[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:44:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รอบโลก เรื่อง "เครื่องดนตรี"  (อ่าน 97986 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 สิงหาคม 2556 17:02:36 »

.
"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
ฤาอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี้
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ"

จากบทหนึ่งของพระราชนิพนธ์แปล ในรัชกาลที่ 6 (จากต้นฉบับของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์) แสดงให้เห็นว่า ดนตรีนั้นอยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน

ความพิเศษของดนดรีอยู่ที่ความแตกต่างของ เครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่สามารถนำมาบรรเลง ร่วมกันเป็นวง เกิดเป็นเพลงที่ไพเราะ แต่ละชุมชนมีเครื่องดนตรีที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม


http://www.sookjaipic.com/images/7106656361_a0750_1_.jpg
รอบโลก เรื่อง "เครื่องดนตรี"

       กล่องดนตรี หรือ Music Box

ในปี ค.ศ.1815 ทั้งกรุงเจนีวาและเมืองสเต-ครัวซ์ กลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตกล่องเพลง โดยนายเดวิด เลอคูลเทร ถือเป็นนายช่างคนแรกที่นำโลหะทรงกระบอกมาใช้ตรึงหมุดในกล่องเพลงเป็นคนแรก ทั้งเป็นคนเพิ่มซี่เหล็กทำเสียงดนตรีออกเป็น 5 ซี่ (เหมือนหวี) เพื่อเพิ่มเสียงตัวโน้ตมากขึ้น ขณะเดียวกันพี่น้องตระกูลนิโคล ก่อตั้งโรงงานผลิตกลอ่งดนตรีชื่อ นิโคล-เฟรเรส์ พัฒนาเทคนิคทำกล่องเพลง เช่น ใช้ไม้ผลมาทำเป็นตัวกล่องให้สวยงาม และใช้ตัวควบคุมการทำงานของดนตรี 3 ตัว (ตัวเปลี่ยนเสียงเพลง ตัวเริ่มและหยุดเสียง และตัวหยุดเสียงทันที) นอกจากนี้ยังประดิษฐ์ตัวไขลานติดไว้ที่ด้านซ้ายของกล่อง (บริษัทนี้มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน)

ในช่วง ค.ศ.1850-1870 ถือเป็นช่วงที่มีการประดิษฐ์กล่องดนตรีที่ประณีตที่สุด ทั้งในด้านเสียงเพลงและตัวกล่อง จากนั้นในช่วง 1880 อุตสาหกรรมการผลิตกระบอกโลหะ (ตัวหมุน) เฟื่องฟูมาก เมื่อกล่องเพลงเป็นที่นิยมแพร่หลาย คนธรรมดาเดินดินก็ซื้อได้ แต่การผลิตกล่องเพลงมาชะงักราวปี 1910 เมื่อประชาชนหันไปนิยมเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นในปี 1877 จากนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 การประดิษฐ์กล่องเพลงจึงซบเซาไป ในปัจจุบันกล่องเพลงที่มีชื่อเสียงยังคงเป็นของสวิส แต่บริษัทเยอรมันเองก็ไม่น้อยหน้า สามารถครองส่วนแบ่งของตลาดได้มากที่สุด

เพลงที่นิยมใช้ในกล่องเพลง เป็นเพลงคลาสสิค และตอนนี้มีหลายแบบ ทั้งเพลงจากภาพยนตร์ เพลงของวงดนตรีดังๆอย่าง X-Japan ก็ยังมี ถ้าอยากเห็นชัดๆว่ากล่องเพลงทำงานอย่างไร ต้องไปดูอันที่ใช้แก้วเป็นฝาที่มองเห็นกลไกการทำงานภายใน จะเข้าใจได้ดีขึ้น




       เปียโน

เปียโนหลังแรกถือกำเนิดขึ้นในนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ในยุคศิลปะบาโรก โดยช่างฝีมือศิลป์ผู้ชำนาญการสร้างฮาร์ฟซิคอร์ดนามว่า บาร์โตโลมีโอ คริสโตฟอรี ผู้มีวิสัยทัศน์เฉียบแหลม ซึ่งเล็งเห็นว่าจุดอ่อนของเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดในสมัยนั้นคือการไม่สามารถทำเสียงดัง (forte) และเสียงเบา (piano) ได้ จึงปิ๊งไอเดียประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่มีคุณสมบัติดังกล่าว

เมื่อเปิดตัวต่อหน้าชาวประชาอิตาเลียนครั้งแรก เขาตั้งชื่อมันว่า "กราเวียมาบาโล โคล เปียโน เอะ ฟอร์เต้" แปลได้ว่า "ฮาร์ฟซิคอร์ดเครื่องใหญ่ซึ่งสามารถเล่นเสียงดังและเสียงเบาได้" ก่อนจะถูกกร่อนคำเหลือเพียงคุณสมบัติเด่น คือ เปียโนฟอร์เต้ ล่วงมาถึงศตวรรษที่ 20 จึงเหลือเพียงคำว่า เปียโน

ทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จักเปียโน แต่ในสมัยนั้นเปียโนถือเป็นนวัตกรรมล่าสุด ผู้คนทั้งอิตาลีต่างยกให้มันเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดแสนบรรเจิด น่าเสียดายที่คนอิตาเลียนเห่อเจ้า เปียโนได้ไม่นานก็เบื่อ ปล่อยให้ประเทศเยอรมนีรับเอาวิธีการผลิตเปียโนไปต่อยอดพัฒนากลายเป็นเปียโนในรูปแบบอื่นๆ ที่เราใช้ในทุกวันนี้ เช่น แกรนด์เปียโน




       ออร์แกน

ออร์แกนจัดเป็นเครื่องดนตรี "ที่สุด" ในทุกเรื่อง ทั้งขนาดใหญ่ที่สุด เสียงดังที่สุด ช่วงเสียงกว้างที่สุด เก่าแก่ที่สุดและมีความซับซ้อนเป็นที่สุด  เป็นเครื่องดนตรีจำพวกคีย์บอร์ด บรรเลงเพลงด้วยมือและเท้าประสานกัน การทำงานคือปล่อยให้ลมไหลผ่านท่อที่ติดตั้งอยู่ด้านหลัง ออร์แกนแบบท่อใช้วัสดุหลายจำพวกในการสร้างเสียงและความดังเบาที่แตกต่างกัน  แม้ในอดีตเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดจะไม่สามารถสร้างไดนามิก (ความดังเบาของเสียง) แต่ต่อมาได้มีการปรับปรุงแพดเดิลให้เหยียบเพิ่มอรรถรสในการเล่น

ออร์แกนมีประวัติความเป็นมายาวนานมาก ย้อนกลับไปกว่า 2 พันปีก่อนหรือยุคก่อนคริสตกาล เครื่องดนตรีที่เป็นบรรพบุรุษของออร์แกนคือ Hydraulus ซึ่งชาวกรีกเป็นผู้คิดค้นก่อนคริสตกาล 250 ปี โดยใช้แรงดันน้ำเป็นแรงขับเสียง จากนั้นราว 400 ปี ชาวยุโรปจึงเริ่มรู้จักเครื่องดนตรีนี้

ต่อมาในยุคโรมันชาวเมืองใช้เครื่องดนตรีคล้ายออร์แกนประกอบการแข่งขันประลองฝีมือกลาดิเอเตอร์ (Gladiator) ก่อนจะวิวัฒนาการกลายเป็นเครื่องดนตรีประจำโบสถ์ของศาสนาคริสต์

ออร์แกนเริ่มเล่นแพร่หลายช่วงศตวรรษที่ 12-16 โดยนักดนตรีบางกลุ่มเล่นออร์แกนที่มีขนาดเล็กชนิดที่สามารถวางบนตักได้ มือซ้ายใช้ปั๊มสูบลมส่วนมือขวาใช้กดเล่นเสียง คล้องคอด้วยสายหนังเพื่อพกพาแบกไปเล่นในที่สาธารณะ ขณะที่ในเมืองใหญ่บางเมืองมีออร์แกนขนาดมหึมาที่ดังกระหึ่มจนแม้แต่คนหูหนวกยังรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน




       โมะคุเกียว      

โมะคุเกียว แปลตรงตัวว่าปลาไม้ จัดเป็นเครื่องดนตรีเคาะที่ผูกพันกับศาสนาอย่างลึกซึ้ง ชาวญี่ปุ่นทั้งพระสงฆ์และฆราวาสจะเคาะโมะคุเกียวประกอบพิธีกรรมขณะที่ปากท่องบ่นมนต์ด้วยอาการสงบ โมะคุเกียวปรากฏในเอเชียตะวันออกหลายประเทศทั้งในพุทธลัทธิมหายาน เซนและเต๋า

โมะคุเกียวมีสองชนิด ที่เห็นปัจจุบันเป็นแบบกลมทำจากไม้ แต่แบบในอดีตจะทำเลียนแบบตัวปลาและปล่อยช่องภายในโล่งให้เสียงสะท้อนไปมาได้ เล่นโดยการใช้ไม้เล็กๆ หุ้มนวมตรงส่วนหัวแล้วเคาะเรื่อยๆ เป็นจังหวะ

การเลียนแบบตัวปลาของโมะคุเกียวนอกจากจะมีเหตุผลเพื่อให้ภายในกลวงแล้ว ยังแฝงปรัชญาตามคติพุทธที่ว่าปลาเป็นสัตว์ที่ไม่เคยหลับ ไม่หยุดเคลื่อนไหวและไม่เหนื่อยล้า เหมือนดังพระสงฆ์ที่ต้องพร่ำบ่นมนต์ด้วยความพากเพียรและมีสมาธิ

มีตำนานมากมายพยายามอธิบายที่มาของโมะคุเกียว ตำนานหนึ่งกล่าวว่าระหว่างที่พระถังซำจั๋งเดินทางไปชมพูทวีปเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกปรากฏสายน้ำบ่าท่วมขวางทางเดิน ครั้นจะข้ามสะพานก็มิได้จะออกเรือก็ไม่ควร แลไปเห็นปลาใหญ่กระโจนพรวดจากแม่น้ำจึงขอเป็นพาหนะ ปลายักษ์ตกลงแลกกับการล้างผิดที่ตัวเคยก่อยามเป็นมนุษย์ แต่หลังจากพระถังซำจั๋งกลับจากชมพูทวีปก็ลืมคำสัญญาที่ให้ไว้กับเจ้าปลาจนหมด เมื่อปลายักษ์รู้จึงจมคัมภีร์ของพระถังซำจั๋งจนหมดสิ้น

พระถังซำจั๋งโกรธมากเมื่อกลับถึงวัดจึงสร้างโมะคุเกียวและคอยตีหัวเพื่อระบายความโกรธ แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าเมื่อเคาะครั้งใดตัวอักษรในพระไตรปิฎกก็ไหลออกมาจากปากปลา พระถังซำจั๋งจึงสามารถรวบรวมคัมภีร์ด้วยวิธีนี้




       ไวโอลิน

ไวโอลิน จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายที่ทรงอิทธิพลในยุคโบราณอย่างมาก เนื่องด้วยเสียงแหลมสูงที่เข้ากับเครื่องดนตรีอื่นได้อย่างดี ความยืดหยุ่นและความคล่องแคล่วในการเล่นทำให้มันกลายเป็นกระดูกสันหลังของวงดนตรีแชมเบอร์และวงออร์เคสตรา

ไวโอลินเป็นภาษาอิตาลีมีความหมายว่าเครื่องดนตรีชนิดสาย นับเป็นเครื่องดนตรีที่เล็กที่สุดและมีเสียงสูงที่สุดในตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยอีก 3 เครื่องคือ วิโอล่า เชลโล่ และดับเบิ้ลเบส ลักษณะมี 4 สาย ตั้งเสียงที่คู่ 5

ย้อนกลับไปยังศตวรรษที่ 15 ในประเทศแถบยุโรป เครื่องสายที่ใช้ในสมัยนั้นมีเพียงสองชิ้นคือ fiddle และ rebec ซึ่งไม่มี bridge (หย่อง) ทำให้นักดนตรีนิยมใช้เล่นประสานเสียงมากกว่าเล่นทำนองเพลง จนกระทั่งราวปีค.ศ.1480 สองพี่น้อง Jean และ Charles Fernandes คิดประดิษฐ์หย่องขึ้นและทำให้เสียงของสายกลางสูงขึ้นกว่าทุกสาย การพัฒนาของครอบครัวไวโอลินดำเนิน ต่อเนื่องมาเรื่อยจนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 16 ก็เสร็จสมบูรณ์

ครอบครัวไวโอลินในยุคแรกไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เพราะมีคู่แข่งเป็น viol (วีโอล) ซึ่งมีเสียงที่นุ่มลึกแต่หนักแน่น ขณะที่ไวโอลินให้เสียงสดใสและชัดเจนกว่า ทำให้ช่วงแรกไวโอลินนิยมเล่นกับดนตรีเต้นรำ แต่จากนั้นไม่นานช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ความนิยมไวโอลินก็แพร่ขยายไปยังประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และโปแลนด์ ทำให้นักดนตรีมีโอกาสได้เล่นมันในโบสถ์ เพลงแห่ และเพลงพื้นบ้านมากขึ้น




       เชลโล

เชลโล ถือเป็นเครื่องดนตรีเสียงบาริโทนที่โด่งดังชิ้นหนึ่งในหมู่เครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน มีหุ่นโค้งมนคล้ายไวโอลินและ วิโอล่า นิยมเล่นประกอบวงออร์เคสตร้า รองลงมาเป็นวงแจ๊ซและวงบลูส์ เริ่มแรกเชลโลมี 3 สาย ต่อมาพัฒนากลายเป็น 4 สายอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

เชลโลมีชื่อเต็มๆ เป็นภาษาอิตาเลียนว่า Violoncello da spalla แปลได้ว่า ไวโอลิน ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย

เชลโลปรากฏหลักฐานในหน้าประวัติ ศาสตร์ครั้งแรกกลางยุคบาโรก คริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมาพร้อมกับการกำเนิดของเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินชิ้นอื่นๆ

เริ่มแรก ผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีไม่ได้ตั้งใจผลิตเชลโล แต่ต้องการผลิตไวโอลินที่มีเสียงเบสสำหรับวงออร์เคสตร้าที่เริ่มโด่งดัง ทว่าต่อมาต้องพบกับข้อบกพร่องมากมาย จึงทำให้ในปีค.ศ. 1660 ช่างผลิตเครื่องดนตรีชาวเมืองโบล็อกเนีย ประเทศอิตาลี คิดประดิษฐ์เชลโลซึ่งมีขนาดใหญ่พอดีและมีเสียงดังพอควร เหมาะสำหรับการเท้ากับพื้นแล้วเล่นในห้องโถง เชลโลเริ่มโด่งดังขึ้นเรื่อยๆ ในวงออร์เคสตร้าในเวลาต่อมา

ราวปีค.ศ. 1700 เชลโลกลายเป็นเครื่องดนตรีคู่ บุญของนักดนตรีอิตาเลียน โด่งดังมากในพื้นที่ทางตอนเหนือของยุโรป ซึ่งส่งผลให้เบสไวโอลินที่เคยใช้อยู่ดัดแปลงให้กลายเป็นเชลโล  เสียงหวานหวิวของเชลโลไม่เหมาะกับการเล่นเพลงโบสถ์หรือวงเล่นประสาน 2-3 คน ช่างผลิตเครื่องดนตรีในยุคต่อมาจึงต้องพัฒนาดับเบิ้ลเบสเพื่อช่วยกลบจุดอ่อนนี้




       ฟลุต

ฟลุตเป็นเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมไม้ แต่การกำเนิดเสียงของฟลุตนั้นจะต่างจากเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกันเพราะไม่มีลิ้น กำเนิดเสียงจากการผิวลมไปบนรูบนเครื่อง ลักษณะเสียงนุ่มนวลและอ่อนหวานน่ารัก

ย้อนกลับไปราว 36,000 ปี ฟลุตถือเป็นเครื่องดนตรีชนิดแรกที่มนุษย์รู้จัก จากหลักฐานพบฟลุตโบราณในแถบเยอรมันซึ่งแสดงว่ามนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีชนิดนี้ตั้งแต่ก่อนยุคสมัยใหม่ของยุโรปแล้ว

ฟลุตแปลความตามรากศัพท์ภาษาละตินได้ว่า "เสียงอันไม่มีวันสร้างได้" ในค.ศ.1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ เธียเบลด์ โบเฮ็ม คิดค้นระบบการวางนิ้วของฟลุตใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลุตสามารถเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นและเสียงดังขึ้น ระบบเดียวกันนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้กับโอโบ คลาริเน็ต และแซกโซโฟนด้วย

ฟลุตในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หนึ่งคือส่วนหัวที่มีรูให้เป่าลมเข้าไปได้ ส่วนกลางที่มีรูเสียงสำหรับเปลี่ยนโน้ต และส่วนท้ายสำหรับให้นิ้วก้อยขวาเปลี่ยนโน้ต บันไดเสียงเริ่มต้นอยู่ที่ middle C และต่อเนื่องไปอีก 3 รอบเสียง

ฟลุตทั่วไปมักทำจากเงินและนิกเกิล ทำให้ได้สำเนียงที่มีลูกเล่นและส่งไปได้ไกล ฟลุตทำจากไม้ได้น้ำเสียงที่หนักแน่นกว่า ส่วนที่ทำจากทองจะได้น้ำเสียงที่สว่างสดใสมากกว่า ผู้เล่นหลายคนอยากได้น้ำเสียงที่หลากหลายจึงผสมวัสดุหลายอย่างเข้าด้วยกัน เช่น ส่วนบนเป็นไม้ ส่วนกลางและส่วนปลายเป็นโลหะเงิน




       บาสซูน

บาสซูน เป็นปี่ขนาดใหญ่ ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ มีท่อลมขนาดยาวกว่า 109 นิ้วทบท่อลิ่มไว้ให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนเป็นเครื่องดนตรีที่หนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอช่วยพยุงน้ำหนักเพื่อให้ผู้เล่นขยับมือไปกดแป้นนิ้วต่างๆ ได้สะดวก

บาสซูนเริ่มมาเนื้อหอมฟุ้งในหมู่โลกดนตรีตะวันตกราวศตวรรษที่ 16 เมื่อการเล่นดนตรีรวมวงเป็นที่นิยมมากขึ้น เสน่ห์ของบาสซูนคือเสียงช่วงต่ำอันละมุนและงดงาม

กำเนิดของบาสซูนต้องย้อนกลับไปเมื่อวงฯ ต้องการเครื่องลมไม้ที่สร้างเสียงดังและมีความคล่องตัวในการเล่นมากขึ้น จึงมีช่างดนตรีคิดประดิษฐ์ โดเซียน ซึ่งมีความหมายว่า "หวานละมุน" มีความสูงกว่า 1 เมตรและต้องผลิตจากไม้ใหญ่ทั้งท่อน มีรูเสียง 8 รู และ 2 บันไดเสียง ก่อนจะพัฒนาเรื่อยมาให้มีขนาดเล็กลง มีรูเสียง บันไดเสียง และช่วงเสียงเพิ่มขึ้น ในที่สุดก็ปรับโฉมและเปลี่ยนชื่อเป็นบาสซูน ซึ่งมีความหมายสามัญว่า เครื่องดนตรีเสียงเบส

นายคาร์ล อัลเมนเรเดอร์ เป็นผู้นำบาสซูนขึ้นสู่จุดสูงสุด ด้วยการผลิตบาสซูนในหลายเวอร์ชั่น ต่อมากลายเป็นบาสซูนที่ถูกใช้ในสมัยใหม่เรียกว่า บาสซูนสไตล์เฮกเกิ้ล แต่เมื่อล่วงเลยถึงปีค.ศ. 1830 ก็ถูกท้าทายด้วยบาสซูนสไตล์ฝรั่งเศส บัฟเฟตบาสซูน ซึ่งมีเสียงที่นุ่มนวลและคล้ายเสียงร้องเพลงมากกว่า เชื่อว่าเพราะทำจากไม้ดาร์กโรสวู้ดคุณภาพดี

บาสซูนของฝรั่งเศสกลายเป็นที่นิยมและใช้กันแพร่หลายกว่าทั้งในฝรั่งเศสและสเปน เนื่องจากมีระบบนิ้วและบันไดเสียงที่ดีเยี่ยมกว่านั่นเอง




       ปี่สกอต (bagpipes)

ปี่สกอต (bagpipes) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องเป่า เล่นโดยเป่าลมเข้าไปเก็บไว้ในถุงลมก่อนจะปล่อยผ่านออกมาทางท่อเสียง ความพิเศษของปี่สกอตอยู่ที่สามารถเล่น เสียงหึ่งต่ำต่อเนื่องไม่หยุด เนื่องจากมีลมเก็บไว้ในถุงอยู่เต็มกระบุง เสียงจะขาดช่วงแค่ตอนที่ผู้เล่นหยุดหายใจเท่านั้น

ย้อนกลับไปในอดีต มีการขุดพบรูปแกะสลักเครื่องดนตรีคล้ายปี่สกอตแถบตะวันออก กลาง เขตซีเรียถึงจอร์แดน ประมาณอายุ 4 พัน ปีก่อนคริสตกาล และขยายอิทธิพลเข้าไปในวัฒนธรรมกรีก โรมันและอียิปต์โบราณ

ปี่สกอตถือเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่คู่กับวิญญาณขบถและการสงครามมาโดยตลอด เพราะโลกรู้จักมันครั้งแรกราวค.ศ.470 โดยชาวไอริชเพื่อเล่นปลุกใจนักรบในสงคราม ก่อนที่ปีค.ศ.1314 จะเข้ามาสู่เมืองบันน็อกเบิร์น จากนั้นในปีค.ศ.1690 มีกฎหมายห้ามเล่นปี่สกอตเพราะถือเป็นเครื่องดนตรีปลุกใจ ทำให้ปี่สกอตถูกนำไปเผยแพร่ในแถบยุโรปแทน

ปี่สกอตที่เรารู้จักทุกวันนี้เป็นแบบ Great Highland Bagpipe เพราะเป็นแบบที่ราชสำนักอังกฤษใช้ในการสงคราม มีท่อให้ปากเป่าและมีรูเสียงสำหรับกด 9 รู รุ่นคลาสสิคมีท่อเสียง 3 ท่อยื่นออกมา

ในประเทศไทย ปีค.ศ.1921 รัชกาลที่ 6 ทรงสั่งซื้อปี่สกอตจากอังกฤษเพื่อใช้ประ กอบการฝึกของกองเสือป่า และตั้งวงปี่สกอตที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย หรือโรงเรียนราชวิทยาลัยในอดีต เป็นครั้งแรก




       คอร์เนต

คอร์เนต เป็นเครื่องดนตรีตระกูล Brass ที่นิยมใช้ในวงออร์เคสตราช่วงหนึ่ง ลักษณะคล้ายทรัมเป็ต ขนาดกะทัดรัด มีปุ่มกด 3 ปุ่มกลางเครื่อง ส่วนปลายบานออกเป็นทรงกรวย ต่างกันที่ลักษณะการม้วนของท่อลม ช่องเป่าลมรูปถ้วยและเสียงที่สุขุมฟังนุ่มสบายกว่า ปกติอยู่บนบันไดเสียง Bb

ผู้ให้กำเนิดคือ หลุยส์ แอนโทวน์ ช่างผลิตเครื่องดนตรีของบริษัท Halary แห่งมหานครปารีส ราวปีค.ศ.1820 แอนโทวน์คิดเพิ่มระบบ Valves (ปุ่มกด) ลงในเครื่องเป่าดั้งเดิมเพื่อความคล่องตัวและการเปลี่ยนเสียงที่ง่ายขึ้น 10 ปีถัดมาคอร์เนตดังเปรี้ยงในหมู่ชาวปารีส ทุกหัวถนนมีเสียงเป่าคอร์เนตกันเริงรื่นจนเจนหู

ความประสงค์ของนายแอนโทวน์ที่คิดประดิษฐ์คอร์เนตเพื่อใช้แทนทรัมเป็ตที่เล่นไม่ได้ในวงออร์เคสตรา เริ่มแรกทุกอย่างเป็นไปได้สวย ชาวอเมริกันและอังกฤษรับเอาเครื่องคอร์เนตไปใช้ในวงของตัวเอง หากแต่เมื่อเวลาผ่านไปสาธารณชนเริ่มไม่พอใจกับเสียงของเจ้าคอร์เนตที่สุขุมนุ่มเกินไป เพราะในยุคนั้นเครื่องทองเหลืองต้องสำแดงความสดใสและให้กำลังใจมากกว่าผ่อนคลาย คอร์เนตจึงเสื่อมความนิยมลงรวดเร็ว แต่มันก็มีที่ทางของตัวเองในวง Bass ล้วน ปัจจุบันวงทองเหลืองเก่าแก่ของอังกฤษยังใช้คอร์เนตถึง 4 ส่วนในการเล่น

ในอเมริกาคอร์เนตไปโด่งดังในหมู่นักดนตรีแจ๊ซซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหัวใจขบถต่อบทเพลงสามัญ เริ่มแรกเข้าไปแฝงตัวอยู่ในวงพาเหรด ก่อนที่นักดนตรีแจ๊ซรุ่นตำนานหลายคน อย่าง หลุยส์ อาร์มสตรอง และ บิซ บีเดอร์เบกก์ จะเห็นความสำคัญนำมาเล่นจนโด่งดังตราบเท่าทุกวันนี้




       ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต พัฒนาขึ้นอย่างมากในยุคบาโรก จนเรียกได้ว่าเป็น "ยุคทองของทรัมเป็ต" ต่อมามีความพยายามจะพัฒนาคีย์ทรัมเป็ตซึ่งสามารถเปลี่ยนบันไดเสียงไปมาได้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากคุณภาพเสียงที่ได้แย่ลง จึงพับโครงการไป  แม้ภายหลังจะมีการพัฒนานำลูกสูบชนิดใหม่มาประดิษฐ์เป็นทรัมเป็ต แต่นักแต่งเพลงและ นักดนตรีส่วนใหญ่ก็ยังยึดติดกับ Natural Trumpet ซิมโฟนีของ โมซาร์ต และ บีโธเฟ่น ล่วงเลยไปกระทั่งยุคของ บราฮ์ม ก็ยังคงใช้ทรัมเป็ตประเภทนี้อยู่

ปัจจุบัน หากเราพูดถึงทรัมเป็ตทั่วไปคงรู้จักกันดีในคอนเสิร์ตออร์เคส ตร้า และดนตรีแจ๊ซ แต่นักดนตรีทรัมเป็ตซึ่งเป็นที่รู้จักมักชำนาญในทางเพลงแจ๊ซมากกว่า ด้วยเพราะเป็นเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีเสียงกังวานสดใส และเรียกร้องความสนใจผู้ฟังได้ดี  

นักเล่นทรัมเป็ตเพลงแจ๊ซมีเอกลักษณ์ที่น้ำเสียง สำเนียง และเทคนิคอันแพรวพราวซึ่งยากจะเลียนแบบ และสามารถแบ่งเป็นสองแนวทางการเล่น คือ สายผู้สร้างสรรค์ (innovators) และ สายผู้นำสมัย (stylish)

พูดถึงสายผู้สร้างสรรค์แล้ว ต้อง นับ หลุยส์ อาร์มสตรอง เป็น ต้นตระกูลแจ๊ซ เพราะนอกจะเป่าทรัม เป็ตได้ไพเราะเพราะพริ้งแล้ว เขายังมีอิทธิพลสูงที่ทำให้ดนตรีแจ๊ซเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ด้านสายผู้นำสมัย มีนักทรัม เป็ต โซโล่หลายคนที่เปลี่ยนประวัติ ศาสตร์แนวทางการเล่นดนตรีแจ๊สไปตลอดกาล อาทิ เร็กซ์ สจ๊วต โจ นิวแมน คาร์เมล โจนส์ อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์หลายคนยอมรับว่านักดนตรีสายนำสมัยนั้นไม่สามารถเปลี่ยนวงการแจ๊ซได้ เป็นเพียงแค่นำแนวทางการเล่นของผู้สร้างสรรค์มาเพิ่มเติมความน่าสนใจให้กับการเล่นของตัวเองเท่านั้น

ทรัมเป็ต จัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีช่วงเสียงกว้างที่สุดในหมู่เครื่องลมทองเหลือง
 
วิธีการเล่นคือ เป่าลมผ่านริมฝีปากให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปทั้งตัวเครื่อง โดยทั่วไปมีปุ่มกด 3 อันเรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีผิวเคลือบหลายชนิดทั้งทอง เงิน นิกเกิล และแล็กเกอร์
 
มีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น
 
เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน
 
ทรัมเป็ตโบราณสร้างขึ้นมาจากท่อโลหะทรงกรวยคล้ายระฆัง ก่อนยุคคริสตกาล 1,500 ปี พบบรรพบุรุษทรัมเป็ตที่ทำจากบรอนซ์และเงินในสุสานของตุตันคามุนในประเทศอียิปต์ เครื่องเป่าโบราณสีเงินในสแกนดิ



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 พฤษภาคม 2558 10:48:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2556 17:47:24 »

.


       บันโจ (Banjo)

บันโจ (Banjo) เครื่องดนตรีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายราวหกสายพาดอยู่บนคอเครื่องที่ทำจากไม้ไผ่ ตรึงราบไปกับตัวเครื่องทรงกลม ขอบเครื่องขึงตึงด้วยหนังสัตว์เพื่อใช้สะท้อนเสียง เรามักได้ยินบันโจบรรเลงเพลงพื้นบ้านและเพลงโฟล์กอเมริกัน แต่เริ่มเดิมทีบันโจล่องเรือไกลโพ้นมาจากแอฟริกาสู่แดนอินทรีผ่านการค้าทาสในศตวรรษที่ 17

บันโจถือเป็นเครื่องดนตรีเอกลักษณ์ของทาสในสมัยยุคล่าอาณานิคม เราอาจพบเห็นภาพวาดโบราณบันทึกรูปสตรีทาสเต้นรำไปรอบๆ พร้อมบันโจในมือ อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำให้บันโจอัพเกรดกลายเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอเมริกันคือ โจเอล วอล์กเกอร์ สวีนี่ ซึ่งใช้บันโจในการแสดง Sweeney Minstrels การแสดงคล้ายวณิพกขับกล่อมนิทาน ความสามารถอันเหลือล้นของสวีนี่ทำให้บันโจดังเป็นพลุแตกในปีค.ศ.1850 ในแถบอเมริกาใต้ แม้กระทั่งช่วงสงครามกลางเมืองของสหรัฐราวปีค.ศ. 1860-1865 ทหารอเมริกันก็นิยมชมการแสดงของ Minstrels เพื่อคลายความคิดถึงบ้าน

บันโจกลายเป็นเครื่องดนตรีที่ทรงอิทธิพลและก่อร่างความเป็นอเมริกันชนในทุกวันนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดดนตรีสไตล์ใหม่ เช่น แจ๊ซ และยังช่วยเปิดทางให้คนอเมริกันรับเอากีตาร์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีจากยุโรปมาเล่นมากขึ้น ปัจจุบันบันโจเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้ใน ragtime (สไตล์ดนตรีซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากดนตรีแจ๊ซ) เนื่องจากเสียงที่มีจังหวะหนักแน่นและสนุกสนานของมัน




      กีตาร์

ศตวรรษที่ 16 ขณะที่ชาวสเปนกำลังตื่นเต้นกับกีตาร์ ชาวยุโรปก็ประดิษฐ์กีตาร์สไตล์บาโร้กในแบบของตนซึ่งมีขนาดเล็กกว่า เล่นเสียงได้เพียง 4 คอร์ด ช่องเสียงกลางเครื่องประดับด้วยลวดลายกุหลาบสวยงาม มีทั้งหมด 10 สายแบ่งเป็น 5 คู่ แต่ยังไม่สามารถปรับเสียงได้ตามความต้องการ

กลางศตวรรษที่ 18 เริ่มมีผู้ประดิษฐ์กีตาร์ 6 สายเดี่ยวขึ้นมา โดยมีผู้ริเริ่มทำฟิงเกอร์บอร์ดจากเขาสัตว์หรือเหล็กขนาดที่ตัวเฟรตเริ่มติดแนบไปกับตัวเครื่อง ในยุคนี้เองเพลงน่าฟังสำหรับเฉพาะกีตาร์ถือกำเนิดขึ้นโดยนายเฟอร์นันโด ซอร์ และเมาโร กุยลิอะนี นักแต่งเพลงลือชื่อ อิทธิพลของทั้งสองทำให้กีตาร์กลายเป็นที่นิยมในทางเพลงพ็อพและแจ๊ซมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนากีตาร์สมัยใหม่อย่างแท้จริงคือนายอันโตนิโอ เด ตอร์เรซ ฮูราโด ซึ่งวางมาตรฐานให้สายกีตาร์มีความยาว 26 นิ้ว เพิ่มขนาดเครื่อง กำหนดเฟรตที่ 19 เฟรต และกำหนดเสียงสำหรับการจูนสายเสียใหม่ มาตรฐานที่ช่างชาวสเปนผู้นี้คิดค้นกลายเป็นต้นแบบของกีตาร์คลาสสิคในเวลาต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

หลังจากที่กีตาร์ฉบับนายตอร์เรซโด่งดัง พัฒนาการของกีตาร์กลับช้าลงมาก กระทั่งศตวรรษที่ 20 กีตาร์กลายเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีพ็อพและแจ๊ซ นักดนตรีเริ่มต้องการให้กีตาร์สามารถเล่นเสียงได้ ดังทั่วถึงกันทั้งฮอลล์ขนาดใหญ่หรือลานคอนเสิร์ตกลางแจ้ง จึงมีการคิดประดิษฐ์กีตาร์ไฟฟ้าโดยเสริมกลไกให้กีตาร์ต่อเข้ากับลำโพงหรือเครื่องขยายเสียง กีตาร์ไฟฟ้าอันแรกที่ขายเพื่อการค้ากำเนิดขึ้นในปี 1948 โดยเฟนเดอร์




       อูคูเลเล่

อูคูเลเล่ มีลักษณะคล้ายกีตาร์ขนาดเล็ก ประกอบด้วยสายซึ่งทำจากไนลอนหรือเชือก 4 สาย สายที่ 1 คือเส้นล่างสุดให้เสียงลา สายที่ 2 ให้เสียงมี สายที่ 3 ให้เสียงโด และสายที่ 4 คือเส้นบนสุดให้เสียงซอล

อูคูเลเล่มี 4 ขนาด คือ Soprano Concert Tenor และ Baritone แต่ละประเภทล้วนมี 4 สายแต่จำนวน frets ต่างกัน เทคนิคที่นักดนตรีมักใช้กำหนดตำแหน่งเสียงคือการตึงหรือหย่อนสาย

แม้ชาวฮาวายจะเป็นผู้เผยแพร่ให้เครื่องดนตรีชิ้นนี้ดังระเบิด แต่แท้จริงแล้วผู้สร้าง อูคูเลเล่กลับเป็นชาวโปรตุกีส 3 คนที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาเปิดร้านขายอูคูเลเล่ที่ตัวเองประดิษฐ์ในเกาะฮาวายเมื่อปีค.ศ.1879

อูคูเลเล่กลายเป็นที่นิยมของชาวท้องถิ่นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเล่นง่าย ใช้ทักษะใกล้เคียงกับกีตาร์ ขนาดกะทัดรัด ที่สำคัญนักระบำส่ายเอวนิยมอูคูเลเล่เป็นพิเศษ เนื่องจากพวกเขาสามารถดีดบรรเลงเพลงขณะโยกย้ายส่ายสะโพกอย่างไม่มีติดขัด

ปัจจุบันเราเล่นอูคูเลเล่เพื่อความเพลิด เพลิน แต่ในอดีตชาวฮาวายดีดมันประกอบงานรื่นเริงและงานฉลองครบรอบการครองราชย์ของกษัตริย์

กระทั่งปีค.ศ.1930 อูคูเลเล่เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวยุโรป ชาวอังกฤษใช้มันประกอบการเล่นดนตรีพื้นบ้านและใช้ ร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่ราวศตวรรษที่ 20 อูคูเลเล่จะเข้าไปเป็นที่นิยมในหมู่ชาวอเมริกัน




       เอ้อหู

เอ้อหู มีขนาดทั่วไปอยู่ที่ 81 เซนติเมตร คอเครื่องยาวตั้งฉากคล้ายลำคอมนุษย์ ส่วนหัวมีพิกหมุนไว้จูนสาย ส่วนล่างมีกล่องขยายเสียง ขึงหน้าตึงด้วยหนังงูหลามใหญ่ ส่วนตัวเครื่องนิยมทำจากเฟอร์นิเจอร์เก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้ว สายสองเส้นตรึงจากส่วนหัวจรดกล่องขยายเสียง มัดอีกครั้งด้วยวงแหวนเพื่อให้สายแนบชิดไปกับกล่องขยายเสียงและไม้เชื่อมที่อยู่บนคอ

เอ้อหูกำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของหนังงูที่ถูกสีด้วยโบว์ (Bow) ซึ่งขึงสายด้วยหางม้า เอ้อหูไม่มี fingerboard แบบที่เครื่องดนตรีตะวันตกมี นักดนตรีจึงต้องหยุดสายด้วยการกดนิ้วลงบนสายเองเพื่อให้ได้เสียงที่นุ่มนวลคล้ายไวโอลิน ช่วงเสียงมากสุดของเอ้อหูอยู่ที่ 3 และอีกครึ่งออกเทจ นิยมใช้เล่นโซโล่ เล่นในวงเอนเซ็มเบิลขนาดเล็กประกอบการแสดงอุปรากรจีน หรือร่วมกับวงออร์เคสตรา

เอ้อหูมีฉายาว่า "ไวโอลินแห่งดินแดนจีนใต้" บรรพบุรุษของเอ้อหูคือ ฮูซิน คิดค้นและเล่นกันภายในชนกลุ่มน้อยของจีน "เอ้อ" แปลว่าสอง สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการที่เครื่องดนตรีมีสองสาย ส่วน "หู" แสดงถึงความเป็นสมาชิกในเครื่องดนตรีตระกูล หูฉิน ซึ่งรากศัพท์แปลว่า "ดนตรีคนเถื่อน"  ทำให้เชื่อว่าเครื่องดนตรีน่าจะคิดค้นโดยชนเผ่าที่ไม่ได้มีเชื้อชาวฮั่น ทางตอนเหนือและตะวันตก

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ชาวชิ ผู้อพยพมาจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจีนราวศตวรรษที่ 10 เป็นผู้ประดิษฐ์มันขึ้นมา

เอ้อหูและเครื่องดนตรีสีของจีนทรงอิทธิพลในแถบเอเชียเนื่องด้วยการค้าผ่านเส้นทางสายไหมซึ่งนำพาเทคโนโลยีและสินค้าใหม่ล่วงไปไกลถึงยูเรเซีย




       ชามิเซ็น

ชามิเซ็น เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่นลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสามสายไม่มีเฟรตและฟิงเกอร์บอร์ด ความยาวเครื่องประมาณ 38 นิ้ว กล่องเสียงไม้ที่หุ้มด้วยหนังสัตว์อยู่ทั้งสองด้านช่วยสร้างเสียงทุ้มกังวาน สายทำจากผ้าใยสังเคราะห์พาดยาวไปบนสะพาน สายที่ทำจากเขาหรือกระดองเต่าช่วยให้เกิดแรงสั่นไม่มากเท่าสายเหล็ก

เมื่อบรรเลงนักดนตรีจะใช้บาชิหรือวัสดุที่ทำจากงาช้างหรือไม้รูปคล้ายพัดมีด้ามดีดลงไปบนสายเพื่อสร้างเมโลดี้หลักก่อนที่เครื่องดนตรีอื่นๆ จะเล่นประสานสอดคล้องกันเป็นบทเพลงอันไพเราะ ถือได้ว่าชามิเซ็นเป็นกระดูกสันหลังของวงดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่นก็ว่าได้

ชามิเซ็นเข้ามาในญี่ปุ่นช่วงกลางศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่ามาจากเกาะริวคิวทางประเทศจีน นิยมเล่นในเพลงพื้นบ้านและ เพลงป๊อป ชามิเซ็นดังเปรี้ยงในสมัยเอโดะ (ปีค.ศ.1603-1868) ซึ่งเป็นยุคที่ชามิเซ็นไม่ได้เล่นโดดเดี่ยวแต่รวมวงกับโกโตะและชาคุฮาชิ ต่อมาต้นศตวรรษที่ 20 นักดนตรีตาบอดหลายคนนิยมเล่นชามิเซ็นโดยดัด แปลงเพลงตามใจคล้ายเพลงวณิพก

ชาวญี่ปุ่นนิยมเล่นชามิเซ็นประกอบละครคาบูกิ การขับเสภาเรื่องเล่า มหรสพตุ๊กตา งานเต้นรำ




       ฮาร์พ

ฮาร์พเครื่องดนตรีรูปทรงคล้ายสามเหลี่ยม มีอุปกรณ์สะท้อนเสียงและคอจับหยักเล็กน้อย สายพิณขึงยาวเหยียดตั้งแต่ส่วนบนจรดส่วนสะท้อนเสียง ฮาร์พมีหลายขนาด แต่ขนาดที่เราคุ้นเคยเป็นแบบซิงเกิล แอ๊กชั่น แพเดิล ฮาร์พ ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก

ฮาร์พ มีประวัติยาวนานมากกว่า 3 พันปีก่อนคริสตกาล ภาพเหมือนที่มีลักษณะคล้ายฮาร์พถูกค้นพบในแถบตะวันออกกลางและอียิปต์ ก่อนคริสตกาล 1,500 ปี การพบภาพวาดฮาร์พบนแผ่นหินที่ฝรั่งเศสทำให้นักโบราณคดีหลายคนคาดเดาไปว่าวิวัฒนาการของฮาร์พน่าจะมาจากธนูที่ใช้ล่าสัตว์ ฮาร์พกลายเป็นที่รู้จักอย่างแท้จริงในปีค.ศ.1143 ปีซึ่งสังฆนายก เวนันติอุส ฟอร์ตูนาตุส แห่งอิตาลีนำมันมาเล่น

ตอนที่ฮาร์พเดินทางเข้าสู่ยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 14 ฮาร์พยังมีขนาดเล็กและทำจากไม้ท่อนเดียวที่ต่อเติมส่วนงอนโค้งแยกออกไป วัสดุที่ใช้ทำในศตวรรษที่ 18 มักเป็นเครื่องในสัตว์ ขนม้า ทองเหลือง บรอนซ์ หรือแม้กระทั่งเศษผ้า ฮาร์พในยุคนั้นมีช่วงเสียงเกือบเท่ากับเสียงมนุษย์ คือคล้ายกับทำเลียนเสียงมนุษย์ จากนั้นจึงมีการเพิ่มช่วงเสียงให้ขยายขึ้นเป็น 3 ออคเตจ (ระดับ 8 เสียง) และเกิดเทคนิคการเล่นครึ่งเสียงในสเปนและการหยุดเสียงในเวลาต่อมา

ฮาร์พ ประเภทซิงเกิล แอ๊กชั่น เพเดิล ฮาร์พ ขนาดใหญ่ยักษ์ที่มีแป้นเหยียบเท้าถึง 7 แป้นที่เราคุ้นเคยนั้น เป็นผลงานของ จาค็อบ ฮอกก์บรู๊กเกอร์ การเหยียบแป้นเท้าทำให้เสียงสูงขึ้นครึ่งหนึ่ง ทำให้สามารถเล่นเพลงที่หลากหลายขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอ อีราร์ด จึงคิดประดิษฐ์ฮาร์พที่มีแป้นเหยียบถึง 14 แป้น ช่วยเพิ่มช่วงเสียงให้ฮาร์พเป็นที่นิยมมากขึ้น




       ไทโกะ

ไทโกะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี นิยมเล่นในดนตรีพื้นบ้านและดนตรีร่วมสมัยของญี่ปุ่น คนต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักกลองไทโกะจากเทศกาลและงานรื่นเริงในญี่ปุ่น

ไทโกะมีความหมายตรงตัวว่ากลอง มีหน้าสองด้านขึงตึงด้วยหนังสัตว์เพื่อป้องกันความชื้นแฉะของฤดูร้อนในญี่ปุ่น กลองไทโกะนิยมทำจากไม้เคยาคิเพราะแข็งแรงและมันเงา ส่วนตัวกลองใหญ่มโหฬารทำเพื่อเรียกเสียงทุ้มและดังสนั่นเพื่อประกอบการละเล่นและพิธีกรรมที่มักจุคนหลักร้อย ผู้แสดงมักจะเล่นไทโกะประมาณ 5-25 นาที โดยเริ่มเล่นด้วยจังหวะเร็ว ปิดท้ายด้วยจังหวะเร้าใจเช่นกันเพื่อเรียกเสียงปรบมือเกรียวกราว ไทโกะมีสองประเภทคือกลอง "เบียวอุชิ ไทโกะ"ขึงหน้าตรึงกับตัวกลองและ "ชิเมะไทโกะ"ขึงหน้าตรึงกับวงแหวนเหล็กรอบๆ ตัวกลอง

ตามตำนานกล่าวว่า "อาเมะโนะอุซูเมะ"นักพรตหญิงเป็นผู้คิดค้นเพื่อประกอบงานเลี้ยงแห่งเทพเจ้า ในกาลนั้น อามาทีราซุ เทพีแห่งดวงอาทิตย์ถูกเทพผู้น้องกลั่นแกล้งจนต้องหนีไปซ่อนในถ้ำ โลกทั้งใบจึงมืดหม่นเพราะไม่มีแสงจากเธอ

เพื่อแก้ปัญหานี้บรรดาเทพเจ้าจึงจัดงานเลี้ยงหน้าถ้ำเพื่อหลอกล่อให้เธอออกมา อาเมะโนะอุซูเมะรับอาสาเป็น ผู้ร่ายรำประกอบจังหวะกลองไทโกะ ความไพเราะและสนุกสนานทำให้เทพีแห่งดวงอาทิตย์อดใจไม่ไหวออกมาร่วมงาน โลกจึงสว่างขึ้นอีกครั้ง

ตามประวัติศาสตร์ระบุว่ากลองไทโกะมีกำเนิดจากประเทศจีน เข้ามาญี่ปุ่นในยุค ยาโยอิ ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาลเจ้า เรียกการแสดงแบบนี้ว่า "กากากุ"ในช่วงสงครามกลองไทโกะใช้ปลุกขวัญทหาร จัดระเบียบและเปิดฉากสงคราม ถ่ายทอด คำสั่งแม่ทัพ




       กลองแต๊ก

กลองแต๊ก ถือกำเนิดในประเทศแถบตะวันออกกลาง เป็นกลองสองหน้าลักษณะทรงกระบอก ไม่สามารถปรับเสียงได้ ปกติตัวเครื่องทำจากแผ่นไม้บาง ม้วนให้ขึ้นรูป ทาแล็กเกอร์และตกแต่งให้สวยงาม ใช้หนังแกะหรือหนังลูกวัวขึงเป็นหน้ากลอง ผูกเชือกสานขึ้นลงระหว่างหน้ากลองทั้งสองด้าน หุ้มข้อต่อด้วยพลาสติกรูปตัว D

ส่วนกลองแต๊กพลาสติกซึ่งมักใช้ในวงออร์เคสตร้าเพิ่งถือกำเนิดขึ้นราวปีค.ศ.1957 นี้เอง ปัจจุบันเรามักจะเห็นนักดนตรีเล่นกลองแต๊กในวงออร์เคสตร้าวงโยธวาทิต และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดด้วย

บรรพบุรุษของกลองแต๊กคือ ทาบอร์ (Tabor) กลองสมัยยุคกลาง กลองแต๊กใช้ครั้งแรกเพื่อการสงคราม นักดนตรีจะเล่นกลองแต๊กพร้อมกับเป่าขลุ่ยขนาดเล็กไปด้วย

ในศตวรรษที่ 15 กลองแต๊กเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและสร้างเป็นทรงกระบอก กลองแต๊กในยุคนี้เป็นที่นิยมของกองทัพสวิสอย่างมาก ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีผู้พัฒนาใช้สกรูมาตรึงหน้ากลองเพื่อให้ได้เสียงที่ดีขึ้น กระทั่งศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มมีผู้คิดค้นกลองแต๊กที่ทำจากเหล็ก

กลองแต๊กเป็นกลองที่มีความสัมพันธ์กับการทหารอย่างยิ่งยวด ก่อนที่โลกจะรู้จักวิทยุและอินเตอร์เน็ต กลองแต๊กถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับทหารให้ตื่นนอน กินข้าว และบางครั้งยังใช้เพื่อไล่หญิงสาวที่แอบมาหยอกล้อกับทหารออกจากพื้นที่



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2558 10:48:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2556 14:25:46 »

.
เครื่องดนตรีไทย

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ให้คำตอบดังนี้ มีเครื่องดนตรีหลายชนิดซึ่งเข้าใจว่าเป็นของชนชาติไทยประดิษฐ์ขึ้นใช้กันอยู่ ก่อนลงมาพบวัฒนธรรมแบบอินเดียซึ่งแพร่หลายอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีน เจาะจงลงไปที่เครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลาง มีประกอบด้วย "ซอสามสาย" เป็นซอที่มีรูปร่างงดงามที่สุด มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ซอสามสายบรรเลงในพระราชพิธี ภายหลังจึงบรรเลงประสมเป็นวงมโหรี

"ซอด้วง" กล่องเสียงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนัง ช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลูกบิดขึ้นสายอยู่ตอนบน สายซอทำด้วยไหมฟั่นหรือเอ็น คันชักอยู่ระหว่างสาย ซอด้วงมีเสียงแหลม "ซออู้" กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึงหน้าด้วยหนัง ช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น คันชักอยู่ระหว่างสาย ซออู้มีเสียงทุ้มต่ำ

"จะเข้" เป็นเครื่องสายบรร เลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยาว 140 เซนติเมตร ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย 3 สาย สายที่ 1-2 ทำด้วยไหมฟั่น สายที่ 3 ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลง มือซ้ายทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ มือขวาดีดที่สายด้วยวัตถุที่ทำจากงาสัตว์

"ขลุ่ย" ของไทยเป็นขลุ่ยในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือมีที่บังคับแบ่งกระแสลมทำให้เกิดเสียงในตัว ไม่ใช่ขลุ่ยผิวตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายระดับเสียง ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลางคือขลุ่ยเพียงออ ส่วนเสียงสูงได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และที่เสียงสูงกว่าคือ ขลุ่ยกรวด หรือขลุ่ยหลีบกรวด ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวงมโหรี

"ระนาดเอก" เสียงแหลมสูง ประกอบด้วย ลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้เนื้อแข็ง 21-22 ลูกร้อยเข้าด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายไว้บนกล่องเสียงที่เรียกว่า รางระนาด มักบรรเลง 2 แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่าปี่พาทย์ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวม เรียกปี่พาทย์ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจากซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสมผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของลูกระนาด "ระนาดทุ้ม" ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็ง มีผืนละ 18 ลูก มีรูปร่างคล้ายระนาดเอก แต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่า

"ฆ้องวงใหญ่" เป็นหลักของวงปี่พาทย์และวงมโหรี ใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง 16 ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ลูกฆ้อง เป็นส่วนกำเนิดเสียง ทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะคล้ายถ้วยกลมๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียงต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับตี ใต้ตุ่มอุดด้วยตะกั่วผสมชันโรงเพื่อถ่วงเสียงให้สูงต่ำ เรือนฆ้อง ทำด้วยหวายขดเป็นวงและยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็งกลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็นโครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับเรือนฆ้อง ผูกด้วยเชือกหนัง โดยใช้เงื่อนพิเศษ "ฆ้องวงเล็ก" ขนาดเล็กกว่า แต่เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่ ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือทางอื่นแล้วแต่กรณี

"โทน" รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้หรือดินเผา ขึงด้วยหนัง ดึงให้ตึงด้วยเชือก ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอกปากบานแบบลำโพง "รำมะนา" เป็นกลองทำด้วยไม้ขึงหนังหน้าเดียว "กลองแขก" เป็นกลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรี และบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วยมือทั้ง 2 หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วย ตัวผู้ (เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงต่ำ) "กลองสองหน้า" ขึงด้วยหนังเรียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี




       ระนาดเอก
ระนาดเอก เป็นเครื่องตีอันเป็นเอกลักษณ์ของวงมโหรีไทย ตัวเครื่องทำจากไม้เนื้อแข็งมีลักษณะคล้ายลำเรือ แต่ส่วนหัวและท้ายโค้งชดช้อยเพื่ออุ้มเสียง แผ่นไม้ปิดส่วนหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานสี่เหลี่ยมรองเครื่องเรียกว่า "เท้า" บนรางมีลูกระนาด 21 ลูก เรียกรวมกันว่า "ผืนระนาด" ลูกที่ 21 เรียกว่า "ลูกยอด" เพราะมีขนาดเล็กที่สุดและอยู่ริมสุด

ระนาดเอกมีเสียงนุ่มนวลเมื่อตีด้วย "ไม้นวม" ซึ่งเป็นไม้ติดตะกั่วทาแป้งเปียกแล้วพันด้วยด้ายสีเส้นเล็กๆ ที่ส่วนหัว หากอยากได้เสียงฟังแข็งกร้าวขึ้นให้ตีด้วย “ไม้แข็ง” ซึ่งเป็นไม้เปล่าเนื้อแข็ง

ประวัติความเป็นมามีมากว่า 3 พันปี โดยวิวัฒนาการมาจากขวานหินโบราณ ก่อนจะมาเป็นกรับซึ่งใช้ตีประกบสองอันเพื่อสร้างจังหวะประกอบการร่ายรำหรือฮัมเพลง ต่อมามีความคิดนำกรับหลายๆ อันมาเรียงต่อกัน จึงประดิษฐ์กรับให้มีขนาดและความหนาลดหลั่นกันนำไปติดขึงไว้กับราง ใช้ไม้ตีให้เกิดเสียงแทนการกระทบกันจึงได้เสียงแปลกใหม่

การนำลูกระนาดมาเรียงต่อกันเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทโปงลางและระนาดซึ่งนิยมแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และไทย ต่างมีเครื่องดนตรีคล้ายระนาดอยู่ในวัฒนธรรม ปัจจุบันเรานิยมบรรเลงระนาดเอกในงานมงคล เช่น งานสมรส งานทำบุญ เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ของความสุขสวัสดิ์ในครัวเรือน และยังบรรเลงในวงปี่พาทย์และวงมโหรีโดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง




       ซอด้วง

ซอด้วง จัดเป็นเครื่องสีมีสองสาย (สายเอกเป็นตัว D สายทุ้มเป็นตัว G) คันทวนยาว 72 ซ.ม. ขณะที่คันชักยาว 68 ซ.ม. ปากกระบอกกว้าง 7 ซ.ม. ตัวกระบอกยาว 13 ซ.ม. มีขนหางม้าทำหน้าที่แทนสายสี  กะโหลกของซอด้วงแต่โบราณทำจากไม้ลำเจียก แต่ปัจจุบันอาจใช้ไม้หรืองาช้างทำก็ได้ เวลาสีให้เสียงแหลมกังวานเสนาะหู เหตุที่เราเรียกว่าซอด้วงเพราะหน้าตาคล้ายเครื่องดักตัวด้วงโบราณ

ซอด้วงปัจจุบันมักใช้ประกอบวงเครื่องสาย วงมโหรี ราวสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงปัจจุบันนำมาบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และนิยมนำมาบรรเลงเดี่ยว

กฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ระบุโทษผู้เล่นดนตรีเพลิดเพลินล่วงไปถึงเขตพระราช ฐานขณะเสด็จทางชลมารค มีรายชื่อเครื่องดนตรีได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับ แสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักซอด้วงก่อนช่วงเวลานี้

ลักษณะของซอด้วงคล้ายเครื่องดนตรีจีน ฮูฉิน ทำให้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าไทยลอกแบบจีนมา แต่นักวิชา การอีกฝ่ายเชื่อว่าไทยประดิษฐ์ซอด้วงก่อนจีนเหตุเพราะว่าสมัยก่อนชาวไทยที่อยู่ทางใต้ของจีน (ซึ่งอพยพเข้ามาในไทยต่อมา) เป็นกลุ่มชนที่ชำนาญในเรื่องศิลปะการดนตรีมาก

ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ระบุว่าซอด้วงมีวิธีการบรรเลงโดย ท่านั่ง ท่าจับซอ ท่าจับคันชัก การใช้นิ้ว การไกวคันชัก คันชักออก คันชักเข้า คันชักสะบัด คันชักหนึ่ง สอง สี่ แปด ฯลฯ ซอด้วงส่วนใหญ่จะบรรเลงเป็นพระเอก ขณะที่ซออู้ทำหน้าที่คอยหยอกเย้าซอด้วงให้บทเพลงสนุกสนานรื่นเริง




       ซอสามสาย

ซอสามสาย หนึ่งในเครื่องดนตรีโบราณที่สำคัญในวงเครื่องสายไทย อดีตเรียกว่าซอพุงตอ ส่วนประกอบคือกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว มีปุ่มนูนขึ้นมาเป็นกระพุ้ง 3 ปุ่มวางในแนวสามเหลี่ยม ขึงหน้าซอด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว หย่องทำด้วยไม้สำหรับให้สายทั้งสามพาดผ่าน ถ่วงหน้าเป็นพลอยสีต่างๆ ผังอยู่ตอนบนด้านซ้ายของหนังซอใช้เพิ่มเสียงกังวานไพเราะ

ซอสามสายความยาวประมาณ 1.15 เมตร คันทวนทำจากไม้แก่นบางยาวประมาณ 67 ซ.ม. ตอนบนมีลูกบิดอยู่ 3 อัน สำหรับปรับเสียง ส่วนคันชักยาวประมาณ 86 ซ.ม. ทำทรงโค้งเหมือนคันศร ใช้หางม้าประมาณ 300 เส้นประกอบ เวลาเล่นใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายค้ำคันทวน แล้วใช้นิ้วอื่นๆ กดสายขณะที่มือขวาสีคันชักไปมา

หน้าที่หลักสำคัญของซอสามสายคือการสีคลอไปกับเสียงร้องเพื่อไม่ให้คนร้องร้องเพี้ยนและยังช่วยกำหนดเสียงหนักเบา ขณะที่เวลาปกติซอสามสายจะสีให้กลมกลืนไปกับการบรรเลงของเครื่องดนตรีอื่นๆ นิยมเล่นในวงมโหรีและอาจบรรเลงในวงเครื่องสายผสม

นักประวัติ ศาสตร์สันนิษ ฐานว่าซอสามสายมีเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ชื่อเรียกตามลักษณะที่มีสามสายและมีรูปร่างคล้ายกับซามิเซงของญี่ปุ่นและสานเสียนของจีน (แต่สองอย่างนี้เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด)

ซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรด ปรานมาก ซอคู่พระหัตถ์นามว่า "สายฟ้าฟาด"




       ฉาบ[
ฉาบเป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเคาะหรือตี (percussion) ประกอบขึ้นจากโลหะผสม ตีเป็นแผ่นบางกลม เล่นโดยการประกบเข้าหากัน แม้ฉาบจะมีโทนเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่มีมาตรฐานตายตัว ว่าต้องมีโทนเสียงแบบไหน
 
เราจะพบเห็นฉาบทั้งในวงแจ๊ซ วงเฮฟวี่เมทัล วงโยธวาทิต หรือแม้กระทั่งวงออร์เคสตร้าอันเลิศหรู

มุมมองของนักประวัติศาสตร์แยกแยะที่มาของฉาบออกเป็นสองแหล่ง หนึ่งคือจากฝั่งตะวันตกซึ่งใช้ในวงดนตรีกระแสหลักทั่วไป ฉาบแบบตะวันตกมีลักษณะเหมือนฉาบสองอันคว่ำอยู่ อันหนึ่งถูกแขวนให้สูงขึ้น เมื่อนักดนตรีเหยียบขาเหยียบ ขอบฉาบอันบนจะตกลงกระทบฉาบอันล่าง เกิดเป็นเสียงฉ่างสร้างอารมณ์สนุกสนาน

สองคือฉาบประจำแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพัฒนามาจากจีน ฉาบชนิดนี้มีลักษณะแบนและมักนิยมเล่นโดยใช้ไม้เคาะฉาบให้เกิดเสียงสั้นและขึงขัง

ในอดีต ฉาบและเครื่องกระทบเหล็กถือกำเนิดขึ้นในประเทศแถบเอเชียกลางและอียิปต์ราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นจึงเผยแพร่เข้าสู่จีนและอินเดีย เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงที่พบได้ในคัมภีร์ไบเบิล หรือแม้แต่สถาปัตยกรรม วรรณกรรม และศิลปะของอาณาจักรกรีกโรมัน

ฉาบโบราณลักษณะคล้ายชามแบนๆ ที่มีส่วนกลางนูนขึ้นกว่าปกติ นักเต้นรำจะสอดมือเข้าไปในสายรัดที่อยู่บนส่วนหัวของฉาบและตีสร้างจังหวะเมื่อร่ายรำให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม

ฉาบที่ดีต้องให้เสียงอันสดใส ชวนสนุกสนาน วงออร์เคสตร้าทั่วไปใช้ฉาบแบบแขวน 4 คู่ และฉาบมืออีกหนึ่งคู่ประกอบวง เสริมความอลังการให้บทประพันธ์คลาสสิค ปลายศตวรรษที่ 18 คีตกวีเริ่มเขียนเพลงที่มีฉาบแขวนป็นส่วนประกอบ โดยให้นักดนตรีกลองเบสเป็นผู้เล่น




       กรับ

กรับ เป็นเครื่องดนตรีไทยที่เรามักพบคู่กับวงขับเสภา การบรรเลงมโหรีโบราณ เล่นเพลงเรือ โขนละคร และอื่นๆ อีกมาก เอกลักษณ์ของกรับคือเสียงก๊อบๆ ทำหน้าที่ประกอบจังหวะให้นักดนตรีและผู้ฟังสนใจในตัวเพลง

กรับมี 3 ประเภท คือ กรับคู่ กรับพวง และ กรับเสภา กรับคู่ ทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบ ความหนาตามเนื้อไม้ ยาวประมาณ 40 ซ.ม. ทำคู่กันเพื่อตีกระทบกันให้เกิดเสียงกรับ กรับพวง ทำจากไม้ ทองเหลือง หรืองาช้างบางหลายๆ แผ่น ประกบด้วยไม้แก่น 2 อันแล้วเจาะรูตอนหัวร้อยเชือก เวลาเล่นให้ใช้มือหนึ่งถือตรงหัวเชือกแล้วตีลงไปที่ฝ่ามือหนึ่งทำให้เกิดเสียงกรับ กรับชนิดนี้มักใช้ในงานพระราชพิธีและงานรื่นเริง เช่น เพลงเรือ ดอกสร้อย ส่วน กรับเสภา ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ชิงชัน ยาวราว 20 ซ.ม. หนาประมาณ 5 ซ.ม. เหลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านมน ใช้ประกอบการร่ายเสภาโดยผู้ร่ายมักจะใช้กรับ 2 คู่ในมือข้างซ้ายและขวา เมื่อร้องก็จะขยับกรับไปตามทำนอง

เราพบเครื่องเคาะแบบกรับในวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านของหลายประเทศ สันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีเคาะหาง่ายและเล่นง่าย อีกทั้งยังใช้ประกอบการแสดงหรือร่ายรำต่างๆ ได้ลงตัว




       กลองตะโพน

กลองตะโพนถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นครู โดยนับว่าพระประโคนธรรพเป็นบรมครูตะโพน เมื่อมีการบรรเลงจะต้องนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง ดังจะเห็นว่าตะโพนจะร่วมบรรเลงกับสังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึกอันเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์เทพทั้งหลาย

ลักษณะเครื่องดนตรีขึงหน้าด้วยหนังทั้งสองข้าง ตัวเครื่องเรียกว่าหุ่น ทำจากไม้สักหรือไม้ขนุน ขุดแต่งภายในให้เป็นโพรง ข้างเครื่องมีสายหนังโยงเรียกว่าหนังเรียด หน้าใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซ.ม. เรียกว่าหน้าเท่ง ติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าประมาณ 22 ซ.ม. เรียกว่าหน้ามัด

ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซ.ม. รอบๆ หนังที่ขึงหน้ามีหนังที่ถักเป็นเกลียวโยงรยางค์อยู่เรียกว่ารัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า นิยมบรรเลงในวงปี่พาทย์เพื่อใช้กำหนดจังหวะ

สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงนำกลองตะโพนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งครั้งปรับปรุงวงปี่พาทย์เพื่อแสดงละครดึกดำบรรพ์ในปลายรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นผู้คิดค้นเท้าหรือที่ตั้งสำหรับวางตั้งตะโพนได้สองลูก และให้หน้าตะโพนข้างหนึ่งตั้งตะแคงลาดมาทางผู้ตีอย่างกลองทัดตั้งขาหยั่ง




       กลองยาว

กลองยาว จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ขึงหน้าด้านเดียวด้วยหนังสัตว์กว้างประมาณ 21 ซ.ม. ตรงกลางหน้ากลองติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียงให้กังวานตามที่ต้องการ ความสูงจากหัวถึงปลายประมาณ 35 ซ.ม. ส่วนหัวบานเป็นกระพุ้ง ส่วนหางบานออกคล้ายดอกลำโพง

ชาวบ้านนิยมแต่งตัวกลองให้มีสีสันสวยงามด้วยการเอาผ้าสีสวยหุ้มริมก่อนจะปล่อยเชิงระบายพลิ้วสวยแล้วผูกสายสะพายจากรูด้านข้างตัวเครื่องกับหน้ากลอง เพื่อใช้สะพายบ่าเล่นขณะเดิน โดยปกติกลองยาวนิยมตีด้วยมือ โดยคนตีจะสะพายกลองเฉียงและยกหน้ากลองให้สูงขึ้นทางขวามือ (หรือข้างที่ถนัด)

กลองยาวเล่นได้หลายแบบและหลายเสียง เช่น ใช้มือข้างหนึ่งจับหน้ากลองแล้วตีจะได้เสียง "จิ๊ก" ถ้าตีอย่างแรงได้เสียง "เทิ่ง" ตีแล้วจับห้ามเสียงไว้ได้เสียง "เถิด" ด้วยเสียงที่แตกต่างกันนี้บางครั้งการเล่นกลองยาวจึงมีชื่อเล่นว่าการเล่นเถิดเทิง

ธนิต อยู่โพธิ์ ระบุในหนังสือศิลปะ ละคอนรำว่า กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีที่ไทยรับมาจากพม่าอีกทอดหนึ่ง ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาวมีผู้สันนิษฐานว่าเป็นการละเล่นที่ชาวพม่าเล่นกันในสมัยกรุงธนบุรีหรือราวต้นกรุงรัตน โกสินทร์ โดยชาวสยามเห็นชาวพม่าเล่นกลองยาวระหว่างพักรบจึงนำมาลองเล่นและกลายเป็นมรดกจนถึงปัจจุบัน

ชาวสยามได้ลอกเลียนทำนองเพลงพม่าเดิมชื่อว่า "พม่ากลองยาว" และนำมาปรับการร่ายรำ กำหนดการแต่งกายให้นุ่งโสร่ง ผูกผ้าสีแสบสันต์ที่ศีรษะ มือถือขวาน กลายเป็นเพลงพม่ารำขวานไป




       แคน

แคนเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่อายุกว่า 2,400 ปี แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศแถบเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไทย

แคนมีสองชนิด หนึ่งคือแคนน้อย ยาวราว 0.75 เมตร และแคนใหญ่ ยาวราว 1 เมตร ทำด้วยไม้อ้อซึ่งประกอบจากลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่หรือ 8 คู่ มีเต้าติดสูดประกบอยู่ข้างบนและข้างล่าง (อุดไว้กันลมรั่ว) ภายในลูกแคนจะมีลิ้นแคนหนึ่งอันที่ให้เสียงหนึ่งเสียง และเจาะรูแพวให้ถูกตามตำแหน่งเสียง

วิธีเป่าใช้อุ้งมือทั้งสองข้างอุ้มเต้าแคนไว้แล้วเป่าหรือสูดลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็ไล่ตามเสียงไปด้วย

กำเนิดของแคนยังคลุมเครือ แต่นักประวัติศาสตร์ดนตรีเชื่อว่าไทยรับอิทธิพลมาจากชนเผ่าทางอีสานซึ่งรับต่อมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง สังเกตจากภาษาที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีคล้ายแคน ชาวแม้วเรียกว่าเก้ง ชาวเกาหลีเรียกแซง ชาวญี่ปุ่นเรียกโซ

ในตำนานพื้นบ้านของไทยปรากฏเรื่องเล่าที่มาของแคนว่ามีหญิงม่ายต้องการเลียนเสียงอันไพเราะของนกการเวก จึงบรรจงสร้างเครื่องดนตรีเลียนเสียงของพวกมันขึ้นมา จากนั้นจึงนำถวายพระเจ้า ปเสนทิโกศล พระองค์ชื่นชอบและตั้งชื่อมันว่า "แคน" ซึ่งในภาษาอีสานแปลว่าดี

ปัจจุบันเรายังนิยมเล่นแคนในงานประเพณีพื้นบ้าน โดยเฉพาะในภาคอีสาน รวมทั้งเป็นเครื่องดนตรีที่สื่อถึงความรื่นเริง




       ฆ้อง

ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีประเภท เคาะ คำว่า "ฆ้อง" สันนิษฐานว่ามาจากภาษาชวาและเป็นวัฒนธรรมร่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออก เฉียงใต้ เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งไทย ฆ้องโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะแบนๆ ใช้ตีด้วยไม้นวม ทำจากบรอนซ์หรือทองเหลืองแต่ปัจจุบันอาจทำจากโลหะผสม

ฆ้องแบ่งออกโดยทั่วไปได้ 3 ชนิด หนึ่งคือฆ้องแบบแขวน ฆ้องอาจจะบางหรือหนากว่าทั่วไป มีเชือกที่ใช้แขวนฆ้องซึ่งผูกอยู่กับรูที่เจาะอยู่ที่ขอบ สอง กลองที่นูนตรงกลางซึ่งมักจะเป็นกลองแขวนและเล่นในแนวระนาบ สาม ฆ้องที่เป็นทรงชามและมีรูปร่างคล้ายระฆัง ปัจจุบันดนตรีตะวันตกก็นิยมนำฆ้องไปประกอบในวงออร์เคสตร้าด้วย

ฆ้องมีหลายขนาดและประเภท บางชนิดใช้ตีบอกสัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเวรยาม ฆ้องชัย ใช้สำหรับบอกสัญญาณในกองทัพ

ด้านฆ้องของไทย ตัวฆ้องทำจากโลหะวงกลม ตรงกลางมีปุ่มนูน ขอบงองุ้มโดยรอบเรียกว่า "ฉัตร" ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มเรียกว่า "หลังฉัตร" ส่วนที่งอเป็นขอบเรียกว่า "ใบฉัตร" ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้เจาะรูร้อยเชือกหรือเพื่อแขวน ถ้าแขวนตีทางตั้งเจาะสองรู แนวนอนเจาะสี่รู

ไทยใช้ฆ้องในสองลักษณะ หนึ่ง ตีกำกับจังหวะ สอง ตีดำเนินทำนอง ฆ้องที่ตีกำกับจังหวะได้แก่ ฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฯลฯ ฆ้องดำเนินทำนอง ได้แก่ ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องชัย




       ขลุ่ยไทย

ขลุ่ยไทยถือเป็นเครื่องดนตรีโบราณเกิดในสมัยกรุงสุโขทัย ร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภทกลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ปี่ ซอ และกระจับปี่ หลักฐานชิ้นแรกที่พบเกี่ยวกับขลุ่ยเกิดขึ้นในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) ยุคกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในกฎมณเฑียรบาลระบุว่าห้ามร้องเล่นเต้นรำ เป่าขลุ่ย ปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขต พระราชฐาน

ขลุ่ยมีวิวัฒนาการยาวนานมาจากปี่อ้อ ซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ มีลิ้นทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง หลังจากนั้นพัฒนากลายเป็นขลุ่ยเพียงออในปัจจุบัน

ไม่ปรากฏว่าขลุ่ยเข้าร่วมเป็นวงดนตรี ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้นหรือตอนปลาย แต่มีเพิ่มเข้าไปในวงมโหรีหญิงในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ขลุ่ยกลายเป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทมาก วงดนตรีหลายชนิด เช่น วงมโหรี วงเครื่องสายไทย หรือวงเครื่องสายผสมอื่นๆ จำเป็นต้องใช้ขลุ่ยทั้งนั้น จากนั้นวงปี่พาทย์ไม้นวม ทั้งหลายก็ต้องใช้ขลุ่ยเป่าแทนปี่ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ที่เกิดขึ้นในสมัยหลังก็ใช้ขลุ่ยแทนปี่เหมือนกัน

อุทิศ นาคสวัสดิ์ ระบุว่าขลุ่ยไทยปัจจุบันมี 4 ชนิด คือขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยรองออ และขลุ่ยอู้ ต่อมามีผู้คิดค้นขลุ่ยขึ้นมาอีกหนึ่งชนิดเรียกว่าขลุ่ยกรวด ขลุ่ยชนิดนี้เสียงสูงกว่าเพียงออหนึ่งเสียง มักใช้เล่นกับวงที่เอาเครื่องดนตรีฝรั่งมาร่วมมากกว่า




       จะเข้

จะเข้เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 3 สาย สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยของราชบัณฑิตสันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีมอญ รูปร่างคล้ายจระเข้ที่มีสายขึงอยู่ด้านบน นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก

ส่วนประกอบของจะเข้แบ่งเป็นสองตอน คือหัวและหาง ลักษณะตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำจากไม้แก่นขนุน ท่อนหัวและหางเจาะเป็นโพรงยาวตลอดกัน ความยาวทั้งลำเครื่อง 130-132 ซ.ม. สูงประมาณ 19 ซ.ม. ทำหลังตรงกลางนูนแล้วโยงสาย 3 สายจากตอนหัวไปตอนหาง มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น เวลาบรรเลงดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมที่ผูกติด (เคียน) กับปลายนิ้วชี้ขวาของผู้เล่น ส่วนมือซ้ายใช้กดสาย

แต่เดิมจะเข้นิยมบรรเลงเดี่ยว ต่อมานำมาอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมาแทนกระจับปี่เพราะบรรเลงได้ง่ายกว่าและเสียงดีกว่า

ปัจจุบันเมื่อวงดนตรีฝรั่งต้องการผสานกลิ่นอายความเป็นไทยเข้ากับบทเพลงก็นิยมนำจะเข้มาโซโล่ในวง ดนตรีออร์เคสตร้าเนื่องจากมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์และเหมาะแก่การเล่นเดี่ยวอย่างยิ่ง




       ขิม

ขิม หรือ Cymbalo เครื่องดนตรีไทยที่เราได้รับอิทธิพลมาจากแดนมังกรอีกทอดหนึ่ง ส่วนประกอบหลักคือสายโลหะขึงพาดผ่านกลางตัวเครื่องและแผ่นโลหะที่ตรึงรองอยู่ด้านล่างสายโลหะเพื่อใช้สะท้อนเสียง เวลาเล่นเพียงใช้ไม้ตีขิมตีสายให้เกิดเสียงใสและละมุน โดยมีลูกรัวและลูกสะบัดเพื่อเพิ่มความไพเราะ วัสดุที่ใช้ทำสายส่วนใหญ่เป็นโลหะ มีบ้างที่ใช้เป็นแผ่นโลหะทั้งแผ่นซึ่งต้องอาศัยความชำนาญเพิ่มเติม

โดยทั่วไปเรามักคิดว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีไทยสัญชาติมังกร แต่ นายชนก สาคริก ระบุว่าจีนเองก็รับขิมมาจากอาณาจักรเปอร์เซียซึ่งมีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะอย่างสูงในช่วง 330-539 ปีก่อนคริสตกาล ขิมเข้ามาในไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์โดยเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีประจำวงเครื่องสายผสมขิม อันประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ ขิม ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง

ชาวไทยเรียกขิมซึ่งไม่เหมือนชื่อที่ชาวจีนเรียกกันว่า "หยางฉิน" นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเราเรียกเพี้ยนมาจากภาษาจีนคำว่า "คิ้ม" ซึ่งหมายถึงเครื่องพิณทุกชนิด

ขิมทรงอิทธิพลอย่างแท้จริงในแวดวงดนตรีไทยช่วงรัชกาลที่ 6 โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้ริเริ่มนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทย หลังจากนั้นก็มีผู้นิยมบรรเลงขิมกันแพร่หลาย แรกๆ นักดนตรีไทยเรียกว่า "ขิมโป๊ยเซียน" เพราะมีลวดลายแปดเทพสลักอยู่ที่ฝาเครื่อง

ในเวลาต่อมา นพ.สมชาย กาญจนสุต แพทย์ไทยผู้รักดนตรีไทยและงานช่างไม้ คิดพัฒนาขิมให้มีช่วงเสียงที่กว้างขึ้นและมีสายเพิ่มขึ้นอันเรียกว่า 7, 9 และ 11 หย่อง (สายที่ขึงบนเครื่องดนตรี) และเปลี่ยนจากสายทองเหลืองเป็นสายลวดเหล็กที่ไม่ขึ้นสนิม



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


เครื่องดนตรีประเทศอินเดีย


     พิณอินเดีย

พิณอินเดีย ในหมู่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ที่ว่ากันได้ว่าเป็นราชาแห่งเรื่องดนตรีของอินเดียก็คือกลอง แต่ถ้าถือว่าเป็นราชินีเครื่องดนตรีของอินเดียแล้วก็น่าจะนับได้ว่าคือพิณหรือวีณา ซึ่งมีมากมายหลายชนิด



     โคตตุวัธยัม

โคตตุวัธยัม ( Gottuvadhyam) หรือ จิตรวีณา หรือมหานาฏกะ วีณา มีชื่อเรียกหลายชื่อมาก เป็นวีณาที่ใช้ในวงดนตรีกรรณาติก ซึ่งมีจำนวนสายดีดมากกว่า สรัสวดี วีณา เพราะมีสายดีดถึง 21 เส้น แต่มีรูปพรรณคล้ายสรัสวดี วีณา บางครั้งมีการตั้งบนพื้นด้านหน้าพรมนิ้วจากด้านบนเหมือนจะเข้บ้านเรา



     รุทรวีณา

รุทรวีณา หรือ ปิณ หรือ พิณ เป็นวีณาที่นิยมใช้ในวงดนตรี ฮินดูสตานี บางประเภท ซึ่งเป็นชื่อเรียกชนิดดนตรีของอินเดียเหนือทั้งหมด มีลักษณะเป็นวีณาสันฐานตรงยาว 54 นิ้ว ที่ตั้งอยู่บนหม้อใหญ่สองหม้อ มีสายดีด 7 เส้น เวลาเล่นผู้เล่นต้องเอาวีณาพาดบาให้หมออันหนึ่งอยู่หลัง หมออันหนึ่งอยู่หน้า ส่วนตัวผู้เล่นดีดวีณาอยู่ตรงกลางว่ากันว่าคนเล่นรุทรวีณานั้นมักจะเป็นฃายเท่านั้นและต้องมีลีลาการเล่นที่เผ็ดร้อนด้วย สมกับชื่อรุทรวีณา (วีณาที่มีเสียงร้องที่น่ากลัว หรือรุนแรง หรือ วีณาของพระรุทรเทพ)



     วิจิตรวีณา

วิจิตรวีณา มีรูปสันฐานคล้ายรุทรวีณาที่ตั้งอยู่บนหม้อคว่ำสองหม้อ แต่ยาวประมาณ 48 นิ้ว มีสายทั้งหมด 17 เส้น ซึ่งมีการแกะตัววีณาตกแต่งให้สวยงามเป็นรูปนกยูง จึงไม่อาจเล่นพาดบา ใช้วางกับพื้นด้านหน้าดีดเหมือนจะเข้ บ้านเราที่ต้องมีการกดและพรมนิ้วจากด้านบน นิยมเล่นกันมากในศตวรรษที่ 19



     มกระวีณา

มกระวีณา คือวีณาที่แกะเป็นรูปจระเข้ อาจเป็นที่มาของจะเข้ของมอญ มีการกล่าวถึงในวาลมิกิรามายณะว่าเมื่อพระรามพระลักษณ์พร้อมฤาษีวิศวามิตรเดินทางไปเมืองมิถุราของท้าวชนก พระบิดาของนางสีดา ได้เห็นเหล่าสัตรีชั้นสูงในเมืองนั้นนิยมเล่นมกระวีณากันแทบทุกแห่งห้องเมือง



     มยุระวีณา

มยุระวีณา คือวีณาที่แกะเป็นรูปนกยุงเพราะรูปนกยุงเป็นสัญญาลักษณ์ประจำชาติของอินเดีย สืบมาแต่ครั้งราชวงศ์โมริยะ ของพระเจ้าอโศกมหาราช



     สตตันตรี วีณา หรือ ซันตูร

สตตันตรี วีณา หรือ ซันตูร คือวีณาร้อยสาย มีลักษณะอย่างขิมบ้านเราและก็มีการดีดคล้ายคลึงกัน มีไม้ใช้ตีด้วยสองมือด้วย นิยมเล่นกันแพร่หลายในราชสำนักของราชวงโมกุล กษัตริย์อิสลามของอินเดีย



     สัปตะ ตันตรี วีณา

สัปตะ ตันตรี วีณา คือ ยาฬ เจ็ดสาย เป็นเครื่องดนตรีมีรูปทรงคล้าย ฮาร์ป หรือพิณโบราณทางยุโรป แต่สัปตะตันตรีวีณา มีเจ็ดสาย เชื่อกันว่า ยาฬนี้ราวณะ หรือทศกัณฐ์นั้นเป็นผู้มีความชำนาญมาก แต่วันหนึ่งมาท้าฤาษีอคัสตยะ ที่อยู่ที่ทมิฬนาดูสู้ แต่ฤาษีอคัสตยะดีดยาฬจนภูเขาทองคำที่อยู่ใกล้อาศรมท่านละลาย ราวณะก็เลยยอมแพ้ และแม้ว่าราวณะในต้อนนั้นจะเป็นเจ้าครองหมดทั้งสามโลก แต่ก็กลัวฤาษีอคัสตยะเลยไม่ได้มารุกรานทมิฬนาดู เชื่อกันว่ายาฬเจ็ดสายนี้เองเป็นต้นกำเนิดของสรัสวดีวีณา ซึ่งอันที่จริง ยาฬ หรือฮาร์ป Harp นี้เป็นที่แพร่หลายไปทั่ว ไอยาคุปต์ อียิปต์ กรีก โรมัน สุมารตรา พม่า (พม่าเรียกว่า saung ส้วง) ทั้งเป็นเครื่องดนตรีทางภาคเหนือ และคนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือของไทยด้วย ที่บางชนิดมีถึง16สายเรียกว่าพิณปีกนก

ที่มา :  aroseforyourlovedone.wordpress.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พฤษภาคม 2558 15:57:25 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2556 12:38:29 »

.


       กลาส ฮาร์โมนิกา

กลาส ฮาร์โมนิกา ถือกำเนิดขึ้นราวปีค.ศ.1564-1642 โดยบิดาผู้โด่งดังในวงการวิทยาศาสตร์ กาลิเลโอ กาลิเลอิ

อันที่จริง กาลิเลโอประดิษฐ์กลาส ฮาร์โมนิกา ขึ้นเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างเสียงร้องกับแรงสั่นสะเทือน โดยทดลองไล่นิ้วอันชุ่มชื้นไปตามขอบแก้วซึ่งบรรจุน้ำไม่เท่ากัน กลาส ฮาร์โมนิกาจึงถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ

ราวปีค.ศ.1761 เบนจามิน แฟรงกลิน เป็นผู้บุกเบิกคนแรกที่นำกลาส ฮาร์โมนิกา มาเล่นเป็นเสียงดนตรีอย่างจริงจัง โดยนำกลไกมาใช้รวมกับกลาส ฮาร์โมนิกา เสียบแกนกลางให้กับชามและชักรอกมันเข้ากับจักรถีบที่เท้าเพื่อทำให้นักดนตรีสามารถเปลี่ยนเสียงที่เล่นในแก้วใบเดียวกันได้มากกว่า 10 เสียง

กลาส ฮาร์โมนิกาโด่งดังถึงขีดสุดในช่วงศตวรรษที่ 18-19 โดยราวปี 1797-1848 กาเลอตาโน่ ดอนิเซตติ ใช้มันเพื่อประกอบภาพยนตร์สั่นประสาท Lucia di Lammermoor จากนั้นปี 1886 เซนต์ ซาเอนส์ ใช้มันเพื่อบรรยายภาพโลกใต้บาดาลในหนังเรื่อง Carnival of the Animals  

ราวปี 1734 นักจิตวิทยาชาวออสเตรียทดลองและแพร่สะพัดข่าวลือด้านลบว่าเสียงของกลาส ฮาร์โมนิกา มีผลหลอนประสาทและอาจทำให้ผู้ฟังเสียสติ และแม้จะไม่มีผลทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นพอ แต่นักฟังดนตรีก็หวาดผวาและพานเลิกฟังกลาส ฮาร์โมนิกา กันจนหมด ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้เสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว




       แมนโดลิน

แมนโดลิน เป็นเครื่องดนตรีทรงหยดน้ำตระกูลเดียวกับลูท ขึงด้วยสาย 8 สาย หรือ 12 สาย ตั้งเสียงเท่ากันอยู่บนคู่ Perfect 4th และ 5th ส่วนบนหัวมีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ตั้งเสียง มี Feat รองรับสายแบบเดียวกับกีตาร์ วิธีบรรเลงเพียงใช้นิ้วมือซ้ายจับลำเครื่อง นิ้วมือขวาถือ Pick ดีดสายก็จะได้เสียงที่ไพเราะ

แมนโดลินดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศอิตาลี กำเนิดขึ้นช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อความสำราญสำหรับผู้โดยสายเรือกอนโดล่าอันมีชื่อเสียง

เริ่มโด่งดังในศตวรรษที่ 17-18 และไม่ค่อยมีวิวัฒนาการเรื่องรูปทรงมากนัก ครอบครัวมอนซิโน่แห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เป็นผู้คิดค้นและสร้างนีโอโพลิแทน แมนโดลิน ซึ่งกลายเป็นแมนโดลินแบบที่ใช้ในคอนเสิร์ตและงานรื่นเริงทุกวันนี้

ขนาดที่เล็กของแมนโดลินทำให้เวลาดีดเสียงแล้วไม่ก้องสะท้อนอยู่นาน เนื่องจากแมนโดลินเป็นเครื่องดนตรีสำหรับ "นักดนตรีข้างถนน" ในต่างประเทศนักประพันธ์เพลงส่วนใหญ่จึงหาทางออกสำหรับมือสมัครเล่นเหล่านี้ด้วยการประพันธ์โน้ตที่ง่ายและเล่นซ้ำๆ แต่เมื่อแมน โดนลินเข้าสู่วงการเพลงคลาสสิค นักประพันธ์ก็เริ่มใช้มันในการโซโล่และประพันธ์เพลงที่โชว์ฝีมือมากขึ้น




       พิกโกโล่

พิกโกโล่ ถือเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกับ ฟลุต ต่างกันตรงที่มีขนาดลดลงมาครึ่งหนึ่งและสามารถเล่นเพลงที่อยู่บนบันไดเสียงที่สูงกว่าได้  พิกโกโล่ มีชื่อเรียกเต็มว่า ฟลาวโต พิกโกโล่ เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า ฟลุตขนาดเล็ก จัด อยู่ในตระกูลเครื่องเป่าลม ลักษณะการวางนิ้วเหมือนฟลุต ไม่มี foot joint ซึ่งทำให้สามารถเล่นโน้ตต่ำสุดได้ที่ตัว D ปัจจุบันมีการผลิตพิกโกโล่บนบันไดเสียง C เท่านั้น

ในอดีตพิกโกโล่เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่มีคีย์ (ไม่จัดอยู่ในบันไดเสียงใด) และมีกำเนิดคลุมเครือเพราะคนมักจำสับสนกับไฟฟ์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีคล้ายพิกโกโล่อีกชนิด พิกโกโล่นิยมใช้เล่นประกอบงานคาร์นิวัลของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ วัสดุที่ใช้ทำนิยมเป็นไม้ งาช้าง หรือแก้ว แต่ปัจจุบันนิยมผลิตจากพลาสติก เรซิ่น ทองเหลือง นิกเกิล เงิน และไม้เนื้อแข็ง

หลายคนเชื่อว่านักประพันธ์ที่ทำให้พิกโกโล่แจ้งเกิดในวงการออร์เคสตร้าคือ บีโธเฟ่น หลังจากที่เขาเลือกใช้มันเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นบทเพลงอมตะอันลือลั่น ซิมโฟนีหมายเลข 5 บนบันไดเสียง C Minor (Symphony No.5 in C Minor) ขณะที่นักประพันธ์ร่วมสมัยท่านอื่นอย่างไฮเดินและโมสาร์ตไม่เคยคิดจะใช้มัน

วงออร์เคสตร้าปัจจุบันยังนิยมมีพิกโกโล่ไว้ประจำวง 2-3 คน เพื่อเล่นคู่ไปกับฟลุตหรือไวโอลิน สร้างโทนเสียงวาวระยับ สุกสกาวเหมือนดวงดาว เนื่องจากพิกโกโล่เล่นเสียงได้สูงกว่าปกติหนึ่งอ๊อกเตจ หากหาไม่ได้จริงๆ ผู้จัดการวงอาจใช้นักดนตรีฟลุตอัลโตแทน





       กลองทิมปานี

กลองทิมปานี ปรับระดับเสียงได้หลายระดับ มีรูปร่างคล้ายกระทะตั้งอยู่บนฐาน ส่วนกลองทำจากเหล็ก ไม้ เครื่องปั้นดินเผา ใช้หนังสัตว์ขึงแล้วตรึงด้วย สกรูเพื่อให้เกิดแรงตึง ระดับเสียงแตกต่างกันไปตามความตึงของหนังสัตว์ เส้นผ่านศูนย์กลางกลอง และขนาดของไม้ตีกลอง ที่ฐานกลองทิมปานียังมี pedal หรือกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียง

ด้วยเสียงเบสอันทรงอำนาจและชวนตื่นเต้น วงออร์เคสตราจึงนิยมใช้กลองทิมปานีอย่างน้อย 2 ใบร่วมบรรเลง  ต้นกำเนิดของทิมปานีเชื่อว่าน่าจะมาจากประเทศแถบแอฟริกาและตะวันออกกลางที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสันนิษฐานว่าในอดีตชนกลุ่มนี้ใช้กลองเพื่อประกอบการล่าสัตว์ บรรเลงในงานเลี้ยงรื่นเริงและร่วมในการสงคราม

กลองทิมปานี ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1675 ในการแสดงออร์เคสตราเนื้อเรื่องเกี่ยว กับ มหากาพย์Thesee ต่อมาปีค.ศ.1811 นักประพันธ์เลื่องชื่อนาม Carl Maria von Weber ประพันธ์โอเปร่าเรื่อง The Ruler of Spirit ที่ใช้กลองทิมปานีถึง 3 ตัว โดยเลือกใช้ทิมปานีที่ผู้เล่นต้องตีด้วยสองมือ

กลองทิมปานีสมัยนั้นจูนเสียงได้ยากและยังเล่นได้ แค่บันไดเสียงโทนิกและโดมิแนนต์เท่านั้น นักประพันธ์เพลงในยุคนั้นจึงไม่นิยมใช้มันมากนัก ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ช่างฝีมือพยายามประดิษฐ์กลองทิมปานีที่จูนเสียงได้และสามารถเล่นบนสเกลโครมาติกได้ ทำให้นักประพันธ์ในยุคต่อมาอย่าง บีโธเฟ่นเลือกประพันธ์เพลงให้กลองทิมปานีเล่นเดี่ยวคู่กับเปียโน ความนิยมในการใช้กลองทิมปานี 3 กลองประกอบในวงเริ่มขึ้นในช่วงนี้

ปัจจุบัน ทิมปานีในวงออร์เคสตรานิยมใช้กลอง 5 กลองเพื่อให้ครอบคลุมช่วงเสียงที่กว้างขึ้น นอกจากนี้วงแจ๊ซและวงร็อกแหวกแนวหลายวงยังเลือกใช้มันเพื่อความโดดเด่นของวงอีกด้วย





       ดับเบิ้ลเบส

ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีชิ้นใหญ่ที่สุด เสียงต่ำที่สุดและจำเป็นชนิดขาดไม่ได้ในวงออร์เคสตร้าอาชีพ  เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน ขนาดสูงราว 180 ซ.ม. ทั่วไปมี 4 สาย ทำหน้าที่เป็นเสียงพื้นให้กับวง เวลาเล่น นักดนตรีดับเบิ้ลเบส หรือ bassist จะทาบคอเครื่องดนตรีบนไหล่ ขนานไปกับร่างกายในมุม 45 องศา นั่งเล่นหรือยืนเล่นแล้วแต่ถนัด

รูปทรงภายนอกของดับเบิ้ลเบสดูคล้าย วิโอล่า แต่ภายในกลับมีโครงสร้างคล้ายไวโอลินและแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากไวโอล เทคนิคการเล่นดับเบิ้ลเบสถือเป็นความท้าทายอีกประการเนื่องจากวิธีการเล่นจะเปลี่ยนไปตามสไตล์เพลงที่เล่น เช่น ดนตรีคลาสสิคจะผสมทั้งวิธีดีดและสี ดนตรีแจ๊ซนิยมดีด ส่วนดนตรีบลูส์และร็อกนิยมดีด

ดับเบิ้ลเบสเกิดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 และได้รับฉายาว่า เบส ไวโอลิน ศตวรรษที่ 17 ดับเบิ้ลเบสมี 5 สาย ก่อนที่ต้นศตวรรษที่ 18 จะถูกเปลี่ยนให้มี 3 สาย ซึ่งตรงข้ามกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายทั่วไปในยุคนั้นที่มี 5-6 สาย จัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำโดยธรรมชาติ กระนั้นนักดนตรีและนักแต่งเพลงหลายคนต่างพยายามท้าทายตัวเองด้วยการเล่นหรือแต่งเพลงที่มีดับเบิ้ลเบสเป็นพระเอก ปลายศตวรรษที่ 18 จึงเป็นช่วงเวลาที่มี นักดนตรีดับเบิ้ลเบสที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย ไม่นานดับเบิ้ลเบสกลายเป็นสัญลักษณ์ ของเครื่องดนตรีแสนเท่และเป็นที่นิยมในดนตรีทุกสาขา




       โอโบ (Oboe)

โอโบ (Oboe) เป็นดนตรีเครื่องเป่าประเภทลิ้นคู่ในช่วงเสียงโซปราโน (เสียงสูง) สามารถแยกชิ้นส่วนออกได้เป็น 3 ส่วน ปลายเป็นทรงกรวย ตัวเครื่องทำจากไม้หรืออีบอไนต์ (ยางแข็ง) ส่วนลิ้นคู่ทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง เช่น ต้นกก

ถือกำเนิดขึ้นในยุคบาโรก ประเทศฝรั่งเศส ปีพ.ศ. 2193 นักดนตรีชื่อ จีน ฮอตเตเตอร์ และ ไมเคิล ดานิกัน ฟิดัดแปลงปี่โบราณที่เรียกว่า โฮวต์บอย (Hautboy) ให้มีน้ำเสียงดีขึ้น แต่พัฒนาการที่ทำให้โอโบเป็นอย่างทุกวันนี้เกิดจากการที่ เฟรเดอริก ไทรเบิร์ก และ เอ เอ็ม อาร์ บาร์เรต คิดค้นรูปทรงและระบบการวางนิ้วสำหรับโอโบขึ้นมาใหม่ ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้เริ่มต้นเสียงที่ตัว Bb (โน้ตตัวทีต่ำลงมาครึ่งเสียง) และสิ้นสุดที่ตัว G (โน้ตตัวซอลสูง)

โอโบมีน้ำเสียงที่ชัดเจนและเฉียบคม จึงเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ตั้งเสียง (จูน "เอ") ก่อนเริ่มการแสดงคอนเสิร์ต และมักเป็นดาวเด่นโซโล่ประจำคอนเสิร์ตอีกด้วย เพราะมีลักษณะอ่อนไหวโอโบจึงจัดเป็นเครื่องดนตรี "เจ้าหญิง" ที่เล่นยากชนิดหนึ่ง นักดนตรีมืออาชีพจะไม่ซื้อลิ้นของโอโบจากร้านขายมาใช้ แต่จะเหลาขึ้นเองเพราะคุณภาพเสียงที่ได้จะดีหรือจะแย่ขึ้นอยู่กับลิ้นเป่าเป็นสำคัญ

นักดนตรีโอโบยังต้องเข้าใจความชื้นและอุณหภูมิในอากาศในวันที่จะแสดงฝีมือเพราะอาจมีผลทำให้เสียงแปร่งพร่าไปได้ ยังไม่รวมเทคนิคการเล่นชั้นเซียนที่ต้องฝึกซ้อมเป็นปีๆ โอโบเธอจึงเป็นเจ้าหญิงจริงๆ





       คลาริเน็ต

คลาริเน็ต เป็นคำยืมมาจากภาษาอิตาเลียน คลาริน่า (Clarina) แปลว่า แตร ใส่คำวิเศษตามหลัง คือ -et แปลว่า เล็กๆ รวมแปลว่า แตรอันเล็กๆ  คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รูปลักษณ์เป็นทรงกระบอกตรง ลำโพงบานออก ลำเครื่องทำด้วยโลหะหรือไม้ มีลิ้นเป่าเดี่ยว ผู้เล่นจะใช้นิ้วปิดเปิดรูและกดคีย์ต่างๆ เพื่อสรรค์สร้างเสียงที่กว้างและทุ้มลึกแตกต่างกันตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ

ต้นกำเนิดของคลาริเน็ตต้องย้อนไปถึงยุคอียิปต์โบราณ ราว 3 พันปีก่อนคริสตกาล เวลานั้นมีเครื่องเป่าชนิดหนึ่งชื่อว่า เมเมต ทำจากไม้แล้วเหลาที่ปลายลำตัวเครื่องให้เป็นลิ้น ก่อนจะพัฒนาเป็นชาลูโม ซึ่งให้เสียงที่คมชัดมากกว่ารีคอร์เดอร์ และกลายเป็นคลาริเน็ตในช่วงศตวรรษที่ 17

ประวัติของคลาริเน็ตพันธุ์แท้เลาแรก ยังมีข้อถกเถียงมากมาย เนื่องจากหลังการพิสูจน์พบว่าเครื่องดนตรีที่เชื่อว่าเป็นคลาริเน็ตเลาแรก เป็นผลงานของบิดาแห่งคลาริเน็ต โจฮัน คริสตอฟฮ์ เดนเนอร์ ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเยอรมันนั้น แท้จริงแล้วเป็นชาลูโม บรรพบุรุษสายตรงของคลาริเน็ตซึ่งโด่งดังในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17

ค.ศ.1800 คลาริเน็ตเริ่มมีคีย์เพิ่มเป็น 5-6 คีย์ และในปีค.ศ.1812 ไอวาน มุลเลอร์ ประดิษฐ์เป็น 13 คีย์ เพื่อให้เล่นเพลงได้หลากหลายขึ้น และเป็นผู้ที่หันลิ้นมาไว้ด้านล่างของปากเป่าในแบบปัจจุบัน



 ยามาโตะโกโตะ

ยามาโตะโกโตะ เป็นเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายพิณตระกูลเดียวกับโกโตะ มีหกหรือเจ็ดสาย ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่ายามาโตะโกโตะเป็นเครื่องดนตรีโบราณที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากจีนเหมือนอย่าง โกโตะ ซึ่งทั้งโกโตะและยามาโตะโกโตะต่างแปลตรงตัวได้ว่าเครื่องสายของญี่ปุ่น

ตามความเชื่อในลัทธิชินโต ยามาโตะโกโตะเป็นเครื่องดนตรีที่มาเมะโนะอุซุเมะ นักพรตหญิงใช้เล่นพร้อมร่ายรำเพื่อล่อให้มหาเทพีแห่งดวงอาทิตย์ อะมาเทราสุ ยอมออกจากถ้ำซึ่งเป็นที่ซ่อนตัวของเธอเพื่อกลับมามอบแสงสว่างให้โลกอีกครั้ง

ตำนานส่วนนี้อาจเหมือนกำเนิดโกโตะปกติ แต่ที่เพิ่มเข้ามาคือมาเมะโนะอุซุเมะได้แผลงธนูล่าสัตว์ออกไป 6 ดอก เพื่อเฉลิมฉลอง ก่อนจะทำให้ศรทั้ง 6 ดอก ร้อยเรียงกันกลายเป็นยามาโตะโกโตะเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความกล้าหาญของนักพรตหญิง

รูปร่างของยามาโตะโกโตะเปลี่ยนไปเล็กน้อยนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยมีลักษณะยาวขึ้นและมีสายน้อยลง สะพานสายทำเลียนแบบกิ่งไม้เมเปิ้ลมีสามชิ้น เสียงสามารถขึ้นสูงได้และนิยมเล่นดนตรีสเกลเมโลดิก (ซึ่งให้เสียงแปลกแปร่งแต่ชวนค้นหา)

ปัจจุบันยามาโตะโกโตะนิยมเล่นเฉพาะประกอบพิธีชินโต เรียกว่าดนตรีกากะคุ แต่คนญี่ปุ่นก็ยังนิยมเครื่องดนตรีนี้ในฐานะที่เป็นตัวแทนของกำเนิดญี่ปุ่น




คาสตาเนตส์
คาสตาเนตส์ (Castanets) เครื่องดนตรีเก่าแก่ที่ชาวยิปซีในประเทศสเปนใช้เล่นประกอบการร่ายรำฟลาเมงโก้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากฉาบไม้แบบติดที่นิ้วซึ่งชาวสเปนได้รับมรดกมาจากสมัยสงครามมุสลิมในปี ค.ศ.700

คาสตาเนตส์มีหน้าตาคล้ายเปลือกหอยสองอันประกบกัน ทำจากไม้มะเกลือหรือไม้ชิงชัน ส่วนหัวผูกติดด้วยเชือก เวลาเล่นแค่ถือไว้ในอุ้งมือแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดให้คาสตาเนตส์ประกบกันจนเกิดเสียง

ในแบบดั้งเดิม นักดนตรีจะถือคาสตา เนตส์สองคู่เวลาเต้น หนึ่งคู่ในมือขวาถือเป็นคู่เสียงต่ำ (ผู้ชาย) เล่นโดยใช้นิ้วสี่นิ้วควบคุม ส่วนมือขวาเป็นเสียงสูง (ผู้หญิง) ใช้นิ้วเล่นสองนิ้ว นักร่ายรำที่มีประสบการณ์จะสามารถผสานจังหวะจากปลายนิ้วเข้ากับท่วงท่าที่สง่างามได้อย่างไม่มีที่ติ

ต้นกำเนิดของคาสตาเนตส์ยังไม่แน่ชัด แต่พบหลักฐานว่าทั้งชาวกรีกและอียิปต์เคยเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้และใช้มันเป็นส่วนหนึ่งในพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ในสมัยต่อมาวนิพกนิยมใช้ตีเป็นจังหวะประกอบการขับลำนำเพื่อท่วงทำนองที่น่าฟังยิ่งขึ้น

ในสมัยบาโรก คีตกวีนิยมใช้คาสตา เนตส์ประกอบบทเต้นรำของตัวร้ายเพื่อแสดงความน่ารังเกียจและมุทะลุ แต่คาสตาเนตส์มาเข้าสู่วงออร์เคสตร้าจริงๆ จังๆ ครั้งแรกในปีค.ศ.1876 โดยบทประพันธ์ Manuel de Falla"s อย่างไรก็ตามคาสตาเนตส์ยังถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เหมาะกับการแสดงพื้นบ้านมากกว่าการแสดงแบบเป็นทางการอยู่ดี




       ซุน

ซุน ซุนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่อเป่าโบราณที่สุดของจีน มีประวัติกว่า 7 พันปีแล้ว
ซุนเริ่มมีขึ้นจากเครื่องมือล่าสัตว์ที่เรียกว่า”หลิวซิงสือ” ในสมัยดึกดำบรรพ์ มนุษยได้ใช้เชือกผูกกับก้อนหินหรือก้อนดิน เพื่อขว้างไปล่านกหรือสัตว์ บองก้องเป็นกลวง เมื่อรำแล้วจะมีเสียงออก ต่อมา มีบางคนรู้สึกสนุก จึงเอามาเป่า แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นซุน ซุนในขั้นต้นส่วนใหญ่ทำด้วยหินหรือกระดูกสัตว์ ต่อมาจึงค่อยๆพัฒนาและทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา และมีรูปร่างหลายชนิต เช่น รูปแบนกลม รูปกลมรี รูปวงกลม รูปปลาและรูปสาลี่เป็นต้น ในจำนวนนี้รูปสาลี่มีมากกว่า

บนยอดซุนมีรูสำหรับเป่า ด้านล่างเป็นพื้นเรียบ ด้านข้างมีรูเสียง ในสมัยก่อน ที่แรก ซุนมีรูเสียงเพียงรูเดียว แล้วค่อยๆพัฒนาเป็นหลายรูเสียง จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่สามจึงมีรูเสียง 6 รู

ศาสตราจารย์ฉาวจื้อของสถาบันดนตรีจีนได้เริ่มวิจัยและทำตามแบบซุนของสมัยโบราณในปลายทศวรรษปี 1930 ต่อมา บนพื้นฐานของซุนที่มีรูเสียง 6 รูนั้น ศาสตราจารย์เฉินฉงของสถาบันดนตรีเทียนสินได้ออกแบบซุนเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่ที่มีรู 9 รู ทำด้วยเครื่องเคลือบของเมืองอี๋ซิงมณฑลเจียงซูของจีน ซุนที่มีรูเสียง 9 รูชนิตนี้ได้อนุรักษ์รูปแบบและท่วงทำนองเสียงของเดิม แต่มีเสียงดังขึ้นและมีท่วงทำนองเสียงกว้างขึ้น สามารถเป่าครึ่งเสียงได้ และทำให้ซุนกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เปลี่ยนท่วงทำนองเสียงได้ มีลักษณะพิเศษของตน มี 9 รูชนิดนี้ได้เปลี่ยนการเรียงระดับรูเสียงที่ไม่มีระบบระเบียบ และทำตามความนิยมของคนสมัยปัจจุบัน ทำให้การบรรเลงสะดวกมากขึ้น และสามารถใช้ได้ทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงร่วมและเป็นเครื่องประกอบเสียงได้

ซุนี 9 รูที่ออกแบบขึ้นทำให้ซุน เครื่องดนตรีสมัยโบราณมีชีวิตชีวาขึ้นใหม่ จากนั้นไม่นาน นายเจ้าเหลียงซันของคณะศิลปะบันเทิงแห่งมณฑลหูเป่ย ลูกศิษย์ของศาสตราจารย์เฉินฉงได้วิจัยและผลิตซุน 10 รูทำด้วยไม้แดง ซึ่งได้แก้ข้อบกพร่องที่เป่าเสียงสูงได้ยาก

ในประวัติดนตรี ซุนสำคัญที่ใช้ในดนตรีของราชสำนัก ในดนตรีราชสำนักนั้น ต้องใช้ซุนสองชนิต คือ “ซ่งซุน”กับ”หย่าซุน” ซ่งซุนมีขนาดเล็ก คล้ายกับไข่ไก่ และมีท่วงทำนองเสียงสูง หย่าซุนมีขนาดใหญ่ มีท่วงทำนองเสียงไม่อ่อนชอย ส่วนใหญ่จะบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีเป่าชนิตหนึ่งที่ทำด้วยไม้ไผ่ซึ่งมีชื่อว่า “ฉือ” ในหนังสือ”ซือจิง” ที่ได้เก็บบทกวีรุ่นเก่าที่สุดของจีนได้มีคำกล่าวว่า มีพี่น้องสองคน คนหนึ่งเป่าซุนและอีกคนหนึ่งเป่าฉือ ซึ่งหมายความว่า มีความรักเหมือนพี่น้องกัน
...thai.cri.cn



       กูชิน

กูชิน เป็นเครื่องดนตรี ประเภทพิณที่นักปราชญ์และบัณฑิตจีนยกย่องให้เป็นยอดเครื่องดนตรี ปราชญ์ชื่อดังที่รักกูชินเป็นชีวิตจิตใจคือ ขงจื๊อ ปราชญ์ผู้ทรงอิทธิพลของจีนซึ่งเคยกล่าวว่า "บุรุษจะไม่พรากจากพิณหากปราศจากซึ่งสาเหตุ"

ตำนานการกำเนิดกูชินเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์มาเนิ่นนาน เนื่องจากชาวจีนบางกลุ่มเชื่อว่ากูชินมีมานานตั้งแต่ 5 พันปีที่แล้วก่อนคริสต์ศักราช แต่ตำราเกี่ยวกับกูชินกลับเพิ่งเผยแพร่ในช่วงศตวรรษที่ 20 และหลักฐานของพิณที่พบในถ้ำเก่าแก่ก็มีอายุเพียง 2,500 ปีเท่านั้น

กูชินประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบ "สระน้ำแห่งมังกร" ซึ่งอยู่ในจินตนาการของปราชญ์ยุคโบราณ เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่เฉิดฉายนัก เนื่องจากมีช่วงเสียงน้อยเพียง 4 อ๊อกเตฟ และการจูนเสียงยังเน้นเล่นเสียงต่ำ (เบส) ซึ่งต่ำกว่ามิดเดิลซี (โน้ตโดซึ่งถือเป็นตัวมาตรฐานกลาง) แต่การเล่นต้องทำโดยประณีตเหมือนการเจริญสมาธิจึงได้ชื่อว่าเป็นดนตรีของปราชญ์ นักปราชญ์จะเล่นกูชินโดยการดีดสายหรือหยุดสาย เพลงที่ได้มักอยู่บนฮาร์โมนิกสเกลซึ่งให้เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีจีนมาก

โดยทั่วไปแล้วกูชินปัจจุบันมี 7 สาย แต่ในสมัยโบราณมี 5 สาย เนื่องจากสะท้อนถึงธาตุทั้ง 5 ดิน น้ำ ลม ไฟ โลหะ แต่มีการปรับเปลี่ยนสายให้เพิ่มขึ้นเป็น 7 สายโดยกษัตริย์โซง หวู หวัง แห่งราชวงศ์ซ่ง ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังกระหึ่มเพื่อปลุกขวัญทหารในการรบ บอร์ดเสียงด้านหน้าของกูชินมีลักษณะนูนโค้งสะท้อนถึงห้วงสวรรค์ ขณะที่ใต้ท้องแบนราบสะท้อนถึงแผ่นดินโลก ความยาว 3 ฟุต 6 นิ้ว 5 ซ.ม. สะท้อนถึงเวลาบนโลกมนุษย์ซึ่งมี 365 วัน




       จงหู

จงหู เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายเสียงต่ำของจีนโบราณ อยู่ในตระกูลหูฉิน (คล้ายตระกูลไวโอลินของฝั่งตะวันตก) มีพี่น้องร่วมสายเลือดเป็นเอ้อหูและ กัวหู  หากเปรียบกับฝั่งตะวันตก จงหูก็เสมือนวิโอล่าที่เป็นเครื่องเสียงอัลโต ตัวเครื่องทรงแปดเหลี่ยมหุ้มด้วยหนังงูช่วยสะท้อนเสียงอันทุ้มต่ำแต่สดใส ขณะที่สายสองสายเปรียบได้กับสายเสียงต่ำสองสายของไวโอลิน นักดนตรีจะเล่นจงหูโดยการสี ซึ่งเป็นเทคนิคการเล่นเดียวกับเครื่องดนตรีในตระกูลหูฉิน การไม่มีฟิงเกอร์บอร์ดทำให้สามารถเล่นจงหูได้ในความดังหลากหลายระดับมาก

จงหูถือเป็นเครื่องดนตรีที่ไม่ได้เก่าแก่มากนักเนื่องจากมีหลักฐานพบในสมัยราชวงศ์ชิงช่วงหลังปีค.ศ.1104 เท่านั้นเอง ซึ่งมีความจำเป็นในการประดิษฐ์คล้ายๆ กับวิโอล่า เชลโล่ และดับเบิ้ลเบสในตระกูลไวโอลินของตะวันตก คือความต้องการ "รวมวง" ของเครื่องดนตรีในหลากหลายช่วงเสียง จากนั้นจึงค่อยถูกปรับใช้พัฒนาให้เล่นกับวงออร์เคสตร้า เล่นประกอบการร้องและเล่นโซโล่ช่วงศตวรรษที่ 20 นี่เอง




       ซานเซียน

ซานเซียน เครื่องสายจีนที่มีลักษณะคล้ายลูตของฝั่งตะวันตก นิยมเล่นในวงดนตรีขนาดเล็ก วงออร์เคสตร้าแบบจีนหรือเล่นโซโล่เดี่ยวบนเวที

ซานเซียนแปลตรงตัวได้ว่า สามสาย โดยทั่วไปจึงมีสามสายสมชื่อ เป็นเครื่องสายที่ใช้การดีดเพื่อเล่น วัสดุที่ใช้ดีดส่วนใหญ่จะทำจากเขาสัตว์ แต่ปัจจุบันยอมใช้ปิ๊กพลาสติกแบบกีตาร์แล้ว ซานเซียนมีฟิงเกอร์บอร์ดที่ยาวชะลูดแต่กลับไม่มีเฟรตแบบกีตาร์ให้จับ  ตัวเครื่องในสมัยโบราณจะใช้หนังงูหุ้มรอบตัวเครื่องรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากซึ่งใช้สะท้อนเสียง ซานเซียนมีหลายขนาดตามแต่ความนิยม ชาวจีนภาคเหนือนิยมประดิษฐ์ซานเซียนให้มีความยาวกว่า 122 ซ.ม. ขณะที่ทางจีนตอนใต้นิยมผลิตให้เล็กกว่าเพียง 95 ซ.ม. และแม้จะมีชื่อว่า "สามสาย" แต่ในช่วงหลังศตวรรษที่ 20 ได้รับการพัฒนาให้มีแบบสี่สายด้วย

ซานเซียนเป็นบรรพบุรุษของเครื่องดนตรีญี่ปุ่น "ชามิเซน" ขณะที่ในเวียดนามมีเครื่องดนตรีชื่อ "ดันตัม" ลักษณะคล้ายซานเซียนเช่นกัน แม้ซานเซียนจะมีอิทธิพลในหลายประเทศเอเชียแต่กลับพบว่าในประเทศจีนปัจจุบันนักดนตรีหลายคนปฏิเสธที่จะฝึกเนื่องจากราคาที่แสนแพงและยังไม่มีเฟรตทำให้เล่นลำบาก แถมยังเป็นสเกลที่ตั้งอยู่ในแบบของจีนซึ่งทำให้ชาวตะวันตกฝึกเล่นได้ยาก


ที่มา : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2558 12:08:31 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2556 19:06:57 »

.


     หยู้ฉิน

หยู้ฉินเครื่องสายโบราณของจีนมีลักษณะคล้ายกีตาร์ทรงพระจันทร์ บางครั้งจึงได้รับสมญานามว่า "กีตาร์พระจันทร์" หากเทียบไปก็คล้ายกับลูตของฝั่งตะวันตก ผิดแต่มีรูปร่างเตี้ยป้อมกว่า เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงออร์เคสตร้าจีนสมัยใหม่ เนื่องจากมีเสียงบนสเกลเมโลดิกที่ลึกลับชวนค้นหา

เครื่องดนตรีจีนพันธุ์แท้ชนิดนี้กำเนิดขึ้นระหว่างราชวงศ์จิ๋น ปีคริสต์ศักราช 265-420 โดยเชื่อว่ามีบรรพบุรุษเป็น "รัว" เครื่องสายจีนอีกชนิดหนึ่ง ในอดีตคำว่าหยู้ฉินใช้เรียกเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีซาวด์บอร์ดเป็นรูปทรงพระจันทร์ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการแยกแยะแล้ว

ตัวเครื่องดนตรีทำจากไม้เนื้อแข็ง ภายในกลวงมีช่วงคอเครื่องสั้น ขึงด้วยสายสี่เส้นหรือนับเป็นสองคู่ แต่ละคู่จะจูนเสียงให้มีเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น สายลอยห่างจากคอเครื่องค่อนข้างมาก เวลาเล่นนิ้วนักดนตรีจึงมักไม่สัมผัสคอเครื่องสายมากนัก โดยทั่วไปหยู้ฉินมักมีเสียงไม่เกินคู่ 5 เพอร์เฟ็กต์ ทำให้ได้เสียงที่ไม่หลากหลายมากนัก




     ตี๋ซึ

ตี๋ซึ เป็นขลุ่ยจีนโบราณที่เรียกกันหลายชื่อในแต่ละภูมิภาคของจีน ปัจจุบันนิยมเล่นกันในดนตรีพื้นบ้าน วงอุปรากรจีน รวมถึงวงออร์เคสตร้าสมัยใหม่ ในอดีตเป็นเครื่องดนตรีสามัญที่ชาวบ้านเล่นทั่วไปเพราะหาและพกพาง่าย ส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ บางครั้งชาวตะวันตกจึงเรียกด้วย คำพื้นๆ ว่า ขลุ่ยไม้ไผ่จีน เทียบได้กับเครื่องลมไม้ของฝรั่ง

เอกลักษณ์ของตี๋ซึคือสามารถบอกแหล่งที่ผลิตของขลุ่ยหนึ่งลำได้ โดยสีม่วงมักมาจากตอนเหนือ ขณะที่หากผลิตในมณฑลซูโจวและหางโจวจะเป็นไม้ไผ่สีขาว ถ้าผลิตจากตอนใต้ลำจะเล็ก น้ำหนักเบา และมีสีอ่อนมาก แม้ไม้ไผ่จะเป็นที่นิยมในการประกอบตี๋ซึ แต่มืออาชีพบางรายก็ประกอบตี๋ซึจากหยกทำให้ดูราคาแพงขึ้นและสะท้อนเสียงได้ดีขึ้นอีกโข เวลาเล่นเพียงเป่าลมบนรูบนสุดแล้วใช้นิ้วมือกดรูเสียง 6 รูบนลำไว้ จะได้เสียงซี่ๆ คล้ายผึ้งบินเริงร่าอยู่ในลำไผ่

นักโบราณคดีขุดพบขลุ่ยทำจากกระดูกซึ่งแสดงให้เห็นว่าขลุ่ยของจีนอยู่ในประเทศนี้มานานกว่า 9 พันปีแล้ว ขลุ่ยจีนตี๋ซึมีลักษณะคล้ายกับขลุ่ยทั่วไปที่พบได้ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นเนย์ ขลุ่ย ลำอ้อยอียิปต์ที่พบหลักฐานบนภาพวาด




     โมริน คูร์

โมริน คูร์ เป็นเครื่องดนตรีที่เสมือนเอกลักษณ์ของชาติมองโกเลีย องค์การยูเนสโก้ขึ้นทะเบียนให้โมริน คูร์ เป็นมรดกของมนุษยชาติในสาขามรดกด้านวัจนะภาษาและมรดกไร้รูป

เครื่องสายเก่าแก่นี้ประกอบไปด้วยซาวด์ บ็อกซ์ที่ทำจากไม้ ส่วนหนังที่หุ้มด้านหน้าอาจทำจากหนังอูฐ แพะ หรือแกะ เชื่อมติดกับสายสองเส้นที่นิยมทำจากหางม้าหรือสายไนลอน พาดผ่านกลางสะพานสายเล็กๆ สองอันบนคอเครื่อง หัวเครื่องนิยมทำเลียนแบบหัวม้า สายของคันชักนิยมทำจากหางม้าเช่นกันแต่จะเคลือบด้วยยางไม้

วิธีจับต้องเอียงตัวเครื่องเล็กน้อยไปทางขวาบนทาบกับไหล่ ขณะที่ซาวด์บ็อกซ์วางไว้ระหว่างขา เสียงดั่งอาชาควบกลางทุ่งกว้าง หรือสายลมสดชื่นที่พัดเหนือทุ่งหญ้ากว้างใหญ่

โมริน คูร์ มีบรรพบุรุษเป็นชูร์ชินซึ่งมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ราชวงศ์ถังครั้งชนเผ่ามองโกลยังเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตำนานระบุว่าครั้งหนึ่งเด็กเลี้ยงแกะคนหนึ่งนามว่าซูโฮ ถูกเจ้านายคร่าชีวิตม้าขาวสุดรักไปอย่างไม่เป็นธรรม คืนนั้นวิญญาณของอาชาล่วงลับจึงเข้าฝันและสอนให้เขาสร้างเครื่องดนตรีที่ทำจากอวัยวะของม้าเพื่อทั้งสองจะได้อยู่ด้วยกันตลอดไป เกิดเป็นชูร์ชิน ขึ้นมานั่นเอง




     ซัวน่า

ซัวน่า เป็นเครื่องเป่าจีนประเภทลิ้นคู่ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องเป่าโอโบของฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาเอกลักษณ์ของเสียงอันดังและช่วงเสียงสูงแล้ว ยิ่งให้ความรู้สึกเหมือน "โอโบตะวันออก"

ในอดีตนิยมเล่นกันในวงดนตรีขนาดเล็กหรือตามงานเทศกาลกลางแจ้ง ปัจจุบันพบเห็นได้ตามวงออร์เคสตร้าจีนไปจนถึงวงร็อกสมัยใหม่

ส่วนประกอบ ลำเครื่องเป็นไม้ ทรงละม้ายโอโบ ต่างตรงที่มีช่องเสียงทำจากทองเหลือง ส่วนปลายบานออกคล้ายลำโพงสามารถถอดเข้าออกได้ ขนาดของซัวน่ามีการปรับเปลี่ยนเรื่อยมา โดยช่วงศตวรรษที่ 20 ซัวน่ามีบันไดเสียงเหมือนโอโบและสามารถเล่นเพลงบนบันไดเสียง โครมาติกสเกลได้ง่ายดาย ขณะที่ขนาดพอเหมาะมือ

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าซัวน่าพัฒนามาจากเอเชียกลาง ก่อนจะเข้ามามีอิทธิพลในจีนผ่านทางตอนใต้ พบหลักฐานว่ามีการเล่นซัวน่าระหว่างการประกอบพิธีกรรมบนเส้นทางสายไหม ที่พิเศษคือซัวน่าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล โดยทางตอนเหนือของประเทศอย่างชานตงหรือเหอหนาน ใช้ในงานเทศกาลและการสงคราม ส่วนทางใต้อย่าง มณฑลกว้างสีนิยมใช้ในงานศพหรืองานโศกเศร้า

มีเครื่องดนตรีคล้ายซัวน่าโด่งดังในประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ที่เกาหลีคนเรียกเครื่องคล้ายซัวน่าว่าแตเพียองโส ในเวียดนามเรียกว่าเก็น และในญี่ปุ่นเรียกว่าชารุมาระ ซึ่งพ่อค้าราเม็งข้างทางนิยมนำไปใช้เป่าเรียกลูกค้าเข้าร้าน





     หลิวซิน

หลิวซิน เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดดั้งเดิมของจีน บ้างก็ว่ามีรูปทรงคล้ายผลแพร์ บางคนก็ว่ามีหน้าตาคล้ายใบต้นหลิว แต่ที่แน่ๆ คือฝรั่งเขาบอกว่าหน้าตาหลิวซินเหมือนแมนโดลินของฝั่งตะวันตกแบบถอดด้ามมาเปี๊ยบ

หลิวซินยุคใหม่มีทั้งหมดสี่สาย เรียงตัวอยู่บนบริดจ์ซึ่งติดอยู่กับคอเครื่องดนตรี ส่วนลำเครื่องมีซาวด์บอร์ดที่มีรูเสียงอยู่สองรู ตัวเครื่องนิยมทำจากเนื้อไม้ต้นหลิว แต่ถ้าเป็นของไฮโซที่มืออาชีพใช้กันนิยมทำจากไม้จันทน์แดงหรือไม้ชิงชังซึ่งจะให้สีแดง ระเรื่อน่าหลงใหล ส่วนซาวด์บอร์ดนิยมทำจากไม้เพาโลว์เนีย

ชาวจีนเชื่อว่าหลิวซินมีวิวัฒนาการมาจากผีผาเพราะมีรูปร่างเหมือนผีผาย่อส่วน ผิดแต่ว่ามีช่วงเสียงสูงกว่ามาก ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานักดนตรีจีนนิยมนำหลิวซินไปเล่นประกอบในวงออร์เคสตร้าจีนหรือเล่นโซโล่เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่ดูเท่ เวลาดีดดูเหมือนชาวตะวันตกกำลังเล่นแมนโดลิน

หลิวซินเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวมังกรช่วงราชวงศ์ชิง แต่เวลานั้นหลิวซินมีเพียงสองสายและนิยมเล่นประกอบการแสดงอุปรากรจีนเท่านั้น เรื่อยมาจนถึงราวปีค.ศ.1970 ซึ่งเป็นยุคที่ดนตรีจีนผ่านการ "โมเดิร์นไนซ์" หรือการทำให้เป็นสมัยใหม่เรียบร้อย หลิวซินได้รับการพัฒนาให้มี 4 สายเพื่อตอบสนองความต้องการช่วงเสียงที่เพิ่มขึ้น และพัฒนาเครื่องให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้นักดนตรีถือได้ถนัดมือ




    กูดิ
กูดิ จัดเป็นเครื่องดนตรีจีนที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่นักโบราณคดีสามารถพิสูจน์ได้ หากแปลตามตัวอักษรจะมีความหมายว่าเครื่องดนตรีที่ทำจากกระดูก ในอดีตนิยมเล่นกูดิประกอบพิธีบูชายัญและในเทศกาลล่านกเป็นส่วนใหญ่

กูดิมีความยาวราว 20 ซ.ม. นิยมทำจากกระดูกส่วนปีกของนกกระเรียนหรือหงส์ เป็นขลุ่ยปลายเปิด มีรูบังคับเสียงจำนวน 8 รูอยู่ด้านบนและอีกหนึ่งรูที่ตำแหน่งนิ้วโป้งด้านหลัง เวลาเล่นเพียงใช้นิ้วกดรูบังคับเสียงพร้อมผิวลมลงในตัวขลุ่ยเหมือนการเล่นขลุ่ยทั่วไป

นักโบราณคดีขุดพบกูดิครั้งแรกในปีค.ศ.1986 ในถ้ำที่มณฑลเหอหนานตอนกลางของประเทศจีน ทำให้ทราบว่าน่าจะมีความเป็นมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช 6 พันปี ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่าชาวจีนในยุคโบราณรู้จักหลักการสั่นสะเทือนของเสียงเพราะรู้จักการสร้างเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ที่น่าสนใจคือขลุ่ยกูดิสามารถเล่นเสียงบนสเกลฮาร์โมนิกได้ทั้งหมด สะท้อนว่าคนจีนรู้จักการเล่นเสียงบนสเกลฮาร์โมนิกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ (ก่อนที่ฝั่งตะวันตกจะคิดค้นระบบสเกลขึ้นเสียอีก) อย่างไรก็ตาม กูดิไม่ใช่เครื่องดนตรีที่แพร่หลายมากนัก ถือเป็นเครื่องดนตรีเฉพาะกลุ่ม




    คายากึม
คายากึม เครื่องสายเกาหลีโบราณรูปร่างคล้ายพิณ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากกูเจิงของจีน โดยทั่วไปแล้วคายากึมมี 12 สาย (แต่เครื่องสมัยใหม่อาจพัฒนาได้มากถึง 21 สาย) ตัวเครื่องด้านหน้าและหลังนิยมทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ต้นสน แต่ซาวด์บอร์ดทำจากไม้พอโลเนียซึ่งเป็นไม้เนื้อเบาและทนไฟ ขนาดโดยทั่วไปยาว 160 ซ.ม. กว้าง 30 ซ.ม. เมื่อนักดนตรีดีดคายากึม เสียงที่ได้จากแรงสั่นสะเทือนจะลอยเข้าไปสะท้อนในโพรงไม้ก่อนดังออกมาสร้างความไพเราะแก่ผู้ฟัง

จากข้อมูลของซัมกุกซากิ หนังสือประวัติศาสตร์แดนกิมจิ คายากึมกำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 6 โดยกษัตริย์กาซิลทอดพระเนตรเห็นเครื่องดนตรีจีนแล้วเกิดพอพระทัยจึงนำมาสร้างเป็นคายากึม โดยโปรดให้นักดนตรีประพันธ์เพลงสำหรับเล่นในวัง รวมกับเครื่องดนตรีอื่น หรือเล่นแต่ทำนองเพียงอย่างเดียว

เพลงที่คายากึมนิยมในอดีตเป็นเพลงช้า ต่อมาเพลงที่มีจังหวะสนุกเริ่มเป็นที่นิยม นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีจึงเริ่มพัฒนา คายากึมแบบใหม่ที่เรียกว่าซันโจ คายากึม ใช้ผ้าไหมมาขึงเป็นสาย เล่นเพลงสไตล์เร็วและดุดัน นักดนตรีในยุคศตวรรษที่ 19 ยังนิยมแต่งทำนองเพิ่มเข้าไปในบทเพลงเหมือนการเล่นเพลงแจ๊ซอีกด้วย

ในปีค.ศ.2005 นักดนตรีพัฒนา คายากึมโดยใช้ไนลอนหุ้มด้วยเหล็กมาเป็นสาย ก่อนจะเพิ่มสายเบสขึ้นเพื่อเล่นเพลงเสียงดังและประกอบการเต้นรำ เมื่อผู้ฟังอยากฟังเพลงสมัยใหม่มากขึ้นคายากึมจึงถูกเพิ่มจำนวนสายเข้ามาเรื่อยๆ จนกลายเป็น 21 สายในที่สุด




    แดกึม
แดกึม เป็นเครื่องดนตรีเกาหลีโบราณลักษณะคล้ายขลุ่ย นิยมเล่นประกอบพิธีกรรมในหมู่ชนชั้นสูงหรือร่วมบรรเลงกับดนตรีพื้นบ้าน ขณะที่คนยุคปัจจุบันนิยมนำแดกึมมาเล่นในดนตรีคลาสลิค ดนตรีพ็อพและเพลงประกอบภาพยนตร์

โดยทั่วไปนิยมแบ่งแดกึมออกเป็นสองประเภท คือ ซันโจ แดกึม และจีอนแกก แดกึม ทั้งสองประเภททำจากไม้ไผ่ เจาะรูกลางลำหลายรูเพื่อให้นักดนตรีเป่าลม ความต่างอยู่ที่ซันโจ แดกึม จะมีระดับเสียงที่เหมาะกับบรรเลงคู่กับการร้องเพลงของนักร้อง ขณะที่จีอนแกก แดกึม นิยมเล่นประกอบพิธีกรรม

ตามนิทานพื้นบ้านเกาหลีดั้งเดิมเล่าว่า กำเนิดของแดกึมเริ่มจากการค้นพบเกาะใหม่ของปาร์ก ซุกจุง โหราจารย์ผู้พิทักษ์ทะเลแห่งแดนอาทิตย์อุทัย โดยโหราจารย์ดังได้ถวายคำแนะนำแก่พระเจ้า ซินมันผู้ปกครองอาณาจักรซิลลาในขณะนั้นว่าบุรพกษัตริย์ ซึ่งเคยสิ้นพระชนม์และนักรบ ผู้แก่กล้าสองนายฟื้นร่างกลับมาเป็นมังกรวารีเพื่อปกป้องเกาะ หากกษัตริย์องค์ใดมีโอกาสเข้าเฝ้าจะได้รับของกำนัลอันมิอาจประเมินค่าได้ กษัตริย์ซินมันจึงบุกป่าฝ่าดงไปจนถึงเกาะแห่งนั้น ที่สุดก็ได้เข้าเฝ้ามังกรวารีและได้รู้ความลับว่าหากโค่นต้นไผ่สองต้นที่อยู่บนเกาะได้อาณาจักรก็จะประสบแต่ความร่มเย็น ในเวลาต่อมาขลุ่ยที่ทำจากต้นไผ่ที่ถูกโค่นมีชื่อว่า "มันพาซิกจุก"




    หยางฉิน
หยางฉิน เป็นเครื่องดนตรีจีนที่ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ปัจจุบันคืออิหร่าน) มีความหมายตรงตัวว่าขิมของชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีทั้งหมด 144 สาย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 5 สาย อยู่บนบริดจ์หรือสะพานสายทั้ง 5 สะพาน สามารถแบ่งกลุ่มสะพานสายออกเป็นเสียง เบส เทเนอร์ และ โครมาติก

ด้านไม้ทั้ง 2 ชิ้นที่ใช้ตีสายนิยมทำจากไม้ไผ่ ที่พิเศษคือปลายไม้สองข้างจะหุ้มด้วยยาง ทำให้นักดนตรีเล่นเสียงที่นิ่มนวลด้วยการเคาะสายด้วยปลายหุ้มยาง ขณะที่หากเคาะสายด้วยสันจะได้เสียงที่ชัดเจนและดังกว่า

ในอดีตสายของเครื่องหยางฉินนิยมทำ จากบรอนซ์ (แต่หากเป็นพื้นที่เซี่ยงไฮ้ เจียงหนาน หรือกวางตุ้ง อาจทำจากเส้นไหมหรือใยไผ่ทำให้ได้เสียงที่นิ่มนวลมากกว่า) ที่น่ารู้คือเครื่องดนตรีขิมของไทยและกัมพูชาต่างเป็นลูกหลานของหยางฉิน เนื่องจากไทยได้รับอิทธิพลและวิธีคิดประดิษฐ์ขิมมาจากนักดนตรี จีนทางตอนใต้ของประเทศ กระทั่งปีค.ศ.1950 เริ่มมีการใช้โลหะมาทำสายเพื่อให้ได้เสียงที่ใสและดังขึ้น

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานที่มาของหยางฉินไปต่างๆ นานา ที่น่าเชื่อถือมี 3 ที่ มาคือ หนึ่งผ่านเส้นทางสายไหม สองรับอิทธิพลตะวันตกผ่านท่าเรือกวางโจว และ สามชาวจีนด้วยกันเองพัฒนาขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรหยางคำแรกของเครื่องดนตรีแปลว่า "ต่างชาติ" ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของชาวต่างชาติ แม้ภายหลัง "หยาง" ตัวนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็น "หยาง" ที่มีความหมายว่าการสรรเสริญ แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนเพื่อเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากสมัยนั้นจีนพยายามต่อสู้กับการแทรกแซงทางวัฒนธรรมจากต่างชาติ




    ก้วน
ก้วน เป็นเครื่องเป่าลมไม้ประเภทลิ้นคู่ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องดนตรีที่จีนดัดแปลงมาจากชนเผ่าทางตอนกลางของประเทศ ชุมชนทางเหนือจะเรียกว่า กวนซี่ ส่วนชาวกวางตุ้งเรียก โอกวน หากเป็นชาวตะวันตกจะคิดว่ามันเป็นคลาริเน็ต เพราะมีเสียงคล้ายคลึงกัน

ก้วนทำจากไม้ไผ่ ปลายข้างหนึ่งตัน เจาะรูกลางลำเครื่องหลายรูเหมือนขลุ่ยทั่วไป ผู้เล่นเพียงเป่าลมจากส่วนหัวและกดนิ้วตามรูรับเสียงเพื่อเปลี่ยนโน้ตก็จะเล่นเพลงได้ตามใจชอบ

คำว่าก้วนเริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยราช วงศ์ซ่ง หมายถึงขลุ่ยปลายปิดที่ทำจากไม้ไผ่ โดยก่อนนั้นมีขลุ่ย ฮูเจี๊ย ซึ่งเป็นเครื่องเป่ามีลิ้น รับมาจากทางตอนเหนือของประเทศเพื่อใช้เป็นสัญญาณรบยามเปิดศึก ก้วนเริ่มมีบทบาทจริงๆ จังๆ ในหน้าประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถัง เพราะอานิสงส์จากการค้าขายผ่านเส้นทางสายไหมทำให้ศิลปะวิทยาการจีนเฟื่องฟูอย่างมาก และเมื่อราชวงศ์ถังเจริญถึงขีดสุด ประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีก็นำเข้าก้วนไปปรับใช้ในวัฒนธรรมของตนเองต่อไป  ทุกวันนี้ก้วนยังเป็นที่นิยมในวงออร์ เคสตร้าจีน เช่น วงออร์เคสตร้าของปักกิ่งโอเปร่าก็ยังนำมาใช้อยู่ ขณะที่ตัวเครื่องดนตรีมีการปรับเปลี่ยนให้คล้ายคลึงกับคลาริเน็ตของโลกตะวันออกมากขึ้น โดยเพิ่มรูกดเปลี่ยนเสียง และล้อมรอบรูด้วยเหล็กเพื่อให้การกดนิ้วมั่นคงขึ้น นิยมใช้เป็นเครื่องเสียงเทเนอร์หรือบาริโทน



    บาหวู
บาหวู เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของจีน มีรูปร่างคล้ายฟลุตและไม่มีลิ้น (หรือมีลิ้นโลหะอันเดียว) ท่วงท่าการเล่นสง่างามด้วยการตั้งขลุ่ยขนานกับพื้นเกือบ 180 องศาแล้วเป่าจากด้านข้าง ตัวขลุ่ยบาหวูนิยมทำจากไม้ไผ่ ปลายข้างหนึ่งปิดด้วยตราไผ่ธรรมชาติ และเจาะรูทรงสี่เหลี่ยมเพื่อใส่ดีบุกหรือบรอนซ์เข้าไป ยามที่เป่าด้วยวิธีหายใจเข้าหรือออกแผ่นโลหะจะเปิดออกทำนองเดียวกับบานประตูพับ ตัวขลุ่ยมีรูสำหรับให้นิ้วกด 7-8 รูเหมือนขลุ่ยทั่วไป

ชาวจีนในอดีตนิยมนำขลุ่ยบาหวูเล่นประสานไปกับเครื่องดนตรีอื่นๆ เนื่องจากมีสำเนียงคล้ายกับคลาริเน็ตของฝั่งตะวันตก นักประพันธ์จะกำหนดให้บาหวูเล่นส่วนโน้ตประดับ (โน้ตที่เสริมความสมบูรณ์ให้แก่บทเพลง) เพื่อช่วยให้เสียงของวงดนตรีออกมากลมกลืนมากที่สุด แต่ปัจจุบันกลับนิยมนำมาโซโล่มากขึ้นเมื่อวัฒนธรรมของดนตรีตะวันตกเข้ามา  

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าบาหวู มีต้นกำเนิดจากมณฑลยูนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วประเทศ เป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่ได้รับการบรรจุเข้าในวงออร์เคสตร้าจีนสมัยใหม่ และยังมีโอกาสไปเฉิดฉายในวงการเพลงประกอบภาพยนตร์และเพลงป๊อปสมัยใหม่ ถึงขนาดที่ชาวอังกฤษสนใจนำไปประกอบเพลงป๊อปของตัวเองเลยทีเดียว




    เกราะเคาะไม้
เกราะเคาะไม้ หรือที่ชาวจีนรู้จักกันในนามปลาเคาะไม้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะที่พระสงฆ์และลามะนิยมใช้ระหว่างพิธีกรรมและการท่องมนต์ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ถือเป็นวัฒนธรรมร่วมในหลายประเทศเอเชียที่นับถือศาสนาพุทธ เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น

พระสงฆ์ชาวจีนของศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าจะใช้เกราะเคาะไม้สำหรับเจริญภาวนาหรือทำพิธีกรรม ตัวเครื่องนิยมทำจากไม้มาแกะสลักเป็นทรงกลมหรือรูปปลาอ้าปาก (ภายในกลวง) ยาวประมาณ 5.9 นิ้ว โดยพระสงฆ์จะใช้ไม้หุ้มนวมเคาะเป็นจังหวะสม่ำเสมอ สร้างความถี่เสียงผันแปรตามขนาดประเภทของไม้และความกลวงภายใน

ความเป็นมาที่ต้องแกะสลักเครื่องดนตรีเป็นรูปปลาเกิดจากความเชื่อตามชาดกพุทธศาสนาที่กล่าวถึงมัจฉาตัวหนึ่งซึ่งไม่เคยหลับใหลและไม่เคยเหนื่อยล้า (เป็นสัญลักษณ์ความตื่นรู้) มันคอยพร่ำบ่นเสียงสวรรค์เพื่อให้ พระสงฆ์สามารถเจริญสมาธิและท่องพระไตรปิฎกตลอดรอดฝั่ง

ในอีกตำนานหนึ่งอ้างการเดินทางของพระถังซําจั๋งผู้เดินทางสู่ชมพูทวีปและได้พบกับมัจฉายักษ์ขวางทาง เขาสัญญาจะปลดปล่อยมัจฉาจากบาปกรรมที่เคยก่อแต่ทำ ไม่สำเร็จ มัจฉาจึงจมพระไตรปิฎกที่พระถังซำจั๋งดั้นด้นไปอัญเชิญมา เมื่อพระถัง ซำจั๋งเดินทางกลับประเทศจีนได้สร้างปลาเคาะไม้และตีหัวมันทุกเช้าเย็นเป็นการสั่งสอน




    เอกตาระ
เอกตาระ เอกตาระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แปลตรงตัวได้ว่า "สายเดี่ยว" จัดเป็นดนตรีพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันมากในบังกลาเทศ อินเดีย อียิปต์ และปากีสถาน

ต้นกำเนิดมาจากนักดนตรีพเนจรที่เดินทางเล่นเพลงแลกเงินตราไปตามพื้นที่ดังกล่าว

จุดเด่นคือมีสายเดียวและนิยม เล่นด้วยนิ้วเดียว ตัวกะโหลกทำจากฟักทองแห้งหรือกะลามะพร้าวหุ้มด้วยหนังสัตว์

ส่วนคอนิยมทำจากไม้ไผ่หรือต้นอ้อยแบ่งออกเป็นสองซีก เมื่อต้องการปรับระดับเสียงนักดนตรีจะบีบคอเข้าหากันเพื่อให้สายหย่อนจะได้เสียงที่ต่ำลง

หากบีบเป็นจังหวะก็จะได้เสียงใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตามไม่มีอัตราส่วนบอกไว้ว่าบีบแค่ไหนจะได้เสียงอะไร ดังนั้นนักดนตรีจึงต้องฟังเสียงที่เหมาะสมเอาเอง

เครื่องดนตรีเอกตาระมีขนาดแตกต่างกันออกไป มีทั้งเครื่องเสียงโซปราโน่ เทเนอร์ และเบส สำหรับเบสเอกตาระนิยมเรียกว่าโดตาระเพราะมีสองสาย

ถือเป็นเครื่องสายที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกของอินเดียเท่าที่นักประวัติ ศาสตร์ค้นพบ ชาวอินเดียนิยมเล่นเอกตาระในการสวดภาวนาของศาสนาฮินดู

บางครั้งสาวกจะใช้ร่วมกับการเจริญภาวนาหรือการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันมีผู้คนเล่นเอกตาระอย่างแพร่หลายในดนตรีท้องถิ่นและดนตรีสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโลกรู้จักจากอินเดีย




    ซาโรด
ซาโรด เครื่องดนตรีอินเดียมีลักษณะคล้ายลูท นิยมใช้เล่นในดนตรีคลาสสิคของอินเดียทางตอนเหนือของประเทศ รวมถึงในประเทศบังกลาเทศและปากีสถาน มีเสียงนุ่มลึก หนักแน่น แต่กลับเร้นลับน่าค้นหา (ตรงข้ามกับเสียงของซิตราที่หวานหู ผสานด้วยหลากเสียงปะปนกันไปในการเล่นหนึ่งสาย) ยิ่งได้ความสั่นสะเทิ้นจากสายชนิดเรโซแนนซ์ที่ทำให้เสียงวูบวาบของมันมีคุณภาพ โดยทั่วไปมี 17-25 สาย 5 สายสำหรับเสียงเมโลดี้นอกนั้นเป็นสายต่างชนิดกัน 3 ชนิดเพื่อสร้างเสียงคลอที่แตกต่างกัน ไม่มีเฟรต และสามารถดีดรูดลงมาเหมือนกีตาร์ได้

ตัวเครื่องทำจากไม้สัก ซาวด์บอร์ดทำจากหนังแพะ มีปิ๊กเพื่อใช้ดีดเช่นเดียวกับกีตาร์ ปัจจุบันนักดนตรีนิยมใช้สายที่ทำจากเหล็กหรือบรอนซ์นำเข้าจากอเมริกาหรือเยอรมนี

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าซาโรดมีถิ่นกำเนิดมาจากอัฟกัน รูฮาฟ์ (ปัจจุบันอยู่ในเอเชียกลางและอัฟกานิสถาน)

ซาโรดเป็นคำเปอร์เซียแปลตรงตัวได้ว่าเสียงอันงดงาม มีหลายกระแสพยายามอธิบายแหล่งที่มาของซาโรดแต่ยังคงไม่ได้ข้อสรุป

ทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจมาจากอัมจาด อาลี คาน นักดนตรีซาโรดมือฉมังที่อธิบายว่าคนอินเดียรับซาโรดมาจากนักดนตรีและพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาทำการค้าช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 18 จากนั้นจึงกลายเป็นดนตรีชั้นสูงและสืบทอดมาทุกวันนี้




    ซีตาร์
ซีตาร์ ซีตาร์เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดของอินเดีย นิยมเล่นแพร่หลายทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศ

คอเครื่องยาวระหงทำให้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามีต้นตระกูลเดียวกับเครื่องดนตรีแถบเอเชียกลาง บ้างก็ว่าพัฒนามาจากวีน่าซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายรูปร่างใกล้เคียงกัน

ซีตาร์มี 18-20 สาย เล่นโดยการดีดสายด้วยปิก โดย 6-7 สายใช้เล่นแบบสตริง เช่น การกดสายแล้วดีด การเลื่อนสายแล้วดีด สายที่เหลือคือสายแบบซิมพาเธติกสตริงซึ่งมีสองเสียงในสายเดียว เฟรตสามารถเลื่อนเพื่อจูนเสียงได้แถมมีรูเล็กๆ แทรกตามเฟรตเพื่อให้การจูนเสียงมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริดจ์ชิ้นใหญ่สองชิ้นวางขนานอยู่บนคอเครื่อง ชิ้นหนึ่งสำหรับเล่นสายสตริงและอีกบริดจ์หนึ่งสำหรับเล่นสายซิมพาเธติกสตริง

เครื่องดีดเสียงเริงรื่นนี้โด่งดังในศตวรรษที่ 16-17 ก่อนจะพัฒนากลายเป็นซีตาร์อย่างที่ใช้ทุกวันนี้ ซีตาร์มีความหมายตรงตัวว่า "สามสาย" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าซีตาร์ได้รับอิทธิพลมาจากชาวเปอร์เซียที่เข้ามาเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านการค้าขายและสงคราม

โลกตะวันตกรู้จักซีตาร์ช่วงปลายคริสศ์ศักราชที่ 1950-1960 ผ่านผลงานของยอดศิลปิน ราวี ชานการ์ ความโด่งดังไม่ใช่ล้อเล่น ถึงขนาดวงดนตรีดังแห่งยุค เดอะ บีตเทิลส์ นำมันไปประกอบเพลงนอร์เวเจียน วู้ด, วิธิน ยู วิธเอาต์ ยู และ ทูมอร์โรว์ เนเวอร์ โนวส์ ซีตาร์ดังเป็นพลุแตกในโลกตะวันตก ส่งผลให้มีการเปิดสอนอย่างแพร่หลาย ขณะที่ต่อมาวง โรลลิ่ง สโตนส์ ยังนำไปประกอบเพลงของพวกเขาอีกด้วย




    ซาราสวาติ วีน่า
ซาราสวาติ วีน่า เป็นเครื่องสายของอินเดีย ตั้งชื่อตามซาราสวาติ เทวีแห่งความรอบรู้ ดนตรี ศิลปะ และธรรมชาติของศาสนาฮินดูซึ่งมักเป็นที่รู้จักในปางทรงเครื่องดนตรีชนิดนี้

เครื่องสายชนิดนี้ยาว 4 ฟุต เล่นโดยใช้นิ้วดีด บนคอเครื่องมีเฟรตทำจากงาช้างกว่า 24 ชิ้นเรียงรายกัน สายทั้ง 7 เส้นปัจจุบันนิยมทำจากเหล็ก บนส่วนหัวนิยมตกแต่งเป็นรูปมังกร ปรับความตึงสายได้ ด้วยเครื่องขนาดใหญ่ทำให้มีพื้นที่สั่นสะเทือนเกิดเสียงดัง นิยมทำจากไม้ต้นขนุน

ชาวอินเดียนเรียกนักดนตรีซาราสวาติ วีน่า ว่า "รักฮูนาธา วีน่า" นิยมเล่นเครื่องดนตรีเครื่องนี้บนระบบคาร์นาติก ซึ่งเป็นระบบดนตรีของอินเดียนที่เล่นกันทางตอนใต้ของประเทศ

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ซาราสวาติ วีน่า มีกำเนิดมาก่อนคริสตกาล 1,500 ปี เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของเทวีซาราสวาติ พระศิวะเองก็โปรดปรานเครื่องดนตรีนี้ถึงขนาดมีปางวินาดฮารา หรือ ปางทรงวีนา ขณะที่มีนักวิชาการหลายคนเชื่อว่าปางเทวีซาราสวาติถือเครื่องดนตรีนี้น่าจะเพิ่งเกิดเมื่อไม่นาน เนื่องจากพระนางทรงมีคุณสมบัติแห่งปัญญาและศิลปะที่เหมาะจะถือเครื่องดนตรีชนิดนี้

นอกจาก ซาราสวาติ วีน่า จะเป็นเครื่องดนตรีที่ปราชญ์และนักคิดคนสำคัญของอินเดียมากมายโปรดปรานแล้ว ยังถือเป็นร่องรอยวัฒนธรรมที่ทำให้รู้ว่าดนตรีอินเดียมีระบบดนตรีที่แตกต่างจากดนตรีอื่นๆ




    แทมปูร่า หรือ ทันปูร่า
แทมปูร่า หรือ ทันปูร่า, แทมบุริ เป็นเครื่องสายอินเดีย มีลักษณะคล้ายลูทของฝั่งตะวันตก ในวัฒนธรรม อินเดีย แทมปูร่า ถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปลักษณ์หลากหลายตามลักษณะการใช้งานและภูมิภาค

ลักษณะคล้ายซิตาร์แต่ไม่มีเฟรต นิยมเล่นคู่กับนักร้องหรือประกอบเครื่องดนตรีโซโล่ชิ้นอื่นๆ ทั่วไปมี 4-5 สาย มีที่จูนสายอยู่ส่วนบน ส่วนซาวน์บอร์ดตัน มีการประดับประดาสวยงาม เล่นโดยการดีดเรียงสายเพื่อให้ได้เสียงบนสเกลฮาร์โมนิก ไม่นิยมเล่นแบบคอร์ด ถือเป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยให้วงดนตรีอินเดียนสามารถรวมวงกันได้เนื่องจากเล่นเป็นเสียงพื้นหลังให้เครื่องดนตรีโซโล่เครื่องอื่น

ทั้งนี้เครื่องขนาดใหญ่จะเล่นโดยผู้ชาย เครื่องขนาดเล็กเล่นโดยผู้หญิง เครื่องขนาดเล็กมักเล่นประกอบเสียงโซโล่ขณะที่เครื่องใหญ่เล่นแบบไหนก็ได้ อย่างไรก็ตามเสียงดนตรีในความเข้าใจของอินเดียนั้นไม่มีพิตช์ (pitch) หรือระดับเสียงที่แน่นอน ความไพเราะของเสียงที่ชาวอินเดียเห็นว่าดีงามไม่จำเป็นต้องถูกต้องแม่นยำตามหลักดนตรีตะวันตก อาจเรียกได้ว่าความพร่าเลือนของเสียงทำให้เพลงอินเดียไพเราะต่างหาก



    โอนาวิลลู
โอนาวิลลู เป็นเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายธนูสั้น บางคนอาจเรียกแบบย่นย่อว่า โอนัม หรือ วิลลู คำว่า "โอนา" มาจากชื่อเทศกาลโอนัม และ "วิลลู" แปลว่าธนู เมื่อรวมกันจะแปลว่าธนูแห่งเทศกาลโอนัม นอกจากนี้โอนาวิลลูยังหมายถึงของตกแต่งที่ใช้ระหว่างพิธีสักการะพระวิษณุ โดยมีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ ทำจากไม้ทาสี

นิยมเล่นคู่กับกัมมัตติกาลี ประกอบการเต้นรำพื้นบ้านท่วงท่าสง่างามทว่าสนุก สนาน ตัวเครื่องทำจากลำต้นตาลหรือไม้ไผ่ความหนาครึ่งนิ้วนำมาเหลาให้เป็นทรงคันศร ส่วนไม้ไผ่ที่เหลือนำมาทำคันชักขนาดเท่าดินสอ

เล่นโดยการสีไม้ไผ่ไปตามสายและกดสายที่คอเพื่อเปลี่ยนเสียงให้หลากหลาย ขนาดมีแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ 4-6 นิ้ว

ในการผลิตโอนาวิลลูเพื่อสักการะองค์ศิวะจะมีกรรมวิธีที่แตกต่างออกไป และยังสงวนเป็นความลับในตระกูลช่างที่ได้รับการสืบทอดกันมา

ตามตำนานระบุว่า ครั้งหนึ่งมหาราชบาลีถูกวามานะ (ร่างอวตารลำดับที่ 5 ขององค์พระวิษณุ) ขับไล่ลงยังผืนโลก มหาราชผู้ถูกทอดทิ้งได้สวดอ้อนวอนต่อองค์วิษณุขอให้เมตตาอนุญาตให้เขาเดินทางกลับไปยังแผ่นดินแม่และเข้าเฝ้าพระองค์หนึ่งครั้งต่อปี พระผู้ปราบให้คำมั่นตามนั้นแต่มีเงื่อนไขว่ามหาราชจะสามารถพบกับพระองค์ได้ผ่านรูปอวตารที่เขียนบนผนังเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้พระราชาจึงมีโองการให้เขียนภาพบนแผ่นไม้และกลายเป็นต้นกำเนิดของโอนาวิลลูในเวลาต่อมา



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2558 12:28:54 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2557 14:31:09 »

.

    ถ่วงน้ำ

ถ่วงน้ำ หนังสือ เล่าเรื่องเครื่องดนตรีชิ้นเอก พิมพ์เผยแพร่ในนิทรรศการ เนื่องในงาน ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 37 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ดร.อนุขา ทีรคานนท์ บรรณาธิการ รวบรวมทั้งภาพถ่าย และเรียบเรียงเรื่องราวเครื่องดนตรีเก่าๆ เอาไว้มากมาย

นอกจากเครื่องดนตรีไทยที่รู้จัก ยังมีเครื่องดนตรีหลายชิ้น มีชื่อแปลกหู บอกที่มาจากต่างชาติต่างภาษา เช่น ฆ้องมอญ จาม (จะเข้มอญ) โกร (ซอสามสายมอญ) อะโลด (ขลุ่ยมอญ) รือบับ (เครื่องสายภาคใต้ คล้ายซอสามสายภาคกลาง) และโกวเจ็ง

ชื่อโกวเจ็ง เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว ในภาษาจีนกลาง คือกู่เจิง คำ เจ็ง หรือ เจิง นั้นแปลว่า เก่าแก่ ส่วนคำว่า เจิง เป็นชื่อของตัวเครื่องดนตรี รวมแล้ว โกวเจ็ง ก็หมายถึง เครื่องดนตรีโบราณ

โกวเจ็ง ชิ้นนี้ ทำจากมณฑลซัวเถา ของจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นโกวเจ็งโบราณขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ทั้งหมด มีลวดเหล็กเป็นสาย 16 เส้น ใช้ลูกบิดไม้ในการเทียบเสียง อาจารย์ชนก สาคริก ซื้อมาจากร้านกว้างเจียบเซี้ย ถนนแปลงนาม เมื่อปี 2520 ในราคา 1,600 บาท

เมื่อได้มาแล้วอาจารย์ชนก ก็พยายามศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่การขึ้นสาย การเทียบเสียง เพลงแรกที่อาจารย์ชนกลองบรรเลง หลังเรียนรู้อยู่หนึ่งเดือน คือเพลงลาวเจริญศรี 2 ชั้น

ทดลองดีดโกวเจ็งได้ราว 1 ปี พอสร้างรูปแบบการคิดขึ้นเป็นแบบฉบับใหม่ ซึ่งไม่เหมือนของจีน โดยกำหนดวิธีคิดและรูปแบบตัวโน้ตขึ้นใหม่ทั้งหมด เพลงแรกที่ทดลอง คือ เพลง ญวนรำพึง แต่งเป็นทำนอง 2 ชั้น และชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา

บทร้องอาศัยเค้าโครงจากประวัติศาสตร์ ตอนองเชียงสือ มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เพลงนี้ บันทึกเสียงไว้ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ บรรเลงเป็นวงเครื่องสายผสมขิม

เครื่องดนตรีอีกชิ้น  ที่บอกชื่อแล้ว  แทบไม่มีใครรู้จัก คือ ถ่วงน้ำ

เครื่องดนตรีที่ไม่เพียงแปลกแค่ชื่อ รูปร่างยังแปลกตาเครื่องนี้ น่าจะมีอยู่เครื่องเดียว ปัจจุบันที่บ้านพิณพาทย์ของตระกูลพาทยโกศล หลังวัดกัลยาณมิตร ลักษณะคล้ายระนาดเหล็ก แต่ลูกระนาดทุกลูกรองรับด้วยกล่องเสียง ที่มีลักษณะคล้ายกระติกน้ำสะพาย มีขนาดลดหลั่นกันตามขนาดของลูกระนาด ภายในกล่องเสียงใช้น้ำเป็นตัวปรับเพิ่มและลดเสียง อันเป็นที่มาของชื่อ “ถ่วงน้ำ

ยังไม่มีผู้รู้ประวัติที่แน่ชัด ถ่วงน้ำมีมาแต่เมื่อใด และใช้เข้าร่วมบรรเลงประสมวงอย่างไร แต่เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ เครื่องดนตรีชิ้นนี้ มีความคล้ายคลึงกับ กันแดร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องดนตรีวง กัมเมลัน ของชวา สันนิษฐานได้ว่า คงเป็นเครื่องดนตรีที่ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ได้แรงบันดาลใจ หรือรับอิทธิพลมาจากเครื่องดนตรีชวา

เนื่องในโอกาสที่ครูเทวาประสิทธิ์ ได้เดินทางไปเฝ้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่เมืองบันดุง เกาะชวา หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475  ในการเข้าเฝ้าพร้อมพวกพิณพาทย์มหาดเล็ก ครูเทวาประสิทธิ์ นอกจากได้ถวายงานดนตรีอย่างใกล้ชิดแล้ว คงมีโอกาสได้เรียนรู้ และสัมผัสเครื่องดนตรีของชวาอยู่บ้าง

เครื่องดนตรีที่ชื่อ ถ่วงน้ำนี้ แม้ไม่มีบทบาทในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน แต่ก็เป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอก บอกเล่าเรื่องราวความพยายามของครูดนตรีไทยในอดีต ที่จะเสริมแต่ง และปรับปรุงวงดนตรีไทย ให้งดงามวิเศษขึ้นอยู่ตลอดเวลา.



http://2.bp.blogspot.com/-EW5acSy1bzg/UF8f3alabII/AAAAAAAAASo/3TTf5_o4vaY/s1600/%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A.jpg
รอบโลก เรื่อง "เครื่องดนตรี"

    รือบับ...ซอสามสายจากปัตตานี

รือบับหรือรือบะ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย จากภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะคล้ายซอสามสายภาคกลาง มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบรรเลงเดี่ยว และคลอร้องประกอบการแสดงมะยง หรือมะโย่ง การแสดงของชาวไทยมุสลิม ในแถบจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส

การแสดงมะโย่ง ผสมผสานพิธีกรรมความเชื่อ และนาฏศิลป์เข้าด้วยกัน

นอกจากรือบับแล้ว ในการแสดงมะโย่งยังประกอบไปด้วยกลองมลายู 1 คู่ ฆ้อง 1 คู่ ซือแระหรือไม่แตระ 2 คู่ กอเกาะ หรือกรับ 2 คู่

รือบับมีส่วนประกอบออกเป็น 4 ส่วน คือส่วนยอด ส่วนลำตัว ส่วนกะโหลก และคันชัก ทั้ง 4 ส่วนทำจากไม้ขนุน ส่วนกะโหลกใช้วิธีขุดไม้ให้เป็นกล่องเสียง แล้วขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือหนังแพะ มี 3 สาย ซึ่งทำจากลวดทองแดง ที่หน้ารือบับมีวัสดุที่ทำให้เกิดเสียงนุ่มดังกังวาน เรียกว่าถ่วงหน้า

คันชักทำด้วยไม้ขนุน และหางม้า หรือต้นไม้บางชนิด

รือบับตัว (ในภาพ) นี้ เป็นของเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง หัวหน้าคณะมะโย่งสรีปัตตานี  เจ๊ะเต๊ะ ดือมอง รับการถ่ายทอดการแสดงมะโย่งมาจากบิดา ตั้งแต่อายุ 18 ปี ปัจจุบันเจ๊ะเต๊ะอายุ 80 ปี (ข้อมูลปี 2552) นอกจากรับแสดงมะโย่ง เพื่อความบันเทิง เพื่อการศึกษา เจ๊ะเต๊ะยังแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ที่เรียกว่า มะตือรี

พิธีกรรมมะตือรี มีขึ้นเพื่อบำบัดผู้ที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย โดยไม่รู้ต้น สายปลายเหตุ โดยเฉพาะคนที่พ้อบนไว้ว่า จะเล่นมะโย่ง เพื่อตัดอาการเจ็บ นอกจากเจ๊ะเต๊ะจะเป็นนักแสดง และนักดนตรีที่มีความสามารถ เจ๊ะเต๊ะยังมีฝีมือสร้างรือบับตัวนี้ด้วยตนเอง

รือบับตัวนี้ จึงนับเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกที่มีความสำคัญ อันแสดงถึงอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดปัตตานี .

ที่มา นสพ.ไทยรัฐ



    เชนไน
เชนไน เป็นเครื่องเป่าลมไม้ ลักษณะคล้ายโอโบที่มีลิ้นคู่ นิยมเล่นกันมากในอินเดีย ปากีสถาน บังกลา เทศและอิหร่าน

ตัวเครื่องดนตรีทำจากไม้ ส่วนปลายบานออกคล้ายลำโพง และทำจากเหล็ก มีเรนจ์เสียง 2 ออเตจคือจาก A หลัง middle C ไปยัง A เหนืออีกออเตจ โดยทั่วไปมีรูบังคับเสียง 6-9 รู แต่นักดนตรีที่ชำนาญสามารถบังคับลมหายใจเพื่อเปลี่ยนเสียงได้เช่นกัน

เชนห์ไนจัดเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ เพราะเชื่อว่าเสียงของมันจะนำความโชคดีและชะล้างสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต ดังนั้น ชาวอินเดียนจึงนิยมเล่นในพิธีแต่งงาน พิธีหมั้น และภายในโบสถ์วิหาร อย่างไรก็ตามนักดนตรีตามงานคอนเสิร์ตทั่วไปก็นิยมเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้เช่นกัน

นักประวัติศาสตร์ดนตรีเชื่อว่าเชนห์ไนได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องดนตรีของชาวเปอร์เซีย มีตำนานมากมายเกี่ยวกับเชนห์ไน เช่น ครั้งหนึ่งกษัตริย์เคยประกาศห้ามเล่นไชนห์ไนในเขตพระราชฐานเนื่องจากเสียงของมันกรีดแหลมแสบหู ต่อมามีช่างตัดผมรายหนึ่งที่เติบโตมาจากครอบครัวนักดนตรีปรับปรุงเครื่องดนตรีให้มีเสียงอ่อนหวานมากขึ้น พระราชาพอใจมากถึงขนาดตั้งชื่อเครื่องดนตรีใหม่เป็น "เชนห์ไน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ซึ่งคำว่า "ไน" แปลว่าช่างตัดผม




    ดามารุ
ดามารุ หรือเรียกว่า ดัมรุ ก็ได้ เป็นกลองอินเดียนสองหัวขนาดเล็กที่นิยมเล่นกันอย่างล้นหลามในหมู่ชาวฮินดูและชาวพุทธทิเบต โดยชาวอินเดียนเชื่อว่าองค์ศิวะเป็นผู้สร้างกลองนี้ขึ้นเพื่อสร้างและปรับสมดุลให้แก่โลก

กลองนี้ทำจากไม้ หน้ากลองหุ้มด้วยหนังทั้งสองข้าง ในสมัยโบราณมีประวัติการสร้างกลองจากกะโหลกมนุษย์ เวลาเล่นใช้ลูกแก้ว ปมหนัง หรือแม้แต่กลุ่มด้าย เคาะกลองทั้งสองด้านจะได้เสียงทุ้มต่ำเป็นทำนองสนุกสนาน ดามารุส่วนใหญ่มีความ ยาว 6 นิ้ว น้ำหนักตั้งแต่ 250-330 กรัม

ดามารุ ถือเป็นเครื่องดนตรีที่ป๊อปปูลาร์ในชมพูทวีปอย่างมาก เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทรงพลัง ทุกครั้งที่เล่นชาว อินเดียนจะเชื่อว่ากระแสเสียงก่อให้เกิดพลังแก่จิตวิญญาณ การเกิดขึ้นของอักษรสันสกฤตเองบางครั้งก็ถูกอธิบายว่ามาจากการเลียนเสียงของกลองดามารุ

ในทิเบต กลองดามารุเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องดนตรีสำหรับพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เริ่มเข้ามาทรงอิทธิพลในช่วงศตวรรษที่ 8-12 โดยชาวทิเบตยังคงเลียนแบบการเล่นกลองดามารุในพิธีกรรมโบราณเฉกเช่นชาวอินเดียน




    โดห์ลัค
โดห์ลัค เป็นกลองพื้นบ้านที่ชาวบ้านทางเอเชียใต้นิยมเล่น ถือเล่นได้และมีสองหน้า ไม่มีโทนและระดับเสียงที่แน่นอนเพราะขึ้น อยู่กับขนาดกลอง ส่วนใหญ่มักตีเป็นเสียงคู่ 4 และคู่ 5

กลองท้องถิ่นชิ้นนี้มีความยาวมากกว่าความกว้าง หน้ากลองนิยมขึงด้วยหนังชั้นหนาเชื่อมกับวงแหวนเหล็กที่มีเชือกร้อยสลับฟันปลาไปทั่วกลองหรือบางครั้งอาจขึงด้วยไม้ไผ่ หน้ากลองด้านซ้ายให้เสียงเบสทุ้มต่ำ ขณะที่หน้ากลองด้านขวาให้เสียงสูงสดใส เวลาเล่นใช้ไม้เนื้อแข็งตีลงบนหน้ากลองจะได้เสียงทรงพลัง แต่ถ้าใช้ไม้กระพี้ตีจะได้เสียงเบาและอ่อนโยน

ในอดีตชาวบ้านนิยมเล่นโดห์ลัคในการเต้นรำพื้นบ้าน โดยพวกเด็กๆ จะเต้นและร้องตามจังหวะกลองระหว่างกิจกรรมเฉลิมก่อนงานสมรส โดห์ลัคที่มีเสียงสูงจากการตีในฝั่งขวาจะให้เสียง "กิส" เหมือนเสียงสัตว์ร้อง ขณะที่เสียงทุ้มที่มือซ้ายก็ขึงขังน่าสนใจ หลังการเล่นนักดนตรีนิยมถนอมหนังกลองด้วยการชโลมน้ำมันหรือน้ำมันดิบ

นักเล่นโดห์ลัคที่ช่ำชองจะร้องหรือพร่ำบ่นมนต์ระหว่างการเล่น และบางครั้งอาจสร้างความบันเทิงเพิ่มเติมด้วยการเต้นตามจังหวะ แนวทางการเล่นส่วนใหญ่จะใช้จังหวะ "หนึ่ง-ต๊า และ-ต๊า สอง-ต๊า และ-ต๊า สาม ต๊า สี่ และ" ที่มือขวาซึ่งเป็นเสียงสูง ส่วนมือซ้ายที่เล่นเสียงต่ำจะเล่นล้อกับทำนองบนมือขว




    ซารันกิ
ซารันกิ เป็นเครื่องสายที่นิยมเล่นกันมากในภูมิภาคเอเชียใต้ ใช้ในดนตรีคลาสิคของชาวฮินดูอย่างกว้างขวาง ร่ำลือกันว่าเสียงของซารันกิคล้ายคลึงกับเสียงของมนุษย์หรือเสียงเครื่องประดับกระทบกันเมื่อนำมาเขย่าหรือลูบผ่าน

เครื่องดนตรีชนิดนี้มีโครงสร้างค่อนข้างซับซ้อน นิยมทำจากไม้สนแดงที่แข็งแรง นำมาเจาะรูใหญ่สามรู ประกอบด้วยเพต (ส่วนท้อง) ชาติ (หน้าอก) และมากาจ (สมอง) ช่องเหล่านี้สูงประมาณ 0.6 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 0.15 เมตร ในแต่ละช่องจะมีหนังต่างชนิดกันคลุมโดยรอบเพื่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน มีบริดจ์ประมาณ 35-37 ชิ้น ที่แบ่งออกเป็น 2 ชุดคือส่วนบนและ ส่วนล่างมีสายทั้งหมดราว 13 สาย แบ่งออกเป็นสายยาว 5-6 สาย และสายสั้น 6-7 สาย

รากศัพท์คำว่าซารันกิน่าจะมาจากคำสันสกฤตสองคำคือ "ซาร์" แปลว่าการสรุปรวม และ "อัง" แปลว่ารูปแบบที่แตกต่างกันไป แปลรวมกันได้ว่าเครื่องดนตรีที่รวบรวมรูปแบบหรือดนตรีทุกชนิดไว้ในเครื่องเดียวกัน ขณะที่นักดนตรีบางคนเชื่อว่าซารันกิมาจากคำสอง คำคือ "เซห์" ภาษาเปอร์เซียแปลว่าสาม และ "รันกิ" แปลว่าสีสัน เมื่อแปลรวมกันได้ว่าสามสีสันซึ่งมาจากสายเมโลดี้สามสาย บนคอเครื่องดนตรี แต่การแปลลักษณะนี้อาจค้านกับความเชื่อของคนทั่วไปที่เชื่อว่าซารันกิคือ "สีสันนับพัน" ที่สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับใช้ให้เหมือนกับเครื่องดนตรีและโทนเสียงได้มากมาย

ปัจจุบัน ซารันกินิยมเล่นเป็นเครื่องดนตรีโซโล่ระหว่างการขับขานตำนานต่างๆ และยังเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะรูปแบบนิ้วที่ใช้เล่นแตกต่างกันไป




    บันซูริ
บันซูริ เป็นขลุ่ยอินเดียสร้างจากไผ่ทั้งลำชิ้นเดียว นิยมเล่นในหมู่เด็กเลี้ยงวัวและบรรดาผู้มีอาชีพต้องเดินทางย้ายถิ่นบ่อยๆ จัดเป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่มีความเป็นมาสัมพันธ์กับมหาเทพในศาสนาฮินดูคือพระกฤษณะและเทพีมหาลักษมี

การสร้างบันซูริถือเป็นศิลปะที่มีความซับซ้อนมาก เริ่มจากการหาไม้ไผ่ที่ต้องมีคุณสมบัติเยื่อบาง ปล้องยาว และลำตรง เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าวไม้ไผ่ที่นำมาใช้ได้จึงนิยมหามาจากรัฐเคราลัมและอัสสัม อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย เมื่อได้ไผ่ที่ปรารถนาต้องนำมาบ่มให้ได้ที่แล้วจึงเอาจุกไม้มาอุดที่ปลายข้างหนึ่ง เจาะรูด้วยไม้เสียบซึ่งอังไฟจนร้อนแดง ช่างประดิษฐ์จะมีโอกาสเดียวในการเจาะรูบนปล้องไม้ไผ่ดังนั้นพวกเขาจึงมักเริ่มเจาะจากรูที่เล็กที่สุดก่อนจะเทียบเสียงเพื่อเจาะรูลำดับต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อแปลตรงตัว บันซูริหมายถึงเสียงเพลงจากไม้ไผ่ ขลุ่ยบันซูริ มีสองแบบคือแบบที่เป่าทางเฉียงและแบบเป่าทางตั้ง แบบเป่าทางตั้งนั้นนิยมเล่นประกอบเพลงพื้นเมืองและต้องใช้วิธีผิวปากเป่าลมลงในขลุ่ย

ถือเป็นเครื่องดนตรีคู่กายของพระกฤษณะ ตามตำนานระบุว่าพระองค์สามารถสะกดหญิงสาวให้หลงใหล แม้แต่สัตว์ป่าหรืออาณาจักรก็ต่างต้องมนต์ ลุ่มหลงไปตามเสียงขลุ่ย มีการเต้นรำตามเสียงขลุ่ยที่เรียกว่าราซ่าฟิล่า ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่จำลองความหลงใหลของผู้ต้องมนต์ขลุ่ยของพระองค์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานขลุ่ยบันซูริปรากฏอยู่บนภาพเขียนของศาสนาพุทธ 100 ปีก่อนพุทธกาล




    เมาร์ซิ่ง
เมาร์ซิ่ง เป็นเครื่องลมที่นิยมใช้มากใน รัฐราชสถาน อินเดีย หรือเพลงสไตล์คาร์นาดิกทางอินเดียตอนใต้และประเทศปากีสถาน นับเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกับลาเมลโลโฟน (เครื่องดนตรีที่ใช้แผ่นเหล็กทำให้เกิดเสียง)

ส่วนประกอบของเมาร์ซิ่งเกิดจากการนำห่วงเหล็กรูปร่างคล้ายเกือกม้ามาสวมเข้ากับส้อมโค้งที่ขนานกันสองอัน จากนั้นเสียบเหล็กยาวเข้าไปตรงกลางระหว่างส้อมโค้งทั้งสอง ยึดเหล็กยาวที่ปลายข้าง หนึ่งและปล่อยปลายอีกข้างให้สามารถสั่นสะเทือนเพื่อสร้างเสียงดนตรีได้

วิธีเล่น วางเมาร์ซิ่งไว้ระหว่างฟันและประคองด้านข้างไว้ด้วยมือขวา ขณะที่มือข้างซ้ายดีดสายเบาๆ เพื่อให้เกิดเสียงสั่นสะเทือนดังแหน่วๆ การขยับลิ้น การเป่าลมและการดูดลมผ่านเครื่องดนตรีมีผลทำให้เสียงดนตรีแตกต่างกันออกไป

ความเป็นมาของเมาร์ซิ่งนั้นไม่ชัดเจน แม้จะเป็นเครื่องดนตรีของอินเดียปัจจุบันแต่ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่ามีถิ่นกำเนิดในชมพูทวีปหรือไม่ เนื่องจากพบได้ทางตอนใต้ของอินเดีย รัฐราชสถาน และบางส่วนของรัฐอัสสัม ซึ่งอาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปแต่หมายถึงเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกัน




    เบียนซง
เบียนซง คือชื่อของชุดระฆังจีนโบราณ นับอายุย้อนหลังไปได้กว่า 2-3.6 พันปี ถือเป็นเครื่องดนตรีสำคัญทางศาสนาและ เป็นสมบัติของชนชั้นสูงจีนเวลานั้น

เครื่องดนตรีคล้ายระฆังชุดนี้แขวนอยู่กับกรอบไม้และนิยมตีด้วยฆ้อง นักดนตรีจะเล่นระฆังบนบันไดเสียงเมโลดิกโดยการตีระฆังหลายๆ ใบพร้อมกันให้ประสานเกิดเป็นเสียงอันไพเราะ เบียนซงในอดีตนิยมทำจากหินแต่ต่อมาพัฒนาไปทำด้วยบรอนซ์เพื่อให้ได้เสียงที่กังวานน่าเกรงขามมากขึ้น

นักประวัติศาสตร์ค้นพบหลักฐานตัวตนของเบียนซงครั้งแรกในถ้ำโบราณใกล้กับร่างกายของผู้ปกครองรัฐเชง มาร์กิส ยี คาดว่าผู้นำคนนี้น่าจะเสียชีวิตก่อนประวัติศาสตร์ 430 ปี ปัจจุบันถ้ำแห่งนั้นตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน

และเช่นเดียวกับเครื่องดนตรีหลายชิ้นในประวัติศาสตร์จีน เบียนซงเองถูกเผยแพร่ไปทรงอิทธิพลอยู่ในแวดวงดนตรีของชนชั้นสูงในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลี (กลายเป็นเบียนยอง) และญี่ปุ่น (กลายเป็นเฮนโชะ) ทั้งนี้ ระฆังที่ผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้องของจีนถือเป็นสุดยอดระฆังเนื่องจากสามารถสร้างเสียงที่ต่างกันสองโทนในระฆังใบเดียวกัน




    ทาบลา
ทาบลาเป็นกลองที่นิยมเล่นกันในอินเดีย คิดค้นโดยผู้เผยแผ่ศาสนาชาวมุสลิมลัทธิซูฟีย์นามว่า อาเมียร์ กุสโร เริ่มแรกเครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้เพื่อประกอบการขับร้องพื้นบ้านหรือการร่ายกลอนที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อเวลาผ่านไปจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเพลงและความบันเทิงของสังคมอินเดีย

เครื่องดนตรีประกอบไปด้วยกลองมือสองใบที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกัน ตัวกลองทำจากไม้สักหรือไม้เนื้อแดงที่ถูกคว้านภายในออกไปครึ่งหนึ่ง กลองตัวเล็กเล่นมือขวามักจูนเสียงให้อยู่บน บันไดโทนิก โดมิแนนต์ หรือ ซัพโดมิแนนต์ ตามแบบสากลเพื่อความสะดวกในการเล่นประสานกับโซโล่ลิสต์ที่จะเล่นเป็นทำนองหลัก ด้านข้างมีสายระยางโยงจากหน้ากลองลงกับฐานกลอง ระหว่างสายระยางมีไม้ทรงกระบอกสอดกลางเพื่อใช้ปรับเสียงโดยหมุนให้ไม้ตั้งฉากหรือนอนลงเป็นการเปลี่ยนเสียง

สำหรับกลองตัวใหญ่นิยมเล่นมือซ้าย โดยจูนให้เป็นเสียงเบส ตัวกลองทำจากโลหะ บางครั้งอาจใช้ไม้หรือดินเหนียว มีสายระยางลงมาปกติแต่ไม่จำเป็นต้องนำไม้ไปขัดระหว่างสาย

สันนิษฐานว่าทาบลาประดิษฐ์ขึ้นในศตวรรษที่ 13 ยามที่คนอินเดียต้องการเครื่องดนตรีที่สามารถสร้างโครงเสียงอันแข็งแกร่งเพื่อให้เข้ากับเพลงร้องสรร เสริญแบบลัทธิซูฟีย์ ผู้เล่นทาบลาได้นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านดนตรีอินเดียแล้วยังต้องชำนาญเทคนิคการใช้นิ้วและมืออีกด้วย




    มริดันกัม

มริดันกัม เครื่องดนตรีคล้ายกลองตะโพนของไทย มีความเป็นมายาวนาน นิยมเล่นในดนตรีคาร์เนติกและนีวาของอินเดีย เป็นเครื่องดนตรีที่หาดูยาก แต่ยังมีเล่นอยู่ในบางส่วนของประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย สหรัฐ และอื่นๆ อีกหลายที่

มริดันกัม มาจากภาษาสันสกฤตและเป็นการผสมระหว่างคำสองคำคือ "มารดา" ที่แปลว่าดินหรือแผ่นดิน และ "อังคาร" ที่แปลว่าร่างกายเนื้อตัว ฉะนั้นมริดันกัมช่วงแรกจึงทำจากดินเหนียวตามคำแปล ขณะที่มริดันกัมสมัยใหม่เป็นกลองสองหน้าที่ตัวกลองทำจากไม้ต้นขนุนภายในกลวงโบ๋ หน้ากลองทำจากหนังแพะ ขึงให้ตึงเพื่อเวลาตีจะได้เสียงเบสอันดังสนั่น

การวัดขนาดเส้นรอบวงของหน้ากลองถือเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยผู้ชำนาญช่วยทำให้ จริงจังถึงขนาดมีการทำเป็นล่ำสันจนนักจิตวิทยา C.V. Raman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลคิดสูตรคำนวณหาขนาดเส้นรอบวงอันสมบูรณ์แบบให้แก่เครื่องดนตรีชิ้นนี้

เรามักพบมริดันกัมเป็นเครื่องดนตรีอยู่ในเทวสถานของชาวฮินดู เทพหลายองค์ เช่น พระพิฆเนศวร เทพโค หรือแม้แต่องค์พระศิวะ ตามความเชื่อเทพโคกำลังทรง มริดันกัมขณะที่พระศิวะกำลังร่ายรำเพื่อสร้าง พิชิต และทำลายสรรพสิ่ง เสียงของกลองนี้กระหึ่มดังไปทั้งสรวงสรรค์จนได้ชื่อว่าเป็น "เครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์"
 .


http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/7b/Bagpipe_performer.jpg
รอบโลก เรื่อง "เครื่องดนตรี"

    ปี่สกอต (bagpipes)

ปี่สกอต (bagpipes)  เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องเป่า เล่นโดยเป่าลมเข้าไปเก็บไว้ในถุงลม ก่อนจะปล่อยผ่านออกมาทางท่อเสียง ความพิเศษของปี่สกอตอยู่ที่สามารถเล่นเสียงหึ่งต่ำต่อเนื่องไม่หยุด เนื่องจากมีลมเก็บไว้ในถุงอยู่เต็มกระบุง เสียงจะขาดช่วงแค่ตอนที่ผู้เล่นหยุดหายใจเท่านั้น
 
ย้อนกลับไปในอดีต มีการขุดพบรูปแกะสลักเครื่องดนตรีคล้ายปี่สกอตแถบตะวันออกกลาง เขตซีเรียถึงจอร์แดน ประมาณอายุ 4 พันปีก่อนคริสตกาล และขยายอิทธิพลเข้าไปในวัฒนธรรมกรีก โรมันและอียิปต์โบราณ
 
ปี่สกอต ถือเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่คู่กับวิญญาณขบถและการสงครามมาโดยตลอด เพราะโลกรู้จักมันครั้งแรกราว ค.ศ.470 โดยชาวไอริชเพื่อเล่นปลุกใจนักรบในสงคราม ก่อนที่ปี ค.ศ.1314 จะเข้ามาสู่เมืองบันน็อกเบิร์น จากนั้นในปี ค.ศ.1690 มีกฎหมายห้ามเล่นปี่สกอต เพราะถือเป็นเครื่องดนตรีปลุกใจ ทำให้ปี่สกอตถูกนำไปเผยแพร่ในแถบยุโรปแทน
 
ปี่สกอตที่เรารู้จักทุกวันนี้เป็นแบบ Great Highland Bagpipe เพราะเป็นแบบที่ราชสำนักอังกฤษใช้ในการสงคราม มีท่อให้ปากเป่าและมีรูเสียงสำหรับกด 9 รู รุ่นคลาสสิคมีท่อเสียง 3 ท่อยื่นออกมา
 
ในประเทศไทย ปี ค.ศ.1921 รัชกาลที่ 6 ทรงสั่งซื้อปี่สกอตจากอังกฤษเพื่อใช้ประกอบการฝึกของกองเสือป่า และตั้งวงปี่สกอตที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย หรือโรงเรียนราชวิทยาลัยในอดีต เป็นครั้งแรก




    กลองตะวันออก

กลองตะวันออก  แม้เราจะคุ้นชินกับกลองสไตล์ตะวันตก แต่แท้จริงแล้วกลองเป็นเครื่องดนตรีที่แทบทุกชนชาติ ล้วนแต่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง
 
กลองพื้นเมืองในประเทศโลกตะวันออกนั้น ส่วนมากประดิษฐ์เพื่อจุดประสงค์ทางพิธีกรรม งานรื่นเริง หรือเพื่อการสงคราม ส่วนมากมักเล่นร่วมกับฉาบ ฆ้อง หรือระนาดเหล็ก เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้จังหวะ ผู้ฟัง
 
กลองโบราณของจีนเรียกว่า Gu เป็น กลองมีขอบทรงถัง ลวดลายด้านข้างอาจสลักหรือทาสีด้วยคำมงคล นักดนตรีจะเล่นกลอง Gu ด้วยการใช้ไม้ทั้งสองข้างตีลงไปบนหน้ากลองที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมเล่นเพื่องานทั่วไป ในขณะที่หากเป็นอุปรากรจีน (งิ้ว) ผู้ควบคุมจะตีกลอง Bangu ซึ่งหน้ากลองทำจากหนังหมูและมีรูเล็กๆ ด้วยไม้ไผ่ เพื่อให้จังหวะนักแสดงร่ายรำ ขณะที่ tangu เป็น กลองสองหน้าซึ่งใช้หนังแพะ หมู หรือวัว คลุมทั้งตัวกลองเพื่อใช้เล่นดนตรีพื้นบ้าน
 
ด้านแดนซากุระมีกลอง daiko เป็นกลองสองหน้า ทรงถัง ใช้ไม้สองข้างตี ใช้ในยุคศักดินาของญี่ปุ่น อดีต daiko ใช้เพื่อให้สัญญาณทหารในการออกรบ แต่ปัจจุบันนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมในวัดและการเต้นรำพื้นเมือง ในตระกูลเดียวกันยังมีกลอง shime daiko ซึ่งเป็นกลองทรงนาฬิกาทรายสองหน้าขนาดเล็กถึงปานกลาง ใช้เชือกขึงหน้ากลองให้ตึงด้วยเชือกหลายเส้น แล้วมัดมารวมกันอยู่ตรงกลาง ด้วยความที่มีขนาดเล็ก นักดนตรีจึงสามารถเล่นมันขณะทำการแสดงได้




    กลอง changgo

กลอง changgo  แดนกิมจิมีกลอง changgo ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกลองจีนเช่นกัน changgo เป็นกลองสองหน้าทรงนาฬิกาทรายขนาดปานกลาง มีเชือกตรึงหน้ากลองเป็นรูป W สลับกันไปตามลำเครื่อง เล่นโดยการนั่งและใช้มือตบที่หน้ากลองทั้งสองข้าง หรือจะเล่นโดยนักแสดงที่เต้นไปและตีกลองตามจังหวะก็ได้ กลองชนิดนี้เป็นที่นิยมทั่วเกาหลี ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองและยังใช้ในการทรงเจ้าเข้าผีด้วย



    คาสตาเนตส์

คาสตาเนตส์ (Castanets)  เครื่องดนตรีเก่าแก่ที่ชาวยิปซีในประเทศสเปนใช้เล่นประกอบการร่ายรำฟลาเมงโก้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากฉาบไม้แบบติดที่นิ้วซึ่งชาวสเปนได้รับมรดกมาจากสมัยสงครามมุสลิมในปี ค.ศ.700
 
คาสตาเนตส์มีหน้าตาคล้ายเปลือกหอยสองอันประกบกัน ทำจากไม้มะเกลือหรือไม้ชิงชัน ส่วนหัวผูกติดด้วยเชือก เวลาเล่นแค่ถือไว้ในอุ้งมือแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดให้คาสตาเนตส์ประกบกันจนเกิดเสียง
 
ในแบบดั้งเดิม นักดนตรีจะถือคาสตา เนตส์สองคู่เวลาเต้น หนึ่งคู่ในมือขวาถือเป็นคู่เสียงต่ำ (ผู้ชาย) เล่นโดยใช้นิ้วสี่นิ้วควบคุม ส่วนมือขวาเป็นเสียงสูง (ผู้หญิง) ใช้นิ้วเล่นสองนิ้ว นักร่ายรำที่มีประสบการณ์จะสามารถผสานจังหวะจากปลายนิ้วเข้ากับท่วงท่าที่สง่างามได้อย่างไม่มีที่ติ
 
ต้นกำเนิดของคาสตาเนตส์ยังไม่แน่ชัด แต่พบหลักฐานว่าทั้งชาวกรีกและอียิปต์เคยเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้และใช้มันเป็นส่วนหนึ่งในพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ในสมัยต่อมาวนิพกนิยมใช้ตีเป็นจังหวะประกอบการขับลำนำเพื่อท่วงทำนองที่น่าฟังยิ่งขึ้น

ในสมัยบาโรก คีตกวีนิยมใช้คาสตา เนตส์ประกอบบทเต้นรำของตัวร้ายเพื่อแสดงความน่ารังเกียจและมุทะลุ แต่คาสตาเนตส์มาเข้าสู่วงออร์เคสตร้าจริงๆ จังๆ ครั้งแรกในปี ค.ศ.1876 โดยบทประพันธ์ Manuel de Falla"s อย่างไรก็ตามคาสตาเนตส์ยังถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เหมาะกับการแสดงพื้นบ้านมากกว่าการแสดงแบบเป็นทางการอยู่ดี




    อิชิเกนคิน

อิชิเกนคิน อิชิเกนคิน หรือแปลตรงตัวได้ว่า เครื่องดนตรีประเภทพิณสายเดียว มีลักษณะบอบบางทำจากไม้คิริ หรือต้นไม้จักรพรรดิแผ่นเดียว นำมาขึงด้วยเส้นไหม ใช้หลอดไม้ซึ่งสวมอยู่ที่นิ้วชี้ขวาดีด ส่วนมือซ้ายใช้หลอดงาช้างที่สวมอยู่บนนิ้วกลาง คอยกดสายให้ติดกับซาวด์บอร์ดเหมือนการเล่นกีตาร์ เพื่อให้สายเกิดการสั่นสะเทือนจากการดีดเป็นระดับเสียงที่แตกต่างกัน การเล่นแบบสไลด์นิ้วเป็นเทคนิคสำคัญ ที่ทำให้เกิดเสียงอันทรงพลังซับซ้อน
 
ในอดีตชาวอาทิตย์อุทัยเล่นอิชิเกนคินเพื่อประกอบการร้องเพลง แต่ก็มีการเล่นเดี่ยวบ้าง อิชิเกนคินเคยเป็นที่นิยมในหมู่ซามูไร นักปราชญ์และนักบวช แต่ในปัจจุบันหาคนเล่นเครื่องดนตรีนี้น้อยนับคนได้
 
การสอนอิชิเกนคินในญี่ปุ่นนั้นมีหลายสาย เซย์เกียวโดเป็นสายที่ไม่เคยห่างหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์อิชิเกนคิน โดยเจ้าสำนัก อิสซุย มิเนะกิชิ พยายามผสมผสานเครื่องดนตรีนี้ เข้ากับเครื่องดนตรีในยุคปัจจุบัน โดยการจ้างนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง ซูเกะยาสุ ชิบะ หรือยูจิ ทากาฮาชิ มาประพันธ์เพลงให้
 
อิชิเกนคินมีแบบที่มีสองสายด้วยเรียกว่า ยามูโมโกโตะ พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1820 โดยนากายาม่า โคโตะนูชิ พัฒนาให้มีสะพานขึ้นมาปิดส่วนหัวหน้าหลังของเครื่องดนตรี ซึ่งช่วยสะท้อนเสียง และกลายเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในลัทธิชินโต


ที่มา คอลัมน์ "กล่องดนตรี" นสพ.ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2558 13:00:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2557 12:43:48 »

.

    คันจิรา

คันจิราเป็นกลองอินเดียขนาดเล็ก อยู่ในตระกูลเดียวกับกลองแทมโบรีนของฝั่งตะวันตก นิยมเล่นในดนตรีคาร์นาติก (ดนตรีคลาสสิคชนิดหนึ่งของอินเดีย) มีความเป็นมายาวนาน ค.ศ. 1880 ก่อนบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องดนตรีคลาสสิคของอินเดียเมื่อปี ค.ศ. 1930

กลองอินเดียตัวนี้มีลักษณะคล้ายกับกลองมือแทมโบรีนเนื่องจากมีรูปทรงเป็นวงกลม กรอบไม้ทำจากไม้ของต้นขนุน เจาะรูเพื่อใส่โลหะทรงกลมหรือเหรียญสามสี่ชิ้นลงไป เวลาเขย่าจะได้มีเสียงดังกรุ๊งกริ๊ง รัศมีกลองยาว 7-9 นิ้ว หนา 2-4 นิ้ว นำหน้ากลองข้างหนึ่งหุ้มด้วยหนังตะกวด อีกข้างปล่อยว่างไว้

นิยมเล่นทางใต้ของอินเดีย แม้จะดูเหมือนเล่นง่ายแต่คันจิราถือ เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นเข้ากับวงอินเดียค่อนข้างยาก นักดนตรีที่มีฝีมือมักจะใช้อุ้งมือและนิ้วมือขวาเขย่ากลองให้เป็นจังหวะ ขณะที่มือซ้ายใช้ประคองกลองไม่ให้หล่นเวลาเล่น หากอยากปรับเสียงนักดนตรีจะใช้นิ้วมือซ้ายจับขอบกลองเพื่อทำให้เสียงทุ้มหรือแหลมขึ้น

โดยทั่วไปหากไม่มีการปรับเปลี่ยน กลองคันจิราจะมีเสียงทุ้มแบบเบส หากต้องการให้กลองมีเสียงทุ้มมากขึ้นให้พรมน้ำโปรยๆ ลงบนหน้ากลองด้านใน เวลาเล่นดนตรีหากจู่ๆ เห็นนักดนตรีหยิบน้ำขึ้นมาพรมกลองก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะหนังกลองจะแห้งทุกๆ 5-10 นาที ต้องคอยพรมน้ำอยู่บ่อยๆ.




    อิดากก้า

อิดากก้า เป็นกลองอินเดียนทรงคล้ายนาฬิกาทราย มีต้นกำเนิดทางตอนใต้ของอินเดีย เครื่องดนตรีเหมาะมือชิ้นนี้มีลักษณะคล้ายดามารูซึ่งเป็นกลองอินเดียอีกชนิดหนึ่งเช่นกัน ผิดแค่อิดากก้าเล่นโดยใช้ไม้กลองตี เสียงของอิดากก้าและดามารูอยู่ในช่วงเสียงกลางๆ ไม่ต่ำไม่สูง ฟังแล้วชวนเคลิบเคลิ้มจนเผลอออกสเต็ปเท้าโดยไม่รู้ตัว

ไม้ที่ใช้ทำอิดากก้านิยมเป็นไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแดง คว้านภายในออกให้เห็นเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 8-8.5 นิ้ว วงแหวนทำจากไม้มะม่วงหรือไม้ขนุนหนาราว 1 นิ้ว หุ้มรอบขอบกลองทั้งสองด้านอีกชั้น รอบๆ ห่วงเจาะรูเล็กๆ เพื่อให้ด้ายหนาสอดเข้าไปได้ ผูกปลายอีกข้างหนึ่งของด้ายด้วยลูกบอลไม้หลากสีสัน

การเล่นอิดากก้านักดนตรีจะเทินมันไว้เหนือไหล่ซ้าย มือขวาจับไม้กลองแล้วตีเป็นจังหวะ มือซ้ายดึงตึงหรือปล่อยสบายให้เชือกที่ตรึงกับหนังหน้ากลองกระชับเข้าหรือคลายออกแปรเสียงให้หลากหลาย

นิยมเล่นฉายเดี่ยวในวิหารของชาวปัญจะเพื่อถวายความเคารพแด่เทพและสร้างความบันเทิงแก่ผู้คน

ชาวอินเดียเชื่อว่ากลองอิดากก้ากำเนิดขึ้นหลังจากพระศิวะและเจ้าแม่ปารวดีหยุดร่ายรำ กลองอิดากก้าที่ติดอยู่ที่ปลายเท้าของเธอเปล่งเสียงดนตรีแตกต่างกันกว่า 14 ชนิด ในเวลาต่อมาเสียงเหล่านี้กลายเป็นสระและพยัญชนะของภาษาทั่วโลกที่พวกเราใช้อยู่ทุกวันนี้  




    เอตาแบค

เอตาแบค  เป็นกลองพื้นเมืองของชาวแอฟริกัน บราซิเลียน มีรูปทรงยาวทำจากไม้ และนิยมเล่นกันในดนตรีท้องถิ่นของบราซิลมาจนถึงปัจจุบัน

กลองพื้นเมืองขนาดพอเหมาะชนิดนี้นิยมทำจากไม้ศรีตรังที่เพาะปลูกได้ในบราซิล หนังหน้ากลองทำจากหนังลูกวัว ขณะที่เชือกร้อยรัดรอบตัวเครื่องระโยงระยางขึ้นลงเป็นระบบระหว่างหน้ากลองและขอบกลางเครื่อง เชือกที่ร้อยจะลอดผ่านห่วงเหล็กที่ติดไว้รอบๆ นอกจากนั้นลิ่มไม้ที่ติดอยู่ระหว่างวงแหวนกับตัวกลองใช้ม้วนเชือกที่ติดกับหนังหน้ากลองให้ตึงหรือหย่อนตามความต้องการ ยิ่งหนังกลองตึงเสียงยิ่งสูงขึ้น

ในแอฟริกา กลองเอตาแบคเป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อใช้เล่นร่วมกับอโกโกที่เป็น กระดิ่งเหล็กคู่ดนตรีพื้นเมืองอีกชิ้น ความนิยมในเครื่องดนตรีชิ้นนี้แพร่หลายไปตามลุ่มแม่น้ำไนเจอร์และต่อเนื่องไปยังเบนิน โตโก และกานา ก่อนจะไปสิ้นสุดที่มลรัฐของอเมริกาตอนใต้ นอกจากกลองเอตาแบคจะนิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังใช้เพื่อประกอบพิธี กรรมทางศาสนาชื่อ คันดอมเบิล ซึ่งเป็นการเต้นเพื่อสักการะเทพเจ้า

กลองเอตาแบคมีสามชนิด หนึ่งคือรัม เป็นกลองที่ยาวที่สุดแต่มีเสียงต่ำที่สุด สอง รัม-พาย กลองขนาดกลางและมีระดับเสียงกลางเช่นกัน และสาม เลอ กลองตัวเล็กสุดที่มีระดับเสียงสูงที่สุด




    เบริมบาว

เบริมบาว เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายพื้นเมืองของบราซิล มีชื่อเรียกเท่ๆ อีกชื่อว่า "คันศรแห่งเสียงเพลง" ต้นกำเนิดยังไม่ชัดเจนแต่เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวพันกับชาว แอฟริกัน เนื่องจากเมื่อพิจารณาตามประวัติศาสตร์จะพบว่าไม่มีชาวบราซิเลียนหรือชาวยุโรปเคยใช้คันศรสร้างเครื่องดนตรีมาก่อน ขณะที่หากเปรียบเทียบกับแอฟริกาใต้พวกเขามีไอเดียการสร้างเครื่องดนตรีที่มีหน้าตาละม้าย คล้ายเบริมบาวอยู่มากทีเดียว

โดยทั่วไปเบริมบาวมีลักษณะคล้ายคันศรไม้ ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้บิริบาซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน หน้าตาคล้ายทุเรียน ผิดแต่ว่าไม่แข็ง ตัดและแบ่งให้ยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร นำสายจากเหล็กกล้าขึงให้แน่นจากปลายด้านหนึ่งถึงปลายอีกด้านหนึ่ง

หลังปี ค.ศ.1950 ชาวบราซิเลียนนิยมพ่นสีเบริมบาวให้สดใสตามรสนิยมของชาวบราซิเลียน ซึ่งในเวลาต่อมาการพ่นสีแสบสันต์เช่นนี้ก็เป็นประโยชน์แก่การท่องเที่ยวของบราซิล เพราะนักท่องเที่ยวชื่นชอบคันศรชิ้นนี้มากถึงขนาดซื้อไปเป็นที่ระลึก สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้แก่การท่องเที่ยวบราซิล

ที่น่าตื่นเต้นคือเบริมบาวไม่ใช่ดนตรีเพื่อความสุนทรีย์เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้ประกอบการแสดงศิลปะการต่อสู้เอกลักษณ์ของอัฟโฟร-บรา ซิเลียน คือ คาโปเอร่า (การต่อสู้ที่เหมือนการเต้นรำหยอกล้อคู่ต่อสู้แต่กลับพลิกแพลงจนใช้ป้องกันตัวและสยบนักต่อสู้โชคร้ายที่มาดูถูกพวกเขาได้) เบริมบาวมีความหมายตามตัวอักษรว่าจิตวิญญาณแห่งคาโปเอร่า นักศิลปะการต่อสู้คาโปเอร่าที่ชำนาญจะขอร้องให้นักดนตรีเล่นเบริมบาวให้เร็วขึ้น แรงขึ้น เพื่อเร่งจังหวะให้เขาสามารถร่ายรำท่าการต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้อย่างสวยงามและเฉียบขาด




    กาตัม

กาตัม  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะ ที่ดูอย่างไรก็เห็นเป็นไหขนาดย่อม ใบหนึ่ง นิยมเล่นในดนตรีคาร์นาดิก (ดนตรีโบราณของอินเดีย) ในรัฐปันจาบทางตอนใต้ของอินเดีย บางครั้งนิยมเรียกว่าไหน้ำ ถือเป็นเครื่องดนตรีโบราณที่เก่าแก่มากชิ้นหนึ่งของอินเดีย

ทั่วไป กาตัมมักทำจากดินเหนียว มีปากไหแคบและนิยมหุ้ม ปากไหด้วยส่วนผสมทองเหลือง ทองแดง และเหล็ก ขนาดของกาตัมจะแปรผันไปตามเสียงที่อยากได้ ขนาดใหญ่เสียงทุ้ม ขนาดเล็ก เสียงแหลม นอกจากนี้ยังสามารถใส่น้ำหรือทำให้ดินเหนียวบางลงเพื่อให้ได้ระดับเสียงที่แตกต่างกันออกไป เวลาเล่นเพียงเคาะที่ตัวไหหรือปากไหก็จะเกิดเสียงเท่ากันเสมอ

แม้รูปร่างหน้าตาจะดูเหมือน ไหพื้นๆ ที่ชาวอินเดียใช้กันในชีวิตประจำวัน แต่แท้จริงแล้ว ไหดินเหนียวกาตัมนั้นจะต้องออกแบบและเผามาพิเศษ เพื่อ ให้ได้โทนเสียงที่ต้องการ ความหนาของดินเหนียวยังต้องหนาทั่วถึงกันทั้งหมดเพื่อให้เวลาเล่นเสียงเท่ากันทุกส่วนที่เคาะ

กาตัมนิยมผลิตในรัฐทมิฬนาทู ซึ่งมีเสียง ที่พิเศษจนแยกแยะได้ ที่เป็นเช่นนั้นนักดนตรี เชื่อว่าเพราะดินเหนียวที่ทมิฬนาทูมีคุณภาพดีกว่าที่อื่น หนาและหนักกว่า และมีส่วนผสม ของทองเหลืองมากเป็นทุนเดิม




    กลองอัลฟาเอีย

กลองอัลฟาเอีย เครื่องดนตรีของชาวบราซิเลียน อยู่ในตระกูลเครื่องเคาะ กำเนิดเสียงด้วยการเคาะหรือตี ผิวสัมผัสหน้ากลองเป็นจังหวะครึกครื้น ตัวเครื่องทำจากไม้ ตรึงหน้ากลองด้วยหนังสัตว์ จะตึงมากตึงน้อยขึ้นอยู่กับเชือกที่ผูกอยู่ข้างเครื่อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16-22 นิ้ว เป็นดนตรีพื้นบ้านที่เล่นกันได้ทุกเพศทุกวัยและทุกชนชั้น

มีต้นกำเนิดเช่นเดียวกับกลองในสหรัฐหรือประเทศแถบยุโรป คือเริ่มแรกใช้เพื่อการศึกสงคราม ราวศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านนิยมเล่นกลองอัลฟาเอียกับกลองสนาม เครื่องเคาะไม้ไผ่ และกลองของแถบละตินอเมริกาที่ทำจากไม้ไผ่แต่ให้เสียงเบส ไม้กลองที่ใช้ตีนิยมนำมาตีเป็นไม้อ้วนหนาที่ต้องใช้แรงเยอะแต่ให้เสียงหนักแน่น บางครั้งนักดนตรีอาจเลือกใช้ไม้ตีกลองที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยมือข้างที่ถนัดถือไม้กลองขนาดใหญ่กว่าในมือข้างที่ไม่ถนัด

ในอดีตกลองอัลฟาเอียจะใช้ยึดกับสายหนังแล้วสะพายเอาไว้บนบ่าระหว่างเล่น นักดนตรีที่เก่งกาจจะสามารถบังคับมือทั้งสองข้างให้มีน้ำหนักการตีแตกต่างกันได้ โดยมือข้างที่ไม่ถนัด จะตีกลองรัวและเร็ว ขณะที่มือข้างที่ถนัดจะตีกลองแรงแต่เป็นจังหวะเนิบช้า นอกจากนี้กลองอัลฟาเอียยังมีหลายชื่อ เช่น โรปเซอร์โดส หรือกลองมาราคาตู โดยจะเรียกแตกต่างกันตามขนาดกลอง

เสียงที่ได้จากกลองอัลฟาเอียจะมีความทุ้ม นุ่มลึก แต่แฝงไว้ ด้วยความหนักแน่นและจริงจัง กลองชนิดนี้นิยมเล่นกันทาง แถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล โดยชาวบ้านนิยมเล่นประกอบจังหวะเต้นรำหรือเพลงพื้นบ้านในงานเทศกาลหรืองานรื่นเริงสำคัญต่างๆ รวมถึงในกองเชียร์ฟุตบอลโลกด้วย




    แพนเดโร

แพนเดโร  เป็นเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายกลองมือหรือกลองแทมโบรินแต่มีความซับซ้อนกว่ามาก นักท่องเที่ยวหลายคนชอบซื้อแพนเดโรกลับไปเป็นของฝากเพราะแพน เดโรเสมือนเครื่องดนตรีประจำชาติบราซิลอย่างไม่เป็นทางการไปเสียแล้ว

ส่วนประกอบของแพนเดโร มีหน้ากลองสองด้านที่จูนเสียงได้ ขณะที่ด้ามจับมีพลาตินลาสหรือแผ่นเหล็กติดไว้เพื่อให้เกิดเสียงเวลาเขย่า

นักดนตรีนิยมเล่นกลองนี้โดยการถือด้วยหนึ่งมือและตีกระทบกับอีกมือให้เกิดเสียงครื้นเครงสนุกสนาน  อย่างไรก็ตาม นักดนตรีที่มีทักษะจะสามารถเล่นแพนเดโรด้วยวิธีพิสดารมากมาย เช่น ใช้หัวแม่มือ ปลายนิ้ว ปลายเท้า และอุ้งมือเล่น ขณะที่บางคนเก่งกาจถึงขนาดเพียงลูบไล้นิ้วไปตามหน้ากลองก็เกิดเสียงที่ต้องการขึ้นมาได้

ในอดีตชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ในบราซิล เชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีของพวกอะราบิกหรือมูนริชที่แม้แต่ในปัจจุบันเราก็ยังพบหลักฐานเครื่องดนตรีชนิดนี้อยู่ทางแอฟริกาตอนเหนือ คำว่าแพนเดโรแปลตรงตัวว่ากลองทรงเหลี่ยม

ในปัจจุบัน ชาวบราซิเลียนนิยมเล่นกลองนี้ในงานคาร์นิวัลประกอบการเต้นเพลงสไตล์แซมบ้า โชโร่ โคโค่ หรือแม้แต่เพลงศิลปะป้องกันตัวคาโปเอร่า ด้านวงดนตรีสมัยใหม่นิยมนำไปใช้เลียนแบบเสียงธรรมชาติและการควบสัตว์พาหนะ และยังใช้ประกอบการขับร้องเน้นเรื่องราวอีกด้วย




   
ราเบก้า หรืออีกชื่อเรียกว่า ราเบก้า ชูเลย์รา เครื่องดนตรีหน้าตาคล้ายไวโอลิน แต่มีที่มาจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลและทางเหนือของโปรตุเกส ราเบก้าเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของบราซิลที่นิยมเล่นกันในดนตรีฟอร์โร่และยังเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ชาวบราซิเลียนคิดค้นในช่วงยุคกลาง

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าราเบก้าเริ่มเข้ามาในบราซิลช่วงศตวรรษที่ 18 ในช่วงแรกทางการไม่อนุญาตให้นำราเบก้าเข้ามาเล่นในเขตเมืองอุตสาหกรรม และกีดกันให้เป็นดนตรีของชาวนาชาวไร่ แต่ต่อมาก็เริ่มผ่อนปรนกฎระเบียบ

ช่วงแรกชาวบราซิเลียนนิยมเล่นเครื่องดนตรีนี้ในช่วงเสียงสั้นๆ และเล่นร่วมกับวงดนตรีของหมู่บ้าน มีกีตาร์ วิโอล่า กลอง และกระดิ่ง ร่วมด้วย

ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะโปรตุเกส เครื่องดนตรีนี้ก็ยังนิยมเล่นอยู่ในบางส่วนของประเทศโปรตุเกส แต่ส่วนใหญ่เลิกนิยมไปแล้วเพราะไปเล่นฟอลก์ลอร์ที่เป็นเครื่องดนตรีคล้ายวิโอล่าของโปรตุเกสเอง

ในวัฒนธรรมชาวบราซิเลียน ราเบก้าถือเป็นดนตรีของชาวบ้านอย่างแท้จริง มาริโอ้ เดอ แอนดราเต้ นักปรัชญาแนวชาตินิยมเคยให้คำจำกัดความเครื่องดนตรีชนิดนี้ไว้ว่า "คือวิธีที่ประชาชนแห่งบราซิลใช้เรียกไวโอลินของพวกตน เสียงของมันไม่สะท้อนถึงความแตกต่างทางชนชั้นระหว่างผู้คนเลย"




   
คาวากินโฮ เป็นเครื่องสายขนาดเล็กของบราซิล แต่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกีตาร์ของฝั่งยุโรปมาก บางครั้งนิยมเรียกว่า มาชิมโป หรือ มาชิม

ทั่วไปมีสี่สาย ตัวเครื่องทำจากไม้เนื้ออ่อนปกติ มีคอเครื่องดนตรีไว้ขึงสายให้พาดผ่านรูเสียง ความแตกต่างของคาวากินโฮกับกีตาร์ทั่วไปอยู่ที่สายทั้งสี่ที่จูนสายอย่างมีเอกลักษณ์หลายรูปแบบ เช่น รูปแบบหนึ่งจะจูนสายไล่จากเสียงเร-ซอล-ที-เร ตามลำดับสาย เครื่องดนตรีชนิดนี้จึงทำหน้าที่ประกอบบทเพลงได้ในหลายระดับเสียง เช่น ทำหน้าที่เป็นเสียงเทเนอร์หรือเสียงโซปราโน่ที่คล้ายกับอูคูเลเล่

จากการสันนิษฐานคาดว่าคาวากินโฮนี้น่าจะนำเข้ามาสู่ประเทศบราซิลผ่านผู้อพยพชาวโปรตุเกสเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 กอนคาโล ซัมไบโอ ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดนตรีของบราซิลอธิบายว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวกรีกโบราณ โดยน่าจะมีบรรพบุรุษเดียวกับกีตาร์ที่นำเข้ามาสู่ยุโรปโดยพวกบิสคายันซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในโปรตุเกส

คาวากินโฮเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญมากในดนตรีบราซิล เพราะใช้ประกอบการเต้นแซมบ้าและโชโร โดยใช้เพื่อเชื่อมระหว่างทำนองกับเสียงดนตรี เสมือนเป็นเสียงคลอตลอดเพลง ส่วนใหญ่นักดนตรีจะเล่นมันพร้อมกับปิ๊กในมือและฮัมเพลงเป็นจังหวะไปด้วย




   
คาร์ตาล เป็นเครื่องดนตรีโบราณของอินเดียที่นิยมเล่นระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาหรือเล่นประกอบเพลงพื้นบ้าน คาร์ตาลมีรากศัพท์มาจากภาษาฮินดูโดย "คาร่า" แปลว่ามือ และ "ตาลา" แปลว่าการปรบมือ นิยมเล่นพร้อมกันเป็นคู่ มองเผินๆ คาร์ตาลเหมือนกรับไม้ที่ใช้กระทบกันให้เกิดเสียงผิด แต่ว่ามันมีแผ่นโลหะที่จะส่งเสียงกริ๊งกร๊างเวลากระทบกัน หากจัดประเภทแล้วคาร์ตาลน่าจะอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ผสมคุณสมบัติการกำเนิดเสียงด้วยการสั่นสะเทือนและการสะท้อนเสียง

คาร์ตาลส่วนใหญ่นิยมทำจากไม้หรือเหล็ก แบ่งเป็นตัวผู้กับตัวเมีย เวลาเล่นนักดนตรีจะถือไว้เป็นคู่ คาร์ตาลตัวผู้จะหนาจนต้องพยุงด้วยนิ้วโป้ง ขณะที่ตัวเมียจะบางกว่าและสามารถใช้นิ้วนางประคองตัวเครื่องไว้ได้

ตามความเชื่อของชาวอินเดีย คาร์ตาลถือเป็นตัวแทนธาตุไฟอันเกี่ยวพันกับพระอาทิตย์และพลังจักราที่มอบพลังอำนาจ ความอดทนให้แก่ผู้ถือครอง

คาร์ตาลในยุคแรกเริ่มจะเป็นแผ่นไม้สองแผ่นแล้วนำระฆังวางไว้ระหว่างกัน น่าแปลกใจมากที่แผ่นไม้ทั้งสองนั้นไม่ติดกันโดยสิ้นเชิงแต่นักดนตรีสามารถตีระฆังที่นำไปไว้ตรงกลางได้อย่างแม่นยำและกลายเป็นจังหวะพิสดารที่ทำให้ผู้คนรู้สึกอยากเต้นรำ


.


    พิริ
พิริ เป็นเครื่องเป่าประเภทลิ้นคู่ของเกาหลี นิยมเล่นทั้งในดนตรีวังและดนตรีราษฎร ถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญของวงการเพลงเกาหลี ภายนอกดูเหมือนขลุ่ยสองเลาผูกติดกัน ตัวเครื่องทำจากไม้ไผ่ มีลิ้นขนาดใหญ่ ลำเครื่องรูปทรงกระบอกให้เสียงนุ่มนวลเหมือนเป่าโอโบของฝั่งตะวันตก

พิริพื้นบ้านแท้จริงมีรูเสียง ๘ รู โดย ๗ รูอยู่ด้านหน้า อีกหนึ่งรูอยู่ด้านหลังสำหรับนิ้วโป้ง พิริสามารถแยกประเภทย่อยออกมาได้อีก ๔ ประเภทคือ เฮียงพิริ เซพิริ ดังพิริ และแดพิริ ที่ต้องมีพิริหลายแบบนั้นเพื่อตอบสนองการใช้งาน ที่แตกต่างกันออกไป เฮียงพิริจะมีเสียงใหญ่และดัง นิยมเล่นเป็นเสียงเมโลดี้ เซพิริเล็กกว่า บางกว่า และเสียงเบากว่า ส่วนดังพิริจะมีส่วนบานออกข้างเหมือนกวางซีซึ่งเป็นเครื่องดนตรีจีน แดพิริเป็นเครื่องดนตรีสมัยใหม่ มีคีย์และมีกระดิ่งอยู่ทำให้ดูเหมือนโอโบของดนตรีตะวันตกมากขึ้น

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพิรินำเข้ามายังเกาหลีจากประเทศจีนก่อนยุคโกครูยอ หากจะว่าไปพิริก็เหมือนกับเครื่องดนตรีจีน และเทียบได้กับฮิชิริกิที่เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่น




    อังกะลุง
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะของอินโดนีเซีย คำว่าอังกะลุงมาจากภาษาซุนดาซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของอินโดนีเซีย มีความหมายถึงลักษณะการเคลื่อนไหวของเครื่องและเสียง "กะลุง" ที่ดังออกมายามเล่นเครื่องดนตรีนี้

อังกะลุงประกอบขึ้นจากคู่ไม้ไผ่หลายๆ ลำติดกับกรอบไม้ที่ทำจากไผ่เช่นกัน ตัวคู่ไผ่ที่ติดกับกรอบไม้จะถูกจูนเสียงให้มีระดับต่ำสูงต่างกันเป็นออคเตจ ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นอังกะลุงเครื่องเล็กนักดนตรีจะใช้มือข้างหนึ่งจับกรอบไม้ไว้และอีกข้างตีเข้าที่ตัวลำเพื่อให้เกิดเสียง แต่หากเป็นเครื่องใหญ่จะใช้วิธีแขวนไว้กับเสาแล้วเดินไปเขย่าไม้ไผ่ตามโน้ตที่ต้องการ เนื่องจากเล่นด้วยการเขย่าหรือเคาะ เอกลักษณ์ของอังกะลุงคือเสียงที่เกิดขึ้นจะไม่หายไปทันทีแต่จะสะท้อนอยู่สักพักตามแรงสั่นสะเทือน

การเล่นอังกะลุงมีสไตล์ที่หลากหลายมาก บางครั้งใช้คนหลายๆ คนรวมตัวกันเพื่อเล่นอังกะลุงกันคนละเสียงประกอบกันเป็นเพลง บางครั้งคนเดียวก็เล่นอังกะลุงที่แขวนอยู่ข้างหน้ามากมายทีละเครื่อง หรือในบางครั้งเป็นอังกะลุงเครื่องใหญ่แขวนไว้และนักดนตรีวิ่งเขย่าลำไม้ไผ่ทีละลำ ด้วยความยืดหยุ่นและเสียงที่ไพเราะเหมือนสายฝนอันเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้อังกะลุงเดินทางข้ามผ่านยุคสมัยมาได้หลายศตวรรษ และยังคงเป็นที่ชื่นชอบของชาวอินโดนีเซียตราบเท่าปัจจุบัน

กำเนิดของอังกะลุงอ้างอิงตามดร.โกรนแมนระบุว่า อังกะลุงเป็นเครื่องดนตรีที่มีมาก่อนยุคสมัยที่ศาสนาฮินดูจะเข้ามามีอิทธิพลในแถบใกล้เคียง โดยนิยมมากในแถบสุมาตราใต้ เกาะบอร์เนียว ลังพัง และรัฐจาวา

อังกะลุงได้รับความนิยมในประเทศไทยเราเช่นกัน โดยเฉพาะการฝึกเด็กวัยประถมให้หัดเล่นเป็นวงได้เป็นอย่างดี




    จอล ตารุง
จอล ตารุง เป็นเครื่องเคาะอินเดียที่อยู่บนสเกลเสียงเมโลดิก รูปร่างเหมือนชามเซรามิกหรือโลหะวางหงายแล้วใส่น้ำเข้าไป นักดนตรีที่มีประสบการณ์จะสามารถใส่น้ำและจูนเสียงให้แต่ละชามมีเสียงห่างกันได้ระดับ วิธีเล่นก็เพียงตีขอบชามด้วยไม้

บันทึกทางประวัติศาสตร์อินเดียพบหลักฐานเกี่ยวกับ จอล ตารุง ครั้งแรกในกาลามสูตร ภาพภายในบันทึกแสดงให้เห็น นักดนตรีสาวกำลังเล่นตีขอบเครื่องดนตรีทำจากแก้วที่มีน้ำใส่ไว้เต็มเปี่ยม จอล ตารุง ถือเป็นหนึ่งใน ๖๔ เรื่องศาสตร์และศิลป์ของอินเดียที่ต้องร่ำเรียนโดยสาวบริสุทธิ์เท่านั้น

แปลตามตัวอักษรแล้ว จอล ตารุง มีความหมายว่า "กระแสคลื่นในน้ำ" แสดงให้เห็นว่าการปรับระดับน้ำในชามส่งผลต่อโทนเสียง นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า จอล ตารุง พัฒนาเลียนแบบกลองแห่งกาเมลันที่นิยมเล่นกันมากแถบชวา บาหลี และพม่า กลองแห่งกาเมลันนั้นนิยมทำจากดีบุกหรือโลหะนิ่มที่สามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ตามใจเพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่างกัน ใช้ไม้ไผ่ที่ถือในมือทั้งสองข้างตีขอบกลองเช่นเดียวกัน




    จังกู
จังกู หรือบางครั้งชาวเกาหลีเรียกว่า เซโยโกะ (แปลว่ากลองข้อมือขนาดเล็ก) เป็นกลองเกาหลีโบราณที่นิยมเล่นกันแพร่หลายแม้แต่ในปัจจุบัน อันที่จริงแล้วกลองเกาหลีลักษณะคล้ายนาฬิกาทรายมีหลายชนิดมาก แต่สำหรับจังกูจะมีขนาดใหญ่ หน้ากลองทั้งสองข้างขึงด้วยหนังสัตว์ ที่พิเศษคือกลองทั้งสองหน้าจะให้ระดับเสียงและสำเนียงแตกต่างกัน ตามความเชื่อของคนเกาหลีเมื่อนักดนตรีเล่นกลองพร้อมกันทั้งสองหน้าจะสื่อถึงการประสานกลมเกลียวระหว่างหญิงและชาย

กลองจังกูนิยมทำจากไม้เพาว์โลเนีย คว้านภายในให้กลวงโบ๋ ผิวภายนอกปูทับด้วยกระเบื้อง เหล็ก ไม้ หรือแผ่นสังกะสีตามแต่ความต้องการของนักดนตรี อีกวัสดุหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือโจรองมกซึ่งเป็นหลอดทรงกลมเชื่อมระหว่างหน้ากลองด้านซ้ายกับด้านขวาฝังอยู่ภายในกลอง ขนาดของโจรองมกจะแสดงถึงคุณภาพโทนเสียง ยิ่งโจรองมกกว้างเสียงจะยิ่งมีพลังมาก

จากประวัติศาสตร์พบบรรพบุรุษของกลองจังกูอยู่ในอาณาจักซิลล่าเป็นภาพวาดบนผนังถ้ำ กลองจังกูมาปรากฏชัดเจนสมัยโกรยีโอ (ค.ศ.๑๔๕๑) ที่เขียนไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่ามีกลองจังกูกว่า ๒๐ ชิ้นส่งมากำนัลกษัตริย์เกาหลี โดยน่าจะมาจาก จักรพรรดิฮุยซงแห่งราชวงศ์ซ้อง ขณะที่อีกทางหนึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าจังกูมีวิวัฒนาการมาจากโยโกะ กลองเล็กซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียที่ยังใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้




    แทเพียงโซ
แทเพียงโซ เป็นเครื่องลมลิ้นคู่ของเกาหลีใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับโอโบเครื่องดนตรีตะวันตก แปลชื่อตามตัวอักษรหมายความว่า "เครื่องลมแห่งสันติอันยิ่งใหญ่" คาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวเปอร์เซียและชาวจีนซึ่งเคยเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับเกาหลีในอดีต โดยปรากฏหลักฐานด้วยว่าถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์เยเจียงในยุคสมัยกอรเยวปี ค.ศ.๑๑๑๔

แทเพียงโซมีรูเสียงทั้งหมด ๗ รูเจาะ แต่ที่นิยมใช้จริงๆ จะเป็นรูเสียง ๕ รูด้านหน้าและอีกหนึ่งรูด้านหลัง รูปลักษณ์ทรงกรวยของมันทำขึ้นจากเนื้อไม้หลายประเภท ได้แก่ ยูจะ (ต้นมะงั่ว) แดจู (ต้นพุทรา) ต้นมัลเบอร์รี่สีเหลือง และไม้ดำเนื้อแข็ง ส่วนเป่าลม และกระดิ่งทรงถ้วยนิยมใช้โลหะเป็นส่วนประกอบ

การประดิษฐ์แทเพียงโซไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปเนื่องจากคนเกาหลีปัจจุบันนิยมสั่งผลิตจากโรงงานในประเทศจีนเสียส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามแทเพียงโซชั้นดีจะประกอบด้วยมือ ส่วนประกอบต่างๆ จะสามารถถอดเช็ดทำความสะอาดได้ ขณะที่ของถูกจะถอดได้เพียงส่วนกระดิ่งและพู่เท่านั้น

การใช้งานแทเพียงโซค่อนข้างจำกัดเนื่องจากเสียงอันดังกระหึ่มของมัน ส่วนใหญ่แล้วนักดนตรีนิยมเล่นกลางแจ้งร่วมกับกลองและเครื่องดนตรีพื้นบ้านอื่นๆ ด้านการทหารแทเพียงโซถูกใช้เพื่อเป็นสัญญาณเปิดปิดประตูให้ทหารเข้าสู่เขตเมืองชั้นในได้ ทางศาสนาแทเพียงโซถือเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญในลัทธิขงจื๊อสำหรับสรรเสริญทหารศึกผู้กำชัยชนะกลับมา รวมถึงการบรรเลงเพลงเพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ศาสนาพุทธนิกายมหายานจะเล่นแทเพียงโซเพื่อประกอบการร่ายรำทางศาสนา




    โบนัง
โบนัง เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอินโดนีเซีย นิยมเล่นในวงมโหรีของชาวเกาะชวา โดยทั่วไปแล้วดูเหมือนกลองเล็กๆ หลายใบมาเรียงต่อกัน บางครั้งจึงเรียกว่ากาน้ำหรือหม้อ วางกลองเป็นแนวนอน ๑-๒ แถวบนสายที่อยู่บนกรอบไม้ กลองหนึ่งชุดจะมีกลองตัวหนึ่งที่ถูกกำหนดให้เป็น กลองหัวหน้า (กลองกลาง) กล่าวคือมันจะถูกห้อมล้อมไปด้วยกลองเสียงต่ำที่มีหน้ากลองเรียบและกลองเสียงสูงที่มีหน้ากลองนูนล้ำออกมา นักดนตรีจะจูนเสียงโบนังทุกครั้งตามความเหมาะสมในการเล่นแต่ละครั้ง

ตัวกลองโบนังอาจทำจากบรอนซ์ เหล็กกล้าหรือโลหะผสม แต่หากช่างประดิษฐ์กลองโบนังเป็นทรงกาน้ำเล็กๆ แสดงว่าคนทำมีงบฯ จำกัดก็นิยมใช้แผ่นเหล็กหรือทองเหลืองเป็นวัตถุดิบแทน ในอดีตเราจึงพบกลองโบนังทำจากเหล็กและทองเหลืองเป็นส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมโหรีที่ขุดพบทางประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสไตล์การประดิษฐ์ของชาวบ้านสุรินัม

กลองโบนังที่ชาวเกาะชวานิยมเล่นมีสามชนิด หนึ่ง : คือโบนังพาเนรุส เป็นกลองที่มีเสียงสูงที่สุดแต่มีกา น้ำเล็กมากที่สุด มักมีเสียงเพียงสองออคเตจ สอง : โบนัง บารุง นิยมทำระดับเสียงต่ำกว่ากลองโบนังพาเนรุสราวหนึ่งออคเตจ แต่ยังมีเรนจ์เสียงครอบคลุมสองออคเตจเหมือนเดิม นิยมเล่นในวงมโหรีเนื่องจากช่วยบอกจังหวะให้แก่วง อันสุดท้าย : โบนังพาเนมบัง เป็นโบนังที่มีระดับเสียงต่ำที่สุด และถือเป็นโบนังที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดเนื่องจากมีเครื่องดนตรีอื่นๆ ทดแทนได้มาก




    แดกัม
แดกัม เป็นเครื่องดนตรีคล้ายฟลุต ทำมาจากไม้ไผ่ของเกาหลี ท่วงท่าเวลาเล่นดูสง่างามด้วยการตั้งขลุ่ยเกือบขนานกับพื้นและเป่าลมเข้าทางรูรับด้านบน ที่น่าสนใจคือหากเราพิจารณาเครื่องดนตรีเกาหลีพื้นเมืองจะพบว่า ล้วนแต่มีระบบการสั่นสะเทือนพิเศษซึ่งทำให้ดนตรีเกาหลีแตกต่างจากดนตรีชาติอื่น

เครื่องดนตรีพี่น้องของแดกัมคือฟลุต ที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อยชื่อว่าจังเกียมและโซเกียม อย่างไรก็ตามฟลุตทั้งสองแบบนี้ต่างก็ถูกถอดระบบสั่นสะเทือนแบบเก่าออกไปแล้วในปัจจุบัน

ตามตำนานพื้นบ้านเกาหลีเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งโหรหลวงแห่งจันทราของพระเจ้าซินมันแห่งซิลลาทูลว่ามีเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งกำลังลอยจากทะเลญี่ปุ่นเข้ามายังโบสถ์พระพุทธเจ้าอย่างช้าๆ พระราชาจึงสั่งให้โหรหลวงแห่งอาทิตย์ทำนายว่านี่เป็นสัญญาณที่ดีหรือไม่ สักครู่โหรจึงทูลว่าเหตุเกิดเพราะราชาที่ตายกลายเป็นมังกรน้ำกำลังพยายามมอบของขวัญอันล้ำค่าให้แก่พระองค์ หากท่านไปที่เกาะแห่งนั้นท่านจะได้ของที่ประเมินค่ามิได้

วันถัดมาโลกก็ดับมืดเป็นเวลากว่าสัปดาห์ทำให้พระราชาอดรนทนไม่ไหวต้องเสด็จไปยังเกาะนั้น เมื่อไปถึงมังกรน้ำตัวหนึ่งก็ผุดกายออกมาจากอากาศก่อนจะทูลพระราชาว่าหากต้นไผ่ที่อยู่สูงสุดแห่งเกาะนี้ถูกตัดนำไปทำเป็นฟลุตแล้วเป่า บ้านเมืองก็จะสงบร่มเย็น พระราชาจึงทรงทำตามและตั้งชื่อฟลุตเลาแรกว่า ปาซิกจัก




ซาลวง  เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของชนกลุ่มน้อยไมนังคาบาวที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มองเผินๆ เครื่องดนตรีชนิดนี้ดูคล้ายฟลุตเพียงแต่ทำมา     ซาลวง
จากไม้ไผ่ โดยอาจเป็นไม้ไผ่เล็กหรือไม้ตาหลัง เจาะ 4 รูด้านบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซ.ม. ความยาวราว 40-60 ซ.ม.

ชาวไมนังคาบาวเชื่อว่าไม้ที่เหมาะนำมาทำซาลวงต้องเป็นไม้ที่เคยใช้เป็นราวตากผ้าหรือไม้ที่ตกลอยมาตามลำธาร เนื่องจากในสมัยก่อน ชาวบ้านจะใช้ซาลวงแทนที่เก็บข้าวเหนียวและกับข้าวรวมถึงใช้เป็นราวตากผ้าเวลาเดินทางไกล ขณะที่ในอดีตชาวบ้านเชื่อว่าคนที่สามารถเล่นซาลวงได้นั้นต้องมีพลัง "พิตูนัง" หรือเวทมนตร์ในการขับกล่อม ให้ผู้ฟังหลงใหล เวทมนตร์ดังกล่าวเรียกว่า พิตูนัง นาบิ ดาอุด

นักดนตรีซาลวงที่มีความสามารถ ดูราวกับเล่นเครื่องดนตรีต่อเนื่องกันได้ โดยไม่หยุดพักหายใจตั้งแต่เริ่มเพลงจนกระทั่งโน้ตตัวสุดท้าย แน่นอนว่าพวกเขาลอบหายใจแต่ไม่มีใครล่วงรู้ว่าเทคนิค การลอบหายใจระหว่างเป่าของพวกเขาทำอย่างไรกันแน่


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มกราคม 2558 15:17:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2557 16:29:41 »

.


    เรบาน่า
เรบาน่า เป็นกลองที่นิยมใช้เล่นประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ เรบาน่ามาจากภาษาอารบิกว่า "รอบบาน่า" ที่แปลว่า "พระเจ้าของพวกเรา"

กลองเรบาน่ามีหลายรูปแบบ กลองชนิดใหญ่ที่สุดเรียกว่าเรบาน่ายูบิ นิยมใช้ในหมู่ชาวมาเลเซีย เรบาน่ายูบิแท้จริงก็เหมือนกลองเรบาน่าทั่วไป หากแต่ประดับตัวกลองและผิวหน้ากลองด้วยลวดลายสวยงาม กลองเรบาน่าที่มีขนาดเล็กลงมาอีกนิดคือคอมฟังที่นิยมใช้ในหมู่ชาวมาเลเซียเพื่อประกอบพิธีมงคลสมรส

ความเป็นมาของกลองเรบาน่าเข้ามาสู่อินโดนีเซียนั้นมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามเป็นสำคัญ กลองที่ชาวสุมาตรานิยมเล่นเรียกว่ากลองเรเดฟซึ่งทั่วไปนิยมทาตัวเครื่องด้วยสีแดง ดำ หรือทอง ใช้ประกอบการเต้นรำพื้นบ้าน เครื่องดนตรีที่เล่นร่วมกับกลองเรเดฟคือเซรุไน (เครื่องดนตรีลิ้นคู่คล้ายโอโบ) และไวโอลิน นักวิชาการเชื่อว่าบทเพลงสำหรับเรบาน่าที่ชาวอินโดนีเซียในเกาะสุมาตราเล่นอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับอิทธิพลมาจากหลายศาสนาหลากเชื้อชาติ เช่น พุทธ ฮินดู โปรตุเกส เอเชีย และอาหรับ

ด้านกลองเรบาน่าที่นิยมเล่นกันอยู่ในกรุงจาการ์ตานั้นมีความเกี่ยวพันแน่นแฟ้นกับศาสนาอิสลาม ผู้คนในแต่ละส่วนของพื้นที่นิยมนำกลองเรบาน่าไปดัดแปลงและประกอบขึ้นมาใหม่เพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น



    อากุง
อากุง เป็นเครื่องเคาะมีลักษณะคล้ายฆ้องสองหน้า นิยมเล่นกันมากในประเทศฟิลิปปินส์ มีขนาดใหญ่ เส้นรอบวงราว 22-24 นิ้ว หนักประมาณ 6-8 กิโลกรัม รูปทรงคล้ายว่าว เวลาเล่นจะมีเสียงเบส ดังกระหึ่ม นิยมทำจากบรอนซ์ เหล็ก หรือทองเหลือง

เวลาเล่นนักดนตรีนิยมนำอากุงแขวนไว้เหนือพื้นบนเชือกขึงบนต้นไม้ ขื่อบ้าน หรือชั้นวางอากุงโดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอากุงดั้งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของมาเลเซีย โดยมีหลักฐานเป็นชื่อของอากุงซึ่งเป็นภาษามาเลเซีย ส่วนภาษาอินโดนีเซียจะเรียกว่าอาเกง ขณะที่นายโธมัส ฟอร์เรสต์ นักสำรวจชาวอังกฤษซึ่งเข้ามาอาศัยในฟิลิปปินส์ช่วงปี ค.ศ.1770 ระบุว่าอากุงนั้นเป็นเครื่องดนตรีมาจากเกาะชวาและมีปุ่มมากมายอยู่บนเครื่อง



    บาบันดิล
บาบันดิล เป็นฆ้องพื้นบ้านที่ใช้เล่นเดี่ยวๆ ของประเทศฟิลิปปินส์ ชาวมากุนดานาโอซึ่งเป็นชาวพื้นถิ่นของประเทศนิยมนำฆ้องชนิดนี้มาตีบอกเวลาหรือบอกจังหวะระหว่างการเล่นรวมวงกับเครื่องดนตรีอื่นๆ

โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งฟุต เมื่อเทียบกับฆ้องคุลินทังมัน จะมีขนาดใหญ่กว่า ส่วนที่นูนออกมาตรงกลางของบาบันดิลมักถูกทำให้บุบเบี้ยว ยากแก่การคำนวณว่าเสียงที่ได้ออกมาจากการตีจะจัดอยู่ในระดับเสียงไหน หากต้องการเสียงที่แน่นอนนักดนตรีจึงมักใช้ไม้ไผ่ตีเข้าที่ด้านข้างหรือขอบที่เรียบเสมอกัน บาบันดิล นิยมทำจากบรอนซ์แต่ในยุคที่ชาวกุนดานาโอขาดแคลนวัตถุโลหะมีค่าพวกเขาอาจดัดแปลงไปใช้ทองเหลืองหรือสังกะสีแทน

นักดนตรีมักแขวนบาบันดิลไว้กับราวให้สูงขึ้นมาจากพื้นราวครึ่งฟุตเวลาเล่น เทคนิคการเล่นที่ดีคือผู้เล่นต้องยืนขนานกับเครื่องดนตรี 90 องศา มือข้างหนึ่งจับขอบกลองโดยใช้นิ้วโป้งอยู่ด้านหน้าและอีกสี่นิ้วประคองด้านหลัง วิธีการเพียงคิดว่ามันเป็น กลองและตีตรงส่วนหัวตรงกลางตามจังหวะที่กลองควรจะตี ความแตกต่างคือเสียงที่ได้จากบาบันดิลจะทุ้มต่ำมากกว่า

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าจุดกำเนิดของบาบันดิลน่าจะมาจากตะวันออกกลางหรืออินเดีย เนื่องจากคำว่าบาบันดิลน่าจะมาจากอักษรอารบิกซึ่งหมายความว่ากลองทรงกระทะ ขณะที่บางคนเชื่อว่ากลองชนิดนี้เกี่ยวพันกับชาวชวาซึ่งมีถิ่นที่อยู่ใกล้กัน



    ดิวาส
ดิวาส เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านประเภทเครื่องเป่าของฟิลิปปินส์ หากคนไทยมองเผินๆ มักเข้าใจผิดว่าเป็นแคนของบ้านเรา

ตัวเครื่องของดิวาสนิยมทำจากไม้ไผ่หลายกระบอกนำมาผูกติดกัน ปลายข้างหนึ่งปิดด้วยข้อของไม้ไผ่ตามธรรมชาติ ตัวเครื่องไม่มีรูเสียง ทำให้แตกต่างจากฟลุตที่เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก

วิธีการเล่นดิวาสทำโดยการผิวปากลำไม้ไผ่ ส่วนวิธีการเปลี่ยนเสียงคือการเป่าท่อนไม้ไผ่ต่างเลากัน ความสั้นยาวของไม้ไผ่จะทำให้นักดนตรีได้เสียงอันแตกต่างแสนรื่นหู ชาวบ้านในเขตคาลินก้าทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์นิยมเล่นเครื่องดนตรีดิวาสแบบ 5-8 เลา และเรียกมันว่าซักเกย์โปแทน

ฟิลิปปินส์ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งด้านชาติพันธุ์และภูมิประเทศ ดังนั้นเมื่อชาวฟิลิปปินส์รู้จักกับดิวาส จึงปรับแต่งเครื่องดนตรีชนิดนี้ไปตามความต้องการในแต่ละพื้นที่ ทางตอนเหนือของลูซอนเครื่องดนตรีชนิดนี้เรียกว่าบาลันโกว ส่วนในจังหวัดบอนตอคเรียกว่าแดด-อายุ ในเทียกกุนเรียกว่าดิวดิว ขณะที่ในกันกาไนยังเรียกว่าดิวาสเหมือนเดิม ความแตกต่างของดิวาสในแต่ล่ะพื้นที่นั้นส่วนใหญ่จะเป็นความสั้นยาว จำนวนลำไม้ไผ่จาก 5-8 ลำ และขนาดของไม้ไผ่

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ดนตรีแบบฟิลิปปินส์ไม่เน้นการร่ายเมโลดี้เหมือนดนตรีตะวันตก พวกเขาเน้นจังหวะและนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกเขาจึงต้องมีขนาดความยาว และเส้นรอบวงที่หลากหลายแตกต่างกัน



    กังสะ
กังสะ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเมตาลโลโฟน (ลักษณะเครื่องคล้ายไซโลโฟน) ที่นิยมใช้กันมากในแถบเกาะบาหลีและดนตรีกาเมลัน กังสะแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ ประเภทที่มีขนาดเล็ก และประเภทที่มีขนาดใหญ่กว่าและเสียงทุ้มสูงแหลม

ลักษณะกังสะเหมือนรางที่วางแท่งเหล็กเรียงรายกัน แท่งเหล็กที่ว่าอาจทำมาจากเหล็กหรือบรอนซ์ก็ได้ วิธีการเล่นนักดนตรีจะตีแท่งเหล็กด้วยไม้ที่เรียกว่าพังกุล แต่ละแท่งจะให้เสียงสูงต่ำที่ไม่เหมือนกัน เวลาตีเสียงจะกังวานหรือคุณภาพของเสียงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการใช้นิ้วจับแท่งเหล็กภายหลังการตีของนักดนตรี ถ้าจับแน่นและเร็วเสียงก็จะดังแป๊บเดียว ถ้าจับเบาและช้าเสียงจะค่อยๆ หายไป ส่วนใหญ่คนนิยมเล่นกังสะเป็นเสียงประดับโดยตีรวดเร็วพลิ้วไหว สร้างบทเพลงที่น่าตื่นเต้นและไม่ทำให้เมโลดี้ต้องทำหน้าที่หนักเกินไปด้วย

ในภูมิภาคอื่นๆ กังสะจะมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์เรียกว่ากาจาห์ และมีการดัดแปลงเครื่องดนตรีจนแทบจำไม่ได้ โดยกลายเป็นฆ้องที่ยกขึ้นตีในแนวดิ่งแล้วให้นักดนตรีหลายๆ คนยืนเรียงกันตีฆ้องตามจังหวะ


.


     กัมบัง
กัมบัง เครื่องดนตรีลักษณะคล้ายระนาด บางครั้งชาวบ้านนิยมเรียกว่า กัมบัง กายู (แปลว่ากัมบัง ที่ทำจากไม้) เป็นที่นิยมแพร่ หลายทั้งในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ในฟิลิปปินส์ตอนใต้นิยมเรียกกัมบังว่า กูลินถัง ซึ่งใช้เหล็กแทนไม้ทำลูกระนาด ขณะที่หากเป็น กัมบัง กังซา จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกมาก แต่ใช้ลูกระนาดเป็นเหล็กแทนไม้เช่นกัน

สำหรับกัมบัง กายู นั้นลูกระนาดทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ที่ช่วยให้การสะท้อนของเสียงชัดเจนน่าฟังขึ้น ทั่วไปกัมบัง กายู จะมีลูกระนาด 17-21 ลูกเท่ากับจำนวนเสียง ตรึงติดกับตัวเครื่องผ่านตะปูตัวเล็ก สำหรับค้อนสองอันที่ใช้ตีนิยมทำจากเขาควายป่าซึ่งมีความยืดหยุ่น ชาวบ้านนิยมตีกัมบังเป็นพาราล์เลล ออกเตจ (ตีโน้ตตัวเดียวกันแต่อยู่ต่างออกเตจ) นอกจากนั้นก็ยังตีโน้ตแยกบ้างแต่ ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

สำหรับกัมบัง กังซามีลักษณะโครงสร้างคล้าย กัมบัง กายู เพียงแต่มีลูกระนาดน้อยกว่าเพียง 15 ลูก จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับซารอนซึ่ง เป็นเครื่องเคาะขนาดเล็กของอินโดนีเซีย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มีหลักฐานว่าวงมโหรีของชาวชวานิยมเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ต่อมาเริ่มเสื่อมความนิยมและหันไปเล่นซารอนแทน อย่างไรก็ตามเครื่องดนตรีชนิดนี้ยังคงมีอยู่ในฟิลิปปินส์ต่อไป




     เคนดัง
เคนดัง เป็นกลองสองหน้าที่ชาวบ้านแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ริมแม่น้ำหรือติดทะเลนิยมเล่นกัน เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีหลักที่ชาวชวา บาหลี และดนตรีกาเมลันนิยมใช้ประกอบวง ในมาเลเซียเคนดังจะถูกเรียกอีกชื่อว่าคุลินทัง ชื่อเรียกขานจะเปลี่ยนแปลงไปตามชนกลุ่มน้อยที่เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้

เคนดังที่ดีจะต้องทำมาจากไม้ขนุนหรือไม้ต้นมะพร้าว หุ้มหน้ากลองด้านหนึ่งที่กว้างกว่าด้วยหนังควายเพื่อให้ได้เสียงทุ้มต่ำขณะที่อีกข้างหนึ่งหุ้มด้วยหนังแพะเพื่อเสียงแหลมสูง หนังสัตว์ที่หุ้มเป็นหน้ากลองจะขึงยืดเป็นลักษณะเหมือนตัว Y เพื่อให้นักดนตรีดึงปลายข้างหนึ่งเพื่อเพิ่มหรือลดความตึงของหน้ากลองได้ ยิ่งหน้ากลองตึงเท่าไหร่เสียงจะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น

กลองสองหัวตัวนี้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในแถบเอเชียและอินเดีย ภาพที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดอันเป็นหลักฐานสำคัญของเครื่องดนตรีชิ้นนี้ปรากฏครั้งแรกในวัดโบราณในประเทศอินโดนีเซีย




     ซาอัง
ซาอัง หรือ ซาอัง-กุก เป็นเครื่องดนตรีโบราณของเมียนมาร์ ลักษณะเหมือนฮาร์ฟซึ่งเป็นเครื่องดนตรีฝั่งตะวันตก แต่มีส่วนโค้งเว้าสร้างรูปร่างแปลกตามากกว่า ซาอังถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีโบราณที่เก่าแก่มากชิ้นหนึ่งและยังเหลือรอดมาให้ลูกหลานชื่นชมในปัจจุบัน

ฮาร์ฟของเมียนมาร์ชิ้นนี้มีส่วนประกอบหลักเป็นลำเครื่องและคอที่ยาวโค้งสวยงาม ช่างประดิษฐ์นิยมสร้างเครื่องดนตรีด้วยการแกะรูปมาจากต้นไม้เนื้อแข็งทั้งเครื่อง สายจำนวน 13-16 เส้น นิยมทำจากไหมหรือไนลอน ผูกขึงยึดที่ส่วนกลางของคอโค้งไล่มาบรรจบกับตัวเครื่องอย่างละเมียด ส่วนสะท้อนเสียงจะปูหนังกวางทับ เพื่อให้เสียงสะท้อนได้ดีขึ้น ทาแล็กเกอร์และเจาะรูเสียงเล็กๆ ไว้ 4 รู ขนาดของซาอังโดยทั่วไปจะไม่ใหญ่มาก (พอๆ กับพิณ) เพื่อให้สามารถวางบนตักนักดนตรีได้

การประดับตกแต่งส่วนคอเครื่องจะประดับเป็นรูปลักษณ์คล้ายใบโพธิ์ ตัวเครื่องตกแต่งด้วยพลอยแมนดาเลย์ แก้ว หรือทาทับด้วยแล็กเกอร์สีดำหรือแดง

ความเป็นมาของซาอังนั้นยาวนานมาก ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกก่อนคริสตกาล 500 ปีในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ส่วนคอที่ยาวระหงแต่โค้งได้รูปนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะสะท้อนขนบของชาวเบงกอล ภาพแกะสลักในโบราณสถานแสดงภาพนักดนตรี นักร้อง และนักเต้นรำกำลังทำกิจกรรมรื่นเริงโดยมีซาอังแบบ 5 สายวางอยู่




     โคลิตง
โคลิตง เป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณของฟิลิปปินส์ มีต้นกำเนิดจากจังหวัดคาลินกา นิยมเล่นแพร่หลายทั่วทั้งประเทศ

มี 6 สายยาวขนานไปกับลำเครื่องที่มีลักษณะคล้ายหลอด (ภายในกลวง) เพื่อให้เสียงที่น่าฟัง สายที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นสายที่มีเสียงสูงสุดไล่เรียงไปจนสายที่หนาที่สุดจะมีเสียงทุ้มต่ำที่สุด

โคลิตงนิยมทำจากไม้ไผ่ทั้งท่อนหรือครึ่งท่อน อาศัยตาไม้ไผ่เป็นจุดปิดปลายของเครื่องดนตรี

และเพื่อการให้เสียงสมบูรณ์แบบมากขึ้นนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีนิยมทำรูเล็กๆ บนตาไม้ไผ่ และอาจทำรอยแตกบนตัวเครื่องขนานไปกับสาย

หากพวกเขาต้องการให้สายตึงมากขึ้นอาจนำไม้ท่อนเล็กๆ มารองใต้สายอีกชั้น

ความร่ำรวยในทรัพยากรป่าไม้ทำให้ฟิลิปปินส์สามารถสรรหาไม้ไผ่มาทำโคลิตงได้อย่างไม่สิ้นสุด พวกเขารู้จักไม้ไผ่ที่ต่างขนาด ต่างสี ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ มาใช้ทำโคลิตงที่ให้คุณภาพแตกต่างกันออกไป




     โน้สฟลุต
โน้สฟลุต เป็นเครื่องดนตรีคล้ายฟลุตของโลกตะวันตกอันเป็นที่นิยมล้นหลามในพื้นที่แถบโฟลีนีเซียและประเทศที่ตั้งอยู่แถบมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้อาจมีชาวบ้านในประเทศแอฟริกา จีน และอินเดียเล่นบ้างแต่ไม่เป็นที่นิยม วิธีเล่นคือใช้ฟลุตอังที่รูจมูกและปล่อยลมหายใจออกมาให้เกิดเสียง

ในเกาะฮาวาย ชาวเกาะเรียกเครื่องดนตรีลักษณะนี้ว่า ฮาโนะ ซึ่งแปลว่าขลุ่ยจมูกตามลักษณะการเล่น ตัวเครื่องนิยมทำจากไม้ไผ่ท่อนเดียว มีรูเปลี่ยนเสียงกลางลำเครื่อง 2-3 รู โดยมีอีกหนึ่งรูที่ปลายเครื่องเพื่อรับลมจากจมูก ความยาวประมาณ 10-21 นิ้ว

ส่วนในฟิลิปปินส์เรียกขลุ่ยชนิดนี้ว่า พิตัง อิลออง ขลุ่ย ของพวกเขามีขนาดยาวเรียวจึงสามารถเป่าแรงๆ ให้เกิดเสียงฮาร์โมนิกได้อย่างน่าฟัง โดยทั่วไปสามารถเล่นโน้ตที่อยู่ในเรนจ์เสียง 2 อ๊อกเตจ นักดนตรีสามารถเสียบขลุ่ยเข้าไปในจมูกเพื่อสะดวกในการเป่าลมให้แรงขึ้น

ในนิวซีแลนด์ ชาวเมารีตั้งชื่อขลุ่ยชนิดนี้ว่า งูรู พวกเขาจะสร้างขลุ่ยนี้จากวัสดุในป่า มีการแกะสลักที่วิจิตรสวยงาม งูรูถือเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ชิ้นหนึ่ง มีขนาดเล็กและใหญ่ เลาเล็กเล่นโดยใช้จมูก เลาใหญ่เล่นด้วยปากเหมือนปกติ งูรูถือเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่คู่ชาวเมารีมาตลอดและเชื่อว่าทำให้พวกเขารอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ


ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
30-30
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มีนาคม 2558 13:44:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558 14:12:01 »

.


     ทาคุมโบ
ทาคุมโบ จัดเป็นเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายพิณ มีต้นกำเนิดในฟิลิปปินส์ โดยทั่วไปสร้างจากไม้ไผ่ทั้งเลา ความยาวประมาณ 40 ซ.ม. ปลายทั้งสองข้างปิดแน่นสนิทด้วยตาไม้ไผ่ ใยไม้ไผ่ที่มีความยาวราว 5 ซ.ม. ถูกแยกออกมาเพื่อทำเป็นสายพาดบนลำไผ่ ไม้ไผ่เล็กๆ ถูกนำมาติดเป็นสะพานสายที่ปลายทั้งสองข้างของเครื่องและอยู่ใต้สายที่ขึงไว้แล้ว บนตัวเครื่องเจาะรูเป็นทางและมีแผ่นไม้ไผ่เชื่อมกับสายตอนแรกวางอยู่ด้านบน

การเล่นทาคุมโบ นักดนตรีสามารถดีดแผ่นไม้ที่กลางลำไม้ไผ่หรือจะดีดโดยตรงที่สายเลยก็ได้ หรือจะใช้วิธีดึงสายขึ้นมาแล้วปล่อยลงไปก็ได้เหมือนกัน วิธีการเล่นที่แปลกประหลาดอีกอย่างคือการเคาะหรือตีไปที่ตัวเครื่อง

มีผู้พบพิณที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ ทาคุมโบ โดยมี 2-4 สาย ขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักดนตรีที่จะเล่น เด็กชายและคนหนุ่มต่างใช้มันเพื่อกำหนดจังหวะให้งานรื่นเริง คู่กับฆ้องขนาดใหญ่




     กันดิกาน
กันดิกาน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะของฟิลิปปินส์ ลักษณะคล้ายฆ้องแต่มาเป็นชุด หนึ่งชุดมี 4 ลูก ฆ้องนี้นิยมใช้เล่นกับฆ้องคูลินถัง มีหน้าที่ประสานกับเครื่องดนตรีหลักที่เล่นเสียงบนสเกลเมโลดิก ก่อนหน้านั้นกันดิกานสามารถเล่นเดี่ยวๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องดนตรีสื่อสารส่งสัญญาณเตือนภัย หรือส่งรหัสบางอย่าง โทนเสียงฆ้องชนิดนี้มีลักษณะคล้ายภาษาของชนกลุ่มมากินดาเนามาก ทำให้พวกเขาขนานนามมันว่า "ฆ้องเจรจา"

โดยทั่วไป กันดิกาน จะมีลักษณะใหญ่ หนา ขอบบาง แขวนหิ้วไว้ด้วยเชือกในแนวตั้ง ส่วนจะห้อยกับต้นไม้ ขื่อบ้าน หรือกรอบไม้ก็สุดแท้แต่ความถนัด ขนาดฆ้องแต่ละลูกมีเส้นรอบวง 5-8 นิ้ว ฆ้อง 4 ลูกจะแขวนเรียงตามลำดับเสียงจากต่ำ (ขนาดใหญ่) ไปยังสูง (ขนาดเล็ก) หรือฆ้องขนาดใหญ่สุดอยู่ทางซ้ายฆ้องขนาดเล็กสุดอยู่ทางขวา (เมื่อหันหน้าเข้าหาเครื่องดนตรี) ความใหญ่เล็กของฆ้องทั้ง 4 ทำให้สะดวกในการขนส่งมาก เพียงนำฆ้องขนาดเล็กซ้อนเข้าไปในฆ้องขนาดใหญ่ก็นำไปทั้งชุดได้แล้ว วิธีเล่นก็เหมือนฆ้องทั่วไปคือตีส่วนที่นูนออกมาตรงกลางให้เกิดเสียงกังวาน

กันดิกาน ปรากฏในนิยายปรัมปรามากมายของชาวมากินดาเนา บางตำนานระบุว่าชื่อกันดิกานกำเนิดในอาณาจักรหนึ่งซึ่งมีสุลต่านและเจ้าหญิงแสนสวยปกครองอาณาจักร โดยเป็นชื่อสถานที่ที่ดาทุส ชายผู้หมายปององค์หญิงและพยายามจะลักพาตัวเธอซึ่งถูกกักขังไว้

อีกตำนานเล่าว่าเจ้าหญิงแสนสวยแห่งนครที่เรืองรุ่งใช้ กันดิกานเพื่อสื่อสารไปหาพี่น้องของตัวว่าเจ้าชายรูปงามนามว่าติวาตาคาซาลิบันเดินทางมาถึงและกำลังมองหาคู่อภิเษก




     ซอโสใหญ่
ซอโสใหญ่ หรืออีกชื่อเรียกว่า โตรโซธม เป็นเครื่องสายโบราณของกัมพูชา คนสมัยก่อนนิยมนำเล่นไว้ในวงมโหรีสำหรับงานวิวาห์ ปัจจุบันนิยมเล่นกันในวงอาไย

นิยมประดิษฐ์ขึ้นโดยนำกระบอกไม้ไผ่หรือกระดองเต่ามาทำเป็นกล่องเสียง แม้เวลาต่อมาจะนิยมใช้ไม้เขมา ไม้กรอญง ไม้นางนวนหรืองาช้างมาทำแทนตามความต้องการของนักดนตรี ซอโสใหญ่มีขนาดไม่แน่นอน กระบอกซอมีความกว้าง 90 ม.ม. ยาว 120 ม.ม. ทวนซอยาว 800 ม.ม. ส่วนปลายของทวนซอประกอบเข้ากับกระดูกหรืองาช้าง แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ

ส่วนใหญ่การเทียบเสียงซอโสใหญ่แตกต่างจากการเทียบเสียงซอโสเล็ก หากนำไปบรรเลงในวงมโหรีจะต้องเทียบสายเอกตรงกับเสียงระนาดลูกที่ 5 ส่วนสาย ค เทียบเสียงต่ำกว่าสายเอก 5 เสียง และหากนำไปบรรเลงในวงวิวาห์หรือวงดนตรีอาไย จะต้องเทียบเสียงสายเอกตรงกับระนาดตัวที่ 3 ลูกที่ 3 ครึ่ง หรือลูกที่ 4




     ซออู้จมเฮียง
ซออู้จมเฮียง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ประชาชนชาวกัมพูชานิยมเล่นบรรเลงในวงดนตรีละครบาสักและวงดนตรีลิเก ตั้งแต่ปี 1930 น่าเสียดาย ที่ปัจจุบันไม่มีนักดนตรีเล่นซออู้จมเฮียง กันแล้ว

เครื่องดนตรีนี้มีกระบอกซอ (กล่องเสียง) ทำจากกะโหลกมะพร้าวแก่ ตัดขนาด 2 ส่วน 3 ขึงด้วยแผ่นไม้บางๆ เช่น ไม้สอป็อง (ไม้ใหญ่ชนิดหนึ่งเนื้อไม้แดงเหลืองนวล) ทวนซอทำจากแก่นไม้ เช่น ไม้กรอญง ไม้นางนวน หรือไม้เขมา ความยาวราว 850 มิลลิเมตร ด้านบนมีขนาดใหญ่ ด้านล่างมีขนาดเรียว มีลูกบิด 2 ลูกทำจากไม้ สายสองสาย ขนาดไม่เท่ากัน สายหนึ่งเล็กสายหนึ่งใหญ่

เวลาสีซอใช้มือขวาจับทวน มือซ้ายจับคันชักโดยวางมือไว้ใต้สาย และอาจใช้นิ้วมือซ้ายทั้งสี่สายกดสายซอทั้ง 2 สาย หากต้องการเล่นซออู้จมเฮียงคู่กับดนตรีตะวันตก สามารถเทียบบันไดเสียงซออู้ จมเฮียงที่บันไดเสียงซอล




     สรอไฬโตจ สรอไฬธม
สรอไฬโตจ สรอไฬธม เป็นเครื่องดนตรีโบราณประเภทเครื่องเป่าของกัมพูชา เปรียบได้กับปี่นอกปี่ในของไทย นิยมเล่นกันในวงพิณพาทย์และวงดนตรีอื่นๆ มาตั้งแต่ก่อนสมัยนครวัด โดยมีหลักฐานเป็นภาพจารึกบนฝาผนังของนครวัดนครธมมากมาย

ในศตวรรษที่ 11-12 สรอไฬโตจ สรอไฬธม เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่นิยมเล่นมากนักเนื่องจากมีความยากในการใช้ลม ลิ้น และนิ้วมือบรรเลงเป็นเสียงดนตรีที่ไพเราะ มีเพียงผู้ชำนาญเท่านั้นที่สามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว ในสมัยก่อนปี่นอกและปี่ในจะเป็นผู้โหมโรงก่อนเครื่องดนตรีอื่นๆ จะเริ่มบรรเลง การเป่าสรอไฬโตจคู่กับสรอไฬธมจะให้เสียงที่ไพเราะจับใจกว่าการเป่าเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง

การเป่าสรอไฬโตจ สรอไฬธมมีความยากลำบากมากเนื่องจากนักดนตรีต้องเลี้ยงลมหายใจไว้ไม่ให้ขาดตอน วิธีการถือเครื่องดนตรีขึ้นกับความถนัด บ้างก็ใช้มือขวาอยู่บน บ้างก็ใช้มือซ้ายอยู่บน ไม่กำหนดวิธีการตายตัว

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือเครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ แปลโดย สกลสุภา ทองน้อย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




     ใบไม้
ใบไม้ เป็นเครื่องดนตรีที่ประชาชนตามพื้นที่การเกษตรนิยมนำมาเป่าเล่น จนกลายเป็นเครื่องดนตรีตามธรรมชาติ ย้อนความกลับไปใบไม้ถือเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่มาก เกิดจากคนสมัยรุ่นปู่รุ่นย่านำวัวควายไปเลี้ยงตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า แล้วเกิดความเบื่อหน่ายจึงเด็ดเอาใบไม้มาเป่าให้เกิดเป็นเสียงเพลงตามใจชอบ

ใบไม้ที่จะนำมาเป่าเป็นเสียงดนตรีได้ไม่ใช่ ใบไม้ธรรมดา แต่ควรเป็นใบกราย ใบกระวาน หรือใบไม้อื่นๆ ที่มีคุณภาพและขนาดใกล้เคียง ขณะเป่าผู้เล่นจะเด็ดใบไม้ตามแนวโค้งให้ได้รูป ก่อนนำมาวางขวางตามแนวปากโดยให้แนบสนิทกับริมฝีปากบน เสียงที่ได้ยินออกมาจะเป็นเสียงที่มาจากริมฝีปากบนนั่นเอง การปิดเปิดริมฝีปากบน จะเป็นตัวกำหนดเสียงให้แตกต่างกัน

ผู้เป่าสามารถเล่นเพลงที่ตนเองรู้จักแบบไม่ต้องอาศัยโน้ตช่วยเล่น ใบไม้ไม่นิยมไปเล่น รวมวงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นเนื่องจากมีระดับเสียงที่ไม่แน่นอนและเก็บไว้ไม่ได้นาน




     กังสา
กังสา เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายระนาดของไทย นิยมเล่นกันมากบนเกาะบาหลีและเกาะชวา ในบาหลีกังสาแบ่งออกเป็นสองชนิด แบบที่มีขนาดเล็กกว่าจะมีเสียงสูงเรียกว่าคันติลัน ส่วนที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีเสียงทุ้มต่ำเรียกว่าพีเมด

ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีแท่งโลหะที่ทำจากเหล็กหรือบรอนซ์เรียงรายอยู่บนตัวเครื่องอันประดับตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตร นักดนตรีจะเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ด้วยการตีไม้ปังกูลลงบนแท่งเหล็กซึ่งสร้างเสียงที่แตกต่างกัน ส่วนคุณภาพเสียงและความสั้นยาวของเสียงเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของนักดนตรีที่จะจับหรือสัมผัสแท่งเหล็กเพื่อให้เกิดเสียงที่ต้องการ

เมื่อกังสาเข้าสู่ฟิลิปปินส์ทางภาคเหนือจะกลายสภาพเป็นกาจาห์ตามภาษาท้องถิ่นและมีความเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย กล่าวคือที่ฟิลิปปินส์ กังสาจะมีขนาดเล็กขนาดที่สามารถถือได้ด้วยมือเดียวและมีขอบเรียว นักดนตรีจะถือ กังสาชนิดนี้ไว้กับตัวและคอยใช้มืออีกข้างตีด้วยไม้เช่นกัน เวลาเล่นจะใช้ นักดนตรีเป็นกลุ่มเล่นกังสาพร้อมกันหลายๆ เครื่อง

สำหรับกังสาที่เล่นกันบนเกาะลูซอนจะเล่นได้สองลักษณะ หนึ่งคือ ท็อปปาย่าคือสไตล์การเล่นที่นักดนตรีจะตีกังสาด้วยมือเปล่าขณะนั่ง ขณะที่ปาหลูกคือการที่นักดนตรีเล่นกังสาด้วยการใช้มือข้างหนึ่งถือเครื่องและมืออีกข้างหนึ่งตีด้วยไม้




     ฆ้องตัวผู้
ฆ้องตัวผู้ เป็นเครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านในจังหวัดมณฑลคิรี รัตนคิรี ของกัมพูชานิยมนำมาเล่นประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา โดยประกอบการระบำของคนกัมพูชาชั้นสูง เช่น ระบำฉลองใบไม้ผลัดใบ

วัสดุที่ใช้ทำฆ้องตัวผู้นิยมเป็นโลหะ (ลงหิน) เหมือนฆ้องวงในวงพิณพาทย์ มีขนาดใหญ่ไปถึงเล็กตามลำดับเสียง บริเวณที่ใช้สีหรือเคาะให้เกิดเสียงเรียบเสมอกัน ที่ขอบฆ้องเจาะรู 2 รู ไว้สำหรับแขวนหรือใช้สะพาย

ในการเล่นแต่ละครั้งนักดนตรีมักนำฆ้องตัวผู้และฆ้องตัวเมียตีสลับกัน หรือใช้ไม้ตีต่างชนิดกันเพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่างกัน กล่าวคือฆ้องบางลูกใช้ไม้ตีทำจากไม้ไผ่หรือไม้พันด้วยผ้าที่ปลายหัวไม้ เรียกว่า หัวสิง บางครั้งใช้มือขวาตีแทนไม้แล้วใช้มือซ้ายประคบ ให้เกิดเสียงดัง


ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
30-30
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2558 14:21:04 »

.

     แซ็กโซโฟน
แซ็กโซโฟน เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนคลาริเน็ต ตัวเครื่องทำจากโลหะ มีโทนเสียงมากมายจนได้รับการขนานนามว่า เป็นเครื่องดนตรีที่ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ใกล้เคียงกับเสียงมนุษย์มากที่สุด

แซ็กโซโฟน เครื่องแรกถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 150 ปี ในปี ค.ศ.1814 นายแอโดลฟ์ แซ็ก ชายชาวเมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม คิดค้นไอเดียเพื่อพัฒนาเครื่องดนตรีออฟลิกลิได (ophicleide) ของพ่อซึ่งเป็นนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีเช่นกัน โดยคิดนำเอาจุดเด่นของเครื่อง Strings, Brass และ Woodwind มารวมไว้ในเครื่องแซ็กโซโฟน

ในยุคแรกแซ็กโซโฟนผลิตออกมาให้มีช่องกดเสียง 22-24 รู และมีแผ่นทองเหลืองปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ซึ่งเป็นกลไกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฟลุตและคลาริเน็ต

แซ็กโซโฟน ถูกนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวงดุริยางค์ทหารฝรั่งเศส ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วทั้งทวีปยุโรปและอเมริกา แต่ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง เช่น เสียงที่ดังแย่งซีนหรือการไม่ได้รับการยอมรับจากมหาชน ทำให้แซ็กโซโฟนไม่เป็นที่นิยม จึงกลายเป็นเครื่องดนตรีที่ถูกวงทอดทิ้ง และเป็นเพื่อนกับเพลงแจ๊ซและบลูส์เป็นส่วนใหญ่

ในปี ค.ศ. 1914 แซ็กโซโฟน ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับวงเต้นรำและวงคอมโบส์ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีแจ๊ซในเวลาต่อมา




     ทรอมโบน
ทรอมโบน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง อันผิดแผกแปลกไปจากสมาชิกในตระกูลเดียวกัน เนื่องจากใช้วิธีเปลี่ยนเสียงด้วยการเลื่อนลำเครื่อง Double "U"-shaped (ลักษณะเหมือนตัวอักษร U ต่อกันสองตัว)

ทรอมโบน มีท่อลมขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงแข็งกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่บางรุ่นขยายขาข้างที่เลื่อนออกให้ใหญ่ขึ้นทำให้เสียงนุ่มนวลขึ้น สองในสามของท่อลมนี้ เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับทรัมเป็ต ส่วนที่เหลือค่อยๆ บานออกเป็นปากลำโพง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต เมื่อเลื่อนเข้าจะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ วงออร์เคสตร้านิยมใช้ทรอมโบนเพื่อประสานเสียงในกลุ่มแตร

กำเนิดของทรอมโบนคลุมเครือคล้ายเครื่องดนตรีชนิดอื่น เนื่องจากระยะแรกไม่ได้กำหนดชื่อให้ชัดเจน แต่ที่แน่นอนคือบรรพบุรุษของทรอมโบนคือ แซกก์บัต เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องเป่าทองเหลืองในศตวรรษที่ 15-18 ระยะแรกทรอมโบนมีลักษณะคล้ายทรัมเป็ตในยุคปัจจุบันมากกว่า คือมีช่องลมตรงแหนว ปากลำโพงเปล่งเสียงแหบดังแต่ไร้พลัง

นักดนตรียุคแรกมองทรอมโบนเหมือนผู้ดีที่สุขุมและสง่างาม ทรอมโบนกลายเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ เสียงของมันมักใช้เพื่อสื่อถึงโลกหลังความตาย หลังจากนั้นทรอมโบนค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงก่อนจะกลับมาดังอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 เนื่องจากอัจฉริยะกวี โมสาร์ต นำมันกลับมาเล่นในเพลง Tuba Mirum ช่วงตอนหนึ่งของ Requiem (บทเพลงสวดศพ) มาสเตอร์พีซของเขา

ทรอมโบนได้รับการพัฒนาด้านขนาดและชนิด เช่น alto, tenor หรือ bass trombone จนปลายศตวรรษที่ 18 ทรอมโบนบนบันไดเสียง Bb ซึ่งได้เปลี่ยนเสียงได้ 7 ขั้นจึงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง




     โอล่า
โอล่า หลังจากผ่านศตวรรษที่ 17 ขนาดและรูปร่างของไวโอลินเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด จาก 4 สายกลายเป็น 5 สาย และนักประพันธ์บางส่วนเริ่มหันมาแต่งบทเพลงเฉพาะให้ไวโอลินเป็นพระเอก พร้อมพัฒนาเทคนิคการสร้างไวโอลินให้มีลักษณะมันเงา

ในศตวรรษที่ 16 อิตาลีถือเป็นสวรรค์ของช่างฝีมือลือชื่อจากทั่วยุโรป โดยเฉพาะนายแอนเดรีย อมาติ และครอบครัว ถือเป็นช่างฝีมือเยี่ยมจากเมืองครีมอน่า

วิโอล่า เป็นเครื่องดนตรีเสียงอัลโตอันโด่งดังในตระกูลไวโอลิน สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1535 โดยได้รับสมญาว่า “วิโอล่า เด บริกเซีย” แปลว่า “วิโอล่าที่ใช้แขนเล่น” ล้อเลียนสมญาของเครื่องดนตรีคู่แข่งอย่างไวโอลมา

วิโอล่ามีขนาดใหญ่ หนาและหนักกว่าไวโอลินพอประมาณ และเนื่องจากช่างฝีมือต้องการให้วิโอล่ามีเสียงทุ้มละมุนและหม่นเศร้า จึงเน้นพัฒนาขนาดเครื่องให้มีความยาว 53 ซ.ม. นักวิโอล่าที่เก่งๆ จะมีเทคนิคการใช้นิ้วอันโดดเด่นตามเอกลักษณ์ของเครื่อง

อย่างไรก็ตาม วิโอล่ามักถูกล้อเลียนว่าเป็นเครื่องดนตรีคาบลูกคาบดอก เพราะมีเสียงและเทคนิคการเล่นที่ผิดแปลกกว่าสมาชิกอื่นในครอบครัว แต่นักประพันธ์ที่โด่งดังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หลายคนล้วนแต่ท้าทายความเชื่อนี้ ด้วยการแต่งเพลงโซโล่ให้แก่วิโอล่า และยังเน้นแต่เพลงออร์เคสตร้าให้เจ้าเครื่องดนตรีชนิดนี้ จนปัจจุบันวิโอล่ากลายเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า




     ดับเบิ้ลเบส
ดับเบิ้ลเบส เป็นเครื่องดนตรีชิ้นใหญ่ที่สุด เสียงต่ำที่สุดและจำเป็นชนิดขาดไม่ได้ในวงออร์เคสตร้าอาชีพ

เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน ขนาดสูงราว 180 ซ.ม. ทั่วไปมี 4 สาย ทำหน้าที่เป็นเสียงพื้นให้กับวง เวลาเล่นนักดนตรีดับเบิ้ลเบส หรือ bassist จะทาบคอเครื่องดนตรีบนไหล่ ขนานไปกับร่างกายในมุม 45 องศา นั่งเล่นหรือยืนเล่นแล้วแต่ถนัด

รูปทรงภายนอดกของดับเบิ้ลเบสดูคล้าย วิโอล่า แต่ภายในกลับมีโครงสร้างคล้ายไวโอลินและแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากไวโอล  เทคนิคการเล่นดับเบิ้ลเบสถือเป็นความท้าทายอีกประการ เนื่องจากวิธีการเล่นจะเปลี่ยนไปตามสไตล์เพลงที่เล่น เช่น ดนตรีคลาสสิคจะผสมทั้งวิธีดีดและสี ดนตรีแจ๊ซนิยมดีด ส่วนดนตรีบลูส์และร็อกนิยมดีด

ดับเบิ้ลเบสเกิดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 และได้รับฉายาว่า เบส ไวโอลิน ศตวรรษที่ 17 ดับเบิ้ลเบสมี 5 สาย ก่อนที่ต้นศตวรรษที่ 18 จะถูกเปลี่ยนให้มี 3 สาย ซึ่งตรงข้ามกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายทั่วไปในยุคนั้นที่มี 5-6 สาย

จัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำโดยธรรมชาติ กระนั้นนักดนตรีและนักแต่งเพลงหลายคนต่างพยายามท้าทายตัวเองด้วยการเล่นหรือแต่งเพลงที่มีดับเบิ้ลเบสเป็นพระเอก ปลายศตวรรษที่ 18 จึงเป็นช่วงเวลาที่มีนักดนตรีดับเบิ้ลเบสที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย ไม่นานดับเบิ้ลเบสกลายเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องดนตรีแสนเท่และเป็นที่นิยมในดนตรีทุกสาขา




     ฮอร์น
ฮอร์น เครื่องเป่าลมทองเหลืองที่เราเรียกว่า "ฮอร์น" นั้นมีความเป็นมายาวนาน และมีหลายประเภทพัฒนาตามกาลสมัย ปัจจุบันเมื่อพูดถึง "ฮอร์น" ทั่วไปเรามักหมายถึง "เฟรนช์ฮอร์น" ใช้เล่นประกอบในวงออร์เคสตร้าเป็นส่วนใหญ่

ลักษณะเหมือนแตร มี 3 ช่วงเสียงครึ่ง ท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งเพื่อความสะดวกในการเล่น ทำให้เหลือความยาวรวมเพียง 20 นิ้ว โดยทั่วไปมี 4 วาล์ว

เสียงของฮอร์นสดใส ร่าเริง งามสง่า เปรียบเหมือนพระเอกในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง คีตกวีนิยมใช้ฮอร์นเพื่อถ่ายทอดความงามและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ บางครั้งสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของราชสำนัก เช่น Mozart No.4 Cadenza

แรกทีเดียว ฮอร์นพัฒนามาพร้อมทรัมเป็ต เพื่อใช้เป็นสัญญาณในการล่าสัตว์และการสงคราม โดยไม่มีวาล์วและปุ่มกดเปลี่ยนเสียง ทำให้มันสามารถเล่นได้แค่เสียงในบันได harmonic เพียงอย่างเดียว ก่อนที่ในปลายศตวรรษที่ 17 ฝรั่งเศสจะนำฮอร์นมาใช้ประกอบเพลงบัลเลต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการล่าสัตว์

ต้นศตวรรษที่ 18 เมื่อฮอร์นเริ่มกลายเป็นที่นิยม นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวออสเตรีย เกิดแนวคิดประยุกต์วิธีเล่นของเครื่องครูกส์ (crooks) เข้ากับฮอร์น นับแต่นั้นฮอร์นจึงสามารถเปลี่ยนเสียงได้ โดยใช้นิ้วปิดรูลมบนเบลล์ (Bell) (ทำจากทองเหลืองทรงระฆังคว่ำ)

ต้นศตวรรษที่ 19 เป็นยุคทองของเครื่องลมทองเหลือง ฮอร์นได้รับการพัฒนาให้เล่นบันไดเสียงโดรมาติกได้ และในปี ค.ศ.1811-1814 สโตลเซลและบลูฮ์เมล์ ติดตั้งวาล์วลงไปเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนเสียง ส่งผลให้ฮอร์นกลายเป็นที่นิยมในหมู่วงดนตรีแบนด์และโซโล่ลิสต์

ช่วงแรกวงออร์เคสตร้ายังไม่ยอมรับฮอร์นแบบใหม่ แต่เมื่อทดลองเล่นและพบว่ามันมีเสียงที่มีสีสัน เล่นง่าย และเล่นโน้ตต่ำได้ชัดเจน ฮอร์นแบบใหม่จึงกลายเป็นมาตรฐานสากลไปในที่สุด




     รีคอร์เดอร์
รีคอร์เดอร์ เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆ ถึงเครื่องดนตรีในตระกูล เครื่องลมไม้ สามารถเล่นเสียงบนบันไดเสียงโครมาติกได้ทุกเสียง แต่ไม่เหมาะนำมาเล่นดนตรีสมัยใหม่ เพราะเมื่อเล่นเสียงสูงก็สูงได้ไม่มากนัก เสน่ห์ของรีคอร์เดอร์อยู่ที่เสียงต่ำที่นุ่มกังวานและไพเราะมาก

รีคอร์เดอร์ มีส่วนประกอบเป็นท่อตั้งตรง มีปากเป่าและรูปิด-เปิดบังคับทิศทางลม เพื่อให้เกิดเสียงซึ่งแบ่งสัดส่วนออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง โดยส่วนบนเป็นส่วนที่ใช้ปากเป่าให้เกิดเสียง ส่วนกลางและส่วนล่างเป็นส่วนที่ทำให้เสียงที่ออกมาเป็นระดับเสียงสูงต่ำแตกต่างกัน โดยใช้มือซ้ายจับอยู่ที่ส่วนบนและมือขวาจับส่วนล่าง ใช้นิ้วปิดเปิดรูเป็นตัวบังคับทิศทางลมเพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำตามต้องการ

ประเทศที่ให้กำเนิดรีคอร์เดอร์อย่างเป็นทางการคือประเทศอังกฤษ ก่อนจะได้รับการพัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างสูงในยุคเรเนสซองส์ ราว ค.ศ.450-1450 และเจริญจนถึงขีดสุดในยุคบาโร้ก นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงหลายคนนำรีคอร์เดอร์ไปใช้ประกอบวงออร์เคสตร้า อย่างเช่นโยฮัน เซบาสเตียน บาด หรือ จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล

จากเสียงที่เบามากของรีคอร์เดอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทลมไม้อื่นๆ เช่น ฟลุต ทำให้ในเวลาต่อมามันเริ่มไม่เป็นที่นิยมในวงออร์เคสตร้า แต่ด้วยราคาที่ถูก พกพาสะดวก และมีวิธีเล่นที่ไม่ยากมากนัก รีคอร์เดอร์จึงกลายเป็นเครื่องดนตรีเริ่มต้นที่คุณครูนิยมใช้สอนลูกศิษย์ตามโรงเรียนทั่วไป




     ทูบา
ทูบา เป็นเครื่องเป่าลมทองเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และช่วงเสียงต่ำที่สุดในพี่น้องตระกูลเดียวกัน มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ และมีวิธีกำเนิดเสียงคือ การผิวปากผ่านท่อลมที่ส่วนปลายเป็นทรงกรวย กลางลำเครื่องติดวาล์วบังคับเสียง 3-4 อัน เสียงของทูบาจะต่ำนุ่มลึก ไม่แตกพร่า หน้าที่หลักในวงออร์เคสตร้าคือแนวเบสเสียงต่ำ

ทูบาถือเป็นเครื่องดนตรีทองเหลืองที่มีอาวุโสน้อยที่สุด เนื่องจากเพิ่งพัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยในปี ค.ศ.1835 นายวิลเฮล์ม วีเฟรชต์ หัวหน้าวงออร์เคสตร้าพรูเซียน และนายเจ จี มอริตซ์ นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีช่วยกันสร้างเครื่องทูบาบนคีย์เสียง F ขึ้น ทูบาที่ทั้งสองช่วยกันประดิษฐ์โด่งดังขึ้นในเวลาอันรวดเร็วตามลำดับ จนราวปี ค.ศ.1845 ทูบาก็พัฒนาจนมีหลายขนาดและหลากรูปร่าง นักวิชาการเชื่อว่าเครื่องดนตรีตระกูลแซ็กโซโฟนที่นายอดอล์ฟแซ็ก พัฒนาขึ้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องดนตรีทูบาเช่นกัน

หลังจากศตวรรษที่ 19 ทูบากลายเป็นตระกูลเครื่องดนตรีที่มีอิทธิพลมากในวงออร์เคสตร้า แต่ในเวลาเดียวกันนักดนตรีหลายคนเริ่มวิจารณ์ว่าทูบามีคุณภาพเสียงที่ไม่ดีนัก และโน้ตบางตัวยังไม่ทรงพลังเท่ากับเครื่องดนตรีชนิดอื่นในตระกูลเดียวกัน

ในเวลาต่อมาแม้ว่านักประดิษฐ์เครื่องดนตรีจะแก้ไขจุดอ่อนทั้งหมดของทูบาได้ แต่ความนิยมในตัวทูบากลับมีไม่มากนัก จนกระทั่งปี ค.ศ.1870 วงออร์เคสตร้าของฝรั่งเศสและอังกฤษจึงเริ่มนิยมเล่นทูบา ช่วงเวลานั้นนักดนตรีหลายคนจึงฝึกเล่นทั้งเครื่องทูบาและโอฟีไคลด์




     แอ็กคอร์เดียน
แอ็กคอร์เดียน เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (ลักษณะเดียวกับเปียโน) มีบรรพบุรุษคือ คอนเซอร์ติน่า กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็กๆ ภายในตัวเครื่อง ซึ่งเกิดจากการไหลเข้าออกของลมที่นักดนตรีเป็นคนสูบลมเข้าออก

ด้านข้างขวาเครื่องมีปุ่มเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ ด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดังเบาของเสียง แอ็กคอร์เดียนมีหลายขนาด แต่ขนาดที่นักดนตรีนิยมคือ 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส

แอ็กคอร์เดียน ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1821 โดยคริสตอฟห์ ลุควิก บูสช์แมนน์ ชาวเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ก่อนจะแพร่เข้ามายังกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และกลายเป็นที่นิยมในประเทศเบลเยียมและฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

เมื่อแอ็กคอร์เดียนกลายเป็นที่นิยม ในปี ค.ศ.1948 กลุ่มนักดนตรีที่หลงใหลในแอ็กคอร์เดียน จึงเริ่มจัดตั้งโรงเรียนแห่งแรกในประเทศเยอรมนี จากนั้นจึงเริ่มมีโรงเรียนในประเทศอังกฤษเอาอย่างและขยายไปยังสหรัฐอเมริกา

หากน้องๆ ไปเยือนประเทศแถบยุโรปจะสังเกตได้ว่าแอ็กคอร์เดียนกลายเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นเพลงร่วมสมัยไปเสียแล้ว

แม้แอ็กคอร์เดียนจะเป็นที่นิยมอย่างสูงในการเล่นเพลงป๊อป แต่ในทางตรงข้าม นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงอย่างเบิร์ก หรือ รอย ฮาร์ริส ยังนิยมประพันธ์เพลงสำหรับแอ็กคอร์เดียนในงานคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ ขณะที่ปัจจุบันแอ็กคอร์เดียนเป็นที่นิยมในการบรรเลงเพลงในวงดนตรีขนาดเล็ก เช่น วงท้องถิ่น วงคอมโบ วงโฟล์กซอง




     ลูต
ลูต ในอดีตคำว่า "ลูต" (lute) กินความถึงเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีคอ เพื่อใช้ขึงสายอันขนานไปกับลำเครื่องจนถึงแผ่นสะท้อนเสียง บางชนิดก็ใช้วิธีดีด บางชนิดก็ใช้วิธีสี

ปัจจุบันลูตนิยมมีสาย 6 คู่ และมีรูปร่างคล้ายผลแพร์ เล่นทั้งโซโล่ประกอบวง หรือเล่นเป็นทำนองคลอไปกับเมโลดี้ก็ได้

ย้อนไปในอดีต ลูตแบบฝั่งตะวันตกพัฒนามาจาก oud ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของฝั่งอาหรับ รูปทรงคล้ายผลแพร์ มีสายพาดผ่านรูเสียงซึ่งตกแต่งด้วยลาดลายดอกไม้วิจิตร และต่อเนื่องไปยังคอซึ่งยึดสาย ทำมุมพอดีให้ง่ายสำหรับการเล่น

ลูตตัวแรกประดิษฐ์ขึ้นราวปี ค.ศ. 1440 โดยนายอองรี อาร์โนต์ เดอ ชโวลเลอ ประดิษฐ์ลูตตามทฤษฎีคณิตศาสตร์และเชื่อว่ามันจะสามารถขยายหรือลดขนาดได้ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15 ลูตจึงเร่มมีห้าสายคู่ก่อนจะเพิ่มเป็นหกสายคู่ในยคุเรอเนสซองก์ (ศตวรรษที่ 16) ลูตในยุคนี้กลายเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการปรับเปลี่ยนเสียงเบสให้หนักแน่นชวนฟังมากขึ้น

ลูตในยุคแรกเล่นโดยใช้แผ่นไม้ดีดสายเป็นแผง เน้นใช้เป็นเครื่องดนตรีกำหนดจังหวะมากกว่าสร้างเมโลดี้ (ทำนองเพลง) นำวง  อย่างไรก็ตาม กลางศตวรรษที่ 15 ลูตถูกปรับเปลี่ยนให้เล่นโดยนิ้วเพียงอย่างเดียว ทำให้มันสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเล่นเมโลดี้และเล่นทำนองกำหนดจังหวะ ลูตจึงถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เหมาะกับทุกยุคทุกสมัยและทุกกาลเทศะ

ลูตได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีนานาชาติ เพราะเมื่อลูตเดินทางเข้าสู่ประเทศไหน ก็มักมีการปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางการเล่น หรือแม้แต่เสียงเฉพาะตัว




     คอนเซอร์ทิน่า
คอนเซอร์ทิน่า หรือชื่อเล่นว่า "สควิซ บ็อกซ์" เป็นเครื่องดนตรีจำพวกคีย์บอร์ด ส่วนกลางเครื่องลักษณะเหมือนเครื่องสูบลม มีปุ่มกดอยู่ที่ส่วนหัวของทั้งสองข้าง เวลาเล่นนักดนตรีจะบีบปั๊มลมเข้าหากัน เพื่อดันลมให้ผ่านช่องเสียงก่อนที่จะกดปุ่มด้านบน เพื่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน คอนเซอร์ทิน่าไม่มีคีย์ ไม่มีบอร์ดสำหรับรองรับปุ่มกด แถมยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล

คอนเซอร์ทิน่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีช่วงเสียงแคบที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีในเครือญาติออร์แกน (หากไม่นับหีบเพลง) ความแตกต่างระหว่างหีบเพลงกับคอนเซอร์ทิน่า คือ หีบเพลงเวลาเล่นจะได้เสียงเป็นคอร์ด แต่คอนเซอร์ทิน่าเมื่อกดปุ่มหนึ่ง จะได้เสียงออกมาแค่หนึ่งโน้ตเหมือนการเล่นเปียโน

ย้อนกลับไปกลางปี ค.ศ.1830 คอนเซอร์ทิน่าเครื่องแรกผลิตขึ้นและกลายเป็นสินค้าสุดพ็อพพิวลาร์ในประเทศแถบตะวันตก ทั้งนี้ ประเทศเยอรมนีและอังกฤษต่างเป็นผู้นำในการผลิตคอนเซอร์ทิน่าชั้นเยี่ยม และพัฒนาต่อยอดจนมีสไตล์ของตัวเอง คอนเซอร์ทิน่าตำรับเยอรมันมักรู้จักกันในฐานะ “ดนตรีคนยาก” นิยมเล่นในดนตรีพ็อพหรือดนตรีข้างถนน ในขณะที่แบบฉบับเมืองผู้ดีมักนิยมเล่นกันในหมู่ไฮโซและเป็นส่วนหนึ่งของคอนเสิร์ตคลาสสิคชั้นนำ

ล่วงเข้าสู่ปี ค.ศ.1850 เยอรมนีเริ่มพัฒนาให้คอนเซอร์ทิน่าสามารถเล่นโน้ตเพลงได้ทั้งสองข้าง มีปุ่มกดถึง 20 ปุ่ม (สำหรับขายในประเทศ) ขณะที่การพัฒนานี้ต่อยอดเป็นไอเดียให้ฝั่งอังกฤษเอาไปสร้างระบบดูเอต (ดนตรีบรรเลงคู่)

เวลาต่อมาคอนเซอร์ทิน่ากลายเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประจำหน่วยกู้ชีพในอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และยังกลายเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในคอนเสิร์ต หรืองานรื่นเริงในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อีกด้วย




     ดิดเจอริดู
ดิดเจอริดู หรือ ทรัมเป็ตไม้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า พัฒนาโดยชนเผ่าอะบอริจิ้น ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของออสเตรเลียราว 1,500 ปีก่อน

ปัจจุบันเราเห็นดิดเจอริดูทั่วไปในประเทศออสเตรเลีย ทั้งในดนตรีพื้นบ้านและวงดนตรีร่วมสมัยทั่วไป

ดิดเจอริดู ทำจากไม้ยูคาลิปตัสเนื้อแข็งมีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย เทคนิคการหาคือการตามล่ารังของปลวกที่ชอบทำรังอยู่ในต้นยูคาลิปตัส

นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีจะขูดเอาเนื้อไม้ข้างในออกให้เห็นเป็นเพลง ปลายด้านหนึ่งจะมีขนาดเล็กราว 1.25 นิ้ว ก่อนจะขยายไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดที่ 2-8 นิ้วที่ปลายอีกข้างหนึ่ง ปลายข้างที่เล็กจะถูกอุดด้วยขี้ผึ้งเพื่อให้เป็นรูเป่าลมลงไปได้สะดวก

ความยาวของเครื่องจะเป็นตัวกำหนดเสียงสูงต่ำที่สามารถเล่นออกมาได้ ดิดเจอริดูสมัยใหม่อาจผลิตจากท่อพีวีซีหรือจากไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น

สำหรับการเล่นดิดเจอริดูไม่ใช่เรื่องง่าย นักดนตรีต้องทำปากสั่นๆ ก่อนจะเป่าลมผ่านเข้าไปในรูปลายข้างที่ใช้ขี้ผึ้งอุดไว้

เทคนิคที่ยากที่สุดคือ การเป่าลมแบบต่อเนื่อง โดยการสูดลมหายใจทางจมูกเข้าไปเก็บที่ปอดและแก้ม ขณะที่ปากก็เป่าลมที่สะสมไว้ไปด้วย นักดนตรีที่ชำนาญเคยทำสถิติเป่าดิดเจอริดูได้ยาวนานถึง 50 นาทีติดต่อกัน

ดิดเจอริดูกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องดนตรีประกอบพิธีกรรม โดยจะเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ อย่างไม้เคาะ และร่ายเพลงเป็นจังหวะให้คนหนุ่มสาวเต้นรำเพื่อความสนุกสนานหรือบวงสรวง

โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงถูกห้ามเล่นดิดเจอริดูในงานพิธีกรรม แต่สามารถเล่นเพื่อความเพลิดเพลินในงานทั่วไปได้

ผลวิจัยทางการแพทย์ยังพบว่า การเล่นดิดเจอริดูช่วยแก้ปัญหาการนอนกรนหรือระบบหายใจติดขัด เพราะการเป่าลมที่ยาวนานเสมือนการบริหารกล้ามเนื้อไปในตัว




     มารากาส
มารากาส เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะดั้งเดิมของละตินอเมริกา ไม่สามารถปรับระดับเสียงได้ นิยมเล่นเป็นคู่เพื่อประกอบพิธีกรรมหรืองานรื่นเริง ปัจจุบันมารากาสเล่นกันอย่างแพร่หลายไม่เว้นแม้แต่ในวงออร์เคสตร้าชั้นนำ

โดยทั่วไปมารากาสทำมาจากวัสดุที่ปล่อยให้ภายในว่าง แล้วใส่ของก้อนกลมลงไป เวลาจะเล่นก็เพียงแค่เขย่าตามจังหวะให้สนุกสนาน ถือเป็นเครื่องดนตรีโบราณที่มีการปรับเปลี่ยนวัสดุเสมอมา

เริ่มจากชนเผ่าโบราณใช้กระดูกขากรรไกรล่างของลาหรือม้า มาทำเป็นโครงก่อนจะใส่ฟันของพวกมันลงไป ขณะที่ปัจจุบันเรามักทำตัวเครื่องจากเหล็กหรือแก้ว แล้วใส่ก้อนเหล็กแน่นลงไปแทน ก้อนเหล็กก้อนหนึ่งจะมีเสียงสูง ขณะที่ก้อนอื่นมีเสียงต่ำ

มารากาสปรากฎครั้งแรกในประเทศโคลัมเบียเมื่อ 1,500 ปีก่อน โดยนักธรณีวิทยาพบมันทำจากดิน มารากาสเป็นภาษาบราซิลโบราณแปลว่า การเคาะหรือเขย่า

ปัจจุบันมารากาสนิยมเล่นกันมากในดนตรีป๊อปและแจ๊ซ ที่มีกลิ่นอายแบบละติน เสียงแซกๆ ของมันสร้างจังหวะครื้นเครงขณะเดียวกับการแฝงกลิ่นอายของมนต์ขลังที่น่าค้นหา

แม้มองผิวเผินมารากาสจะเล่นง่ายเพียงเขย่ามือ แต่นักร่ายรำและนักดนตรีที่มีชื่อเสียง จะมีเทคนิคการเล่นมารากาสที่มหัศจรรย์ เช่น ใช้เท้าเล่น หรือใช้ศีรษะเล่น เป็นต้น




     บิวา
บิวา เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่น ทรงหยดน้ำรูปร่างคล้ายลูท สมัยก่อนนิยมเล่นในราชสำนัก หรือประกอบการขับลำนำมหากาพย์ บิวาได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างมาจากผีผาเครื่องดนตรีจีน สมัยราชวงศ์ถังราวปี ค.ศ.618-907

โดยทั่วไปบิวาจะมีสาย 4-5 เส้น ความสูง 3 ฟุต ตัวเครื่องทำจากไม้มัลเบอร์รี่ส่วนแข็งที่คว้านเอาไส้ในออก ติดเข้ากับซาวด์บอร์ดที่ทำจากไม้เพาโลว์เนีย พาดด้วยสายผ้าไหมขึงตึงมีไม้ไผ่ยึด เสียงที่เกิดขึ้นมาจากสายไหมที่สะเทือนใส่ไม้ไผ่ การดีดทาบลงไปทั้งมือทำให้เกิดเสียงหลายเสียง และให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่

บิวามี 5 ชนิด กาคุบิวาใช้ในกากาคุ (ดนตรีในราชสำนักสมัยเกียวโตยังเรืองอำนาจ) โมโซบิวา ใช้โดยพระตาบอด  ซาซึมะบิวา  นิยมใช้โดยซามูไร เฮอิเคะบิวา ใช้ในการขับลำนำมหากาพย์เฮอิเคะ และชิกูเซ็นบิวา เป็นบิวาทีทันสมัยที่สุดและนิยมใช้กันทั่วไป

ศตวรรษที่ 9 โมโซ่พระตาบอดเริ่มเล่นบิวาเพื่อประกอบการสวดมนต์และการเจริญสมาธิ ในศตวรรษที่ 12 ชาวอาทิตย์อุทัยนิยมเล่นประกอบการขับลำนำ ประวัติศาสตร์ยุคกลาง ไม่ว่าจะเป็น “ลำนำ เฮอิเคะ” ซึ่งเป็นสงครามระหว่างตระกูลมินาโมโตะและไทระที่เกิดขึ้นราวศตวรรษที่ 12 มหาอัคคีภัยจากทะเลและลำนำยกยอความกล้าหาญของซามูไร

บิวามักเล่นเพื่อสร้างภาพโศกนาฏกรรมหรืออารมณ์อันรุนแรงที่เกิดจากความผิดหวังหรือความสูญเสีย นักดนตรีอาจดีดบิวาแรงๆ เพื่อให้เกิดเสียงสะท้อนก้องไปทั่วบริเวณ ชาวญี่ปุ่นชอบบิวาเพราะมีลักษณะเหมือนมนุษย์ที่กล้าแสดงความบิดเบี้ยวในจิตใจออกมาได้อย่างกล้าหาญ




     ชากุฮาชิ
ชากุฮาชิ เป็นขลุ่ยญี่ปุ่นปลายปิดที่รับอิทธิพลมาจากแดนมังกร ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 โด่งดังในยุคเอโดะ โดยทั่วไปนิยมสร้างจากไม้ไผ่ปล้องสุดท้าย ซึ่งติดกับรากทำให้เกิดรูมากมาย ปัจจุบันอาจทำมาจากพลาสติกสังเคราะห์หรือไม้เนื้อแข็ง

ชากุฮาชิมีความหมายตามตัวอักษรว่า ชาคุหนึ่งเลาต่อตะวันแปดดวง ความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 55 ซม. กลางลำมีรู 5 รูเพื่อเปลี่ยนเสียง ด้านปลายตัดเฉียงเพื่อให้เกิดเสียงดนตรี เวลาเป่าคล้ายการเป่าลมเข้าปากขวดให้เกิดเสียงต่างระดับ

ขลุ่ยญี่ปุ่นชนิดนี้นิยมใช้ประกอบการเรียนการสอนศาสนาพุทธนิกายเชนในวัด เพื่อประกอบการซุยเซ็นหรือการเจริญสมาธิโดยการเล่นเครื่องดนตรี จูนคีย์เป็นแบบไมเนอร์เพนตาโทนิกสเกล ให้เสียงที่สงบเหมือนวงน้ำอันแผ่ขยายจากศูนย์กลางยามใบไม้ร่วงหล่น  ขณะเดียวกันสามารถเป็นเสียงที่สนุกสนานและยากจะคาดเดาได้

ซากุฮาชิโด่งดังในสมัยยุคกลางของญี่ปุ่น (ช่วงที่เราเริ่มรู้จักซามูไร โชกุน ในหนังย้อนยุคของญี่ปุ่น) โดยเข้ามาผูกพันกับนิกายเซนและการสงคราม เนื่องจากปรัชญาการซุยเซ็นนั้น พระสงฆ์จะต้องธุดงค์ไปเรื่อยๆ

ซึ่งขัดกับกฎของโชกุนในสมัยนั้นที่ไม่อนุญาตให้ข้าราชบริพารเดินทางออกนอกพื้นที่ การซุยเซ็นจึงเป็นข้ออ้างของพระสงฆ์ที่จะเดินทางออกนอกพื้นที่ และแทรกแซงเข้าไปยังอาณาจักรอื่น ขณะเดียวกันโชกุนก็ยังใช้ช่องโหว่นี้ ในการส่งสายลับเป็นพระสงฆ์แทรกแซงอาณาจักรอื่น




     โชว
โชว เป็นเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยของญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพลมาจากเช็ง ขลุ่ยจีนโบราณ เดินทางเข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่นในยุคนารา (ค.ศ.710-794) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตัวอักษรจีนเดินทางเข้ามายังแดนอาทิตย์อุทัยเช่นกัน

ส่วนประกอบของโชว คือไม้ไผ่สั้นยาวหลายขนาดจำนวน 17 ลำรวมติดกันอยู่ที่ฐานซึ่งทำจากเหล็กกล้า ไผ่แต่ละลำจะหยดขี้ผึ้งไว้ท้ายกระบอกเพื่อจูนเสียง เวลาเล่นนักดนตรีจะเป่าหรือดูดลมจากรู ซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนฐานเพื่อส่งแรงลมขึ้นไปบนลำไผ่ ก่อให้เกิดเสียงหวีดหวิวคล้ายเสียงนกร้อง

ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า เสียงของโชวคือเสียงร้องของฟีนิกซ์ นกอมตะในนิทานปรัมปรา  ดังนั้น เมื่อช่างประดิษฐ์เครื่องดนตรีประกอบโชว์ก็จะปล่อยให้ไผ่สองลำในบรรดา 17  ลำไม่มีเสียง เนื่องจากเชื่อว่าเป็นส่วนปีกของนกอัศจรรย์นี้ การเก็บรักษาก็ต้องพิสดารโดยนำตัวเครื่องไปอังไฟอุ่นๆ จากเตาถ่านเพื่อไล่ความชื้นเสมอ

โชวจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีวัง โดยประจำอยู่ในกากาคุ วงดนตรีประจำราชสำนักญี่ปุ่นโบราณ เทคนิคการเล่นที่สำคัญของโชวคือ “ไอทาเกะ” เป็นการเล่นโน้ตใกล้เคียงกันอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน โชวถูกปรับเปลี่ยนนำมาใช้กับดนตรีร่วมสมัยโดยช่างประดิษฐ์เครื่องดนตรีแทนที่ไผ่สองลำหรือ “ปีก” ด้วยไผ่ที่มีเสียงของโน้ตตัวใหม่ซึ่งทำให้ความกว้างของช่วงเสียงเพิ่มขึ้น


ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): หนังสือพิมพ์ข่าวสด
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2558 14:46:03 »

.

    บุค
บุค เป็นกลองโบราณของเกาหลีที่ ชาวโลกรู้จัก เนื่องจากนิยมนำมาประกอบการละเล่นพื้นบ้านตามละคร ทีวีบ่อยๆ

"บุค" มีความหมายแปลตามตัวอักษรว่ากลอง มีทั้งสิ้น 12 ชนิด แต่ส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง "บุค" คนเกาหลีมักคิดถึง กลองแบนๆ สองหน้า ตัวเครื่องทำจากไม้ หุ้มหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังสัตว์ที่ยึดตรึงข้างด้วยหมุดเหล็ก ตรงกลางมีแต้มสีสวยงาม

เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในตระกูล “เฮียกบุ” หรือเครื่องดนตรีหนัง ซึ่งนิยมเล่นทั้งดนตรี “วัง” และดนตรี “บ้าน” เช่น การเล่นประกอบการแสดง การเล่นเพื่อสวนสนาม การเล่นประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา การเล่นโดยวนิพก หรือการเล่นประกอบการทำงานของชาวนา

ความต่างเล็กน้อยของการเล่น “บุค” เป็นดนตรีวังคือ การที่นักดนตรีมักตีหน้ากลองด้วยไม้กลอง ขณะที่หากเป็นดนตรีชาวบ้านจะตีด้วยมือข้างขวา

ความเป็นมาของกลองเกาหลีนี้เริ่มขึ้นในสมัยสงครามสามอาณาจักรเกาหลี โดยปรากฏหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันครั้งแรกบนจิตรกรรมฝาผนังในสุสานอานัก ยุคโชซอนโบราณ ชาวเกาหลีเริ่มเขียนโน้ตเพลงสำหรับการเล่นบุคเพื่อประกอบกับเครื่องดนตรีอื่นเป็นวงดนตรี

นอกจากกลองที่เล่นเพื่อความสนุกสานแล้ว เกาหลียังมีกลอง “ยุงโกะ” ที่ใช้ระหว่างการรบ ลักษณะเหมือนกลองบุคขยายขนาด เพียงแต่ส่วนหน้ากลองจะเพนต์เป็นลายมังกร และตีด้วยไม้กลองขนาดใหญ่จากด้านข้าง
...ทีมา นสพ.ข่าวสด



    หยางฉิน
หยางฉิน เป็นเครื่องดนตรีจีนที่ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ปัจจุบันคืออิหร่าน) มีความหมายตรงตัวว่าขิมของชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีทั้งหมด 144 สาย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 5 สาย อยู่บนบริดจ์หรือสะพานสายทั้ง 5 สะพาน สามารถแบ่งกลุ่มสะพานสายออกเป็นเสียง เบส เทเนอร์ และ โครมาติก

ด้านไม้ทั้ง 2 ชิ้นที่ใช้ตีสายนิยมทำจากไม้ไผ่ ที่พิเศษคือปลายไม้สองข้างจะหุ้มด้วยยาง ทำให้นักดนตรีเล่นเสียงที่นิ่มนวลด้วยการเคาะสายด้วยปลายหุ้มยาง ขณะที่หากเคาะสายด้วยสันจะได้เสียงที่ชัดเจนและดังกว่า

ในอดีตสายของเครื่องหยางฉินนิยมทำจากบรอนซ์ (แต่หากเป็นพื้นที่เซี่ยงไฮ้ เจียงหนาน หรือกวางตุ้ง อาจทำจากเส้นไหมหรือใยไผ่ทำให้ได้เสียงที่นิ่มนวลมากกว่า)  ที่น่ารู้คือเครื่องดนตรีขิมของไทยและกัมพูชาต่างเป็นลูกหลานของหยางฉิน เนื่องจากไทยได้รับอิทธิพลและวิธีคิดประดิษฐ์ขิมมาจากนักดนตรีจีนทางตอนใต้ของประเทศ กระทั่งปี ค.ศ.1950 เริ่มมีการใช้โลหะมาทำสายเพื่อให้ได้เสียงที่ใสและดังขึ้น

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานที่มาของหยางฉินไปต่างๆ นานา ที่น่าเชื่อถือมี 3 ที่มาคือ หนึ่งผ่านเส้นทางสายไหม สองรับอิทธิพลตะวันตกผ่านท่าเรือกวางโจว และสามชาวจีนด้วยกันเองพัฒนาขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรหยางคำแรกของเครื่องดนตรีแปลว่า “ต่างชาติ” ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของชาวต่างชาติ แม้ภายหลัง “หยาง” ตัวนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็น “หยาง” ที่มีความหมายว่าการสรรเสริญ แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เป็นการเปลี่ยนเพื่อเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากสมัยนั้นจีนพยายามต่อสู้กับการแทรกแซงทางวัฒนธรรมจากต่างชาติ
......ทีมา นสพ.ข่าวสด



    บลูบลู ตารัง
บลูบลู ตารัง มีความหมายตรงตัวว่า "ฝูงนกไนติงเกล" จัดเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายในอินเดียและประเทศใกล้เคียง เป็นเครื่องดนตรีนำเข้าที่ได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องดนตรีแดนอาทิตย์อุทัย

บลูบลู ตารัง แบ่งออกเป็นสองช่วง ช่วงหนึ่งคือเสียงพื้นหลังขณะที่อีกช่วงจะทำหน้าที่เป็นเสียงเมโลดี้ สายพาดผ่านแผ่นเฟรต ส่วนเหนือสายจะมีปุ่มให้นักดนตรีกด เพื่อตัดเสียงหรือเพิ่มระดับเสียง

วิธีเล่นคล้ายกีตาร์คือใช้มือดีดหรือใช้ปิ๊กดีด ด้านการจูนสาย ในส่วนเมโลดี้มักจะจูนเสียงแบบระบบสากล ขณะที่เสียงพื้นหลังจะจูนเสียงเทียบกับสายที่ 1 และสายที่ 5 ของช่วงเมโลดี้ นิยมเล่นคู่กับนักร้องเพื่อขับกล่อมในงานรื่นเริงและงานพิธีการต่างๆ

ต้นกำเนิดของบลูบลู ตารัง มาจากไทโชะโกโตะเครื่องดนตรีญี่ปุ่นที่สร้างโดยโกโระ มอริตะ ผู้อาศัยอยู่ในเขตนายาโกย่าของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1912 โดยชื่อไทโชะนั้นตั้งเป็นเกียรติแก่องค์พระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่สอง ส่วนโกโตะหมายถึงเครื่องสาย

โทโชะโกโตะเป็นที่นิยมและขยายแพร่หลายในปี ค.ศ.1929 และเป็นสาเหตุให้มันข้ามน้ำข้ามทะเลไปดังระเบิดในเอเชียใต้ในเวลาต่อมา นักประวัติศาสตร์ดนตรีเชื่อว่า ไทโชะโกโตะเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องดนตรีคล้ายไวโอลิน ที่นำเข้ามาจากซีกโลกตะวันตก ไม่ใช่ดนตรีญี่ปุ่นพันธุ์แท้
...ทีมา นสพ.ข่าวสด




    ตี้หู  
ตี้หู เครื่องสายขนาดใหญ่ที่ชาวแดนมังกรนิยมเล่นกันมากในอดีต ด้วยความที่มีกล่องเสียงที่ใหญ่มาก หุ้มด้วยหนังงูเหมือนสมาชิกเครื่องดนตรีในตระกูลหูซิน มีสองสาย เวลาเล่นต้องจับตั้งฉากกับพื้น ชื่อของเครื่องดนตรีมาจากคำว่าตี้ ซึ่งมีความหมายว่า “ต่ำ”

เครื่องดนตรีในตระกูลตี้หู มักมี 3 ขนาด ได้แก่ หนึ่ง เซียวตี้หู  มีเสียงต่ำกว่าเออร์หู หนึ่งออกเตจ   จริงๆ แล้วเป็นเครื่องดนตรีเสียงเทเนอร์ที่อยู่ในตระกูลเออร์หู  สอง ชงชี้หู เป็นเครื่องดนตรีเสียงเบสในตระกูล และสุดท้ายคือ ต้าตี้หู เป็นสมาชิกเสียงคอนตราเบสในตระกูลของเออร์หู

เครื่องดนตรีในตระกูลตี้หูนั้นพัฒนาขึ้นมาสำหรับวงออร์เคสตร้าในราวปี ค.ศ.1930 เพื่อมาสนับสนุนเสียงต่ำให้แก่เครื่องดนตรีในตระกูลเออร์หู

อย่างไรก็ตาม ในช่วงศตวรรษที่ 20 กระแสการเล่นตี้หูจางหายไปจากสังคมจีน เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่ใหญ่เกินไปจนไม่สามารถแบกได้ และมีเพียงสองสาย ทำให้การเล่นแบบพิซซิกาโต้หรือการดีดเสียงสั้นเป็นเรื่องยาก
...ทีมา นสพ.ข่าวสด



    ผีผา (琵琶)
ผีผา มีกำเนิดมานานเกือบสองพันปี เส้นเสียงดังก้องกังวาน มีพลังในการแสดงสูง  ...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    ซวิน (埙)  
ซวิน เป็นเครื่องเป่าเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนานเจ็ดพันปี
ซวินส่วนใหญ่ทำด้วยหินหรือกระดูกสัตว์ ต่อมาจึงค่อยๆ พัฒนาและทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา
...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    หร่วน (阮)
หร่วน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ใช้ดีด เป็นพิณชนิดหนึ่งของจีน ในสมัยโบราณเรียกว่า “ผีผาฉิน” (琵琶群)...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    ตี๋จึ (笛子)
ตี๋จึ เป็นขลุ่ยจีน สมัยก่อนเรียกว่าเหิงชุย (横吹) แปลว่าเป่าตามขวางมีประวัติมานานหลายพันปี ...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    กู่เจิง (古筝)
กู่เจิง เป็นเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมของจีน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย
ใช้มือดีด การแสดงกู่เจิงเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ผู้มีการศึกษานิยมบรรเลง
...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    หลัวกู่ (锣鼓)
หลัวกู่ ลักษณะเหมือนกลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีบทบาทสำคัญยิ่งในการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านของจีน ...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    ชิ่ง (磬)
ชิ่ง ทำจากหินที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างโบราณและเรียบง่าย...ทีมา 1.bp.blogspot.com



    อวี๋ (芋)
อวี๋ เครื่องดนตรีแบบลำปล้องโบราณ มีลำปล้องขนาดค่อนข้างใหญ่ มีหลายปล้อง...ทีมา 1.bp.blogspot.com


 
    มู่อวี๋ (木鱼)
มู่อวี๋ เป็นเครื่องดนตรีในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา จัดเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง...ทีมา 1.bp.blogspot.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤษภาคม 2558 14:50:07 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.163 Chrome 80.0.3987.163


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 16 เมษายน 2563 22:40:01 »

พระตีมู่อวี๋ประกอบเพลง we will rock you !!

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=ZmxcHclTYZU" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=ZmxcHclTYZU</a>



 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
น้าโย่ง ร้องลำตัด จาก คุณพระช่วย ช่วง จำอวดหน้าม่าน เรื่อง "กีฬากับผู้หญิง" ตลกมากครับ
เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
หมีงงในพงหญ้า 2 8756 กระทู้ล่าสุด 22 ธันวาคม 2553 13:17:47
โดย Pee
เด็ก ป.3 เขียน Mind Map เรื่อง "ทำอย่างไรไม่ให้ภาชนะหล่น"
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
Band-Home-PC 0 6219 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2555 18:43:34
โดย Band-Home-PC
ตุ๊กตาผี รอบโลก
ร้อยภูติ พันวิญญาณ
ใบบุญ 2 6724 กระทู้ล่าสุด 19 กรกฎาคม 2556 05:15:44
โดย ใบบุญ
"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปีศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
tamma.th 0 1515 กระทู้ล่าสุด 16 พฤศจิกายน 2558 20:27:40
โดย tamma.th
รอบโลก "คนดัง"
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 16 7815 กระทู้ล่าสุด 16 ตุลาคม 2565 13:52:56
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.16 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 9 ชั่วโมงที่แล้ว