[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 พฤศจิกายน 2567 08:47:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตายอย่างรู้ตัว หรือ ฆ่าตัวตาย พระไพศาล วิสาโล  (อ่าน 3622 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 15:17:59 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]



สัมภาษณ์ พระไพศาล วิสาโล
ที่มูลนิธิพลตรีจำลอง ศรีเมือง รามคำแหง ๓๙ หัวหมาก กรุงเทพฯ
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ เวลา ๑๒.๐๐ น.

 
เสขิยธรรม : “การตายอย่างมีสติ” หมายความว่าอย่างไร?

พระไพศาล : คือตายอย่างสงบ ไม่ตื่นกลัวหรือวิตก พร้อมรับความตายที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ดิ้นรนขัดขืน สามารถน้อมใจให้ระลึกถึงสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล เช่นพระรัตนตรัย ยิ่งสามารถน้อมใจถึงขั้น เอาความว่างเป็นอารมณ์ หรือปล่อยวางแม้กระทั่งความยึดถือในตัวตนได้ ก็จะเป็นการตายอย่างมีสติในขั้นสูงสุดก็ว่าได้
 
เสขิยธรรม : ต้องอาศัยการเตรียมการ หรือต้องอาศัยการฝึกตนเองสักเพียงใด จึงจะเรียกว่ามีความพร้อมที่จะตายอย่างมีสติ

พระไพศาล : ต้องเตรียมการสองส่วน คือ การฝึกตน และการตระเตรียมปัจจัยแวดล้อม
การฝึกตนก็คือ การเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความตาย ตั้งแต่ยังมีความปกติสุขอยู่ คือระลึกนึกถึงความตายอยู่เสมอ จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่เตรียมเอาตอนที่รู้ว่าใกล้จะตายแล้ว นอกจากระลึกถึงความตายที่อาจเกิดขึ้นทุกขณะแล้ว ก็ต้องฝึกใจให้พร้อมจะปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อความตายมาถึง กับเรียนรู้ที่จะจัดการกับความกลัวซึ่งอาจเกิดขึ้นเวลาใกล้ตาย นั่นเป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็คือการพยายามสร้างคุณงามความดี ใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ มีคุณค่า และหมั่นฝึกจิตด้วยสมาธิภาวนา ไปพร้อม ๆ กับการเจริญมรณสติด้วย

ในแง่ของปัจจัยแวดล้อมก็สำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ใกล้ตาย เพราะว่าการที่จะรักษาใจให้ปกติ ให้มีสติหรือน้อมระลึกถึงในสิ่งดีงามที่เป็นกุศลได้ ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วยมาก โดยเฉพาะคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น หากเราอยู่ในห้องไอซียู มีสายระโยงระยาง แล้วมีหมอและพยาบาลมามะรุมมะตุ้มรอบตัว ฉีดโน่นเจาะนี่ในตัวเรา ในสภาพเช่นนี้การรักษาใจให้สงบ มีสติ หรือน้อมระลึกถึงสิ่งดีงามย่อมเป็นไปได้ยาก หรือ หากว่ามีลูกหลานญาติพี่น้องมาร้องห่มร้องไห้ใกล้เตียง พยายามยื้อยุดไม่ให้เราตาย การที่เราจะปล่อยวางตั้งแต่เรื่องญาติพี่น้อง ลูกหลาน ทรัพย์สมบัติ ก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน

ปัจจัยแวดล้อมนี้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเตรียมตัวตาย ปัจจัยแวดล้อมที่ว่า นอกจากจะหมายถึงคนรอบตัวเช่นญาติพี่น้องหรือแพทย์พยาบาลแล้ว ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ห้องที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ถ้าอึกทึกคึกโครม ก็เป็นอุปสรรคต่อการเตรียมใจเวลาใกล้ตาย แต่ถ้ามีความสงบ และมีสิ่งน้อมใจให้เป็นกุศล เช่น มีพระพุทธรูป หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาของตน มีข้อความเตือนใจให้ปล่อยวาง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่สามารถน้อมนำจิตใจให้เกิดความสงบ เป็นบุญเป็นกุศล หรืออาจทำให้เราเกิดความรู้สึกตรงกันข้าม ก็ได้ นี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ควรมีการตระเตรียมไว้ให้ดี



เวลานี้มีคนจำนวนมากขึ้น ตั้งคำถาม หรือถึงกับปฏิเสธการแพทย์ตะวันตก
เพราะเห็นว่าเป็นการรักษาที่ค่อนข้างจะก้าวร้าว
และมีจุดมุ่งหมายเพียงแค่ต่อลมหายใจของผู้ป่วยเท่านั้น
โดยไม่สนใจด้านจิตใจหรือคุณภาพชีวิต
การรักษาบางอย่าง มีคุณค่าเพียงแค่ว่ายืดลมหายใจออกไป
แต่ไม่ได้เอื้อต่อการน้อมใจ ให้เกิดความสงบ
ดังนั้น สำหรับคนที่เห็นว่า ในภาวะใกล้ตาย ความสงบใจ
สำคัญกว่าการมีชีวิตที่ยืนยาว แต่ไร้คุณภาพ
เขาก็อาจเลือกวิธีการ ที่จะปล่อยให้ตัวเองตายไป
โดยธรรมชาติก็ได้
 
เสขิยธรรม : มีความเห็นอย่างไร ต่อการที่ใครสักคนรู้ว่าตนเองเป็นโรคร้าย แล้วยินดี หรือตัดสินใจ จะเลือกการรักษาที่ไม่ใช่แนวทางตะวันตก หมายถึง..เลือกการรักษาแบบทางเลือก หรือแบบพื้นบ้าน ซึ่งสังคมทั่วไปมองว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อความเป็นความตาย

พระไพศาล : ก็แล้วแต่กรณี อย่างเช่นว่าการรักษาบางอย่าง เขาเห็นว่าไม่เป็นผลดีต่อการตระเตรียมจิตใจให้สงบหรือประคองจิตให้เป็นปกติ ในกรณีเช่นนั้นเขาอาจปฏิเสธที่จะรับการรักษาแบบนั้น แม้นั่นอาจหมายความถึงการตาย แต่เขาก็คิดว่าตายแบบธรรมชาติดีกว่าอยู่แบบทุกข์ทรมานหรือไร้สติสัมปฤดี เวลานี้มีคนจำนวนมากขึ้นตั้งคำถามหรือถึงกับปฏิเสธการแพทย์ตะวันตก เพราะเห็นว่าเป็นการรักษาที่ค่อนข้างจะก้าวร้าว และมีจุดมุ่งหมายเพียงแค่ต่อลมหายใจของผู้ป่วยเท่านั้น โดยไม่สนใจด้านจิตใจหรือคุณภาพชีวิต การรักษาบางอย่างมีคุณค่าเพียงแค่ว่ายืดลมหายใจออกไป แต่ไม่ได้เอื้อต่อการน้อมใจให้เกิดความสงบ ดังนั้น สำหรับคนที่เห็นว่า ในภาวะใกล้ตาย ความสงบใจสำคัญกว่าการมีชีวิตที่ยืนยาวแต่ไร้คุณภาพ เขาก็อาจเลือกวิธีการที่จะปล่อยให้ตัวเองตายไปโดยธรรมชาติก็ได้

เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยนั้น ๆ ว่าถืออะไรเป็นสำคัญ ต้องการเพียงแค่หนีพ้นความตายให้ไกลที่สุด หรือเห็นว่าคุณภาพชีวิตและจิตใจเป็นเรื่องสำคัญกว่าการต่อลมหายใจ

จะรับหรือปฏิเสธวิธีการรักษาแบบไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษานั้น ๆ ควรใช้ท่าทีแห่งปัญญา คือเห็นประโยชน์และโทษของการรักษานั้น ๆ อย่างชัดเจน หรือเท่าที่ตัวเองจะสามารถรู้ได้ ไม่ควรเอาอุปาทาน ความติดยึดในวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือความชอบไม่ชอบมาเป็นหลัก โดยไม่สนใจข้อเท็จจริง

ท่าทีอย่างหลังจัดว่าเป็นความหลงได้อย่างหนึ่ง
 
เสขิยธรรม : มีความเห็นอย่างไร กับการกล่าวว่า ถ้าคน ๆ นี้ยินยอมที่จะรักษาอาการเจ็บป่วยของตนเองอย่างเหมาะสม ก็อาจจะสามารถยืดชีวิตต่อไปได้อีก และสามารถจะทำประโยชน์ให้กับสังคม หรือสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้อง ได้มากกว่าการตัดสินใจตายจากไปด้วยความสงบ ดังที่ผู้ตายเชื่อมั่น หรือศรัทธา

พระไพศาล : มีบางกรณีที่ แพทย์หมดทางรักษาแล้ว และมีโอกาสรอดน้อยมาก แพทย์ทำได้เพียงแค่ประคองชีวิตไปเรื่อย ๆ เท่านั้น ปรากฏว่าผู้ป่วยค่อย ๆ มีอาการดีขึ้น จนหาย หรือบางกรณี แพทย์เกือบจะหมดปัญญาแล้ว แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เท่าที่นึกออก ทั้ง ๆ ที่มีความหวังน้อยมาก ปรากฏว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นมาเป็นปกติได้ แต่กรณีเช่นนี้ค่อนข้างจะน้อย และต้องถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ในทางการแพทย์ อันนี้เป็นเรื่องของการตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องเสี่ยง เพราะผลอาจกลายเป็นว่า ผู้ป่วยตายอย่างทุกข์ทรมาน หรือกลายเป็น “ผัก” ไปก็ได้

สำหรับคนที่เห็นว่าในยามใกล้ตาย สภาพจิตใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เขาก็คงไม่อยากจะเสี่ยงไปใช้วิธีการที่อาจทำให้ตัวเองกลายเป็นผัก ซึ่งไม่เอื้อให้สามารถเตรียมตัวตายอย่างสงบได้เลย มิหนำซ้ำอาจจะทำให้ตายอย่างทุกข์ทรมานก็ได้ ในกรณีอย่างนี้ หากเขาเห็นว่าไม่มีวิธีการรักษาอย่างอื่นอีกแล้ว

นอกจากวิธีการที่เสี่ยงต่อการเป็นผัก เขาก็มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรักษา แล้วหันมาเตรียมตัวตายอย่างสงบ

นี่เป็นเรื่องของปัญญา ว่าเขามีมากขนาดไหน คือเขามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนมากน้อยแค่ไหน และก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาโรคนั้นมากน้อยเพียงใด ถ้าหากว่าประเมินดูแล้ว มันมีโอกาสเสี่ยงมากที่จะทำให้ตายอย่างทุกข์ทรมาน หรือว่าตายอย่างไม่สงบ เขาก็เลือกที่จะไม่รักษา เรื่องนี้จะว่าไปแล้วไม่สามารถพูดเด็ดขาดลงไปได้ว่าจะเกิดผลอะไรตามมา เพราะอย่างที่บอกไว้แล้วว่ามันมีความเป็นไปได้ว่าบางกรณีผู้ป่วยสามารถรอดได้และกลับเป็นปกติ ทั้ง ๆ ที่แพทย์หมดหวังแล้ว แต่ว่ากรณีแบบนี้มีน้อยมาก สรุปก็คือเป็นเรื่องที่อยู่กับการตัดสินใจและข้อมูลที่มี

อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าระหว่างการรักษาความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม กับการปล่อยให้ตัวตายอย่างสงบ อย่างไหนจะดีกว่ากัน ถ้าตอบแบบพุทธ ก็ต้องบอกว่า เรามีหน้าที่ต่อชีวิต ที่จะต้องดูแลรักษาอย่างเต็มที่ เพื่อจะได้มีโอกาสทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้มากที่สุด การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่ง พระพุทธองค์เปรียบเทียบกับเต่าที่นานทีปีหนจะโผล่ขึ้นมาที่ผิวสมุทรสักครั้ง การที่เต่าตัวนั้นจะโผล่ขึ้นมาตรงกลางห่วงที่ลอยคว้างอยู่กลางสมุทร เป็นเรื่องยากแค่ไหน การเกิดมาเป็นมนุษย์ยากยิ่งกว่านั้นอีก แต่สำหรับบางศาสนา เช่น ศาสนาคริสต์บางนิกาย เขาถือว่าชะตากรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระบัญชาของพระเจ้า ดังนั้นเขาจะปฏิเสธการรักษาทุกชนิดโดยเฉพาะจากแพทย์ เพราะถือว่าเป็นการแทรกแซงอำนาจของพระองค์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 15:20:09 »

สำหรับคนที่เห็นว่าในยามใกล้ตาย สภาพจิตใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
เขาก็คงไม่อยากจะเสี่ยงไปใช้วิธีการที่อาจทำให้ตัวเองกลายเป็นผัก
ซึ่งไม่เอื้อให้สามารถเตรียมตัวตายอย่างสงบได้เลย
มิหนำซ้ำ
อาจจะทำให้ตายอย่างทุกข์ทรมานก็ได้ ในกรณีอย่างนี้
หากเขาเห็นว่าไม่มีวิธีการรักษาอย่างอื่นอีกแล้วนอกจากวิธีการที่เสี่ยงต่อการเป็นผัก
เขาก็มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรักษา แล้วหันมาเตรียมตัวตายอย่างสงบ
 
 
 
เสขิยธรรม : การที่คน ๆ หนึ่ง ตัดสินใจเลือกที่จะดูแลรักษาตนเองอย่างเรียบง่าย โดยปฏิเสธการรักษาทางตะวันตก หรือการรักษาในกระแสหลัก ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่า จะทำให้ชีวิตยืนยาวอยู่ได้ นี่เป็นความประมาทหรือไม่

พระไพศาล : ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลรวมทั้งเหตุปัจจัย ว่า เขามีความพร้อมหรือไม่ เช่น การรักษาบางอย่างอาจจะทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่สิ้นเปลืองมาก ซึ่งถ้าใช้วิธีการรักษาแบบนั้น ก็ต้องทำให้คนอื่น ๆ เดือดร้อน และอาจมีผลสะท้อนกลับมาที่ตัวเขาเอง ทำให้เกิดความทุกข์ความวิตกกังวลมากขึ้น ที่ตัวเองกลายมาเป็นภาระของครอบครัว ในการที่ต้องทำมาหาเงินเพื่อที่จะมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งมีราคาแพง ในกรณีอย่างนี้จะเรียกว่าเขาประมาทไม่ได้

จะเรียกว่าประมาทก็ต่อเมื่อปฏิเสธการรักษาพยาบาลใด ๆ โดยคิดว่า โรคจะหายเอง โดยที่ตนเองไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนั้นเพียงพอ อันนี้ถึงเรียกว่าประมาท คือทำไปด้วยความไม่รู้ และไม่คิดที่จะศึกษาให้รู้ ไปเข้าใจเอาเองว่าตัวเองรู้พอแล้ว หรือคิดว่าถูกต้องแล้ว

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ามีโรคเป็นอันมากที่หายเองได้ โดยที่ไม่ต้องมีการรักษาใด ๆ เพียงแค่ดูแลตัวเองให้ดี ก็พอแล้ว ที่เห็นง่าย ๆ ก็คือโรคหวัด บางโรคถึงรักษา ก็ไม่หาย เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านการแพทย์ ในกรณีนี้ผู้ป่วยอาจเลือกที่จะไม่รักษาใด ๆ แต่หันมาดูแลรักษาตนเองอย่างเรียบง่าย เช่น กินอาหารอย่างสมดุล ออกกำลังกายพอประมาณ ทำสมาธิ เล่นโยคะ อย่างนี้ไม่เรียกว่าประมาท โดยเฉพาะเมื่อศึกษาแล้วพบว่ามีคนที่สามารถหายจากโรคที่ว่านี้ได้ หรือถึงไม่หาย ก็ตายอย่างมีความสุขกว่าและไม่ไปสร้างความเดือดร้อนแก่ญาติพี่น้องในเรื่องค่ารักษาพยาบาล
 
เสขิยธรรม : การที่ผู้ป่วยมีกำลังทุนทรัพย์ หรือมีฐานะเพียงพอที่จะสามารถรักษาตัวโดยวิทยาการสมัยใหม่ หรือการแพทย์แบบตะวันตกในกระแสหลักได้ แต่เลือกที่จะใช้การเจ็บป่วยเป็นการศึกษาตนเอง หรือยอมรับความเจ็บป่วย ในลักษณะที่ถือว่านี่เป็นเรื่องที่เกิดจากเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ และในที่สุดเขาก็ตายจากไป ท่ามกลางความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ของผู้คนรอบข้าง ที่เห็นพ้องกันว่าคน ๆ นี้ยังไม่สมควรที่จะต้องตาย นี่ถือว่าเป็นความประมาทได้หรือไม่

พระไพศาล : คงไม่ใช่เป็นความประมาท แต่ว่าอาจจะเป็นการประเมินที่ผิดพลาดก็ได้ ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น วัยของผู้ป่วย สำหรับคนที่มีอายุไม่มาก การที่เขาตัดสินใจเช่นนั้นก็อาจจะเนื่องจากเขาไปติดยึดกับกรอบวิธีคิดหรือการรักษาบางอย่าง ว่าวิธีการรักษาแบบนี้จะเป็นประโยชน์แก่เขามากที่สุด และก็ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธที่จะรักษาอย่างอื่น เพราะเห็นว่ามันไม่สามารถรักษาโรคของเขาได้ หรือไม่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของเขาได้เลย อันนี้ต้องระวัง เพราะอาจกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานในทางความคิด ที่เรียกว่าทิฏฐุปาทาน ซึ่งได้พูดไปแล้ว จะไม่เป็นอุปาทานก็ต่อเมื่อศึกษาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน คือใช้ปัญญาด้วยใจที่เปิดกว้างแล้ว อย่าลืมว่าอุปาทานเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้จะเป็นอุปาทานในเรื่องที่ดี ก็เป็นโทษได้มาก เช่น ยึดมั่นถือมั่นในศาสนาของตน จนพร้อมจะฆ่าคนอื่นเพื่อศาสนาของตัว กลายเป็นสงครามศาสนาอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศตอนนี้

ในทางพุทธศาสนาถือว่าชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่เรามีหน้าที่ต้องดูแลรักษา แม้บางครั้งอาจหมายถึงการสูญเสียอวัยวะก็ตาม ดังพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ในเมื่อชีวิตเป็นสิ่งมีคุณค่า เราไม่ควรให้ความคิด ทฤษฎี หรืออุดมการณ์ใด ๆ มามีความสำคัญมากกว่าชีวิต ยกเว้นว่าเป็นเรื่องของความถูกต้องดีงาม หรือธรรมะ ในกรณีเช่นนั้นจึงสมควรสละชีวิต ดังพระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปว่า พึงสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม

ตรงนี้ก็ต้องขยายความเพิ่มเติมว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องดูแลรักษาชีวิตของเรา ไม่ใช่เพื่อมีชีวิตลอย ๆ แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นมากที่สุด ทีนี้บางคนเมื่อเจ็บป่วยแล้ว อาจปฏิเสธการรักษาบางวิธี เพราะเห็นว่ามันเป็นการทำลายคุณภาพชีวิตของเขา ทำให้ไม่สามารถทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่านเต็มที่ เขาก็มีเหตุผลที่จะปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม อาตมาคิดว่าการรักษาพยาบาลบางอย่าง แม้จะทำให้เราเจ็บปวด แต่ถ้ามีความเป็นได้มากที่จะทำให้เรามีชีวิตยืนยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ได้เลวไปกว่าเดิม เราก็น่าจะยอมรับวิธีการรักษาเหล่านั้น ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ชีวิตตัวเองอยู่รอดเท่านั้น แต่เพื่อเราจะได้สามารถทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองได้มากขึ้น และเพื่อประโยชน์ของบุคคลที่เราข้องเกี่ยว การกระทำเช่นนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อชีวิตและร่างกายของเราอย่างเต็มที่
 

เสขิยธรรม : อยากให้ขยายความในเรื่องสิทธิที่จะตาย หรือสิทธิในการแสวงหาทางเลือก ต่อการรักษาชีวิตของตนเอง ของผู้เจ็บป่วย และผู้ที่กำลังจะตาย

พระไพศาล : ตอนนี้มีการพูดกันมากเรื่องสิทธิในการตาย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่คนสมัยนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสังคมปัจจุบันถือว่าสิทธิของปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องได้รับความเคารพ จัดว่าเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ของคนยุคนี้ แต่ว่า สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักก็คือ เราต้องมีทัศนะต่อความตายอย่างถูกต้อง เพราะว่าเวลานี้ผู้คนมักมองว่า ความตายเป็นเรื่องที่น่ากลัว เป็นเรื่องที่ทุกข์ทรมาน ดังนั้นจึงพยายามหลีกหนีความตายให้ไกลและนานที่สุด ขณะเดียวกันถ้าจะตาย ก็อยากจะตายแบบฉับพลันทันที ไม่ต้องทุกข์ทรมาน และต้องตายสวยด้วย เพราะฉะนั้นจึงมีคนจำนวนไม่น้อยอยากจะจบชีวิตของตัวเองให้ได้เร็วที่สุด โดยเจ็บปวดน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้แนวความคิดเรื่องการุณยฆาต หรือการให้แพทย์พยาบาลปลิดชีวิตตนเองหรือให้ความช่วยเหลือแก่ตนเองในการฆ่าตัวตาย จึงได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่การแพทย์ทุกวันนี้ทำให้คนเป็นอันมากอยู่ในภาวะครึ่ง ๆ กลาง ๆ คือจะตายก็ไม่ตาย จะหายก็ไม่หาย จึงค้างเติ่งอยู่กับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานทั้งจากภาวะร่างกายที่เสื่อมถอย และจากวิธีการรักษาพยาบาลที่ก้าวร้าวรุนแรงและไม่คำนึงถึงจิตใจผู้ป่วย

การุณยฆาตกำลังได้รับความนิยมในเมืองนอก โดยถือว่าเป็นสิทธิการตายอย่างหนึ่ง แต่ว่ามักจะเกิดบนพื้นฐานความคิดที่ว่าความเจ็บปวดนั้นเป็นภาวะที่เลวร้าย ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด ผู้คนจึงอยากตายโดยที่ไม่ต้องเจ็บไม่ต้องปวดเลย แต่เราลืมมองไปว่า ในสภาวะใกล้ตาย ในสภาวะที่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายใกล้จะแตกสลายตามมาด้วยความเจ็บปวดนั้น มันเป็นโอกาสที่จะช่วยให้เราเข้าใจสัจธรรมของชีวิต มีคนเป็นอันมากที่เมื่อเผชิญกับความเจ็บปวดจากโรคภัยไข้เจ็บ ปรากฏว่าสามารถที่จะใช้ความเจ็บปวดนั้นเป็นครูทำให้จิตใจเกิดปัญญาขึ้นมา

สามารถปล่อยวางความยึดถือในตัวตน ในร่างกายของตนได้ ในยามปกติคนเราก็มักยึดถือร่างกายเป็นตัวเป็นตน หากไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับตัว ก็จะยังยึดถืออย่างนั้นเรื่อยไป ต่อเมื่อมีความเจ็บปวดหรือเจ็บป่วยเกิดขึ้น ถึงจะรู้จักปล่อยวาง เพราะถ้ายังขืนยึดอยู่ ก็ยังทุกข์ร่ำไป พระพุทธเจ้าเปรียบว่าเหมือนกับถูกลูกศรปักอกสองดอก คือทุกข์ทั้งกายและใจ แต่ถ้าคลายความยึดถือในกายของตน ก็เหมือนกับโดนลูกศรดอกเดียว คือทุกข์แค่กาย แต่ไม่ทุกข์ใจ

การปล่อยวางความยึดถือในตัวตนนี้ ช่วยให้เราเข้าถึงความสงบในท่ามกลางความเจ็บป่วยทางกายได้ ยิ่งไปกว่านั้นบางท่านก็ใช้ความเจ็บปวดนี้ให้เกิดประโยชน์ทางธรรม จนกระทั่งเกิดดวงตาเห็นธรรม จิตประจักษ์แจ้งในสัจธรรมถึงขั้นที่ว่าบรรลุถึงอรหัตผลเลย ในสมัยพุทธกาลก็มีพระบางรูปที่ทุกข์มากถึงขั้นฆ่าตัวตาย แต่ระหว่างที่กำลังจะตายนั้นเอง จิตได้พิจารณาเห็นความเจ็บปวด ทุกขเวทนาอันแรงกล้าขณะนั้นทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร จนละความตึดยึดในสังขาร จิตจึงหลุดพ้น สามารถบรรลุธรรมก่อนจะหมดลม อย่างนี้ก็มีอยู่ เป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าความเจ็บปวด แม้ในสภาวะใกล้ตาย ก็สามารถช่วยยกจิตของเราขึ้นสู่อีกระดับหนึ่งได้ จนถึงขั้นหลุดพ้นก็มี

ความทุกข์ ความเจ็บปวดนั้นมิได้มีแต่โทษ หากยังมีคุณด้วย หากรู้จักมองหรือใช้ให้เป็น หากมองให้เป็น ความทุกข์ความเจ็บปวดนี้แหละที่จะทำให้เราหลุดพ้น หรือมีชัยเหนือความเจ็บป่วยและความตายได้ ที่เขาว่าเอาชนะความเจ็บ ความแก่ ความตาย ไม่ได้หมายความว่า ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย แต่หมายถึง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะจิตใจของเราหลุดพ้น ไปจากการครอบงำของความทุกข์ทั้งหลาย อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อโยงถึงเรื่องความตาย เพราะว่าความตายหรือกระบวนการแห่งความตายนั้นอาจจะทำให้เราเจ็บปวดในทางกาย แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้เราเจ็บปวดทางใจได้เสมอไป ป่วยกายแต่ไม่ป่วยใจนั้นเป็นไปได้ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ เราก็จะใช้สิทธิในการตายได้อย่างมีวิจารณญาณ ไม่ได้ใช้เพียงเพื่อที่จะหนีปัญหา หรือเพียงเพื่อที่จะหลีกพ้นความเจ็บปวดอย่างเดียว โดยไม่สนใจอย่างอื่น

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ยังฝึกใจไม่ดีพอ ความเจ็บปวดอันแรงกล้าอาจทำให้จิตใจทุกข์ทรมาน กระสับกระส่าย หาความสงบไม่ได้ ในกรณีอย่างนี้การใช้ยาระงับปวดและให้ร่างกายค่อย ๆ แตกดับไปก็ยังดีกว่าการจบชีวิตตนเองด้วยการุณยฆาต แต่ก็ต้องระวังอย่าให้ยาระงับปวดทำลายสติสัมปชัญญะ จนไม่สามารถที่จะประคองจิตสุดท้ายก่อนตายให้เป็นไปในทางกุศลได้
ประการสุดท้ายที่อยากพูดสำหรับคำถามนี้ก็คือ พุทธศาสนานั้นไม่ปฏิเสธสิทธิที่จะตาย หมายความว่าเรามีสิทธิที่จะจบชีวิตอย่างไรก็ได้ อันนี้ต่างจากบางศาสนาที่เห็นว่าชีวิตเป็นของพระเจ้า ดังนั้นจึงต้องปล่อยให้การตายเป็นเรื่องของพระเจ้า มนุษย์จะตัดสินเองว่าจะตายอย่างไรไม่ได้ พุทธศาสนาไม่ได้มองแบบนั้น แต่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าพุทธศาสนาเห็นดีเห็นงามกับการที่เราจะตายแบบไหนก็ได้ สิ่งสำคัญที่พุทธศาสนาเน้นในเรื่องนี้ก็คือ อาสันนกรรมหรือกรรมใกล้ตาย โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดก่อนสิ้นลมที่เรียกว่าจิตสุดท้าย การตายบางอย่างทำให้เกิดจิตสุดท้ายที่เป็นอกุศล เช่น การฆ่าตัวตาย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราพึงหลีกเลี่ยง และควรเลือกวิธีที่จะช่วยให้เกิดจิตสุดท้ายที่เป็นกุศล


ถ้าถามว่า ระหว่างการรักษาความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม
กับการปล่อยให้ตัวตายอย่างสงบ อย่างไหนจะดีกว่ากัน
ถ้าตอบแบบพุทธ ก็ต้องบอกว่า เรามีหน้าที่ต่อชีวิต ที่จะต้องดูแลรักษาอย่างเต็มที่
เพื่อจะได้มีโอกาสทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้มากที่สุด
 
 
 
เสขิยธรรม : อะไรคือตัวชี้วัดสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่าง ระหว่างสิทธิที่จะตาย กับการฆ่าตัวตาย


พระไพศาล : การฆ่าตัวตายก็เป็นการใช้สิทธิที่จะตายเช่นเดียวกับการุณยฆาต แต่สองอย่างนี้มีความแตกต่างที่สำคัญคือสภาพจิตหรือเจตนา การฆ่าตัวตายมักเกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศลและรุนแรงมาก เช่น ความรู้สึกเกลียด เคียดแค้น พยาบาท หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ อกุศลจิตเหล่านี้หากสืบเนื่องไปกระทั่งสิ้นลม ย่อมนำไปสู่อบายภูมิได้ แต่ว่าสำหรับคนที่เลือกตายด้วยการุณยฆาต เขาไม่ได้มีความรังเกียจเคียดแค้นใคร ไม่ได้น้อยเนื้อต่ำใจอะไร ไม่คิดจะใช้ความตายของตนเพื่อแก้แค้นหรือทำร้ายจิตใจใคร เป็นแต่ว่าเขาเจ็บปวดมากจนยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ในยามนั้นตายดีกว่าอยู่ ตายง่ายกว่าอยู่ ก็เลยเลือกที่จะจบชีวิตของตน โดยให้แพทย์ช่วยเหลือในแง่เทคนิค ปัญหาในเวลานี้ก็คือ การุณยฆาตนั้นต้องมีอีกบุคคลหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งอาจกลายเป็นการผิดกฎหมายได้ในประเทศที่ไม่ยอมรับสิทธิที่จะตาย แต่ถ้าประเทศไหนยอมรับสิทธิอันนี้ก็จะมักยอมรับการุณยฆาตไปโดยปริยาย หมายความว่าแพทย์สามารถช่วยทำการุณยฆาตได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องผ่านขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเจตนาของผู้ป่วยจริง ๆ ไม่ใช่ของแพทย์หรือญาติพี่น้อง และต้องเป็นกรณีที่รักษาไม่หายและก่อความทุกข์ทรมานมาก

แต่ที่จริงการใช้สิทธิที่จะตายไม่จำเป็นต้องหมายความถึงการเลือกตายด้วยการุณยฆาตเสมอไป คนที่รู้ตัวว่ารักษาไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นโรคที่หายยาก และอายุก็มากแล้ว ถึงรอดตายไปวันนี้อีกไม่นานก็ต้องเจออีก มิหนำซ้ำไม่แน่ใจว่ารักษาไปแล้วตัวเองจะพิกลพิการหรือกลายเป็นผักไปหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะไม่รักษา และตัดสินใจไม่กินข้าว กินยา เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ดับไปเอง เหมือนผลไม้สุกงอมที่ร่วงหล่นจากต้นเอง แบบนี้เราไม่เรียกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนก็เลือกตายแบบนี้กันเยอะ ท่านอาจารย์พุทธทาสก็ตั้งใจจะใช้วิธีนี้ แต่ไม่ค่อยมีคนเข้าใจท่าน จึงพยายามยืดลมหายใจของท่านทุกวิถีทาง แต่ไม่สำเร็จ การเลือกที่จะตายอย่างนี้ถือว่าเป็นการเตรียมตัวตายอย่างหนึ่ง โดยมุ่งเตรียมใจให้ดีที่สุด ขณะที่ร่างกายค่อย ๆ แตกดับไปตามธรรมชาติ คนที่เลือกตายแบบนี้อาจจะใช้กระบวนการตายเป็นเครื่องฝึกจิตให้ปล่อยวาง ด้วยการพิจารณาความแตกดับของธาตุต่าง ๆ เรียงลำดับไป เริ่มจากธาตุดิน ธาตน้ำ ธาตุไฟ สุดท้ายก็ธาตุลม การพิจารณาดังกล่าวอาจทำได้ยากหากไปใช้วิธีรักษาสมัยใหม่ ซึ่งทำอะไรต่ออะไรกับร่างกายของผู้ป่วยด้วยวิธีที่ก้าวร้าวรุนแรง จนร่างกายไม่สามารถแตกดับไปตามธรรมชาติอย่างที่ว่ามาได้

 
เสขิยธรรม : ความตายที่สมบูรณ์พร้อมต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง

พระไพศาล : การตายที่สมบูรณ์ ก็คือการตายที่มิใช่แค่ตายทางร่างกาย แต่รวมถึงการตายจากความยึดติดในตัวตน ถ้าตายทั้งร่างกายและความยึดถือในตัวตนได้ถึงจะเรียกว่าการตายที่สมบูรณ์ คนส่วนใหญ่ ตายแต่เพียงร่างกาย แต่ว่าการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนยังมีอยู่ ทำให้ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไป อาจารย์พุทธทาสท่านพยายามสอนว่าให้ตายก่อนตาย คือตายจากความยึดถือตัวตนก่อนที่จะสิ้นลม ถ้าตายก่อนตายได้เมื่อไหร่ ก็เป็นการตายที่สมบูรณ์ เรียกว่าดับไม่เหลือ แต่ปุถุชนคนทั่วไปคงยากที่จะตายแบบนั้นได้ แต่อย่างน้อยก็สามารถเลือกที่จะตายด้วยจิตอันเป็นกุศลได้

ไม่ถูกความกลัว ความตื่นตระหนกท่วมทับ อันนี้ก็ต้องอาศัยการฝึกจิตมาก รวมถึงการใช้ชีวิตให้มีคุณค่า สร้างคุณงามความดีให้เป็นทุนก่อนตาย การฝึกจิตจะช่วยให้เรามีสติตั้งมั่นไม่หวั่นหวาดต่อความตาย ขณะเดียวกันการหมั่นสร้างคุณงามความดี ก็ทำให้เรามีความมั่นใจในวาระสุดท้ายของชีวิต ช่วยให้จิตเกิดความสงบ ไม่กระสับกระส่ายเพราะความรู้สึกผิดมารบกวน

ถ้าเราไม่ทำอย่างที่ว่าไว้เลยก็ไม่แน่ใจว่าตอนใกล้ตายเราจะเจออะไร ในทางพุทธศาสนา เราเชื่อว่า ตอนใกล้ตายจะเกิดกรรมนิมิต กรรมนิมิตก็คือภาพที่เป็นผลมาจากการกระทำของเราในอดีต ในขณะที่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวมีกำลังวังชา เป็นต้น ถ้าเราทำกรรมดี กรรมนิมิตก็จะเป็นไปในทางที่ดี ชวนให้ใจสงบ แต่ถ้าทำกรรมไม่ดีไว้ กรรมนิมิตก็จะน่ากลัว เกิดภาพที่ทำให้เราตระหนกตกใจ หวาดผวา เหมือนมีอะไรมาหลอกหลอนเรา เช่นไปฆ่าใครมา ภาพของคนนั้นก็อาจจะมาปรากฏในกรรมนิมิต ซึ่งทำให้ยากที่จะรักษาใจให้เป็นปกติได้ยาก สุดท้ายก็ไปสู่อบายภูมิ นอกจากกรรมนิมิตแล้ว ก็ยังมีคตินิมิต คือภาพของภพภูมิที่จะต้องไปประสบหลังตายไปแล้ว ถ้าหากว่าเราทำกรรมดีแล้ว คตินิมิตก็จะเป็นไปในทางที่ดี แต่ถ้าทำกรรมชั่วมาตลอดชีวิต คตินิมิตก็จะน่ากลัว อย่างไรก็ตาม ถ้าเราฝึกจิตฝึกใจไว้ดี มีสติเข้มแข็ง แม้ในอดีตเราจะเคยทำสิ่งไม่ดีเอาไว้ แล้วเกิดภาพนิมิตไม่ดีขึ้นมาในขณะใกล้ตาย สติที่เราฝึกไว้ดีแล้วก็อาจช่วยประคับประคองใจเราให้เป็นปกติได้ บางทีก็ทำความดีมาตลอด แต่เกิดผิดใจกับใครบางคน แล้วรู้สึกเสียใจ ความรู้สึกนั้นเกิดผุดขึ้นมาตอนใกล้ตาย ถ้ามีสติ ก็จะรู้ทัน และปล่อยวางได้ จิตสุดท้ายก็เป็นกุศล แต่ถ้าสติไม่เข้มแข็ง ความรู้สึกผิดดังกล่าวก็อาจค้างคาใจไปจนตาย กลายเป็นตัวถ่วงไปสู่ทุคติได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ มีบางคนเป็นห่วงลูกหลาน ห่วงทรัพย์สมบัติก่อนตาย หรือเกิดแค้นเคืองใครบางคน ทั้ง ๆ ที่ทำความดีมาตลอด แต่ตอนใกล้ตายกลับเกิดความรู้สึกดังกล่าวขึ้นมา ไม่มีสติเท่าทัน ปล่อยวางไม่ได้ สุดท้ายก็ไปอบายภูมิ

แต่ไม่ว่าอบายภูมิ หรือบายภูมิ นรกหรือสวรรค์ ไม่เอาทั้งสองอย่างเป็นดีที่สุด ตอนใกล้ตาย อย่าไปนึกอยากไปเกิดในสวรรค์ชั้นไหนเลย ละวางความอยากจะไปเกิดเป็นอะไรให้หมด เพราะเกิดที่ไหน เป็นอะไรก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ให้ดับไม่เหลือเป็นดีที่สุด ในภาวะใกล้ตายจึงควรพยายามละวางความยึดถือในตัวตนให้ได้ ให้ตัวตนหรือความยึดถือในตัวตนดับไปก่อนที่จะสิ้นลม อย่างนี้แหละที่เรียกว่าตายก่อนตาย ซึ่งถือเป็นความตายที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม อย่าไปรอให้ใกล้ตายก่อนถึงค่อยนึกถึงการดับไม่เหลือ หรือการละวางจากความยึดถือในตัวตน จะให้ได้ผลก็ต้องหมั่นพิจารณาอยู่เนือง ๆ ฝึกจิตให้น้อมไปในทางนี้สม่ำเสมอ ความตายนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ถ้าเราเตรียมตัวตลอดเวลา ถึงเวลาที่ความตายมาถึง แม้จะกะทันหัน เราก็สามารถเตรียมใจรับได้ จนอาจเข้าถึงภาวะดับไม่เหลือได้ในที่สุด
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 15:20:28 »

ความทุกข์ ความเจ็บปวดนั้น มิได้มีแต่โทษ
หากยังมีคุณด้วย หากรู้จักมองหรือใช้ให้เป็น
หากมองให้เป็น ความทุกข์ความเจ็บปวดนี้แหละ ที่จะทำให้เราหลุดพ้น
หรือมีชัยเหนือความเจ็บป่วย และความตายได้
ที่เขาว่า เอาชนะความเจ็บ ความแก่ ความตาย ไม่ได้หมายความว่า ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
แต่หมายถึง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทำอะไรเราไม่ได้
เพราะจิตใจของเราหลุดพ้น ไปจากการครอบงำของความทุกข์ทั้งหลาย
 
 

เสขิยธรรม : พุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน หรือฝ่ายธิเบตจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมตัวตายค่อนข้างมาก ฝ่ายเถรวาทมีเรื่องเหล่านี้บ้างหรือไม่ เช่น พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเตรียมตัวตาย ที่พุทธศาสนิกชนฝ่ายเถรวาท ควรจะสนใจศึกษา

พระไพศาล : จริง ๆ แล้ว เรื่องการเตรียมตัวตายนี้ เถรวาท กับวัชรยาน อาจจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ เพราะการเจริญมรณสติก็ดี หรือการฝึกจิตฝึกใจ ตลอดจนการพยายามดำเนินชีวิตให้มีคุณค่า สร้างคุณงามความดีตลอดเวลา รวมทั้งฝึกใจให้มีสติเวลาใกล้ตาย ทั้งหมดนี้เป็นการเตรียมตัวตายที่ทั้งฝ่ายเถรวาทและวัชรยานให้ความสำคัญทั้งคู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายวัชรยานเขาอาจจะพิเศษ ก็คือว่าเขามีวิธีการสำหรับญาติพี่น้องหรือมิตรสหายที่จะช่วยเหลือทางจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วยใกล้ตายได้ คือไม่ใช่ช่วยแค่รักษาพยาบาล ไม่ใช่ช่วยแค่วัตถุ และไม่ใช่ช่วยด้วยการบอกทางผู้ใกล้ตาย เช่น บอกอะระหังก่อนจะหมดลมเท่านั้น วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ใกล้ตายได้เข้าถึงสภาวะจิตที่สงบ นอกเหนือวิธีดังกล่าว ก็เช่น วิธีที่เรียกว่า โพวะ และทองเลน เป็นต้น เท่าที่ทราบมีหลายคนในเมืองไทยทดลองใช้วิธีนี้กับคนใกล้ตายแล้ว เขาบอกว่าได้ผล เป็นประโยชน์ต่อคนใกล้ตาย อีกวิธีหนึ่งที่วัชรยานต่างจากเถรวาทอยู่บ้าง คือการช่วยเหลือหลังความตาย คือทั้ง ๆ ที่ตายไปแล้วคนที่ยังอยู่ก็ยังช่วยเขาได้อยู่ ไม่ใช่ช่วยด้วยการทำบุญอุทิศกุศลไปให้เท่านั้น หากยังสามารถช่วยให้จิตหลุดพ้นด้วย จึงเกิดประเพณีที่เรียกว่า การสวดคัมภีร์มรณศาสตร์ การสวดคัมภีร์มรณศาสตร์ของธิเบตนี้ ก็เป็นการสวดมนต์เพื่อมุ่งประโยชน์แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งกำลังอยู่ในบาร์โดหรืออันตรภพ ก่อนที่จะไปเข้าสู่ภพใหม่หรือไปเกิดใหม่ การสวดนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเตือนสติผู้ตายไปแล้ว ให้สามารถจำธรรมชาติเดิมแท้ของตัวเองได้ เพื่อที่จะหลุดพ้นขณะที่ยังอยู่ในอันตรภพหรือบาร์โดต่าง ๆ หลังตาย การหลุดพ้นแบบนี้ทางธิเบตเรียกว่า อภิวิมุตจากการสดับ ซึ่งเป็นไปได้ด้วยการสวดคัมภีร์มรณศาสตร์ให้แก่คนตาย อันนี้ก็เป็นของแปลกที่ไม่มีในเถรวาท แต่โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงการเตรียมตัวก่อนตายนี้ เถรวาท กับวัชรยานดูจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ อาจจะต่างกันในรายละเอียด แต่สิ่งที่แตกต่างกัน มีสองประการอย่างที่พูดข้างต้น.
 

http://www.skyd.org/html/sekhi/54/094_death.html


http://www.kruamas.com/html/death.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ตายอย่างรู้ตัว ตาย ฆ่าตัวตาย พระ ไพศาล วิสาโล หลวงพ่อ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เปลี่ยนแปลงสังคมและตนเอง, พระไพศาล วิสาโล
กระบวนการ NEW AGE
เงาฝัน 3 3411 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2553 15:57:42
โดย เงาฝัน
ตายอย่างรู้ตัว หรือ ฆ่าตัวตาย : พระไพศาล วิสาโล
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 2 2625 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2553 20:12:03
โดย มดเอ๊ก
นำผู้ป่วยโคม่าสู่ความสงบ พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2955 กระทู้ล่าสุด 10 ตุลาคม 2553 19:40:45
โดย หมีงงในพงหญ้า
ธรรมะไม่ใช่ของยาก พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 2 3596 กระทู้ล่าสุด 08 พฤศจิกายน 2553 11:24:54
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความสุขที่ใครๆ ต่างไข่คว้า : พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 2 2906 กระทู้ล่าสุด 21 ธันวาคม 2553 00:25:45
โดย wondermay
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.534 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กันยายน 2567 03:01:30