[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 19:59:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สัจธรรมนอกคัมภีร์  (อ่าน 2941 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 มกราคม 2553 11:52:41 »



         

           สัจธรรมนอกคัมภีร์


เขียนโดย ทวี คุ้มเมือง     
   สนทนากับพระเจ้า : การพูดคุยที่ไม่ธรรมดา  เล่ม ๑
               
               นีล โดนัลด์ วอลซ์  เขียน  รวิวาร  โฉมเฉลา  แปล   สำนักพิมพ์  โอ้  พระเจ้า  พับลิชชิ่ง,  กันยายน  ๒๕๔๙

               คำถามแรกเมื่อเห็นชื่อหนังสือเล่มนี้ก็คือ  นี่เป็นเรื่องจริงหรือโกหกกันแน่ ?  ใครหนอที่สามารถสื่อสารกับพระผู้สร้างได้ยืดยาวอย่างนี้ ?    อาจจะมีผู้คนเคยบอกเล่าถึงประสบการณ์ทางจิตวิญญาณผ่านนิมิตนานัปการเมื่อยามวิกฤติของชีวิต  แต่การมาปุจฉาวิสัชนาโต้ตอบปัญหากันแบบตัวต่อตัว  จนสามารถบันทึกเป็นข้อเขียนออกมาเสียละเอียดลออ  ย่อมต้องมีเบื้องหน้าเบื้องหลังให้สืบค้นเป็นแน่แท้...
หลังจากที่เข้าออกงานในแวดวงสถานีวิทยุมานับครั้งไม่ถ้วน พอ ๆ กับการต้องแยกทางกับคนรักหลายหน  และด้วยสุขภาพซึ่งเริ่มเสื่อมถอยลงเป็นระยะ  นีล  โดนัลด์  วอลช์  ยังคงพยายามดิ้นรนไปสู่เส้นทางชีวิตสายใหม่อยู่เสมอ  กระทั่งเกิดเคราะห์ร้ายถูกรถชนคอเกือบหัก  ทำให้ต้องใช้เวลารักษาตัวเนิ่นนานจนถึงคราวซวยอย่างสมบูรณ์แบบคือ  ตกงาน  ไร้บ้าน  หมดเงิน  ต้องกลายเป็นคนเก็บขยะข้างถนน  อาศัยนอนตามสวนสาธารณะ โดยสิ่งสุดท้ายซึ่งเขากำลังจะสูญเสียไปอีกคือ  เริ่มหมดหวังต่อความเป็นมนุษย์ของตัวเอง

ก่อนตัดสินใจฆ่าตัวตาย  วอลช์ขอใช้โอกาสอันเหลืออยู่น้อยนิด  จดหมายทิ้งทวนด่า "พระเจ้า" ให้หายแค้นในฐานะต้นเรื่องของความผิดพลาดทั้งปวง   แต่ข้อเขียนเหล่านั้นกลับนำพาให้เขาพร้อมกับผู้คนอีกจำนวนหนึ่ง  เริ่มรู้จักและเข้าใจ "พระเจ้า" ในความหมายที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง

ภาพพจน์ดั้งเดิมของพระเจ้าตลอดช่วงประวัติศาสตร์หลายพันปีมีลักษณะเป็นผู้ชายสูงวัยไว้หนวดเครายาวสลวย  ก่อนปรากฏกายต้องมีทูตสวรรค์คอยเป่าแตรเบิกฤกษ์  แล้วด้วยฐานะผู้ดลบันดาลพิภพบาดาลจรดอวกาศไพศาล  พระองค์จึงต้องคอยเฝ้าตัดสินลงโทษหรือให้รางวัลมวลมนุษย์ตลอดเวลา  จนถึงวาระ "พิพากษาครั้งสุดท้าย" เพื่อชำระล้างแผ่นดินโลกให้บริสุทธิ์สะอาดดุจแรกสร้างอีกครั้งหนึ่ง

นั่นเป็นลักษณะซึ่งมนุษย์รับรู้ถึงภาวะดำรงอยู่ของพระเจ้าจนฝังใจ  เสมือนบิดาผู้เข้มงวดกวดขันต่อบุตรดื้อด้าน  ยิ่งเมื่อศาสนจักรเพิ่มเติมความยิ่งใหญ่อลังการราวจักพรรดิแห่งสรวงสวรรค์   ผนวกกับความซับซ้อนเพื่อ "เข้าถึง" ผ่านตรรกะเทววิทยาโดยเหล่าสังฆราชาทั้งหลาย   การสนทนากับพระเจ้าจึงต้องอาศัยตัวกลางภายใต้อาภรณ์นักบวชเฉพาะนิกาย   กระทั่งสี่ร้อยกว่าปีก่อนเกิดแตกแยกศรัทธาจนถึงวิถีปฏิบัติในยุโรป  เมื่อมีผู้ไม่ยอมรับสถานะอำนาจของสันตะปาปาอีกต่อไป


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 12:02:01 »




นีล โดนัลด์ วอลช์ (เกิดในปี ๑๙๔๓)


แก่นแกนของ สนทนากับพระเจ้า  นอกจากการใช้รูปแบบถามตอบตามที่วอลช์บอกว่า  เขาไม่ได้พูดกับพระเจ้าเหมือนคนคุยกันตามปกติ  แต่กำลัง "สื่อสาร" ผ่าน "ความรู้สึก" โดยอาศัยถ้อยภาษาอันคับแคบส่งต่ออีกทอดหนึ่ง   ซึ่งตรงนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่เชื่อว่ามีใครเคยติดต่อกับพระเจ้าแบบเป็นเรื่องเป็นราว  ย่อมติงให้เห็นถึงเส้นแบ่งก้ำกึ่งของตัวผู้เขียน  ระหว่างสามัญสำนึกซึ่งกำลังเจ็บปวดต่อชีวิตกับภาวะจินตนาการเพ้อเจ้อ  แต่พระเจ้าในบทสนทนาได้บอกไว้ชัดเจนถึงช่องทางสื่อสารหลักของพระองค์มาจาก "ประสบการณ์" ของปุถุชนทั่วไป  เพียงแต่ใครจะสามารถเลือกจำแนกรายละเอียดชัดเจนมากน้อยแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง

เมื่อคลุมความของการติดต่อที่เกิดขึ้นเอาไว้กว้างขวางอย่างนี้แล้ว  ประเด็นของ สนทนาฯ ย่อมมิใช่ปัญหาเรื่องเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ?  แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้อ่านต้องแกะเอาความเข้าใจต่อแก่นสารหลักของ การพูดคุยที่ไม่ธรรมดา ก็คือ  เราทุกคนล้วนสามารถรับรู้ภาวะดำรงอยู่ของพระเจ้าโดยเท่าเทียมกัน  อันอาจเริ่มต้นอย่างง่ายจากการพยายามเข้าใจหนังสือเล่มนี้ไปทีละเล็กละน้อย

วอลช์มีคำถามสำคัญ  ๑๓  ข้อให้พระเจ้าช่วยชี้แนะ 

๕  ข้อแรกเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมท่ามกลางปัญหาสารพันในสังคมร่วมสมัย   นับแต่เรื่องเอาตัวรอดจากวงจรล้มเหลว  การหาปัจจัยให้พอยังชีพ   ไปจนถึงภาวะทนทุกข์ต่อโรคภัยตลอดเวลา

ส่วนอีก ๗ ข้อที่เหลือ  ล้วนเกี่ยวเนื่องกับความสงสัยทั้งใกล้หรือไกลตัวมากมายอย่างเรื่องเพศสัมพันธ์กับความรัก   พลังจิตกับซาตาน  มนุษย์ต่างดาวกับพระเจ้า  ฯลฯ 

โดยประเด็นทั้งหมดผูกโยงเจาะเข้าสู่ความเข้าใจสภาพภายในห้วงอารมณ์รู้สึกนึกคิด  เพื่อเริ่มต้นขจัดอาการลังเลสงสัยต่อศักยภาพจริงแท้  ซึ่งพร้อมบังเกิดขึ้นได้สำหรับทุกคนผ่านความคิด  ถ้อยคำ  และการกระทำ  ด้วยการ "ทำสิ่งที่สอดคล้องกับความคิดใหม่ที่เธอต้องการมี  จากนั้นให้พูดถ้อยคำที่สอดคล้องกับความคิดใหม่ที่เธอต้องการมี" (น. ๒๔๕)

นอกจากนี้  พระเจ้ายังหักล้างหลักเทววิทยาที่กำบังมนุษย์ออกจากหนทางพบกับจิตวิญญาณของตน  เริ่มตั้งแต่ความเชื่อที่ว่าผองชนล้วนมี  บาปกำเนิด (Original Sin)  เริ่มจากครั้งอดัมกับอีฟถูกขับไล่จากสวนสวรรค์อีเด็นเพราะลักลอบกินผลของต้นไม้แห่งชีวิต  ในเมื่อมนุษย์ถูกกำหนดให้ "รู้สึกผิด" แต่แรกเสียแล้ว  โมงยามที่เหลือบนโลกจึงหมดเปลืองไปกับการเฝ้าไถ่ถอนโทษทัณฑ์ซึ่งอาจไม่มีอยู่จริงนั้น  แต่พระเจ้าบอกวอลช์ว่า  แท้จริงมนุษย์ล้วนบริสุทธิ์  เต็มเปี่ยมด้วยพลังด้านดีงามจำนวนมหาศาล  ขอเพียงแต่เลือกยอมรับตัวตนเดิมแท้อันสงบสันติ   นี่อาจเหมือนง่ายกลับยากเข็ญยามลงมือขุดรากถอนโคนความเชื่อเดิม  ที่ยึดกุมกายใจให้ผูกติดทำร้ายวิญญาณมาแสนนานอย่างหมดจดรวดเร็วตามต้องการ  แต่ก็มิใช่สิ่งเป็นไปไม่ได้หากเลือกเริ่มต้นเสียแต่เดี๋ยวนี้

ส่วนพระตรีเอกานุภาพ (Trinity) หรือองค์สามอันศักดิ์สิทธิ์  ประกอบด้วย  พระบิดา  พระบุตร (เยซู)  และพระจิต  ซึ่งถือเป็นสิ่งสูงสุดเหนืออื่นใด  ก็ถูกพระเจ้าอธิบายกับวอลช์ว่า  พระบิดาคือแหล่งกำเนิดปวงประสบการณ์ในทุกสรรพสิ่ง  พระบุตรคือผลแห่งประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมทั้งหลาย  พระจิตคือการล่วงรู้ถึงแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์เหล่านั้น  ขั้นสุดท้ายแล้ว  จิตวิญญาณของมนุษย์นั่นเองที่ต้องออกเสาะหาช่วงขณะอันสมบูรณ์เป็นหนึ่งเดียวให้กับชีวิต 

พระเจ้าองค์นี้ปราศจากบุคลิกเคร่งเครียดขรึมขลัง  หากมีเรื่องเล่าสนุก ๆ มาแทรกผ่อนคลายระหว่างบทสนทนาเข้มข้นเป็นระยะ  นี่อาจทำให้คนช่างสงสัยหยิบยกย้ำถึงข้อเท็จจริงของหนังสือขึ้นมาอีก  แล้วทำไมพระเจ้าถึงจะมีอารมณ์ขันไม่ได้ล่ะ  ก็ในเมื่อพระองค์เป็นผู้ประดิษฐ์มันขึ้นมาเอง !


       
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 12:08:47 »


สนทนากับพระเจ้า  เป็นหนังสือไตรภาค  โดยเล่มแรกตีพิมพ์ออกมาเมื่อปี ๑๙๙๕  ประเด็นเรื่องหลักเกี่ยวกับความจริงพื้นฐานของปัจเจกบุคคล  เล่มที่สองตามมาในปี ๑๙๙๗  ขยายเนื้อหาออกไปเป็นประเด็นว่าด้วยสภาพการณ์ระดับโลกด้านสังคมการเมือง  เล่มที่สามเน้นอธิบายสัจธรรมสูงสุดระดับจักรวาล  ตีพิมพ์เมื่อปี  ๑๙๙๘  หลังจบชุดไตรภาคนี้แล้ว  วอลช์ยังมีผลงานออกมาอีกยี่สิบกว่าเล่มในประเด็นว่าด้วยพระเจ้ากับชีวิตตลอดช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา 

ต่อมาในปี ๒๐๐๑  วอลช์เริ่มก่อตั้งกลุ่ม Humanity's Team หรือขบวนการพลเมืองเพื่อจิตวิญญาณ  มีภาคีสมาชิกหมื่นกว่าคนใน ๙๐ ประเทศทั่วโลก  แล้วขยายสร้างองค์กร Group of 1000  ระดมอาสาสมัครออกส่งเสริมให้ผู้คนตามเมืองใหญ่หรือชุมชนต่าง ๆ ค้นพบ "ความจริงใหม่" เพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตตามเจตจำนงอิสระ  เปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลได้เข้าสู่วิถีสำนึกแบบมนุษยนิยมแนวใหม่อีกด้วย


ใบปิดภาพยนตร์ Conversations with God (๒๐๐๖)

นอกเหนือจากหนังสือแล้ว  วอลช์ยังเคยเขียนบทและร่วมแสดงในภาพยนตร์ Indigo (๒๐๐๓) โดยรับบทเป็นคุณตาของหลานสาวผู้มีพลังพิเศษสามารถอ่านจิตใจคนอื่นได้  และเดือนตุลาคม  ๒๐๐๖  Conversations With God  ในรูปแบบภาพยนตร์ชีวประวัติของวอลช์ก็ออกมาให้ชมกัน  ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องมาจาก สนทนากับพระเจ้า ท่ามกลางสังคมตะวันตกยุคปัจจุบัน

แท้จริงแล้วองค์ความรู้ของวอลช์ไม่ได้ผุดขึ้นแบบปุบปับเมื่อเริ่มต้นสื่อสารกับพระเจ้า  นอกเหนือจากศึกษาคัมภีร์ ไบเบิล แล้ว  ด้วยวัย ๑๕ ปี  เขายังหัดอ่านคัมภีร์อินเดียโบราณ  อุปนิษัท,  ฤคเวท  กระทั่งงานปรัชญาฮินดูของศรีรามากฤษณะ ทำให้หนังสือของเขามีลักษณะผสมผสานปรัชญาตะวันออกกับตะวันตกอย่างหลากหลาย  นับแต่เรื่องการจุติหลอมรวมกับพระเจ้าตาม ภควัทคีตา  หรือความคิดว่ามนุษย์มิได้ดำรงอยู่เพื่อเรียนรู้อะไรใหม่แต่คือหวนทรงจำต่อสิ่งที่ตนเองรู้อยู่แล้วในปรัชญาของเพลโต  ฉะนั้น  ด้วยความเป็นหนังสือโด่งดังของขบวนการนิวเอจซึ่งปฏิเสธศาสนาตามรูปแบบสถาบันแล้ว  สนทนากับพระเจ้า  จะคลี่คลายขยายผลสืบเนื่องออกไปสู่ทิศทางใดนั้น  คงเป็นเรื่องให้ต้องตามพิจารณาระยะยาวกันต่อไป

แต่เนื้อหาสาระจากหนังสือเล่มนี้คงไม่เหมาะสำหรับถูกบรรจุให้ "ประจำชาติ" อย่างแน่นอน

-----------------------------------------------------

ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร  สานแสงอรุณ
ปีที่ ๑๑  ฉบับที่ ๔ กรกฏาคม-สิงหาคม  ๒๕๕๐



     ยิ้ม : http://www.semsikkha.org/review/content/view/401/145/

บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 12:17:15 »

รัก รัก (:LOVE:)ขอบคุณเจ้าค่ะ รัก รัก รัก
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.279 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 10:59:46