[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 17:01:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของพืชผักในครัวไทย  (อ่าน 21776 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2556 18:57:29 »

.

 มะระจีน

มะระจีน ผลจะยาวใหญ่สีขาวอมเขียว ผิวขรุขระ ร่องใหญ่ ผลยาวประมาณ 4-9 นิ้ว บางครั้งที่พื้นที่เพาะปลูกมีความอุดมสมบูรณ์ผลอาจยาวถึง 10-12 นิ้ว ส่วนที่ใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคมี ยอดอ่อน ผลอ่อน ใบ ราก และเถา ซึ่งส่วนเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของ คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ บี 1 บี 2 ซี มีสารรสขม และสารลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ พี-อินซูลิน

วิธีใช้ ใบ ต้มดื่ม แก้ไข้หวัด บำรุงน้ำดี ดับพิษฝี แก้ปากเปื่อย แก้ตับม้ามพิการ แก้อักเสบ ฟกช้ำบวม ใช้ทาภายนอก แก้ผิวแห้ง ลดอาการระคายเคือง อักเสบ ผลสุก มีซาโปนิน กินเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้อาเจียน จึงไม่นิยมนำมาบริโภค

มะระมีสรรพคุณเป็นยารสเย็น บรรเทาอาการร้อนใน แก้อักเสบ เจ็บคอ สำหรับคนที่เป็นงูสวัด คั้นน้ำมะระผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็นอาการจะดีขึ้น ถ้ากินเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่องจะสามารถลดอาการเบาหวานได้ เมล็ดรสขมจัด ขับพยาธิตัวกลม รากก็ขมให้ต้มดื่ม แก้ไข้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร


 มะระขี้นก

มะระขี้นก เป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้   อื่นมีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปก คลุม ใบเดี่ยว ออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโมแต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบใบหยัก เว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบแหลม ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม กลีบดอกบาง ช้ำง่าย ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่างกลมแบน ผลแห้ง -รักษาโรคหิด  ผลสด-รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน ร้อนในกระหายน้ำทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวมเป็นหนอง ฝีอักเสบ เมล็ด-รสขม ชุ่ม ไม่มีพิษ แก้วัวถูกพิษใช้คั้นเอาน้ำให้กิน เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ใบ-แก้โรคกระเพาะ บิด แผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ ดอก-รสขม เย็นจัด ใช้แก้บิด ราก-รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดถ่ายเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน เถา-รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดฝีอักเสบ ปวดฟัน ผลสด -ต้มรับประทาน ครั้งละ 6-15 กรัม หรือผิงไฟให้แห้ง บดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอก ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอก เมล็ดแห้ง-3 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใบสด-๓๐-๖๐ กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใบแห้งบดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอกต้มเอาน้ำชะล้าง กอก หรือคั้นเอาน้ำทา รากสด-30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง เถาแห้ง-3-12 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง หรือตำพอก ส่วนบุคคลที่มีปัญหาเรื่อง ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง เมื่อรับประทานเข้าไปจะอาเจียน ถ่ายท้องปวดท้อง จึงไม่ควรรับประทาน.


 มะเขือพวง

มะเขือพวงจากข้อมูลระบุว่ามะเขือพวงมีฤทธิ์ช่วยลดอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด มะเขือพวงมีเส้นใยมาก ซึ่งช่วยในการดูดซับไขมันส่วนเกิน ช่วยเจริญอาหาร  ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนได้ดี แก้ปวดบวมฟกช้ำ แก้อาการฝีบวมหนอง  อักเสบ ขับปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานแต่พอดีอย่างเหมาะสมเพราะมะเขือพวงมีสารอัลคาลอยด์ ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและมีผลต่ออวัยวะอื่นๆ.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้วิจัยเรื่องสรรพคุณ ของมะเขือพวงพบว่า  มีฤทธิ์ช่วยลดอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน   มีเส้นใยที่ช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินได้ดี นอกจากนี้มะเขือพวงยังมีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนโบราณหลายประการ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ  ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนได้ดี  แก้ปวด  ฟกซ้ำ ปวดกระเพาะ แก้อาการฝีบวมหนอง อาการบวม อักเสบ ขับปัสสาวะ

ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัย ทำให้พบว่ามะเขือพวงมีสารจำพวก “ไฟโตนิวเทียนท์” ที่จะช่วยร่างกาย ในสภาวะขาดสารอาหาร ให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติมีกลุ่มสาร “ทอร์โวไซด์” ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ และกระตุ้นให้ตับนำคอเลสเตอรอลในเลือดไปใช้ได้มากขึ้น  รวมทั้งยับยั้งการดูดซึมกลับของคอเลสเตอรอลในลำไส้  จึงอาจช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้อีกทางหนึ่งมีสาร “ซาโปนิน”  มีฤทธิ์ขับเสมหะเป็นพืชที่มีเส้นใยมาก เมื่อเทียบกับผักพื้นบ้านของไทยทั้งหมด โดยมีเส้นใยมากกว่ามะเขือยาว 3 เท่า และมากกว่ามะเขือเปราะถึง  65 เท่า  เส้นใยในมะเขือพวง  มีชื่อเรียกว่า “เพกติน”  ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้  สารนี้จะสามารถเปลี่ยนเป็นวุ้นไปเคลือบที่ผิวของลำไส้  ทำให้ลำไส้ดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง จึงเป็นการช่วยไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเร็วเกินไป  ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้.



 มะเขือยาว  สีขาวไม่แปลก
มะเขือยาว มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินเดีย และ พม่า จากนั้นได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่ว มีด้วยกันหลายสี คือ ผลสีเขียว สีม่วง และ สีขาว ส่วนใหญ่ที่มีผลวางขายจะเป็นผลสีเขียวกับสีม่วง ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย ส่วนชนิดผลสีขาวนานๆจะพบวางขายบ้าง แต่ไม่ได้รับความนิยมรับประทานเท่าที่ควร ทั้งที่คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกับชนิดผลสีเขียวและสีม่วงทุกอย่าง อาจเป็นเพราะความเคยชินกินเฉพาะผลสีเขียวกับสีม่วงประจำก็เป็นได้ จึงทำให้ผู้พบเห็น “มะเขือยาว” ชนิดผลสีขาวรู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลก ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไรเลย

มะเขือยาว หรือ SOLANUM  MELONGENA LINN. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับค่อนข้างกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักหรือเป็นคลื่นชัดเจน มีขนละเอียดทั่ว ดอก ออกเป็นช่อหรือเดี่ยวๆตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นสีม่วง มี 5 กลีบ เกสรสีเหลือง “ผล” กลมยาว ผิวผลเกลี้ยงเป็นมัน มีด้วยกันหลายสีตามที่กล่าวข้างต้น คือ ผลสีเขียว สีม่วงเข้ม และสีขาว ภายในมีเมล็ด ดอก และผลตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยนำเอาเมล็ดแก่แห้งแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้านำเมล็ดที่แช่น้ำไปหยอดหลุมลงดินห่างกันหลุมละ 1 เมตร จะแตกต้นขึ้นมามีดอกและติดผล

ประโยชน์ทางยา รากและลำต้นใช้เป็นยาแก้บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด เท้าเปื่อยบวมอักเสบ ปวดฟัน ใบแก้ปัสสาวะขัด หนองใน ตกเลือดในลำไส้ ดอกใช้แก้แผลมีหนองและปวดฟันมีเลือดในช่องปาก หนอนมะเขือที่อาศัยบนต้น “มะเขือยาว” มีคุณอนันต์ ใช้แก้วัณโรคขั้นแรกในเด็กๆได้ ผล “มะเขือยาว” ชนิดสีขาว มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณวิรัช” หน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเองครับ.
...นสพ.ไทยรัฐ

 มะเขือยาว
มะเขือยาวเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง มีสีเขียวหรือสีม่วง มีขนนุ่ม และสั้นปกคลุม หรืออาจมีหนามเล็ก ๆ ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบ ใบจะออกสลับกัน เป็นรูปค่อนข้างกลม โคนใบเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยัก หรือเป็นคลื่นหลังใบ ใต้ท้องใบมีขนนุ่มปกคลุม ผลมีลักษณะกลมยาว มีสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำ หรือเป็นสีขาว ผิวเปลือกจะเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงขั้วผลมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
 
มะเขือยาวมีประโยชน์ต่อร่างกายนานัปการ สามารถนำลำต้นและรากแห้งประมาณ 10-15 กรัม มาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิดเรื้อรัง บิดอุจจาระเป็นเลือดหรือใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาหรือล้างบริเวณที่เป็นแผลที่ถูกความเย็น แผลเท้าเปื่อยอักเสบ  ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงละเอียดกินประมาณ 6-10 กรัม เป็นยาแก้โรคบิดอุจจาระเป็นโลหิต แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดในลำไส้ ใช้ภายนอกนำเอามาต้มเอาน้ำใช้ล้างแผลหรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนอง และแผลที่เกิดเนื่องจากถูกความเย็น ดอกสดหรือดอกแห้งนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผงละเอียด เป็นยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ และบริเวณแผลที่มีหนอง ผลแห้งกินเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ อุจจาระเป็นโลหิต หรือใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบที่มีหนอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน รวมไปถึงขั้วผลที่แห้ง ประมาณ 60-90 กรัม นำมาต้มหรือเผาให้เป็นเถ้าบดให้ละเอียดกิน เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ อุจจาระเป็นโลหิตหรือใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลบวมมีหนอง แผลในปาก ปวดฟัน หรือเป็นฝี.



 แตงกวา

แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อยมีมือเกาะ ลำต้นมีขนขึ้นปกคลุม ยาวประมาณ 2-3 เมตร มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกตัวผู้ ตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมีย มีสีเหลือง ลักษณะคล้ายแตงกวาผลเล็ก ๆ ติดกับกลีบดอก
 
ผลในขณะยังเล็กมีหนามเล็ก สีขาวและสีดำ เนื้อผลของแตงกวานิยมนำมาบำรุงผิวหนังด้วยมีสารกลูซิด กรดอะมิโน และเกลือแร่ ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ใต้ผิวหนัง ในขณะที่สาร ซิสติน และสารเมธิโอนิน ทำหน้าที่ให้ความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง ผลแตงกวามีความชื้น 96.5% โปรตีน 0.4% ไขมัน 0.1% คาร์โบไฮเดรต 2.8% แร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี มีเอนไซม์หลายชนิด ใบและเนื้อในเมล็ดจากเมล็ดแก่คนไทยโบราณนำมากินเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย ผลและเมล็ดอ่อน มีสรรพคุณฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงผมและเล็บ เถา ช่วยลดความดันเลือด


http://www.kimleng.net/ภาพประกอบ/มะเขือเทศเชื่อม/DSC02260.JPG
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 มะเขือเทศเชื่อม

มะเขือเทศผลมีรสเปรี้ยวช่วยดับกระหายทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วย ช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเยื่อตาอักเสบ ให้รับประทานผลสดลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ
 
เป็นยาสมุนไพรไทยแก้ผิวหนังที่โดนแดดเผา โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น นำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการปวดฟัน นำน้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่มรักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง ช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตา และช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต และช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ โดยรับประทานมะเขือเทศสุกเป็นประจำ คั้นน้ำมะเขือเทศสุกหรือปั่น ดื่มรับประทาน ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกระหายคลายร้อน และช่วยรักษาโรคแผลร้อนใน.


 มะเขือเทศ มีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้ในโรคที่เกี่ยวกับเชื้อราในช่องปากได้ มะเขือเทศช่วยบำรุงผิว ลดริ้วรอย รักษาสิว สมานผิว ช่วยให้ผิวเต่งตึง ใช้น้ำมะเขือเทศทาพอกหน้า หรือใช้มะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ ปะบนใบหน้าแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จึงสามารถใช้ลดอาการความดันเลือดสูงได้ บำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอสูงนั่นเอง การกินมะเขือเทศลดอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจุบันมีข้อมูลระบาดวิทยายืนยันว่า เมื่อมีการเพิ่มการกินมะเขือเทศจะลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งต่อมลูกหมาก


http://www.foodnetworksolution.com/uploaded/Veg_2.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 ปวยเล้ง

ปวยเล้ง เป็นไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี สูง 20-150 เซนติเมตร ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน แผ่นใบรูปไข่ โคนใบเป็นพูกลม สีเขียวแก่หรือเขียวอ่อน ก้านใบยาว 6-12 เซนติเมตร โคนก้านสีเขียว ชมพู หรือแดงปนม่วง เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมาย ตั้งแต่เเร่ธาตุอย่างธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม และวิตามินซี วิตามินบี 2 มีกรดโฟลิกที่เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างสารซีโรโทนินในระบบเซลล์ประสาท ซึ่งสารซีโรโทนินที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หากขาดสารตัวนี้ก็จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย มีคลอโรฟิลล์สูง เหมาะกับผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ มีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตาและผิวพรรณ มีคุณสมบัติเย็น รสหวาน สรรพคุณบำรุงเลือด ห้ามเลือด รักษาอาการเลือดกำเดาออก อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก
 
อย่างไรก็ตาม ในผักปวยเล้งมีกรดยูริกมาก คนที่ป่วยเป็นโรคเกาต์หรือไขข้ออักเสบจึงไม่ควรกินมากนัก และยังมีกรดออกซาลิกอยู่มากเช่นกัน ซึ่งกรดนี้ถ้ารวมตัวกับแคลเซียมจะก่อให้เกิดนิ่วได้ ก่อนจะปรุงอาหารจึงควรลวกผักปวยเล้งครั้งหนึ่งก่อนแล้วเทน้ำที่ลวกทิ้งไป แล้วจึงนำผักมาปรุงอาหารจะช่วยลดกรดยูริกได้บ้าง.


http://static.tlcdn1.com/data/4/pictures/0213/09-12-2012/p176sunhp5us11tfslkl83acae3.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 บรอกโคลี

บรอกโคลี เป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำ บริโภคส่วนของดอกอ่อนและก้าน ดอกจะมีสีเขียวประกอบด้วย ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว เป็นจำนวนมากรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ มีลักษณะแน่นแต่ไม่อัดตัวเหมือนดอกกะหล่ำ มีถิ่นกำเนิด อยู่ทางตอนใต้ของยุโรปแถบประเทศอิตาลี นำเข้ามาปลูกในเมืองไทย โดยปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นผักชนิดใหม่ และปลูกได้ดีในช่วงหน้าหนาว ทำให้ราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ทนร้อนมากขึ้น ทำให้สามารถผลิตได้ดี เฉพาะบนที่สูง

บรอกโคลีมีสาร ซัลโฟราเฟน ซึ่งเป็นสารป้องกันโรคมะเร็ง บรอกโคลี 1 ถ้วยตวง ให้วิตามินซีมากถึง 13% อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน มีธาตุซีลีเนียมที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนังช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่นง่ายดูอ่อนกว่าวัย อุดมด้วยวิตามินซี สารแอนติออกซิแดนท์ ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายและยังช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรงอีกด้วย ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไขข้ออักเสบ เบาหวาน และโรคหัวใจ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิตสูง ป้องกันการเกิดต้อกระจก เนื่องจากมีสารเบต้าแคโรทีนสูง.


http://www.biotec.or.th/brt/images/stories/pic_news/news01/nan2.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 ใบเมี่ยง

เมี่ยง เป็นประเภทไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อม สูงประมาณ  2-3 เมตร ตรงโคนต้นจะมีสีน้ำตาลปลาย  ลำต้นจะมีสีเขียว บางครั้งอาจจะมีตะไคร่น้ำหรือพืชตระกูลมอสขึ้นตามโคนต้น ใบเมี่ยงจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวขอบใบมีลักษณะเป็นขอบจักรเหมือนฟันเลื่อยมีลักษณะหนาเหนียว ด้านบนของใบมีสีเขียวแก่ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มมันวาว ใบเป็นรูปไข่หรือใบหอก เห็นเส้นใบได้ชัดเจนมีลักษณะการจัดเรียงตัวเป็นแบบร่างแห ใบเมี่ยง จะมีกลิ่นหอมเปรี้ยว ใบมีขนาดความกว้าง 3-4  เซนติเมตร ความยาว  6-12 เซนติเมตร ผลผลเมี่ยงเมื่อดิบจะมีสีเขียวมีขนาด 1-1.5  เซนติเมตร เมื่อแก่ผลจะมีสีน้ำตาลเข้ม และถ้าผลแก่เต็มที่จะมีสีน้ำตาลเข้มแห้งจนแตกออกเป็นกลีบ 2-3 ซีก ซึ่งจะมีเมล็ดอยู่ในผล ใบเมี่ยงให้กลิ่นหอมช่วยรักษาโรคหวัดทำให้หายใจคล่อง ระงับกลิ่นเหงื่อ กลิ่นกาย กลิ่นหอมของใบช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย คลายเครียด ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีสรรพคุณในการกำจัดกลิ่นอับดูดกลิ่นอับชื้น กลิ่นบุหรี่.


 บ๊วย

บ๊วย เป็นไม้ผลเมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน มีปลูกในประเทศไทยนานแล้ว โดยแพร่เข้ามาทางภาคเหนือ จัดเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกับท้อ พลับ หรือลูกพรุน ผลบ๊วยนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่นิยมทำกัน เช่น บ๊วยดองหรือบ๊วยเจี่ย  บ๊วยช่วยเพิ่มกำลัง บรรเทาการอ่อนเพลีย ช่วยเสริมระบบการย่อยอาหาร การเผาไหม้สารอาหารในลำไส้ เหมือนกับซีอิ๊วหรือเต้าเจี้ยว ช่วยลดมลพิษ ความเป็นพิษของอาหาร เนื้อสัตว์ในกระเพาะที่บูดเน่าเสียก่อนจะถูกขับออกจากร่างกาย เป็นทั้งยาระบายและยาลดกรดในกระเพาะ แก้ปัญหาปากมีกลิ่นหรือปัญหาโรคฟัน เหงือกอักเสบ บ๊วยมีสรรพคุณทดแทนยาสังเคราะห์ตามท้องตลาดได้.


 กัญชาจีน

กัญชาจีน เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี พบขึ้นตามธรรมชาติทั่วไปในประเทศไทย สาเหตุที่ถูกเรียกชื่อว่า “กัญชาจีน” เป็นเพราะลักษณะต้นและใบเหมือนกับต้นและใบของกัญชาทั่วไปมาก ประกอบกับแพทย์แผนจีนนิยมใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรอย่างแพร่หลาย เลยถูกเรียกชื่อว่า “กัญชาจีน” ดังกล่าว

กัญชาจีน หรือ LEONRUS  SIBIRICUS LINN. ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนปกคลุมหนาแน่น สูง 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ใบเป็นแฉกคล้ายใบกัญชาทั่วไป สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีด้วยกันหลายสีตามแต่สายพันธุ์ เช่น สีขาว สีม่วง และ สีแดง เวลามีดอกจะสวยงามมาก “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ดขนาดเล็ก ดอกออกช่วงฤดูฝนต่อเนื่องไปจนถึงฤดูหนาวทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชาวจีนเรียกว่า เอียะบ๋อเช่า, ซัวแชมั้ว และ เอียะบอไง๋

สรรพคุณยาจีน ทั้งต้นรสขมนิดๆ กินเป็นยาระบาย ช่วยเร่งการสร้างให้เนื้อเสียเกิดเนื้อใหม่ ทำให้เลือดเดินสะดวก ถ่ายประจำเดือนสตรี ภายนอกตำพอกแก้พิษ แก้บวม ใช้ทั้งต้น 1 ตำลึง เท่ากับ 37.5 กรัม ต้มกับเนื้อหมูกินแก้ประจำเดือนสตรีไม่ปกติ ใช้ครึ่งชั่งต้มกับน้ำผสมเหล้าเล็กน้อยและน้ำส้มสายชูเอาไอรมช่วยไม่ให้มดลูกหย่อนยาน ถ้าหัวนมสตรีแตกเจ็บ ใช้ทั้งต้นตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำมันจากใบชา (มีขายตามร้านยาจีนทั่วไป) ทาหัวนมจะหายแตกและเจ็บได้ แต่สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานอย่างเด็ดขาด ภาพที่เสนอประกอบคอลัมน์เป็นต้นที่เกิดจากเมล็ดที่ติดมากับดินถุงและแตกต้นขึ้นเอง ใครต้องการต้น “กัญชาจีน” ไปปลูกมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ—พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว เวลามีดอกจะสวยงามและใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่ามาก

ข้อมูล : เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


http://upic.me/i/8b/dup10040.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 พริกแอฟริกัน

พริกชนิดนี้ มีต้นวางขาย แต่ละต้นติดผลสุกเป็นสีแดงเต็มต้นน่าชมมาก ซึ่งในตอนแรกที่เห็นคิดว่าเป็นพริกกระดิ่งที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ผู้ขายยืนยันว่าเป็นคนละต้นกัน ส่วนที่วางขายมีชื่อว่า พริกแอฟริกัน ถูกนำเข้ามาจากประเทศแอฟริกานานหลายปีแล้ว กำลังเป็นที่นิยมปลูกในปัจจุบัน เพราะรสชาติเผ็ดร้อนไม่แพ้พริกขี้หนูทั่วไป ที่สำคัญเวลาติดผลสุก สีสันของผลจะเป็นสีแดงสดใส ปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ชื่อพริกแอฟริกัน ที่ผู้ขายบอกน่าจะเรียกว่า พริกแอฟริกา มากกว่า เนื่องจากคำว่าแอฟริกันหมายถึงคนแอฟริกัน ไม่ใช่ประเทศแอฟริกาถิ่นกำเนิดของพริกดังกล่าว เหมือนกับการเรียกประชาชนชาวอเมริกันนั่นเอง แต่ก็ไม่เป็นไร เมื่อผู้ขายเขายืนยันว่า “พริกแอฟริกัน” ต้องว่าตามที่เขาบอก เพียงแจกแจงให้ทราบแค่นั้น

ลักษณะเท่าที่ดูด้วยสายตาเหมือนกับพริกทั่วไป คือ อยู่ในวงศ์ SOLANA CEAE เป็นไม้พุ่ม อายุ 1-3 ปี สูง 50-120 ซม. แตกกิ่งก้านด้านข้างมาก ใบออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อ 1-3 ดอก ตามซอกใบ มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีขาว กลีบดอกบางมาก “ผล” รูปกลมรีมีสันเหลี่ยม 4-5 สัน ผลห้อยลงดูคล้ายผลของพริกกระดิ่ง ผลโตเต็มที่ขนาดปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงสดใสดูสวยงามมาก รสชาติเผ็ดร้อนไม่แพ้รสเผ็ดของพริกขี้หนูทั่วไป สามารถปรุงเป็นอาหารได้อร่อยเช่นเดียวกัน ติดผลดกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ปัจจุบัน พริกแอฟริกันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบที่รำไร ปลูกลงกระถางสามารถมีดอกและติดผลดกได้เหมือนกับปลูกลงดิน เวลาติดผลสุกจะดูสวยงามเก็บรับประทานได้คุ้มค่าครับ



 
อาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนของสตรีมีผู้เป็นกันเยอะ และจะปวดเป็นประจำเมื่อถึงวันดังกล่าว ในทางสมุนไพร มีวิธีบรรเทาได้คือให้เอา “ตะไคร้” แกง แบบสดมีขายทั่วไปทั้งต้นรวมใบ 5 ต้น สับเป็นท่อนล้างน้ำให้สะอาด ต้มกับน้ำครึ่งลิตรจนเดือด เคี่ยวเหลือ 3 ส่วน 4 ของแก้ว ดื่มตอนปวดท้องประจำเดือน ต้มดื่มเพียง 2 วันก็พอ จะช่วยบรรเทาไม่ให้ปวดได้
 
ตะไคร้ หรือ ANDROPOGON CISTRATUS DE., CIMBOPROGON CISTRATUS อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE ทั้งต้น เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ หัว รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ ใบสด ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ราก แก้ไข้เหนือ ปวดท้อง ท้องเสีย ต้นขับลม เบื่ออาหาร แก้ผมแตกปลาย แก้ทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ หัว คั่วไฟให้เหลืองชงเป็นน้ำชาดื่มขับปัสสาวะแก้นิ่วดีมาก



 โหระพา  ช่วยให้นอนหลับ
โหระพา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้คนที่เป็นโรคนอนไม่หลับสามารถนอนหลับได้ โดย มีวิธีง่ายๆคือ ให้เอาใบ “โหระพา” สด จำนวนประมาณ 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด ต้มกับน้ำจำนวนครึ่งลิตรจนเดือด เคี่ยวให้เหลือประมาณ 3 ส่วน 4 ของแก้ว ดื่มขณะอุ่นๆก่อนจะเข้านอน จะช่วยให้นอนหลับได้ ใครที่เป็นโรคนอนไม่หลับทดลองดู ไม่มีอันตรายอะไร เหมือนกับสูตรอื่นๆที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว หากได้ผลต้มดื่มได้เรื่อยๆ ไม่ได้ผลไม่ต้องดื่มต่อ
 
โหระพา หรือ OCIMUM BASILICUM LINN. อยู่ในวงศ์ LABIATAE ประโยชน์ทางสมุนไพร ทั้งต้นสดจำนวนพอประมาณต้มน้ำดื่มแก้ปวด แก้หวัด ท้องเสีย เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับลม ปวดศีรษะ ปวดข้อ หนองใน ใบสดตำละเอียดคั้นเอาเฉพาะน้ำหรือกากทาหรือพอกแผลฟกช้ำ แผลเป็นหนองเรื้อรัง แมลงสัตว์กัดต่อย เมล็ดแห้งต้มหรือแช่น้ำกินเป็นยาระบาย แก้โรคตาแดง รากสดหรือแห้งเผาไฟให้เป็นเถ้า บดละเอียดพอกแผลเรื้อรังดีมาก



 กะเพราแดง  ลดอ้วนระดับหนึ่ง
ผู้อ่านจำนวนมากขอให้แนะนำสมุนไพรลดอ้วนบ้าง ซึ่งมีสูตรหลายอย่างช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อยู่ที่ใจผู้ต้องการลดอ้วนที่จะต้องรู้จักควบคุมการบริโภคและออกกำลังกายช่วยจึงจะลดได้ ทางสมุนไพรให้เอา “กะเพราแดง” ทั้งต้นรวมราก กับตะไคร้แกง ทั้งต้นรวมราก แบบแห้งน้ำหนักเท่ากัน 15 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือด 10 นาที ดื่มเป็นน้ำชาจะช่วยให้พุงยุบ หรือลดน้ำหนักได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ลดได้มากๆหลายกิโลกรัม ต้มดื่มได้ต่อเนื่องถ้ารู้สึกว่าได้ผลไม่มีอันตรายอะไร
 
กะเพราแดง หรือ OCIMUM SANCTUM, L. อยู่ในวงศ์ LABIATAE ทั้งต้นมีรสเผ็ดร้อนกว่ากะเพราขาว ทั้งต้นเป็นยาตั้งธาตุ ตะไคร้แกง หรือ ANDROPOGON CISTRATUS DC. วงศ์ GRAMINEAE สรรพคุณบำรุงไฟธาตุ ขับลม ลำไส้ หัวคั่วไฟพอเหลืองชงน้ำร้อนดื่มแก้ขัดเบา และนิ่วดีมาก



 หญ้านาง รากแก้ไข้ดี
ในทางอาหาร “ย่านาง” มีวางขายทั่วไป นิยมรับประทานแพร่หลายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอื่นประปราย ส่วนใหญ่เอาเถา ใบอ่อน หรือใบแก่ตำละเอียดคั้นเอาน้ำสีเขียวปรุงกับแกงหน่อไม้ ใส่แกงขนุน แกงอ่อม ห่อหมก ซุบหน่อไม้ แกงยอดหวายและอีกหลายอย่าง ใช้สยบความขมของผักอื่นๆ ในฐานะแหล่งธาตุอาหาร ทำให้ผักอื่นรับประทานอร่อยขึ้น ผักบางชนิดหากขาดน้ำใบ “ย่านาง” เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้ขื่นลิ้น
 
ในทางสมุนไพรตำรายาแผนไทยระบุว่า ใบสดของ “ย่านาง” ช่วยถอนพิษสุรา มีการทดสอบความเป็นพิษด้วยการสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 แล้วฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนูประมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม มีปริมาณมากกว่า 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ ไม่แสดงความเป็นพิษ ส่วน รากสด มีฤทธิ์แก้ไข้เกือบทุกชนิด เคยมีเด็กอายุ 9 ขวบเป็นไข้หวัดมีไข้สูงมาก แต่เด็กแพ้ยาแก้ปวดทุกชนิดแม้กระทั่งยาพาราเซตามอล แม่ของเด็กดังกล่าวได้เอารากสดของ “ย่านาง” ต้มน้ำให้ลูกดื่มต่างน้ำ ปรากฏว่าไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ถือว่าได้ผลดีมาก นอกจากนั้น ทั้งต้นของ “ย่านาง” ยังสามารถปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ ใบสดเป็นยาถอนพิษได้อีกด้วย
 
ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์ MENISPERMA เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีเหลือง เป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก “ผล” กลมรี ขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัว มีชื่อเรียกอีกคือ ย่านนาง, หญ้าภคินี, เถาวัลย์เขียว, จ้อยนาง (เชียงใหม่) วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, ขันยอ และ แฮนกึม มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาไม่เท่ากัน หรืออยู่ที่ขนาดของต้นครับ.



 หนวดข้าวโพด-ไชเท้า-ชาจีน แก้บวมน้ำ
อาการบวมน้ำ มือเท้าผิวพรรณจะตึงและตัวบวมสังเกตได้ชัดเจน เกิดจากหลายสาเหตุ รวมทั้งการอั้นฉี่บ่อยๆก็เป็นได้ แต่ไม่ใช่บวมเพราะโรคไต ซึ่งอาการบวมน้ำถ้ามีไข้ด้วยจะอันตรายมาก ในทางสมุนไพร ให้เอา “หนวดข้าวโพด” สด 60 กรัม กับ “ไชเท้า” สดครึ่งกิโลกรัมไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และ “ชาจีน” 60 กรัม ต้มกับน้ำลิตรครึ่งรวมกันจนเดือด ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น อาการจะหายได้
 
ข้าวโพด หรือ ZEA MAYS LINN. อยู่ในวงศ์ POACEAE ส่วน “ไชเท้า” หรือ CHINESE RADISH ชื่อวิทยาศาสตร์ RAPHANUS SATIVUS LINN. อยู่ในวงศ์ BRASSICACEAE มีวิตามินสูง ชาวอียิปต์ถือเป็นอาหารช่วยให้มีกำลังทางเพศ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค มีฤทธิ์แก้ไอ ขับเสมหะ



 หัวหอมแดง ดับพิษไฟ
เวลามีใครถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกตามร่างกาย แต่ไม่ใช่ว่าถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกมากมาย ทำให้เกิดปวดแสบปวดร้อนแทบทนไม่ไหว ในยุคสมัยก่อน หมอยาพื้นบ้านมีวิธีช่วยได้โดย ให้เอา “หัวหอมแดง” ที่ใช้ปรุงอาหารหาได้ในครัวเรือน ตำละเอียดพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก จะช่วยดับพิษปวดแสบ ปวดร้อนให้หายได้ทันทีแบบเหลือเชื่อ
 
หัวหอมแดง หรือ ALLIUM ASCALONI-CUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE มีขายทั่วไป คุณค่าทางอาหารให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการดูดซึมของร่างกาย มีเบต้าแคโรทีน และยังมีสารจำพวก “ฟลาโวนอยด์” โดยเฉพาะ “เควอซิทีน” ที่เป็นเกราะป้องกันมะเร็งให้กับคนได้ เหมือนกับที่พบใน ไวน์แดง ดังนั้นกิน “หัวหอมแดง” นอกจากจะได้ “ฟลาโวนอยด์” แล้วยังมีสารอาหารมากกว่า 10 ชนิด พร้อมด้วยกากใยอาหารสูงด้วย



http://www.sookjaipic.com/images_upload/23695887376864_1.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 มะเขือม่วงญี่ปุ่น มีต้นขายประโยชน์ดี
มะเขือม่วงญี่ปุ่น มีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีรูปทรงของผลแตกต่างกันไปรวมทั้งสีสันของผลด้วย โดยส่วนใหญ่ นิยมเอาผลดิบไปย่างไฟอ่อนๆ พอสลบ รับประทานกับน้ำพริกชนิดต่างๆ หรือฝานเป็นชิ้นบางๆ ชุบแป้งทอดรับประทานเฉยๆ หรือจิ้มน้ำจิ้มชนิดต่างๆ อร่อยมาก ใครที่ชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นเป็นประจำหากสังเกตจะพบว่ามี “มะเขือม่วงญี่ปุ่น” เป็นส่วนประกอบทุกเมนู
 
มะเขือม่วง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กุมภาพันธ์ 2559 16:14:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2556 11:59:31 »

.
 ฟักทอง
ฟักทอง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อยไปตามดิน จัดอยู่ในจำพวกผัก เนื่องจากนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบอาหาร แต่ยังนำไปทำของหวานเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในทางพฤกษศาสตร์จัดอยู่ในสกุล Cucurbita วงศ์ Cucurbitaceae ถือว่าเป็นพืชดั้งเดิมของโลกตะวันตก

เมื่อฟักทองเป็นไม้เลื้อยจึงมีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย

ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี "กรดโปรไพโอนิค" กรดนี้ทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนม เช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน

ในประเทศตะวันตกนิยมนำฟักทองมาเจาะเป็นช่อง มีจมูก ตา แล้วใส่เทียน หรือดวงไฟข้างในเพื่อฉลองวันฮัลโลวีน  



http://www.bansuanporpeang.com/files/images/user4287/DSC00421.JPG
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 ยอดฟักทอง
ฟักทองเป็นพืชผักที่มีลำต้นทอดและเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่นเดียวกับแตงโม มีดอกสีเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ผสมเกสรโดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัด หรือมีแมลงผสมเกสร หรือผู้ปลูกช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผลเป็นไม้เถาอ่อน มีขนสากมือ มีหนวดสำหรับเกี่ยวพันทอดไปตามพื้นดิน เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุปีเดียว เมื่อให้ผลแล้วก็ตายไป มีหลายพันธุ์ทั้งแบบต้นเลื้อยและเป็นพุ่มเตี้ย พันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน พันธุ์หนักมีอายุตั้งแต่หยอดเมล็ดจนติดผลอ่อน 45-60 วัน และให้ผลแก่เมื่อ120-180 วัน โดยทยอยเก็บผลได้หลายครั้งจนหมดผล

ฟักทองมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนยอดฟักทองในทางสมุนไพรไทยยอดและดอกฟักทองมีสรรพคุณกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับเสมหะ เหมาะสำหรับรับประทานเพื่อถอนพิษไข้ มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน และวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงกระดูก ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง.



 ใบบุก
บุกเป็นพืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า หัวบุก ใบ ลักษณะเหมือนใบมะละกอ มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย บางชนิดมีหนามอ่อนๆ  หรือบางทีบุกบางชนิดก็มีใบมีจุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่บาง  เป็นพืชอาหารพื้นบ้านของไทยนำเอาก้านใบมาแกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก บุกมีหลายชนิดหลายพันธุ์ อาจขมและมีพิษ ทุกชนิดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต  ทั้งที่ก้านใบและหัว ซึ่งอาจทำให้คัน ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มเสียก่อน

ปัจจุบันมีการนำบุกมาแปรรูป ทั้งในลักษณะของเส้นบุก จากการศึกษาพบว่า  แป้งบุกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พวกกลูโคแมนแนน  เป็นสารโมเลกุลใหญ่ ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส  และ  เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร  ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดี ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการดูดซึมของ กลูโคลสจากทางเดินอาหาร ปัจจุบันมีการนำมาทำเป็นแป้งประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง.
 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 ผักกระเฉด
ผักกระเฉดถ้าขึ้นบนดิน ก็เป็นพืชคลุมดิน  เป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับผักบุ้ง เป็นพืชพื้นเมืองของไทยและพบได้ที่ประเทศมาเลเซีย สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำ และบนบก แต่ถ้าเจริญเติบโตในน้ำจะมีส่วนทำหน้าที่เป็นทุ่นพยุงเถาให้ลอยน้ำได้เป็นเหมือนทุ่นลอยน้ำ มีวิตามินซีสูง มีวิตามินเอ ผักกระเฉดช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยในระบบสืบพันธุ์ มีแคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน อีกทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ ในตำราสมุนไพรไทย ผักกระเฉดเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ ในสูตรยาโบราณจะนำผักกระเฉด ตำผสมกับสุราแล้วหยอดบริเวณฟันที่ปวด เชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้.

ข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556


 เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อ่อน
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มีแร่ธาตุและวิตามินหลายอย่าง เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามินอี ซึ่งเป็นสารบำรุงสมอง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีเส้นใยช่วยการทำงานของลำไส้ คนไทยในอดีตนิยมนำใบมาบดละเอียดใช้พอกแผลไฟไหม้ ยอดอ่อน กินแก้ท้องร่วง ยาง นำไปทำน้ำหมึก น้ำมันขัดเงา ลำต้น ใช้ทำหีบใส่ของ ลังไม้ ดุมล้อเกวียน รากที่อยู่ใต้ดินนำมาเป็นยาสมานแผล น้ำมันในเมล็ด รักษากลาก เกลื้อน และโรคผิวหนังอื่น ๆ ส่วนลูกอ่อนจะใช้รับประทานกับน้ำพริกกะปิ หรือใช้เป็นผักเครื่องเคียงในการรับประทานกับขนมจีน น้ำมันที่สกัดจากเปลือกเมล็ด มีสรรพคุณใช้เป็นพิษต้านเชื้อจุลินทรีย์โดยเฉพาะเชื้อหนองชนิด บางรายงานระบุว่า น้ำมันที่สกัดได้จากเปลือกเมล็ด เคยใช้รักษาโรคเรื้อน เกลื้อนและหูดได้   ขณะเดียวกันก็มีโทษ คือน้ำมันที่สกัดจากเปลือกเมล็ดหากสูดดมอาจจะเกิดการระคายเคือง และมีพิษรุนแรงต่อระบบหายใจ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 มะอึก
มะอึกเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ทุกส่วนมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง 15-25 ซม. ยาว 20-30 ซม. โคนใบเว้าหรือตัด ขอบใบหยักเว้าเป็นพู แผ่นใบสีเขียว มีขนทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง เป็นเส้นรวมเป็นยอดแหลม ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.8-2 ซม. ผิวมีขนยาวหนาแน่น ผลสุกสีเหลืองแกมน้ำตาล เมล็ดแบน มีจำนวนมาก เป็นพืชพื้นบ้านของไทย คนไทยนำมะอึกมาใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ทั้งด้านอาหารและยา ในตำราสมุนไพรไทยบรรยายสรรพคุณทางยาของมะอึกไว้ว่า ใน ผลจะมีรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต ส่วนของรากรส เปรี้ยว เย็นน้อย แก้ดีฝ่อ ดีกระตุก แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน ในมาเลเซียใช้เมล็ดมะอึกรักษาอาการปวดฟันโดยมวนเมล็ดมะอึกแห้งในใบตองแห้งแล้วจุดสูดควันเข้าไป. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 มะอึก กับสรรพคุณน่ารู้
มะอึก เป็นพืชครัวที่นิยมรับประทานและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในทางอาหาร ผลอ่อน ผลแก่หรือผลสุกเต็มที่ใช้รับประทานเป็นผักแกล้มด้วยวิธีขูดเอาขนบนเปลือกผลออกแล้วผ่าเอาเมล็ดในทิ้ง หั่นเป็นชิ้นพอคำ จิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ กรอบเฝื่อนเล็กน้อยอร่อยมาก ในภาคกลางบางพื้นที่ นิยมเอาเปลือกผลเอาเมล็ดทิ้งหั่นเป็นฝอยโขลกรวมกับน้ำพริกกะปิเพิ่มรสชาติดี ไม่แพ้ใส่มะเขือพวง หรือ หั่นเป็นชิ้นทั้งเมล็ดใส่ในส้มตำ นิยมรับประทานอย่างกว้างขวาง

ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาแผนไทย กล่าวว่า ราก ของ “มะอึก” มีรสเย็นและเปรี้ยวเล็กน้อย ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ดีฝ่อ ดีกระตุก หมายถึง นอนสะดุ้งผวาชนิดหลับๆตื่นๆ  สาเหตุจากโทษน้ำดีกระทำ แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน ใบสด ตำพอกฝีลดอาการปวดบวมผื่นคันต่างๆดีมาก ดอก ตำพอกแก้คันตามผิวหนัง เมล็ด เผาไฟ สูดดมเอาควันแก้ปวดฟันได้

มะอึก หรือ SOLANUM STRA-MONIFOLIUM JACQ อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE  เป็นไม้พุ่มล้มลุก  อายุหลายปี ต้นสูง 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขากว้าง ลำต้นเรียบ สีเขียว เมื่อต้นแก่เป็นสีขาวนวล มีขนละเอียดและมีหนามแหลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีกว้าง ขอบใบหยักเว้าลึก ปลายใบแหลม ฐานใบ 2 ข้างไม่เท่ากัน มีหนามแข็งบนเส้นใบ ดอกออกตามซอกใบ 3–5 ดอก สีขาวหรือสีม่วง “ผล” รูปกลม ผลอ่อนสีเขียว มีขนยาวปกคลุมทั้งผล ผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม มีเมล็ดเยอะ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่ออีกคือมะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมากอึก (อีสาน) พืชผักกินได้จำนวนมากนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรด้วย ซึ่ง “มะอึก” ก็เช่นเดียวกัน นิยมปลูกในบริเวณบ้านเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานแพร่หลายเฉพาะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลอ่อน สีเขียว หรือผลสุกสีเหลือง นำไปขูดเอาขนออกผ่าซีกเอาเมล็ดทิ้ง ล้างน้ำให้สะอาด รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ขมและขื่นเล็กน้อยกรอบอร่อยมาก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆเป็นฝอยๆ ใส่ส้มตำมะละกอ ใส่ปลาจ่อม หั่นพริกขี้หนู ตะไคร้สด หอมแดงสด หรือหั่นบางๆ ใส่น้ำพริกกะปิ เพิ่มกลิ่นหอมรับประทานกรอบอร่อยมาก คนรุ่นใหม่ น้อยคนนักจะรู้จัก “มะ-อึก” เพิ่งพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ “มะอึก” ออกวางขาย จึงรีบแจ้งให้ผู้อ่านไทยรัฐที่ชื่นชอบปลูกพืชผักกินได้ให้ทราบทันที



 กระเจี๊ยบมอญ แก้กระเพาะอาหารเป็นแผล
กระเจี๊ยบมอญ นอกจากกินเป็นอาหารได้แล้ว ยังมีสรรพคุณแก้โรคได้หลายอย่างด้วย ซึ่งเคยแนะนำไปแล้วบางสูตร สำหรับสูตรแก้กระเพาะอาหารเป็นแผลให้เอาผลสด “กระเจี๊ยบมอญ” 10-15 ผล ลวกให้สุกแล้วนำไปปั่นต่อให้ละเอียดแบ่งกินครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 2 ครั้ง

ก่อนหรือหลังอาหารตอนเช้าและก่อนนอน  ประมาณ 1 อาทิตย์ อาการจะค่อยๆดีขึ้นและสู่ปกติได้ สามารถทำกินได้เรื่อยๆ ไม่มีอันตรายอะไร เหมาะกับคนกินสดไม่ได้

กระเจี๊ยบมอญ หรือ LADY’S  FINGER/ OKRA ABELMOSCHUS ESCULENTUS (L.) MOENCH อยู่ในวงศ์ MALVA-CEAE มีชื่ออีกคือ มะเขือมอญ, กระเจี๊ยบ, มะเขือทวาย, มะเขือพม่า, มะเขือขื่น, มะเขือละโว้ และ กระเจี๊ยบเขียว ผลแห้งป่นชงน้ำกินบำบัดโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากมี “เพคติน” และสารเมือกช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ชาวญี่ปุ่น ชอบกินอาหารดิบจะกิน “กระเจี๊ยบมอญ” ทั้งแบบสดและสุกเพื่อช่วยขับพยาธิเป็นประจำ



 งิ้ว เป็นอาหารมีสรรพคุณและประโยชน์
ไม้ชนิดนี้ มีขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า BOMBAX CEIBA LINN อยู่ในวงศ์ BOMBACACEAE เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ออกเกือบตั้งฉากกับลำต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5-7 ใบ เป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นกระจุก 3-5 ดอก ที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน กลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีแดง ปลายม้วนออก (อีกชนิดหนึ่งกลีบดอกเป็นสีเหลืองแต่หายากมาก) ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 ซม.แต่ละดอกจะมี เกสรตัวผู้เป็นกระจุกจำนวนมาก โคนก้านเกสรจะติดกันเป็นกลุ่มมองเห็นอย่างชัดเจน “ผล” รูปรีหรือรูปของขนาดลักษณะคล้ายผลนุ่น มีเมล็ดจำนวนมากสีดำหุ้มด้วยปุยสีขาว ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคม ต่อเนื่องระยะสั้นๆถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และจะทิ้งใบก่อนมีดอก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ นุ่นนาง,งิ้วแดง,บักมี้ (จีน) งิ้วป่า, งิ้วปงแดง และงิ้วบ้าน

ประโยชน์ทางอาหาร เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้งโรยในขนมจีนน้ำเงี้ยวรับประทานและปรุงเป็นแกงแคทางภาคเหนืออร่อยมาก ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

สรรพคุณทางสมุนไพรและประโยชน์ใช้สอย ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนถอนพิษ เปลือกต้น ใช้ทำเชือก ยาง จากต้นแก้ท้องร่วง ไม้ทำฟืน ฝา หีบใส่ของ ของเล่นเด็กๆแบบยุคโบราณหลายรูปแบบ ทำก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ไม้อัด เยื่อกระดาษ ใบแห้งหรือใบสดตำ ทาแก้ฟกช้ำ ดอกแห้ง ทำยาทาระงับปวด แก้พิษไข้ดีมาก

ปัจจุบันต้น “งิ้ว” หาดูได้ยากมาก จะมีปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่แห่งเท่านั้น เพื่อเก็บเอาเกสรตัวผู้ของดอกตากแห้งขายเป็นอาหารทางภาคเหนือเท่านั้น
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


 ข้าวบือพะทอ
ข้าวบือพะทอเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในที่นาพื้นที่สูง เป็นพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 24-27 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 154-156 เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคเมล็ดด่าง ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 440-500 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวสุกอ่อนนุ่ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้ม และโรคใบสีแสด
 
ลักษณะประจำพันธุ์ ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งปานกลางทำมุม 45 องศา คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความยาวของกลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตร 208 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 143 เมล็ด เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 20.91 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร หนา 2.86 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.25 มิลลิเมตร กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 1.83 มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ปริมาณอมิโลส 10.20 เปอร์เซ็นต์.
 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 มะเขือเปรี้ยว
เป็นมะเขือรสเปรี้ยว นิยมปลูกและสามารถปลูกได้โดยทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ผลรูปร่างกลมยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีส้มอมเหลือง  ผลสุกให้รสเปรี้ยวใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารของทางภาคเหนือนิยมเอามาทำน้ำพริกอ่อง แกง และน้ำพริกต่าง ๆ ทางอีสานนิยมนำมาตำส้มตำ ซึ่งถือว่าเป็นมะเขือที่ตำส้มตำได้อร่อย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ  มีวิตามินเอ คาร์โบไฮเดรต ในน้ำมะเขือมีส่วนช่วยลดน้ำหนักพลาสมาระดับคอเลสเตอรอลและปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีน ผักที่นิยมบริโภคของคนไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศ มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตา ไม่ทำให้ปวดตา สายตาสั้น แสบตา หรือตาแห้ง เนื่องจากมีสารที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นวิตามิน A  ที่เรียกว่า เบต้า-แคโรทีน ช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงให้ตาเป็นประกาย ไม่แสบ ไม่แห้ง ในผักบุ้งดิบ จะมีทั้งวิตามิน A และวิตามิน C รวมถึงเบต้า-แคโรทีน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันมะเร็ง และมีเกลือแร่ ธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด อีกทั้งแคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยในการขับถ่าย เพราะมีใยอาหาร นอกจากนี้ในผักบุ้งยังมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่สามารถลดน้ำตาลในกระแสเลือดสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน และมีฤทธิ์เย็นช่วยบรรเทาอาการร้อนในแต่ถ้าบริโภคผักบุ้งมากเกินไปก็จะทำให้ปวดเมื่อยขา และเข่าได้ ผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท คือ ผักบุ้งไทย และผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซียม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น.  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 ถั่วพุ่ม
ฝักสดถั่วพุ่ม รับประทานแทนผักจิ้มน้ำพริก หรือทำตำส้มแทนมะละกอได้ เมล็ดแห้ง ประกอบอาหารทั้งคาว และหวานได้ เป็นที่นิยมในอาหารประเภทชีวจิต เกษตร กรบางแห่งใช้ถั่วพุ่มปลูกเป็นพืชปุ๋ยสด แซมในไร่มันสำปะหลัง โดยปลูกแซมแถวเดียว ระหว่างกลางแถวมันสำปะหลัง และพบว่าการไถกลบพืชปุ๋ยสดแล้วปลูกมันสำปะหลังตามในพื้นที่ขุดดินยโสธร จะทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสดเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้ง แต่ปีที่ 1-5 โดยเฉลี่ยได้น้ำหนักหัวมันสด 2,490 กิโลกรัมต่อไร่
 
ถั่วพุ่มเป็นพืชปุ๋ยสดหมุนเวียนในนาข้าว โดยปลูกก่อนปักดำข้าว นาข้าวที่นาดอนและมีการระบายน้ำดี โดยปลูกปลายฤดูฝนแล้วไถกลบในภายหลัง เช่นบางพื้นที่ของจังหวัดสกลนคร มีการปลูกถั่วพุ่มและไถกลบในนาข้าว พบว่าได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 52 ถังต่อไร่ ข้อมูลจากกรมพัฒนา ที่ดินระบุว่าปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากการปลูกถั่วพุ่ม หลังจากไถกลบแล้วจะสลายตัวภายใน 30 วัน มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหาร N, P, K ประมาณ 2.92, 0.45 และ 4.00.
 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 ลูกเนียง
เนียงเป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว 2 ฝา  ลูกเนียงหรือเมล็ดเนียงเป็นผักที่ นิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสด ใช้ลูกอ่อนปอกเปลือกจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรสเผ็ด หรือบริโภคลูกเนียงเพาะ โดยการนำลูกเนียงแก่ไปเพาะในฟางจนเกิดต้นอ่อนงอก ลูกเนียงดอง หรือทำให้สุก โดยต้มหรือย่าง ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ มีโปรตีน 7.9 กรัมเปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 36.2 กรัมเปอร์เซ็นต์ ไขมัน 0.2 กรัมเปอร์เซ็นต์ วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด โดยทั่วไปรับประทานลูกเนียงแล้วมักไม่เกิดอาการผิดปกติใด ๆ มีบางคนเท่านั้นที่รับประทานแล้วเกิดอาการพิษ

โดยสารที่ก่อให้เกิดอาการพิษในลูกเนียง คือ กรดเจ็งโคลิค ในลูกเนียง 1 กรัม จะมีกรดเจ็งโคลิค ประมาณ 93% ผู้แพ้เมื่อรับประทานไปแล้วมักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ซึ่งแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ และให้ร่างกายขับถ่ายออกมา.
  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


 เพกา
เพกาเป็นไม้ต้นสูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสงราก เปลือกต้น ฝักอ่อน เมล็ด  ราก มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร  แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต

รากนำมาฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม ฝักอ่อน รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ เมล็ด  ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด นอกจากนี้เปลือกเพกายังสามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น เพื่อแก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ.
  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 หอมแดง
หอมแดงหรือหอมหัวเล็ก เป็นพืชไวแสง ช่วงเวลากลางวันสั้น การลงหัวของแต่ละพันธุ์ไม่เท่ากัน หอมแดงพื้นเมืองไทยจะลงหัวได้ดีที่ช่วงแสงของวัน ประมาณ 11 ชั่วโมง มีลำต้นสั้นและฝังอยู่ใต้ดิน ขนาดสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กาบใบพองออกเพื่อสะสมอาหาร ลักษณะเป็นช่อคล้ายร่ม ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวอมม่วงมีกลีบดอก 6 กลีบ ออกดอกในช่วงฤดูหนาว หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซูบผอม ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ อาจป้องกันโรคมะเร็งได้ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่น ๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง
 
แต่ถ้ากินมากเป็นประจำเกินความต้องการของร่างกาย อาจทำให้หลงลืมง่าย ผมหงอก มีกลิ่นตัว ฟันเสีย ตาฝ้ามัว และประสาทเสียได้ จึงต้องระมัด ระวังในการกินด้วย.
 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


  คุณค่าของผักพื้นบ้าน
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย นำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของผักพื้นบ้านที่คนไทยทั้ง 4 ภาคนิยมกินกันอยู่ทั่วไป ทั้งดอก ใบ ยอดอ่อน ฝัก ผล หัวและ ราก และพบว่าพืชผักของไทยมีประโยชน์สารพัด อันนำสู่การที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเผยแพร่ส่งเสริมประชาชนใช้บริโภค และให้โรงพยาบาลในสังกัดนำมาปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วย เพื่อเป็นตัวอย่างประชาชน ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง

ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ริมห้วย หนอง คลอง บึง และ ป่าเขา ในการศึกษาผักพื้นบ้านครั้งนี้ กรมอนามัยได้เก็บตัวอย่างผักพื้นบ้านรวม 45 ชนิด จาก 4 ภาค ประกอบด้วยภาคกลาง 12 ชนิด ภาคเหนือ 6 ชนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ชนิดและภาคใต้ 22 ชนิด โดยศึกษาปริมาณสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย 9 ชนิด ได้แก่ 1.พลังงาน 2.โปรตีน 3.ไขมัน 4.คาร์โบไฮเดรต 5.เบต้าแคโรทีน 6.วิตามินซี 7.ใยอาหาร 8.ธาตุเหล็ก และ 9.แคลเซียม ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักทุก 100 กรัมเท่ากัน พบว่าผักพื้นบ้านของไทยทุกชนิดให้พลังงาน โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่าผักเหล่านี้กินแล้วไม่ทำให้อ้วนพันธุ์อยู่ปลายท้องของแมลง

ผักที่มีแคลเซียมสูงที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ 1. หมาน้อย มี 423 มิลลิกรัม(ม.ก.)   2. ผักแพว 390 ม.ก.  3. ยอดสะเดา 384 ม.ก.  4. กะเพราขาว 221 ม.ก.  5. ใบขี้เหล็ก 156 ม.ก.  6. ใบเหลียง 151 ม.ก. 7. ยอดมะยม 147 ม.ก.  8. ผักแส้ว 142 ม.ก. 9. ดอกผักฮ้วน 113 ม.ก. และ 10. ผักแมะ 112 ม.ก.  โดยแคลเซียมมีบทบาทหลักเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยในการแข็งตัวของเลือดและควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด

ผักที่มีธาตุเหล็กสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ใบกะเพราแดง 15 ม.ก.  2.  ผักเม็ก 12 ม.ก.  3. ใบขี้เหล็ก 6 ม.ก.  4. ใบสะเดา 5 ม.ก.  และ 5. ผักแพว 3 ม.ก. โดยธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเพื่อนำออก ซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และมีบทบาทในด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ สมรรถภาพในการทำงาน สร้างภูมิต้านทานโรค และเกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ ธาตุเหล็กถูกดูดซึมได้ดีต้องกินอาหารที่มีวิตามินซีควบคู่ด้วย

ผักที่มีใยอาหารสูง 10 อันดับ ได้แก่  1. ยอดมันปู 16.7 กรัม  2. ยอดหมุย 14.2 กรัม  3. ยอดสะเดา 12.2 กรัม  4. เนียงรอก 11.2 กรัม  5. ดอกขี้เหล็ก 9.8 กรัม  6. ผักแพว 9.7กรัม  7. ยอดมะยม 9.4 กรัม  8. ใบเหลียง 8.8 กรัม  9. หมากหมก 7.7 กรัม และ  10.ผั กเม่า 7.1 กรัม

โดยที่ใยอาหารในผักทำให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระได้เร็วขึ้น ท้องไม่ผูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิดยังช่วยลดระดับคอเลส เตอรอลซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง 10 อันดับ ได้แก่  1. ยอดลำปะสี 15,157 ไมโครกรัม  2.ผักแมะ 9,102 ไมโครกรัม  3. ยอดกะทกรก 8,498 ไมโครกรัม  4. ใบกะเพราแดง 7,875 ไมโครกรัม  5. ยี่หร่า 7,408 ไมโครกรัม  6. หมาน้อย 6,577 ไมโครกรัม  7. ผักเจียงดา 5,905 ไมโครกรัม  8. ยอดมันปู 5,646 ไมโครกรัม  9. ยอดหมุย 5,390 ไมโครกรัม และ  10. ผักหวาน 4,823 ไมโครกรัม

ผักที่มีวิตามินซีสูง 10 อันดับ ได้แก่  1. ดอกขี้เหล็ก 484 ม.ก.  2. ดอกผักฮ้วน 472 ม.ก.  3. ยอดผักฮ้วน 351 ม.ก.  4. ฝักมะรุม 262 ม.ก.  5. ยอดสะเดา 194 ม.ก.  6. ผักเจียงดา 153 ม.ก.  7 .ดอกสะเดา 123 ม.ก.  8. ผักแพว 115 ม.ก.  9. ผักหวาน 107 ม.ก. และ 10. ยอดกะทกรก 86 ม.ก.

โดยทั้งเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีเป็นสารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ลดการอักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย และทำให้ร่างกายแก่ชราช้าลงด้วย
 หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสf


 ยอ
ยอ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุน ชื่อภาษาอังกฤษ Indian mul berry, noni ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citriforia L. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น มะตาเสือ ยอบ้าน แยใหญ่

สรรพคุณ รากเป็นยาระบาย ผลแก้อาเจียน ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ขับเลือดสตรี แก้ร้อนในอก แก้เหงือกบวม บำรุงธาตุและช่วยเจริญอาหาร ใบแก้ท้องร่วงและแก้ไข้ แก้จุกเสียด เมล็ดใช้เป็นยาระบาย แก้เท้าเย็น แก้เสียงแหบแห้ง แก้ท้องร่วงในเด็ก เป็นยาอายุวัฒนะ ระบายท้อง แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดหัว แก้ปวดข้อ สมัยก่อนมีการถนอมยอเพื่อเก็บไว้ให้กินได้นานๆ หลายวิธี เช่น ยอดองเกลือ ยอดองน้ำผึ้ง ยอกวน หรือทำน้ำลูกยอ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
ไทยรัฐ


 อบเชย
อบเชย เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Cinnamon ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum verum J.Presl ตัวต้นสูงประมาณ 4-10 เมตร เปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน เส้นใบหยัก 3 เส้น เวลาออกดอกจะออกที่บริเวณซอกใบ หรือปลายกิ่ง โดยออกดอกย่อยสีเหลืองอ่อนรวมกันเป็นช่อ  พืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับอบเชย ได้แก่ ชะเอม กะเพราต้น ข่าต้น สมุนแว้ง การบูร เทพทาโร เราใช้เปลือกของต้นอบเชยนำมาทำเป็นเครื่องเทศ ผ่าเป็นแท่งอบเชย มีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความ ชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูก เช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวน ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม

สรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณ เช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่างๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้นแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ทำยานัตถุ์ใช้สูดดมเพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วง เพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหารและสลายไขมัน ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า 6 ปี หรือใบกิ่งนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย
ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กุมภาพันธ์ 2559 18:12:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 มกราคม 2557 13:34:50 »

.
http://www.munjeed.com/image_news/2010-11-22/Thairath_22112553164617.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
 มะเกลือ
พรรณไม้ที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก จึงอยากนำมาแนะนำให้รู้จักกันนั่นคือ "มะเกลือ"  พรรณไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros mollis Griff. ชื่อภาษาไทยอื่นๆ ว่า มักเกลือ ผีเผา

มะเกลือเป็นไม้สูงประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้างประมาณ 1.54 ซ.ม. ยาว 4-8 ซ.ม. ใบแห้งสีดำ ดอกเล็กสีขาวหรือขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามใบ ผลกลมเกลี้ยง ผลแก่จัดแห้งสีดำ มีกลีบจุกที่ขั้วผล 4 กลีบ



 ย่านางแดง
ย่านางแดง เป็นไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข็งขนาดใหญ่มีเหง้าหัวใต้ดิน เถายาวประมาณ 4-10 เมตร สีน้ำตาลเกลี้ยงพาดตามต้นไม้อื่น กิ่งแขนงแยกออกจากง่ามใบสลับกันไปเป็นระเบียบตามปลายกิ่งแขนง มีมือม้วนเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันสำหรับเกาะยึด ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ มีหูใบเล็กๆ โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง ดอกออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมาก ช่อหนึ่งยาว ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก 2 ข้างของก้านช่อกลีบรองกลีบดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉก แหลมๆ 5 แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี 5 ผล เป็นฝักแบนๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน

สรรพคุณ บำรุงกำลัง แก้ปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย และถอนพิษ เหง้าใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาสำแดง ถอนพิษและแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก



 ท้าวยายม่อม
เท้ายายม่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze ชื่อวงศ์ TACCACEAE ชื่ออื่นๆ เช่น ไม้เท้าฤๅษี บุกรอ สิงโตดำ เป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปฝ่ามือแยกเป็น 3 แฉกขอบเว้าลึก ดอกช่อซี่ร่มออกที่ปลายยอด ดอกสีเขียวแกมเหลืองหรือสีม่วงเข้ม ผลทรงกลม สีเขียว ขยายพันธุ์โดยใช้หัว เป็นพืชตระกูลเดียวกับค้างคาวดำ สมุนไพรในตระกูลนี้ส่วนใหญ่ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย โดยขุดเหง้ามาต้มน้ำดื่ม ยอดอ่อนของเท้ายายม่อมนำมาต้มจิ้มน้ำพริกรับประทานได้ หรือผัดกับน้ำกะทิสด ที่ชาวบ้านเรียกว่าผัดกะทิเท้ายายม่อม ช่วยเพิ่มความอร่อย  แป้งเท้ายายม่อมสกัดมาจากหัวมันเท้ายายม่อม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงา เวลาใช้ต้องบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความข้นเหนียวหนืดและใส ปัจจุบันแทบหาซื้อไม่ได้แล้ว โดยมากทำมาจากมันสำปะหลัง


 ตำลึง
ตำลึงเป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยว เลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย มีภาษาอังกฤษที่เรียกตามชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coccinia grandis เป็นพืชกินได้และมีประโยชน์ อุดมด้วยวิตามิน เอบีตา-แคโรทีน

ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน) เป็นต้น

ใบตำลึงที่เรากินกันมีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้าง และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอก สีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง บ้านใครมีตำลึงจะเห็นได้ว่ามีนกชอบมาเกาะกินผลตำลึง

นอกจากปรุงเป็นอาหารอร่อยแล้ว ตำลึงมีคุณสมบัติเป็นยาด้วย ใบใช้แก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ ส่วนเถาตำลึง หากต้มแล้วใช้น้ำมาหยอดตาจะช่วยแก้ตาแดง ตาฟาง ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้ ส่วนรากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า ขณะที่น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด



  ตำลึงทอง
ตำลึงทอง มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทกรก บางแห่งเรียก เพชรสังฆาต ร้อยข้อ ต่อกระดูก ฯลฯ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passiflora foetida L.

ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ตำลึงทองเป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักดี  ลักษณะเป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก ขนาด 4-6.5 X 4-6.5 เซนติเมตร ผลกลมมีกลีบเลี้ยงติดทนลักษณะคล้ายขนหุ้มผล เส้นผ่านศูนย์กลางของผล 1.5 เซนติเมตร  ฤดูกาลออกดอกและผลอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ใช้กินได้ หรือปั่นเป็นเครื่องดื่มได้

สรรพคุณของตำลึงทองคือ บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูก รักษากระดูกหัก ข้อเสื่อม ปวดข้อ ปวดเข่า ริดสีดวงทวาร ฯลฯ

ปัจจุบันโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลายแห่งใช้ตำลึงทองสำหรับบรรเทาอาการริดสีดวงทวารทดแทนยาแผนปัจจุบัน ขณะที่ ร.พ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ใช้แทนยาแผนปัจจุบันสำหรับริดสีดวงทวารมานานถึง 11 ปี เนื่องจากมีราคาถูกกว่า 3-5 เท่า

ภญ.สุภาภรณ์กล่าวอีกว่า สำหรับตลาดโลกนั้น ตำลึงทอง หรือ เพชรสังฆาตได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีงานวิจัยรองรับมากมาย อาทิ การต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และเพิ่มมวลกระดูก โดยเฉพาะการเพิ่มมวลกระดูกนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเพราะปัจจุบันพบว่า หญิงไทยอายุ 40 ปี มากกว่าร้อยละ 20 มีกระดูกพรุนสันหลังส่วนเอว ขณะที่ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 เตี้ยลงเพราะกระดูกสันหลังทรุดตัวอันเนื่องมาจากกระดูกพรุน ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่าในอีก 40 ปี มีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นเป็น 6.3 ล้านคน ในส่วนของการรักษาพยาบาลพบว่า ในสถานพยาบาลของรัฐมีการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนสูงมากเป็นอันดับ 2 และส่วนมากเป็นยานำเข้า หากมีการศึกษาวิจัยต่อยอดความรู้จากภูมิปัญญาไทย โดยการใช้เพชรสังฆาตเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกจะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้



  หน่อกะลา
หน่อกะลา' หรือ 'หน่อ' ของต้น 'กะลา'

ก่อนจะกลายร่างเป็นทอดมัน ของอร่อยคู่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มารู้จักต้นกะลาที่ให้หน่อกันก่อน กะลา หรือข่าน้ำ หรือกูม (รามัญ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia nigra Burrt วงศ์ Zingiberaceae อยู่ในวงศ์เดียวกันกับข่า เป็นไม้เนื้ออ่อนที่ชอบพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง แสงแดดส่อง พบทั่วไปในดินเลนท้องร่องสวนและที่มีน้ำเฉอะแฉะบนพื้นที่เกาะเกร็ด กะลามีเหง้าที่เป็นลำต้นอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นบนดินเป็นต้นเทียม ต้นโตสูง 1.5-3 เมตร แตกกอแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับเป็นสองแถว ใบรูปขอบขนาน ส่วนช่อดอกออกที่ปลายใบ เป็นช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพู ก่อนช่อดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจะมีผลกลมสีเขียวขนาดเท่าเมล็ดบัว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสีดำในที่สุด เหง้ามีรสจืดและกลิ่นอ่อนกว่าข่า

ชาวเกาะเกร็ดซึ่งสืบเชื้อสายชนมอญปรุงอาหารจากหน่อกะลากินกันมานานแล้ว นอกจากกินดี ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย เหง้าและดอกกะลาใช้พอกแผลแก้ผื่นคันตามผิวหนัง มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายับยั้งเชื้อราบนผิวหนังได้หลายชนิด ผลรักษาอาการท้องอืด แน่นเฟ้อ จุกเสียด รากรักษาอาการเหนื่อยหอบ ผู้เฒ่าผู้แก่บนเกาะเกร็ดบอกว่า มีคนมอญที่ไหนต้นกะลาจะต้องมีที่นั่น จัดเป็นสมุนไพรรักษาได้ทุกโรค ชาวมอญเชื่อว่ารับประทานหน่อกะลาแล้วท้องไส้จะสบาย เพราะมีสรรพคุณขับลมเหมือนขิง ข่า ขมิ้น ทั้งยังไปช่วยกวาดลำไส้ทำให้ขับถ่ายสะดวก ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้

กะลาขึ้นดาษดื่นตามท้องร่องสวน ทำให้คนบนเกาะเกร็ดคิดว่าเป็นวัชพืช เพราะเจริญเติบโตแตกหน่อขยายพันธุ์รวดเร็วและง่าย เกาะเกร็ดจะถูกน้ำท่วมกี่ครั้งกี่หน แต่หน่อกะลากลับเจริญเติบโตได้ดี นี่อาจเป็นที่มาของชื่อข่าน้ำ  หน่อกะลานำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง จะกินสดก็ได้ หรือลวกต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม ห่อหมก แกงคั่วหอย ผัดเผ็ดปลา และอื่นๆ รวมถึงใช้แทนข่าจริงๆ ทำต้มยำ หรือต้มข่าไก่ และใช้แทนถั่วฝักยาวทำทอดมัน

เอ้า! เก็บหน่อกะลามาเข้าครัวกันเลย พร้อมเนื้อปลากราย (หรือชนิดอื่นตามสะดวก) ไข่ไก่ น้ำพริกแกงคั่ว เกลือป่น เริ่มจากเตรียมพริกแกงด้วยพริกแห้ง พริกไทย ตะไคร้ ข่า หอมแดง กระเทียม ผิวมะกรูด รากผักชี กะปิดี นำลงโขลกให้เข้ากันจนละเอียด ส่วนวิธีผสมทอดมันปลา นำเนื้อปลากรายนวดกับน้ำเกลือจนเหนียว ผสมเนื้อปลาที่นวดแล้วกับน้ำพริกแกง พอเข้ากันใส่ไข่ นวดจนเข้ากันดี ใส่หน่อกะลาลงคลุกให้เข้ากัน ปั้นส่วนผสมให้กลม แล้วกดให้บางขนาดประมาณ 1/4 นิ้ว นำไปทอดพอสุกในน้ำมันร้อน ใช้ไฟกลาง กินกับอาจาด ปรุงจากน้ำตาลทราย น้ำส้มสายชู น้ำสะอาด เกลือป่น พริกชี้ฟ้าเหลือง กระเทียม ถั่วลิสงป่น แตงกวา ผักชี

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหน่อกะลาเป็นพืชน้ำที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบนเกาะเกร็ดที่เดียวในประเทศไทย และปัจจุบันเป็นพืชพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง นำมาบริโภคและขายกันเป็นจำนวนมากโดยไม่มีการปลูกทดแทน ประกอบกับพื้นที่มีคนเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เกิดมลภาวะ น้ำเสีย เป็นสาเหตุให้ต้นกะลาลดจำนวนลงรวดเร็วอย่างน่าเป็นห่วง หากไม่ส่งเสริมให้ปลูกทดแทน ในไม่ช้าพืชชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด



  ถั่วแระญี่ปุ่น...ถั่วแระญี่ปุ่นที่แช่เย็นขายในห้างมีประโยชน์อย่างไร?
ถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก เมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากนี้ยังมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการวัยทอง มีใยอาหารสูง มีวิตามิน A B และ C และแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่น เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ทั้งนี้ ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคในระยะที่ฝักเริ่มแก่ เมล็ดโตเต็มที่ นั่นคือเมล็ดมีความเต่งและมองเห็นเมล็ดเต็มฝัก ในขณะที่ฝักยังคงมีสีเขียว รสชาติหวานบริโภคได้ทั้งฝักสดหรือต้มรับประทาน


http://1.bp.blogspot.com/-F9SsvrLVgR0/UMYEFaTlfmI/AAAAAAAAAXU/k81CnXPV5kI/s1600/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
  เห็ดหอม
"สารานุกรมผัก" โดย ดร.ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ ได้ข้อมูลดังนี้ "เห็ดหอม" ราคาแพงเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเพาะเลี้ยงในเมืองไทยได้แล้วแถบภาคเหนือ ทำให้มีเห็ดหอมกินได้ตลอดทั้งปี เห็ดหอมเติบโตในที่มีอากาศหนาวเย็น ความชื้นสูง มักขึ้นบนขอนไม้หรือไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะไม้ในสกุล Fagaceae ลักษณะเฉพาะตัวของเห็ดหอมคือมีกลิ่นหอม เนื้อนุ่ม หากนำไปตากแห้งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยที่ยังมีกลิ่นหอมอยู่

นอกจากเป็นอาหารแล้ว คนจีนยังใช้เห็ดหอมเป็นยา ในศตวรรษที่ 14 มีบันทึกว่าหมอจีนใช้เห็ดหอมเป็นยาอายุวัฒนะรักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แก้โรคหัวใจ ต้านการเติบโตของเนื้อร้าย และแก้พิษงู นักวิจัยสมัยใหม่วิจัยพบสอดคล้องกันว่า เห็ดหอมช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ต้านโรคมะเร็งและโรคร้ายต่างๆ จากเชื้อไวรัส
 
ทศวรรษ 1970 งานวิจัยหลายชิ้นในญี่ปุ่นพบว่าเห็ดหอมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยคอเลสเตอรอลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้อย่างน่าทึ่ง และยังพบว่าเห็ดหอมมีสารเลนติเนน (lentinan) ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้หยุดยั้ง หรือป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกต่างๆ เลนติเนนยังช่วยรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัสบี (Hepatitis B) ได้ด้วย


  เห็ดโคน
"เห็ดโคน" เป็นเห็ดป่าที่มีรูปร่างเหมือนเห็ดทั่วไปคือมีก้านเห็ดและหมวกเห็ด มีอยู่ 2 สี สีขาวกลางหมวกสีดำ และมีสีดำหมดเลย มีกลิ่นเฉพาะตัว มักเกิดตามจอมปลวก จึงเรียนอีกชื่อหนึ่งว่า "เห็ดปลวก" มีรสหวานอร่อยกว่าเห็ดอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันสามารถเพาะเห็ดโคนได้ แต่ปริมาณไม่มากและดอกเล็กลีบกว่าเห็ดโคนป่าซึ่งดอกใหญ่ โคนอวบหนา มีวางขายเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม
 
เห็ดโคนเติบโตได้ดีในสภาพธรรมชาติ ความชื้นและอุณหภูมิพอเหมาะ พบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อพื้นที่ป่าค่อยๆ หมดไป เห็ดโคนจึงหายากและมีราคาแพง เป็นเห็ดปรุงง่ายๆ เพียงต้มกับเกลือก็ได้น้ำต้มเห็ดรสหวานตามธรรมชาติ อร่อยไม่แพ้ย่างไฟกินกับน้ำปลาพริก

เห็ดโคนช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์



  ข้าวกล้อง
ข้าวกล้องเป็นข้าวที่เอาเปลือกหรือแกลบออก โดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหน เพราะจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดนี้แลคือส่วนที่สะสมโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร ส่วนข้าวที่สีเอาเปลือกออกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัดให้ขาว เรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งจมูกข้าวจะแตกหักไปบ้าง ขณะที่ข้าวสารนั้น ทั้งเอาเปลือกออกและขัดสีหลายครั้ง จนเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวหลุดออกไปเหลือแต่เนื้อในของข้าว ซึ่งเป็นแป้งล้วนๆ

ข้าวกล้องมีโปรตีนประมาณร้อยละ 6-12 และยังมีวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน (ช่วยรักษาระบบผิวหนังและระบบประสาทไว) ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก ส่วนข้าวสารนั้นโปรตีนหลุดหายไปแล้วกว่าร้อยละ .30

ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าเปรียบเทียบข้าวกล้อง 1 กรัม จะมีโปรตีนคุณค่าทางอาหาร 7.60 ส่วนข้าวสารมี 6.40 คิดแล้วมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 19 เป็นต้น


  มันปู

มันปูเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ มีความสูงต้นประมาณ 15 เมตร ปลายกิ่งห้อยลง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างของกิ่ง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 5-7 คู่ ก้านใบสั้น หน้าใบมีสีเขียวอ่อนกว่าหลังใบ ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีแดงหรือสีม่วงอมแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ ดอกช่อขนาดเล็กมีสีเขียวอ่อน แยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ และจะออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ผลแก่สีชมพูถึงแดง มีลักษณะกลมแป้น ภายในผลมี 10-12 พู ผลจะแตกเมื่อแห้ง มี 10-12 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงหุ้ม ติดที่ปลายของแกนผล จะพบมันปูขึ้นในป่าน้ำกร่อย และบริเวณชายป่าพรุ มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย ศรีลังกา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งก้านและแยกหน่ออ่อนจากต้นแม่ มีประโยชน์ทางสมุนไพรโดยรากและลำต้น มีสรรพคุณแก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง ประโยชน์ทางด้านอาหาร ชาวใต้นิยมใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก หรือใช้เป็นเครื่องเคียงแกงเผ็ดและขนมจีน ส่วนที่นำมาใช้คือใบและยอดอ่อน.


http://www.bloggang.com/data/plaipanpim/picture/1352465294.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
  ใบชะมวง

สถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) ได้ศึกษาวิจัยคุณสมบัติที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร

ใบชะมวงพบเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีจึงนำมาแยกสารที่ต้องการ สามารถได้สารมีฤทธิ์ในระดับดี เป็นสารที่มีค่าความเข้มข้นต่ำสามารถยับยั้งเชื้อได้ประมาณ 7.8 ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสารตัวใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน ทั้งนี้ ยังได้ศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโปรโตซัวร์ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่พบบ่อยในภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าสารจากชะมวง สามารถยับยั้งโปรโตซัวร์ได้ดี จึงนำไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน ทั้งนี้จะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  เพื่อการรักษาที่ได้ผลและลดอาการข้างเคียงจากการใช้ต่อไป.
..นสพ.เดลินิวส์


  ข้าวโพดอ่อน

ข้าวโพดอ่อน รับประทานแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง  ในทางโภชนาการและงานวิจัยระบุว่า “ข้าวโพดอ่อน” ถ้ารับประทานแบบ เดี่ยวๆ อย่างเดียวจะให้คุณค่าน้อยมาก ดังนั้นจึงควรรับประทานเป็นทีมกับผักชนิดอื่นๆ เช่น ปรุงเป็นผัดผักรวมมิตร แกงเลียง แกงแค ราดหน้า ต้มสุก หรือกินดิบเป็นผักจิ้มกับผักชนิดอื่นกับน้ำพริกชนิดต่างๆ อร่อยมีวิตามินซีช่วยให้เหงือกดีแข็งแรง

สรุปแล้ว “ข้าวโพดอ่อน” มีกากใยอาหารช่วยให้ระบบทางเดินอาหารสะอาดพ้นสารพิษต่างๆ ทำให้ปลอดภัยจากพิษเคมีที่ปนมาในอากาศ อาหาร และช่วยให้การส่งออกของเสียเป็นไปอย่างสะดวกสบาย เรียกว่าขับถ่ายดีนั่นเอง นอกจากมีกากใยอาหารแล้ว สารอาหารอื่นๆใน “ข้าวโพดอ่อน” จะมีน้อยมาก เนื่องจากอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาให้เป็นผักโต จึงควรรับประทาน “ข้าวโพดอ่อน” รวมกับผักชนิดอื่นแบบรวมมิตรตามที่กล่าวข้างต้น จึงจะมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างสมบูรณ์

ข้าวโพดอ่อน หรือ ZEA MAYS LINN. อยู่ในวงศ์ PO-ACEAE เป็นพืชจำพวกหญ้า มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เพื่อเก็บผักขายในประเทศไทยนานแต่โบราณแล้ว ปัจจุบันมีสายพันธุ์ใหม่ๆ จากหลายประเทศถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เก็บผลขายมากมาย มีเมล็ดหลายสี ทั้งเมล็ดสีขาวเรียกว่า ข้าวโพดข้าวเหนียว ชนิดเมล็ดสีม่วงเกือบดำ และ เมล็ดสีเหลือง มีทั้งต้มสุกแล้วและผักดิบวางขาย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย ส่วน “ข้าวโพดอ่อน” มีวางขายตามตลาดสดทั่วไป

ประโยชน์ทางยาของข้าวโพดทุกชนิด ลำต้น และใบ นำไปตากแห้งแล้วเอาไปต้มกับน้ำดื่มรักษานิ่วได้ดีระดับหนึ่งครับ.
...นสพ.ไทยรัฐ


http://static.tlcdn1.com/data/8/pictures/0213/08-17-2012/p174p7avfi6f978n1trfh1uf373.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
  ผักเหนาะ

ผักเหนาะหมายถึง ผักสด ผักลวกกะทิ หรือผักดอง ชาวภาคใต้นิยมรับประทานควบคู่กับอาหารเผ็ด เช่น น้ำพริก แกงพุงปลา แกงคั่ว ขนมจีน ฯลฯ การกินผักเหนาะก็เพื่อให้ต่างรส แก้เอียนคาว หรือลดรสชาติบางชนิดลง ทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการ และคุณค่าทางยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันความนิยมกินผักเหนาะของชาวใต้ ยังคงมีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะการกินผักเหนาะกับขนมจีน หากไม่มีแล้วจะรู้สึกว่าการทานขนมจีนมื้อนั้นจะขาดรสชาติไปในทันที วัฒนธรรมการกินผักเหนาะกับขนมจีนเท่าที่นิยมกันมีอยู่ 3 ลักษณะคือ
1. กินในลักษณะผักสด เป็นที่นิยมกันมากเพราะสะดวก และให้คุณค่าทางอาหาร โดยการนำเอาพืชผักหรือผล เช่น แตงกวา ถั่วฟักยาว มะเขือ ลูกเนียง ฯลฯ หรือยอดผักต่างๆ เช่น แมงลัก โหระพา มันปู แซะ กระถิน มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ มาล้างให้สะอาด แล้วนำมาจัดรวมไว้ในภาชนะเดียวกัน ทั้งที่ยังเป็นผล ต้นผัก หรืออาจนำมาหั่นเป็นชิ้นพอคำก็ได้
2. นำผักสดมาลวกกะทิ ผักเหนาะที่นิยมนำมาลวกกะทิก่อนกิน เช่น ผักบุ้ง ปลีกล้วย หยวกกล้วย มะเขือ ผักกูด ลูกเหรียง หน่อไม้ ฯลฯ และ
3. นำผักสดมาหมักดอง ผักเหนาะที่นิยมนำมาหมักดองก่อนกิน เช่น ผักเสี้ยน ผักหนาม สะตอ ประ ผักกาด ฯลฯ ซึ่งการดองต้องใช้เวลาหลายวัน แต่สำหรับผักบุ้ง แตงกวา ปลีกล้วย จะสามารถดองแล้วรับประทานได้เลย
...นสพ.เดลินิวส์


  ถั่วงอก

ถั่วงอกเป็นแหล่งวิตามินซีโดยถั่วงอก 100 กรัม จะมีวิตามินซี 5 มิลลิกรัม มีโปรตีนมากกว่าถั่วธรรมดา มีวิตามินบี 12 มีธาตุเหล็ก มีวิตามินบี 17 และมีสารเลซิธิน ช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง มีออซินอน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายมีความสดชื่นมากขึ้น ชาวจีนโบราณจะนำถั่วงอกมารับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง ขับปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหารจำพวกโปรตีน แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคส และไขมันเป็นกรดไขมัน ลดของเสียและสิ่งตกค้างในร่างกาย ในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก ชาวกะลาสีเรือชาวจีนจะเพาะถั่วงอกกินในเรือเพื่อป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด.

ถั่วงอก เป็นผักที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง มีประโยชน์สำหรับร่างกาย มีส่วนช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวนุ่ม เปล่งปลั่งดูมีน้ำมีนวล  รับประทานถั่วงอกเป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง วิตามินซีจากถั่วงอกช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันหวัดได้อีกด้วย ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยในการทำงานของสมอง  ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เนื่องจากมีแคลเซียมสูง มีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน  ช่วยในการชะลอวัย ต้านความแก่ เนื่องจากมีสารออซินอน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะไปช่วยลดระดับไขมันเลว วิตามินซีจากถั่วงอกเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนระงับความเครียดต่างๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนวัยทำงาน.
...นสพ.เดลินิวส์


  มะตูม

มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม ใบโตยาวสีเขียวอ่อน ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ผลกลมโต เปลือกแข็ง เนื้อในมีสีเหลืองนวล ภายในมีเมล็ด มียางหุ้มเป็นเมือกเหนียว มีรสขม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ผู้คนทางภาคใต้ของไทยนำเปลือกมาขูดเอาผิวออกต้มกับน้ำตาลรับประทานเป็นของหวาน ส่วนเนื้อในเอามาหั่นเป็นแว่นๆ เอาเมล็ดออกเชื่อมกับน้ำตาล เรียกว่ามะตูมเชื่อมรัลประทานเป็นของหวานเช่นกัน

ในตำราการแพทย์แผนไทย จะนำผลตากแห้งนำมาปรุงเป็นยาธาตุ แก้ธาตุพิการ ผลดิบใช้เป็นยาสมานรักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะ แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุกใช้เป็นยาระบาย แก้โรคไฟธาตุอ่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ท้องเสีย แก้บิดเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด บำรุงธาตุไฟให้ย่อยอาหาร แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย เปลือกของรากและลำต้น รักษาไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ ใบสดคั้นเอาน้ำกินแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตาบวม แก้เยื่อตาอักเสบเป็นต้น
...นสพ.เดลินิวส์


  จมูกข้าว

การรับประทานจมูกข้าวเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบบริบูรณ์ ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วยง่าย ส่วนผู้ที่เจ็บป่วยอยู่แล้ว หากได้รับประทานจมูกข้าว ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ก็จะทำให้การรักษาเห็นผลเร็วยิ่งขึ้น จมูกข้าวไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เป็นสารอาหารที่สกัดจากจมูกข้าวและรำข้าว ซึ่งเป็นส่วนที่มีสารอาหารสมบูรณ์มาก ผู้ที่รับประทานเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นตลอดเวลา ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานสูง เซลล์ไม่เสื่อม สุขภาพดี ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ สมอง ตับอ่อน และอื่นๆ มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น และที่เสื่อมสภาพก็กลับฟื้นตัวและทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคตับ, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคภูมิแพ้, โรคความจำเสื่อม และ มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งมีผลให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ยับยั้งโรคเบาหวาน มีกรดไขมันไลโนเลนิค หรือโอเมก้า 3 ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมอง อันเป็นสาเหตุของโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคอัมพฤกษ์ มีกรดไขมันไลโนเลอิค หรือโอเมก้า 6 ช่วยให้ผิวหนังสดใสมีน้ำมีนวล และช่วยระบบสืบพันธุ์ให้ทำงานเป็นปกติ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ ช่วยบำบัดอาการผิดปกติของชาย-หญิง วัยเจริญพันธุ์ ให้ผลดีในการรักษาผู้มีบุตรยากและสตรีวัยทอง มีวิตามินเอ บำรุงสายตา บีรวม บำรุงเส้นประสาทฝอยต่างๆ รักษาปากเปื่อย ปากนกกระจอก ร้อนใน เบต้าแคโรทีน บำรุงสายตาและสมอง ประโยชน์โดยภาพรวม ก็คือ ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น....นสพ.เดลินิวส์

http://www.tuvayanon.net/9br.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
  ข้าวซ้อมมือ

ข้าวซ้อมมือเป็นข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแข็งแรง เมล็ดสีน้ำตาล หน้าตาไม่สวยใสเหมือนข้าวขัดขาว อุดมด้วยเส้นใยอาหารและคุณ ทางอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว ในสมัยโบราณชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินเอง จึงเรียกกันว่าข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวจึง เปลี่ยนมาเรียกว่า ข้าวกล้อง กินข้าวซ้อมมือจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคโลหิตจาง วิธีหุงข้าวซ้อมมือต่างกับข้าวขาวนิดหนึ่งตรงที่ข้าวซ้อมมือจะมีเยื่อหุ้มเมล็ด การดูดซึมน้ำจะยากกว่าจึงต้องใช้เวลาหุงนาน บางพื้นที่นิยมแช่ข้าวสารก่อนหุงประมาณ 5-10 นาที ข้าวที่หุงจะนุ่มหอมน่ารับประทาน...นสพ.เดลินิวส์


http://raoluktan.orgfree.com/vbnm.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
  จาวตาล

จาวตาลเกิดจากผลแก่จัดของต้นตาลตัวเมีย เมื่อหล่นลงมาชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้ ต่อมาเมล็ดตาลจะแทงส่วนที่คล้ายรากงอกออกมาลงสู่พื้นดิน เรียกว่า งอกตาล ส่วนปลายของงอกตาลมีคัพภะที่จะกลายเป็นต้นอ่อนของต้นตาลซึ่งจะเจริญเติบโตขึ้นและค่อยๆ แทงยอดขึ้นมาตาม “งอกตาล” จนโผล่พ้นดินและเจริญเติบโตเป็นต้นตาลต่อไป

งอกตาลนั้นไม่ใช่ราก แต่ทำหน้าที่ส่งคัพภะลงไปในดินและต่อมาทำหน้าที่เป็นปลอกหุ้มยอดอ่อน แล้วก็เปื่อยสลายไป ส่วนรากที่แท้จริงจะออกจากฐานต้นอ่อนที่เจริญมาจากส่วนปลายของ “งอกตาล” ต้นอ่อนของตาลมีลักษณะและขนาดพอๆ กับหอมแดงหัวโตๆ  รากแบบเดียวกับรากหัวหอม ต้นอ่อนจะอยู่ลึกลงไปในดิน จึงมักไม่มีใครเห็น จาวตาลนิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน 2 แบบคือ เชื่อมเปียก จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล หรือเชื่อมแห้ง จาวตาลจะมีเกล็ดน้ำตาลจับแข็ง หรือนำลูกตาลสุกมายีเนื้อสีเหลืองแล้วผสมกับแป้งข้าวเจ้าตากแดด เติมน้ำตาล นำมาใส่ห่อใบตองแล้วนึ่งให้สุก ก็จะได้ขนมเนื้อนุ่มฟูคล้ายขนมเค้ก เรียกว่า ขนมตาล.
...นสพ.เดลินิวส์


fu.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2559 15:29:11 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2557 11:25:10 »

.

    ผักแขยง   กับคุณค่าน่ารู้

“ผักแขยง” มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ LIMNOPHILA AROMATICA (LAMK.) MERR อยู่ในวงศ์ SCROPHULARIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 30-40 ซม. ภายในลำต้นกลวงชัดเจน ลำต้นกิ่งก้านและใบของ “ผักแขยง” เป็นสีเขียวสด มีกลิ่นหอมหรือกลิ่นฉุนแรงโดยธรรมชาติ

ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ๆ ตรงกันข้ามกัน อาจมี 3 ใบออกอยู่รอบๆ บริเวณข้อลำต้น ใบเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ใบยาวประมาณ 1.5-5 ซม. กว้าง 1-2 ซม.ไม่มีก้านใบ ฐานใบจะหุ้มลำต้นเอาไว้ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ด้านบนของใบจะมีต่อมเล็กๆ จำนวนมาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบหรือออกเป็นช่อ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นสีเขียวมีขน กลีบดอกเป็นสีแดง สีชมพูอ่อน หรือสีม่วง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามยิ่งนัก “ผล” รูปทรงกลม ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้นและเมล็ด จะเจริญงอกงามดีในช่วงฤดูฝนของทุกปีและจะยุบตัวในช่วงฤดูแล้ง เมื่อมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมา จะแตกต้นขึ้นมาอีกครั้งตามฤดูกาล มีต้นขายมัดเป็นกำๆ ตามร้านขายพืชผักพื้นบ้านทั่วไปราคาไม่แพงนัก

ประโยชน์ทางอาหาร ต้นและใบรับประทานเป็นผักสดจิ้มแจ่ว ส้มตำ ลาบ น้ำตก ก้อย ซุบหน่อไม้ เป็นผักปรุงรสแต่งกลิ่นใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ทำให้มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก คนภาคอีสานและภาคเหนือนิยมรับประทานอย่างกว้างขวาง

สรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาแผนไทยระบุว่าน้ำคั้นจากต้นสดดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้คัน แก้กลาก และลดอาการปวดบวมของฝีได้ และยังเป็นยาแก้บวม หรือเป็นยาระบายด้วยครับ.
   ไทยรัฐ


  ผักกระฉูด

ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “ผักกระฉูด” เป็นอย่างไร เพราะเห็นมัดเป็นกำวางขายเป็นผักสดคู่กับผักกระเฉด และผู้ขาย บอกว่ารับประทานได้เหมือนกับผักกระเฉดทุกอย่าง แต่ยังไม่กล้าซื้อรับประทาน ซึ่งความจริงแล้ว “ผักกระฉูด” เป็นผักอยู่ในวงศ์เดียวกับผักกระเฉดคือ LEGUMINO-SAE มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ NEPTUNIA JAVANICA MIQ ส่วนผักกระเฉดชื่อวิทยาศาสตร์ว่า NEPTUNIA OLERACEA LOUR ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกัน ต่างกันที่ผักกระเฉดมีทุ่นสีขาวนุ่มหุ้มลำต้นเรียกว่า “นม” แต่ลำต้นของ “ผักกระฉูด” ไม่มีและไม่ต้องลอกออกก่อนรับประทานให้เสียเวลา

ผักกระฉูด เป็นไม้ทอดเลื้อยยาวได้ 1 เมตร ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อย  เป็นรูปขอบขนาน ปลายมนโคนตัด สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย “ผล” เป็นฝักแบนมีหลายเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น พบขึ้นทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า ประเทศติมอร์ ในประเทศไทยพบทุกภาค โดยจะขึ้นตาม ที่โล่งแจ้ง แห้งแล้ง หรือ ที่ชื้นแฉะ มีชื่อเรียกอีกคือ ผักกระเฉดโคก และ ผักกระเฉดบก

ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน กินเป็นผักสด หรือนำไปประกอบเป็นอาหารได้เหมือนกับผักกระเฉดทุกอย่าง เช่น กินเป็นผักสดหรือต้ม ลวก จิ้มน้ำพริกทุกชนิด แกงส้มกุ้ง ปลา เป็นต้น แต่การใช้ประโยชน์ทางอาหารนิยมเด็ดเอาเฉพาะยอดอ่อนยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตเท่านั้นจึงจะกรอบอร่อย หากเด็ดยาวเกินกว่านั้นจะเหนียว ไม่นิยมรับประทาน.
...นสพ.ไทยรัฐ
 

    ลูกจันทน์เทศ

จันทน์เทศมีความสำคัญสำหรับการผลิตเครื่องเทศสองอย่าง คือ เมล็ดจันทน์เทศ และ ดอกจันทน์เทศ ในตำรายาไทย ลูกจันทน์ จะนำมาใช้แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง แก้ไข้ บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ขับลม รักษาอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย แก้บิด แก้กำเดา แก้ท้องร่วง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะโลหิต แก้ปวดมดลูก และบำรุงโลหิต เปลือกเมล็ด รสฝาดมีมันหอม นำมาใช้สมานบาดแผลภายใน แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง ในประเทศอินโดนีเซียจะใช้ลูกจันทน์เทศรักษาอาการท้องเสีย และนอนไม่หลับ
 
นอกจากนี้ในบัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ลูกจันทน์ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย คือยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีส่วนประกอบของลูกจันทน์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ.
นสพ.เดลินิวส์
 

 ขิง

หลายคน มีปัญหาหนังศีรษะเป็นแผลเป็น แล้วเส้นผมบริเวณดังกล่าวไม่งอกขึ้น ทำให้ดูน่าเกลียดมาก ซึ่งในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยได้คือให้เอา “ขิง” สดแก่ๆ หั่นเป็นแว่นบางๆ นำไปถูบริเวณที่เป็นแผลเป็น วันละ 2 ครั้ง เช้า–เย็น ประมาณ 10 วัน หากรากผมยังไม่ตายเส้นผมจะงอกขึ้นมาได้อย่างเหลือเชื่อ สูตรดังกล่าวใช้ได้ผลระดับหนึ่งมาแต่โบราณแล้ว เพียงแต่มีข้อแม้ว่า แผลเป็นบนหนังศีรษะจะต้องเพิ่งหายจากการรักษาใหม่ๆ จึงจะได้ผล

ขิง หรือ ZINGIBER OFFICINALE ROSEAE อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE มีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย มีหัวสดขายทั่วไป เหง้า มีสาร GINGEROL, ZINGIBERONE ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สารที่ทำให้ “ขิง” แก่เผ็ดคือ SHOGAOL, ZINGERRONE สรรพคุณขับลม แก้ท้องเฟ้อ ลดอาการเมารถ และ เมาเรือ แก้อาเจียน “ขิง”อ่อน ทำอาหาร.
...นสพ.ไทยรัฐ


  ต้นข่าแก่

ใกล้สู่ฤดูหนาว มีคนแพ้อากาศเยอะ ส่วนใหญ่จะมีอาการไอและมีเสมหะในลำคอมาก ในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยบรรเทาได้คือ ให้เอา "ต้นข่าแก่" ตัดเป็นท่อนยาวประมาณครึ่งนิ้ว 3 ท่อน ทุบพอแตกใส่แก้วหรือถ้วยไว้ เติมน้ำตาลทรายกับเกลือป่นเล็กน้อยพร้อมบีบน้ำมะนาวลงไปครึ่งซีก ใส่น้ำอุ่นลงไปให้ท่วมยา แช่ทิ้งไว้จนตัวยาออกจิบบ่อยๆ เอา "ต้นข่าแก่" ที่แช่อมในปากด้วย จะช่วยให้อาการไอและเสมหะในลำคอค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ในที่สุด

ข่า หรือ ALPINIA NIGRA (GAERTN) B.L.BURTT. อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE สรรพคุณ เหง้าหรือหัวอ่อนต้มเอาน้ำดื่มบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม หัวสดตำผสมเหล้าขาว 40 ดีกรี เอาเฉพาะน้ำทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน ดีมาก ในหัวของข่า มีสาร CINFOL, METHYL CINNAMATE
...นสพ.ไทยรัฐ


 เปลือกอบเชย ควบคุมเบาหวานได้ระดับหนึ่ง

อบเชยต้น มีทั้ง อบเชยต้นไทย ญวน และ จีน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกันหมด จะมีข้อแตกต่างเพียงเปลือกต้นหนาบางกว่ากันเท่านั้น ซึ่ง “เปลือกอบเชยต้น” ของจีนจะมีความหนาที่สุด โดยวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดหรือโรคเบาหวานนิยมกันมาแต่โบราณคือให้เอา “เปลือกอบเชยต้น” ชนิดไหนก็ได้เป็นแบบแห้ง มีขายทั่วไป ใช้ทำพะโล้นั่นแหละ บดเป็นผงละเอียดบรรจุแคปซูลกินครั้งละ 2-3 แคปซูลวันละครั้งหลังอาหารเช้า หรือเอาผงที่บดชงกับน้ำร้อนครึ่งช้อนชา ผสมนมจืด โอวัลติน ชา และกาแฟ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ดื่มทุกวันตอนไหนก็ได้ วันละครั้ง จะช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดหรือโรคเบาหวานได้

อบเชยต้น หรือ CINNAMOMUM TAM-MALA (RAJA NIGEANTU) (TALISH PAT- TIRI) อยู่ในวงศ์ LAURACEAE เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นแห้ง มีกลิ่นหอมหวาน บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย ขับลม ทำให้มีกำลัง ไทยรัฐ


   มะระป่า   เมล็ดกระตุ้นกำหนัด

มะระป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ MOMORDICA CHARANTIA LINN. อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยมีมือเกาะยึดต้นไม้อื่นได้ ต้นมีอายุหลายปี ต้นหรือเถาจะเป็นเหลี่ยมหรือสันเล็กน้อย มีขน ใบเป็นใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปหัวใจ มี ขน โคนใบเว้าเข้าหาก้านใบ ขอบใบหยักตื้นๆ สีเขียวสด

ดอกสีเหลืองสด คล้ายดอกมะระขี้นก เป็นดอกเดี่ยวๆ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกตามซอกใบ ดอกตัวผู้มีก้านดอกเล็ก กลีบดอกบานออกเป็น 5-7 กลีบ ดอกตัวเมียมีก้านดอกใหญ่กว่าอย่างชัดเจน และจะมีผลขนาดเล็กๆอยู่ที่ฐานของดอกด้วย “ผล” รูปกลมรี ปลายผลเป็นติ่ง ผลมีขนาดตั้งแต่เท่าปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ไปจนถึงโตเต็มที่เท่าไข่ไก่ ผิวผลขรุขระน้อยกว่ามะระขี้นก มีสันตามยาวหลายสัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองหรือสีส้มปนแดง ภายในมีเมล็ดรูปกลมรีแบนปลายแหลมสีฟางข้าว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

พบขึ้นตามป่าธรรมชาติเกือบทุกภาคของประเทศไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือ นิยมปลูกอย่างกว้างขวางเฉพาะชาวเขา ชาวกะเหรี่ยงบนดอยสูง จึงมีชื่อเรียกเฉพาะอีกว่ามะระกะเหรี่ยง และมะระชาวเขา รับประทานเป็นอาหารได้เหมือนกับมะระขี้นก และรสชาติเหมือนกันทุกอย่าง

สรรพคุณทางสมุนไพรที่เด่นๆ ได้แก่ เมล็ดสด หรือตากแห้ง กินเป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศหรือกระตุ้นกำหนัด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ทั้งต้นรวมรากหรือที่นิยมเรียกกันว่า “ทั้ง 5” ต้มน้ำเดือดดื่มแทนน้ำชาดับพิษทั้งปวง ช่วยเจริญอาหารดีมาก ราก แก้ปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ใบแก้ไข้ดับพิษร้อนช่วยให้นอนหลับ ผล นอกจากรับประทานอร่อยแล้วยังเป็นยาแก้ฟกบวม แก้ปากเปื่อยปากเป็นขุยด้วย

เคยมีต้นและเมล็ดขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 ปัจจุบันยังมีขายอยู่หรือไม่ ต้องติดต่อสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ


http://www.munjeed.com/image_news/2011-05-11/Thairath_1152554134212.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
    จิงจูฉ่าย กับงานวิจัยใหม่
จิงจูฉ่าย” ที่เคยแนะนำในคอลัมน์นั้น รักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่ เนื่องจากมีการบอกต่อกันมามากเหลือเกิน ซึ่งความจริงแล้วในงานวิจัยของแพทย์แผนปัจจุบันระบุเพียงว่า ใช้ต้นและใบของ “จิงจูฉ่าย” กะพอประมาณปั่นผสมน้ำสะอาด 1-2 แก้ว แล้วเอาผ้าขาวบางกรองบีบคั้นเอาเฉพาะน้ำดื่มทุกวัน วันละ 1 แก้ว จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ขอย้ำนะว่า “ป้องกัน” ส่วนคนที่เป็นมะเร็งแล้วจะช่วยบำบัดหรือช่วยรักษาให้หายได้หรือไม่ในงานวิจัยไม่ระบุ

จิงจูฉ่าย SAGEB RUSH หรือ APIUM GRAVEOLENS L. ชื่อสามัญ CELERY อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มสูง 0.5-1 ฟุต แตกกิ่งก้านแผ่คลุมหน้าดิน ใบรูปรี ขอบจักรเป็น 5 แฉก รูปใบเหมือนใบขึ้นฉ่าย เนื้อใบหนา มีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย ดอกสีนวล “ผล” ขนาดเล็ก มีเมล็ดเยอะ

ประโยชน์ทางอาหาร ทั้งต้นใบใส่ต้มเลือดหมู กินกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยมาก แพทย์จีน เชื่อว่า “จิงจูฉ่าย” เป็นยาเย็น (หยิน) กินประจำช่วยแก้ไข้ได้ บำรุงปอด ฟอกเลือดทำให้เส้นเลือดไหลเวียนดี ต้นและใบมีน้ำหอมระเหยประกอบด้วย ไลโมนีน, ซิลินีน และสารไกลโคไซด์ ชื่อ อะพิอิน มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตและทำให้เส้นเลือดขยายตัว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เมล็ดมีโซเดียมต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคไต

ปัจจุบัน มีงานวิจัยใหม่ระบุว่า “จิงจูฉ่าย” ใช้ต้นและใบกะพอประมาณปั่นผสมน้ำสะอาด 1-2 แก้ว ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำดื่มวันละแก้ว จะช่วยป้องกันมะเร็งได้ จึงรีบแนะนำให้ผู้อ่านไทยรัฐทราบอีกตามระเบียบ


จิงจูฉ่าย SAGEB RUSH หรือ APIUM GRAVEOLENS L. ชื่อสามัญ CELERY อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE  เป็นไม้ล้มลุก หรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-1 ฟุต รากหรือเหง้าใหญ่กระจายกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นแผ่กว้างคลุมดินคล้ายๆกับต้นบัวบก ใบรูปรีขอบจักเป็น 2 แฉก ทรงใบเหมือนใบขึ้นฉ่าย เนื้อใบหนา มีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกได้ในดินทั่วไป สามารถปลูกลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน เป็นพืชครัวได้ดีมาก เวลาแตกต้นและใบเยอะเก็บปรุงอาหารรับประทานมีประโยชน์ยิ่งครับ.
นสพ.ไทยรัฐ

http://www.munjeed.com/image_news/2011-05-11/Thairath_1152554134212.jpg
คุณค่าของพืชผักในครัวไทย
   จิงจูฉ่าย กับข้อสงสัย

ผู้อ่านอยากทราบว่า “จิงจูฉ่าย” ที่เคยแนะนำในคอลัมน์นั้น รักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่ เนื่องจากมีการบอกต่อกันมามากเหลือเกิน ซึ่งความจริงแล้วในงานวิจัยของแพทย์แผนปัจจุบันระบุเพียงว่า ใช้ต้นและใบของ “จิงจูฉ่าย” กะพอประมาณปั่นผสมน้ำสะอาด 1-2 แก้ว แล้วเอาผ้าขาวบางกรองบีบคั้นเอาเฉพาะน้ำดื่มทุกวัน วันละ 1 แก้ว จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ขอย้ำนะว่า “ป้องกัน” ส่วนคนที่เป็นมะเร็งแล้วจะช่วยบำบัดหรือช่วยรักษาให้หายได้หรือไม่ในงานวิจัยไม่ระบุ

จิงจูฉ่าย SAGEB RUSH หรือ APIUM GRAVEOLENS L. ชื่อสามัญ CELERY อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มสูง 0.5-1 ฟุต แตกกิ่งก้านแผ่คลุมหน้าดิน ใบรูปรี ขอบจักรเป็น 5 แฉก รูปใบเหมือนใบขึ้นฉ่าย เนื้อใบหนา มีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย ดอกสีนวล “ผล” ขนาดเล็ก มีเมล็ดเยอะ  ประโยชน์ทางอาหาร ทั้งต้นใบใส่ต้มเลือดหมู กินกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยมาก แพทย์จีน เชื่อว่า “จิงจูฉ่าย” เป็นยาเย็น (หยิน) กินประจำช่วยแก้ไข้ได้ บำรุงปอด ฟอกเลือดทำให้เส้นเลือดไหลเวียนดี ต้นและใบมีน้ำหอมระเหยประกอบด้วย ไลโมนีน, ซิลินีน และสาร ไกลโคไซด์ ชื่อ อะพิอิน มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตและทำให้เส้นเลือดขยายตัว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เมล็ดมีโซเดียมต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคไตกินแล้วดีมาก

 “จิงจูฉ่าย” ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นพืชสวนครัวประจำบ้าน ทั้งปลูกลงดินกลางแจ้ง และปลูกลงกระถาง ตั้งในที่มีแสงแดด เมื่อแตกต้นและใบเก็บปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ หรือเอาต้นและใบปั่นคั้นเอาน้ำดื่มวันละแก้ว จะได้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นดีมากครับ
นสพ.ไทยรัฐ


   ชะอม – เปลือก ต้น แทนชูรส

เป็นพืชครัวที่นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหารตามบ้านมาแต่โบราณแล้ว และยังมีผู้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เก็บยอดอ่อนขายสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมาช้านานเช่นกัน ซึ่ง ยอดอ่อนของ “ชะอม” นำไปลวกหรือชุบไข่ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือแกงส้มใส่กุ้งสดและแกงพื้นเมืองทางภาคเหนือ ภาคอีสานรับประทานอร่อยมาก

นอกจากนั้นเปลือกต้น ของ “ชะอม” ยังสามารถใช้แทนผงชูรสได้ด้วย โดยเอาเปลือกแบบสดกะจำนวน 2-3 ชิ้น ยาวประมาณ 2-3 นิ้วฟุต ห่อด้วยผ้าขาวบางมัดต้มกระดูกหมู-ไก่ใส่น้ำจนเดือดเป็นน้ำสต๊อกใช้ปรุงอาหารจำพวกแกง หรือกะพอประมาณตำละเอียดใส่ในผัด เพิ่มรสชาติให้อาหารมีความอร่อยยิ่งขึ้นเป็นธรรมชาติ ไม่แพ้การใส่ผงชูรสแม้แต่น้อย สมัยก่อนนิยมกันมาก

ในส่วนของสรรพคุณทางสมุนไพร แพทย์ชนบทนิยมใช้ รากสดของ “ชะอม” ฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และแก้ปวดเสียวในช่องท้องได้ดีมาก สำหรับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ “ชะอม” ถ้าหากเก็บเอาใบสดของ “ชะอม” ไปผูกไว้ในกรงนกขุนทองเมื่อได้กลิ่นของใบ “ชะอม” จะสิ้นใจตายในเวลาไม่นานนัก ยกเว้นแต่ว่าถ้านกขุนทองตัวนั้นจะเกิดตามธรรมชาติในป่า “ชะอม” จึงจะทนต่อกลิ่นฉุนของใบ “ชะอม” ได้ เนื่องจากเคยชินต่อกลิ่นดังกล่าวมาตั้งแต่กำเนิดนั่นเอง

ชะอม หรือACACIA PENNATA (L.) WILLD. SUBSP. INSUAVIS NIELSEN อยู่ในวงศ์ MIMOSACEAE เป็นไม้พุ่ม ลำต้นกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบประกอบคล้ายใบกระถินและส้มป่อย ยอดอ่อนมีกลิ่นฉุนแรง ดอกสีขาว ขนาดเล็กมาก ออกตามซอกใบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง มีกิ่งพันธุ์ขายทั่วไป โดยมัดเป็นท่อนๆ มีหลายราคา ปลูกได้ในดินทั่วไป เวลาแตกยอดอ่อนเยอะๆ เก็บรับประทานหรือเก็บขายคุ้มค่ามากครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


   หอมหัวใหญ่ – ช่วยให้นอนหลับดี

อาการนอนไม่หลับ  เกิดจากหลายสาเหตุ บางคนจู่ๆก็เป็นขึ้นมาได้ เมื่อเป็นแล้วจะทรมานมากต้องกินยานอนหลับจึงจะหายได้ แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอย่างชัดเจน จึงทำให้ผู้ที่มีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับขอ แนะนำสมุนไพรช่วยทำให้นอนหลับไปปฏิบัติบ้าง ซึ่งสมุนไพรที่มีสรรพคุณดังกล่าวมีหลายวิธี และ “หอมหัวใหญ่” ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย โดยให้เอา “หอมหัวใหญ่” แบบสด 1 หัว ผ่าเป็น 4 ซีก หรือทุบให้แตกต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือดดื่มขณะอุ่น 1 แก้ว ก่อนนอน จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ

หอมหัวใหญ่ หรือ ALLIUM CEPA LINN อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE มี “ไซโคลอัลลิซิน” ทำหน้าที่ไม่ให้มีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดที่เป็นชนวนเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


   มะกรูดหวาน – อร่อยมีกิ่งพันธุ์ขาย

ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “มะกรูดหวาน” เป็นอย่างไร ซึ่งก็คือมะกรูดกลายพันธุ์เกิดจากการนำเอาเมล็ดของมะกรูดธรรมดาไปเพาะแล้วนำต้นกล้าไปปลูกเลี้ยงจนติดผลขนาดใหญ่ผลดกทั้งต้น และที่แปลกกว่ามะกรูดทั่วไปคือ เมื่อผ่าผลแก่จัดเนื้อในจะเป็นสีเหลืองเข้ม บีบและคั้นเอาน้ำให้น้ำเยอะรสชาติหวานหอมปนเปรี้ยวเล็กน้อย รับประทานอร่อยเหมือนน้ำของส้มเช้งทุกอย่าง จึงตอนกิ่งไปปลูกทดสอบพันธุ์หลายวิธี ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่โดยเฉพาะรสชาติของน้ำและเนื้อใน เชื่อว่าเป็นมะกรูดกลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะกรูดหวาน” ได้รับความนิยมปลูกอย่างกว้างขวางมาแต่โบราณในแถบ จ.สมุทรสงคราม จ.นนทบุรี และจังหวัดในภาคกลางบางพื้นที่

มะกรูดหวาน หรือ CITRUS HYSTRIX DC. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 1-3 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายและโคนใบมีลักษณะคล้ายกับใบส้มซ่า สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” รูปทรงกลมหรือรีเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลมะกรูดบ้านหรือมะกรูดทั่วไปอย่างชัดเจน หัวผลเป็นจุกคล้ายผลส้มหัวจุกจีน เปลือกผลขรุขระเหมือนผลมะกรูดทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่จัดเป็นสีเหลือง เนื้อในฉ่ำน้ำและให้น้ำเยอะ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติของเนื้อในหวานหอมรับประทานอร่อยมาก ติดผลเป็นพวง 5-7 ผล ภายในมีเมล็ด ติดผลดกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะกรูดหวาน” มีกิ่งพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 17 ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เมื่อต้นโตมีดอกและติดผลเก็บใช้ประโยชน์คุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


   น้ำมันมะกรูด – แก้เล็บติดเชื้อรา

เล็บมือหรือเล็บเท้า ถ้าติดเชื้อราจะทำให้เล็บขาดความสมบูรณ์ เล็บแห้งไม่มันวาว เสียรูปทรง สีเล็บคล้ำมีสีขาวๆ เจือปนเนื่องจากติดเชื้อรา ปลายเล็บเผยอจากเนื้อแต่ยังติดแน่นอยู่ เอาออกให้หมดไม่ได้จะมีอาการเจ็บ เมื่อเป็นแล้วต้องไปให้แพทย์เฉพาะทางรักษา ในทางสมุนไพรให้เอา “น้ำมันมะกรูด” มีขายทั่วไปหรือสอบถามที่องค์การเภสัชฯ ทาบริเวณเล็บที่เป็นบ่อยๆ จะค่อยๆดีขึ้นและหายขาดได้ วิธีนี้นิยมใช้มาแต่โบราณไม่มีอันตรายอะไร

มะกรูด หรือ CITRUS HYSTRIX DC. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE มีถิ่นกำเนิดภูมิภาคมาเลเซีย ใบและเปลือกผลเป็นเครื่องเทศ เปลือกผลสดนำไปกลั่นให้น้ำมันหอมระเหยแต่งกลิ่นเครื่องหอมหลายอย่าง ผลดองเค็มหรือเปรี้ยวเป็นยาฟอกเลือด สารที่พบประกอบด้วยสาร CITRONELTAL และ CITRONEL LENE ACETATE   นสพ.ไทยรัฐ


   พริกกะเหรี่ยงต้นเตี้ย - ดกเผ็ดแรง

พริกชนิดนี้ พบมีต้นวางขายมีขนาดต้นสูงไม่เกินคืบมือผู้ใหญ่ แต่ละต้นติดผลดกเต็มต้นเป็นสีเหลืองนวล สีขาว และสีแดง สวยงามน่าชมยิ่ง ผู้ขายบอกว่าเป็น “พริกกะเหรี่ยงต้นเตี้ย” แต่ไม่ทราบที่มาของสายพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร มีแหล่งปลูกย่านจังหวัดนนทบุรี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับพริกกะเหรี่ยงทั่วไปทุกอย่าง จะแตกต่างกันเพียงขนาดของต้นเท่านั้น จึงถูกตั้งชื่อตามขนาดของต้นว่า “พริกกะเหรี่ยงต้นเตี้ย” ดังกล่าว ซึ่งปลูกแล้วจะติดผลดกตามภาพประกอบคอลัมน์และรสชาติเผ็ดแรงมาก กำลังเป็นที่นิยมปลูกกว้างขวางอยู่ในเวลานี้

พริกกะเหรี่ยงต้นเตี้ย หรือ CAPSICUM FRUTESCENS LINN. ชื่อสามัญ BIRD CHILI, CHILI อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงเต็มที่ตามที่ผู้ขายยืนยันคือไม่เกิน 1 ฟุต กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่ ปลายแหลม โคนสอบ ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ 2-5 ดอก ออกตามซอกใบและปลายยอด ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยงเชื่อมกันปลายแยกเป็น 5 แฉก และจะคงอยู่จนดอกกลายเป็นผล ดอก โคนเชื่อมกันปลายแยก เป็นกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีเกสรตัวผู้ 5 อัน “ผล” กลมยาว ปลายผลแหลม ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลของพริกขี้หนูสวนอย่างชัดเจน สีผลมีทั้งเป็น สีเหลืองนวล สีขาว และ สีแดง ตามภาพประกอบคอลัมน์ รสชาติเผ็ดแรงหรือเผ็ดจัด ตามแบบฉบับของพริกกะเหรี่ยงทั่วไป แต่ละผลจะมีเมล็ดรูปแบนจำนวนมาก สามารถติดผลดกไม่ขาดต้นหรือทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
 
ปัจจุบัน “พริกกะเหรี่ยงต้นเตี้ย” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 5 ใกล้ๆ กับปากทางออกประตู 3  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน สามารถเก็บผลแก่นำเอาเมล็ดไปตากแห้งเพาะเป็นต้นใหม่ทดแทนต้นเก่า เพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ  


   มะแขว่น

มะแขว่น มีหนามแหลมตามลำต้นและกิ่ง ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ สีเขียว มีกลิ่นหอม ผลแก่เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง แก่จัดสีดำ แตกอ้าเห็นเมล็ดในสีดำเล็กๆ เมล็ด ตากแห้ง

มะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 20 เมตร มีหนามแหลมตามลำต้นและกิ่ง ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ สีเขียว มีกลิ่นหอม ผลแก่เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง แก่จัดสีดำ แตกอ้าเห็นเมล็ดในสีดำเล็กๆ เมล็ด ตากแห้ง ใช้ใส่ลาบ หรือแกง ทำให้มีกลิ่นหอมตามความนิยมของชาวเหนือ ผล ตากแห้งแล้วนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่แกงตำใส่น้ำพริกลาบ ในทางสรรพคุณสมุนไพร ใบนำมาขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดกินแก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม รากกับเนื้อไม้ต้มน้ำดื่มเพื่อขับลมในลำไส้ เป็นต้น.
   นสพ.เดลินิวส์


   พริกหวาน
พริกหวานจะช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย และเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต ให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปด้วยดี.

พริกหวาน จัดเป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว การเติบโตในระยะแรกเป็นลำต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรกตรงยอดแล้ว จะแตกกิ่งแขนงในแนวตั้งเป็นสองกิ่ง มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร มีรากในแนวดิ่งลึกประมาณ 90-120 เซนติเมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส ในทางสมุนไพร พริกหวานจะช่วยบำรุงธาตุในร่างกายและเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต ให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปด้วยดี.
  นสพ.เดลินิวส์


   พริกหวานจีน

ปลูกโดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส.
 
พริกหวานจีน จัดเป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ระยะแรกลำต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรกแล้วจะแตกกิ่งแขนงในแนวตั้งเป็นสองกิ่ง ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่งและจำนวนผลต่อต้น กิ่งแก่แข็งและเปราะหักได้ง่าย สูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร มีรากในแนวดิ่งลึกประมาณ 90-120 เซนติเมตร รากแขนงแผ่กว้างออกด้านข้างรากใหญ่อยู่หนาแน่นในระดับความลึก 50-60 เซนติเมตร ปลูกโดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส.
  นสพ.เดลินิวส์


   หอมแดง

หอมแดงหรือหอมหัวเล็ก เป็นพืชไวแสง จะลงหัวได้ดีที่ช่วงแสงของวัน ประมาณ 11 ชั่วโมง มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่างๆ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซูบผอม ใช้หัวแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดงผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ อาจป้องกันโรคมะเร็งได้ มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผล โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง.


   พริกขี้หนู–หอมแดง  เข้าตาน้ำตาไหลน้ำแก้ได้

เวลาตำ “พริกขี้หนู” สดกระเด็นเข้าตาหรือหั่นหัว “หอมแดง” สดแล้วน้ำตาไหล มีวิธีแก้อย่างไรได้บ้าง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถือเป็นปัญหาประจำวัน ซึ่งในสมัยโบราณบอกว่า ถ้าใครตำ “พริกขี้หนู” สดกระเด็นเข้าตา หรือหั่นหัว “หอมแดง” สด น้ำตาไหล ให้หาน้ำสะอาดล้างตา โดยลืมตาในน้ำครั้งหรือสองครั้งเพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนก่อน

จากนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าให้รีบเอาน้ำเย็นๆ อาจแช่น้ำแข็งก็ได้ ล้างบริเวณปลายเท้า โดยล้างตั้งแต่หน้าแข้งลงไป 2-3 ครั้ง จะทำให้อาการแสบในตาและอาการน้ำตาไหลจาก “พริกขี้หนู” กระเด็นเข้าตา และหั่นหัว “หอมแดง” สด น้ำตาไหลหายได้อย่างเหลือเชื่อ เนื่องจากส่วนประสาทรับรู้ของตาอยู่ที่ปลายเท้า

พริกขี้หนู หรือ CAPSICUM MINIMUM ROXB อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีขายตามตลาดสดทั่วไป ทางอาหารใช้ปรุงรสทำน้ำพริก ต้ม ลาบ ใบอ่อนแกงเลียง ทอดกับไข่รับประทานอร่อยมาก ประโยชน์ทางยา ผล ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการปวดบวม และไขข้ออักเสบ ส่วนโทษกระเด็นเข้าตาทำให้แสบตามที่กล่าวข้างต้น

หัว “หอมแดง” หรือ ALLIUM ASCALONICUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE ประโยชน์มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการดูดซึมของร่างกาย มีเบต้าแคโรทีน และมีสารจำพวกฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะเควอซิทีน ที่เป็นเกราะกันมะเร็งให้กับคนเราได้ เหมือนกับที่พบในไวน์แดงทั่วไป มีสารอาหารมากกว่า 10 ชนิด พร้อมกากใยในการช่วยย่อยได้ดี รับประทานหัว “หอมแดง” จึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย  มีวางขายตามตลาดสดทั่วไป ส่วนเมื่อหั่นหัว “หอมแดง” สดแล้วทำให้น้ำตาไหลจะถือว่าเป็นโทษก็ได้หรือไม่ถือก็ได้ครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


ful.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2559 16:03:58 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2557 18:42:38 »

.

   ขมิ้นชัน   คือขมิ้นแกง

“ขมิ้นชัน” ก็คืออันเดียวกันกับขมิ้นแกง ที่คนทั่วไปรู้จักดี มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ TURMERIC CURCUMA LONGA LINN. อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวใต้ดินแตกแขนงหัวจำนวนมาก เนื้อในหัวเป็นสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอมแรงแบบเฉพาะตัว ดอก ออกเป็นช่อแทงก้านขึ้นจากหัวระหว่างซอกใบ ลักษณะดอกเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อน ใบประดับดอกเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีขาวนวล ดอกจะบานครั้งละ 3-4 ดอก “ผล” เป็นรูปกลมรี มี 3 พู ภายในมีเมล็ด นอกจากชื่อ “ขมิ้นชัน” และขมิ้นแกง แล้วยังมีชื่อเรียกอีกคือ ขมิ้นหยอด ขมิ้นหัว ขี้มิ้น และ หมิ้น

สรรพคุณทางสมุนไพร หัวรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงหรือเอาหัวสดฝนผสมนํ้าทาบริเวณที่เป็นจะหายได้ นํ้ามันหอมระเหยและสาร CURCUMIN ที่ได้จากหัว ใช้ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ หัวสดใช้รักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กได้ผลดีเท่ากับยาปฏิชีวนะ และยังใช้แก้โรคท้องอืด เฟ้อ แก้แผลในกระเพาะอาหารที่เพิ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ โดยใช้เพียง 250 มิลิกรัม กินวันละ 4 เวลาหลังอาหารและก่อนนอนอาการจะดีขึ้น แต่ข้อควรระวังจะต้องไม่กินเกินกำหนดที่กล่าวข้างต้นอย่างเด็ดขาด ใครที่นอนหลับๆ ตื่นๆ มีอาการเหมือนคนเพ้อพกกิน “ขมิ้นชัน” หรือขมิ้นแกง จะช่วยให้หายได้ หัวสดตำละเอียดทาแก้คันและดับกลิ่นตัว ที่เกิดจากภายในได้้แต่สีเหลืองจะติดเสื้อผ้าจึงไม่นิยมกัน กลิ่นจากหัวสดสามารถดมแล้วเป็นยาแก้อาการหวัดคัดจมูกด้วย

หัวสด ตำคั้นเอานํ้าย้อมจีวรพระให้เป็นสีเหลืองได้ ชาวอินเดีย เอาหัวตากแห้งบดเป็นผงผสมเครื่องเทศปรุงอาหารเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น คนภาคใต้นิยมเอาหัวสด “ขมิ้นชัน” หรือ ขมิ้นแกง ตำละเอียดปรุงอาหารหลายอย่าง รับประทานแล้วยังช่วยไม่ให้ท้องเสียในตัวด้วยครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


 กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพร ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa ชื่อภาษาอังกฤษคือ Roselle ชื่อภาษาไทยอื่นๆ ว่าผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่าส้มปู จังหวัดตากเรียกว่าส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียกกระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว  กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3?6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบ ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก ดอกเป็นสีชมพู กลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไปกลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงจะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน  กระเจี๊ยบแดงสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายได้ น้ำกระเจี๊ยบยังสามารถใช้ทดสอบสารอาหารที่มีโปรตีนได้อีกด้วย


 หน่อไม้
หน่อไม้คนไทยบริโภคมานาน ในอดีตกินหน่อไม้เพื่อลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันอาการท้องผูก และช่วยย่อยอาหาร เพราะหน่อไม้ให้เส้นใยสูงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้กระหาย ขับปัสสาวะ ละลายเสมหะ มีฤทธิ์เย็นเช่นเดียวกับเห็ด ขับพิษใต้ผิวหนัง ขับผื่นหัดรวมถึงผื่นชนิดอื่นๆ.    นสพ.ข่าวสด


 อบเชย
อบเชย เป็นพืชสมุนไพรไทยประเภทเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย มีสีน้ำตาลแดงลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มีชื่อเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวน เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม ทางการแพทย์แผนไทยอบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาด จึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณ เช่น ผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น แก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำ ยานัตถุ์ ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้าน แบคทีเรีย ในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า 6 ปี หรือใบและกิ่งยังสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย ซึ่งจะมีมากในอบเชยญวน.   นสพ.เดลินิวส์

เปราะแดง
เปราะแดงพืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ มีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง ในตำราแพทย์แผนไทยระบุว่ามีการนำใบมาใช้แก้เกลื้อนช้าง ดอกใช้แก้แก้โรคตา ต้นแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ หัวใช้ขับเลือด แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ และรักษาบาดแผล ทั้งหัวและใบสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้   นสพ.เดลินิวส์


 พริกไทยขาว

พริกไทยขาวผลมีลักษณะกลมและมีสีขาวนวล หรือเรียกอีกอย่างว่า พริกไทยล่อน มีกลิ่นหอมฉุนแต่ไม่แรงเท่าพริกไทยดำ มีรสเผ็ดร้อน เป็นพริกไทยที่ได้จากผลสุกของของพริกไทยดำ โดยเก็บเอาผลสุกมาใส่รวมกันไว้ในกระสอบ แช่น้ำไว้ อาจใช้ไม้ทุบเบาๆ จนเปลือกนอกที่มีสีแสดแดงล่อนและหลุดออกหมด แล้วจึงเอาไปตากแดดให้แห้ง จะได้พริกล่อน เมล็ดมีสีค่อนข้างขาวนวล แข็ง ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 มม. กลิ่นหอมน้อยกว่าพริกไทยดำเนื่องจากกลิ่นอยู่ที่ผิวหรือเปลือกที่ล่อน ผงพริกไทล่อนมีสีเทา กลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน

ใช้เป็นเครื่องเทศชูรสและแต่งกลิ่นอาหาร ใช้หมักเนื้อสัตว์ต่างๆ ใส่ในเครื่องพะโล้ รวมถึงใช้เป็นส่วนผสมของน้ำพริก เครื่องแกง เป็นเครื่องปรุงในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด

พริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อนจะเหมาะกับการปรุงชูรสอาหารที่ต้องการ ให้มีสีขาวสด เช่น ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นไก่ หมูยอ ไก่ยอ นอกจากนี้พริกไทยยังมีคุณสมบัติ พิเศษ ช่วยถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ให้มีสภาพ และอายุการใช้ได้ยาวขึ้น ในสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ กระตุ้นประสาท แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค และนอกจากนี้ ชาวจีนยังใช้ระงับอาการปวดท้อง แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค แก้ลมบ้าหมู และเชื่อกันว่าหากจิบพริกไทยป่นชงน้ำวันละ 3 ถ้วย จะรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลดการปวดท้องและรักษาโรคในกระเพาะอาหารได้ ถ้ามีบาดแผลเลือดออกไม่หยุดคนไทยเมื่อครั้งอดีตจะเอาพริกไทยป่นใสแผลเพื่อช่วยห้ามเลือด
  นสพ.เดลินิวส์



 พริกไทยดำ

วารสาร “เกษตรกรรมและเคมีอาหาร” ของสหรัฐฯ แจ้งว่า นักวิจัยได้ค้นพบว่าพริกไทยดำมีสรรพคุณต่อต้านความอ้วนได้ เพราะมีสารไปเปอรีน ซึ่งมีรสฉุนและเผ็ดร้อน คอยขัดขวางไม่ให้เซลล์ไขมันใหม่ก่อตัวขึ้น

นักวิจัยของมูลนิธิวิจัยแห่งชาติเกาหลี กล่าวว่า พริกไทยดำ ใช้เป็นสมุนไพรในการแพทย์แผนโบราณของตะวันออกมาหลายศตวรรษแล้ว การรักษาโรคกระเพาะและลำไส้ แก้ปวด แก้อักเสบและโรคอื่นๆ แต่แม้จะใช้มานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในอิทธิฤทธิ์ของมันในระดับโมเลกุลข้างในสุด จึงได้พยายามค้นคว้าหาความรู้ในสรรพคุณทางการต่อต้านความอ้วนของมัน

การศึกษาในห้องทดลอง และแบบจำลองคอมพิวเตอร์ พบว่า มันออกฤทธิ์กับยีนซึ่งควบคุมการก่อตัวของเซลล์ไขมันใหม่ มันอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ระหว่างการเผาผลาญอาหารขึ้น ยังผลให้สกัดไขมันไว้ได้ พวกเขาเชื่อว่าผลการค้นพบคงจะทำให้ มีการนำสารสกัดจากพริกไทยดำมาใช้ในการต่อสู้กับโรคอ้วน และโรคที่เกี่ยวเนื่องกันมากขึ้น.
  นสพ.ไทยรัฐ


 โป๊ยกั๊ก
โป๊ยกั้ก หรือ จันทน์แปดกลีบ เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเครื่องเทศที่มีผลเป็นรูปดาว เป็นไม้ต้นที่มีขนาดเล็ก สูงประมาณ 18 เมตร ใบรูปใบหอกกลับถึงรูปรีแคบ โคนสอบ ปลายใบแคบเป็นแถบยาว ปลายสุดเว้าหรือแหลม ไม่ผลัดใบ ดอกเดี่ยวสีเหลือง บางครั้งแต้มสีชมพูถึงแดง ดอกรูปทรงกลมแกมรูปถ้วย กลีบดอก 10 กลีบ รูปรีกว้าง ขอบกลีบมีขน และเป็นกระพุ้ง ก้านดอกยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ผลเป็นรูปดาว มี 5-13 พู เมล็ดรูปไข่ แต่ละพูมี 1 เมล็ด ไม่ผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารจีน ในอาหารอินเดีย และในอาหารมาเลย์-อินโดนีเซีย เป็นส่วนผสมของผงเครื่องเทศทั้งห้าในการปรุงอาหารจีนแบบดั้งเดิม

สรรพคุณทางสุขภาพของโป๊ยกั้ก ได้แก่ ช่วยระงับความเจ็บปวด รักษาการอักเสบเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินปัสสาวะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้หวัดลดไข้ ช่วยรักษาโรครูมาติสม์ ระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดเอว แก้ตะคริว เหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า ที่สำคัญคือช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้กับกล้ามเนื้อและเพิ่มภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ของร่างกาย โป๊ยกั้กอุดมด้วยวิตามินและธาตุอาหารเสริมหลายชนิดที่ทรงคุณค่าต่อสุขภาพ ใน 100 กรัมของโป๊ยกั้กจะประกอบด้วยวิตามินเอ 10.5% วิตามินซี 35% ใยอาหารถึง 38% โปรตีน 31% คาร์โบไฮเดรต 31% เกลือแร่ เช่น โพแทส เซียม 31%ในขณะที่มีโซเดียมเพียง 1% เท่านั้น.
  นสพ.เดลินิวส์


 เก๋ากี้
เก๋ากี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarrum เป็นไม้พุ่มเตี้ยสายพันธุ์เดียวกับมะเขือยาว เติบโตได้ดีในบริเวณที่ลาดเขาและที่ราบแห้งแล้ง ซึ่งเก๋ากี้ที่ดีต้องมีเม็ดใหญ่ สีแดง เนื้อหนา อ่อนนิ่ม รสหวาน มีฤทธิ์เย็นเล็กน้อย ช่วยบำรุงไต แก้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และช่วยบำรุงสายตา

หนังสือสมุนไพร 91 ชนิด พิชิตโรค ชุดตำรายาล้ำค่าของหมอโฮจุนที่ UNESCO คัดเลือกให้เป็นมรกดความทรงจำแห่งโลก บันทึกไว้ว่า ผลการทดลองทางเภสัชวิทยาพบว่า เก๋ากี้ช่วยเพิ่มน้ำหนัก ช่วยลดคอเลสเตอรอลและฟอสฟอลิพิด ช่วยลดความดันโลหิต ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาตับและไต การมองเห็นไม่ดี วิงเวียนศีรษะ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศและน้ำกามหลั่งเอง แก้ปวดเอวแปล๊บๆ หัวเข่าไม่มีแรง ช่วยยับยั้งภาวะทุพโภชนาการ ประสาทอ่อนเพลีย โรคเบาหวาน ไอแห้ง ๆ เป็นต้น

วิธีการ นำเก๋ากี้มาวันละ 6-12 กรัม ทำเป็นยาต้ม หรือบดเป็นผง หรือปั้นเป็นยาลูกกลอนแล้วกิน หรือนำใบเก๋ากี้ 10-20 กรัม มาต้มด้วยไฟอ่อนๆ ดื่มขณะท้องว่าง วันละ 2-3 ครั้ง ช่วยรักษาโรคที่เป็นกันมากในวัยผู้ใหญ่ เช่น ความดันโลหิตสูง ปวดประสาท หลอดเลือดแดงแข็ง โลหิตจาง ป้องกันโรคมะเร็ง และยังรักษาอาการท้องผูก แก้กระหายน้ำในวัยชรา

ทั้งนี้ เปลือกรากเก๋ากี้ใช้รักษาโรคเบาหวาน หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปอดร้อน ไอหอบ และเลือดร้อน ข้อควรระวังคือ หากมีอาการตัวร้อน เป็นไข้หวัดลมหนาว หรือถ่ายเหลวเพราะม้ามพร่อง ห้ามใช้ยานี้
  นสพ.เดลินิวส์


  ส้มแขก ปรุงอาหารรสอร่อย

ส้มแขก เป็นไม้ที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคใต้มาแต่โบราณ เพื่อเก็บผลสดหรือแห้งปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม แกงไตปลา นำเอาผลสดผ่าเป็นชิ้นบางๆ ขนาดเล็ก เอาเยื่อและเมล็ดทิ้ง นำเฉพาะเนื้อไปตากแดดให้แห้งแล้วเก็บไว้ได้นานเป็นปีๆ เรียกว่าส้มแขกแห้ง เวลาต้องการใช้ก็นำเอาเนื้อแห้งดังกล่าวใส่ลงไปในแกงหรือต้มเนื้อ ต้มปลา โดยกะความเปรี้ยวตามใจชอบ จะทำให้น้ำแกงมีความเปรี้ยวและหอมส่งกลิ่นชวนรับประทานอย่างชัดเจน ปัจจุบันมีผู้นิยมนำเอาผลสดหรือแห้งของ “ส้มแขก” ไปปรุงอาหารอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะทางภาคใต้อย่างเดียวอีกแล้ว เนื่องจากมีวางขายตามตลาดสดทั่วไป ใบอ่อนจากต้น “ส้มแขก” ยังใช้รองปลานึ่งทำให้มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยอีกด้วย

ส้มแขก หรือ GARCINIA ATROVI-RIDIS GRIF อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด เป็นมันคล้ายใบมังคุด เวลาใบดกให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกลุ่มหลายดอก ลักษณะดอกเหมือนกับดอกมังคุด เวลามีดอกดกจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก “ผล” รูปกลมแป้นเหมือนกับผลฟักทอง มีพูแบ่งตามยาว ๕ พู ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม เนื้อในเป็นสีส้มเช่นเดียวกัน และมีน้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แค่ได้กลิ่นจะทำให้น้ำลายสอได้ ภายในมีเมล็ด ปรุงอาหารจะได้รสเปรี้ยวหอมไม่แพ้การปรุงด้วยมะขามเปียก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นคุ้มค่ามากครับ.
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ


  ถั่วแดง บำรุงหัวใจกระดูก

สูตรดังกล่าว ให้เอา “ถั่วแดง” ที่มีวางขายทั่วไป หนัก 2 ขีด ล้างน้ำให้สะอาด ต้มกับน้ำครึ่งลิตรจนเดือด เนื้อถั่วสุกและเปื่อย ใส่ “โอวทึ้ง” ลงไปเล็กน้อยพอมีรสหวาน หรือหา “โอวทึ้ง” ไม่ได้ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนก็ได้ จากนั้นกินทั้งน้ำและเนื้อจนหมด วันละครั้ง ต้มกินต่อเนื่องเรื่อยๆได้ไม่มีอันตรายอะไร จะช่วยบำรุงเลือดทำให้หัวใจแข็งแรง และที่สำคัญหัวใจจะไม่โตอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันโรคหัวใจโตมีคนเป็นกันเยอะ

ถั่วแดง หรือ PHASECOLUS VULGARS L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE สรรพคุณทั่วไป ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดสมองปริแตกได้ ช่วยขับพิษในร่างกาย บำรุงลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมน้ำ บรรเทาอาการปวดบวมหรือปวดตามข้อต่อต่างๆ  มีแคลเซียมสูง กินประจำบำรุงกระดูกและฟัน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอื่นๆ อีกเยอะ
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ


  ตำลึงตัวผู้ หัวสดดียอดกินท้องเสีย

ตำลึงตัวผู้ เป็นไม้ที่พบขึ้นแพร่หลายตามที่ราบบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ชาวเขาและคนในท้องถิ่นรู้จัก “ตำลึงตัวผู้” เป็นอย่างดี เนื่องจากหัวสดมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรชั้นดี โดยให้เอาไปฝานเป็นแว่นบางๆ หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตำจนละเอียดแล้วใช้เนื้อไปปิดบริเวณแผลสดและบริเวณที่เกิดอาการปวดจากการฟกบวม ทำให้แผลสดแห้งหายได้เร็วขึ้น และอาการปวดเพราะฟกบวมจะยุบหายได้ ซึ่งในยุคนั้นนิยมกันอย่างกว้างขวาง เพราะได้ผลดีระดับหนึ่ง ส่วนใบ หรือยอดอ่อนของ “ตำลึงตัวผู้” สามารถกินเป็นอาหารได้เหมือนกับตำลึงตัวเมียที่มีวางขายทั่วไปตามตลาดสดทุกอย่าง แต่ไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากใบและยอดอ่อนของ “ตำลึงตัวผู้” กินแล้วจะทำให้เกิดอาการท้องระบายอย่างรุนแรงหรือท้องเสียนั่นเอง เลยทำให้ “ตำลึงตัวผู้” ในปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับประเภทโชว์ความสวยงามของหัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกไม้แคระหรือบอนไซจะชื่นชอบมาก

ตำลึงตัวผู้ หรือ SOLENA AMPLEXICAULIS (LAM.) GANDHI. อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง มีหัวหรือเหง้าขนาดใหญ่ใต้ดิน ตามภาพประกอบคอลัมน์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปค่อนข้างกลมเป็น 5 เหลี่ยม หรือเว้าลึกเป็น 3-5 แฉก โคนเว้าเป็นรูปหัวใจเหมือนกับใบของตำลึงตัวเมีย มีมือเกาะออกตามข้อเช่นกัน ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ 2-3 ดอก ตามซอกใบ ลักษณะดอกเป็นดอกแยกเพศ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวสดใส “ผล” รูปทรงกลมยาวหรือรูปทรงกระบอก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อผลสุกเป็นสีแดงหรือแดงอมม่วง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 24  ราคาสอบถามกันเองครับ
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มิถุนายน 2559 16:07:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2559 16:22:26 »


กระเทียม แก้แผลสด เลือดไม่หยุด

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย รู้ไว้ประเทืองปัญญา สามารถนำไปใช้ก่อนพบแพทย์ให้รักษา ซึ่งหากใครเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมหรือเป็นแผลสดเลือดไหลไม่หยุดให้เอา “กระเทียม” สดปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดฝานเป็นแว่นบางๆ นำไปปิดทับแผลให้เต็มแล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้ ไม่นานเลือดจะหยุดได้ จากนั้นก็เอาออกไม่อันตรายอะไร นิยมใช้กันมาแต่โบราณแล้ว

กระเทียม หรือ ALLIUM SATIVUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE ในงานวิจัยพบว่า “กระเทียม” มีบทบาทลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม รักษาโรคความดันโลหิตสูง สาร “อัลลิซิน” มีแนวโน้มทำให้ระดับของ “คอเลสเทอรอล” ในเลือดลดลงด้วย ใบสดของ “กระเทียม” มีสารจำพวกวิตามินเกลือแร่ต่างๆเยอะ ที่โดดเด่นคือเบต้าแคโรทีน
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ


ใบมะกรูด ลดความดันโลหิต

สมุนไพร ใช้ลดความดันโลหิตสูงมีหลายสูตรอยู่ที่ใครกินหรือใช้แล้วได้ผลดีกับสูตรไหนก็ใช้สูตรนั้นได้ต่อเนื่อง และ “ใบมะกรูด” เป็นอีก วิธีหนึ่งขอแนะนำไปปฏิบัติคือเอาใบสดเป็นใบแก่ จำนวน 10 ใบ ต้มกับน้ำครึ่งลิตรจนเดือด ดื่มขณะอุ่น วันละ 2 เวลา เช้าเย็นครั้งละ 1 แก้ว ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ต้มดื่มประจำ ถ้าถูกทางยาจะช่วยให้ความดันโลหิตสูงลดลงได้ หากกินแล้วไม่ได้ผลสามารถเลิกได้ไม่มีอันตรายอะไร ใครที่มีความดันโลหิตสูงทดลองดูไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด

มะกรูด หรือ LEECH LIME, CITRUS HYSTRIX DC. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE สรรพคุณเฉพาะตำรายาไทย น้ำมะกรูดแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ ผลสดย่างไฟพอสลบสระผมป้องกันการเกิดรังแค ผิวผลปรุงเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ผลสดปิ้งไฟให้เกรียมละลายให้เข้ากับน้ำผึ้งใช้ทาลิ้นเด็กที่เกิดใหม่เป็นยาขับขี้เทา ขับผายลม แก้ปวดท้องดีมาก
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



มะเขือพวง กับวิธีแก้วนิ้วมือนิ้วเท้าชา

อาการนิ้วมือนิ้วเท้าชา มีสูตรบรรเทาได้ โดยชาวเขาเผ่าอีก้อระบุว่าให้เอาต้นกับใบสดของ “มะเขือพวง” กะจำนวนตามต้องการ ปั่นให้ละเอียดใส่นํ้าเล็กน้อย แล้วใช้ผ้าขาวบางกรองคั้นเอานํ้าทาและเอากากพอกบริเวณที่เป็น และต้มนํ้าอาบ จะช่วยบรรเทาปลายประสาทนิ้วมือนิ้วเท้าชา ให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง และยังช่วยให้คนที่เพิ่งเริ่มเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตใหม่ๆ ได้อีกด้วย สาร SOLASODINE, SOLA SODIENE ที่แยกได้จากใบ ต้านเชื้อไวรัสได้

มะเขือพวง หรือ SOLANUM TORVUM SW. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีต้นขายทั่วไป สรรพคุณเฉพาะลำต้นต้มนํ้าดื่มหรือเคี้ยวกินสดๆ แก้เมาเหล้าทำให้รสชาติของเหล้าจืดลง กินบ่อยๆ สามารถแก้โรคเบาหวานได้ แต่ไม่ใช่รักษาให้โรคเบาหวานหาย เมล็ดเผาไฟสูดเอาควันเข้าจมูกแก้ปวดฟัน รากสดตำพอกส้นเท้าที่แตกระแหงจนเป็นแผลให้หายดีมาก .
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



กระเจี๊ยบเขียว-หอมหัวใหญ่ บำรุงข้อและกระดูก

สูตรดังกล่าว ให้เอา “กระเจี๊ยบเขียว” สด 3 ผล กับ “หอมหัวใหญ่” สด 1 หัว ผ่าซีกแล้วนำทั้ง 2 อย่างต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด เคี่ยวให้เหลือครึ่งลิตร ดื่มเฉพาะน้ำขณะอุ่น ครั้งละครึ่งแก้ว 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะช่วยบำรุงข้อและกระดูกให้แข็งแรงขึ้น และยังเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกได้อีกด้วย ต้มดื่มบ่อยๆ ได้ไม่มีอันตราย

กระเจี๊ยบเขียว หรือ ABELMOSCHUS ESCULENTUS MOENCH, HIBICUS ESCULENTUS (L.) อยู่ในวงศ์ MALVACEAE มีถิ่นกำเนิดเขตร้อนทวีปแอฟริกาและเอเชียทั่วไป “หอมหัวใหญ่” หรือ ALLIUM CEPA LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE มีรกรากแถบเอเชีย

ตะวันตก กินสดมีสารชื่อ “อัลลิโปรบิลไตซัลไฟต์” แต่ปรุงผ่านความร้อน สารดังกล่าวจะระเหยทำให้เกิดสารชนิดใหม่ซึ่งจะมีรสหวานเข้ามาแทนที่.
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



สะเดา กับสรรพคุณน่ารู้

คนรุ่นใหม่ อยากทราบว่า “สะเดา” มีสรรพคุณทางสมุนไพรอะไรบ้าง ซึ่งในตำรายาแผนไทยระบุว่า ใบอ่อน แก้โรคผิวหนังนํ้าเหลืองเสียพุพอง ใบแก่ ช่วยย่อยอาหาร ดอก แก้กำเดาไหล แก้ริดสีดวงในลำคอที่เป็นเม็ดคันเหมือนกับมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ผล แก้โรคหัวใจเต้นผิดปกติ กระพี้ แก้นํ้าดี พิการที่เป็นสาเหตุให้มีอาการคลั่งและเพ้อ รากต้มดื่ม แก้เสมหะเกาะแน่นในทรวงอกและเสมหะจุกในลำคอ เปลือกของราก แก้ไข้ทำให้อาเจียน ต้มนํ้าอาบแก้โรคผิวหนัง ก้านใบแก้ไข้ เมล็ดกลั่นนํ้ามันปรุงทำเครื่องสำอาง ใช้จุดตะเกียง ใบสดและเมล็ดสดมีสารกำจัดแมลงชื่อ AZADIRACHTIN ฆ่าเห็บหมัดไรได้ดีมาก

สะเดา หรือ AZADIRACHTA INDICA JUSS.VAR. SIAMENSIS VAL. ชื่อสามัญ SIAMESE NEEM TREE อยู่ในวงศ์ MELIACEAE เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 7-9 คู่ ปลายใบแหลม โคนเบี้ยว ยอดอ่อนที่แตกใหม่ๆ เป็นสีนํ้าตาลแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีขาว มีเกสรตัวผู้ 10 อัน “ผล” กลมรี มีเนื้อฉ่ำนํ้า ผลแก่เป็นสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 1-1.5 ซม. ใน 1 ผล จะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ทุกปี พบขึ้นตามที่แห้งแล้ง เป็นไม้เบิกนํ้าตามธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ มีชื่ออีกคือ สะเดาบ้าน (ภาคกลาง) สะเลียม (ภาคเหนือ) เดา, จะเดา (ภาคใต้) และ จะตัง (ส่วย)

มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ขนาดของต้น ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกซื้อไปปลูกด้วย เช่น สะเดามัน สะเดาดำ หรือสะเดายอดทั้งปีครับ.
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 17:50:48 »


หัวผักกาด แห่งวิตามินซีที่ไม่เปรี้ยว

หัวผักกาด หรือ CHINESE RADISH RAPNANUS SATIVUS LINN. อยู่ในวงศ์ BRASSICACEAE มีวิตามินซีสูงกว่าแอปเปิ้ลและสาลี่ถึง 10 เท่า จัดเป็นแหล่งวิตามินซีที่ไม่มีรสเปรี้ยวถ้ากินสด แต่หากนำไปผ่านความร้อนวิตามินซีจะไม่เหลือเลย กินสดขูดเป็นฝอยราดน้ำสลัด ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสูง ช่วยทำให้กระเพาะอาหารลำไส้บีบตัวได้ดี มีสารฆ่าเชื้อโรคบางชนิด มีฤทธิ์แก้ไอ ขับเสมหะและชะล้างฝุ่นจากภายใน “หัวผักกาด” สด 1 หัว ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นผสมน้ำผึ้งพอประมาณจนละเอียด ใส่โหลเก็บตู้เย็นกินก่อนนอนครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ ทั้งน้ำและเนื้อ สามารถแก้โรคริดสีดวงทวาร ที่เพิ่งเริ่มมีอาการใหม่ๆให้หายได้ มีหัวสดขายทั่วไป


ฟักทอง คลังแห่งสารอาหาร

ฟักทอง หรือ CUCURBITA PEPO LINN. อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการนำ ไปสร้างวิตามินเอเพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็ง เนื้อ “ฟักทอง” ไม่เป็นอริต่อสุขภาพมนุษย์ ทั้งโซเดียมและคอเลสเทอรอล หากกินทั้งเปลือกจะกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต บำรุงตับ ไต นัยน์ตา ควบคุมสมดุลร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายได้ เมล็ด “ฟักทอง” ร้อยละ 40 เป็นไขมัน มีกรดอะมิโนบางชนิดป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากผู้ชายโตหรือใหญ่ขึ้น ปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ เมล็ด “ฟักทอง” มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งสารดังกล่าวออกฤทธิ์ขับพยาธิตัวตืดดีมาก


หัวหอมแดง ดับพิษไฟ น้ำร้อนลวก

เวลามีใครถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกตามร่างกาย แต่ไม่ใช่ว่าถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกมากมาย ทำให้เกิดปวดแสบปวดร้อนแทบทนไม่ไหว ในยุคสมัยก่อน หมอยาพื้นบ้านมีวิธีช่วยได้โดย ให้เอา “หัวหอมแดง” ที่ใช้ปรุงอาหารหาได้ในครัวเรือน ตำละเอียดพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก จะช่วยดับพิษปวดแสบ ปวดร้อนให้หายได้ทันทีแบบเหลือเชื่อ

หัวหอมแดง หรือ ALLIUM ASCALONI-CUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE มีขายทั่วไป คุณค่าทางอาหารให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการดูดซึมของร่างกาย มีเบต้าแคโรทีน และยังมีสารจำพวก “ฟลาโวนอยด์” โดยเฉพาะ “เควอซิทีน” ที่เป็นเกราะป้องกันมะเร็งให้กับคนได้ เหมือนกับที่พบใน ไวน์แดง ดังนั้นกิน “หัวหอมแดง” นอกจากจะได้ “ฟลาโวนอยด์” แล้วยังมีสารอาหารมากกว่า 10 ชนิด พร้อมด้วยกากใยอาหารสูงด้วย



มะกรูด  ทำยาทาแก้ปวดอักเสบ

สูตรดังกล่าว ให้เอาผล “มะกรูด” สด 10 ผล ผ่าครึ่งกับเหล้าขาว 40 ดีกรี 1 ขวด แล้วเอาผล “มะกรูด” ที่ผ่าไว้ดองกับเหล้าขาวหมดขวดในโหลแก้วปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อครบกำหนดสามารถเปิดฝาใช้น้ำทาบริเวณที่เกิดอาการปวดหรืออักเสบตามร่างกายเนื่องจากทำงานหนักหรือเข่าอักเสบ แต่ไม่ใช่เกิดจากหัวเข่าเสื่อมกระดูกเสื่อมให้หายปวดได้ ใช้แล้วบิดฝาโหลแก้วเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดไม่อันตรายอะไร

มะกรูด หรือ LEECH LIME CITRUS HYSTRIN DC. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE น้ำมีวิตามินซีใช้ถูฟันแก้โรคเลือดออกตามไรฟันดีมาก เปลือกผลปรุงเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ผลดองเปรี้ยวหรือเค็มกินบำรุงโลหิตระดูสตรี มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ผลมีขายตามตลาดสด



"กระเทียมโทน–น้ำมะนาว" คุมเบาหวาน เกาต์

สูตรดังกล่าวให้เอา “กระเทียมโทน” สดปอกเปลือกครึ่งกิโลกรัมกับ “น้ำมะนาว” คั้นจากผลสด 15-20 ผลแล้วปั่นรวมกันจนละเอียดใส่โหลแก้วปิดให้ดี หมักไว้ 15 วัน จากนั้นจึงเปิดกินหลังอาหารเย็นทุกวันครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะจนหมดโหล จะช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดหรือเบาหวานกับโรคเกาต์ให้ดีขึ้น หากกินแล้วถูกทางยา สามารถทำกินได้เรื่อยๆ แต่กินแล้วไม่ได้ผล หยุดกินได้เลยไม่มีอันตรายอะไร

กระเทียมโทน หรือ ALLIUM SATIVUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม ป้องกันหัวใจขาดเลือด ฯลฯ “น้ำมะนาว” หรือ LIME CITRUS AURANTIFOLIA (CHRISTM– PANZ) SWING อยู่ในวงศ์ RUTACEAE น้ำคั้นผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอดีมาก



สะระแหน่กลิ่นตะไคร้ หอมอร่อยมีสรรพคุณ

สะระแหน่กลิ่นตะไคร้ เป็นพืชผักกินได้ที่มีถิ่นกำเนิด จากประเทศเวียดนาม ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MENTHA PULEGIUM อยู่ในวงศ์ LABIATAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มล้มลุกอายุหลายปี แตกกิ่งก้านเยอะ ลำต้นมีขนสั้นนุ่มปกคลุม ต้นสูงประมาณครึ่งเมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายใบเกือบมน โคนใบมน ก้านใบยาวไม่สั้นเหมือนสะระแหน่ไทย ผิวใบมีรอยย่นเหมือนกับใบสะระแหน่ทั่วไป ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวคือ กลิ่นจะหอมแรงคล้ายกลิ่นของต้นตะไคร้แกงที่นิยมปรุงอาหารทั่วไป

ซึ่ง “สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” ดังกล่าว ชาวเวียดนามนิยมกินเป็นผักสดกับอาหารคาวหลายอย่าง โดยเฉพาะกินกับขนมจีนเวียดนาม จะเพิ่มกลิ่นหอมให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น ใครที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศเวียดนามและชอบเดินตลาดเช้า จะพบว่า “สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” ที่ว่านี้จะมีวางรวมกับผักสดชนิดต่างๆบนถาดให้ลูกค้าหยิบกินตามใจชอบ เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

ประโยชน์ของ “สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” นอกจากใบและยอดอ่อนมีกลิ่นหอมรับประทานเป็นผักสดได้อร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกับสะระแหน่ทั่วไปทุกอย่างคือ ใบมีกลิ่นหอมร้อนกินเป็นยาขับผายลม ขับเหงื่อ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง ใบสดขยี้ดมกลิ่นช่วยลดอาการหืดหอบ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ใบแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มช่วยย่อยอาหารได้ ใบสดขยี้ทาขมับแก้ปวดหัว แก้ลม ใบสดขยี้ทาบริเวณที่ฟกบวมช่วยให้ดีขึ้นระดับหนึ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 2 ราคาสอบถามกันเองครับ.

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.325 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มีนาคม 2567 10:38:59