[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:32:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านได้อะไร เมื่อไปงานศพ หลวงพ่อปัญญา  (อ่าน 4979 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 17:20:06 »




 ท่านได้อะไร เมื่อไปงานศพ
โดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ท่านผู้จะต้องตายทั้งหลาย

เมื่อเรียกว่า “ท่านผู้จะต้องตาย” คนที่ได้ฟังคงจะนึกเคืองในใจว่า

ท่านเจ้าคุณปัญญานันทะมาแช่งเราเสียแล้ว

ในการที่มาเรียกว่าท่านผู้จะต้องตาย ความจริงนั้นเราทุกคนก็จะต้องตายด้วยกันทั้งนั้น
ทั้งผู้ฟังทั้งผู้แสดงปาฐกถาก็จะต้องตายด้วยกันทุกคน หนีความตายไปไม่พ้น

แต่ถ้าใครมาพูดว่า “คุณนี่ไม่ช้าจะต้องตาย” จะไม่มีใครชอบสักคนเดียว
ก็เพราะว่าคนเราต้องการจะอยู่ในโลกนาน ๆ ไม่อยากตาย

ตามปกติคนเราไม่ต้องการความทุกข์ความเดือนร้อนและไม่อยากตาย
การอยู่ในโลกนั้นมันยุ่ง แต่เราก็อยากจะอยู่นาน ๆ อันนี้เป็นเรื่องความต้องการของมนุษย์
เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินเสียงทักทายว่า “ท่านผู้จะต้องตายทั้งหลาย” ญาติโยมก็อย่าไปโกรธไปเคือง
แต่ให้เข้าใจว่า ท่านเตือนให้เราทั้งหลายรู้เนื้อรู้ตัวว่า เรานี้จะต้องตายสักวันหนึ่ง
แต่ว่ากำหนดไม่ได้จะต้องตายวันไหน

วันนี้ เรามาประชุมกันที่ฌาปนสถานแห่งนี้ ก็มาประชุมกันเนื่องจากเรื่องเกิดเรื่องตาย
เพราะมี เรื่องเกิดก่อนแล้วจึงมี เรื่องตาย ตามมา
เรามาประชุมกันด้วยเรื่อง 2 ประการนี้ แต่โดยมากเรามักจะพูดแต่เรื่องตาย ไม่ได้พูดโยงไปถึงเรื่องของการเกิด
ความจริงการตายนั้นมันเนื่องมาจากการเกิด ถ้าไม่มีการเกิดก็ไม่มีการตาย
แต่เวลาใดมีเรื่องการตายก็พูดแต่เรื่องเฉพาะหน้า ในเรื่องเฉพาะหน้าในเรื่อง ของการตายประการเดียว

ขอให้เราทั้งหลายเข้าใจว่า “ตาย” กับ “เกิด” เป็นของคู่กัน
เรา ทุกคนกำลังเกิดอยู่และทุกคนกำลังตายอยู่ ตายอยู่เกิดอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่ลืมตาขึ้นดูโลก
เราก็เรียกว่าคนเกิด ความจริงคนนั้นก็ตายแล้วในขณะนั้น
การตายการเกิดจึงเป็นของคู่กันตลอดไปไม่มีการหยุดยั้ง จนกว่าจะถึงเวลาการเกิดมันหมดไป
เพราะว่าเครื่องปรุงแต่งมันไม่มี ก็เรียกว่าเป็นความตายกันไปตอนหนึ่ง ปิดฉากไปตอนหนึ่ง
ในขณะนี้เราอยู่ในสภาพมาดูคนอื่นเขาปิดฉาก คือ ตายไปคนหนึ่ง
เราทั้งหลายก็มาช่วยกัน การช่วยกันในรูปแบบนี้เป็นการกระทำตามประเพณี เพราะเราทั้งหลายเป็นอยู่ในโลก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 17:22:34 »


คนที่เจริญทั้งหลายนั้นต้องมีประเพณี อันตนจะต้องจัดต้องทำตามฐานะ
คน ที่ไม่มีพิธีรีตองหรือไม่มีประเพณีอะไรเลยนั้น ก็มักจะเป็นคนประเภทป่าเถื่อนที่ยังไม่มีความก้าวหน้า
เขาเรียกว่าไม่มีอารยธรรมเป็นหลักปฏิบัติ
แต่ถ้าเป็นคนที่มีความเจริญพอสมควร ก็ย่อมจะมีระเบียบประเพณี อันตนจะต้องปฏิบัติด้วยกันทั้งนั้น

อย่าว่าแต่คนในบ้านในเมืองเลย แม้แต่คนตามป่าตามดง
ซึ่งเรียกว่าชาวป่าชาวเขา อันยังไม่เจริญเหมือนกับเราชาวเมือง
เขาก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันเกี่ยวกับการเกิดการตาย
โดยเฉพาะในเวลาตายนั้น เขาก็มีประเพณีอันจะต้องจัด ต้องกระทำกันตามสมควรแก่ฐานะ
ใช้เวลาน้อยบ้าง ใช้เวลายืดยาวบ้าง เป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยกันทั้งนั้น

คน เราเมื่อเกิดก็ต้องตาย เรื่องเกิดทำเรื่องอย่างใด เวลาตายก็ต้องทำเรื่องอย่างเดียวกัน
สำหรับเราอยู่ในบ้านในเมืองมีความคิดความอ่าน
เราจึงต้องจัดพิธีเกี่ยวกับการตาย หลายสิ่งหลายประการ พิธีเกี่ยวกับการตายนั้นมักจะต่อเนื่องกันในทางศาสนา
เพราะเป็นเรื่องบำเพ็ญคุณงามความดีตามหลักคำสอนในทางศาสนา
ทุก ๆ ศาสนา มีประเพณีเกี่ยวกับการตายทั้งนั้น

ความจริงพระพุทธศาสนาของเรานั้นเรื่องประเพณีมีน้อย มุ่งการปฏิบัติธรรมเป็นส่วนใหญ่
แต่ว่าศาสนาอยู่กับคน คนอยู่ในสังคม เรื่อง เกี่ยวกับสังคมนี้ ก็ต้องมีเรื่องปฏิบัติต่อกันเพื่อเป็นการผูกมิตรไมตรีกัน
เพื่อแสดงออกซึ่งความรู้สึกในทางจิตว่าเราได้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กับบุคคลนี้ในรูปอย่างใด
เราจึงได้ประพฤติตามประเพณีที่ได้เคยกระทำกันมา โดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2553 06:31:43 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 17:24:03 »

เมื่อ มีการตายเกิดขึ้น เราก็นิมนต์พระมากระทำพิธีในศาสนา
นับตั้งแต่เริ่มสวดอภิธรรมบ้าง การเทศนาบ้าง การสนทนาธรรมกันในงานศพนั้นบ้าง
อันการกระทำในรูปดังที่กล่าวนี้ ก็เป็นไปในรูปของการศึกษา ในรูปของการปฏิบัติ
ในรูปของการเผยแผ่ธรรมแก่คน ที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจให้เกิดความรู้ความเข้าใจนั่นเอง

เช่นว่า การนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรม
ความจริงเวลาพระท่านสดพระอภิธรรมนั้น เราฟังไม่รู้เรื่อง เพราะพระท่านสวดเป็นภาษาบาลี
แต่ถึงจะฟังไม่รู้เรื่อง พอพระท่านขึ้นว่านะโม...เราทุกคนนั่งอยู่ในอาการสงบพนมมือเรียบร้อย
ไม่มีการพูดการคุยกัน เว้นแต่พวกขี้เมาบางคนที่เล่นหมากรุกก็ไม่เลิกเล่น คุยกันก็ไม่เลิกคุย
พวกนั้นเป็นพวกนอกวง นอกบัญชี เขายกเว้นให้พวกหนึ่ง
แต่พวกที่อยู่ในวงหรือว่าในบัญชีนั้น โดยมากเมื่อพระเริ่มสวด “นะโม” ก็นั่งด้วยอาการสงบเรียบร้อย

อาการที่นั่งสงบนั้นเราได้ความสงบในทางกาย วาจา ใจ ของเราก็จดจ่ออยู่กับเสียงของพระ
พระท่านสวดไปหูเราก็ฟังเสียงนั้น เอาเสียงเป็นอารมณ์ ไม่ให้ใจฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น
ให้อยู่กับเสียงที่พระท่านสวดตลอดเวลา
การกระทำในรูปเช่นนั้นก็เป็นการปฏิบัติในด้านสมาธิ คือการกระทำสมาธิ

คนเราถ้าใจเป็นสมาธิ ก็ย่อมจะเกิดความรู้บางประการแล้วก็ได้ความสงบในทางใจ
ในขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะบาปไม่เกิดขึ้นกับเราในขณะนั้น
เรามีความสุขความสงบในทางใจ นี่คือประโยชน์ที่เราได้รับจากการฟังพระท่านสวดอภิธรรม
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 17:25:29 »

เพราะฉะนั้นจึงให้ถือเป็นธรรมเนียมว่า เมื่อพระเริ่มสวดพระอภิธรรม เราก็นั่งด้วยอาการสงบตลอดเวลา
พระท่านสวดก็ไม่ยาว มีระยะหยุด คือจบไปทีหนึ่งก็หยุดเสียทีหนึ่งญาติโยมได้พักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถ
พระผู้สวดเองก็ได้พักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถด้วยเหมือนกัน

แต่ถ้าเรามีความเข้าใจคือรู้ความคำแปล ความหมายของเรื่องที่พระท่านสวดแล้ว
เราก็จะได้ความซาบซึ้งอันนี้เป็น “บุญกิริยา” คือ การกระทำที่เป็นบุญส่วนหนึ่งในรูปของการศึกษาและปฏิบัติ

การเผยแผ่ธรรมะในขณะงานศพอยู่กับบ้าน นอกจากการสวดพระอภิธรรมแล้ว
บางที่เราก็นิมนต์พระมาแสดงธรรมด้วย
การแสดงธรรมในงานศพนั้น ก็เพื่อจะเอาธรรมมะมาระงับจิตใจของผู้เป็นเจ้าภาพ
เพราะเราผู้ที่เป็นเจ้าภาพแต่ละคนนั้น มีความเศร้าโศกอยู่ในใจ มีความทุกข์ มีปัญหา

ความเศร้าโศกหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจนั้นเกิดขึ้นจากอะไร...ก็เกิดขึ้น
จากความยึดถือว่า สิ่งนั้นเป็นตัวเรา เป็นของเรา
เช่น เราถือว่า มารดาบิดาของเรา สามีภรรยาของเรา ลูกหญิงลูกชายของเรา
สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของเรา ความยึดถือในเรื่องใดเกิดขึ้น ย่อมเป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น

เมื่อมีความนึกความคิดในเรื่องอันใด ก็ย่อมจะมีทุกข์
โดยเฉพาะความทุกข์ เมื่อจากกันด้วยเรื่องเกี่ยวกับความตายนั้น นับว่าเป็นความทุกข์ขนาดหนัก
เพราะว่าเมื่อตายแล้วจะไม่ได้เห็นหน้ากันอีก ทุกคนก็ต้องมีความทุกข์ในทางใจ

ความ ทุกข์นั้นเป็นโรคอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดในใจของใครแล้ว มักจะเป็นโรคเรื้อรัง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 17:26:40 »

ถ้าไม่มีการรักษาเยียวยา โรคนั้นก็มักตั้งอยู่นาน ๆ ก็เรียกว่าตรมตรอมใจ
แล้วก็มีความทุกข์เรื่อยไปตลอดเวลาเมื่อมีความคิดถึงบุคคลนั้น
เช่น ได้เห็นที่นั่งก็เป็นทุกข์ ได้เห็นที่นอนก็เป็นทุกข์
ได้เห็นเครื่องใช้ไม้สอยอันเตือนให้นึกถึงผู้ที่ตายจากไป เราก็มีความทุกข์ในทางใจ เวลากินเคยกินด้วยกัน
เมื่อเห็นขาดไปคนหนึ่ง เราก็มีความทุกข์อันเป็นด้วยเรื่องของการยึดติดพันใน เรื่องนั้น

ความยึดถือความติดพันนี้ เกิดเพราะเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงในเรื่อง ซึ่งควรจะรู้ควรจะเข้าใจ คือ
ไม่รู้ว่าคนเราเกิดมาแล้ว จะต้องมีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา

ความจริงพระท่านก็สอนให้เราพิจารณา เช่น อภิณหปัจเวกขณ์ 5 ประการ ท่านท่านก็สอนให้เราพิจารณาว่า
เราจะต้องแก่เป็นธรรม หนีจากการแก่ไปไม่พ้น
เราจะต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา หนีจากความเจ็บไปไม่พ้น
เราจะต้องตายเป็นธรรมดา หนีจากการตายไปไม่พ้น
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา เราหนีจากเรื่องนั้นไปไม่พ้น
เราทำสิ่งใดไว้ เราก็ต้องได้รับผลอันเกิดจากการกระทำนั้น

อันนี้เป็นบทสำหรับพิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งชัดในเรื่อนั้น ๆ ตามความเป็นจริง
เพื่อจะไม่ให้เศร้าโสกอาลัยอาวรณ์มากเกินไป
เพราะการเศร้าโศกทำให้เกิดความทุกข์ ต้องเสียน้ำตา ต้องเหี่ยวแห้งใจ บางทีก็รับประทานไม่ได้ นอนไม่หลับ
ถ้าเป็นหลาย ๆ วันก็ทำให้อายุสั้น ทำให้ตนไม่สบาย
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 17:39:43 »

ฉะนั้นในเวลาที่งานศพอยู่ในบ้าน เราจึงนิมนต์พระมาเทศน์
การนิมนต์พระมาเทศน์ก็เท่ากับว่า เราเชิญหมอมาช่วยรักษาโรคทางใจของเรานั่นเอง
เพราะ ว่าพระธรรมคำสั่งสอนนี้เป็นยารักษาโรคทางใจ
พระผู้มีพระภาคของเราทรงค้นพบแล้ววางไว้เป็นบทเป็นแบบ เพื่อให้เรานำมาใช้แก้โรคทางใจ
เราก็ไปหาหมอคือพระให้ช่วยบอกยาให้แก่เรา เราจึงได้ฟังธรรมเทศนาในขณะที่อยู่ในงานศพ

การกระทำในรูปเช่นนั้น ก็เป็นการศึกษาไปในตัวเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว
แล้วก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะไปในตัว เพราะในงานศพมีคนหลายพวกหลายเหล่ามาชุมนุมกัน
เมื่อเขามาแล้วอย่าให้เขาไปเปล่า ให้เขาได้อะไร ๆ กลับไปบ้านตามสมควรแก่ฐานะ
การกระทำอย่างนี้จึงนับว่าเป็นประเพณีที่ดีงาม อันเราทั้งหลายได้กระทำกันอยู่

ความ จริงในงานศพทั่ว ๆ ไปนั้น เราควรจะมุ่งเผยแผ่ธรรม ปฏิบัติธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ไม่ควรจะมีสิ่งเหลวไหลเข้ามาเจือปนในงานศพ เช่น
ความสนุกไม่เข้าเรื่อง หรือเลี้ยง หรือว่าการเล่นในเรื่องที่ไม่ควรจะเล่น
อันนี้เป็นเรื่องทำลายเศรษฐกิจที่ไม่ได้ประโยชน์ทางใจ

เรา ควรจะมุ่งเอางานศพนั้นเป็นสถานที่ที่เป็นวัตถุสำหรับศึกษา
เพื่อให้เกิดปัญญาเกิดความรู้แจ้งชัดในเรื่องของชีวิตของเราเอง ตามความเป็นจริง
อันนี้เป็นการชอบการควรประการหนึ่ง



           

 
โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ที่มา : dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4298
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=11-2009&date=24&group=1&gblog=232
 
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: มรณานุสติ หลวงพ่อปัญญา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เท่าทันอารมณ์...เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 6871 กระทู้ล่าสุด 15 เมษายน 2553 00:20:15
โดย เงาฝัน
เทพีคู่หาบเงิน–หาบทอง ดอกไม้งามในวันพ&#
สุขใจ ห้องสมุด
sithiphong 1 4492 กระทู้ล่าสุด 10 พฤษภาคม 2553 09:51:55
โดย เงาฝัน
ถ้าท้อเป็นเพียงถ่าน ถ้าผ่านก็คือ เพชร
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 3016 กระทู้ล่าสุด 10 กรกฎาคม 2553 08:11:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
เมื่อเรากลายเป็น “ ของมัน ” พระไพศาล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 2030 กระทู้ล่าสุด 12 มกราคม 2554 14:57:09
โดย เงาฝัน
ทำไมหมีขั้วโลกต้องพึ่งพาน้ำแข็งทะเล
สุขใจ ห้องสมุด
ฉงน ฉงาย 2 1617 กระทู้ล่าสุด 29 พฤษภาคม 2563 16:39:44
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.313 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 11:57:45