[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 15:01:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสน่ห์ปลายจวัก ตามตำรับโบราณ  (อ่าน 19038 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มกราคม 2557 16:25:07 »

.
 
เสน่ห์ปลายจวัก ตามตำรับโบราณ
การทำของหวานหรือทำอาหารคาวทุกชนิด จะประดิดประดอยอย่างไรก็ตาม
ส่วนผสมในการปรุง ควรคะเนให้พอเหมาะพอควร โดยไม่ผิดจากหลักเดิม

มีสิ่งสำคัญที่ควรทราบในการตระเตรียมอาหารคาวหวานตามตำรับโบราณ
ที่ได้จากค้นคว้าตำราเก่าที่มีอยู่ในบ้าน เป็นเรื่อง "เกร็ดความรู้" ของการประกอบอาหาร
ที่ยังมีคุณค่ามาก ควรแก่การรวบรวมเรียบเรียง และเผยแพร่
ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจใคร่รู้ต่อไป

กินดีมีสุข  
การร่างกายของคนเราจะสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เราต้องรู้จัก “กินดี”
  
คำว่า "กินดี" ในที่นี้หมายความว่าเลือกกินอาหารต่างๆ ให้ครบทั้ง ๖ จำพวก ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารแต่เพียงอย่างสองอย่างเป็นเวลานานติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายขาดอาหาร เจ็บป่วยง่าย และกลายเป็นคนอมโรค ไม่มีความสุข

อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ ร่างกายของคนเราตั้งแต่เป็นเด็กอ่อนจนถึงวัยชรา ต้องการอาหารต่างๆ ให้ครบทั้ง ๖ จำพวก ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นโลหิต ผิวหนัง ขน ผม ฟัน เล็บ รวมถึงอวัยวะส่วนอื่นให้เจริญเติบโต และทำงานตามปกติ
 
การรู้จักทำและการปรุงอาหารให้ถูกปากผู้รับประทาน และได้ชื่อว่า “เป็นผู้ปรุงรสมือดี”  ไม่จำเป็นต้องชั่ง ตวง ส่วนประกอบของเครื่องปรุงเหล่านั้นทุกๆ ครั้งไป เพียงแต่รู้จักการคะเนหรือประมาณความมากน้อยแห่งเครื่องปรุงตามชนิดของอาหารต่างๆ (อะไรก่อนอะไรหลังอย่างไร) ให้ครบถ้วนโดยไม่ขาดตกบกพร่องเท่านั้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว และถือหลักการปรุงให้ได้ “รสกลาง” ตามความนิยม ไม่ถือรสความชอบของตนเป็นใหญ่




อาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย แบ่งได้เป็น ๖ จำพวก ได้แก่
๑. ข้าว แป้ง น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรท  คืออาหารซึ่งมีแป้งมากได้แก่ข้าวต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน หัวเผือก มันเทศ มันสำปะหลัง  น้ำตาล  

อาหารจากแป้งให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงาน เคลื่อนไหวและมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ

คำแนะนำในการรับประทาน : กินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หมายความว่าคนที่มีร่างกายขนาดปานกลางทำงานออกแรงน้อย ควรรับประทานข้าวน้อย คือ ในหนึ่งวันให้กินข้าวประมาณ ๓ จาน  

๒. ไขมัน คืออาหารไขมันจากสัตว์ เช่น มันหมู มันวัว มันปลา มันหอย มันเนย และไขมันจากพืช เช่น กะทิ น้ำมันถั่ว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว  

อาหารไขมันให้พลังงาน ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวและมีกำลังทำงาน

คำแนะนำในการรับประทาน : เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดอาหารประเภทไขมัน ในวันหนึ่งๆ ควรได้รับอาหารซึ่งมีส่วนผสมไขมันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงเผ็ด แกงคั่ว หลน ที่มีส่วนผสมของกะทิ หรืออาหารผัด อาหารทอด  แต่ไม่ควรรับประทานอาหารไขมันให้มากเกินไป เพราะไขมันส่วนเกินจะไปพอกอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย  ร่างกายที่อ้วนเกินไปจะทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย

๓. เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่ว หรือโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ (หมู วัว เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง)  ไข่เป็ด ไข่ไก่ เครื่องในสัตว์ (ตับ ไต ไส้ ปอด หัวใจ) นมสด เห็ดชนิดต่างๆ ถั่วลันเตา ถั่วแขก ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว โปรตีนเกษตร  

อาหารโปรตีนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย  เด็กๆ ต้องการอาหารจำพวกนี้มาก สำหรับสร้างเนื้อหนังให้เจริญเติบโต เด็กที่ได้อาหารจำพวกนี้ไม่เพียงพอจะทำให้เติบโตช้า  ส่วนผู้ใหญ่นั้นจะทำให้เป็นคนขี้โรค เจ็บป่วยบ่อยๆ และเหนื่อยง่าย

คำแนะนำการรับประทาน : ควรรับประทานไข่วันละ ๑ ฟอง หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓-๕ ฟอง  และควรรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ ไข่ และถั่ว เช่น ไข่เจียว ปลาทอด แกงจืดเต้าหู้หมูสับ เต้าเจี้ยวหลน ผัดผักกับหมู ผัดผักบุ้งกับเต้าเจี้ยว สลับหมุนเวียนกันไป

๔. วิตามิน ได้จากเนื้อสัตว์ น้ำนม ปลา ไข่แดง ข้าวสี ๗๐% เครื่องในสัตว์ น้ำมันตับปลา  พืชผักที่มีสีเขียว สีแดง สีเหลือง สีส้ม ได้แก่ ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี ผักโขม คะน้า กะหล่ำปลี บล็อกโคลี่ แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง ขมิ้นชัน  ผลไม้ต่างๆ เช่น สับปะรด ส้มเขียวหวาน แตงโม แตงไทย กล้วย มะละกอสุก มะม่วงสุก ขนุน ส้ม  

ประโยชน์ของวิตามิน ช่วยย่อยอาหารและช่วยในการขับถ่าย ต้านทานโรค ป้องกันโรคต่างๆ เช่น เหน็บชา ตาฟาง ตาต้อ ปากนกกระจอก โรคผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน โรคกระดูกอ่อน  นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงและช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส

คำแนะนำการรับประทาน : ควรรับประทานผลไม้เป็นประจำโดยไม่จำกัดจำนวน ไม่ให้โทษแต่อย่างใด ถ้ารับประทานผลไม้ไม่พอเพียง จะทำให้ร่างกายเป็นโรคต่างๆ และไม่สดชื่นสมบูรณ์

๕ เกลือแร่   ได้จาก ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ฯลฯ  นม (นมวัว นมแพะ) จากอาหารทะเล เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้ง  ปู หอย จากเครื่องในสัตว์ เช่น ตับหมู ตับวัว ปอด หัวใจ ไต และเกลือทะเล  

อาหารประเภทเกลือแร่ ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อหนังของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและฟัน สร้างและบำรุงเลือด ป้องกันโรคคอหอยพอก

คำแนะนำการรับประทาน : ทุกคนควรรับประทานผักสดเป็นประจำทุกวัน การรับประทานผักมากเกินไปไม่ให้โทษแต่อย่างใด ถ้ารับประทานน้อยเกินไปร่างกายจะเกิดโรคต่างๆ และร่างกายจะทำงานไม่ได้ตามปกติ,  ควรดื่มนมเป็นประจำ, ควรรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือ อาหารทะเล เครื่องใน บ่อยๆ

๖. น้ำ ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก น้ำซึ่งมีอยู่ในร่างกายจะถูกขับออกมาเป็นเหงื่อและปัสสาวะทุกวัน ฉะนั้น เราจึงต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ ๖-๘ แก้ว เพื่อไปทดแทนน้ำซึ่งถูกขับถ่ายออกและเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้สดชื่นสมบูรณ์ ผิวพรรณสดใส




ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานอาหาร
 ๑. รับประทานอาหารที่สุกและสะอาด อาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ ควรทำให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เช่น พยาธิ เชื้อโรคบิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย  
 ๒. ผักสด ควรล้างให้สะอาด และแช่ด่างทับทิมอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
 ๓. อาหารทุกชนิดควรใส่ภาชนะที่สะอาด และหาฝาปิดป้องกันแมลงวันและฝุ่นละออง
 ๔. เมื่อจะรับประทานอาหารกระป๋อง ควรถ่ายอาหารออกจากกระป๋องก่อนนำไปอุ่น  อย่าอุ่นทั้งกระป๋อง เพราะความร้อนอาจจะทำให้โลหะจากกระป๋อง เช่น ตะกั่ว ดีบุก สังกะสี ฯลฯ ละลายปนกับอาหาร จะเป็นพิษแก่ร่างกายได้
 ๕. รับประทานอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากหรือน้อยเกินไป
 ๖. รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่พร่ำเพรื่อจุบจิบ
 ๗. รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ไม่บูดเสีย หรือจะบูดเสีย
 ๘. ไม่รับประทานอาหารรสจัดเกินไป เช่น เค็มจัด เผ็ดจัด  
 ๙. ไม่ควรรับประทานอาหารหมักดองให้บ่อยครั้ง
๑๐. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบเคี้ยวและรีบกลืนอาหารเร็วเกินไป
๑๑. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้พอเพียง
๑๒. ระวังอย่าให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป อย่าให้มีอารมณ์ขุ่นมัว หดหู่ กังวลใจ หรือตื่นเต้นตกใจ ก่อนและหลังเวลารับประทานอาหาร




เกร็ดความรู้เบ็ดเตล็ด ของการตระเตรียมการประกอบอาหาร
• การฟอก : การฟอก คือวิธีทำให้หมดตะกอนหรือกาก ทำให้ขาวและหมดกลิ่น  ทำได้ดังนี้
ฟอกเนย ตั้งไฟให้ละลายโดยไม่ต้องคนหรือกวน เมื่อฝาลอยขึ้นเป็นคราบก็ช้อนออกให้หมด แล้วยกลงพักให้ตะกอนนอนก้นจึงรินส่วนที่ใสออก
ฟอกไขมัน เช่นไขที่ตัดออกจากเนื้อสด ผสมกับน้ำเย็นพอท่วมตั้งไฟอย่าปิดฝา หมั่นช้อนฝาที่ลอยขึ้นออก คนบ่อยๆ จนน้ำงวดแห้งหมด ยกลงพักให้ตะกอนนอนก้นจึงรินส่วนที่ใสออก
ฟอกน้ำตาล ใช้เปลือกไข่ที่ล้างสะอาดก่อนต่อยขยำกับน้ำตาล พอเปลือกไข่ละเอียดเติมน้ำตั้งไฟจนน้ำตาลละลาย พรมไข่ขาวลงบ้างพอเดือดช้อนฟองออกให้หมด กรองด้วยผาขาว ขนมที่ทำด้วยน้ำตาลฟอกจะใสไม่ดำ เหมาะสำหรับการนำไปเชื่อมผลไม้ ฝอยทอง ทองหยิบ
ฟอกน้ำสต๊อก : ตีไข่ขาวให้ขึ้นผสมกับเปลือกไข่ที่ล้างสะอาด ขยำพอแหลก ใส่ลงต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดปุดๆ ช้อนฝาออกจนหมดจึงกรองด้วยผ้าเนื้อดี ผ้าต้องชุบน้ำเสียก่อน แล้วบิดให้แห้งจึงใช้กรอง น้ำสต๊อกจะขาวขึ้น
ฆ่ากลิ่นน้ำมัน : เป็นวิธีทำให้หมดกลิ่นเหม็น เพราะน้ำมันที่เก็บไว้นานมีกลิ่นหืน เช่น น้ำมันหมู มะพร้าว ถั่ว งา เนย  ตั้งน้ำมันให้ร้อนจัดแล้วใส่ใบพลูหรือหอมทุบ ทอดแล้วตักขึ้




การทำความสะอาด (ล้าง) เนื้อสัตว์ต่างๆ
กระเพาะหมู วิธีล้างกระเพาะหมู ก่อนจะล้างให้กรอกน้ำลงจนเต็มเขย่าสักครู่หนึ่งแล้วเทน้ำทิ้ง ทำดังนี้สัก ๓-๕ ครั้ง (ระวังอย่าให้ของสกปรกถูกผิวภายนอกกระเพาะ ซึ่งมีเยื่อและมันติดอยู่ เพราะของสกปรกจะซึมเข้าไปติดแน่น ล้างอย่างไรก็ไม่หมด แล้วกลับออกเอาภายในออก ใส่เกลือสัก ๑ ช้อนโต๊ะพูนๆ ขยำจนเมือกออกข้น แล้วล้างด้วยน้ำเย็นสัก ๓ ครั้ง จึงใส่น้ำปูนแดง (ที่ไม่มีสีเสียดปน) ขยำสักครู่ล้างให้หมดปูน แล้วกลับเอาข้างนอกออกอย่างเดิม แช่น้ำด่างจีนจนพองกรอบ จึงล้างถ่ายให้หมดกลิ่นและหมดขื่นน้ำด่าง แล้วแช่น้ำเย็นไว้สักครู่ เมื่อจะต้มให้เอาพริกไทยเม็ดกรอกลงในกระเพาะสัก ๑๕-๒๕ เม็ด  อนึ่ง ถ้าจะนำไปแกงจืด ให้หั่นกระเพาะหมูชิ้นเล็ก ๆ ลวกน้ำร้อนกำลังเดือด สุกแล้วเอาขึ้นผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
ล้างไส้หมู  เวลาจะล้างไส้หมูให้จับปลายไส้ข้างหนึ่งเปิดออก กรอกน้ำลงไปพอควร แล้วจับรูดให้ของสกปรกออกทางปลายอีกข้างหนึ่งทิ้งเสีย และกรอกน้ำลงไปอีก ทำเช่นนี้อีก ๒-๓ ครั้ง ระวังอย่าให้ของสกปรกเปื้อนภายนอกไส้ได้ จึงกลับภายในออกข้างนอกแล้วใส่เกลือมากๆ ขยำซาวจนเมือกออกข้นจึงล้างและถ่ายน้ำ ซาวอีก ๓-๔ ครั้ง แล้วขยำด้วยน้ำปูนแดง (ไม่มีสีเสียด) ล้างกลับไปกลับมาหลายๆ ครั้ง แล้วล้างน้ำเย็นอีก ๒-๓ ครั้ง จนกว่าจะหมดกลิ่นแล้วกลับไส้ไว้อย่างเดิม ล้างน้ำอีก ๒-๓ ครั้ง ถ้ายังไม่ได้ใช้ให้แช่น้ำเย็นไว้ หรือถ้าใช้ไม่หมดจะเก็บไว้ใช้ต่อไป ใช้เชือกเล็กๆ ผูกด้านหนึ่งให้แน่นแล้วเป่าลมให้พองเต็มที่ จึงผูกอีกด้านหนึ่งให้แน่น ตากแดดไว้ เมื่อจะใช้จึงนำเอาลงแช่น้ำ หรือแช่เกลือไว้ให้เต็มแล้วดึงให้ยืดออก หั่นเป็นชิ้นๆ ตามชอบ (สมัยนี้มีตู้เย็น คงไม่ถึงกับต้องผูกเชือกนำไปตากแดด...ผู้โพสต์)
ล้างไส้ไก่และไส้เป็ด  วิธีทำ รีดไส้นั้นให้หมดสิ่งสกปรกเสียก่อน ล้างให้สะอาดแล้วใช้ไม้เล็กๆ สอดกลับข้างในออก โรยเกลือป่นขยำให้หมดเมือกข้น ล้างน้ำให้สะอาด ๒-๓ ครั้ง แล้วกลับเอาข้างในเข้าตามเดิม ใช้มีดคมชนิดปลายแหลมกรีดผ่าไปให้ตลอดลำไส้จนเป็นเส้นบางแล้วแช่น้ำไว้ เมื่อต้องการจะใช้ทำอะไร จึงรีดให้สะเด็ดน้ำเป็นใช้ได้
หนังหมู วิธีทำ ใช้หนังหมูบางๆ ขูดขนขูดเมือกล้างน้ำให้สะอาด ต้มพอสุกอย่าให้เปื่อย หั่นชิ้นใหญ่ๆ แต่บางๆ ให้เป็นฝอยชิ้นเล็กๆ (ตามต้องการ) ขยำเกลือกับมะนาวให้ขาวและนิ่ม แล้วล้างน้ำร้อนพอสะอาด แช่น้ำเย็นอีก ๑-๒ ครั้ง แล้วเอาขึ้นเทลงในกระชอนหรือตะแกรงผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ ใช้ประกอบทำอาหารได้
ตีนเป็ด วิธีทำ ลอกหนังตีนเป็ดแล้วขูดให้สะอาด ล้างน้ำเย็น ๒-๓ น้ำ เอาใส่หม้อตั้งไฟต้มพอสุก ถอดเล็บ แล้วดุนกระดูกถอดออกให้หมด ขยำกับเกลือล้างหลายๆ ครั้งให้สะอาด ลวกน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่ง เอาขึ้นผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำใช้ประกอบอาหารได้


.


กะปิ กะปิที่จะตำน้ำพริกควรห่อใบตองปิ้งไฟเสียก่อนจะหอมดี ถ้าไม่ชอบรับประทานกะปิ ก็ใช้แต่เนื้อปลาสลาดแทนก็ได้
กระดูกไก่  ต้มเป็นน้ำเชื้อ (เมื่อจะต้มจงทุบให้กระดูกแตกเสียก่อน)
การจัด  การจัดจะจัดเป็นจานๆ หรือเป็นคำๆ ก็ได้ มีถ้วยน้ำจิ้มวางกลางหรือจะจัดจานใหญ่ทีเดียวก็ต้องดูจัดให้งาม
การทำหมูแนม  ต้องระวังทุกๆ อย่าง ให้สะอาดและไม่เปียกชื้น
การปรุงพล่า  ต้องให้มีรสเปรี้ยวนำ แล้วถัดถึงเค็ม รสหวานต้องอยู่หลังสุด บางท่านชอบรสฉูดฉาด ต้องการรสเผ็ดร้อน มักจะใช้กระเทียม ข่าป่น พริก เกลือป่นนิดหน่อยตำไว้เผื่อเวลาจะปรุง โดยเกรงว่ารสเผ็ดร้อนจะไม่พอจึงเอาสิ่งที่ทำตำไว้นี้คลุกเคล้าเติมลงไปด้วย (ข่าป่น บางท่านไม่ชอบเพราะว่าร้อนจัดไม่สู้อร่อย จึงเป็นว่า “ลางเนื้อชอบลางยา” จะใช้หรือไม่ก็ได้ตามใจ)
การผัด ข้อสำคัญในการผัดต้องใช้ไฟแรงอย่าให้แฉะได้ จึงจะได้ชื่อผัดเป็นจริงๆ
ก่อนจะคลึงแป้ง  ต้องโรยแป้งผงเสียก่อนกันแป้งติด คลึงไปโรยแป้งไป จึงจะไม่ติดและเกลี้ยงเกลาดี
แกงฉู่ฉี่  ไม่ต้องใช้พริกแห้งมาก เพียงสามเม็ดก็พอ สำหรับแกงปลาตัวใหญ่ตัวเดียว
แกงมัสมั่น  ต้องเคี่ยวนานๆ ยิ่งแกงค้างคืนรสยิ่งดีขึ้น
ขนมปังปอนด์  เศษขนมปังปอนด์ที่ป่นใช้แล้วมีก็ใช้ ถ้าไม่มีใช้ขนงปังสดก็ได้ หั่นขอบออก ใช้แต่ข้างในนุ่มๆ ฉีกยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ ได้เท่าใดยิ่งดี
ข้าวคลุก  ต้องใช้ข้าวสวยละมุนละไม
ข้าวเม่าราง  ข้าวคั่วพอเหลือง
ข้าวเหนียวดำ  ต้องใส่ข้าวเหนียวขาวปนด้วย จึงจะช่วยให้เหนียวเข้าอีก ถ้าได้ข้าวเหนียวใหม่ๆ ยิ่งดี
ข้าวสาร  แช่น้ำแล้วคั่วให้เหลือง โม่แล้วกรองให้ละเอียด (ใช้ข้าวตากแทนก็ได้)




ขิงสด  ถ้าไม่มีขิงสด ให้ใช้ขิงดองแทน
ผลจันทน์เทศอ่อน  นำมาปอกผิวเสียให้หมด งัดออกเป็น ๒ ซีก เอาเมล็ดและดอกออกให้หมด ลอกข้างในอีกทีหนึ่ง ฝานเป็นชิ้นตามยาวของผลนั้น ตามผลเล็กใหญ่ อย่าให้เล็กนัก ดูพอสมควร
มันฝรั่ง  ควรต้มพอสุก แล้วจึงหั่น ถ้าใช้ดิบๆ เวลานึ่งมันจะสุกไม่ทัน เวลานึ่งไฟแรงๆ ราว ๑๐ นาที
น้ำเต้าตุ๋น  ใช้ชามหรือขันให้พอดีกับผลน้ำเต้านั้น เพื่อจะบังคับให้อยู่ตัว ถ้าวางในที่ๆ ใหญ่เกินไป เวลาสุกแล้วบางทีจะแตกสิ้นงามไป
นำเลี้ยบ  ใช้ผลหนำพ๊วยดีกว่า เพราะเนื้อมากกว่ากันและสีก็งามกว่ากัน แต่ต้องให้ใหม่ๆ
เนื้อนก  ต้มกะทิ ต้องให้น้ำแห้งงวดขลุกขลิกก่อนจึงผัดน้ำพริก
ฟักตุ๋น  เวลานึ่งอย่าปิดฝา ฝานั้นวางไว้ข้างๆ นึ่งไปด้วย สุกแล้วจึงปิดฝา
หัวกะทิ  ต้องเคี่ยวจนเป็นขี้โล้เหลือง  ตักขึ้นใช้น้ำมันนั้นทอด เวลาผัดจึงใส่ขี้โล้ผัดไปด้วย
ไส้กรอกหมู  เวลาจะทอดอย่าเพิ่งตัดเชือกที่ผูกออก ทอดแล้วจึงตัดเป็นคำๆ และต้องทอดด้วยไฟอ่อนๆ
ผงกะหรี่  ถ้าจะให้มีกลิ่นหอมดีแล้ว จำเป็นต้องทำให้ผงกะหรี่สุกดีเสียก่อน ถ้าทำไม่สุกย่อมมีกลิ่นเหม็น  ฉะนั้น เมื่อใช้ผัดต้องให้ผงกะหรี่สุกมากๆ ก่อน แล้วจึงใส่ของอื่น ถ้าปล่อยให้ผงกะหรี่จับติดของอื่นเสียแล้ว จะทำให้ของนั้นด้านและสุกได้ยาก กลิ่นไม่หอมชวนรับประทาน




ปลา  ปลาทุกชนิดทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ที่มีกลิ่นคาวจัด ก่อนอื่นควรล้างและเคล้ากับเกลือป่นเสียก่อน (กำจัดกลิ่นคาว) ถ้าจะต้มหรือนึ่ง ควรเหยาะน้ำส้มหรือน้ำมะนาวสักเล็กน้อย จะทำให้เนื้อขาวสะอาด ไม่แตกและมีกลิ่นคาว ถ้าทำอาหารอย่างไทยๆ เรา มักใช้ข่าแห้งป่นเคล้ากับเนื้อปลาเสียก่อน เพื่อกลบกลิ่นคาว ถ้าทำอาหารอย่างต่างประเทศ ส่วนมากใช้มะนาวแทนข่า และถ้าจะแกงปลาต้องต้มน้ำให้เดือดพล่านเสียก่อน จึงใส่ปลาลง มิฉะนั้นจะเหม็นคาว
กุ้ง  การต้มกุ้ง ต้องต้มน้ำให้เดือดดีเสียก่อน จึงใส่กุ้งลงไป ถ้าทำไม่ดีจะมีกลิ่นคาว และการผัดก็เช่นเดียวกัน ต้องแยกมันกุ้งออก (ผัดต่างหาก) อย่าปนไปกับเนื้อกุ้งทีเดียว และอย่าคนให้มากนัก
มันหมู  ต้มมันหมูแข็งต้องต้มน้ำให้เดือดเสียก่อน เติมน้ำส้มลงสักเล็กน้อย แล้วจึงใส่มันหมูแข็งลง มันจึงจะไม่ละลาย
ผัก  ที่ดองด้วยน้ำส้ม ถ้าเติมสารส้มลงนิดหน่อยจะกรอบดี ผักทุกชนิดก่อนจะดองให้แช่ด้วยน้ำเกลือต้ม (ทิ้งไว้ให้เย็นก่อน)  การจัก หั่น อย่าใช้มีดเหล็กจะทำให้ผักดำไม่น่าดู ควรใช้มีดทองสำหรับปอกผลไม้
มันเทศ  ก่อนเผา ถ้าเอาแช่น้ำร้อนสัก ๑๕ นาที จะทำให้สุกเร็วขึ้น
มันฝรั่ง  ที่จะทอดจงฝานบางๆ ล้างให้หมดยางผึ่งให้แห้งแล้วจึงทอด ก่อนปอกมันถ้าแช่น้ำอุ่นกับโซดาจะทำให้ปอกง่าย ถ้าใช้ต้มเติมน้ำส้มลงไปในหม้อสักนิดหนึ่ง มันนั้นจะไม่ดำ ถ้าเป็นมันเก่า จงเติมน้ำตาลทรายลงจะทำให้มันนั้นสดชื่นขึ้น
มะนาว  ถ้าคลึงไม่น่วมเพราะผิวหนาให้เอาอังไฟหรือเข้าเตาอบพอร้อน น้ำก็จะมีมากขึ้น อนึ่งถ้าจะเอาชิ้นมะนาววางไว้ใกล้ๆ กระป๋องนม ผลไม้กวน หรือวุ้น ก็เช่นเดียวกัน จะไม่เสียง่ายหรือมีกลิ่นบูด
เนย  ถ้าจะใช้เนยเทียมผัดหรือเจียว ให้ใช้หัวหอมฆ่ากลิ่นเสียก่อน คือเอาเนยใส่กระทะตั้งไฟเอาหัวหอมฝรั่งหรือหัวหอมไทยลงเจียวให้สุกแล้วตักขึ้น แล้วจึงใส่ของอื่นผัดต่อไป ถ้าหากจะใช้หัวหอมในที่นั้นด้วยก็หั่นให้ได้ขนาดที่จะใช้เสียเลย แต่อย่าเจียวให้เกรียม





การต้มผัก
๑. การต้มผัก ให้ใส่น้ำหนเดียวให้พอดี อย่าไปเติมกลางคันจะทำให้ผักนั้นกระด้าง เสียรส
๒. กะหล่ำดอก ต้มสุกง่ายกว่าผักอื่นๆ จงอย่าต้มให้นานนัก
๓. กะหล่ำดอก เมื่อเวลาจะเอาลงต้ม จงบีบมะนาวลงไปสัก ๑ ช้อนชา สีนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง
๔. ก่อนจะผัดผักด้วยน้ำมัน ควรสลัดน้ำออกจากผักเสียบ้าง น้ำมันจึงจะไม่กระเด็นขึ้นใส่
๕. ผัก เมื่อได้ล้างสะอาดและหั่นเตรียมไว้พร้อมแล้ว จะต้องรีบปรุงทันที อย่าทิ้งไว้นาน มิฉะนั้นจะเซ็งและเสื่อมคุณณภาพ
๖. น้ำที่ใช้ต้มผักแล้ว อย่าเทน้ำนั้นทิ้งเสีย จงเก็บเอาน้ำนั้นไว้ทำน้ำแกง หรือประกอบอาหารอย่างอื่นต่อไปตามต้องการ
๗. อย่าต้มผักให้สุกเกินไปนัก ผักจะไม่กรอบ เสียรสเสียคุณค่าทางอาหาร และดูไม่น่ารับประทาน





การรักษาภาชนะเครื่องใช้ในครัว
กระทะเคลือบ  ใช้ล้างด้วยน้ำร้อนกับสบู่ หรือขัดด้วยขี้เถ้า ถ้าไหม้ไฟ แช่น้ำเกลือไว้นานๆ แล้วเอาขึ้นตั้งไฟ ต้มให้น้ำเดือด
กระทะหรือหม้อไหม้ไฟ จงเอาแช่น้ำเกลือค้างไว้ ๑ คืน แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ รอยที่ไหม้จะหลุดออกหมด
กระทะทอดปลาแล้ว  ให้ต้มด้วยน้ำเดือด แล้วใส่ใบชาลงนิดหน่อย ล้างแก้คาวได้ดี
กระทะหรือหม้อเคลือบใหม่ๆ  ใช้ล้างด้วยน้ำร้อนกับสบู่
กระทะอลูมิเนียม  ขัดด้วยทรายละเอียดกับน้ำสบู่ (อย่าใช้โซดา)
กาทองแดง  มีรอยต่างๆ ก่อนจะขัดใส่น้ำร้อนลงให้เต็ม จงใช้มะนาวและเกลือถูไปมา จะขัดได้โดยง่าย ส่วนภายในกา จงเอาโซดาคาบอเนตสัก ๑-๒ ช้อนชา ผสมกับน้ำแล้วต้มให้เดือดแล้วเอาลงมาล้างด้วยน้ำอุ่นๆ อีกครั้งหนึ่งจะหายรอยด่าง
เครื่องเงิน  ที่เป็นสนิมจะใช้แมกนีเซียมกับน้ำเย็นชโลมให้ทั่วแล้วถูด้วยผ้าอ่อนๆ จะหมดสนิม
เครื่องถ้วยชาม ที่ใช้มานานๆ จงล้างด้วยน้ำส้มกับเกลือเสียที จะทำให้ใหม่เสมอ
เครื่องอลูมิเนียม  ขัดด้วยทรายละเอียดหรือน้ำมะนาว แล้วล้างด้วยน้ำอุ่นจะหายดำและมัวไปมาก
จานกระเบื้อง  ซึ่งมีรอยเกรียมจงใช้ไม้ก๊อกจิ้มเกลือเปียกๆ ถูไปมาก็จะหายได้
ตะกร้าหวาย  ถ้าจะใช้ให้ทนเมื่อแรกซื้อมาควรแช่น้ำสบู่ร้อนๆ เสียก่อน แล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
เตาอบ  ถ้าใช้เตาอบมีความร้อนมากเกินไป อย่าลดความร้อนด้วยการเปิดฝาเตาออกทิ้งไว้ แต่ให้เอาชามอ่างเคลือบใส่น้ำเย็นใส่เข้าไปแทน เตานั้นจะลดความร้อนลง และช่วยการทำอาหารนั้นๆ ได้ดีกว่า
ถ้วยชาม  ที่เปื้อนน้ำมัน เพื่อล้างให้ง่ายเข้าอีกมากด้วยการผสมน้ำส้มนิดหน่อย ลงในน้ำที่ใช้ล้างแล้วเช็ดให้แห้ง
ป้องกัน  กันไม่ให้กระทะเป็นสนิม เมื่อก่อนจะเก็บใช้เช็ดด้วยผ้าสะอาดแห้งๆ หรืออังไฟให้อุ่นเสียก่อนจึงเก็บ
มีดโต๊ะ  ที่ใช้สกปรก จงขัดด้วยผงถ่านละเอียดๆ จะทำให้สะอาด
มีด  ที่เป็นสนิม เอาหัวหอมถูจะหายได้โดยง่าย
มีด  ที่หั่นหอม จะทำให้หายกลิ่นได้ โดยปักมีดลงในดิน แล้วจึงเอาขึ้นมาล้าง
มีดทำปลา  ถ้าเหม็นคาว จงถูด้วยเปลือกมะนาวจะหายเหม็นคาว
มีดที่ติดกลิ่นหัวหอม  จงใช้เกลือป่นถู จะทำให้กลิ่นหายไปได้
ล้างขวดให้สะอาด  จงล้างด้วยมูลเถ้าในเตาไฟ ปนกับน้ำเขย่าให้มากๆ แล้วล้างน้ำเย็น ขวดจะสะอาด
ล้างช้อนส้อม  ให้เอาใส่ในชามน้ำสบู่เจือโซดานิดหน่อย เอาขึ้นตั้งไฟสักครู่แล้วถูด้วยผ้าแห้งๆ จะเป็นเงางามอย่างเดิม หรือถ้าล้างอย่างธรรมดา จงเอาแช่ในน้ำสบู่กับแอมโมเนียนิดหน่อยจะทำให้ขึ้นเงางามดี
ล้างภาชนะ  ใช้น้ำเกลือผสมกัน นำไปล้างน้ำภาชนะที่ทำด้วยแก้วตลอดจนแจกัน จะทำให้สะอาดได้อย่างดีที่สุด
อ่างหรือชาม  ไม่ว่าชนิดใด แม้เปื้อนด่างทับทิม จงล้างด้วยน้ำมะกรูด หรือน้ำมะนาว จะออกได้โดยง่ายกว่าอย่างอื่น
อ่างล้างชาม  ชนิดกระเบื้องเคลือบ ถูด้วยดินสอพองกับน้ำเล็กน้อย ดีกว่าใช้สบู่ และจะไม่มีคราบด้วย

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กุมภาพันธ์ 2557 11:51:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2557 12:30:14 »

.


srinarong.kaset-surin.com

วิธีหุงข้าว
ก. หุงข้าวอย่างรินน้ำทิ้ง
เครื่องปรุง ข้าวสาร น้ำเย็นสะอาด

เครื่องใช้ ใช้หม้อเคลือบ หม้ออลูมิเนียม หรือหม้อดิน อย่างใดอย่างหนึ่ง

วิธีหุง เลือกหม้อที่โตพอที่จะใส่ข้าวลงได้ (ใช้หม้ออย่างใดอย่างหนึ่งใส่ข้าวลงต้องต่ำกว่าครึ่งหม้อ)

ข้าวสาร ต้องเลือกกากและสิ่งอื่นที่รวมอยู่ออกให้หมด แล้วใส่ลงในหม้อ ซาวด้วยน้ำเย็นสะอาด ๑-๒ ครั้ง (เทน้ำทิ้ง) แล้วจึงใส่น้ำสะอาดลง คะเนให้สูงกว่าข้าวสารสัก ๒-๓ ส่วน ขึ้นตั้งไฟแรงๆ ปิดฝาหม้อให้สนิท พอเดือดแล้วเปิดฝาหม้อคนให้ทั่ว คอยช้อนฟองออกทิ้งแล้วปิดฝาหม้ออีกครั้ง พอเดือดอีกสักครู่เปิดฝาออกตักข้าวสารขึ้นดู ถ้าตรงกลางเมล็ดข้าวมีไตขาวเพียงเล็กน้อย แล้วเปิดฝายกลง รินน้ำข้าว (ใส่ลงในอ่างหรือหม้อเล็กๆ ไว้รับประทานได้) ออกให้หมดจนแห้ง ราไฟในเตาออกสักเล็กน้อย แล้วเขย่าๆ ให้หลวมตัวเปิดฝา ปาดข้าวที่ติดข้างๆ หม้อลง เช็ดฝาหม้อให้สะอาดแล้วปิดฝาให้สนิทยกหม้อข้าวขึ้นตั้งไฟเอียงไปรอบเตา เรียกว่า “ดง” จนไอขึ้นปากหม้อพลุ่งๆ ระอุดีแล้วยกลงปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงตักขึ้นรับประทานได้

ข. หุงข้าวอย่างไม่รินน้ำ
เครื่องปรุง ข้าวสาร และน้ำเย็นสะอาด

วิธีหุง ทำอย่างเดียวกับวิธีหุงข้าวเช็ดน้ำ แต่การใส่น้ำให้สูงกว่าข้าวสาร ๑ ๑/๒ นิ้ว ปิดฝาหม้อยกขึ้นตั้งไฟแรงๆ พอเดือดดี เปิดฝาช้อนทิ้งเสียคนให้ทั่ว ปล่อยให้เดือดแล้วปิดฝาหม้อให้สนิท ราไฟอ่อนๆ ตั้งเอียงไปรอบๆ (ดง) จนข้าวแห้งสุกระอุดี แล้วตักรับประทานได้

อนึ่ง ถ้าเป็นข้าวใหม่-อ่อน ต้องลดน้ำลง การหุงข้าวชนิดนี้รับประทานดีกว่ารินน้ำทิ้ง เพราะมีรสส่วนประกอบที่ดี ให้คุณประโยชน์แก่สุขภาพอนามัย




ภาพจาก : www.codi.or.th/south
ค. หุงข้าวมัน
เครื่องปรุง ข้าวสารเม็ดงามๆ น้ำกะทิ คั้นจากมะพร้าวขูด คั้นข้นๆ ทั้งหัวและหาง น้ำตาลทราย เกลือป่น
วิธีหุง มะพร้าวขูดคั้นให้ได้ทั้งหัวและหาง (ข้าวสาร ๒ ลิตร เท่ากับน้ำกะทิ ๓ ลิตร) ใส่ลงในหม้อดินใหม่ๆ เป็นดีที่สุด (เพราะไม่ทำให้ข้าวเปลี่ยนสี คือข้าวสีขาวดีและมีกลิ่นหอม) ยกขึ้นตั้งไฟโรยเกลือป่นและน้ำตาลทรายตามความต้องการ (๓-๔ ช้อนชา) ใช้ไม้พายเล็กๆ คนให้เข้ากันเรื่อยๆ ไปจนเดือด (ระวังอย่าให้กะทิล้นออก) ซาวข้าวสารให้สะอาดสงขึ้นจากน้ำให้แห้งใส่ลงในหม้อกะทิ คนบ่อยๆ อย่าให้ข้าวติดก้นหม้อเคี่ยวไปจนเดือดดีแล้ว ราไฟออกเสียบ้าง ใช้เพียงไฟอ่อนๆ เอาใบตองล้างน้ำให้สะอาดซ้อนกันสองชั้น ปิดปากหม้อแล้วจึงปิดฝาหม้ออีกทีหนึ่ง ค่อยๆ หมุนหม้อไปรอบๆ (ดง) เตาจนไอน้ำขึ้น คะเนว่าสุกระอุดีแล้ว ยกลงปิดฝาไว้อย่างเดิม จนกว่าจะถึงเวลารับประทาน
อนึ่ง การที่ใช้หม้อเป็นโลหะหุง ถ้าถูกเกลือเค็ม เวลาหุงจะทำให้เกิดสนิม และข้าวนั้นจะมีสีมัวไม่ขาวสะอาด

ง. หุงข้าวต้ม
เครื่องปรุง ข้าวสาร น้ำสะอาด
วิธีต้ม  เอาข้าวสารใส่ลงในหม้อ (พอแก่ความต้องการ) ใส่น้ำสะอาดซาวสัก ๑ ครั้งรินน้ำทิ้ง แล้วใส่น้ำสะอาดลงไปอีก ให้น้ำมากกว่า ๓ ส่วน ยกขึ้นตั้งไฟแรงปิดฝา พอเดือดเปิดฝาช้อนฟองทิ้ง คนให้ทั่วแล้วปิดฝาปล่อยให้เดือดเรื่อยไป ตักข้าวขึ้นดูใช้มือบี้ดูเห็นหมดไตขาวดีแล้วยกลง ตักรับประทานร้อนๆ กับเครื่องเค็ม
อนึ่ง ถ้าเป็นข้าวต้มเปล่า ใส่น้ำต้มมากๆ สักหน่อย แต่ถ้าหากเป็นข้าวต้มเครื่อง ใส่น้ำแต่พอควรเพราะยังมีน้ำเชื้อ (กระดูกไก่ กระดูกหมูต้ม) ผสมลงอีกเท่าหนึ่ง จึงเหมาะส่วนสำหรับข้าวต้มที่ปรุงเครื่องตามความต้องการ

จ.ข้าวคั่ว
วิธีทำ ข้าวสาร (พอแก่ความต้องการ) ซาวกับน้ำเย็นสะอาดสัก ๑-๒ ครั้งรินน้ำทิ้ง แล้วใส่แช่ไว้สักครู่ เอากระทะขึ้นตั้งไฟให้ร้อน จึงสงข้าวขึ้นใส่กระทะคั่วพอมีสีนวล แล้วเอาขึ้นโม่ให้ละเอียด กรองด้วยตะแกรงลวดถี่จนหมด




programdeedee.com

วิธีปรุงน้ำส้มจิ้ม
อาหารที่ใช้นึ่ง ทอดและย่างบางอย่างต้องใช้จิ้มกับน้ำจิ้ม ซึ่งมีวิธีปรุงรสต่างๆ กันหลายวิธี จักได้กล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้:-

ก. ใช้น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลผสมกัน ใส่พริกขี้หนู หรือพริกชี้ฟ้าสีแดงๆ บุบพอแตก ชิมรสให้เค็ม เปรี้ยว หวาน ตามลำดับ
ข. ใช้กระเทียม ปอกเปลือกให้หมด โขลกกับเกลือให้ละเอียดจึงใส่พริกขี้หนู หรือพริกชี้ฟ้าแดงๆ โขลกไปด้วย ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย ชิมรสให้เปรี้ยว เค็ม หวานตามลำดับ
ค. ทำอย่างวิธี ข. แล้วบุบถั่วลิสงคั่ว (ปอกเปลือกเสียก่อน) อย่าให้ละเอียดนักใส่ลงด้วย จะใช้ถั่วลิสงตัดแทนถั่วลิสงคั่วก็ได้ จะเพิ่มงาตัดหรืองาคั่วลงไปด้วยก็จะทำให้รสดีขึ้น โดยผักชีเด็ดลงไปด้วย
ง. ทำอย่างวิธี ข. ใส่แตงกวาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ลงด้วย
จ. ทำอย่างวิธี ค. ใส่แตงกวาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ลงด้วย
ฉ. ทำอย่างวิธี ข. ใส่แตงกวากับหอมหัวใหญ่หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ลงด้วย
ช. ใช้บ๊วยเจี่ย (ผลไม้กวนเหลว มีขายตามร้านชำของจีนในตลาด ผสมน้ำส้ม เกลือ น้ำตาลทราย ถั่วลิสงคั่วบุบดังกล่าว ชิมรสแล้วโรยผักชีเด็ดลง
หมายเหตุ วิธีปรุงน้ำจิ้มนี้ ใช้มากน้อยสุดแต่ของที่จะใช้จิ้ม หรือความต้องการให้เหมาะส่วนกับของนั้นๆ พูดง่ายๆ ก็คือ ให้พอเหมาะพอดี เพื่อเป็นการประหยัดด้วย



bloggang.com-

การจัดประเภทอาหาร

ข้อสำคัญ การจัดอาหารนั้น ย่อมรู้จักจัดอาหารให้ถูกต้องตามประเภท มีหลักคือ
ควรต้องรู้ว่า อาหารชนิดใดบ้างที่ให้คุณประโยชน์จึงจะพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น จะต้องมีอาหาร ไข่ เนื้อ ปลา แป้ง ผัก ฯลฯ เป็นต้น ปนกันทุกวัน ทั้งต้องรู้จักแบ่งชนิดของอาหารว่ามื้อใดควรใช้อาหารหนัก มื้อใดควรใช้อาหารเบา ไม่ใช่จัดเหมือนๆ กันทุกมื้อไป สำหรับอาหารไทยควรจัดทำดังนี้
 
เช้า อาหารชนิดนี้เป็นอาหารชนิดเบา ควรเป็นข้าวต้มอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะรับประทานข้าวสวยก็ควรใช้อาหารที่ง่ายๆ และเบาๆ เช่น แกงจืด ไข่เจียว หรือจะเป็นข้าวผัดบ้างบางคราวก็ได้ สลับสับเปลี่ยนกันไปบ้างตามความต้องการ
กลางวัน อาหารมื้อนี้เป็นอาหารชนิดหนัก เช่น กับอาหารเย็น แต่เป็นอาหารจำนวนน้อยกว่าและคนละประเภท เช่นกับอาหารเย็นมื้อนี้ ควรเป็นชนิด กุ้ง ปูทอด แกงจืด เกาเหลา ข้าวคลุก ข้าวผัด หมี่กรอบ สลัดบ้างก็ได้ ตามความต้องการ
อาหารค่ำ อาหารมื้อนี้นับเป็นอาหารชุดที่ดีกว่ามื้ออื่นทั้งหมด ควรจัดทำให้มากเต็มที่ ควรมีดังนี้
แกงเผ็ด” หรือแกงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ (ที่ไม่ใช่แกงจืด) ต้องให้เป็นแกงที่ดีๆ ปรุงแต่งให้มีรสอร่อยและประณีต
เครื่องจิ้ม” ปลา ผัก จัดให้ครบชุดและรับประทานถูกกัน เครื่องจิ้มเหล่านี้ควรสับเปลี่ยนกันไป และให้รสขัดกับของอื่นที่จะรับประทาน (ควรมีประจำวัน) จะเป็นเครื่องหลนหรือน้ำพริกต่างๆ ก็ได้ อย่าใช้ของหมักดองที่มีกลิ่นแรง หรือถ้าเป็นน้ำพริก ควรใช้น้ำพริกข้นๆ  และถ้ามีปลาควรทำปลาเป็นคำๆ หรือเป็นแพใหญ่ หรือทำให้กรอบฟู เครื่องจิ้มกับผักควรอยู่ในจานเปลเดียวกัน ชามเครื่องจิ้มวางกลาง จัดผักล้อมรอบ ผักต่างๆ ควรแช่น้ำทับทิมไว้สักครู่ แล้วต้องล้างน้ำเย็นให้สะอาดดีอีกครั้งหนึ่ง จักสลักให้งาม และจัดสลับสีให้สดสวย น่ารับประทาน
ผัดหรือยำ” อย่างใดอย่างหนึ่งให้รสขัดและแปลกรสของอาหารอย่างอื่น

อนึ่ง “แกงจืด” ถ้าจะมีด้วยก็ได้ จะเป็นเกาเหลาก็ได้ แต่ต้องปรุงรสให้ดีและร้อนๆ ตักอย่าให้น้อยหรือมากเกินความต้องการ คือ ตักให้พอดีๆ ให้น้ำร้อนอยู่เสมอ ถ้ามีหม้อไฟ (เกาเหลา) ก็ต้องระวังอย่าให้มีน้ำน้อย ถ้าน้ำแห้งของนั้นจะไหม้
การตุ๋น” ต้องตุ๋นให้เนื้อเปื่อย (เวลาตักจะออกได้โดยง่าย) ถ้าใช้หม้อไฟ (เกาเหลา) ใส่ไฟกลางให้ร้อนไปตั้งก็เป็นการเหมาะดี
ของจานที่ร่วงๆ อีกอย่างหนึ่งจะเป็นกุ้ง ไก่ ปลา หรือสลัดอย่างใดก็ได้ กับข้าวธรรมดาจัดเท่านี้ก็พอ (ประจำวัน)  “ของร่วง ๆ” เช่น กุ้งแนม ปลาแนม หมี่กรอบ และไส้กรอกต่างๆ หรืออื่นๆ กุ้ง ปลาสอดไส้ ปู พะแนง หรือแฮ่กึ๊น สักอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง  และจัดให้เต็มจานพอดี ให้หยิบผักแนมขึ้นได้โดยง่าย ของที่ควรตัด ต้องตัดเป็นคำๆ เรียงซ้อนกันให้เรียบร้อยดูสวยงามน่ารับประทานด้วย
สลัดหรือยำ”  ต้องทำให้ดีและประณีต ปรุงรสน้ำสลัดให้กลมกล่อม (อย่าลืมว่าผักทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด) สีสวยและสดด้วยจึงจะดี และต้องคลุกเคล้าแต่เบาๆ เพื่อมิให้ผักช้ำ  ควรจัดสลัดหรือยำใส่จานเปลใหญ่ๆ จัดผักให้โปร่งแลเห็นรอบตัว ดูแล้วงามตาและชวนรับประทาน แยกน้ำสลัดใส่โถไว้ต่างหาก ถ้าเป็นยำควรแยกน้ำคลุกใส่โถไว้ต่างหาก เช่นเดียวกัน การยำต้องคลุกแต่เบา ๆ เพื่อมิให้ผักชอกช้ำหรือเซ็งเร็วเกินไป (เมื่อยำแล้วควรรับประทานทันที)

หมายเหตุ แกงเผ็ดทุกอย่าง จำต้องมีเครื่องเค็ม เช่น เนื้อเค็มกรอบ ปลาเค็มทอด ปลาสลัดทรงเครื่องก็ใช้เข้าในเครื่องแนมแกงเผ็ด แล้วยังมีเครื่องดอง เช่น กระเทียมดอง ขิงดอง แตงไทยดอง และอาจาดเป็นต้น  อนึ่ง พริกดองน้ำส้ม ควรใส่ขวดโหลแก้วตั้งไว้บนโต๊ะอาหาร เพราะว่าถ้าใครต้องการหรือชอบผสมด้วยรสนี้ จะได้ใช้ปรุงส่วนตัวต่างหากด้วย บางคนชอบรับประทานพริกดองก็มี ไม่ชอบก็มี ด้วยรสเปรี้ยวและเผ็ด



ภาพจาก : www.naewna.com

วิธีประกอบอาหาร
วิธีประกอบอาหาร ที่ได้รสดีตามความนิยม มีหลักใหญ่อยู่ที่การทำ การผสมส่วน ตลอดจนระยะเวลาที่ทำ อาหารทุกชนิดต้องทำให้ “สุกดี” เสียก่อน โดยปรับปรุงจัดสรรเลือกใช้แต่สิ่งที่ให้คุณประโยชน์ จึงจักได้อาหารดีรสดี เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนผู้ที่ได้พบเห็นชวนให้รู้สึกว่า อาหารนั้นๆ น่ารับประทาน รู้สึกอร่อย ย่อยง่าย และอยากรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทุกชนิดต้องรักษาความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากเชื้อโรคต่างๆ และแมลงเล็กๆ ที่ชอบอาศัยตามอาหารและผักต่างๆ ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ จึงจะเกิดประโยชน์แก่สุขภาพอนามัย ซึ่งมีหลายวิธีต่างๆ กัน จึงขอกล่าวโดยย่อพอเป็นเครื่องประดับความรู้แด่ท่านผู้สนใจ ซึ่งอาจได้รับประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย กล่าวคือ

การคั่ว
ต้องใช้กระทะแห้งๆ ที่สะอาด ไม่ให้น้ำมันจับ การคั่วของที่ใช้นี้ จำต้องใช้ไฟอ่อนๆ คนเคล้าไปจนของนั้นสุกเหลือง กรอบ ร่วนดี


การเคี่ยวไฟรุม
ใช้หม้อหรือกระทะใส่น้ำพอท่วมของที่ใช้ รุมไฟอ่อนๆ และต้มให้เดือดปุดๆ จนกว่าเนื้อจะสุกเปื่อยและยุ่ย ตามความต้องการ


การทอดหรือเจียวมีสองวิธีด้วยกัน คือ ทอดด้วยน้ำมันน้อยๆ และใช้ทอดด้วยน้ำมันมากๆ และให้น้ำมันร้อนจัด จึงใส่สิ่งที่ต้องการลงไป อย่าใช้ไฟให้แรงเกินไป เพราะข้างนอกจะไหม้ขมเสียก่อน และข้างในอาจดิบ ทำให้เหนียว  ฉะนั้น จึงจำต้องใช้ไฟร้อนกลางๆ พอดี แต่ถ้าใช้ไฟอ่อนเกินไปก็ไม่ดี เพราะของที่ควรพองน่ารับประทานก็จะกลับด้านและเหนียวหมดรสอร่อย

การต้มหรือลวก
คือการทำให้สุกในน้ำเดือด ใช้เวลาเพียงเล็กน้อย ใช้หม้อหรือกระทะตั้งน้ำให้เดือดพล่าน มีพรายน้ำพลุ่งทั่วกันเสียก่อน แยกได้สองวิธี คือ
ก. ใส่ของที่ต้องการพร้อมกันแต่ทีแรก หรือ
ข. ใส่ลงในน้ำเดือดพล่านแล้วต้มด้วยน้ำน้อยๆ รุมไฟอ่อน ๆ ไม่ต้องปิดฝา
ถ้าต้มหรือลวกผักควรโรยเกลือป่นหรือเกลือเม็ดลงสักเล็กน้อยจึงใส่ผักลงไป ถ้าผักชนิดใดเปลือกแข็งเป็นเหลี่ยม (บวบเหลี่ยม) ก็เกลาเหลี่ยมนั้นให้หมดเสียก่อน ถ้าผักนั้นเปลือกเขียว ไม่ควรปอกเปลือก และถ้าผักชนิดใดสุกง่ายอย่าเคี่ยวให้นานจนเกินไป ผักจะเปื่อยยุ่ย ทำให้หมดรสอร่อยทีเดียว


การตุ๋น
โดยใช้หม้อสองชั้น หม้อชั้นบนใส่อาหาร หม้อชั้นล่างใส่น้ำ ใช้ความร้อนจากน้ำเดือด สุกด้วยไอระเหยจากหม้อชั้นล่าง แต่ต้องใช้เวลาตุ๋นนานๆ ต้องคอยเติมน้ำในหม้อล่างบ่อยๆ ข้อควรระวังอย่าให้น้ำแห้ง ถ้าน้ำแห้งแล้วของจะไหม้ใช้การไม่ได้


การนึ่ง
โดยใช้นึ่งด้วยหม้อหวดดิน หวดสานด้วยไม้ไผ่ หรือลังถึง ตั้งในกระทะน้ำร้อน หรือหม้อดินก็ตามเพื่อทำให้อาหารนั้นสุกระอุจากไอน้ำเดือด ข้อควรระวังคือต้องคอยเติมน้ำให้พอดี อย่าให้ล้นขึ้นมาท่วมของ และอย่าเผลอให้น้ำในหม้อหรือน้ำในกระทะแล้ง จะไหม้ การนึ่งต้องใช้ไฟร้อนกลางๆ อย่าให้แรงจนเกินไปใช้เวลานานสักหน่อย จนกว่าอาหารนั้นสุกระอุดี

การผัด
ใช้น้ำมันพอคลุกของที่ต้องการให้ทั่ว ใช้ไฟค่อนข้างแรงจัด และทำเร็วๆ จงผัดเนื้อชนิดที่สุกยากเสียก่อน แล้วจึงใส่เนื้อที่สุกง่ายลง และผักแก่-อ่อน (ตามลำดับ) ทีหลัง เมื่อใส่ผักลงอย่าคนให้มากนัก ทิ้งไว้ให้ระอุเองจึงค่อยๆ กลับไป-มา ๒-๓ ครั้งเท่านั้นก็พอ ถ้าใช้น้ำปรุงเป็นน้ำเชื้อประกอบอาหาร ใช้ฝาหม้อปิดไว้สักครู่ คะเนผักต่างๆ สุกทั่วกันดีแล้ว เปิดฝากยกลง ตักใส่จานเปลรับประทานได้

การผิง (ขนมและอื่นๆ)
ใช้ถาดสังกะสี ถาดทองแดง ถาดเหล็ก หรือแผ่นเหล็กพืดแบน บางชนิดสี่เหลี่ยม กลมบ้าง ตามความเหมาะสม ขนาดโตพอควร เพื่อวางของที่จะผิงให้ของสุก และใช้แผ่นสังกะสีชนิดแบนเรียบ (ไม่เป็นลูกๆ) โตพอควร ใช้เป็นฝาปิดถาด (ชั้นบน) อีกแผ่นหนึ่ง ใช้ไฟกาบมะพร้าวแห้งเผา หรือถ่านไฟร้อน (กลางๆ) เกลี่ยลงบนแผ่นสังกะสีนั้นให้ทั่ว ส่วนชั้นล่างใช้ตารางเหล็กขนาดกว้าง-ยาว และส่วนสูงพอควร มีขาตั้งกับพื้น สำหรับวางถาดผิง ข้างใต้ลงไปอีก ใช้ไฟอ่อนๆ (ก้นถาด) เกลี่ยถาดไฟให้ทั่วอย่างชั้นบน รวมความว่าต้องใช้ไฟผิงข้างบนและข้างล่าง ข้อควรระวังอย่าให้มีความร้อนจัดจนเกินไป ของจะไหม้เกินความต้องการ แต่ก็อย่าใช้ไฟอ่อนจนเกินไป จะทำให้ของนั้นด้านและกระด้าง ฉะนั้น จึงจำต้องใช้ไฟผิงให้พอเหมาะพอดี ใช้เวลาผิงนานสักหน่อย เมื่อคะเนของนั้นสุกระอุดีฟูเหลืองเกรียมและกรอบร่วน ตามความต้องการพอเหมาะพอดีได้ที่แล้ว ยกฝาเปิดชั้นบนออก ยกถาดลงมาจากตารางเหล็ก เป็นอันใช้การได้

การย่างหรือปิ้ง
คือการทำให้อาหารสุกดี โดยใช้ความร้อนจากเปลวไฟ ใช้ไฟอ่อนหมุนของที่ต้องการไปรอบๆ ให้เกรียม เหลืองทั่วกัน ถ้าใช้ไฟแรงเกินไปของยังไม่ทันสุกทั่วก็จะไหม้เสียก่อน ถ้าเป็นเนื้อก็จะแข็งกระด้างและดำไม่น่ารับประทาน สำหรับของที่หนาชิ้นโตๆ ข้างในค่อนข้างสุกยาก จำต้องใช้ไฟอ่อนๆ และใช้เวลานานสักหน่อย ส่วนการปิ้งของชิ้นบาง ใช้เวลาปิ้งเพียงเล็กน้อยรีบกลับไปมาก็สุกได้ง่าย

การรวน
ใช้น้ำผสมกับเกลือหรือน้ำปลาดีสักเล็กน้อย คะเนของนั้นๆ ไม่ติดกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน อย่ากลัวว่าของนั้นจะไหม้ เพราะน้ำของเนื้อจะออกมาผสมอีก เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง ฯลฯ เป็นต้น

การหุง
คือการทำให้สุกด้วยน้ำเดือด โดยใช้หม้อใส่น้ำและเนื้อลงไปพร้อมๆ กัน (ข้าว) คะเนสุกดี จะรินน้ำออกก็ได้ เมื่อน้ำแห้งสะเด็ดน้ำแล้วใช้ “ดง” โดยหมุนหม้อไปรอบๆ บนเตาไฟ ใช้ไฟอ่อนๆ อีกครั้งหนึ่ง จนไอระเหยขึ้นปากหม้อทั่วกันดีแล้วยกลง ข้อควรระวังการดงอย่าเผลอทิ้งไว้ จะทำให้ของนั้นเหม็นไหม้ได้

การอบ
โดยใช้เตาอบ ซึ่งมีความร้อนสูงอยู่รอบๆ ตัว ถ้าหากใช้เตาถ่านต้องใช้ถ่านอย่างดีทนไฟ จะทำให้ไฟแรงและทนทานไม่หมดเปลืองง่าย และต้องสังเกตดูความร้อนเอง ถ้าจะอบของอื่นๆ ต้องใช้ไฟขนาดกลางๆ เป็นมาตรฐาน ถ้าจะอบเนื้อต่างๆ ต้องใช้ไฟแรงสักหน่อย ถ้าจะอบไก่หรือหมูที่มีหนัง ต้องต้มให้น้ำเดือดใส่เกลือเสียก่อน พอสุกแล้วจึงอบ ถ้าเป็นเตาไฟฟ้า จะสะดวกดีมาก เพราะมีเครื่องหมายวัดระดับไฟต่ำ-สูง บอกไว้ให้ทราบแน่นอนตามความต้องการ

การอุ่น
ถ้าจะอุ่นอาหารที่สุกแล้วเพื่อเก็บค้างไว้ เมื่ออุ่นเดือดดีแล้วยกลง ต้องเปิดฝาหม้อให้ไอน้ำระเหยออกหมดแล้วจึงปิดฝา ถ้าปิดทั้งร้อนๆ ไอน้ำจะตกลงของนั้นอาจจะบูด-เสียได้ และถ้าเป็นของน้อยๆ ถ้าจะอุ่นก็เอาอาหารนั้นใส่ชาม วางลงในกระทะตั้งไฟให้น้ำเดือดร้อนระอุแล้วจึงยกลง





ภาพจาก : encrypted-tbn1.gstatic.com

หลักในการจัดเตรียมอาหารและการแก้กลิ่นต่างๆ
“แม่บ้าน” ควรรู้จักหลักในการเตรียมจัดหา การเก็บรักษาอาหารและแก้กลิ่นต่างๆ เพราะเป็นประโยชน์และสะดวกแก่ตัวแม่บ้านเอง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างดี
เครื่องปรุงอาหาร
เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นจะต้องเตรียมจัดหาไว้ในเวลาที่จำเป็นและควรมีไว้เป็นประจำสำหรับปรุงอาหารต่างๆ (โดยเฉพาะบ้านที่ห่างไกลตลาด) ซึ่งไม่ควรให้ขาดได้ คือ
กะปิ กระเทียม กระเทียมดอง (ควรดองไว้ใช้เอง) กานพลู กุ้งแห้ง เกลือป่น เกลือเม็ด (สองขวดหรือโถ ปิดสนิท) ขมิ้น (หัวหรือผง) ข่า (สดหรือแห้ง) ขิง (สดหรือแห้งและขิงดอง) ซอสชูรส ซอสปรุงรส (แม็กกี้) ซอสมะเขือเทศ (ขวด) ซอสศรีราชา ดอกจันทน์เทศ ตะไคร้ น้ำซีอิ๊วขาว น้ำซีอิ๊วดำ น้ำซีเจ๊กโฉ่ (น้ำส้มแดง) น้ำปลาญี่ปุ่น น้ำปลาดี น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว (ปึกหรือหม้อ) น้ำมันหมู น้ำมันสลัด น้ำส้มสายชู เนยเทียม (มาการีน) เนยแท้ ใบมะกรูด แป้งต่างๆ (ควรมีไว้บ้างทุกๆ ชนิด ปิดสลากชื่อของสิ่งนั้น เช่น แป้งญวน แป้งท้าวยายม่อม แป้งมัน แป้งสาลี เป็นต้น) ผงกะหรี่ ผงชูรส ผิวมะกรูด (สดหรือแห้ง) พริกไทยป่น-เม็ด พริกแห้ง (บางช้าง) มะพร้าวห้าว (ผลแห้ง) มัสตาร์ด (ผง) ลูกกระวาน ลูกจันทน์เทศ ลูกผักชี ส้มมะขามเปียก หอมหัวเล็ก หอมหัวใหญ่ (ฝรั่ง) อบเชย ฯลฯ

การรักษาและแก้กลิ่นต่างๆ
เครื่องเทศ  เครื่องเทศทุกอย่างจำเป็นจะต้องมีประจำไว้ในครัวเสมอ อาทิเช่น เมล็ดผักชี ยี่หร่า พริกไทย ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนขาว ลูกกระวาน ต้องเตรียมซื้อหามาไว้ เครื่องเทศดังกล่าว จะต้องคัดเลือกเอาที่ใหม่ๆ และดี ก่อนอื่นต้องล้างน้ำให้สะอาดแล้วผึ่งไว้ให้แห้ง และใช้คั่วหรือปิ้งเสียก่อน เพื่อให้มีกลิ่นหอมเก็บอัดใส่ขวดหรือภาชนะปิดเสียให้สนิท เพื่อมิให้กลิ่นระเหยได้ง่าย เมื่อต้องการใช้ก็หยิบได้ง่ายทันที (สะดวกดี) หากเก็บไว้นานๆ เกินควรกลิ่นไม่หอม ก็เอาขึ้นมาคั่วหรือปิ้งอีกเพียงเล็กน้อยก็ใช้การได้อีก  อนึ่ง กระเทียม หัวหอม หมั่นเอาออกตากแดด และผึ่งแดดไว้เสมอ




ภาพจาก : encrypted-tbn0.gstatic.com

รสและสีของอาหาร
รสและสีของอาหาร ดังเช่น
แกงจืดลูกรอก                สีเขียว  รสเค็ม
แกงเผ็ดไก่                    สีแดง  รสเค็ม
แกงส้มมะรุมกับปลาช่อน     สีแดงอ่อน รสเปรี้ยวเค็ม และหวาน
แกงแห้ง หรือพะแนง         สีแดงเข้ม รสเผ็ด เค็ม มัน
ปลากุเลาทอด                 สีนวล รสจืด 
กะปิคั่ว (ถ้วยกลาง)           สีไพรคร่ำ รสเค็มมัน
ผักดิบ                          สีขาวเขียวแดง ต้องมีผักชนิดมีรสเปรี้ยว
ผักดิบ                          สีต่างๆ ไม่ต้องใช้ผักมีรสเปรี้ยว
แสร้งว่ากุ้ง (ถ้วยกลาง)       สีชมพูปนเหลือง รสเปรี้ยวเค็ม
ผัดกะหล่ำปลีกับกุ้งหมู        สีขาว รสเค็มมัน         
ผัดใบคะน้ากับเนื้อวัว          สีเขียว รสเค็มมัน
ยำต้นขึ้นฉ่าย                   สีเขียวกับชมพูเรื่อๆ รสเปรี้ยวเค็มหวาน




ภาพจาก : encrypted-tbn0.gstatic.com

กลิ่นอาหาร
อาหาร ที่มีกลิ่นหอมเรียก "น้ำย่อยดี"
กลิ่น คือสิ่งที่รู้ด้วยจมูก เช่น เหม็นและหอม ในที่นี้กล่าวถึง "หอม" คือทำให้กลิ่นหอมยั่วจมูก ชวนให้น้ำลายซ่านอยากรับประทานอาหาร
กลิ่นอาหาร มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียก "น้ำย่อย" ชวนให้อยากรับประทาน "ยั่วน้ำลาย"   อาหารชนิดเดียวกันปรุงอย่างเดียวกัน ด้วยเครื่องปรุงอย่างเดียวกัน ด้วยเครื่องปรุงเหมือนกัน แต่เมื่อทำเสร็จแล้ว อาหารจานหนึ่งกลับมีกลิ่นหอมหวนชวนรับประทานมากกว่า ทั้งนี้เพราะผู้ปรุงรสบางคนจะปรุงไม่เหมาะหรือเรียกอย่างง่ายๆ ว่า มีความชำนาญพอสักแต่ว่ารู้อาหารชนิดไหนปรุงด้วยเครื่องอะไรบ้างก็หยิบๆ ใส่หม้อลงไป ไม่ทราบว่าควรใส่อะไรก่อน หรือหลัง หรือควรจะผัดเครื่องเสียก่อนที่จะเติมน้ำลงไปเป็นต้น อาหารบางชนิด ถ้าปรุงไม่เหมาะจะมีกลิ่นไม่ชวนรับประทาน ฉะนั้น ควรระวังไว้ด้วย
เนย เมื่อนำเอาไปผัดหรือทอดอาหาร มักมีกลิ่นหืน ควรใช้หอมซอยลงเจียวพอเหลืองเสียก่อน
น้ำมันหมู หรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันรำข้าว ถ้าเก่าจะมีกลิ่นหืน ควรใช้เมล็ดข้าวสารลงทอดในกระทะเสียก่อน แล้วจึงเจียวกระเทียม
พวกเครื่องแกง จำพวกเครื่องเทศควรคั่วให้หอมเหลืองเสียก่อน ส่วนเครื่องแกงถ้าตำละเอียดแล้ว จะต้องนำไปผัดกับหัวกะทิหรือน้ำมันให้เหลือง มีกลิ่นหอมฉุนเสียก่อน มิฉะนั้นจะเหม็นควาว จากนั้้นจึงค่อยใส่เนื้อ ของอื่นลงไป.




ภาพจาก : encrypted-tbn0.gstatic.com

การปรุงอาหาร
พล่าและยำ  อาหารพล่าและยำ เป็นอาหารแกล้มเครื่องเคียงประเภทหนึ่ง ความจริงพล่าและยำไม่มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก เพราะเครื่องปรุงรสนั้นคล้ายกันมาก
พล่า จำเป็นจะต้องใช้เนื้อนั้นๆ ดิบๆ สุกๆ เช่น พล่ากุ้ง พล่าเนื้อ พล่าหอยแครง ฯลฯ เป็นต้น เครื่องปรุง จะต้องมีกลิ่นฉุนรุนแรง รสเปรี้ยวจัด เค็มจัด และเผ็ดจัด รับประทานกับผักสดๆ อาทิเช่น ต้นหอม ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม ฯลฯ  และผักอื่นๆ ต่างหาก
ยำ เกี่ยวกับการใช้ของสด เช่น ผักสดหลายๆ ชนิด เช่น ต้นหอม แตงกวา ใบขึ้นฉ่าย ใบผักกาดหอม ผักชี มะเขือเทศ มะเขือเปราะอ่อนๆ หอมหัวใหญ่ เป็นต้น ใช้กุ้ง ปู ปลา เนื้อ หอย ฯลฯ จำเป็นต้องปิ้งย่างและเผาให้สุกเสียก่อน แล้วปรุงน้ำยำใส่ผักสดดังกล่าว  เครื่องปรุง  ใช้รสเปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด เป็นพื้น ไม่ค่อยมีรสรุนแรงนัก เมื่อยำเสร็จแล้ว ควรรับประทานทันที มิฉะนั้น ผักสดจะเซ็งยุบตัวขาดความอร่อยไป

ข้อแนะนำ ผัดสดต่างๆ ควรแช่น้ำเย็นผสมด่างทับทิมไว้สักครู่ แล้วล้างเสียให้สะอาด เมื่อจะใช้จึงค่อยนำขึ้นจากน้ำผึ่งในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นท่อนๆ หรือเด็ดตามความต้องการ




ภาพจาก : encrypted-tbn0.gstatic.com

• เครื่องแกล้มผัก
ปลาและกุ้งต่างๆ ที่ใช้เป็นแกล้มกับผักและเครื่องจิ้มที่ใช้ธรรมดา แยกออกโดยสังเขป คือ
ปลาน้ำจืด มีปลาดุก ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาสลิด ปลาเนื้ออ่อน ปลาตะเพียน ปลาเบี้ยว ฯลฯ
ปลาน้ำเค็ม (ทะเล) มีปลาทู ปลาจะละเม็ด ขาว-ดำ ปลากะพงขาว-แดง ปลาลัง ปลากระบอก ปลาสีกุน ปลาจวด ปลาน้ำดอกไม้ ฯลฯ
กุ้งต่างๆ มีกุ้งน้ำจืด และน้ำเค็มมากชนิดด้วยกัน มีกุ้งนาง กุ้งก้ามกราม กุ้งชี้แฮ้ กุ้งชันกาด ฯลฯ ใช้เผาต้มและนึ่ง ตามชนิดของผักและเครื่องจิ้ม  กุ้ง นอกจากจะรับประทานสดๆ แล้ว ยังมีการประกอบเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า กุ้งแห้ง กุ้งไม้ และอื่นๆ อีกมาก ใช้เป็นแกล้มได้ดีเหมือนกัน

ก. วิธีทำดังต่อไปนี้ คือ
วิธีย่างปลา  ปลาชนิดใดตัวย่อมๆ ก็ย่างทั้งตัว ถ้าตัวโตตัดศีรษะออกเสีย ตัดเป็นท่อนๆ 3-4 ท่อน หรือเป็นชิ้นๆ ขอดเกล็ดและหนังแบะออกเสียบไม้ หรือเอาขึ้นตารางเหล็กย่าง ใช้ไฟถ่านย่างแต่พอเกล็ดล่อน ลอกเกล็ดออกหมดแล้วจึงย่างไฟอ่อนอีกครั้งหนึ่ง พอหนังเหลือระอุดีแล้วจึงเป็นอันใช้ได้ ข้อควรระวังอย่าใช้ไฟแรง และอย่าให้สุกเกินไปจะไหม้เกรียมเกินความต้องการ
ย่างปลาดุก ปลาดุกสดขูดเมือกผ่าคอ ควักไส้ออกล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อน ถ้ามีไข่กลับใส่ไว้ในท้องด้วย เสียบด้วยไม้ปลายเสี้ยมแหลมให้ตัวงอข้าทางท้องนิดหน่อย (ย่างกันพลิก) ครั้งแรกย่างด้วยไฟแรงๆ ให้มันแตกเสียก่อน หนังจะได้เป็นมันน่ารับประทาน ต่อไปจึงย่างไฟอ่อนๆ จนเหลือน่ารับประทานอีกครั้งหนึ่ง
ย่างปลาช่อน ปลาชะโด ผ่าท้องควักไส้เอาดีออกล้างน้ำให้สะอาดย่างทั้งเกล็ด เพื่อจะได้ลอกเกล็ดออก แล้วจึงย่างไฟอ่อนๆ ให้สุกระอุเหลืองน่ารับประทาน
ปลาหมอ ปลาสลิด ผ่าท้องควักไส้เอาดีออกล้างน้ำให้สะอาดย่างให้สุก จะรับประทานทั้งเกล็ดหรือขอดเกล็ดเสียก่อนก็ได้ 

ส่วนปลาอื่นๆ เช่น ปลาตะเพียน ปลาเนื้ออ่อน ปลาเบี้ยว ปลาแดง ผ่าท้องควักไส้ออก ล้างน้ำสะอาดดีแล้ว ถ้าตัวโตตัดแบ่งเป็นท่อนๆ ๒-๓ ท่อน ส่วนมากใช้ทอดน้ำมันให้กรอบน่ารับประทาน  ส่วนปลาน้ำเค็ม เช่นปลาทู ปลาจะละเม็ด ผ่าและควักไส้ออกทอดทั้งตัวให้เหลืองกรอบน่ารับประทาน ส่วนปลาอื่นส่วนมากมีกลิ่นคาวจัด ต้องทอดให้เรียมเหลืองจึงจะน่ารับประทาน จะได้กล่าวในอันดับต่อไป.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กันยายน 2557 14:26:11 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 กันยายน 2557 15:11:23 »

.


ภาพจาก : www.mythaimenu.com

วิธีทอดปลา  ปลาสดทุกอย่างทอดได้ทั้งนั้น เมื่อล้างน้ำสะอาดแล้ว ต้องพักไว้ให้สะเด็ดน้ำเสียก่อน ตั้งน้ำมันให้ร้อนจัดจึงใส่ปลาลงทอด ปลาหมอ ปลาสลิดทำอย่างย่าง ทอดทั้งเกล็ดหรือขอดเกล็ด ปลาช่อน ปลาชะโดแล่ครีบออกเสียด้วย ส่วนปลาดุกไม่ต้องแล่ครีบ ทอดให้กรอบแล้วรับประทานได้ (มันดี) ปลาถ้าตัวใหญ่ก็ตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เช่น ปลากะพง ปลาสวาย ตัดเป็นชิ้นๆ ทอด ส่วนปลาเนื้ออ่อน ตัดหัวออกทอดทั้งตัว ในขณะที่เอาลงทอดในน้ำมัน เมื่อข้างหนึ่งสุกเหลืองและเห็นริมเหลืองๆ แสดงว่าใช้ได้จึงกลับมาอีกข้างหนึ่ง อย่ากลับไปกลับมาบ่อยๆ จะทำให้หนังปลาถลอกปอกเปิกหรือเนื้อหลุดลุ่ยและไม่น่ารับประทาน ข้อควรระวัง อย่าให้ไฟแรงเกินไปจะทำให้ปลาไหม้เสียก่อน



ภาพจาก : www.aroi.com

วิธีเผา  เอาปลาสดทั้งตัวล้างน้ำให้สะอาด เอากาบกล้วยสดๆ สองกาบตัดเป็นท่อนสองท่อน (ยาวกว่าตัวปลาเล็กน้อย) ประกบกับปลาไว้ใช้เชือกกล้วยมัดให้แน่น แล้วเอาโคลนพอกกาบกล้วยนั้นอีกชั้นหนึ่ง หนาพอควรเอาเข้าเตาไฟจนระอุสุกดี แล้วค่อยๆ เคาะโคลนแห้งออก แก้เชือกมัดเปิดกาบกล้วยออก ถ้าเกล็ดไม่ติดกับกาบกล้วยก็ต้องค่อยๆ ลอกเกล็ดออกจนเนื้อขาว ใช้น้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ราดให้หมดสิ่งที่เปื้อนเปรอะเสียก่อน



ภาพจาก : prasar2.wix.com

วิธีหลาม  เลือกเอาปลาตัวขนาดกลางๆ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วเอาใบข่า (ใบโตๆ) ห่อให้ทั่วตัวปลา ตัดกระบอกไม้ไผ่ (สด) ขนาดโตๆ มีข้อปล้องติดอยู่ด้านหนึ่ง (อย่างกระบอกรองน้ำตาลสด) เอาห่อปลานั้นยัดเข้าไปในกระบอก แล้วเอากาบมะพร้าวหรือใบไม้หุ้มด้วยใบตอง (จุกปิด) ปิดปากกระบอกให้แน่น หลามด้วยไฟแรงๆ คะเนว่าสุกระอุดีแล้วจึงผ่ากระบอกออกแก้เอาใบข่าที่ห่อตัวปลาออกให้หมด ถ้าเกล็ดไม่ติดใบข่าหมดก็ต้องลอกเกล็ดออกจนหมด แล้วใช้น้ำสะอาดราดอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สิ่งเปรอะเปื้อนออก



ภาพจาก : www.siambig.com

วิธีนึ่ง  เช่น นึ่งปลาทู ปลาจวด ปลาโคก ฯลฯ ควักไส้ออกทางเหงือก ถ้าควักไส้ทางเหงือกไม่ได้
ก็ผ่าท้องนิดหน่อยควักไส้ออก ล้างสะอาดแล้ว แช่น้ำเกลือไว้สัก 2-3 ชั่วโมง เอาใส่เข่งนึ่งให้สุก รับประทานนึ่ง หรือทอดอีกทีให้เหลืองก็ได้




ข. วิธีทอดไก่ นก เนื้อ และปลา


ภาพจาก : women.postjung.com
ทอดไก่  วิธีที่จะทอดไก่นั้น ผิดกับการทอดนกอยู่บ้าง เพราะไก่จะต้องหาไก่อ่อน และรับประทานสดๆ เมื่อได้ไก่มาทำความสะอาดข้างนอกข้างในหมดจดดีแล้ว เอาเกลือ กระเทียม พริกไทย รากผักชี ตำให้ละเอียดทาให้ทั่วตัวไก่หมักทิ้งไว้ก่อน เวลาจะทอดตั้งกระทะก้นลึกใส่น้ำมันหมูคะเนให้ท่วมตัวไก่ ค่อยรุมไฟขึ้นให้น้ำมันนิ่ง อย่าให้ไฟแรง เอาไก่ลงทอดต้องหมั่นกลับ และตักน้ำมันราดด้านบนอยู่เสมอ หนังจึงจะพองาม ต้องค่อยๆ ทอดไปนานๆ อย่ารีบร้อนจนเกิดไป คอยเอาเหล็กปลายแหลมหรือไม้ไผ่ปลายแหลมแทงดูเมื่อเนื้อสุกตลอดถึงข้างใน เห็นว่าเนื้อยุ่ยตลอดแล้วตักเอาขึ้นวางบนตะแกรงลวดให้สะเด็ดน้ำมัน เวลาจะรับประทานใช้สับเป็นชิ้นๆ หรือแล่เฉพาะเนื้อๆ จัดเรียงในจานตั้งโต๊ะรับประทาน



ภาพจาก : pantip.com

ทอดนก นกนั้นเนื้อกระดูกอ่อน เมื่อถอนขนลนไฟ (เพื่อให้ขนอ่อนหมด) ผ่าท้องควักไส้ออก ล้างน้ำสะอาดแล้ว เอาเกลือ กระเทียมพริกไทย รากผักชี ตำให้ละเอียด ทาให้ทั่วตัวนก เอาน้ำมันหมูมากๆ ใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน ค่อยๆ ปล่อยนกลงไปให้ลอยตัว เมื่อเห็นสุกเหลืองดีแล้วก็ตักขึ้นใส่ตะแกรงลวดให้สะเด็ดน้ำมัน ถ้าเป็นนกขนาดใหญ่ต้องใช้เวลานานๆ และไฟต้องอ่อนๆ มิฉะนั้น ข้างนอกจะเกรียมก่อนข้างในสุก ถ้าเป็นนกขนาดเล็กกลับไปกลับมาให้ทั่วสักสี่ห้าครั้งสุกเหลืองดีแล้วก็เป็นอันใช้ได้



ภาพจาก : www.gotoknow.org

ทอดเนื้อสัตว์ต่างๆ วิธีทอดเนื้อสัตว์ก็คล้ายคลึงกับการทอดไก่และทอดนก ต้องทอดด้วยไฟอ่อนๆ กินเวลานาน และมีอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้มีรสดีขึ้น คือฝานเนื้อนั้นชิ้นบางๆ ขนาดโตพอควร ตำพริกไทย เกลือ กระเทียม และรากผักชีให้ละเอียด เอาเนื้อลงคลุกเคล้าประพรมด้วยน้ำส้มเพียงเล็กน้อย หมักทิ้งไว้นานๆ เวลาจะรับประทานเอาลงทอดในน้ำมันหมู (เนย) น้อยๆ แต่ต้องให้น้ำมันร้อนจัด เมื่อน้ำมันนิ่งดีแล้วจึงเอาเนื้อลงทอด คนกลับไปกลับมาจนเนื้อสุกเหลืองดี และเติมน้ำลงสักเล็กน้อย (เพื่อให้เนื้อนุ่ม) ทอดต่อไปจนน้ำแห้งดี จึงตักเรียงใส่จานใช้รับประทานได้



ภาพจาก : www.thaismefranchise.com

ทอดปลาไส้ตัน ผ่าท้องควักไส้ออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาดเอาเกลือป่นพอควรใส่คลุกเคล้ากับตัวปลาหมักไว้นานๆ แล้วเอาขึ้นล้างน้ำอีกครั้งหนึ่งเทลงในกระชอนเพื่อให้สะเด็ดน้ำผึ่งไว้ ก่อนที่จะทอดเอากระทะตั้งไฟใส่น้ำมันหมูมากๆ คะเนให้ตัวปลาลอยตัว แต่อย่าให้ไฟแรงเกินไป ให้น้ำมันร้อนจัดและนิ่งเสียก่อน แล้วจึงราไฟออกเสียบ้าง เอาปลาลงทอดค่อยๆ ทอดไปจนเหลืองและพองกรอบทั้งตัว ช้อนขึ้นใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมันแล้วจัดใส่จาน เวลาจะรับประทานบีบน้ำมะนาวและน้ำปลาดีราดลง (ถ้าหากราดไว้ก่อนกว่าจะได้รับประทานเนื้อปลาจะอ่อนนุ่มไม่กรอบ) หรือจะใช้จิ้มกับซอสพริกศรีราชา หรือซอสอื่นๆ โดยเฉพาะก็ได้



ภาพจาก : www.thainannyclub.com

น้ำแกงจืด
“น้ำเชื้อ” (ซุป) เป็นสิ่งสำคัญในการประกอบ “รสอาหาร” จึงจำเป็นจะต้องต้มเคี่ยวไว้เป็นประจำ เพื่อสำหรับใช้ทำเป็นน้ำ “แกงจืดต่างๆ”

วิธีทำ คือใช้กระดูกไก่ (ทุบๆ พอแตก) กระดูกหมู (ทุบสับให้แตก) หรือใช้กระดูกวัว (ตัดเป็นท่อนๆ ทุบให้แตก) อย่างใดอย่างหนึ่ง ใส่หม้อต้ม ใส่น้ำสะอาดพอท่วมกระดูกนั้นใส่เกลือเล็กน้อย พริกไทย (3-5-7 เม็ด) หัวหอม (3-5 หัว) ต้มเคี่ยวไฟอ่อนๆ ให้น้ำเดือดปุดๆ คอยช้อนฟองทิ้งเสียเคี่ยวไปให้ได้ที่จน “น้ำข้น” เรียกว่า “น้ำเชื้อ” (ต้องการรสน้ำหวานของกระดูกนั้น) เมื่อจะใช้ผัดกับผักต่างๆ ตักน้ำต้มนี้ผสมลงสักเล็กน้อย จะทำให้รสผักนั้นอร่อย ถ้าจะใช้เป็นน้ำแกงจืด ก่อนอื่นใช้ผ้าขาวบางสะอาด กรองน้ำต้มนั้นลงในหม้ออีกหม้อหนึ่ง เป็นน้ำเชื้อใส คะเนให้พอดีกับเครื่องปรุงทั้งหมด ยกหม้อแกงขึ้นตั้งไฟต้มให้เดือดพล่านแล้วจึงใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ต่อไป


.


ภาพจาก : encrypted-tbn1.gstatic.com

เครื่องปรุงน้ำพริกแกง
เครื่องปรุงน้ำพริกแกงนี้ ควรคะเนเอาตามความเหมาะสม ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามความพอใจ ถ้าจะแกงไก่หรือเนื้ออื่นๆ ก็ประมาณการให้พอเหมาะสม ซึ่งถ้าแกงใส่กะทิก็ใส่มะพร้าวให้มาก หรือแกงน้ำมัน (หมู) ก็คะเนให้พอดีหรือถ้าชนิดที่ใช้ผักมาก เช่น แกงต้มปลาร้า ก็ควรลดเนื้อให้น้อยลง ส่วนเครื่องแกงก็กะประมาณได้ตามส่วน  อนึ่ง พึงทราบไว้ด้วยว่า คำว่า "เครื่องพริกขิง" หมายถึงเครื่องแกงทุกชนิด ถึงจะปรุงไม่เหมือนกันก็เรียกว่า เครื่องพริกขิงทั้งสิ้น ดังต่อไปนี้คือ:-

(ก) น้ำพริกแกง
น้ำพริกแกงคั่ว
เครื่องปรุง  กระเทียม ข่า ตะไคร้ ปลาย่าง พริกแห้ง หัวหอม

น้ำพริกแกงฉู่ฉี่
เครื่องปรุง - อย่างเดียวกับน้ำพริกแกงคั่ว แต่ไม่ต้องใส่ปลาย่าง

น้ำพริกแกงเผ็ด
เครื่องปรุง - กะปิ กระเทียม เกลือ ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด พริกไทย พริกแห้ง รากผักชี ลูกผักชี หัวหอม

น้ำพริกพะแนง
เครื่องปรุง - กะปิ กระเทียม เกลือ ข่า ตะไคร้ ถั่วทอง หรือถั่วลิสงคั่ว ลูกผักชี ลูกยี่หร่า หัวหอม

น้ำพริกแกงมัสมั่น
เครื่องปรุง - กระเทียม กานพลู พริกแห้ง ลูกผักชี ลูกเอ็นหรือกระวาน ยี่หร่า หัวหอมเผา อบเชย

น้ำพริกน้ำยา
เครื่องปรุง - กะปิ กระเทียม กระชาย ข่า ตะไคร้ ปลากุเลา พริกแห้ง หัวหอม
เครื่องใส่นอกน้ำพริกแกง - ขิงสดหั่นฝอย ถั่วลิสงคั่ว หรือเมล็ดบัว ฯลฯ ใบกระวาน ลูกกระวาน




ภาพจาก : encrypted-tbn1.gstatic.com

(ข) สีของแกง
ถ้าเป็น แกงเนื้อ สีจะต้องแดงกว่าแกงไก่ แกงนก  ฉะนั้น ถ้าจะแกงเนื้อควรใช้พริกแห้งสัก 7-9 เม็ด
ถ้าเป็น แกงไก่ แกงนก ใช้พริกแห้งสัก 5-7 เม็ด
ถ้าเป็น แกงปลาไหล สีแดงใช้พริกเท่ากับน้ำพริกแกงเนื้อ แต่ต้องมีหัวกระชายโขลกไปพร้อมกับพริกขิงด้วย รากกระชายปอกเปลือกหั่นเป็นฝอย (ตามยาว) โรยลงในแกงด้วย ใช้เมล็ดผัดชีมากกว่าแกงเนื้อ (เพราะมีคาว) เล็กน้อย ในเครื่องพริกขิงมีมะพร้าวขูดคั่วไฟแก่ๆ (พอสมควร) โขลกลงไปด้วยจะเพิ่มรสดีขึ้น

เครื่องประกอบ - หัวกะทิ น้ำตาลหม้อ หรือน้ำตาลทราย น้ำปลาดีปรุงรสตามใจชอบ




ภาพจาก : encrypted-tbn3.gstatic.com

(ค) แกงส้ม
เครื่องปรุง  
- แบบ 1 กะปิ กระเทียม ข่า พริกแห้ง หัวหอม
- แบบ 2 กระเทียม ข่า ตะไคร้ พริกแห้ง หัวหอม
- แบบ 3 กระเทียม ข่า ตะไคร้ พริกแห้ง (จากชาวเรือ)
- แบบ 4 กระเทียม ข่า ตะไคร้ พริกแห้ง หัวหอม กระชาย



ภาพจาก : encrypted-tbn3.gstatic.com

แกงต้มปลาร้า
เครื่องปรุง - กระเทียมเผา ข่าเผา ตะไคร้ ปลากุเลา ปลาย่างหรือปลาต้ม พริกไทย รากผักชี หัวหอมเผา

แกงบวน
เครื่องปรุง - กะปิ กระเทียม ขิง พริกแห้ง รากผักชี

เครื่องปรุงน้ำพริกแกงทั้งหมดนี้ เมื่อเตรียมเครื่องไว้พร้อมแล้วใส่ครกโขลกตำให้ละเอียดเสียก่อน จึงใช้การได้




ภาพจาก : encrypted-tbn3.gstatic.com

(ง) เครื่องปรุงน้ำพริกแกงต่างๆ (อย่างละเอียด)
น้ำพริกแกงเผ็ด ไก่ เป็ด และจำพวกนกต่างๆ
เครื่องปรุง - กะปิ (พอควร) กระเทียม เกลือ กานพลู ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด (หั่นละเอียด) พริกแห้ง (5-7 เม็ด) รากผักชี ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทน์เทศ ดอกจันทน์เทศ เทียนขาว อบเชย เล็กน้อย (เครื่องเทศนี้คั่วพอมีกลิ่นหอม) คะเนส่วนของเครื่องปรุงทั้งหมด เพื่อให้เหมาะกับไก่ เป็ด และนก ตามลำดับ แล้วเอาเครื่องแกงทั้งหมดรวมใส่ครกโขลกตำให้ละเอียดดีเสียก่อนจึงจะใช้การได้ แล้วเอาขึ้นผัดกับน้ำมันหรือหัวกะทิ ผัดให้มีกลิ่นหอม

น้ำพริกแกงเขียวหวาน
เครื่องปรุง - เปลี่ยนจากพริกแห้ง เป็น "พริกขี้หนูสดๆ" (พอควร) ส่วนเครื่องปรุงอื่นๆ อนุโลมตามรายการเครื่องน้ำพริกแกงเผ็ด ดังกล่าวมา

น้ำพริกแกงเผ็ดปลา ปลาดุก ปลาไหล หรือปลาต่างๆ ดังต่อไปนี้:-
เครื่องปรุง - กะปิ เกลือ ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด พริกไทย พริกแห้ง (3-5 เม็ด) ลูกผักชี (คั่วพอหอม) หัวกระเทียม หัวหอม เครื่องแกงทั้งหมดนี้คะเนพอควรให้เหมาะกับเนื้อปลา ใส่ครกโขลกตำให้ละเอียด ใช้การได้

น้ำพริกแกงฉู่ฉี่
เครื่องปรุง - กะปิ (คะเนพอควร) เกลือ ข่า ตะไคร้ ปลาย่าง (ปิ้งไฟแกะเอาแต่เนื้อ) ผิวมะกรูด พริกไทย พริกแห้ง (3-5 เม็ด) รากผักชี (หั่นละเอียด) ลูกผักชีคั่ว หัวกระเทียม หัวหอม เครื่องแกงทั้งหมดนี้ รวมใส่ครกตำให้ละเอียดใช้การได้

น้ำพริกแกงมัสมั่น
เครื่องปรุง กานพลู (4-5 ดอก) เกลือ ลูกจันทน์เทศ ลูกผักชี ดอกจันทน์ เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก (ร่อนผงออกให้หมด) เครื่องเทศทั้งหมดนี้ คั่วให้หอม เผาหัวกระเทียม หัวหอม (พอสุก) หั่นข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด รากผักชี ใส่พริกไทยสัก 7-9 เม็ด กะเครื่องแกงให้มีปริมาณพอควรกับเนื้อที่จะแกง รวมเครื่องแกงทั้งหมดใส่ครกโขลกตำให้ละเอียดใช้ได้

เครื่องประกอบแกงมัสมั่นนั้น กะทิ ถั่วลิสง น้ำตาลทราย น้ำมันเนย น้ำปลาดี น้ำส้มมะขามเปียก น้ำส้มซ่า ใบกระวาน ลูกกระวาน เมล็ดอามันด์ หอมใหญ่ อบเชย ปรุงรสในหม้อแกงตามชอบ

น้ำพริกแกงเคอร์รี่ (กะหรี่)
เครื่องปรุง - เกลือ (คะเนพอควร) ข่า ตะไคร้ ผงกะหรี่ พริกไทย พริกแห้ง รากผักชี เอาเครื่องทั้งหมดรวมใส่ครกโขลกให้ละเอียดใช้ได้
เครื่องประกอบ - น้ำกะทิ น้ำปลาดี มันฝรั่ง หรือมันเทศ

น้ำพริกแกงคั่วส้ม
เครื่องปรุง - กระเทียม กะปิ ข่า ตะไคร้ ปลาย่าง หรือปลาสลาด (ปิ้งไฟ) แกะเอาแต่เนื้อ รากผักชี ลูกผักชีคั่ว พริกไทย พริกแห้ง (2-5 เม็ด) เอาเครื่องแกงเหล่านี้รวมใส่ครกโขลกให้ละเอียดใช้ได้
เครื่องประกอบ - เวลาจะแกง ใส่น้ำส้มมะขามเปียก (คั้นเอาแต่น้ำ กากทิ้งเสีย)

น้ำพริกแกงส้ม
เครื่องปรุง - กะปิ กระเทียม เกลือ ข่า พริกแห้ง (3-5 เม็ด) เนื้อปลาสด ต้มให้สุกเสียก่อน ถ้าใช้กุ้งสดปอกเปลือกชักไส้ออก เอาเนื้อกุ้งลงใส่ครก โขลกกับเครื่องแกงให้ละเอียด (เพื่อให้น้ำแกงข้น)
เครื่องประกอบ - เวลาจะแกง ใส่น้ำส้มมะขามเปียก น้ำตาลหม้อ น้ำปลาดี ปรุงรสตามชอบ

น้ำพริกแกงบวน
เครื่องปรุง - กะปิ (พอควร) กระเทียม (9-11 หัว) หัวหอม (7-9 หัว) ทั้งสามสิ่งนี้เผาไฟพอสุกเสียก่อน หั่นตะไคร้ (มากๆ) พริกไทยเม็ด ลูกผักชีพอควร (คั่วให้เหลือง) เกลือป่นเล็กน้อย ปลากุเลา หรือปลาสลาด (ปิ้งไฟให้สุกเหลือง) แกะเอาแต่เนื้อ คะเนเครื่องแกงตามส่วนมากน้อย ตามจำนวนผู้รับประทาน (โดยมากใช้ในงานเลี้ยงพิธีใหญ่)
เครื่องประกอบ - ใช้ใบมะตูม ใบมะขวิด หรือใบตะไคร้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ตำคั้นเอาแต่น้ำ ใบมะกรูด ปลาร้า น้ำปลาดี น้ำตาลหม้อ ปรุงรสตามชอบ

น้ำพริกแกงอ่อม
เครื่องปรุง - กะปิ กระเทียม ข่า ตะไคร้ รากผักชี ลูกผักชี ยี่หร่า (นิดหน่อย) พริกแห้ง (3-5 เม็ด) พริกไทย หัวหอม เครื่องแกงดังกล่าวคะเนพอควร รวมใส่ครกโขลกตำไปจนละเอียดใช้การได้







เคล็ด และวิธีทำเทียนอบ



เทียนอบ
วัสดุ
กำยาน  ครั่ง  เครื่องหอมอื่นๆ อย่างดี เทียนขี้ผึ้งอย่างแท้  เส้นด้าย (ทำด้วยฝ้าย)

วิธีทำ
กำยาน ครั่ง ป่นให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องหอมอื่นๆ (ตามต้องการ) ใช้ขี้ผึ้งอย่างแท้ ใส่หม้ออวยเล็กๆ ยกขึ้นตั้งไฟ พอเทียนละลายดี กำยาน ครั่ง ที่ป่นไว้ลงกวนใส่เครื่องหอมลง กวนเข้ากันดีแล้ว คะเนพอใช้หุ้มไส้เทียนได้ เส้นด้ายนี้ใช้ทำด้วยฝ้ายที่ใยเป็นเส้นๆ รวมกัน (ประมาณ ๙ เส้น) แล้วจึงเอาเทียนที่ผสมไว้หุ้มไส้ คลึงขึ้ผึ้งให้เป็นเล่มเทียน (ด้านหนึ่งมีเส้นด้ายยื่นออกมาราว ๑ ซ.ม.) แล้วทำเป็นขดเล็กๆ (มีจำหน่ายตามร้านเครื่องยาไทย)

วิธีอบ
ใช้เทียนอบ ๑ ขด ก่อนที่จะอบใช้โถกระเบื้องเคลือบมีฝาปิด โถต้องเช็ดล้างให้สะอาด และแห้งสนิทดีเสียก่อนเตรียมไว้ ต่อเมื่อถึงเวลา จุดเทียนอบขึ้นทิ้งไว้สักครู่พอให้ไส้เทียนไหม้มีลูกไฟ (เกสร) จับเป็นก้อนกลมเล็กๆ พอแก่ความต้องการดีแล้ว ดับเทียนลง เปิดฝาโถรีบเอาเทียนอบวางในโถ แล้วปิดฝาโถให้สนิท คะเนว่าควันเทียนอบนั้นจางลง (เทียนอบไฟดับแล้ว) เรียบร้อยแล้วเปิดฝาหยิบเทียนอบออกเสีย แล้วจึงเทน้ำสุก (ต้มทิ้งไว้เย็นดีแล้วสำหรับที่จะใช้ลอยน้ำดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกกระดังงาไทย หรือดอกชมมะนาด) ใส่โถอบให้เกือบเต็มโถ (เพราะจะต้องใช้น้ำหอมให้พอแก่ความต้องการ ยกไปตั้งไว้ในที่ใดที่หนึ่งให้เป็นที่เดียวเพื่อต้องการให้น้ำในโถนิ่งสนิทจริงๆ ไม่ไหวกระเพื่อม) เตรียมไว้ก่อนที่จะใช้ได้ทันที

อนึ่ง น้ำดอกไม้นี้ ต้องเตรียมไว้ให้หอมดีเสียก่อนๆ วันที่จะใช้น้ำหอมนั้น




เคล็ด และ วิธีลอยน้ำดอกไม้
วิธีอบและลอยน้ำดอกไม้สด
วิธีอบและลอยน้ำดอกไม้สดนี้ นับว่าเป็นวิธีที่สำคัญรอบคอบยิ่งวิธีหนึ่ง คือ การใช้ดอกมะลิสด ดอกชมมะนาด ดอกกระดังงา หรือ ดอกกุหลาบ ก็ตามสำหรับลอยเพื่อต้องการให้น้ำนั้นมีกลิ่นหอมสดชื่นที่นิยมเรียกชื่อกันว่า “น้ำดอกไม้สด” ใช้ผสมทำขนมต่างๆ และข้าวแช่ รับประทานสำหรับฤดูที่มีอากาศร้อนๆ ชื่นใจดีนัก

ดอกมะลิสด คัดเลือกเอาดอกงามๆ โตๆ (ตามต้องการ) ปลิดก้านออกให้หมดล้างน้ำเย็นให้สะอาด (ระวังอย่าให้ช้ำ) แล้วเอาขึ้นใส่ภาชนะผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ พอตกเย็นจวนจะพลบค่ำ ดอกมะลิเริ่มผลิแย้มกลีบบานออก จึงเปิดฝาโถออก จงค่อยๆ บรรจงหยิบดอกมะลิที่บานนั้นวางเรียงลงในน้ำ (ให้ทางด้านดอกจมอยู่ในน้ำ) ทีละดอกๆ (ระวังและพยายามอย่าให้น้ำสะเทือนได้ และระวังถ้ามือหนักหรือทำให้ดอกมะลิช้ำ น้ำนั้นจะไม่หอมสดชื่นดีตามความต้องการ) จนหมด (แล้วปิดฝาโถไว้ให้สนิททิ้งไว้ ๑ คืน รุ่งเช้าจึงค่อยๆ เอาดอกมะลิสดออกหมด ปิดฝาโถไว้) เมื่อต้องการใช้ก็ตักมาใช้ได้ทันที

ดอกชมมะนาด จงเด็ดออกเป็นดอกแล้วปลิดก้านออกหมด ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ (ทำวิธีเดียวกับการลอยน้ำดอกมะลิทั้งสิ้น) ลอยผสมกับน้ำดอกมะลิด้วยก็ได้

ดอกกระดังงาไทย เลือกเอาดอกที่สุกเหลือง-หอม ปลิดก้านออกเสียก่อน ล้างน้ำให้สะอาดแล้วสะบัดให้แห้งน้ำ รวบกลีบกระดังงาลนไฟจากเทียนอบ (พอกลีบซบลง) ฉีกให้เป็นฝอยเล็กๆ นำลงลอยผสมกับดอกมะลิด้วยก็ได้

ดอกกุหลาบ ใช้ดอกกุหลาบมอญซึ่งมีกลิ่นหอม บานดีแล้ว ล้างให้สะอาดใช้วางเรียงลงในโถอบด้วย (หรือจะแยกเป็นกลีบๆ ก็ได้) เมื่อใช้ดอกไม้ทั้ง ๔ นี้ลอยน้ำ จะทำให้มีกลิ่นหอมทั้ง ๔ กลิ่น ชวนรับประทานดีเหมือนกัน (ถ้าชอบกลิ่นหอม)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กรกฎาคม 2558 13:48:57 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2558 13:54:21 »

.



ความรู้เกี่ยวกับอาหาร

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของมนุษย์ ถ้ารับประทานได้ถูกส่วน ร่างกายก็แข็งแรง เพราะอาหารช่วยสุขภาพอนามัยให้แข็งแรงสดชื่นอยู่เสมอ และสามารถต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย อาหารคือสิ่งที่กินเข้าไปแล้วไม่เป็นต่อพิษร่างกาย จึงควรเลือกอาหารที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย

อาหารที่สำคัญ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ อาหารที่ให้กำลัง และอาหารที่สร้างความเจริญเติบโต โดยทั่วๆ ไปร่างกายต้องการ “โปรตีน”

โปรตีน มีความจำเป็นในการเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารที่มีโปรตีนได้จากอาหารจำพวกข้าวต่างๆ เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว จำพวกเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ไข่ ปลา เป็ด เนื้อ และมันสัตว์ จำพวกพืช วัชพืช ผลไม้ต่างๆ เช่น ถั่วต่างๆ ผลไม้ เผือก มัน น้ำตาล นม เนย เป็นต้น

ฉะนั้น การประกอบอาหาร จึงจำต้องเลือกอาหารที่มีโปรตีนเป็นสำคัญ เช่น ไข่ นม เนื้อ และต้องรู้จักรักษาความสะอาดของอาหารทุกชนิด ตลอดจนภาชนะที่จะใช้ประกอบอาหาร ถ้ารับประทานผักสดต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำด่างทับทิม เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และปลอดภัย ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ก็ต้องทำให้สุกดีเสียก่อน

คุณประโยชน์ของอาหาร อาหารที่จำเป็นแก่ร่างกายจะขาดเสียไม่ได้ คือ:-
1. น้ำตาลและแป้ง
2. โปรตีน จาก ไข่ ถั่ว นม และเนื้อสัตว์ต่างๆ
3. ไขมัน
4. วิตามัน ได้จากผักต่างๆ และอาหารอื่นๆ
5. แร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก  ได้จาก ไข่แดง ตับ ไต นม เนยแข็ง และผักชนิดต่างๆ

อาหารที่ให้ประโยชน์
- กระชาย  รสขม เผ็ด แก้ไข้อันเกิดในคอ-ปาก
- กระดอม  มีไขมัน บำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- กระทือ  แก้เบื่ออาหาร มีโปรตีน วิตามิน คาร์โบไฮเดรต บำรุงกำลังและให้ความอบอุ่นเช่นเดียวกับขิง
- กระเทียม ให้วิตามิน ช่วยย่อยอาหาร บำรุงกระดูก และบำรุงร่างกาย
- กระท้อน ให้วิตามินและเซลลูโลส บำรุงโลหิต ช่วยย่อยอาหาร และแก้โรคผิวหนัง
- กะปิ ให้เกลือ โปรตีน บำรุงกระดูกและโลหิต
- กะเพรา ให้รสเผ็ด แก้ท้องขึ้น ตั้งธาตุ แก้ปวดท้องและแก้ลม
- กะหล่ำปลี ให้โปรตีน บำรุงกระดูก บำรุงร่างกาย และให้ความร้อน
- กระวาน  แก้ลมในเบื้องต่ำ แก้เสมหะ ช่วยกระจายเลือด กระจายเสมหะ และลม
- กากหมู  มีไขมันเป็นส่วนมาก ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
- กานพลู ช่วยกระจายโลหิต แก้โรคลักปิด หืด
- เกลือ มีแร่ธาตุบำรุงกระดูกและโลหิต
- กล้วยน้ำว้า มีน้ำตาล วิตามิน ป้องกันโรคผิวหนัง
- กล้วยหอม มีน้ำตาลมาก มีวิตามิน ป้องกันโรคผิวหนัง
- กล้วยหักมุก  ย่อยง่าย ช่วยบำรุงกำลัง และให้ความอบอุ่น
- กุ้งสด ให้โปรตีน บำรุงกำลังและร่างกาย มีฟอสฟอรัสบำรุงเส้นประสาท ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- กุ้งแห้ง  ให้โปรตีน  ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
- ขนมปัง ให้โปรตีน แป้ง บำรุงกำลัง ให้ความอบอุ่น
- ขมิ้นอ้อย รสฝาดเฝื่อน รักษาลำไส้
- ข่า  บำรุงธาตุ ให้โปรตีน วิตามินบี และเกลือ บำรุงกระดูกและโลหิต
- ข้าว ให้โปรตีนและแป้งเป็นส่วนมาก ให้ความอบอุ่นและซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอ
- ขิง  ให้โปรตีน วิตามิน คาร์โบไฮเดรต
- ไข่ไก่ ให้โปรตีน ไขมัน วิตามิน บำรุงกระดูก บำรุงร่างกาย สมอง และอวัยวะอื่นๆ ให้เจริญเติบโต
- ไข่เค็ม บำรุงธาตุ
- ไข่เป็ด ให้โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต ช่วยย่อยอาหาร ช่วยต้านทานโรค  
- เครื่องเทศทั้งหลาย  บำรุงธาตุ ช่วยให้น้ำย่อยอาหารออก (ใช้มากเกินไปให้โทษแก่ร่างกาย)
- เครื่องในไก่  ให้วิตามิน ควบคุมความเจริญเติบโตของร่างกาย ป้องกันโรคเหน็บชา บำรุงกำลัง และบำรุงประสาท
- งา  บำรุงกำลัง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
- จันทน์เทศ  ลูกหอม รสฝาด แก้โลหิตและเสมหะ ช่วยบำรุงตับ น้ำดี ปอด และหัวใจ
- ชะเอม รสหวานเย็น แก้เสมหะทำให้เสมหะแห้ง
- ดอกขจร ให้วิตามินเอ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต
- ดีปลี  ป้องกันโรคตาอักเสบ
- ตะไคร้  ทำให้อาหารมีรส มีแป้งให้ความอบอุ่น
- ตำลึง  แก้ตาฝ้า และแก้พิษทั้งปวง
- แตงกวา ให้โปรตีน มีวิตามินเอเป็นส่วนมาก ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ป้องกันโรคกระดูกอ่อน
- แตงร้าน  ให้วิตามินเอเป็นส่วนมาก ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ป้องกันโรคกระดูกอ่อน
- ตับไก่  แก้ตามืด ตามัว บำรุงตับ
- ตับหมู  แก้ตามืด ตามัว บำรุงตับ
- เต้าเจี้ยว  ให้โปรตีน วิตามินบีและจี.
- เต้าหู้  ให้โปรตีน แป้ง ไขมัน ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
- กุยช่าย  ให้วิตามินสำหรับบำรุงกระดูกและอวัยวะอื่นให้แข็งแรง
- ขึ้นฉ่าย  ให้วิตามิน ช่วยบำรุงกระดูก
- ถั่วพู  ให้โปรดตีน  วิตามินบีและจี ช่วยบำรุงกำลัง
- ถั่วเพาะ  ให้โปรตีน แป้ง และไขมัน บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
- ถั่วลิสง  ให้โปรตีน แป้ง วิตามิน บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
- เทียนขาว  รสเผ็ดร้อน ทำลายเสมหะ แก้ลม
- ทองหลาง  แก้ลม
- เนื้อไก่  ให้โปรตีน บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- เนื้อเค็ม  ให้โปรตีน บำรุงโลหิต เกลือบำรุงกระดูกให้เจริญเติบโต
- เนื้อหมู  ให้โปรตีน  เกลือบำรุงโลหิต กระดูก และให้ความอบอุ่น
- เนื้อวัว  ให้โปรตีน  ช่วยบำรุงกำลัง
- น้ำกระดูกไก่ (ต้ม)  ให้โปรตีน  บำรุงกำลัง
- น้ำข้าว  ให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนมาก ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- น้ำตาล  ให้ความร้อน ชูกำลังให้สดชื่น
- น้ำตาลกรวด  บำรุงกำลังทำให้ร่างกายเบาคล่องตัว แก้เสมหะจุกคอ ทำให้ชุ่มคอ
- น้ำตาลทราย  ให้ความร้อน ขับน้ำเหลือง ล้างท่อปัสสาวะ
- น้ำตาลหม้อ  ให้ความร้อน บำรุงกำลัง เลือดลม
- น้ำปลา  ให้โปรตีน และเกลือ ช่วยบำรุงกระดูกและบำรุงโลหิต
- น้ำผึ้ง  ช่วยบำรุงธาตุ แก้สะอึก และช่วยให้ร่างกายสดชื่น
- น้ำส้ม  ใช้บำรุงรส (ใช้มากเกินไปมีโทษ)
- หนังหมู  ให้โปรตีน ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ และให้ความอบอุ่น
- ใบหอม  ให้วิตามินซี
- ใบโหระพา  ให้วิตามิน ช่วยบำรุงกระดูก
- ปลาช่อน  ให้โปรตีนเป็นส่วนมาก ช่วยบำรุงร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ปลาทู  ให้โปรตีน  ช่วยบำรุงร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ปูทะเล  ให้โปรตีน บำรุงร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- เปราะหอม  ช่วยกระจายโลหิต แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
- แป้งข้าวเหนียว  ให้คาร์โบไฮเดรต  ช่วยบำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- แป้งมัน  ให้คาร์โบไฮเดรต  ช่วยบำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- แป้งท้าว ให้คาร์โบไฮเดรต  ช่วยบำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- แป้งสาลี  ให้คาร์โบไฮเดรต  ช่วยบำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- ผักกระเฉด  รสมัน ถอนยาเบื่อเมา และถอนพิษต่างๆ
- ผักกาดขาว  ให้วิตามิน เอ บี ซี บำรุงกระดูก ช่วยระบายท้อง บำรุงปอด และป้องกันโรคกระดูกอ่อน
- ผักกาดหอม  ให้วิตามิน เอ บี ซี บำรุงกระดูก ช่วยระบายท้อง บำรุงปอด และป้องกันโรคกระดูกอ่อน
- ผักกาดสลัด  ให้วิตามิน เอ บี ซี
- ผักขม  แก้ลม แก้กระหายน้ำ และถอนยา
- ผักชี  ให้วิตามิน กลิ่นหอมฉุน ช่วยชูรสอาหาร บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และบำรุงหัวใจ
- ผักต่างๆ มีวิตามินเอ เป็นส่วนมากช่วยให้ร่างกายเติบโต และป้องกันโรคกระดูกอ่อน
- ผักบุ้ง รสจืดเย็น ถอนพิษร้อน ถอนสำแลง ถอนยา บำรุงกระดูก ช่วยระบายท้อง
- ผักแพงพวย  รสเย็นจืด ถอนสำแลง
- ผิวมะกรูด  ช่วยชูรสอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ
- เผือก  ให้คาร์โบไฮเดรต ให้กำลังและความอบอุ่น
- ผลเงาะ  ให้วิตามิน บำรุงโลหิต ช่วยระบายท้อง
- ฝักบัว  ถอนพิษร้อน ถอนสำแลง และถอนยา
- พริกสด  บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ บำรุงอาหาร แก้ท้องขึ้น และช่วยชูรสอาหาร (ใช้มากเกินเกิดโทษ)
- พริกไทย บำรุงธาตุ  แก้เสมหะ และช่วยชูรสอาหาร
- พริกแห้ง  ทำให้อาหารมีรส (ใช้มากเกิดโทษ) บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
- พุงปลา  ให้วิตามินดี เป็นส่วนมาก ป้องกันโรคกระดูกอ่อน
- ฟักทอง  ให้วิตามินเอและซี
- มะกอก  เปลือกมีรสเย็น เปรี้ยว ฝาด ดับพิษกาฬ ลูกแก้กระหายน้ำ เม็ดมีรสเย็นหวานแก้สะอึก
- มะกรูด  มีวิตามินซี ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต
- มะขาม  รสเฝื่อนฝาด บำรุงโลหิต แก้ลม แก้ไข้
- มะพร้าว  ให้ไขมัน บำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- มะเฟือง  ถอนพิษของผิดสำแดง ถอนพิษไข้
- มะรุม  แก้พิษร้อน แก้ลม
- มะละกอ  ขับปัสสาวะ ระบายท้อง
- มะแว้ง  รักษาโรคเบาหวาน
- มะอึก  ให้วิตามินซี ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกันโรคฟันต่างๆ แก้ไข้สันนิบาต
- แมงลัก  ให้คาร์โบไฮเดรต
- มักกะโรนี  ให้คาร์โบไฮเดรต ให้ความอบอุ่นและบำรุงกำลัง
- มันแกว  ให้คาร์โบไฮเดรต ให้ความอบอุ่นและบำรุงกำลัง
- มันฝรั่ง  ให้คาร์โบไฮเดรต  ให้ความอบอุ่นและบำรุงกำลัง
- มันหมู  บำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น
- มะเขือขาว  ให้วิตามินเอ บี ซี
- มะเขือขื่น  ให้รสขม ฝาดเฝื่อน แก้เสมหะ บำรุงกำลัง
- มะเขือต่างๆ  ให้เกลือแร่ บำรุงกระดูก ฟัน และอวัยวะส่วนอื่นๆ
- มะเขือเทศ  ให้วิตามินเอ ป้องกันโรคตาอักเสบ มีวิตามินบี ป้องกันโรคเหน็บชา มีวิตามินซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
- มะเดื่อชุมพร  ให้รสฝาด แก้ไข้ แก้ลม แก้เสมหะ และโลหิตทำพิษ
- มะดัน  ช่วยล้างเสมหะ
- มะตูม  บำรุงธาตุ แก้ลม และแก้โลหิตทำพิษ
- มะนาว  ให้วิตามิน ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกันโรคฟันต่างๆ
- มะปราง  ช่วยถอนพิษของแสลง
- มัสตาร์ด  บำรุงรส (ใช้มากเกินเกิดโทษ)
- ยอ  แก้อาเจียน ร้อนในอก
- เยลลี่  ให้วิตามิน บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคบางชนิด
- รังนก (นกนางแอ่น) บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต
- ลูกชิ้นปลา  ให้โปรตีน  บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
- ลูกตาลสด  ให้ความอบอุ่น บำรุงกระดูก
- ลูกยี่หร่า  ช่วยให้อาหารมีรส (ใช้มากเกินเกิดโทษ)
- เลือดหมู  บำรุงร่างกายและบำรุงโลหิต
- ว่านเปราะ  ให้กลิ่นหอม และความร้อน
- สมอไทย  บำรุงธาตุและน้ำดี
- สะระแหน่  ให้วิตามิน ช่วยบำรุงธาตุ
- สาคู  ให้คาร์โบไฮเดรต  บำรุงร่างกาย
- ส้มเกลี้ยง  ให้วิตามินซี ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ส้มซ่า  ให้วิตามินซี ช่วยย่อยอาหาร
- ส้มมะขามเปียก  ช่วยระบาย
- เส้นหมี่  ให้คาร์โบไฮเดรต ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
- เห็ดหูหนู  ให้เซลลูโลสเล็กน้อย
- หัวกะทิ  บำรุงกำลังและให้ความร้อน
- หัวผักกาดเค็ม ให้วิตามินเล็กน้อย และให้เซลลูโลส
-หอม ให้วิตามินบี จี บำรุงประสาท และป้องกันเลือดออกตามไรฟัน บำรุงกระดูก บำรุงธาตุ
- หอมหัวใหญ่ (ฝรั่ง)  ให้วิตามิน บี จี
- อบเชย  บำรุงธาตุ ขับลม แก้ลมอัมพฤกษ์
- อ้อย ให้ความอบอุ่นและให้กำลัง
- แอปเปิ้ล  ให้คาร์โบไฮเดรต  น้ำตาล ช่วยบำรุงกำลังและให้ความอบอุ่น



มีต่อ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2559 16:21:29 »

.


กุ้ง
กุ้งเป็นสัตว์น้ำที่สำคัญประเภทหนึ่ง มีหลายชนิดมีชื่อเรียกต่างกัน  นำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น รับประทานสดๆ ต้ม ผัด แกง ทอด เผา  และนำไปแปรรูปอาหาร เช่น กะปิ กุ้งเจ่า กุ้งแห้ง กุ้งไม้ และน้ำปลากุ้ง

คุณค่าทางอาหารของกุ้ง : ให้แคลอรี่สูง อุดมด้วยธาตุแคลเซียม ไอโอดีน และฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างกระดูก เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ป้องกันโรคคอหอยพอก ช่วยให้ต่อมไทรอยด์แข็งแรง  นอกจากนี้ยังมีไขมันและวิตามินดี ทำให้ร่างกายอบอุ่น จิตใจสดชื่น สุขภาพแข็งแรง

ชนิดของกุ้ง มีชื่อเรียกเฉพาะตามลักษณะได้ดังนี้
กุ้งกระต่อม  กุ้งกะโป๊ะ กุ้งกะลา กุ้งกระเตาะ กุ้งก้ามกราม(กุ้งตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามมีหนามสีฟ้า) กุ้งก้ามเกลี้ยง(กุ้งอย่างเดียวกับกุ้งก้ามกราม ตัวเล็กกว่าและก้ามไม่มีหนาม) กุ้งกุลา กุ้งขาว กุ้งเคย(เรียกอีกอย่างว่ากุ้งตาดำ เป็นกุ้งขนาดเล็กใช้ทำกะปิ)  กุ้งครูด กุ้งชันกาด(กุ้งตะกาดก็เรียก) กุ้งชีแฮ้ กุ้งแชบ๊วย กุ้งดีด กุ้งดีดขัน กุ้งด้าน กุ้งตะเข็บ(กุ้งชนิดเล็กตัวแบน) กุ้งตาขาว กุ้งตาบาง กุ้งนา กุ้งนาง(อย่างเดียวกับกุ้งก้ามกราม, ก้ามเกลี้ยง แต่ตัวเล็กกว่า) กุ้งหนวดแดง(ตัวสีค่อนข้างแดง หนวดแดงยาวตัวเล็กขนาดกุ้งตาดำ) กุ้งแป๊ะแฮ๊(แป๊ะเห) กุ้งประ กุ้งเปลือกลาย กุ้งเปลือกดำ กุ้งฝอย(กุ้งตัวเล็กๆ) กุ้งฟัด(กุ้งแห้งที่เอาเปลือกออก) กุ้งทะเล กุ้งไม้(กุ้งทะเลชนิดหนึ่งที่เสียบไม้ตากแห้ง) กุ้งมังกร กุ้งยักษ์ กุ้งรู กุ้งหลวง(กุ้งตัวโต) กุ้งลาย กุ้งหลังไข่ กุ้งเหลือง(เรียกอีกอย่างว่ากุ้งหัวมัน กุ้งชนิดนี้มีมันในหัวมาก กรีสั้นตัวยาว) กุ้งสารส้มโอ(ตัวสีขาวเล็กมาก) กุ้งแสม กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งหัวจุก กุ้งหัวเรียว(ตัวสีขาว เปลือกแข็ง กรียาว กระโดดเก่ง) กุ้งหางเขียว กุ้งหางแดง กุ้งหางดอก(ปลายหางแดง กรียาวแหลม)




ปลา
คุณประโยชน์ : เนื้อปลาโดยมากนับว่าเป็นอาหารที่ดีได้เท่ากับเนื้อสัตว์บก เนื้อนั้นย่อยได้ง่ายกว่าสัตว์อื่น ทั้งเนื้อปลายังมีแร่ธาตุประกอบด้วยเป็นส่วนมาก เช่น ฟอสฟอรัส โปรตีน และไขมัน   เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

ปลาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม
- ปลาน้ำจืด มีเนื้อละเอียดอ่อน ช่วยให้ย่อยง่าย
- ปลาน้ำเค็ม เนื้อหยาบ มีไขมันมาก แต่ให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าปลาน้ำจืด

ปลาชนิดเนื้อขาว มีไขมันแทรกอยู่ในเนื้อน้อย แต่มีอยู่ในตับมาก เช่น ปลาช่อน
ปลาชนิดมีมันมาก เนื้อออกสีชมพูหรือสีนวล เช่น ปลาเทโพ

ปลาทุกชนิด มักมีกลิ่นคาว ยิ่งปลาทะเลด้วยแล้วยิ่งมีคาวจัดมาก บางคนมีความรังเกียจปลาทะเลถึงกับกล่าวกันว่าแสลงบาดแผล เหตุที่ทำให้ปลามีกลิ่นแรงรสถอยไปก็เนื่องมาจากปลาไม่สด หรือปลาไม่ได้รับอาหารสมบูรณ์ เช่น ปลาน้ำจืด มีปลาช่อน ปลาดุก เป็นต้น

วิธีเลือกกุ้งและปลา
- กุ้งน้ำจืด  ต้องมีสีสด เปลือกเขียว สดใส หัวติดแน่น
- กุ้งทะเล  ต้องเนื้อใส สีสดใส หัวติดแน่น
- ปลาน้ำจืด  ตาใส ผิวเป็นมันสดใส
- ปลาทะเล  เหงือกแดงจัด ตาใส เนื้อไม่เหลว

ชนิดของปลาน้ำจืดไทย
ปลากระดี่ ปลากระทิง ปลากะพง ปลากระสง ปลากระสูบ ปลากระโห้ ปลากระล่อน ปลากา (ปลาเพี้ย) ปลากด ปลากราย ปลาแขยง ปลาเค้า ปลาฉลาด ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาซ่า ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย ปลาแดง ปลาตะโกก ปลาตะลุมพุก ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลาตะเพียนทราย ปลาเทโพ ปลานวลจันทร์ ปลาเนื้ออ่อน ปลาไน ปลาหนวดพราหมณ์ ปลาเบี้ยว ปลาพรม ปลาม้า ปลาหมอ ปลาหมอตาล ปลาหมอเทศ ปลาบู่ ปลายี่สก ปลาแรด ปลาลิ้นควาย ปลาลิ้นหมา ปลาไหล ปลาเวียน ปลาสังกะวาด ปลาสลิด ปลาสร้อย ปลานิล ปลานกเขา ปลาทับทิม ปลาสวาย ปลาสังกะวาด ปลาอุก ปลาจีน ปลาตะพัด ปลาซิว ปลาแปบ ปลาแก้มช้ำ ปลาบัวสอ ปลาโมง ปลาไน ปลาสร้อยขาว ปลานวลจันทร์เทศ ปลารากกล้วย ปลาหมู ปลาชะโอน ปลาหลด

ปลาน้ำเค็มของไทย
ปลากะพงขาว ปลากะพงแดง ปลากะตัก ปลากระทุงเหว ปลากระเบน ปลากระรัง(อ้ายเก๋า) ปลากระบอก ปลากุเรา ปลากุแล(อกแล) ปลาโกก ปลาโคก ปลาจวด(อ้วยฮื้อ) ปลาจะละเม็ดขาว(แป๊งเซีย) ปลาจะละเม็ดดำ(โอเชีย) ปลาฉลาม ปลาดาบเงิน(ตั้วฮื้อ) ปลาดาบลาว(ยาว) ปลาตุ๊กแก ปลาทู ปลาทูกัง ปลาทราย(อังกโกลี) ปลาน้ำดอกไม้ ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาเบญจพรรณ ปลาใบขนุน ปลาแป้น ปลาปุด(ปลาตาเหลือก) ปลาม้า ปลาแมว ปลาลัง ปลาหลังเขียว ปลาลูกกล้วย ปลาเหลือง(เจี๊ยเส่ย) ปลาเหลืองโพรงหม้อ(โคกนี) ปลาลิ้นหมา ปลาสละ ปลาสากเหลือง(ซัวกุน) ปลาสีกรูด(งัวติงกุ) ปลาสีกุน ปลาสีขน ปลาไส้ตัน ปลาหางกิ่ว ปลาหางแข็ง ปลาหางเหลือง ปลาอินทรี ปลาโอ




ปลิงทะเล (ไฮเซียม)
ชาวจีนนิยมรับประทานกันมาก เชื่อว่าปลิงทะเลเป็นอาหารบำรุงกำลัง และเพิ่มโลหิต



ปลาหมึก
ปลาหมึก ที่นิยมใช้เป็นอาหารมีอยู่ ๓ ชนิด
๑.ปลาหมึกกล้วย หมึกกะตอย หมึกเมืองจีน หมึกตะเภา
๒.หมึกกระดอง
๓.หมึกสาย




ปู
ปูทะเล มีเนื้อแน่น ก้ามใหญ่ เปลือกบาง กดแรงๆ ตรงปลายฝาปิดด้วยนิ้วมือกลางหน้าอก ถ้ากดไม่ลงก็เป็นปูแน่น  ถ้ายุบลงเป็นปูเนื้อโพลก

ลักษณะของปู
-ปูไข่ เมื่อใช้นิ้วดีดบนกระดองหลัง เสียงจะแน่นทึบ ถ้าเสียงโปร่งก็ไม่มีไข่
-ปูตัวผู้ เนื้อมากกว่าปูตัวเมีย ตัวผู้ฝาปิดที่หน้าอกเรียวเล็กขึ้น ตัวเมียฝาปิดใหญ่เต็มหน้าอก




ปลาเค็ม
ปลาเค็มที่รสดี มีสีใสไม่ขุ่นมัว ไม่มีขี้เกลือจับมาก  ปลาช่อนแห้งที่รสดี มีสีใสแดงตลอดริ้วหาง ไม่ขาวซีด ไม่มีสีขุ่นปนอยู่ด้วย



หอย
หอยเป็นพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง มีชื่อเรียกต่างๆ หลายชนิด ใช้ประกอบอาหาร มีคุณค่าอาหารสูง มีรสอร่อย ใช้รับประทานสด ดองเค็ม ตากแห้ง และทำน้ำมันหอย  มีธาตุอาหารที่จำเป็นให้ประโยชน์สำคัญ ช่วยสร้างเลือด ช่วยบำรุงร่างกายให้สดชื่นแข็งแรง ฯลฯ  

-หอยแมลงภู่  นิยมใช้เป็นอาหาร มีรสอร่อย ส่วนมากตากเป็นหอยแห้ง
-หอยลาย นิยมใช้เป็นอาหาร มีรสอร่อย และคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งประกอบอาหารได้มากอย่าง และราคาพอสมควร
-หอยหลอด ใช้รับประทานสดและตากแห้ง
-หอยเสียบ ใช้รับประทานดองน้ำปลา

หอยที่แกะเปลือก ตัวหนาแน่น ไม่กระจัดกระจาย ไม่มีเยื่อบางๆ หลุดๆ ลุ่ยๆ และเห็นส่วนเนื้อมากกว่าส่วนสีดำๆ หอยนางลมแกะแล้ว สดใสอ้วนไม่เป็นเยื่อบางๆ




สัตว์จำพวกนกต่างๆ
คือ:- นกกระจาบ นกกระทา ไก่นา ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกเขา นกคับแค นกคุ่ม นกปากซ่อม นกเป็ดน้ำ นกพริก นกยูง เป็ดหงส์ นกอีดำอีแดง นกอีลุ้ม

-นกจำพวกตีนคล้ายเป็ด  มีเนื้อค่อนข้างดำ มีหนังหนา มันมาก เนื้อเวลากินสดเหนียว
นกจำพวกตีนเหมือนไก่ เนื้อขาวกว่า หนังบางกว่า และเนื้อไม่ค่อยเหนียว เช่น นกกระจาบ นกกระทา นกเขา นกปากซ่อม นกอีดำอีแดง นกอีลุ้ม

การทำกับข้าวต้องสังเกตว่านกแก่หรืออ่อน ถ้านกแก่จะต้องใช้เวลานานกว่าจะเปื่อย  ถ้าอ่อนก็เนื้อเปื่อยและสุกเร็ว  นกป่าพวกนี้สังเกตแก่อ่อนได้ที่ขนปากและตีน ถ้านกแก่ตีนแข็งและคายมาก ปากแข็ง ใต้ปีกไม่มีขนอ่อนและขนปีกตอนปลายยับเยิน ซึ่งแสดงว่าใช้บินมาเป็นเวลานานแล้ว ถ้านกตีนนุ่มปากไม่แข็งมาก ตัวตรงใต้ปีกมีขนอ่อนมาก มีปลายขนเรียบ ขนปีกยังแหลมไม่ยับเยิน เป็นนกอ่อน




วิธีเลือกปลา กุ้ง หอย ไก่ และเป็ด
ปลา จะสดหรือไม่ ดูที่ตาต้องใสและเต็มเบ้า ไม่ยุบลง เกล็ดจะต้องเป็นมัน ถ้าเปิดเหงือกดูจะเห็นเหงือกสีแดงสด ลำตัวไม่ลื่นมาก คือไม่เป็นเมือกมาก และต้องแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้ โดยที่หัวและหางไม่ตกห้อย จึงจะสดดี
กุ้ง เปลือกสดและใสตลอดตัว มีกลิ่นคาวน้อย ปอกเปลือกแล้วจะเห็นเนื้อใสและแห้งจึงจะสด
หอย หอยที่ยังสดปากจะปิดสนิทหรือบางทีอ้าบ้าง แต่พอเอามือไปจับจะหุบลงสนิททันที และกลิ่นไม่แรง
ไก่,เป็ด หากแก่หนังจะหนา กระดูกหน้าอกตรงส่วนปลายแข็ง ตีนคายมาก  เป็ด ไก่อย่างนี้ใช้ทำอาหารที่ต้องการเคี่ยวให้เปื่อย รับประทานอร่อยเพราะรสดีและมันมาก แต่ถ้าใช้ทำอาหารที่ทอดหรือผัด ต้องเลือกเป็ดไก่อ่อน จับดูขนงอก กดแล้วยุบลงง่าย ปากมีสีขาว หรือเหลืองสด ทอดหรือผัดแล้วจะนุ่มดี




ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
อาหาร มีความจำเป็นแก่ร่างกาย แบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ ๕ ชนิด คือ
๑.คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงาน ซ่อมแซมร่างกาย และให้ไขมันแก่ร่างกาย มีส่วนประกอบคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน  มีมากในข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด เผือก มัน น้ำตาล และรากของพืชที่มีหัวชนิด เช่น มัน เผือก

๒.ไขมัน ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่นและให้ไขมัน  ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน  แต่ไขมันมีคาร์บอนมากกว่า จึงให้แคลอรี่มากกว่าคาร์โบไฮเดรต  ไขมันมีมากใน น้ำมันหมู เนย ถั่วลิสง มะพร้าว เนยแข็ง เนื้อแกะ เนื้อวัว ปลามีมัน (เช่น ปลาดุก ปลาสวาย) ปลาไหล ปลาแซลมอน ไข่ และนม

๓.โปรตีน ให้เนื้อหนังเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาหารจำพวกโปรตีนมีมากใน
-เนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ปลา หอย เป็ด ไก่ นก นม เนย ไข่
-พืช เช่น ข้าวจ้าว ข้าวสาลี ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว และผักมีหัว

๔.เกลือแร่
ช่วยสร้างเนื้อหนัง ควบคุมการทำหน้าที่ในร่างกาย ทำให้กระดูกแข็งแรง เกลือแร่ประกอบด้วย
-ไอโอดีน  เป็นธาตุสำคัญที่สุด ทำหน้าที่จัดระเบียบการเผาผลาญ ถ้าขาดธาตุไอโอดีน ต่อมไทรอยด์จะโต เรียกว่าเป็นโรคคอพอก วิธีแก้วคือรับประทานเกลือทะเล ทรายทะเล หอยต่างๆ สาหร่ายทะเล และพืชผักบางชนิดที่เกิดในทะเล
-แคลเซียม  ช่วยให้โลหิตแข็งตัวเป็นปกติ เช่นเลือดออกเมื่อมีบาดแผล  ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกมีความแข็งแรงและเจริญเติบโต แคลเซียมมีมากในนม เนยแข็ง ปลาทั้งก้าง เช่น ปลาไส้ตัน ปลาป่น ปลาร้า และผักสีเขียว
-ฟอสฟอรัส เป็นตัวประกอบสำคัญของแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก มีมากใน ไก่ เป็ด ปลา เนื้อ พืช ถั่ว นม ถ้าขาดฟอสฟอรัสจะทำให้เป็นโรคกระดูกโก่ง กระดูกอ่อน
-เหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เรียกว่า เฮโมโกลบิน ถ้าขาดธาตุเหล็กจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ผิวพรรณซูบซีด เหนื่อยอ่อนไม่มีกำลัง เฉื่อยชา เหล็กมีมากใน ตับ เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ผักสีเขียว ลูกนัท ลูกเกดแห้ง
-ทองแดง ช่วยให้เหล็กสร้างเม็ดโลหิต ร่างกายต้องการทองแดงร่วมกับเหล็ก คนขาดธาตุทองแดงจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง เช่นเดียวกับขาดธาตุเหล็ก  ทองแดงมีมากใน หอย ตับวัว ไข่ นม
-เกลือธรรมดา เป็นส่วนประกอบของโซเดียมและคลอรีน  ถ้าขาดเกลือ กล้ามเนื้อจะหดตัวเร็วหรือเรียกว่าเป็นตะคิว  อาหารที่ให้เกลือธรรมดา เช่น น้ำปลา อาหารรสเค็มต่างๆ
-โปแตสเซียม มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ โซเดียม
-แมกนีเซียม เป็นส่วนหนึ่งของกระดูก มีทั่วไปในอาหารทุกชนิด
-ซัลเฟอร์ จำเป็นสำหรับเนื้อ หนัง ของร่างกาย เช่น ผมและเล็บ  ซัลเฟอร์มีมากในอาหารจำพวกโปรตีน

๕.ไวตามิน
ช่วยในการเจริญเติบโต ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ช่วยบำรุงผิวพรรณและช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง  ไวตามิน มี ๒ ชนิดคือ
๑)ชนิดละลายได้ในน้ำมัน ได้แก่ ไวตามิน เอ อี ดี เค
๒)ชนิดละลายได้ในน้ำ ได้แก่ไวตามินซี และชนิดกลุ่ม บี (บีคอมเพล็กซ์) ที่สำคัญได้แก่ไทอมีนไรโนเฟลวิน และไนยาซิน

-ไวตามิน เอ. ไวตามินชนิดนี้ ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานโรค ช่วยในการสืบพันธุ์ ช่วยให้ตาปรับเข้ากับความมืดความสว่างได้เร็ว มีมากในพืชผักสีเขียวจัด สีเหลือง เช่น คะน้า ผักโขม แครอท ฟักทอง มันเทศ ไข่ น้ำมันปลา ตับปลา ตับสัตว์
-ไวตามิน บี  ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ไม่เป็นหมัน มีมากในเมล็ดพืช ไข่แดง ข้าวทั้งเมล็ด จมูกข้าวสาลี
-ไวตามิน ซี.  ช่วยให้เส้นโลหิตในร่างกายเป็นปกติ เหงือกและฟันแข็งแรง ต้านทานโรค ผิวพรรณผ่องใส  มีมากในส้ม มะนาว มะเขือ ผลไม้สด ผักสด
-ไวตามิน ดี. ช่วยรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรง ไม่ให้เป็นโรคกระดูกโก่ง งอ (สำหรับเด็ก) ผู้ใหญ่ไม่เป็นโรคกระดูกอ่อน ฟันสม่ำเสมอ ไม่งอ อายุยืน มีมากในปลาสด และปลากระป๋อง น้ำมันตับปลา แสงแดด อาหารที่ตากแดด เช่น ปลาแห้ง กล้วยตาก ผลไม้ตากแห้งอื่นๆ
-ไวตามิน เค  ช่วยให้โลหิตแข็งตัวเร็ว และป้องกันโลหิตไหลไม่หยุด ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับตับ ท่อปัสสาวะ ทำให้ประสาทปกติ ไม่เป็นโรคเหน็บชา ทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ มีมากในผักใบเขียว คะน้า กะหล่ำปลี มะเขือเทศ เมล็ดพืช เมล็ดถั่ว ผัก ผลไม้ ตับ ไต เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ยีสต์ ข้าวไรโบเฟลวิน นม ไข่แดง ตับ ไต ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ


ความรู้เบ็ดเตล็ด-แม่บ้านการเรือน
๑.การผัดหอยลายกับใบโหระพา ใส่เต้าเจี้ยว เพื่อให้น้ำแกงที่ผัดนั้นขาวสะอาดน่ารับประทาน ไม่มีกลิ่นคาวหรือกลิ่นโคลนที่หอยบางตัวอมโคลนเข้าไป ให้นำหอยล้างน้ำให้สะอาดแล้วใช้มีดแงะเปลือกหอยดูทุกตัว แล้วเอามาล้างส่ายน้ำอีกหนหนึ่ง เพื่อให้หมดโคลนที่ติดอยู่กับเนื้อหอย
๒.การทอดปลาสดทุกชนิด เมื่อทำปลาให้สะอาดเรียบร้อยแล้ว ให้นำไปล้างน้ำสะอาด นำปลามาเคล้ากับเกลือเล็กน้อย แล้วนำไปทอด หนังปลาจะไม่ลอกหรือติดกระทะ
๓.เห็ดฟางบานๆ บางคนเห็นว่าไม่มีประโยชน์ ชอบรับประทานแต่เห็ดตูม เพราะต้มแล้วจะไม่มีสีแดงทำให้น้ำแกงไม่สวย วิธีทำเห็ดบานให้สะอาด ให้ล้างด้วยน้ำเกลือ แช่ทิ้งไว้สักครู่ บีบเห็ดขึ้นแล้วล้างน้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วใส่ในหม้อแกง จะอร่อยกว่าเห็ดตูมๆ เพราะส่วนโคนของเห็ด มีความเหนียวเหมือนเนื้อไก่ น่ารับประทานกว่าเห็ดตูม
๔.มันฝรั่งที่มีมากๆ ปอกเปลือกโดยวิธีง่ายๆ ให้เอามันฝรั่งทั้งหมดต้มกับน้ำร้อนให้เดือดพอสุกดียกลง เทน้ำร้อนทิ้งเสีย แช่น้ำเย็นไว้สักครู่ แล้วใช้มือปอกเปลือกได้ง่ายและเร็วมากกว่าการใช้มีด
๕.ป้องกันแกงเผ็ดไม่ให้บูด คือ เมื่อตักแกงเผ็ดรับประทานพอประมาณแล้ว จะเก็บไว้มื้อต่อไปให้นำแกงที่เหลือในหม้อมาอุ่นไฟอ่อน แล้วยกเก็บในตู้กับข้าว อย่าปิดฝาหม้อเป็นอันขาด
๖.อย่าใช้ช้อนส้อมตักและแช่อาหารจำพวกมีรสเปรี้ยวจัดทิ้งไว้นานๆ ช้อนส้อมจะเป็นคราบสนิม
๗.ผักชี ถ้าท่านต้องเก็บไว้ในวันรุ่งขึ้น เพื่อจะไม่ให้เน่าหรือเหี่ยว ให้ล้างน้ำเก็บไว้ในหม้อเปิดฝา อย่าให้มีน้ำในหม้อเป็นอันขาด ผักชีขอท่านจะสดถึงวันรุ่งขึ้นโดยไม่เน่า
๘.น้ำส้ม จำพวกน้ำอัดลมไม่ควรเทใส่ในภาชนะที่เป็นอะลูมิเนียม เพราะจะทำให้น้ำส้มมีรสขมขื่น
๙.อาหารพวกของหมักดอง เช่น ผักดอง กระเทียมดอง อย่าให้น้ำตกลงไปเป็นอันขาด จะทำให้เกิดฝ้า เสียง่าย
๑๐.ผู้ที่ชอบรับประทานไข่เจียว แต่ต้องการให้ไข่นุ่มน่ากิน ให้ใส่น้ำข้าวที่รินไว้ให้เย็นใส่ในไข่เจียว ประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ ต่อไข่ ๒ ฟอง รับรองว่าอร่อยจริง ดีกว่าใส่น้ำธรรมดา


มีต่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กุมภาพันธ์ 2559 16:35:17 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 15:42:11 »

.



การเลือกเนื้อสัตว์ประกอบอาหาร

เนื้อสัตว์แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.เนื้อสัตว์เลี้ยง ได้แก่ วัว หมู ไก่ ไก่งวง กระต่าย เป็ด ห่าน
๒.เนื้อสัตว์ล่าต่างๆ ได้แก่ กวาง เก้ง ไก่ป่า นก ฯลฯ ตามปกติ สัตว์ล่าต่างๆ เหล่านี้มักจะไม่ใช้บริโภคสด เพราะเนื้อแข็งกระด้าง ฉะนั้นจึงต้องทิ้งไว้ให้นุ่มเสียก่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เน่า

วิธีสังเกตเนื้อสัตว์ที่ดี
ไก่ ไก่งวง นกพิราบ เป็ด ห่าน ต้องเลือกตัวที่สด ตาแจ่มใส ลูกตาไม่ลึกลงไปมากและไม่เป็นฝ้าฟางขาว ขาและเท้าอ่อนงอพับได้ง่าย หน้าอกเนื้อแข็ง กระดูกอ่อนเกาะกันแน่นจับดูไม่รู้สึกหยุ่นเหมือนวุ้น เวลาผ่าไม่เป็นริ้วรอยสีเขียว  ถ้าจะดูไก่อ่อน สำหรับตัวผู้ตัวเมียผิวอ่อนเกลี้ยง เท้านุ่ม และเดือยสั้น ใต้ผิวหนังมีมันสีเหลืองติดในท้อง ถ้าผ่าออกจะเห็นมีมันและรอยตัดจะไม่เป็นสีเขียวสด  ถ้าตัวใดที่คอมีรอยช้ำ ตาลึก และท้องมีรอยช้ำเป็นสัตว์ที่ไม่สดแท้ ไก่ที่ขาสีขาว เนื้อจะขาว เหมาะสำหรับใช้ต้มเป็นอาหาร ไก่ที่ดีขาดำหรือเหลือง เนื้อจะดำ ถ้าเป็นไก่แก่ เหมาะสำหรับทอดหรืออบ แต่ไม่ควรเลือกที่แก่เกินไป เนื้อจะเหนียวมาก  ไก่แก่ที่ไม่มีมันมากเหมาะสำหรับต้ม ทอดหรืออบ และต้มเคี่ยวไว้ทำน้ำซุปได้ดี  ไก่งวง เป็ด ห่าน ต้องเลือกอายุกลางๆ จึงจะรับประทานดี โดยดูที่เท้า ถ้าเท้าคายมากเป็นตุ่มๆ แหลมๆ ออกมาที่เท้า และกระดูกหน้าอกแข็งมาก แสดงว่าแก่เกินไป

ไก่งวง เนื้อสีขาวย่อยง่าย การสังเกต ไก่อ่อนขานิ่ม เดือยสั้นและสีดำ เนื้อจะขาว อกเต็มและคอยาว

เป็ดและห่าน  ถ้าอ่อน จะงอยปากและเท้าสีเหลือง ถ้าแก่สีจะดำ

นกพิราบ ถ้าอ่อน ขาเล็กเป็นสีชมพู แก่ตาใหญ่และดำ

เนื้อวัว เนื้อวัวที่ดีควรจะมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มีน้ำขัง มีเนื้อมันเกาะแน่นหนา มันสีเหลือง เนื้อที่ซีดขาวเขียวดำเป็นเนื้อที่ใช้ไม่ได้ ส่วนเนื้อลูกวัว เนื้อที่ดีย่อมมีสีค่อนข้างขาวหรือชมพูอ่อน แต่ไม่ใช่แข็งกระด้าง ส่วนที่เหมาะในการทำน้ำซุปคือเนื้อตอนขา  เนื้อจำพวกนี้ย่อยยาก ผู้ที่มีการย่อยอาหารไม่ปกติไม่ควรรับประทาน  เนื้อที่จะใช้ทำซุปจงเลือกซื้อเอาส่วนขาและคอ ถ้าจะทำอย่างสะเต๊ะหรืออบให้เลือกตรงส่วนบนใต้กระดูกสันหลัง และถ้าจะทำสตูควรใช้เนื้อส่วนตรงคอ

ข้อสังเกต
-ลิ้นวัวมักมีพยาธิ เช่น ตัวตืดอยู่ที่โคนต้นลิ้น ฉะนั้นจะต้องทำให้สุกมากที่สุด มิฉะนั้นอาจเกิดโทษได้

-เนื้อที่ดีนั้นคือ เนื้อตะโพก เนื้อสันนอก เนื้อสันใน เนื้อหน้าขา เนื้อขาหลัง เนื้อคอ เนื้อหัวไหล่ เนื้อหน้าอก เนื้อซี่โครง

-เครื่องใน คือ อวัยวะบางส่วนของสัตว์ซึ่งเราใช้ประกอบอาหารบริโภคได้ ได้แก่
    ไขในกระดูก มีไขมันมากให้ประโยชน์ในไขข้อ เข่าถึงเท้าได้ดีมาก
    ตับ เป็นอาหารที่ดี ย่อยง่ายแต่ต้องทำให้สุกดี มิฉะนั้นจุลินทรีย์ซึ่งอยู่ในตับอาจไม่ตาย ทำให้เกิดอันตรายได้
    ไต จากสัตว์ตัวอ่อนและสัตว์กินหญ้า เป็นอาหารที่ดี ถ้าเป็นไตของสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่ไม่ดี
    เลือด เลือดหมูมีเฮโมโกลบิน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ต้องทำให้สุกดี
    ปอดและม้าม ใช้ประกอบอาหาร ไม่ดีต่อสุขภาพ
    หัวใจ มีธาตุไข่ขาวและไขมัน ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมาก

เนื้อแกะ  เนื้อที่ดีต้องละเอียด สีชมพู หนังลอกออกได้ง่าย เนื้อลูกแกะมีเนื้อเหมือนเนื้อแกะใหญ่ ต่างกันที่กระดูกมีสีชมพูอยู่ทั่วไป

เนื้อควาย  มีลักษณะคล้ายเนื้อวัว สังเกตได้ที่เนื้อหยาบกว่าและมันมีสีขาว เวลาปรุงอาหารเนื้อเหนียวกว่าเนื้อวัว

เนื้อหมู  ที่นิยมกันว่าดีนั้น ต้องเลือกเนื้อสีแดงอ่อนนุ่ม มันขาวและแข็ง หนังหนานุ่ม ต้องมีมันมาก มันสีขาว เนื้อสามชั้นต้องมีเนื้อเป็นชั้นๆ จริงๆ ไม่มีพังผืดระหว่างเนื้อ  ถ้าเนื้อหมูสีดำหรือเข้มมากและมีมันสีเหลือง เป็นหมูแก่ ถ้าเนื้อขาวเปื่อยยุ่ยหรือมีกลิ่นไม่ดี เป็นหมูที่มีเชื้อโรค  ถ้าหมูหนังหนาและแข็งมันน้อย เนื้อสีแดงเข้มมักจะเป็นหมูเลี้ยงตามบ้านนอก เป็นเพราะเลี้ยงอาหารไม่พอต้องปล่อยให้หากินตามลำพังนอกคอกมาก จึงมีหนังหนามันน้อย และโตช้า เนื้อรับประทานสู้หมูเลี้ยงในฟาร์มหรือคอกไม่ได้

ข้อระวัง เนื้อหมูต้องทำให้สุกดี เนื้อหมูดิบอาจมีเชื้อวัณโรค และเนื้อหมูย่อยยาก ไม่สมควรให้คนป่วยรับประทาน

เคล็ดลับในการประกอบอาหาร
-การทำซุปจากไก่
ล้างไก่ทั้งชิ้นใหญ่ๆ ก่อน อย่าล้างภายหลังที่สับกระดูกแล้ว เพราะจะทำให้เลือดไก่ภายในกระดูกหายไปกับน้ำเสียหมด เหลือแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์   การเตรียมต้องทุบเนื้อไก่ให้ช้ำ แล้วบุบกระดูกจนทั่ว ใส่ลงในหม้อเคลือบ ใส่น้ำสะอาดกับเกลือป่น (๑ ช้อน) กานพลู (๓-๕ ดอก) พริกไทยเม็ด (๗-๙ เม็ด) บุบๆ พอแตก  หอมหัวใหญ่ (๒-๓ หัว) ปอกเปลือกแข็งออก จะใช้ทั้งหัวหรือผ่า ๒ ซีกยกขึ้นตั้งไฟต้ม โดยใช้ไฟรุมอ่อนๆ ถ้าจะทำซุปน้ำใส ใช้ไก่ทั้งตัวล้างทำให้สะอาดแล้วเอาลงหม้อ ใส่น้ำตั้งไฟเคี่ยวจนเนื้อไก่เปื่อยยุ่ยและหลุดออกจากกระดูกเอง

-การทำซุปจากเนื้อวัว (เนื้อ ๑-๒ กิโล) ล้างน้ำทั้งชิ้นให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบแกง ตักน้ำสะอาดใส่ลงในหม้อให้ท่วมเนื้อก่อนที่จะยกขึ้นตั้งไฟ  ใช้ความร้อนอ่อนๆ รุมๆ ต้มเคี่ยวไป (คอยช้อนฟองทิ้ง) จนเนื้อเปื่อยยุ่ย น้ำข้นและใส

-แกงจืด  ก่อนที่จะทำน้ำแกงจืด ต้องเอากระดูกไก่ กระดูกหมู ล้างน้ำให้สะอาดแล้วเอาสันมีดทุบและบุบๆ ให้แตก ใส่ลงในหม้อเคลือบแกง ใส่น้ำยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยวไปให้น้ำหวานในกระดูกออก จนน้ำต้มข้นเป็น “น้ำเชื้อ” แล้วจึงใช้ผ้ากรอง กรองน้ำเชื้อใส่ลงในหม้อเคลือบใหม่อีกหม้อหนึ่ง ยกขึ้นตั้งไฟ เวลาจะแกงต้องให้น้ำเชื้อเดือดพล่านแล้วจึงใส่เนื้อใส่ผัก ผักที่จะใช้ต้องเลือกว่าอย่างไหนสุกเร็วหรือจะต้องเคี่ยวนาน ถ้าเป็นผักที่ต้องเคี่ยวให้เปื่อยก็ใส่รวมลงต้มพร้อมกับเนื้อก็ได้ ผักที่สุกง่ายเช่น ตังโอ๋ ผักกาดหอม ฯลฯ ใส่ทีหลัง พอใส่ลงแล้วจึงปลงลงจากเตาทันที

-แกงปลาต่างๆ ต้องปรุงเครื่องแกงโขลกไว้ให้เสร็จเสียก่อน ใช้ผัดให้หอมหรือละลายน้ำสะอาดเทใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดจึงใส่เนื้อปลา อย่าคน เนื้อจะสุกแหลกและทำให้เหม็นคาว  สำหรับปลาสดที่นำมาปรุง มีคาวจัด ต้องเคล้ากับน้ำเกลือ ๒-๓ ครั้งเสียก่อน แล้วจึงล้างให้สะอาดและหมดกลิ่นคาว

-อาหารจำพวกผัด ต้องเตรียมซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส น้ำปลาญี่ปุ่น น้ำปลาไทย (อย่างดี) เต้าเจี้ยวอย่างดี พริกไทยป่น ผงปรุงรสหรือผงชูรส  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำเชื้อ” (น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกขา คอ ปีกไก่ และกระดูกหมู) ควรตั้งหม้อต้มเคี่ยวไว้ประจำ เพื่อใช้เป็นน้ำเชื้อหรือทำเป็นน้ำแกงจืด

-เนย เมื่อนำไปผัดหรือทอดอาหารมักมีกลิ่น ควรซอยหอมลงเจียวพอเหลืองเสียก่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 สิงหาคม 2559 15:49:24 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.252 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 16:21:43