[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 กันยายน 2567 05:32:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

สุขใจในธรรม
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


.:::

ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

:::.
หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  (อ่าน 201765 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2557 11:22:45 »

.

๕๐. พระเจ้าสุทโธทนะ
สมเด็จพระพุทธบิดา (๑)

พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหนุ และพระนางกัญจนา กษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ เมืองเล็กๆ อยู่ที่เชิงเขาหิมาลัย ชมพูทวีป กษัตริย์แห่งสองนครพี่น้องกัน คือ กษัตริย์ศากยวงศ์ และกษัตริย์โกลิยวงศ์ ตั้งเมืองอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำสายหนึ่ง ชื่อ โรหิณี

ทั้งสองพระนครยังชีพด้วยเกษตรกรรมเป็นหลัก เพราะฉะนั้นพระนามของเจ้านายในราชวงศ์ โดยเฉพาะราชวงศ์ศากยะจะลงท้ายด้วยคำว่า “โอทนะ” เป็นส่วนใหญ่ เช่น สุทโธทนะ (ข้าวบริสุทธิ์) อมิโตทนะ (ข้าวนับไม่ถ้วน) โธโตทนะ (ข้าวขัดแล้ว) สุกโกทนะ (ข้าวขาว)

พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมีพระอัครมเหสีพระนามว่า มายา หรือ สิริมหามายา มีพระราชโอรสพระนามว่า สิทธัตถะ

หลังจากพระราชโอรสประสูติได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะได้สถาปนาพระนางปชาบดีโคตมี พระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายาขึ้นเป็นพระอัครมเหสีสืบแทน

เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในความเลี้ยงดูของพระ “น้านาง” จนเติบใหญ่ และมีพระอนุชาและพระกนิษฐาอันประสูติแต่พระน้านาง ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายนันทะและเจ้าหญิงรูปนันทา

โหราจารย์ทำนายพระลักษณะและอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะว่า ถ้าอยู่ในเพศผู้ครองเรือน ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีกฤดาภินิหารเป็นที่ยำเกรงของแคว้นน้อยใหญ่  ถ้าเสด็จออกผนวชก็จะได้เป็นพระศาสดาเอกในโลก เผยแพร่สัจธรรมที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน

โดยเฉพาะโหรผู้มีอายุน้อยที่สุดในคณะนามว่า โกณฑัญญะ ทำนายด้วยความมั่นใจว่า เจ้าชายจะเสด็จออกบวช และจะได้เป็นพระศาสดาแน่นอน  พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะมิให้เจ้าชายเกิดความคิดเบื่อหน่ายในการครองเรือนถึงกับสละโลก จึงทรงปรนเปรอพระราชโอรสด้วยความสุขสนุกบันเทิงต่างๆ เช่น สร้างปราสาทสามหลังสวยหรูสำหรับประทับสามฤดู พยายามไม่ให้เจ้าชายได้ทอดพระเนตรเห็นภาพที่ไม่น่าดู เช่น ความทุกข์ยากของประชาชนพลเมือง อันจักกระตุ้นให้พระราชโอรสเกิดความสลดพระทัยแล้วเสด็จออกผนวช

จึงเกิดมีสิ่งที่เรียกกันบัดนี้ว่า การ “เคลียร์พื้นที่” เมื่อจะทรงอนุญาตให้พระราชโอรสออกไปนอกประตูวัง ก็จะทรงรับสั่งให้ “เคลียร์พื้นที่” ให้หมด ไม่ให้ภาพอันจะก่อให้เกิดความสลดสังเวชพระทัยเกิดขึ้น ให้ทอดพระเนตรเห็นแต่ภาพอันสวยๆ งามๆ

การณ์ก็เป็นไปด้วยดี แต่วันดีคืนดีเจ้าชายก็ได้ทอดพระเนตรเห็นภาพแห่งความเป็นจริงจนได้ เมื่อพระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็กสนิท นาม ฉันนะ ลอบออกไปนอกพะราชวัง ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับ คง “หนีเที่ยว” หลายครั้ง จึงได้เห็นสิ่งเหล่านั้น มิใช่เห็นทีเดียวครบ ๔ อย่าง

เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงสลดพระทัยว่า คนเราเกิดมาทุกคนย่อมแก่ เจ็บ และตายอยู่อย่างนี้ ตราบเท่าที่ยังไม่ตัดวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ โลกนี้จึงเป็นทุกข์อย่างแท้จริง

เมื่อ “ได้คิด” ขึ้นมาอย่างนี้ ก็คิดเปรียบเทียบว่าสรรพสิ่งย่อมมีคู่กัน เมื่อมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ดุจเดียวกับมีมืดก็มีสว่าง มีร้อนก็มีเย็น ฉะนั้น ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะผู้สงบ ก็ทรงคิดว่าการดำเนินวิถีชีวิตอย่างท่านผู้นี้น่าจะเป็นทางพ้นจากความทุกข์นี้ได้ จึงตัดสินพระทัยเสด็จผนวช  จวบกับได้รับทราบข่าวการประสูติของพระโอรสน้อย ก็ยิ่งต้องรีบตัดสินพระทัยแน่วแน่จะออกผนวชให้ได้ เพราะถ้ารอช้า ความรักความผูกพันในพระโอรสจะมีมากขึ้น ไม่สามารถปลีกพระองค์ออกไปได้

ดังได้ทรงเปล่งอุทานทันทีที่ได้สดับข่าวนี้ว่า บ่วง (ราหุล) เกิดแล้ว พันธนาการเกิดแล้ว” อันเป็นที่มาของพระนามแห่งพระโอรส

คำถามที่คนสมัยนี้มักจะถามก็คือ เจ้าชายสิทธัตถะทิ้ง “ลูกเมีย” ออกบวชเพื่อหาความสำเร็จส่วนตน ทั้งๆ ที่พระโอรสก็เพิ่งประสูติ ดูเป็นการเห็นแก่ตัว บางท่านก็ว่าแรงขนาดว่า เจ้าชายสิทธัตถะไม่รับผิดชอบครอบครัว อะไรไปโน่น ก็ใคร่ตอบสั้นๆ ดังนี้
๑. ต้องไม่ลืมว่า เจ้าชายสิทธัตถะมิใช่คนธรรมดาอย่างพวกเรา ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ เป็น “นิตยโพธิสัตว์”
    (พระโพธิสัตว์ผู้แน่นอนว่าจะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ทรงบำเพ็ญบารมีจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
๒. พระโพธิสัตว์ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
    แต่การจะช่วยสัตว์ทั้งหลายได้ พระองค์ต้องทำตนให้พร้อมที่จะช่วยได้ การบำเพ็ญบารมีนั้น
    คือ การเตรียมความพร้อมในเบื้องต้น
๓. จากนั้นพระโพธิสัตว์ก็จะต้องทำความเพียร เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงจะเรียกว่าพร้อมโดยสมบูรณ์
    ที่จะช่วยสัตว์โลกได้ ถ้าหากพระโพธิสัตว์ไม่เสด็จออกผนวช ภาระหน้าที่นี้ก็ยังไม่ได้กระทำ
    เพราะฉะนั้น พระองค์จึงเสด็จออกผนวช
๔. การเสด็จออกผนวชของพระองค์นั้น แทนที่จะคิดอย่างปุถุชนผู้โง่เขลาควรจะพิจารณา
    ด้วยเหตุผลของวิญญูชนว่า เป็นการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เป็นพระมหากรุณาอย่างใหญ่หลวง
    และเป็นความรับผิดชอบอย่างยิ่งใหญ่
๕. ถ้าหากพระองค์ไม่เสด็จออกผนวช พระองค์ก็ช่วยได้เฉพาะ “ลูกเมีย” ของพระองค์และบ้านเมือง
    ของพระองค์เท่านั้น แต่เมื่อเสด็จออกผนวชเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์มิเพียงแต่ช่วยบ้านเมือง
    ของพระองค์เท่านั้น หากทรงช่วยโลกและคนทั้งโลกอีกด้วย อย่างนี้จะว่าเป็นการเห็นแก่ตัว
    หรือไม่รับผิดชอบครอบครัวกระไรได้

ลองคิดให้ดีให้ลึกแล้วจะเห็นว่า การเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นกิจกรรมของผู้เสียสละอย่างใหญ่หลวง และของผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยพระกรุณายิ่งใหญ่เพียงใด

และที่พวกเราได้มีบุญวาสนาได้สืบทอดพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์มาจนบัดนี้ มิใช่เพราะมหากรุณานั้นดอกหรือครับ

ข้อคิดอีกประการหนึ่งก็คือ ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะจึงเพิ่งจะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คน (คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ) เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ก่อนหน้านั้นไม่เห็นหรือ

คำตอบก็คือ ก่อนหน้านั้นก็เห็นด้วยตาเนื้อธรรมดา ไม่ได้เห็นด้วยตาใน (คือปัญญา) เห็นก็เท่ากับไม่เห็น แต่เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระองค์ก็ได้ “เห็นด้วยปัญญา”  

ความจริงจะเขียนเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ ไปๆ มาๆ กลายเป็นพุทธประวัติจนได้ ทั้งนี้ ก็เพราะพุทธประวัติบางตอนมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน เช่น เหตุการณ์เสด็จออกผนวช ที่กล่าวมาข้างต้น แม้กระทั่งการกระทำของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ที่พระราชทานชายาและพระโอรส เด็กรุ่นใหม่บอกว่า “รับไม่ได้” ก็น่าจะนำมาพูดกันเพื่อความเข้าใจ

หาไม่พวกเราจะบาปหนาที่ไปกล่าวหาพระโพธิสัตว์ด้วยความโง่เขลาของเราเอง เดี๋ยวคราวหน้าคงได้พูดจากันครับ!!...




พระเจ้าสุทโธทนะ
สมเด็จพระพุทธบิดา (๒)

หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระเจ้าสุทโธทนะทรงเสียพระทัยมาก เพราะทรงหวังจะให้พระราชโอรสครองราชย์เป็นเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่  

ด้วยความรักความห่วงใยในพระราชโอรส พระองค์ก็ทรงส่งคนไปติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวตลอด

เมื่อทรงทราบว่าพระราชโอรสได้ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ส่งคณะทูตไปอัญเชิญเสด็จนิวัติพระนครครั้งแล้วครั้งเล่า ว่ากันว่าทำถึง ๙ คณะ แต่ก็ไม่มีคณะไหนสำเร็จ

ครั้งสุดท้ายพระองค์ทรงส่งกาฬุทายี อำมาตย์ผู้เป็นสหชาติกับพระพุทธองค์ เพื่ออัญเชิญเสด็จเมืองมาตุภูมิให้จงได้  กาฬุกายีกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตบวชก่อนแล้วจะอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้ามาให้จงได้ ก็ได้รับพระราชทานอนุญาต

คราวหน้าพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาของพระกาฬุทายี เพราะทรงเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะเสด็จนิวัติพระนครมาตุภูมิ เพื่อโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูรญาติ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จออกจากพระนครราชคฤห์ไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ไปประทับอยู่ที่สวนไทร (นิโครธาราม) นอกพระนคร

พระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาพระประยูรญาติต่างก็มาเฝ้าพระพุทธองค์ พระญาติผู้ใหญ่บางพวกมีทิฐิมานะอยู่ แสดงความกระด้างกระเดื่อง ไม่ถวายบังคม เพราะถือว่าเจ้าชายสิทธัตถะเป็นผู้อ่อนชนมายุพรรษากว่าตน

พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้ฝนเม็ดหยาบสีแดงเรื่อตกลงท่ามกลางมหาสันนิบาต อันเรียกว่า ”ฝนโบกขรพรรษ” สร้างความประหลาดมหัศจรรย์แก่มหาสันนิบาตเป็นอย่างยิ่ง คือ ใครใคร่จะเปียกจึงเปียก ใครไม่อยากให้เปียกก็ไม่เปียก พระพุทธองค์ทรงแสดงมหาเวสสันดรชาดกแก่ประชุมพระประยูรญาติ

ถ้าอยากให้ยาวก็ต้องสรุปเนื้อหาของพระเวสสันดรชาดก และวิเคราะห์ประเด็นที่เป็นปัญหา เพื่อความกระจ่างดีบ่ครับ

มหาเวสสันดรชาดกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ที่ประชุมพระประยูรญาติหลังจากฝนโบกขรพรรษได้ตกลงมา เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์นามว่า เวสสันดร ผู้บำเพ็ญทานบารมีอันเป็นบารมีสุดท้ายในสิบบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาในชาติต่างๆ พร้อมที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโอกาสต่อไป

เรื่องราวย่อๆ (ดังชาวพุทธไทยส่วนมากทราบกันดีแล้ว) มีว่า

พระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นพระราชโอรสพระเจ้าสัญชัย และพระนางผุสดีแห่งนครสีพี มีพระนามว่า เวสสันดร (ว่ากันว่าประสูติที่ตรอกพ่อค้า ขณะพระราชมารดาเสด็จประพาสพระนคร) เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทที (หรือมัทรี) เจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ เจ้าชายชาลี กับ เจ้าหญิงกัณหา

พระเวสสันดรได้บริจาคช้างปัจจัยนาค อันเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง แก่พราหมณ์แคว้นกลิงคะ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันไปร้องเรียนพระเจ้ากรุงสีพี พระราชบิดา จำต้องทำตามมติของมหาชน ให้พระเวสสันดรออกไปจากเมือง

ก่อนจากไป พระเวสสันดรทูลขอโอกาสบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ อันเรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” (คือ ให้ของอย่างละ ๗๐๐ เป็นทาน)

พระเวสสันดรพร้อมทั้งพระชายาและพระโอรสธิดาทั้งสอง เดินทางไปอยู่ ณ เขาวงกต ในป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤๅษีบำเพ็ญภาวนา ณ ปากทางเข้าไปยังนิเวศสถานของพระเวสสันดร มีพรานเจตบุตรได้เฝ้าอารักขาอยู่ เป็นพระราชบัญชาของพระเจ้าเจตราชนคร ใครไปใครมาจะต้องผ่านด่านนี้ก่อน

มีพราหมณ์เฒ่า นามว่า ชูชก ถูกเมียสาวให้ไปหาทาสมารับใช้ เดินทางมาเพื่อจะไปขอเจ้าชายชาลีและเจ้าหญิงกัณหาจากพระเวสสันดรเป็นไปทาส ด้วยรู้ว่าพระเวสสันดรเป็นคนใจบุญ คงจะพระราชทานให้แน่

ผ่านด่านนายพรานเจตบุตรไปได้ด้วยเล่ห์อุบายออกปากขอพระโอรสและพระธิดาจากพระเวสสันดรขณะพระนางมัทรีไม่อยู่

ทั้งสองกุมารเมื่อรู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงพากันหนีไปหลบซ่อนอยู่ในสระ พระเวสสันดรต้องมากล่อมให้เข้าใจจุดมุ่งหมายที่พระราชทานพระโอรสและพระธิดาให้แก่พราหมณ์เพื่อพระโพธิญาณ และจะได้ช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากสังสารทุกข์ มิใช่เพราะไม่รัก “ลูก” ชาลีและกัณหาก็เข้าใจ จึงยินยอมไปกับพราหมณ์

ชูชกพากุมารและกุมารีทั้งสองไปยังเมืองสีพี ด้วยมุ่งหมายจะได้ค่าไถ่มหาศาลจากพระเจ้ากรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีไถ่พระเจ้าหลานทั้งสองพระองค์ เลี้ยงดูปูเสื่อพราหมณ์เฒ่าอย่างอิ่มหนำสำราญ อิ่มมากจน “ท้องแตก” (อาหารไม่ย่อย) ตาย

หลังจากพระราชทานพระโอรสและพระธิดาแก่ชูชกแล้ว ก็ปรากฏพราหมณ์เฒ่าอีกคนหนึ่งในทันใด เอ่ยปากขอพระนางมัทรี จึงออกปากให้แก่พราหมณ์ ทันทีทันใดนั้นพราหมณ์เฒ่าก็ได้กลายร่างเป็นท้าวสักกะเทวราช แจ้งแก่พระโพธิสัตว์ว่ามาลองใจพระเวสสันดร และรู้แล้วว่าพระเวสสันดรนั้นมีพระทัยกว้างขวาง บริจาคได้แม้กระทั่งพระชายาจริงๆ แล้วก็มอบคืนพระชายาดังเดิม

ฝ่ายพระเจ้ากรุงสีพี เมื่อไถ่พระราชนัดดาทั้งสองแล้ว ก็ทรงสำนึกว่าตนได้ทำความลำบากแก่พระราชโอรสและพระราชสุณิสา (สะใภ้) มาก จึงรับสั่งให้เตรียมกระบวนช้าง กระบวนม้า ออกเดินทางไปยังเขาวงกต เพื่อรับทั้งสองพระองค์กลับเมือง

เมื่อทั้งหกพระองค์พบกันอีกครั้งก็สวมกอดกัน ทรงกันแสงพิลาปพิไรจนกระทั่งสิ้นสมประดี

ฝนโบกขรพรรษก็ตกลงมาต้องพระวรกายทั้งหกพระองค์ก็ได้สติฟื้นคืนมา จากนั้นพระเจ้ากรุงสีพีก็ตรัสบอกพระราชโอรสให้ “ลาพรต” พาพระชายาเสด็จนิวัติพระนครสีพีดังเดิม

มหาเวสสันดรชาดกได้สรุปมีเพียงเท่านี้ พระเวสสันดรโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญทานบารมีอย่างอุกฤษฏ์ คือ บริจาคพระชายาและพระโอรสพระธิดาอันเป็นที่รักยิ่งให้เป็นทาน อันเรียกว่า ปรมัตถบารมี (บารมีชั้นยอด)

บารมีทั้งสิบประการ เรียกว่า พุทธการกธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า หรือธรรมที่นำให้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ) ความเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่สำเร็จถ้าบารมีทั้งสิบประการไม่สมบูรณ์ถึงขั้น “ปรมัตถบารมี” ดังกล่าว

การที่พระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีถึงขั้นอุกฤษฏ์ บริจาคลูกเมียเป็นทานถูกวิพากษ์ตัดสินโดยคนยุคปัจจุบันต่างๆ นานา เช่น พระเวสสันดรใจร้าย เห็นแก่ตัว พระเวสสันดรไม่เอาไหน ไม่รับผิดชอบชีวิตครอบครัว พระเวสสันดรคบไม่ได้

พฤติกรรมของพระเวสสันดรควรประณามมากกว่าที่จะเอามาเป็นแบบอย่าง อะไรไปโน่น ชักเลยเถิดไปกันใหญ่

ผมอาจแก้ข้อกังขา (หรือข้อกล่าวหา) ไม่ได้ดีนัก แต่ก่อนอื่นใคร่อยากให้ผู้ที่มองอย่างนี้ได้ตระหนักสักนิดว่า  
   ๑. เราอย่าเอาความรู้สึกของปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสอย่างเราๆ ไปตัดสินการกระทำของพระเวสสันดร
   ๒. เราอย่าลืมว่าเหตุการณ์ที่กล่าวในคัมภีร์มิได้เกิดขึ้นในยุคสังคมบริโภคที่ผู้คน “คลั่งวัตถุ” กันเป็นบ้าเป็นหลัง “บริบท” ทางสังคม มันย่อมแตกต่างจากสมัยนี้มาก
   ๓. อย่าลืมว่า การกระทำทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการกระทำของ “พระโพธิสัตว์” ผู้มีจุดมุ่งหมายแตกต่างจากปุถุชนทั่วไป

ทีนี้ลองพิจารณาดูว่า พระเวสสันดรท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งปณิธานเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าถามว่าตรัสรู้ไปทำไม ตอบว่าเพื่อจะได้ไปช่วยสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ในสังสารวัฎให้พ้นจากความทุกข์

พูดให้สั้นคือเพื่อจะได้ช่วยสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นสุดยอดความทุกข์ในโลก

ดูจากจุดนี้เป็นจุดแรกจะเห็นได้ว่า พระเวสสันดรโพธิสัตว์มิได้เห็นแก่ตัว ตรงกันข้าม กลับเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นอย่างยิ่ง

เพราะท่านต้องการไปช่วยคนให้พ้นทุกข์

และการจะช่วยให้สำเร็จ ก็ต้องได้บรรลุโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าก่อน การบำเพ็ญบารมีนี้ เป็นขั้นตอนของการเตรียมพร้อมเพื่อให้ได้บรรลุทานอันอุกฤษฏ์เป็นหนึ่งในธรรมที่ต้องบำเพ็ญเพื่อให้ได้โพธิญาณนั้น

ถ้าไม่บริจาคลูกเมีย บารมีก็ไม่สมบูรณ์ ไม่มีทางเป็นพระพุทธเจ้าได้ เพราะฉะนั้นเพราะโพธิสัตว์จึงบริจาคลูกเมียเป็นทาน

เมื่อบริจาคลูกเมียเป็นทานแล้ว ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระโพธิสัตว์ก็สามารถช่วยเหลือไม่เฉพาะลูกเมียของตน หากได้ช่วยเหลือคนทั้งโลก

การกระทำอย่างนี้แทนที่จะเป็นการเห็นแก่ประโยชน์ตน กลับเป็นการเห็นแก่โลกทั้งโลก เพราะหลังจากนั้นมา พระเวสสันดรโพธิสัตว์ก็ได้กลายมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศสัจธรรม ช่วยปลดเปลื้องสัตว์โลกจากความทุกข์มากต่อมากและได้ฝากคำสั่งสอนเป็นประทีปส่องนำทางชีวิตของชาวโลกทั้งหลายจนบัดนี้

ถ้าพระเวสสันดรไม่บริจาคลูกเมียในคราวนั้นพระเวสสันดรก็สามารถช่วยได้เฉพาะลูกเมียของท่าน เมื่อกลับมาครองเมืองสีพีแล้ว ก็ช่วยเหลือชาวเมืองสีพี สิ้นพระชนม์แล้วก็จมหายไปตามกาลเวลา

ถ้าอย่างนี้จะเรียกว่า พระเวสสันดรเป็นคนเห็นแก่ตน เห็นแก่ลูกเมีย และเห็นแก่บ้านเมืองของตนก็สมควรอยู่ แต่นี้พระเวสสันดรท่านไม่ทำอย่างนั้นเลย แล้วจะมากล่าวหาท่านเห็นแก่ตัวอย่างไร

อนึ่ง ทุกขั้นตอนของการกระทำนั้น พระโพธิสัตว์ทำด้วยปัญญา พินิจพิจารณาอย่างรอบคอบ และเปี่ยมด้วยความรักต่อลูกเมียทั้งนั้น.





พระเจ้าสุทโธทนะ
สมเด็จพระพุทธบิดา (จบ)

ขอต่อจากคราวที่แล้ว...ที่พูดถึงพระเวสสันดร เป็นคนเห็นแก่ตัว ว่าทำไมพระเวสสันดรจึงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนมีไม่ว่าใครจะมาขอลูกก็ให้ มาขอเมียก็ให้ พระองค์ทรงขยายความว่า
   ๑. ทรงชี้แจงให้ลูกทั้งสองเข้าใจว่า การกระทำของพ่อมิใช่เพราะไม่รักลูก หากทำด้วยความรักลูกสุดชีวิต เพราะมุ่งหวังโพธิญาณเพื่อจะได้ช่วยโลกทั้งมวล จึงต้องบริจาคลูกเป็นทาน

และท้ายที่สุดลูกทั้งสองก็เข้าใจเจตนาของพ่อ จึงยินยอมเป็น “สำเภาทอง” เพื่อนำส่งให้พ่อข้ามฟากในที่สุด

การบริจาคทานของพระเวสสันดร เป็นการบริจาคที่บริสุทธิ์ เพราะทั้งผู้ให้ (พ่อ) และผู้ถูกให้ (ลูกทั้งสอง) ศรัทธาในจุดหมายอันสูงสุดและยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย

   ๒. นอกจากนี้พระเวสสันดรวางแผนให้พราหมณ์นำลูกทั้งสองไปให้ “ปู่” อย่างผู้มีปัญญายิ่ง ที่ท่านตั้งค่าไถ่ลูกทั้งสองไว้สูงมาก (ชาลีค่าตัวทองลิ่ม  กัณหา ค่าตัวทองร้อยลิ่ม และทาสทาสี และสิ่งมีค่าอื่นๆ อีกอย่างละร้อย) ก็เพราะเล็งเห็นว่า คนที่มีทรัพย์มากมายไถ่ลูกได้ก็มีแต่พระเจ้ากรุงสีพี พระราชบิดาเท่านั้น และชูชกเป็นคนโลภอยากได้เงินมากๆ ก็ต้องพาสองกุมารกุมารีไปกรุงสีพีแน่นอน ซึ่งก็เป็นไปตามคาด

การกระทำนี้ก็ด้วยความรักความเมตตาที่มีต่อลูกทั้งสองนั้นเอง ส่งลูกกลับไปอยู่เมือง เพื่อความสุขสบาย แทนที่จะให้ลำบากอยู่กับตนในป่า

   ๓. พอให้ลูกเป็นทาน ปุบปับก็มีพราหมณ์แก่ท่าทางใจดี สะอาดสะอ้าน โผล่เข้ามาจากไหนไม่ทันสังเกต ออกปากขอพระชายา พระโพธิสัตว์นึกในใจอยู่แล้วว่า คงมิใช่คนธรรมดา จึงออกปากให้ชายาโดยมิลังเล

ทันทีที่หลั่งน้ำลงบนหัตถ์ของพราหมณ์เฒ่า พราหมณ์เฒ่าก็กลับร่างเป็นพระอินทร์ กล่าวอนุโมทนาในการทำทานอุกฤษฏ์ครั้งนี้ และขอให้บรรลุสัมโพธิญาณตามที่มั่นหมาย  จริงดังที่สังหรณ์ใจ ในที่สุดพระอินทร์ก็มาช่วยเป็น “สำเภาทอง” ส่งพระโพธิสัตว์ข้ามฝั่งอีกคนหนึ่ง ดุจเดียวกับสองกุมารกุมารี

ทำไมคนสมัยนี้มองไม่เห็นความเสียสละยิ่งใหญ่ กรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ต่อสัตว์โลกทั้ง
ปวง   มองไม่เห็นว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์ต่างเป็น “สำเภาทอง” ช่วยหนุนนำให้พระเวสสันดรได้บรรลุถึงฝั่ง แล้วจะได้มาช่วยสรรพสัตว์ที่กำลังจมน้ำให้ข้ามฝั่งกันโดยปลอดภัย  หรือว่าคนเราสมัยนี้ใจแคบ มองใกล้ “ใฝ่ต่ำ” (ดังที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกเปรยไว้) กันไปหมดแล้ว จึงปรากฏคำกล่าวหาเสียๆ หายๆ ดังข้างต้น

พระพุทธเจ้าเสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์ หลังจากจากไปหลายปี พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาทรงดีพระทัยมาก ตระเตรียมภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก  

รุ่งเช้าของวันที่มาถึง พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จำนวนมากเสด็จออกบิณฑบาตในเมือง ประชาชนต่างแห่แหนไปชมเพราะไม่เคยมีประสบการณ์อย่างนี้มาก่อน

บ้างก็ว่าพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์กำลังจะเดินขอทาน บ้างก็ว่าคงไม่ใช่ดอกท่านเหล่านั้นคงเดินชมเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเจ้าสิทธัตถะมิได้เห็นเมืองหลวงมาเป็นเวลานานแล้ว คงทรงอยากทอดพระเนตรเมืองหลวง ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  

พระเจ้าสุทโธทนะ ทันทีที่เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปตามถนน มีบาตรในพระหัตถ์ก็ทรงเข้าพระทัยทันทีว่าจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก “ขอทาน”  ทรงเสียพระทัยมากที่พระราชโอรสของพระองค์ทรง “ลดฐานะ” ลงมาถึงเพียงนี้ สู้อดกลั้นโทมนัสไว้

เมื่อพระองค์เสวยภัตตาหารเสร็จจะตรัสอนุโมทนา พระพุทธบิดาก็ทรงต่อว่าพระราชโอรสทันที
   “ทำไมลูกถึงทำอย่างนี้”
   “มหาบพิตร ตถาคตทำอะไรหรือ” พระพุทธดำรัสตรัสถาม
   “ก็เที่ยวขอทานน่ะสิ พ่ออายชาวเมืองเหลือเกิน ที่พระราชโอรสของพระราชาเที่ยวขอทานชาวบ้านกิน แล้วนี่พ่อจะเอาหน้าไว้ที่ไหน”
   “มหาบพิตร การออกบิณฑบาตมิใช่การขอทาน เป็นการโปรดเวไนยสัตว์ ตถาคตทำตามจารีตแห่งวงศ์ของตน”
   “ลูกเอ๋ย วงศ์ของเราไม่เคยมีจารีตอย่างนี้นะ”
   “หามิได้ มหาบพิตรมิใช่วงศ์ของพระองค์ หากแต่เป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีมาเช่นนี้แต่อดีตกาลแล้ว”

พระพุทธองค์ตรัสอธิบายต่อไปว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์หลังจากตรัสรู้แล้วก็ออกไปโปรดสัตว์ สั่งสอนเวไนยนิกรตามหัวเมืองต่าง ๆ การออกบิณฑบาตเป็นโอกาสหนึ่งที่จะได้สอนธรรมแก่ประชาชน

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสพระคาถา (โศลกบรรยายธรรม) บทหนึ่งว่า
บรรพชิตไม่พึงดูแคลนก้อนข้าวที่ตนพึงยินรับจากชาวบ้าน
บุคคลพึงประพฤติธรรมให้ดี
ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า
บุคคลพึงประพฤติธรรมให้ดี ไม่พึงประพฤติทุจริต
ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า

หลังจากพระธรรมเทศนาสั้นๆ นี้แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น มีพระราชศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย

พอถึงวันที่สาม มีพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายนันทะ กับพระนางชนบทกัลยาณี เจ้าภาพอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารพร้อมภิกษุสงฆ์ เสร็จพิธีแล้วเจ้าชายนันทะอุ้มบาตรตามเสด็จ ขณะที่นางชนบทกัลยาณีพระชายากำชับว่า เจ้าพี่ส่งเสด็จพระศาสดาแล้ว ให้รีบกลับมาเร็วๆ นะ เจ้าชายนันทะไม่กล้ากราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงรับบาตร จึงตามเสด็จไปจนถึงที่พำนัก คือ นิโครธาราม นอกพระนคร พอไปถึง พระพุทธองค์ตรัสกับเจ้าชายนันทะว่า “นันทะ เธออยากบวชไหม

ด้วยความเคารพในพระพุทธองค์อย่างยิ่ง เจ้าชายนันทะไม่กล้าปฏิเสธ จึงกราบทูลว่า “อยากบวชพระเจ้าข้า”

เท่านั้นแหละครับ เจ้าชายผู้ซึ่งเพิ่งผ่านพิธีอภิเษกสมรสมาหยกๆ เรียกแบบภาษาชาวบ้านยังไม่ได้ส่งตัวเข้าเรือนหอเสียด้วยซ้ำ ก็หลายสภาพเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา

ว่ากันว่าหลังจากบวชแล้ว พระภิกษุนันทะไม่มีกิจิตกะใจปฏิบัติธรรม เพราะได้แต่หวนรำลึกถึงพระชายาที่จากมา พระพุทธองค์จึงทรงใช้กุศโลบายสอนให้เธอฝึกกรรมฐาน (โดยมิได้บอกว่าเป็นกรรมฐาน) ในที่สุดเธอก็ตัดอาลัยในความรักชายาได้บรรลุถึงพระอรหัตผล) ...(รายละเอียดไว้เล่าภายหลังเมื่อมีโอกาส)

วันที่เจ็ด ก็เกิดเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่ง พระนางโสธราพิมพาทรงกระซิบบอกกับราหุลว่า “เสด็จพ่อของเจ้ากลับมาพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว เวลาเช้าเสด็จพ่อจะเข้ามาในเมือง ขอให้ลูกจงไปขอความเป็นทายาท”

บาลีว่า ทายัชชะ แปลว่า ขุมทรัพย์บ้าง ความเป็นทายาทบ้าง

นัยแรกอธิบายว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จะมีขุมทรัพย์ปรากฏขึ้นเป็นคู่บุญบารมี พอเมื่อพระองค์เสด็จออกผนวช ขุมทรัพย์นั้นได้หายไป พระนางยโสธราจึงบอกให้โอรสไปขอขุมทรัพย์นั้น

นัยที่สองอธิบายว่า เจ้าชายสิทธัตถะเป็นรัชทายาท มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เมื่อเสด็จออกผนวช ก็ไม่แน่ว่าจะทรงสละราชสมบัติจริงหรือไม่ พระนางยโสธราพิมพา จึงกระซิบให้ลูกน้อยไปขอจากเสด็จพ่อ เพื่อยืนยันว่า ถ้าเสด็จพ่อไม่เอาสมบัติแล้ว ก็ขอมอบให้โอรสก็แล้วกัน

เจ้าชายน้อยเห็นเสด็จพ่อดำเนินไปตามถนนนำหน้าพระสงฆ์จำนวนมาก ก็ตามไปข้างหลัง พลางกล่าวขอว่า “สมณะ ขอขุมทรัพย์ สมณะ ขอขุมทรัพย์” เมื่อพระพุทธองค์ไม่ตรัสอะไร ราหุลกุมารจึงตามไปจนถึงนิโครธารามที่ประทับนอกเมือง ไปถึงพระองค์ทรงดำริว่า ทรัพย์ภายนอกนั้นไม่จีรัง อย่ากระนั้นเลย เราจะให้ทรัพย์ภายใน (อริยทรัพย์) ดีกว่า ว่าแล้วก็ตรัสให้พระสารีบุตรบวชให้ราหุลกุมาร พระเถระกราบทูลถามว่า จะให้บวชวิธีไหน เพราะที่แล้วมามีแต่คนอายุมากแล้ว บวชเด็กอายุ ๗ ขวบยังไม่เคยมี

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ให้บวชด้วยการรับสรณคมน์ (ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง) ก็พอ

เป็นอันว่าราหุลกุมารได้กลายเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระพุทธบิดาทรงเสียพระทัยมากที่พระเจ้าหลานเธอบวช จึงทูลขอพรจากพระพุทธองค์ว่า ต่อไปภายหน้าจะบวชให้ใคร ขอให้พ่อแม่เขาอนุญาตเสียก่อน

พระพุทธองค์ทรงรับพรนั้น ตั้งแต่นั้นมาใครจะบวชต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่เสียก่อน

การเสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้า ได้อำนวยประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ศากยวงศ์ บ้างก็ได้บรรลุอริยมรรค อริยผล ตามอุปนิสัยปัจจัยที่แต่ละคนได้สั่งสมมา บ้างก็เลื่อมใสออกบวชตามพระพุทธองค์จำนวนมาก อาทิ เจ้าชายอนุรุทธ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคุ เจ้าชายพิมพิละ เจ้าชายมหานาม เจ้าชายเทวทัตแห่งโลกิยวงศ์ ก็เป็นอีกพระองค์หนึ่งที่ออกบวชตามพระพุทธองค์ด้วยศรัทธา น่าเสียดายว่า ภายหลังกลับถูกความอยากใหญ่ครอบงำ กระทำผิดต่อพระพุทธเจ้าจนถูกแผ่นดินสูบในที่สุด

ตำนานมิได้บอกไว้ชัดเจนว่า พระพุทธองค์เสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์กี่ครั้ง เชื่อว่าคงไม่ต่ำกว่าห้าครั้ง

ครั้งหนึ่งเสด็จมาห้ามสงครามแย่งน้ำกันระหว่างพระญาติฝ่ายโกลิยวงศ์และฝ่ายศากยวงศ์ จนชาวพุทธได้สร้างพระพุทธรูป “ปางห้ามพระญาติ” ไว้เป็นอนุสรณ์ในการสงเคราะห์พระประยูรญาติครั้งนั้น

ตำนานกล่าวว่า พระพุทธบิดานั้น หลังจากสดับพระธรรมเทศนาสั้นๆ ข้างต้นได้บรรลุโสดาปัตติผล จากนั้นก็ได้สดับพระธรรมเทศนาอีก (ไม่บอกว่าเรื่องอะไร) ก็บรรลุสกิทาคามิผล ท้ายสุดได้สดับมหาธัมมปาลชาดก ได้บรรลุอนาคามิผล

ในบั้นปลายแห่งชีวิต สมเด็จพระพุทธบิดา ทรงพระประชวรหนัก ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงไพศาลี แคว้นวัชชี  พระพุทธองค์ทรงทราบข่าว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง เสด็จไปเยี่ยม ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พระพุทธบิดาฟัง  หลังจากจบพระธรรมเทศนาแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะบิดาก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ในเพศผู้ครองเรือนนั้นแล แล้ว “ดับสนิท” ในเวลาต่อมา

พระพุทธองค์ทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธบิดาแล้ว ได้เสด็จกลับไปยังเมืองไพศาลีตามเดิม

พระเจ้าสุทโธทนะทรงปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์เพราะได้รับคำทำนายว่า ถ้าได้ครองราชย์สมบัติเจ้าชายสิทธัตถะจะกลายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ อันเป็นความปรารถนาของผู้ครองนครทั่วไป  แต่เมื่อพระราชโอรสของพระองค์เสด็จออกผนวช กลายเป็นพระพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลกแล้ว พระองค์ก็ทรงพอพระทัย และทรงเห็นประโยชน์จากการเสด็จออกผนวชของพระราชโอรส จึงทรงอนุญาตให้เจ้าชายในศากยวงศ์หลายองค์ออกบวช เพื่อสืบทอดพระศาสนา

ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ ก็ได้ลิ้มรสพระธรรมสูงขึ้นตามลำดับ จนบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต เป็นพระอรหันตขีณาสพ นับว่าได้ประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรมโดยสมบูรณ์...

 

ข้อมูล : บทความพิเศษ พระเจ้าสุทโธทนะ : สมเด็จพระพุทธบิดา (๑) (๒) (จบ) หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2557 11:02:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2557 11:00:34 »

.
http://image.ohozaa.com/i/553/J8qZ6.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๕๑. สันตติมหาอำมาตย์
ขี้เมาผู้บรรลุธรรม

เขาว่าชีวิตเมื่อถึงจุดเปลี่ยนเพราะ “เงื่อนไข” พร้อมแล้ว ย่อมเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ มหาโจรองคุลิมาลเปลี่ยนใจในทันทีทันใดหันเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัต และหลายต่อหลายคนเป็นเช่นว่านี้

สันตติมหาอำมาตย์ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้  

ท่านผู้นี้เป็นถึงมหาอำมาตย์คนสำคัญของแคว้นโกศล หลังจากที่ปราบปัจจันตชนบทที่ก่อความไม่สงบขึ้นลงได้ราบคาบในครั้งหนึ่ง ได้รับการไว้วางพระทัยจากพระเจ้าปเสนทิโกศลมาก มากถึงขนาดปูนบำเหน็จความดีความชอบที่ไม่เคยมีใครได้มาก่อน คือ ได้รับพระราชทานราชสมบัติ ๗ วัน

พูดให้ชัดก็คือ ทรงแต่งตั้งให้สันตติมหาอำมาตย์ครองราชย์บัลลังก์ ปกครองประเทศแทนพระองค์ ๗ วัน พระราชทานสตรีที่ฉลาดในการขับร้องฟ้อนรำประโคมดนตรี สวยเลิศประเสริฐศรีหนึ่งนาง นามกรใดไม่แจ้ง ช่างเถอะข้อนั้นสำคัญไฉนขอให้รำสวยบริการดีเป็นใช้ได้

แม่หนูติ๋ม เอ๊ย! แม่นางรำคนสวยก็เสิร์ฟท่านมหาอำมาตย์ ซึ่งบัดนี้เป็นพระราชาชั่วคราวด้วยสุราอาหารอย่างดี บำรุงบำเรอให้อิ่มหมีพีมันเมาแล้วเมาอีก

ถึงวันที่ ๗ เป็นวันสิ้นกำหนดความเป็นราชาชั่วคราว เขาประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ขึ้นข้างทรงตัวประเสริฐไปยังท่าน้ำเพื่อสรงสนาน พอดีพระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ (บิณฑบาต) ยังพระนคร ผ่านไปทางนั้น สันตติมหาอำมาตย์เห็นพระพุทธองค์ จึงค้อมศีรษะถวายบังคมพระพุทธองค์ด้วยจิตนอบน้อม  

พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวล พระอานนท์กราบทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงทำการแย้มสรวลให้ปรากฏ”
“อานนท์ เธอเห็นสันตติมหาอำมาตย์นั่นไหม”
“เห็น พระเจ้าข้า”
“สันตติมหาอำมาตย์ วันนี้มึนเมาสุราแทบครองสติไม่อยู่ วันนี้เขาจะมาสำนักเรา ได้ฟังโศลกธรรม ๔ บท จากเรา จะได้บรรลุอรหัตผลและปรินิพพาน”

นัยว่า พระกระแสรับสั่งกับพระอานนท์นี้ มีผู้ได้ยินและเล่าต่อๆ กันไป ประชาชนที่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่างก็ชื่นชมโสมนัสกับผลสำเร็จอันเกิดแก่สันตติมหาอำมาตย์  แต่บางจำพวกที่เป็นมิจฉาทิฐิได้ทราบเรื่องนี้แล้วก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นจริง
“มันจะเป็นไปได้อย่างไร ก็มหาอำมาตย์เมาหยำเปออกอย่างนี้ จะได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนี้ เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด”

เมื่อไม่เชื่อก็คอยจับผิด ตามดูสันตติมหาอำมาตย์ทุกฝีก้าว ว่าจะไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุพระอรหัตจริงหรือไม่

ข้างฝ่ายสันตติมหาอำมาตย์ เมื่อสรงสนานเสร็จแล้วก็เข้าไปพักอยู่ ณ พระราชอุทยานเพื่อดื่มน้ำจัณฑ์ต่อ พลางเรียกนางนักฟ้อนมาร่ายรำ ขับร้องให้ฟังไปด้วย เรียกว่ากินทั้งทางปาก ทั้งทางตา และทางหู ว่าอย่างนั้นเถอะ

เนื่องจากนางได้ทำงานรับใช้สันตติมหาอำมาตย์ตลอดทั้ง ๗ วันไม่ได้พักผ่อนเลย จึงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ถึงขนาดล้มทั้งยืนในขณะที่ร่ายรำอยู่ หมดสติแน่นิ่งไป  

สันตติมหาอำมาตย์สั่งให้คนไปดู เมื่อได้รับรายงานว่า “นางสิ้นใจแล้ว เจ้านาย” เท่านั้น ก็เกิดความเศร้าโศกเป็นกำลัง เสียใจที่ตนเองเป็นสาเหตุทำให้นางถึงแก่ชีวิต ความเมามายที่มีมาตลอดสัปดาห์ได้หายเป็นปลิดทิ้ง  เขารำลึกถึงพระบรมศาสดาทันที
“มีแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะบรรเทาความโศกเศร้าของเราได้”
เขาคิดเช่นนั้น จึงรีบไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระเชตวันมหาวิหารทันที

พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณว่า บัดนี้อินทรีย์ของสันตติมหาอำมาตย์แก่กล้าพอที่จะฟังธรรมเข้าใจแล้ว จึงตรัสโศลกธรรมความว่า
     กิเลสเครื่องกังวลใด ที่เคยมีในกาลก่อน (อดีต)  
     เธอจึงละกิเลสเครื่องกังวลนั้นเสีย
     กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอในภายหลัง (อนาคต)
     ถ้าเธอไม่ยึดมั่นในขันธ์ในท่ามกลาง (ปัจจุบัน)
     จักเป็นผู้เที่ยวไปไหนได้อย่างสงบรำงับ


ความหมายของโศลกธรรมสั้นๆ นี้ ก็คือจงอย่ายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพราะขันธ์ ๕ เป็น “ภาระ” (ของหนัก) ใครยึดมั่นถือมั่นก็เรียกว่า “คนแบกของหนัก” ปลง (วาง) ของหนักเสียได้ ก็จะเป็น “เบา”

สันตติมหาอำมาตย์พิจารณาตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตทันทีที่ตรัสจบ เมื่อล่วงรู้อายุขัยของตนจักมีในวันนั้น จึงกราบทูลขอพระพุทธานุญาตปรินิพพาน

พระพุทธองค์ทรงประทานอนุญาต พร้อมตรัสสั่งในสันตติมหาอำมาตย์คลายความสงสัยของเหล่ามิจฉาทิฐิ บุคคลที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้ (ไม่เชื่อว่าสันตติมหาอำมาตย์ผู้ขี้เมาจักบรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทา) สันตติมหาอำมาตย์จึงถวายบังคมพระศาสดา แล้วเหาะขึ้นสู่อากาศสูงประมาณต้นตาลลงมากราบถวายบังคมอีกครั้ง ขึ้นไปนั่งในอากาศ แล้วประกาศบุพกรรม (กรรมเก่า) ของตนให้พระพุทธองค์และฝูงชนได้ทราบ

จากนั้นก็เข้าเตโชธาตุปรินิพพาน เปลวไฟลุกโพลงขึ้นเผาร่างของเขากลางอากาศนั้นแล คงเหลือแต่ธาตุเป็นสีขาวดุจดอกมะลิโปรยลงยังพื้นดิน

กรรมเก่า หมายถึงกรรมดี ที่สันตติมหาอำมาตย์เล่าให้ประชาชนฟังอันมีพระพุทธองค์ประทับเป็นประธาน นั้นก็คือในกาลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้เที่ยวชักชวนให้ประชาชนทำทาน สมาทานอุโบสถศีล เป็นต้นมิได้ขาด จนพระราชาแห่งแคว้นทรงทราบ เห็นเขาเดินป่าวประกาศจึงพระราชทานรถม้าและช้างให้เป็นพาหนะสำหรับเที่ยวป่าวประกาศชักชวนผู้คนให้ทำบุญกุศล

หลังจากสันตติมหาอำมาตย์ปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างก็ “ตั้งวง” สนทนาธรรมกัน ณ อุปัฏฐานศาลา (หอฉันอันเป็นศาลาธรรมด้วย) ในเย็นวันหนึ่งว่า สันตติมหาอำมาตย์แต่งกายอย่างเลิศหรู นั่งบนคอช้างที่ประดับประดาอย่างงดงาม บรรลุธรรมทั้งๆ ที่อยู่ในเครื่องแต่งกายอันโอฬาร เราจะเรียกเขาว่าเป็น “สมณะ” หรือ “พราหมณ์” ได้ไหมหนอ

พระพุทธองค์เสด็จมา ทรงทราบเรื่องเข้าจึงตรัสว่าจะเรียกบุตรของเราว่าสมณะ (ผู้สงบ) หรือพราหมณ์ (ผู้ลอยบาปได้) ก็สมควรทั้งนั้น แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

แม้ว่าประดับประดาอย่างดี หากประพฤติธรรมสม่ำเสมอ สงบ ฝึกฝนตนเป็นผู้เที่ยงตรงอริยมรรค มีความประพฤติประเสริฐ ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย คนเช่นนี้จะเรียกว่าเป็น “พราหมณ์” เป็น “สมณะ” หรือ “ภิกษุ” ก็ย่อมได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า จะแต่งกายอย่างไรก็ได้ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่จิตใจ จิตใจปฏิบัติธรรมจริงหรือไม่ ถ้าฝึกฝนตนอย่างจริงจัง ดำเนินตามอริยมรรคในที่สุด ก็เข้าถึงจุดสูงสุดแห่งชีวิต คือ บรรลุพระอรหัตผลแน่นอน...


   
ข้อมูล : บทความพิเศษ สันตติมหาอำมาตย์ : ขี้เมาผู้บรรลุธรรม หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก




๕๒. อภัยราชกุมาร
พระบิดาแห่งนายแพทย์ประจำพระพุทธองค์

นายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ว่านี้นามว่า ชีวกโกมารภัจจ์ ได้เขียนประวัติของท่านต่างหากออกไปแล้ว อภัยราชกุมารเป็นเพียงพระบิดาเลี้ยงเท่านั้น แต่ชีวกโกมารภัจจ์ก็นับถือท่านมาก

อภัยราชกุมารเองประวัติความเป็นมาก็ไม่กระจ่างชัด ที่ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ ก็ว่ากันไปอย่างนั้นเอง บิดาบังเกิดเกล้าเป็นใครมีใครรู้ นอกจากนางปทุมวดี พระมารดาของท่าน

ปทุมวดีนั้นเป็นนาง “นครโสเภณี” แห่งเมืองอุชเชนี  (หรืออุชชายินี) แคว้นอวันตี เมืองนี้ดูเหมือนจะเป็นต้นคิดให้มีนางนครโสเภณี โดยเลือกสาวงามที่ฉลาดในศิลปะการฟ้อนรำไว้บำเรอชาย โดยเฉพาะแขกบ้านแขกเมืองผู้ทรงเกียรติ มีค่าจ้างรางวัลพระราชทานเป็นพิเศษ (มีเงินเดือนพร้อมโบนัส ว่าอย่างนั้นเถิด)

ข่าวที่ว่า นางนครโสเภณีเมืองอวันตีนั้นสวยงามมาก โด่งดังไปถึงนครราชคฤห์ กษัตริย์หนุ่มเจ้าสำราญ นามว่า พิมพิสาร จึงได้เสด็จไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ด้วยความช่วยเหลือของปุโรหิต สงสัยจะแอบไปแล้วก็ติดใจนางปทุมวดี ได้อภิรมย์กันหลายครั้ง และตอนเสด็จกลับบ้านเมือง ก็ไม่รู้ดอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา

จนกระทั่งเด็กน้อยคนหนึ่งถือกำเนิดมา ผู้เป็นแม่คือ ปทุมวดี ได้เลี้ยงดูอย่างดี

เมื่อกุมารน้อยอายุได้ ๗ พรรษา แม่ก็ส่งไปพระราชสำนัก พระนครราชคฤห์ พร้อมมอบแหวนวงหนึ่งให้ลูกชายไปสำแดงแก่กษัตริย์หนุ่ม

กษัตริย์หนุ่มพระนามพิมพิสาร ทอดพระเนตรเห็นธำมรงค์ก็ทรงจำได้ สอบถามได้ความว่า กุมารน้อยนี้ได้แหวนมาจากแม่ของตน จึงยอมรับว่ากุมารน้อยนั้นที่แท้ก็คือพระราชโอรสของพระองค์เองอันเกิดแด่นางปทุมวดีนั้นเอง โดยมิต้องพิสูจน์ดีเอ็นเอแต่อย่างใด

อภัยราชกุมารเจริญเติบโตในพระราชสำนักเป็นผู้เก่งกล้าในการรบมาก จนครั้งหนึ่งเกิดกบฏขึ้นที่ชายแดนแคว้นมคธ พระราชบิดาส่งอภัยราชกุมารไปปราบจนราบคาบ มีความดีความชอบมาก ได้รับพระราชทานหญิงนักฟ้อนแสนสวยไว้ให้บำเรอความสุขด้วย

แต่ท้าวเธอก็สุขได้ไม่นาน ต้องเศร้าโศกเสียพระทัยสุดซึ้ง เมื่อนางได้สิ้นชีวิต จุดนี้เองเป็นหัวเลี้ยวสำคัญของชีวิตเจ้าชายอภัย ซึ่งจะเล่าภายหลัง

แรกเริ่มเดิมทีอภัยราชกุมารเป็นศิษย์ของนิครนถ์นาฏบุตร หรือศาสดามหาวีระของพวกศาสนาเชน ได้ศึกษาคำสอนของพวกนิครนถ์นาฏบุตรจนเชี่ยวชาญ

วันหนึ่งนึกอยากลองดีกับพระพุทธองค์ ตั้งประเด็นปัญหาไปซักพระพุทธองค์ โดยคิดว่าพระพุทธเจ้าของชาวพุทธคงต้องจนปัญญาแน่ๆ

ปัญหานั้นก็คือ จะถามพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสคำที่ไม่เป็นที่ชอบใจคนอื่นบ้างไหม ถ้าพระองค์ตรัสตอบว่าเคย ก็จะรุกต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้นพระพุทธเจ้าจะวิเศษไปกว่าสามัญชนอย่างไร ในเมื่อสามัญชนก็พูดคำเช่นนั้นเหมือนกัน

แต่ถ้าพระองค์ตรัสไม่เคยตรัสคำเช่นนั้นเลย ก็จะรุกฆาตว่า แล้วทำไมพระเทวทัตจึงโกรธพระพุทธองค์เล่า มิใช่เพราะพระพุทธองค์พูดคำแรงๆ ที่พระเทวทัตไม่ชอบใจหรือ

“โดนรุกฆาตเช่นนี้ พระพุทธเจ้าของชาวพุทธคงต้องจนมุมแน่” อภัยราชกุมารคิด ขอประทานอภัย เรื่องมันมิได้ง่ายอย่างนั้นดอก

พระพุทธองค์มิใช่คนธรรมดาที่คนอย่างอภัยราชกุมารผู้มีปัญญาแค่ “หางอึ่ง” จะเอาชนะได้ พอไปถามพระองค์จริงๆ เข้า พระองค์มิได้ตอบทันทีทันควันอย่างที่คนถามคิดเลย

พระองค์ตรัสว่าปัญหาเช่นนี้ตอบแง่เดียวมิได้ ต้องแยกประเด็นตอบ คำที่ไม่เป็นที่พอใจคนอื่น บางครั้งพระองค์ก็ตรัส ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกาลเวลา แล้วทรงอธิบายให้ฟังโดยละเอียด อภัยราชกุมารเลื่อมใสมาก จึงประกาศตนนับถือพระพุทธองค์เป็นสรณะ

เรียกว่าเปลี่ยนศาสนากันเลยทีเดียว

จากนั้นมาวันหนึ่ง อภัยราชกุมารเดินทางขึ้นเขาคิชฌกูฏไปเฝ้าพระพุทธองค์ทรงสดับพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเหตุแห่งความไม่รู้ไม่เห็น (นิวรณ์) และเหตุแห่งความรู้ ความเห็น (โพชฌงค์ ๗) ถึงอุทานว่า ขึ้นเขามาเหนื่อยๆ พอได้ฟังพระธรรมเทศนาอันจับใจเช่นนี้ถึงกับหายเหนื่อยสนิททีเดียว ว่ากันว่า อภัยราชกุมารบรรลุธรรม (โสดาปัตติผล) เพราะพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้

หลักฐานอีกแห่งหนึ่งคือ อรรถกถาธรรมบทภาค ๖ เล่าว่า อภัยราชกุมารบรรลุโสดาปัตติผลหลังจากเกิดเหตุการณ์หญิงนักฟ้อนสิ้นชีวิต คือเมื่อได้รับพระราชทานหญิงนักฟ้อนจากพระราชบิดา แล้วก็ทรงสำราญอยู่กับนางฟ้อนรำของนางตลอด ๗ วัน มิได้เสด็จออกมานอกพระราชมนเทียรเลย

พอถึงวันที่ ๘ เสด็จออกไปสรงสนานแล้ว แล้วเสด็จออกไปยังพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรการฟ้อนรำอยู่ ทันใดนั้นนางนักฟ้อนซึ่งตรากตรำงานมาตลอดสัปดาห์ก็ล้มลงสิ้นชีวิตยังความเศร้าโศกให้เกิดแก่เจ้าชายอภัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมสั้นๆ เตือนสติว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการตาดุจราชรถที่พวกคนเขาหมกมุ่นอยู่ แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่ ก็คงจะตรัสชี้แจงอีกมากแต่พระคัมภีร์ว่า พระพุทธองค์ตรัสสั้นๆ แค่นี้

หลังจากฟังพุทธโอวาท อภัยราชกุมารก็บรรลุโสดาปัตติผล ว่าอย่างนั้น จะบรรลุธรรมเพราะเหตุการณ์ครั้งไหนก็ช่างเถิด เอาเป็นว่าในที่สุดเจ้าชายก็ได้เป็นพระโสดาบันก็แล้วกัน

ไม่มีหลักฐานว่าอภัยราชกุมารอภิเษกสมรสกับใคร แต่ปรากฏว่าพระองค์มีพระโอรสพระองค์หนึ่งที่ทรงรักมาก ครั้งหนึ่งทรงอุ้มพระโอรสมาเฝ้าพระพุทธจ้า เมื่อคราวอาราธนาพระพุทธองค์ไปเสวยภัตตาหารในวัง อภัยราชกุมารทูลถามปัญหาบางข้อ พระพุทธองค์ทรงยกเอาโอรสน้อยขึ้นมาเป็นอุปมาประกอบคำอธิบาย (ตรงนี้อยากให้สังเกตเทคนิควิธีการสอนธรรมของพระพุทธองค์ พระองค์ทรงใช้ “สื่อ” ในการสอนธรรมได้อย่างดี พ่ออุ้มลูกมาหา เอาลูกเขานั่นแหละเป็น “สื่อสอนธรรม” ให้เข้าใจยิ่งขึ้น ไม่จำต้องเสียเวลาหาสื่ออื่นไกลตัว)

แต่โอรสที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ก็คือ ชีวกโกมารภัจจ์ ท่านผู้นี้เป็นโอรสบุญธรรมของเจ้าชายอภัยราชกุมาร น่าประหลาดว่า มีชะตากรรมเดียวกันกับพระบิดา คือ เป็นลูกนางโสเภณีด้วยกัน โดยที่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นบุตรนางสาลวดี นางนครโสเภณี แห่งเมืองราชคฤห์ ถูกให้นำมาทิ้งไว้หน้าวังหลังคลอด เจ้าชายอภัยเสด็จมาพบเข้า จึงเก็บไปเลี้ยง และขนานนามว่า ชีวก (เพราะขณะพบนั้นตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ได้รับคำตอบว่า “ยังมีชีวิตอยู่” คำว่ามีชีวิตอยู่คือ “ชีวก” ส่วนคำว่า “โกมารภัจจ์” นั้นหมายถึงได้รับการเลี้ยงดูดุจพระโอรสของพระองค์จริงๆ)

ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์โดยละเอียด ได้เขียนไว้ต่างหากแล้ว ไม่จำต้องเขียนซ้ำอีก ผู้สนใจโปรดหาอ่านเอาเองเทอญ

อภัยราชกุมารหลังจากเป็นพุทธศาสนิกแล้ว เอาใจใส่ทำบุญกุศลตามแบบอย่างชาวพุทธและเป็นชาวพุทธที่ดี คือ สนใจศึกษาธรรม ทูลถามปัญหาธรรมกับพระพุทธองค์เนืองๆ

ความดีอย่างหนึ่งของอภัยราชกุมาร ก็คือทรงให้ความอุปถัมภ์เลี้ยงดูเด็กน้อยที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด นามว่า ชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อชีวกสำเร็จการศึกษากลับมา ก็ให้กำลังใจและสนับสนุนให้ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระเจ้าพิมพิสาร  จนในที่สุดมีบุญวาสนาได้เป็นแพทย์ประจำพระพุทธองค์

ทั้งหมดนี้อภัยราชกุมาร ผู้พระบิดาย่อมมีส่วนอยู่มิใช่น้อยเลย...


   
ข้อมูล : บทความพิเศษ อภัยราชกุมาร : พระบิดาแห่งนายแพทย์ประจำพระพุทธองค์ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


.

๕๓. บุรุษนิรนาม
ผู้ใคร่ในการฟังธรรม

ผู้รจนาคัมภีร์ศาสนา เวลาท่านยกตัวอย่างบุคคลไม่ว่าในด้านดีหรือด้านเสีย ท่านก็จะบอกชื่อโคตร บ้านเมืองที่เขาเกิด และพฤติกรรมที่เขาทำเบ็ดเสร็จหมด เพื่อให้เป็นหลักเป็นฐานน่าเชื่อถือ

แต่ก็มีบางครั้งท่านไม่เอ่ยชื่อให้ปรากฏ อาจเป็นเพราะไม่ทราบ หรือบุคคลนั้นไม่มีตัวตนจริง

เป็นบุคคล “สมมติ” ยกมาเป็นตัวอย่างเฉยๆ ก็อาจเป็นได้

ในกรณีหลังนี้ การกระทำของตัวละครนั้นสำคัญกว่า จะเป็นใครมาจากไหนไม่ใช่ประเด็น ประเด็นก็คือ คนคนนั้นมีการกระทำที่ควรเอาอย่างหรือไม่ควรเอาอย่าง อย่างไรบ้าง

ในเรื่องที่จะพูดถึงนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านพูดแต่เพียงว่าเป็นเรื่องของ “อัญญตรอุบาสก”  แปลว่า อุบาสกคนหนึ่’

บุรุษนิรนาม” คนนี้เป็นคนจน มีโคหลายตัว (มีโคหลายตัว ไม่น่าจะเป็นคนจนเพราะถ้าจนจริงๆ ต้องไม่มีโคแม้แต่ตัวเดียว) ได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองอาฬวี และชาวเมืองอาฬวีอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เสวยภัตตาหารและแสดงธรรมด้วย

บุรุษนิรนามอยากไปฟังธรรม แต่ติด้วยโคของตนหายไปตัวหนึ่ง จำเป็นต้องตามหาหาโคให้เจอเสียก่อน เพราะสมบัติของเขาก็มีเพียงแค่นี้เอง เขาจึงติดตามหาโคที่หายไปหลายแห่ง ในที่สุดก็พบและรีบต้อนเข้าคอกแต่ยังหัววัน

เขาคิดว่าป่านนี้พระพุทธองค์คงทรงแสดงธรรมไปจนเกือบจบแล้ว ไปก็คงไม่ได้ฟัง แต่อย่างไรก็ดีขอได้ทันกราบนมัสการพระองค์ก็ยังดี คิดแล้วเขาจึงรีบเดินทางไปยังบริเวณที่เขาจัดถวายทานและฟังธรรม หิวก็หิว เพราะตั้งแต่เช้าไม่ได้กินอะไรเลย ไปถึงเขาก็ประหลาดใจมาก

พระพุทธองค์หลังเสวยเสร็จแล้ว ขึ้นประทับบนธรรมาสน์ แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์และประชาชนจำนวนมาก ขอฟังอนุโมทนาและธรรมเทศนาอยู่ พระพุทธองค์กลับประทับนิ่งเฉย ไม่ตรัสอะไรแม้แต่คำเดียว

เมื่อพระพุทธองค์ไม่ตรัสอะไร ก็ไม่มีใครกล้าขยับ ได้แต่นั่งสงบอยู่โดยทั่วหน้ากัน

บุรุษนิรนามเห็นพระพุทธองค์ทรงเหลียวมามองทางเขา ขนลุกซู่ด้วยปีติปราโมทย์คิดว่าพระพุทธองค์ยังคงคอยเราอยู่ จึงคลานเข้าไปกราบถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ท้ายบริษัท (ท้ายบริษัท หมายถึงนั่งหลังใครๆ หมดนะครับ ไม่ใช้ท้ายบริษัทไทยเมล่อน อะไรอย่างนั้น)

แทนที่พระองค์จะรีบแสดงพระธรรมเทศนา พระองค์ตรัสถามทายกผู้จัดอาหารถวายพระ ว่า
     “มีอาหารเหลือจากที่พระฉันหรือเปล่า”
     “มี พระเจ้าข้า” เขากราบทูล
     “ไปเอาอาหารมาให้บุรุษผู้นี้รับประทานก่อน”
ทายกได้จัดแจงอาหารมาให้เขารับประทานจนอิ่ม หลังรับประทานอาหารเขารู้สึกอิ่มสบาย ไม่กระวนกระวายเพราะความหิว จิตใจก็สงบพร้อมจะฟังธรรม

พระอรรถกถาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์กล่าวว่า ไม่มีหลักฐานที่ไหนในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าทรงจัดการให้หาอาหารมาให้ใครรับประทาน มีที่นี้แห่งเดียว รับประกันได้ว่าอย่างนั้น

พระพุทธองค์ตรัสอนุปุพพิกถา (ถ้อยแถลงเรื่องตามลำดับจากง่ายไปหายาก) คือ
๑. ทาน การให้ หรือแบ่งปันสิ่งที่เรามีแก่คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการให้เพื่ออนุเคราะห์ เช่น ให้แก่ยาจกวณิพก หรือให้เพื่อบูชาคุณความดี เช่น ให้แก่ผู้มีพระคุณและสมณชีพราหมณ์ผู้ทรงศีล

ทานนี้ทำค่อนข้างง่าย ถ้ารู้จักทำหรือทำเป็น เมื่อมีทรัพย์มีศรัทธาก็ทำทานได้ แต่ถ้าทำไม่เป็น ทานก็ไม่เป็นทาน เช่น ให้ด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ ให้เพื่อหวังผลตอบแทน ให้ด้วยทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตหรือให้แก่ผู้รับที่ไม่มีศีล หรือไม่สมควรให้

๒. ศีล การรักษา กาย วาจา ให้อยู่ในกรอบ ทำยากกว่าทาน เพราะเป็นเรื่องของการควบคุมใจ

ศีลนี้เน้นกายสุจริต (กระทำดีทางกายสาม คือ ไม่ฆ่าและเบียดเบียน ไม่ลักของคนอื่น ไม่ผิดกาม) และวจีสุจริต (กระทำดีทางวาจาสี่ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ)

เน้นการกระทำดีทางกายและวาจาก็จริงอยู่ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ จิตใจต้องแน่วแน่มั่นคง มีความอดทนสูง จึงเท่ากับเน้นการควบคุมใจด้วย รักษาศีลจึงยากกว่าทำทาน

๓. สวรรค์ การไปเกิดในสวรรค์เป็นรางวัล หรือผลตอบแทนของการทำงานและรักษาศีล ถ้าทานไม่บริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่มีโอกาสไปเกิดในสวรรค์ และเมื่อเกิดในสรวงสวรรค์แล้ว ท่านว่าโอกาสบำเพ็ญคุณงามความดีก็มีน้อย เพราะชีวิตได้แต่เพลิดเพลินในกามคุณ เทียบกับชีวิตคนธรรมดาก็ได้

คนเราถ้ามีความพรั่งพร้อมด้วยวัตถุมากๆ มักจะลืมตัว หลงติดอยู่ในความสุขสบายนั้น ไม่ค่อยนึกถึงการทำบุญทำกุศลนัก ทำบุญตักบาตรหรือเข้าวัดฟังธรรมนับวันได้เลย

อีกอย่างหนึ่ง เทวดานั้นมีความยับยั้งชั่งใจน้อย เผลอๆ อาจจุติปัจจุบันทันด่วนดุจข้าราชการถูกปลดกลางอากาศได้ การเกิดในสวรรค์จึงเป็นเรื่องยาก

๔. โทษของกาม นี่ยิ่งยากใหญ่ เพราะคนที่ตกอยู่ในความสนุกเพลิดเพลินทางกามคุณ ย่อมจะหูหนวกตาบอด มองไม่เห็นโทษของกาม ดุจหนอนอยู่ในหลุมคูถ ดำผุดดำว่ายอยู่ในบ่ออาจม ย่อมไม่รู้สึกว่าคูถมันเหม็นและสกปรก ตรงข้ามกลับเห็นว่ามันหอม กินเข้าไปแล้วรสหวานอร่อย ฉันใดก็ฉันนั้นแล

๕. ออกจากกาม เมื่อไม่รู้ไม่เห็นว่ากามมีโทษแล้ว การออกจากกามยิ่งทำได้ยาก ดุจดังหนอนในหลุมคูถข้างต้น

ถ้าหนอนมันพูดได้และรู้ภาษา มีใครสักคนไปบอกมันว่าอาจมนั้นเหม็นและสกปรกเหลือเกิน เจ้าจงออกจากหลุมอาจมเถิด หนอนมันก็จะตอบว่า ไม่เห็นเหม็นเลย หอมหวานและสะอาดออกจะตายไป ที่ท่านพูดอย่างนี้ท่านอยากกินเองใช่ไหม จึงมาพูดจาหลอกข้า ข้าไม่หลงกลท่านดอก อะไรไปโน่น

ดีไม่ดีผู้ชักชวนอาจเสียผู้เสียคนเพราะความปรารถนาดีก็ได้

พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่อง ศีล สวรรค์ โทษของกาม และการออกจากกาม เป็นการ “ปูพื้น” จากนั้นก็ทรงแสดงอริยสัจสี่ประการโดยพิสดาร

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนาเขาได้บรรลุโสดาปัตติผล

หลังจากโปรดบุรุษนิรนามเสร็จแล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จกลับไปยังเมืองสาวัตถี แสดงว่าที่เสด็จมาไกลปานฉะนี้ก็เพื่อโปรดเขาคนเดียวจริงๆ

ขณะเสด็จกลับ พระสาวกตามเสด็จที่เป็นปุถุชนอยู่ พูดซุบซิบในทำนองไม่เข้าใจว่า ทำไมพระพุทธองค์เสด็จมาตั้งไกลเพียงเพื่อโปรดชาวนายากจนคนเดียว พระองค์เอาพระทัยใส่เขามาก ถึงขนาดทรงให้เขาหาอาหารมาให้ชาวนาคนนั้นกินเองเลยทีเดียว แน่ะ พระสงฆ์องค์เจ้าก็ชอบนินทาแฮะ นินทากระทั่งสมเด็จพระบรมครู

พระพุทธเจ้าทรงได้ยิน จึงหยุดเสด็จดำเนิน ทรงหันมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร”
ถ้าเป็นคนทั่วไปก็คงจะ “ปละ เปล่า พระเจ้าข้า” อะไรทำนองนั้น แต่พระเหล่านั้นก็กล้าพอที่จะพูดความจริง พระพุทธองค์จึงตรัสถาม บุรุษคนนั้นเขาต้องการฟังธรรม พระองค์ทรงเห็นว่าเขามีอุปนิสัยที่จะบรรลุธรรม จึงเสด็จมาจากที่ไกลเพื่อสอนเขา  แต่ว่าเขาหิวข้าว คนเราเมื่อยังหิวอยู่ ถึงธรรมะจะดีอย่างไร เขาก็ไม่ยินดีฟังหรือถึงฟังก็ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น พระองค์จึงให้เขาหาข้าวให้เขากินก่อน  

แล้วพระองค์จึงตรัสว่า  “ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ความจริงนี้แล้ว พึงปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

บุรุษนิรนามคนนี้จะเป็นใครก็ช่างเถิด แต่สิ่งที่ควรเอาอย่างก็คือ มีความใฝ่ดี คือ ใฝ่แสวงหาความรู้ความเข้าใจในธรรม ตั้งใจจะฟังธรรม แล้วพยายามมาฟังให้จนได้ ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขามีหน้าที่จะต้องทำ เขาทำหน้าที่ที่ต้องทำให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงมาฟังธรรม มิได้ละทิ้งหน้าที่โดยอ้างว่าจะไปฟังธรรม

เรื่องนี้น่าจะให้ความคิดแก่ “นักปฏิบัติธรรม” ทั้งหลายได้อย่างดี บางคนทิ้งครอบครัวที่ต้องดูแล อ้างว่าต้องไปปฏิบัติธรรม ท่านนี้ประสบความสำเร็จในธรรม กลายเป็นครูอาจารย์เขา ไปสอนใครๆ เรื่องการดำรงชีวิตที่ดีในโลก ผู้ที่เขารู้ภูมิหลังก็จะว่าเอาได้ “อย่าไปเชื่อเขาเลย ตัวเขาเองเมื่อครั้งที่มีครอบครัวก็ยังไม่มีปัญญาทำครอบครัวให้มีความสุขได้ เป็นคนมีชีวิตล้มเหลวมาแล้ว” อะไรทำนองนี้ คำพูดคำสอนของเขาก็จะไม่มีน้ำหนัก

อ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้เกิดอัศจรรย์ใจในเทคนิควิธีสอนของพระพุทธองค์ หลายคนในปัจจุบันนี้พูดว่า จิตใจสำคัญที่สุด คนเราถ้าจิตใจดี มีคุณธรรมแล้ว ทุกอย่างจะดีหมด เพราะคิดกันอย่างนี้ จึงมุ่งแต่เทศน์แต่สอน โดยไม่ดูว่าผู้ฟังเทศน์ฟังสอนนั้นๆ ท้องยังร้องจ๊อกๆ อยู่หรือเปล่า

คนเราเมื่อท้องหิวเสียแล้ว ต่อให้รู้ว่าธรรมะดีปานใดก็ไม่ต้องการฟัง

พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องนี้ดี ทันทีที่บุรุษนิรนามไปถึง พระองค์ก็สั่งให้หาข้าวมาให้กินก่อน ให้เขาหายหิวก่อน จะสอนอะไรก็ค่อยว่ากันภายหลัง...


ข้อมูล : บทความพิเศษ บุรุษนิรนาม : ผู้ใคร่ในการฟังธรรม หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 เมษายน 2557 12:08:50 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 28 มีนาคม 2557 11:26:13 »

.

๕๔. อุบาลีคหบดี
อดีตมือขวาของพระมหาวีระ (๑)

ขอนำอดีตเดียรถีย์อีกท่านหนึ่ง ที่หันมาเป็นสาวกของพระพุทธองค์ เป็นสาวกหนึ่งในจำนวน ๕ ท่านที่ “แตกฉานในปฏิสัมภิทา” ทั้งๆ ที่ยังเป็นเสขะ (ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์) อีกท่านที่เหลือคือ พระอานนท์ จิตตคหบดี ธมมิกอุบาสก นาขุชชุตตรา และ อุบาลีคหบดี เท่านั้น

ตามประวัติ อุบาลีเป็นคนมั่งคั่ง เกิดที่นาลันทา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ นับถือพวกนิครนถ์ อันมีมหาวีระ (หรือนิครนถ์นาฏบุตร) เป็นศาสดา

ในพระศาสดานี้เดิมไม่นุ่งห่มผ้า เรียกว่า “ทิคัมพร” (แปลตามตัวว่านุ่งทิศห่มทิศ หมายถึงนุ่งลมห่มฟ้า หรือชีเปลือยนั้นเอง) ต่อมาได้อนุโลมให้นุ่งขาวห่มขาวได้ จึงแบ่งเป็นสองนิกาย คือ นิกายทิคัมพร (นุ่งลมห่มฟ้า) กับ นิกายเสตัมพร คือ เศวตามพร (นุ่งขาวห่มขาว)

ศาสดามหาวีระ หรือนิครนถ์นาฏบุตร เน้นในความเคร่งครัด เคร่งจนเกินพอดี อันเข้าข่าย “อัตตกิลมถานุโยค” (ทรมานตนเอง)

เขาเชื่อว่า ถ้าทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบากแล้ว กิเลสก็จะเหือดแห้งแต่พระพุทธองค์ตรัสตำหนิว่าเป็น “ทางสุดโต่ง” (extreme) อย่างหนึ่งในสองทางที่ไม่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ดังที่ได้ตรัสสอนปัญจวัคคีย์ ณ วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะที่ป่าอิลิปตนมฤคทายวัน
(ปัจจุบันคือสารนาถ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)

อุบาลีเป็นสาวกระดับนำของนิครนถ์ เป็นผู้แตกฉานในคำสอนของนิครนถ์ เป็นประดุจมือขวาของพระศาสดามหาวีระทีเดียว (ไม่ขวาก็ซ้ายละครับ) เพราะในช่วงนั้นมีคนดังอยู่สองคน คือ สัจจกะนิครนถ์ กับอุบาลีคนนี้แหละ แต่ทั้งสองคนก็กลายมาเป็นพุทธมามะหมด)

อุบาลีถูกส่งตัวมาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า เขามีปฏิภาณยอดเยี่ยม มีวาทะแหลมคม สามารถต้อนคู่ต่อสู้จนมุมมามากต่อมาก คราวนี้เขาก็หยิ่งผยองว่าเขาจะสามารถเอาชนะพระพุทธเจ้าของชาวพุทธได้อย่างไม่ยากเย็น

ก่อนหน้านั้นเล็กน้อย นิครนถ์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งนาม ทีฆตปัสสี (แปลว่า โย่ง ผู้เคร่งตบะ) เตือนอุบาลีว่า อย่าได้ประมาทพระสมณโคดมเป็นอันขาด ท่านผู้นี้มีมนตร์ “อาวัฏนีมายา” คือ มนต์กลับใจคน ใครเข้าใกล้เป็นต้องถูกครอบงำหมดระวังตัวให้ดี

แต่อุบาลีว่าไม่ต้องกลัว เพราะฝึกซ้อมมาดี  เขาเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ที่ปาวาริกอัมพวัน พร้อมพวกพ้องบริวารกลุ่มใหญ่ การโต้วาทะกันก็เกิดขึ้นท่ามกลางมหาสันนิบาต อันมีประชาชนจำนวนมาก

ทั้งสองท่านเถียงเรื่องอะไรกัน บางท่านอาจสงสัยอย่างนี้ แน่นอนครับ เรื่องที่เถียงกันนั้นเป็นวิชาการชั้นสูงที่มีประโยชน์แก่การปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น มิใช่เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง

เรื่องที่เถียงกันคือเรื่องกรรมครับ

นิครนถ์ใช้ศัพท์เทคนิคว่า “ทัณฑ์” มี ๓ นิกาย คือ กายทัณฑ์ (ทัณฑ์ หรือการกระทำทางกาย) วจีทัณฑ์ (ทัณฑ์ทางวาจา) มโนทัณฑ์ (ทัณฑ์ทางใจ) พระพุทธองค์ ทรงใช้คำว่า “กรรม” มี ๓ คือ กายกรรม (การกระทำทางกาย) วจีกรรม (การกระทำทางวาจา) มโนกรรม (การกระทำทางใจ)

อุบาลีกล่าวว่า บรรดาทัณฑ์ทั้ง ๓ นั้น ทัณฑ์ทางกายสำคัญที่สุด ขณะที่พระพุทธองค์ตรัสว่า การกระทำทางใจคือความคิดสำคัญที่สุด หลังจากอภิปรายซักค้านกันพักใหญ่ อุบาลีก็ถูกพระพุทธองค์ค่อยๆ ต้อนเข้ามุมจนอับจนปัญญาจะโต้ตอบ ได้แต่นั่งก้มหน้านิ่ง เสียงกองเชียร์ก็เงียบกริบ

ปัญญาชนอย่างเขามิใช่คนดื้อดึง เมื่อรู้ตัวว่าสติปัญญาสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ ก็ยอมรับ จึงก้มกราบพระพุทธองค์ เปล่งวาจาขอถวายตนเป็นสาวกของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ยกพระหัตถ์ขึ้นปรามว่า

“อุบาลี คนมีชื่อเสียงเช่นท่าน จะตัดสินอะไรลงไป ขอให้ใคร่ครวญก่อนนั้นจะเป็นการดี” พูดง่ายๆ ว่าอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ เพราะคนดังคนเด่นเช่นอุบาลี เป็นถึงสาวกมือขวาของศาสดามหาวีระ ทำอะไรลงไปแล้วย่อมเกิดความกระทบกระเทือนต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาเชนจะกระเทือนหนักที่สาวกคนสำคัญละทิ้งศาสนาดั้งเดิม

และที่สำคัญก็คือ พระพุทธเจ้าจะถูกกล่าวหาว่า “แย่ง” สาวกของพวกเขาไปด้วย

แต่อุบาลีก็ยืนยันเจตนารมณ์เดิม แม้พระพุทธองค์จะเตือนถึงสามครั้งก็ตาม เมื่อทรงเห็นว่าเขาไม่เปลี่ยนใจแน่แล้ว จึงตรัสว่า “อุบาลี” ท่านเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของพวกนิครนถ์มาช้านาน ถึงจะมาเป็นสาวกของเราตถาคตแล้ว ก็ควรถวายทานแก่พวกนิครนถ์เหมือนเดิม ทรงแสดงธรรมให้เขาฟัง ที่สุดพระธรรมเทศนาเขาได้บรรลุโสดาปัตติผล

จากเรื่องนี้จะเห็นถึงความเป็น “ผู้ใจกว้าง” ของพระพุทธองค์ เห็นได้ชัดว่าพระพุทธองค์มิใช่ศาสดาประเภท “กระหายสาวก” ขนาดคนสำคัญอย่างอุบาลีขอเป็นสาวก พระองค์ยังไม่รีบรับ กลับตรัสให้เขาคิดทบทวนให้ดีก่อน

แม้เขาเข้ามาเป็นสาวกของพระองค์ พระองค์ก็ยังทรงห่วงใยพวกเดียรถีย์กลัวว่าจะขาดผู้อุปถัมภ์ พระองค์ทรงมีพระเมตตาตรัสให้อุบาลีถวายอาหารบิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ ซึ่งเคยเป็น “พระ” ของเขา เหมือนที่เคยปฏิบัติ

นับเป็นพระมหากรุณาอันใหญ่หลวง

ทีฆตปัสสี ผู้เคยเตือนอุบาลี ทราบว่าอุบาลีทิ้งศาสนาเชนไปเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงรีบแจ้งแก่มหาวีระศาสดาของตน มหาวีระก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นจริง แม้ทีฆตปัสสีจะยืนยันว่าเป็นจริง เพราะได้ไปเห็นมากับตา มหาวีระจึงไปยังคฤหาสน์ของอุบาลี เพื่อพิสูจน์ความจริง

เมื่อไปถึง รปภ.เฝ้าคฤหาสน์ไม่ยอมให้ท่านเข้า แม้ท่านจะบอกว่า ไปบอกอุบาลี ศาสดาของเขามาหา ให้ออกมาต้อนรับ เขาสั่งคนของตนให้ไปปูอาสนะไว้ที่ศาลาบริเวณบ้านใกล้ซุ้มประตู แล้วให้ไปเชิญนิครนถ์นาฏบุตรเข้าไป

เมื่อศาสดามหาวีระ หรือนิครนถ์นาฏบุตรเข้าไป เห็นคนที่เคยเป็นสาวกของตนนั่งอยู่บนอาสนะแรกที่สูงกว่าอาสนะอื่นๆ พร้อมผายมือเชิญให้ท่านหาอาสนะนั่งเอาเองตามใจชอบ ใครมันจะไม่สะอึกเล่าครับ เมื่อวันก่อนยังกราบอาจารย์ ก้นโด่งอยู่เลย วันนี้ทำท่าเหมือนเป็นบรมครู ไม่สนใจ ไม่ให้เกียรติศาสดาของตน

มหาวีระจึงพูดทั้งน้ำตาว่า ชาวเมืองราชคฤห์นับตั้งแต่พระราชาลงมา ต่างก็รู้ว่าอุบาลีเป็นสาวกของนิครนถ์ บัดนี้เราอยากรู้ว่าท่านเป็นสาวกของใครกันแน่ เราหรือสมณโคดม

อุบาลีจึงห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทิศทางที่พระพุทธเจ้าประทับกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าด้วยพระคุณ ๑๐๐ บท ให้มหาวีระฟัง ยังมิทันจะครบ ๑๐๐ บทเลย มหาวีระทนฟังต่อไปไม่ไหว กระอักโลหิตอุ่นๆ ออกมา ลูกน้องต้องเอาเปลหามออกจากคฤหาสน์ทันใด

ว่ากันว่า หลังจากนั้นมามหาวีระก็ป่วยกระเสาะกระแสะ แล้วก็สิ้นชีวิตในที่สุด

พุทธคุณ ๑๐๐ บทมีอะไรบ้าง เคยเขียนถึงแล้ว แต่เมื่อให้เรื่องมัน “เข้าชุดกัน” ขอนำมาเล่าสู่กันฟังคราวหน้าขอรับ...


อุบาลีคหบดี
อดีตมือขวาของพระมหาวีระ (๒)

ที่พูดค้างไว้เกี่ยวกับพุทธคุณ ๑๐๐ บท ที่อุบาลีสวดคำบรรยายให้กับศาสดามหาวีระหรือนิครนถ์นาฏบุตรยังไม่ทันจบ ก็ร้องว่าพอๆ ไม่อยากฟังแล้ว แล้วก็กระอักโลหิตอุ่นๆ ออกมาลูกก็ต้องหามออกไปจากบ้าน อุบาลีคหบดี อดีตมือขวาก็กลายเป็นชาวพุทธร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ทำให้มหาวีระชีช้ำกะหล่ำปลี

พุทธคุณ ๑๐๐ บทนั้น ชาวพุทธไทยไม่ค่อยคุ้น ผมเขียนมาครั้งหนึ่งแล้ว (คอลัมน์จำไม่ได้ เขียนมากด้วยกัน) ขอนำมาร่วมไว้ในที่นี้ เพราะเป็นพระพุทธคุณที่กล่าวสรรเสริญโดยอุบาลีคหบดี ท่านพุทธทาสได้แปลไว้ในพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ผมจึงขออนุญาตคัดลอกออกมา (เปลี่ยนแปลงบ้างบางคำ) ดังนี้ครับ

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ขอท่านจงฟังซึ่งคำของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้านั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
(๑) เป็นนักปราชญ์ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา (๒) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโมหะ (๓) เป็นผู้มีเสาเขื่อนเครื่องตรึงจิตอันหักแล้ว (๔) เป็นผู้มีชัยชนะอันวิชิตแล้ว (ชนะเด็ดขาด) (๕) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากสิ่งคับแค้นสะเทือนใจ (๖) เป็นผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดี (๗) เป็นผู้มีปกติภาวะแห่งบุคคลผู้เป็นพุทธะ (๘) เป็นผู้มีปัญญาเครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จ (๙) เป็นผู้ข้ามไปได้แล้วซึ่งวัฏสงสารอันขรุขระ (๑๐) เป็นผู้ปราศจากแล้วมลทินทั้งปวง  

(๑๑) เป็นผู้ไม่มีการถามใครว่าอะไรเป็นอะไร (๑๒) เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยความอิ่มในธรรมอยู่เสมอ (๑๓) เป็นผู้มีเหยื่อในโลกอันทรงคายทิ้งแล้ว (๑๔) เป็นผู้มีมุทิตาจิตในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง (๑๕) เป็นผู้มีสมณภาวะอันทรงกระทำสำเร็จแล้ว (๑๖) เป็นผู้ถือกำเนิดแล้วแต่กำเนิดแห่งมนุษย์โดยแท้ (๑๗) เป็นผู้มีสรีระอันมีในครั้งสุดท้าย (๑๘) เป็นผู้เป็นนรชน คือเป็นคนแท้ (๑๙) เป็นผู้อันใครๆ กระทำอุปมามิได้ (๒๐) เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันพึงเปรียบได้ด้วยธุลี

(๒๑) เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากความสงสัยทั้งปวง (๒๒) เป็นผู้นำสัตว์สู่สภาพเดิม (๒๓) เป็นผู้มีปัญญาเครื่องตัดกิเลสดุจหญ้าคาเสียได้ (๒๔) เป็นสารถีอันประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลาย (๒๕) เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่าโดยคุณธรรมทั้งปวง (๒๖) เป็นผู้มีธรรมเป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งปวง (๒๗) เป็นผู้ขจัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง (๒๘) เป็นผู้กระทำซึ่งความสว่างแก่ปวงสัตว์ (๒๙) เป็นผู้ตัดซึ่งมานะเครื่องทำความสำคัญมั่นหมาย (๓๐) เป็นผู้มีวีรธรรมเครื่องกระทำความแกล้วกล้า

(๓๑) เป็นผู้เป็นยอดมนุษย์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย (๓๒) เป็นผู้มีคุณอันใครๆ กำหนดประมาณมิได้ (๓๓) เป็นผู้มีธรรมสภาวะอันลึกซึ้ง ไม่มีใครหยั่งได้ (๓๔) เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี (๓๕) เป็นผู้กระทำความเกษมแก่สรรพสัตว์ (๓๖) เป็นผู้มีเวทคือญาณ เครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ (๓๗) เป็นผู้ประดิษฐานอยู่ในธรรม (๓๘) เป็นผู้มีพระองค์อันทรงจัดสรรดีแล้ว (๓๙) เป็นผู้ล่วงกิเลสอันเป็นเครื่องข้องเสียได้  (๔๐) เป็นผู้หลุดรอดแล้วจากบ่วงทั้งปวง

(๔๑) เป็นผู้เป็นดังพระยาช้างตัวประเสริฐ (๔๒) เป็นนอนสงบสงัดจากการรบกวนแห่งกิเลส (๔๓) เป็นผู้มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว (๔๔) เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากทุกข์ทั้งปวง (๔๕) เป็นผู้มีความคิดเหมาะเจาะเฉพาะเรื่อง (๔๖) เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี (๔๗) เป็นผู้มีมานะเป็นดุจธงอันทรงลดลงได้แล้ว (๔๘) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากราคะ (๔๙) เป็นผู้มีการฝึกตนอันฝึกแล้ว (๕๐) เป็นผู้หมดกิเลสเครื่องเหนี่ยวหน่วงให้เนิ่นช้า

(๕๑) เป็นผู้แสวงหาพบคุณอันใหญ่หลวง (๕๒) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากความคดโกง (๕๓) เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาทั้งสาม (๕๔) เป็นผู้เป็นพรหมแห่งปวงสัตว์ (๕๕) เป็นผู้เสร็จจากการอ่านการล้างแล้ว (๕๖)เป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์ในการกระทำทั้งปวง (๕๗) เป็นผู้มีกมลสันดานอันระงับแล้ว (๕๙) เป็นผู้ทำลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งห้า (๖๐) เป็นผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ทั้งปวง

(๖๑) เป็นผู้ไปพ้นแล้วจากข้าศึก คือ กิเลส (๖๒) เป็นผู้มีตนอันอบรมถึงที่สุดแล้ว (๖๓) เป็นผู้มีธรรมที่ควรบรรลุอันบรรลุแล้ว (๖๔) เป็นผู้กระทำซึ่งอรรถะทั้งหลายให้แจ่มแจ้ง (๖๕) เป็นผู้มีสติสมบูรณ์อยู่เองในทุกกรณี (๖๖) เป็นผู้มีความรู้แจ้งเห็นแจ้งเป็นปกติ (๖๗) เป็นผู้มีจิตใจไม่แฟบลงด้วยอำนาจแห่งกิเลส (๖๘) เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้นด้วยอำนาจแห่งกิเลส (๖๙) เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจแห่งกิเลส (๗๐) เป็นผู้บรรลุถึงซึ่งความมีอำนาจเหนือกิเลส

(๗๑) เป็นผู้ไปแล้วโดยชอบ (๗๒) เป็นผู้มีการเพ่งพินิจทั้งในสมาธิและปัญญา (๗๓) เป็นผู้มีสันดานอันกิเลสตามถึงไม่ได้แล้ว (๗๔) เป็นผู้หมดจดแล้วจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง (๗๕) เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยไม่ได้แล้ว (๗๖) เป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัวในสิ่งที่น่าหวาดกลัว (๗๗) เป็นผู้สงัดแล้วจากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง (๗๘) เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งธรรมอันเลิศ (๗๙) เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะกันดาร (๘๐) เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะนั้น

(๘๑) เป็นผู้มีสันดานสงบรำงับแล้ว (๘๒) เป็นผู้มีปัญญาอันหนาแน่น (๘๓) เป็นผู้มีปัญญาอันใหญ่หลวง (๘๔) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโลภะ (๘๕) เป็นผู้มีการไปการมาอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (๘๖) เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี (๘๗) เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเปรียบ (๘๘) เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเสมอ (๘๙) เป็นบุคคลผู้มีญาณอันแกล้วกล้า (๙๐) เป็นผู้มีปัญญาละเอียดอ่อน

(๙๑) เป็นผู้เจาะทะลุข่ายคือตัณหา เครื่องดักสัตว์ (๙๒) เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นปรกติ (๙๓) เป็นผู้มีกิเลสดุจควันไฟไปปราศแล้ว (๙๔) เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาได้อีกต่อไป (๙๕) เป็นผู้เป็นอาหุไนยบุคคล ควรแก่ของบูชา (๙๖) เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องบูชา (๙๗) เป็นบุคคลผู้สูงสุดแห่งบุคคลทั้งหลาย (๙๘) เป็นผู้มีคุณอันไม่มีใครวัดได้ (๙๙) เป็นผู้เป็นมหาบุรุษ (๑๐๐) เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเลิศด้วยเกียรติคุณ

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นดังนี้แล

ขอความสุข สมหวัง ความเจริญงอกงามในธรรม จงมีแด่สาธุชนทุกท่านตลอดปีและตลอดไป...


ข้อมูล : บทความพิเศษ อุบาลีคหบดี  : อดีตมือขวาของพระมหาวีระ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

.

๕๕. สุปปพุทธะ  
อริยะขี้เรื้อน

คำว่า “ขี้เรื้อน” มักเป็นคำด่าที่รุนแรง เพราะคนได้ยินมักจะนึกถึงโรคเรื้อน หรือหมาขี้เรื้อน บุคคลที่กล่าวถึงนี้เป็นโรคเรื้อนจริงๆ โรคที่คนรังเกียจนั้นเอง

แต่คนที่เป็นโรคสังคมรังเกียจคนนี้ ในท้ายที่สุดแห่งชีวิต มิใช่คนธรรมดา เขาได้กลายเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบันก่อนสิ้นชีวิต

ที่พระท่านว่าคนเราเป็นไปตามกรรม (ที่ทำไว้) นั้นเป็นความจริง เรื่องราวของสุปปพุทธะท่านนี้ พระอรรถกถาจารย์ขานไขให้เราทราบว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะกรรมที่เขาก่อไว้ทั้งสิ้น

แล้วจะเล่าให้ฟังตอนท้าย

วันหนึ่งสุปปพุทธะไปฟังธรรมที่พระวิหารโดยแอบไปนั่งอยู่ท้ายบริษัท เพราะกลัวคนอื่นเขาเห็น เขาจะตะเพิดไล่ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ต้องการจะกราบทูลให้พระพุทธองค์ทราบว่าเขาได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว (ความจริงเขาหารู้ไม่ว่าพระพุทธองค์ทรงทราบแล้ว) นั่งหลบรอให้คนอื่นเขากลับไปหมด ก่อนจะได้เข้าไปถวายบังคมได้สะดวก

ขณะนั้นท้าวสักกเทวราชเข้ามากล่าวกับเขาว่า “สุปปพุทธะ ท่านเป็นคนทุกข์ยาก เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านหาประมาณมิได้ ขอเพียงท่านบอกคืนพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์”

สุปปพุทธะถามขึ้นว่า ท่านเป็นใคร เมื่อทราบว่าเป็นท้าวสักกเทวราช จึงตอบว่า
“เจ้าคนอันธพาล ไร้ยางอาย ถึงข้าจะเป็นคนยากจนเพราะไร้ทรัพย์ แต่ข้าก็ร่ำรวยนะ”
“รวยอะไร” ผู้มาเยือนถาม
“รวยทรัพย์ภายใน (อริยทรัพย์) นั่นไง เจ้าคนอันธพาล ใครเป็นอย่างข้าไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าไร้ทรัพย์ เพราะทรัพย์ของเรามีค่ามากกว่าทรัพย์ภายนอกใดๆ แล้วเขาก็กล่าวคาถา (โศลก) บทหนึ่งดังนี้
“ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ (การสดับตรับฟังมาก) ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา

ทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้มีแก่ผู้ใดไม่ว่าชายหรือหญิง ผู้นั้นเรียกว่าคนไม่ยากจน และชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า”

ท้าวสักกเทวราชได้ฟังดังนั้นก็หายวับไปกับตา มาเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลคำโต้ตอบกัน ระหว่างสุปปพุทธะกับตนให้พระพุทธองค์ทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า สักกะบุคคลเช่นท่าน ต่อให้ร้อยคนหรือพันคนก็ไม่สามารถให้สุปปพุทธะกล่าวปฏิเสธคุณพระรัตนตรัยได้

ขอแทรกตรงนี้นิดหนึ่ง อ่านวรรคดีพระพุทธศาสนา มักจะมีบทบาทของพระอินทร์แทรกเป็นยาดำเรื่อย แม้กระทั่งพุทธประวัติตอนอดพระกระยาหาร ทำทุกรกิริยาอยู่ พระอินทร์ก็มา “เตือนสติ” โดยหยิบพิณ (วีณา) สามสายขึ้นมาเทียบเสียงให้ฟัง จนพระพุทธองค์ได้คิดว่า ทุกอย่างต้องพอดี จึงจะสำเร็จประโยชน์

จะแปลความตามนั้นก็ไม่ว่ากระไร

แต่ถ้ามองอีกแนวหนึ่ง การที่ทรงคิดได้อย่างนั้น เป็นหัวเลี้ยวสำคัญมากดุจดังเทพมาบอกทีเดียว พูดง่ายๆ ว่าทรงคิดขึ้นเอง แต่เมื่อเป็นการคิดที่ดีมาก จึงเรียกความคิดนั้นว่าดุจเทพมาบอก ดังเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้คิดเมื่อพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา ว่า คนเราย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย เป็นธรรมดา ชีวิตนี้เต็มไปด้วยทุกข์ จริงๆ ที่ต้องเวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จบ

ต่อมาเห็นสมณะแล้วได้คิดต่อไปว่า การครองเพศบรรพชิตอย่างท่านผู้นี้อาจเป็นทางพ้นทุกข์ได้ ความคิดที่ผุดขึ้นนี้เป็นความคิดที่ดี ที่อำนวยประโยชน์ ท่านเรียกว่า “ได้ข่าวดีจากเทพ” หรือเทวทูต

พระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราช ที่มาปรากฏต่อหน้าสุปปพุทธะ ผู้มั่นคงต่อพระรัตนตรัย ต้องการลองใจ จึงเอาทรัพย์หาประมาณมิได้มาล่อให้เลิกนับถือพระรัตนตรัย บังเอิญว่าสุปปพุทธะเธอไม่เล่นด้วย แปลความอย่างนี้ก็ไม่น่าเสียหายประการใด

เมื่อปลอดคนแล้วเขาก็เข้าไปถวายบังคมพระพุทธองค์ กราบทูลให้ทราบว่าเขาได้บรรลุธรรมแล้ว พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาในผลสำเร็จของเขา

เขากราบทูลลากลับยังที่พำนัก ในระหว่างทางถูกแม่โคขวิดตายครับ ตายอย่างอนาถ

แต่ชีวิตเขาไม่อนาถ คือ ไม่ไร้ที่พึ่ง เพราะมีอริยมรรคอริยผลเป็นที่พึ่ง

ตำราแทรกความตรงนี้ไว้ว่า แม่โคตัวนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่โคแท้ เป็นนางยักษิณีที่มีเวรกันมาก่อนกับบุคคล ๔ คน คือ ปุกกุสาติกุลบุตร พาหิยะ ทารุจีริยะ ตัมพทาฐิกะ (เพชฌฆาตเคราแดง) และสุปปพุทธะกุฏฐิ ตามมาแก้แค้น

ว่ากันว่าในอดีตชาติยาวนานโพ้น บุคคลทั้ง ๔ ดังกล่าวมา เป็นบุตรเศรษฐีเพื่อนรักกัน ได้ร่วมอภิรมย์กับโสเภณีนางหนึ่ง หลังจากอภิรมย์สมใจแล้ว จ่ายค่าชั่วโมงเสร็จแล้ว ก็แย่งทรัพย์ที่ให้แก่นางคืน ไม่แย่งเปล่า ฆ่าหมกป่าด้วย

นางโสเภณีนั้น ก่อนที่จะขาดใจตาย ได้ผูกอาฆาตจองเวรกับเด็กหนุ่มสี่สหายนั้น หากตายจากชาตินั้นแล้ว จะตามฆ่าคนทั้ง ๔ นี้ไปอีกหลายร้อยชาติ กว่าจะสิ้นเวรสิ้นกรรมกัน

นัยว่าสุปปพุทธะนี้ก็ถูกคู่เวรในร่างโคขวิดตายมาแล้วหลายร้อยชาติ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่จะสิ้นเวร

ส่วนที่เขากลายเป็นโรคเรื้อนนั้น เพราะกรรมเก่าของเขาเช่นกัน เขาเคยด่าพระปัจเจกพุทธะองค์หนึ่งว่า “ขี้เรื้อน” ด้วยคำพูดนั้นคำเดียว แต่บังเอิญพูดกับพระปัจเจกพุทธะ เขาจึงเกิดเป็นขี้เรื้อน หลังจากเสวยผลกรรมในนรกหลายร้อยชาติ

สุปปพุทธะก็ได้ทำกรรมดีในอดีตเหมือนกัน จึงบันดาลให้เขาพบพระพุทธเจ้าขึ้นมา เป็น topic พระพุทธองค์ตรัสอธิบายถึงกรรมเก่าของเขาให้สงฆ์ฟัง แล้วตรัสโศลกธรรมบทหนึ่งว่า

คนพาลปัญญาทรามทั้งหลายย่อมประพฤติเป็นศัตรูกับตนเอง ด้วยการทำบาปหยาบช้า ซึ่งจะนำวิบากอันเผ็ดร้อนภายหลัง

พระธรรมเทศนาสั้นๆ เป็นการเตือนว่า คนเราเมื่อโง่เขลา (ไม่ว่าใครทั้งนั้น) ย่อมประพฤติเหมือนไม่รักตน คือ ก่อศัตรูแก่ตนด้วยการทำแต่ความไม่ดีใส่ตัว แล้วในที่สุดก็เดือดร้อนเพราะผลแห่งความชั่วที่ตัวทำเองนั้นแล

พูดเป็นนัยๆ ว่า ถ้าไม่อยากให้ตัวเองเดือดร้อนภายหลังก็อย่าทำบาปนั้นเองขอรับ

ชีวิตของนายสุปปพุทธะขี้เรื้อน มองในแง่เป็นบทเรียนก็คือ อย่าริทำชั่ว หรือสร้างเวรแก่คนอื่น ดุจดังที่เขาทำมา เมื่อเกิดมาเป็นขี้เรื้อนก็ถือว่าเพราะวิบากแห่งกรรมเก่า เขาก็ไม่ย่อท้อต่อชีวิต พยายามทำความดี จนในที่สุดได้เป็นพระอริยบุคคล นับว่าเกิดมาทั้งทีไม่เสียชาติเกิดแล้ว แม้ภายนอกจะเป็นคนน่าสงสารและสมเพช แต่ภายในเขาเปี่ยมไปด้วยคุณความดี...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ สุปปพุทธะ : อริยะขี้เรื้อน หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก



 
๕๖. พราหมณ์ใจบุญคนยาก
ผู้ได้อานิสงส์ทันตาด้วยผ้าผืนเดียว

พระท่านว่า คนดีใจบุญสุนทาน ทำดีง่าย แต่คนที่ห่างวัดห่างวา นานๆ ใจจะนึกถึงบุญกุศลสักที โอกาสจะทำนั้นยาก มักอ้างความไม่พร้อม ผลที่สุดก็ไม่ได้ทำดีกับเขาสักที แต่ถ้าเรื่องไม่ดี เหลวไหลไร้สาระละก็เมื่อใดเมื่อนั้น มัน “คล่อง” เสียจริงๆ

การทำบุญทำทานต้องใช้ความกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนเราเมื่อมีวัตถุสิ่งของแล้วย่อมยึดติดหวงแหนเป็นธรรมดา จะสละให้ใครสักครั้งก็ตัดสินใจยาก

นึกถึงลูกชายผมตอนเด็กๆ ชอบสะสมหนังสือการ์ตูนไว้มากมาย กองเป็นตั้งๆ เต็มห้อง อ่านแล้วอ่านอีก เราถามว่า จะบริจาคให้เด็กอื่นๆ ตามชนบทอ่านบ้างได้ไหม เธอบอกว่า “ได้ครับ” แล้วก็นั่งเลือกหยิบออกเป็นชั่วโมง ไม่ได้สักเล่ม ถามว่า “ทำไมเลือกนานนัก” เธอบอกว่า “เสียดาย อยากเอาไว้อ่านอีก”

ตกลงเลยไม่ได้บริจาคสักเล่ม นี่แค่หนังสือนะ ถ้าเป็นของอื่นราคาแพงๆ คงจะยากกว่านี้ การเสียสละของให้ทานแก่ผู้อื่น ท่านจึงเรียกว่า “บริจาค” คือ “ตัดใจให้” ถ้าไม่ตัดใจไม่มีทางให้ได้

วันนี้จะขอเล่าเรื่องทุคตะ (คนยากเข็ญ) คนหนึ่ง ที่ใช้ความกล้าหาญเป็นอย่างมากในการ “ตัดใจ” ในที่สุดก็ทำสำเร็จ

เขาผู้นี้ชื่อเรียงเสียงใดไม่ปรากฏ แต่ชาวบ้านเรียกว่า “นายผ้าผืนเดียว” เนื่องจากทั้งสองคนผัวเมียมีผ้าห่มอยู่ผืนเดียว (ผ้านุ่งคนละผืน) ผลัดกันห่ม เวลาออกจากบ้านไปไหน ต้องออกไปทีละคน ไปพร้อมกันไม่ได้ เพราะมีผ้าคลุมกายอยู่ผืนเดียว

ถ้าใครเคยไปเมืองแขกก็จะเห็นว่าชาวภารตะเขาใช้ผ้าแพรผืนใหญ่ห่มไม่ต้องใช้เสื้อก็ได้ เอาผ้าผืนนั้นแหละคลุมส่วนบน

แต่ถึงจะยากจนปานนั้น ทั้งสองสามีภรรยาก็เป็นคนใจบุญ ชอบในศีลในธรรม วันหนึ่งมีเทศกาลฟังธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน เขาประกาศโฆษณาไปทั่ว พราหมณ์จึงปรึกษากับภรรยาว่า เขาประกาศเทศกาลสำหรับฟังธรรมแล้ว เราทั้งสองมีผ้าห่มเพียงผืนเดียว จะไปฟังธรรมพร้อมกันไม่ได้ต้องแบ่งกันไป ใครจะไปเวลาไหน
     “พี่ไปกลางคืนเถอะ ฉันจะไปกลางวัน” ภรรยาออกความเห็น
     “ดีเหมือนกัน กลางคืนไม่ปลอดภัย เป็นอันว่าสายวันนี้เธอไปก่อนแล้วกัน” สามีเห็นด้วย
เมื่อภรรยาไปฟังธรรมตลอดทั้งวัน กลับมาแล้ว พราหมณ์จึงอาบน้ำอาบท่ากินข้าวเสร็จก็ออกจากเรือนไปวัด เพื่อสดับพระธรรมเทศนาที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดง

เขานั่งอยู่ท้ายบริษัท ตั้งใจกำหนดตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็เข้าใจไปตามลำดับ เกิดปีติทั้ง ๕ สลับกันไปไม่ขาดสาย คิดใคร่จะบูชาพระธรรมเทศนาด้วยการถวายผ้าสาฎก (ผ้าห่ม) เป็นทาน ตั้งแต่ปฐมยามทีเดียว

ถึงตอนนี้ขอแวะข้างทางก่อน คำว่าปีติแปลว่าความอิ่มเอิบใจ ปีติมี ๕ ชนิด คือ
     ๑. ขุททกาปีติ  ปีติเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขนชัน น้ำตาไหล
     ๒. ขณิกาปีติ  ปีติชั่วครู่ รู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ แล้วก็หายไป
     ๓. โอกกันติกาปีติ  ปีติเป็นระลอก รู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
     ๔. อุพเพงคาปีติ  ปีติโลดลอย ตัวเบา หัวใจฟู คล้ายกับจะลอยขึ้นสู่อากาศ
     ๕. ผรณาปีติ  ปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ทั้งหมดนี้มักเกิดขึ้นจากการที่จิตเป็นสมาธิ

พราหมณ์ฟังธรรม มีความเข้าใจในธรรม จิตเป็นสมาธิแน่วดิ่ง จึงเกิดปีติซาบซ่าน เกิดศรัทธาใคร่จะถวายผ้าสาฎกเป็นทาน แต่ทันทีที่คิดจะถวายทานก็เกิดความตระหนี่ขึ้นในใจ เพราะนึกถึงความจำเป็น

จำเป็นที่ต้องใช้ผ้าผืนนั้นอยู่ และไม่ได้ใช้คนเดียว หากต้องใช้ร่วมกันสองคน ตัวเองก็ต้องใช้ ภรรยาก็ต้องใช้ พราหมณ์คิดหนักว่า “ถ้าเราถวายผ้าผืนนี้เสีย เราก็จะไม่มีผ้าห่ม ภรรยาก็จะไม่มีเช่นกัน อย่ากระนั้นเลย ไม่ถวายดีกว่า”

เขานั่งสงบฟังธรรมต่อไป เกิดจิตประกอบด้วยศรัทธาขึ้นมาอีก อยากถวายผ้าเป็นทาน ชั่วครู่จิตตระหนี่ก็เกิดขึ้นมาอีก เป็นเช่นนี้แล้วเป็นเช่นนี้เล่า พระคัมภีร์พูดให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า “เมื่อจิตศรัทธาดวงหนึ่งผุดขึ้นในใจ พราหมณ์ว่าจะถวายผ้า จิตตระหนี่ตั้งพันดวงก็เกิดขึ้นครอบงำศรัทธาจิตนั้นเสีย

หนึ่งต่อพันมันจะสู้ไหวหรือ ไหวไม่ไหวพราหมณ์แกก็สู้เต็มที่ ว่ากันว่าแกคิดแล้วคิดอีกตั้งแต่ปฐมยามจนถึงมัชฌิมยาม ก็คิดไม่ตกว่าจะถวายผ้าดีหรือไม่ดี จนในที่สุดล่วงเข้าปัจฉิมยาม แกก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่า “ต้องถวายแน่นอน” เท่านั้น ความตระหนี่ได้ปลาสนาการจากจิตใจแกทันที จิตเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา มีความอิ่มเอิบใจอย่างบอกไม่ถูก จนเผลอร้องอุทานดังๆ ว่า
     “เราชนะแล้วๆ”

พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับฟังพระธรรมเทศนาในคืนนั้นด้วย ท่ามกลางบริษัทจำนวนมาก ทรงสดับเสียงร้องของพราหมณ์ว่า “เราชนะแล้ว” ทรงสงสัยว่าใครชนะอะไร

ถามไถ่ไปทั่ว จนได้คำตอบว่า พราหมณ์คนนั้นเอาชนะความตระหนี่ได้ตัดใจบริจาคผ้าผืนเดียวที่มีบูชาธรรม จึงทรงเลื่อมใสในการกระทำของเขา รับสั่งให้คนนำผ้ามาพระราชทานผ้าผืนใหม่ให้แก่เขา ๒ ผืน

พราหมณ์ได้นำผ้าคู่นั้นไปถวายพระพุทธเจ้า

พระราชาพระราชทานผ้าอีก ๔ คู่ ๘ คู่ ๑๖ คู่ ในโอกาสต่อมาแก่เขาตามลำดับ เขาก็ถือเอาเพียงคู่เดียว ที่เหลือนำไปถวายพระพุทธองค์หมด

การกระทำของพราหมณ์ทราบถึงพระราชา พระองค์ทรงเลื่อมใสมาก จึงพระราชทานผ้าแพรอย่างดีราคาแพงแก่เขา เขารับพระราชทานผ้ามาแล้ว คิดว่าคนอย่างเขาไม่ควรใช้ผ้าเนื้อดีขนาดนั้น จึงเอาไปขึงเป็นเพดานบนที่บรรทมของพระพุทธเจ้า ที่พระคันธกุฎีผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งขึงเป็นเพดานเรือนของตน ตรงที่ที่พระมาฉันภัตตาหารเป็นนิตย์ (แสดงว่าตอนนี้พราหมณ์แกได้รับพระราชทานทรัพย์จากพระเจ้าแผ่นดิน มีเงินพอที่จะนิมนต์พระมาฉันที่บ้านเป็นนิตย์แล้ว)

วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระคันธกุฎี ทอดพระเนตรเห็นผ้าแพร ทรงจำได้ ทูลถามว่า ใครทำการบูชาด้วยผ้าแพรผืนนี้ ได้รับคำตอบว่า พราหมณ์ผ้าผืนเดียวเป็นคนทำ ก็ยิ่งทรงชื่นชมในความใจบุญของพราหมณ์ จึงพระราชทานสิ่งของอย่างละ ๔ แก่พราหมณ์ คือ ช้าง ๔ ม้า ๔ กหาปณะ ๔ พัน ทาสี ๔ พัน ทาสา ๔ บ้านส่วย ๔ ตำบล เป็นอันว่าตอนนี้พราหมณ์ผ้าผืนเดียวกลายเป็นเศรษฐีย่อยๆ ไปแล้ว

เรื่องราวของคนที่ทำบุญได้อานิสงส์ทันตาอย่างพราหมณ์ผ้าผืนเดียวนี้เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วไป แม้เหล่าสาวกเมื่อไม่มีเรื่องจะสนทนากัน ก็ยกเรื่องพราหมณ์ขึ้นมาเม้าธ์กันจนได้

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนพระเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลายถ้าพราหมณ์นี้ถวายผ้าในปฐมยาม เขาจักได้รับพระราชทานสิ่งของอย่างละ ๑๖ ถ้าเขาถวายในมัชฌิมยาม เขาจักได้อย่างละ ๘ ที่เขาได้อย่างละ ๔ เพราะอานิสงส์แห่งการถวายทานในปัจฌิมยาม จะเห็นว่าความดีนั้นควรรีบๆ ทำ ถ้าขืนชักช้า จิตที่ศรัทธานั้นจะกลายเสีย แล้วจะไม่มีโอกาสทำความดี เสร็จแล้วได้ตรัส “โศลกธรรม” สั้นๆ ว่า “บุคคลควรรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิตจากความชั่ว เมื่อบุคคลชักช้าในการทำความดี จิตจะยินดีในความชั่วเสีย แล้วจะอดทำความดี ว่าอย่างนั้นเถิด”

พราหมณ์ผ้าผืนเดียว แกต่อสู้กับความตระหนี่อยู่เกือบทั้งคืน ในที่สุดก็สามารถเอาชนะตัวเองได้

ไม่มีการชนะอะไรที่ยิ่งใหญ่เท่ากับการชนะใจตนเองครับ จะลงนรกหรือขึ้นสวรรค์ก็อยู่ที่ใจนี้แหละครับ ขอฝากไว้ตรงนี้ด้วย...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ พราหมณ์ใจบุญคนยาก : ผู้ได้อานิสงส์ทันตาด้วยผ้าผืนเดียว หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 เมษายน 2557 14:27:39 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 18 เมษายน 2557 14:41:09 »

.

 
๕๗. ปายาสิราชันย์
นักคิดนักปรัชญาผู้หลงผิด (๑)

เหตุการณ์เกิดหลังพุทธปรินิพพานประมาณกี่ปีก็ไม่บอก คัมภีร์พระพุทธศาสนาก็อย่างนี้แหละครับ มุ่งแสดงแต่สัจธรรม ไม่สนใจ “บริบท” แห่งกาลเวลาและสถานที่ ปล่อยให้ผู้ศึกษาค้นคว้าหาเอาเอง เรื่องราวของปายาสิราชันย์ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ส่วนสุตตันตปิฎกทีฆนิกาย ชื่อว่า ปายาสิราชัญญาสูตร

พระเจ้าปายาสิ ครองเมืองเสตัพยะ เมืองขึ้นของแคว้นโกศล ของมหาราชพระนามว่าปเสนทิโกศล พระเจ้าปายาสิเป็นมัจฉาทิฐิ คือมีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าชาติก่อนชาติหน้าไม่มี บุญบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี

เนื่องจากปายาสิเป็นนักคิด นักปรัชญา กว่าจะตกลงปลงใจยึดมั่นในความคิดเห็นเช่นนี้ก็นาน มิใช่อยู่ๆ ก็สรุปเอาเอง พระองค์ได้ทำการค้นคว้าทดลองตามกรรมวิธีของพระองค์หลายอย่าง แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า บุญบาปไม่มีจริง นรกสวรรค์ไม่มีจริง  พวกสมณพราหมณ์สอนเรื่องเหล่านี้เพื่อตัวพวกเขาเองมากกว่า คือ สอนคนให้ทำบุญทำทาน ก็เพื่อพวกเขาจะได้รับประทานกินอยู่สบาย แล้วก็หลอกให้ผู้โง่เขลานำเอาของไปให้เพื่อหวังสุคติโลกสวรรค์

ปายาสิได้ทดลองอะไรบ้าง เอาไว้ให้ปายาสิท่านได้เล่าเองในภายหลัง ตอนนี้มาพูดถึงเหตุการณ์ทั่วไปก่อน

เมื่อพระองค์มีความเชื่ออย่างนี้ แล้วก็ไปรุกรานพวกสมณชีพราหมณ์ทั้งหลาย ว่าพวกท่านเหล่านั้นกำลังหลอกลวงประชาชนผู้โง่เขลา เมื่อสมณชีพราหมณ์ทั้งหลายได้โต้ตอบว่ามิได้หลออกลวงแต่ประการใด เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นไปได้จริง แต่เนื่องจากท่านเหล่านั้นไม่มีปฏิภาณปัญญาพอจะโต้ตอบหักล้างความคิดเห็นของปายาสิได้ จึงพากันถอยไปเป็นส่วนมาก

ปายาสิราชันย์ก็ยิ่งได้ใจ ประกาศท้าโต้วาทะกับนักปราชญ์คนใดก็ได้ในโลก อย่างว่าแหละครับ เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือปายาสิยังมีพระคุณเจ้ากุมารกัสสปะ

กุมารกัสสปะ เป็นนามของพระเถระอดีตสามเณรน้อย และอดีตโอรสบุญธรรมของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีความเป็นมาย่อๆ ว่า นางภิกษุณีนิรนามรูปหนึ่งตั้งครรภ์ก่อนมาบวช ครั้นบวชแล้วก็คลอดบุตร พระเทวทัตผู้ดูแลภิกษุณีรูปนั้นอยู่ไล่ท่านสึกหาว่าต้องปาราชิก

พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระอุบาลีเถระเป็นประธานสอบสวน ปรากฏว่าภิกษุณีบริสุทธิ์ เมื่อคลอดบุตรออกมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบเรื่อง จึงทรงนำไปเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ขนานนามว่า กุมารกัสสปะ

หนูน้อยกุมารกัสสปะบวชเป็นสามเณรแต่อายุยังน้อย อยู่ในพระพุทธศาสนาเรื่อยมาจนเป็นภิกษุ เป็นผู้คงแก่เรียน มีปฏิสัมภิทาญาณแตกฉานในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ในเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศ) ทางด้านเป็นพระธรรมกถึก แสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร

พระกุมารกัสสปะทราบเรื่องราวของพระเจ้าปายาสิ จึงไปพบเพื่อเตือนให้ละความเห็นผิดนั้น ปายาสิหรือจะยอมง่ายๆ ขอท้าโต้วาทะกับท่าน บอกว่า ถ้าพระเถระสามารถหาเหตุผลมาหักล้างความเห็นของเขา ทำให้เขายอมรับได้จะนับถือเป็นอาจารย์

และแล้วการโต้วาทะกันก็เกิดขึ้น

พระเถระถามว่า “เพราะเหตุใด มหาบพิตรจึงมีความเชื่อว่าบุญบาปไม่มี สวรรค์นรกไม่มี”

ปายาสิตรัสว่า “โยมได้ทดลองอยู่หลายครั้ง จนแน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มี”

กุมารกัสสปะ “ทดลองอย่างไร”

ปายาสิ “โยมเคยบอกให้คนที่ทำชั่วมากที่สุด ที่พวกสมณพราหมณ์สอนว่า ตายแล้วจะตกไปนรกแน่นอน สั่งเขาว่าถ้าตายไปตกนรกจริง ก็ให้กลับมาบอก เขาก็รับปาก แต่จนป่านนี้เขายังไม่มาบอกเลย แสดงว่าเขาไม่ได้ไปตกนรกจริง”

กุมารกัสสปะ “มหาบพิตร สมมติว่านักโทษที่ต้องโทษเด็ดขาด ถูกสั่งประหารชีวิต เขาจะขอว่า ขอให้ปล่อยเขาไปสั่งเสียลูกเมียสักสามสี่วันก่อนเถอะ แล้วเขาจะกลับมาให้ประหาร จะได้ไหม”

ปายาสิ “ไม่ได้สิ พระคุณเจ้า นักโทษเด็ดขาดไม่ได้รับอิสรภาพขนาดนั้น เกรงว่าเขาจะหนีไปเสีย ทางการจึงไม่อนุญาต”

กุมารกัสสปะ “เช่นเดียวกัน นักโทษเด็ดขาด ไม่ได้รับอิสรภาพแม้เพียงชั่วคราว สัตว์ตายไปเกิดในนรกก็ไม่มีอิสรภาพไปไหนมาไหนได้ ถึงแม้เขาจะไม่ลืมสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ เขาก็ไม่สามารถมาบอกได้”

ปายาสิ “เรื่องนี้พอฟังขึ้น แต่โยมก็สั่งให้คนที่มีศีลมีธรรมที่พวกสมณพราหมณ์บอกว่า ตายแล้วต้องไปเกิดบนสวรรค์แน่นอน สั่งให้เขามาบอกบ้าง แต่เขาก็ไม่มาบอก เขาไม่ถูกกักกันอะไรมิใช่หรือ ทำไมจึงไม่มาบอกเล่า”

กุมารกัสสปะ “มีอยู่สองเหตุผล ประการที่หนึ่ง วันเวลาของมนุษย์และเทวดาไม่เท่ากัน วันหนึ่งของบนสวรรค์เท่ากับร้อยปีของมนุษย์ ถึงแม้คนผู้นั้นไม่ลืมสัญญากว่าจะกลับมาบอกมหาบพิตรก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปนานแล้ว

อีกประการหนึ่ง ผู้ที่ไปเกิดเป็นเทวดาแล้วย่อมไม่ปรารถนาจะกลับมายังโลกมนุษย์อีก เพราะมนุษย์โลกน่ารังเกียจ ดุจคนตกหลุมคูถเน่าเหม็น คนช่วยให้ขึ้นมาอาบน้ำชำระกายให้สะอาด ประพรมด้วยน้ำหอมอย่างดี จะให้เขากระโดดลงไปในหลุมคูถอีก เขาย่อมไม่ปรารถนาจะลงไป ฉะนั้นแล”

ปายาสิ “โยมยังไม่เชื่ออยู่ดีที่ว่าคนเราตายไปแล้วไปเกิดใหม่ โยมก็ทดลองแล้ว ไม่เห็นเป็นตามที่พวกสมณพราหมณ์สอนกันเลย”

กุมารกัสสปะ “มหาบพิตรทรงทดลองอย่างไร”

ปายาสิ “โยมสั่งให้เอาโจรลงไปในหม้อใหญ่ๆ ทั้งเป็น ปิดฝาแล้วเอาหนังรัดให้แน่น เอาดินเหนียวฉาบให้มิดชิด ยกขึ้นเตาจุดไฟเผา เมื่อรู้ว่าตายแล้วก็ยกลงกะเทาะดินออก เปิดฝาค่อยๆ เฝ้าดูเพื่อจะดูว่า “ชีวะ” (วิญญาณ) มันออกทางไหนก็ไม่เห็นมีอะไรออกไป จึงสรุปได้ว่าโลกอื่นไม่มีแน่นอน

กุมารกัสสปะ “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เวลามหาบพิตรบรรทมหลับในตอนกลางวัน มีมหาดเล็กนั่งเฝ้าอยู่ พระองค์ทรงพระสุบินนิมิต (ฝัน) ในกลางวัน ว่า พระองค์เสด็จไปเที่ยวป่าบ้าง เที่ยวชมรมณียสถานต่างๆ บ้าง มหาดเล็กที่นั่งเฝ้าอยู่เห็น “ชีวะ” ของพระองค์ออกไปทางไหนไหม”

ปายาสิ “ไม่เห็นพระคุณเจ้า”

กุมารกัสสปะ “นี่ขนาดมหาบพิตรยังทรงมีพระชนม์อยู่ ชีวะออกจากร่างทางไหนมหาดเล็กยังไม่เห็นเลย ไฉนจะเห็น “ชีวะ” ของคนตายแล้วเล่า

ปายาสิ “โยมยังทดลองอีกนะพระคุณเจ้า สั่งให้ชั่งน้ำหนักนักโทษประหาร แล้วก็ประหารโดยเอาเชือกรัดคอ พอเขาตายแล้วก็ชั่งน้ำหนักอีกครั้ง ปรากฏว่าศพน้ำหนักมากกว่าเมื่อเขายังมีชีวิตอีก ไหนว่าตายแล้ว ชีวะ (วิญญาณ) ออกจากร่างไง ทำไมจึงหนักกว่าตอนมีชีวิตเล่า

กุมารกัสสปะ “มหาบพิตร เหล็กที่เผาไฟร้อนย่อมเบากว่าเหล็กเย็นๆ ฉันใดร่างกายของคนเป็นสิ่งที่มีจิตวิญญาณ มีเตโชธาตุ ปฐวีธาตุ วาโยธาตุ อาโปธาตุ ย่อมเบากว่าศพ ฉันนั้น”

แม้ว่าพระเถระจะยกตรรกะหรือเหตุผลมาหักล้างอย่างไร ปายาสิราชันย์ยังไม่ยอมรับ ยังคงเสนอ “ผลงานวิจัย” ของพระองค์อยู่ต่อไป มีโปรเจ็กต์ใดบ้าง ไว้สัปดาห์หน้าค่อยว่ากันต่อไปครับ น่าสนใจทีเดียว...



ปายาสิราชันย์
นักคิดนักปรัชญาผู้หลงผิด (๒)

พระเจ้าปายาสิ รายงานให้พระกุมารกัสสปะทราบว่า พระองค์ทรงทดลองอีกวิธีหนึ่ง เพื่อพิสูจน์ว่าตายแล้วเกิดจริงหรือไม่ โดยสั่งให้ประหารนักโทษประหาร โดยไม่ให้กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก เพื่อจะดูว่า “ชีวะ” (วิญญาณ) ออกจากร่างทางไหน เมื่อโจรตายแล้วก็ให้จับพลิกคว่ำหงายดู ให้นอนตะแคง จับห้อยหัวลง ฯลฯ ก็ไม่เห็นช่องไหนที่ชีวะหรือวิญญาณออกจากร่างไป

นี่แสดงว่า ตายแล้วไม่ไปเกิดใหม่จริง เพราะไม่เห็นมีอะไรออกจากร่างไปเกิดใหม่

พระกุมารกัสสปะอธิบายเปรียบเทียบให้ฟังว่า บุรุษผู้หนึ่งเป่าสังข์เสียงไพเราะ ชาวบ้านนอกได้ยินก็มารุมถามว่าเสียงอะไร เขาบอกว่าเสียงสังข์ ชาวบ้านถามว่าเสียงออกมาจากทางไหน บุรุษนั้นตอบว่าออกมาจากสังข์ ชาวบ้านจึงจับสังข์มาพลิกไปมาเพื่อให้สังข์เปล่งเสียง สังข์ก็ไม่เปล่งเสียงอะไร ฉันใด ชีวะ ถ้ามันออกจากร่างจริง ก็ไม่สามารถเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส ฉันนั้น

หมายเหตุไว้ตรงนี้ว่า ความจริงความคิดที่ว่าร่างกายแตกดับแล้ว วิญญาณออกจากร่างไปเกิดใหม่นั้น เป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา พระเจ้าปายาสิเชื่อตามที่สมณพราหมณ์สมัยนั้นสอนกัน จึงพยายามทดลองว่า คนเราเมื่อตายไปชีวะ หรือวิญญาณมันออกไปทางไหน เมื่อหาไม่พบ จึงมีความเข้าใจว่าไม่มีการตายเกิด

พระกุมารกัสสปะยกอุปมาอุปไมยให้ฟังว่า ถึงแม้ (สมมติว่า) วิญญาณมันออกจากร่างจริง วิญญาณมันไม่มีรูปร่าง มันจะมีร่องรอยแห่งการไปมาได้อย่างไร ดุจเสียงสังข์ที่ออกจากสังข์ก็รู้แต่เพียงว่ามันออกไป แต่มันออกไปทางไหนย่อมบอกไม่ได้

ฉันนั้น การยกเหตุผลมาชี้แจงนี้ เป็นเหตุผลทางตรรกะที่พอฟังแล้วเข้าใจได้ทันที แต่มิได้หมายความว่า พระพุทธศาสนาสอนการตายเกิดแบบนี้อันนี้พึงคำนึงในเรื่องนี้ให้ดีนะครับ

ปายาสิราชันย์ยังไม่ยอม ยังอ้างผลงานวิจัยต่อไปว่า เคยสั่งให้ชำแหละร่างของโจรทีละชิ้นๆ อย่างละเอียด เพื่อดูว่าชีวะมันอยู่ที่ไหนก็ไม่พบ แสดงว่าโลกอื่นไม่มีจริง ที่ว่าตายแล้วชีวะไปเกิดในโลกใหม่ย่อมเป็นไปไม่ได้

พระกุมารกัสสปะกล่าวว่า “อาตมาภาพจะยกเรื่องราวให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง”

มีฤๅษีตนหนึ่งเป็นผู้นับถือการบูชาไฟในป่า มีลูกศิษย์เป็นเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่ง วันหนึ่งฤๅษีจะไปธุระข้างนอกอาศรม สั่งลูกศิษย์ให้ดูแลไฟอย่างดี อย่าให้ดับ ถ้าไฟดับก็ให้ก่อขึ้นมาใหม่

ฤๅษีคล้อยหลังไปไม่นาน เด็กมัวแต่เล่นเพลินไฟก็ดับ เด็กน้อยจึงเอาไม้สีไฟสองอันมาสีกัน สีอย่างไรก็ไม่มีไฟเกิดขึ้น วันก่อนเห็นหลวงพ่อเอาไม้สีกันทำไมไฟมันจึงมี วันนี้ทำไมไม่มี

เขาคิดแล้วจึงเอามีดมาผ่าไม้สีไฟออกเป็นสองซี่ สามซี่ สี่ซี่ จนกระทั่งสับเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก็ไม่มีไฟ จึงเอาโขลกกับครกจนละเอียดเป็นผงโปรยลงดินก็ไม่มีไฟเกิดขึ้น เขาจึงก่อไฟไม่ได้

ฤๅษีกลับมา เมื่อเห็นว่าเขาเป็นเด็กโง่ ไม่รู้จักวิธีหาไฟที่ถูกต้อง จึงนำไม้สีไฟก่อไฟให้ดู ฉันใดก็ดี การที่มหาบพิตรหาชีวะเพื่อพิสูจน์โลกหน้าเท่าที่ทำมานี้ผิดวิธีแสวงหาอย่างไรก็ไม่มีทางทราบข้อเท็จจริง เพราะมันผิดมาแต่ต้นแล้ว

ผิดมาแต่เมื่อใด ก็ผิดมาแต่แรกเริ่มที่คิดว่าคนเราเมื่อตายแล้ว ชีวะหรือวิญญาณมันออกจากร่างไปเกิดใหม่ ผิดมาตั้งแต่เข้าใจว่า ชีวะหรือวิญญาณ เป็นสิ่งกายสิทธิ์ที่อมตะสิงอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายแตกดับก็ออกจากร่างไป หาที่เกิดใหม่ เหมือนเดินออกจากบ้านที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น

ความเชื่ออย่างนี้ผิด เมื่อเชื่อผิด เวลาหาวิธีพิสูจน์มันก็พิสูจน์ผิดวิธี เมื่อพิสูจน์ผิดวิธี คำตอบที่ได้ก็ย่อมผิด ดุจดังปายาสิราชันย์กระทำมานั้นแล

พระกุมารกัสสปะได้ชี้แจงให้พระเจ้าปายาสิทรงเข้าใจว่า ความเห็นที่ถูกต้องคืออะไร ให้ละความเห็นผิดแต่เก่าก่อนเสีย ปายาสิท่านก็เห็นด้วยที่จะสละทิฐิดั้งเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนา แต่ติดที่พระองค์เองเป็นคนดังในสังคม จึงบอกขัดข้องพระองค์ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระราชาแคว้นอื่นก็ทรงทราบว่าโยมมีความเห็นดังกล่าวมา ครั้นจะสละความเห็นนั้นเสีย ก็ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่มีจุดยืน

พระกุมารกัสสปะจึงอุปมาให้ฟัง ๔ ข้อดังนี้
๑. กองเกวียนสองกอง กองละประมาณ ๕๐๐ เล่มเกวียน ออกเดินทางผ่านที่กันดาร พวกที่ไปก่อนได้รับคำบอกเล่าจากคนที่สวนมาว่า ข้างหน้าน้ำและหญ้าบริบูรณ์ จึงทิ้งหญ้าและน้ำหมด ปรากฏว่าโคต้องอดอยากและล้มตายจำนวนมาก ส่วนพวกที่ไปคราวหลังไม่เชื่อคำหลอกของคนที่สวนทางมา จึงบรรลุถึงที่หมายโดยปลอดภัย
๒. ชายเลี้ยงหมูคนหนึ่ง ห่อเอาขี้หมูแห้งนึกว่าเป็นอาหารหมู เทินศีรษะกลับบ้าน พอฝนตกขี้หมูละลายไหลย้อยลงบนร่างกายของคนนั้น แม้คนเขาจะบอกว่าเทินขี้หมูไปทำไม เขาเถียงว่าเป็นอาหารหมูต่างหากไม่ใช่ขี้หมู
๓. นักเลงสกาสองคน คนหนึ่งพอเห็นท่าจะแพ้ ก็อมลูกสกาที่จะทำให้แพ้เสีย คนที่สองเอาอย่างบ้าง แต่บังเอิญอมลูกสกาที่มีพิษแล้วเสียชีวิต
๔. บุรุษสองคนเดินทางไกลด้วยกัน ผ่านไปพบป่าน ก็หอบป่านเดินไป ไปพบผ้าที่ทอจากป่าน พบผ้าฝ้าย เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทอง ตามลำดับ คนแรกก็ทิ้งของมีค่าน้อย ถือเอาทองอันมีค่ามากกว่ากลับบ้าน แต่อีกคนเห็นว่าหอบป่านมาไกลแล้ว ก็ไม่ยอมทิ้ง และไม่ยอมเอาสิ่งอื่น

ทั้งสองกลับไปถึงบ้าน คนแรกได้รับความชื่นชมจากญาติพี่น้อง คนที่สองถูกคนในครอบครัวตำหนิว่า โง่เขลา ไม่รู้จักทิ้งของไร้ค่าถือเอาของมีค่า

พระกุมารกัสสปะยกขึ้นมาเล่าก็กล่าวต่อว่า พระองค์ก็เช่นเดียวกับคนทั้งสี่นั้นแหละ ไม่รู้จักทิ้งความเห็นผิดเป็นโทษ ความเห็นผิดที่จะสร้างความเดือดร้อนแก่พระองค์เองและคนอื่น ยึดถือเอาความเห็นถูกที่มีประโยชน์ ในที่สุดปายาสิราชันย์ก็ยินยอม ประกาศตนเป็นอุบาสกถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต

พระเจ้าปายาสิเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ เมื่อมาศึกษาพระพุทธธรรมอย่างถ่องแท้แล้ว ย่อมเป็นกำลังในการประกาศศาสนาไม่น้อยทีเดียว แม้คัมภีร์จะไม่บอกไว้ว่าหลังจากเป็นพุทธมามกะแล้ว พระเจ้าปายาสิทำอะไรบ้างก็ตาม ...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ ปายาสิราชันย์ : นักคิดนักปรัชญาผู้หลงผิด โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์

.

 
๕๘. กุมภโฆสกะ
เศรษฐีผู้ตกยาก

เหตุการณ์เกิดขึ้นที่กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ของพระมหาราช พระนามว่าพิมพิสาร คราวหนึ่งเกิดอหิวาตกโรคร้ายแรง ชาวบ้านเรียกโรคระบาดชนิดนี้ว่า “โรคห่า” เกิดขึ้นเมื่อใด ประชาชนมีอันต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก

เศรษฐีเมืองราชคฤห์ป่วยด้วยโรคระบาดนี้ ก่อนตายได้บอกให้ลูกชายหนีไปที่อื่น รักษาตัวให้รอดก่อน เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วค่อยกลับมา เศรษฐีได้บอกที่ฝังขุมทรัพย์แก่ลูกชายก่อนสิ้นชีวิต  ภุมภโฆสกะหนีไปอยู่ต่างเมืองเป็นเวลา ๑๒ ปี เมื่อกลับมายังเมืองราชคฤห์อีก ไม่มีใครจำเขาได้

เขาคิดจะไปขุดทรัพย์ที่บิดาบอกก็ไม่กล้าทำ เพราะกลัวคนอื่นจะหาว่าเขาลักทรัพย์คนอื่น จึงได้แค่แอบไปดู รู้ว่าทรัพย์ยังอยู่ก็ใจชื้น รอว่าวันเวลาอันสมควรมาถึงเมื่อใดค่อยขุดทรัพย์ขึ้นมาใช้ก็แล้วกัน

เขาไปรับจ้างคนอื่นยังชีพ เขาได้งานแปลกประหลาดทำ คือ การปลุกคนให้ตื่นขึ้นมาทำงานแต่เช้าตรู่ เรียกว่า เป็นนายยามคอยปลุกคน ว่าอย่างนั้นเถอะ

เมื่อถึงเวลาจวนสว่าง เขาก็จะเดินตะโกนปลุกผู้คนจากบ้านนี้ไปบ้านโน้นด้วยเสียงอันดังว่า “พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย ได้เวลาตื่นขึ้นมาทำงานแล้ว จงลุกขึ้นมาหุงข้าวหุงปลาเถิด ใครใคร่ทำบุญตักบาตรก็จงเตรียมภัตตาหารไว้ใส่บาตร”

เขาได้ปฏิบัติหน้าที่นี้มาด้วยความซื่อสัตย์ รับเงินจากนายจ้างไม่กี่มากน้อย เพียงพอยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น

วันหนึ่ง เขาเดินตะโกนปลุกชาวบ้านไปใกล้พระราชวัง พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับเสียงของเขา จึงตรัสกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดว่า “เอ๊ะ นั่นเสียงคนมีเงินนี่”

ว่ากันว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงเชี่ยวชาญในศาสตร์ชื่อว่า “สัพพรวศาสตร์” (วิชาว่าด้วยเสียงร้องของคนและสัตว์ทุกชนิด) คือ ฟังเสียงคนพูดก็บอกได้ว่าใครเป็นอย่างไร ฟังเสียงสัตว์ต่างๆ ก็เข้าใจว่ามันหมายความว่าอย่างไร

ไม่ทราบว่าทรงศึกษามาจากสำนักไหน แต่เชื่อว่าเรื่องนี้คงมีจริง เพราะได้ทราบว่าพระวิปัสสนาจารย์บางรูปท่านส่งเสียงนกเสียงกาคุยกันเข้าใจ

ในตำนานเรื่องวันสงกรานต์ก็เล่าถึงหนุ่มธรรมบาล หลังจากครุ่นคิดคำตอบของกบิลพรหมไม่เข้าใจ นอนหมดอาลัยตายอยากว่าตนคงถูกตัดหัวแน่นอน ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งได้ยินเสียงนกสองตัวคุยกันเกี่ยวกับปริศนาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาล แล้วตัวหนึ่งก็เฉลยคำตอบให้อีกตัวฟัง ธรรมบาลฟังภาษานกเข้าใจ จึงจำเอาไปตอบ และชนะกบิลพรหมในที่สุด เรื่องนี้ก็แต่งให้ธรรมบาลเป็นผู้เชี่ยวชาญใน “สัพพรวศาสตร์” ดุจเดียวกับพระเจ้าพิมพิสาร

นางสนมได้ยินดังนั้น จึงสั่งให้คนตามไปดูเจ้าของเสียงว่าเป็นคนมีทรัพย์ดังที่ในหลวงรับสั่งหรือไม่

คนของนางไปแล้วกลับมารายงานว่านายคนนั้นเป็นคนยากจน มิได้ร่ำรวยดังในหลวงรับสั่ง พระสนมคิดว่า ในหลวงคงมิได้ตรัสเหลวไหลแน่นอน เพื่อพิสูจน์ให้รู้แน่ จึงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตพาพระธิดาไปพิสูจน์ความจริงโดยรับปากว่า ถ้าเป็นจริง จะนำทรัพย์ของบุรุษหนุ่มนั้นมาถวายพระราชาจนได้

นางพร้อมพระธิดาใช้อุบายไปขออาศัยอยู่ที่บ้านกุมภโฆสกะ ใช้มารยาหญิงห้าร้อยเล่มเกวียน (อาจมากกว่านั้น) หลอกให้กุมภโฆสกะได้เสียกับลูกสาวของตนจนได้ หลังจากนั้น พระสนมก็สงสาร ไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้คนในละแวกนั้นจัดมหรสพขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยให้ทุกคนออกเงินจำนวนเท่านั้นเท่านี้ใครขัดขืนจะถูกลงพระอาญา

พระสนมผู้ซึ่งบัดนี้เป็นแม่ยายกุมภโฆสกะรบเร้าให้ไปเขาหาเงินมาให้จงได้ เขาบอกว่าจะไปหามาจากไหนก็เห็นๆ อยู่ว่าหาเช้ากินค่ำอย่างนี้ จะไปเอาเงินมาจากไหน
“ลูกพูดอย่างนั้นก็ไม่ถูก นี่เป็นพระบรมราชโองการนะ” แม่ยายเสียงแข็ง
“ข้อนั้นน่ะรู้อยู่ แต่จะไปหาเงินมาจากไหน” เขากล่าว
“ไม่รู้ล่ะไปหามาให้ได้ ไม่อย่างนั้นจะต้องถูกลงพระอาญานะ” แม่ยายขู่
เขากลัวจะถูกลงพระอาญา จึงจำใจออกจากบ้าน แอบไปขุดเอาทรัพย์จำนวนที่ต้องการมา พระสนมก็ส่งเงินจำนวนนั้นเข้าวังหลวง

มีพระบรมราชโองการให้ผู้คนละแวกนั้นจัดมหรสพในทำนองนี้หลายครั้ง กุมภโฆสกะก็ไปขุดเอาทรัพย์มาให้แม่ยายทุกครั้ง ทรัพย์เหล่านั้นถูกส่งมาไว้ในวังทั้งหมด

วันดีคืนดี ราชบุรุษมาตามกุมภโฆสกะไปเฝ้าพระราชา เขาตกใจมาก ไม่รู้ว่าตนทำผิดอะไร จึงต้องถูกจับตัวไป พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้ขนทรัพย์ของเขามากองไว้ต่อหน้า แล้วตรัสถามว่า “ทรัพย์ทั้งหมดนี้เป็นของเธอ พระสนม (แม่ยายเธอ) ส่งมาให้ เธอยังมีทรัพย์อีกใช่ไหม”

เมื่อไม่สามารถจะปิดบังได้ เขาจึงรับว่าเป็นความจริง
“ทำไมเธอจึงซ่อนทรัพย์ไว้มากมายอย่างนี้ ไม่นำออกมาใช้” พระราชารับสั่งถาม

กุมภโฆสกะกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้ากลับมามาตุภูมิหลังจากหนีไปเป็นเวลา ๑๒ ปี ไม่มีใครจำได้ ครั้นจะขุดทรัพย์ออกใช้ เกรงว่าคนอื่นจะไม่เชื่อว่าทรัพย์นั้นเป็นมรดกของข้าพระพุทธเจ้า จึงจำต้องทำงานรับจ้างเขาเลี้ยงชีพไปวันๆ พระพุทธเจ้าข้า”

พระเจ้าพิมพิสาร รับสั่งให้ขนทรัพย์ทั้งหมดเข้าไปกองไว้ในวัง รวมได้ประมาณ ๔๐ โกฏิ แล้วทรงคืนทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขา สถาปนาเขาเป็นเศรษฐีประจำเมืองราชคฤห์คนหนึ่ง พร้อมกับพระราชทานพระราชธิดาให้เป็นภริยาของเขาอย่างเป็นทางการอีกด้วย

กุมภโฆสกะเศรษฐี ความจริงก็เป็นลูกเศรษฐีมาก่อน ภายหลังตกยาก ก็อดทนทำงานรับจ้างเลี้ยงชีพไป เมื่อได้โอกาสเหมาะจึงได้เปิดเผยสถานภาพของตนได้เป็นเศรษฐีประจำเมืองราชคฤห์

นัยว่าเขาเป็นเศรษฐีใจบุญ ทำบุญทำทานเสมอมั่นคงในพระรัตนตรัย สดับฟังธรรมเป็นนิจศีล ท้ายที่สุดได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อคราวตกทุกข์ก็ไม่ยอมแพ้ เมื่อคราวมั่งมีก็มิได้ลืมตน ทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพื่อเป็นที่พึ่งพิงในสัมปรายภพ

นับว่าเป็นชีวิตที่ควรเอาเยี่ยงอย่างแท้จริงแล...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ กุมภโฆสกะ: เศรษฐีผู้ตกยาก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๕๙. ตปุสสะ ภัลลิกะ
อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา

ในพระพุทธศาสนานั้น มีอุบาสกคนแรกอยู่ชุดแรก คือ สองพ่อค้าจากอุกกลชนบท นามว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ

ชุดที่สอง คือ บิดามารดาของยสะ เฉพาะตปุสสะ และภัลลิกะ เรียกว่าเป็น “เทวฺวาจิกอุบาสก” (อุบาสกเปล่งวาจาถึงรัตนะสองเป็นสรณะ)

ทำไมต้องถึงเพียงสองรัตนะ ก็เพราะตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังมิได้ออกไปประกาศพระพุทธศาสนา มีแต่พระพุทธ และพระธรรม พระสงฆ์สาวก (อริยสงฆ์) ยังไม่มี สองพ่อค้านี้จึงได้มีโอกาสนับถือเพียงสองรัตนะ

สองพ่อค้านี้มาจากไหน พระคัมภีร์กล่าวว่า หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงยังกาลเวลาให้ล่วงไปภายใต้ต้นโพธิ์ ๗ วัน เสวยวิมุตติสุข จากนั้นในสัปดาห์ที่สองก็ไปประทับอยู่ที่ใต้ต้นไทร (อชปาลนิโครธ) ๗ วัน จากนั้นก็ไปประทับใต้ต้นจิก (มุจลินท์) และต้นเกด (ราชายตนะ) แห่งละ ๗ วัน

พระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นโพธิ์ และต้นไม้อื่นๆ ในปริมณฑล เพียง ๔ สัปดาห์เท่านั้น แต่อรรถกถาเพิ่มเข้ามาอีก ๓ สัปดาห์ (โดยไม่ทราบจุดประสงค์)

ขณะนั้นพ่อค้าสองคนนาม ตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางมาจากอุกกลชนบท ว่ากันว่าเทวดาที่เคยเป็นญาติสายโลหิตกันในชาติปางก่อน มาดลใจให้เข้าไปหาพระพุทธเจ้า

ทั้งสองคนเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ ได้น้อมนำเอาข้าวสัตตุผง (มันถะ) และสัตตุก้อน (มธุบิณฑิกา) ไปถวาย กล่าวว่า “ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผลและสัตตุก้อน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองตลอดกาลนานเทอญ”

พุทธประวัติเขียนว่า “ข้าวสัตตุก้อน และสัตตุผง” คือสัตตุก้อนมาก่อน สัตตุผงมีทีหลัง (แต่ผมดูศัพท์แล้ว คำว่า มันถะ น่าจะเป็นสัตตุผง มธุบิณฑิกา น่าจะเป็นสัตตุก้อน จึงแปลว่า “สัตตุผงและสัตตุก้อน”)

ขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงดำริว่า เราจะรับสัตตุผงและสัตตุก้อนอย่างไรหนอ (พระพุทธองค์ไม่มีบาตร) ทันใดนั้น ท้าวมหาราชทั้งสี่รู้พระปริวิตกของพระพุทธองค์ ต่างก็นำบาตรศิลาเข้าไปถวาย บาตรมีถึง ๔ ลูก จะทำอย่างไรล่ะทีนี้

พระองค์จึงทรงอธิษฐานประสานบาตรทั้ง ๔ ลูกให้เป็นลูกเดียว ทรงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนจากพ่อค้าทั้งสอง แล้วเสวยข้าวสัตตุผงและสัตตุก้อนนั้น

พ่อค้าทั้งสองนั้นได้กล่าวขอถึงรัตนะสองเป็นสรณะว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่าเป็นอุบาสก ผู้เปล่งวาจาถึงรัตนะสองตั้งแต่วันนี้จนตลอดชีวิตเถิด”

ข้อความจากพระไตรปิฎก (วินัยมหาวรรค ๔/๖/๕-๖) มีเท่านี้ มีข้อความที่ควรหาความรู้เพิ่มเติม ก็คือพ่อค้าสองคนนี้เป็นใคร อุกกลชนบทนั้นอยู่ที่ไหน และสิ่งที่ถวายนั้นคืออะไรแน่ ก็เห็นจะต้องหาความสว่างจากคัมภีร์อรรถกถา

ลองเปิดอรรถกถาดู ก็ได้ความเพียงว่า สองพ่อค้านี้เป็นพี่น้องกัน (ภาตโร) มาจาก “อุกกลชนบท” ไม่บอกต่อว่าอยู่ส่วนไหนของชมพูทวีป กำลังเดินทางไปมัชฌิมประเทศ (ส่วนกลางของชมพูทวีป) เพื่อค้าขาย และสิ่งของที่ถวาย ท่านอธิบายนิดหน่อยว่า สัตตุที่ไม่จับเป็นก้อน กับสัตตุที่จับกันเป็นก้อน กับสัตตุที่จับกันเป็นก้อน โดยผสมกับเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้น

จริงอย่างผมเดา มันถะ คือ สัตตุผง มธุบัณฑิกา คือ สัตตุก้อน

น่าสนใจเข้าไปอีกก็คือ อรรถกถาได้เพิ่มเติมข้อมูลว่า พ่อค้าสองคนพี่น้องกราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า จากนี้ไปพวกเขาจะกราบไหว้และลุกรับพระพุทธองค์โดยวิธีใด พูดง่ายๆ ว่าจะได้อะไรเป็นที่เคารพสักการะเมื่อจากพระองค์ไปแล้ว

พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร เส้นพระเกศา (ไม่บอกว่ากี่เส้น) หลุดติดพระหัตถ์มา พระองค์ประทานพระเกศานั้นให้แก่สองพี่น้อง ตรัสว่า เธอทั้งสองจงรักษาไว้ให้ดี ทั้งสองได้พระเกศาธาตุนั้นแล้ว ดีใจดังถูกรดด้วยน้ำอมฤต กราบถวายบังคมลาพระพุทธองค์ หลีกไป

ข้อความในอรรถกถามีเพียงเท่านี้ สรุปว่า ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ได้เป็นอุบาสกคู่แรกที่สมาทานพระพุทธองค์และพระธรรมเป็นสรณะ อันเรียกว่า “เทวฺวาจิกอุบาสก” นั้นแล

ยังครับ ยังไม่จบ คัมภีร์พม่าแต่งต่อ ให้ข้อมูลเพิ่มอีก ส่วนท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็แล้วแต่ดุลยพินิจของท่านนะครับ อย่าไปว่าพม่าเขาว่า “ขี้ตู่” เพราะไทยเราขี้ตู่ในบางเรื่องเหมือนกัน (เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง)

พม่าแต่งต่อว่า สองพี่น้องนั้นเป็นชาวพม่า เดินทางมาจากหงสาวดีไปค้าขายที่ชมพูทวีป ได้ถวายสัตตุผง สัตตุก้อน แก่พระองค์ และได้รับประทานพระเกศาเป็นธาตุที่ระลึก ทั้งสองได้นำไปสร้างเจดีย์บรรจุไว้บูชาพระเจดีย์นั้น ชื่อว่า “ชเวดากอง” ว่ากันอย่างนั้น

ส่วนที่ว่าไทยเราก็ตู่บางเรื่องเหมือนกัน คือตอนพญานาคปลอมมาบวชถูกจับได้ว่าเป็นสัตว์เดียรฉาน พระพุทธองค์รับสั่งให้สึก เพราะเพศบรรพชิตไม่เหมาะแก่สัตว์เดียรฉาน พระคัมภีร์พูดแค่นี้ แต่คัมภีร์ไทยก็มาแต่งเพิ่มว่า ไหนๆ ก็ไม่มีโอกาสบวชต่อไปแล้ว ขอฝากชื่อไว้ในพระศาสนาด้วยเถิด ต่อไปใครมาบวชก็ขอให้เรียกผู้จะบวชนั้นว่า “นาค” เถิด พระเจ้าข้า ว่ากันว่าพระพุทธองค์ทรงรับคำของพญานาค

ด้วยเหตุนี้แล เราจึงเรียกคนที่จะบวชว่า “นาค” ว่าอย่างนั้น เห็นไหมพี่ไทยก็จอมต่อเติมเหมือนกัน...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ ตปุสสะ ภัลลิกะ : อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤษภาคม 2557 15:52:14 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2557 10:34:27 »

.

http://2.bp.blogspot.com/-6C-psiJSO-8/TlyajcA4LmI/AAAAAAAAA3M/0qHN8-QGevo/s1600/%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๖๐. โทณพราหมณ์  
ผู้แจกพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อครั้งเจ้ามัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ตั้งใจจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดไปประดิษฐานไว้ให้ประชาชนชาวเมืองกุสินาราถวายการบูชา ก็มีกษัตริย์จากต่างเมืองส่งทูตมาขอแบ่ง

ตอนแรกเหล่ามัลลกษัตริย์ไม่ต้องการแบ่ง ร่ำๆ จะเกิดสงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุ พอดีพราหมณ์เฒ่าผู้คงแก่เรียน นามว่า โทณะก็โผล่ขึ้นมาห้ามไว้ แสดงสุนทรพจน์ได้จับใจมาก สามารถ “กล่อม” ให้บรรดาผู้ครองนครทั้งหลายสงบอารมณ์และยินยอมให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเท่าๆ กัน โดยมอบความไว้วางใจแก่โทณพราหมณ์ให้ช่วยดำเนินการให้

โทณพราหมณ์เป็นใคร มักจะไม่ค่อยมีใครสนใจใคร่รู้

ถ้าเปรียบก็ดุจการดูหนัง หนังดำเนินเรื่องมาอย่างสนุกตื่นเต้น ตัวละครต่างๆ ก็แสดงบทบาทของตนมาตามลำดับ มีอยู่ฉากเดียวสั้นๆ มีตัวละครตัวหนึ่งโผล่เข้ามาแล้วก็หายไป ดูหนังจบแล้ว คนก็ลืมตัวละครตัวนั้นสนิทใจเพราะแสดงบทบาทอะไรไม่มาก ฉันใด บทบาทของโทณพราหมณ์ก็คงคล้ายๆ กัน ทำนองนี้

เรารู้ว่าสงครามเลือดครานั้นไม่เกิดขึ้น ก็เพราะว่าฝีปากของโทณพราหมณ์ แต่เมื่อเรื่องสงบไปแล้ว ต่างก็ลืมเลือนโทณพราหมณ์จนหมดสิ้น

โทณพราหมณ์คือใคร ในพระไตรปิฎกมีเรื่องของโทณพราหมณ์บ้างไหม

เท่าที่ทราบมีอยู่สูตรหนึ่ง ชื่อ โทณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสโต้ตอบกับพราหมณ์ชื่อโทณะ

วันเวลาที่เกิดเหตุนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลถึงเขตแดนระหว่างเมืองอุกกัฏฐากับเมืองเสตัพยะต่อกัน ขณะนั้นพราหมณ์ชื่อโทณะ เดินมาข้างหลังเห็นรอยพระบาทที่ประทับอยู่ตามทาง พิจารณาลักษณะของพระบาทอันสมบูรณ์ด้วยเครื่องหมายที่เป็นมงคล จึงประทับใจ คิดว่าท่านผู้เป็นเจ้าของรอยเท้านี้มิใช่คนธรรมดา จึงตามไปจนทัน แล้วได้สนทนากับพระองค์

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ความจริงพระพุทธองค์ ทรงมีพระประสงค์จะให้โทณพราหมณ์ไปทัน และได้ทูลถามปัญหา จึงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะที่เป็นมงคลไว้ให้พราหมณ์เห็นดุจดังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ให้มาคัณฑิยพราหมณ์เห็น ฉะนั้น

เรื่องราวเป็นฉันใด เอาไว้เล่าต่อเมื่อมีโอกาสก็แล้วกัน ตอนนี้มาต่อเรื่องโทณพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวอีกว่า พระองค์ทรงต้องการให้โทณพราหมณ์นี้เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้พระองค์ หลังจากพุทธปรินิพพาน วางแผนไว้แต่เนิ่นๆ ปานนั้นเชียว

โทณพราหมณ์กราบทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นเทวดาหรือเปล่า”
“เรามิใช่เทวดา” พระพุทธองค์ตรัสตอบ
“ถ้าเช่นนั้นท่านคงเป็นคนธรรพ์”
“เรามิใช่คนธรรพ์”
“ถ้าเช่นนั้นท่านคงจะเป็นยักษ์”
“เรามิใช่ยักษ์”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านคงจะเป็นมนุษย์”
“เรามิใช่มนุษย์”

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสดังนี้ โทณพราหมณ์ก็ยิ่งสงสัยหนักขึ้น เทวดาก็ไม่เป็น คนธรรพ์ ยักษ์ และมนุษย์” ก็ไม่เป็น แล้วเป็นอะไร จึงกราบทูลถาม พระพุทธองค์ตรัสอธิบายว่า “กิเลสเหล่าใดที่พาให้เกิดเป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ และมนุษย์ กิเลสเหล่านั้นเราได้ละหมดแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงมิใช่เทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ และมนุษย์”
“แล้วท่านผู้เจริญเป็นอะไร” คำถามสุดท้ายจากปากของพราหมณ์
“เราเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)” พระพุทธองค์ตรัส แล้วตรัสพระคาถา (โศลกธรรม) บทหนึ่งว่า กิเลสที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็นมนุษย์ เราละได้หมดแล้ว ดอกบุณฑริกเจริญในน้ำ ไม่เปียกน้ำ ฉันใด เราเกิดในโลก แต่ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินของโลก เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพุทธะ

พระสูตรนี้บันทึกไว้เพียงแค่นี้ ไม่ได้บอกด้วยว่าหลังจากสนทนากับพระพุทธองค์แล้ว โทณพราหมณ์ได้บรรลุมรรคผลอะไรหรือไม่ แต่อรรถกถาบอกต่อว่า โทณพราหมณ์ได้บรรลุผล ๓ (โสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล) คือ เป็นพระอนาคามี นี้เป็นทรรศนะของพระอรรถกถาจารย์ครับ ในพระไตรปิฎกไม่ได้ระบุเอาไว้ เปิดพจนานุกรมอสาธารณนาม โดย ดร.มาลาลา เสเกรา ท่านบอกไว้ดังนี้ครับ

โทณพราหมณ์พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกระหว่างเมืองอุกกัฏฐาและเสตัพยะดังกล่าวแล้ว หลังจากฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว ได้บรรลุอนาคามิผล และได้แต่งโศลกสรรเสริญพระพุทธคุณจำนวนพันคำ โศลกนี้ปรากฏชื่อว่า โทณคัชชิตา

มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า สถานะของโทณพราหมณ์นั้นสูงมาก เป็นอาจารย์ที่ประชาชนให้ความเคารพมากมาย

วันดีคืนดีเหล่ากษัตริย์และพราหมณ์ในชมพูทวีปจะมาประชุมกัน ฟังโอวาทโทณพราหมณ์เป็นครั้งคราว เพราะความมีชื่อเสียง และความเป็นครูของคนทุกชนชั้นนี้เอง การปรากฏตัวของโทณพราหมณ์ เมื่อคราวสงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุกำลังจะเกิด จึงมีความหมายมาก ทุกคนพอเห็นโทณพราหมณ์ จึงเกรงใจ และยินยอมทำตามประสงค์ของโทณพราหมณ์

พุทธประวัติตอนนี้มีว่า ข่าวพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแพร่กระจายไปยังนครต่างๆ อย่างรวดเร็ว ผู้ครองนครทั้ง ๗ ส่งคณะทูตมาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปสักการบูชา อันประกอบด้วย
๑. พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์
๒. กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายแห่งเมืองไพศาลี
๓. กษัตริย์ศากยะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์
๔. กษัตริย์โลกิยะแห่งรามคาม
๕. มัลลกษัตริย์ทั้งหลายแห่งเมืองปาวา
๖. มหาพราหมณ์แห่งเมืองเวฏฐทีปกะ
๗. เจ้าพุลิ (ฐลิยะ) แห่งเมืองอัลลกัปปะ

เหล่ามัลลกษัตริย์ปฏิเสธแข่งขันไม่ยอมแบ่ง สงครามเลือดกำลังจะระเบิดขึ้น พอดีพราหมณ์ นามว่า โทณะ มาเจรจาขอให้สงบศึก และรับอาสาแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน แล้วมอบให้ผู้ครองนครทั้ง ๘ นำไปสักการบูชาที่บ้านเมืองของตน

วาทะของโทณพราหมณ์ที่สามารถ “กล่อม” คณะทูตจากเมืองทั้งหลาย มีดังนี้ครับ
สุณนฺตุ โภนฺโต มม เอก วากฺยํ อมฺหาก พทฺโธ อหุ ชนฺติวาโท

นหิ สาธุ ยํ อุตฺตมปุคฺลสฺส สรีรภาเค สย สมฺปหาโร

สพฺเพว โภนฺโต สหิตา สมคฺ คาสมฺโมทมานา กโรมฏฐภาเค

วิคฺถาริกา โหนฺตุ ทิ สาสุธูป พหู ชนา จกฺขุมโต ปสนฺนา

คำแปลจาก ปฐมสมโพธิกถา จะไพเราะกว่าครับ ผมคัดลอกมาดังนี้
“ท่านทั้งหลายจงสดับคำแห่งเราสักครู่หนึ่ง ซึ่งพระบรมครูแห่งเราย่อมตรัสเทศนาซึ่งขันติธรรมว่าประเสริฐแล ซึ่งมาเกิดยุทธประหารในที่พระสารีริกธาตุ อันศาสดาปรินิพพานนี้ บ่มิดี บ่มิสมควร

ดูกรท่านทั้งหลาย จงอดกลั้นเสียซึ่งโทษ จึงคิดประนีประนอมพร้อมหฤทัยยินดีด้วยกัน เราจะแบ่งปันพระบรมธาตุออกเป็น ๘ ส่วน ให้แก่บพิตรทั้งปวงตามควร องค์ละส่วนเสมอกัน จะได้อัญเชิญไปก่อพระสถูปบรรจุไว้ทุกพระนคร เป็นที่ให้ไหว้บูชาแห่งมหาคนในทิศทั้งหลายต่างๆ”

“เมื่อกษัตริย์ทั้งปวงได้สดับรับคำแห่งโทณพราหมณ์พร้อมกันแล้ว จึงตรัสว่า ถ้าฉะนั้น อาจารย์จงแบ่งปันพระสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน ควรจะแจกให้ข้าพเจ้าทั้งปวง”

เป็นอันว่าโทณพราหมณ์ได้ช่วยระงับสงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุ ทำหน้าที่แจกแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาให้ชาวพระนคร ทั้ง ๘ นำไปบูชาที่บ้านเมืองของตน กษัตริย์โมริยะจากปัปผลิวันมาไม่ทัน จึงได้พระอังคารธาตุไปบูชา

ส่วนโทณพราหมณ์ ว่ากันว่า แอบเอาฑาฒธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ซ่อนในมวยผม หวังจะเอาไปบูชา

แต่พระอินทร์มาขมายต่อไปอีก ว่ากันอย่างนั้น

ในที่สุดได้รับฉันทานุมัติจากบรรดากษัตริย์ทั้งปวง ให้เอาทะนานทองไปบูชา

ตรงนี้คงจะเขียนเพลิน ไหนว่าตอนแรกโทณพราหมณ์ได้เป็นพระอนาคามีแล้ว ไฉนไยจึงมีจิตคิดขโมยพระเขี้ยวแก้ว แล้วพระอินทร์จอมเทพ ก็มีพฤติกรรมไม่แพ้กัน คือ “ขมาย” ต่อไปอีก ฟังๆ ไว้ก็แล้วกันครับ...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ โทณพราหมณ์ : ผู้แจกพระบรมสารีริกธาตุ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์


.


๖๑. กาละ
บุตรเศรษฐีเกเรผู้กลับใจ

ชีวิตนี้ถือเป็นบทเรียนที่คุ้มค่าที่สุด น่าจะเป็นชีวิตของคนประเสริฐ ที่เรียกว่า “ต้นคดปลายตรง” หรือคนที่เหลวไหลมาก่อน ภายหลังกลับเนื้อกลับตัว

คนอย่างองคุลิมาลก็ดี พระเจ้าอโศกก็ดี เป็นแบบอย่างชีวิตที่น่าชื่นชม ที่พลาดถลำลงแล้วไม่ถลำลึกลงไปอีก รู้สำนึกตน ปรับปรุงตนให้ดีขึ้น และทำประโยชน์แก่สังคมให้มากขึ้น

แม้ไม่ได้ทำความดีอะไรแก่สังคมให้เป็นที่ปรากฏ เพียงการที่เขากลับตัวเป็นคนดี ก็มีส่วนได้ช่วยสังคมแล้ว คือ สังคมจะได้เอาเป็นแบบอย่าง สั่งสอนลูก หลาน เหลน เลียด (จากเหลนเป็น “เลียด” ครับ มิใช่ “โหลนๆ”) ต่อๆ ไป

นายกาละก็เป็นคนหนึ่งที่ควรนำมาพูดถึง

นายกาละเป็นบุตรโทนของท่านสุทัตตะเศรษฐี (ต่อมาเรียกขานกันในชื่อว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี) ในขณะที่บุตรสาวคนอื่นๆ ของเศรษฐีเป็นบุตรในโอวาท ช่วยกิจการงานของครอบครัว กาละ บุตรชายโทน เอาแต่เที่ยวเตร่ ดื่มกิน สนุกสนานกับเพื่อนๆ ลูกชายคนร่ำรวยอื่นๆ

เศรษฐีผู้เป็นบิดาจะตักเตือนสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ฟัง หรือฟังแต่ก็เข้าหูซ้าย ออกหูขวา

ผู้ที่เดือดร้อน คือ อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้บิดา เพราะตัวท่านเป็นผู้สนใจใคร่ธรรม เป็นผู้ถวายความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ถวายทานแก่พระสงฆ์เป็นประจำทุกวัน บุตรสาวแต่ละคนก็ช่วยกันรับหน้าที่ดูแลงานแทนท่าน เมื่อบุตรสาวคนโตออกเรือนแล้วก็ได้บุตรสาวคนรอง เมื่อคนรองออกเรือนไปอีกคน ก็ได้บุตรสาวคนเล็กช่วยดูแล

ตัวท่านเองนั้นก็ได้รับเชิญไปให้ปรึกษาแก่ทายกทายิกาที่เขาทำบุญทำกุศลแทบทุกวันก็ว่าได้ จึงไม่มีเวลาดูแลเอง การบริหารกิจการเกี่ยวกับงานบุญงานกุศลประจำบ้าน จึงตกเป็นหน้าที่ของบุตรสาวทั้งสาม

ภาระหน้าที่นี้ แทนที่บุตรชายจะได้ช่วยแบ่งเบาบ้าง ก็พึ่งพาอาศัยไม่ได้เพราะเธอเอาแต่เที่ยวเตร่ แค่นั้นยังไม่เท่าไร ที่สำคัญทำให้ “ขายหน้า” ประชาชนนี้สิครับ พ่อเป็นคนธรรมะธัมโม แต่ลูกไม่เอาไหน รู้ถึงไหนอายถึงนั่น เขาหาว่าพ่อไม่มีปัญญาอบรมลูก

นี่แหละคือสิ่งที่ทิ่มแทงใจของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีตลอดมา พยายามคิดหาวิธีการจะให้ลูกชายกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้

วันหนึ่งท่านก็คิดหาวิธีได้  คือจ้างให้ลูกไปฟังธรรม ท่านเรียกบุตรชายมาบอกว่า พ่อจะให้เงินเจ้าใช้วันละเท่านั้นเท่านี้ (ตำราไม่ได้บอกว่าให้วันละเท่าไร แต่คงมากพอสมควร) ขอให้ลูกไปฟังธรรมทุกวัน

ลูกชายตอบรับด้วยความดีใจ (ดีใจที่จะได้เงิน) ไปวัดพระเชตวันทุกเย็น เพราะทุกเย็นพระพุทธเจ้าจะประทับนั่งแสดงธรรมแก่ประชาชนจำนวนมาก กาละเข้าไปนั่งอยู่ใต้ธรรมาสน์ฟังธรรม ฟังไปได้หน่อยหนึ่งก็หลับ จะตื่นขึ้นมาก็ต่อเมื่อพระธรรมเทศนาจบ

แล้วก็รีบลงศาลากลับไปบ้าน รายงานให้พ่อทราบ พร้อมแบมือขอค่าจ้างเศรษฐีก็จ่ายให้ตามสัญญา เหตุการณ์ผ่านไปนานพอควร พ่อจึงกล่าวว่า “ถ้าลูกจำข้อธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงได้ พ่อจะจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นบทละเท่านั้นเท่านี้” (ราคาเท่าไรก็ว่ากันไป)

ด้วยความโลภในทรัพย์ นายกาละก็รับปากทันที วันรุ่งขึ้นไปนั่งใต้ธรรมาสน์เช่นเดิม คราวนี้ไม่นั่งหลับ ใจจดใจจ่อทีเดียว พยายามกำหนดเนื้อหาของธรรมที่ทรงแสดง เพื่อจะจำเอามากๆ ไปแลกค่าจ้าง

พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้เขาลืม เมื่อลืมก็ตั้งใจจำบทต่อๆ ไปอย่างนี้ไปจนจบ ว่ากันว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อโปรดเขาโดยเฉพาะ เมื่อจบพระธรรมเทศนา เขากลับจำเนื้อความได้หมดและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

เขาเข้าไปกราบแทบเบื้องพระยุคลบาท ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมภิกษุสงฆ์ เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านในวันรุ่งขึ้น เช้าขึ้นมาเขาไปวัด อุ้มบาตรของพระพุทธองค์ตามเสด็จมายังคฤหาสน์ของตน

เศรษฐีผู้เป็นพ่อแปลกใจอยู่ที่ไม่เห็นลูกทวงเงินค่าจ้างเมื่อวันนี้ วันนี้ก็เห็นภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน รู้สึกปลื้มใจอย่างบอกไม่ถูก

มาถึงบ้านเขาได้กุลีกุจอช่วยคนในบ้าน “อังคาสพระ” (เลี้ยงอาหารพระ) ยังกับคนคุ้นวัดคุ้นวามาเป็นสิบๆ ปี เศรษฐีผู้พ่อยกถุงเงินค่าจ้างมาห่อใหญ่ วางไว้ตรงหน้าบุตรชาย “เอ้า ลูก นี่คือค่าจ้างของลูก รับไว้เสีย” (นึกแปลกใจอยู่เหมือนกันว่าทำไมวันนี้ลูกชายไม่ทวงค่าจ้าง)

นายกาละทำท่าทางอิดเอื้อน ไม่ยอมรับถุงเงิน แม้ว่าพ่อจะคะยั้นคะยออย่างไรก็ตาม

พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องว่าอะไรเป็นอะไร จึงตรัสกับเศรษฐีว่า สุทัตตะบุตรชายท่านไม่ต้องการทรัพย์ภายนอกใดๆ ต่อไปแล้ว เพราะเธอได้บรรลุโสดาปัตติผลอันเป็นอริยทรัพย์ มีค่ามากกว่าทรัพย์ภายนอกแล้ว แล้วตรัสโศลกธรรมบทหนึ่งว่า
     ยิ่งกว่าเอกราชเหนือแผ่นดิน
     ยิ่งกว่าขึ้นสวรรคาลัย
     ยิ่งกว่าอธิปไตยในโลกทั้งปวง
     คือพระโสดาปัตติผล


เป็นอันว่าวิธีจ้างลูกเกเรฟังธรรมของอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ผล ใครจะจำเอาไปใช้บ้างก็คงดีไม่น้อย
อย่างน้อยถ้าใช้วิธีอื่นล้มเหลวมาแล้ว น่าจะลองวิธีนี้ดูบ้าง

ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยบอกผมว่า ท่านก็เคยจ้างลูกชายซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย อ่านหนังสือ “สองทศวรรษในดงขมิ้น” ของ ไต้ ตามทาง

ผมถามว่าทำไมต้องจ้าง

ท่านบอกว่า หนังสือดีๆ แบบนี้ อยากให้ลูกอ่าน บอกเฉยๆ มันไม่อ่าน จึงจ้าง

และว่าต่อไปว่า บรรยากาศอย่างนี้ (อย่างที่บรรยายไว้ในหนังสือ) ต่อไปคนรุ่นใหม่อาจไม่รู้จักแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น

ลืมถามว่าได้ผลเหมือนอนาถบิณฑิกะหรือไม่ ...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ กาละ : บุตรเศรษฐีเกเรผู้กลับใจ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๖๒. ครหทิน  
อุบาสกอดีตเดียรถีย์

อดีตเดียรถีย์ที่หันมาเป็นชาวพุทธ มีหลายท่านที่น่าพูดถึงอย่างนั้นก็ ๓ ท่านแหละครับ เท่าที่นึกออกในขณะนี้ ท่านแรกชื่อว่า ครหทิน  

ครหทินเป็นชาวสาวัตถี เป็นคนมั่งคั่ง มีเพื่อนซี้คนหนึ่งชื่อ สิริคุปต์ นับถือคนละศาสนา โดยครหทินนับถือศาสนาเชนของมหาวีระ (นิครนถ์นาฏบุตร) ซึ่งเป็นศาสนาที่เคร่งครัดมาก ขนาดไม่ยอมนุ่งผ้าเอาเลย เขาถือว่าสมบัติพัสถานเป็นที่มาแห่งความยึดมั่นถือมั่น แม้กระทั่งเสื้อผ้าก็เป็นเหตุให้เกิดกิเลสได้ เมื่อประกาศตนว่าเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็ไม่ควรมีแม้กระทั่งผ้านุ่งห่ม เปลือยมันซะเลย ว่าอย่างนั้นเถอะครับ

พวกนี้ก็จะพูด (ค่อนขอด) ลัทธิศาสนาอื่นว่า ไม่เคร่งเท่าตน ปากบอกว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ก็ยังนุ่งห่มอยู่ ยึดติดในพัสตราภรณ์อยู่ เรียกว่าไม่ปล่อยวางจริงว่าถึงขนาดนั้น

ศาสนาชีเปลือยนี้ ต่อมาได้มีนิกายเพิ่มเข้ามาอีกนิกายหนึ่ง เรียกว่า เศวตามพร (เสตัมพร) พวกนี้อนุญาตให้นุ่งขาวห่มขาวได้ ไม่ต้องเปลือยกายอวดของดีต่อผู้คน พวกที่เปลือยกายเรียกว่า ทิคัมพร แปลว่า ผู้นุ่งทิศ หมายถึงนุ่งลมห่มฟ้า นั้นแหละครับ

ครหทินเลื่อมใสในพวกชีเปลือย พยายามโน้มน้าวจิตใจให้สิริคุปต์เพื่อนกันไปเลื่อมใสด้วย มีโอกาสทีไรก็จะพรรณนาถึงความเก่งกาจของอาจารย์ของตนให้สิริคุปต์ฟัง สิริคุปต์ไม่ขัดคอ แต่ก็ไม่ปฏิเสธออกนอกหน้า เพียงแต่ฟังๆ ไว้

จะไม่ให้สิริคุปต์เฉยอย่างไร เพราะสิริคุปต์เธอเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง เธอคิดว่าเธอได้มาถูกทางแล้ว เรื่องอะไรจะเดินออกนอกทางตามคำชวนของสาวกเดียรถีรย์เล่า

ว่ากันว่า ที่ครหทินเฝ้าชักชวนสิริคุปต์นั้น เพราะครูอาจารย์แกสั่งให้ทำ ด้วยวาดหวังผลข้างหน้าว่า ถ้าดึงคนอย่างสิริคุปต์เข้ามาสู่ศาสนาเชนอีกคน จะมีอุบาสกผู้อุปถัมภ์พระศาสนาอย่างเข้มแข็งอีกแรงหนึ่ง เพราะสิริคุปต์ก็ร่ำรวยมหาศาลไม่แพ้ครหทิน

เมื่อถูกชักชวนบ่อยๆ เข้า สิริคุปต์จึงได้ถามว่า ที่เพื่อนอยากให้เราไปนับถือศาสนาของเพื่อน เราอยากทราบว่าศาสดาของเพื่อนนั้นมีดีอย่างไร

ครหทินตอบว่า เพื่อนอย่าถามอย่างนี้เลย ศาสดาจารย์ของเราเป็นสัพพัญญูย่อมรู้ทุกอย่างไม่เฉพาะแต่พระศาสดาเท่านั้น พระสาวกอื่นๆ ก็รู้หมดทุกอย่างเช่นกัน

สิริคุปต์ต้องการทดสอบอะไรบางอย่าง จึงทำท่าเลื่อมใส กล่าวว่า “ถ้าพระของเพื่อนเก่งปานนั้น ก็น่าจะเลื่อมใสนะ การทำบุญทำทานกับพระผู้เก่งปานนี้คงได้บุญมาก ถ้าเช่นนั้น เพื่อนช่วยนิมนต์ท่านเหล่านั้นมาฉันภัตตาหารที่บ้านเราได้ไหม”
“ได้สิเพื่อน” ครหทินรับปากด้วยความดีใจ รีบไปสำนักของพวกนิครนถ์รายงานให้อาจารย์ของตนทราบว่า “ภารกิจที่ให้ไปเกลี้ยกล่อมสิริคุปต์ของกระผมสำเร็จแล้ว บัดนี้เธอให้ผมมานิมนต์พระคุณเจ้าไปฉันภัตตาหารที่บ้านเขา”

พระคุณเจ้าทั้งหลายก็ดีใจที่จะได้สาวกใหม่ จึงนัดหมายเวลาว่าง เพื่อไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านสิริคุปต์

ข้างฝ่ายสิริคุปต์ก็สั่งให้ขุดหลุมกว้างใหญ่ระหว่างเรือนสองหลังใส่คูถไว้ข้างล่าง ปิดหลุมใหญ่นั้นไว้ ให้ตั้งตั่งสำหรับนั่งไว้บนเชือกที่ขึงต่อกันบนปากหลุมปูลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดี อำพรางตาไม่ให้มองเห็นหลุมคูถข้างล่าง กะว่าพอพวกเขานั่งพร้อมกัน หัวจะได้คะมำลงในหลุม

พอได้เวลานัด เหล่าเดียรถีย์ก็พากันมายังคฤหาสน์ของสิริคุปต์ ติดตามด้วยครหทิน พอท่านเหล่านั้นมาถึง สิริคุปต์ก็ยืนประคองอัญชลีอธิษฐานในใจว่า

“ศิษย์ของท่านบอกว่า ท่านรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ข้าพเจ้าจึงอยากทดสอบว่าเป็นจริงหรือไม่ ถ้าท่านเป็นสัพพัญญูจริงๆ ก็จะรู้ว่าข้างล่างอาสนะนี้เป็นหลุมคูถ และภัตตาหารที่ตั้งไว้มุมบ้านที่แลเห็นอยู่ข้างหน้านั้นไม่ใช่ของจริงเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น เมื่อท่านรู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าได้ขึ้นไปนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ แต่ถ้าท่านยังขึ้นไปแสดงว่าท่านไม่ได้เป็นสัพพัญญูจริง ขออย่าได้ถือโทษข้าพเจ้าเลย”

เหล่าเดียรถีย์เห็นสิริคุปต์ยืนประคองอัญชลีนิ่งอยู่เป็นเวลานาน นึกว่าสิริคุปต์คงตื้นตันใจที่จะได้เป็นสาวกของพวกตน พระผู้เป็นหัวหน้าจึงพูดว่า อุบาสกนิมนต์พระขึ้นนั่งบนอาสนะเถิด

สิริคุปต์กล่าวอย่างนอบน้อมว่า ขอพระคุณเจ้าจงขึ้นไปยืนพร้อมกัน แล้วนั่งลงพร้อมกันเถอะ พระคุณเจ้าทั้งหลายก็ขึ้นไปยืนพร้อมกัน แล้วนั่งลงพร้อมกัน พอก้นหย่อนลงนั่งบนอาสนะเท่านั้น พระคุณเจ้าทั้งหลายก็หัวคะมำตกลงสู่หลุมคูถพร้อมกัน พากันตะเกียกตะกายขึ้นจากหลุม หนีกลับไปยังสำนักของตน

ข้าวก็ไม่ได้ฉัน แถมสิริคุปต์ยังพูดให้อับอายอีกว่า “ไหนว่าพวกท่านเป็นสัพพัญญูรู้หมดทุกอย่าง หลุมคูถอยู่ข้างหลังยังไม่รู้เลย ตกไปในหลุม ช่วยไม่ได้ฮะๆๆๆๆ”

คนที่โกรธมากคือ ครหทิน หาว่าเพื่อนจงใจกลั่นแกล้งพระของตน จึงนำเรื่องฟ้องพระเจ้าปเสนทิโกศล  พระราชาสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริง ในที่สุดก็ตัดสินว่าสิริคุปต์ไม่ผิด

มิตรภาพของคนทั้งสองหมางเมินไปพักหนึ่ง วันหนึ่งครหทินมาคืนดีด้วยบอกเพื่อนว่า เรื่องที่แล้วไปแล้วก็ให้ลืมเสีย ขอให้เราเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม สิริคุปต์ก็เห็นด้วย
วันหนึ่งครหทินบอกว่า อยากถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์บ้าง ขอให้สิริคุปต์ช่วยจัดการอาราธนาพระองค์ให้ด้วย ครหทินไม่เลื่อมใสจริงดอกครับ แกวางแผนแก้แค้นแทนพระของเขา จะดิสเครดิตของพระพุทธเจ้าศาสดาของสิริคุปต์บ้าง ทีใครทีมันให้มันรู้ซะบ้างไผเป็นไผ

แต่ไผจะเป็นไผ เดี๋ยวรู้กัน

สิริคุปต์ไปกราบอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านครหทิน พระพุทธองค์ทรงทราบแผนการของครหทิน แต่ก็ทรงรับนิมนต์เพราะทรงเห็นอุปนิสัยของเขาว่า สมควรโปรดให้บรรลุธรรมได้

สิริคุปต์ไปแจ้งแก่สหาย พร้อมทั้งแนะให้ตระเตรียมของเคี้ยวของฉันสำหรับพระให้พร้อม (ที่ต้องบอกก็เพราะครหทินใช่ชาวพุทธ ยังไม่รู้ธรรมเนียมพุทธ ครหทินก็บอกว่าจะจัดการตามที่เพื่อนบอกทุกประการ

แต่เอาจริงไม่จัดอะไรสักอย่าง ไพล่ไปทำอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือสั่งให้คนขุดหลุมลึก แล้วเอาถ่านไฟร้อนๆ ใส่ไว้ข้างบนก็เอากระดานปิด แล้วปูเสื่อลำแพนทับไว้ให้มองเห็น จัดที่นั่งสำหรับพระพุทธองค์และพระสงฆ์ไว้ที่ศาลาอีกหลังหนึ่ง หลังหลุมถ่านเพลิง กะว่าเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เดินเหยียบแผ่นกระดานเพื่อขึ้นไปบนศาลา ก็จะตกหลุมถ่านเพลิงก่อน ไม่ตายก็คางเหลืองละ ว่ากันถึงปานนั้นเชียว

ก็คนมันจะแก้แค้นนี่ครับ พระคุณเจ้าอาจารย์ของเขาถูกสิริคุปต์ศิษย์พระตถาคตทำเจ็บแสบมาก่อนนี่ ทำไมจะไม่แค้นเล่า

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จพุทธดำเนินมาถึงหน้าบ้านของครหทิน เสด็จด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครหทินอธิษฐานในใจว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิริคุปต์สาวกของพระองค์บอกว่า พระองค์ทรงรู้อดีตและอนาคต ถ้ารู้จริง จงรู้ว่าระหว่างทางไปศาลาโน้นมีหลุมถ่านเพลิงอยู่ข้างล่าง ใครเข้าไปแล้วจะตกหลุมถ่านเพลิง และของเคี้ยวของฉันก็ไม่มีในบ้านนี้ ถ้าพระองค์ทรงทราบก็อย่าเสด็จเข้าไป ถ้าหากไม่ทราบก็ทรงเสด็จเข้าไปเถิด ข้าพระองค์จะได้รู้ว่าพระพุทธเจ้าอาจารย์ของสิริคุปต์มิได้ญาณหยั่งรู้อย่างที่โอ้อวดกัน”

อธิษฐานเสร็จ ก็กราบทูลให้พระพุทธองค์เสด็จเข้าไปก่อน แล้วให้พระภิกษุรูปอื่นๆ เข้าตามไปทีละรูป (แกวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ถ้าเข้าไปพร้อมกัน เมื่อเห็นองค์หนึ่งตกหลุมก่อน ที่เหลือก็จะไม่มีใครเข้าไปนั่งอาสนะ)

พระพุทธองค์เสด็จเข้าไป ทันทีที่พระบาทประทับลงบนเสื่อลำแพนที่ปูทับหลุมถ่านเพลิง ดอกบัวเท่าล้อเกวียนก็ผุดขึ้นท่ามกลางถ่านเพลิง รอรับพระบาททุกย่างก้าว พอถึงอาสนะที่จัดไว้แล้ว ก็ประทับนั่งอย่างสง่าสงบ

เมื่อเห็นดังนั้น ความเร่าร้อนก็เกิดแก่ครหทิน เขาหันไปอ้อนวอนสิริคุปต์ สหายของเขาว่า โอ สิริคุปต์เพื่อนรัก จงช่วยผมด้วย ผมแย่แล้ว
“แย่อะไรกันเพื่อน เพื่อนกำลังถวายภัตตาหารแก่พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์มิใช่หรือ”
“นั่นแหละแย่แล้วๆ” เขาร้องอย่างน่าเวทนา
“ข้าพเจ้ามิเตรียมอาหารไว้ถวายพระแม้แต่น้อย ข้าพเจ้าขุดหลุมถ่านเพลิงเพื่อหลอกให้พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ตกลงไป”
“โอ เพื่อน ทำอย่างนี้ทำไม กรรมหนักแล้วเพื่อนเอ๋ย” สิริคุปต์ร้องขึ้นบ้าง
“ก็คราวก่อนเพื่อทำกับอาจารย์ของเรา เราก็หวังแก้แค้นเพื่อนบ้างสิ” ครหทินพูด
“อ้าว แล้วที่เพื่อนบอกว่าเตรียมข้าวปลาอาหารไว้เต็มตุ่ม ตั้งเรียงรายไว้หลังบ้านมิใช่หรือ”
“นั่นก็เป็นเท็จเช่นกัน ตุ่มเปล่าทั้งนั้น” เขาครางอย่างน่าสงสาร
“แล้วจะเอาอาหารที่ไหนถวายพระพุทธองค์”

สิริคุปต์เดินไปเปิดฝาตุ่มดูเพื่อแน่ใจ เขาก็ประหลาดใจเป็นล้นพ้น ตุ่มเปล่าที่ว่านั้นเต็มไปด้วยข้าวยาคู ส่งกลิ่นฉุยน่ารับประทานเสียนี่กระไร เปิดอีกตุ่มหนึ่งเป็นข้าวสวยเพิ่งหุงเสร็จใหม่ๆ เปิดอีกตุ่ม เป็นพยัญชนะ (กับ) และของขบเคี้ยว เป็นต้น ล้นหลาม

อย่าว่าพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปเลย เลี้ยงคนเป็นพันก็ไม่หมด
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นด้วยพุทธานุภาพ

ครหทินก็เคยคิดอกุศลต่อพระพุทธองค์และพระศาสนาก็ “หมอบราบคาบแก้ว” ขนลุกซู่ด้วยปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง เขา “อังคาส” (เลี้ยงอาหาร) พระพุทธองค์และภิกษุด้วยใจเบิกบาน

เสร็จภัตกิจ พระพุทธองค์ตรัสคาถาธรรมแก่ครหทินและประชาชนที่มาร่วมในงานว่า “ดอกบัว กลิ่นหอมเกิดจากกองขยะริมทางใหญ่ เป็นที่ชอบใจของคน ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมไพโรจน์ ล่วง ปุถุชนทั้งหลายผู้เป็นดุจกองขยะฉันนั้น”
ความหมายก็คือ ปุถุชนเป็นดุจกองขยะที่สกปรกเน่าเหม็น สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นดุจดอกบัวที่เกิดจากกองขยะ

จบพระธรรมเทศนา สิริคุปต์กับครหทินบรรลุโสดาปัตติผล ครหทินถวายตนเป็นสาวกพระพุทธองค์ ถือไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

ทั้งสองสหายได้เป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแข็งขัน ตราบจนสิ้นชีวิต...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ ครหทิน : อุบาสกอดีตเดียรถีย์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิถุนายน 2557 17:50:48 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2557 14:15:10 »

.


๖๓. อุตตรมาณพ
ผู้เตือนปายาสิราชันย์

เล่าเรื่องปายาสิราชันย์ผู้เคยเป็นมิจฉาทิฐิ ต่อมาสละความเห็นผิดประกาศตนถึงไตรสรณคมน์มาแล้ว ๒ ตอน  ตั้งใจจะจบเพียงแค่นี้ แต่มีบางสิ่งเกี่ยวกับปายาสิราชันย์ที่น่าจะเป็นอนุสติ (เครื่องเตือนใจ) ชาวพุทธบ้าง จึงนำมาเล่าต่อ แต่คราวนี้เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มผู้ดูแลโรงทานของปายาสิราชันย์ นามว่า อุตตระ ครับ

อุตตระ คนนี้ เดิมมิได้เกี่ยวข้องกับปายาสิราชันย์ แต่เห็นพฤติกรรมของปายาสิราชันย์แล้วไม่พอใจ หรือไม่เลื่อมใส จึงตักเตือน “โดยอ้อม”

เรื่องของเรื่องก็คือ หลังจากที่พระเจ้าปายาสิได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านก็ถวายทานแก่พระสงฆ์เป็นนิตย์ แต่เนื่องจากไม่เคยทำ เพราะเป็นคนนอกศาสนามานาน หรือเหตุใดก็ไม่ทราบได้ ท่านถวายทานที่ “เลว” ไม่ประณีต และทำก็สักแต่ว่าทำ ถวายทานโดยไม่เคารพ แม้ทำทานแก่ยาจกวณิพกทั้งหลายก็ทำด้วยท่าทีเช่นเดียวกัน และก็ทำอย่างนี้เสมอมา

อุตตรมาณพเห็นแล้วไม่สบายใจ จึงเตือนปายาสิราชันย์โดยทางอ้อม นั่นก็คือ แกจัดถวายทานแด่พระสงฆ์ด้วยภัตตาหารและไทยธรรมอันประณีต และให้ทานแก่ยาจกวณิพกโดยเคารพ ทุกครั้งที่ทำทานก็จะตั้งความปรารถนาดังๆ (คงต้องการให้ได้ยินไปถึงปายาสิราชันย์) ว่า
“ด้วยผลทานครั้งนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้พบกับปายาสิในชาตินี้เท่านั้น อย่าได้พบอีกในชาติหน้าเลย”

อธิษฐานดังๆ อย่างนี้หลายครั้งเข้า พระเจ้าปายาสิหรือปายาสิราชันย์ก็ได้ยินจนได้ มีความสงสัย จึงรับสั่งเรียกเขาเข้าเฝ้า ตรัสถามว่าทำไมอธิษฐานอย่างนั้นทุกครั้งที่ให้ทาน รังเกียจพระองค์ด้วยเรื่องใด จึงไม่ปรารถนาพบหน้าในชาติหน้า


อุตตรมาณพกราบทูลว่า มิได้มีความรังเกียจพระองค์แต่ประการใด แต่ไม่ชอบใจวิธีทำทานของพระองค์ จึงไม่ปรารถนาจะคบกับคนเช่นนี้  “เราทำทานอย่างไรจึงไม่ชอบใจเธอ” ปายาสิราชันย์ตรัสถาม

พระองค์ถวายทานโดยไม่เคารพ ให้อาหารแก่พระและยาจกวณิพก ก็ให้อาหารที่เลวๆ อย่าว่าแต่จะบริโภคเลย แม้จะจับต้องก็ไม่ยากจะจับต้อง (ในบาลีว่าแรงขนาดว่า “ไม่อยากจะแตะแม้ด้วยเท้า” = ตีนก็ไม่อยากเอาแตะ อะไรจะรุนแรงปานนั้น)  ให้เสื้อผ้าก็ให้เก่าๆ ขาดๆ เพราะเหตุนี้แหละ ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ปรารถนาจะพบคนเช่นพระองค์ในชาติหน้า

พระเจ้าปายาสิทรงใคร่ครวญดูก็เห็นจริง จึงยอมรับว่าตนทำไม่ถูก ทรงแต่งตั้งอุตตรมาณพให้เป็นผู้จัดการเรื่องการทำทานของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นทานแด่พระสงฆ์ หรือแก่ยาจกวณิพก

อุตตรมาณพ ก็แนะนำว่า ใช้สอยเสื้อผ้าอาภรณ์เช่นใด พระองค์พึงให้ทานด้วยอาหารและเสื้อผ้าอาภรณ์เช่นนั้น ซึ่งพระเจ้าปายาสิก็ทรงยินยอมทำตาม และได้ทรงมอบภาระให้อุตตรมาณพช่วยดำเนินการให้

ในส่วนของอุตตรมาณพ ทำทานที่ประณีตดียิ่งกว่านั้น เมื่ออุตตรมาณพสิ้นชีพไป จึงไปเกิดเป็นเทพชั้นดาวดึงส์

ในขณะที่ปายาสิราชันย์สวรรคตแล้ว ไปอุบัติเป็นเทพในหมู่จาตุมหาราช สถิตอยู่ที่ต้นเสรีสกะ หรือสีรีสกะ (แปลกันว่าไม่ซึก) คือ ต้นเสรีสกะเป็นวิมาน ว่าอย่างนั้นเถอะ

ปายาสิเทพบุตร เมื่อรำลึกชาติหนหลังของตนได้ จึงปรารถนาจะเตือนมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพบพระเถระ นามว่า ควัมปติ จึงเข้าไปนมัสการแล้วฝากคำมายังมนุษย์ทั้งหลายว่า
“พระคุณเจ้าควัมปติ ข้าพเจ้าเมื่อเป็นมนุษย์มีมิจฉาทิฐิ เห็นว่าบุญบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี อาศัยพระคุณเจ้ากุมารกัสสปะช่วยชี้แนะ จึงสละทิฐิอันชั่วช้านั้นเสีย กระนั้นก็ถวายทานโดยไม่เคารพ ไม่ถวายทานที่ประณีต จึงมาบังเกิดเป็นเทพในหมู่จาตุมหาราช มีต้นเสรีสกะเป็นวิมาน

พระคุณเจ้าควัมปติ ข้าพเจ้าขอสั่งความไปยังมนุษย์ทั้งหลายได้ไหม ถ้าจะถวายทานก็ขอให้ถวายทานโดยเคารพ ถวายทานด้วยมือของตนเอง อย่าถวายทานไม่ประณีต อย่าถวายทานแบบทิ้งๆ ขว้างๆ (สักแต่ให้)”

จากนั้นปายาสิเทวบุตรก็ได้ถามถึงอุตตรมาณพว่าไปเกิดที่ไหน พระเถระ ตอบว่า อุตตรมาณพไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะอุตตรมาณพเธอถวายทานโดยเคารพ ถวายทานทีประณีต ไม่ใช่สักแต่ให้ ด้วยอานิสงส์นี้ เธอจึงไปเกิดเป็นเทพชั้นดาวดึงส์

ความจริงปายาสิราชันย์เป็นถึงเจ้าครองนคร ย่อมมีโอกาสทำบุญทำกุศลได้ดีกว่าอุตตรมาณพซึ่งเป็นข้ารับใช้ธรรมดา แต่ปรากฏว่าปายาสิราชันย์ไม่ได้ใช้โอกาสที่ดีกว่า ทำกุศลที่ดีกว่า จึงไปเกิดเป็นเทพชั้นจาตุมหาราช ต่ำกว่าดาวดึงส์สวรรค์ของอุตตรมาณพเสียอีก

เรื่องนี้เป็นอนุสสติเตือนใจชาวพุทธอย่างดี การทำทานนั้นจะต้องทำให้ครบองค์ประกอบ จึงจะไม่เสียทีที่ได้ทำทาน องค์ประกอบที่ว่านี้คือ
๑. สิ่งของที่จะให้ทาน จะต้องบริสุทธิ์ คือ ได้มาด้วยอาชีพสุจริต ได้มาด้วยหยาดเหงื่อแรงกายจริงๆ มิใช่ได้มาด้วยการทุจริต เช่น ลักเขามาถวาย โกงเขามาถวาย ของนั้นต้องประณีต
๒. เจตนาที่ถวายก็ต้องบริสุทธิ์ คือ ก่อนจะให้ กำลังให้ และหลังจากให้แล้ว ต้องเป็นเจตนาที่เลื่อมใส ไม่เสียดาย ไม่ใช่พอให้ไปแล้วนึกเสียดายภายหลังว่า แหมเสียดาย ไม่น่าถวายพระเลย เอามากินเองยังจะดีกว่า อะไรทำนองนี้
๓. ผู้รับทานก็ต้องบริสุทธิ์ คือเป็นผู้มีศีลมีธรรม (ถ้าเราเลือกได้ ทานของเราก็จะมีผลมาก แต่ข้อนี้สุดวิสัยที่จะเลือกได้ ก็ต้องทำข้อ ๑ และข้อ ๒ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์)

การให้ทานด้วยจิตใจเลื่อมใสจริงๆ แม้เล็กน้อยก็ให้ผลมหาศาล การทำทานด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ เช่น หวังให้เขายกย่องว่าใจบุญ หวังอะไรมากกว่าเป็นผลตอบแทน หวังเอาหน้า ถึงจะสละเงินเป็นแสนเป็นล้านก็หาเป็นบุญโดยบริสุทธิ์ไม่ ถึงจะได้ผลก็คงพอได้บ้าง แต่ไม่สมบูรณ์เต็มที่

ความบริสุทธิ์ทั้งวัตถุและจิตใจนี้ พระพุทธศาสนาเน้นมาก สมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง  ยายแฟง แม่เล้าเก็บเงินจากหยาดเหงื่อจากการค้ากามของบรรดาลูกๆ ได้มาก จึงเอามาสร้างวัด ชื่อว่า วัดใหม่ยายแฟง ชื่อเป็นทางการภายหลัง “วัดคณิกาผล”

สร้างวัดเสร็จยายแฟงก็ทำบุญฉลอง นิมนต์สมเด็จโตมาเทศน์ฉลอง สมเด็จท่านก็เทศน์ตรงๆ ว่า ถึงจะสร้างวัดใหญ่โต ยายแฟงก็ได้บุญไม่เท่าไหร่ดอก สู้บรรดานางคณิกาทั้งหลายไม่ได้

ว่าแล้วยายแฟงโกรธสมเด็จนานทีเดียว ภายหลังมาตรึกตรองดู จึงรู้ว่าสมเด็จท่านพูดถูก เพราะทรัพย์ที่นำมาสร้างนั้นได้มาด้วยความไม่บริสุทธิ์เท่าไหร่ เพราะเป็นผลมาจากซ่อง และคนที่ทำทรัพย์นั้นให้ก็คือบรรดาลูกๆ ทั้งหลายของเธอ แหล่งที่มาของทรัพย์ไม่ค่อยบริสุทธิ์ ผลมันจึงไม่ค่อยได้เท่าที่ควร ตามที่สมเด็จโตท่านว่านั้นแล...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ อุตตรมาณพ : ผู้เตือนปายาสิราชันย์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์




๖๔. จิตตหัตถ์
ชายเจ็ดโบสถ์

มีคำพังเพยว่า “ชายสามโบสถ์” ความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครให้ความกระจ่างแก่ผมได้ บ้างก็ว่าคนที่เปลี่ยนศาสนาถึงสามครั้ง คบไม่ได้ ที่ถูกเป็นอย่างไร คงต้องเป็นปริศนาต่อไป

เจ้าคุณอนุมาณฯ ท่านได้ความรู้ใหม่จากเด็กว่า “ตูดเอาไว้ขี้ ก้นเอาไว้นั่ง” ซึ่งผมก็เห็นว่าเข้าที แต่คุณวาณิช จรุงกิจอนันต์ กวีซีไรต์ เพื่อผู้น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เธอว่าไม่ถูก ที่ถูกคือกลับกัน “ตูดเอาไว้นั่ง ก้นเอาไว้ขี้” แล้วก็อ้างเหตุผลยกตัวอย่างมามากมาย จนผมร่ำๆ จะเชื่อแล้ว (แต่ไม่เชื่อ ฮิฮิ)

กระทาชายนายจิตตหัตถ์เป็นคนยากจน มีอาชีพเลี้ยงโค ภูมิลำเนาอยู่เมืองสาวัตถี ที่ว่าอยู่เมืองสาวัตถีนี้ หมายถึงเกิดในแคว้นโกศล อันมีเมืองสาวัตถีเป็นเมืองหลวง

วันหนึ่ง โคหายไปตัวหนึ่ง ตามหาจนเหนื่อยกว่าจะพบ ต้อนมันเข้าฝูงแล้วท้องก็ร้องจ๊อกๆ ด้วยความหิว เห็นวัดป่าแห่งหนึ่ง จึงเข้าไปขอข้าวกิน พระสงฆ์องค์เจ้าก็ดีใจหาย เอาข้าวเอาน้ำมาให้นายจิตตหัตถ์กินจนอิ่มหมีพีมัน

กินข้าวอิ่มก็เรียนถามพระคุณเจ้าด้วยความสงสัยว่า
“พระคุณเจ้าไปบิณฑบาตได้มาหรือ ขอรับ”
“ใช่โยม ทายกทายิกาที่หมู่บ้านไม่ไกลจากนี้นัก ใส่บาตรมาทุกวัน การขบฉันไม่ลำบากดอก”

ฉับพลัน ความคิดก็พุ่งปรู๊ดปร๊าด
“เราทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำกว่าจะได้กินข้าวสักมื้อ พระคุณเจ้าเหล่านี้ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่ๆ ก็มีผู้คนเอาข้าวปลาอาหารมาถวายล้วนดีๆ ทั้งนั้น เราจะอยู่เป็นคฤหัสถ์ทำไม บวชดีกว่า”

แล้วเขาก็เข้าไปขอบวชอยู่กับพระคุณเจ้าทั้งหลาย

เมื่อบวชแล้วอุปัชฌาย์อาจารย์ให้ท่องบทสาธยาย ทำวัตรสวดมนต์ให้ปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด วันๆ แทบไม่มีเวลาพักผ่อน ก็คิดว่า “แหม นึกว่าบวชแล้วจะได้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร แต่นี่กลับต้องมาสวด มาท่อง นั่งสมาธิแต่เช้ายันดึก แถมยังต้องระมัดระวังกาย วาจาใจ อย่างเข้มงวดอีก ดูประหนึ่งว่าจะเหยียดเท้าไม่ได้ นั่นก็อาบัติ นี่ก็อาบัติ โอ๊ย ชีวิตพระสงฆ์นี้ไม่มีอิสรภาพเสียเลย สึกดีกว่า”

ว่าแล้วก็ไปลาอุปัชฌาย์สึก มิไยอุปัชฌาย์จะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่เชื่อ สึกออกมาแล้วไปเลี้ยงโคเหมือนเดิม ไม่ได้เลี้ยงโคพักหนึ่ง กลับมาคราวนี้ทำไมมันเหนื่อยกว่าเดิม จึงคิดอยากบวชอีก ไปขอบวชอยู่กับพระคุณเจ้าอีก

พระคุณเจ้าเห็นแกบวชๆ สึกๆ หลายหน จึงเตือนว่า ทำอะไรจับจด ไม่ดีหนา จะบวชก็บวชเลย จะสึกก็สึกไปเลย แกก็ครับๆ คราวนี้ไม่สึกอีกแล้ว

ที่ไหนได้ ผ่านไปอีกไม่กี่วันก็ร้อนผ้าเหลืองอีก สึกออกไป

ว่ากันว่าแกไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ถึง ๖ ครั้ง

พระสงฆ์เห็นแกเป็นคนว่านอนสอนง่าย ถึงจะโลเล ก็อดสงสารแกไม่ได้ จึงให้บวชทุกครั้ง นัยว่าระหว่างนี้ภรรยาแกตั้งท้องพอดี

ครั้งที่ ๗ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย แกแบกไถกลับจากนาเข้าบ้าน ขณะภรรยานอนหลับอยู่ เขาเข้าห้องหมายหยิบผ้ามาเปลี่ยน เห็นภรรยานอนผ้านุ่งหลุดลุ่ยลงมา น้ำลายไหลออกจากปาก เสียงกรนดังครืดๆ กัดฟันกรอดๆ

ภาพนี้ใช่ว่าเพิ่งจะเคยเห็น แต่การเห็นคราวนี้ มันก่อความเปลี่ยนแปลงภายในใจเขาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะ “อินทรีย์” เขาแก่กล้าพอดี หมายความว่า มีความพร้อมจะเข้าถึงธรรมแล้ว เขาจึงมองดูภรรยาดุจดังซากศพขึ้นอืด (คงอ้วนเป็นพะโล้ด้วยล่ะ ฮิฮิ)

อนิจจตา ทุกขตา ก็ปรากฏขึ้นชัดแจ้งในสำนึก จึงคว้าผ้า “ขาวม้า” (ผ้าแขกจะเป็นผืนใหญ่ ขนาดผ้าขาวม้าไทยเหมือนกัน) คาดพุงรีบลงเรือน มุ่งหน้าไปวัดหวังจักบวชไม่ยอมสึก แม่ยายยืนอยู่บนเรือนอีกหลัง เห็นลูกเขยเพิ่งกลับจากนาหยกๆ ออกจากบ้านอย่างรีบร้อน จึงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น รีบไปบนเรือน เห็นลูกสาวนอนกรนครืดๆ อยู่ จึงปลุกขึ้นด่า “นังชาติชั่ว ผัวเอ็งเห็นเอ็งอยู่ในสภาพที่ทุเรศอย่างนี้ เบื่อหน่ายหนีไปวัดแล้วเว้ย”

ลูกสาวงัวเงียขึ้นตอบว่า “ช่างเถอะแม่ เขาไปๆ มาๆ อย่างนี้หลายหนแล้ว เดี๋ยวอีกสองสามวันก็กลับมา”

นายจิตตหัสถ์เดินไปบ่นไปว่าไม่เที่ยงหนอๆๆ เป็นทุกข์หนอๆๆ ตลอดทางได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว (บรรลุโสดาปัตติผล) ในระหว่างทางนั้นเอง เข้าไปขอบวชกับพระคุณเจ้า

พระเถระประธานสงฆ์กล่าวว่า
“เธอบวชๆ สึกๆ มาแล้วตั้ง ๖ ครั้ง แสดงถึงความโลเลไม่เอาจริง ศีรษะเธอถูกมีดโกนไถจนจะเป็นหินลับมีดอยู่แล้ว เราไม่สามารถบวชให้เธอได้อีก

“ได้โปรดเถอะครับ คราวนี้จะไม่สึกอีกแล้ว กระผมรับรอง” เขาขอร้องอย่างน่าเห็นใจ

ในที่สุดท่านก็ใจอ่อนจนได้ อนุญาตให้เธอบวชเป็น “โบสถ์ที่ ๗” บวชแล้วเธอก็หมั่นทำความเพียรจากจิต ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตถ์

คราวนี้บรรดาสมาชิกดงขมิ้นเห็นว่าท่านอยู่นานกว่าทุกครั้ง จึงกระเซ้าว่า “ทำไมคราวนี้ชักช้าอยู่เล่า ไม่ห่วงไถห่วงเมียหรือ”

ท่านบอกพระคุณเจ้าทั้งหลายว่า
“ผมจะไปๆ มาๆ ก็ต่อเมื่อมีความผูกพัน แต่ตอนนี้ตัดความผูกพันได้แล้ว ไม่ต้องไปไม่ต้องมาได้แล้ว” (แน่ะ เป็นปริศนาธรรมเสียด้วย)

พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องของจิตตหัตถ์ตรัสรับรองกับภิกษุทั้งหลายว่า จิตตหัตถ์ไม่กลับไปอีกแล้ว เพราะเธอ “ละบุญละบาปได้แล้ว” (หมายถึงเป็นพระอรหันต์)

นำเรื่องของจิตตหัสถ์มาล่าให้ฟัง เป็นเครื่องเตือนสติว่า ไปๆ มาๆ ขึ้นๆ ลงๆ ตามอำนาจกิเลสตัณหาชักพาไป กาลเวลาบางทีมันค่อยๆ สะสมประสบการณ์ ค่อยๆ อบรมบ่มนิสัย สักวันหนึ่งเมื่อทุกอย่าง “พร้อม” และ “ลงตัว” มันก็จะ “คลิก” ของมันเอง

ท่ามกลางความวุ่นวายนั่นแหละจะค้นพบความไม่วุ่นวาย ท่ามกลางปัญญานั่นแหละจะค้นพบการแก้ปัญหา

เพื่อนพ้องผมที่แทบฆ่าตัวตายเพราะพิษไอเอ็มเอฟบางคน บัดนี้ได้คิดหันเข้าสู่พระธรรม จิตใจสงบมั่นคง เพราะได้คำชี้แนะจากผมผู้เป็นกัลยาณมิตร น่าอนุโมทนา

นึกๆ ดูก็ขำ ก่อนนี้มาหาเรา พูดไปร้องไห้ไป วันนี้กลับมาเยี่ยม แถมสอนเราด้วยแน่ะว่า “ปล่อยวางบ้างนะ”

เกือบจะสวนไปว่า ฉันน่ะทั้งปล่อยทั้งวางเว้ย ถ้าไม่ปล่อยไม่วาง ป่านนี้ก็ร้องไห้ตาแดงเหมือนแกวันนั้นไปแล้ว ฮิฮิ ...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ จิตตหัตถ์ : ชายเจ็ดโบสถ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิถุนายน 2557 17:52:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2557 18:42:55 »

.


๖๕. พราหมณ์เฒ่า
ผู้ได้รับพระกรุณาจากพระพุทธเจ้า

เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองสาวัตถี สถานที่อันเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา เรื่องราวหลากหลายเกิดขึ้นในเมืองนี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่งทางใจแก่ประชาชนทุกชั้นวรรณะ ไม่ว่ายากดีมีจน บ่ายหน้าเข้ามาพึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ย่อมได้รับการปัดเป่าให้สิ้นไปทุกผู้ทุกนาม

พราหมณ์เฒ่านิรนามคนนี้มีความทุกข์แสนสาหัส เพราะถูกบรรดาลูกๆ ที่ตนเลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอยไล่ออกจากบ้าน ต้องซัดเซพเนจรขอทานยังชีพมุ่งหน้าไปพระเชตวัน ตามคำแนะนำของผู้ใจบุญท่านหนึ่ง

พราหมณ์เฒ่ามิใช่คนยากจน เขาเป็นผู้มีทรัพย์สินมากมาย ลูกๆ ก็ออกเหย้าออกเรือนเป็นฝั่งเป็นฝากันหมด แต่ทรัพย์สินบางส่วนยังไม่ได้แบ่งให้ บรรดาลูกๆ จึงรบเร้าให้พ่อแบ่งมรดกให้เรียบร้อย พราหมณ์แกก็แบ่งให้ลูกทุกคนเท่าๆ กัน ก็เป็นที่ปีติยินดีของบรรดาลูกๆ

ตัวแกเองนั้นเหลือไว้ส่วนตัวนิดเดียว เพราะลูกๆ บอกว่าจะช่วยกันเลี้ยงดูพ่อเอง

เบื้องแรกก็ไปอยู่กับครอบครัวลูกชายคนโต ใหม่ๆ ก็ดีอยู่ ลูกสะใภ้ก็เอาใจใส่ดูแลดี  ต่อมาไม่นานลูกสะใภ้ก็ออกฤทธิ์ บอกสามีว่า คุณพ่อมีลูกตั้งหลายคน แล้วทำไมเราต้องมาดูแลท่านคนเดียว ให้คนอื่นเขารับผิดชอบบ้างสิ สามีก็ดุภรรยาว่าไม่ควรพูดหรือคิดอย่างนั้น ท่านเป็นบุพการี ภรรยาเถียงว่าบุพการีของคุณพี่สิ มิใช่ของฉันด้วย  

สามีถูกภรรยายกเหตุผลโน้มน้าวจิตใจบ่อยๆ ชักเชื่อว่าตนถูกน้องๆ เอาเปรียบ ปล่อยให้พ่ออยู่ในความดูและของตนคนเดียว ในเมื่อได้รับส่วนแบ่งทรัพย์สินมาเท่าๆ กัน ก็ควรช่วยเลี้ยงดูพ่อบ้าง จึง “ไล่” ให้พ่อไปอยู่กับลูกคนรอง

ลูกคนรองเลี้ยงดูพ่อพักเดียว ถูกภรรยาล้างสมอง พลอยเชื่อตามด้วย เลยขับพ่อออกจากบ้าน  พ่อก็ไปอาศัยอยู่กับลูกชายคนที่สาม คนที่สี่ นัยว่าแกมีลูกชายถึงสี่คน อยู่กับลูกชายคนเล็กไม่นาน ก็โดนไล่แบบเดียวกัน

พราหมณ์ต้องระเห็จระเหเร่ร่อนเพราะถูกลูกๆ ขับออกจากเรือน นอนกลางดินกินกลางทราย ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส

ท้ายที่สุดก็ได้เข้าไปพึ่งพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ที่พระเชตวัน ดังได้กล่าวมาข้างต้น

พระพุทธองค์ตรัสสอนคาถาให้แก่พราหมณ์บทหนึ่ง สั่งให้ท่องให้คล่องปาก คาถานั้นมีความว่า  

ข้าพเจ้าเพลิดเพลินด้วยบุตรเหล่าใด ปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้นถูกภรรยายุยงไล่ข้าพเจ้าออกจากบ้านดุจสุนัขไล่กัดสุกร บุตรเหล่านั้นเป็นคนชั่วช้า เลวทราม ปากก็เรียกข้าพเจ้าว่า พ่อ พ่อ ที่แท้ก็คือยักษ์มารแฝงมาในร่างบุตรข้าพเจ้า  

พวกมันทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้แก่ผู้เฒ่าให้เที่ยวขอทานยังชีพ ดุจดังม้าแก่ที่ใช้งานไม่ได้ ถูกคนเลี้ยงไล่ไม่ให้กินอาหาร ฉะนั้น

ไม้เท้าของข้าพเจ้ายังดีกว่า ไอ้ลูกสารเลวที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ เพราะไม้เท้ากันหมากัดได้ ใช้คลำทางในที่มืดได้ ใช้หยั่งน้ำลึกได้ ใช้พยุงกายลุกขึ้นเวลาก้าวพลาดล้มได้

พระองค์ตรัสว่า เมื่อใดพวกลูกๆ ของพราหมณ์ไปประชุมสภา ให้หาโอกาสเข้าไปถวายคาถานี้ในที่ประชุม ถึงวันประชุมสภา ซึ่งลูกๆ ของแกเข้าประชุมกันพร้อมหน้า พราหมณ์เฒ่าก็แต่งกายอย่างสะอาดสะอ้าน เดินเข้าไปในที่ประชุม ขอโอกาสที่ประชุมกล่าว “อะไรบางอย่าง”  ที่สำคัญมากให้ที่ประชุมฟัง เมื่อได้รับอนุญาตพราหมณ์ก็กล่าวคาถาที่ท่องจำมาจากพระพุทธองค์ด้วยเสียงดัง

ที่ประชุมเงียบกริบ เมื่อพราหมณ์กล่าวจบลง ก็มีเสียงอื้ออึงตำหนิลูกชายทั้งสี่ของพราหมณ์ บ้างก็ลุกขึ้นทำท่าจะประชาทัณฑ์พวกเขา เพราะผู้อกตัญญูต่อพ่อแม่ เป็นบุคคลที่รังเกียจของสังคม

ลูกชายทั้งสี่จึงเข้ากราบแทบเท้าพ่อ กล่าวขอโทษในความผิดของพวกตน อะไรเล่าที่เท่าน้ำใจอันประเสริฐของพ่อแม่ เมื่อลูกๆ สำนึกผิดกล่าวขอโทษ มีหรือจะไม่ยกโทษให้ พ่อลูกต่างกอดกันร่ำไห้ด้วยปีติโสมนัส

เสียงประชาชนแว่วเข้ามาว่า “ต่อแต่นี้ไป พวกท่านจงดูแลพ่อให้ดีนะ ไม่อย่างนั้นโดนเล่นงานแน่” ลูกชายทั้งสี่นำพ่อกลับบ้าน เฝ้าปรนนิบัติให้ความสุขสบายดังเช่นแต่ก่อน

พราหมณ์เฒ่า เมื่อได้รับความเอาใจใส่จากบรรดาลูกๆ เช่นเดิม ก็รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ วันหนึ่งได้ผ้าเนื้อดีคู่หนึ่งจากลูกคนหนึ่ง จึงนำไปถวายพระพุทธองค์ กล่าวถวายว่า “ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ ย่อมเคารพนับถืออาจารย์เป็นอย่างยิ่ง พระองค์นับว่าเป็นอาจารย์สอนคาถาให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงขอถวายผ้าแพรคู่นี้เป็นอาจริยบูชา ขอพระองค์ทรงรับเถิด”

พระพุทธองค์ทรงรับผ้าคู่นั้น แล้วแสดงธรรมโปรด ในที่สุดพระธรรมเทศนา พราหมณ์ได้ละความเชื่อถือเดิมของตน มอบตนเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ประกาศถึงไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้าน

เหล่าลูกๆ ต่างก็ทำอย่างพ่อ คือ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานไปฉันภัตตาหาร และสดับพระธรรมเทศนาที่บ้านตน กราบทูลว่า พวกเขาได้ดูแลพ่ออย่างดีแล้ว เดี๋ยวนี้พ่อของพวกเขาอ้วนท้วนดี มีอินทรีย์เปล่งปลั่ง

ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตรัสอนุโมทนา และตรัสสอนว่า บัณฑิตแต่ปางก่อนทั้งหลาย กระทั่งปัจจุบันต่างก็สรรเสริญบุตรที่เลี้ยงดูบิดามารดา ขอให้พวกเขาดูแลพ่อของตนให้อยู่ดีมีสุขเถิด

พระพุทธองค์มิเพียงแต่ทรงอนุเคราะห์พราหมณ์เฒ่าเท่านั้น หากทรงแผ่พระกรุณาธิคุณไปยังบรรดาลูกๆ ของพราหมณ์เฒ่าด้วย ...

   
ข้อมูล : บทความพิเศษ พราหมณ์เฒ่า  : ผู้ได้รับพระกรุณาจากพระพุทธเจ้า โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์




๖๖. วิสาขะ
อุบาสกผู้แตกฉานในธรรม

นอกจากอุบาสกผู้แตกฉานในธรรม ได้รับยกย่องใน ‘เอตทัคคะ’ (ความเป็นผู้เลิศกว่าคนอื่น) ในทางแสดงธรรม คือ จิตตคหบดี  วิสาขะก็มีความแตกฉานในธรรมไม่แพ้กัน ภูมิธรรมก็เป็นอนาคามีเช่นเดียวกับจิตตคหบดี เพียงแต่ไม่ได้รับแต่งตั้งในเอตทัคคะเท่านั้น

ประวัติของท่านวิสาขะสับสนนิดหน่อย เพราะชื่อ วิสาขะ มีอีกคนหนึ่ง บังเอิญว่าเป็นบุตรคนร่ำรวยเช่นเดียวกัน เป็นชาวเมืองราชคฤห์เหมือนกัน พระอรรถกถาจารย์ จึงเหมาเอาว่าเป็นคนเดียว ดังเรียกวิสาขะอุบาสกคนนี้ว่า ‘ปัญจาลีพราหมณีบุตร’ (บุตรนางปัญจาลีพราหมณี)  วิสาขะ บุตรนางปัญจาลีนั้น ประวัติบอกว่าได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา แต่วิสาขะอุบาสกไม่มีหลักฐานว่าได้ออกบวช จึงน่าจะเป็นคนละคน

วิสาขะอุบาสกแต่งงานกับนางธรรมทินนา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งมคธรัฐท่านหนึ่ง ดังปรากฏว่าได้เสด็จในงานต่างๆ เสมอ

ครั้งหนึ่งตามเสด็จพระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนา ได้บรรลุโสดาปัตติผล

ต่อมาเมื่อได้รับฟังพระโอวาทจากพระพุทธองค์บ่อยๆ ก็ได้บรรลุสกทาคามิผล และอนาคามิผล โดยลำดับ

พอเป็นพระอริยบุคคลระดับอนาคามีแล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในชีวิตครอบครัว เนื่องจากพระอนาคามีละความต้องการทางเพศได้แล้ว จึงมิยุ่งเกี่ยวกับภรรยาฉันสามีภรรยาทั่วไป วิสาขะจึงอธิบายให้ภรรยาสาวฟังถึงสาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้

นางธรรมทินนาจึงบอกสามีว่า ถ้าเช่นนั้นฉันขออนุญาตไปบวชเป็นภิกษุณี (คงคิดว่าการครองเรือนกับผู้ไม่มีความรู้สึกทางเพศ คงเป็นปัญหามาก สู้ตัดใจออกไปบวชเสียให้รู้แล้วรู้รอด) สามีก็อนุญาต และเพื่อเป็นเกียรติแก่ภรรยา

วิสาขะอุบาสกจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระเจ้าพิมพิสาร แห่นางรอบเมือง (คงเช่นเดียวกับที่เราแห่นาคในทุกวันนี้กระมัง) อย่างสมเกียรติ

เมื่อนางธรรมทินนาบวชแล้ว ก็ลาอุปัชฌาย์อาจารย์ (อุปัชฌาย์ภิกษุณี เรียกตามศัพท์ว่า ‘ปวัตตินี’ ) ไปปฏิบัติธรรมในป่าซึ่งอยู่ต่างเมือง ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ คือ
     แตกฉานในอรรถ (เนื้อความรายละเอียด)
     แตกฉานในธรรม (หลักการใหญ่ ประเด็นหลัก)
     แตกฉานในนิรุกติ (ภาที่นำเสนอหรือสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ)
     และ แตกฉานในปฏิภาณ (ปรับประยุกต์ให้เกิดความแจ่มแจ้ง จนสามารถสร้างแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ๆ ได้)

วันดีคืนดี พระธรรมทินนาเถรีก็กลับมายังมาตุภูมิ ตั้งใจที่จะอนุเคราะห์อดีตสามีและญาติมิตร จึงไปบิณฑบาตทางบ้านเดิมของตน วิสาขะอดีตสามีและญาติมิตร จึงไปบิณฑบาตทางบ้านเดิมของตน วิสาขะอดีตสามีพบท่านเข้าจึงได้นิมนต์ไปฉันภัตตาหาร ในใจก็คิดว่า ธรรมทินนาอดีตภรรยาของตนคง ‘กระสัน’ (ภาษาพระแปลว่า อยากสึก) กระมัง จึงกลับมาเยี่ยม ถ้าอยากสึกก็ตามใจเธอวิสาขะคิด

วิสาขะจึงลองถามปัญหาธรรมกับพระเถรี ถามเรื่อยไปตั้งภูมิชั้นต้นๆ จนถึงภูมิธรรมระดับอนาคามีที่ตนได้บรรลุ พระเถรีก็วิสัชนาได้อย่างถูกต้องและแจ่มแจ้งจนวิสาขะจนปัญญาจะถามต่อ จึงรู้แน่ว่าที่แท้พระเถรีนั้นได้บรรลุคุณวิเศษเหนือตน แต่จะเป็นชั้นใด เกินวิสัยที่ภูมิอนาคามีอย่างตนจะหยั่งรู้ได้ จึงมีความยินดียิ่งนักและกล่าวอนุโมทนาในความก้าวหน้าในธรรมของพระเถรี

ส่งภิกษุณีกลับสำนักแล้ว วิสาขะอุบาสกก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลให้ทรงทราบถึงการปุจวิสัชนาปัญหาธรรมกับพระธรรมทินนาเถรี

ความจริงรายละเอียดของการสนทนากัน มีปรากฏในจูฬเวทัลลสูตรครับ เป็นธรรมสากัจฉาที่ลึกซึ้งมาก อยากจะนำมาเล่าไว้ในที่นี้ ก็กลัวจะเป็น ‘ยานอนหลับ’ ขนานเอก ครั้นจะแปลเป็นภาษาง่ายๆ ก็ไม่แน่ใจตนเองว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ กลัวว่ายิ่งแปลให้ง่ายก็ยิ่งจะยากขึ้นกว่าเดิมอีก เอาไว้คราวหน้าค่อยทำก็แล้วกัน

คราวนี้เอาเพียงพอให้เห็นภาพว่า ท่านทั้งสองสนทนาว่าด้วยเรื่องอะไร ท่านตอบกันเกี่ยวกับสักกายะ (กายของตน) ว่าคืออะไร เกิดมาจากสาเหตุอะไร จะดับมันได้โดยวิธีไหน สักกายทิฐิ (ความเห็นว่ามีตัวตน ความยึดมั่นในตัวตน) คือ อะไรจะดับได้โดยวิธีไหน ขันธ์ห้ากับอุปาทานขันธ์ห้า เป็นอันเดียวกันหรือคนละอย่างกัน ถามตอบสูงๆ ขึ้น จึงถึงการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาความจำ และดับเวทนาความรู้สึก) ว่าเป็นอย่างไร โอ๊ย ลึกมาก จนหยั่งไม่ถึง อย่าหยั่งดีว่า ถอยมาตั้งหลักบนตลิ่งก็แล้วกัน

เป็นอันว่า วิสาขะอุบาสกได้ฟังพระเถรีวิสัชนาอย่างแจ่มแจ้งพิสดาร

จึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้าดังกล่าวข้างต้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “ที่ธรรมทินนาบุตรสาวเราวิสัชนานั้นถูกต้องแล้ว ถ้าเราตถาคตอธิบายก็จะอธิบายเช่นเดียวกับธรรมทินนาอธิบายนั้นแล”

จากนั้นพระพุทธองค์ก็ตรัสพระคาถา (โศลกธรรม) ความว่า ผู้ใดไม่มีความกังวลในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เราเรียกผู้นั้นว่าคนไม่มีอะไรแล เรียกว่า ‘พราหมณ์’

ความหมายของพระองค์ ก็คือผู้ที่ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจ ความอยากในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ผู้นั้นก็เรียกว่าคนไม่มีอะไร คือคนไม่มีความยึดมั่นในสิ่งใดๆ คนเช่นนี้เรียกว่า ‘พราหมณ์’ ในความหมายว่าละบาปได้หมดแล้ว

พูดสั้นๆ ก็คือ คนที่มีลักษณะดังว่ามีนี้คือพระอรหันต์ว่าอย่างนั้นเถอะ เท่ากับบอกวิสาขะอุบาสกว่า ธรรมทินนาบุตรสาวของพระพุทธองค์เป็นพระอรหันต์แล้ว ธรรมะที่พระอรหันต์แสดงนั้นถูกต้องแล้ว

ไม่ปรากฏว่าวิสาขะอุบาสกออกบวช แต่เพราะความที่ท่านเป็นพระอนาคามีถึงไม่บวชก็เหมือนบวชนั้นแล ท่านได้ใช้ภูมิธรรมที่ท่านมี ช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเต็มความสามารถ ตราบจนอายุขัย

ครับ ผู้ครองเรือนก็มีส่วนสำคัญในการธำรงพระพุทธศาสนาไม่แพ้ภิกษุ ภิกษุณี ข้อสำคัญ ใครอยู่ในสถานะไหน ก็ให้ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ เป็นใช้ได้...


ข้อมูล : บทความพิเศษ วิสาขะ  : อุบาสกผู้แตกฉานในธรรม โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๖๗. อิลลีสะ  
เศรษฐีผู้ขี้เหนียว

เรื่องมีมานานแล้ว เข้าใจว่าก่อนสมัยพุทธกาล แต่เรื่องของท่านผู้นี้น่าจะเป็นตัวอย่างของคนที่ “กลับใจได้” คนหนึ่ง จึงนำมาขยายให้อ่านกันเพลินๆ (อ่านคอลัมน์ธรรมะก็มีสิทธิ์เพลินได้ไม่ใช่หรือฮะ)

มีเศรษฐีคนหนึ่ง รูปร่างไม่ค่อยหล่อเหลาสักเท่าไหร่ ว่ากันว่าแกตาเขข้าง เดินหลังค่อมนิดๆ อีกด้วย แถมบนศีรษะมี “ความลับ” พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งช่างกัลบกเท่านั้นที่รู้

มันคืออะไร ค่อยบอกทีหลังนะครับ

ท่านเศรษฐีคนนี้มีนามว่า อิลลีสะ มีทรัพย์สมบัติตกทอดมา ๗ ชั่วอายุคน ประมาณไม่ได้ว่ามีเท่าไร มากมายมหาศาลก็แล้วกัน

แต่แกเป็นคนขี้เหนียว ไม่เคยบริจาคเงินทำบุญทำทานแม้แต่บาทเดียว  ตัวแกเองก็อยู่อย่างปอนๆ กินง่าย นอนง่าย ทำยังกับคนจน ไปไหนมาไหนไม่มี “มาด” มหาเศรษฐีเอาเลย

วันหนึ่ง อิลสีสะเศรษฐีเห็นชายคนหนึ่งนั่งดื่มสุราอยู่ มีปลาแห้งกินเป็นกับแกล้ม นึกอยากจะกินอย่างเขาบ้าง ก็ไม่กล้าซื้อสุรามาดื่ม เพราะกลัวเสียทรัพย์ ขี้เหนียวปานนั้นนะครับ

สู้อดใจมาหลายวัน ความอยากกินมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดอดใจไว้ไม่ไหว จึงแอบไปซื้อสุรามาขวดหนึ่ง ไม่ให้ใครรู้ กลัวเขาจะขอแบ่ง จึงออกไปนอกเมืองคนเดียว ยึดเอาพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง ปลอดคน เป็นสถานที่นั่งดื่มสุราคนเดียวเงียบๆ

ขณะนั้นท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) ว่ากันว่าเคยเป็นบรรพบุรุษของเศรษฐีขี้เหนียวมาในชาติก่อน เห็นว่า ลูกหลานของตนนั้นมันขี้เหนียวเหลือประมาณต้องการให้สำนึก จึงแปลงกายเป็นอิลสีสะเศรษฐีอีกคนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระราชา (แน่นอนพระราชาในนิทานชาดกก็ต้องเป็นพระเจ้าพาราณสี พระนามว่า พรหมทัต) บอกถวายสมบัติทั้งปวงที่ตนมีให้แก่พระราชา

พระราชาทรงตกพระทัย อยู่ๆ เศรษฐีขี้เหนียวมามอบสมบัติให้ จึงไม่ยอมรับ รับสั่งว่าให้คิดดีๆ ก่อนท่านเศรษฐี อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ แกก็ยังยืนกรานมอบถวายสมบัติเช่นเดิม พระราชาไม่ยอมรับ แกจึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้นข้าพระพุทธเจ้าจะขนทรัพย์ทั้งหมดออกให้ทานแก่ยาจกวณิพกและคนทั่วไป

อิลลีสะเศรษฐี (ตัวปลอม) ไปคฤหาสน์ สั่งให้คนในบ้านเปิดคลังสมบัติ ขนออกมาบริจาคแก่ประชาชน ให้ป่าวประกาศทั่วเมืองว่า ท่านเศรษฐีจะบริจาคของทำทาน ขอให้มารับกันได้โดยทั่วหน้ากัน ประชาชนได้ยินข่าวก็พากันมา แรกๆ ก็ไม่แน่ใจว่าเศรษฐีขี้เหนียวจะทำจริง ครั้นเห็นว่าแกให้ทานจริงๆ ก็มารับข้าวของไปตามที่ตนต้องการ มากบ้าง น้อยบ้าง

กระทาชายชาวบ้านนอกคนหนึ่ง ขนของที่ได้รับบริจาคใส่เกวียน ออกจากเมือง ปากก็พร่ำสรรเสริญความใจบุญสุนทานของเศรษฐี อวยพรให้อิลลีสะเศรษฐีมีอายุมั่นขวัญยืนตลอดทาง

อิลลีสะเศรษฐี (ตัวจริง) ได้ยินคนเอ่ยชื่อตัวเอง จึงลุกขึ้นจากพุ่มไม้ที่แอบนั่งดื่มสุราอยู่ มองไปเห็นข้าวของที่ชายคนนั้นบรรทุกเกวียนไป จำได้ว่าเป็นของตน จึงเข้าไปยื้อแย่งกลับคืน ถูกกระทาชายนั้นทุบต่อยเอาสะบักสะบอม แถมตะโกนใส่หน้าว่า “ไอ้ฉิบหาย มึงอยากได้มึงก็ไปรับเอาซีวะ ท่านอิลลีสะเศรษฐีกำลังให้ทานอยู่ มึงมาแย่งจากกูทำไม”

ได้ยินดังนั้น อิลสีละเศรษฐีตัวจริงก็ฉุกคิดได้ว่า มันคงต้องเกิดอะไรสักอย่างขึ้นแน่ๆ รีบวิ่งไปยังคฤหาสน์ของตน เห็นประชาชนยืนมุงส่งเสียงอึงมี่ จึงแหวกฝูงชนเข้าไปจะเข้าไปในบ้าน ถูกนายประตูห้ามไว้ จึงร้องตะโกนว่า
“เฮ้ย ข้าคืออิลลีสะเศรษฐีเจ้าของบ้านนี้ ให้ข้าเข้าไป”

คนเฝ้าประตูตะคอกว่า
“ไอ้ฉิบหาย มึงอยากได้รับบริจาค มึงก็เจียมเนื้อเจียมตัวหน่อยซีวะ ไปเข้าคิวโน่น อย่าอ้างชื่อเจ้านายส่งเดช”
“ไม่ได้อ้างโว้ย ข้านี่แหละอิลลีสะ ทรัพย์สมบัติของข้า ใครถือสิทธิอะไรขนออกมาบริจาค”
“ไอ้นี่มันวอนเสียแล้ว” คนเฝ้าประตูชักโมโห จึงสั่งให้พรรคพวกรุมเตะต่อยจนสะบักสะบอม เฉดหัวออกจากบริเวณบ้าน

เมื่อถูกไล่ออกจากบ้าน อิลลีสะเศรษฐีก็คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร ไปเฝ้าพระราชา ขอพระบารมีพระราชาเป็นที่พึ่ง ร้องว่ามีคนขนข้าวของของแกออกให้ทานโดยไม่ได้รับอนุญาต

พระราชาก็รับสั่งว่า “อ้าว ก็เมื่อกี้ท่านมาหา บอกว่าจะยกทรัพย์สมบัติให้ข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าไม่รับ ท่านบอกเองว่าจะบริจาค แล้วนี่มาร้องเสียดายภายหลัง ดีนะที่ข้าพเจ้าไม่ได้รับบริจาคจากท่านแต่แรก ไม่งั้นท่านก็จะมาทวงคืนอีก”
 “ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มาเฝ้า และมิได้บอกถวายทรัพย์สมบัติดังรับสั่งแต่ประการใด พระเจ้าข้า”
“อ้าว” พระราชาทรงอุทานขึ้น สงสัยจะมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นเสียแล้ว จึงรับสั่งให้คนไปเชิญคนที่กำลังบัญชาการขนทรัพย์ออกบริจาคอยู่เข้าไปเฝ้า

ปรากฏว่า คนที่ว่านี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันกับคนที่มาร้องทุกข์ไม่ผิดเพี้ยน จนพระราชาเองก็ไม่ทรงทราบว่าใครเป็นใคร รับสั่งถามว่า “ใครคืออิลลีสะ”
“ข้าพระพุทธเจ้าเอง พระเจ้าข้า” ทั้งสองคนกราบทูลพร้อมกัน
“ไม่จริง ข้าพระพุทธเจ้าเองต่างหาก ไอ้หมอนั่นพูดเท็จ” ตัวจริงกราบทูล
“ไม่จริง พระเจ้าข้า เจ้าตนนี้กล่าวตู่ ข้าพระพุทธเจ้าคืออิลลีสะเศรษฐีตัวจริง” ตัวปลอมกราบทูลบ้าง
“เอาล่ะๆ ไม่ต้องเถียงกัน ให้ใครไปรับภรรยาและบุตรเศรษฐีมา” พระราชารับสั่ง

เมื่อภรรยาและบุตรของเศรษฐีมาถึง ต่างก็พิศวงงงงวย ไม่สามารถบอกได้ว่าใครคือสามีและบิดาของพวกตน เพราะทั้งสองคนเหมือนกันยังกับแกะ  อิลลีสะเศรษฐีตัวจริงนึกถึงทีเด็ดของตนได้ จึงกราบทูลให้รับสั่งนายช่างกัลบกมาตัดสิน พระอินทร์ในคราบของอิลลีสะตัวปลอมรู้ทันจึงเตรียมการไว้พร้อมสรรพ

ทีเด็ดที่ว่านี้ คือ อิลลีสะตัวจริงมี “ไฝ” เม็ดใหญ่อยู่กลางศีรษะ ช่างกัลบกประจำตัวเท่านั้นที่รู้ความลับ เมื่อช่างกัลบกได้เปิดศีรษะทั้งสองคน ตรวจสอบแล้วก็กราบทูลว่า
“ขอเดชะ” ทั้งสองท่านหลังค่อม ทั้งสองท่านตาเขข้างหนึ่ง ทั้งสองท่านมีไฝเม็ดใหญ่ที่ศีรษะเหมือนกัน ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถชี้บอกได้ว่าใครคืออิลลีสะเศรษฐีตัวจริง”

เท่านั้นแหละครับ อิลลีสะเศรษฐีตัวจริงเสียใจมาก ล้มฟุบสิ้นสติ พอฟื้นขึ้นมา พระอินทร์จึงคืนร่างแล้วกล่าวกับอิลลีสะเศรษฐีว่า “เราคือบรรพบุรุษของท่าน เราเห็นท่านตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เคยบริจาคทานแม้ข้าวทัพพีเดียว จึงได้มาตักเตือนท่าน ต่อไปนี้ท่านอย่าได้ตระหนี่ถี่เหนียว จงบริจาคทรัพย์ทำทาน รักษาศีลบ้าง” ขอคำมั่นสัญญาจากอิลลีสะเศรษฐี แล้วก็หายวับไปกับตา

ตั้งแต่นั้นมา อิลลีสะเศรษฐีก็กลายเป็นนิวอิลลีสะที่มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำบุญทำทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนาตามความสามารถ เป็นที่รักของคนทั้งหลายตลอดชีวิตแล...


ข้อมูล : บทความพิเศษ อิลลีสะ : เศรษฐีผู้ขี้เหนียว โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิถุนายน 2557 18:44:31 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2557 16:58:17 »

.


๖๘. อายุวัฒนกุมาร 
เด็กรอดตายเพราะต่ออายุ

พิจารณาตามเนื้อหาแล้ว เรื่องนี้น่าจะแต่งภายหลังพุทธกาล แต่พยายามโยงไปถึงพระพุทธองค์

เหตุผลง่ายๆ คือ สมัยพุทธกาลไม่มีการสวดพระปริตร การต่ออายุหรือสวดพระปริตร ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ฝากนักปราชญ์พิจารณาด้วย ขอเล่าเรื่องให้ฟังก่อน

ดาบสสองตนเป็นเพื่อนกัน บำเพ็ญพรตเคร่งครัดอยู่ในป่า ดาบสตนหนึ่งคิดว่า ขืนบวชอยู่อย่างนี้จนตายก็คงไม่มีบุตรสืบสกุล แล้วสกุลวงศ์ก็ขาดสูญ

คิดได้ดังนี้จึงลาพรตมาเป็นผู้ครองเรือน แต่งงานกับหญิงสาวที่เหมาะสมกัน ก่อร่างสร้างตัวจนฐานะมั่นคง มีโคถึง ๑๐๐ ตัว (สมัยโน้นใครมีโคมากปานนั้น ถือว่ามีฐานะดี)

ไม่ช้าไม่นานก็ได้บุตรชายน่าเกลียดน่าชังมาคนหนึ่ง พอดีได้ข่าวว่าดาบสสหายเก่าของตน อาศัยอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้านตน จึงพาลูกเมียไปกราบ

ขณะบิดาไหว้ดาบสก็อวยพรว่า “ขอให้โยมอายุมั่นขวัญยืน” ขณะมารดาไหว้ก็ได้รับคำอวยพรเช่นเดียวกัน

แต่เมื่อบุตรชายไหว้บ้าง ท่านดาบสกลับนั่งนิ่ง

“พระคุณท่านไม่อวยพรให้บุตรชายเราหรือขอรับ” คุณพ่อเด็กเรียนถามดาบสผู้เป็นสหายเก่า
“เด็กคนนี้อายุจะไม่ยืน อาตมาจึงไม่อวยพร”
“มีทางช่วยอย่างไรบ้างหรือไม่ครับท่าน” ผู้เป็นพ่อถามด้วยความกังวลใจ
“อาตมาไม่รู้วิธีแก้ไข รู้แต่ว่าเด็กจะอายุไม่ยืน” ดาบสกล่าว
“มีใครบ้างที่ทราบ”
“พระสมณโคดมคงจะทราบ” ดาบสเอ่ยถึงพระพุทธองค์ คงเพราะเกียรติคุณของพระพุทธคุณแพร่ขจรไปทั่ว แม้ฤๅษีชีไพรนักบวชต่างศาสนาก็ทราบกันดี
“แต่ผมไม่นับถือศาสนาของพระสมณโคดมนะ เกรงว่าตบะจะเสื่อม” พ่อเด็กแย้ง
ถ้าโยมรักลูก ไม่อยากให้ลูกตาย โยมคิดเอาเองก็แล้วกัน” ดาบสแนะนำ

เขาและภรรยาจึงตัดสินใจอุ้มลูกน้อยไปเฝ้าพระพุทธองค์ ขณะเขาและภรรยาถวายบังคมพระพุทธองค์ ก็ได้รับพรจากพระพุทธองค์ว่า ขอให้อายุมั่นขวัญยืน แต่เมื่อให้ลูกน้อยกราบบังคมทูลบ้าง พระพุทธองค์กลับประทับดุษณีเช่นเดียวกับดาบสสหายเก่าของเขา

เขาจึงกราบทูลถามสาเหตุ พระพุทธองค์ตรัสบอกว่าเด็กจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ วัน หลังจากวันนี้ เมื่อเขากราบทูลถามว่า มีทางรอดไหม

พระพุทธองค์ตรัสว่า มี ถ้าท่านจักให้พระสาวกทั้งหลายของเราสวดพระปริตร ๗ วัน ๗ คืน โดยสร้างปะรำไว้บริเวณบ้าน ตั้งตั่งไว้ ขึงสายสิญจน์รอบบริเวณ เอาเด็กนอนตรงกลาง นิมนต์พระสาวกของเรามาสวดพระปริตร ๗ วัน ๗ คืน โดยวิธีนี้เด็กจะรอดชีวิต

เขากลับไปตระเตรียมปะรำพิธี ตั้งตั่งสำหรับสวดพระปริตร ขึงด้วยสายสิญจน์รอบบริเวณ นำบุตรน้อยมานอนตรงกลางปะรำตามที่พระองค์ตรัสบอกนิมนต์ พระสงฆ์ไปสวดพระปริตรติดต่อกัน ๖ คืน คืนที่ ๗ พระพุทธองค์เสด็จไปสวดพระปริตร

ตำรากล่าวว่า ที่เด็กน้อยจะมีอายุแค่ ๗ วันเท่านั้น ก็เพราะมียักษ์ตนหนึ่งรับใช้ท้าวเวสสวัณ หัวหน้ายักษ์อย่างดีมาเป็นเวลา ๑๒ ปี ท้าวเวสสวัณพอใจ จึงให้พรว่าภายใน ๗ วันนี้ อนุญาตให้จับเด็กกินได้คนหนึ่ง บังเอิญว่าเด็กคนนี้เกิดในวันที่ยักษ์ตนนี้ได้รับพร แกจึงจ้องที่จะจับเด็กคนนี้กิน

แต่เมื่อพ่อแม่ของเด็กจัดการสวดพระปริตรต่ออายุให้ ยักษ์ตนนั้นก็ไม่มีโอกาสจับเด็ก ได้แต่จ้องรอจังหวะอยู่ใกล้ๆ บริเวณพิธี (รอว่าเด็กน้อยออกจากวงด้ายสายสิญจน์เมื่อใด ก็จะจับเอาไปกินทันที)

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาในปะรำพิธี เพื่อทรงสวดพระปริตร เหล่าเทวดาผู้มีปกติใหญ่น้อยทั้งหลายต่างก็แห่กันมาเฝ้าพระพุทธองค์ บริเวณพิธีจึงเต็มไปด้วยเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่ เทพผู้มีศักดิ์น้อยจำต้องถอยออกไปยืนห่างๆ

ยักษ์ตนที่พูดถึงนี้ก็จำต้องถอยออกไปยืนอยู่ไกลมาก เพราะตนเป็นเพียงยักษ์ “กระจอก” ตนหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ได้โอกาสเข้าไปรอจับเด็กกิน เมื่อพ้น ๗ วัน ๗ คืนไปแล้ว เธอก็ไม่มีสิทธิทำอะไรเด็กน้อยได้

เด็กน้อยจึงรอดชีวิต พ่อแม่เด็กจึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า บุตรชายของตนจะอายุยืนเท่าไร พระพุทธองค์ตรัสว่า เขาจะมีอายุ ๑๒๐ ปี

ด้วยเหตุนี้พ่อแม่จึงตั้งชื่อเขาว่า อายุวัฒนกุมาร (กุมารผู้มีอายุยืน) และเขาก็มีอายุยืนจริงๆ เขาเจริญเติบโตมา แต่งงานเป็นหลักฐาน มีชีวิตครอบครัวที่มั่นคงตลอดอายุขัย

วันหนึ่งเหล่าสาวกพระพุทธองค์สนทนากันใน “อุปัฏฐานศาลา” (หอฉันใช้เป็นศาลาสนทนาธรรมด้วย) ยกประเด็นเรื่องเด็กที่จะตายภายใน ๗ วัน รอดชีวิตมาได้เพราะอานุภาพการสวดพระปริตร จนเด็กได้ชื่อว่าเด็กชายอายุยืน

พระพุทธองค์เสด็จมาตรัสให้โอวาทพวกเธอว่า คนจะอายุยืนนั้น จะต้องมีคุณสมบัติหรือคุณธรรม ๔ประการ มิใช่เพียงอายุยืนอย่างเดียว วรรณะ (ผิวพรรณ) ก็ผ่องใส มีความสุข และมีพละกำลังด้วย คุณธรรมที่ว่านี้คือ

๑. ต้องมีปกติกราบไหว้ผู้อื่นเสมอ
๒. ต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตัวต่อผู้เจริญด้วยวัยวุฒิเป็นนิตย์

คุณธรรม ๒ ประการนี้ ความจริงสรุปลงเป็นข้อเดียวได้ คือ ความเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน กราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้เป็นนิตย์

พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ คนที่รู้จักสัมมาคารวะ มืออ่อน ไม่ถือเนื้อถือตัว เหตุผลอื่นอาจลึกมากจนผมมองไม่เห็น

แต่ที่เห็นแน่ๆ ก็คือ คนที่รู้จักเคารพนบนอบ เป็นคนน่ารัก ใครๆ เห็นใครๆ ก็เอ็นดู คนเช่นนี้จะหาศัตรูไม่ได้ อันโอกาสคนที่จะเตะต่อยทุบตี หรือถูกมีดจิ้มพุงถูกหามส่งโรงพยาบาล ดังคนยโสโอหังบางคนนั้นไม่มีแน่ คนอย่างนี้ย่อมมีโอกาสแก่ตายครับ ไม่ตายโหง

อายุยืนเพราะเป็นคนนอบน้อม พอมองเห็นเหตุผล แต่คนอ่อนน้อมถ่อมตน มีผิวพรรณสวย มองยาก แต่พอไปอ่านฉบับอื่น ตรงนี้ท่านใช้คำว่า “กิตติ” (ชื่อเสียง) แทนคำว่า “วณฺณ” (ผิวพรรณ) จึงถึงบางอ้อ ว่าคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิตย์คนเขาย่อมยกย่องสรรเสริญ ชื่อเสียงก็ขจรไปไกล

ส่วนความสุขนั้น แน่นอน คนเช่นนี้มีความสุขแน่

และพละ ถ้าไม่คิดถึงแต่เพียงกำลังกาย พลังด้านอื่น เช่น พลังเพื่อนพ้อง ญาติมิตร ผู้ช่วยเหลืออุปถัมภ์ คนที่ชอบอ่อนน้อมถ่อมตน ย่อมมีคนรักใคร่ช่วยเหลือมากมาย มีเหตุผลฟังขึ้นครับ

แต่ที่จะขอฝากให้ช่วยคิดต่อ ก็คือที่ผมได้เกริ่นไว้ตอนต้นนั้น สมัยพุทธกาลไม่มีการสวดพระปริตร และไม่มีการโยงสายสิญจน์ทำพิธีตลอดจนทำน้ำมนต์ ประเพณีอย่างนี้เข้าใจว่าเกิดขึ้นที่ศรีลังกาสมัยหลังแล้วก็แต่งคัมภีร์โยงไปถึงสมัยพุทธกาล ทำนองให้เข้าใจว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลโน้น

ขอฝากไว้พิจารณาด้วยครับ ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ อายุวัฒนกุมาร : เด็กรอดตายเพราะต่ออายุ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๖๙. ชาวนานิรนาม
ผู้รอดตายเพราะพระมหากรุณา

เหตุการณ์เกิดขึ้น ณ ทุ่งนาแห่งหนึ่ง แห่งเมืองสาวัตถี ชาวนาผู้ที่ตำนานไม่ได้จดชื่อไว้คนหนึ่ง กำลังไถนาเหย็งๆ อยู่ตั้งแต่เช้า พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอานนนท์พุทธอนุชา เสด็จผ่านมาทางนั้น ขณะที่เขากำลังหยุดไถ จะมานมัสการพระพุทธองค์ เขาก็ได้ยินพระพุทธดำรัสตรัสสนทนากับพระอานนท์แว่วมา
“อานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า อสรพิษตัวใหญ่ พิษร้ายกาจเสียด้วย”  ตรัสแล้วพระองค์ก็เสด็จพุทธดำเนินต่อไป

เขาคว้าไม้มาท่อนหนึ่ง หมายใจว่าจะฆ่างูพิษตัวนั้น เพราะทิ้งไว้เดี๋ยวจะไปกัดคนเดินผ่านไป ผ่านมา ไม่เห็นอสรพิษสักตัว เห็นถุงวางอยู่ถุงหนึ่ง ด้วยความอยากรู้จึงแก้ออกดู ปรากฏว่าเป็นกหาปณะ (เงิน) จำนวนมาก

ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เขาจึงเอาถุงนั้นซุกไว้ใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง แล้วก็กลับไปไถนาต่อ เสียงประชาชนร้องเย้วๆ ใกล้เข้ามา เขาก็มิได้ใส่ใจ ยังคงไถนาอยู่อย่างนั้น ตั้งใจจะรีบไถให้เสร็จก่อนสาย จะได้ปักดำให้แล้วเสร็จ

ชาวบ้านหยุดอยู่ ณ จุดนั้น ปากก็ร้องบอกกันว่าเจอแล้ว ถุงเงินอยู่ตรงนี้ มันต้องไอ้คนที่แกล้งไถนาอยู่นี่แหละตัวการ แล้วก็กรูเข้ามาจับเขา เฆี่ยนตีอย่างเจ็บแค้น เขาร้องเสียงหลงว่า ตีผมทำไม

“มึงขโมยเงินกูแล้วยังมีหน้ามาร้องถามว่าตีทำไม ไม่กระทืบให้ตายคาตีนก็บุญแล้ว” เจ้าของทรัพย์ร้องตอบ
“ผมเปล่า ผมไม่รู้เรื่อง”
“เอามันไปให้ทางการลงโทษให้เข็ด” ชาวบ้านร้องบอกกัน แล้วก็จับเขาไปส่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองพิจารณาทำโทษ

ขณะที่ถูกนำตัวไปนั้น ชาวนานิรนามผู้น่าสงสารร้องได้อยู่สองประโยคว่า
“อานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม....”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า อสรพิษตัวใหญ่ พิษร้ายกาจเสียด้วย”

ร้องอยู่อย่างนี้ตลอดทาง จนเขาเข้าใจว่ามันคงกลัวตายจนเพ้อ ไม่ได้สติ

เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเมื่อเห็นเขาร้อง อ้างพระดำรสัของพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ จึงไม่กล้าที่จะทำอะไร รีบเข้ากราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาแห่งโกศลรัฐ พระราชาจึงรับสั่งว่า อย่าพึ่งไปทำอะไรชายคนนั้น

พระองค์ก็เสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ กราบบังคมทูลเรื่องราวให้ทรงทราบพร้อมกราบทูลถามว่า เรื่องราวมันเป็นมาอย่างไร ชายคนนั้นจึงบังอาจอ้างพุทธดำรัสอย่างนั้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาวนาคนนั้นก็มิใช่ขโมย ถุงทรัพย์นั้นมันตกอยู่ในที่นาของเขา โดยที่เขาไม่รู้ ตถาคตเกรงว่าเขาจะถูกเข้าใจผิดและถูกจับไปประหารชีวิต จึงได้ผ่านไปทางนั้น และกล่าวคำดังกล่าวกับพระอานนท์ ที่เขาอ้างคำพูดของตถาคตนั้นถูกต้องแล้ว

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเสด็จกลับ รับสั่งให้ปล่อยชาวนาคนนั้น แล้วให้สืบหาคนผิดมาลงโทษในภายหลัง

เป็นอันว่าชาวนานิรนามคนนี้ได้พ้นจากความตาย เพราะพระมหากรุณาของพระพุทธองค์

พระพุทธองค์นั้นทรงมีพระคุณมากมาย สรุปได้เป็น ๓ ประการ คือ
๑. พระปัญญาคุณ ทรงมีพระปัญญาเฉียบแหลม ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐด้วยพระองค์เอง
๒. พระวิสุทธิคุณ ทรงมีความบริสุทธิ์หมดจดแห่งจิตสันดาน ปราศจากกิเลสเครื่องมัวหมองทั้งหลาย
๓. พระมหากรุณาธิคุณ ทรงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่หาที่เปรียบมิได้

พระคุณ ๒ ประการแรก เป็นคุณสมบัติส่วนพระองค์ เป็นความรู้เป็นความบริสุทธิ์เฉพาะพระองค์ ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัยที่จะอยู่อย่างเงียบๆ ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่สอนใคร ย่อมมีสิทธิทำได้ แต่ที่พระองค์ทรงทำเช่นนี้ เพราะพระคุณประการสุดท้าย เป็นพลังผลักดันให้พระองค์ทรงอยู่นิ่งเฉยไม่ได้

พระมหากรุณาธิคุณนี้แลเป็นพลังขับเคลื่อนให้พระองค์ต้องเสด็จออกไปโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ให้ได้รู้ธรรมตามพระองค์

การเคลื่อนไหวด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้ จึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ยิ่งใหญ่ดุจเดียวกับพระเทพชั้นสูง คือ พระพรหมมาอันเชิญทีเดียว

คนสมัยโน้นถือว่า พระพรหมเป็นเทพยิ่งใหญ่ การที่เขียนตำนานให้มีพระพรหมอันเชิญเสด็จไปโปรดสัตว์นั้น เป็นการบอกในตัวว่า การที่พระองค์เสด็จออกไปโปรดสัตว์นั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่ยิ่งใหญ่

ข้อเท็จจริงไม่จำเป็นต้องเป็นพรหมจริงๆ ก็ได้ หากเป็น “สัญลักษณ์”

พรหม หมายถึง พรหมวิหาร (อันมีเมตตากรุณาเป็นหลักใหญ่) การที่พระพุทธองค์รับคำเชิญของพรหมออกไปสอนประชาชน ก็คือทรงเกิดความเมตตากรุณารักห่วงใย สงสารสัตว์โลกที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ ความเมตตา ความสงสาร มีมากท่วมท้นพระทัย จนไม่สามารถนิ่งนิ่งอยู่ ต้องออกไปโปรด

เพราะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้เอง ทำให้เหล่าสัตว์ผู้น่าสงสารได้รับแสงสว่างแห่งธรรมะตามสมควรแก่นิสัยและอุปนิสัยของแต่ละคน

กระทั่งคนกำลังจะถูกฆ่าตายเพราะไม่มีความผิดอย่างชาวนานิรนามนี้ก็รอดตาย

มหาโจรฆ่าคนมาเป็นร้อยเป็นพัน กำลังจะพบมารดา และ (หากพบ) ก็จะฆ่ามารดา กลายเป็นคนบาปหนาสาหัสมาก ก็ได้กลับใจขอบวชเป็นพระสาวก

ทั้งหมดนี้ เพราะมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์นั้นแล
“องค์ใดประกอบด้วยพระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มะละโอฆะกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย...
ข้าขอประณตน้อม  ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุณยภาพนั้น นิรันดร”

ครูและนักเรียนทั้งหลาย ทราบไหมว่าบทสวดสรรเสริญพุทธคุณอันไพเราะนี้ใครเป็นผู้แต่'

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร  เปรียญ ๗ ประโยค) แห่งสำนักวัดสระเกศวรมหาวิหาร ชาวเมืองแปดริ้ว ผู้ปราดเปรื่อง ได้ประพันธ์ไว้เพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย ขอรับ
ช่วยบอกต่อๆ กันด้วย
ความซาบซึ้งในความดีงามของท่านเป็นกตัญญุตา
การบอกต่อๆ กันไป การสวด และพยายามปฏิบัติตามคำสวดนั้น เป็นกตเวทิตา ขอรับ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ ชาวนานิรนาม : ผู้รอดตายเพราะพระมหากรุณา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๗๐. อุคคตสรีระ 
พราหมณ์โย่งผู้กลับใจ

พราหมณ์มหาศาล (ระดับมหาเศรษฐี) คนหนึ่ง นาม “อุคคตสรีระ” (แปลว่า ผู้มีร่างกายสูงใหญ่) ต้องการทำบุญ บุญครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต คือ จัดการบูชายัญ นำสัตว์อย่างละร้อยมาเพื่อการนี้ คือ โคผู้ โคเมีย ลูกโคเมีย แพะ แกะ นำมาผูกไว้กับหลักเตรียมประหารบูชายัญ

พวกพราหมณ์สมัยนั้น มักคิดว่าฆ่าสัตว์เหล่านั้นบูชายัญ แล้วตนเองจะได้บุญกุศลมาก อุคคตสารีระก็เหมือนกัน

เมื่อเขาได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาใกล้บ้านเขา เขาจึงเข้าเฝ้าทูลถามพระองค์ ขณะพระอานนท์เฝ้าอยู่ด้วยว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าสดับมาว่า การก่อกองไฟ การปักหลักบูชายัญ มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พระองค์ทรงได้ยินดังนั้นหรือเปล่า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราตถาคตก็ได้ยินมาเหมือนกัน
เขาทำท่าจะกราบทูลลา เพราะได้คำยืนยันจากพระองค์ว่า ที่เขากำลังทำอยู่นั้นถูกต้อง พระอานนท์จึงท้วงพราหมณ์ขึ้นว่า ท่านพราหมณ์ไม่ควรทูลถามอย่างนั้น ควรทูลถามว่า ท่านกำลังจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ขอประทานโอวาทเกี่ยวกับเรื่องนี้

พราหมณ์จึงทูลถามตามที่พระอานนท์แนะนำ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญในเบื้องต้น เชื่อว่า เงื้อศัสตรา ๓ ชนิดที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร จะเรียกว่าทำบุญกุศลได้อย่างไร ศัสตรา ๓ ชนิดที่เป็นอกุศลนั้น คือ ศัสตราทางกาย ศัสตราทางวาจา และศัสตราทางใจ

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลย่อมคิดวางแผนว่าจะนำโคผู้ โคเมีย ลูกโคผู้ ลูกโคเมีย แพะ แกะ อย่างละเท่านั้นเท่านี้ มาฆ่าบูชายัญ นี้แลเรียกว่าเงื้อศัสตราทางใจ อันเป็นบาปอกุศล เขาคิดว่ากำลังทำบุญ แต่แท้ที่จริงเขากำลังทำบาป หาทางไปทุคติ

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อสั่งว่า จงฆ่าโคผู้ จงฆ่าโคเมีย ฯลฯ เท่านั้นเท่านี้ตัว นี้แลเรียกว่าเงื้อศัสตราทางวาจาอันเป็นอกุศล เขาสั่งว่าเขากำลังทำบุญ แท้ที่จริงแล้วกำลังทำบาปหาทางไปทุคติ

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเขาลงมือด้วยตนเอง คือ ฆ่าโคผู้ ฆ่าโคเมีย ฯลฯ เพื่อบูชายัญ เขาลงมือว่าจะทำบุญกุศล แท้จริงแล้วเขากำลังลงมือทำบาปอกุศล นี้แล เรียกว่าเงื้อดาบทางกายอันเป็นอกุศล เขากำลังทำบาปทางกาย หาทางไปทุคติ

จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องไฟ โดยแบ่งเป็นไฟที่ควรดับ ๓ กอง ไฟควรบูชาอีก ๒ กองคือ
๑. ไฟควรดับ ดับไม่มีเหลือเลยยิ่งดี ๓ กอง คือ
   ราคัคคิ – ไฟราคะ
   โทสัคคิ – ไฟโทสะ
   โมหัคคิ -  โฟโมหะ
๒. ไฟควรบูชา ควรก่อบูชาประจำอย่าให้ดับ ๓ กอง คือ
คหปัตัคคิ – ไฟเจ้าของบ้าน คือ คนในบ้าน ได้แก่บุตร ภรยา และคนใช้บริวาร
อาหุเนยยัคคิ – ไฟที่ควรบูชา ได้แก่ บิดา มารดา ลูกๆ พึงเคารพบูชา เลี้ยงดูท่าน
ทักขิเณยยัคคิ – ไฟที่ควรทำบุญด้วย ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้ทรงศีล

ทรงสอนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องเกี่ยวกับไฟเหล่านี้ คือไฟควรดับก็ต้องดับ อย่าก่อให้ลุกโชน เพราะจะนำโทษภัยมาให้ ไฟควรก่อบูชาเสมอๆ ก็ต้องก่อบูชา เพื่อสวัสดิมงคล

พราหมณ์รู้สึกซาบซึ้งที่ได้ทราบความหมายใหม่ของไฟ และวิธีการบูชายัญไฟแนวใหม่ เห็นด้วยกับพระพุทธองค์ว่า การทำบุญกุศลที่ลงทุนด้วยการฆ่า การเบียดเบียน ไม่เป็นบุญกุศลแม้แต่น้อย จึงสั่งให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายที่เตรียมมาฆ่าบูชายัญ

ตั้งแต่ได้สดับพระพุทธโอวาทคราวนั้น อุคคตสรีระได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต

พระจริยวัตร เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกนั้นเด่นชัดมาตลอด อ่านเรื่องราวในพระคัมภีร์ แล้วจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาช่วยชีวิตคนและสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากมาย ต่างกรรม ต่างวาระ

ในกรณีนี้ มิเพียงแต่อุคคตสรีระพราหมณ์เท่านั้นที่ทรงโปรดให้ได้พบทางสงบ สันติแห่งจิต สัตว์ผู้น่ารักที่กำลังจะสังเวยชีวิตในการบูชายัญของพราหมณ์ก็ได้รอดชีวิตโดยทั่วหน้ากัน เพราะพระมหากรุณาดุจสาครของพระพุทธองค์

องค์ใดประกอบด้วยพระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มะละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานติ์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย  สาธุ ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ อุคคตสรีระ : พราหมณ์โย่งผู้กลับใจ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2557 12:06:31 »

.


๗๑. พราหมณ์ขี้ยัวะ
ผู้ซึ่งกลับตัวกลับใจได้

พรหมณ์ผู้นี้ชื่อเสียงเรียงไรไม่ทราบ แต่เรียกกันว่า “ภารัทวาชะ” ตามชื่อ โคตร หรือตระกูล เขาเป็นคนหยิ่งทะนง ขี้โมโห ต่อมาพฤติกรรมได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะเทคนิควิธีของพระพุทธเจ้า อันได้นาม (ตามภาษากำลังภายใน) ว่า”ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู” ศัตรูที่อยู่ตรงหน้าจอมยุทธ์ผู้ทระนงตน ไม่มีดาบอยู่ในมือ แต่ชั่วพริบตาเดียวนั้น ดาบที่อยู่ในมือของตนนั้นไปอยู่ที่มือศัตรูได้อย่างไร และกว่าที่จะรู้ตัวก็ล้มลงไปแล้ว และกำลังจะสิ้นใจพอดี ช่างรวดเร็วอะไรปานนั้น

พราหมณ์คนนี้โกรธพระพุทธองค์ที่ชักจูงพี่ชายน้องชายไปบวชกันหมด พวกพราหมณ์ต่อต้านพระพุทธเจ้า และคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว การที่พวกพราหมณ์ต่อต้านพระพุทธเจ้า ก็มีเหตุผลที่ฟังขึ้น ถ้าพวกเขาไม่ต่อต้านสิจะเป็นเรื่องประหลาด เพราะพระพุทธองค์ทรงสอนคำสอนที่ หักล้าง” ความเชื่อดั้งเดิมและการปฏิบัติสืบต่อกันมาของพวกเขา แบบหน้ามือเป็นหลังมือ

พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาไม่เท่ากัน เกิดมาตามพระประสงค์ของพรหมัน (พระพรหม) ที่แบ่งสันปันส่วนมา

พระพุทธเจ้าก็ค้านว่ามนุษย์มิได้ถูกแบ่งสันปันส่วนมาโดยเทพองค์ใด มนุษย์มีความทัดเทียมกันโดยความเป็นมนุษย์ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนได้ โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ

พวกเขาเชื่อกันว่า คนดี คนเลว ตัดสินได้จากวรรณะที่เกิดมา เกิดมาในตระกูลสูงก็เป็นคนดี เกิดมาในวรรณะต่ำก็เป็นคนเลว เพราะเป็นบัญญัติจากพระเจ้า

พระพุทธเจ้าก็ค้านว่า คนดี คนเลว ตัดสินกันด้วยการกระทำ คนจะเป็นคนเลวก็การกระทำ เทพไท้ทั้งหลายหามีส่วนไม่

พวกเขาเชื่อในยัญพิธีต่างๆ เช่น บูชาไฟ ฆ่าสัตว์บูชายัญ อาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ

พระพุทธเจ้าก็ทรงคัดค้านหมด แล้วอย่างนี้จะให้นิ่งดูดายได้อย่างไร

พอต่อต้านได้ก็ต่อต้าน ไม่ต่อต้านออกหน้าออกตาก็ต่อต้านเงียบๆ

ยิ่งพรรคพวกพราหมณ์กันเอง ใครไปเห็นดีเห็นงามด้วยกับ “พระสมณโคดม” (คือพระพุทธเจ้า) ถือว่าไม่รักดี จะถูกพวกพราหมณ์รุกรานเอา)

พราหมณ์ปากร้ายคนนี้โกรธมากที่พระพุทธเจ้าชักจูงเอาพี่ชายและน้องชายไปบวชเรียกว่า ขายหน้าพวกพราหมณ์ด้วยกัน จึงตามไปด่าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ

คำด่ามีอะไรบ้าง บันทึกเป็น “แบบฟอร์ม” เลยครับ เช่น ไอ้โจร ไอพาล ไอ้หลงเลอะ ไอ้อูฐ ไอ้โค ไอ้ลา ไอ้สัตว์นรก ไอ้สัตว์เดรัจฉาน คนเช่นเจ้าไม่มีหวังได้ไปสู่สุคติ มีแต่ทุคติเท่านั้น อะไรทำนองนี้

พระพุทธองค์ปล่อยให้เขาด่าจนพอใจ ไม่โต้ตอบแม้แต่คำเดียว อันเป็น “วิธีการต่อสู้แบบพุทธ” ก็ว่าได้ หลายครั้งหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นกับพระพุทธองค์ พระองค์จะไม่โต้ตอบ

ดังครั้งหนึ่ง นางมาคันทิยาจ้างคนมาด่าพระพุทธเจ้า (เพราะความแค้นแต่หนหลัง) พระองค์ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอนแม้คำเดียว เล่นเอาพระอานนท์ร้อนใจ ถึงกับกราบทูลให้หนีไปยังเมืองที่ไม่มีใครด่า พระองค์ตรัสถามว่า ถ้าเมืองนั้นเขาด่าอีกล่ะจะไปที่ไหน พระอานนท์ก็กราบทูลว่า ไปเมืองอื่นที่ไม่มีใครด่า

พระองค์ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็จะต้อหนีไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะคนเลวมีมาก พระองค์ว่าอย่างนั้น ไปไหนก็ต้องเจอคนเลว และถูกคนเลวด่าจนได้

เมื่อเขาด่าจนพอใจแล้ว พระพุทธองค์ตรัสถามเขาว่า “พราหมณ์ที่บ้านท่านมีแขกไปใครมาไหม”

“มีสิ สมณโคดม ข้าพเจ้ามิใช่คนกระจอกนี่” เขาตอบด้วยความทระนงว่า คนอย่างเขาก็เป็นพราหมณ์มีอันดับ มีเพื่อนฝูง และคนนับหน้าถือตามากมาย ย่อมต้องมีแขกไปมาหาสู่มากเป็นธรรมดา
“เวลาแขกมา ท่านเอาอะไรมาต้อนรับ”
“ก็ของต้อนรับแขกตามธรรมเนียมสิ สมณโคดม ข้าพเจ้ามิใช่คนป่าเถื่อนนี่”
เขาตอบอย่างทระนงเช่นเคย พราหมณ์มีอันดับอย่างเขาย่อมรู้ขนบธรรมเนียม เวลาใครไปใครมาควรจะต้อนรับอย่างไร ไม่น่าถาม ว่าอย่างนั้นเถอะ
“ถ้าแขกไม่กินของที่ท่านนำมาต้อนรับ ของนั้นจะเป็นของใคร”
“ก็เป็นของข้าพเจ้าตามเดิมสิ” พราหมณ์ตอบ ยังไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสถามทำไม คำถามพื้นๆ นี้ใครก็ตอบได้ หารู้ไม่ “ดาบศัตรู” ได้มาอยู่ที่พระหัตถ์ของพระองค์โดยที่เขาไม่รู้สึก

พระองค์ตรัสว่า ก็เช่นเดียวกันละนะ เมื่อกี้ท่านด่าเรามากมายด้วยถ้อยคำหยาบคาย เราตถาคตไม่รับคำด่าเหล่านั้น คำด่าเหล่านั้นตกเป็นของท่านตามเดิมสินะ” พระพุทธองค์ตรัสเงียบๆ

เขาสะดุ้งดุจถูกเสียบด้วยดาบคมกริบก็มิปาน
ไม่สะดุ้งไหวหรือครับ คำ “ไอ้โค ไอ้อูฐ ไอ้สัตว์เดรัจฉาน” เป็นต้น ที่เขาด่า ด่า ด่า และด่าออกไปเมื่อกี้นี้ มันหันกลับมาหาเขาเอง พูดง่ายๆ ว่าเขากำลังด่าตัวเองว่าเป็นโค เป็นอูฐ เป็นสัตว์เดรัจฉาน

เมื่อเขาสำนึก พระพุทธเจ้าจึงตรัสพระคาถา (โศลกธรรม) สอนเขา ความว่า
“ผู้ที่ไม่มักโกรธ ผู้ฝึกตนแล้ว มีชีวิตราบเรียบ หลุดพ้นเพราะรู้แจ้ง สงบ และมั่นคง ความโกรธจะมีแต่ที่ไหน (คือ คนเช่นนี้ไม่มีความโกรธแม้แต่น้อย) ผู้โกรธที่ตอบคนที่ด่า เลวกว่าคนด่าเสียอีก ผู้ไม่โกรธตอบคนที่ด่า นับว่าชนะสงครามที่เอาชนะได้ยากยิ่ง

คนที่รู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว มีสติ สงบใจได้ นับว่าได้ทำประโยชน์แก่ตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย คนที่ว่านี้นับว่าได้ช่วยเยียวยาแก่คนทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งตนเองและคนอื่น คนที่ไม่รู้ธรรม (ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว) เขาเรียกกันว่า “คนโง่”

พราหมณ์ได้สดับฟังพระธรรมเทศนาโดยย่อ ก็ซาบซึ้งใจ ก้มกราบ กล่าวปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า เป็นสรณะ (ที่พึ่ง ที่ระลึก เป็นแนวทางดำเนินชีวิต) ตลอดชีวิต

จากความเป็นพราหมณ์ขี้ยัวะ หยิ่งทระนงตนว่ามีชาติตระกูลสูง กลายเป็นสงบเสงี่ยม ไม่ถือตนเข้าใจโลกและชีวิต พฤติกรรมได้เปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง ตำราขยายต่อไปว่า ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตเขาได้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วย...


ข้อมูล : บทความพิเศษ พราหมณ์ขี้ยัวะ : ผู้ซึ่งกลับตัวกลับใจได้ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๗๒. เวรัญชพราหมณ์
พราหมณ์ผู้ขี้หลงขี้ลืม

เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จออกประกาศพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ยังมิได้วางกฎเกณฑ์หรือสิกขาบทให้พระปฏิบัติ เพราะยังไม่มีผู้ล่วงละเมิดทำสิ่งไม่ดีไม่งามอันไม่เหมาะสมแก่สมณะ (สิกขาบทจะบัญญัติขึ้นหลังจากมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น)

พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งเสด็จไปประทับ ณ เมืองเวรัญชรา วันหนึ่งพราหมณ์นามว่า เวรัญชะ ได้ข่าวว่าพระองค์เสด็จมา จึงเข้าไปหาเพื่อสนทนาปราศรัย เมื่อกล่าวทักทายพระพุทธองค์แล้ว เห็นพุทธองค์ประทับนั่งเฉย มิได้ลุกขึ้นยืนรับตนในฐานะที่เป็นพราหมณ์ผู้เฒ่า ก็นึกโกรธขึ้นมาทันที กล่าวเชิงตำหนิว่า “สมณโคดม เป็นคนไม่มีรสชาติ”

ความหมายของพราหมณ์ก็คือ “สามัคคีรส” คือ ความสามัคคี ร่วมมือกันปฏิบัติตามธรรมเนียมของสังคม เช่น ผู้น้อยเคารพผู้อาวุโส ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีทำให้ขนบธรรมเนียมอันดีงามเป็นไปด้วยดี แต่พระพุทธเจ้าไม่รู้จักแสดงความเคารพต่อผู้อาวุโส จึงนับว่าเป็น “คนไม่มีรสชาติ”

พนะพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ที่พราหมณ์ว่า ตถาคตไม่มีรสชาตินั้น ถูกต้องแล้วเพราะรสชาติฉันใดที่ชาวโลกเขามีกัน เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ (ความคิดคำนึง) อันน่าใคร่ น่าพอใจ รสชาติอย่างนั้น
 
ตถาคตละได้แล้ว จึงเป็นคนไม่มีรสชาติ

“สมณโคดมไร้สมบัติ” สมบัติในที่นี้ก็คือการรู้จักนอบน้อมต่อผู้ใหญ่นั่นแหละ ใครมีสิ่งเหล่านี้เรียกว่าคนมีสมบัติ คงจะตรงกับสมัยนี้ว่า “สมบัติผู้ดี” นั่นแหละ ใครมีมากก็เรียกกว่าคนมีสมบัติผู้ดี หรือรวยสมบัติผู้ดี ใครไม่ค่อยมีก็เรียกว่าคนยากไร้ไปเลย

พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ว่าเราไร้สมบัตินั้น กล่าวถูกต้อง เพราะสมบัติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ที่ชาวโลกเขาชอบพอยินดีนั้น เราตถาคตละได้หมดแล้ว จึงไม่มีสมบัติเหล่านั้น

“สมณโคดมสอนไม่ให้กระทำ”  พราหมณ์ หมายถึงพระพุทธองค์สอนให้คนกำจัด และพระองค์เองก็เป็นคนกำจัดขนบธรรมเนียมอันดีงามของสังคม ไม่รู้จักนบนอบต่อผู้หลักผู้ใหญ่

พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ว่าเราตถาคตสอนให้กำจัดนั้นเป็นความจริง เพราะเราตถาคตเป็นผู้กำจัดสรรพกิเลส
ได้สิ้นเชิง และสอนให้คนอื่นกำจัดกิเลสเหล่านั้นไปด้วย

“สมณโคดมเป็นคนล้างผลาญ” ความหมายของพราหมณ์ก็คือ คนที่ไร้การศึกษาไม่มีการศึกษาไม่มีการฝึกอบรมเรื่องกิริยามารยาทของสังคม อย่างนี้นับว่าเป็นคนชั่ว คนเลว ตายไปไม่ได้ผุดได้เกิดในสุคติภพเป็นแน่

พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ท่านว่าเราตถาคตไม่ผุดไม่เกิดนั้น เป็นคำกล่าวถูกต้อง เพราะกิเลสเหล่าใดอันจะนำพาให้เกิดใหม่ กิเลสเหล่านั้นเราตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว จึงไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

พราหมณ์ว่าพระองค์อีกสองสามอย่างไม่มีเวลามาค้นมาเล่าโดยละเอียด

เอาเป็นว่าไม่ว่าพราหมณ์จะ “ด่า” พระองค์ในแง่ไหน พระองค์ทรง “แปร” ความหมายไปในด้านดีหมด เช่น ด่าว่า “ไม่ผุดไม่เกิด” นี้ออกจะแรง เพราะเท่ากับว่าพระพุทธเจ้าไม่มีโอกาสเกิดในท้องมนุษย์อีก มีแต่จะไปเกิดเป็นพวกเปรต พวกอสูรกาย (ซึ่งไม่เกิดในท้องคน แต่จะผุดเกิดแล้วโตทันที เพื่อเสวยผลแห่งกรรมชั่ว)

พูดให้ชัด คำว่า “ไม่ผุดไม่เกิดนี้ หมายถึงด่าว่า “ไอ้เปรต ไอ้อสุรกาย” อะไรทำนองนั้น ปานนั้นแหละ ขอรับ ก็พราหมณ์แกโกรธนี่ครับ โกรธที่พระพุทธเจ้ายังหนุ่มกว่าตน แต่ไม่แสดงความเคารพตนตามลำดับอาวุโส

พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายเชิงเปรียบเทียบว่า ลูกไก่ที่แม่ไก่ฟักออกจากไข่หลายฟอง ตัวโตเจาะกระเปาะไข่ออกมาก่อน เขาก็เรียกลูกไก่ตัวนั้นว่า “พี่” หรือ “ลูกไก่ตัวโต” ฉันใด ในหมู่มนุษย์นั้น พระองค์เป็นคนแรกที่เจาะกระเปาะไข่ คือ อวิชชาออกมาได้ พระองค์จึงควรนับว่าเป็น “พี่ใหญ่” ของมนุษย์ทั้งปวง ทั้งนี้ ด้วยคุณธรรมเป็นเครื่องวัด มิใช่ด้วยอายุพรรษา

พราหมณ์พยักหน้าเห็นด้วย มีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ จึงกล่าวปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสมณะตลอดชีวิต พราหมณ์ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ประทับจำพรรษาที่เมืองเวรัญชราปวารณาว่า จะดูแลเรื่องปัจจัยสี่ อำนวยความสะดวกแก่พระพุทธองค์และคณะสงฆ์แล้วก็หลีกไป

ในพรรษานั้นเกิดฝนแล้ง ประชาชนไม่ได้ทำนา ทำไร่ ข้าวยากหมากแพง พราหมณ์เองหลังจากออกปากว่าจะอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธองค์และพระสงฆ์แล้วก็ลืมสนิท ภิกษุทั้งหลายประสบความยากลำบากด้วยอาหาร การฉันต้องอาศัยข้าวแดงจากพวกพ่อค้าม้าที่พักแรมฤดูฝน ณ เมืองนั้นยังชีพ อย่างทรหดอดทนจนพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญเหล่าสาวกของพระองค์ว่าไม่เห็นแก่ปากท้องยอมอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ตลอดพรรษา

พระโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก เห็นพระสงฆ์ลำบากจึงกราบทูลเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหลายประการ เช่น จะไปบิณฑบาต ณ ที่อื่นไกลๆ ด้วยอำนาจฤทธิ์ นำอาหารมาถวายพระสงฆ์ แต่ถูกพระพุทธองค์ห้ามไว้

ออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ชักชวนพระอานนท์พุทธอนุชาไปลาเวรัญชพราหมณ์ ผู้นิมนต์ให้จำพรรษา

พราหมณ์พอเห็นพระพุทธองค์เท่านั้น ก็รำลึกได้ว่าตนเป็นสาเหตุให้พระสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขอดอยากตลอดพรรษา รู้สำนึกผิด จึงกราบทูลนิมนต์พระองค์พร้อมเล่าสาวกไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน ถวายไทยธรรมอันประณีตจำนวนมาก (แก้ตัวว่าอย่างนั้นเถอะ)

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเขา ทรงอำลาเขาเสด็จไปยังเมืองไพศาลี ประทับอยู่ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน

พราหมณ์แกผิดคำสัญญา แต่ตอนหลังกราบขอขมาและถวายทานแก้ตัวก็เลยไม่ต้องรับผลแห่งการผิดสัญญา

คัมภีร์เล่าว่า คนที่ออกปากว่าจะถวายสิ่งนั้นสิ่งนี้แก่ภิกษุผู้ทรงศีล แล้วไม่ทำตามที่พูดไว้ มักจะทำมาค้าขายขาดทุนหรือไม่ก็มักจะพลาดโอกาสดีๆ ที่พึงได้ในชีวิตบ่อยๆ เช่น มีข่าวว่าจะได้เลื่อนยศ ได้ตำแหน่ง ขนาด “เต็งหาม” แล้วก็ยังพลาด

ใครที่เป็นอย่างนี้บ่อยๆ ให้รีบทำบุญแก้ตัวเสีย และต่อไปอย่าปากไวว่าจะถวายนั้น ถวายนี้ แล้วลืมเป็นอันขาดนะ สิบอกไห่!. ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ เวรัญชพราหมณ์ : พราหมณ์ผู้ขี้หลงขี้ลืม โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๗๓. เทวานัมปิยะติสสะ  
อทิฏฐสหายของพระเจ้าอโศก

เขียนถึงอุบาสกผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนามาหลายท่าน ทั้งในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล จะละเลยท่านที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ไม่ได้ เพราะเป็นผู้มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาไม่น้อย

ท่านผู้นี้ หรือ “พระองค์นี้” คือ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งศรีลังกา ร่วมยุคสมัยกับพระเจ้าอโศก

พระเจ้าอโศกได้ทรงมีสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ดังที่ภาษาบาลีเรียกว่า “ทรงเป็นอทิฏฐสหาย” (สหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน) มาตลอดรัชกาล

เมื่อพระเจ้าอโศกทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ เสร็จ สังคายนาก็ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระพุทธศาสนายังนานาประเทศทั้งหมด แบ่งเป็น ๙ สาย

หนึ่งใน ๙ สายนั้น คือ คณะสมณทูต อันมีพระมหินทเถระเป็นประมุข ไปยังเกาะศรีลังกา อีกรายหนึ่ง คือคณะของพระโสณะ และพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ (ว่ากันว่าคือภูมิภาคแถบนี้ อันมีเมืองนครปฐมในปัจจุบันนี้เป็นศูนย์กลาง)

กล่าวเฉพาะศรีลังกา ก่อนพระมหินทเถระมา ไม่ทราบแน่ชัดว่าชาวเกาะศรีลังกานับถือศาสนาอะไร คงจะเป็นลัทธิถือผีถือสางตามถนัด คนพื้นเมืองนี้แต่ดั้งเดิมเรียกกันว่า “ยักษ์” หรือก็คงจะเป็นบรรพบุรุษของพวกทมิฬในปัจจุบัน

เมื่อพระเจ้าวิชัย กษัตริย์อารยัน ยกทัพมาบุกเกาะศรีลังกา และยึดเกาะนี้ได้ ก็ได้ผสมกับพวกยักษ์จนกลายมาเป็นชาวสิงหล เพราะฉะนั้น ชาวสิงหลจึงนับได้ว่าเป็นพวกอารยันเช่นเดียวกับชาวอินเดีย

พระเจ้าอโศกผู้เป็นเชื้อสายอารยัน จึงทรงมีสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์ศรีลังกาผู้มีเชื้อสายอารยันเช่นเดียวกัน เมื่อจะส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างแดน จึงทรงเผื่อแผ่มายังพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะด้วย

เมื่อพระมหินท์พร้อมคณะ อันมีพระอัฏฏิยะ พระอุตติยะ พระภัทสาละ พระสาณสัมพละ สามเณรสุมนะ และภัณฑะอุบาสก เป็นไวยาวัจกร มาถึงเกาะศรีลังกา ในปี พ.ศ. ๒๓๖ ปีเดียว หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ว่ากันอย่างนั้น (เรื่อง พ.ศ. ยังเห็นต่างกันอยู่) เมื่อมาถึงใหม่ๆ ได้พำนักอยู่ที่เขามิสสกะบรรพต (เจติยบรรพต) อยู่นอกเมือง

พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเสด็จออกล่าเนื้อ ทอดพระเนตรเห็นเนื้อสมันกินหญ้าเพลินโดยไม่ระวังภัย ทรงดำริว่าไม่ควรยิงเนื้อขณะที่มันไม่ได้ระวังตัว จึงค่อยเสด็จพระราชดำเนินไปใกล้ เนื้อรู้ตัววิ่งหนีไปยังเนินมะม่วง พระราชาเสด็จตามเข้าไป ทันใดนั้นก็ได้สดับเสียงเรียก “ติสสะ มาทางนี้”
“ใครเรียกชื่อเรา” พระราชาทรงฉงนพระทัย จึงสืบพระบาทไปตามเสียง ทอดพระเนตรเห็นภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง นั่งสงบอยู่ใต้ต้นมะม่วงต้นหนึ่ง จึงเสด็จเข้าไปนมัสการ พระเถระรู้พระราชดำริจึงกล่าวว่า
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพคือสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เพื่อทดสอบพระปรีชาญาณของกษัตริย์ศรีลังกา พระเถระจึงเอ่ยถามว่า
“มหาบพิตร ต้นไม้นี้ชื่ออะไร”
“ต้นมะม่วง ขอรับ”
“มหาบพิตร นอกจากต้นมะม่วงนี้และต้นมะม่วงอื่น ยังมีต้นไม้อื่นอีกไหม”
“มีมาก ขอรับ”
“มหาบพิตร นอกจากต้นมะม่วงนี้และต้นมะม่วงอื่น ยังมีต้นไม้อื่นอีกไหม”
“มี ขอรับ แต่ไม่ใช่ต้นมะม่วง”
“มหาบพิตร นอกจากต้นมะม่วงอื่น และต้นไม้ที่ไม่ใช่ต้นมะม่วง ยังมีต้นไม้อีกไหม”
“ก็ต้นมะม่วงต้นนี้นะสิ ขอรับ”
พระเถระถามต่อไปว่า
“มหาบพิตร พระประยูรญาติของพระองค์มีไหม”
“มีมาก ขอรับ”
“นอกจากพระประยูรญาติเหล่านั้น ยังมีใครอื่นอีกไหม”
“ผู้มิใช่ญาติมีมากกว่า ขอรับ”
“นอกจากพระประยูรญาติ และผู้มิใช่พระประยูรญาติ ยังมีใครอื่นอีกไหม”
“ก็โยมนี้แหละ ขอรับ”
พระเถระกล่าว “สาธุ” ทรงชมเชยว่าพระมหากษัตริย์แห่งเกาะศรีลังกา ทรงมีพระปฏิภาณปัญญาเฉียบคมยิ่งนัก จึงแสดง “จูฬหัตถิปโทปมสูตร” (พระสูตรว่าด้วยธรรมะอุปมาดุจรอยเท้าช้าง) ถวายพระราชา

พระราชาทรงนิมนต์พระเถระพร้อมคณะไปฉันภัตตาหารในพระราชสำนักในวันรุ่งขึ้น

หลังพระคุณเจ้าฉันเสร็จ พระราชาทรงมอบถวายอุทยานเมฆวัน ให้เป็นวัดที่พำนักของพวกท่านอีกแห่งหนึ่งด้วย พระเถระได้แสดงธรรมหลายวาระโอกาสแก่พระเจ้าเทวานิมปิยติสสะ พร้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพารและชาวเมืองจำนวนมาก

ในจำนวนผู้ที่สดับธรรมเทศนา มีอำมาตย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง นาม อริฏฐะ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กราบทูลขอพระบรมราชานุญาตบวชเป็นภิกษุซึ่งก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ท่านอริฏฐะพร้อมญาติพี่น้องอีก ๕๕ คน ได้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว

หลังจากออกพรรษาแรกในลังกาทวีป พระมหินทเถระเจ้า มีเถรบัญชาให้สุมนะสามเณรผู้มีฤทธิ์ไปขอพระเขี้ยวแก้วจากท้าวสักกเทวราช อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ ถูปาราม พระเขี้ยวแก้ว เดี๋ยวนี้ก็ยังคงอยู่ที่ประเทศศรีลังกา เป็นปูชนียวัตถุที่ชาวศรีลังกาเขาเคารพและหวงแหนมาก ทุกปีจะมีการอัญเชิญพระธาตุแห่แหนรอบเมือง และประดิษฐานให้ประชาชนสักการบูชาในเทศกาลวันวิสาขบูชา

พระนางอนุฬาเทวีพระมีพระประสงค์จะบวช เนื่องจากไม่มีภิกษุณีเป็น “วัตตินี” (แปลว่าอุปัชฌาย์) บวชให้ พระเถระจึงถวายพระพรพระราชา ให้ทรงส่งคณะทูตไปขอพระราชทานภิกษุณีจากพรเจ้าอโศก ทุกอย่างเป็นไปตามต้องการ

ในที่สุดพระเจ้าอโศกก็ทรงอนุญาตให้พระสังฆมิตตาเถรี พระขนิษฐาของพระมหินทเถระมาลังกา พระเถรีได้อัญเชิญหน่อพระศรีมหาโพธิ์ลงเรือมาด้วย มาปลูกไว้ให้ประชาชนชาวศรีลังกาได้สักการบูชา ว่ากันว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ยังมีชีวิตอยู่ตราบทุกวันนี้ (ต้นเดิมคงตายไปนานแล้ว ที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นลูกหลานต้นเดิมนั้น)

ชาวลังกาหวงแหนมาก ไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ กั้นรั้วไว้ถึงสามชั้น เมื่อครั้งผมและคณะแสวงบุญไปศรีลังกา เราได้นำผ้าแพรไปด้วย ตั้งใจจะไปห่มต้นศรีมหาโพธิ์ เจ้าหน้าที่วัดห้ามเข้า

เจรจาอยู่นานกว่าจะอนุญาตให้ตัวแทนคณะ ๒ คน (คือผมกับคุณลุงปลั่ง) นำผ้าเข้าไป ผ่านรั้วขั้นที่หนึ่ง ที่สองตามลำดับ พอถึงรั้วขั้นที่สาม เขาให้เรายืนอยู่ตรงนั้น เอาผ้าพาดไว้ที่รั้ว บอกว่าเขาจะนำเข้าไปห่มให้เอง

ผมถามว่าทำไมไม่ให้เข้าไป เขาบอกว่า “เกรงว่าจะนำเชื้อโรคไปติดต้นไม้” เอากะแขกลังกาสิ พูดยังกับเราเป็นตัวแพร่เชื้อโรค  แต่เราก็ไม่ว่าอะไร เพราะซาบซึ้งว่าชาวศรีลังกาเขารักและหวงแหนต้นศรีมหาโพธิ์เหลือเกิน น่าอนุโมทนายิ่งนัก

พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นกษัตริย์แห่งเกาะศรีลังกาพระองค์แรก ที่ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นมรดกตกทอดมั่นคงมาจนถึงบัดนี้ไม่ขาดสายเลย นับว่าประเทศศรีลังกา เป็นศูนย์กลางสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา นอกเหนือไปจากประเทศสยามของเรา

ว่าตามจริงแล้ว ทั้งไทยและศรีลังกาต่างก็มีความสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิด ไทยเราได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มา ขณะที่ลังกาเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลงก็ได้ขอพระสงฆ์ไทยไปฟื้นฟูขึ้นที่ลังกา จนกระทั่งมีพระสงฆ์นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ มาจนบัดนี้

ไทยมีลังกาวงศ์ ลังกามีสยามวงศ์ ด้วยประการฉะนี้แล...


ข้อมูล : บทความพิเศษ เทวานัมปิยะติสสะ : อทิฏฐสหายของพระเจ้าอโศก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์



๗๔. สามเณรปิโลติกะ

วันนี้ขอนำเอาสามเณรอดีตเด็กสลัมขอประทานโทษ เด็กชุมชนแออัดมาเล่าสู่กันฟัง เด็กคนนั้นชื่อเสียงเรียงไรไม่แจ้ง แต่ชาวบ้านเขาเรียก “ไอ้ผ้าเก่าขาด” หรือ “ไอ้ตูดขาด” เพราะแกนุ่งผ้าเก่าขาดวิ่นอยู่ผืนเดียว ก็มีอยู่แค่นี้นี่ครับ

วันๆ ก็ถือกะลาขอทานยังชีพ ได้อาหารการกินบ้าง อดบ้าง (อดเสียแหละส่วนมาก) ท่านพระอานนทเถระ ไปบิณฑบาต พบเด็กคนนี้เข้า ก็เกิดความสงสารตามประสาพระชอบเลี้ยงเด็ก

พระอานนท์เป็นคนรักเด็ก เห็นเด็กเร่ร่อนก็นึกสงสารแล้วเขาจะอดตาย จึงจับมาบวชและให้การศึกษาอบรมเป็นจำนวนมาก จนพระมหากัสสปะเถระ ท่านพูดกระเซ้าเวลาพบกัน ด้วยวาทะว่า “เจ้าเด็กน้อย”

พระอานนท์ถามเด็กมอมแมมคนนี้ว่า เจ้าอยู่อย่างนี้ลำบากเหลือเกินเจ้าบวชจะไม่ดีกว่าหรือ

เด็กน้อยถามว่า “ใครจะบวชให้ผมเล่าครับ”
“ฉันเอง” พระเถระพูด แล้วนำเขาไปวิหารอาบน้ำให้ด้วยมือท่านเอง ขัดคราบไคลออกหมดจนสะอาดสะอ้านแล้ว ให้กรรมฐานแล้วให้บวชเป็นสามเณร

พระเถระจับกางเกงขึ้นมาคลี่ดู ไม่เห็นว่าจะนำไปใช้อะไรได้ จึงเอาพาดกิ่งไม้ไว้

สามเณรน้อยได้รับการฝึกฝนอบรมจากพระอานนท์ เมื่ออายุครบบวช ก็ได้อุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ มีปัจจัยสี่ใช้สอยไม่ขาดแคลน เมื่ออยู่ดีกินดีขึ้นฉวีวรรณก็ผุดผ่องอ้วนท้วน มีน้ำมีนวลขึ้นแล้วก็ “กระสัน” ขึ้นมา

คำนี้ (กระสัน) เป็นภาษาพระ หมายถึงอยากสึกครับ ศัพท์บาลีว่า อุกฺกณฺฐิโต แปลตามศัพท์ว่า “ชูคอ” อาจารย์สอนบาลีท่านอธิบายว่า มีความรู้สึกว่า ผ้าเหลืองร้อน นั่งไม่เป็นสุข วันๆ ก็นั่ง ”ชูคอ” หรือชะเง้อคอมองออกนอกกำแพงวัดว่า เมื่อไรฉันจะได้ออกไปสักทีหนาอะไรทำนองนี้

ไต้ ตามทาง น้องชายผมแกเล่าเรื่องคนหนีเมียไปบวชเป็นพระหลวงตาไว้ใน “สองทศวรรษในดงขมิ้น” อ่านแล้วเห็นภาพพระที่เกิดอาการ “ชูคอ” นี้เป็นอย่างดี นายคนหนึ่งทะเลาะกับเมียแล้วหนีไปบวช อุปัชฌาย์บวชเพราะต้องการประชดเมียมากกว่า ถือหนังสือปาติโมกข์เดินไปท่องอยู่ที่กำแพงวัด ตาก็ชำเลืองไปยังหลังคาบ้าน ท่อง “โย ปะนะภิกขุ โย ปะนะภิกขุ”

ข้างฝ่ายภรรยา ทีแรกนึกว่าสามีคงบวชไม่นาน เดี๋ยวก็สึก แต่ผ่านไปห้าวันแล้วยังไม่สึก จึงสั่งลูกชายไปบอกพ่อว่า จะขายควาย เมื่อลูกชายไปบอกหลวงพ่อ “หลวงพ่อ แม่บอกว่าจะขายควาย” หลวงพ่อก็ตอบทันทีว่า “ขายก็ขายไป ไม่ใช่ควายของกู โยปะนะภิกขุ”

วันหลังลูกชายมาบอกตามาคำของแม่อีก “หลวงพ่อ แม่ว่าจะขายนา “ขายก็ขายไป ไม่ใช่นาของกู โยปะนะภิกขุ... ไอ้แดงมึงอย่ามากวนใจกู กูจะท่องหนังสือ”

ไอ้แดงกลับไปรายงานแม่ คราวนี้แม่ปล่อยทีเด็ดกระซิบข้างหูลูกชาย ทันทีที่ลูกชายบอกว่า “หลวงพ่อ แม่ว่าจะเอาผัวใหม่ (คือแต่งงานใหม่นะครับ)” เท่านั้นแหละหลวงพ่อโยนหนังสือปาติโมกข์ทันที
“ไปบอกแม่มึง กูจะสึกวันนี้” (ฮิฮิ)

นี่แหละครับ ที่ท่านว่า อุกฺกณฺฐิโตแปลตามศัพท์ว่า “ชูคอ” หมายถึงอยากสึก

เมื่อพระปิโลติกะเธอเกิดความคิดอยากสึก เธอจึงกลับไปยังต้นไม้ต้นนั้น กางเกงตูดขาดยังอยู่ เธอจึงหยิบมันขึ้นมาตั้งจะจะนุ่งแล้วถือกะลาไปขอทานตามเดิม

ทันใดนั้นเธอก็ชะงัก กล่าวสอนตนเองว่า “ไอ้โง่เอ๊ย เอ็งชักไม่มียางอายเสียเลย เอ็งบวชมาแล้ว มีเครื่องนุ่งห่มอย่างดี มีอาหารอย่างดีกิน แล้วยังอยากจะกลับมานุ่งผ้าเก่าขาดเที่ยวขอทานอีกหรือ”

ให้โอวาทตนเองเสร็จ ก็นึกละอายใจ ตัดสินใจไม่สึก จะขอบวชอยู่ในพระศาสนาต่อไป จึงเอากางเกงตูดขาดแขวนกิ่งไม้ไว้เช่นเดิม

ว่ากันว่าพระคุณเจ้า “กางเกงตูดขาด” เทียงไล้เทียวขื่อไปยังต้นไม้นั้นจับกางเกงตูดขาดลูบคลำไปมา พลางให้โอวาทเตือนสติตนเอง แล้วก็ตัดสินใจไม่สึก ทำอย่างนี้ถึงสามครั้งสามครา เวลาพระอื่นถามว่าไปไหนก็บอกว่า “ผมจะไปสำนักอาจารย์”

สามสี่วันต่อมา เธอก็ได้บรรลุพระอรหัต ไม่ไปๆ มาๆ อีกต่อไป ภิกษุทั้งหลายจึงถามท่านว่า “ผู้มีอายุ เดี๋ยวนี้ท่านไม่ไปสำนักอาจารย์หรือ ทางนี้เป็นทางเที่ยวไปของท่านมิใช่หรือ”

เธอตอบว่า “ท่านทั้งหลาย เมื่อมีความเกี่ยวพันอยู่กับอาจารย์ ผมจึงไป แต่บัดนี้ผมตัดความเกี่ยวข้องกับอาจารย์หมดสิ้นแล้ว” เท่ากับบอกนัยว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว

เหล่าภิกษุไม่พอใจ หาว่าท่านปิโลติกะ (พระกางเกงตูดขาด) อวดอ้างว่า บรรลุพระอรหัต จึงพากันไปกราบทูลพระพุทธองค์ให้ทรงทราบ

พระพุทธเจ้าเมื่อทรงสดับคำกล่าวหาของภิกษุทั้งหลายแล้ว จึงตรัสว่าถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา เมื่อมีความเกี่ยวข้องอยู่ จึงไปสำนักอาจารย์ บัดนี้เธอได้ตัดความเกี่ยวข้องนั้นแล้ว เธอได้บรรลุพระอรหัตแล้ว

จากนั้นพระพุทธองค์ ได้ตรัสคาถาดังต่อไปนี้
“คนที่หักห้ามใจจากความคิดอกุศลด้วยหิริ มีน้อยคนในโลกผู้ที่ไม่เห็นแก่นอน ตื่นอยู่เสมอ เหมือนมีม้าดีคอยหลบแส้ของสารถีหาได้ยาก

เธอทั้งหลายจงพากเพียร มีความสังเวช (สลดใจในความบกพร่องของตนเองแล้วเร่งพัฒนาตน) เหมือนม้าดี ถูกเขาหวดด้วยแส้แล้วเร่งฝีเท้าขึ้นฉะนั้น

เธอทั้งหลายจงศรัทธา (เชื่อมั่นในสิ่งที่ดี) มีศีล (พระพฤติดีงาม) มีวิริยะ (ความพากเพียร) มีสมาธิ (ความตั้งใจมั่น) และพรั่งพร้อมด้วยการวินิจฉัยธรรม มีความรู้และความประพฤติดี มีสติมั่นคง ปฏิบัติตนได้ดังนี้ จักละทุกข์ได้ไม่น้อยเลย”

“พระกางเกงตูดขาด” อดีตเด็กสลัมมีหิริหักห้ามความคิดอกุศล มีความเพียร พยายามแก้ไขตนเอง สอนตนเองอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดท่านก็ได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งพรหมจรรย์

กางเกงตูดขาดตัวนั้น ได้เป็น “อาจารย์” ของท่าน คือเป็นเครื่องเตือนสติให้ท่านมีฉันทะอยู่ในพระศาสนาจนได้เป็นพระอรหันต์ด้วยประการนี้...


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรปิโลติกะ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2557 16:38:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2557 15:50:37 »

.

๗๕. นางสุชาดา เสนิยธิดา
ผู้ถึงสรณะเป็นคนแรก (๑)

หมดอุบาสกแล้วก็ต่อด้วยอุบาสิกา ท่านแรกคือ สุชาดา เสนิยธิดา นางเป็นบุตรสาวของกุฎุมพี (เศรษฐี) นามเสนิยะ แห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกแห่งแม่น้ำเนรัญชรา ตรงข้ามกับตำบลพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่ากันว่า นางได้บนเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทร เมื่อได้ตามต้องการแล้วก็ลืมแก้บนไปหลายปี

สิ่งที่นางบนไว้ก็คือ ขอให้ได้บุตรชายสืบสกุล ถ้าได้สมปรารถนาแล้วจะมาแก้บน นางก็ได้บุตรชายสมปรารถนาจริงๆ

บุตรชายคนนี้นามว่า ยสะ จนกระทั่งยสะโตเป็นหนุ่มแล้ว ผู้เป็นแม่จึงนึกขึ้นมาได้ว่า ได้ “ค้างชำระ” กับเทพเจ้าแห่งต้นไทรไว้

เมื่อนางรำลึกได้ว่าเคยบนบานศาลกล่าวกับเทพแห่งต้นไทรไว้แล้วยังไม่ได้แก้บน จึงตระเตรียมเครื่องแก้บนไว้พร้อมสรรพ คือ ข้าวมธุปายาส หุงด้วยนมโคอย่างดี เสร็จแล้วได้สั่งนางปุณณา สาวใช้ให้ไปปัดกวาดโคนต้นไทรให้สะอาด ก่อนนำเครื่องเซ่นไปถวาย

สาวใช้รีบไปยังต้นไทร แลไปแต่ไกล เห็นมีคนนั่งสงบอยู่ที่โคนต้นไม้ ยังไม่ทันพิจารณาถ้วนถี่ นึกว่าเป็นเทพแห่งต้นไทรไม่ต้องปัดกวาดกันละ รีบจ้ำอ้าวมาบ้าน ตะโกนบอกนายหญิงว่า เทพเจ้าท่านนั่งรออยู่แล้วเจ้าค่ะ ยกเครื่องเซ่นไปเถิด

ผู้ที่นั่งสง่าและสงบอยู่ใต้ต้นไทรหาใช่ใครไม่ คือพระบรมโพธิสัตว์เจ้า หลังจากทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งผอมซูบซีดเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เป็นลมสลบแล้วสลบอีก แทบจะสิ้นพระชนม์หลายครั้ง แว่วเสียงพิณสามสายลอยมา นัยว่าเป็นพระอินทร์มาเทียบเสียงพิณให้ฟัง ก็พลันได้คิดว่าการบำเพ็ญเพียรก็ไม่ต่างกับการเทียบสายพิณ ถ้าตึงนักสายก็จะขาด ถ้าหย่อนนักเสียงก็จะไม่ไพเราะ ต้องขึงสายให้พอดีๆ จึงจะบรรเลงเพลงไพเราะเสนาะโสต

ทรงคิดได้ดังนี้แล้ว ก็ทรงหันมาดำเนินทางสายกลาง คือไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก เริ่มเสวยพระกระยาหาร เพื่อให้พระวรกายคงคืนสู่สภาพที่แข็งแรง การที่ทรงทำเช่นนี้ ทำให้ปัญจวัคคีย์ที่คอยเฝ้าปรนนิบัติอยู่ผิดหวัง ถึงกับชวนกันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

การที่ศิษย์ทั้งห้าหนีไปในช่วงนี้กลับเป็นผลดี เพราะบรรยากาศโดยรอบจะได้สงัดสงบ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างยิ่ง

ขณะพระบรมโพธิสัตว์ประทับใต้ต้นไทร สาวใช้ก็มาเห็นดังกล่าวข้างต้น รีบไปรายงานให้นายหญิงทราบ นายหญิงคือนางสุชาดาก็เอาข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองแล้วปิดฝาอย่างดี ถือไปยังต้นไทร ที่คิดว่าเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ และกำลังรอรับเครื่องเซ่นบูชาจากนาง ไปถึงก็ไม่กล้ามองดูตรงๆ รีบยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นถวาย แล้วก็รีบกลับบ้าน (ถวายทั้งข้าวทั้งถาด)

พระบรมโพธิสัตว์เมื่อเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ก็ทรงลงไปยังแม่น้ำเนรัญชราทรงอธิษฐานจิตว่า ถ้าหากจะได้สำเร็จในสิ่งที่ตั้งปณิธานไว้มายาวนาน (คือได้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ) ก็ขอให้เกิดนิมิตให้เห็น ว่าแล้วก็ทรงลอยถาดน้ำ ทันใดนั้นถาดทองก็ลอยทวนกระแสน้ำเป็นที่อัศจรรย์ ไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็จมลง

ว่ากันว่าจมลงไปยังนาคพิภพโน่นแน่ะ พญานาคขี้เซา นอนหลับมาหลายกัปหลายกัลป์ ได้ยินเสียงถาดจมลงมากระทบใบเก่าดังกริ๊ก ก็ผงกหัวขึ้นรับรู้หน่อยหนึ่งว่า อ้อ มาตรัสรู้อีกหนึ่งองค์แล้ว เมื่อวานนี้ก็อีกหนึ่ง วันนี้ก็อีกองค์หนึ่ง อะไรทำนองนั้น

เห็นจะต้องหมายเหตุตัวใหญ่ไว้ตรงนี้ว่า เรื่องราวดังว่ามานี้ไม่มีในพระไตรปิฎก อาจารย์ผู้แต่งพุทธประวัติเขียนกันขึ้นมาเป็น “ภาษาสัญลักษณ์” ไม่ให้แปลตามตัวอักษร ถาดทอง หมายถึงพระศาสดา  แม่น้ำ หมายถึงโลกหรือคนในโลก  การที่ถาดทองลอยทวนกระแส หมายถึง คำสอนของพระศาสดา ทวนกระแสโลกไปสู่กระแสนิพพาน  พญานาคนอนหลับ หมายถึงปุถุชนผู้หลับใหลอยู่ด้วยกิเลสนิทรา

ตกบ่าย พระบรมโพธิสัตว์ก็ทรงข้ามน้ำไปยังฝั่งตะวันตก คือตำบลพุทธคยา ทรงรับหญ้ากุศะ (แปลกันว่าหญ้าคา แต่คงไม่ใช่) จากพราหมณ์ ตัดหญ้าคนหนึ่งนาม โสตถิยะ จำนวน ๘ กำมือ ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะ ณ ควงไม้ “อัสสัตถะ” (ไม้ตระกูลไทร) ที่มีร่มเงาร่มเย็น ประทับพระปฤษฎางค์พิงต้นไม้ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก (ต้นไม้นี้ต่อมาได้เรียกกันว่า ต้นโพธิ์ เพราะพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ “โพธิ” ณ ที่นี้)

ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณที่พึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงแห่งบุรุษ ด้วยความบากบั่นแห่งบุรุษ จะไม่ยอมลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้เป็นอันขาด แม้ว่าเลือดและเนื้อจะแห้งเหือดไป เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ตามที

ทรงเข้าฌาน ๔ ทำฌานนั้นให้เป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา ล่วงปฐมยามก็ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติแต่หนหลังได้) ล่วงมัชฌิมยาม ก็ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ (ตาทิพย์ การเกิดตายของสรรพสัตว์ตามกรรมที่ทำไว้) พอล่วงถึงปัจฉิมยาม ก็ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ (ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ สิ้นกิเลสอาสวะทั้งมวลเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ (พระผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง)

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ณ วันที่พระจันทร์เสวยฤกษ์วิสาขะตรงกับวันเพ็ญเดือนหกพอดี

นางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาส หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงเลิกทุกรกิริยา และอาหารมื้อนี้ทำให้พระองค์มีพละกำลังสดชื่น ทรงอิ่มต่อมาอีกหลายวันทีเดียว

พระพุทธเจ้าตรัสภายหลังว่า ในบรรดาบิณฑบาตที่มีอานิสงส์มาก มีอยู่ ๒ คราวเท่านั้น คือ ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายก่อนตรัสรู้กับ “สูกรมัททวะ” ที่นายจุนทะกัมมารบุตรถวายก่อนพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

นางสุชาดาได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางถวายทาน คือ การถวายข้าวมธุปายาสนี้เองครับ.



นางสุชาดา เสนิยธิดา
ผู้ถึงสรณะเป็นคนแรก (๒)

เรื่องราวของนางสุชาดานั้น ควรจะจบตั้งแต่คราวที่แล้ว แต่ยังจบไม่ลง เพราะมีเรื่อง “ค้างใจ” ผมอยู่ประเด็นหนึ่ง คือ ตำราว่า นางสุชาดาเป็นมารดาของยสกุลบุตร ผมเลยต้องสะดุด สะดุดเพราะเหตุใด ขอนำประวัติยสกุลบุตร หรือ ยสะ มาเล่าก่อนครับ

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากพุทธคยาไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เพื่อแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ ศิษย์เก่าซึ่งหนีมาพักอยู่ที่นี่ ปัญจวัคคีย์ได้ละความเห็นผิด (ความเห็นที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงคลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมาก ไม่มีทางตรัสรู้แน่) กลับมามีความเห็นถูกต้อง และเชื่อว่าพระพุทธองค์ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแน่นอน จึงได้นั่งลงฟังธรรม

หลังจบพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก โกณฑัญญะได้ “ดวงตาเห็นธรรม” ทูลขอบวชเป็นสาวกองค์แรก

วันต่อๆ มา สี่ท่านที่เหลือนั้นก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และขอบวชเช่นเดียวกัน

หลังจากโปรดปัญวัคคีย์แล้ว พระพุทธองค์ประทับจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เวลาจวนรุ่งวันหนึ่ง ขณะทรงจงกรม (เดินกลับไปกลับมาโดยมีสติกำกับ) ทรงสดับเสียงว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” แว่วมา จึงตรัสตอบว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เข้ามานี่สิ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”

เจ้าของเสียง “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เป็นเด็กหนุ่มบุตรชายโทนของเศรษฐีเมืองพาราณสี นามว่า ยสะ เศรษฐีคนนี้คือใครไม่บอกชื่อไว้ มารดาของยสะ ชื่ออะไรก็ไม่บอกเช่นกัน ยสะถูกเลี้ยงดูมาอย่างทะนุถนอม เอาอกเอาใจจากพ่อแม่ดุจ “ไข่ในหิน” ตามประสาลูกเศรษฐี หรือคนชั้นสูงสมัยนั้น

บิดาสร้างปราสาทสามฤดูให้บุตรชายอยู่ มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อม ทุกคืนจะจัด “ปาร์ตี้” ย่อยๆ ในบ้าน มีการขับร้องฟ้อนรำบำรุงบำเรอให้สนุกสำราญเต็มที่

ว่ากันว่า “วงดนตรี” ที่ขับร้องฟ้อนรำนั้น เป็นชนิดที่ “มีสตรีล้วน” ไม่มีบุรุษเจือปนเลย

ยสะเธอก็สนุกสนานสำเริงสำราญเต็มที่ แต่อย่างว่านั่นแหละครับอะไรก็ตาม ถ้ามากไปก็ให้เบื่อหน่ายหรือ “เอือม” ได้

แล้ววันนั้นก็มาถึง ยสะตื่นนอนกลางดึก มองเห็นบรรดาสาวนางรำเหล่านั้นนอนหลับสนิท มีกิริยาอาการแปลกๆ น่าสังเวชใจ

ตรงนี้ปฐมสมโพธิกถาบรรยายเห็นภาพดีว่า นางบางจำพวกก็นอนกลิ้งเกลือก มีเขฬะ (น้ำลาย) ไหล บางเหล่าก็นอนกรนสำเนียงเสียงกา บางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์ (ฟัน) นางบางพวกก็นอนละเมอเพ้อฝันจำนรรจาต่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้าอาการวิปลาส

บางเหล่านางก็นอนมีกายเปลือย ปราศจากวัตถา สำแดงสัมพาธฐานให้ปรากฏ “สัมพาธ” แปลว่า แคบ “ฐาน” แปลว่า.... ที่รวมกันแล้วแปลยังไงก็เชิญแปลเอาเอง เทอญ

ยสะเห็นอาการวิปลาสต่างๆ ดังนั้น ก็เกิดความเบื่อหน่าย สังเวชใจ ร้องได้อย่างเดียวว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เดินลงมาจากคฤหาสน์กลางดึกโดยไม่มีใครเห็น

ยสะเดินบ่นมาตลอดทาง เดินไปอย่างไร้จุดหมาย มาจวนจะรุ่งสางเอาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธองค์ทรงสดับเสียงบ่นของเขา จึงรับสั่งตอบว่าที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มานี่สิ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง ยสะดังหนึ่งตื่นจากภวังค์เข้าไปหาพระพุทธองค์ ถอดรองเท้าเข้าไปถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

พระพุทธองค์ทรงแสดง อนุปุพพิกถา (เรื่องที่พึงแสดงลุ่มลึกลงตามลำดับ คือ ทาน ศีล โทษของกาม สวรรค์ การออกจากกาม) เพื่อวางพื้นฐานให้ยสะพอจะรับรู้เรื่องสูงกว่านั้น แล้วก็ทรงแสดงอริยสัจสี่ประการ

พอจบพระธรรมเทศนา ยสะก็มีดวงตาเห็นธรรม

เช้าวันรุ่งขึ้น บิดามารดาของยสะ เห็นบุตรหายไป (เอ หายไปไม่เห็น) ก็เกณฑ์ผู้คนตามหาเป็นการใหญ่ ทั้งสองคนเดินมุ่งหน้ามาทางป่าอิสิปตนมฤคทายวันพบพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปถวายบังคม ถามว่า พระองค์เห็นเด็กหนุ่มบุตรชายของตนมาทางนี้หรือไม่

ความจริงในขณะนี้ ยสะเธอก็อยู่กับพระพุทธองค์นั้นเอง แต่พระองค์ทรงใช้อิทธิภินิหาริย์ บันดาลให้พ่อแม่ลูกไม่เห็นกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาให้สามีภรรยาคู่นั้นฟัง จบพระธรรมเทศนา ยสะได้บรรลุพระอรหัตสองสามีภรรยาได้ประกาศตนเป็นอุบาสก

บิดามารดาพระยสะ จึงนับว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคู่แรกก่อนหน้านี้มีพาณิชย์สองคน คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เปล่งวาจาถึงพระรัตนะสอง คือ พระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ

จากนั้นพระพุทธองค์ทรงคลายฤทธิ์ พ่อแม่ลูกทั้งสามจึงมองเห็นกัน บิดาและมารดาของยสะ ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวภัตตาหารที่บ้าน ยสะ ทูลขออุปสมบทจากพระพุทธเจ้า แล้วโดยเสด็จไปยังบ้านตน

เพื่อซี้ของยสะล้วนเป็นบุตรของผู้มีอันจะกินทั้งนั้น รวม ๕๔ คน ได้ข่าวว่ายสะออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ก็พากันมาบวชตามหลังจากบวชแล้วก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยทั่วหน้ากัน

เป็นอันว่า เวลาไม่นานได้เกิดมีพระอรหันต์ขึ้นในโลก จำนวน ๖๐ องค์ (ไม่นับพระพุทธเจ้า) ด้วยกัน นี้คือเรื่องราวอดีตเพลย์บอย นามว่า ยสะ  ยสะคนนี้แหละที่คัมภีร์อรรถกถาบอกว่าเป็นบุตรชายของนางสุชาดา หรือพูดอีกนัยหนึ่ง นางสุชาดาเป็นมารดาของยสะคนนี้

ที่ผม “ค้างใจ” ก็เพราะว่า นางสุชาดาอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ใกล้กับสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงทำทุกรกิริยา ก่อนตรัสรู้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตรงข้ามกับตำบลพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อยู่ในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ห่างกันคนละโยชน์และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ อยู่คนละเมือง คนละแคว้นเลยทีเดียว ถ้าดูตามแผนที่ปัจจุบันนี้ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมอยู่ห่างจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ปัจจุบันนี้เรียกว่า สารนาถแห่งรัฐพิหาร) ประมาณ ๒๐๐ กว่ากิโลเมตร

แล้วอย่างนี้ คัมภีร์อรรถกถาท่านว่า นางสุชาดาเป็นมารดาของยสะได้อย่างไร หรือว่าคนละยสะ แต่เมื่อเปิดดูพจนานุกรมวิสามานยนามของ ดร.มาลาลา เสเกรา ท่านก็บอกว่าเป็นสุชาดาคนเดียวกัน และเป็นยสะคนเดียวกัน

ถ้าจะให้ผมเดา (สมมติว่าที่พูดนี้เป็นเรื่องจริง) เมืองพาราณสี แคว้นกาสีในสมัยนั้นอยู่ในปกครองของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ นี้คือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

เมื่อรัฐทั้งสองอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน ผู้คนโดยเฉพาะ เศรษฐีย่อมจะย้ายนิวาสสถาน หรือไปมีบ้านอยู่ในแคว้นทั้งสองได้นี้เป็นเรื่องธรรมดา นางสุชาดาก็คงอยู่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธบ้าง ตามสามีไปอยู่ที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสีบ้างเป็นครั้งคราว ตอนนางบนเทวดาและให้กำเนิดบุตรนามยสะนั้น คงอยู่ที่แคว้นมคธ พอบุตรชายโตแล้วก็คงมาอยู่ที่เมืองพาราณสี จนเกิดเรื่องราวดังกล่าวมาข้างต้น

ถ้าจะให้เดาก็เดาดังนี้แล ผิดถูกอย่างไร ท่านผู้รู้ (จริง) ต้องชี้แจงมาให้ผมทราบ ส่วนผู้รู้ไม่จริงไม่ต้องบอกมา เพราะมีอยู่แล้วคนหนึ่งคือตัวผม...



ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสุชาดา เสนิยธิดา : ผู้ถึงสรณะเป็นคนแรก (๑)-(๒) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๕-๒๑ และ ๒๒-๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


.
http://www.dhammathai.org/monktalk/data/imagedb/400.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๗๖. นางขุชชุตตรา  
สาวใช้ร่างค่อมผู้มีปัญญาเลิศ

พระพุทธศาสนานั้นมีข้อเด่นอยู่อย่างหนึ่งในหลายร้อยหลายพันอย่าง คือ ให้โอกาสแก่มนุษย์ว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้ ถือว่ามนุษย์ทุกคนมีความเป็น “คน” ทัดเทียมกัน แล้วก็ให้กำลังใจ ให้พยายามพัฒนาตนไปสู่เป้าหมายสูงสุดด้วยวิริยะอุตสาหะ และให้ความทัดเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี

บุรุษบรรลุมรรคผลได้ สตรีก็บรรลุได้

บุรุษมีโอกาสได้บวชเรียน  สตรีก็มีโอกาสนั้นเหมือนกัน

นอกจากนี้ พระพุทธศาสนาชี้คุณค่าของคนที่รู้จักใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต ใครที่มีปัญญา ไม่ว่าจะเป็นคนเกิดในวรรณะไหน ก็ได้รับการยอมรับ

ที่พูดมาหลายบรรทัดนี้ก็เพื่อจะเข้าหาเรื่องราวของสาวใช้คนหนึ่ง แถมยังพิการ คือ ร่างค่อมด้วย ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้คงแก่เรียน

สาวใช้พิการคนนี้ คือ นางขุชชุตตรา ครับ


นางเป็นคนใช้ของสามาวดี มเหสีของพระเจ้าอุเทน กษัตริย์ผู้ครองเมืองโกสัมพี  นางสามาวดีเป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้า ทุกวันมอบเงินให้นางขุชชุตตรา ไปซื้อดอกไม้จากนายมาลาการ ๘ กหาปณะ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า (เรื่องราวของนางสามาวดีจะนำมาเล่าภายหลัง)

ขุชชุตตราขยักไว้ ๔ กหาปณะ เพี่อตัวเอง เรียกง่ายๆ ว่า “ยักยอก” เจ้านายนั่นแหละ อีก ๔ กหาปณะก็ซื้อดอกไม้ไปให้นายหญิง วันหนึ่ง นายมาลาการนิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน พูดกับนางขุชชุตตราผู้มาซื้อดอกไม้ว่า “หนู วันนี้ฉันอาราธนาพระพุทธเจ้า เสวยภัตตาหารที่บ้าน หนูช่วยเลี้ยงพระก่อน แล้วค่อยเอาดอกไม้ไปให้นายหญิงของหนูได้ไหม”

“ได้จ้ะ”  ขุชชุตตราตอบ แล้วก็อยู่ช่วยงานจนแล้วเสร็จ

เมื่อพระพุทธองค์เสวยเสร็จแล้ว ก็ทรงอนุโมทนา ทรงแสดงธรรมแก่นายมาลาการและครอบครัว นางขุชชุตตราทีแรกก็ตั้งใจจะรีบกลับ แต่ใจหนึ่งก็คิดว่าไหนๆ ก็รอมาแล้ว ลองฟังธรรมเสร็จก่อนค่อยกลับดีกว่า จึงตั้งใจฟังธรรมจนจบ

พอจบพระธรรมเทศนา นางก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล

นางขุชชุตตราซื้อดอกไม้ ๘ กหาปณะ ได้ดอกไม้ไปกำใหญ่กว่าทุกวันไปให้นายหญิง นางสามาวดี นายหญิงของขุชชุตตราเห็นดอกไม้มากกว่าทุกวัน จึงถามว่า “วันนี้ พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินค่าดอกไม้แก่ฉันเพิ่มขึ้นหรือ”

“หามิได้ พระแม่เจ้า” นางตอบ
“เพราะเหตุไร ดอกไม้จึงมากกว่าทุกวันเล่า”

นางขุชชุตตราก็เปิดเผยความจริงว่า วันก่อนๆ นางยักยอกเอาไว้ใช้ส่วนตัว ๔ กหาปณะ  ซื้อดอกไม้เพียง ๔ กหาปณะเท่านั้น
“แล้ววันนี้ทำไมเธอไม่เอาไว้เพื่อตัวเอง ๔ กหาปณะเล่า” นายหญิงถาม
“เพราะหม่อมฉันฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุธรรม”

นางสามาวดีไม่ได้โกรธสาวใช้เลยที่ยักยอกเอาเงินค่าซื้อดอกไม้ กลับกล่าวด้วยความยินดีว่า
“โอ ดีจังเลย เธอช่วยแสดงธรรมที่เธอได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าให้เราฟังได้ไหม”

เมื่อขุชชุตตรารับปาก นางสามาวดีจึงให้นางอาบน้ำชำระกายให้สะอาด ประพรมด้วยน้ำหอม ให้นางนุ่งผ้าสาฎกใหม่เอี่ยมเนื้อดีผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ปูลาดอาสนะและวางพัดอันวิจิตรไว้ข้างอาสนะ เชิญนางขุชชุตตราขึ้นนั่งบนอาสนะ

ขุชชุตตรา ได้แสดงธรรมตามที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า แก่สตรีจำนวน ๕๐๐ คน มีนางสามาวดีเป็นประธาน นางเป็นคนมีความจำแม่น และมีความสามารถในการใช้คำสละสลวย ธรรมเทศนาของนางเป็นที่จับจิตจับใจของคนฟังมาก ว่ากันว่าได้บรรลุธรรมไปตามๆ กัน

นางสามาวดีบอกว่า ต่อแต่นี้ไปเธอไม่ต้องทำงานเป็นคนใช้ ขอให้เธอดำรงอยู่ในฐานะมารดาและอาจารย์ในทางธรรมของพวกเราทุกวัน ขอให้เธอไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกลับมาแสดงให้พวกเราฟัง

นางขุชชุตตราจึงได้ “เลื่อนขั้น” ขึ้นมาเป็นอาจารย์แสดงธรรมแก่นายหญิงตั้งแต่วันนั้นมา ท่านอาจารย์ขุชชุตตราก็ทำหน้าที่ของตนไม่ขาดตกบกพร่อง นับว่าได้ทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและแก่บรรดาสตรีในวังด้วย

ในทางส่วนตัวก็คือ นางได้ฟังหลากเรื่องหลายปริยาย ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมกว้างขวางพิสดารขึ้น ชนิดที่ไม่สามารถหาเอาจากที่ไหน ในไม่ช้าไม่นานนางก็กลายเป็น “พหูสูต” (ผู้คงแก่เรียน)

เมื่อมีความรู้แตกฉาน นางก็มีลีลาในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดารและจับจิตจับใจยิ่งขึ้น ความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสยกย่องนางให้เป็น “เอตทัคคะ” (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางสดับตรับฟังมาก คือ เก่งกว่าคนอื่นในทางเป็นพหูสูต หรือผู้คงแก่เรียน

การที่หญิงค่อมขี้ริ้วจนๆ คนหนึ่งได้รับเกียรติถึงปานนี้ ก็เพราะพระพุทธศาสนาเปิดทางให้ พระพุทธศาสนามิได้มองแค่เปลือกนอกของคน หากมองที่ศักยภาพภายในมากกว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในหมู่มนุษย์ไม่ว่ายากดีมีจน คนมีปัญญาเป็นผู้ประเสริฐสุด

พระสงฆ์ทั้งหลายกราบทูลถามพระพุทธเจ้าในวันหนึ่งว่า
เพราะเหตุใดนางขุชชุตตราจึงมีร่างค่อม
เพราะเหตุใดจึงมีปัญญามาก
เพราะเหตุใดจึงบรรลุโสดาปัตติผล
และเพราะเหตุใดจึงเป็นสาวใช้ของคนอื่น

พระพุทธเจ้าตรัสบุพกรรมของนางให้ภิกษุสงฆ์ฟัง (น่าสนใจมากครับ) ดังนี้
๑. ชาติก่อนนางเคยเป็นอุปัฏฐายิกาของพระปัจเจกพุทธ พระปัจเจกพุทธรูปนั้นร่างค่อม นางนึกสนุกทำร่างค่อมเลียนแบบพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะกรรมนั้นนางจึงมีร่างค่อมในปัจจุบันนี้
๒. ชาติก่อนนางถวายข้าวปายาสร้อนในบาตรพระปัจเจกพุทธ พระปัจเจกพุทธอุ้มบาตรร้อน จึงเปลี่ยนมืออยู่เรื่อย นางจึงถวายวลัยงา ๘ อัน (เรียกอันหรือเปล่าไม่รู้สิครับ) เพื่อให้ท่านรองบาตร เพราะผลแห่งการถวายวลัยงารองบาตรนั้น มาชาตินี้นางจึงเป็นพหูสูต
๓. และเพราะการอุปัฏฐากดูแลพระปัจเจกพุทธ นางจึงบรรลุโสดาปัตติผล
๔. ในชาติก่อนอีกชาติหนึ่ง นางเกิดเป็นธิดาเศรษฐี วันหนึ่ง ขณะนางแต่งตัวอยู่ พระเถรีอรหันต์รูปหนึ่งมาเยี่ยมนางที่บ้าน เวลานั้นนางมองหาคนใช้ไม่พบ จึงกล่าวกับพระเถรีอรหันต์ว่า พระแม่เจ้า ดิฉันไหว้ล่ะ ช่วยหยิบกระเช้าเครื่องประดับให้ดิฉันหน่อย

พระเถรีอรหันต์คิดว่า ถ้าไม่หยิบให้นางก็จะเคืองและเพราะเหตุนั้นจักเกิดในนรกหลังตายแล้ว แต่ถ้าหยิบให้ นางจักเกิดเป็นคนใช้คนอื่น แต่การเป็นคนใช้เขายังดีกว่า ว่าแล้วพระเถรีอรหันต์จึงหยิบกระเช้าให้นาง มาชาตินี้นางจึงเป็นคนใช้เขา

การทำบาปโดยเฉพาะต่อบุคคลผู้บริสุทธิ์ แม้แต่เพียงเล็กน้อยก็บันดาลผลหนัก ดังเรื่องของนางขุชชุตตราในชาติก่อน เพราะฉะนั้น เราพึงระวังมิให้เผลอทำในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร

นี้คือข้อสรุปที่ได้จากเรื่องนี้ ขอรับ ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางขุชชุตตรา   : สาวใช้ร่างค่อมผู้มีปัญญาเลิศ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๙สิงหาคม - ๔ กันยายน  ๒๕๕๗

.
http://f.ptcdn.info/523/005/000/1369502370-2644334609-o.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๗๗. พระนางมัลลิกา
พระนางเทวีผู้ชาญฉลาด

นางมัลลิกาที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามีอยู่ ๒ ท่าน คือ พระนางมัลลิกาผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล กับ มัลลิกา ผู้เป็นภริยาของพันธุละเสนาบดี พระสหายสนิทของพระเจ้าปเสนทิโกศล จะนำมาเล่าขานสู่กันฟังทั้งสองท่าน

วันนี้ขอเริ่มด้วยพระนางมัลลิกาก่อน

เธอเป็นธิดาของนายมาลาการ (ช่างทำดอกไม้) เธอจะออกไปสวน ไปเก็บดอกไม้มาให้พ่อทำพวงมาลัย หรือจัดดอกไม้เป็นระเบียบไว้ขายเป็นประจำ

เธอได้ถวายดอกไม้พระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย

ช่วงที่เกิดเรื่องราวนี้ เธอมีอายุอานามประมาณ ๑๖ ปี ยังสาวรุ่น น่ารัก ขณะเก็บดอกไม้อยู่ เธอก็ฮัมเพลงไปพลางอย่างมีความสุข หารู้ไม่ว่ามีสุภาพบุรุษวัยรุ่นพ่อ “ยืนม้า” อยู่ใกล้ๆ ฟังเพลงเพลินอยู่ พอเธอร้องจบก็ปรับมือชื่นชม

สาวน้อยตกใจสีหน้าขุ่นเคืองที่มีคนมาแอบฟังเพลง เธอจึงเอ่ยขึ้นว่า “ไม่มีมารยาท”

สุภาพบุรุษหนุ่มใหญ่ (ไม่โสด) ขออภัยเธออย่างสุภาพ ทำให้นางหายเคือง เห็นเขาท่าทางอิดโรย จึงเข้าไปจูงอาชาพาเขาเข้าไปยังร่มไม้ใกล้ๆ

เขาเป็นใครไม่ทราบ แต่เห็นเขากิริยาท่าทางไว้ใจได้ จึงนั่งลงสนทนากับเขา รู้สึกมีความอบอุ่นอย่างประหลาดเมื่ออยู่ใกล้ๆ เขา

ฤๅว่า กามเทพได้ซุกซนแผลงศรเข้าเสียบหัวใจน้อยๆ ของเธอแล้วก็ไม่รู้

แล้วเขาก็รวบรัดว่า “แล้วจะมาเยี่ยมใหม่” ว่าแล้วเขาก็ขึ้นอาชาควบหายไป

สองสามวันผ่านไป ได้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวัง เชิญนางมัลลิกาธิดานายมาลาการเข้าวัง นั่นแหละเธอจึงได้รู้ว่า สุภาพบุรุษหนุ่มใหญ่ที่พบกับเธอวันนั้นมิใช่สามัญชน หากแต่เป็นเจ้าชีวิตของประชากรทั่วประเทศ

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้รับนางมาไว้ในพระราชวัง ทรงอภิเษกสมรสกับเธอ นัยว่าทรงสถาปนาเธอเป็นพระมเหสีด้วย จะเป็นมเหสีเบอร์ไหนไม่ทราบชัด

ในอรรถกถาธรรมบทก็ว่าเป็นถึงอัครมเหสี แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลมาถึงวัยปูนนี้ก็ไม่น่าจะว่างตำแหน่งอัครมเหสีไว้ก่อนถึงนางมัลลิกา เพราะช่วงที่ได้พบนางมัลลิกา ก็เป็นระยะเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแพ้ศึกสงครามกับพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นหลานมาหยกๆ

พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นเป็นพระสหายกับพระเจ้าพิมพิสาร พระราชบิดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ “ดอง” กับพระเจ้าพิมพิสาร คือ ต่างฝ่ายก็อภิเษกกับพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) ของกันและกัน พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระเจ้าอชาตศัตรูจึงเป็น “ลุง-หลาน” กัน เมื่อคราวที่พระองค์ต้องพเนจรมาเดียวดายมาพบมัลลิกานี้ เพิ่งจะพ่ายสงครามกับพระเจ้าหลาน

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพิโรธที่อชาตศัตรูยึดราชบัลลังก์พระเจ้าพิมพิสารแถมยังทำปิตุฆาต (ฆ่าพ่อ) จึงยกทัพไปรบ ตั้งใจว่าจะสั่งสอนพระเจ้าหลานให้สำนึก แต่บังเอิญแพ้พระเจ้าหลาน ตำราว่ารบหลายครั้งและแพ้ทุกครั้งเสียด้วย ฝีมือสู้พระเจ้าหลานไม่ได้ บางทีคงไม่ใช่ฝีมือดอก แก่แล้วพละกำลังก็ถดถอยเป็นธรรมดาครับ

มเหสีอีกองค์หนึ่งคือ วาสภขัตติยา ธิดาเกิดจากนางทาสีของพระเจ้ามหานาม แห่งศากยวงศ์ เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลขอขัตติยนารีจากพวกศากยะ มหานามก็เสนอให้ส่งธิดาของตนไปให้ เพื่อตัดปัญหาการปะปนกับสายเลือดอื่น (พวกศากยะทะนงในสายเลือดของตนมาก จะไม่ยอมให้ปะปนกับเผ่าอื่น) พระนางวาสภขัตติยานี้ อรรถกถาธรรมบทก็ว่าเป็นอัครมเหสี

เขียนคนละทีก็เลยขัดแย้งกันเองอย่างนี้แหละครับ ผมจึงไม่ใส่ว่าองค์ไหนเป็นอัครมเหสี พูดกลางๆ ว่าเป็น “มเหสีองค์หนึ่ง” สบายใจกว่าเยอะเลย

พระนางมัลลิกาเป็นสตรีที่มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เป็นที่รักและชื่นชมของพระสวามีมาก พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น แม้ว่าในระยะหลังนี้จะหันมาสนใจในพระพุทธศาสนา ก็ยังมีความเชื่อลัทธิดั้งเดิมบางอย่างอยู่ เช่น เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชายัญว่า ถ้าทำยัญพิธียิ่งใหญ่แล้วจะมีความสุขความเจริญ มีอำนาจวาสนา เป็นที่เกรงขามของพระราชามหากษัตริย์ทั่วทิศานุทิศ

ครั้งหนึ่งพระองค์รับสั่งให้ตระเตรียมพิธีบูชายัญยิ่งใหญ่ มีการฆ่าสัตว์อย่างละ ๗๐๐ ตัวเซ่นสรวงด้วย พระนางมัลลิกานี่แหละเป็นผู้ทัดทานพระองค์มิให้ทำบาปมหันต์ปานนั้น ได้แนะนำให้พระสวามีเข้าเฝ้า เพื่อขอคำแนะนำจากพระพุทธองค์ ในที่สุดพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเลิกพิธีบูชายัญ

ความเฉลียวฉลาดของนางมัลลิกายังมีอีกมาก เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศลแข่งกับชาวเมืองทำบุญกัน ประชาชนเขาทำทานอันประณีตและมโหฬารมาก พระเจ้าปเสนทิโกศลจนพระทัยว่าจะทำอย่างไรจึงจะมโหฬารและแปลกใหม่กว่าประชาชน

ก็ได้พระนางมัลลิกานี่แหละแนะนำให้ทำ “อสทิสทาน” (ทานที่ไม่มีใครเหมือน หรือ ทานที่ไร้เทียมทาน) รายละเอียดมีอย่างไรขอผ่านไปก่อนก็แล้วกัน

พระนางมัลลิกาไม่มีพระราชโอรส เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่ จวนจะมีประสูติกาล พระสวามีทรงปรารถนาอยากได้พระราชโอรส ตั้งความหวังไว้มากทีเดียว แต่พอได้พระราชธิดา พระราชบิดาถึงกับเสียพระทัยมาก เข้าเฝ้าปรับทุกข์กับพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ตรัสปลอบพระทัยว่า ลูกสาวหรือลูกชายไม่สำคัญต่างกันดอก เพศมิใช่เป็นเครื่องแบ่งหรือบอกความแตกต่างในด้านความรู้ความสามารถ สตรีที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติธรรม และเป็นมารดาของบุคคลสำคัญ ย่อมประเสริฐกว่าบุรุษอีกมากมาย

อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนางมัลลิกาว่า พระนางรักพระองค์ไหม รักมากเพียงไร ก็ตามประสาสามีภรรยา เมื่ออยู่ด้วยกันก็มักจะขอความมั่นใจว่า อีกฝ่ายยังคงรักตนเหมือนเมื่อครั้งยังข้าวใหม่ปลามันไหม คำตอบของพระมเหสีทำให้พระสวามีชะงักงันไปครู่หนึ่ง

พระนางตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด

ทรงน้อยพระทัยที่พระมเหสีไม่รักพระองค์เสมอเหมือนชีวิตของนาง เมื่อมีโอกาสเหมาะจึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงบทสนทนาของพระองค์กับพระมเหสี ทำนอง “ฟ้อง” ว่าพระนางมัลลิกาของพระพุทธองค์ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้เรื่องแล้วนะ อะไรทำนองนั้น

พระพุทธองค์กลับตรัสว่า มัลลิกาพูดถูกแล้ว มหาบพิตร เพราะบรรดาความรักทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีความรักใดจะเท่าความรักตนเอง มัลลิกาเธอพูดจริง พูดตรงกับใจของเธอ มหาบพิตรควรจะชื่นชมมเหสีที่ยึดมั่นในสัจจะ (ความจริง) เช่นนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงค่อยคลายความน้อยเนื้อต่ำใจลง

พระนางมัลลิกาเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในธรรม และช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมด้วย ในฐานะพระมเหสีของพระราชา พระนางก็เป็นช้างเท้าหลัง ที่ช่วยประคับประคองให้ “เท้าหน้า” ก้าวไปอย่างมั่นคงในฐานะที่เป็นพระสาวิกาของพระพุทธเจ้า พระนางก็เป็นพระสาวิกาพึ่งตนเองได้ในทางธรรม และช่วยให้ผู้อื่น โดยเฉพาะพระสวามีพึ่งตัวเองได้ด้วย

จึงเป็นสตรีตัวอย่างที่ดีท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา...


ข้อมูล : บทความพิเศษ พระนางมัลลิกา   : พระนางเทวีผู้ชาญฉลาด โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๕-๑๑ กันยายน  ๒๕๕๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2557 16:42:05 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 12 กันยายน 2557 12:55:55 »

.

๗๘. นางสุปปวาสา
โกลิยธิดาผู้มีประวัติพิสดาร

วันนี้ขอเล่าประวัติของอุบาสิกามารดาพระเถระที่ได้ชื่อว่า “มีลาภมากที่สุด” คือ พระสีวลี มารดาของท่านสีวลี นามว่า สุปปวาสา โกลิยธิดา

“นาม โกลิยธิดา บอกอยู่แล้วว่า สุปปวาสาเป็นพระธิดาของเจ้าโกลิยะองค์หนึ่ง จะเป็นองค์ไหน ไม่มีบอกไว้”  พอนางเจริญวัยมาก็ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าลิจฉวี นามว่า มหาลิ   มหาลิองค์นี้ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาไม่น้อย มีหลายสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมหาลิโดยเฉพาะ

หลักฐานอีกแห่งหนึ่งคือ สามีของนาง คือเจ้าแห่งราชวงศ์โกลิยะองค์หนึ่งมิใช่มหาลิ และที่ทำให้ “เง็ง” ยิ่งกว่านี้ ก็มีหลักฐานอีกแห่งหนึ่ง คือ ในสังยุตตนิกาย (สุปปวาสาสูตร) บอกว่า สุปปวาสา โกลิยธิดา เป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศล จะเป็นสุปปวาสาคนเดียวกันหรือว่าชื่อซ้ำกัน ยังไม่มีเวลาที่จะตรวจสอบให้ชัดเจนได้

จึงขอติดหนี้ไว้ก่อนก็แล้วกัน

นางสุปปวาสา มีประวัติพิสดาร รวมทั้งสีวลีกุมารลูกชายของนางด้วย คือ หลังจากอภิเษกสมรสแล้ว นางสุปปวาสาก็ตั้งครรภ์พิสดาร คือ ไม่ยอมคลอดสักที อุ้มท้องอยู่เป็นเวลาถึง ๗ ปี ๗ เดือน รู้สึกอึดอัดเจ็บปวดทรมานมาก ไปไหนมาไหนต้องอุ้มท้องหนัก เดินเหินไม่สะดวก ถ้าเป็นสมัยนี้คงไปตรวจที่โรงพยาบาลแล้วว่าทำไมจึงไม่คลอดสักที

สุปปวาสา โกลิยธิดา กับลูกน้อยสีวลีของเธอ ทั้งแม่และลูกคงทำกรรมอะไรบางอย่างร่วมกันมา ในอรรถกถาธรรมบท เมื่อพระสงฆ์ประชุมสนทนากันถึงเรื่องราวของพระสีวลีด้วยความอัศจรรย์ใจ อัศจรรย์ที่เด็กน้อยอยู่ในครรภ์ตั้ง ๗ ปี ๗ เดือน ไม่คลอด จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าผู้เสด็จมายังวงสนทนาพอดี เกี่ยวกับบุพกรรมของท่านสีวลี

พระพุทธเจ้าตรัสเล่าให้ฟังว่า ที่สีวลีต้องอึดอัดอยู่ในครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือนไม่คลอดเสียทีนั้น เพราะในชาติปางก่อนสีวลีเป็นกษัตริย์ยกทัพไปล้อมเมืองหนึ่งขอให้ยอมยกเมืองให้ กษัตริย์ของเมืองนั้นไม่ยอม จะล้อมก็ล้อมไป ตนเองสั่งให้ชาวเมืองตระเตรียมเสบียงไว้ให้พอ ข้าศึกล้อมเมืองอยู่ไม่นานก็คงล่าถอยไปเอง

ศึกล้อมเมืองทำท่าจะยืดยาว เพราะชาวเมืองมีเสบียงกรังเพียงพอ พระราชมารดาของกษัตริย์องค์ที่ไปล้อมเมืองเขา ทรงแนะให้กษัตริย์โอรสของตนสั่งปิดประตูเมืองน้อยเมืองใหญ่ห้ามคนในออก ห้ามให้คนนอกเข้า สงครามจะได้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

เมื่อทำตามที่พระราชมารดาทรงแนะนำแล้ว ชาวเมืองที่ถูกล้อมได้รับความลำบากเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันก่อกบฏ จับพระราชาของตนสำเร็จโทษ ยินยอมยกเมืองให้พระราชาผู้เป็นข้าศึกแต่โดยดี

พระพุทธองค์ตรัสว่า ทั้งแม่ทั้งลูกได้ทำกรรมร่วมกันมา คือล้อมเมืองเขา ห้ามชาวเมืองนั้นเข้าออกเมือง กรรมนั้นแหละบันดาลให้ผู้เป็นแม่คือ สุปปวาสา ในชาตินี้ต้องอุ้มท้องอยู่ถึง ๗ ปี ๗ เดือน และผู้เป็นลูก คือ สีวลีกุมาร ต้องนอนขวางอยู่ในท้องแม่ ไม่ยอมคลอดเสียที

นางสุปปวาสาได้รับความอึดอัดทรมานมาก จนคิดว่าชีวิตของตนคงจะไม่รอดแล้ว จึงวานสามีให้ไปเฝ้าพระพุทธองค์ ฝากกราบทูลถวายบังคมพระพุทธองค์และถ้าพระพุทธองค์รับสั่งอย่างใด ให้จดจำมาบอกด้วย

สามีไปเฝ้าพระพุทธเจ้าตามคำขอร้องของนางสุปปวาสา กราบทูลเล่าถึงเรื่องตัวของภริยาของตนแด่พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า “สุขินี โหตุ สุปฺปวาสา โกลิยธีตา อโรคา อโรคํ ปุตฺตํ วิชายติ = ขอให้สุปปวาสา โกลิยธิดา จึงมีความสุข ปราศจากโรค และคลอดบุตรที่ไม่มีโรคเถิด”

พอสิ้นพระพุทธดำรัสประทานพร นางสุปปวาสาซึ่งอยู่ในบ้านของตนก็คลอดบุตรชายออกมาอย่างง่ายดาย ง่ายยังกับเทน้ำออกจากกระบอก ว่าอย่างนั้น บุตรน้อยของเธอ ทันทีที่คลอดจากครรภ์ก็มีอายุ ๗ ปีแล้ว พูดจาได้ ทำอะไรได้เหมือนเด็ก ๗ ขวบทั่วไป

มหาลิสามีของนาง กลับมาถึงบ้านก็เห็นบุตรชายคลอดออกมาแล้ว มีสุขภาพแข็งแรง แถมยังทำอะไรได้ดุจเด็กอายุ ๗ ขวบทั่วไป นางสุปปวาสามีความปลื้มปีติและเชื่อมั่นว่าที่ตนคลอดบุตรง่ายก็เพราะว่าอานุภาพแห่งพระพรที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้นั้นเอง จึงจัดพิธีถวายทานอันยิ่งใหญ่ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เป็นเวลา ๗ วันติดต่อกัน

นางได้ตระเตรียมอาหารอันประณีตไว้ถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ เพราะเหตุที่นางสุปปวาสาถวายทานแต่ของประณีตแด่พระสงฆ์ จึงได้รับยกย่องในเอตทัคคะว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทาง “ถวายทานอันประณีต”

การถวายทานนั้น ท่านสอนนักสอนหนาว่า อย่าสักแต่ว่าให้ เพราะการให้ทานที่ไม่ครบองค์ประกอบ ย่อมจะมีอานิสงส์น้อย องค์ประกอบที่ดีของทานคือ
๑. ของที่ให้ทานจะต้องได้มาอย่างสุจริต ได้จากหยาดเหงื่อแรงกายอันสุจริตของเรา มิใช่ของที่ลักขโมย หรือเบียดเบียนคนอื่นได้มา
๒. เจตนาจะต้องบริสุทธิ์ คือ ก่อนจะให้มีจิตเลื่อมใส กำลังให้ก็ให้ด้วยความเลื่อมใส ให้ไปแล้วก็มีจิตยินดี ไม่เสียดายภายหลัง
๓ ปฏิคาหก (ผู้รับทาน) ก็เป็นผู้ควรที่จะให้ เช่น มีศีลบริสุทธิ์ หรือมีคุณธรรมสูง ให้แก่คนชั่ว ให้แก่อลัชชี ย่อมจะได้อานิสงส์น้อยเป็นธรรมดา

นอกจากนี้ ในสัปปุริสทาน (การให้ของสัตบุรุษ) ๑๐ ท่านจะเน้นว่าต้องให้ของสะอาด, ให้ของประณีต, ให้เหมาะแก่กาล, ให้ของสมควรหรือของที่ควรที่ผู้รับจะใช้ได้, พิจารณาเลือกให้ หรือให้ด้วยวิจารณญาณ, ให้เนืองนิตย์, ขณะให้มีจิตผ่องใส, ให้แล้วเบิกบานใจ

ถ้าให้ทานครบองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ย่อมได้รับอานิสงส์มาก โบราณจึงสอนให้ตั้งอกตั้งใจให้ทาน ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธา มิใช่สักแต่ว่าให้ หรือให้ด้วยความรำคาญ อันจักนำมาซึ่งผลที่ไม่พึงปรารถนา

ดังเรื่องนางปัญจปาปา

นางคนนี้ได้ตำดินเหนียวให้ละเอียด ผสมกับโคมัย (มูลโค) เพื่อฉาบทาบ้าน

ขณะนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงออกจากญาณสมาบัติใหม่ๆ ท่านต้องการดินเหนียวไปฉาบทาผนังถ้ำ จึงมาบิณฑบาตดินเหนียว นางไม่ต้องการให้จึงทำเฉย

พระปัจเจกก็ยังไม่ยอมไป นางจึงเอาก้อนดินเหนียวที่ตำละเอียดก้อนใหญ่โยนลงในบาตรท่านพร้อมกล่าวอย่างรำคาญว่า “เอ้า อยากได้ก็เอาไป”

ว่ากันว่านางเกิดมาในชาติต่อมา เป็นเด็กขี้ริ้วขี้เหร่ อวัยวะพิการถึง ๕ ส่วน เพราะผลแห่งการให้ทานด้วยความโกรธและรำคาญ แต่สัมผัสของนางเป็นทิพย์คือชายใดได้ถูกเนื้อต้องตัวเป็นต้องหลงใหลในตัวเธอ เพราะผลแห่งการให้ดินเหนียวที่ละเอียด

ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า การให้ทาน อย่าสักแต่ให้ พึงให้ด้วยศรัทธาเต็มที่ ให้ของที่สะอาดประณีต และถ้าได้ปฏิคาหกที่มีศีลมีธรรมด้วย ก็ยิ่งจะอำนวยให้ทานของเรามีอานิสงส์ (ผล) ไพศาลยิ่งขึ้น

นางสุปปวาสา โกลิยธิดา เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี เวลาจะถวายทานแต่ละครั้ง จึงเตรียมแต่ของที่สะอาดประณีตถวาย จนได้รับยกย่องใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทาง “ให้ทานอันประณีต” ด้วยประการฉะนี้...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสุปปวาสา   : โกลิยธิดาผู้มีประวัติพิสดาร โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๒-๑๘ กันยายน  ๒๕๕๗



๗๙. นกุลมาตา นกุลปิตา
ผู้สนิทคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า

วันนี้ ขอเล่าเรื่องอุบาสิกาตัวอย่างนามว่า นกุลมาตา มีสามีซึ่งเป็นคู่สร้างคู่สมที่เกื้อกูลกันดีมาก ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์ ว่ามีคุณสมบัติเหมือนกัน จึงขอนำมาเขียนรวมกันไว้ตรงนี้เลย

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง เสด็จดำเนินไปยังเมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ พระองค์ประทับแรม ณ ป่าอันมีนามว่า “เภสกฬาวัน”

สองตายายไม่ทราบว่าชื่อจริงว่าอย่างไร แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า นกุลมาตา นกุลปิตา เพราะทั้งสองเป็นแม่และพ่อของนกุลมาณพ

นกุลมาณพนี้ ไม่มีรายละเอียดบอกว่าเป็นใครยังไงในประวัติพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่าคงจะเป็น “คนดัง” ในละแวกนั้นพอสมควร ไม่เช่นนั้นชาวบ้านไม่เรียกชื่อพ่อแม่แกโดยชื่อแกดอกครับ
“เอ สองตายายนี้ใครกับนะ” คนหนึ่งถามขึ้นอย่างนี้
“เอ้า ไม่รู้จักหรือ พ่อแม่ของนกุลไงล่ะ” อีกคนบอก
“อ้อ” คนถามก็ถึงบางอ้อทันที เพราะนกุลคนนี้คงต้องมีชื่อเสียงพอสมควร

สองตายายได้พบกับพระพุทธเจ้า ทันทีที่พบก็เกิด “ปุตตสิเนหา” (ความรักฉันบุตร) ขึ้นมาทันที เข้าไปหมอบแทบพระบาทพระพุทธองค์ รำพันว่า”โอ ลูกพ่อ ลูกแม่ ทำไมเพิ่งจะมาให้พ่อแม่เห็นหน้า ก่อนหน้านี้ไปอยู่เสียที่ไหน พ่อแม่คิดถึงเหลือเกิน”

พระพุทธองค์ก็ทรงยินยอมให้สองตายายทำและพูดอย่างนั้นไม่ทักท้วงอะไร เมื่อพวกเขาเรียกพระพุทธองค์ว่า ลูก พระองค์ก็ตรัสเรียกพวกเขาว่า พ่อ แม่ เช่นเดียวกันปรากฏการณ์นี้ สร้างความมึงงงให้แก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากที่ตามเสด็จ

สองตายายได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ได้บรรลุโสดาปัตติผล

จากนั้นทั้งสองก็คร่ำเคร่งปฏิบัติธรรม ทำบุญทำกุศลร่วมกัน

ครองคู่กันอย่างมีความสุขตามประสาคนแก่

ครั้งหนึ่งนกุลปิตาล้มป่วยลง อาการน่าวิตก นกุลมาตาก็มาคอยเฝ้าเอาใจใส่ดูแล และพูดปลอบใจว่า “ตาไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถ้ายังห่วงกังวล แล้วจะตายตาไม่หลับ เป็นทุกข์มาก พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ”

ยายรู้ว่าตาเป็นห่วงเรื่องอะไรบ้าง จึงบรรยายให้ตาฟังว่า ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไม่ต้องเป็นห่วง ยายจะประพฤติตัวให้ดีที่สุด เรื่องต่างๆ ที่ว่ามีอะไรบ้าง
๑. ถ้าห่วงว่าตาตายไปแล้วยายจะมีสามีใหม่ ข้อนี้ก็ไม่ต้องห่วงเพราะอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยามานานถึง ๑๖ ปี ยายซื่อสัตย์ต่อตามาตลอด ถึงตาจะตายไปแล้วยายก็ยังรักเดียวใจเดียว
๒. ถ้าห่วงว่าหลังจากตาสิ้นไปแล้ว ยายจะลืมพระพุทธเจ้า ลืมไปเฝ้าไปฟังธรรมจากพระองค์ หรือลืมพระสงฆ์ข้อนี้ก็ไม่ต้องเป็นห่วง
๓. ถ้าห่วงว่ายายจะเลิกรักษาศีล ก็ไม่ต้องห่วง เพราะยายจะรักษาศีลปฏิบัติธรรมร่วมกับหมู่สาวิกาผู้นุ่งขาวห่มขาวทั้งหลาย ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง
๔. ถ้าห่วงว่ายายสักแต่ถือรูปแบบของผู้ปฏิบัติธรรมเฉยๆ จิตใจไม่ได้เข้าถึงธรรม ไม่ได้สงบมีความสันติภายใน ก็ยิ่งไม่ต้องห่วง ยายจะพยายามสร้างความสงบภายในให้เกิดอย่างแน่นอน

เมื่อนกุลมาตาปลอบใจ และให้คำมั่นอย่างนี้ นกุลปิตาก็ดีใจและหายป่วยในที่สุด หลังจากหายป่วยแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องราวให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า
“คหบดี เป็นลาภของท่านแล้วที่ได้ภรรยาเช่นนกุลมาตา ผู้มีจิตใจเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ หวังประโยชน์ คอยแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในอีกสูตรหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงยกย่องนกุลมาตาว่า เป็นมาตุคาม (สตรี) ที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติดีงาม ๘ ประการ คือ
๑. เป็นภรรยาที่ดีของสามี ตื่นก่อนนอนภายหลัง คอยเฝ้ารับใช้ประพฤติตนให้ถูกใจสามี กล่าวคำอันเป็นที่รัก
๒. เคารพบิดามารดาของสามี และคนที่เป็นที่เคารพสักการะของสามี
๓. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการงานต่างๆ สามารถบริหารงานให้ลุล่วงด้วยดี
๔. ดูแลคนภายใน เช่น ทาส คนใช้ กรรมกร ให้ดี รู้จักรักษาในยามที่เขาเหล่านั้นป่วยไข้
๕. รู้จักแบ่งปันของกินของใช้แก่พวกเขาตามสมควร
๖. รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองที่สามีหามาไว้ จับจ่ายใช้สอยพอเหมาะสมกับความเป็นอยู่ภายในครอบครัว
๗. ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต รักษาศีลเคร่งครัด
๘. ใจบุญสุนทาน ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น สละทรัพย์ทำบุญเสมอ

คราวหนึ่งนกุลปิตาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า ข้าพระองค์แก่เฒ่าแล้ว ขอพระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อคนแก่เฒ่า เพื่อให้มีความสุขเถิด พระพุทธองค์ตรัสว่า “คหบดี ร่างกายของคนเรามันเปราะบางดุจไข่ที่มีเปลือกหุ้ม จะหาความไม่มีโรคแม้ครู่เดียวก็ยังยาก คนโง่เท่านั้นที่ประมาทว่าไม่มีโรค คหบดี ขอให้ท่านศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อกายเรากระสับกระส่าย จิตเราจะไม่กระสับกระส่าย”

นกุลปิตาพบพระสารีบุตร พระสารีบุตรทักว่าใบหน้าผ่องใสเหลือเกิน มีอะไรหรือ ก็กราบเรียนท่านว่า ตนได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์มา พระองค์ตรัสสอนว่า แม้กายกระสับกระส่าย ก็ให้สำเหนียกศึกษาว่าจิตใจจะไม่กระสับกระส่าย เพราะพระธรรมเทศนานี้เองที่ทำให้ตนมีใบหน้าผ่องใส

เมื่อพระสารีบุตรถามว่า แล้วโยมเข้าใจความหมายแห่งพุทธดำรัสหรือเปล่า คุณตาตอบว่าไม่ทราบ แต่คำเทศน์จับใจดีเหลือเกิน แล้วขอให้พระสารีบุตรตรัสอธิบายให้ฟัง

พระสารีบุตรอธิบายว่า ให้ขจัด “สักกายทิฏฐิ” (ความเห็น ความยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน) ออกเสีย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันจะแปรปรวนไปอย่างใด จิตเราก็จะไม่กระสับกระส่ายไปด้วย เพราะเราเห็นแจ้งว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มีตัวตนและมิใช่ตัวตนของเรา

คุณตานกุลปิตา ได้ฟังคำอธิบายจากพระสารีบุตร ก็ชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ชี้ทางสว่างให้

สองตายาย (นกุลมาตา นกุลปิตา) ได้คุ้นเคยสนิทสนมกับพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์มาก พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติปางก่อน สองตายายได้เป็นบิดามารดาของพระองค์ห้าร้อยชาติ ได้เป็นญาติพี่น้องของพระองค์มากกว่าห้าร้อยชาติ มาชาตินี้ พอพบพระพักตร์เท่านั้นก็เกิดความรัก “ฉันบิดามารดากับบุตร” ทันที เป็นความผูกพันเก่าๆ ที่ฝังอยู่ในจิตใจ

พระพุทธองค์ทรงยกย่องสองตายายว่าเป็นเลิศกว่าบุคคลอื่นในด้านเป็นผู้ที่สนิทคุ้นเคยกับพระพุทธองค์


ข้อมูล : บทความพิเศษ นกุลมาตา นกุลปิตา : ผู้สนิทคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๙-๒๕ กันยายน ๒๕๕๗


.

๘๐. กาติยานี  
อุบาสิกาผู้มีความเลื่อมใสมั่นคง

คราวนี้มาว่าถึงกุลสตรีผู้ได้รับยกย่องในเอตทัคคะว่าเป็นผู้มีศรัทธามั่นคง นางชื่อ กายิตานี หรือ กัจจานี

กาติยานีเป็นชาวเมืองกุรรฆรนคร (อ่าน “กุ-ระ-ระ-คะ-ระ”) มีเพื่อนสนิทนามว่ากาฬี ทั้งสองคนมีนิสัยใจคอและความสนใจเหมือนกัน จึงเข้ากันได้อย่างสนิทคือต่างก็สนใจการศึกษาธรรมะด้วยกัน

สมัยนั้นมีพระเถระที่มีชื่อเสียงในการแสดงธรรม ชื่อ พระโสณกุฏิกัณณะ (หรือโกฏิกัณณะ) ท่านรูปนี้เป็นศิษย์เอกของพระมหากัจจายนะ (พระธรรมกถึกผู้ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้มีความสามารถในการขยายภาษิตย่อให้พิสดาร)

โสณะท่านเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองอุชเชนี อยากบวช แต่ก็เสียเวลาไปตั้งกว่าสามปี เพราะหาพระภิกษุมา “นั่งหัตถบาส” ไม่ได้ เมื่อบวชแล้วพระอุปัชฌาย์จึงส่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ให้กราบทูลขอพรให้ลดหย่อนบทบัญญัติหลายข้อ

หนึ่งในหลายข้อนั้นก็คือ ในปัจจันตชนบทห่างไกล หาภิกษุสงฆ์มาประกอบพิธีอุปสมบทยาก กว่าจะครบ ๑๐ รูป ก็เสียเวลานาน ดังกรณีพระโสณะเป็นตัวอย่าง ขอให้ทรงลดหย่อนให้ภิกษุ ๕ รูป ทำการอุปสมบทกุลบุตรในปัจจันตชนบทได้ พระพุทธองค์ก็ทรงประทานให้ตามที่ได้กราบทูลขอ

ท่านโสณะได้สวดธรรมด้วยทำนอง (สวดสรภัญญะ) ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ พระพุทธองค์ตรัสชมเชยว่าสวดได้ถูกต้องและไพเราะดี ท่านคงมิใช่จะมีความสามารถแต่ในการสวดทำนองเท่านั้น ในด้านการอธิบายธรรมก็เป็นยอเหมือนกัน เพราะเป็น “ศิษย์มีครู” ท่านจึงแสดงธรรมแก่ประชาชนเสมอ

นางกาติยานีพร้อมสหายไปฟังธรรมที่พระโสณะแสดง ตั้งใจว่าจะนั่งฟังจนจบจึงจะกลับบ้าน พระเถระแสดงธรรมต่อเนื่องกันเกือบตลอดทั้งคืน ก่อนนั้นเล็กน้อย นางกาติยานีสั่งนางทาสให้กลับไปเอาตะเกียงน้ำมันมาจุดฟังธรรม ทาสีรุดกลับบ้าน หารู้ไม่ว่าพวกโจรจำนวนหนึ่งกำลังขุดอุโมงค์สร้างทางลับเพื่อไปโผล่ที่บ้านนางกาติยานีอยู่ หัวหน้าโจรได้มาดูลาดเลาที่วัด

นางทาสีไปพบพวกโจรกำลังขุดอุโมงค์อยู่ จึงรีบกลับมารายงานนายหญิงให้ทราบ หัวหน้าโจรคิดว่า ถ้านางคนนี้เชื่อคำรายงานของนางทาสี รีบกลับไปดูบ้านตนก็จะดักฆ่านางระหว่างทาง แต่ก็ประหลาดใจที่นางกาติยานีได้รับรายงานจากนางทาสีแล้ว กลับพูดว่า ช่างเถอะ เรากำลังฟังธรรม ถ้าเรากลับไปบ้านเราก็จะไม่ได้ฟังธรรมจนจบ ฟังธรรมจบ แล้วค่อยคิดอีกทีว่าจะทำอย่างไร

นางกาติยานีกำชับนางทาสีไม่ให้เอะอะโวยวาย หรือบอกเรื่องราวแก่ใคร โดยให้เหตุผลว่า ขึ้นชื่อว่าโจรแล้ว เขาจะลักขโมยของคนอื่น ยากที่คนจะขัดขวางได้ แต่ถึงโจรมันจะลักของเราไป ก็ได้แต่ของภายนอก ทรัพย์ภายใน (คือพระธรรม) ไม่มีโจรที่ไหนลักไปได้ดอก

หัวหน้าโจรได้ยินดังนั้น ก็ได้สำนึกว่าตนเองกำลังทำความผิดต่อนางผู้มีจิตใจงดงามเสียแล้ว จึงรีบไปยังสถานที่ที่ลูกน้องกำลังทำงานอยู่ พอไปถึง ลูกน้องก็ขุดอุโมงค์ทะลุเข้าไปบริเวณบ้านนางกาติยานีแล้ว และกำลังขนทรัพย์สินออกจากบ้าน หัวหน้าโจรจึงสั่งให้ขนทรัพย์สินเหล่านั้นไปคืนไว้ยังที่เดิม แล้วสั่งลูกน้องให้ตามไปฟังธรรมที่วัด

ถึงลูกน้องโจรจะมึนงงอย่างไร ก็ต้องตามหัวหน้าคือไปฟังธรรม

นางกาติยานีตั้งใจฟังธรรมด้วยจิตสงบ พอพระเถระแสดงธรรมจบ นางก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยสาวิกาผู้มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย

หัวหน้าโจรแสดงตนต่อนางกาติยานี พลางเล่าเรื่องราวให้นางฟัง เขาพร้อมบริวารได้หมอบแทบเท้านาง กล่าวขอขมาที่ได้ล่วงเกิน

นางกาติยานีกล่าวว่า ในเมื่อพวกท่านสำนึกตนว่าได้ทำผิด ก็ไม่มีโทษอีกต่อไป ฉันอภัยให้

หัวหน้าโจรปลาบปลื้มใจอย่างยิ่ง เลื่อมใสในความเป็นผู้มีจิตใจดีงามของนาง จึงขอร้องให้นางพาตนไปหาพระเถระ เพื่อขอขมาพระเถระ และขอบวชเป็นศิษย์ของท่าน นางกาติยานีก็นำพวกโจรไปฝากให้พระเถระบวชให้ตามประสงค์

ว่ากันว่าหลังจากบวชแล้ว พระภิกษุโจรกลับใจเหล่านั้นตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรม ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตทุกรูป

คิดดูก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะโจรเหล่านี้ไม่มีสันดานหยาบอะไรนัก ดังหัวหน้าโจรเห็น “เหยื่อ” เป็นคนดี ก็ซาบซึ้งในความดีของนาง และคิดต่อว่า ถ้าตนผิดต่อสตรีที่มีคุณธรรมเช่นนี้ เทวดาฟ้าดินไม่ยอมยกโทษให้แน่ นี้แสดงถึงสันดานลึกๆ ของหัวหน้าโจรยังใฝ่ดีอยู่

พวกลูกน้องโจร เมื่อเจ้านายบอกให้ขนทรัพย์ที่ขโมยมาคืนเจ้าของ เพราะเจ้าของเป็นคนดีมีคุณธรรม ก็เชื่อฟังโดยดี เมื่อหัวหน้าชวนไปบวชก็ไปด้วยดี แสดงว่าลึกๆ จริงๆ แต่ละคนก็มี “อุปนิสัย” ที่ขัดเกลาเป็นคนดีได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมาบวชแล้วได้รับการฝึกฝนอบรมที่เหมาะสม จึงได้บรรลุจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตในที่สุด

นางกาติยานีเอง หลังจากบรรลุโสดาปัตติผลครั้งนั้นแล้ว ก็เข้าวัดฟังธรรมสม่ำเสมอ ด้วยศรัทธาปสาทะอันแน่วแน่ในพระรัตนตรัย จนได้รับสถาปนาในเอตทัคคะ (ตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าคนอื่น) ในทางเป็นอุบาสิกาผู้มีความเลื่อมใส อันแน่นแฟ้นในพระรัตนตรัย (อเวจจปสาทะ) ด้วยประการฉะนี้แล


ข้อมูล : บทความพิเศษ กาติยานี : อุบาสิกาผู้มีความเลื่อมใสมั่นคง โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๙-๒๕ กันยายน ๒๕๕๗


.

๘๑. นางวิสาขา มิคารมาตา
ผู้เป็นเลิศในทางถวายทาน

ชาวพุทธย่อมจะคุ้นเคยกับนาม วิสาขามหาอุบาสิกา และอนาถบิณฑิกเศรษฐี เพราะสองท่านี้เป็นอุบาสก อุบาสิกา “คู่ขวัญ” ในพระพุทธศาสนา ทั้งสองท่านนี้ได้ให้ความอุปถัมภ์แก่พระพุทธศาสนาอย่างแข็งขันทีเดียว

ประวัติโดยพิสดารของนางวิสาขาเขียนไว้ต่างหากแล้ว ในที่นี้ขอเล่าโดยย่อ นางวิสาขาเป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ติดกับแคว้นมคธ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ

ต่อมาตามบิดาไปอยู่เมืองสาวัตถี ได้แต่งงานกับปุณณวัฒนะ บุตรมิคารเศรษฐี

นางวิสาขาเป็นสตรีที่ลือชื่อว่าเป็นเบญจกัลยาณี คือ มีความงาม ๕ ประการ ได้แก่
๑. ผมงาม  หมายถึง ผมสลวย เป็นเงางาม (เกสกัลยาณะ)
๒. เนื้องาม หมายถึงมีริมฝีปากงาม ไม่ต้องทาลิปสติก (มังสกัลยาณะ)
๓. กระดูกงาม (หมายถึง ฟันงาม (อัฏฐิกัลยาณะ)
๔. วัยงาม หมายถึง ไม่แก่ตามอายุ (วลกัลยาณะ)
๕. ผิวงาม หมายถึง ผิวพรรณผุดผ่อง (ฉวิกัลยาณะ)

ก่อนส่งตัวไปยังตระกูลสามี บิดาได้ให้โอวาทนางวิสาขา ๑๐ ข้อ ให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เมื่ออยู่ในตระกูลสามี

ตระกูลสามีของนางเป็น “มิจฉาทิฐิ” (คือไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา) เมื่อนางซึ่งเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ไปอยู่ที่ตระกูลสามี นางก็ทำบุญใส่บาตรเป็นประจำ

วันหนึ่งก็เกิดเรื่อง คือ ขณะที่บิดาสามีของนางบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขานั่งปรนนิบัติพัดวีอยู่ เศรษฐีเห็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนามาบิณฑบาตยืนอยู่ที่หน้าบ้าน เศรษฐีแกล้งไม่เห็นภิกษุรูปนั้น หันข้างให้พระภิกษุท่าน

นางวิสาขาก็ค่อยถอยออกไปพูดกับภิกษุรูปนั้น ดังพอให้บิดาสามีได้ยินว่า “พระคุณเจ้านิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด บิดาของดิฉันกำลังกินของเก่า”

เศรษฐีได้ยินก็โกรธ หาว่าลูกสะใภ้ดูถูกตนว่า “กินอุจจาระ” จึงไล่นางออกจากตระกูลของตน  พราหมณ์ทั้ง ๘ คนที่เศรษฐีส่งมาให้ดูแลนางได้ทำการสอบสวนเรื่องราว เรียกทั้งบิดาของสามีและนางวิสาขามาซักถาม

นางวิสาขาอธิบายว่า นางมิได้กล่าวหาว่าบิดาของสามีนางกิน “อุจจาระ” คำว่า “กินของเก่า” ของนางหมายถึง บิดาสามีของนางได้เกิดเป็นเศรษฐีทุกวันนี้ เพราะ “บุญเก่า” ที่ทำไว้แต่ชาติปางก่อน แต่เศรษฐีมิได้สร้างบุญใหม่เลย ท่านเศรษฐีจึงได้ชื่อว่า “กินของเก่า”

พราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตัดสินว่า นางวิสาขาไม่ผิด และเศรษฐีก็ให้อภัย ไม่ส่งนางกลับตระกูลเดิมอีกต่อไป แถมยังหันมานับถือพระพุทธศาสนาตามนางอีกด้วย เศรษฐีได้นับถือลูกสะใภ้ว่าเป็นผู้มีบุญคุณต่อตน ที่นำตนเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาจึงเรียกขานนางว่าเป็น “มารดาในทางธรรม”

ตั้งแต่บัดนั้นมา นางวิสาขาจึงมีสมญานามว่า วิสาขา มิคารมาตา (วิสาขา มารดาแห่งมิคาระเศรษฐี)

นางวิสาขาได้ขายเครื่องประดับที่มีค่าแพงของนางชื่อ ลดาปสาธน์ ได้เงิน ๘ โกฏิ ๑ แสนกหาปณะ (ตั้งราคาให้แต่ไม่มีใครซื้อ จึงซื้อเสียเอง) และเพิ่มเงินอีกจำนวน ๙ โกฏิ สร้างวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า “วัดบุพพาราม”

นางวิสาขาไปวัดทุกเช้าเย็น ดูแลความเป็นอยู่ของพระสงฆ์อย่างใกล้ชิด บางครั้งก็มีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ด้วย ดังกรณีนางภิกษุณีมารดาของพระกุมารกัสสปะ

ภิกษุณีรูปหนึ่งอยู่ในปกครองของพระเทวทัต ตั้งท้องก่อนมาบวช เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น ก็เป็นที่โจษจันกัน พระเทวทัตผู้ปกครองสั่งให้นางสละเพศบรรพชิตทันที เพราะถือว่าเป็นปาราชิกแล้ว แต่นางยืนยันในความบริสุทธิ์ของตน จึงไม่ยอมสึกอุทธรณ์ขึ้นไปถึงพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์รับสั่งให้พระอุบาลีเถระชำระอธิกรณ์ พระอุบาลีเถระมาขอแรงนางวิสาขาให้ช่วยพิจารณาด้วย นางได้สอบถามวันออกบวช วันประจำเดือนหมด ตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คำนวณวันเวลา ได้รายละเอียดทุกอย่างแล้วสรุปว่านางได้ตั้งครรภ์ก่อนบวช จึงไม่มีความผิดทางพระวินัยแต่อย่างใด คำวินิจฉัยนั้นถือว่าถูกต้องยุติธรรม ได้รับการยอมรับจากพระพุทธองค์

ภิกษุณีรูปที่กล่าวถึงนี้ คือมารดาของพระกุมารกัสสปะ พระเถระนักแสดงธรรมผู้มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

นางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะ (เป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านการถวายทาน เป็นอุบาสิกาตัวอย่างที่ควรดำเนินตามอย่างยิ่ง  


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางวิสาขา มิคารมาตา : ผู้เป็นเลิศในทางถวายทาน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๓-๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2557 16:44:40 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557 16:20:46 »

.

๘๒. นางสามาวดี  
พุทธสาวิกาผู้อมตะ (ตอนที่ ๑)

วันนี้มาว่าด้วยพุทธสาวิกาที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ เธอตายแล้วก็เหมือนไม่ตาย เพราะเธอไม่มีความประมาทในชีวิต ดังพุทธภาษิตว่า อัปปะมัตตา นะ มี ยันติ เย ปะมัตตา ยะถา มะตา ผู้ไม่ประมาทไม่มีวันตาย ส่วนผู้ประมาทแล้ว ถึงยังมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว

ชีวิตของสามาวดีในวัยเด็ก ต้องผจญกับความผันผวนของชีวิตอย่างน่าเวทนาหน่อย

เมืองภัททวดีที่อาศัยเกิดอหิวาตกโรค ผู้คนล้มตายกันเกลื่อนกลาด เศรษฐี ภรรยา และบุตรสาว ซึ่งก็คือ สามาวดี หนีออกจากเมือง มุ่งหน้าไปยังเมืองโกสัมพี

ที่เมืองโกสัมพีนี้มีเศรษฐีชื่อ โฆสกะ เป็นสหายกับเศรษฐีพ่อของสามาวดี เขาและครอบครัวหวังไปพึ่งใบบุญเพื่อน จึงเดินทางรอนแรมไปหลายราตรี กว่าจะลุถึงเมืองโกสัมพี ทั้งสามพักเหนื่อยอยู่ประตูเมือง กะว่ารุ่งเช้าจะไปหาเศรษฐีผู้สหาย

แต่เศรษฐีผู้ตกยากก็ไม่แน่ใจเสียแล้วว่าตนและครอบครัวมาในสภาพอย่างนี้ เศรษฐีผู้สหายจะยินดีต้อนรับหรือไม่ จึงยับยั้งอยู่ก่อน

สั่งให้ลูกสาวไปขอทานมากินแก้หิวก่อน ค่อยคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป

โฆสกะเศรษฐีนั้นเคยเป็นคนที่ตกยากมาก่อน เมื่อเป็นเศรษฐีแล้วก็คิดถึงหัวอกของคนจน จึงตั้งโรงทานให้ทานแก่ยาจกและวณิพกเป็นประจำ โดยมอบหมายให้มิตตะกุฎุมพีเป็นผู้อำนวยการให้ทานแทนในทุกๆ เช้า

เช้าวันที่พูดถึงนี้ สามาวดี ถือภาชนะไปขอทาน มิตตะกุฎุมพีถามว่า เอากี่ส่วน นางตอบว่าสามส่วนจ้ะ (หมายถึงเอาไปให้ ๓ คน)

คืนนั้นเอง เศรษฐีตกยาก พ่อของสามาวดีก็เสียชีวิตลง เพราะความบอบช้ำเนื่องจากเดินทางฝ่าทุรกันดารมาไกล เข้าใจว่าคนไม่เคยลำบาก พออยู่ในภาวะสิ้นเนื้อประดาตัว คงตรอมใจตายมากกว่าอย่างอื่น

วันรุ่งขึ้น เมื่อกุฎุมพีให้ทาน สามาวดีร้องบอกว่า วันนี้ขอสองส่วนจ้ะ กุฎุมพีก็นึกแปลกใจว่าอีหนูคนนี้เมื่อวานนี้ขอสามส่วน วันนี้ของสองคงรู้ประมาณท้องของตัวเองแล้วสินะ

คืนนั้น ภริยาเศรษฐี (แม่ของสามาวดี) ก็มาตายลงไปอีกคน  ทิ้งลูกสาวตัวน้อยๆ ต้องผจญชีวิตตามลำพัง สามาวดีร้องไห้จนไม่มีน้ำตาจะไหล รุ่งเช้าขึ้นมาก็ถือกะลาไปขออาหารตามเดิม

เมื่อกุฎุมพีจะตักให้สองส่วน นางก็ร้องบอกว่านายจ๋าวันนี้เอาส่วนเดียวพอ ทำให้กุฎุมพีเดือดขึ้นมาทันที

“อีตะกละ วันก่อนโน้นเอ็งคงหิวมากซีนะ ขอไปตั้งสามส่วน วันต่อมารับสองส่วน วันนี้กลับขอส่วนเดียว เพิ่งรู้ประมาณท้องของตัวเองใช่ไหม”

สามาวดีตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีใคร่ขู่ตะคอกด้วยผรุสวาจาอย่างนี้ เลือดผู้ดีขึ้นหน้า จึงย้อนถามว่า “อะไรกันนาย แค่นี้ก็ด่ากันด้วยหรือ”

“เออซิวะ อีเด็กถ่อย ทำไมวันก่อนเอ็งขอสามส่วน เมื่อวานขอสองส่วน วันนี้กลับขอส่วนเดียว อย่างนี้ไม่น่าด่าหรือ” มิตตะกุฎุมพี กล่าว

“หามิได้นาย เมื่อวันก่อนฉันมีกันสามคน วานนี้มีสองคน แต่วันนี้เหลือฉันคนเดียว ฉันจึงขออาหารเพียงส่วนเดียว” นางอธิบายพลางร้องไห้สะอึกสะอื้น

มิตตะกุฎุมพีจึงถามไถ่เรื่องราว นางก็เล่าให้ฟังจนหมดสิ้น พลอยทำให้ผู้รับฟังเรื่องราวต้องเช็ดน้ำตาไปด้วย เขาจึงขอโทษนางและรับนางมาอยู่ด้วยในฐานะบุตรบุญธรรม

เป็นอันว่าสามาวดีได้ผ่านวิกฤตแห่งชีวิตแล้ว ได้ช่วยบิดาบุญธรรมบริจาคทานที่โรงทานทุกวัน เห็นคนขอทานมายืนออกันรอรับทานไม่เป็นระเบียบ แถมยังส่งเสียงอื้ออึงหนวกหู นางจึงเกิด “ไอเดีย” น่าจะมีวิธีให้ผู้เข้ามารับทานมารับอย่างเป็นระเบียบและไม่ส่งเสียงอึกทึก แล้วเข้าไป “ขายไอเดีย” กับบิดาบุญธรรม
“ลูกจะทำอย่างไร” บิดาบุญธรรมซัก
“ก็กั้นรั้วทำทางเดินแคบๆ เดินได้คนเดียว ให้ผู้เข้ามารับทานเข้ามารับทีละคนตามคิว เข้าประตูหนึ่งออกอีกประตูหนึ่ง โดยวิธีอย่างนี้จะเป็นระเบียบยิ่งขึ้น และไม่มีเสียงอึกทึก” ลูกสาวแจง

บิดาบุญธรรมจึงตกลงตามนั้น จึงสั่งให้ทำทางเดินกั้นด้วยรั้วตามที่บุตรีบุญธรรมเสนอ ทดลองใช้ดูในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าไม่มีเสียงอึกทึกเช่นแต่ก่อน และเป็นระบบระเบียบขึ้น

เดิมนางมีชื่อสั้นๆ ว่า “สามา” ตั้งแต่คิดกั้นรั้วทำทางให้คนมารับบริจาคทานเข้าออกเป็นระเบียบขึ้น จึงได้สมญานามว่า “สามาวดี” (แปลว่า สามาผู้กั้นรั้ว)

โรงทานของโฆสกะเศรษฐี ใหญ่มาก มียาจกและวณิพกมารอรับทานวันละเป็นร้อยเป็นพัน ย่อมมีเสียงอึกทึกโกลาหลไม่น้อย ภาพและเสียงอย่างนี้คงชินหูชินตาผู้คน รวมทั้งเศรษฐีด้วย แต่ตั้งแต่มิตตะกุฎุมพีกั้นรั้วตามคำแนะนำของบุตรสาวบุญธรรม ทั่วบริเวณโรงทานสงบเงียบ ไม่มีเสียงอื้ออึงเหมือนเดิม เศรษฐีเอ่ยถามมิตตะกุฎุมพี ผู้อำนวยการโรงทานว่า เลิกให้ทานแล้วหรือ
“ยังให้อยู่เหมือนเดิมนาย” กุฎุมพีตอบ
“อ้าว แล้วทำไมไม่ได้ยินเสียง” เศรษฐีซัก
“เพราะได้ให้ทานโดยวิธีใหม่” กุฎุมพีตอบ ครั้นซักว่าวิธีใหม่นะวิธีอะไร กุฎุมพีจึงบอกให้เศรษฐีไปดูด้วยตาในวันรุ่งขึ้น

รุ่งเช้าขึ้นมาเศรษฐีไปที่โรงทาน ได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโรงทานก็รู้สึกชอบใจ จึงเอ่ยถามด้วยความแปลกใจว่า “ทำไมมิตตะไม่ทำอย่างนี้เสียตั้งแต่แรก”
“เพราะคิดไม่ได้ครับ” มิตตะตอบ
“แล้วทำไมตอนนี้คิดได้” โฆสกะเศรษฐีซัก
“ไม่ใช่ความคิดของข้าพเจ้า ลูกสาวข้าพเจ้าเป็นคนต้นคิดครับ”
“ท่านมีลูกสาวตั้งแต่เมื่อใด” เศรษฐีย้อนถามด้วยความแปลกใจ เพราะเท่าที่ทราบมิตตะกุฎุมพีไม่มีลูกสาว

มิตตะกุฎุมพีจึงเล่าเรื่องราวของสาวน้อยนามสามาวดีให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีจึงให้ตามนางมา แล้วกล่าวว่า “พ่อเจ้าเป็นเพื่อนฉัน ลูกเพื่อนฉันก็เท่ากับลูกของฉัน ต่อแต่นี้เจ้าจงมาอยู่ด้วยกันเถิด”  แล้วรับนางไปอยู่ด้วย ตั้งไว้ในฐานะธิดาคนโต มอบหญิง ๕๐๐ คน เป็นบริวารรับใช้

วันหนึ่ง ขณะนางพร้อมบริวารไปอาบน้ำที่ท่าน้ำในวันนักขัตฤกษ์ พระเจ้ากรุงโกสัมพีทอดพระเนตรเห็น ก็มีพระราชหฤทัยปฏิพัทธรักใคร่ ทราบว่าเป็นบุตรโฆสกะเศรษฐี จึงให้คนไปขอนาง แต่พ่อบุญธรรมปฏิเสธ ถูกพระเจ้ากรุงโกสัมพีพิโรธ รับสั่งให้ไล่ทุกคนออกจากคฤหาสน์แล้วตีตราสั่งยึดบ้าน

สามาวดีกลับมาจากท่าน้ำ รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น จึงกล่าวกับบิดาบุญธรรมว่า “พ่อ ขึ้นชื่อว่าพระราชามหากษัตริย์ ทรงปรารถนาอะไร ยากที่ใครจะขัดขืนได้ พ่ออย่าลำบากเพราะลูกเลย” เศรษฐีก็ทราบว่านางเองก็คงพึงพอใจ จึงให้คนไปกราบทูลพระราชาว่า ยินดีถวายลูกสาวเข้าวัง

เป็นอันว่า ตั้งแต่นั้นมาสามาวดีก็ได้เป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทน กษัตริย์หนุ่มแห่งโกสัมพี ว่ากันว่าเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามีอย่างยิ่งด้วย

ประวัติของนางสามาวดียังอีกยาว เล่าตอนเดียวไม่จบ ขอยกยอดไปสัปดาห์หน้าก็แล้วกัน


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสามาวดี : พุทธสาวิกาผู้อมตะ (๑) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๐-๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗


.

๘๒. นางสามาวดี 
พุทธสาวิกาผู้อมตะ (ตอนที่ ๒)

พระเจ้าอุเทนมีมเหสีทั้งหมด ๒ พระองค์ คือ สุลทัตตา และ พระนางมาคันทิยา

เฉพาะองค์หลังนี้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับนางสามาวดี สาเหตุมิใช่เกิดจากนางสามาวดี หากแต่มาคันทิยาเธอมีเรื่องอาฆาตแค้นพระพุทธเจ้ามาก่อน

เมื่อมาอยู่ในวังพระเจ้าอุเทน เห็นนางสามาวดีและนางสนมกำนัลในทั้งหลายเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เธอก็เลยพาลโกรธแค้นไปด้วย

มาคันทิยา เป็นใคร และอาฆาตแค้นพระพุทธองค์ด้วยเรื่องอะไร ถ้าจะเล่าก็ยาว เอาสั้นๆ ก็แล้วกัน นางเป็นสตรีผู้สวยงาม พ่อแม่ไม่ยอมให้แต่งงานกับคนที่มาขอ อ้างว่าไม่คู่ควรกับลูกสาวของตน

วันหนึ่ง พราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนางเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดชอบใจ จึงพาลูกสาวมาหา บอกว่า “สมณะคู่ควรกับลูกสาวของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอมอบลูกสาวให้แก่สมณะ”

พระพุทธเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยแห่งมรรคผลในตัวพราหมณ์เฒ่าและภรรยา จึงตรัสสอนธรรมพาดพิงถึงเรื่องความไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ของร่างกายที่เปื่อยเน่า

พระองค์ตรัสว่า “เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายอยู่ นางสนมกำนัลสวยงามยิ่งกว่าลูกสาวท่าน เราตถาคตยังสละมาเลย ลูกสาวท่านไม่ได้สวยงามอะไรนักหนา เราตถาคตไม่ปรารถนาจะแตะต้อง แม้ด้วยเท้า”

ประโยคหลังนี้กระทบใจสองผัวเมีย คือทำให้ทั้งสองเข้าใจซึ้งถึงความเป็นจริงของสังขาร ว่าไม่มีอะไรน่าปรารถนา ทั้งสองได้บรรลุโสดาปัตติผลทันทีที่ตรัสจบ

แต่ลูกสาวคนสวยรู้สึกโกรธขึ้นมาทันที ที่ถูกพระพุทธองค์กล่าวดูถูกให้เสียหาย จึงผูกอาฆาตว่า “กูได้เป็นใหญ่เมื่อใด กูจะเล่นงานสมณะองค์นี้ให้ได้ ฝากไว้ก่อนเถอะ”

บังเอิญบุญพาวาสนาส่ง (หรือบาปก็ไม่รู้สิ) นางได้กลายเป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทน เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์บิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ก็จำได้ ความแค้นเก่าก็ผุดขึ้นมา

ยิ่งรู้ว่านางสามาวดีกับบริวารเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ยิ่งโกรธแค้นหนักขึ้น คอยหาโอกาสเล่นงานทั้งพระศาสดาและเหล่าสาวิกาของพระองค์อยู่

สามาวดีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ยังไม่เห็นพระองค์ คือสาวใช้หลังค่อม นาม ขุชชุตตรา ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ สามาวดีได้ขอให้นางแสดงธรรมที่ได้รับฟังมาจากพระองค์ให้ฟังอีกทีหนึ่ง นางได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่นั้นมา

นางพร้อมกับสตรีในวังได้ขอให้นางขุชชุตตราไปฟังธรรม แล้วมาแสดงให้พวกนางฟังทุกวัน ผลจากการทำเช่นนี้ ทำให้นางขุชชตรากลายเป็นพหูสูต (ผู้คงแก่เรียน) ในที่สุด

เมื่อนางสามาวดีพร้อมกับสตรีบริวารอยากเห็นพระพุทธองค์ นางขุชชุตตราจึงแนะให้เจาะช่องเล็กๆ ที่ฝาห้อง เวลาพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์เสด็จผ่านมาก็ให้แลดูและบูชาด้วยดอกไม้และของหอม พวกเธอก็ทำอย่างนั้นโดยไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงกับทำให้นางสามาวดีเกือบต้องสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา

พวกเธอไม่รู้ว่า พระนางมาคันทิยาได้ระแคะระคายในเรื่องนี้ แล้วก็นำไป “ป้ายสี” พระนางสามาวดี  มาคันทิยาเธอกราบทูลพระสวามีว่า สามาวดีกับบริวารกำลังเอาใจออกห่าง คิดไม่ซื่อ ไม่รู้กำลังทำกรรมหนักอะไรอยู่ เห็นเจาะช่องที่ฝาห้อง ถ้าพระองค์ไม่เชื่อ ขอให้เสด็จไปทอดพระเนตรดูก็ได้

พระราชาเสด็จไปทอดพระเนตร เห็นช่องเล็กๆ ตามฝาห้อง จึงตรัสถาม ได้ความว่าเป็นช่องที่พวกนางเจาะไว้เพื่อดูและนมัสการพระพุทธเจ้าเมื่อท่านเสด็จผ่านมาผ่านไป

พระราชาก็ไม่ตรัสว่ากระไร แต่รับสั่งให้ปิดช่องเหล่านั้นเสีย ให้ทำหน้าต่างเล็กๆ ที่ดูดีกว่าแทน

แผนการยุแหย่ไม่สำเร็จ นางมาคันทิยาก็วางแผนต่อไป นางว่าจ้างพวกนักเลงให้ตามด่าพระพุทธองค์ พวกนักเลงตามไปบริภาษพระพุทธองค์ด้วยถ้อยคำอันหยาบคาย เช่น ไอ้โค ไอ้ควาย ไอ้อูฐ ไอ้สัตว์นรก จนพระอานนท์ร้อนใจ กราบทูลอัญเชิญเสด็จหนีไปเมืองอื่น

พระพุทธองค์ตรัสว่า เรื่องเกิดที่ไหนก็ควรอยู่ที่นั่นจนกว่าเรื่องจะสงบ ไม่เกิน ๗ วัน พวกนี้ก็จะเลิกด่า ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น ไม่ถึง ๗ วัน พวกนักเลงก็กลับใจ ไม่ตามด่าพระองค์อีกแล้ว

มาคันทิยาวางแผนที่ ๓ สั่งให้อาส่งไก่มา ๑๖ ตัว ไก่เป็น ๘ ตัว ไก่ตาย ๘ ตัว และทำตามแผนที่วางไว้เป็นขั้นๆ นางกราบทูลพระเจ้ากรุงโกสัมพีว่า อาของนางส่งไก่มาถวาย ๘ ตัว จะให้ทำอะไรดี พระราชารับสั่งว่า กำลังอยากเสวยแกงไก่อยู่พอดี ลาภปากมาแล้ว ให้จัดการให้ด้วย

นางมาคันทิยากราบทูลว่า นางสามาวดีและสตรีบริวารฝีมือแกงไก่ชั้นยอดเลย ขอให้พระองค์รับสั่งให้นางแกงถวายเถิด

พระราชารับสั่งตามนั้น นางสามาวดีและสตรีบริวารเป็นพุทธมามกะไม่ทำปาณาติบาต จึงกราบทูลกลับขึ้นมาว่า พวกนางไม่สามารถจะฆ่าไก่ได้

มาคันทิยาจึงยุแยงต่อไปว่า “พระองค์เห็นไหม หม่อมฉันทูลว่าสามาวดีเธอเอาใจออกห่างพระองค์ก็ไม่ยอมเชื่อ นางไม่ฆ่าไก่แกงถวายพระองค์ แต่ถ้าสั่งให้ฆ่าไก่แกงถวายพระสมณโคดม รับรองนางไม่ปฏิเสธแน่นอน” (พูดในทำนองว่า สามาวดีเธอมีใจให้กับพระพุทธองค์ ช่างคิดอกุศลอะไรปานนั้น)

พระราชารับสั่งให้สามาวดีแกงไก่ถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ มาคันทิยาเธอให้อาณัติสัญญาณแก่คนของนาง ให้เปลี่ยนเป็นไก่ตาย ๘ ตัว  สามาวดีพร้อมสตรีบริวารก็ดีใจ พากันกุลีกุจอแกงไก่ไปถวายพระพุทธองค์  เรื่องทั้งหมดทราบถึงพระราชา แถมเสียงยุแยงตะแคงรั่วก็สอดเข้ามาด้วย
“พระองค์เห็นหรือยัง สามาวดีอ้างว่าไม่ฆ่าสัตว์ แต่พอบอกให้แก่ไก่ถวายพระสมณโคดม กลับยินดีฆ่าไก่ อย่างนี้หมายความว่าอย่างใด”

พระเจ้าอุเทนก็ยังไม่ปลงพระทัยเชื่อ ทรงนิ่งเฉยอยู่ มาคันทิยายิ่งแค้นในอก

วันหนึ่งได้โอกาส ขณะที่พระราชาจะเสด็จไปประทับที่ปราสาทของสามาวดี มาคันทิยาได้แอบเอางูพิษใส่ในพิณ “หัสดีกันต์” เครื่องดนตรีคู่พระทัย แล้วอ้างเรื่องขอติดตามไปด้วย เพราะมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพระราชา

พระราชาไม่อนุญาตให้ตามเสด็จก็หน้าด้านตามไปจนได้  พอพระราชาทรงวางพิณไว้เท่านั้น นางก็แอบไปเปิดช่องที่ปิดไว้ งูพิษที่อยู่ในพิณสามสี่วันก็เลื่อยออกมาแผ่พังพานขู่ฟู่ๆ

มาคันทิยาแกล้งหวีดร้องเสียงหลง “ต๊ายๆ อีนางใจร้าย เธอจะฆ่าทูลกระหม่อมเชียวหรือ ปล่อยงูพิษมากัดทูลกระหม่อมได้” แล้วก็หันมาหาพระสวามี

“พระองค์เห็นหรือยัง หม่อมฉันสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพระองค์แล้วก็เกิดจริงๆ”

พระเจ้าอุเทนทรงพิโรธ รับสั่งให้จับนางสามาวดีพร้อมสตรีบริวารมายืนเรียงแถว คว้าธนูเพื่อยิงให้สิ้นชีพ

สามาวดีให้โอวาทแก่สตรีบริวารว่า พวกเธอจงแผ่เมตตาจิตแด่พระเจ้าอยู่หัว อย่ามีจิตโกรธหรืออาฆาตใดๆ พระองค์ทรงทำไปเพราะหลงเชื่อคนพาล พวกเธอจงรำลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจ

เมื่อพระเจ้าอุเทนทรงง้างคันศรปล่อยลูกธนูจากแล่ง ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ก็เกิด ลูกศรแทนที่จะทะลุหัวใจของนางสามาวดีและสตรีบริวาร กลับแฉลบไปผิดทาง ไปกระทบกับกำแพงแล้วกลับมาตกแทบพระบาทของพระองค์

พระราชาทรงรู้สึกเสมือนตื่นจากภวังค์ สำนึกผิดชอบชั่วดีเกิดขึ้น ทรงก้มลงแทบเท้านางสามาวดี รำพันว่า
“เราฟั่นเฟือนเลือนหลงมืดแปดด้าน สามาวดีเอ๋ย เจ้าจงเป็นที่พึ่งแก่เราเถิด”
“ถ้าเช่นนั้น เราขอถึงสามาวดีและพุทธเจ้าของนางเป็นที่พึ่งด้วยกันก็แล้วกัน” พระราชารับสั่ง
 
ประวัติของนางสามาวดียาวทีเดียวเชียว เล่ามาสองตอนแล้วก็ยังไม่จบ คงต้องยกยอดไปต่อสัปดาห์หน้าอีกตอน


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสามาวดี : พุทธสาวิกาผู้อมตะ (๒) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๗-๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2557 14:41:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2557 14:49:31 »

.

๘๒. นางสามาวดี  
พุทธสาวิกาผู้อมตะ (ตอนที่ ๓)

พระเจ้าอุเทนได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลอัญเชิญเสด็จไปถวายภัตตาหารในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์และพระสงฆ์เสร็จภัตกิจแล้ว พระราชาตรัสกับสามาวดีว่า “เธอจะขอพรอะไร เราจะให้” สามาวดีว่า “หม่อมฉันไม่ได้ต้องการพรอย่างอื่น อยากได้อย่างที่พระองค์ทรงทำอยู่ ณ บัดนี้ ตลอดกาลเป็นนิตย์” (หมายความว่า ขอให้ได้ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์เป็นประจำทุกวัน)

พระราชาก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามประสงค์

พระเจ้าอุเทนพระราชทานพรให้นางสามาวดีถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์เป็นประจำในพระราชวัง พระองค์เองก็ทรงปฏิญาณเป็นพุทธมามกะ นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแต่บัดนั้น

พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่พระราชวังชั่วระยะเวลาหนึ่ง พระเจ้าอุเทนทรงปรารถนาให้พระพุทธองค์เสด็จไปสงเคราะห์พระองค์และข้าราชบริพารเป็นนิตย์

พระพุทธองค์ตรัสว่า พระสัมมาสัมพุทธะทั้งหลาย จะต้องไปโปรดเวไนยสัตว์ทั่วไป จะอยู่ประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่งหาควรไม่

เมื่อพระเจ้าอุเทนกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอให้ทรงมอบภาระให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาแทนก็ได้ พระพุทธองค์จึงทรงมอบภาระให้แก่พระอานนท์

พระอานนท์เถระเจ้าก็พาพระภิกษุจำนวนหนึ่ง (ว่ากันว่า ๕๐๐ รูป) ไปฉันภัตตาหารในวังพระเจ้ากรุงโกสัมพีเป็นประจำ วันหนึ่งนางสามาวดีและสตรีในวังบูชาธรรมเทศนาของพระเถระด้วยผ้ากัมพลเนื้อดีจำนวน ๕๐๐ ผืน พระเถระก็รับไปทั้งหมด

พระเจ้าอุเทนทราบเรื่องเข้าก็ไม่พอพระทัย นึกตำหนิว่าพระสมณศากยบุตรทำไมจึงมักมากในปัจจัยปานนี้ จึงเสด็จไปหาพระอานนท์ ตรัสถามว่า สามาวดีและสตรีในวังถวายผ้ากัมพลเนื้อดีแด่พระคุณเจ้าถึง ๕๐๐ ผืนจริงหรือ
“เป็นความจริง มหาบพิตร”
“พระคุณเจ้ารับหมดหรือ”
“เป็นเช่นนั้น มหาบพิตร”
“พระคุณเจ้าเอาผ้ามากมายนั้นไปทำอะไร ใช้องค์เดียวหมดหรือ”
“อาตมภาพรับไว้ผืนเดียว ที่เหลือให้แก่พระที่มีจีวรเก่า มหาบพิตร”
“ท่านเหล่านั้นเอาจีวรเก่าไปทำอะไร”
“ให้แก่พระที่มีจีวรเก่ากว่า มหาบพิตร”
“ท่านเหล่านั้นทำอย่างไรกับจีวรเก่า”
“เอาไปทำผ้าปูนอน มหาบพิตร”
“ผ้าปูนอนเก่าจะเอาไปทำอะไร”
“ทำผ้าปูพื้น มหาบพิตร”
“ผ้าปูพื้นเก่าไว้ทำอะไร”
“ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า มหาบพิตร”
“ผ้าเช็ดเท้าเก่าเอาไว้ทำอะไร”
“เอามาโขลกให้ละเอียด ผสมกับดินเหนียวไว้ฉาบทาฝา มหาบพิตร”

พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสว่า พระสมณศากยบุตรทั้งหลายช่างประหยัด ใช้ปัจจัยสี่คุ้มค่าจริงๆ จึงถวายผ้าอีก ๕๐๐ ผืนแด่พระอานนท์ ท่านก็รับแล้วแจกจ่ายให้พระภิกษุที่มีจีวรเก่ากันถ้วนหน้า...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสามาวดี : พุทธสาวิกาผู้อมตะ (๓) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๔-๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗



๘๒. นางสามาวดี  
พุทธสาวิกาผู้อมตะ (ตอนที่ ๔)

จะกล่าวถึงมาคันทิยา นางอิจฉาตัวร้าย เมื่อแผนการที่ผ่านมาล้มเหลวทุกครั้ง ก็มานั่งคิดวางแผนใหม่ ว่าจะทำอย่างไรดีจึงจะกำจัดสามาวดีและบริวารได้ ครั้งหนึ่งโอกาสเหมาะ พระเจ้าอุเทนเสด็จออกนอกเมืองเพื่อไปล่าสัตว์ มาคันทิยาจึงให้ตามอาของตนมา สั่งให้ไปจัดการตามแผน

แผนของมาคันทิยาเหี้ยมโหดเหลือประมาณ นางสั่งให้ขนผ้าจากคลังผ้า และน้ำมันจากคลังน้ำมันจำนวนมาก ให้คนไปต้อนนางสามาวดีและบริวารไปขังรวมไว้ที่ห้องหนึ่งของตำหนักนางสามาวดี ปิดประตูตายออกไม่ได้ แล้วก็ให้คนเอาผ้าชุบน้ำมันให้ชุ่มทุกผืนพันเสาปราสาททุกต้น แล้วให้จุดไฟเผา ไฟลุกพรึบอย่างรวดเร็ว

เปลวเพลิงพร้อมกลุ่มควันก็พุ่งเป็นลำสู่ท้องฟ้าแดงฉานท่ามกลางเสียงอื้ออึงด้วยความตื่นตระหนกของผู้ที่ได้พบเห็น

สามาวดีกล่าวเตือนสติสตรีบริวารของนางว่า
“พวกเราได้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏอันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ ไม่รู้กี่กัปกี่กัลป์ที่พวกเราเวียนเกิดเวียนตายอยู่ และก็ไม่รู้ว่าในอดีตชาติพวกเราได้ทำกรรมชั่วร้ายอะไรไว้บ้าง แต่ที่รู้แน่ๆ คือ ในชาตินี้พวกเราทั้งหมดไม่ได้ทำกรรมชั่วร้ายอะไรเลย เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะมาคันทิยา แต่พวกเราเป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขออย่าได้อาฆาตพยาบาทนางมาคันทิยาและคนของเธอเลย จงแผ่เมตตาจิตและอโหสิให้เธอเถิด ให้ตั้งสติกำหนดลมหายใจ ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วพวกเราก็จะละโลกนี้ไปด้วยจิตอันสงบเย็น”

ปราสาททั้งหลังก็วอดไปในเปลวเพลิง พร้อมชีวิตของสตรีสาวิกาของพระพุทธเจ้า อันมีนางสามาวดีเป็นประมุขด้วยประการฉะนี้

พระเจ้าอุเทนเสด็จกลับมารับทราบโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ทรงกลั้นอุสสุชลไม่ไหว ทรงกันแสงด้วยความเศร้าสลดและสงสารมเหสีผู้เคราะห์ร้าย ทรงดำริว่าจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ที่ก่อกรรมชั่วร้ายนี้ นอกจากนางมาคันทิยา

ฉับพลันก็ทรงระงับความเศร้าโศกไว้ แสร้งดีพระทัย พระพักตร์เบิกบานเสด็จขึ้นพระตำหนักไป

วันหนึ่ง ขณะทรงพระสำราญอยู่ท่ามกลางมเหสีและหมู่พระสนมกำนัลใน พระเจ้าอุเทนรับสั่งว่า ตั้งแต่สามาวดีตายไป เราสบายใจขึ้นมาก นางตายไปก็ดีแล้ว

มาคันทิยาทูลถามว่า พระองค์ทรงทราบไหมว่า ใครเผาปราสาทนางสามาวดี พระเจ้าอุเทนตรัสว่า คงเป็นคนที่รักเรามากคนใดคนหนึ่งทำ เพราะเขาคงรู้ว่า นี้แหละคือสิ่งที่เราต้องการ

เท่านั้นแหละครับ แผนขุดบ่อล่อปลาก็สำเร็จ นางอิจฉาตัวร้ายก็พูดออกมาว่า “จะมีใครที่รักพระองค์เท่ากับหม่อมฉัน มาคันทิยาคนนี้ ทั้งหมดนี้เป็นฝีมือหม่อมฉันเองเพคะ”

พระเจ้าอุเทนแสร้งดีพระทัย รับสั่งว่า เธอทำได้ดีมาก ถูกใจเรายิ่งนัก เราจะให้รางวัลอย่างงาม มีใครบ้างที่ช่วยเหลือเธอครั้งนี้ ขอให้มารับรางวัลจากเราโดยถ้วนหน้ากัน

มาคันทิยาให้คนส่งข่าวไปยังอาของตน ให้พาพรรคพวกที่ทำงานนี้มาเฝ้าในหลวงทุกคน เพื่อรับบำเหน็จความดีความชอบ มาถึงแล้วแทนที่จะได้รางวัล กลับต้องมารับโทษทัณฑ์ที่สาสมกับที่พวกเขาก่อไว้

พระเจ้ากรุงโกสัมพีสั่งให้ขุดหลุมลึกประมาณสะดือ แล้วให้ฝังนางมาคันทิยาและบริวารให้โผล่พ้นหลุมครึ่งตัว เอาฟางกลบแล้วจุดไฟเผา ดังประหนึ่งเช่นไก่อบฟางก็มิปาน แล้วรับสั่งให้เอาไถเหล็ก ไถงัดเอาร่างที่ไร้วิญญาณขึ้นมา ให้สับเป็นหมื่นๆ ชิ้นให้สาสมกับความแค้นและความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่พระองค์ทรงได้รับ เป็นอันว่าชีวิตอันชั่วร้ายของนางมาคันทิยาปิดฉากลงด้วยประการฉะนี้

พระสงฆ์ประชุมสนทนากันในธรรมสภาวันหนึ่งว่า อุบาสิกาที่ทรงธรรมอย่างสามาวดี ไม่สมควรตายอย่างอนาถเช่นนี้เลยหนอ พระพุทธองค์ตรัสว่า “การตายของสามาวดีในชาตินี้ไม่สมควรก็จริง แต่ก็สมกับกรรมที่นางได้ทำไว้ในปางก่อนแล้ว”

ทรงเล่าต่อไปว่า ในอดีตสามาวดีพร้อมบริวารเป็นสนมของพระราชาองค์หนึ่ง ไปเล่นน้ำรู้สึกหนาว จึงพากันจุดกอหญ้าผิงไฟให้หายหนาว เมื่อกอหญ้ายุบลงก็เห็นพระปัจเจกพุทธะองค์หนึ่งซึ่งนั่งเข้าฌานสมาบัติอยู่ในกอหญ้าก่อนแล้ว พวกนางก็ตกใจว่าทำให้พระปัจเจกพุทธะตายโดยไม่รู้ตัว

ด้วยความกลัวว่าใครจะรู้เรื่อง จึงเอาฟืนมาสุมทับร่างพระปัจเจกพุทธะแล้วจุดไฟเผา คิดว่าไฟคงไหม้ร่างท่านเหลือแต่กระดูก ไม่ทิ้งหลักฐานอะไรไว้ให้เป็นความผิดของพวกตนแต่ประการใด

พอถึงเจ็ดวัน พระปัจเจกพุทธะท่านก็ออกจากฌานสมาบัติมิได้ถูกไฟเผาแต่ประการใด (เพราะผู้เข้านิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มีใครทำให้ตายได้) ด้วยบุพกรรมนั้นแล สามาวดีและสตรีบริวารจึงถูกไฟคลอกตาย

แต่ถึงสามาวดีจะตายไปแล้ว เธอก็เสมือนยังไม่ตาย เพราะเธอไม่ประมาทในชีวิต จากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาว่า
“ความไม่ประมาทเป็นทางอมตะ ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ประมาทแล้ว ถึงยังมีชีวิตอยู่ก็เสมือนตายแล้ว บัณฑิตทั้งหลายรู้ข้อแตกต่างนี้แล้ว พึงเป็นคนไม่ประมาท ยินดีในธรรม ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย มีความเพียรอย่างต่อเนื่อง ย่อมได้สัมผัสพระนิพพานอันยอดเยี่ยม”

นางสามาวดีได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ ว่าเป็นเลิศในทางมีเมตตามาก เป็นสาวิกาผู้ดีงามที่สตรีทั้งหลายพึงถือเอาเป็นแบบอย่างแห่งชีวิตอย่างยิ่ง...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสามาวดี : พุทธสาวิกาผู้อมตะ (๔) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๓๑ ตุลาคม - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗


size=1pt].[/size]

๘๓. นางอุตตรา  
ผู้เป็นเลิศทางเข้าฌาน(๑)

คราวนี้มาถึงเรื่องของอุบาสิกาท่านหนึ่งนาม อุตตรา ผู้ได้รับยกย่องใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทางเข้าฌาน

หมายถึงนางได้ฌานและก็เข้าฌานเสมอ จนมีความคล่องแคล่ว (วสีภาพ) ในการเข้าฌาน จะเข้าเมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ตามปรารถนา ดุจดังจอมยุทธ์ผู้เชี่ยวชาญคล่องแคล่วในการใช้วิทยายุทธ์

อุตตรา เดิมเป็นลูกสาวของ “คนขัดสนผู้ยิ่งใหญ่” นามปุณณะ ต่อมาปุณณะคนนี้ได้กลายเป็นมหาเศรษฐี อุตตราก็เลยกลายเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐีด้วย

เรื่องราวของพ่อของนางอุตตรา ค่อนข้างจะประหลาดมหัศจรรย์ คือ ปุณณะเป็นคนงานของสุมนะ เศรษฐีในเมืองราชคฤห์ วันหนึ่งมีงานนักขัตฤกษ์ คนงานขอหยุดงานไปเล่นนักขัตฤกษ์กันหมด นายปุณณะบอกว่าไม่มีเงินจะไปใช้จ่ายสำหรับการเล่นนักขัตฤกษ์ ข้าวสารจะกรอกหม้อก็ยังไม่มี ขอรับจ้างทำงานวันนักขัตฤกษ์ดีกว่า

สุมนะเศรษฐีจึงให้โคนายปุณณะเพื่อไปไถนา นายปุณณะสั่งให้ภรรยาต้มผักไว้ ให้นำไปส่งเขายังที่นาแล้วเขาก็ล่วงหน้าไปก่อน

เมื่อเขากำลังไถนาอยู่ พระสารีบุตรซึ่งเพิ่งออกจากการเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน อุ้มบาตรเดินผ่านมาทางที่นาเขา แล้วยืนสงบอยู่ใกล้พุ่มไม้ริมบ่อน้ำ

นายปุณณเห็นพระสารีบุตร จึงวางคันไถ ไหว้พระเถระ พระเถระยื่นบาตรและผ้ากรองน้ำให้เขา เขาเข้าใจว่าพระเถระคงต้องการน้ำดื่ม จึงเอาผ้าไปกรองน้ำดื่มใส่บาตรถวายท่าน

พระเถระอนุโมทนาเขา แล้วเดินมุ่งหน้าไปยังหมู่บ้าน ขณะนั้นภรรยาของนายปุณณะ นำอาหาร (ผักต้ม) เดินทางมาพอดี พบพระเถระระหว่างทาง จึงคิดว่า ครั้งก่อนๆ เวลาพบพระคุณเจ้าก็ไม่มีอาหารอะไรจะไปใส่บาตร แม้ว่าจะมีศรัทธาก็ตาม วันนี้เรามีอาหารและศรัทธาเราก็มี เราไม่ควรพลาดโอกาสทำบุญ จึงใส่อาหารลงในบาตรพระเถระ ขณะที่นางเกลี่ยผักต้มลงบาตรได้ครึ่งหนึ่ง พระเถระก็เอามือปิดบาตรเป็นสัญญาณว่า พอแค่นี้ ที่เหลือให้นำไปให้สามี นางก็กราบเรียนพระเถระว่า “ท่านเจ้าขา ดิฉันประสงค์จะถวายท่านให้หมดเลย ท่านไม่ต้องสงเคราะห์พวกเราในชาตินี้ ขอให้สงเคราะห์ในปรโลกเถิด” ว่าแล้วก็เกลี่ยผักต้มลงในบาตรจนหมด พระสารีบุตรเถระได้กล่าวอนุโมทนาว่า “ขอจงสำเร็จดังมโนรถเถิด”  นางจึงกลับเข้าบ้าน หาข้าวสารมาหุงเพื่อไปให้สามีใหม่

กว่านางจะหุงข้าวเสร็จ นายปุณณะผู้สามีหิวเต็มที่ ไม่สามารถไถนาต่อไป จึงปล่อยโค หลบไปนั่งรอเมียอยู่ใต้ร่มไม้

ฝ่ายผู้ภรรยาเห็นสามีนั่งหน้านิ่วคิ้วขมวดอยู่ ก็กลัวว่าบุญที่ทำไว้จะไม่เผล็ดผล จึงรีบร้องบอกว่า “พี่จ๋า วันนี้ขณะฉันนำอาหารมาให้พี่พบพระสารีบุตรระหว่างทาง ได้ถวายให้ท่านหมด รีบกลับไปหุงข้าวมาใหม่ พี่อย่าโกรธนะจ๊ะ ทำใจให้สบาย แล้วอนุโมทนาในทานที่ฉันให้แล้วด้วย”

ทีแรกก็กะจะตวาดเมียว่า ทำไมมาช้านัก คนมันโมโหหิวนี่ครับ ย่อมทำอะไรได้โดยไม่ทันคาดคิด ดังนิทานเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” นั่นไง เพราะฤทธิ์ความโมโหหิว จึงทำให้ลูกฆ่าแม่

แต่พอได้ยินเสียงอันอ่อนหวานของภรรยาก็หายโกรธ มีจิตเลื่อมใสชื่นบาน เพราะได้กินอาหารเลยเวลา จึงทำให้เขากินไม่ได้มาก ยังไม่หายอ่อนเพลีย จึงเอนกายลงนอนเอาศีรษะหนุนตักภรรยา ม่อยหลับไปภายใต้ร่มไม้อันรื่นรมย์

น่าอิจฉาอะไรเช่นนั้น

ว่ากันว่า ทานที่ถวายแด่พระอรหันต์ในวันที่ท่านออกจากนิโรธสมาบัติ จะมีอานิสงส์ทันตาเห็น นายปุณณะก็เช่นกัน เมื่อเขาตื่นขึ้น มองไปยังที่นาที่เขาไถใหม่ๆ เห็นก้อนดินสีเหลืองอร่ามไปหมด เขาขยี้ตาหลายครั้ง มองยังไงก็เหลืองอร่ามเป็นทองคำทุกครั้งจึงถามภรรยา ว่า “ตาพี่ฝ้าฟางไปหรือเปล่า ทำไมที่ที่พี่ไถไว้จึงกลายเป็นสีทองไปหมด”

ภรรยาบอกว่า นางก็เห็นเช่นนั้นเหมือนกัน เขารีบลุกขึ้นไปหยิบเอาก้อนดินมาก้อนหนึ่งทุบกับงอนไถ ก็ทราบว่ามันเป็นทองจริงๆ เขาร้องด้วยความดีใจสุดประมาณ “แม่เจ้าโว้ย ที่ดินของข้ากลายเป็นทองหมด จะทำอย่างไรดี” พลันก็คิดว่า ทองมากมายขนาดนี้ไม่สามารถปิดบังใครได้ จึงเอาใส่ถาดจนเต็ม แล้วนำไปทูลเกล้าฯ ถวายพระราชาแห่งเมืองราชคฤห์

พระราชาเมื่อทรงทราบเรื่องราวอันมหัศจรรย์นี้แล้ว ก็รับสั่งให้ขนทองเข้ามากองไว้ในพระบรมมหาราชวัง และเกิดปรากฏการณ์พิลึก คือ เมื่อพวกราชบุรุษดูว่าทองเหล่านี้ถึงจะเกิดในที่นาของนายปุณณะ แต่ก็ต้องเป็นของพระราชาหรือของหลวง พอพวกเขาพูดดังนี้ ทองเหล่านั้นกลับกลายเป็นก้อนดินทันที พวกเขากลับไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ

พระราชารับสั่งว่า ทองเหล่านี้เป็นของนายปุณณะ หาใช่ของเราไม่ พวกเธอจงไปพูดตามคำพูดของเรา เมื่อพวกเขาไปพูดใหม่ว่า ทองเหล่านี้เป็นของนายปุณณะ เมื่อนำทองมากองไว้ที่หน้าพระลานหลวง กองทองก็สูงใหญ่ประมาณ ๘๐ ศอก ไม่รู้ว่ากี่แสนกี่ล้านบาท

พระราชาจึงประกาศแต่งตั้งให้นายปุณณะคนยากจนเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งแห่งเมืองราชคฤห์ แต่บัดนั้น

เมื่อสามีเป็นเศรษฐี ภรรยาก็เป็นคุณนายไปด้วย สองสามีภรรยามีลูกสาวคนหนึ่งและคนเดียวนามว่า อุตตรา

ปุณณะเศรษฐี (เศรษฐีใหม่) ก็ให้คนสร้างคฤหาสน์ในที่ที่ได้รับพระราชทาน สร้างเสร็จก็ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มาฉันภัตตาหารในคฤหาสน์ใหม่ตลอด ๗ วัน วันสุดท้ายหลังเสวยภัตตาหารเสร็จ พระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาและแสดงพระธรรมเทศนา  สามคนพ่อแม่ลูกได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อมกัน

จะกล่าวถึงสุมนะเศรษฐี เจ้านายเก่าของปุณณะเศรษฐี ได้ขอลูกสาวจากปุณณะเศรษฐีมาเป็นภรรยาของลูกชายตน ปุณณะเศรษฐีไม่ยินดียกให้จนสุมนะเศรษฐีลำเลิกความหลังว่า แต่ก่อนก็อาศัยฉันเลี้ยงชีพ พอเป็นเศรษฐีแล้ว ทำไมไม่นึกถึงบุญคุณกันบ้าง ขอลูกสาวก็ไม่ให้

ปุณณะเศรษฐีกล่าวว่า “มิใช่อย่างนั้น บุตรท่านเป็นมิจฉาทิฐิ (ไม่นับถือพระพุทธศาสนา) ลูกสาวผมเป็นพระอริยบุคคล มั่นคงในพระรัตนตรัย จะยกให้ลูกชายท่านได้อย่างไร”

สุมนะเศรษฐีก็ขอร้องให้เห็นแก่ไมตรีที่มีมาก่อน ตลอดจนผู้คนที่คุ้นเคยอื่นขอให้ปุณณะ เห็นแก่บุญคุณของสุมนะเศรษฐีบ้าง เขาจึงยกลูกสาวให้เป็นสะใภ้ของตระกูลสุมนะเศรษฐี ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยเต็มใจ

มาอยู่ในตระกูลสามีที่ไม่มีใครนับถือพระพุทธศาสนา นางอุตตราไม่มีโอกาสพบพระสงฆ์ ไม่มีโอกาสทำบุญทำทานเหมือนแต่ก่อน ไม่รู้ว่าเวลาใดเป็นวันเข้าพรรษา ออกพรรษา วันไหนเป็นวันอุโบสถ

วันหนึ่ง นางเอ่ยถามคนใช้ว่า เวลานี้ถึงฤดูกาลเข้าพรรษาแล้วหรือยัง คนใช้บอกว่ายัง อีกหนึ่งเดือนก็จะออกพรรษาแล้ว นางได้ยินดังนั้นก็รู้สึกเสียใจ ที่ตั้งแต่มาอยู่ในตระกูลสามี ไม่มีโอกาสทำบุญเลย ดังหนึ่งถูกขังอยู่ในคุกมืด แลไม่เห็นแสงสว่างแม้แต่น้อย จะทำอย่างไรดี

ขณะที่นึกน้อยเนื้อต่ำใจอยู่นั้นเอง พ่อแม่ของนางก็ส่งเงินมาให้นางหนึ่งหมื่นห้าพันกหาปนะ พร้อมจดหมายบอกว่า “นครนี้มีหญิงคณิกาคนหนึ่ง นาม สิริมา ลูกไปจ้างนางให้มาปรนนิบัติสามีแทน จ่ายวันละพันกหาปนะเลย ลูกก็จะได้มีเวลาไปวัด ฟังธรรม และทำบุญกุศลที่ลูกพึงประสงค์”

อุตตราจึงปลาบปลื้มที่บิดาชี้ทางออกให้

เรื่องของนางอุตตรายังไม่จบเท่านี้ สัปดาห์หน้ามาว่ากันต่อ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางอุตตรา : ผู้เป็นเลิศทางเข้าฌาน (๑) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๗-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗



๘๓. นางอุตตรา  
ผู้เป็นเลิศทางเข้าฌาน(จบ)

นางอุตตราทำตามข้อเสนอแนะของบิดา คือ ไปว่าจ้างนางคณิกา ชื่อ สิริมาให้ปรนนิบัติสามีแทน พูดง่ายๆ ให้มาเป็น “เมียเช่า” นั่นเอง ค่าจ้างก็แพงสุดประมาณ คือวันละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ สัญญาว่าจ้างครึ่งเดือนก่อน อาจต่อสัญญาอีกได้ เจรจากันแล้วก็พามาหาสามี

ทีแรกสามีทำท่าจะไม่ยอม แต่พอเห็นรูปโฉมอันสวยงามของนางสิริมา จึงตกลง เป็นอันว่านางอุตตรา มีเวลาทำบุญทำกุศลตามปรารถนาแล้ว

นางได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านครึ่งเดือน จนถึงวันออกพรรษาและปวารณา เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว นางอุตตราดีใจ สั่งตระเตรียมภัตตาหารไว้ถวายพระสงฆ์ตั้งแต่วันนั้น

ว่ากันว่า นาง “เข้าครัว” เองเลยทีเดียว พาบริวารปรุงอาหารอันประณีตไว้ถวายพระสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข

ฝ่ายสามีก็ได้รับการปรนนิบัติเอาใจจากคณิกาอย่างมีความสุข

หนึ่งวันก่อนจะถึงวันปวารณา ก็มีความคิดสงสัยว่าภรรยาผู้แสนโง่ของตนกำลังทำอะไรอยู่หนอในเวลานี้ จึงเดินไปที่ระเบียง เคลียคลอด้วยด้วยคณิกา มองลงไปยังโรงครัว เห็นนางอุตตรากำลังง่วนอยู่กับการปรุงอาหาร ร่างมอมแมมด้วยเถ้าถ่านและขี้เถ้า เหงื่อโชกกาย จึงยิ้มด้วยความสมเพชว่า “หญิงโง่เอ๋ย มีทรัพย์สมบัติมากมายปานนี้ไม่ชอบ กลับพอใจที่จะทำตัวเปรอะฝุ่นขี้เถ้าเพียงเพราะอยากจะอุปฐากสมณะโล้น”

เขาหัวเราะแล้วก็เดินเฉไปทางอื่น

สิริมาคณิกาเห็นสามียิ้มและหัวเราะ จึงหันไปมองบ้าง เห็นนางอุตราก็โกรธ ลืมไปว่าตัวเองเป็นเพียงภรรยาชั่วคราวเท่านั้น “อีนางตัวดี ถือดียังไงมายั่วสามีฉัน เดี๋ยวได้เห็นดีกัน” ว่าแล้วตัวอิจฉาก็เข้าไปในโรงครัว เอาทัพพีตักเนยใสที่เดือดพล่านในกระทะ เดินตรงไปยัง นางอุตตรา กะจะราดให้สุกไปทั้งตัว ปานนั้นเชียว

นางอุตตราเห็นสิริมาย่างสามขุมเข้ามา ก็แผ่เมตตาให้นางว่า “สิริมา เธอมีบุญคุณแก่เราไม่น้อย ถ้าไม่ได้เธอมาทำหน้าที่แทน เราก็คงไม่มีโอกาสได้ถวายทานแด่พระสงฆ์ และได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ถ้าเรามีความโกรธแม้แต่น้อย ขอให้เนยใสก้อนนี้จงลวกเรา แต่ถ้าเราไม่มีความโกรธต่อนาง ก็ขออย่าได้ลวกเราเลย”

ด้วยอำนาจเมตตา ด้วยอำนาจน้ำใจอันประเสริฐของนางอุตตรา ปรากฏว่า เนยในเดือนพล่านที่ราดลงบนร่างของนาง กลับเย็นดุจดังน้ำฝนอันเย็นฉ่ำก็มิปาน

เหล่าสตรีบริวารของนางอุตตรา ได้เห็นสิริมาคณิกาบังอาจทำร้ายนายหญิงของตน ก็กรูกันเข้าไปเล่นงานนางสิริมา บ้างก็ตบ บ้างก็จับผมทึ้ง บ้างก็เตะถีบ จนนางล้มหมอบกระแตอยู่บนพื้น มิไยที่นายหญิงจะร้องห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง เกือบตายแหละครับ

นางอุตตราเข้าไปประคองนางสิริมาขึ้นมาพาไปอาบน้ำอุ่น เอาน้ำมันนวดให้หายฟกช้ำ การกระทำของนางอุตตราทำให้นางสิริมาสำนึกผิด จึงหมอบกราบลงแทบเท้านาง กล่าวขอขมาว่า “คุณแม่ ลูกผิดไปแล้ว ขอให้คุณแม่ยกโทษให้ลูกเถิด (ว่าเขาเป็นอีตัวดีอยู่หยกๆ มาคราวนี้เรียก “คุณแม่” เชียวนิ)  นางอุตตราไม่ถือโทษโกรธนางแม้แต่น้อย แต่เพื่อให้นางได้มีส่วนแห่งความดีบ้าง จึงกล่าวว่า “ฉันมีพ่อนะจ๊ะ ถ้าพ่อของฉันยกโทษให้ ฉันจึงจะยกโทษให้”

เมื่อนางสิริมาบอกว่า เธอพร้อมจะไปกราบขอขมาท่านปุณณะเศรษฐี บิดาของนางอุตตรา นางอุตตราจึงกล่าวว่า “เธอเข้าใจผิดแล้ว พ่อปุณณะเป็นพ่อในทางโลก แต่ฉันมีพ่อในทางธรรมที่จะให้เธอไปกราบขอขมา”
“ใครกันคือพ่อในทางธรรมของคุณแม่”
“พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
“ตกลงค่ะคุณแม่ แต่หนูไม่คุ้นเคยกับพระองค์ท่าน ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร” สิริมาบอกความขัดข้องของตน

นางอุตตราบอกว่า ไม่เป็นไร พรุ่งนี้พระพุทธองค์จะทรงเสด็จมาเสวยภัตตาหารที่บ้านเรา ฉันจะพาเธอเข้าเฝ้าเอง

เป็นอันว่า นางสิริมาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าด้วยการจัดการของนางอุตตรา นางเข้าไปหมอบกราบแทบพระยุคลบาท ขอขมาในความผิดของตน

พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “เธอมีความผิดอะไร”
นางกราบทูลว่า “เมื่อวานนี้ หม่อมฉันเอาเนยใสเดือดพล่านราดศีรษะคุณแม่อุตตรา ถูกพวกสาวใช้ของคุณแม่ทำร้าย คุณแม่ไม่ถือโกรธหม่อมฉัน แถมยังเข้าไปห้ามปรามพวกสาวใช้มิให้ทำร้ายหม่อมฉันอีกด้วย หม่อมฉันสำนึกผิด จึงขอโทษนาง แต่คุณแม่บอกว่า จะยกโทษให้ก็ต่อเมื่อพระองค์ยกโทษให้”
“จริงหรือ อุตตรา“ พระพุทธองค์ทรงหันมาตรัสถามสาวิกาของพระองค์
“จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า”
“ตอนที่นางเอาเนยใสร้อนราดศีรษะเธอ เธอคิดอย่างไร อุตตรา” ตรัสถามอีก
“หม่อมฉันคิดว่า สิริมาเธอมีบุญคุณกับหม่อมฉันมาก ถ้าไม่ได้นางมาทำหน้าที่ภรรยาแทน หม่อมฉันคงไม่มีโอกาสทำทานและฟังธรรม จึงมิบังควรโกรธนาง”
“ดีแล้ว อุตตรา เธอคิดถูกและทำถูกแล้ว”

จากนั้นพระพุทธองค์ก็ตรัสคาถา (โศลก) สอนนางทั้งสองว่า
“พึงเอาชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
พึงเอาชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
พึงเอาชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
พึงเอาชนะคนพูดพล่อยๆ ด้วยการพูดความจริง”

จบพระธรรมเทศนาสั้นๆ บทนี้ นางสิริมาได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นสาวิกาอีกคนหนึ่งของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพราะได้นางอุตตราผู้มีน้ำใจประเสริฐ เป็นผู้ชักจูงเข้าหาพระธรรม หาไม่ นางก็คงแหวกว่ายอยู่ในทะเลกามไปจนตาย

เรื่องราวของนางอุตตรา ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางอุตตรา : ผู้เป็นเลิศทางเข้าฌาน (๑) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๔-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

.

๘๔. นางสุปปยา
อุบาสิกาผู้เลิศในทางพยาบาลไข้

คราวนี้มาพูดถึงนางสุปปิยา สุปปิยาเป็นคนสนิทของนางวิสาขา มักติดตามนางวิสาขาไปวัดฟังธรรมเสมอ เมื่อเสร็จจากการฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว สิ่งที่สองคน ทำเป็นประจำก็คือ เดินตรวจตราดูตามกุฏิที่พำนักของพระสงฆ์ เพื่อดูว่าพระคุณเจ้ารูปใดขาดตกบกพร่องในเรื่องปัจจัยสี่อะไรบ้าง จะได้จัดหามาถวาย

วันหนึ่งสุปปิยาพบภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ สอบถามทราบว่าพระคุณเจ้าป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำ และหายด้วยการฉันอาหารปรุงด้วยเนื้อ นางจึงกราบเรียนท่านว่า นางจะจัดหามาถวาย

เมื่อกลับมาถึงบ้าน นางจึงสั่งสาวใช้ให้ไปซื้อ “ปวัตตมังสะ” จากตลาด เพื่อมาปรุงอาหารไปถวายภิกษุไข้รูปดังกล่าว

คำว่า”ปวัตตมังสะ” แปลตามตัวอักษรว่า “เนื้อที่เป็นไปในตลาด” แปลแล้วก็ไม่ได้ความ ความหมายก็คือ “เนื้อที่เขาขายตามตลาด” การที่นำเนื้อที่ขายตามตลาดมาปรุงอาหารถวายพระ ไม่ถือว่าเป็นความผิด พระภิกษุฉันก็ไม่อาบัติ เพราะเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วน คือ ไม่เห็นว่าเขาฆ่าเจาะจงตน ไม่ได้ยินได้ฟังว่าเขาฆ่าเจาะจงตน และไม่สงสัยว่าเขาจะฆ่าเจาะจงตน

สาวใช้ไปหาซื้อเนื้อตามตลาดไม่ได้ จึงกลับมารายงานนายหญิง นายหญิงรู้สึกร้อนใจที่หาเนื้อมาปรุงอาหารถวายภิกษุไข้ไม่ได้ตามที่สัญญาไว้ จึงคว้ามีดคมเดินเข้าไปในครัว เฉือนเอาเนื้อที่ขาของตนเอง สั่งให้สาวใช้ปรุงอาหารแล้วนำไปถวายภิกษุไข้รูปนั้น

พร้อมสั่งให้กราบเรียนท่านว่า นางไม่สบาย จึงสั่งให้สาวใช้นำอาหารมาถวายแทน

ภิกษุไข้รูปนั้นได้ฉันอาหารปรุงด้วยเนื้อขาของนางสุปปิยา อาการไข้ก็หายไป แต่ตัวนางสุปปิยาเองยังนอนซมด้วยพิษไข้ เมื่อสามีกลับมาบ้าน ได้ทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว แทนที่จะตำหนิภรรยา กลับปีติปราโมทย์ชื่นชมในความใจบุญใจกุศลของภรรยา

สามีนางไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พร้อมอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านตนพร้อมภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณีภาพ (อาการนิ่ง)

รุ่งเช้าขึ้น พระองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของนาง เมื่อพระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นนางสุปปิยามาเข้าเฝ้า ทั้งที่ทรงทราบล่วงหน้าแล้ว แต่ก็ยังตรัสถามหานาง นางสุปปิยาเกิดปีติยินดีที่พระพุทธองค์ทรงห่วงใย จึงลุกขึ้นเพื่อเข้าไปกราบแทบเบื้องพระยุคลบาท

ด้วยพุทธานุภาพ แผลที่ขาหายสนิท เมื่อเอาผ้าพันแผลออก ปรากฏว่าเนื้อนูนขึ้นเต็มบริเวณที่เฉือนออก แถมยังมีขนอ่อนๆ ขึ้นเต็ม ยังกับไม่เคยบาดเจ็บแต่อย่างใด
“สุปปิยา จริงหรือที่ว่า เธอเฉือนเนื้อขาตัวเองปรุงอาหารถวายพระภิกษุไข้” พระพุทธองค์ตรัสถาม
“จริง พระเจ้าค่ะ” นางกราบทูลอย่างนอบน้อม

พระพุทธองค์ทรงชมเชยในความมีจิตศรัทธาอันแรงกล้าของนาง แต่เมื่อทรงประทานอนุโมทนาเสด็จกลับยังพระอารามแล้ว รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสเรียกภิกษุไข้รูปนั้นมาสอบสวน
“ภิกษุ ได้ยินว่าเธอฉันเนื้อที่นางสุปปิยาถวายหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” ภิกษุหนุ่มกราบทูล
“เธอทราบไหมว่านั่นเป็นเนื้อมนุษย์”
“ไม่ทราบ พระเจ้าข้า”

ท่านคงทราบภายหลังเองว่า “แกงเนื้อ” ที่อร่อยนักหนานั้นปรุงด้วยเนื้อมนุษย์ พระพุทธองค์ตรัสตำหนิภิกษุหนุ่ม แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์อันเป็นหนึ่งในจำนวนเนื้อ ๑๐ อย่างที่ห้ามพระฉัน

เนื้อ ๑๐ อย่างนั้น คือ
๑. เนื้อช้าง
๒. เนื้อม้า
๓. เนื้อเสือโคร่ง
๔. เนื้อเสือดาว
๕. เนื้องู
๖. เนื้อราชสีห์
๗. เนื้อหมี
๘. เนื้อสุนัขบ้าน
๙. เนื้อสุนัขป่า
๑๐. เนื้อมนุษย์

๑. พระสงฆ์สมัยโน้นฉันเนื้อปลา  ฉันปลาแน่นอน เพราะชีวิตพระภิกษุอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ พูดง่ายๆ ว่า “ขอเขากิน” เมื่อขอเขากิน ก็ต้องทำตัวให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่มีเงื่อนไขอะไรมาก ชาวบ้านเขากินอาหารอะไร เขาก็เอาอาหารชนิดนั้นมาถวายพระ พระไม่มีสิทธิบอกว่าอาหารนี้อาตมาไม่ฉันนะโยม อาตมาฉันแต่อย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่พ้นความเป็นคนเลี้ยงยาก นี้ประการหนึ่ง
๒. อีกประการหนึ่ง ถึงจะทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อ ฉันปลา (ตามที่ชาวบ้านเขาถวาย) พระพุทธองค์ก็มิได้ฉันทุกอย่าง เนื้อนี้ไม่สมควร (อกัปปิยมังสะ) พระองค์ก็ทรงห้ามฉัน ดังทรงห้ามฉันเนื้อ ๑๐ ประการ ดังกล่าวข้างต้น

เฉพาะเนื้อมนุษย์นั้น ถ้าภิกษุฉันเข้าไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย อันเป็นอาบัติหนักรองลงมาจากปาราชิก และสังฆาทิเสส ถ้าฉันเนื้อต้องห้าม ๙ ประการที่เหลือต้องอาบัติทุกกฎ

เพราะฉะนั้น ในพระวินัย พระองค์จึงทรงวางสิกขาบทไว้ว่า “ห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ ภิกษุรูปใดฉันต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุรูปใดจะฉันเนื้อควรพิจารณาก่อนแล้วค่อยฉัน ขืนฉันทั้งที่ไม่ได้พิจารณา ต้องอาบัติทุกกฎ” แม้เนื้อที่ทรงอนุญาตให้ฉัน ใช่ว่าจะไม่มีความผิด ต้องเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ ๓ ส่วน จึงจะฉันได้ คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงตนเท่านั้น จึงจะฉันได้

นางสุปปิยาเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าในพระรัตนตรัย เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ของพระสงฆ์เป็นอย่างดี มีฉันทะพิเศษในการพยาบาลภิกษุไข้ รู้ว่าภิกษุไข้ต้องการอะไร จัดหามาถวายได้เสมอ ดุจดังนางพยาบาลที่ดี ฉะนั้น

พระพุทธองค์จึงทรงประกาศยกย่องนางสุปปิยา ใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางพยาบาลภิกษุไข้ด้วยประการฉะนี้แล.


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางสุปปยา : อุบาสิกาผู้เลิศในทางพยาบาลไข้ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๑-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ธันวาคม 2557 15:46:20 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2557 12:03:28 »

.


๘๕. ธิดาช่างหูกนิรนาม  
ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม

วันนี้ขอพูดถึงธิดาช่างหูกนิรนามผู้เฉียบแปลม เธอมีอายุสั้น แต่ก็ไม่เสียชาติเกิด เพราะได้บรรลุธรรมก่อนตายด้วยพระมหากรุณาขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

เรื่องมีว่า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรดชาวเมืองอาฬวี พระองค์ทรงสอนให้ชาวเมืองเจริญมรณัสสติ คือให้ระลึกนึกถึงความตายเสมอว่า ชีวิตนี้สั้นนัก จะตายเมื่อไรไม่มีใครรู้ ความตายเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ คือทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย

ตรัสสอนต่อไปว่า ผู้ที่เจริญมรณัสสติเนืองๆ พอถึงคราวจะตายจริงๆ ย่อมไม่สะดุ้ง หวาดกลัว ดังเช่นคนขี้ขลาดเห็นอสรพิษแล้วร้องลั่น ฉะนั้น

พระธรรมเทศนานั้น จับใจเด็กหญิงธิดาช่างหูกมาก นางจึงเจริญมรณัสสติทุกวันติดต่อกันเป็นเวลาสามปี ณ ปัจจุสมัย (เวลาใกล้รุ่ง)

วันหนึ่ง พระพุทธองค์ตรวจดูสัตว์โลกที่จะพึงไปโปรดด้วยพุทธจักษุ ทอดพระเนตรเห็นธิดาช่างหูกปรากฏหลังจากนั้นก็จะสิ้นชีวิต เพื่อมิให้นางได้ตายไปในร่างปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน

พระพุทธองค์จึงเสด็จไปยังเมืองอาฬวีอีกครั้งเพื่อโปรดนาง

ชาวเมืองเมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธองค์เสด็จมาโปรดอีกครั้งก็ดีใจ เตรียมภัตตาหารถวายพระสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน และเตรียมสถานที่สำหรับสดับพระธรรมเทศนา

ธิดาช่างหูกเธอแสนจะดีใจที่ทราบว่า “พระบิดา” ของเธอได้เสด็จกลับมาโปรดชาวเมืองอีก ตั้งใจว่าจะไปร่วมถวายทานและฟังธรรมด้วย

วันนั้น บิดาของเธอสั่งให้เธอกรอด้ายหลอดไว้ให้เพียงพอ แล้วให้นำไปส่งที่โรงทอผ้า เพราะจะเร่งงานให้เสร็จภายในวันนั้น

ธิดาช่างหูกเธอคิดว่า ถ้าจะรีบไปฟังธรรมโดยไม่ทำงานให้บิดาก่อน บิดาก็จะโกรธและทุบตีเอา นางจึงตัดสินใจทำงานให้บิดาก่อน ถ้าทำเสร็จเร็วก็มีโอกาสฟังธรรมบ้าง ไม้จะไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้นก็ตาม

นางจึงกรอด้ายด้วยหลอดจนเพียงพอ เอาใส่ตะกร้า รีบเดินไปยังโรงทอผ้า บังเอิญว่าโรงทอผ้าอยู่เลยสถานที่ที่พระองค์จะทรงแสดงพระธรรมเทศนาด้วย นางจึงแวะไปนมัสการพระพุทธเจ้าก่อนไปส่งงานพ่อ เห็นพระพุทธองค์ประทับนั่งท่ามกลางประชาชนจำนวนมาก

พระองค์ทรงชะเง้อพระศอทอดพระเนตรดูนางอยู่พอดี นางจึงขนลุกด้วยความปีติปราโมทย์สุดพรรณนา ดีใจว่าพระพุทธองค์ยังทรงรอการมาของเราอยู่ จึงวางตะกร้าด้ายหลอดเข้าไปถวายบังคม

พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “กุมาริกา เธอมาจากไหน”
“ไม่ทราบ พระเจ้าค่ะ” นางตอบดังหนึ่งเล่นลิ้น
“เธอจะไปไหน” ตรัสถามอีก
“ไม่ทราบ พระเจ้าค่ะ”
“เธอไม่ทราบหรือ”
“ทราบ พระเจ้าค่ะ”
“เธอทราบหรือ”
“ไม่ทราบ พระเจ้าค่ะ”

ประชาชนที่นั่งฟังอยู่ต่างก็มีความรู้สึกว่า สาวน้อยคนนี้กำลังเล่นลิ้นกับพระพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งโลก ทนไม่ได้ ถึงกับพึมพำออกมาว่า อะไรกันธิดาช่างหูกคนนี้ ช่างไม่รู้ที่ต่ำที่สูง พูดจากเล่นลิ้นกับพระพุทธองค์อยู่ได้

บางคนก็ว่าหนักว่า “พ่อแม่ไม่สั่งสอนอบรมบ้างหรือไร”

พระพุทธเจ้าทรงปรามให้ประชาชนเงียบเสียง แล้วตรัสถามเด็กหญิงต่อไปว่า “กุมาริกา” เมื่อเราถามว่ามาจากไหน ทำไมเธอถึงตอบว่าไม่ทราบ”
นางกราบทูลว่า “พระพุทธองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่า หม่อมฉันมาจากบ้าน ที่พระองค์ทรงถามนี้ คงมิได้หมายความธรรมดา คงหมายความว่าหม่อมฉันมาจากไหน จึงมาเกิดในชาตินี้ เรื่องนี้หม่อมฉันไม่ทราบ จึงกราบทูลไปตามนั้น”
“ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราถามว่าจะไปไหน ทำไมเธอตอบว่าไม่ทราบ”
“พระองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่า หม่อมฉันจะไปโรงทอผ้า พระองค์คงไม่ทรงถามเรื่องนี้ พระองค์คงทรงถามว่า หม่อมฉันตายจากชาตินี้แล้วจะไปเกิดที่ไหน เรื่องนี้หม่อมฉันไม่ทราบ จึงกราบทูลไปตามนั้น”
“เมื่อเราถามว่า ไม่ทราบหรือ เธอตอบว่าทราบ ครั้นเราถามว่า ทราบหรือ เธอกลับตอบว่าไม่ทราบ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ”
“เรื่องนี้ก็เช่นกัน เมื่อทรงถามว่า ไม่ทราบหรือ คงหมายความว่าไม่ทราบหรือว่าจะตาย หม่อมฉันจึงกราบทูลว่าทราบ (ทราบว่าจะตายแน่นอน) เมื่อพระองค์ตรัสถามอีกว่าทราบหรือ คงทรงหมายถึงว่า ทราบหรือว่าจะตายวันไหน เมื่อใด เรื่องนี้หม่อมฉันไม่ทราบ จึงกราบทูลไปว่า ไม่ทราบ”

คราวนี้ประชาชนไม่ส่งเสียงเหมือนก่อน กลับนั่งนิ่งด้วยความอัศจรรย์ใจในปฏิภาณของหญิงสาว

พระพุทธองค์ทรงประทานสาธุการว่า “สาธุ กุมาริกา เธอตอบปัญหาที่เราตถาคตถามได้อย่างแจ่มแจ้ง

จากนั้น พระพุทธองค์ทรงหันไปตรัสกับประชาชนว่า พวกเธอไม่ทราบนัยแห่งคำสนทนาระหว่างเรากับกุมาริกา จึงบ่นพึมพำตำหนิกุมาริกาไม่เคารพเราตถาคต ใครที่ไม่ปัญญาจักษุ (ตาคือปัญญา) ก็เป็นคนตาบอด ส่วนคนที่มีปัญญาจักษุจึงจะเรียกว่าคนมีตาแท้จริง แล้วพระองค์ก็ตรัสคาถา (โศลก) บทหนึ่งสั้นๆ ว่า
“โลกนี้มืดมน น้อยคนนักจักเห็นแจ้ง น้อยคนจะไปสวรรค์ดุจนกติดบ่วงนายพราน น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้”

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา กุมาริกาได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลระดับต้น เป็นผู้แน่วแน่ต่อมรรคผลขั้นสูง

นางถวายบังคมพระพุทธเจ้า แล้วรีบนำตะกร้าด้ายหลอดไปให้บิดาที่โรงทอผ้า

ฝ่ายผู้บิดานั่งรอลูกสาวเป็นเวลานาน ไม่เห็นมาสักทีจึงนั่งหลับอยู่ที่หูกทอผ้านั่นเอง มือหนึ่งจับฟืมค้างอยู่ ลูกสาวไม่ทันสังเกต ยื่นตะกร้าด้ายหลอดไปให้บิดา พร้อมกล่าวว่า พ่อนี้ตะกร้าด้ายหลอด หนูนำมาให้แล้ว

บิดาสะดุ้งตื่นพลันกระชากมือที่จับฟืมค้างอยู่เข้ามาหาตัวด้วยสัญชาตญาณ ปลายฟืมกระแทกเข้าหน้าอกลูกสาวล้มลงตายทันที ณ ที่นั้นแล สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่บิดาอย่างยิ่ง เขาร้องไห้คร่ำครวญวิ่งไปหาพระพุทธเจ้า กราบทูลรายงานให้ทรงทราบว่า เกิดอะไรขึ้นแก่ธิดาของตน

พระพุทธเจ้าตรัสปลอบโยนให้เขาเข้าใจถึงความจริงของสรรพสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ไม่คงที่ มีเกิด มีดับสลาย อย่าได้เศร้าโศกเสียใจไปเลย เขาบรรเทาความโศกได้ กราบทูลขอบวชเป็นสาวกพระพุทธองค์ในที่สุด

ธิดาช่างหูกนั้น “ถึงคราว” ของเธอแล้ว จะต้องตายแน่ในวันนั้น ไม่ตายที่โรงทอผ้า ก็ที่อื่น ด้วยเหตุอื่น เพราะเหตุนี้แหละ พระพุทธองค์จึงเสด็จมาโปรดเธอให้ได้บรรลุธรรมก่อนตาย นับว่าเธอมิได้ตายเปล่าเลย

ชีวิตของเธอนั้นเป็นตัวอย่างของเด็กหนุ่มสาวทั้งหลายให้หันมาสนใจศึกษาปฏิบัติธรรมให้ได้ลิ้มรสพระธรรมแต่อายุยังน้อยเพราะไม่มีใครทราบว่า จะตายเมื่อใด ไม่ควรประมาทว่า เรายังอายุน้อยอยู่ แก่มาค่อยเข้าวัดฟังธรรม

ทางที่ดีควรรีบทำความดีเสียให้พร้อมตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มสาว ดุจธิดาช่างหูกคนนี้ จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา


ข้อมูล : บทความพิเศษ ธิดาช่างหูกนิรนาม : ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๘ พ.ย. - ๔ ธ.ค. ๕๗



๘๖. ปุณณทาสี
นางทาสีผู้ยากไร้

วันนี้ขอพูดถึงนางทาสีผู้ยากไร้ แต่ได้เข้าถึงธรรมในที่สุด นางมีชื่อเรียกขานกันว่า ปุณณา เป็นทาสของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ มีหน้าที่ตำข้าวให้ครอบครัวเศรษฐี ตำกระดกขึ้นกระดกลง โดยสากที่ติดอยู่กับคัน จะทำให้ข้าวเปลือกในครกล่อนออกมาเป็นข้าวสาร

อธิบายอย่างนี้มองเห็นภาพหรือเปล่าไม่ทราบ ถ้ายังไม่รู้ ก็ลองสอบถามผู้รู้เอาแล้วกัน ผมจนปัญญาให้คำจำกัดความ

วันหนึ่ง เศรษฐีสั่งให้นางปุณณา ตำข้าวเปลือกเป็นจำนวนมาก เรียกว่าใช้แรงงานจนเกินคุ้ม ว่าอย่างนั้นเถอะ

นางปุณณาก็ตำข้าวเหงื่อไหลไคลย้อยตลอดทั้งวัน ยังเสร็จไม่ถึงครึ่ง จึงตำต่ออีก มืดค่ำก็ตามประทีป (คือจุดตะเกียง) ตำต่อตลอดทั้งคืน โดยออกไปยืนตากลมเพื่อพักเอาแรงเป็นระยะๆ

ไม่ไกลจากที่นางตำข้าวเท่าใดนัก มีภูเขาลูกหนึ่ง พระสงฆ์จำนวนมากพักอาศัยอยู่ ณ ภูเขาลูกนั้น

ตอนกลางคืน พระทัพพมัลลบุตร ซึ่งเป็นพระที่มีความชำนาญในการจัดแจงเสนาสนะสำหรับพระทั้งหลาย ท่านเดินไปเดินมาเพื่อจัดแจงอาสนะให้พระภิกษุทั้งหลาย โดยตัวท่านจุดประทีป เดินนำพาภิกษุแต่ละรูป แต่ละกลุ่มไปพำนักยังเสนาสนะที่ได้ตระเตรียมไว้

นางปุณณามองไปเห็นแสงไฟวูบวาบๆ บนภูเขานั้น รำพึงว่า ค่ำคืนดึกดื่นป่านฉะนี้พระคุณเจ้าทั้งหลายยังไม่นอน เราเองก็ยังไม่ได้นอนที่เราเองยังนอนไม่ได้เพราะเรามีความทุกข์บีบคั้น มีภาระหน้าที่จะต้องทำ แต่พระคุณเจ้าไม่นอนเพราะมีความทุกข์อะไรหนอ  หรือว่าพระคุณเจ้ารูปใดรูปหนึ่งอาพาธ หรือถูกงูเห่างบกัด

รุ่งเช้าขึ้นมา นางเอารำมาคลุกน้ำ แล้วปั้นเป็นก้อนๆ ทำเป็นขนมจี่ไฟ แล้วก็เหน็บไว้ที่ชายพก เดินไปท่าน้ำ หวังว่าจะเอาไปกินระหว่างทาง

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังหมู่บ้านตามทางที่นางออกมากำลังจะไปที่ท่าน้ำพอดี

นางพบพระพุทธองค์แล้วก็คิดว่า ในวันอื่นเราพบพระศาสดาอยากจะถวายท่าน ก็ไม่มีไทยธรรม (ของจะถวายทาน) บางวันมีไทยธรรมแต่ก็ไม่พบพระพุทธองค์ แต่วันนี้เราพบพระพุทธองค์ และไทยธรรมก็มีด้วย ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงรังเกียจว่า อาหารของเราเศร้าหมอง (คือเป็นของเลว) ทรงรับไว้ เราก็จะพึงถวายแด่พระพุทธองค์

นางวางหม้อน้ำลง ยกมือนมัสการกราบทูลว่า
“ถ้าพระองค์มิทรงรังเกียจว่า อาหารนี้เศร้าหมอง ขอพระองค์ทรงรับ เพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันด้วยเถิด”

พระพุทธองค์ทรงชำเลืองมองมาทางพระอานนท์พุทธอนุชา พระอานนท์นำบาตรไปถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงรับ “รำจี่” จากนางปุณณา

นางปุณณาถวายขนมใส่ลงไปในบาตร ก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกราบทูลว่า “ด้วยอานิสงส์ของการถวายรำจี่นี้ ขอให้หม่อมฉันได้มีส่วนแห่งการบรรลุธรรมในปัจจุบันทันตาเห็นเถิด”

พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาว่า “เอวัง โหตุ – จงสัมฤทธิผลดังปรารถนาเถิด” แล้วเสด็จพุทธดำเนินเข้าไปยังหมู่บ้าน มีพระอานนท์พุทธอนุชาตามเสด็จ

ฝ่ายนางปุณณาไม่แน่ใจว่า พระพุทธองค์จะเสวยขนมของตนหรือไม่ นางคิดว่า ขนมของคนยากไร้หารสชาติมิได้ พระองค์ไม่เสวยดอก ที่พระองค์ทรงรับไว้คงเพื่อถนอมน้ำใจ ไม่ต้องการให้เราเสียใจมากกว่า พระองค์คงจะทรงโยนให้สุนัขหรือกาในระหว่างทางก็เป็นได้   นางจึงเดินตามพระพุทธองค์ไปห่างๆ หารู้ไม่ว่าพระพุทธองค์ทรงทราบความในใจของนาง เสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ทรงชำเลืองดูพระอานนท์พุทธอนุชา

พระอานนท์ทราบด้วยพระกิริยาจึงลาดจีวรเป็นอาสนะให้พระพุทธองค์ประทับ พระพุทธองค์เสวยขนมรำจี่ของนางปุณณาที่นอกเมือง ตรงนี้ท่านผู้แต่งคัมภีร์ก็ “ใส่ไข่” ว่า เทวดาในหมื่นจักรวาล ได้นำเอาโอชารสอันหวานอร่อยมาโรยใส่ในขนม ทำให้ขนมนั้นแสนจะอร่อย ว่าอย่างนั้น ทำอย่างกับว่าถ้าไม่อร่อย พระพุทธองค์จะไม่เสวย

ความจริง “พระ” ย่อมฉันอาหารอย่างพระอยู่แล้ว ไม่ติดในรสอาหาร ฉันสักแต่ว่ามันเป็นอาหาร ไม่จำเป็นต้องใส่ผงชูรส ใส่ซอสเพิ่มรสชาติก็ได้

สำหรับพระพุทธองค์ด้วยแล้ว ข้อความนี้ไม่จำเป็นเลย นอกเสียจากจะให้เทวดาได้มีส่วนในการทำบุญทำทานครั้งนี้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นางปุณณายืนดูอยู่ห่างๆ เกิดความปีติโสมนัสเป็นล้นพ้น พระพุทธองค์ตรัสให้พระอานนท์เรียกนางปุณณาเข้ามาใกล้ๆ ตรัสถามว่า “ปุณณา ทำไมเธอดูหมิ่นสาวกของเรา”

นางสะดุ้ง กราบทูลว่า “หม่อมฉันมิได้ดูหมิ่นเลย พระเจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น เมื่อคืนที่ผ่านมา เธอมองดูสาวกของเราบนเขาแล้วพูดอะไรออกมา”
“หม่อมฉันเห็นพวกท่านไม่นอนกัน จึงพึมพำออกมาว่า ทำไมพระคุณเจ้ายังไม่นอน ท่านมีความทุกข์เหมือนเราหรือเปล่าหนอ หรือว่ามีท่านรูปใดอาพาธ หม่อมฉันพูดเพียงแค่นี้เองพระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปุณณา เธอไม่ได้นอนเพราะมีความทุกข์บีบคั้น แต่สาวกของเราไม่นอนเพราะมีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ”

แล้วตรัสคาถา (โศลก) แสดงธรรม ความว่า
“สำหรับผู้ตื่นอยู่เสมอ ตลอดเวลาสำเหนียกศึกษาทุกทิพาราตรี มีใจน้อมไปสู่พระนิพพาน อาสวะย่อมอันตรธานหมดสิ้น”

จบพระธรรมเทศนา นางปุณณาก็บรรลุโสดาปัตติผล


นับว่าทานที่นางถวายแด่พระพุทธองค์ ได้บันดาลผลในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว

ถึงตรงนี้นึกถึงประเพณีทำบุญ “ข้าวจี่” ข้าวจี่คืออะไรต้องอธิบายเสียหน่อย เพราะเป็นประเพณีท้องถิ่นอีสาน คนภาคอื่นอาจไม่ทราบ

ชาวบ้านเขาจะนำข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน ชุบไข่ แล้วนำไป “จี่” หรือปิ้งไฟถ่าน แล้วก็นำมากินกันเอร็ดอร่อย ฤดูหนาวชาวบ้านจะทำข้าวจี่ไปถวายพระ มีการรักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรมด้วย ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งทีเดียว

พระท่านจะเทศน์ “อานิสงส์ของข้าวจี่” ฉลองศรัทธา เล่าต้นเหตุแห่งการเกิดประเพณีบุญข้าวจี่ และอานิสงส์ (ผล) ของการถวายข้าวจี่

เรื่องนางปุณณานี้แหละครับ เป็น “ต้นฉบับ” ประเพณีทำบุญข้าวจี่

ถ้าถามว่า ทานที่นางปุณณาถวายเป็นเพียงรำจี่เท่านั้น ทำไมมีผลมากขนาดนั้น คำตอบคือ การถวายทานจะให้ผลน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๓ ประการคือ
๑. สิ่งของที่จะให้ทานต้องบริสุทธิ์ คือได้มาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ของนี้ไม่จำเป็นจะต้องประณีต หรูหรา ราคาแพง
    ของเลวๆ แทบไม่มีราคาเช่น “รำจี่” ของนางปุณณานี้ก็ได้
๒. เจตนา คือ ความตั้งใจจะต้องบริสุทธิ์ ก่อนให้ กำลังให้ และหลังจากให้แล้ว จะต้องมีความเลื่อมใส ไม่คิดเสียดายในภายหลัง
๓. ผู้รับทานต้องบริสุทธิ์ คือ เป็นผู้มีศีล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็น “ปฏิคาหก” (ผู้รับ) ที่บริสุทธิ์
    ทานที่ให้จึงมีผลมาก ยิ่งพระอรหันต์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ผู้ถวายทานแก่ท่าน ย่อมได้ผลทันตาเห็นเลยทีเดียว

ทานของนางปุณณานั้น มีองค์ประกอบครบทั้งสามประการ จึงมีอานิสงส์มากด้วยประการฉะนี้.


ข้อมูล : บทความพิเศษ ปุณณทาสี  : นางทาสีผู้ยากไร้ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน - ๔ ธันวาคม ๒๕๕๗



๘๗. นางมัลลิกา
ภริยาพันธุละเสนาบดี

มัลลิกาที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามีอยู่ ๒ ท่าน คือ พระนางมัลลิกาผู้เป็นพระมเหสีพระเจ้าปเสนทิโกศล กับ นางมัลลิกา ผู้เป็นภริยาของพันธุละเสนาบดี พระสหายสนิทของพระเจ้าปเสนทิโกศล

เรื่องของพระนางมัลลิกา ได้เคยนำมาเล่าขานสู่กันฟังไปแล้ว  วันนี้มีถึงเรื่องของนางมัลลิกาอีกท่านที่เหลือ

นางมิลลิกาเป็นธิดาของมัลลกษัตริย์องค์หนึ่ง ได้สมรสกับพันธุละซึ่งเป็นโอรสของมัลลกษัตริย์องค์หนึ่งเช่นเดียวกัน ทั้งสองเป็นชาวเมืองกุสินารา

พันธุละเป็นศิษย์สำนักทิศาปาโมกข์รุ่นเดียวกับปเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล และมหาลิลิจฉวี แห่งแคว้นวัชชี เมื่อจบการศึกษา ต่างก็กลับยังมาตุภูมิ มหาลิแสดงศิลปวิทยาให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีชม แต่บังเอิญถูกผู้อิจฉาริษยาแกล้งจนได้รับอุบัติเหตุตาบอดสองข้าง ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาของเหล่าสิจฉวีกุมารทั้งหลาย

ส่วนพันธุละ เมื่อกลับมาตุภูมิแสดงศิลปวิทยาอวดชาวกุสินารา ถูกแกล้งเช่นเดียวกับมหาลิ แต่ไม่ถึงกับได้รับอุบัติเหตุ แต่ผลการแสดงศิลปวิทยาคราวนั้นไม่สำเร็จดังใจหวัง จึงตัดสินใจออกจากเมืองกุสินาราพร้อมภรรยา มาพึ่งใบบุญพระสหายเก่าที่เมืองสาวัตถี

พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงสถาปนาพันธุละในตำแหน่งเสนาบดี พันธุละก็รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าปเสนทิโกศลด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

นางมิลลิกาไม่มีบุตรมาเป็นเวลานาน จนพันธุละจะส่งตัวกลับมาตุภูมิ นางคิดว่าก่อนที่จะกลับไป ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนดีกว่า จึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์

พระองค์ตรัสถามว่าจะไปไหน นางกราบทูลว่า “จะกลับยังมาตุภูมิ เพราะไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลได้”

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ถ้าเธอจะกลับบ้านเพราะเหตุเพียงแค่นี้ เธอไม่ต้องกลับ”

นางคิดว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ แสดงว่าเราจะต้องมีบุตรแน่นอน จึงกลับไปบอกสามี พันธุละดีใจ ไม่คิดจะส่งภรรยากลับมาตุภูมิอีกต่อไป

ไม่นานนางก็ตั้งครรภ์ เกิดแพ้ท้อง อยากอาบและดื่มน้ำในสระโบกขรณี อันเป็นสระมงคลและหวงห้ามของกษัตริย์ลิจฉวีเมืองไพศาลี

พันธุละจึงอุ้มนางขึ้นรถม้า ห้อตะบึงเข้าไปยังเมืองไพศาลี ตรงไปยังสระโบกขรณี ถือแส้หวายหวดเหล่าทหารผู้อารักขาสระน้ำแตกกระจาย ตัดข่ายโลหะให้ภรรยาลงไปอาบและดื่มน้ำในสระแล้วก็อุ้มขึ้นรถม้ากลับ พวกลิจฉวีพอทราบว่าผู้บุกรุกเข้าใกล้สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ก็พากันติดตาม

มหาลิได้ยินเสียงรถและฝีเท้าม้าก็รู้ทันทีว่าเป็นพันธุละ สหายของตน จึงห้ามเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีไม่ให้ติดตาม เพราะจะเป็นอันตราย แต่พวกนั้นหาฟังไม่

พันธุละสั่งภรรยาว่า ถ้ารถม้าที่ตามมาปรากฏเป็นแนวเดียวกันเมื่อใดให้บอก เมื่อรถม้าปรากฏเป็นแนวเดียวกันแล้ว มัลลิการ้องบอกสามี

พันธุละจึงน้าวคันธนูปล่อยลูกศรออกไปด้วยความแรง ลูกศรออกจากแล่งด้วยความเร็วทะลุหัวใจของพวกลิจฉวีล้มลง สิ้นชีวิตพร้อมกัน 

ต่อมา นางมัลลิกาให้กำเนิดบุตรชายฝาแฝดสิบหกครั้ง (รวมเป็น ๓๒ คน) บุตรทั้งหมดเจริญเติบโต เรียนศิลปวิทยาสำเร็จ และได้แต่งงานมีครอบครัวทุกคน และต่างก็รับราชการสนองคุณประเทศดุจบิดาของตน

อยู่มาวันหนึ่ง พันธุละเสนาบดีได้ทราบว่า เหล่าตุลาการวินิจฉัยด้วยความไม่ยุติธรรม จึงนั่งว่าคดีเสียเอง โดยให้ความยุติธรรมแก่เจ้าทุกข์ ทำให้ประชาชนแซ่ซ้องสาธุการไปทั่ว ความทราบถึงพระกรรณพระราชา พระองค์จึงทรงมอบหน้าที่วินิจฉัยคดีแก่พันธุละอีกตำแหน่งหนึ่ง

พวกตุลาการที่หลุดจากตำแหน่งก็หาทางเล่นงานพันธุละ เมื่อสบช่องโอกาสจึงกราบทูลยุยงพระราชาว่า พันธุละคิดการใหญ่ถึงขั้นก่อการกบฏ

แรกๆ พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงเชื่อ แต่เมื่อมีผู้เพ็ดทูลบ่อยเข้า จึงทรงคลางแคลงพระทัย หาอุบายกำจัดพันธุละ ให้พันธุละพร้อมบุตรชายทั้งหมด ไปปราบโจรที่ชายแดน แล้วส่งทหารไปดักฆ่ากลางทางทั้งหมด

วันที่สามีและบุตรชายทั้ง ๓๒ คนถูกฆ่า นางมัลลิกากำลังถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งที่คฤหาสน์ของตน มีผู้นำจดหมายด่วนมาแจ้งข่าวร้าย

นางนิ่งอึ้งไปพักใหญ่ แต่ก็สู้อดกลั้นความเศร้าโศกไว้ เพราะกำลังทำบุญเลี้ยงพระอยู่ เหน็บจดหมายไว้ที่ชายพก แล้วสั่งให้ยกอาหารมาถวายพระ

สาวใช้ถือถาดเนยใสเข้ามา ทำถาดตกแตกต่อหน้าพระสารีบุตรเถระ พระเถระเจ้าจึงกล่าวเตือนว่า “ของที่แตกได้ก็แตกแล้ว ไม่ควรคิดอะไรมาก”

นางมัลลิกานำจดหมายออกจากชายพก แล้วกราบเรียนท่านว่า “ดิฉันได้ข่าวว่าสามีและบุตรชายทั้งหมดถูกฆ่าตายแล้ว ยังอุตส่าห์ข่มความโศกไว้ได้ เพียงถาดเนยใสแตกใบเดียว ดิฉันไม่คิดอะไรดอกเจ้าค่ะ”

พระสารีบุตรอัครสาวกเมื่อรู้ข่าว จึงเทศนาปลุกปลอบจิตนางมิลลิกาว่าชีวิตของสัตว์โลกนี้ไม่มีนิมิตหมาย (รู้ไม่ได้ว่าจะตายเมื่อใด ตายด้วยอาการอย่างไร ที่ไหน) ชีวิตนั้นสั้นนัก เป็นอยู่ลำบาก และประกอบด้วยทุกข์ จึงไม่ควรประมาท”

นางมิลลิกาเรียกสะใภ้ทั้ง ๓๒ คนมาแจ้งข่าวและให้โอวาทว่า สามีของพวกนางไม่มีความผิด แต่ได้รับผลกรรมแต่ชาติปางก่อน ไม่ควรเศร้าโศกเกินเหตุ

และที่สำคัญที่สุด ไม่ควรผูกอาฆาตพยาบาทต่อผู้กระทำ ไม่ว่าใครก็ตาม

จารบุรุษ (ผู้สอดแนม) ที่พระราชาส่งมาดูลาดเลาได้นำความไปกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศล  ท้าวเธอจึงทรงทราบความจริงว่า พระองค์ได้ผิดต่อพระสหายและบุตรของเขาผู้ไม่มีความผิดเสียแล้ว ทรงเสียพระทัยมาก ทรงจัดพิธีศพพันธุละและบุตรทั้ง ๓๒ คนอย่างสมเกียรติ

ต่อมาก็ได้สถาปนา ทีฆการายนะ หลายคนเดียวของพันธุละในตำแหน่งเสนาบดีสืบแทนเพื่อ “ไถ่บาป” ของพระองค์

ทีฆการายนะไม่เคยลืมสิ่งที่ลุงและน้องๆ ของตนถูกกระทำ เมื่อสบโอกาสจึงยุยงพระราชโอรสของพระราชา (เจ้าชายวิฑูฑภะ) ยึดราชสมบัติ ขณะที่พระราชกำลังจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อกลับเข้าเมืองไม่ได้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงขึ้นม้าหนีไปหมายจะขอกำลังจากพระเจ้าหลาน “อชาตศัตรู” ให้มาช่วย แต่เมื่อเข้าเมืองราชคฤห์ไม่ได้ จึงนอนสิ้นพระชนม์อยู่หน้าประตูเมืองราชคฤห์นั้นเอง

นางมัลลิกาหลังจากเสียสามีและบุตรชาย จึงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตพาบรรดาสะใภ้หม้ายกลับไปยังกุสินารา เมืองมาตุภูมิ

นางมัลลิกาเป็นตัวอย่างของสตรีที่เข้าถึงธรรม นางเป็นคนเข้าใจโลกและชีวิต รู้จักอดกลั้นในความทุกข์โศก เมื่อชีวิตกระทบกับความไม่แน่นอนอย่างรุนแรง นอกจากนั้น ยังเมตตากรุณาเป็นอย่างยิ่ง

สามีและลูกๆ ถูกฆ่าตายทั้งที่ไม่มีความผิดและรู้ว่าต้นเหตุมาจากใครก็ไม่ผูกพยาบาท ยังสอนสะใภ้ทั้งหลายไม่ให้พยาบาทอีกด้วย

นับว่าเป็นสตรีชาวพุทธตัวอย่างที่ดีคนหนึ่ง...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางมัลลิกา : ภริยาพันธุละเสนาบดี โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๙๑ ประจำวันที่ ๑๒-๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗



๘๘. มันตานีพราหมณี 
มารดาขององคุลิมาล

วันนี้ขอพูดถึงสตรีผู้ซึ่งเป็นมารดาของคนดังในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือมารดาขององคุลิมาล

มารดาขององคุลิมาล ดูเหมือนว่าจะชื่อ มันตานีพราหมณี เกิดในวรรณะพราหมณ์ เป็นภรรยาของปุโรหิตในราชสำนักพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล นางตั้งครรภ์แก่จวนคลอด ผู้เป็นสามีก็เข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล ตามปกติที่เคยปฏิบัติมา

บังเอิญวันที่นางจะคลอดลูกนั้น เกิดวิปริตอาเพศ ห้วงเวหามืดครึ้ม ฟ้าแลบแปลบปลาบ ดังหนึ่งฝนจะตกหนัก แต่ก็ไม่ตก อาวุธ เช่น หอก ดาบ แหลน หลาว ในพระคลังแสง เกิดแสงโชติช่วงโชตนาการดังต้องไฟ สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วพระราชวัง

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปุโรหิตว่า จะเป็นลางร้ายอะไรหรือไม่

ปุโรหิตแหงนดูท้องฟ้า เห็นดาวโจรลอยเด่นอยู่กลางอากาศ จึงกราบทูลว่า เด็กที่เกิดในขณะนี้คนหนึ่ง จะกลายเป็นมหาโจรลือชื่อ เป็นที่หวาดกลัวของประชาชนทั่วไป

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า โจรที่ว่านี้เป็นโจรธรรมดา หรือว่าเป็นโจรปล้นราชสมบัติ  ปุโรหิตกราบทูลว่า เป็นโจรธรรมดา เมื่อทรงทราบว่าเป็นโจรธรรมดา ก็มิได้ทรงใส่พระทัยแต่อย่างใด

ปุโรหิตฉุกใจคิดอะไรบางอย่างขึ้นมา จึงรีบกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวกลับมายังคฤหาสน์ของตน พอก้าวขึ้นเรือนก็ได้รับรายงานทันทีว่า นางพราหมณี ภรรยาได้ให้กำเนิดบุตรชายพอดี คือ ตรงกับฤกษ์ดาวโจรที่ว่านี้พอดิบพอดีเลยทีเดียว

พราหมณ์ปุโรหิตรีบกลับไปกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวว่า เด็กที่ว่านั้นคือบุตรชายของตนเอง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต “กำจัด” เสียตั้งแต่ยังเด็ก ก่อนที่จะเติบโตกลายเป็นขุนโจรชื่อดัง

ในหลวงรับสั่งว่า เมื่อเขาเป็นโจรธรรมดา ไม่เป็นภัยต่อราชสมบัติ ก็ปล่อยไปเถอะ เพราะเหตุนี้แล เด็กน้อยจึงรอดมาได้จนเติบโต

ปุโรหิตผู้เป็นพ่อเชี่ยวชาญในโหราศาสตร์ จึงพยายามหาวิธีแก้ดวง เพื่อมิให้บุตรชายเป็นไปตามคำพยากรณ์ โดยตั้งชื่อแก้เคล็ดว่า อหิงสกะ แปลว่า “ผู้ไม่เบียดเบียน” หวังว่าชื่อที่มีความหมายในทางดี จะช่วยให้วิถีชีวิตลูกดำเนินไปในทางถูกต้องได้ ซึ่งก็ทำท่าจะเป็นดังหวัง

อหิงสกะเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มีความประพฤติเรียบร้อย ใฝ่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง พ่อจึงส่งไปเรียนในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่า ส่งไปเรียนมหาวิทยาลัยดังในต่างประเทศ ว่าอย่างนั้นเถอะ

อหิงสกะก็เรียนเก่ง มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นคนโปรดของอาจารย์ จนกระทั่งบรรดาศิษย์ที่เรียนไม่เอาไหน ถูกอาจารย์ตำหนิอยู่เสมอ เกิดความอิจฉาริษยา พากันยุยงให้อาจารย์เกลียดชังศิษย์รักจนสำเร็จ

อย่างว่าแหละครับ “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน” ดังเพลงเขาว่า หัวใจอ่อนๆ ของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้ถูกเป่าหูแทบทุกเช้าเย็น จะไปเหลืออะไร

ในที่สุดอาจารย์ก็เชื่อว่า อหิงสกะคิดคดทรยศตน จึงหาทางกำจัด โดยอ้างว่าจะถ่ายทอดวิชาลี้ลับให้ ให้ศิษย์ไปเอานิ้วคนมา ๑,๐๐๐ นิ้ว จะประกอบพิธีประสิทธิ์ประสาทเคล็ดวิชาให้

เด็กหนุ่มซึ่งก็อยากจะได้เคล็ดวิชา กอปรกับที่อาจารย์ใช้วาทศิลป์เกลี้ยกล่อม จึงรับปากออกไปฆ่าคนตัดเอานิ้ว

ใหม่ๆ ก็คงยากมาก แต่พอฆ่าได้คนสองคนจิตใจก็ “คุ้น” กับการกระทำ จนกลายเป็นความเคยชิน

ในที่สุดก็ฆ่าแล้วตัดเอานิ้ว นัยว่าเอาแต่นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วโป้ง ได้หลายนิ้วก็เอามาเสียบเป็นพวงห้อยคอเพื่อกันหาย

ฆ่าได้กี่คนๆ ก็ยังไม่ได้ครบ ๑,๐๐๐ นิ้วเสียที เพราะที่ได้ไว้บ้างแล้วบางนิ้วก็เน่าหลุดไป

ถึงตอนนี้ชื่อเสีย (ไม่มี ง งู) ของอหิงสกะก็ขจรขจายไปทั่ว ผู้คนได้ยินว่ามีโจรองคุลิมาล (โจรห้อยพวงนิ้วมือ) เกิดขึ้น ก็พากันหวาดผวา ไม่กล้าเดินทางผ่านดงอันเป็นที่อยู่อาศัยของมหาโจร  ทำให้ขุนโจรชื่อดังหากินลำบากยิ่งขึ้น นิ้วที่ได้ไว้ก็เน่าหลุดไปทีละนิ้วสองนิ้ว

หนทางจะได้ประสิทธิ์ประสาทเคล็ดวิชา ก็ยิ่งดูห่างไกลยิ่งขึ้น

กล่าวถึงนางพราหมณีผู้เป็นแม่ของอหิงสกะ ก็เฝ้าทะนุถนอมเลี้ยงดูลูกด้วยความรัก แม้ว่าตอนแรกพ่อจะบอกว่า ลูกคนนี้เติบโตมาจะเป็นโจร นางก็มิได้คลายความรักที่มีต่อลูกลงแม้แต่น้อย ตรงข้ามกลับเฝ้าทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูกอย่างดี

เมื่อลูกถูกส่งไปศึกษายังมหาวิทยาลัยตักศิลา ก็คอยสดับฟังข่าวคราวลูกเสมอ แม้ในช่วงหลังจะได้ยินข่าวร้ายว่าลูกกลายเป็นโจรชื่อดัง ก็ยิ่งสงสารลูก ไม่เป็นอันกินอันนอน เฝ้าครุ่นคิดถึงแต่ลูกชาย

ยิ่งในช่วงหลังๆ ได้ข่าวว่า พระเจ้าอยู่หัวถึงกับจะยกกองทัพน้อยๆ ไปปราบลูกชาย นางก็ยิ่งกังวลหนัก เพราะความรักลูก กลัวลูกจะถูกฆ่าตาย

นางจึงตัดสินใจรีบเดินทางมุ่งตรงไปยังดงที่ลูกชายอาศัยอยู่ เพื่อแจ้งข่าวให้ลูกทราบ จะได้ระวังตัว เพราะความรักลูกโดยแท้ นางมิได้คิดถึงตัวเองเลย

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณแล้วว่า เมื่อถึงเวลานี้ องคุลิมาลมีจิตฟั่นเฟือนแล้ว จำใครไม่ได้ เห็นมารดาก็จะฆ่าเอานิ้วมือถ่ายเดียว พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณา ไม่ประสงค์จะให้องคุลิมาลถลำทำบาปกรรมถึงขั้น “มาตุฆาต” (ฆ่ามารดา) อันเป็นกรรมหนัก

จึงรีบเสด็จไปดักหน้า ก่อนที่สองคนแม่ลูกจะพบกัน ทรงแสดงธรรมโปรดองคุลิมาลให้กลับใจมาบวชในพระพุทธศาสนา


ข้อมูล : บทความพิเศษ มันตานีพราหมณี : มารดาขององคุลิมาล โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๙๒ ประจำวันที่ ๑๙-๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2558 18:11:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 11 มกราคม 2558 18:42:50 »

.

http://www.sookjaipic.com/images/6235254493_17.gif
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๘๙. พระนางเวเทหิ
มารดาของพระเจ้าอชาตศัตรู

ตอนที่แล้ว เล่าถึงมารดาขององคุลิมาล วันนี้ขอพูดถึงมารดาของคนดังอีกคนหนึ่งในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นั่นคือ มารดาของพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งเป็นคนที่น่าสงสารมาก นางชื่อ เวเทหิ (อาจมีชื่ออื่นด้วย)

พระนางเวเทหิเป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล อภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์เมืองราชคฤห์ นางมีโอรสนามว่า อชาตศัตรู นาม “อชาตศัตรู” ก็เป็นนามที่ตั้งแก้เคล็ดเช่นเดียวกับองคุลิมาล

คือตอนจวนประสูติ พระนางเวเทหิเกิดแพ้พระครรภ์ คือแพ้ท้อง อยากเสวยเลือดพระราชสวามี ด้วยความรักลูก พระเจ้าพิมพิสารจึงกรีดพระโลหิตจากพระพาหา (ต้นแขน) ของพระองค์ให้พระมเหสีเสวย อาการแพ้ท้องก็สงบระงับ

โหราจารย์ได้ทำนายว่า พระโอรสองค์นี้เติบโตมาจะทำปิตุฆาต (ฆ่าบิดา) แต่ด้วยความรักลูก พระเจ้าพิมพิสารก็ไม่ได้สะทกสะท้านต่อคำพยากรณ์ ยังคงเลี้ยงดูพระโอรสอย่างดี

ทรงเชื่อในอานุภาพแห่งการฝึกอบรม ว่าเด็กที่ได้รับการฝึกอบรมดี ย่อมจะไม่ทำผิดแน่นอน ทรงเชื่ออย่างนั้น

ที่ทรงขนานพระนามว่า “อชาตศัตรู” (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ก็ด้วยความเชื่อเช่นนี้

และแล้วการณ์ก็ไม่เป็นไปตามที่พระราชบิดาทรงคาดหวัง มีมารมาทำให้วิถีชีวิตของเจ้าชายน้อยหักเหจนได้

ในช่วงเวลาดังกล่าว พระเทวทัตอยากเป็นใหญ่ อยากจะปกครองพระสงฆ์ จึงดำเนินแผนการ “ยึดอำนาจปกครองสงฆ์” เงียบๆ เห็นว่าเจ้าชายอชาตศัตรูจะเป็นมือเป็นไม้ได้อย่างดีในเรื่องนี้ จึงใช้อิทธิฤทธิ์ที่ได้จากการฝึกสมาธิภาวนา สำแดงให้เจ้าชายน้อยเลื่อมใส มอบตัวเป็นศิษย์ “ก้นกุฏิ” ได้สำเร็จ

พระเทวทัตก็ชักจูงเจ้าชายอชาตศัตรูให้กำจัดพระราชบิดา ยึดบัลลังก์เสีย

แรกๆ เจ้าชายน้อยก็ทรงคัดค้าน เพราะในไม่ช้า พระองค์ก็จะได้สมบัติจากพระราชบิดาอยู่แล้ว

แต่พระเทวทัตก็ใช้วาทศิลป์กล่อมจนสำเร็จ เจ้าชายอชาตศัตรูจับพระราชบิดาขังคุก ให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์

ข้างฝ่ายพระนางเวเทหิ พยายามเกลี้ยกล่อมพระราชโอรสให้เห็นผิดชอบชั่วดี ด้วยความรักลูก ไม่อยากให้ลูกถลำลึกลงไปมากกกว่านี้

อย่างว่าแหละครับ คนเราลงว่า ได้ถูกโมหะอวิชชาบังตาบังใจเสียแล้วย่อมยากที่จะรู้สำนึกผิดชอบชั่วดี อชาตศัตรูเธอไม่ฟังเสียงทัดทาน ท้ายที่สุด ดวงใจน้อยๆ ของพระนางเวเทหิก็แตกสลาย พระนางก็พระหทัยวาย

สิ้นพระชนม์ด้วยความตรอมพระทัย

ว่ากันว่าแม่นั้น ถึงลูกจะเป็นอย่างไร ก็ยังคงรักลูกเหมือนเดิม แม่รักลูกเพราะรัก มิใช่เพราะเหตุอื่นใด ลูกจะดีจะชั่ว ก็ยังคงเป็นลูกแม่อยู่เช่นเดิม

เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า ความรักของแม่เป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขเวลา ทรงสอนให้แผ่เมตตา (ความรัก) ให้คนอื่น พระองค์จึงตรัสสอนให้แผ่ความรักที่บริสุทธิ์ให้คนอื่น เหมือนความรักของแม่ที่มีต่อลูก ฉันนั้น

นำเรื่องราวของสตรีสองนางที่เป็นแม่ในสมัยพุทธกาลมาเล่าให้ฟัง คือนางมันตานีพราหมณี แม่ขององคุลิมาลในตอนที่แล้ว และพระนางเวเทหิ พระราชมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อให้เห็นอานุภาพความรักมหาศาลที่แม่มีต่อลูกครับผม  


ข้อมูล : บทความพิเศษ พระนางเวเทหิ : มารดาของพระเจ้าอชาตศัตรู โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๘ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๙๓ ประจำวันที่ ๒๖ ธ.ค.๕๗ – ๑ ม.ค. ๕๘



๙๐. นางกาลี
สาวิกาผู้เลื่อมใสเพราะฟังจากผู้อื่น


อุบาสิกาท่านนี้ ไม่ค่อยคุ้นชื่อในหมู่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาสักเท่าไร แต่ถ้าเอ่ยว่าเธอคือมารดาของพระ
โสณะกุฏิกัณณะ คงจะร้อง อ๋อ เพราะพระลูกชายท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล

ท่านโสณะกว่าจะได้บวชก็เสียเวลาหลายปี เพราะแคว้นอวันตีที่ท่านเกิดนั้น มีพระไม่พอทำพิธีอุปสมบทให้ได้ พระมหากัจจายนะ พระอุปัชฌาย์ของท่านหลังจากบวชให้ท่านแล้ว จึงส่งท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอให้ลดจำนวนพระที่ทำพิธีอุปสมบทในปัจจันตชนบท จากจำนวน ๑๐ รูป เหลือ ๕ รูป

ท่านโสณะ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้พำนักที่พระคันธกุฎีของพระพุทธองค์ ตกดึกได้มาสวดธรรมโดยทำนอง “สรภัญญะ” ให้พระพุทธองค์สดับ ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์

และนี่คือที่มาของการสวดทำนองสรภัญญะ ที่เรายังสืบทอดมาจนบัดนี้

มารดาของท่านโสณะนั้นคงจะเป็นชาวเมืองราชคฤห์ แล้วไปอยู่ตระกูลสามีที่เมืองอวันตี เพราะคัมภีร์เล่าว่า วันหนึ่งท่านกลับไปเยี่ยมบิดามารดาที่เมืองราชคฤห์ ได้ยินคนเขาสนทนากันถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า

ขณะที่ตนยืนรับลมอยู่ที่ช่องหน้าต่างของคฤหาสน์ ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม และได้บรรลุโสดาปัตติผลเพราะความตั้งใจฟังบทสนทนานั้น

ว่ากันว่า ท่านได้เป็นพระโสดาบัน วันเดียวกับที่ลูกชาย (โสณะ) คลอด พอดิบพอดี

เมื่อกลับมายังเมืองอวันตีแล้ว ได้ไปไหว้พระมหากัจจายนะ ฟังธรรมจากท่านเป็นประจำ ต่อมาได้อนุญาตให้ลูกชายบวชอยู่กับพระมหากัจจายนะดังกล่าวแล้ว

เมื่อพระลูกชายกลับมาจากเฝ้าพระพุทธเจ้า นางกาลีได้ขอให้เธอสวดธรรมให้ฟัง พระโสณะได้สวดธรรมในหมวดที่เรียกว่า “อัฏฐกวรรค” ตามที่เคยสวดถวายพระพุทธเจ้าให้มารดาฟัง

มารดามีความรู้สึกซาบซึ้งในบทสวดนั้นมาก

นางกาลีมีนามเต็มว่า กาลีกุรุรฆริกา เป็นอุบาสิกาโสดาบันระดับหัวหน้าของอุบาสิกาทั้งหลาย มีสหายรักนามว่า กาติยานี ไปมาหาสู่กันเป็นนิตย์ นางกาติยานี้นิยมการฟังธรรม บางครั้งฟังทั้งคืนจนเกิดเรื่อง

วันหนึ่งขณะฟังธรรมอยู่ มีคนมากระซิบบอกว่า โจรกำลังขึ้นบ้าน แต่นางไม่ยอมบอกใครและไม่ตกใจ ตั้งอกตั้งใจฟังธรรมจนจบ ลูกน้องโจรที่นายสั่งมาให้ดักฆ่านางเมื่อนางกลับมาบ้าน ได้ยินนางพูดกับคนใช้ว่า ช่างเถอะ เราไม่อยากทำลายบรรยากาศการฟังธรรม กลับไปรายงานนาย เจ้านายโจรสำนึกผิด พาลูกน้องมากราบขอขมานาง

นี้คืออุบาสิกาผู้เปี่ยมคุณธรรม สามารถกลับใจโจรร้ายได้ นางกาติยานีเป็นเช่นไร นางกาลีก็เป็นเช่นนั้น เพราะทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกัน ยิ่งคนหลังมีพระลูกชายที่สวดธรรมได้ไพเราะยิ่ง ทั้งสองก็ยิ่งมีศรัทธาพากันไปวัดฟังธรรมมิได้ขาด ทั้งจากพระโสณะกุฏิกัณณะและพระมหากัจจายนะ ผู้อุปัชฌาย์

คราวหนึ่ง นางกาลีได้ไปนมัสการพระมหากัจจายนะ เรียนถามปัญหาธรรมกับพระเถระ  พระเถระได้วิสัชนาให้นางทราบจนหายสงสัย

เนื้อหาพระธรรมเทศนาเป็นเรื่อง กสิณ ๑๐ ประการ คือ ปฐวีกสิณ (เพ่งดิน)  อาโปกสิณ (เพ่งน้ำ)  เตโชกสิณ (เพ่งไฟ)  วาโยกสิณ (เพ่งลม)  นีลกสิณ (เพ่งสีเขียว)  ปีตกสิณ (เพ่งสีเหลือง)  โลหิตกสิณ (เพ่งสีแดง)  โอทาตกสิณ (เพ่งสีขาว)  อาโลกกสิณ (เพ่งแสงสว่าง)  อากาสกสิณ (เพ่งที่ว่าง)

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการฝึกสมาธิ การที่นางถามปัญหาเรื่องเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า นางเป็นผู้ใฝ่ใจในการฝึกฝนอบรมจิตอย่างเข้มข้นสม่ำเสมอ


ข้อมูล : บทความพิเศษ นางกาลี : สาวิกาผู้เลื่อมใสเพราะฟังจากผู้อื่น โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๙๙๔ ประจำวันที่ ๒-๘ มกราคม ๒๕๕๘



๙๑. สุทัตตะ อนาถบิณฑิกเศรษฐี
เศรษฐีผู้ใจบุญ

ในอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต พระพุทธองค์ตรัสเกี่ยวกับการสถาปนาพุทธบริษัทใน “เอตทัคคะ” (ในตำแหน่งความเป็นผู้เลิศกว่าคนอื่น) ด้านต่างๆ ตรัสถึงอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า เป็นผู้เลิศกว่าบุคคลอื่นในด้านการถวายทาน

ท่านอนาถบิณฑิกะ เดิมชื่อว่า สุทัตตะ เป็นชาวเมืองสาวัตถีโดยกำเนิด เป็นบุตรของสมุนะเศรษฐี ชีวิตในวัยหนุ่มเป็นอย่างไร จบการศึกษาชั้นไหน ไม่มีที่ไหนบอกไว้ (หรือมีแต่ผมอ่านไม่พบเองก็ได้) รู้แต่ว่าท่านได้แต่งงานกับสุภาพสตรีนามว่า บุญญลักขณา

อนาถบิณฑิกะกับคุณนายบุญญลักขณา มีบุตรด้วยกัน ๔ คน เป็นชายหนึ่งคน นามว่า กาละ เป็นหญิงอีกสามคน คือ มหาสุภัททา จุลสุภัททา และสุมนา ตามลำดับ

ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย ไม่ค่อยเอาถ่าน ตามธรรมดาของลูกคนมีเงิน แต่พ่อก็มีวิธี “ปราบ” ลูก ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด วิธีอย่างไรค่อยว่ากันภายหลัง เพราะเรื่องบุตรชายบุตรสาวของท่านเศรษฐี มีแง่มุมน่าศึกษาไม่น้อย

สุทัตตะ เดิมนับถือศาสนาอะไร ก็ไม่ชัดเช่นกัน แต่ภายหลังได้ประกาศตนนับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต หลังจากได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ป่า “สีตวัน” นอกเมืองราชคฤห์

เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งท่านเศรษฐีเดินทางไปทำธุรกิจที่เมืองราชคฤห์ คราวนี้ไม่ได้พักโรงแรมหรูๆ เหมือนเศรษฐีสมัยนี้ (สมัยโน้นอาจจะยังไม่มีก็ได้) ท่านได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านน้องเขยของท่าน ซึ่งเป็นเศรษฐีเมืองราชคฤห์

วันนั้น เศรษฐีน้องเขยท่านกำลังสั่งให้ตระเตรียมอาหาร และจัดสถานที่สำหรับจัดเลี้ยงเป็นการใหญ่ สุทัตตะสงสัย จึงถามว่าจะมีงานเลี้ยงฉลองอะไรหรือ เลี้ยงต้อนรับใคร ดูท่าจะเป็นงานใหญ่โต

น้องเขยกล่าวว่า กำลังตระเตรียมอาหารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ซึ่งเสด็จมาเสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น

พอเขาได้ยินว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เท่านั้น ปีติโสมนัสได้แผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย อยากจะได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในบัดเดี๋ยวนั้น น้องเขยบอกว่า ใจเย็นๆ พรุ่งนี้เช้าพระพุทธองค์ก็จะเสด็จแล้วไว้ค่อยเฝ้าพระองค์เวลานั้น

คืนนั้นสุทัตตะนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใคร่จะเข้าเฝ้าพระองค์อย่างยิ่ง ยังไม่ทันรุ่งสางเลย เขาก็ตัดสินใจออกจากคฤหาสน์ที่พัก เดินมุ่งหน้าไปยังป่าสีตวัน ทั้งๆ ที่ยังมืดอยู่ กลัวก็กลัว แต่ความอยากเข้าเฝ้าพระพุทธองค์มีมากกว่า จึงข่มความกลัว เดินทางไปจนถึง

ถึงปัจจูสมัยใกล้รุ่ง (คงประมาณตีสี่กว่าๆ) พระพุทธองค์ตื่นบรรทมเสด็จจงกรมอยู่ พอทอดพระเนตรเห็นสุทัตตะเดินเข้ามาใกล้ พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรม ตรัสว่า “สุทัตตะ มานี่เถิด”

สุทัตตะเกิดปีติปราโมทย์เป็นล้นพ้น ที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกชื่อท่าน จึงเข้าไปหมอบแทบพระยุคลบาท กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงบรรทมหลับหรือไม่ (คงนึกว่าพระพุทธเจ้าคงนอนไม่หลับเหมือนตนเอง จึงมาเดินท่ามกลางความมืดอยู่เช่นนี้)

พระพุทธองค์ตรัสว่า “สุทัตตะ ผู้ที่สละกิเลสสละบาปกรรมได้แล้ว ย่อมนอนหลับสบายทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดอยู่ในความรัก เป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีกิเลสแล้วย่อมนอนหลับสบายทุกเมื่อ ผู้ตัดความผูกพันทั้งปวง ขจัดความเร่าร้อนทุรนในใจได้แล้ว ย่อมนอนหลับสบายทุกเมื่อ”

พระพุทธองค์ทรงแสดง “อนุบุพพีกถา” แก่เศรษฐีเป็นการวางพื้นฐาน สร้างความเข้าใจในเบื้องต้นแก่เศรษฐีก่อน แล้วได้ทรงแสดง “อริยสัจสี่” จนจบ หลังฟังพระธรรมเทศนา สุทัตตะเศรษฐีได้ “ดวงตาเห็นธรรม” แล้วกราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปเสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น

พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ

คำแรกคือ อนุบุพพีกถา หมายถึง “การแถลงตามลำดับ” คือ แถลงเรื่องต่างๆ ๕ เรื่องด้วยกันตรงนี้มีคำศัพท์ ๓ คำ ที่คิดว่านักศึกษาพระพุทธศาสนาส่วนมากได้ยินบ่อย แต่เพื่อประโยชน์ของอีกหลายท่านที่อาจไม่ “กระจ่าง” เกี่ยวกับคำ ๓ คำนี้ ขออนุญาต “แวะข้างทาง” ตรงนี้สักประเดี๋ยวนะครับ

ค่อยๆ ลึกลงตามลำดับ คือ เรื่องทาน (การให้ การเสียสละแบ่งปันให้คนอื่น)

เรื่องศีล (การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย ความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม)

เรื่องสวรรค์ (กล่าวถึงความสุข ความเพลิดเพลินส่วนดีของกาม อันเป็นผลที่พึงได้จากการปฏิบัติสองเรื่องข้างต้น)

เรื่องโทษของกาม (กล่าวถึงส่วนเสียของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม)

และเรื่องอานิสงส์การออกจากกาม (กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นในกาม มีใจอิสระจากกามคุณ)

ทั้ง ๕ เรื่องนี้ ทานทำได้ง่ายกว่า ศีลทำได้ยากกว่าทาน ความดี หรือผลแง่บวกของกาม อันเป็นผลของการให้ทานและรักษาศีลละเอียดขึ้นไปอีก แต่ก็พอมองเห็นได้ง่าย

ส่วนการมองเห็นแง่เสีย หรือโทษของกามนั้นยากกว่า ต้องคนที่มีจิตใจละเอียดมากพอสมควร จึงจะมองเห็นได้ ส่วนมากมักตกอยู่ในอำนาจของกามทั้งนั้น บางทีก็พอมองเห็นว่ากามเป็นทุกข์อย่างไร แต่เห็นก็สักแต่เห็น ไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่เหนือกามได้ ต้องอาศัยการปฏิบัติฝึกฝนจิตให้กล้าแข็งขึ้นตามลำดับ

คำที่สอง คือ อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงที่ทำให้คนเป็นผู้ประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค หลักอริยสัจเป็นหลักธรรมสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา

คำสุดท้าย คือ ดวงตาเห็นธรรม คำนี้แปลมาจากคำบาลีว่า “ธรรมจักษุ” หมายถึงการบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับต้นขึ้นไป

พูดให้ชัดก็คือการเข้าใจสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริงของพระโสดาบันขึ้นไป ธรรมจักษุหรือดวงตาเห็นธรรมนั้นมีหลายระดับ

ระดับต้น หมายถึงการเข้าใจของพระโสดาบัน
ระดับสูง หมายถึง การเข้าใจของพระอริยบุคคลสูงกว่าพระโสดาบัน

ปุถุชนธรรมดาถึงจะเข้าใจอะไร มองเห็นอะไร ก็ไม่มีสิทธิเรียกว่าได้ดวงตาเห็นธรรม แต่ก็เห็นมีคนใช้อยู่

ในคืนวันนั้น (วันที่น้องเขยถวายทานนั่นแหละ) สุทัตตะก็สั่งเตรียมอาหารเป็นการใหญ่ ตระเตรียมภัตตาหารที่ประณีตไว้ถวายพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธองค์พร้อมพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งเสด็จมาแล้ว สุทัตตะก็ถวายภัตตาหาร ตรงนี้ภาษาศาสนาเรียกว่า “อังคาสพระพุทธองค์ด้วยมือ”

อังคาส แปลว่า เลี้ยง “เลี้ยงพระด้วยมือ

ผมเคยมีความเข้าใจว่า ผู้เลี้ยงพระหรือผู้ถวายภัตตาหารพระ จะต้องเข้าครัวทำอาหารเอง ทำอย่างนี้จะได้ “บุญ” มากกว่าซื้ออาหารสำเร็จรูปมาถวาย เพราะมิได้ลงแรงเอง ผมเข้าใจอย่างนั้น แต่เมื่อได้ไปเห็นชาวพุทธลังกา เขาเลี้ยงพระจึงเข้าใจ

ชาวลังกาเขาไม่ประเคนอาหารพระทั้งหมด ถวายจานเปล่าให้พระ แล้วก็ตักข้าวและกับถวาย เมื่อพระท่านฉันหมดแล้วก็เติมให้ พระท่านฉันอิ่มแล้ว ท่านจะยกมือให้สัญญาณว่าพอแล้ว เสร็จแล้วก็ยกขันน้ำและสบู่มาให้ท่านล้างมือ (ชาวลังกา “กินมือ” ส่วนมาก) แล้วก็ถวายผ้าเช็ดมือให้ท่านเช็ดมือ เป็นอันเสร็จพิธีเลี้ยงพระ

นี่แหละครับที่เรียกว่า เลี้ยงพระด้วยมือ ลังกาอยู่ใกล้อินเดีย และพระพุทธศาสนาในลังกาเป็น “สายตรง” จากอินเดีย (ไทยเรารับมาจากลังกาอีกต่อหนึ่ง) ประเพณีของชาวลังกาโยงย้อนกลับไปยังสมัยพุทธกาลได้ใกล้กว่าไทย

ผมเข้าใจว่าสมัยพุทธกาล การเลี้ยงพระด้วยมือ ก็คงจะเป็นอย่างที่ผมเห็นมานี้ก็ได้

เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จ ทรงอนุโมทนาแล้ว สุทัตตะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดชาวเมืองสาวัตถีบ้าง พระพุทธองค์ตรัสว่า “ตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในเสนาสนะอันสงัด”

สุทัตตะก็ทราบทันทีว่าจะทำอย่างไร จึงกราบทูลว่า “ข้อนั้น ข้าพระองค์ทราบพระเจ้าข้า”

สุทัตตะเศรษฐีกลับไปเมืองสาวัตถีแล้ว ก็เที่ยวสำรวจสถานที่ที่จะสร้าง “เสนาสนะอันสงัด” คือ สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า สำรวจอยู่หลายวัน ในที่สุดก็ไปชอบใจสวนของเจ้าเชต จึงเจรจาขอซื้อ เจ้าเชตเธอก็ไม่ประสงค์จะขาย จึงโก่งราคาชนิดที่ “แพงจังฮู้” เชียวแหละครับ

แพงขนาดไหนเอาไว้ต่อคราวต่อไปครับ


ข้อมูล : บทความพิเศษ สุทัตตะ อนาถบิณฑิกเศรษฐี  : เศรษฐีผู้ใจบุญ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๙๕ ประจำวันที่ ๙-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗



http://www.watthaichetavan.org/images/1214297971/1220539350.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๙๒. สร้างพระเชตวัน  

เจ้าเชต ที่กล่าวถึง (ในครั้งก่อน) คือ เชตกุมาร ว่ากันว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล นาม “เชต” แปลว่า ผู้ชนะ

ที่ได้พระนามอย่างนี้ท่านว่า ด้วยเหตุผล ๓ ประการ ประการใดประการหนึ่ง คือ
๑. เพราะพระราชกุมารเป็นผู้ชนะศัตรู
๒. เพราะพระราชกุมารประสูติ เมื่อครั้งพระราชบิดา (พระเจ้าปเสนทิโกศล) ทรงรบชนะศัตรู
๓. ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น แต่ได้พระนามนี้เพราะพระราชบิดาเห็นว่าเป็นมงคลนาม จึงพระราชทานให้ หลักฐานจากฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระราชมารดาของเชตกุมาร คือ พระนางวรรษิกา คงมิได้เป็นอัครมเหสี เพราะอัครมเหสีคือ พระนางวาสภขัตติยา

เชตุกุมารกับวิทฑูฑภะ ไม่ทราบว่าใครเกิดก่อนกัน บาลีเรียกว่า “ภาตา” ภาษาฝรั่งเรียกว่า “brother” เลยไม่รู้ว่าเป็นพี่ชายหรือน้องชาย

ผมเดาเอาแล้วกัน เดาว่าเป็นพี่ชาย ที่มิได้เป็นมกุฎราชกุมาร เพราะมิได้เป็นเจ้าฟ้า อาจเป็นเพียง “พระองค์เจ้า”

วิฑูฑภะเมื่อยึดราชสมบัติจากพระราชบิดา (ทั้งๆ ที่เป็นมกุฎราชกุมารอยู่แล้ว) แล้วชวนเชตกุมารไปรบกับพวกศากยะ เพื่อชำระความแค้นแต่หนหลังของตน (เรื่องนี้เล่าไว้ในที่อื่น ประมาณ ๑๐ กว่าหนแล้วกระมัง ยังไม่ขอเล่าอีก) แต่ถูกเชตกุมารปฏิเสธ จึงสังหารเสีย

แต่พระกุมารก็ได้สร้างบุญกุศลไว้มากก่อนสิ้นพระชนม์ เพราะอานิสงส์ที่ได้คบกับสุทัตตะ หรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ได้ขอซื้อสวนเจ้าเชต เพื่อสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า

ตอนแรก เจ้าเชตปฏิเสธ

เมื่อได้ฟังคำปฏิเสธขายสวนจากเจ้าเชต เศรษฐีก็อ้อนวอนขอซื้อ เรียกว่า ตื๊อจนถึงที่สุด ว่าอย่างนั้นเถอะ

เจ้าเชตจึงพูดว่า “ให้เอากหาปณะ (กษาปณ์) มาเรียงๆ กันจนเต็มพื้นที่ทั้งหมด นั่นแหละ คือราคาของสวนนี้ละ” โอโห อะไรจะ”แพงจังฮู้” ขนาดนั้น

เศรษฐีก็แน่จริงเหมือนกัน สั่งให้ขนกหาปณะ ออกจากคลังมาปูพื้นที่  เจ้าเชตเห็นความมุ่งมั่นของเศรษฐีจึงร้องว่า พอแล้ว แค่นั้น  

ตกลงเศรษฐีจ่ายเงินไป ๑๘ โกฏิ เป็นค่าซื้อที่ดินเท่านั้นครับ

เศรษฐียังจ่ายเงินอีก ๑๘ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้าง เช่น สร้างวิหาร หอฉัน กัปปิยะกุฏี (เรือนเก็บของ) เวจกุฏี (ส้วม) ที่จงกรม ศาลาจงกรม บ่อน้ำ ศาลาบ่อน้ำ เรือนไฟ ศาลาเรือนไฟ สระโบกขรณี (สระบัว) ตลอดจนตกแต่งบริเวณมณฑลต่างๆ

เจ้าเชตช่วยสร้างซุ้มประตู ๗ ชั้นขึ้นอย่างสวยงาม

เมื่อวัดสร้างเสร็จ ได้ตั้งชื่อว่า “เชตวัน” เพื่อเป็นอนุสรณ์ของเจ้าเชต ผู้เป็นเจ้าของสวน

แค่นั้นยังไม่พอ เศรษฐีได้จัดงานเฉลิมฉลองวัดเป็นการมโหฬารยิ่ง ใช้เงินเพื่อการนี้ถึง ๑๘ โกฏิ อะไรจะปานนั้นก็ไม่รู้สิครับ

รวมเบ็ดเสร็จ วัดพระเชตวันสร้างด้วยเงินจำนวน ๕๔ โกฏิ คิดเป็นเงินไทยเท่าไหร่ก็คำนวณเอาก็แล้วกัน

เมื่อวัดสร้างเสร็จเรียบร้อย เศรษฐีก็กราบทูลอัญเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์พร้อมพระภิกษุสงฆ์ก็ได้เสด็จมาประทับ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ๕ ประการ โปรดเวไนยสัตว์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงนับแต่บัดนั้นมา

ยุคแรกที่ทรงประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ประทับที่วัดพระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ที่นี่เป็นศูนย์กลางแห่งแรกของพระพุทธศาสนา แต่หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองสาวัตถี ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล และเศรษฐีกับเศรษฐีนีสองท่าน คือ อนาถบิณฑิกะ และวิสาขามหาอุบาสิกา

ว่ากันว่า พระพุทธองค์ประทับที่วัดพระเชตวันนี้นานที่สุด พระอรรถกถาจารย์บันทึกรายละเอียดไว้ บอกพรรษาเท่าไหร่ ประทับอยู่ไหน แต่พอตอนท้ายๆ ชักจำไม่ได้ สรุปรวบยอดว่า พรรษาที่เหลือประทับอยู่ที่พระเชตวันเป็นส่วนมาก ว่าอย่างนั้น

บันทึกนั้นมีดังนี้ครับ
พรรษาที่ ๑ ประทับที่อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
พรรษาที่ ๒-๔ ประทับที่พระเวฬุวัน ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวาย
พรรษาที่ ๕ ประทับที่กุฏาคารศาลา ป่ามหาวัน แห่งเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี
พรรษาที่ ๖ ประทับที่มกุฏบรรพต
พรรษาที่ ๗ ประทับภายใต้ต้นปาริชาต ณ ดาวดึงส์สวรรค์
พรรษาที่ ๘ ประทับที่เภสกลาวัน ป่าไม้สีเสียด ใกล้สุงสุมารคิรีภัคครัฐ
พรรษาที่ ๙ ประทับที่ป่าลิเลยยกะ เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ
พรรษาที่ ๑๐ ประทับที่หมู่บ้านนาฬายพราหมณ์ (หรือนาลา) ใกล้พุทธคยา แคว้นมคธ
              (คัมภีร์พุทธองค์ว่า พรรษาที่ ๑๑)
พรรษาที่ ๑๑ ประทับที่ใต้ต้นสะเดา (ปุจิมันทพฤกษ์) เมืองเวรัญชรา ตามคำอาราธนาของเวรัญชพราหมณ์
               ว่ากันว่ามีเหตุทำให้ทรงเริ่มบัญญัติพระวินัยตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป
พรรษาที่ ๑๒ ประทับที่ปาลิยบรรพต (หรือ จาลิกบรรพต) หลักฐานบางแห่งว่า พรรษาที่ ๑๘ และ ๑๙ ก็ประทับที่นี่ด้วย
พรรษาที่ ๑๓ ประทับที่พระเชตวัน เมืองสาวัตถี
พรรษาที่ ๑๔ ประทับที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ (ศากยะ)
พรรษาที่ ๑๕ ประทับที่อัคคาฬเจดีย์ ใกล้เมืองอาฬวี ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองพาราณสี
พรรษาที่ ๑๖-๑๘ ประทับที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
พรรษาที่ ๑๙-๔๔ ประทับสลับกันระหว่าง พระเชตวัน กับบุพพาราม เมืองสาวัตถี
          (ที่พระเชตวัน ๑๙ พรรษา ที่บุพพาราม ๖ พรรษา)
พรรษาที่ ๔๕ ประทับที่เวฬุวคาม ใกล้เมืองไพศาลี แคว้นวัชชี...


ข้อมูล : บทความพิเศษ สร้างพระเชตวัน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๙๖ ประจำวันที่ ๑๖-๒๒ ม.ค. ๕๘

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มกราคม 2558 14:24:39 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 24 มกราคม 2558 15:39:39 »

.


๙๓. คนดีเทวดายังเกรง


เมื่อพูดถึงอนาถบิณฑิกเศรษฐี จะข้ามกิจการหรือผลงานสำคัญของท่านไปไม่ได้ ชาวพุทธสมัยโน้นเรียกท่านโดยนามใหม่ว่า “อนาถบิณฑิกะ” แปลว่า “ผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนอนาถาเสมอ”

หมายความท่านได้ให้ทานประจำ ไม่เฉพาะถวายทานแด่พระสงฆ์ ประชาชนทั่วไป แม้กระทั่งคนอนาถาไร้ที่พึ่ง จำพวกยาจกวณิพกทั้งหลาย ท่านก็ให้เป็นประจำ

คำ “อนาถบิณฑิกะ” นี้ ถ้าไม่แปลตามตัวอักษร แปลเอาความก็คือ “เศรษฐีผู้ใจบุญ” นั่นเอง

ผมเปิดดูพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ อยากจะรู้ว่าเขาแปลคำนี้อย่างไร ก็ปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง ที่เขาแปลเหมือนผมเดี๊ยะเลย เขาแปลว่า the benefactor ขอรับ

ความใจบุญของท่านเห็นได้ตั้งแต่วันแรกที่สร้างวิหารเสร็จ ก่อนจัดงานเฉลิมฉลองเป็นการมโหฬาร ท่านได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านท่าน พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ท่านได้ถวายภัตตาหารที่ประณีต

วันรุ่งขึ้นได้จัดงานเฉลิมฉลองพระวิหารเป็นการใหญ่ เป็นเวลา ๙ เดือน

หมดเงินสำหรับการนี้ จำนวน ๑๘ โกฏิ

รายละเอียดเอาเงินนี้ไปทำอะไรบ้าง ไม่ได้บอกไว้ คงรวมเบ็ดเสร็จหมดทุกอย่าง กล่าวเฉพาะทานที่ท่านถวายประจำ มีดังนี้
- สลากภัต ๕๐๐ ที่ สลากภัต คือ อาหารถวายตามสลากตามปกติ ไม่ได้ทำคนเดียว มักทำในเทศกาล เช่น เทศกาลผลไม้เผล็ดผล เป็นต้น คือ ทายกทั้งหลายต่างคนต่างเอาของมา (ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอาหาร อย่างอื่นก็ได้) เมื่อเอาของมารวมกันแล้ว ก็ทำสลากจดชื่อเจ้าภาพลงบนกระดาษใบละชื่อ ม้วนรวมกัน แล้วถวายให้พระท่านจับ พระท่านจับได้หมายเลขอะไร ก็ไปรับของจากทายกนั้น แต่เศรษฐีอาจทำคนเดียวกับครอบครัว คือ จัดไว้ ๕๐๐ ที่ เขียนหมายเลขกำกับไว้ แล้วให้พระท่านจับสลากหมายเลขอะไร ก็รับของถวายตามหมายเลขนั้น อย่างนี้ทำเป็นกิจวัตรทุกวันได้ ไม่มีปัญหา
- ปักขิตภัต ๕๐๐ ที่ เช่นเดียวกับสลากภัต แต่ของที่ถวายเป็นข้าวยาคู นัยว่าธรรมเนียมถวายข้าวยาคู เกิดในสมัยอนาถบิณฑิกเศรษฐี กับนางวิสาขามหาอุบาสิกานี้แหละ  คือท่านทั้งสองเห็นว่า พระท่านกว่าจะบิณฑบาตได้ข้าวและฉัน ก็มักสายมากแล้ว ท่านคงหิวมาก จึงถวายข้าวยาคูให้ฉัน “เอาแรง” ก่อน ทำนองถวายข้าวต้มแด่พระภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันนี้นั่นแล ว่ากัน (อีก) ว่า สมัยก่อนพระท่านฉันมือเดียวทุกรูป การฉันข้าวยาคูนี้เองได้กลายมาเป็นอาหารมื้อเช้าในเวลาต่อมา
- ปักขิกยาคู ยาคูที่ถวายทุก ๑๕ วัน ๕๐๐ ที่
- ธุวภัต ภัตตาหารที่ถวายทุกวันมิได้ขาด ๕๐๐ ที่
- อาคันตุกภัต อาหารที่ถวายแด่ภิกษุผู้จะเดินทางมาจากที่ไกล ๕๐๐ ที่
- คมิกภัต อาหารที่ถวายแด่ภิกษุผู้จะเดินทางไกล ๕๐๐ ที่
- คิลานภัต อาหารที่ถวายแด่ภิกษุไข้ ๕๐๐ ที่
- คิลานุปัฏฐากภัต อาหารที่ถวายแก่ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ๕๐๐ ที่

ท่านถวายอย่างละ ๕๐๐ ที่เป็นประจำมิได้ขาด ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านเป็น “อัครทายก” (ทายก หรือผู้ถวายทานที่เลิศ)

ผู้ร่ำรวยระดับอภิมหาเศรษฐีอย่างท่านอนาถบิณฑิกะก็มีมาก แต่ในบรรดาเศรษฐีใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใครใจบุญทุ่มทรัพย์สินเงินทอง เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนามากมายเท่าท่านอนาถบิณฑิกะ” ด้วยเหตุนี้สมญานามว่า “เศรษฐีใจบุญ” จึงเหมาะสมกับท่านอย่างยิ่ง”

มาคราวหนึ่งเศรษฐกิจ “ตกสะเก็ด” ธุรกิจของท่านประสบปัญหา ทำมาค้าขายขาดทุน เงินทองร่อยหรอลงตามลำดับ แต่ท่านก็ยังถวายทานเป็นประจำเช่นเดิม ไม่ตัดงบส่วนที่กันไว้สำหรับทำบุญแม้แต่บาทเดียว ว่าอย่างนั้นเถอะ คงจะคิดว่าจะจนเพราะทำบุญทำทานก็ให้มันรู้ไป อะไรทำนองนั้นกระมัง

จนเทวธิดาที่สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูทนไม่ได้ นัยว่าเพราะสงสารเศรษฐี มาปรากฏตัวต่อหน้าเศรษฐี บอกมิให้เศรษฐีทำบุญทำทานมากนัก ลดลงเสียบ้าง ทำจนยากจนลงทุกวันเห็นไหม อะไรทำนองนั้น

เศรษฐีถามว่า “ท่านเป็นใคร มาพูดอย่างนี้กับข้าพเจ้า”
“เป็นเทวธิดาที่อยู่ซุ้มประตูของท่าน”

เท่านั้นแหละครับ ได้เรื่องเลย เศรษฐีตวาดว่า การที่ได้เกิดเป็นเทพ ไม่ว่าเทพชั้นสูงหรือต่ำเป็นผลจากการทำทานรักษาศีล ท่านยังไม่รู้หรือ ท่านยังจะมาห้ามมิให้ข้าพเจ้าทำบุญทำทานหรือ เท่ากับว่าเป็นเทพอันธพาล คน เอ๊ย เทพอย่างท่านไม่สมควรอยู่ที่บ้านข้าพเจ้า จะไปไหนก็ไป

เทวธิดาจึงจำต้องออกจากซุ้มประตูบ้านเศรษฐี เร่รอนไปหาที่อยู่ใหม่  หาที่ไหนก็ไม่ได้ ต้องกลับมาขอโทษเศรษฐี เศรษฐีก็ยกโทษให้ แล้วอนุญาตให้สิงอยู่ที่เดิมต่อไป

เรื่องอย่างนี้คนธรรมดาที่มองไม่เห็นแล้วเอามาเล่า ก็อาจมีบางคนว่าโม้หรือฝอย  แต่เรื่องอย่างนี้ถ้าตนยังไม่สามารถพิสูจน์เองได้ (เพราะไม่มีเครื่องมือพิสูจน์) ก็มิบังควรรีบปฏิเสธ รับฟังท่านไว้ก็ไม่เสียหลาย

ในคราวที่ท่านเศรษฐีตกอับ กิจการค้าขายขาดทุนนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบ หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการจาริกไปสั่งสอนประชาชนที่แว่นแคว้นต่างๆ พระองค์ตรัสถามเศรษฐีว่า ยังให้ทานเหมือนเดิมหรือเปล่า เศรษฐีกราบทูลว่า ยังให้เป็นประจำเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าตอนนี้อาหารและสิ่งของที่ถวายมิได้ประณีตเท่าเดิม เพราะเศรษฐกิจซบเซา

พระพุทธองค์ตรัสว่า วัตถุที่ให้นั้นจะเศร้าหมองหรือประณีต (แปลเป็นไทยง่ายๆ คือจะราคาแพงหรือถูก หรือจะดีหรือไม่ดี) ก็ตาม นั่นมิใช่สิ่งสำคัญ เจตนาและความเลื่อมใส ตลอดจนกิริยาอาการที่ให้นั้นสำคัญกว่า

ถ้าให้ด้วยความไม่เคารพ ไม่นอบน้อม มิได้ให้ด้วยมือของตน ให้แบบทิ้งๆ ขว้างๆ สักแต่ให้ ไม่เชื่อในกรรมและผลของกรรม ทานนั้นไม่ว่าจะประณีตเพียงใด ก็ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ถ้าให้ด้วยความเคารพนอบน้อม ให้ด้วยมือของตน ไม่ทิ้งให้เทให้ ให้เพราะเชื่อมั่นในกรรมและผลของกรรม ทานนั้นย่อมมีอานิสงส์มาก

แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องเวลาพราหมณ์ให้เศรษฐีฟัง เพื่อให้กำลังใจแก่เศรษฐี

พราหมณ์คนนี้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี เป็นอาจารย์สอนศิษย์ที่เป็นขัตติยราชกุมารถึง ๘๔ องค์ มีทรัพย์สมบัติมากมาย ให้ทานเป็นการใหญ่ ด้วยจิตศรัทธาเชื่อมั่นในผลของการทำบุญกุศล

จนการให้ทานของเขาเป็นที่รู้กันกว้างขวาง ในนาม “เวลามหายัญ” (ยัญยิ่งใหญ่ของเวลามะ)

พระพุทธองค์ตรัสเล่าเรื่องนี้แล้ว ทรงสอนต่อไปว่า ทานนั้นไม่ว่าจะยิ่งใหญ่เพียงใด ไม่ว่าจะสร้างวัดวาอารามมากมายเพียงไร ก็ยังสู้การถึงไตรสรณคมน์ (ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก) การรักษาศีล การเจริญเมตตา และการรำลึกถึงความเป็นอนิจจัง ไม่ได้หมายความว่าสี่อย่างหลังนี้ยิ่งใหญ่กว่าการให้วัตถุเป็นทาน

ทรงเตือนเศรษฐีว่าอย่าขวนขวายแต่เรื่องให้วัตถุทานเพียงอย่างเดียว บำเพ็ญศีลและภาวนาบ้าง

ทั้งนี้ก็เพราะว่า ท่านเศรษฐีไปวัดบ่อยก็จริง เวลาท่านไปวัดเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นเวลาเช้านำภัตตาหารไปถวายพระองค์และภิกษุสงฆ์ ถ้าหลังจากเวลาฉันแล้ว ท่านก็จะให้นำเภสัช เช่น เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ถ้าไปเวลาเย็นก็จะให้คนถือดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เป็นต้นไป

ไม่เคยทูลถามธรรมปฏิบัติจากพระพุทธองค์เลย เพราะเกรงว่าพระพุทธองค์จะเหนื่อย อยากให้พระพุทธองค์ทรงพักผ่อนให้มาก หลังจากเทศนาโปรดประชาชนมามากมาย

เศรษฐีท่านคิดอย่างนี้จริงๆ ครับ จนพระพุทธองค์ตรัสเปรยๆ ในครั้งนี้ว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีรักษาดูแลพระองค์ในฐานะที่ไม่ควรรักษาดูแล พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาด้วยความยากลำบาก ก็เพื่อสอนคนอื่น แต่เศรษฐีไม่ชอบฟังธรรม ไม่ยอมซักถามธรรมจากพระองค์เลย

เล่นเอามหาอุบาสกเขิน จนต้องนั่งลงฟังธรรมจากพระองค์เสีย ๑ กัณฑ์ หลังจากได้ฟังธรรมแล้ว เกิดฉันทะในการฟังธรรมยิ่งขึ้น (เพิ่งจะรู้ว่ารสพระธรรมนั้นอร่อยหวานมันแค่ไหน) คราวนี้ก็เลยเป็นนักฟังธรรมตัวยงคนหนึ่ง ไม่ฟังเฉพาะพระพุทธองค์ ยังนิมนต์พระเถระอาวุโสอื่นๆ ไปแสดงธรรมให้ฟังที่บ้านด้วย

พระสารีบุตรดูเหมือนจะได้รับนิมนต์บ่อย แต่พระสารีบุตรท่านเป็นนักวิชาการ อธิบายธรรมแต่ละข้ออย่างละเอียดลึกซึ้ง ผู้ฟังต้อง “ปีนบันไดฟัง” เลยเชียวแหละ ท่านเศรษฐีก็ฟังรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรแสดงธรรมง่ายเป็นพิเศษ แทนที่จะใช้ภาษานักวิชาการ ท่านเทศน์ง่ายๆ เศรษฐีฟังแล้วซาบซึ้งจนน้ำตาไหล

กราบงามๆ สามครั้งแล้ว เศรษฐีก็เรียนท่านว่า ทำไมท่านไม่แสดงธรรมะง่ายๆ อย่างนี้ให้โยมฟังบ้าง ต่อไปนิมนต์ท่านแสดงธรรมอย่างนี้เถิด

ธรรมะอะไรที่ท่านพระสารีบุตรแสดงแล้ว อนาถบิณฑกเศรษฐีฟังเข้าใจและขอร้องให้ท่านแสดงง่ายๆ เช่นนี้ต่อไป คราวหน้าจะนำมาเล่าให้ฟังครับ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ คนดีเทวดายังเกรง โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๙๙๗ ประจำวันที่ ๒๓-๒๙ มกราคม ๒๕๕๘




๙๔. จ้างลูกชายฟังธรรม
(บุตรชายเศรษฐี)


ว่าจะเล่าธรรมเทศนาที่พระสารีบุตรแสดงแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี แล้วเศรษฐีดีใจที่พระเถระแสดงธรรมง่ายๆ ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ ที่ต้อง “ปีนบันไดฟัง”  อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงขอร้องให้ท่านแสดงธรรมง่ายๆ อย่างนี้ต่อไป

คราวนี้ยังไม่ขอเล่าขอรับ (เพราะยังไม่มีเวลาค้นดูต้นฉบับ) เอาไว้คราวหน้า คราวนี้ขอ “โฟกัส” ไปยังชีวิตภายในครอบครัวของท่านเศรษฐีก่อน

ดังที่เล่ามาแล้วว่า ท่านเศรษฐีมีบุตรชายโทนกับบุตรสาวอีกสามคน

บุตรสาวทุกคนใจบุญสุนทานตามอย่างบิดาเลยทีเดียว บิดาจึงมอบให้ดูแลเกี่ยวกับการทำบุญเลี้ยงพระด้วย

พระที่รับนิมนต์มาฉันบ้านเศรษฐีประจำ มีจำนวนวันละพันรูป ที่บ้านจึงต้องมีผู้คนตระเตรียมอาหารถวายพระ ยังกับมีงานมหรสพทุกวันก็ว่าได้

มหาสุภัททา ลูกสาวคนโตเป็นแม่งานใหญ่ดูแลสั่งการทุกอย่าง งานดำเนินมาด้วยความเรียบร้อยตลอดมา  พอสุภัททาแต่งงานออกเรือนไปแล้ว น้องสาวคนรองคือจุลสุภัททา ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน ครั้นจุลสุภัททาแต่งงานไปอยู่กับครอบครัวพ่อแม่สามีแล้ว น้องคนสุดท้องชื่อสุมมาเทวี รับหน้าที่แทน

ครับ มีลูกสาวก็ดีอย่างนี้แหละ แบ่งเบาภาระได้ ตัวท่านเศรษฐีนั้นไม่มีเวลาว่างเลย ไปเป็นที่ปรึกษาในกิจการงานบุญของชาวบ้านตลอดเวลา เพราะท่านเป็นผู้ใกล้ชิดพระศาสนา ใกล้ชิดพระสงฆ์ ใครจะทำบุญเลี้ยงพระ หรือจัดงานบุญอื่นๆ ต้องมาขอคำแนะนำจากท่านอนาถบิณฑิกะตลอด

งานภายในบ้านต้องมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของบุตรสาว

แล้วบุตรชายคนโตและคนเดียวของเศรษฐีเล่า ไม่ได้ช่วยอะไรเลยหรือ

ในเบื้องต้นแล้วไม่ได้ช่วยอะไรเลยครับ เป็นบุตรไม่เอาถ่าน เอาแต่เที่ยวเตร่เป็นเพลย์บอยตามประสาลูกมหาเศรษฐี

ดีว่าสมัยโน้นไม่มีรถซิ่ง ถ้ามีแกคงซิ่งรถแข่ง ไม่มีโอกาสตายตอนแก่ (รถคว่ำตาย) ก็อาจเป็นได้

ท่านเศรษฐีเองก็ “เจ๊กอั่ก” ที่มีลูกชายไม่เอาไหน แต่ท่านก็ใจเย็น คอยหาวิธีอบรมลูกชายด้วยความอดทน สารพัดเทคนิควิธี ท่านได้คิดค้นออกมาเพื่อจะปรับเปลี่ยนนิสัยของลูกชาย แต่ก็ไม่เป็นผล

ในที่สุด ท่านก็คิดได้วิธีหนึ่งขึ้นมาคือ “จ้างลูกไปฟังธรรม”

ท่านเรียกลูกชายมาต่อรองว่า ถ้าลูกไปฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงวันละครั้ง พ่อจะให้เงินเท่านั้นเท่านี้ คงให้มากโขกอยู่  ลูกชายจึงตกลงไปฟังธรรมที่วัดพระเชตวันทุกเย็น ว่ากันว่า แกไปวัดเพราะอยากได้เงิน มิใช่อยากได้ความรู้ธรรม

เมื่อไปถึงก็มองหาทำเลเหมาะนั่งฟังธรรม แลเห็นใต้ธรรมาสน์เหมาะเหม็งดี จึงคลานเข้าไปนั่งฟังธรรม หลับไปอยู่ตรงนั้นเอง เมื่อฟังจบก็ลุกขึ้นกลับบ้าน แบมือทวงค่าจ้าง “ไหนเงิน”

“กินข้าวกินปลาก่อนค่อยเอาก็ได้” คุณพ่อบอก
“ไม่ได้ ต้องเอาเงินมาก่อน” ลูกชายกลัวเบี้ยว เศรษฐีต้องเอาถุงเงินมาวางไว้ตรงหน้า พอเจ้าประคุณจึงจะยอมกันข้าว

เหตุการณ์เป็นไปอย่างนี้พอสมควร วันหนึ่ง พ่อบอกลูกชายว่าถ้าลูกฟังแล้วจำได้วันละบท พ่อจะให้บทละเท่านั้นเท่านี้ ถ้าจำได้มาก พ่อก็จะให้มาก

บุตรชายดีใจมากที่พ่อจะขึ้น “ค่าตัว” จึงตั้งใจฟังตั้งแต่ต้น

พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า เด็กหนุ่มต้องการจดจำพระธรรมให้ได้มากที่สุด พระพุทธองค์จึงแสดงธรรมให้เขาค่อยกำหนดทีละประโยค จนกระทั่งจบพระธรรมเทศนา เขาได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

เขาได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านเขาในวันรุ่งขึ้น

วันนั้นเขารีบกลับบ้าน รีบกินข้าว ไม่พูดถึงเงินค่าจ้างเลย รุ่งเช้าขึ้นมาเขาก็รีบไปวัดพระเชตวัน อุ้มบาตรพระพุทธองค์ตามเสด็จมาถึงคฤหาสน์ของตน ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธองค์และพระสงฆ์ “ด้วยมือของตน”

ตรงนี้ขอแทรกนิดหน่อย สำนวนภาษาว่า “เลี้ยงพระสงฆ์ด้วยมือของตน” มิใช่เข้าครัวทำกับข้าวเอง

เป็นประเพณีชาวชมพูทวีปสมัยโน้น เวลาจะถวายอาหารพระ ญาติโยมจะถวายภาชนะ (จานหรือชาม) เปล่าหนึ่งใบ ตัวเองก็ถือขันข้าวและแกงกับตักถวายพระท่านลงในภาชนะเดียวกัน (สมัยพุทธกาล พระท่านฉันในบาตรส่วนมาก) พระท่านก็ “ฉันมือ” (คือใช้มือแทนช้อนส้อม) ถ้าท่านพอแล้วก็ยกมือเป็นสัญญาณว่าพอแล้ว เสร็จแล้วก็ถวายน้ำล้างมือและผ้าเช็ดมือ

อย่างนี้เรียกว่า “เลี้ยงพระสงฆ์ด้วยมือของตน”

เมื่อพระพุทธองค์พร้อมภิกษุเสวยเสร็จ จะประทานอนุโมทนา เศรษฐีผู้เป็นพ่อก็นำเอาถุงทรัพย์ถุงใหญ่มาวางไว้ต่อหน้าลูกชาย กล่าวดังๆ ว่า “เอ้า นี่ค่าจ้างฟังธรรม รับไว้ซะ” ลูกชายถลึงตาใส่พ่อว่า อย่าพูดอย่างนั้น พ่อยังไม่ “เก็ต” กล่าวว่า ค่าฟังธรรมของลูก รับไว้เสีย เล่นเอาบุตรชายเศรษฐีหน้าแดงด้วยความละอาย

พระพุทธองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไรมาตั้งแต่ต้น พระองค์ตรัสกับเศรษฐีว่า “อนาถบิณฑิกะ” บัดนี้บุตรชายท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ไม่ยินดีรับทรัพย์ภายนอกใดๆ เพราะได้ทรัพย์ภายในแล้ว” เสร็จแล้วพระองค์ก็ตรัสคาถาสอนธรรมสั้นๆ บทหนึ่งว่า
     ปฐพฺยา เอกรชฺเชน    สคฺคสฺส คมเนน วา
     สพฺพโลกาธิปจฺเจน    โสดาปตฺติผลํ วรํ
     ยิ่งกว่าเอกราชทั่วแผ่นดิน  ยิ่งกว่าขึ้นสวรรคาลัย
     ยิ่งกว่าอธิปไตยในโลกทั้งปวง  คือพระโสดาปัตติผล
     Than sole sovereignty over the earth, than going to celestial worlds,
     than lordship over all the worlds,  is the fruit of a stream-winner.

ก็เป็นอันว่า ท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกชายได้สำเร็จ หมดเงินไปเท่าไหร่ไม่ทราบ แต่ก็คุ้ม เพราะหลังจากนั้น นายกาละ ลูกชายโทนของท่านก็เป็นอุบาสกคนสำคัญอีกคนหนึ่ง ผู้เป็นพ่อเองก็ “ตายตาหลับ” ว่าอย่างนั้นเถิด

มีลูกไม่ดีนี่ อย่าว่าแต่จะตายตาไม่หลับเลยครับ ขณะยังไม่ตายนี่แหละ กลุ้มอกกลุ้มใจดุจไฟลน เรื่องของโลกก็อย่างนี้แหละ ไม่มีบุตรชายก็กลุ้ม เพราะค่านิยมถือว่าบุตรชายเป็นผู้สืบสกุล ถึงกับพูดว่า “แต่งงานแล้วไม่มีบุตรสืบสกุล จะตกนรกขุมปุตตะ” พอมีบุตรชายมา บุตรชายไม่เอาไหน เกเรเกตุง ก็ “ตกนรก” อีกเช่นกัน

เพราะเหตุนี้แหละ เมื่อเทวดาองค์หนึ่งมากล่าวภาษิตถวายพระพุทธองค์ว่า “คนมีบุตรเพลิดเพลินเพราะบุตร” พระองค์ตรัสว่า ไม่ถูกดอก นั่นมันมองโลกแบบโลกียชน ในสายตาของพระอริยเจ้าแล้ว ท่านเห็นตรงกันข้าม ท่านเห็นว่า “คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร” ต่างหาก

ท่านผู้อ่านละครับ จะถือข้างไหน

คือจะเสมอข้าง “คนมีบุตร เพลิดเพลินเพราะบุตร” หรือ “คนมีบุตร เศร้าโศกเพราะบุตร” หรือจะเอาทั้งสองอย่าง เพลิดเพลินก็เอา เศร้าโศก (ถึงไม่เต็มใจ) ก็ยอมรับ สำหรับผมขอจบแค่นี้ก่อน...


ข้อมูล : บทความพิเศษ จ้างลูกชายฟังธรรม โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๙๙๘ ประจำวันที่ ๓๐ ม.ค.-๕ ก.พ. ๒๕๕๘

.


๙๕. จ้างลูกสาวคนโตและคนรอง
(มหาสุภัททากับจุลสุภัททา)


เล่าเรื่องลูกชายคนโตของอนาถบิณฑิกเศรษฐีมาแล้ว คราวนี้มาเล่าเรื่องลูกสาวของท่านบ้าง หมดเรื่องลูกสาวแล้วค่อยเล่าเรื่องภรรยา

ท่านเศรษฐีมีลูกสาวสามคน คือ มหาสุภัททา จุลสุภัททา และสุมนาเทวี

ในตำราระดับอรรถกถาเล่าเรื่องของนางมหาสุภัททากับจุลสุภัททา ปนกันจนเป็นเรื่องคนเดียวกัน

เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ ในคัมภีร์อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกายว่าเป็นเรื่องของพี่สาว (มหาสุภัททา) แต่ในอรรถกถาธรรมบท (อรรถกถาแห่งขุททกนิกาย) บอกว่าเป็นเรื่องของจุลสุภัททา

เรื่องมีดังนี้

สมัยอนาถบิณฑิกเศรษฐียังหนุ่มแน่น มีสหายรักอยู่คนหนึ่ง ชาวเมืองอุคคนคร ทั้งสองคนรู้จักกันและได้เป็นสหายกัน เพราะเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์เดียวกัน  ทั้งสองได้สัญญากันว่า เมื่อต่างคนต่างแต่งงานมีลูกมีเต้าแล้ว ถ้าใครมีลูกชายก็ขอให้หมั้นหมายกับลูกสาวของอีกฝ่ายหนึ่ง

หลังจากเรียนจบกลับมาบ้านเมืองของตน ทั้งสองต่างก็ได้เป็นเศรษฐี เป็นศักดิ์เป็นศรีแก่บ้านเมืองของตน  

วันหนึ่ง อุคคเศรษฐีเดินทางไปด้วยเรื่องธุรกิจที่เมืองสาวัตถี ได้ทราบว่าสุทัตตะ (นามเดิมของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี) มีบุตรสาวถึงสามคน ตนมีลูกชายคนหนึ่ง จึงทวงสัญญาที่เคยให้กันไว้สมัยยังเป็นนักศึกษา

เศรษฐีจึงเรียกจุลสุภัททา (อรรถกถาอังคุตตรนิกายว่าเป็นมหาสุภัททาผู้พี่) บอกว่าพ่อได้หมั้นหมายเจ้าไว้กับลูกอุคคเศรษฐี ตั้งแต่ลูกยังไม่เกิด บัดนี้เขามาทวงสัญญาแล้ว ลูกจะต้องแต่งงานกับลูกชายเขา

ธรรมเนียมสมัยโน้น แน่นอนย่อม “คลุมถุงชน” เป็นปกติธรรมอยู่แล้ว ลูกสาวจำต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพ่อแม่ งานแต่งงานอันใหญ่โตโอฬารก็เกิดขึ้น

สมัยโน้น ฝ่ายหญิงต้องไปอยู่กับตระกูลฝ่ายสามี พ่อแม่จึงให้โอวาทสอนแล้วสอนอีกว่า แต่งงานแล้วจะต้องปรนนิบัติพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร โอวาท ๑๐ ข้อที่พ่อนางสุภัททาสอนนางนั่นแหละครับ เป็นโอวาที่พ่อแม่ทุกคนนำมาสอนลูก

โอวาท ๑๐ ข้อนั้น คือ
๑. ไฟในอย่านำออก (อย่านำเรื่องภายในครอบครัวไปนินทาให้คนข้างนอกฟัง)
๒. ไฟนอกอย่านำเข้า (อย่าเอาเรื่องของคนข้างนอกมานินทาให้ครอบครัวฟัง)
๓. จงให้คนที่ให้ (คนยืมของแล้วคืน มายืมอีกจงให้)
๔. อย่าให้คนไม่ให้ (คนที่ยืมของแล้วไม่คืน ภายหลังอย่าให้ยืมอีก)
๕. จงให้คนที่ไม่ให้ (ญาติพี่น้อง ถึงเขายืมแล้วไม่คืนก็ให้)
๖. นั่งให้เป็นสุข (นั่งในที่ไม่ต้องลุก คืออย่านั่งขวางทางคนอื่น)
๗. นอนให้เป็นสุข (อย่านอนขวางทางคนอื่น)
๘. กินให้เป็นสุข (ไม่กินในที่ที่ขวางทางคนอื่น)
๙. จงบูชาไฟ (ให้ปรนนิบัติพ่อสามี แม่สามี และสามีให้ดี)
๑๐. จงบูชาเทวดา (ให้ทานต่อสมณะชีพราหมณ์)

เวลาพ่อจะส่งลูกสาวให้ไปอยู่กับตระกูลสามี พ่อได้ส่งกฎุมพี ๘ คน ไปเป็นหูเป็นตาช่วยดูแลลูกสาวด้วย ถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับลูกสาว ก็ให้กฎุมพีทั้ง ๘ ช่วยวินิจฉัยด้วย คล้ายส่งที่ปรึกษาไปช่วยดูแลแทนนั้นแหละครับ

ว่ากันว่า ตระกูลสามีเป็น “มิจฉาทิฐิ” ในความหมายนี้ก็คือ พวกเขานับถือสมณะชีพราหมณ์ลัทธิอื่น

นัยว่าตระกูลนี้นับถือพวกชีเปลือย (ศาสนาเชน หรือนิครนถ์นาฏบุตร) ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นในอินเดียสมัยโน้น

เวลามีงานมงคล พ่อสามีจะสั่งสอนให้ลูกสะใภ้มาไหว้สมณะที่เขาเคารพนับถือ นางก็ไม่ค่อยไป เมื่อบ่อยเข้าพ่อสามีก็หาว่าลูกสะใภ้หัวแข็ง ไม่เคารพต่อสามี มีความผิดมหันต์ถึงขั้นต้องส่งกลับตระกูลเดิม

ว่ากันว่า สตรีที่ตระกูลของสามีส่งกลับบ้าน นับว่าเป็นกาลกิณีใหญ่หลวง เป็นความอัปยศอย่างสุดประมาณ เผลอๆ พ่อแม่อาจไม่รับคืนบ้าน ขับไล่ไสส่งให้ไปอยู่ที่อื่นอีกต่างหาก

สุภัททาเธอเห็นว่า เรื่องจะไปกันใหญ่ จึงเล่าเรื่องให้กฎุมพี ๘ คนฟัง

กฎุมพีทั้ง ๘ จึงไปไกล่เกลี่ยไม่ให้เศรษฐีเอาเรื่อง เพราะนางไม่ผิด นางมีสิทธิ์นับถือศาสนาใดๆ ก็ได้ที่ตนเลื่อมใส ไม่ควรบังคับให้นับถือชีเปลือย

ภรรยาเศรษฐียังไม่วายบ่น ว่าลูกสะใภ้ฉันมันหัวแข็งและปากไม่ดี หาว่าพระของพวกฉันไม่มียางอาย อยากรู้นักว่า พระของนางดีเด่นแค่ไหน

สุภัททาจึงกล่าวโศลกพรรณนาคุณของพระของนางให้ฟัง ดังนี้ครับ

ท่านมีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ยืนเดินเรียบร้อย มีจักษุทอดลงต่ำ พูดพอประมาณ สมณะของฉันเป็นเช่นนี้

กายกรรมหมดจด วจีกรรมหมดจด มโนกรรมก็หมดจด สมณะของฉันเป็นเช่นนี้

ท่านบริสุทธิ์ ไร้มลทิน ดุจสังข์ขัด และดุจมุกดามณี บริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยธรรมอันหมดจด สมณะของฉันเป็นเช่นนี้

ชาวโลกฟูเมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ ฟุบเมื่อเสื่อมลาภ เสื่อมยศและนินทา

สมณะของฉันไม่ฟูหรือฟุบ ไม่ว่าจะมีลาภหรือเสื่อมลาภ มียศหรือเสื่อมยศ มีสรรเสริญหรือนินทา จิตใจท่านมั่นคง สมณะของฉันเป็นเช่นนี้

แม่สามีกล่าวว่า เธอจงแสดงสมณะของเธอให้ฉันดูเดี๋ยวนี้ นางรับว่า ได้ พรุ่งนี้ฉันจะนิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารที่บ้านให้ดูเป็นขวัญตา ว่าแล้วนางก็ขึ้นบนปราสาทชั้นบน ผินหน้าไปทางพระเชตวัน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทำการบูชาด้วยดอกไม้ของหอมแล้วกราบทูลอาราธนาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกสุภัททาขออาราธนาพระสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมาฉันภัตตาหารที่บ้านของลูกในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”

เสร็จแล้วก็ซัดดอกมะลิไปในอากาศ ๘ กำ ดอกไม้นั้นลอยหายวับไปกับตาอย่างมหัศจรรย์ แล้วมาตกลงเบื้องพระบาทของพระพุทธองค์ที่พระเชตวัน ขณะทรงแสดงธรรมอยู่

หลังทรงแสดงธรรมเสร็จ อนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลอาราธนาให้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่บ้านท่าน พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ตถาคตรับนิมนต์สุภัททา บุตรสาวท่านแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุภัททาบุตรสาวข้าพระองค์อยู่ถึงอุคคนคร ไกลลิบเลย นางมาทูลอาราธนาพระพุทธองค์ได้อย่างไร”

ของพรรค์นี้ง่ายนิดเดียว นางสุภัททาเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ย่อมสามารถส่งกระแสจิตมานิมนต์พระพุทธองค์ได้ หรือแม้นางไม่ได้เป็นพระอริยะระดับใด พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นสัพพัญญูย่อมทรงทราบอยู่แล้ว พระองค์มิได้ตอบอนาถบิณฑิกเศรษฐีอย่างนี้ แต่ตรัสเป็นคาถา (โศลกประพันธ์) ว่า

สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล ดุจเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษต่างหาก แม้อยู่ไกลก็ไม่ปรากฏ ดุจลูกศรที่ยิงในเวลากลางคืน (มองไม่เห็น)

ว่ากันว่า วิสสุกรรมเทพบุตร นิรมิตเรือนยอดใหญ่โตให้พระพุทธองค์ประทับพร้อมภิกษุสงฆ์ แล้วเรือนยอดก็ลอยลิ่วๆ จากพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ไปยังอุคคนครปรากฏต่อสายตาครอบครัวอุคคเศรษฐี เป็นที่อัศจรรย์นัก

เศรษฐีเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เลยทิ้งศาสนาเดิม หันมานับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะพร้อมครอบครัว ถวายทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ๗ วันติดต่อกัน

เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับเมืองสาวัตถี พระองค์รับสั่งให้พระอนุรุทธะอยู่ก่อน เพื่ออนุเคราะห์นางสุภัททาและครอบครัวสามี

เรื่องที่เล่านี้ไม่รู้ว่าสุภัททาไหน มหาสุภัททาหรือจุลสุภัททา

เอาเป็นว่าสุภัททาบุตรสาวของเศรษฐีก็แล้วกัน...


ข้อมูล : บทความพิเศษ ลูกสาวคนโตและคนรอง โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๙๙ ประจำวันที่ ๖-๑๒ ก.พ. ๒๕๕๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2558 14:47:50 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558 09:18:22 »

.


๙๖. เมื่อลูกกลายเป็นพี่ของพ่อ
(สุมนาเทวี)


ลูกสาวคนโตและคนรองของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อ มหาสุภัททา และ จุลสุภัททา ตามลำดับ

สองคนนี้คัมภีร์พระพุทธศาสนาเล่าประวัติปะปนกัน จนแยกไม่ออกว่าใครเป็นสุภัททาผู้พี่ ใครเป็นสุภัททาผู้น้อง เพราะทั้งสองคนต่างก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน และทั้งสองก็ได้แต่งงานกับสามีที่คู่ควรกัน และได้ไปอยู่ที่ตระกูลสามี ตามประเพณีของชาวชมพูทวีป

ทั้งสองเป็นพระอริยบุคคลระดับพระโสดาบัน มีศรัทธา ไม่คลอนแคลนในพระรัตนตรัย ไม่เหมือนปุถุชนยัง “แกว่ง” ไปมาอยู่

เมื่อเธอทั้งสองเป็นสาวิกาผู้แน่วแน่มั่นคง จึงไม่แปลกที่สามารถ convert ทั้งสามีและพ่อแม่สามี ให้ละทิ้งลัทธิคำสอนเดิมที่ตนเคยนับถือ หันมานับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต

เมื่อพี่สาวทั้งสองออกเรือนไปแล้ว หน้าที่ในการดูแลการถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ประจำก็ตกอยู่ที่สุมนาเทวี บุตรสาวคนเล็กของท่านเศรษฐี

ท่านเศรษฐีนั้นคงไม่มีเวลามาดูแล เพราะต้องยุ่งกับธุรกิจค้าขาย และไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ดูแลวัดและความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ ตลอดถึงเป็นที่ปรึกษาในกิจการงานบุญที่ชาวบ้านอื่นๆ เขาทำด้วย

นัยว่า เวลาชาวบ้านเขาจะทำบุญทำทาน เขาก็มักเชิญท่านเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกาไปให้คำปรึกษาหารือ ทำนองมรรคนายก และมรรคนายิกา อะไรอย่างนั้นแหละ

แล้วอย่างนี้ท่านจะมีเวลาที่ไหน ก็ต้องให้ลูกสาวรับหน้าที่ดูแลกิจการภายในบ้านแทน  

เมื่อพี่สาวทั้งสองคนออกเรือนไปแล้ว นางสุมนาเทวีน้องสาวคนเล็กก็ดูแลแทน ส่วนพี่ชายคนโต (นายกาละ) ในช่วงระยะเวลาที่กล่าวถึงนี้ คงเกเรเกตุง คุมผับบาร์ทั่วไป ไม่สนใจเรื่องทำบุญสุนทาน หรือเข้าวัดฟังธรรม  ซึ่งก็เป็นธรรมดา ลูกชายโทนส่วนมากมักจะมีนิสัยออกมาแนวนี้ เพราะถูกเลี้ยงอย่างเอาอกเอาใจ

เดชะบุญที่ในที่สุดท่านเศรษฐีผู้พ่อ “ดัดสันดาน” ได้สำเร็จ เรียกว่าถึงพ่อจะตายก็ตายตาหลับแล้ว ว่าอย่างนั้นเถอะ

วิธีฝึกลูกชายของเศรษฐี (ดังได้เล่าไว้แล้วในตอนก่อน) คือจ้างลูกไปฟังธรรมให้มันแพงๆ มันอยากได้เงินเที่ยวผับเที่ยวบาร์มากๆ มันก็ไปฟังเอง ตอนแรกก็จ้างให้ไปวัดฟังธรรมเฉยๆ ต่อมาจ้างให้มันจดจำคำเทศน์มาด้วย จำได้มากจะให้มาก เมื่อมีเครื่องล่อใจ คนเรามันก็ทำสิครับ แต่เมื่อฟังไปๆ ได้ความรู้มากขึ้น ก็ได้สำนึกขึ้นมาเอง ดังกรณีนายกาละคนนี้

พ่อแม่ท่านใดที่ยังแก้ปัญหาลูกชายเกเรไม่ตก ลองเอาวิธีของอนาถบิณฑิกเศรษฐีใช้บ้างก็ได้ครับ

หันมาพูดถึงสุมนาเทวี ขณะที่รับหน้าที่เป็นแม่งานการถวายภัตตาหารประจำแก่พระสงฆ์นี้ นัยว่าเธอได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบันแล้ว ต่อมาเธอก็ก้าวสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือเป็นพระสกทาคามี

ต่อมาไม่นานเธอก็ล้มป่วยลง เป็นโรคอะไรไม่แจ้ง แต่ปรากฏว่าอาการทรุดลงทุกขณะ  จนกระทั่งใกล้จะถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ่อไม่อยู่บ้าน เพราะมัวแต่ไปให้คำปรึกษาแก่ชาวบ้าน คนในบ้านไปตามพ่อ บอกว่าสุมนาเทวีอาการหนัก

เศรษฐีรีบกลับมาหาลูกด้วยความเป็นห่วง มาถึงก็ถามว่า ”เป็นยังไงบ้างลูกพ่อ”
“ไม่เป็นอะไรมากดอก น้องชาย” ลูกสาวตอบ


ได้ฟังดังนั้น เศรษฐีก็ตกใจว่าลูกสาวอาการหนักจนเพ้อ ปลอบลูกว่า “อย่ากลัวเลยลูก พ่ออยู่นี่”
“พี่ไม่กลัว น้องชาย” เรียกน้องเหมือนเดิม
“ลูกพ่อเพ้อแล้ว” เศรษฐีหดหู่ใจอย่างยิ่ง
“พี่ไม่ได้เพ้อนะ น้องชาย น้องชายอย่าเศร้าโศกเสียใจเลย พี่จะไปแล้ว”
ว่าแล้วก็เงียบ ไม่พูดไม่จาอีกต่อไป จนกระทั่งสิ้นลมหายใจ

เศรษฐีเศร้าโศกเสียใจมาก แทบไม่เป็นอันกินอันนอน เสียใจที่สูญเสียลูกน่ะมากโขอยู่แล้ว แต่เสียใจที่ว่าลูกสาวของตน “หลงทำกาละ” มากกว่าหลายเท่า เมื่อนึกว่าลูกสาวคงมีคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าไม่ดีแน่ ก็ยิ่งรันทดใจหนักขึ้น

ตรงนี้ต้องขยายสักเล็กน้อย คือ คนที่ทำบาปทำกรรมมากๆ จะได้รับผลทั้งทันตาเห็นในโลกนี้ และในชาติหน้า ดังนี้ครับ
๑. ย่อมเสื่อมจากโภคทรัพย์ คือ เสียเงินเสียทองเพราะการทำชั่วเป็นเหตุ เช่น ถูกจับกุมต้องเสียเงินประกัน เสียเงินจ้างทนายขึ้นโรงขึ้นศาล ถูกตัดสินริบทรัพย์สมบัติ ดังกรณีทรราชทั้งหลาย เป็นต้น
๒. ชื่อเสีย (ไม่มีตัว ง นับครับ) ขจรขยายไปทั่ว ถูกคนเขาสาปแช่งไปทั่วบ้านทั่วเมือง ไม่มีอะไรดีเลย ถ้าชั่วมากจนแผ่นดินรับไว้ไม่ไหว ก็อาจถูกแผ่นดินสูบดังกรณีพระเทวทัต นางจิญจมาณวิกาในอดีต เป็นต้น ถ้าชั่วน้อยหน่อยก็ตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน ไปไหนมาไหนคนก็สะกิดให้กันดู “นั่นไง คนเอางบประมาณแผ่นดินเข้าพกเข้าห่อตัวเอง” อะไรทำนองนี้
๓. ไม่แกล้วกล้าในสมาคม เข้าสมาคมไหนก็จ๋องๆ หวาดๆ กลัวๆ เพราะตัวเองมีแผล กลัวจะโดนสะกิดแผลเข้า บางทีก็ลืมตัวไปว่าคนอื่น เพราะปากไว พอเขาสวนกลับเท่านั้น สะดุ้งแปดตลบ เพราะโดนแผลขี้เรื้อนตัวเองเข้า จำต้องสงบปากสงบคำ
๔. ย่อมหลงตาย หมายความว่าเวลาจะตายมักจะเพ้อไร้สติ เพราะนิมิตแห่งบาปกรรมที่ทำไว้มาปรากฏให้เห็น แล้วก็สะดุ้งหวาดกลัวร้องออกมา ว่ากันว่านายพลคนดังในอดีต สั่งประหารชีวิตคนจำนวนมาก บางทีก็ประหารผิด ผู้บริสุทธิ์ถูกประหารตายไปหลายคน พอถึงคราวจะตาย เพ้อ “เผามันเลย ประหารมันเลย” แล้วก็ร้องว่า “โอ๊ย ร้อนๆ” แล้วก็ขาดใจตาย นี่แหละเรียกว่าหลงตาย
๕. ตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดในแดนไม่ดี ตกนรกหมกไหม้ หรือไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือแม้กระทั่งเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เห็นลูกสาวคนเล็กเพ้อไม่ได้สติก่อนที่จะสิ้นลม ท่านจึงรันทดใจมาก สงสัยว่าลูกสาวตัวเองก็ใจบุญสุนทาน ไม่ปรากฏว่าทำบาปทำกรรมอะไร ทำไมจึง “หลงตาย” ทำไมจึงต้องไปสู่ทุคติ

ท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ ไม่วายตัดพ้อว่าเพราะเหตุใดคนที่ทำแต่ความดีอย่างลูกสาวตน จึงจะต้อง “หลงตาย” ด้วย หรือว่าบาปกรรมแต่ชาติปางไหน

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ทำไมคหบดีจึงว่าอย่างนั้น”

เศรษฐีกราบทูลว่า “เพราะลูกสาวข้าพระองค์เพ้อพูดกับข้าพระองค์ ว่า “น้องชาย” แสดงว่าเธอหลงตาย พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ตรัสว่า “สุมนาพูดถูกแล้ว เธอเป็นอริยบุคคลระดับสกทาคามีแล้ว สูงกว่าท่านตั้งหนึ่งขั้น เธอจึงเป็นพี่ท่านในทางคุณธรรม เธอหาได้เพ้อไม่”

เศรษฐีเอามือป้ายน้ำตาด้วยความปลาบปลื้ม ความทุกข์โศกพลันสลายไปสิ้นแล ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ เมื่อลูกกลายเป็นพี่ของพ่อ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๐๐ ประจำวันที่ ๑๓-๑๙ ก.พ. ๒๕๕๘


.


๙๗. นายดี คนใช้ไม่ดี
(นายกาลกัณณี - นายนันทะ)


ตามบริบทของพระสูตรและอรรถกถา มองเห็นภาพท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นคนใจบุญสุนทานจริงๆ มีความเคารพในพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์มาก

โดยเฉพาะความเคารพรักในพระพุทธองค์มีมากจนเกิดความไม่สมดุล หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ท่านรักและเคารพพระพุทธองค์ไม่ค่อยถูกทาง  ดังพระพุทธดำรัสว่า “รักษาเราในฐานะที่ไม่ควรรักษา”

รักษาในที่นี้แปลว่า ดูแลเลี้ยงดูได้ด้วย (ดังภาษาชาวใต้นั่นแหละ) แปลว่าปกป้องคุ้มครองได้ด้วย

สาเหตุที่พระพุทธองค์ดำรัสอย่างนี้ ก็เพราะท่านเศรษฐี แม้ว่าจะ “ไปสู่ที่บำรุง” (หมายถึงเข้าเฝ้า) พระพุทธเจ้าวันละสามครั้ง (เช้า-กลางวัน-เย็น) ก็เฝ้าเฉยๆ เวลาใครไปทูลถามปัญหาและเวลาพระพุทธองค์ตอบปัญหาแก่ผู้เข้าเฝ้าอื่นๆ ก็พลอยนั่งฟังอยู่ด้วย ไม่เคยคิดที่จะทูลถามข้อข้องใจของตนกับพระพุทธองค์เลย

เหตุผลของท่านเศรษฐีก็คือ กลัวพระพุทธองค์จะทรงเหนื่อย พระองค์ทรงเทศนาสั่งสอนประชาชนมาทั้งวันแล้ว ถ้าจะทรงแสดงธรรมหรือประทานโอวาทแก่ตัวท่านอีก พระองค์จะไม่ทรงมีเวลาพักผ่อน จึงไม่คิดรบกวนพระพุทธองค์ ด้วยการถามปัญหาข้อข้องใจกับพระพุทธองค์  จนพระพุทธองค์ตรัสเปรยๆ ว่า ท่านเศรษฐี “รักษาพระองค์ในฐานะที่ไม่ควรรักษา” ดังกล่าวมา

แต่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี คงไม่เก็บงำความสงสัยเรื่องต่างๆ ไว้ในใจตลอดไป เพราะมีพระเถระที่ท่านเศรษฐีคุ้นเคยมากที่สุดอย่างน้อยสองรูป คือ พระสารีบุตรอัครสาวกกับพระอานนท์พุทธอนุชา

ท่านมีข้อสงสัยอะไรก็เรียนถามพระเถระทั้งสอง รูปใดรูปหนึ่ง วันไหนว่างก็นิมนต์พระสารีบุตรไปแสดงธรรมให้ฟังที่บ้าน เนื่องจากพระสารีบุตรเป็นพระนักวิชาการ อธิบายธรรมละเอียดลึกซึ้ง ท่านเศรษฐีฟังเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็สนุกเพลิดเพลินในการฟังธรรม

มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรแสดงธรรมง่ายเป็นพิเศษ เศรษฐีเข้าใจแจ่มแจ้ง หลังพระสารีบุตรแสดงธรรมจบ ท่านเศรษฐีก็บอกว่า ต่อไปขอพระคุณเจ้าแสดงธรรมง่ายๆ อย่างนี้เสมอได้ไหม

จากเรื่องราวเช่นนี้ แสดงว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคุ้นเคยกับพระอัครสาวกมาก ถึงขนาดกล้า “คอมเมนต์” ว่า ที่แล้วๆ มาเทศนาไม่รู้เรื่อง แต่คราวนี้รู้เรื่องดี ต่อไปเทศน์แบบนี้สิขอรับ อะไรทำนองนั้น

ความจริงสาวกอย่างอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ดีนะครับ ที่ท่านเศรษฐีไม่อยากรบกวนพระพุทธองค์ เพราะคิดว่า พระองค์เป็นคนของประชาชนให้พระองค์ทรงมีเวลาโปรดประชาชนได้เต็มที่จะดีกว่า ความสงสัยอะไรที่ตนมีถามพระเถระทั้งสองรูปดังกล่าวมาก็ย่อมได้ ไม่จำเป็นต้องรบกวนเบื้องยุคลบาทพระบรมศาสดา

ยกเว้นแต่เรื่องสำคัญๆ ค่อยทูลถาม มองในแง่มุมของเศรษฐีก็น่าจะเรียกว่า ท่านเศรษฐี “รักษาพระพุทธองค์ในฐานะที่ควรรักษา” ก็ได้นะครับ

ในอีกแง่มุมหนึ่งของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็น่าคิด ท่านเศรษฐีถึงจะเป็นคนมีบุญเป็นเศรษฐีใจบุญ แต่ท่านก็มีเพื่อนที่มักจะมีนิสัยตรงข้ามกับท่าน คนหนึ่งเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเหล้า บางคนก็คิดแต่จะเอารัดเอาเปรียบ เรียกว่า “มีบุญแต่กรรมบัง” ดังสำนวนไทยกระมังครับ

พูดถึงคนใช้ ว่ากันว่าคนใช้ของท่านก็มักไม่ค่อยฉลาด คนที่ฉลาดก็มักจะแกมโกง เป็นเสียอย่างนั้น คนใช้คนหนึ่ง (สงสัยจะเป็นประเภททาสในเรือนเบี้ย) เป็นเพื่อนเล่นกับท่านมาตั้งแต่เด็ก ชื่อไม่เป็นมงคลเสียด้วย คือชื่อ “กาลกัณณี” (นายอับโชค)

หลายคนเตือนท่านว่าอย่าเอาคนใช้คนนี้ไว้เลย จะทำให้ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า ท่านก็ไม่เชื่อ เพราะถือว่าเป็น “เพื่อน” กันมาแต่เด็ก ต้องชุบเลี้ยงไว้

วันหนึ่งนายอับโชคก็นำชโชคมาให้ท่านเศรษฐี ขณะที่ท่านไม่อยู่บ้าน พวกโจรมันย่องขึ้นบ้านท่าน วันนั้นอยู่บ้านแต่นายอับโชคคนเดียว นายอับโชคได้ต่อสู้กับพวกขโมย จนสามารถขับไล่พวกขโมยหนีไปได้ โดยไม่สูญเสียทรัพย์สมบัติใดๆ เศรษฐีกลับมาทราบเรื่องเข้า ก็ชมเชยนายอับโชค ตกรางวัลให้ตามสมควร

เล่าไว้อีกว่า สาวใช้คนหนึ่งทึ่มทึบมากขนาดฆ่าแม่ตัวเองตายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เห็นแมลงวันเกาะจมูกแม่ ด้วยความหวังดี เอาสากฟาดแมลงวันตุ้บใหญ่ ได้ผล ตายแหงแก๋ 

แม่ตายครับ ไม่ใช่แมลงวัน

คนทึ่มปานนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป อย่านึกว่าไม่มี สมัยผมบวชพระอยู่วัดทองนพคุณ ฝั่งธนบุรี ท่านเจ้าคุณภัทรมุนี หรือที่ใครๆ รู้จักในนามว่า “เจ้าคุณอิน” ท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของผม เมื่อครั้งผมบวช ท่านมีชื่อเสียงในทาง มีคน “ขึ้น” มากมาย

สิ่งหนึ่งที่ท่านพยายามทำคือ ฝึกศิษย์ให้มีปฏิภาณแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ท่านให้สังเกตแขกที่มาหาท่าน และให้ศิษย์ต้อนรับแขกอย่างถูกต้องเหมาะสม เวลาแขกมาก็ให้ยกน้ำท่ามาให้แขกโดยไม่ต้องให้ตะโกนเรียก ซึ่งมันดูไม่ดีไม่งาม

มีศิษย์คนหนึ่งชื่อ ไอ้โรจน์ ปัญญาค่อนข้างทึบ ท่านพยายามฝึกยังไงก็ไม่ดีขึ้น จะใช้ให้ทำอะไรต้องแจงละเอียด คิดเอาเองไม่ค่อยเป็น

วันหนึ่งท่านเห็นไอ้โรจน์ยกกับข้าวมาถวายเพล ท่านสังเกตเห็นถ้วยน้ำพริกไม่มีผักจิ้มมาด้วย ท่านจึงเอาช้อนเคาะจานเบาๆ ชำเลืองดูไอ้โรจน์ ไอ้โรจน์ก็ไม่ยอม “เก๊ต” ยืนทื่ออยู่ ท่านเห็นว่า ขืนไม่พูดคงอดฉันน้ำพริกแน่ จึงถามว่า “น้ำพริกนี่มากะอะไร”

ไอ้โรจน์ตอบชัดถ้อยชัดคำว่า “มากับถ้วยครับผม” (ฮิฮิ)

ถึงอนาถบิณฑิกเศรษฐีจะมีความพรั่งพร้อมอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง แต่ก็มีบริวารที่ไม่ค่อยได้ดังใจดังกล่าวมา ซึ่งก็เป็นธรรมดาไม่ว่าสมัยไหน

ท่านเศรษฐีมีฟาร์มเลี้ยงโคใหญ่โต เป็นธุรกิจทำรายได้มหาศาล มีผู้ดูแลฟาร์มชื่อนันทะ ว่ากันว่านายนันทะคนนี้ “หนีราชภัย” (ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร) มาเป็นนายโคบาลอยู่กับเศรษฐี ฐานะความเป็นอยู่ของนายนันทะนั้นร่ำรวย มิใช่โคบาลธรรมดา

นายนันทะเห็นอนาถบิณฑิกเศรษฐีอุปัฏฐากอุปถัมภ์พระพุทธเจ้าสม่ำเสมอก็อยากทำบ้าง ขออนุญาตเศรษฐีไปอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตนหลายครั้ง

แต่พระพุทธองค์ตรัสให้รอก่อน ถึงเวลาอันควรแล้วพระองค์จะเสด็จไปเอง

คัมภีร์ศาสนาว่า พระพุทธองค์รอ “ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์” ของนายนันทะ หมายความว่ารอความพร้อมของนายนันทะก่อน

เมื่อทรงทราบว่านายนันทะมีความพร้อมจะฟังธรรมและได้ผลจากการฟังธรรมแล้ว จึงพร้อมภิกษุสงฆ์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านนายนันทะ

นายนันทะตระเตรียมงานถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานติดต่อกัน ๗ วัน ในวันสุดท้ายหลังจากฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว นายนันทะได้บรรลุโสดาปัตติผลกลายเป็นพระอริยบุคคลระดับต้น คือพระโสดาบัน

นายนันทะ ตามส่งเสด็จพระพุทธองค์กลับพระเชตวัน ระหว่างทางเดินกลับบ้าน ถูกยิงเสียชีวิต ว่ากันว่าคนยิงเป็นนายพรานคนหนึ่ง สงสัยคู่อริจ้างวานมาปลิดชีพก็เป็นได้ แต่นายนันทะก็ไม่ตายฟรี แม้ว่าจะจับคนจ้างวานและคนฆ่าไม่ได้ นายนันทะก็ตายหลังจากได้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว

พระอริยบุคคลระดับนี้มีคติแน่นอนไม่ไหลงลงสู่ที่ต่ำ อยู่ในโลกเพียงวันเดียว ก็ดีกว่าคนไม่เห็นธรรมมีชีวิตอีกตั้งร้อยปี ปานนั้นแหละขอรับ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ นายดี คนใช้ไม่ดี โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๐๑ ประจำวันที่ ๒๐-๒๖ ก.พ. ๒๕๕๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มีนาคม 2558 14:48:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 09 มีนาคม 2558 14:59:36 »

.


ธรรมะที่ทรงสอนอนาถบิณฑิกเศรษฐี (๑)


ที่เคยบอกว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มักไม่ทูลถามข้อธรรมปฏิบัติจากพระพุทธเจ้า เพราะท่านเกรงว่าจะเป็นการรบกวนเบื้องยุคลบาท เมื่อไม่ต้องการให้พระพุทธองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย จึงไม่ทูลถามปัญหาใดๆ นั้น มิได้หมายความว่าท่านเศรษฐีเป็นคนไม่ใฝ่ใจศึกษาปฏิบัติธรรม หามิได้

ที่จริงแล้วท่านเป็นผู้มี “ธัมมกามตา” (ความใฝ่ธรรม, ความใฝ่รู้) เป็นอย่างยิ่ง

ท่านมีพระเถระที่สนิทคุ้นเคยสองรูปคือ พระสารีบุตรและพระอานนท์ มีปัญหาข้องใจอะไร พระเถระทั้งสองจะเป็นผู้อนุเคราห์แสดงธรรมให้ท่านฟัง ดังปรากฏในพระสูตรหลายแห่ง

เข้าใจว่า เมื่อได้รับคำเตือนจากพระพุทธองค์แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี คงกล้ากราบทูลถามธรรมะมากขึ้น

ดังปรากฏว่ามีหลายสูตรบันทึกธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ท่านฟัง

น่าสนใจว่า ธรรมะที่ทรงแสดงแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นธรรมพื้นๆ ธรรมะสำหรับชาวบ้านพึงปฏิบัติ ผมขอยกตัวอย่างมาลงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใฝ่ใจศึกษา

๑. “จิตที่คุ้มครองดีแล้ว ปลอดภัยเหมือนเรือนที่มุงบังดีแล้ว ฝนไม่รั่วรดฉะนั้น”
พุทธภาษิตบทนี้ทรงสอนคนอื่นในที่อื่นด้วย ความหมายทรงเน้นไปที่ “ราคะ” (ความกำหนดในกาม)  มันเหมือนฝนที่รั่วรดบ้านที่หลังคามุงไม่ดี บ้านหลังคามุงไม่ดี  บ้านหลังคารั่วเดือดร้อนอย่างไร เวลาฝนตกเป็นที่รู้กันดี ทรงเปรียบเหมือนจิตใจที่ถูกราคะความกำหนัดครอบงำ  ย่อมจะทำความเดือดร้อนกระวนกระวายให้ผู้นั้นอย่างยิ่ง

๒. “การให้อาหารเป็นทาน ย่อมได้รับผลบุญ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ”
 ข้อนี้อธิบายด้วยเหตุผลธรรมก็ได้ คนที่ให้ข้าวน้ำแก่คนอื่น คนที่รับ หรือคนที่กินข้าวน้ำนั้น ย่อมจะมีอายุยืนยาวไปอีก มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีความสุข ไม่ต้องหิวโหย ทนทุกข์ทรมาน และมีพละกำลังเพิ่มขึ้น นี้พูดถึงอานิสงส์ที่ผู้รับได้   ส่วนผู้ให้ก็ย่อมจะได้รับอานิสงส์เช่นนั้นเหมือนกัน เห็นคนอื่นเขาได้กินข้าวปลาอาหารที่ตนให้แล้ว ก็มีปิติสุข จิตใจผ่องใสเบิกบาน ว่าตนได้สงเคราะห์เพื่อนมนุษย์

คนที่มีความสุขใจ ผิวพรรณก็ย่อมจะผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ยืดอายุไปได้อีก มีกำลังใจและความเข้มแข็งขึ้น

มองสั้นเพียงแค่นี้ก็เห็นว่า การให้ข้าวน้ำเป็นทาน มีอานิสงส์มากมาย ยิ่งมองให้ลึกและมองให้ยาวไกล ยิ่งจะเห็นมากขึ้น

แปลกนะครับ คนที่ใจกว้าง ใจบุญ ใจกุศล ยิ่งให้มากๆ โดยมิได้คิดถึงผลตอบแทน ผลที่ตอบแทนกลับมีมากโดยไม่รู้ตัว ตรงกันข้าม ใครที่งก เห็นแก่ได้ ไม่รู้จักสละอะไรให้ใครๆ เลย มีแต่ความเห็นแก่ตัว มักไม่ค่อยได้อะไร

เอริก ฟรอมม์ นักจิตวิทยามีชื่อ กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า “ความรักคือการให้ ยิ่งคุณให้มากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งได้มากเท่านั้น” ท่านผู้นี้พูดอย่างกับเปิดพระไตรปิฎกอ่านแน่ะครับ เพราะข้อเขียนของท่าน สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาพอดิบพอดี

๓. “หน้าที่ ๔ อย่างที่คฤหัสถ์ผู้มีจิตศรัทธาจะพึงปฏิบัติคือ บำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่” (จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช ที่บางท่านคิดเป็นคำง่ายๆ ว่า “ข้าว ผ้า ยา บ้าน”)

ธรรมะข้อนี้เท่ากับบอกหน้าที่ที่คฤหัสถ์พึงทำ และบอกด้วยว่า คฤหัสถ์เท่านั้นที่จะต้องทำหน้าที่นี้ บรรพชิตหรือพระ มีหน้าที่อื่นที่ต้องทำ โดยสรุปคือ สั่งสอนประชาชนผู้ที่บำรุงเลี้ยงท่านด้วยปัจจัยสี่ เป็นการตอบแทน

พูดให้ชัดก็คือ การจัดหาอาหารบิณฑบาต การจัดสร้างสถานที่พำนักอาศัย การจัดหาจีวร เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนการถวายการรักษาพยาบาล เป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์โดยตรง   คฤหัสถ์ต้องดูแลความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ ให้ท่านสะดวกสบายทางด้านวัตถุ พระสงฆ์ท่านจะได้ไม่ต้องมากังวลในเรื่องเหล่านี้ จะได้อุทิศเวลาศึกษาปฏิบัติธรรม และสั่งสอนประชาชนได้เต็มที่

เมื่อใดพระสงฆ์ท่านมาเริ่มทำสิ่งเหล่านี้เสียเอง คือก่อสร้างโบสถ์ วิหาร เสนาสนะอื่นๆ กันเอง แสวงหาเงินทองมาเป็นทุนในการสร้างและปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมกันเอง ก็แสดงว่าชาวบ้านบกพร่องในหน้าที่  เพราะชาวบ้านไม่ได้ดูแลท่าน ท่านจึงต้องขวนขวายทำกันเอง เมื่อท่านมาทำเรื่องเหล่านี้ ท่านก็ “เขว” ออกจากทางเดินของท่าน เรียกว่า “ออกนอกทาง” ว่าอย่างนั้นเถอะ

ชาวบ้านเห็นพระท่านเขวออกนอกทาง “เพราะความบกพร่องในหน้าที่ของตน” แทนที่จะละอายใจ แต่เพื่อกลบเกลื่อนความบกพร่องของตน ก็ยุพระส่งเลยว่า ท่านทำดีแล้ว ท่านเก่ง ท่านมีบารมีมาก หาเงินทองได้มาก ก็เลยเฮโลสนับสนุนเป็นการใหญ่ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

พระภิกษุบางรูป มีความสามารถในการระดมทุน ก็สนุกสนาน ขวนขวายหาเงินเป็นการใหญ่ ท่ามกลางความชื่นชมของพุทธศาสนิกชน (ผู้บกพร่องในหน้าที่ของตนเอง)

เมื่อมีหนึ่งรูป ก็มีรูปที่สอง ที่สาม  ที่สี่ ตามมา ตกลงสังคมพุทธจึงเต็มไปด้วยพุทธบริษัทผู้ไขว้เขวในหน้าที่อันแท้จริงของตน หรือพูดให้ชัดก็คือ พากันเดินหลงทางไปกันหมด

แล้วอย่างนี้ เมื่อไรจะถึงเป้าหมายเล่าครับ มัวแต่เข้ารกเข้าพงกันไปหมดอย่างนี้ ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ ธรรมะที่ทรงสอนอนาถบิณฑิกเศรษฐี (๑) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๐๒ ประจำวันที่ ๒๗ ก.พ. - ๕ มี.ค. ๒๕๕๘



ธรรมะที่ทรงสอนอนาถบิณฑิกเศรษฐี (๒)


๔. ความปรารถนาสมหวังได้ยาก ๔ ประการ คือ
๑. ขอให้สมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ
๒. ขอยศจงมีแก่เรากับญาติพี่น้อง
๓. ขอให้เรามีอายุยืนนาน
๔. เมื่อสิ้นชีวิต ขอให้เราจงไปเกิดในสวรรค์

ธรรมะหลักนี้ ตรัสสอนแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ตรัสถึงสิ่งที่ปรารถนาแล้วสมใจยาก ๔ ประการ สิ่งเหล่านี้มิใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุเพียงปรารถนาอ้อนวอนเอา ต้องลงมือทำเหตุที่จะบันดาลผลเช่นนั้น และการสร้างการทำเอาก็มิใช่ว่าทำเล็กๆ น้อยๆ แล้วจะได้ผลดังกล่าว ต้องสร้างต้องสมอย่างจริงจัง และใช้เวลานานพอสมควร

ในมหาชนกชาดก มีสุภาษิตบทหนึ่งว่า “น หิ จินฺตามยา โภคา คือ โภคทรัพย์ทั้งหลายจะสำเร็จด้วยการคิดเอาหาได้ไม่” หมายความว่า ถ้าอยากได้อะไรก็ต้องทำเอา อยากได้โภคทรัพย์ก็ต้องพยายามทำเหตุที่จะได้โภคทรัพย์ เช่น ตรัส “หัวใจเศรษฐี” ไว้ ๔ ประการ ใครอยากรวยให้ปฏิบัติดังนี้ คือ
๑. ขยันหาทรัพย์ในทางซื่อสัตย์สุจริต
๒. หามาได้แล้วรู้จักใช้จ่าย รู้จักเก็บออม
๓. คบเพื่อนที่เกื้อกูลแก่อาชีพ (เช่น คนทำมาหากิน อย่าริคบนักเลงพนัน)
๔. ใช้จ่ายให้พอเหมาะพอสมแก่อัตภาพความเป็นอยู่ (เห็นเศรษฐีเขากินอาหารมื้อละหมื่น ตัวมีรายได้เดือนละแค่ไม่กี่พัน อย่าริทำตาม)

ถ้าสร้างเหตุที่เหมาะสม ก็จะได้ผลสมควรพอแก่เหตุ ไม่มีดอกครับที่จะลอยมาเฉยๆ

คนที่พากเพียรกระทำการต่างๆ ย่อมสามารถชนะอุปสรรค ได้รับผลน่าพึงพอใจในที่สุด ได้แล้วก็หายเหนื่อย ว่ากันว่า พลังแห่งความเพียรนี้ แม้เทวดาก็กีดกันไม่ได้

ขอเล่านิทานประกอบ (เพราะ “เข้าทาง” พอดี)

ในอดีตกาล พระราชาสองเมืองรบกันมาราธอนมาก ไม่มีใครแพ้ชนะ รบไปๆ ถึงหน้าฝนก็พักรบ หมดหน้าฝนก็มารบกันใหม่

ว่ากันว่า ฤๅษีตนหนึ่งเล่าเรื่องนี้ให้ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) ฟัง แล้วถามพระอินทร์ว่า พระราชาองค์ไหนจะชนะ ฤๅษีก็เลยมาบอกให้ลูกศิษย์ฟัง ลูกศิษย์ก็ไปบอกใครต่อใครว่า อาจารย์เราทายว่า พระราชา ก. จะชนะ

เรื่องล่วงรู้ไปถึงพระราชาทั้งสองพระองค์ องค์ที่ได้รับคำทำนายว่าจะชนะก็ดีใจ ไม่สนใจฝึกซ้อมวิทยายุทธ์ ว่าอย่างนั้นเถอะ ไม่ฝึกปรือทหารหาญ มัวประมาท เพราะคิดว่าตนจะชนะแหงๆ อยู่แล้ว

ข้างฝ่ายพระราชาที่ได้รับคำทำนายว่าจะแพ้ ทีแรกก็เสียใจ แต่หักห้ามใจได้ คิดว่าถ้าฟ้าดินจะให้แพ้ก็ยอมรับลิขิตฟ้าดิน แต่ไหนๆ ก็ได้ลงสนามรบแล้ว เราจะพยายามทำให้ดีที่สุด ว่าแล้วก็ระดมฝึกปรือทหารหาญเป็นการใหญ่ ไม่ประมาท เตรียมพร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์

เมื่อถึงวันรบกัน ปรากฏว่า ข้างฝ่ายพระราชา ก. แพ้ยับเยิน  พระราชา ข. กำชัยชนะไว้ได้

ต่อมาพระราชา ก. ก็ฝากต่อว่ามายังฤๅษีว่า ทำนายชุ่ยๆ โกหกทั้งเพ ว่า เราจะชนะ ท้ายที่สุดก็แพ้เขาหมดท่า “หมอดูเฮงซวย เชื่อไม่ได้” อะไรทำนองนั้น ฤๅษีก็ว่า มิใช่ตนเป็นคนทำนาย ตนฟังมาจากคนอื่น ว่าแล้วก็ถือไม้เท้ายักแย่ยักยันไปหาพระอินทร์ (ความจริงแกคงเข้าฌานหายตัวไปหาพระอินทร์มากกว่า) ต่อว่าพระอินทร์ที่ทำให้ขายหน้า และถูกด่าอีกต่างหาก

พระอินทร์กล่าวว่า ที่ทายนั้นไม่ผิดดอก ถ้าปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามทางของมัน ท้ายที่สุด พระราชา ก. จะต้องชนะอย่างแน่นอน แต่นี้เพราะพระราชา ก. ประมาท พระราชา ข. ไม่ประมาท พากเพียรพยายามจนถึงที่สุด จึงกลับตาลปัตรอย่างนี้ แล้วพระอินทร์ก็กล่าวสุภาษิตซึ่งคมมากว่า

คนที่พากเพียรพยายามอย่างแท้จริง แม้เทวดาก็กีดกันมิได้

๕. สิ่งที่น่าปรารถนาจะสำเร็จได้ยาก ๔ ประการ คือ
๑. ขอให้มีอายุยืนนาน
๒. ขอให้มีรูปงาม
๓. ขอให้มีความสุข
๔. ขอให้มีเกียรติยศชื่อเสียง

ถ้าคนเราปรารถนาด้วย ทำด้วย ในเรื่องทั้ง ๔ ประการนี้ ถึงจะสำเร็จ ก็ใช่ว่าจะสำเร็จโดยง่าย อายุคนเรานั้นจะยืนนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกรรมเก่า และขึ้นอยู่กับกรรมใหม่

กรรมเก่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าคนมักฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในปางก่อน เกิดมาชาตินี้จะมีอายุนั้น คำว่า “จะ” นั้น มิใช่ว่า “ต้อง” ขึ้นอยู่กับกรรมใหม่ เราทำมากพอหรือไม่ ถ้าแนวโน้ม (ตามกรรมเก่า) ว่าจะอายุสั้นแต่พยายามทำเหตุที่จะให้ยืดอายุ อายุนั้นก็อาจไม่สั้นก็ได้

นี้แหละเรียกว่า กรรมใหม่

มีเรื่องเล่าทำนองนิทานเล่าขานกันเล่นๆ แต่สาระน่าสนใจ คือ สามเณรน้อยได้รับคำพยากรณ์ว่า จะตายภายในเจ็ดวัน สามเณรน้อยเสียใจมาก เดินออกจากวัดไป หวังไปตายดาบหน้า ระหว่างทางไปพบปลาดิ้นอยู่ในแอ่งน้ำในนาซึ่งกำลังแห้งขอด เกิดความสงสารจึงจับปลานั้นไปปล่อยในน้ำ ช่วยชีวิตปลาไว้ได้

เลยเวลาเจ็ดวันแล้วสามเณรยังไม่ตาย จึงกลับวัดเดิม อาจารย์เห็นสามเณรไม่ตาย ก็สงสัยว่า ตาม “ดวง” ว่าจะเสียชีวิต แต่ทำไมยังรอดอยู่ได้ ว่ากันว่าสามเณรได้ “สร้างเงื่อนไขใหม่” คือ ทำบุญกุศลช่วยชีวิตปลา ชีวิตที่มีแนวโน้มว่าจะสิ้นสุด ก็ยังไม่สิ้นสุด มีอายุยืนยาวออกไปอีก ว่าอย่างนั้น

มีนักวิชาการบอกว่า ถ้าอยากมีอายุยืน ให้ปฏิบัติตามหลัก ๕ อ. คือ อ.ออกกำลังกาย  อ.อากาศ  อ.อาหาร  อ.อารมณ์  อ.อุจจาระ ว่าทำตามนี้เป็นกิจวัตร อายุจะยืน ว่าอย่างนั้นก็มิใช่ว่าจะเป็นสูตรตายตัว เพราะคนที่ระมัดระวังอย่างดี ทำตามนั้นทุกอย่าง ก็ตายไม่ทันแก่ก็มี สาเหตุใหญ่และสาเหตุที่แท้จริงอยู่ที่กรรมเก่าทำมาอย่างไร

และอยู่ที่กรรมใหม่ (การทำความดีใหม่ๆ) มากน้อยเพียงใดมากกว่า

เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สิ่งที่น่าปรารถนาประการแรก คือ ขอให้อายุยืน ถึงจะสำเร็จ ก็สำเร็จได้ยาก

สิ่งที่น่าปรารถนาประการที่สอง ขอให้รูปงาม สำเร็จได้ยาก  ข้อนี้อธิบายง่าย เอาแค่เกิดมารูปไม่หล่อ ไม่สวย อยากจะมีรูปหล่อ รูปสวย ก็สามารถทำได้สำเร็จ แต่ก็สำเร็จได้ยาก เพราะจะต้องเสียเงินทองแพงๆ บางคนหน้าหัก จมูกบี้ อยากสวยเหมือนคนอื่นเขา ก็ทำได้ด้วยการไปให้ศัลยแพทย์ตัดนั่น เฉือนนี่ เติมโน่น ออกมาดูดีได้ แต่กว่าจะสำเร็จ ก็หมดเงินไปหลายพัน หลายแสน สำเร็จได้โดยยากครับ

ยิ่งคนที่ไม่เคยทำบุญกุศลชนิดที่จะเป็นสาเหตุให้รูปงามด้วยแล้ว ยังไงๆ ก็เกิดมาในชาตินี้ด้วยรูปร่างหน้าตาที่สวยสดงดงามไม่ได้  เพราะเหตุนี้ การขอให้เกิดมารูปงามนั้น มิใช่สำเร็จได้โดยง่ายๆ ต้องทำบุญทำกุศลไว้มากพอสมควร

การขอให้มีความสุข ไม่มีทุกข์เลย หรือมีทุกข์น้อย ยิ่งเป็นไปได้ยาก คนจะมีความสุข ก็ต้องสร้างเหตุแห่งความสุข จึงจะมีสุข เช่น ไม่เบียดเบียน ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำตนให้อยู่ในกรอบเบญจศีลเบญจธรรมอย่างเคร่งครัด จะเป็นเครื่องรับประกันว่า จะมีความสุขในชีวิตอย่างแน่นอน รวมทั้งชื่อเสียงที่ดีงามด้วย ดังในมหาปรินิพพานสูตร พระพุทธองค์ตรัสอานิสงส์ของการมีศีลบริสุทธิ์ว่า ผู้มีศีลบริสุทธิ์ จะได้รับผลดี ๕ ประการ ๒ ใน ๕ ประการนั้นคือมีเกียรติยศชื่อเสียง มนุษย์ก็รัก เทพก็ชม พรหมก็สรรเสริญ มีความสุข ไม่มีเวรมีภัย แม้จะตายก็ยังตายอย่างสงบ

จะมีสุขปานนั้นหรือมีเกียรติยศปานนั้น ก็ต้องรักษาศีล (อย่างน้อย ศีล ๕) ได้อย่างครบถ้วน และการรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นั้นมิใช่ของง่าย ยากยิ่งกว่ากลิ้งครกขึ้นเขาเสียอีก  เพราะฉะนั้น จะเห็นว่า การขอให้มีเกียรติยศชื่อเสียง ขอให้มีความสุขมากกว่าความทุกข์ สำเร็จได้ไม่ง่ายนัก

แต่ถึงจะตรัสว่าสำเร็จยาก ก็บอกนัยแง่บว