[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 18:55:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี  (อ่าน 7469 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2555 17:42:35 »





พระนารายณ์ราชนิเวศน์  จังหวัดลพบุรี
SOMDET PHRA NARAI NATIONAL MUSEUM
Lopburi Province

เมืองลพบุรี เดิมมีชื่อว่า “ลวปุระ” หรือ “ละโว้”  เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย  มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนเข้าสู่ยุคสมัยประวัติศาสตร์ในสมัย “ทวารวดี”  ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖  ต่อมาได้มีการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรขอม  ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ เรียกว่า “สมัยลพบุรี”  เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๙๓  เมืองลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา  จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑) พระองค์โปรดฯ ให้วิศวกรชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียนร่วมกันออกแบบก่อสร้างพระราชวังเมืองลพบุรี  พร้อมกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๐๙ เพื่อทรงใช้ประทับเป็นที่แปรพระราชฐานว่าราชการงานเมือง  ต้อนรับแขกเมือง พักผ่อน และล่าสัตว์ เสมือนเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากกรุงศรีอยุธยา


แผนผังของพระราชวังแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหนึ่งหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี มีกำแพงก่ออิฐถือปูนและใบเสมาล้อมรอบ มีป้อมปืน ๓ ป้อม ประตูใหญ่รูปโค้งแหลม ๑๑ ประตู ที่ผนังประตูเจาะรูปโค้งแหลมจำนวนมากสำหรับวางตะเกียงสร้างความสว่างไสวให้แก่พระราชวังในยามค่ำคืน  ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมรูปแบบหนึ่งที่นิยมกันอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  


สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑)  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กองในการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังแห่งนี้ เป็นที่ประทับ พร้อมกับโปรดฯ ให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ กับหมู่ตึกพระประเทียบขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๙๙

พระราชวังมีพื้นที่ ๔๑ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา  ทรงกำหนดเขตพระราชฐานเป็น ๓ เขต  คือเขตพระราชฐานชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ตามแบบแผนของราชสำนักที่ปรากฏในพระบรมมหาราชวัง และโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระที่นั่งจันทรพิศาลตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ บันทึกว่า “....หลวงจตุรงควิไชยทำพระที่นั่งจันทรพิศาลได้วางไม้ทับหลังพระแกล พระทวาร...ก่อผนังหลัง เช็ดหน้าทั้ง ๓ ด้าน....พระยาสีหราชฤทธิไกร ทำพระที่นั่งจันทรพิศาล ก่อผนังถึง (กรอบ) เช็ดหน้าทั้ง ๑๑ ห้อง...พระยานครอิน หลวงจัตุรงควิไชย หลวงรามเดชะ  ลวงโจมจัตุรง นายด้านได้แต่งตัวไม้เครื่องบนเข้าตับไว้ ๑๒ ตับ...”  นอกจากนี้ทรงพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”

 

ปี พ.ศ.๒๒๓๐ ราวเดือนพฤศจิกายน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระประชวรและทรุดโทรมลงมาก ถึงแม้พระชันษาจะเพียง ๕๕  แต่ก็ดูกลายเป็นผู้ทรงพระชราอย่างยิ่ง จนกระทั่งมีข่าวลือว่าพระองค์ถูกวางยาพิษอย่างช้าๆ ถึงราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๒๓๑ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวรหนัก จนไม่สามารถว่าราชการแผ่นดินได้ และเสด็จสวรรคต  ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์  ตั้งอยู่ภายในพระราชวังแห่งนี้  เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑ พระชันษา ๕๕  หลังจากนั้นมาพระราชวังแห่งนี้ก็ทรุดโทรมกลายเป็นที่รกร้าง และลดความสำคัญลง  


ภาพวาดแสดงเหตุการณ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เสด็จออกรับท่านเดอ โชมองต์  ราชฑูตฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
จะสังเกตเห็นบาทหลวงเดอชัวซีย์  ยืนอยู่ข้างราชฑูตฝรั่งเศส
และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์หมอบอยู่หน้าที่ประทับ
ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์  จังหวัดลพบุรี

พระราชพงศาวดารบันทึกว่า ก่อนที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะเสด็จสวรรคต ได้ถวายพระราชวังให้เป็นวิสุงคามสีมา (ที่วัด)  ดังนั้น ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ต้องทรงกระกระทำพิธีการผาติกรรม ไถ่ถอนจากการเป็นที่วัดให้คืนมาเป็นที่พระราชวังตามเดิมเสียก่อน โดยพระราชทานทรัพย์ให้จัดซื้อที่นา ที่สวน อุทิศถวายให้เป็นที่ของวัด เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินพระราชวัง ทรงบริจาคเงิน ๖๐๐ ชั่ง ชดเชยเป็นค่าสำหรับการสร้างพระราชวังและพระที่นั่งต่างๆ ด้วย  และให้ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมวัดจำนวน ๓ วัด ได้แก่ วัดชุมพลนิกายาราม  บางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดขวิด (วัดกวิศราม) จังหวัดลพบุรี


กล่าวกันว่าเป็นเพราะคำแนะนำของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (Constant  Folcon)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงทรงโปรดฯ ให้ก่อพระที่นั่งในเมืองลพบุรีด้วยอิฐ  
เพราะแม้พระที่นั่งและตำหนักในราชธานีอยุธยาก็ยังสร้างด้วยไม้

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อพระชันษา ๒๕ ทรงดำเนินตามพระราชบิดา คือ ทรงเป็นพระราชาพ่อค้า ทรงควบคุมการค้าขายของชาวต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกตะวันตกอย่างใกล้ชิด พระองค์จึงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ชาวฝรั่งรู้จักมากที่สุด  และกล่าวกันว่าเรื่องราวที่แปลกประหลาดที่สุดในรัชกาลของพระนารายณ์คือ ในตอนปลายรัชกาลทรงโปรดใช้ฝรั่งคนหนึ่งเป็นพิเศษ ฝรั่งผู้นี้มีกำเนิดเป็นชาวกรีกมีนามว่า คอนสตันต์ เกราคีส หรือเจราคีส (Constant Gerakis or Jarakis) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า คอนสตันต์ ฟอลคอน (Constant Folcon : เหยี่ยวนกเขา) สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดปรานคนผู้นี้มาก ทรงแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง (เสนาบดีที่ปรึกษา การต่างประเทศ) และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์โดยรวดเร็ว ขึ้นเป็นถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  ทำให้ฟอลคอนมีฐานะร่ำรวยและมีอำนาจมากขึ้น   เมื่อฟอลคอนเป็นคนโปรดของพระนารายณ์ ย่อมจะก่อให้เกิดการอิจฉาริษยาและรังเกียจขึ้น ไม่แต่ในหมู่ฝรั่งเท่านั้น แม้แต่เสนาบดีและข้าราชการก็อิจฉาริษยาและรังเกียจด้วย จนในที่สุดพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนัก ราว ๒ เดือนก่อนเสด็จสวรรคต ฟอลคอนถูกหลอกให้ออกไปจากบ้านวิชาเยนทร์* ถูกจับส่งตัวไปยังบ้านหลวงสรศักด์ (ต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าเสือ) และถูกคุมขังไว้ราว ๑ เดือน จึงถูกประหารชีวิตโดยตัดศีรษะที่ฝั่งทะเลชุบศร  อันเป็นทะเลสาบย่อมๆ ของเมืองลพบุรี ...* บ้านวิชาเยนทร์ (บ้านหลวงรับราชฑูต) เป็นตึกแข็งแรง ก่อด้วยอิฐใหญ่โต สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างพระราชทานให้แก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์...ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐาน





หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ (PHIMAN MONGKUT HALL)[/center]
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่พระที่นั่งประกอบด้วย พระที่นั่งอักษรศาสตราคม พระที่นั่งไชยศาสตรากร เดิมคงเป็นที่เก็บศาสตราวุธ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย  ใช้เป็นท้องพระโรงออกว่าราชการแผ่นดิน  ส่วนที่เรียกว่าพระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น  ชั้น ๓ เป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชั้นกลางเป็นห้องเสวยพระกระยาหาร

 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหมู่พระที่นั่งองค์นี้ เป็นแบบตะวันตก หลังคาพระที่นั่ง แต่เดิมมุงด้วยกระเบื้องมีลอนคล้ายเก๋งจีน  แล้วมุงด้วยกระเบื้องธรรมดาในภายหลัง พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นที่จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัตศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  โดยเฉพาะชั้นที่ ๓ เป็นห้องที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ทิมดาบ (THIM DAB HALL) สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙  เพื่อเป็นที่พักของทหารรักษาการณ์ถวายความปลอดภัยแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในขณะประทับอยู่ ณ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ที่พักมี ๒ หลัง  ตั้งอยู่ตรงมุมกำแพงทางเข้าประตูด้านละ ๑ หลัง


ประตูเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นใน












เครื่องเงิน : เชิงเทียน ถ้วยใส่เหล้าองุ่น ฯลฯ สมัยอยุธยา
ซึ่งนอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุ อีกจำนวนมากที่ควรค่าแก่การศึกษา
เก็บรักษาไว้ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์



เสลี่ยง ๘ คนหาม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์
ทำจากไม้เนื้อแข็งแกะลวดลายฉลุ ซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมแพร่หลายในสมัยนั้น
ได้จากวัดตองปุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
(วัดตองปุ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)





ท่อดินเผา สำหรับจ่ายน้ำ จากอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ซึ่งอยู่ในหุบเขาจังหวัดลพบุรี
ให้เข้าสู่ตึกและหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ภายในพระราชวัง


อ่างเก็บน้ำ สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๙
โดยฝีมือบาทหลวงชาวฝรั่งเศสและอิตาลี สำหรับเป็นที่กักเก็บน้ำใช้และจ่ายไปตามท่อดินเผา
เข้าสู่ตึกและพระที่นั่งต่างๆ ภายในพระราชวัง  น้ำเหล่านี้ไหลมาตามท่อดินเผาจากอ่างซับเหล็ก
ซึ่งอยู่กลางหุบเขานอกเมืองลพบุรี



SOMDET PHRA NARAI NATIONAL MUSEUM
Lopburi Province
เปิดวันพุธ – อาทิตย์  เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ปิดวันจันทร์ – อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม ๓๐ บาท/ท่าน (ชาวไทย)



เทวสถานปรางค์แขก-PRANG KHEAK  
(ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์– ฮินดู)
อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (พ.ศ.๑๔๒๕ - ๑๔๓๖)
ตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์กับบ้านวิชาเยนทร์
ก่อนการบูรณะ ก่อสร้างด้วยอิฐ  ระหว่างอิฐแต่ละก้อนจะสอเชื่อมด้วยยางไม้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กุมภาพันธ์ 2559 16:40:48 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.481 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 15:48:06