[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 23:24:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วันพระ - ประวัติความเป็นมา  (อ่าน 1691 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2556 17:34:40 »

.



วันพระ

จากข้อมูลของศูนย์ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมแห่งชาติ วันพระ หมายถึงวันฟังธรรม คือวันขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๑๖ ค่ำ หรือแรม ๑๔ ค่ำในกรณีเดือนขาด

ประวัติความเป็นมา เริ่มเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชกูฏ เมืองราชคฤห์ ครั้งนั้นนักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงธรรมทุกวัน ๑๔ ค่ำ และ ๘ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ชาวเมืองราชคฤห์ทราบข่าวก็พากันไปฟังธรรม และเกิดความเลื่อมใสมากขึ้นโดยลำดับ

ต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธทรงทราบข่าวนี้ จึงนำขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า พร้อมขอพระบรมพุทธานุญาตพระสงฆ์ให้ประชุมแสดงธรรมในวันดังกล่าว สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นชอบและประทานอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์แสดงธรรมในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำของทุกปักษ์

ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงให้พระสงฆ์นำสิกขาบท หรือศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อมาสวดให้กันฟังทำนองทบทวน และตรวจสอบศีลของกันและกันทุกๆ กึ่งเดือน คือทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำในเดือนขาด เรียกว่า "การสวดพระปาติโมกข์" และวันดังกล่าวของพระภิกษุเรียกว่า "วันอุโบสถ"

เมื่อพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย วันธรรมสวนะหรือวันพระ ที่ถือปฏิบัติกันมีเดือนละ ๔ วัน คือวันขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๔ ค่ำ กรณีเดือนขาด ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เรียกวันธรรมสวนะ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำว่า "วันศีลน้อย และวันขึ้นและแรม ๑๕ ค่ำว่า "วันศีลใหญ่"

ในปี ๒๔๙๙ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุให้วันธรรมสวนะหรือวันพระ และวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนรำลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา แต่ต่อมายกเลิกประกาศนี้ โดยให้วันพระเป็นวันทำงานปกติ





ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ธันวาคม 2556 17:38:21 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ปฏิทิน วันพระ 2555 ...เรามาทำดีกันเถอะ
ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
เงาฝัน 5 9405 กระทู้ล่าสุด 03 เมษายน 2556 10:16:56
โดย เงาฝัน
ที่มา วันโกน - วันพระ ก็เป็นคำที่เราเรียกกันคู่กัน
เกร็ดศาสนา
ฉงน ฉงาย 0 722 กระทู้ล่าสุด 26 สิงหาคม 2563 21:39:40
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.251 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 08:08:00