[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 09:10:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สักการะพระเจ้าเก้าตื้อ ที่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่  (อ่าน 6530 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2555 14:33:48 »


วัดสวนดอก
ตำบลสุเทพ  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

วัดสวนดอก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อยู่ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก ๘๐๐ เมตร มีเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย แต่เดิมบริเวณวัดนี้เป็นอุทยานดอกไม้ของกษัตริย์ มีชื่อเรียกว่า “สวนดอกไม้พะยอม” (ในอดีตมีต้นพะยอมอยู่มาก)

จากศิลาจารึกวัดพระยืน หลักที่ ๖๒ จ.ศ.๗๓๒ (พ.ศ.๑๙๑๓) ได้กล่าวไว้ว่า วัดสวนดอกสร้างในปี พ.ศ.๑๙๑๔  หลังจากที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย  ผู้ครองนครเชียงใหม่  ทรงส่งสมณฑูต  มีหมื่นเงินกองปะขาวยอด และปะขาวสาย  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย อาราธนาพระสุมนเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายอรัญวาสีในอาณาจักรล้านนา  หลังจากที่พระสุมนเถระพำนักที่วัดพระยืน เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ในปี พ.ศ.๑๙๑๒ อีกหนึ่งปีต่อมา พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงสร้างวัดในบริเวณสวนดอกไม้ในเมืองเชียงใหม่ขึ้น และพระราชทานนามว่า "วัดบุปผาราม"  ซึ่งเป็นภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทยหมายถึง วัดสวนดอก เพื่อเป็นที่พำนักของพระสุมนเถระ และทรงแต่งตั้งพระสุมนเถระเป็นพระสังฆราช  นาม “พระมหาสุมนสุวรรณรัตนสามี”  ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกวัดบุปผารามกันอย่างง่ายๆ ว่า "วัดสวนดอก"
 

ตำนานมูลศาสนา กล่าวว่าวัดแห่งนี้มีขนาดกว้าง ๓๑๑ วา ยาว ๓๓๑ วา มีอาณาเขตเท่ากับวัดเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า  ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถ คือวัดพระเจ้าเก้าตื้อ นอกจากนี้ ยังทรงโปรดให้สร้างเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย การสถาปนานิกายรามัญวงศ์โดยพระสุมนเถระ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการตื่นตัวทางสติปัญญาและวัฒนธรรม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

วัดบุปผาราม หรือ วัดสวนดอก เป็นพระอารามหลวงในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายมาโดยตลอด มีกาลสมัยที่รุ่งเรืองเพราะการอุปถัมภ์ค้ำชูจากเหล่าขุนนางและกษัตริย์  และถึงกาลทรุดโทรมลงด้วยภัยสงครามจากพม่าและการสิ้นราชวงศ์มังราย  วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ต่อมาวัดสวนดอกได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งในรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนชาวเชียงใหม่ตลอดมา


วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เมื่อพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน  และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา


พระบรมธาตุเจดีย์วัดสวนดอก (Pagoda or Chedi at Wat Suan Dok) สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๖  
เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย องค์พระเจดีย์สูง ๒๔ วา
เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะลังกาผสมสุโขทัย ยังมีทางขึ้นเจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน


เจดีย์อนุสาวรี (กู่) ครูบาเจ้าศรีวิชัย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐
ครูบาศรีวิชัย ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑
ที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี (บางท่านก็ว่า ๓ ปี)  
จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน  จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙  
จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่างๆ
เช่น ที่วัดจามเทวี จ.ลำพูน  วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่  วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง  วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา
วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่  และที่วัดบ้านปาง จ.ลำพูน  อันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน


กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ (Reliquaries of Northern Thai Royalty)
อนุสาวรีย์ซึ่งบรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ คืออนุสาวรีย์บรรจุพระอัฐิ:พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน  
ปัจจุบันบรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทั้ง ๙ พระองค์ และพระอัฐิพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
รวมทั้งอัฐิของเจ้านายผู้ถือกำเนิดโดยตรงจากเจ้าหลวงเชียงใหม่




พระเจ้าเก้าตื้อ
 พระประธานประจำพระอุโบสถวัดสวนดอก
ประวัติพระเจ้าเก้าตื้อ พระเจ้าเก้าตื้อ พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก หรือวัดบุบผาราม  หล่อด้วยโลหะมีน้ำหนัก ๙ โกฏิตำลึง  หรือ ๙,๐๐๐ กิโลกรัม ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดของแผ่นดินล้านนา
 
คำว่า ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ  เป็นคำภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง (๑ ตื้อ เท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม บางตำราว่า ๑ ตื้อ หนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กิโลกรัม)
 
ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้ว หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๑๓  แห่งราชวงศ์มังราย ผู้ครองอาณาจักรล้านนา โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็นพระองค์ประธานในวัดพระสิงห์  โดยได้เริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีชวด ฉอศก จุลศักราช ๘๖๖ (พ.ศ. ๒๐๔๗)  เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย  หน้าตักกว้าง ๘ ศอก หรือ ๓ เมตร  สูง ๔.๗๐ เมตร  องค์พระมีที่ต่อ ๘ แห่ง นับเป็นท่อนได้ ๙ ท่อน  ใช้เวลานานถึง ๕ ปีนับตั้งแต่ลงมือหล่อพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้  จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์ บริเวณใกล้ ๆ กับพระอารามวัดบุบผารามหรือวัดสวนดอกเป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ"  ครั้นถึงวันพุธเดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๘๗๐ (พุทธศักราช ๒๐๕๒) จึงได้มีการชักพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถในวัดสวนดอก หรือวัดบุบผารามซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕  

และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ  ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒/๗๕  ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘




หลวงพ่อโตประจำวิหาร องค์ประธาน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๖ ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช  
หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา  หน้าตักกว้างสองเมตรครึ่ง
เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า "พระเจ้าค่าคิง" ตำนานกล่าวถึงการสร้างพระเจ้าค่าคิงว่า
"พญากือนาธรรมิกราช ได้เอาราชเรือนหลวงของพระองค์มาสร้างมหาวิหารหลังหนึ่ง
อันประณีตวิจิตรงดงามยิ่ง พร้อมทั้งหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งด้วยทองสำริดไว้
ในพระวิหารเป็นพระประธาน สำเร็จในปี พ.ศ. ๑๙๑๖



พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์ซ้ายและองค์ขวา ของหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย
ฉลองพระองค์และสวมมงกุฎด้วยเครื่องขัตติยราช ทรงทรมานพระยามหาชมพู
(พระทรงเครื่อง มีการทำหลายแบบ)  
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับสำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระเวฬุวัน  
ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย  ครั้งนั้น พระยาชมพูวดี ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์
ที่มีบุญญาธิการและฤทธานุภาพมาก ได้มาคุกคามและรบกวนพระเจ้าพิมพิสารอยู่เสมอ
พระเจ้าพิมพิสารจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เวฬุวัน ขอพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระพุทธองค์ทรงเล็งพระญาณเห็นว่า จะโปรดพระยามหาชมพูได้
 จึงทรงเนรมิตพระเวฬุวันให้เป็นดังดุจเมืองสวรรค์ และทรงเนรมิตพระองค์เอ
งเป็นเจ้าราชาธิราช ทรงเครื่องราชาภรณ์ครบทุกประการ และดำรัสสั่งให้พระอินทร์
แปลงเป็นราชฑูตไปเชิญพระยามหาชมพูมาเฝ้าที่พระเวฬุวันมหาวิหาร  
ทรงแสดงธรรมโปรดจนพระยามหาชมพูหมดทิฐิมานะ  
ขอบรรพชาอุปสมบทพร้อมด้วยพระมเหสีและพระราชโอรส

 




พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ






กุฏิสงฆ์ข้างพระอุโบสถวัดสวนดอก







Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2558 14:13:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2555 15:31:17 »


เจ้าดารารัศมี
พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี  พระภริยาเจ้าพระองค์หนึ่ง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีบทบาทสำคัญในการผนวกแผ่นดินล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย

พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเป็นพระธิดาองค์สุดท้องในพระเจ้าอินทวิชยานนท์  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๗  ประสูติแต่แม่เจ้าเทพไกรสร เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง  มีพระนามที่เรียกขายกันในหมู่พระญาติใกล้ชิดว่า อึ่ง   เข้ารับราชการในพระราชสำนักฝ่ายใน  ในตำแหน่งเจ้าจอม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นไปตามพระบรมราโชบายในอันที่จะประสานสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น   ต่อมา ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ  โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระราชชายา พ.ศ. ๒๔๕๑  มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี  แต่ประชวรสิ้นพระชนม์เสียเมื่อทรงมีพระชนมายุเพียง ๓ พรรษา  นำความเศร้าโศกอาลัยมาสู่พระบรมชนกนาถและพระชนนีเป็นที่ยิ่ง  สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงถึงกับตรัสว่า “...ฉันผิดเอง ลูกเขาควรเป็นเจ้าฟ้าแต่ฉันลืมตั้ง จึงตาย...”   และหลังจากนั้น พระราชชายาฯ ก็มิได้มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาไว้เชยชมอีกเลย

เมื่อพระราชชายาฯ  ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า  ในครั้งนั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงห่วงใยพระธิดา ด้วยเห็นว่ายังทรงเยาว์วัยนัก  เกรงจะไม่รู้จักวางองค์ให้เหมาะสม  พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ทรงฝากฝังพระธิดาน้อยกับพระองค์ด้วยความห่วงใยว่า “เสด็จเจ้า ข้าเจ้าฝากนังอึ่งด้วยเน้อ  ถ้าทำอันหยังบ่อถูกบ่ต้อง  เสด็จเจ้าก็จงเรียกตัวมาเกกหัวเอาเตอะ...”



พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ แม่เจ้าเทพไกรสร
พระบิดา พระมารดา ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
แต่กาลต่อมาก็ได้พิสูจน์ว่า พระราชชายาฯ ทรงเป็นกุลสตรีที่มีน้ำพระทัยอาจหาญเด็ดเดี่ยว แม้จะทรงตกมาอยู่ท่ามกลางบุคคลที่มิใช่พระญาติวงศ์แต่เมื่อพระชนมายุยังน้อย ก็ทรงสามารถดำรงองค์อยู่ได้อย่างสมพระเกียรติ  ประกอบกับทรงมีพระสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด พระสิริโฉมงดงาม น้ำพระทัยโอบอ้อมอารี  พระอิริยาบถอ่อนโยนนุ่มนวลอันเป็นแบบฉบับของสตรีล้านนา  พระตำหนักของพระราชชายาฯ  จะแปลกกว่าพระตำหนักอื่นคือ ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนาอย่างเคร่งครัด  ตั้งแต่การแต่งกาย  พระราชชายาฯ และคุณข้าหลวงต่างก็ยังคงนุ่งซิ่นพื้นเมือง  พูดคำเมือง  รับประทานอาหารแบบเมืองเหนือ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย  ดิศกุล  พระธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึง พระอัธยาศัยและพระสติปัญญาของพระราชชายาฯ ไว้ด้วยความชื่นชมว่า
“....ทุกคนที่ได้เคยเฝ้าพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่ในพระบรมมหาราชวังในเวลาที่ประทับอยู่ในหมู่เจ้าจอมมารดาผู้ใหญ่ด้วยกันก็ดี ได้เฝ้าในเวลาเสด็จประทับเป็นประธานอยู่ในหมู่ข้าราชการทั้งใต้และเหนือในเมืองเชียงใหม่ก็ดี  ถ้าไม่ดูให้ดี ก็จะรู้ไม่ได้เลยว่า พระราชชายาฯ ในที่ ๒ แห่งนั้นพระองค์เดียวกัน   ทั้งนี้ เพราะทรงสามารถแยกกาลเทศะได้เป็นยอดเยี่ยม  

พระราชชายาฯ ในพระบรมมหาราชวังไม่ทรงมียศมีศักดิ์  ไม่มีความสำคัญอันใด  สมกับคำที่พวกเจ้าจอมเรียกกันว่า เจ้าน้อย  เจ้าน้อยไม่มีความรู้อะไร  เจ้าน้อยนั่งนิ่ง ๆ อมยิ้มในสิ่งที่ไม่มีสาระรอบตัวเองได้อย่างสบาย  ทุกคนในที่นั้นก็ไม่มีใครรู้จักพระองค์ท่าน นอกจากคำว่า เจ้าน้อย

แต่ถ้าผู้ใดไปเฝ้าที่เมืองเชียงใหม่  ผู้นั้นจะได้เฝ้าเจ้าหญิงผู้เป็นหลักของบ้านเมือง  ประทับอยู่ในระหว่างข้าราชการทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือ  เวลาตรัสกับพวกใต้ ก็ตรัสภาษาใต้ชัดเจน  ถ้าหันไปตรัสทางฝ่ายเหนือก็ชัดเป็นฝ่ายเหนือไม่มีแปร่ง  ตรัสไต่ถามทุกข์สุข  และแนะนำทั้งในทาง.ราชการ และส่วนตัว  ด้วยความเหมาะสมแก่พระเกียรติยศ....”

ทรงรู้การควรและไม่ควรประพฤติปฏิบัตินั้น ปรากฏดังครั้งที่มีพระประสูติกาลพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี  พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าตาทรงดีพระทัย ส่งอ่างสรงน้ำทำด้วยทองคำมาประทานพระนัดดา  แต่พระราชชายาฯ ไม่ทรงนำมาใช้  ได้ถวายอ่างทองคำแก่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าลงสรงแทน

ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต  พระราชชายาเจ้าดารารัศมี  ได้กราบบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับมาประทับ ณ เชียงใหม่ บ้านเกิดเมืองนอน ใน พ.ศ. ๒๔๕๗  ทรงประทับอยู่ที่ซึ่งเงียบสงบ ณ ตำหนักดาราภิรมย์  อำเภอแม่ริม  ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร  จนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖  รวมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2558 14:01:07 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตำนานพระธาตุดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 9002 กระทู้ล่าสุด 19 มกราคม 2556 13:30:06
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
วัดหม้อคำตวง จังหวัดเชียงใหม่ - ศูนย์รวมโหราจารย์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 7825 กระทู้ล่าสุด 02 กุมภาพันธ์ 2556 20:26:39
โดย Kimleng
ไปแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ดูเกษตรกรรีดนมวัว
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 9565 กระทู้ล่าสุด 28 ตุลาคม 2556 14:30:52
โดย Kimleng
อุทยานแห่งชาติออบหลวง สัมผัสธรรมชาติน่าเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1046 กระทู้ล่าสุด 24 ตุลาคม 2562 17:15:05
โดย Kimleng
ปู่แสะ-ย่าแสะ ตำนานยักษ์ผู้ปกปักรักษาผืนป่าดงดอย จังหวัดเชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 2250 กระทู้ล่าสุด 18 มีนาคม 2563 14:59:10
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.453 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 07:56:54