[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 16:24:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตเอย... จิตคืออะไร  (อ่าน 4893 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 กันยายน 2553 00:19:04 »


จิตเอย... จิตคืออะไร




จิตเอย...จิตคืออะไร...
เหตุไฉนจึงเป็นต้นเหตุของการโต้เถียง


คำว่า "จิต" นี้
ตามที่ผู้เขียนได้ทราบจากสหายธรรมมานั้น
มาจากรากศัพท์ภาษามคธโบราณ (ไม่ใช่ภาษาบาลีอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน)
คือคำว่า "จต"
โดย "จ" หมายถึงการเปลี่ยนแปลง
ส่วน "ต" หมายถึงตัวตน

ดังนั้น "จิต" จึงมีความหมายจากรากศัพท์ดั้งเดิมว่า

"ตัวตนของการเปลี่ยนแปลง"



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 กันยายน 2553 00:20:34 »

ในโบราณกาลก่อนพระศากยพุทธเจ้าจะประกาศธรรมะนั้น มีสำนักฝึกตนหลายสำนัก
ได้ใช้วิธีบำเพ็ญบารมีแบบต่างๆ ส่วนใหญ่มักเป็นการฝึกบังคับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ของตนให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนดไว้ ในการฝึกตนเช่นนี้ ผู้ฝึกจะสร้าง "เครื่องอยู่ใหม่"
ที่ให้ความรู้สึก "นิ่ง" กว่าเครื่องอยู่เดิมของตนขึ้นมา ตัวอย่างเช่น

การฝึกไม่กินอาหาร/ไม่พูด/ไม่นอน/นั่งไม่ลุก
มี "เครื่องอยู่ใหม่" เป็นความอดทนซึ่งนิ่งกว่าความหิว

การฝึกกสิณ
มี "เครื่องอยู่ใหม่" เป็นอารมณ์แห่งฌาณซึ่งนิ่งกว่าความวอกแวก

สำนักต่างๆเหล่านี้เขาใช้คำพูดเรียก "เครื่องอยู่ใหม่" ของเขาว่า "จต" ซึ่งจะมีความนัย
ในเชิงสอนตนเองว่า "ตัวตนของการเปลี่ยนแปลงก็คือความนิ่ง" นั่นเอง


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 กันยายน 2553 00:23:00 »


เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมนั้น เดิมทีท่านไม่ได้ใช้คำว่า "จต" มาประกอบด้วย ดังจะเห็นได้
จากบทสวดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร บทสวดอาทิตตะยะปะริยายะสูตร บทสวด
อะนัตตะลักขะณะสูตร บทสวดปฏิจจสมุปบาท บทสวดวิปัสสนาภูมิปาฐะ ไม่มีคำว่า "จิต"
รวมอยู่เลย แต่ในพระไตรปิฎกกลับปรากฎคำว่า "จิต" อยู่มากมาย นอกจากนี้ในพระไตรปิฎก
ยังมีคำว่า "สติ" ซึ่งกล่าวไว้ในบทสวดวิปัสสนาภูมิปาฐะบ้างแต่ท่านก็ไม่ได้เน้นย้ำเรื่อง "สติ"
ในการแสดงธรรมครั้งใหญ่ๆอย่างที่ในปัจจุบันนี้ถือปฏิบัติกัน ผู้ที่ท่านจะพูดเรื่อง "จิต" ด้วยนั้น
มักเป็นผู้มีพื้นฐานในการบำเพ็ญบารมีจากสำนักอื่นมาก่อนและมี "จิต" เป็นเครื่องอยู่ของตน
อยู่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า "จิต" เพื่อแสดงธรรมให้ตรงกับจริตของผู้ฟังเท่านั้นเอง

ปัจจุบันนี้นักปฎิบัติธรรมหลายท่านล้วนแสดงธรรมโดยกล่าวคำว่า"จิต" ผู้ฝึกใหม่จึงใช้ตามบ้าง
โดยยังไม่ทันเข้าใจว่า "จิต" ของตนคือนั้นอะไร

สรุปจากเนื้อความข้างต้นแล้ว "จิต" ในที่นี้ควรหมายถึง "เครื่องอยู่" ของนักบำเพ็ญบารมี
แต่ละท่าน ดังนั้น "จิต" ของแต่ละท่านจึงไม่จำเป็นต้องมีความหมายเหมือนกัน หากท่านใด
มีเครื่องอยู่เป็นกิเลสจิตท่านก็เป็นกิเลส ท่านใดมีเครื่องอยู่เป็นเวทนาจิตท่านก็เป็นเวทนา
ท่านใดมีเครื่องอยู่เป็นสัญญาจิตท่านก็เป็นสัญญา ท่านใดมีเครื่องอยู่เป็นวิญญาณ
จิตท่านก็เป็นวิญญาณ



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 กันยายน 2553 00:24:56 »

การให้ "ดูจิต" นั้นจึงหมายความว่าให้นักบำเพ็ญบารมีแต่ละท่าน "ดูเครื่องอยู่ของตนเอง"
ซึ่งเครื่องอยู่ของเราๆท่านๆที่ยังไม่ถึงนิโรธนั้นก็มักมี "อุปทาน" หรือความเป็นตัวตนห่อหุ้ม
ไว้เสมอ ดังนั้น "การดูจิต" จึงมัก "เห็นอุปทาน" อยู่ด้วยไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่
ฝึกใหม่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการมองลอดอุ้งมือแห่งอุปทาน อาจกล่าวได้ว่า
"จิตของท่านก็คืออุปทาน" นั่นเอง

การ "ส่งจิตออกนอก" นั้นในที่นี้ย่อมเป็น "สมุทัย" เพราะก่อให้เกิด "ทุกข์" เนื่องจาก
อุปทานมีคุณสมบัติคล้ายมือ ยิ่งส่งออกนอกก็ยิ่งไปเกาะจับสิ่งต่างๆ บ่อยเข้าก็ทำให้เกิด
ภาวะนิ้วล็อคไม่ยอมคลายหรือภะโว เกิดเป็น-ชาติ-ชรา-มรณัง-ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าโศก
เสียใจนานัปการ (โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาสัมภะวันติ)

การที่ "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" นั้นในที่นี้ย่อมทำให้ถึง "นิโรธ" ได้บางท่านจึงเรียกว่า "มรรค"
ในความหมายที่ว่าเป็น "ทางสู่นิโรธ" การที่อุปทานมองเห็นตัวอุปทานเองอย่างแจ่มแจ้งนั้น
แสดงว่ามือข้างเดียวกันกำลังจับตัวของมันเองไว้ในอุ้งมือทั้งตัว...ซึ่งเป็นไปไม่ได้...ทำได้
อย่างมากก็แค่กำมือ...ในขณะที่มือกำลังไล่ตะครุบตัวของมันเองอยู่นั้นแลเป็นเวลาที่มัน
ไม่ได้จับอะไรอยู่เลย สภาวะนี้เองจะทำให้เราได้รู้จักมือ (จิต/อุปทาน) และขันธ์ห้าได้ตาม
ความเป็นจริง เช่นนี้เราย่อมถึงนิโรธแล้ว



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 30 กันยายน 2553 00:27:14 »

สรุป

ขันธ์ห้าไม่ใช่ผู้ร้าย อุปทานก็ไม่ต้องตัองมันทิ้ง
ความจริงแล้วเราจะมองลอดอุ้งมือไปให้เห็นขันธ์ห้าก็ได้
หรือจะคอยดูขันธ์ต่างๆตอนที่มือปล่อยจากสิ่งหนึ่งไปจับอีกสิ่งหนึ่งก็ได้
การ "ดูจิต" จึงมีวัตถุประสงค์ให้ "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง"
ไม่ได้มีความมุ่งหมายให้ "สะกดรอย/กักขัง/ทำลายจิต" แต่ประการใด




บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
phonsak
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +1/-2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 306


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.122 Chrome 12.0.742.122


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2554 20:31:47 »

"จิตเห็นจิต" =  จิตบริสุทธิ์ที่ไม่มีกิเลส  ดูจิตที่ไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยกิเลส

บันทึกการเข้า
armageddon
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 8
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 229


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2554 18:09:53 »

"จิตเห็นจิต" =  จิตบริสุทธิ์ที่ไม่มีกิเลส  ดูจิตที่ไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยกิเลส

 

หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป”

จิตเห็นจิต  หมายถึงความปรีชาของจิตที่ปกติกอร์ป ด้วยสติและปัญญา ไม่หล่นไปสู่ความชั่วอันเป็นอกุศล


แต่ ...จิตสองดวง  ของพลศักดิ์ ท่องเที่ยวไป  แล้วก็มองแต่จิตสกปรก  ขี้ ขี้ ขี้

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

บันทึกการเข้า
คำค้น: จิต จิตคือ การฝึก ฝึกจิต  รู้ทัน มองจิต ดูจิต ความหมาย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.208 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 05:54:51