[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:35:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม  (อ่าน 3313 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 17.0 Firefox 17.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 มกราคม 2556 13:58:21 »

ตรงทางตรงธรรม
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


http://122.155.190.19/analaya/images/stories/monks/lpkasemdhammtat/lp-kasem-with-candle.jpg
พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม


นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุขความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

ต่อไปนี้ก็พึงตั้งใจฟังธรรมะตามหลักคำสอนในทางพุทธศาสนาเพื่อให้เกิด ประโยชน์ในด้านความรู้ความเข้าใจ การประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็เป็นเรื่องที่จะต้องปฏิบัติด้วยความเข้า ใจ จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงทางตรงธรรม ที่ว่าตรงทางก็คือว่า เป็นไปเพื่อการลดละสละสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ คือกิเลสในจิตใจ จนกระทั่งถึงขั้นดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ฉะนั้น การปฏิบัติก็พึงเจริญให้ถูกต้อง ตรงต่อการละกิเลส ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อพอกพูนกิเลสการปฏิบัติอันใดถ้าเป็นไปเพื่อการเพิ่มราคะ โทสะ โมหะ นั้นก็ถือว่าไม่ถูกธรรม ไม่ตรงคำสอนพระพุทธเจ้า

การปฏิบัติที่ถูกตรงทางก็พิจารณาจากผลของการปฏิบัติว่า ที่ลงมือประพฤติปฏิบัติ ที่ทำอยู่ มันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์หรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์จากตัวของมันเอง ทำแล้วมันบรรเทามันคลี่คลายความทุกข์ คลี่คลายกิเลสลงไหม ธรรมะที่ถูกต้องจะต้องมีผลเกิดขึ้นในทางลดละ ในทางลดละในทางคลี่คลายความทุกข์ ถึงแม้ว่ายังดับทุกข์โดยสนิทไม่ได้ แต่ก็ได้รับผลคือความทุกข์น้อยลง มีว่าความทุกข์มีขึ้นจากกิเลส ความทุกข์นี่เกิดจากกิเลสแล้วก็สามารถจะคลี่คลายได้นั่นก็คือว่า เราได้ปฏิบัติในเส้นทางที่ถูกต้อง แต่ว่าเราก็ยังอยู่ในระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางถูกต้องในเบื้องต้น แต่ก็ยังไม่ได้พ้นที่จะผิดทางได้ บางคนไปๆ มันก็เฉไปเสียทางอื่น ไปแล้วก็หลงทางได้ หรือสิ่งที่เดินทางระหว่างทางมันมีอุปสรรค ต้องเข้าใจในการที่จะฝ่าปัญหาอุปสรรคนั้นได้

ในเบื้องต้นก็ให้มีความเข้าใจถูกต้อง วิปัสสนา คือการเห็นแจ้งเป็นความรู้แจ้งเห็นจริง เรียกว่า วิปัสสนาหรือวิชชา เห็นอะไร ก็คือ เห็นรูป เห็นนาม หรือเห็นปรมัตถ์ หรือเห็นธรรมชาติ หรือเห็นขันธ์ ๕ เห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงคือธรรมดา ความเป็นจริงของธรรมชาติก็คือ ธรรมดา ๆ คำว่าธรรมดาก็คือ ความเปลี่ยนแปลง ความเกิดดับ ความบังคับบัญชาไม่ได้ นี่คือธรรมดาของธรรมชาติ คือเป็นเช่นนั้นเอง ธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปลง ต้องเกิดดับ บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน วิปัสสนานี่ต้องเข้าไปเห็นธรรมชาติ

ธรรมชาติก็คือจิต คือเจตสิก คือรูป คือนิพพาน แต่ว่าสิ่งที่ประกอบอยู่เป็นชีวิตนี้ก็มีอยู่ ๓ อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพานยังไม่มียังไม่เกิดขึ้นสำหรับปุถุชน ต้องปฏิบัติวิปัสสนาไปให้ถึงขั้น โลกุตระจึงจะได้พบนิพพาน ถ้าบังไม่ได้ถึงขั้นก็จะมีแค่จิต เจตสิก รูป ชีวิตนี้ก็คือธรรมชาติที่เรียกว่าจิต ที่เรียกว่ารูป ที่เรียกว่าเจตสิก มีแค่นี้เอง มีอยู่ ๓ ปรมัตถ์ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ แต่บุคคลไม่เห็น ปุถุชนผู้มีความหลงไม่เห็นจิต ไม่เห็นเจตสิก ไม่เห็นรูป กลับไปเห็นเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเราเป็นเขา กลับเห็นว่าเป็นของเที่ยงเป็นของสวยงาม เพราะว่าไม่มีสติปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิต การปฏิบัติก็เพื่อไปเห็นธรรมชาติ เห็นจิต เห็นเจตสิก รูป คำว่าเห็นในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเห็นแบบตาเนื้อ ไม่ใช่มองเห็นแบบตาเนื้อ คือไม่ได้มองเห็นเป็นภาพเป็นรูปร่าง เห็นด้วยใจที่มีปัญญา เป็นการรู้เห็น เป็นการเข้าไปรับรู้ด้วยจิตใจก็เรียกว่าการเห็น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 17.0 Firefox 17.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 มกราคม 2556 13:59:22 »


http://122.155.190.19/analaya/images/stories/monks/lpkasemdhammtat/lp-kasem-with-candle.jpg
พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม


จิต เจตสิก รูป ที่เรียกว่ารูป นาม จิตกับเจตสิกนี่เป็นนามธรรม รูปก็เป็นรูปธรรม ฉะนั้นธรรมชาติจริงๆ ก็คือ รูปกับธรรม ชีวิตนี้ก็คือรูปกับนามเท่านั้นเองที่เป็นของจริง ความเป็นคนเป็นสัตว์เป็นเรื่องสมมุติ สิ่งที่เป็นความจริง คือรูปนาม ขยายออกมาเป็นขันธ์ ๕ รูปคงเป็นรูปขันธ์ นามได้ ๔ ขันธ์ ได้เวทนาขันธ์ ได้สัญญาขันธ์ ได้สังขารขันธ์ ได้วิญญานขันธ์ เรียกว่านามขันธ์ ๔ จิตนั้นเป็นวิญญานขันธ์ เจตสิกได้ ๓ ขันธ์ เรียกว่า เจตสิก ขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี่เป็นเจตสิก ฉะนั้นเราจะเรียกเข้าไปรู้ขันธ์ก็ได้ หรือเข้าไปรู้รูป นาม หรือเข้าไปรู้จิต เจตสิก รูป หรือเข้าไปรู้ปรมัตถ์ ถ้าจะใช้คำเดียวก็เรียกว่าเข้าไปรู้ปรมัตถ์ สองคำก็คือเรียกว่าไปรู้รูป นาม

ปรมัตถ์น่ะแยกออกมาเป็นรูปกับนาม ส่วนหนึ่งเรียกว่าเป็นรูปธรรม ส่วนหนึ่งเป็นนามธรรม ถ้าพูดขึ้นมาเป็น ๕ ก็กลายเป็นขันธ์ ๕ ถ้าไม่เรียกว่าขันธ์จะเรียกว่าอายตนะก็ได้ จะเรียกว่าธาตุก็ได้ ถ้าจัดเป็นธาตุก็ได้ ๑๘ ธาตุ จัดเป็นอายตนะได้ ๑๒ จัดเป็นขันธ์ได้ ๕ คือ ธรรมชาติอย่างเดียวกันหมด เหมือนกับเรามีวัตถุดิบแล้วแต่ว่าเราจะไปทำเป็นอะไร เรามีหิน มีทราย มีปูน มีน้ำเป็นวัตถุดิบอยู่ เราจะสร้างไปเป็นบ้านไปเป็นตึก เป็นเสา เป็นอะไรก็แล้วแต่ จากนั้นจะไปเป็นศาลาเป็นกุฏิเป็นโบสถ์ ตัวเนื้อแท้แล้วก็คือหินปูนทรายนั่นแหละ ฉันใดก็ดี ปรมัตถธรรมก็มีแค่นี้ จิต เจตสิก รูป เป็นฐาน ตัวเนื้อแท้แล้วก็คือ หิน ปูน ทราย นั่นแหละ ฉันใดก็ดี ปรมัตถธรรมก็มีแค่นี้ จิต เจตสิก รูปเป็นฐาน เรียกว่าเฉพาะที่จะประกอบเป็นชีวิตนี้ก็มี จิต เจตสิก รูป แล้วแต่ว่าจะเอาไปเรียกเป็นอะไร

สิ่งๆ เดียวกันนี่เรียกได้หลายอย่าง อย่างจิตก็เห็นนี่ ถ้าว่าโดยขันธ์ก็เรียกว่าวิญญานขันธ์ คือจัดเป็นกลุ่มเป็นกองเรียกว่าขันธ์ เป็นวิญญานขันธ์ ถ้าจัดเป็นประเภทที่เชื่อมต่อหรือบ่อเกิดที่เรียกว่า อายตนะ ก็จัดเป็นมนายตนะ การเห็นนี่จัดเป็นมนายตนะ ถ้าจัดเป็นธาตุก็เรียกว่า จักขุวิญญานธาตุ ถ้าจัดเป็นอริยสัจจะ อริยสัจจะมี ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจะเป็นอะไร ก็เป็นทุกขสัจจะ เห็นนี่เป็นทุกขสัจจะ เป็นองค์ธรรมของทุกขสัจจะ เป็นความจริงคือทุกข์ เห็นนี่เป็นทุกข์ เพราะว่ามันเกิดดับ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ การเข้าไปกำหนดรู้สภาพเห็นเรียกว่าไปกำหนดรู้ทุกข์ เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง คือพบว่า เห็นแล้วก็ดับไป กำหนดสภาพเห็น จึงเรียกว่าไปกำหนด มนายตนะ กำหนดวิญญานขันธ์ กำหนดจักขุวิญญานธาตุ กำหนดทุกขสัจจะ ก็เรียกได้หลายอย่าง สิ่งเดียวกัน

สิ่งที่ประกอบเป็นระบบประสาท เป็นความใส เขาเรียกว่าประสาท ประสาท ก็คือความใส อย่างประสาทตาก็เป็นความใสในการรับรูป รูปารมณ์ได้เหมือนกับเลนส์กล้องเป็นความใสรับภาพรับสีที่มากระทบ เรียกว่าจักขุประสาท จักขุประสาทนี้ ถ้าจัดโดยทวารก็เรียกว่าจักขุทวาร เป็นที่ผ่านเข้าออกของจิต โดยเฉพาะการเห็นก็ต้องมาเกิดที่ประสาทตา คือประสาทตาเรียกว่าจักขุทวาร ประตูตา เป็นที่อาศัยเกิดของจิตในการเห็นภาพเห็นรูปารมณ์ ก็เรียกว่าจักขุวัตถุ ถ้าพูดโดยที่อาศัยเกิดของจิต ประสาทตานี่ก็จัดเป็นจักขุวัตถุ ถ้าเอาไปจัดเป็นขันธ์ ๕ เป็นอะไรขันธ์

ประสาทตานี่ก็เป็นรูปขันธ์ ถ้าเอาไปจัดเป็นอายตนะ เป็นที่เชื่อมต่อ เป็นที่บ่อเกิดก็กลายเป็นจักขายตนะ เป็นที่เชื่อมต่อทางตาเกิดการเห็น ถ้าไปจัดเป็นสัจจะเป็นอะไรสัจจะ เป็นทุกขสัจจะ ประสาทตานี่เป็นทุกข์ จัดเป็นขันธ์นี่เป็นรูปขันธ์ ประสาทตานี่เป็นรูปขันธ์ จะเห็นว่าเป็นคนละธรรมชาติกัน การเห็นกับประสาทตาคนละอย่างกันนะ ประสาทตาไม่ได้ทำหน้าที่เห็น ประสาทตาเป็นที่อาศัยเกิดของการเห็น แต่ตัวมันเองไม่เห็น ตัวที่ทำหน้าที่เห็นคืออะไร คือวิญญาน วิญญานขันธ์ หรือว่าวิญญานธาตุ หรือ มนายตนะ ถ้าเป็นสัจจะละก็เป็นทุกข์ทั้งคู่ การเห็นก็เป็นทุกข์ ที่อาศัยเกิดของการเห็นก็เป็นทุกข์

อย่างเสียงดังมา ได้ยินเกิดขึ้นก็เป็นทุกขสัจจะ เสียงเป็นทุกขสัจจะ ได้ยินก็เป็นทุกขสัจจะ จัดเป็นรูปเป็นนาม อะไรเป็นรูปเป็นนาม เสียงเป็นรูปได้ยินเป็นนาม แสดงว่าเสียงกับได้ยินนี่เป็นคนละธรรมชาติกัน ไม่ใช่อันเดียวกัน ได้ยินเกิดขึ้นมาก็ต้องมีเหตุปัจจัยประกอบ ต้องมีประสาทหู มีช่องหู มีเสียงมากระทบประชุมผัสสะกัน จึงเกิดการได้ยิน เสียงจัดเป็นขันธ์ก็เป็นรูปขันธ์ ได้ยิน ถ้าเป็นขันธ์เรียกว่าวิญญานขันธ์ ประสาทหูเป็นความใสในการรับเสียง จัดเป็นขันธ์เป็นรูปขันธ์ จัดเป็นอายตนะ เรียกว่า โสตายตนะ คือเป็นที่เครื่องเชื่อมต่อเสียง จัดเป็นธาตุก็เรียกว่า โสตธาตุ จัดเป็นอริยสัจจะก็กลายเป็นทุกขสัจจะ ประสาทหูนี่เป็นทุกขสัจจะ มีความเกิดดับเหมือนกันเป็นทุกข์ จัดเป็นรูปธรรม เสียงก็เป็นรูป ประสาทหูก็เป็นรูป ได้ยินนี้เป็นนาม

ชอบใจไม่ชอบใจในเสียงก็เป็นจิตคนละอย่างกันแล้ว ได้ยินขณะที่ได้ยินไม่มีความชอบไม่ชอบ ขณะได้ยินทีแรกมันเฉยๆ เกิดอุเบกขาเวทนาเป็นวิบาก เป็นจิตวิบาก ส่วนความไม่พอใจหรือพอใจอันนี้คนละอันกันแล้ว คนละอันกับได้ยิน อันนี้มันเป็นมโนวิญญานเกิดขึ้นที่หทัยวัตถุ หทัยวัตถุมันก็จะอยู่ที่ทรวงอก ทรวงอกราวนมด้านซ้าย บางคนมีอยู่ข้างขวา บางคนหัวใจอยู่ข้างขวาก็มีแต่น้อยคน ปรกติอยู่ข้างซ้าย หทัยวัตถุก็เป็นรูปธรรมที่เป็นที่อ่ศัยเกิดของมโนวิญญาน ความคิดนึกนี่จะเกิดที่หทัยวัตถุ ความชอบใจไม่ชอบใจก็เกิดที่หทัยวัตถุ ส่วนได้ยินนี่มันเกิดที่หูก็เป็นจิตเหมือนกัน ได้ยินก็เป็นจิต คิดนึกก็เป็นจิต ชอบใจไม่ชอบใจก็เป็นเรื่องที่ประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายอกุศล เกิดที่หทัยวัตถุ คนละอันกัน คนละอย่างกัน จิตเหมือนกันแต่คนละจิต

เวลา ปฏิบัติเจริญสติเขาให้กำหนดดูจิต ดูเจตสิก ดูรูปใช่ไหม ก็ทำสติไปในขณะที่รูปอัดใดเกิด นามอันใดเกิด ก็ใส่ใจระลึกรู้ไป เช่นได้ยินเสียงเกิดขึ้นระลึกการได้ยิน ได้ยิน ซึ่งก็มีเสียงมากระทบ มีการได้ยินเกิดขึ้น รู้ว่าเสียงหมาไม่ใช่ได้ยิน รู้ว่าหมานี่ไม่ใช่ได้ยิน แต่เป็นความนึกคิดเกิดที่หทัยวัตถุ สติระลึกความนึกคิด โกรธ ทำเสียงหนวกหู โกรธรำคาญก็เป็นธรรมชาติที่เกิดต่อๆ กันมาจากความนึกคิด จากความปรุงแต่งเป็นจิตประเภท โทสะ อาการของความโกรธ ร้อนใจ แค้นใจ คับใจ ประทุษร้ายในอารมณ์ เป็นธรรมชาติ สติจะเกิดก็ระลึกรู้ไป ทีแรกได้ยินเสียงระลึกไม่ทัน จิตคิดปรุงแต่งจดจำตีความหมาย จึงบอกได้ว่านั่นคือเสียงหมา ขณะนั้นสติระลึกทัน มันก็ตัดกระแสของความปรุงแต่งต่อ

ถ้าระลึกไม่ทัน ความไม่ชอบไม่พอใจก็เกิดขึ้น เป็นกิเลสแล้ว กิเลสเกิดขึ้นแล้วกิเลสเกิดขึ้นที่หทัยวัตถุ ความโกรธ ความเกลียด ความไม่พอใจเกิดขึ้นในใจ สติเกิดขึ้นได้ไหมขณะนั้น ถ้าผู้ไม่ได้ปฏิบัติจะไม่เกิดสติ เมื่อไม่มีสติมันก็จะปรุงแต่งเรื่อยๆ ไป จิตมันจะเกิดมา ต่อๆ กันมาด้วยความรู้สึกโกรธเกลียด ไม่ชอบ ซ้อนขึ้นมามากมาย โกรธขึ้นมาต่อๆ กันมาด้วยความรู้สึกโกรธ เกลียด ไม่ชอบ ซ้อนขึ้นมามากมาย โกรธขึ้นมาต่อๆ ๆ กันมากมาย ความทุกข์ใจก็เกิดขึ้น แล้วก็บันทึกเอากิเลสลงไปสะสมหมักดองไว้ในขันธสันดาน เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ให้เป็นคนขี้โกรธ เป็นคนมีกิเลสหนาแน่นต่อไปอีก จึงเรียกว่าปุถุชน คนที่หนาแน่นด้วยกิเลส คำว่าปุถุชนนี่ เพราะอะไร เพราะว่าเกิดตาย ตายเกิดมามากมาย สะสมกเลสไว้ชาติหนึ่งเท่าไร วันๆ หนึ่งนี่หรือสะสมกิเลสลงไปเท่าไร

เกิดมาชาติหนึ่งโกรธกี่ครั้ง โลภกี่ครั้ง โกรธแต่ละเรื่องก็มีจิตโกรธหลายดวง มันก็สะสมลงไป หมักดองลงไป มันจะไม่หนาแน่นได้อย่างไร มันหนาแน่นฉะนั้นมันไม่แปลงเลยที่เมื่อชีวิตของปุถุชนพอมาประสบอารมณ์อันใด นิดหนึ่ง กิเลสเขาก็จะฟูขึ้นมาทันที ไปเจออารมณ์ที่เคยชินต่อการเกิดโทสะ เขาก็จะเกิดโทสะขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย เพราะมันหนาแน่นอยู่แล้วในขันธสันดาน ไปเจออารมณ์อันใดที่จะก่อให้เกิดโลภะมันก็เกิดทันที ก่อให้เกิดความหลงมันก็หลง เกิดอิจฉา ริษยา มานะ ทิฐิ ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ สงสัย เบื่อหน่าย ท้อถอย เหล่านี้หมักหมมอยู่ในขันธสันดาน

ขันธสันดาน คือ ความสืบต่อกัน ความสืบต่อกันของจิต ความจริงจิตมันก็เกิดดับ หมดไป เกิดดับหมดไป เกิดดับหมดไป ถึงจะเปลี่ยนภพชาติไปมันก็ต่อกันไปได้ ส่งต่อกันเหมือนต้นไม้ เมล็ดพืชของมัน หน่อของมัน พืชอันใดหน่อของมันต้นไม้อันใด เราจะไปปลูกจังหวัดไหนมันก็ขึ้นมาเป็นต้นอันนั้น

ที่สะสมมาคล้ายๆ กัน ก็มามีนิสัยคล้าย ๆ กัน แต่ก็ไม่มีใครเหมือนกันทีเดียว แม้แต่หน้าตาของเรานี่ก็ไม่ซ้ำแบบกัน ถึงเราจะดูเผินๆ เหมือนกัน เช่น ฝาแฝด แต่เมื่อดูนานๆ จริงๆ แล้วก็จะเห็นว่าต่างกัน แบบแปลนนี่ไม่ซ้ำนะ ทั้งๆ ที่ตา ๒ ข้าง หู ๒ ข้าง จมูก ปาก แขน ขา ก็มีเท่านี้ เหมือนกับสถาปนิกที่ออกแบบเก่งไม่ซ้ำแบบกันเลย คนแต่ละคนไม่ซ้ำกันเลย เสียงก็เหมือนกันไม่ซ้ำกัน ไม่ซ้ำหรอกแบบ ไม่หมดแบบ ไม่ยอมหมดแบบ เพราะอะไร เพราะกรรมที่ทำไว้นั้นแหละมันจัดแจง ทำกรรมไม่เหมือนกัน ยากที่ใครจะทำเหมือนได้ทุกอย่าง เราดูภายนอกเหมือนกับทำเหมือนกัน ทำบุญดู เอ้าทำบุญเท่ากัน แต่ว่าจิตใจไม่เหมือนกันขณะทำ เจตนาก็ดี ความศรัทธาอะไรต่างๆ หรือทำไปแล้วความรู้สึกก็ต่างกันไป ทำบาปก็เหมือนกัน บางคนยินดีในการทำบาป บางคนก็คำเพราะความจำใจ บางคนก็บันดาลโทสะ บางคนก็ทำด้วยความอาฆาตมาดร้าย มันก็ไม่เหมือนกัน

นี่แหละมันทำให้แบบไม่ซ้ำกัน กรรมที่ปรุงแต่งขึ้น ยิ่งไปดูรูปร่างของสัตว์เดรัจฉานยิ่งไปกันใหญ่ แบบมีมาก เพราะว่ามันไม่ใช่มีขาเท่ากัน สี่ขาก็มี สองขาก็มี ไม่มีขาก็มี ขามากก็มี อยู่ในน้ำได้ก็มี บนบกก็มี ครึ่งบกครึ่งน้ำก็มี บนอากาศก็มี อยู่ในดินก็ได้ แปลกไปต่างๆ มากมาย ก็ไปจากกรรม รูปร่างวิจิตรพิศดารเหล่านั้นก็เพราะกำเนิดวิจิตร คือ การเกิดวิจิตร สัตว์บางชนิดเกิดในไข่ บางชนิดเกิดในมดลูก บางชนิดเกิดในยางเหยียว บางชนิดเกิดผุดโตทีเดียวไม่ต้องมีพ่อมีแม่ เกิดก็เกิดโผล่ขึ้นมาเฉยๆ ได้ กำเนิดมันวิจิตร กำเนินดวิจิตรก็เพราะว่ากรรมวิจิตร การกระทำที่ทำไว้วิจิตรพิศดาร กรรมวิจิตรเพราะตัณหาวิจิตร ความอยากไม่เหมือนกัน ความอยากจะได้มีกำลังวังชาดีก็ไปกินอุ้งตีนหมี ได้กินอะไรต่ออะไรสารพัด ของเป็นๆ บ้าง อะไรบ้าง ตัณหามันวิจิตรทำให้ทำกรรมวิจิตร ตัณหาวิจิตร เพราะสัญญาวิจิตร คือจำไว้อย่างนั้น แน่ะ

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 17.0 Firefox 17.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 มกราคม 2556 14:00:03 »


http://122.155.190.19/analaya/images/stories/monks/lpkasemdhammtat/lp-kasem-with-candle.jpg
พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม


สัญญาวิจิตรก็เพราะจิตวิจิตร ที่สุดแล้วก็คือจิตนั่นเอง จิตมันวิจิตรพิศดารมาก สามารถจะทำชีวิตของสัตว์ทั้งหลายให้ประหลาดต่างกัน จิตถ้ายิ่งมาบวกกับสมาธิก็ยังมีวิจิตรพิศดาร มีพลัง มีอำนาจ มีผลเป็นไปต่างๆ ฉะนั้นพวกที่เขามีฤทธิ์มาจากจิต จิตที่มีสมาธิแล้วก็เกิดฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์ แสดงอิทธิฤทธิ์ สามารถที่จะแทรกลงไปในแผ่นดิน เดินบนน้ำ ทำของใหญ่ให้เป็นของเล็ก ทำของเล็กให้เป็นของใหญ่ นี่คืออำนาจของจิต ฟังเสียง เสียงไกล สามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลด้วยทิพพยจักษุ อะไรเหล่านี้เกิดจากความวิจิตรของจิต

สมัยนี้เขามีเครื่องไม้เครื่องมือ นั่นก็เป็นเครื่องจากจิตเหมือนกันแหละ อยู่ที่นี่ก็สามารถจะมองไปเห็นทั่วโลกพร้อมในเวลาเดียวกัน ถ่ายทอดออก ที.วี เชื่อมสัมพันธ์กัน นี่ก็เรื่องของจิต ทีนี้วิทยาศาสตร์เขาเจริญเขาก็พิสูจน์ได้มากขึ้นว่า ในร่างกายนี้เซลล์มันแตกดับมากมาย ในวินาทีนี่มากมาย เซลล์ของสัตว์ของมนุษย์นี่ประมาณ หกสิบเจ็ดสิบล้านตัว แตกดับวินาทีนี่มากมายแต่มันก็เกิดชดเชย นี่มันก็เรียกว่าไปตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแสดงไว้ แต่พระพุทธเจ้าพิสูจน์ด้วยปัญญา ไม่ได้ใช้กล้อง ไม่ได้ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาจับ ร่างกายทุกเซลล์นี่แตกสลายอยู่ ฉะนั้นเมื่อบุคคลได้เจริญสติสัมผัส สัมพันธ์เข้าไปที่ร่างกายจะรู้สึกเลยว่า ร่างกายมันไม่ได้อยู่นิ่ง มันมีความรู้สึกไหวกระเพื่อม เพราะว่ามันมีความแตกดับสลายตัวหรือมันรู้สึกมันพริ้วๆ อยู่ทั่วกาย ไหวๆ ๆ นี่คือรูป เซลล์ก็คือรูปแต่ละรูปๆ มันแตกดับ


การ เข้าไปเห็นอย่างนี้มันได้ประโยชน์อะไร เห็นแล้วได้อะไร ก็คืออยากจะต้องการจะถอนความถือมั่นว่ามันเที่ยง มันเป็นตัวตน เป็นเราเป็นของเรา ถ้ามันไม่เห็นแตกดับก็เห็นเที่ยงอยู่อย่างนั้น ไม่เห็นมันดับตรงไหนนั่งอยู่ก็ไม่เห็นดับ แต่ถ้ามีญานปัญญาเข้าไปหยั่งรู้จะเห็นความสลาย สลาย สลายตัว เห็นไม่เที่ยงก็เห็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ แล้วก็เห็นอนัตตา คือบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ฉะนั้นต้องเข้าไปหยั่งเห็น การปฏิบัติจึงว่าต้องให้กำหนดให้ตรงปรมัตถ์ ตรงสภาวะ ถ้าเราไปดูที่ของสมมุติมันก็ไม่เห็น เราจะดูให้รู้แจ้งสิ่งหนึ่ง แต่เราไปมองอย่างอื่นมันจะไม่เห็น เพราะฉะนั้นต้องกำหนดให้ตรงสภาวะ รูป นาม เวลากำหนดที่กายนี่จะต้องรู้เข้าไปที่ความรู้สึก หรือความไหว ความตึงความหย่อย ความเย็นความร้อน ความอ่อน ความแข็ง หรือความรู้สึกสบายไม่สบาย อันนั้นเป็นสภาวะ เป็นความรู้สึก

อย่างน้อยก็ค่อยไปสังเกตุความพะเยิบพะยาบเคลื่อนไหวของระบบการหายใจ ของหัวใจที่มันเต้น ของปอดที่มันขยับขยายอยู่ บางคนไม่รู้สึกดูลมหายใจเป็นแต่ไม่รู้สึก หาไม่เจอ ไม่เห็นมีความเคลื่อนไหว บางคนก็นึกว่าเคลื่อนไหวน่ะต้องขยับตัวถึงจะเคลื่อนไหว ที่บอกให้ดูเคลื่อนไหวไม่ได้หมายถึงว่าต้องขยับตัวถึงจะเคลื่อนไหว ถ้าขยับตัวก็เคลื่อนไหวอยู่แล้ว แต่ว่านั่งอยู่นิ่งๆ เฉยๆ นี่แหละแขนไม่ได้กระดุกกระดิกอะไร นิ่ง... แต่มันเคลื่อนไหวอยู่ภายใน อย่างน้อยปอดสูบเอาลมเข้าไปขยับขยายออกดันหน้าท้อง หัวใจ พึบพับๆ เต้นอยู่ เป็นเหมือนเครื่องจักรมันทำงานมันไม่ได้อยู่นิ่ง แต่ทำไมหาไม่เจอ บางคนกำหนดหาไม่เจอนะความรู้สึกในกาย เพราะว่าเราไปดูสมมุติอยู่ ไปดูแค่สมมุติ ไปดูแค่ความหมาย ไปดูแค่รูปร่าง ก็เลยสัมผัสปรมัตถ์ไม่เจอ เวลาไปกำหนดที่ปรมัตถ์จริงๆ สัมผัสปรมัตถ์ได้ถี่ถ้วนมากขึ้น

สมมุติความเป็นรูปร่างจะอันตรธานไป ไม่มีแขน ไม่มีขา หน้าตา ไม่มีนั่ง ไม่มีความหมายว่านั่ง ต้องเข้าใจว่าการที่เห็นรูปร่างท่าทางของกายที่นั่งนี่ยังเป็นสมมุติ นั่งก็เป็นความหมาย เป็นสมมุติ เวลาสติเข้าไปสัมผัสอยู่กับปรมัตถ์มากต่อเนื่องจริงๆ แล้วนี่ ไม่เห็นแล้ว แขน ขา หน้าตา รูปทรงสัญฐานหายไป ก็อย่าไปไขว่คว้ามาอีก เพราะมันเป็นสมมุติ ที่จริงมันต้องนึก ถึงจะเห็นแขน ขา หน้าตา รูปร่างนี่ แม้แต่ความหมายว่านั่ง จิตต้องนึก ถึงจะรู้ ถึงจะเห็น แต่เนื่องจากว่า เราเห็นมันอยู่ นานๆ คุ้นเคยกับอันนี้มาก็เลยไม่ต้องนึก ไม่ต้องออกแรงนึกมาก

แต่เวลาจิตเข้าไปสู่สภาวปรมัตถ์ดีๆ มันไม่นึกมันไม่จำ ไม่ปรุง รูปร่างอัตรธานไปเพราะว่าเป็นเรื่องเกิดจากความนึกขึ้นมา ปรุงขึ้นมา แต่งขึ้นมา พอมันไม่นึก ไม่แต่งไม่ปรุงมันก็หายไป แต่บุคคลไปเข้าใจว่าการเห็นเป็นรูปร่างคือของจริง ก็เลยพยายามจะหา พอไม่เห็นก็จะหาให้เห็น มันก็ไปวิปัสสนาไม่ได้ ต้องปล่อยไป มันไม่เห็นน่ะมันดีแล้ว คัดสมมุติออกไปได้อย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ไม่เห็นแล้วก็ไม่มีอะไรจะดู มีแต่ว่างๆ ไม่มีอะไร นั่นก็ไปสมมุติ นั่นก็สมมุติอีกเหมือนกัน สมมุติแห่งความเป็นรูปร่างไม่มี จะไปอยู่กับสมมุติความไม่มีอะไร ความไม่มีอะไรก็เป็นสมมุติอีกอันหนึ่ง อันนี้ก็ไม่ใช่วิปัสสนา

วิปัสสนานั้นสติต้องรู้ปรมัตถ์อยู่ สติต้องมีอารมณ์เป็นสภาวะอยู่ตลอดอย่างน้อยก็ไปรู้ความรู้สึกที่กายมันไหว มันตึง มันหย่อน มันเย็น มันร้อน อ่อนแข็ง นี่เป็นสภาวะให้ได้กำหนดอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้ว่าเว้น มีปวด มีเจ็บ มีเมื่อย มีชา มีร้อน มีเย็น มีไหว มีกระเพื่อมในกาย ตานี้บางคนมันมีสมาธิมากขึ้นปวดก็ไม่มี เจ็บก็ไม่มี ตึงก็ไม่มี อะไรก็ไม่รู้สึก ลมหายใจก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี สิ่งที่มันมีอยู่ขณะนั้นก็คือจิต จิตใจกำลังรู้ กำลังดู กำลังคิด กำลังนึก กำลังสงสัยนั่นแหละ กำลังพอใจ กำลังสงบ กำลังเอิบอิ่ม กำลังผ่องใส นั่นแหละคือสิ่งที่กำลังมีอยู่ ที่เป็นสภาวะนั่นแหละเป็นนามธรรม กำลังเป็นไป กำลังปรากฏ ไม่ได้ว่าง ไม่ใช่ว่ามันว่าเปล่าหรอก มีอยู่ มีจิต มีใจ มีธาตุรู้ สภาพรู้ ความรู้สึกในจิตใจมีอยู่

แต่เพราะว่ามองมุมมองไม่ถูก หามุมมองไม่ถูก ไปมองต่างมุมไปทางอื่น มันก็ไม่เห็น จิตใจความรู้สึกมันอยู่มุมนี้ แต่เราไปมองอีกมุมหนึ่ง ก็ไม่เห็น มุมของจิตมันก็คืออยู่ที่ตัวเอง อยู่ที่ใจนั่นน่ะ อยู่ที่ตัวรู้ อยู่ที่ตัวหาตัวมองนั่นแหละ ก็ต้องย้อนกลับมาดูจึงจะเห็นจิตใจ เพราะไอ้ตัวที่หานั้นคือจิตใจอยู่ ตัวที่เที่ยวดูชาวบ้าน ดูสภาวะ ดูอันโน้นอันนี้ นั่นแหละคือจิต ต้องรู้สึกแล้วรู้จักตัวเอง ฉะนั้นถ้าเข้าใจแล้วจะมีสภาวะให้รู้ให้ดูตลอดเวลา วิปัสสนานั้นต้องเดินให้ตรง ตรงทาง ให้ถูกต้องถูกทางคือรูป นาม คือปรมัตถ์ธรรม ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจให้ได้ เข้าใจในการปฏิบัติจากการฟัง แล้วก็ไปฝึก แล้วก็ไปสังเกตุ แล้วก็ไปรู้จัก รู้จักแล้วก็พยายามรู้เรื่อยๆ ไป

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 17.0 Firefox 17.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 มกราคม 2556 14:00:43 »


http://122.155.190.19/analaya/images/stories/monks/lpkasemdhammtat/lp-kasem-with-candle.jpg
พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม


เจตสิกคือสิ่งปรุงแต่งในจิต อาศัยจิตเกิดร่วมกับจิต ฝ่ายดีก็มี เช่นมีศรัทธาความเชื่อ มีสติ นี่ก็เป็นตัวเจตสิก ปัญญาก็เป็นตัวเจตสิก คือไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา เจตสิกก็หมายถึงธรรมชาติ เป็นธรรมชาติเหมือนกัน จิตก็เป็นธรรมชาติ เป็นปรมัตถ์ ฉะนั้นเมื่อสติก็เป็นเจตสิก เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวตน ก็ต้องถูกกำหนดรู้เหมือนกัน สติระลึกได้ เคยระลึกบ้างไหม สติระลึกรู้สติ สติระลึกรู้การไม่มีสติก็ได้ คือความหลง โมหะความเผลอความหลง เมื่อเผลอระลึกรู้ เมื่อมีสติระลึกเห็นความต่างกันระหว่างการมีสติกับการเผลอสติ ปัญญาก็เป็นเจตสิก สติก็ระลึกรู้ปัญญาก็ได้ เวลาขณะใดมันเกิดปัญญาขึ้น ระดับไหนก็ตาม แม้แต่ปัญญาที่กำลังเห็นรูปเห็นนาม หรือเห็นความเกิดดับของรูป นาม สติก็ระลึกรู้การรู้เห็น การที่มีปัญญาเกิดขึ้น

เมื่อสติระลึกที่ปัญญามันก็เกิดปัญญา ในปัญญาเกิดสติต่อสติ เกิดปัญญาต่อปัญญา คือเห็นว่าสติก็สักแต่ว่าสติ ปัญญาก็สักแต่ว่าปัญญา ไม่ใช่ตัวเราของเรา เมื่อสติรู้สติก็เกิดปัญญาที่เข้าไปรู้เข้าไปเห็น เข้าไปแจ่มแจ้งในสติว่า สักแต่ว่าเป็นธรรมชาติที่ระลึก ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เราสักหน่อย ความรู้ที่เกิดขึ้นขณะนั้นก็ไม่ใช่ตัวเราสักหน่อย ถ้ามันไม่ได้ถูกระลึกบ้าง ไม่ได้พิจารณาเข้ามามันก็เกิดอุปาทาน ยึดรูปไว้เป็นเรา เรามีสติดีเหลือเกิน เรามีปัญญาซะแล้ว เรามีปัญญาเห็นแจ้ง ที่รู้สึกเป็นเรานี่แหละ คือสติเป็นเรื่องดี ปัญญาเป็นเรื่องดี แต่เวลามันเกิดขึ้นมา อุปาทานมันตามติดมายึดเข้าไว้ ไม่หลุดพ้น แต่เมื่อถูกระลึกบ้าง พิจารณาเข้ามาบ้าง อุปาทานเขาก็เข้าครองไม่ได้ ก็ได้ปัญญา เห็นญาณะสักแต่ว่าญาณะ สติก็สักแต่ว่าสติ นี่เวลาปฏิบัตินี่มันก็ตีกลับ มันวกกันเข้ามา ตีรอบ รอบรู้ ปัญญาเขาจึงเรียกว่ารอบรู้ ดูรอบ รอบทั้งตัวมันเองที่จะต้องรู้เท่านั้น

เวทนาก็เป็นเจตสิก เวทนานี่มีทั้งเกิดที่กายเกิดที่ใจ ที่จริงเวทนาก็ประกอบกับจิต แต่ว่าจิตนี่มันเกิดที่กายก็มี เกิดที่เวทนา เวทนาเกิดที่กายแล้วก็เกิดที่จิต คือมโนวิญญานก็มี เกิดที่กายมันก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ทุกข์กายกับสุขกาย ทุกข์กายไม่สบายกายเป็นทุกขเวทนา สบายกายก็เป็นสุขก็เป็นสุขเวทนา ถ้ามันเกิดที่ใจที่มโนทวาร มโนวิญญานมันก็จะมีอยู่ ๓ คือ ดีใจ เสียใจ แล้วก็เฉยๆ ไม่ดีใจไม่เสียใจ เขาเรียกว่า อุเบกขาหรือเฉยๆ นี้ก็เป็นปรมัตถธรรม ต้องกำหนดรู้ เวทนา ท่านก็จัดเป็นสติปัฏฐานไปข้อหนึ่งเลยเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นก็หัดพิจารณาบางคนถนัดดูเวทนาดูความรู้สึกก็จะเป็นทางให้รู้ว่า เวทนาก็สักแต่ว่าเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวเราของเรา

วันนี้ก็คงมีเวทนากันพอสมควร ก็ขอสมมุติยุติลงไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแก่ทุกท่านเทอญ

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 24.0.1312.52 Chrome 24.0.1312.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 มกราคม 2556 14:31:15 »




 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


บันทึกการเข้า
คำค้น: หลวงพ่อสุรศักดิ์ พระครูเกษมธรรมทัต ธรรมะ ธรรม พระธรรมเทศนา เทศนา เทศน์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
รวมธรรม คำ คม คิด จาก facebook หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี (พระครูเกษมธรรมทัต)
ธรรมะจากพระอาจารย์
หมีงงในพงหญ้า 16 15227 กระทู้ล่าสุด 04 เมษายน 2555 20:01:14
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ความทุกข์สอนให้เรามีปัญญา
ธรรมะจากพระอาจารย์
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 4277 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2556 14:04:02
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ดูใจผู้รู้ - พระครูเกษมธรรมทัต ( หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ )
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 0 2394 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2556 18:39:23
โดย หมีงงในพงหญ้า
เคล็ดลับดับทุกข์ - พระครูเกษมธรรมทัต ( หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ )
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 0 2257 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2556 18:45:12
โดย หมีงงในพงหญ้า
อวิชชา - พระครูเกษมธรรมทัต ( หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ )
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 1 11362 กระทู้ล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2557 08:20:12
โดย เรือใบ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.302 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มกราคม 2567 08:44:48