[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:47:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวิตกับการยอมรับ  (อ่าน 3118 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553 20:43:24 »




ภาพจาก: www.trekkingthai.com/cgi-bin/webboard/generat...


ชีวิตกับการยอมรับ

โดย ศ.นพ.เชวง เดชะไกศยะ


การยอมรับคืออะไร

มีประโยชน์หรือไม่ ทำความรู้สึกอย่างไรจึงจะเรียกว่ามีการยอมรับเกิดขึ้น และจะต้องทำอย่างไร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องเข้าใจ ต้องมีการพิจารณาใคร่ครวญทบทวนเสีย ก่อนจะคิด จะทำ จะพูดอยู่เสมอ

การยอมรับฟังผู้อื่นพูด และการยอมรับความคิดเห็น ตลอดจน การกระทำของผู้อื่น จึงจะเกิดขึ้นในความรู้สึกของเราได้ เพราะการกระทำความยอมรับผู้อื่นให้เกิดขึ้นในจิตใจนั้นเป็นของทำได้ยากมาก แต่เป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่ง อันเป็นพื้นฐานของคุณภาพชีวิตของบุคคลทุกคน

เพราะคนเราต้องพึ่งผู้อื่นและอาศัยผู้อื่น ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นตลอดชีวิตของเรา ตั้งแต่เกิดขึ้นมาลืมตามองดูโลกก็ต้องอาศัยผู้อื่น คือมารดาของเรา มีชีวิตอยู่จะสุข จะทุกข์ก็ต้องอาศัยผู้อื่น ต้องรัก ต้องโกรธ เกลียด แม้กระทั่งกลัวผู้อื่นจะว่าเรา ผู้อื่นจะทำให้เราเสียหายด้วยชื่อเสียงและทรัพย์สมบัติของเรา บางครั้งความสุข ความสำเร็จของผู้อื่นกลับนำความทุกข์มาให้แก่เรา เพราะอำนาจความอิจฉาริษยาที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา แม้กระทั่งเขามาว่าคนที่เรารัก หรือชมคนที่รักเกลียด เราก็ไม่พอใจเศร้าหมองเดือดร้อน ต้องตามมองดูโทษของผู้อื่นและก็ต้องตามอภัยโทษให้กับผู้อื่นอยู่เนือง ๆ บางครั้งก็ได้บางครั้งก็ไม่ได้ ทำให้เรานึกว่า เราเก่ง เราดี ให้อภัยคนได้ มีเมตตา

คนอื่นอีกนั่นแหละ มาสอนให้เราทำบุญแผ่เมตตาทำทานกุศล ภาวนากุศลบ้างเพียงเล็กน้อย เพื่อหวังมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติบ้าง เพื่อให้ตัวเราไปเสวยสุขในสมบัติทั้งหลายเหล่านั้น การทำบุญของเราจึงบกพร่องด้วยเจตนา ทำเหตุให้เสียไปเปล่า ๆ แม้กระทั่งเราตาย ผู้อื่นอีกนั่นแหละเผาร่างของเรา อธิษฐานให้เราที่เหลือแต่วิญญาณไร้ร่างให้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เห็นไหมล่ะ ชีวิตของเราตั้งแต่เกิดกระทั่งตาย ความรู้สึกของเรา สัญญาของเราจึงมีแต่ผู้อื่นเสมอไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา บุตรที่รัก ญาติสนิทมิตรสหายบุคคลอื่นที่เรารักก็มี เกลียดก็มี อภัยให้ไปบ้างแล้วก็มี อโหสิ ไม่ได้ก็มี ผู้อื่นอีกนั่นแหละที่มีความสำคัญแก่เราอย่างมากที่สุดก็มี นำความสุขมาให้แก่เรา ช่วยเหลือเราเมื่อเวลาเรามีทุกข์ แก้เหงา แก้ความเบื่อความเซ็ง ความเปล่าเปลี่ยวเดียวดายให้แก่เราได้ ดังนั้นผู้อื่นจึงเป็นความสำคัญแก่ตัวเราอย่างยิ่ง ในพระพุทธศาสนา จึงสอนให้เรารู้จักตนเองและบุคคลอื่นนอกจากตัวเราให้ดี เพราะให้คุณให้โทษแก่เราได้



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กุมภาพันธ์ 2553 20:46:08 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553 21:00:42 »





ในคัมภีร์ “ ปุคคลบัญญัติ ” ท่านจำแนกบุคคลทั้งหลายออกเป็นถึงเกือบ ๔๐๐ ประเภทในรายละเอียด ตั้งแต่ปุถุชนธรรมดา จนถึงขั้นพระอริยบุคคลต่าง ๆ เราจึง ควรรู้ ควรเข้าใจ บุคคลในขั้นพื้นฐานเสียก่อนว่า เราอยู่ในประเภทบุคคลที่เรียกว่า “ ปุถุชน ” แปลว่าผู้หนาแน่นด้วยกิเลส คือมี ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างเต็มเปี่ยมอยู่ในจิตใจของเราทุกคน อุปมาใจของเราเป็นเวทีละคร ตัว ความโลภ ความโกรธ ความหลง เหมือนตุ๊กตาไขลานออกมาเล่นบนเวทีใจของเรา เมื่อเราได้รับอารมณ์ดี ๆ เช่น ตาเห็นรูปสวย ๆ ได้ยินเสียงเพราะ ๆ ได้รสอาหารอร่อยดี ๆ เช่น ตมเห็นรูปสวย ๆ ได้ยินเสียงเพราะ ๆ ได้รสอาหารอร่อยดี ๆ ความยินดีพอใจก็เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ดี ๆ ทั้งหลายเหล่านั้นเรียกร้อง เป็นเหตุให้ตุ๊กตาที่ชื่อโลภะขึ้นมาเล่นแสดงบนใจของเรา

ครั้นรูปสวย ๆ หมดไป เสียงชมเชยสรรเสริญเราหมดไป กลับเป็นเสียงที่นินทาว่าร้ายเรา ก็เป็นเหตุให้ตุ๊กตาที่ชื่อโทสะออกมาเต้นในใจของเรา เกิดความทุกข์เศร้าหมองโกรธเกลียดไม่อยากได้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้น อยากได้ต้องการหาอารมณ์ดี ๆ ที่เราต้องการอันเป็นความสุข โลภะตุ๊กตาที่ลงไปอยู่ในส่วนลึกของใจ คือลงเวทีก็ขึ้นมาแสดงอีก


ชีวิตของเราจึงเรียกว่าตกอยู่ใต้อำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสอยู่เป็นประจำ แม้เราอยู่คนเดียวเฉย ๆ ความฟุ้งซ่านคิดนึกไปในอดีต อนาคต เราก็ไม่รู้ว่าเราตกอยู่ใต้อำนาจของโมหะตุ๊กตา (โมหกิเลส) เป็นเหตุให้เรามีความฟุ้งซ่านวิตกกังวลไปในเรื่องที่แล้วมา แล้วก็มีคิดนึกไปในอนาคตในเรื่องราวที่ยังมาไม่ถึงก็มีความทุกข์ความเศร้าหมองไม่แจ่มใสเบิกบานจึงเกิดขึ้นแก่เราเป็นประจำ หาความสุขกายสบายใจยากเต็มที ทุก ๆ คน ตัวเราเองและผู้อื่นก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ คือ อยู่ใต้อำนาจของกิเลสทั้ง ๓ อย่างหมดจด อำนาจของกุศลอันได้แก่ ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง คือความมีปัญญาเป็นตุ๊กตาฝ่ายดีอีก ๓ ตัว มีโอกาสขึ้นมาแสดงบนเวทีใจของเราได้เป็นบางครั้ง เช่นในขณะที่เราคิดจะให้ทาน คิดจะช่วยเหลือผู้อื่น แม้กระทั่ง ในขณะที่เรายอมรับผู้อื่น เวลาเขาพูด เขาทำ อยู่หรือแสดงความคิดเห็นอยู่ในขณะที่เรารู้สึก ตั้งใจ ยอมรับเขาอยู่นั้นกิเลสก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่เป็นอกุศลอันได้แก่ ตุ๊กตาที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงเกิดขึ้น เล่นละครอยู่ บนเวทีใจของเรานั่นเอง เราจึงมีความรู้สึกที่ดีแจ่มใส ยอมรับผู้อื่นในขณะนั้นได้ เพราะอะไร เพราะอำนาจกิริยาอาการและหน้าที่ของธรรมชาติ อันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับกิเลสกำลังเกิดขึ้นอยู่ในจิตใจของเรา

นี่เป็นคำสอนอันประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนาและมีเฉพาะในคำสอนของพระบรมศาสนาเท่านั้น ย่อมไม่มีในลัทธิอื่นและศาสตร์อื่นใดในโลกเลย สมดั่งที่ท่านพระอัสสซิแสดงแก่ท่านพระสารีบุตร ในขณะที่ยังเป็นปริพพาชก ณ รุ่งอรุณของเช้าวันหนึ่ง หลังจากที่ปริพพาชกผู้นั้นได้ถามว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน คำสอนนั้นว่าอย่างไร ท่านพระอัสสซิจึงได้ตอบว่า “ ธรรมเหล่าใดไหลมาแต่เหตุ ตถาคตทรงแสดงเหตุผลและการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปรกติตรัสเช่นนี้ ” คาถานี้สมควรนับเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาได้ทีเดียว



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553 21:56:51 »



คำว่า เหตุ นี้จึงหมายถึงโลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นธรรมฝ่ายบาปไม่ดี อโลภะ อโทสะ อโมหเหตุเป็นธรรมฝ่ายบุญ ผลัดกันเล่นอยู่ในจิตใจของปุถุชนให้ทำบาปบ้างทำบุญบ้างตามอำนาจกำลังของเขา บางครั้งทำให้มีความต้องการมาก ถึงกับไปลักขโมยของผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่นก็ได้ ตามเพ่งโทษเบียดเบียนผู้อื่นโกระ เกลียด น้อยใจ เสียใจ ทำความดีก็ไม่มีใครเห็น วันพระไม่มีหนเดียว เดี๋ยวดีใจ เสียใจ ร้องไห้ คร่ำครวญ เมื่อพลัดพรากจากของรัก ต้องอยู่ร่วมกับผู้ที่ไม่รักไม่ปรารถนา บางครั้งถึงกับต้องฆ่าตัวเองหรือผู้อื่นไปก็มี

เพราะอะไรเล่าเป็นเหตุ ผลจึงเป็นความทุกข์ของมหันต์ พระพุทธองค์จึงสอน ให้ดับที่เหตุ (กิเลส) ไม่ให้ดับตรงผล เมื่อรู้ผลแล้วก็ให้สาวไปหาเหตุ ดับเหตุต้องทำอย่างไร พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้อย่างละเอียด ต้องฟังให้เป็น คิดพิจารณาให้ถูกตรงปัญญาจึงจะเกิด และเอาปัญญาที่คิดเป็นทำเป็นนั้น คือความเข้าใจที่ถูกต้องเอามาปฏิบัติจะต้องใช้อารมณ์ คือต้องตั้งกรรมฐานอะไรจึงจะเป็นปัจจัยให้ เกิดสัมปชัญญะ คือปัญญาเข้าอาศัยอยู่ใน ความรู้สึก ขณะนั้น และไม่ให้เป็นที่อาศัยของกิเลสไปด้วย เป็นการเจริญ สติสัมปชัญญะ นั่นเอง ทำให้เรามีความมั่นคงในจิตใจ กิเลสนิวรณ์ เกิดขึ้นในจิตก็รู้ จึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ อยู่เสมอ รู้ตัวทั่วพร้อมพิจารณาใคร่ครวญ ทบทวนความรู้สึกของตัวเองได้อยู่เสมอ ตัวสติสัมปชัญญะนี่ แหละเป็นฝ่ายกุศลธรรม ทำให้เรามีความรู้สึกยอมรับผู้อื่นอยู่ได้เสมอ ๆ เนือง ๆ เพราะเราได้ทำเหตุที่ดีมาแล้ว จากความเข้าใจ

ไม่ว่าเขาจะพูดอะไร เราต้องฟัง คือการยอมรับได้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่เขา เปิดปาก ควรต้องเป็นเวลาที่ ปิดปาก ของเรา เขาจะพูดอะไรก็ไม่เป็นผิดอะไร เพราะเป็นเรื่องของเขา เป็น ความเห็น ของเขาจะ จริง หรือ ไม่จริง ควร เชื่อ หรือ ไม่เชื่อมันคนละเรื่องกัน ความจริงก็อย่างความเชื่อก็อีกอย่างสิ่งที่เขาเชื่อหรือพูดออกมาจะจริงก็ได้ไม่จริงก็ได้ ล้วนไม่สำคัญสำหรับเขา แต่ความสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่า เราต้องยอมรับฟัง เราก็ได้ประโยชน์แล้วจากการ ฟังเขาพูด ประโยชน์ได้ถึง ๒ อย่างคือ จิตใจของเราความรู้สึกของเราในขณะนั้นกันกิเลสไม่ให้เข้าสู่ใจเรา ใจเราก็ไม่เศร้าหมองเดือดร้อน อีกอย่างหนึ่งคือขณะที่เรามีความรู้สึกยอมรับเขาอยู่นั้นเอง จะเป็นเหตุให้จิตใจของผู้พูดเกิน กุศลจิต คือความรู้สึกที่ ยอม รับเราเช่นเดียวกับมีความพอใจเราอยู่ บุคคลส่วนใหญ่ไม่รู้ไม่เข้าในสภาพจิตใจของตนและผู้อื่น การยอมรับ ผู้อื่นให้เกิดขึ้นในความรู้สึกจึง ยากมาก เพราะ ขาดความรู้ความเข้าใจเป็นเบื้องต้น เสียแล้วจะน้อมนำไปปฏิบัติให้ได้ผลจึงเป็นไปไม่ได้ นี่คือประโยชน์ทั้งสองฝ่ายที่ถึงพร้อม ดั่งพระบาลีที่ว่า “ สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ” แปลว่า ฟังให้ดีย่อมได้ปัญญา

ฟังอย่างไรเล่าจึงจะเรียกว่า ฟังให้ดี คือต้องทำ ความรู้สึกยอมรับเสียก่อนเป็นเบื้องต้น ต่อไปต้องเอาความเห็นความเชื่อของเราที่เคยมีอยู่ออกไปจากใจของเราเสียก่อน เรื่องราวที่เราเคยรู้มาจากผู้อื่นก็ดี จากการอ่านหนังสือมาก็ดี จริงก็ได้ไม่จริงก็ได้ ขั้นสุดท้ายคืออย่า คอยจัดผิดคำพูดของเขา เพราะปกติของใจเรามักจะคอย เพ่งโทษจับผิด ผู้อื่นอยู่เสมอ ใครพูดไม่ตรงกับความเชื่อของเรา ความเห็นของเราคนอื่นผิดหมดของเราถูกหมด ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นขึ้นเพราะตัณหาและทิฐิกิเลส จึงต้องละทำลายเสียก่อนคือ การยอมรับ และ ฟังให้ดี จะต้องทำให้ความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นเสมอ ๆ ด้วยการพบปะสังสรรค์รับฟังด้วยจิตใจที่ ยอมรับ อย่างนี้จะทำความเศร้าหมองเดือดร้อนใจของเราให้น้อยลงได้ จะได้ไม่ต้องไปคอย ตามมองดูโทษของผู้อื่น ไม่ต้องไปตาม อภัยโทษ ให้ใคร ๆ อีก เพราะในขณะใดที่มีสติสัมปชัญญะอยู่ในใจของเรา จะทำให้เรามีความ รู้สึก ที่ดีต่อคนอื่นอยู่แล้ว การเพ่งโทษผู้อื่น ก็เกิดขึ้นไม่ได้อยู่เอง และเมื่อนั้นความนอบน้อม อ่อนโยนอันเป็นมงคลชีวิตก็ย่อมเกิดตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553 22:05:58 »





ปรกติความคิดของปุถุชนมักจะมีความคิดแย้งอยู่ในใจอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่ขวางกั้นการพิจารณา คิดหาเหตุผล เพื่อให้เกิดความรู้สึกแยบคายในใจ เราจึงควรระมัดระวังใคร่ครวญให้ดี สัมผัสกับความรู้สึกที่ไม่ดีนี้เสียด้วยการพิจารณา (ปัญญา) รับฟัง ปิดปาก เสียจะเป็นประโยชน์ เพราะขณะที่เรานิ่งและฟังอยู่เป็น การยอมรับ และ พัฒนาความคิด ของเราไปด้วย แม้เรื่องราวนั้นจะเป็นสาระหรือไม่เป็นสาระก็ตาม เราต้องสนใจเพราะเป็นความคิดเห็นของเขา อาจจะ ผิดในความรู้สึกของเรา แต่ถูกต้องในความรู้สึกของเขา ความรู้สึกของเขากับของเราย่อมไม่เหมือนกัน เหมือนเช่น ความยุติธรรม ในทางกฎหมายกับ ความยุติธรรมในความรู้สึกของเราย่อมต่างกัน ได้โปรดพิจารณามันคนละเรื่องกัน แต่เรามักจะเอาความยุติธรรมในความรู้สึกของเรามาตัดสินเสมอ



แม้เรา ถามเขา ก็ต้องการให้ เขาตอบ ครั้นเขาไม่ตอบหรือตอบไม่ตรงคำถามของเรา เราก็โกรธ แท้จริงแล้วสิทธิของเขา เสรีภาพของเขา กิเลสของเขา เขาไม่จำเป็นเลยที่ต้องตอบเราหรือตอบให้ตรงกับคำถามของเรา เพียงเขาย้อนกลับมาว่าเราเองต่างหากถามตรงกับคำตอบของเขาเราก็โกรธอีก ความโกรธ ความต้องการของเราดูออกจะนำหน้าอยู่เสมอ เล่นอยู่ในใจของเราอยู่เสมอ หัดดูเขาเสียบ้างว่าหน้าตาเป็นอย่างไร อะไรเป็นเหตุให้เกิด ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการให้เขาขึ้นมาแสดงเลย ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ดังนั้นเองพระพุทธดำรัสที่ว่า “ ฆ่าความโกรธเสียได้จึงเป็นสุข ผู้ฆ่าความโกรธเสียได้จึงไม่เศร้าโศก ผู้ฆ่าความโกรธเสียแล้วจึงเป็นสุข ” จึงเป็นสัจจะโดยแท้ ดังนั้นคำสอนของพระบรมศาสดาจึงหาได้พ้นไปจาก สัจจะ หรือ เหตุ และ ผล นั้นหามีไม่

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553 22:41:20 »



ท่านจะเห็นแล้วใช่ไหมว่า “ การยอมรับผู้อื่น ” ควรเป็นชีวิตของเราโดยแท้จริงเพราะเป็นคุณธรรม เป็นพื้นฐานแห่งชีวิต จริงอยู่ว่าความรักเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แต่ความเมตตาและกรุณาทำให้ความเป็นมนุษย์นั้นสมบูรณ์ขึ้น ความรัก ความเมตตา กรุณา จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องสร้างพื้นฐานให้ชีวิตมีคุณภาพขึ้นมาก่อน ความรักและความเมตตากรุณาอย่างแท้จริงจึงจะเกิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ได้ สร้างการยอมรับผู้อื่น จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้อื่นก็มีเลือดเนื้อ มีความรัก ความโกรธ ความหลง ความตระหนี่ หวงแหน อิจฉาริษยาเหมือนกับเรานั่นแหละและก็รักชีวิตของเขายิ่งกว่าสิ่งอื่นใดเหมือนกัน ควรหรือไม่ที่จะไปเพ่งโทษเขาเบียดเบียนชีวิตของเรา ทำร้ายเขา แม้ด้วยเพียงวาจา ไม่ควรอย่างยิ่งเพราะสิ่ง ซึ่งเป็นที่รัก ของทุกคนคือ ชีวิต ได้โปรดพิจารณา ทบทวน เอาเองให้ดีสำหรับชีวิตที่น้อยนิดเดียว รวดเร็วจะถึง ๓๐,๐๐๐ วัน ก็แสนยาก เหมือนฟองน้ำ เหมือนพยับแดด เหมือนน้ำค้างบนยอดหญ้า เพียงต้องแสงอาทิตย์ก็หายไป ชั่วแวบเดียวจงเอาชีวิตที่ไม่ค่อยจะมีสาระเท่าใดนัก มาทำให้มีสาระเถิด ทำอะไรและทำอย่างไรโปรดพิจารณาเอาเอง

ทำความเพียรเสียแต่วันนี้เถิด หมั่นพิจารณาใคร่ครวญ ทบทวน และปฏิบัติเสียแต่วันนี้ เพราะเวลาของเรา เหลือน้อยเหลือเกิน อย่าปล่อยให้จิตใจเศร้าหมองให้ความทุกข์เข้าครอบงำจิตใจของเราเลย แท้ที่จริงแล้ว

“ ความทุกข์ของวันไหน ๆ ที่แล้วมาแล้ว ก็ควรเพียงพอสำหรับวันนั้น ๆ ใยต้องทำความกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจให้เกิดขึ้นในวันนี้และพรุ่งนี้ด้วยเล่า ”





Credit by : http://www.raksa-dhamma.com/topic_8.php
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2553 13:47:40 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชีวิตกับการยอมรับ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
หมีงงในพงหญ้า 0 1726 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 02:38:06
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.338 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 กุมภาพันธ์ 2567 07:15:56