[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:15:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิด ศิวลึงค์  (อ่าน 3860 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
▄︻┻┳═一
SookJai.com
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 794


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.0.5 Firefox 3.0.5


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 12:07:31 »


กำเนิด ศิวลึงค์

http://img232.imageshack.us/img232/4319/427dy5.jpg
กำเนิด ศิวลึงค์





วัตถุโบราณที่ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นรูปอวัยวะเพศ ชายนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
ที่ผู้คนนิยมสักการะบูชากันตั้งแต่อดีตโบราณ ตราบจนปัจจุบันนี้ด้วยความเคารพศรัทธากัน
อย่างกว้างขวาง

"ศิวลึงค์" เป็นเสมือนรูปเคารพแทนพระองค์ ที่มีปรากฏอยู่ในเทวสถานทุกแห่ง และก็มี
ธรรมเนียมประเพณีที่จะจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาศิวลึงค์นี้โดยเฉพาะอีกด้วย

จึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ของพระ ศิวะมหาเทพนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับมหาเทพองค์อื่นๆ
ตรงที่มีสัยลักษณ์แทน พระองค์เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ที่ดูค่อนข้างจะพิสดารมิใช่น้อย
และชวนให้ฉงนสงสัยในความเป็นมาแห่งสัญลักษณ์ นี้

กำเนิดของศิวลึงค์นั้นปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยก แตกต่างกันออกไป
ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่าง ๆทางคติพราหมณ์ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่าองค์พระศิวะ
นั้นทรงตั้งพระทัยที่จะ ประทานรูปศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชาย
ที่ให้กับสาวกทั้งหลาย ทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์

ซึ่งการที่ประทานรูป เคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชาตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3
ซึ่งประกอบไปด้วยพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวก
ได้เห็นเป็นบุญตา

ซึ่งพระพรหมก็จะปรากฏ พระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร
ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร
แต่สำหรับพระศิวะนั้นทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย
คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรงแต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็น
รูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพ
นั่นเอง

ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวก
ก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพ
ตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี 4 พักตร์ 4 กร
และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร และสำหรับพระศิวะนั้น
สาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายตามที่ พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา
อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

▄︻┻┳═一
SookJai.com
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 794


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.0.5 Firefox 3.0.5


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 12:10:58 »

ในคัมภีร์โบราณอีก เล่มหนึ่งนั้นได้บันทึกไว้ว่า ในวันหนึ่งพระศิวะกำลังร่วมภิรมย์เสพสมกับพระแม่อุมา
อัครมเหสีอย่างแสนสุข สันต์ในวิมารของพระองค์บนเขาไกรลาส แต่การเสพสมภิรมย์รักนี้
มิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระมิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์แต่ อย่างใด
การสมสู่ชู้ชื่นครั้นนี้ พระศิวะและพระแม่อุมาทรงกระทำกันกลางท้องพระโรงเลยทีเดียว
ดังนั้นบังเอิญเมื่อพวกทวยเทพทั้งปวงที่กำลังจะมาเข้าเฝ้าพระศิวะ ได้พบเห็นเข้าก็จึงรู้สึกว่าพระศิวะนั้น
กระทำการอันไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง

หาก ทรงกระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด
แต่หน้าท้องพระโรงนั้นเป็นที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่ย่อมจะต้องมีผู้คนผ่านเข้าออกได้เสมอ
และเมื่อทวยเทพผ่านพบเห็นเข้าว่าองค์พระศิวะที่เป็นถึงมหาเทพผู้เป็นใหญ่ แห่งเขาไกรลาส
กำลังเสพสังวาสกับอัครมเหสีอย่างประเจิดประเจ้อกลางท้องพระโรงเช่นนั้นจึงพากันรังเกียจเดียดฉัน
และเสื่อมศรัทธาในองค์พระศิวะเป็นอย่างมาก

บรรดา ทวยเทพจึงได้พากันเย้ยหยันและหมดสิ้นความนับถือ ยำเกรงในองค์มหาเทพ ต่างก็พากันยืนดู
แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเห็นเป็นเรื่องที่น่าสมเพชไป ด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น พระศิวะให้ทรง
อัปยศอดสู่ในพระทัยเป็นยิ่งนัก และประกอบกับความโกรธกริ้ว พระศิวะจึงทรงได้ประกาศว่า
อวัยวะเพศของพระองค์นี้แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนของพระองค์ ที่บรรดามนุษย์
และเทพเทวะทั้งปวง จะต้องกราบไหว้บูชาถ้าต้องการความสุขและความสำเร็จอันงดงามในชีวิต

และ อวัยวะเพศหรือศิวลึงค์นั้น ก็จะมีดวงตามหาศาลล้อมรอบศิวลึงค์ถึง 1,000 ดวงตา เพื่อจะได้
สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในทุกทิศทุกทาง โดยดวงพระทัยและดวงพระวิญญาณขององค์พระศิวะ
จะสถิตอยู่ด้วย เพื่อคุ้มครองและอำนวยพรให้กับผู้ที่สักการะบูชาศิวลึงค์นั้น เมื่อได้ทรงแล่นถ้อยคำ
ศักดิ์สิทธิ์มาในขณะที่กำลังเกิดความกริ้วและความ อัปยศเป็นที่สุดนั้น ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้
บังเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นจริง

นับ จากนั้นไม่ว่าจะเป็นบรรดามนุษย์ ดาบส ฤาษี หรือแม้แต่ทวยเทพบนสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆเอง
ก็ยังนิยมสักการะบูชา ศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นอวัยวะเพศชาย อันเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของพระศิวะ

เรื่อง ราวการกำเนิดศิวลึงค์ในบางคัมภีร์นั้น ก็กล่าวแตกต่างออกไป โดยเล่าว่าพระศิวะนั้นค่อยข้างจะมี
พระอารมณ์ทางราคะค่อยข้างสูง และโปรดที่จะเสพสังวาสกับพระแม่อุมาอัครมเหสีและพระชายาองค์อื่นอีก
ในทุกวี่วันเลยทีเดียว จนเป็นที่รู้กันทั่วไปในเหล่าเทพเทวะทั้งปวง

ดังนั้นบรรดาศิษยานุศิษย์หรือผู้ที่ศรัทธาในองค์พระศิวะมหาเทพ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือทวยเทพ
ที่เคารพเลื่อมใสองค์พระศิวะ จึงได้คิดประดิษฐ์วัตถุบูชาขึ้นมา โดยหวังให้เป็นสัญลักษณ์แทน
องค์พระศิวะ การสรรค์สร้างรูปอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งผู้ที่เชื่อกันว่า
น่าจะเป็นคนแรกที่คิดประดิษฐ์รูปเคารพศิวลึงค์นี้เป็น นักบวชฮินดู ที่ได้พบความสุข ความสำเร็จ
และความรุ่งเรื่องในชีวิตมาก หลังจากที่ได้สร้างรูปศิวลึงค์แล้วทำพิธีกราบไหว้บูชาเป็นประจำ

ดังนั้นบรรดาศิษยานุศิษย์หรือชาวบ้านทั่วไป จึงได้เริ่มทำรูปเคารพเป็นรูปศิวลึงค์กันบ้าง
และก็ทำการสักการะบูชากันเป็น ที่กว้างขวางแพร่หลายต่อหลายต่อไป จนเกิดเป็นลัทธิการบูชาศิวลึงค์
ขึ้นจริงจังในยุคต่อๆมา



ที่มา: dexmore.com/topic/3498
บันทึกการเข้า

wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2553 17:18:44 »

ครูที่โรงเรียนสอนว่า
ลึงค์เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย เป็นผู้นำและแสดงถึงการสืบพันธุ์และความเจริญงอกงาม ประมาณนั้น

ดังนั้นคนขอมในยุคทวารวดีเป็นต้นมา ตามที่ยังมีหลักฐานว่าสมัยนั้นอิทธิพลของพราหมณ์-ฮินดูได้เข้ามามีบทบามต่อการดำรงชีวิตและคติความเชื่อ แสดงออกมาในรูปแบบของงานศิลปกรรมเช่น เสาหิน บางครั้งเราจะคุ้นหูว่าเสาศิวลึงค์ แสดงถึงอาณาเขตของศาสนถานและแสดงอาณาบริเวณของการแผ่ขยายภายใต้ลัทธิพรามหมณ์ด้วย จะพบเห็นเสาหินเหล่านี้ได้ตามซากโบราณในประเทศกัมพูชา และบางจังหวัดในภาคอีสานของไทยเฮาเด้อ

นอกจากนี้ในยคปัจจุบันเรายังพบได้ตามร้านค้าทั่วไป รถเข็น และอื่นๆอีกมากมาย  หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เครื่องจักสาน : ความหมาย กำเนิด วิวัฒนาการ คุณค่า และพัฒนาการ
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 11 76224 กระทู้ล่าสุด 02 มิถุนายน 2566 18:03:19
โดย Kimleng
กำเนิด พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พันเนตร พันกร ใน มหากรุณาจิตรธารณีสูตร (แปลไทย)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2455 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 23:37:40
โดย มดเอ๊ก
ว่าด้วย ศิวลึงค์ เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมคนอินเดียถึงบูชาพระศิวะแบบนี้ ?
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
หมีงงในพงหญ้า 0 1555 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2564 21:46:26
โดย หมีงงในพงหญ้า
กำเนิด “เพลงค่าน้ำนม” ครูไพบูลย์แต่งให้แม่ที่ดูแล ไม่รังเกียจโรคร้ายของลูก
สุขใจ จิบกาแฟ
ฉงน ฉงาย 1 720 กระทู้ล่าสุด 29 สิงหาคม 2564 16:01:08
โดย ฉงน ฉงาย
กำเนิด “ซีอิ๊ว” เครื่องปรุงรสยอดนิยมอายุหลายพันปี
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 92 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2566 13:01:45
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.297 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 กันยายน 2566 22:06:38