[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:30:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พบหลุมดำซ่อนตัวในมหาสมุทรแอตแลนติก พร้อมกลืนทุกอย่าง  (อ่าน 23753 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 29.0.1547.76 Chrome 29.0.1547.76


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 ตุลาคม 2556 12:00:46 »

พบหลุมดำซ่อนตัวในมหาสมุทรแอตแลนติก พร้อมกลืนทุกอย่าง


           แม้เราจะมองไม่สามารถมองเห็นมันได้ แต่หลุมดำก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและน่ากลัวมากเสียด้วย เพราะมันมีพลังมากพอที่จะดูดกลืนทุกสิ่งที่เข้าไปอยู่ในรัศมี ชนิดที่ไม่ว่าจะเป็นสิ่งไหนก็ไม่สามารถหลุดรอดไปได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งน้ำหรือแสง ซึ่งตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านอกจากบนอวกาศแล้ว บนโลกของเราก็มีหลุมดำอยู่ด้วย

           เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 เว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์พบวังน้ำวนพลังงานมหาศาลซ่อนตัวอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก มีพลังและมีรูปแบบเดียวกับหลุมดำที่อยู่ในห้วงอวกาศ

           รายงานระบุว่า หลุมดำที่ว่านี้อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นน้ำวนขนาดยักษ์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอีทีเอช ซูริค และมหาวิทยาลัยไมอามี่ เชื่อว่ามันดูดกลืนน้ำแบบเดียวกับที่หลุมดำในห้วงอวกาศดูดกลืนแสง อย่างไรก็ตาม การจะสรุปว่านี่เป็นแค่น้ำวน หรือเป็นหลุมดำที่ซ่อนตัวอยู่บนโลก ยังคงเป็นปริศนาที่ไม่อาจกล่าวได้แน่ชัด

           ส่วนทางด้าน จอร์จ ฮอลเลอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัอีทีเอช ซูริค ได้ทำการวิเคราะห์น้ำวนปริศนานี้ด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ ผ่านการจับตามองด้วยภาพจากดาวเทียม ทำให้พบสิ่งที่น่าตกใจ ซึ่งก็คือการที่แสงแดดไม่ส่องไปในบริเวณนี้ แต่กลับเบนกลับสู่ทิศเดิม กลายเป็นวงโคจรของแสง

           นอกจากนี้ จากการที่น้ำวนปริศนานี้ทำงานเหมือนกับหลุมดำ คือดูดกลืนทุกสิ่ง รวมทั้งทำให้เกิดความผิดปกติของแสง คล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ที่ไอสไตน์ตั้งชื่อว่า โฟตอน สเฟียร์ ที่มักเกิดบริเวณหลุมดำ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายให้ความสนใจกับมันเป็นพิเศษ และตั้งใจจะศึกษาต่อไป เพื่อค้นหาว่ามันคือน้ำวนธรรมดาหรือหลุมดำกันแน่ รวมทั้งศึกษาหาสาเหตุ เผื่อเป็นแนวทางในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติเพิ่มเติม



ข่าวจาก: http://www.science20.com/news_articles/coherent_lagrangian_vortices_our_oceans_have_their_own_kind_black_holes-120919

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 29.0.1547.76 Chrome 29.0.1547.76


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2556 12:01:12 »




Black Holes In Our Oceans - Coherent Lagrangian Vortices





บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น: หลุมดำ มหาสมุทร แอตแลนติก ทะเล 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.276 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 ธันวาคม 2566 11:29:11