[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 22:08:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สักการะพระพุทธสิหิงค์ จ.เชียงใหม่ (พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ 1 ใน 3 องค์ของเมืองไทย)  (อ่าน 5627 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2556 14:19:08 »

.


พระวิหารลายคำ ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดที่ผู้คนให้ความศรัทธา นิยมไปสักการะบูชาเสริมสิริมงคลจำนวนมากมาย  

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร : Wat Phrasingha Woramahawiharn  เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเก่า บริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  มีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา รูปลักษณะพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีถนนล้อมรอบวัดทั้ง ๔ ด้าน ทิศเหนือติดถนนอินทวโรรส ทิศตะวันออกติดถนนสามล้าน ทิศใต้ติดถนนแสนเมืองมา ทิศตะวันตกติดถนนอินทวโร  วัดแห่งนี้เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ หรือพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา  ซึ่งมีพุทธลักษณะศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

ตามประวัติกล่าวว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร สร้างขึ้นเมือปี พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยพญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์มังราย  ชั้นแรกพญาผายูให้ก่อสร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา นำอัฐิพญาคำฟู ผู้เป็นราชบิดาซึ่งครองอยู่เมืองเชียงแสนมาบรรจุในสถูปประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาอีก ๒ ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เป็นวัดขึ้น เรียกว่า วัดลีเชียงพระ เพราะที่บริเวณหน้าวัดเป็นสถานที่ค้าขายของชาวเมืองจนกลายเป็นตลาดลีเชียงพระ และเรียกชื่อวัดว่า “วัดลีเชียงพระ”  ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๙๔๓ พระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ เจ้ามหาพรหม กษัตริย์เมืองเชียงราย ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ ซึ่งได้มาจากเมืองกำแพงเพชร นำมาถวายพญาแสนเมืองมา พญาแสนเมืองมาได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ประดิษฐานไว้ที่วัดลีเชียงพระ ประชาชนจึงเรียกวัดลีเชียงพระว่า“วัดพระสิงห์” นับตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. ๒๓๖๐ พญาธัมมลังกา หรือพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ โปรดให้บูรณะพระอุโบสถและพระเจดีย์ในวัดพระสิงห์   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย พร้อมด้วยครูบาศรีวิชัยและประชาชนชาวเชียงใหม่ ได้ร่วมกันบูระฃณะปฏิสังขรณ์วัดพระสิงห์อีกครั้ง และได้มีการขุดพบสิ่งของมีค่ามากมาย อาทิ แผ่นทองคำจารึกเรื่องราวต่างๆ โกศบรรจุอัฐิพระญาคำฟู แต่สิ่งของเหล่านี้สูญหายไปในช่วงสงครามเอเชียบูรพา

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘



พระพุทธสิหิงค์
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กล่าวว่าชั้นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสำคัญของไทยปัจจุบันมี ๒ องค์
ได้แก่พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ภาพจาก : วิกิพีเดีย

เมืองไทยมีพระพุทธสิหิงค์ ที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน ๓ องค์ แต่มีประวัติความเป็นมาแตกต่างกันและประดิษฐานอยู่ในที่ต่างกัน ดังนี้

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในลังกา ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดให้กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชติดต่อขอจากลังกามาประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย หลังจากนั้นได้อัญเชิญไปยังเมืองพิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา กำแพงเพชร เชียงราย และเชียงใหม่ ตามลำดับ  ครั้นถึงยุครัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงโปรดฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานยังกรุงเทพมหานคร ถึงแม้ตามตำราจะกล่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในลังกา แต่จากพุทธลักษณะ นักโบราณคดีบางคนให้ความเห็นว่าเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย หรือศิลปะสมัยล้านนา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ หรือพระสิงห์ พระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเชียงใหม่ หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน หน้าตักกว้าง ๑ เมตร  ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๗๐๐ โดยกษัตริย์ลังกา ๓ พระองค์และพระอรหันต์ ๒๐ รูป เป็นผู้สร้าง  ต่อมาปี พ.ศ. ๑๙๓๑ พระเจ้าแสนเมืองมาได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่วัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) อีกตำนานกล่าวว่า พระเจ้ามหาพรหมผู้ครองเมืองเชียงรายโปรดให้ช่างหล่อพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ โดยจำลองแบบมาจากพระพุทธสิหิงค์องค์ที่ ๑ ต่อมาในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๑๙๓๑-๑๙๕๔ ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ และเรียกชื่อสั้นๆ ว่า พระสิงห์ จากลักษณะทางด้านศิลปะนักโบราณคดีให้ความเห็นว่า พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ ๒ เป็นศิลปะสมัยล้านนาที่เรียกว่า "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง" มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร  ในประเพณีสงกรานต์หรือเทศกาลขึ้นปีใหม่ไทยทุกๆ ปี จะมีพิธีอาราธนาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกแห่ให้ประชาชนได้สรงน้ำสักการบูชาเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วนอย่างมาก ที่นิยมเรียกว่า "แบบขนมต้ม" ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว พระพุทธสิหิงค์องค์นี้ประดิษฐานที่เมืองนครศรีธรรมราชมาเป็นเวลานาน จากพุทธลักษณะทางด้านศิลปะ จัดเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราช มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์ ของผู้เกิดปีมะโรง
เชื่อกันว่าผู้เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) ควรมาสักการะองค์พระธาตุแห่งนี้ เพื่อเสริมสิริมงคล




องค์พระธาตุเจดีย์


พิธีสรงน้ำพระธาตุเจดีย์
คำบูชาพระธาตุประจำปีมะโรง
นะโม ๓ จบ
นะมามิ สิหิงคะพิมพัง สุวัณณา
ภิรัมมัง ลังกาชาตัง โสภาภโสภัง
สะราภิกันตัง นะมามิหัง




โลหะรูปทรงกระบอก ภายในบรรจุน้ำ
ถูกชักรอกขึ้นเพื่อสรงน้ำพระธาตุเจดีย์




กระบอกโลหะบรรจุน้ำ




ใช้มือหมุนให้กระบอกเลื่อนตามลวดสลิง ขึ้นสู่ยอดพระธาตุเจดีย์


..เย็นก๋าย เย็นใจ๋ แอ่วเมืองเจียงใหม่..
เมืองในฝัน ที่ผู้คนเล่าขานถึงวัฒนธรรมอันดีงาม อันมีเอกลักษณ์โดดเด่นของตนเอง
ผู้คนมีจิตใจโอบอ้อมอารี  บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็น
อากาศสดชื่นเย็นสบาย และทิวทัศน์งดงามตามธรรมชาติ







Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 17:25:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2564 14:41:21 »


พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนาที่เรียกว่า “แบบสิงห์หนึ่ง” หรือ “แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง”

ภาพจาก Facebook


พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปที่สำคัญที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในล้านนา มีตำนานว่าสร้างขึ้นในลังกาตั้งแต่ พ.ศ.๗๐๐ แต่จากรูปแบบของพระพุทธรูปองค์นี้จะพบเป็นว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาสิงห์ ๑ ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยชื่อพระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์นี้ ฝ่ายหนึ่งอธิบายว่าหมายถึงลักษณะท่าทางองอาจดุจราชสีห์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งว่าน่าจะสัมพันธ์กับคำในภาษามอญว่า ‘สฮิง–สเฮย’ ซึ่งแปลว่า อันเป็นที่น่าอภิรมย์ใจ ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของพระปฏิมาที่เล่าว่า เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปองค์จะรู้สึกอภิรมย์ใจหรือยินดีประดุจได้เห็นพระพุทธเจ้า

ด้วยความสำคัญนี้ ทำให้เกิดการจำลองพระพุทธสิหิงค์ขึ้นมากมายในดินแดนล้านนา ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อเกิดศึกยวนพ่ายระหว่างอยุธยาและล้านนา คตินี้ก็เดินทางข้ามจากเชียงใหม่ลงสู่อยุธยา ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธสิหิงค์ขึ้นในศิลปะอยุธยาด้วย โดยองค์ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คงจะเป็นองค์ที่ปัจจุบันอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

มีเกร็ดอีกสักเรื่องสองเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์

๑. พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมเชื่อกันว่าประดิษฐานอยู่ภายในกู่มณฑปท้ายวิหาร (มีกู่ปราสาทสีขาวต่ออยู่บริเวณท้ายวิหารลายคำที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานภายในวิหารลายคำ)

๒. พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ที่เห็นในปัจจุบันเป็นพระเศียรใหม่ที่สร้างขึ้นแทนพระเศียรเดิมที่ถูกลักลอบตัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ดังนั้น ถ้าอยากจะเห็นพระพุทธรูปที่ใกล้เคียงกับพระพุทธสิหิงค์องค์ดั้งเดิมที่สุด ขอเชิญชม/นมัสการได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เลย ที่นี่เก็บรักษาพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานอยู่ร่วมกับพระพุทธสิหิงค์และมีอายุอยู่ในสมัยเดียวกัน


พระพุทธสิหิงค์ คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา
ผู้เขียน ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์

จากตำนานสามารถกล่าวโดยสรุปคือ พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ปรากฏขึ้นในลังกา กษัตริย์ของกรุงสุโขทัยพระนามว่าโรจราชหรือไสยรังคราชทรงได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธสิหิงค์ จึงเสด็จไปยังนครศรีธรรมราชเพื่อทรงสอบถามเรื่องนี้ พระเจ้านครศรีธรรมราชได้ทรงแนะนำให้พระเจ้ากรุงสุโขทัยส่งราชทูตไปทูลขอต่อพระเจ้ากรุงสิงหล (ศรีลังกา) พระเจ้ากรุงสิงหลจึงได้ทรงส่งพระพุทธสิหิงค์มาให้ที่นครศรีธรรมราช ระหว่างทางได้เกิดแพแตก แต่อย่างไรก็ตามพระพุทธสิหิงค์ก็มาถึงที่นครศรีธรรมราช พระเจ้ากรุงสุโขทัยจึงทรงอัญเชิญมายังสุโขทัยและต่อมาได้มีการอัญเชิญไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญคือเมืองชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และเมืองกำแพงเพชร ก่อนที่จะขึ้นมาสู่ล้านนาตามลำดับ

การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในตำนานของชาวล้านนานั้นเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนาหรือพระเจ้าแสนเมืองมา ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อันมีบุคคลสำคัญคือท้าวมหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงรายเป็นผู้ไปอันเชิญมาจากเมืองกำแพงเพชร โดยตำนานกล่าวไว้แตกต่างกันคือ กระแสหนึ่งกล่าวว่า ท้าวมหาพรหมทรงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพขร และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตมายังล้านนา โดยได้ถวายพระพุทธสิหิงค์ให้กับพระเจ้ากือนาเพื่อประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ และทรงนำพระแก้วมรกตไปยังเมืองเชียงราย ภายหลังท้าวมหาพรหมได้ทูลขอพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ ไปจำลองแบบที่เกาะดอนแท่น เมืองเชียงแสน และมีงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่เมื่อท้าวมหาพรหมสิ้นชีพลงแล้ว พระเจ้าแสนเมืองมาจึงทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงรายมายังเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานยังวัดเชียงพระ ภายหลังเรียกว่าวัดพระสิงห์ตามนามพระพุทธรูปที่นิยมเรียกกันในล้านนา

ถ้าพิจารณาจากตำนานจะพบว่ามีข้อความที่กล่าวไว้ไม่ตรงกันนัก เช่นช่วงเหตุการณ์ที่พระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ ระหว่างรัชกาลพระเจ้ากือนาหรือพระเจ้าแสนเมืองมา ทั้งนี้อาจเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงรัชกาล แต่ใจความสำคัญที่สามารถสรุปได้จากตำนานคือผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการได้มาของพระพุทธสิหิงค์ในล้านนาคือท้าวมหาพรหม และพระพุทธสิหิงค์ได้มาประดิษฐานที่วัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐

จากการตรวจสอบรูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปทั้งสององค์คือพระพุทธสิหิงค์ (วัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่) และพระแก้วมรกต สามารถจัดเป็นศิลปะล้านนาในช่วงเหตุการณ์ที่กล่าวในชั้นต้นนี้ได้ว่าทั้งตำนานและการสร้างพระพุทธรูปสำคัญทั้งสององค์เกิดขึ้นในสมัยของท้าวมหาพรหมนี้เอง ผู้เขียนได้เคยวิเคราะห์ไว้ในข้อสันนิษฐานเรื่องพระแก้วมรกต รวมทั้งได้ตั้งเป็นข้อสมมติฐานไว้ว่าท้าวมหาพรหมน่าจะทรงเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปสำคัญทั้งสององค์ดังกล่าว โดยได้ถวายพระพุทธสิหิงค์แก่พระเจ้าแสนเมืองมาเพื่อเป็นการไถ่โทษจนได้กลับไปเป็นเจ้าเมืองเชียงรายตามเดิม และการนำหรือสร้างพระแก้วมรกตซึ่งน่าจะสำคัญมากกว่าพระพุทธสิหิงค์มายังเมืองเชียงราย เพื่อเป็นการเรียกศรัทธาประชาชน และการสร้างบุญบารมีขึ้นใหม่โดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ

หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธสิหิงค์ เมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในล้านนาและสร้างขึ้นตามตำนาน คือเรื่องของรูปแบบศิลปกรรมที่จัดว่าเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง โดยพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ส่วนพระเศียรเดิมถูกตัดไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕๘ ซึ่งโดยลักษณะจะต้องมีพระพักตร์กลม อมยิ้ม ขนาดพระเกศาใหญ่ ส่วนเหนือพระอุษณีษ์เป็นตุ่มคล้ายลูกแก้วหรือดอกบัวตูม ซึ่งลักษณะที่เป็นพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะปาละของอินเดียผ่านมาทางพุกามของพม่า มีปรากฏแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญชัยและยุคต้นของล้านนา

การทำพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรนี้สัมพันธ์กับคติการสร้างพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งคงเกิดขึ้นในล้านนาตั้งแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในสมัยของท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นผู้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตจากกำแพงเพชรขึ้นมายังล้านนา๙ ดังได้วิเคราะห์แล้วในตอนต้น หลังจากนั้นได้มีการสร้างพระพุทธรูปแบบพระพุทธสิหิงค์ขึ้น ชาวล้านนาในช่วงนั้นคงนิยมสร้างพระพุทธรูปแบบขัดสมาธิเพชรอยู่ จึงสร้างพระพุทธรูปและให้ชื่อว่าพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหมายความว่า การรับพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตนั้นเป็นเพียงตำนานต่อมามีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นในล้านนาและอนุโลมว่าเป็นพระพุทธสิหิงค์ มีหลักฐานที่สามารถยืนยันคำกล่าวนี้ได้ดีที่สุดคือได้พบพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรองค์หนึ่งที่วัดพระเจ้าเม็งราย มีจารึกกล่าวนามว่า “พระพุทธสิหิงค์” จารึกระบุปี พ.ศ.๒๐๑๓ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธสิหิงค์ หรือที่นิยมเรียกว่า “พระสิงห์” นั้นคงได้รับความนิยมในการสร้างช่วงเวลานี้เองและในการเรียกชื่อ “พระสิงห์” อันเป็นที่มาของพระพุทธรูปในกลุ่มนี้ น่าจะสัมพันธ์กับพระพุทธสิหิงค์ซึ่งตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน





บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.468 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 20:39:57