[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 13:00:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว โดย วสิษฐ เดชกุญชร  (อ่าน 4209 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2553 13:53:31 »

[ โดย อ.แป๋ม จากบอร์ดเก่า ]


พระเจ้าอยู่หัวทรงสอนฝึกสมาธิ


พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว
โดย พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร

ด้วยพระเมตตา แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อพสกนิกร ชาวไทยพระองค์ประดุจพระผู้สร้างแผ่นดิน ทรงเป็นดั่งผู้ มอบชีวิต มอบความรุ่งเรือง มอบความเจริญงอกงามภายใน หัวใจคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นแรง บันดาลใจจุดประกายพลังแผ่นดิน

หากเราได้มีโอกาสศึกษาพระบรมราโชวาท แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เราจะเข้าใจได้อย่างแจ่มชัดด้วยคำสอน ที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ แต่ละข้อ แต่ละอย่างนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พระองค์ ทรงไตร่ตรองพิเคราะห์ถึงปัญหานั้น อย่างถ่อง แท้ แล้วว่าจะเป็นหนทางแห่งการแก้ปัญหา การดับทุกข์ได้ด้วยสมาธิ

ธรรมดาสภาวะจิตอันเป็นสมาธินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากการบังคับควบคุม เกิดขึ้นจาก ความผ่อนคลาย หรือเกิดขึ้นจากภาวะคับขันต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้าจะทำให้ต้อง เร่งรวบรวมสติให้มั่น ไม่ว่าสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างไร สมาธิเป็นของดี เป็นของที่เกิดขึ้นได้จากการ ฝึกฝน เป็นของที่มีอยู่ในกาย และในจิตอันพร้อมเป็นของเข้าใจได้ เป็นของเข้าใจง่าย และใช้ได้ กับคนทุกเพศทุกวัยและความเข้าใจอันแจ่มชัดที่แสดงให้เห็นว่า สมาธิ เองก็มิใช่ของที่เกิดขึ้น โดยลำพังหรือใช้โดยลำพัง แต่สมาธิที่ดีจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มากหากผู้ใช้สมาธิรู้จักการ ปฏิบัติอันถูกต้อง ถูกต้องทั้งแก่ตนแลถูกต้องทั้งแก่ผู้อื่น ดังที่ได้ศึกษาจากรอยพระจริยวัตร แห่ง องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันได้แสดงไว้ถึงเรื่องราวของ "พระสมาธิ"

ผู้ที่เคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานหรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องประทับอยู่ เป็นเวลานานๆ เช่น ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คงจะได้เห็นด้วยความพิศวงกันทุกคนว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้น เมื่อทรงนั่งลงแล้ว จะประทับอยู่ในพระอิริยาบถนั้นตั้งแต่เริ่มพิธีไปจนกระทั่ง จบไม่ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถเลย

นอกจากนั้น ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างกระฉับกระเฉง ต่อเนื่อง ไม่มีพระอาการที่ แสดงว่าทรงเหนื่อย หรือทรงเบื่อเลย ผมเคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พิธีนั้นยาวถึงประมาณ ๔ ชั่วโมง และมี บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเฝ้าฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวนหลายพันคน ได้เห็นเหตุ การณ์เช่นว่านั้น แต่ผมได้เห็นมากกว่านั้นคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับไปถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานในตอนค่ำวันนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงออกพระกำลังบริหารพระวรกายด้วยการวิ่งใน ศาลาดุสิตาลัยอีก

ในการประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติด้วยพระอาการที่ แสดงว่า เอาพระทัยจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรงเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เช่น ในการทรงดนตรี ( ที่ใครๆ มักจะนึกว่าเป็นการหย่อน พระราชหฤทัย) เป็นต้น ผมเคยเห็น พระเจ้าอยู่หัวประทับทรงดนตรี ตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง โดยทรงนั่งไม่ลุกเลยแม้แต่จะเพื่อเสด็จฯ ไปห้องสรงในขณะที่นักดนตรีอื่นๆ ลงกราบแล้วถอยหลังลุกไปเข้าห้องน้ำกันเป็นครั้งคราวทุกคน

ในการทรงเรือใบก็เช่นเดียวกัน ทรงจดจ่ออยู่กับการบังคับเรืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ครั้งหนึ่งเสด็จฯ ออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นเรือใบเข้าฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯ อยู่ ด้วยความฉงนว่าเสด็จฯ กลับเข้าฝั่งเพราะเรือใบพระที่นั่งแล่นไปโดนทุ่นเข้าซึ่งในกติกาการแข่ง เรือใบถือว่า ฟาวล์ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเห็น

แสดงว่าการทรงดนตรีก็ดี ทรงเรือใบก็ดี สำหรับพระเจ้าอยู่หัว เป็นงานอีกชนิดหนึ่ง ที่จะต้อง ทำด้วยความจดจ่อและต่อเนื่องไปจนกว่าจะเสร็จเหมือนกัน

พระราชกรณียกิจอื่นๆ ทั้งน้อยและใหญ่ ทรงปฏิบัติแบบเดียวกัน คือด้วยการเอาพระราชหฤทัย จดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทำๆ หยุดๆ เพราะฉะนั้น จึงจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น สำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่

ผมไปรู้เอาหลังจากที่เข้ารับราชการในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำอยู่ได้ไม่นานว่าที่ ทรงสามารถจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจทุกชนิดได้เช่นนั้นก็เพราะพระสมาธิ

ผมไม่ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มฝึกสมาธิตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หลังจากทรง ผนวชแล้ว ประทับจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอยู่ในสมณเพศเป็น เวลา ๑๕ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ทรงเลือกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เมื่อครั้งยัง เป็นพระโสภณคณาภรณ์) ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทราบกันดี ว่า แม้จะทรงมีเวลาน้อยแต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และคงจะได้ทรงฝึกเจริญพระกรรมฐานในโอกาสนั้นด้วย

เมื่อผมเข้าไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ปรากฏว่าการศึกษา และปฏิบัติสมาธิหรือกรรม ฐาน ในราชสำนักกำลังดำเนินอยู่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติ เป็นประจำ และข้าราชสำนักข้าราชบริพารหลายคน ทั้งฝ่าย พลเรือน และทหารก็กำลังเจริญรอยพระยุคลบาทอยู่ด้วยการ ฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้น

ผมไม่ได้ตั้งใจจะหัดสมาธิ แม้จะเคยศึกษามาก่อน โดย เฉพาะจากหนังสือของ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แต่ ระหว่างการตามเสด็จฯ โดยรถไฟ จากกรุงเทพมหานคร ไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ การเดินทางไกลกว่าที่ผมคาดคิด หนังสือเล่มเดียวที่เตรียมไปอ่านฆ่าเวลาบนรถไฟ ก็อ่านจบเล่ม เสียตั้งแต่กลางทาง ขณะนั้นผมเห็นนายทหารราชองครักษ์ ประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายความ ปลอดภัยร่วมกันสองนาย ใช้เวลาว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ ผมจึงลองทำดูบ้างโดยใช้อานาปานสติ (คือกำหนดรู้แต่เพียงว่ากำลังหายใจเข้า และหายใจออก) อันเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และ ท่านอาจารย์พุทธทาสแนะนำ ปรากฏว่าจิตสงบเร็วกว่าที่ผมคาด แลเห็นนิมิตเป็นภาพสีสวยๆ งามๆ มากมายและเป็นเวลาค่อนข้างนานด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดสมาธิและกลายเป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำมาจนทุกวันนี้

เมื่อความทราบถึงพระกรรณว่าผมเริ่มปฏิบัติสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกรุณาพระราชทาน หนังสือ และแถบบันทึกเสียงคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ลงมา และบางครั้งก็ทรงพระกรุณา พระราชทานพระราชดำรัส แนะนำด้วยพระองค์เอง ผมจึงได้รู้ว่า พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว นั้นก้าวหน้าไปแล้วเป็นอันมาก รับสั่งเล่าเองว่าแม้จะทรงใช้ อานาปานสติ เป็นอุบายในการทำ สมาธิ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงสามารถที่จะกำหนดพระอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ได้แต่ลำพัง ต้องทรงนับกำกับ วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้ หายใจเข้าครั้งที่หนึ่งนับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สอง นับสอง หายใจเข้าครั้งที่สาม นับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้า นับห้า หายใจออกครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจออกครั้งที่สอง นับสอง หายใจออกครั้งที่สาม นับสาม หายใจออกครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจออกครั้งที่ห้า นับห้า

เมื่อถึงห้าแล้ว หากจิตยังไม่สงบ ก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหา ห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้น จนกว่าจิตจะสงบ

รับสั่งว่า ที่เห็นพระองค์ประทับอยู่นิ่งๆ นั้น พระจิตทรงอยู่กับหนึ่งเข้าหนึ่งออกตลอดเวลา

พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องสมาธิด้วยการรวบรวม และประมวลคำสอนของครูบาอาจารย์ทุก คน แล้วก็ทรงพระกรุณา พระราชทานประมวลคำสอนนั้นแก่ผู้ที่ทรงทราบว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่

ครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาพระราชทานแถบบันทึกเสียงของ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ให้ผม รับสั่งว่าเป็นบันทึกเสียงการ แสดงธรรมเรื่อง ฉฉักกสูตร (คือพระสูตรว่าด้วยธรรมะ หมวด ๖ รวม ๖ ข้อ ซึ่งอธิบายความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวมีตนของสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนา และตัณหา พระสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน) และ ทรงแนะนำให้ผมฟังธรรมบทนั้น

ผมรับพระราชทานแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นมาแล้วก็เอาไป ใส่เครื่องบันทึกเสียงและเปิดฟัง ฟังไปได้ไม่ทันหมดม้วนก็ ปิดแล้วก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ฟังอีก หลังจากนั้นไม่นานนัก ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ฟังเทปของสมเด็จฯ แล้วหรือยัง เป็นอย่างไร

ผมไม่อาจจะกราบบังคมทูลความอันเป็นเท็จได้ ต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่าฟังได้ไม่ทันจบ ม้วนก็ได้หยุดฟังเสียงแล้ว ตรัสถามต่อไปถึงเหตุผลที่ผมไม่ฟังให้จบ และผมก็จำเป็นต้องกราบ บังคมทูลตรงๆ ว่า สมเด็จฯ ท่านเทศน์ฟังไม่สนุก พูดขาดเป็นวรรคๆ เป็นห้วงๆ เนื่องจากสมเด็จฯ พิถีพิถันในการใช้ถ้อยคำและประโยคเทศน์ของท่านนั้น ถ้าเอามาพิมพ์ก็จะอ่านได้สบายกว่าฟัง

พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ที่ฟังสมเด็จฯ เทศน์ไม่รู้เรื่องนั้นก็เพราะคิดไปก่อนใช้หรือไม่ว่า สมเด็จฯ ท่านจะพูดว่าอย่างนั้น อย่างนี้ ครั้นท่านพูดช้ากว่าที่คิด หรือพูดออกมาแล้วไม่ตรงกับที่ คาดหมายจึงเบื่อ เมื่อผมนิ่งไม่กราบบังคมทูลตอบ ก็ทรงแนะนำว่า ให้กลับไปฟังใหม่ คราวนี้อย่า คิดไปก่อนว่าสมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร สมเด็จฯ หยุดก็ให้หยุดด้วย ผมกลับมาทำตามพระราช กระแสรับสั่ง เปิดเครื่องบันทึกเสียงฟังเทศน์ของสมเด็จฯ จากแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นใหม่ตั้ง แต่ต้น ฟังด้วยสมาธิ

สมเด็จฯ หยุดตรงไหน ผมก็หยุดตรงนั้น และ ไม่คิดๆ ไปก่อนว่า สมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร คราวนี้ ผมฟังได้จนจบและเห็นว่าจริงดังพระราชดำรัส แถบบันทึกเสียงม้วนนั้น เป็นม้วนที่ดีที่ สุดม้วนหนึ่ง

ครั้งหนึ่ง หลังจากที่นั่งสมาธิแล้ว ผมได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูล ประสบการณ์ที่ได้ขณะทำสมาธิ ผมกราบบังคมทูลว่า ขณะที่นั่งสมาธิครั้งนั้น รู้สึกว่าตัวเองลอย ขึ้นจากพื้นสูงประมาณศอกหนึ่ง ทีแรกก็ยังไม่รู้สึกอะไรแต่ครั้นหัวเริ่มคล้อยลงไปข้างหน้า ทำท่า เหมือนจะตีลังกา ผมก็ตกใจและต้องเลิกทำสมาธิ

พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ถ้าหากสติยังอยู่ ยังรู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ควรจะ เลิก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนั้น

อีกครั้งหนึ่ง หลังจากทำสมาธิแล้ว ผมกราบบังคมทูลว่า พอจิตสงบผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเลื่อน ต่ำลงไปในท่อขนาดใหญ่ครือตัวผม และที่ปลายท่อข้างล่างผมแลเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แสดงว่าท่อยาวมาก กลัวจะหลุดออกจากท่อไป ผมก็เลยเลิกทำสมาธิรับสั่งเช่นเดียวกันว่า หากยังรู้ตัว (มีสติ) อยู่ ก็ไม่ควรเลิก ถึงหากจะหลุดออกนอกท่อไปก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่สติยัง อยู่ และรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับตน

ต่อมาภายหลังจากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน และโดยเฉพาะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัส สอนให้ "ดำรงสติให้มั่น" ในเวลาทำสมาธิ

ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว เคยตรัสเล่า ให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังทรงทำสมาธิอยู่ พระจิต สงบและเกิดนิมิต ในนิมิตนั้น พระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระ เนตรเห็นพระกร (แขนท่อนล่าง) ลอกออกทีละชั้นๆ ตั้งแต่จากพระตจะ (หนัง) ลงไปจนถึงพระอัฐิ (กระดูก)

พระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างทั้งน้อยและ ใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนัก ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ทรง สะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จ หรือความล้มเหลวอัน เป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับ พระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น


ในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นพระประมุข และใน ฐานะที่ทุกคนมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงเมืองไทยนี้ให้เป็นที่ร่มเย็นของเรา และของลูกหลานของเรา จึงสมควรที่เราจะเจริญรอยประพฤติตามพระยุคลบาทด้วยการศึกษาและปฏิบัติสมาธิกัน อย่างจริงจัง และนำสมาธิมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา



 :) http://poapoa.multiply.com/journal/item/1/1



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2553 13:53:57 »


ทิพยอำนาจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 

โดย สิริอัญญา

บทความข้างประชาราษฎร์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 พ.ค. 2545



เนื่องในมหามงคลสมัยวันฉัตรมงคลที่จะเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่งในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม ศกนี้ นับเป็นมหามงคลสมัยที่ปวงชนชาวไทยจะได้ถวายความจงรักภักดีและได้ถวายพระพรต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้เป็นทั้งพระมหากษัตริย์อันประเสริฐ และประดุจดังพระเทพบิดรของปวงชนชาวไทย

ในวาระเช่นนี้คอลัมน์นี้จะแสดงเนื้อความอันเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบางมุมบางแง่ซึ่งอาจไม่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป แต่เป็นความจริงซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อพสกนิกรทั้งหลายจะได้รู้จะได้ทราบว่าพระประมุขของเรานั้นใช่ว่าจะเรืองพระบรมเดชานุภาพเฉพาะแต่ทางโลกก็หาไม่ แต่ในทางธรรมก็ทรงบรรลุภูมิธรรมอันสูงยิ่ง

สมแล้วที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เป็นหลักชัยที่ค้ำชูทำนุบำรุงพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าในพระราชอาณาจักรตลอดระยะเวลาอันช้านาน

เมื่อแรกเริ่มครองราชย์ก็ทรงประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการอันยังก้องกังวานทั่วผืนฟ้าแผ่นดินสิ้นถึงทุกวันนี้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

นับเป็นพระปฐมบรมราชโองการที่ครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์ หมดจดงดงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด พระราชกรณียกิจมากหลายกว่าครึ่งศตวรรษล้วนเป็นบทพิสูจน์อันปราศจากความสงสัยใดๆ ว่าทรงตั้งอยู่ในธรรม ทรงเคารพธรรม ทรงถือธรรมเป็นใหญ่ ทรงประพฤติปฏิบัติธรรม และธรรมทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

ทรงละ ทรงวาง ความสุขสบายส่วนพระองค์เป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษเพื่อประโยชน์และความสุขของพสกนิกร สมัยหนึ่งเมื่อครั้งที่พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังมีชีวิตอยู่ได้กล่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นทรงตรากตรำพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรของพระองค์อย่างหนักหนาสาหัส ถึงขนาดอาบพระเสโทต่างน้ำ

เพราะเหตุที่ทรงประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นแบบอย่างเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตลอดระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้ ได้เปิดหนทางอันกว้างใหญ่ให้ทรงค้นและพบพระเถรานุเถระที่ทรงภูมิธรรมขั้นสูง ได้ศึกษาและรับแนวทางปฏิบัติอันถูกต้องในการถึงซึ่งวิชชาในพระพุทธศาสนา กระแสพระราชดำรัสหลายครั้งหลายหนที่ทรงรับสั่งกับพระมหาเถระที่ทรงธรรม ทรงวินัย ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าภูมิธรรมในพระองค์นั้นได้บรรลุมรรคผลที่สูงมาก ทรงแจ่มแจ้งทั้งในทางปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อย่างยากที่พุทธศาสนิกชนคนใดจะก้าวไปถึง

มีผู้กล่าวว่าภูมิธรรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นมิได้ย่อหย่อนไปกว่าพระเจ้าพิมพิสารในครั้งพุทธกาล และมิได้น้อยไปกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชในยุคหลังพุทธกาล 300 ปี นั้นเลย

แต่คอลัมน์นี้กล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั้นก็ไม่เคยแสดงทิพยอำนาจในพระองค์ให้ปรากฏเหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยเรานี้เลยแม้แต่สักครั้งเดียว

เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเพื่อความรับรู้ในหมู่พสกนิกรซึ่งมีความจงรักภักดี เห็นสมควรนำกรณีอันมีผู้รู้เห็นยืนยันและแสดงถึงภูมิธรรมอันสูงยิ่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแสดงดังนี้

เรื่องที่หนึ่ง พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ อดีตนายทหารประสานงานของราชสำนักซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้วเคยเล่าว่า สมัยหนึ่งเมื่อครั้งยังปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ ได้รับพระราชกระแสให้ไปนิมนต์พระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีองค์สำคัญของภาคอีสานเพื่อมาร่วมงานราชพิธีส่วนพระองค์ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ ได้ติดต่อไปทางจังหวัดประสานงานไปทางอำเภอ ตำบล และต้องให้คนขี่มอเตอร์ไซค์ไปที่วัด แต่ปรากฏว่าพระมหาเถระรูปนั้นได้ออกธุดงค์ไปแล้ว ไม่สามารถติดต่อได้ จึงนำความมากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ

ทรงรับสั่งว่าให้ไปเรียนพระศาสนโสภณให้ช่วยนิมนต์ให้ พระศาสนโสภณที่ว่านี้ก็คือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบัน ดังนั้นพลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ จึงนำความไปเรียนให้พระศาสนโสภณทราบ ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณบ่ายโมงเศษ พระศาสนโสภณได้แจ้งว่าให้มาฟังผลในเวลา 16 นาฬิกา แล้วเดินขึ้นไปบนกุฏิชั้นบน พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ ได้รอคอยจนถึงเวลา 16 นาฬิกา ก็ได้รับคำบอกกล่าวจากพระศาสนโสภณว่าได้นิมนต์ตามพระราชประสงค์แล้ว ให้เอารถไปรับที่จุดนัดพบในเวลาที่นัดหมาย

พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ เดิมสำคัญว่าพระศาสนโสภณมีข่ายงานติดต่อพิเศษของคณะสงฆ์ แต่ก็รู้สึกแปลกใจ จึงสอบถามพระเลขานุการว่าการติดต่อได้ใช้วิธีใด ก็ได้รับคำบอกว่าเป็นการติดต่อทางโทรจิต

ผู้ที่รู้ว่าผู้อื่นมีภูมิธรรมในระดับที่สามารถใช้ทิพยอำนาจได้เช่นนี้ ก็ย่อมมีภูมิธรรมที่ห่างกันไม่มากนัก เพราะคนธรรมดาไหนเลยจะล่วงรู้ได้




เรื่องที่สอง ช่วง 3-4 ปีก่อนที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสจะมรณภาพ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศได้ลงข่าวว่าท่านเจ้าคุณป่วยหนัก รัฐบาลไทยไม่เหลียวแลเอาใจใส่ หนังสือพิมพ์ไทยได้นำความมาลงตีพิมพ์ เป็นเหตุให้คนไทยได้รับรู้ และความทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท

ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณพุทธทาสป่วยหนักด้วยโรคน้ำท่วมปอด เส้นเลือดหัวใจตีบ มีอาการหัวใจวาย และความดันโลหิตสูงร่วม 300 หากเป็นคนทั่วไปก็เห็นได้ว่าเข้าขั้นโคม่า มีความตายเป็นเบื้องหน้าเป็นแน่แท้

ในครั้งนั้นหนังสือพิมพ์ไทยหลายฉบับลงข่าวตรงกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงคณะหนึ่งเดินทางไปรักษาท่านเจ้าคุณพุทธทาสที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้นำความไปถวายท่านเจ้าคุณด้วยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออาราธนาว่าท่านเจ้าคุณอย่าเพิ่งดับขันธ์ ขอให้อยู่ช่วยจรรโลงพระศาสนาต่อไป”

แล้วหนังสือพิมพ์ก็เสนอข่าวต่อไปว่า เมื่อคณะแพทย์ไปถึงและท่านเจ้าคุณได้รับทราบว่ามีกระแสรับสั่งมาถวาย ก็ได้พยายามลุกนั่งสมาธิบนเตียงพยาบาล เมื่อได้ทราบคำอาราธนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ท่านเจ้าคุณนิ่งอึ้งอยู่พักใหญ่ แล้วกล่าวว่า “อาตมารับอาราธนา แต่จะอยู่ไปเท่าที่สังขารจะทนไหวเท่านั้น”

ในชั่วคืนวันนั้นเหตุการณ์มหัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น เพราะอาการหัวใจวายและเส้นเลือดหัวใจตีบได้ทุเลาลง น้ำท่วมปอดได้ลดลง ความดันได้ลดลงเกือบปกติ พระซึ่งใกล้ชิดท่านเจ้าคุณได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากรับอาราธนาแล้วท่านเจ้าคุณได้ปฏิบัติสมาธิและอยู่ในอาณาปานสติวิหารตลอดทั้งคืน

ความนี้เป็นเรื่องมหัศจรรย์เพราะมีข่าวต่อมาว่าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับหนึ่งได้ลงข่าวในเชิงตั้งข้อสงสัยนี้ว่า พระสงฆ์ไทยนี้แปลก ที่สามารถผัดผ่อนความตายได้

แต่คนไทยจำนวนหนึ่งมิได้สงสัย เพราะมีความในมหาปรินิพพานสูตรแสดงไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ใดได้เจริญอิทธิบาทสี่ให้มากแล้ว ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ทำให้เหมือนกับเป็นพื้นแผ่นแล้ว มีใจตั้งมั่นบริสุทธิ์ หากปรารถนาจะมีอายุชั่วกัลป์หนึ่งหรือกว่านั้นก็ได้

ท่านเจ้าคุณพุทธทาส คนทั่วไปรู้แต่เพียงว่าท่านทรงปริยัติเสมอด้วยพระพุฒโฆษาจารย์ของลังกาในอดีต แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้ดีว่าท่านบรรลุภูมิธรรมถึงวิชชาแปดประการในพระพุทธศาสนา มีทิพยอำนาจอยู่ในตัว และเจริญอิทธิบาทอยู่เนืองๆ อาการป่วยขั้นวิกฤตที่ทุเลาเบาบางลงก็ด้วยทิพยอำนาจนั้น ดังที่ปรากฏความในมหาปรินิพพานสูตรนั่นเอง

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า ท่านเจ้าคุณมีภูมิธรรมเช่นนี้ อยู่ในวิหารธรรมเช่นนี้ มิใช่สิ่งที่คนธรรมดาจะรู้ได้ หากต้องมีภูมิธรรมและอยู่ในวิหารธรรมที่ใกล้เคียงกัน ท่านเจ้าคุณพุทธทาสบรรลุภูมิธรรมขั้นไหน ก็เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีภูมิธรรมที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ดังนั้นจะกราบพระบรมฉายาลักษณ์ครั้งใด ความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือกำลังกราบพระอริยบุคคลนั่นเอง


 

เรื่องที่สาม เป็นเรื่องราวของพลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนลงไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐด้วยตัวท่านเองว่า สมัยหนึ่งจะเดินทางไปผ่าตัดหัวใจที่ต่างประเทศ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ท้ายที่สุดได้ทรงรับสั่งว่าไปผ่าตัดครั้งนี้จะไม่ตาย ให้รีบกลับ

พลตรีหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนไว้ว่ามีความเชื่อมั่นในขณะนั้นบังเกิดเป็นปิติอันเปี่ยมล้นว่าครั้งนี้เห็นจะไม่ตายแน่ มีอาการขนลุกซู่ซ่า

คำรับสั่งที่เสมอด้วยสามารถตกลงกับพญามัจจุราชได้ดังนี้ ใช่ว่าผู้ที่มีภูมิธรรมธรรมดาจะกระทำได้ นี่เป็นวิชชาหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่มีแต่ผู้มีภูมิธรรมอันสูงส่งเท่านั้นที่จะกระทำได


 

เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องของครูเอื้อ สุนทรสนาน หรือสุนทราภรณ์ ผู้มีสมญาว่านักร้องชั้นบรมครูผู้อมตะ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษคนหนึ่งในวงการศิลปินไทย โปรดให้เข้าร่วมวง อส. ซึ่งเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์ ครั้งที่ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงพระราชนิพนธ์ก็ทรงพระราชทานให้กับวงสุนทราภรณ์นำไปแสดง ครั้งที่เสด็จนิวัติกลับพระนครหลังจากเสร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็ได้ร่วมกันรังสรรค์บทเพลงเพื่อถวายการต้อนรับคือเพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้นอันเป็นอมตะ

ทรงมีพระเมตตาต่อครูเอื้อ สุนทรสนาน มาก ถึงกับพระราชนิพนธ์เพลงไตเติ้ลให้กับวงดนตรีสุนทราภรณ์ ชื่อว่าเพลงพระมหามงคล และพระราชทานธง ภปร. สำหรับวงด้วย

ในเดือนธันวาคมปีก่อนที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน จะถึงแก่กรรม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน ขึ้นไปร้องเพลงถวายที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ในบทเพลงพรานทะเล ซึ่งขณะนั้นครูเอื้อ สุนทรสนาน ป่วยหนักด้วยโรคมะเร็ง ได้เดินทางออกจากโรงพยาบาลไปร้องเพลงถวาย แต่ร้องได้เพียงครึ่งเพลงก็ต้องทรุดลง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพฯ เข้าไปประคองครูเอื้อ สุนทรสนาน เข้ามานั่งใกล้พระเก้าอี้ แล้วรับสั่งถามอาการ ครู่หนึ่งเหมือนกับจะทรงรู้ว่าครูเอื้อ สุนทรสนาน ป่วยคราวนี้คงตายแน่จึงมิได้ตรัสประการใดเหมือนกับที่เคยตรัสกับพลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

เป็นแต่ทรงถอดสร้อยซึ่งห้อยพระสมเด็จจิตรลดาออกจากพระศอคล้องคอครูเอื้อ สุนทรสนาน พร้อมกับตบศีรษะด้วยพระเมตตาแล้วทรงตรัสว่า ให้เร่งรักษานะ

ครูเอื้อ สุนทรสนาน กลับจากงานครั้งนั้นก็รู้ตัวว่าถึงเวลาใกล้จะตายแล้ว จึงได้ทำเพลงสุดท้ายสั่งลาแฟนเพลง ชื่อว่าเพลงพระเจ้าทั้งห้า ซึ่งสรรเสริญและรำลึกพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ พร้อมกับฝากบทเพลงสุนทราภรณ์ไว้อยู่คู่ฟ้าเมืองไทย

นี่ก็เป็นวิชชาอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาเพราะแสดงให้เห็นถึงอนาคตังสญาณที่มีอยู่ในพระองค์ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการที่เสด็จไปแห่งหนตำบลใด ถ้าหากฝนแล้งก็จะบังเกิดฝนตก หรือถ้าฝนตกหนักก็บังเกิดฝนหยุด อันเป็นพระบารมีที่มีแต่ภูมิธรรมอันสูง และถือเป็นทิพยอำนาจในพระองค์ที่คนไทยทั้งประเทศได้รู้ได้เห็นกันตลอดมาแล้ว

และด้วยภูมิธรรมระดับนี้ย่อมเชื่อและหวังได้ว่าองค์พระประมุขของเรานั้นทรงสามารถเจริญอิทธิบาทสี่ บรรลุถึงมรรคและผลแห่งวิหารธรรมข้อนี้ในระดับที่สูง ก่อเป็นทิพยอำนาจในพระองค์สมแก่ฐานะขององค์เอกอัครศาสนูปถัมภกซึ่งพสกนิกรทั้งประเทศสามารถกราบไหว้และได้อานิสงส์อย่างเดียวกันกับการกราบไหว้พระอริยบุคคลนั้นแล

ขออำนาจสัตยาธิษฐาน ความมีอยู่จริง ความมีผลจริง ในวิชชาและวิมุติในพระพุทธศาสนาและคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนอำนาจแห่งพระปริตรได้คุ้มครองกำจัดและป้องกันสรรพภัย สรรพทุกข์ สรรพโรค อย่าได้กล้ำกรายพระองค์ ขอทรงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณในกาลทุกเมื่อเทอญ




 :) http://www.dharma-gateway.com/ubasok/special-04.htm


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: พระสมาธิ สมาธิ พระเจ้าอยู่หัว วสิษฐ เดชกุญชร 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.695 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 05:31:05