วของหนัก ระวังนิ้วล็อค โดย อ.นพ.กวี ภัทราดูลย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  (อ่าน 7942 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
That's way
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

United States United States

กระทู้: 601


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยเงิน

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555 11:25:42 »

บิดผ้า-หิ้วของหนัก ระวังนิ้วล็อค



ไม่น่าเชื่อว่าการบิดผ้าก็จะเข้าข่ายภัยใกล้ตัวกับเขาด้วย!!

ภาวะนิ้วล็อค หรือ ภาวะปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ (Trigger finger & Trigger thumb) เป็นภาวะที่มีสาเหตุเกิดจากการหนาตัวขึ้นของปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณฐานของนิ้วมือ (A1-pulley) ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาขึ้นนี้ด้วยความยากลำบาก มีการเสียดสีทำให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อคได้

โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ประมาณ 40-50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนักการใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น

อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

1.ระยะแรกมีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ จะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด

2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก แต่อาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้วงอและเหยียดนิ้วจะมีการสะดุดจนรู้สึกได้

3. ระยะที่สามมีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้วจะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรือ อาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก



สำหรับวิธีการรักษาโรคนี้ ประกอบไปด้วย

1. การใช้ยารับประทานเพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ

2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้เครื่องดามนิ้วมือการนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ และการออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดอาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง

3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดบวม แต่ไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค

4. การรักษาโดยการผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก



ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน โดย อ.นพ.กวี ภัทราดูลย์ ฝ่ายออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง
  อยากเก่งต้องขยัน
คำค้น: นิ้ว นิ้วล็อค ล็อค รักษา สุขภาพ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.215 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 14 กุมภาพันธ์ 2567 07:13:17