[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 03:13:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 236
121  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: “หยั่งรากวัชรยาน” : แรงบันดาลใจ แนวทางการสอน ความท้าทายของสังฆะวัชรยานในสังคมไทย เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 12:46:16


แนวทางการสอนและฟูมฟักสังฆะ

อ.กฤษดาวรรณ เล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีมันเกิดจากแรงบันดาลใจในการปฏิบัติ จากนั้นจึงนำไปสู่ความสนใจในการสร้างสถานปฏิบัติภาวนาแบบวัชรยาน ที่ที่สามารถกราบอัษฎางคประดิษฐ์ สวดบริกรรมมนตราแบบทิเบต โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าคนจะเข้าใจหรือไม่ จึงเริ่มมองหาที่ดินจนมาพบที่ดินในอำเภอหัวหินบ้านเกิด หลังจากนั้นก็ได้ลงมือสร้างสถานที่ เมื่อสถานที่เริ่มพร้อม จึงทำหลักสูตรการเรียนการสอนของพันดาราขึ้น

 “คอร์สแรกที่เปิดคือคอร์ส ‘เตรียมตัวตาย’ โดยเอาคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบตมาสอน ซึ่งตอนแรกก็สอนไม่เป็น เพราะไม่เคยไปเรียนคอร์สแบบนี้ ที่ผ่านมาเราเรียนจากครูบาอาจารย์ชาวทิเบต เวลาที่ฝึกหรือจำศีลก็ฝึกคนเดียว พอวันหนึ่งต้องมาเปิดคอร์สสอนก็ทำไม่เป็น จึงลองผิดลองถูก ตั้งแต่การทำแบบกระบวนกร ฉายภาพยนตร์ เล่นเกม ฯลฯ ซึ่งสุดท้ายมันก็เหมือนจะไม่ใช่ทางที่เราถนัดและสนใจ”

“จนวันหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าแบบนี้ไม่ใช่เรา เราอยากสอนธรรมะแบบที่ลงลึกจริงๆ จึงตัดสินใจว่าเราจะสอนแบบที่เราเคยเรียนมา ซึ่งหลังจากนั้นก็ปรากฏว่ามีคนมาเรียน และหลายคนก็ยังอยู่ด้วยกันมาจนถึงทุกวันนี้ เราเลยได้พบว่าเราต้องนำสิ่งที่เราถนัด สิ่งที่หล่อหลอมความเป็นเราออกมา แล้วเราจะทำมันได้ดีที่สุด เราจะสอนคนอื่นได้ ถ้าเราใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของเราเอง ตั้งแต่นั้นเราก็เริ่มทำหลักสูตรของพันดาราเรื่อยมา”

เป็นเวลากว่าทศวรรษที่มูลนิธิพันดารามีสังฆะที่ฝึกฝนกันอย่างต่อเนื่อง โดย อ.กฤษดาวรรณ และ อ.เยินเต็น ได้พาลูกศิษย์เรียนรู้คำสอนในระดับที่ลงลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง อ.กฤษดาวรรณ เชื่อว่าวันหนึ่งคนในสังฆะจะสามารถเกิดความเข้าใจในธรรมชาติของ “จิตเดิมแท้” และพร้อมเป็นผู้สืบทอดคำสอนต่อไป

“ผู้สืบทอดคำสอนจะต้องมีใจที่กว้างใหญ่ ต้องละทิ้ง 7 เก่าๆ ที่ไม่ใช่วิธีคิดแบบมหายานไป เพราะการที่จะเป็นครูทางธรรมของวัชรยาน จะต้องมีความเข้าใจในมหายาน ต้องเชื่อมั่นในความเท่าเทียม ทั้งกับมนุษย์รวมไปถึงสัตว์ทั้งหลาย เราต้องให้ทุกชีวิตอยู่ในอ้อมแขนของเรา มันเป็นอะไรที่ท้าทาย สนุก และเบิกบานใจ พันดารามีวิธีการเช่นนี้ในการสร้างครูสอนธรรม เพื่อให้คำสอนได้งอกงามในรุ่นต่อๆ ไป”

วิจักขณ์เสริมในส่วนนี้ว่า “ฟังอาจารย์กฤษดาวรรณแล้วรู้สึกเหมือนกันว่า เส้นทางของครูสอนธรรมะ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางทีผู้เรียนอาจมีความคิดว่าจะต้องไปเรียนธรรมะกับคนที่ ‘ถึงแล้ว’ แต่ในวัชรยาน เส้นทางของการเป็นอาจารย์มีความน่าสนใจ เพราะคำสอนหรือกระบวนการที่เราเอามาใช้กับศิษย์ก็วิวัฒน์ไปพร้อมๆ กับประสบการณ์ที่มากขึ้นของเรา Enlightenment is real และ Transformation ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางก็ real ด้วยเช่นกัน”

ในสังฆะวัชรปัญญา วิจักขณ์ใช้รูปแบบวิธีการถ่ายทอดที่ต่างออกไป หากใครรู้จัก เชอเกียม ตรุงปะ มาบ้าง อาจพอทราบว่าตรุงปะเลือกที่จะถอดความเป็นทิเบตออกจากธรรมะ อีกทั้งได้ simplify และ minimalize องค์ประกอบของพุทธศาสนาวัชรยาน ในการสื่อสารกับลูกศิษย์ชาวตะวันตก โดยท่านได้เลือกใช้ทรรศนะแบบ ‘ไตรยาน’ เป็นเส้นทางหลักในการสอน

การเรียนการสอนในสังฆะวัชรปัญญา จึงถอดรูปแบบจากสิ่งที่วิจักขณ์ได้รับมาจากธรรมาจารย์เรจินัลด์ เรย์ (ศิษย์ของ เชอเกียม ตรุงปะ) เป็นระบบการฝึกแบบไตรยานที่ต้องเรียนรู้วิวัฒนาการของเส้นทางจิตวิญญาณในสามขั้น ได้แก่ หินยาน มหายาน และวัชรยาน


“ช่วงเริ่มต้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะสอนอย่างไร ก็สอนแบบที่เรียนมา คือเอาเทคนิค bodywork หรือ somatic meditation ที่อาจารย์ของผมพัฒนาขึ้นมาถ่ายทอด แม้ดูจากภายนอกอาจจะไม่ทิเบตเลย และไม่วัชรยานเลย แต่สำหรับผม bodywork หรือ somatic meditation มีความเป็นวัชรยานในตัวเอง มันคือกระบวนการที่สอนให้เราได้สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญญาญาณหรือศักยภาพของการตื่นรู้ในกาย ทำความรู้จัก subtle Body ปราณ ช่องกลางกาย หรือ จักระต่างๆ เพียงแต่เราจะไม่ได้ใช้ภาษาแบบนี้ในการสอนเท่านั้นเอง เราพาคนที่มาเรียนให้รู้จักร่างกายในฐานะมณฑลแห่งการตื่นรู้ มันเปลี่ยนท่าทีที่เราสัมพันธ์กับร่างกาย แล้วค่อยๆ ทำงานกับตัวเองผ่านภาวะของ embodiment รู้จักอาการเกร็ง อาการคลายในร่างกาย รู้จักพลังงานรูปแบบต่างๆ และที่สำคัญคือรู้จักธรรมชาติของ space หรือพื้นที่ว่าง อาจกล่าวได้ว่า somatic meditation พาเราไปทำความรู้จักกับ “กายโพธิจิต” นั่นเอง

“โพธิจิตถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติจำนวนมากในบ้านเราที่เคยคุ้นเคยกับการภาวนาแบบเถรวาทมาก่อน การทำงานกับโพธิจิตจะพลิกเปลี่ยนท่าทีในการสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ไปพอสมควรเลย เราฝึกที่จะสัมพันธ์อยู่ในความว่าง ความเปิดกว้าง การดำรงอยู่ ณ ตรงนั้น เวลาที่เราสัมพันธ์กับผู้อื่น ในขั้นมหายาน เราจะเริ่มเชิญชวนให้ผู้ปฏิบัติเปิดตัวเองสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยการมาทำงาน มารับใช้ครู รับใช้สังฆะ รับใช้พระอวโลกิเตศวร อย่างการดูแล “อวโลกิตะ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งศูนย์ภาวนาของมูลนิธิ ถือเป็นแบบฝึกหัดในการดำรงอยู่ตรงนั้นเพื่อผู้อื่น โดยไม่หวังผลลัพธ์ เป็นการฝึกที่จะไม่เอาอัตตาเป็นศูนย์กลางในการทำงานทางธรรม ดูเหมือนหลายคนจะเริ่มมีประสบการณ์และความเข้าใจคำสอนวัชรยานเพิ่มขึ้นจากการไปร่วมทีมดูแลอวโลกิตะ”







“ถ้าเรามองในแง่บวกมันคงไม่ได้มีอะไรที่ท้าทาย ทุกอย่างคือการเรียนรู้” อ.กฤษดาวรรณ เกริ่นตอบด้วยประโยคนี้ ก่อนจะเล่าต่อว่าภารกิจใหญ่ของพันดารา คือการระดมทุนเพื่อสร้างพระมหาสถูป ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นความท้าทายหรือเป็นเส้นทางก็ได้ เพราะการสร้างพระมหาสถูป คือการมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่จะเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติภาวนาของสังฆะ ซึ่งนอกจากภารกิจด้านนี้แล้ว อ.กฤษดาวรรณยังเล่าต่อถึงงานด้านการสอนภาวนาด้วย

“ในส่วนของการฝึกฝนภาวนานั้นค่อนข้างราบรื่น มีผู้คนที่เปิดใจและเกิดแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองเมื่อได้ลองมาฝึกฝนปฏิบัติ บางคนได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อจัดสรรเวลาให้กับการการจำศีลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าลูกศิษย์ในสังฆะมีความสนใจจริง

แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความท้าทายในการหาวิธีที่จะทำให้เขาเข้าใจวัชรยานจากข้างในหัวใจของเขาเอง ปัจจุบันสิ่งนี้ยังไม่สามารถเกิดได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะแต่ละคนก็มีพื้นฐานหรือ framework เดิม เวลาที่เขาเจอปัญหา เขายังไม่ได้มองโลกจากมุมมองแบบวัชรยานทั้งหมด เขาจะมีมุมมองแบบนั้นเพียงตอนที่ฝึกฝนในขทิรวัน แต่เวลาที่เขาได้เจอความทุกข์ หรือสถานการณ์ในการทำงาน เขาจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่อาจจะไม่ได้มาจากมุมมองแบบวัชรยาน ซึ่งตรงนี้ก็อาจมองได้ว่าเป็นความท้าทายในแง่ของสังฆะ เราต้องเอาจิตวิญญาณใหม่หรือสิ่งที่เราเรียนรู้จากวัชรยานมาใช้เป็น framework ของชีวิต ซึ่งนี่เป็นโจทย์ที่เราจะต้องทำงานกันต่อ”

 ด้วยปณิธานและการทำงานกับโจทย์ใหม่ๆ บนเส้นทาง ในปีนี้มูลนิธิพันดาจึงได้ริเริ่มการสร้างโรงเรียนที่มีลักษณะเป็น “ห้องภาวนา” ในกรุงเทพฯ ที่ชื่อ “เตเช็น” ซึ่งแปลว่า มหาสุข

“พวกเราสองสังฆะอาจทำอะไรที่สวนทางกัน ปีนี้วัชรปัญญากำลังจะกลับไปสู่ป่า ส่วนเรากำลังจะเข้ามาในเมือง เพราะเราพบว่าลูกศิษย์ 95 เปอร์เซ็นต์มาจากกรุงเทพ แล้วทุกคนก็ต้องผ่านทุกข์โศกในแต่ละวัน บางวันอาจพบความสูญเสีย บางวันอาจได้รับสิ่งที่ยิ่งใหญ่แล้วอยากบอกกล่าวครูหรือเพื่อน แต่ก่อนหน้านี้เราอยู่ไกลกัน ในปีนี้เราจึงตัดสินใจว่าจะสร้างพื้นที่ที่เราพบปะกันได้ในกรุงเทพฯ และเราอยากให้มองว่าที่แห่งนี้จะเป็นบ้านอีกหนึ่งหลังสำหรับสังฆะวัชรปัญญาด้วย”

ด้านวิจักขณ์เสริมว่าสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานทางธรรม คือจะต้องไม่ละทิ้งการปฏิบัติของตัวเอง คือทำงานไปด้วยปฏิบัติไปด้วย ซึ่งผู้เรียนธรรมะในบ้านเราอาจมีมุมมองที่ต่างออกไป เช่น การมองว่าครูสอนธรรมะจะต้อง “ถึง” ก่อนถึงจะออกมาสอนคนอื่นได้ แต่ในวัชรยานจะมองเรื่องนี้ต่างออกไป โดยมีมุมมองว่าตัวครูผู้สอนเองก็มีเส้นทางการฝึกฝนเรียนรู้ในแบบของครู สอนไปด้วย ปฏิบัติไปด้วย พัฒนาการรู้แจ้งให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นจากการเปิดสัมพันธ์กับสถานการณ์

นอกจากนี้วิจักขณ์ยังพูดถึงข้อจำกัดด้านอื่นๆ ในการสอนวัชรยานในไทย ที่ยังถือเป็นสิ่งใหม่ในทุกๆ มิติ ตั้งแต่ระดับปัจเจกที่เป็นเงื่อนไขส่วนตัวของผู้สอน การสื่อสารออกไปสู่ผู้เรียนหรือสังคมภายนอกที่อาจจะยังไม่เข้าใจเนื้อหาหรือแนวทางแบบวัชรยาน แต่ทั้งหมดนี้วิจักขณ์มองว่ามันไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นกระบวนการที่จำเป็นและท้าทาย ที่ทั้งตัวผู้ที่นำคำสอนมาถ่ายทอด ศิษย์ สังฆะ จะต้องทำงานอย่างเข้มข้นไปด้วยกัน นั่นคือหนทางเดียวที่การเติบโตและหยั่งรากของความเข้าใจในคำสอนวัชรยานที่จริงแท้จะเกิดขึ้นได้

“เรากำลังสื่อสารสิ่งใหม่ วัชรยานไม่มีจุดอ้างอิงให้เลย ไม่มีอะไรการันตี ยิ่งการสื่อสารคำสอนวัชรยานในวัฒนธรรมใหม่ด้วยยิ่งไม่มีจุดอ้างอิงไปใหญ่ อาจมีช่วงเวลาที่เราไม่แน่ใจว่าจะไปยังไงต่อ ทำไมเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สอนแบบนี้ถูกไหม แต่พอเราวางใจได้ ประสบการณ์จะช่วยขัดเกลาเราไปเรื่อยๆ พอวางใจได้มากขึ้น ทั้งในการสอนและในการงานทางธรรม เราจะเริ่มเห็นว่า ทั้งหมดคือกระบวนการที่ครูบาอาจารย์กำลังทำงานกับเรา พอมองย้อนกลับไป ไม่มีเหตุการณ์ไหนเลยที่เป็นเรื่องบังเอิญ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าเสียเวลา ทุกอย่างเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเป็นแบบนี้ เป็นอาจารย์แบบนี้ ทำงานกับคำสอนแบบนี้ เกิดสังฆะแบบนี้ เกิดการงานทางธรรมแบบนี้ เจอความท้าทายแบบนี้ …ซึ่งมันวิเศษมาก”

วิจักขณ์พูดถึงความเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละคนว่า ไม่มีใครเหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว ทุกคนต่างมีกรรมต่างกัน นั่นทำให้ทุกชีวิตมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว ซึ่งน้่นดูจะเป็นสิ่งที่การรู้แจ้งในระดับวัชรยานสนใจ

“เราต้องซื่อตรงกับสิ่งที่เราเป็น เราก็ไม่รู้หรอกว่าไปเอาความมั่นใจมาจากไหนถึงกล้าทำสิ่งที่ทำอยู่ แต่ถ้ามีอะไรสักอย่างที่ภูมิใจในการทำบทบาทนี้ คือเราเป็นตัวเอง …เพราะเป็นคนอื่นไม่ได้จริงๆ (ฮา) แล้วสิ่งนี้ทำให้คนที่มาเรียนกับเรากล้าที่จะเป็นตัวเองด้วย เราสร้างสังฆะกันโดยที่ไม่ได้พยายามที่จะทำให้คนออกมาเหมือนๆ กัน แต่เราจะเป็นวัชรสังฆะที่ทุกคนสามารถสำแดงความจริงแท้ออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือลบ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นสิ่งงดงามที่กำลังปลดปล่อยเรา ให้กลายเป็นแสงสว่างที่นำไปมอบให้แก่ผู้คนที่ต้องการได้”

วิจักขณ์ยังเห็นว่าสถานการณ์ในสังคมไทยตอนนี้ถือเป็นช่วงวิกฤติทางจิตวิญญาณ การที่ทั้งสองสังฆะเริ่มต้นการงานทางธรรมมากว่าทศวรรษ กระทั่งเติบใหญ่ขึ้น วันหนื่งเมื่อผู้คนต้องการ ก็จะออกดอกออกผลได้ทันการพอดี

“เราจะเห็นว่าคนรุ่นใหม่ ต้องเผชิญกับความทุกข์ของโลกสมัยใหม่ ไม่ว่าจะโรคซึมเศร้า ความอยุติธรรมทางการเมือง สถาบันทางศาสนาที่พึ่งพาไม่ได้ สถาบันครอบครัวที่ล่มสลาย สุดท้ายเขาไม่มีที่พึ่งอะไรเลย แทบไม่มีต้นทุนทางสังคมใดๆ เหลือให้พวกเขาใช้ได้อีกแล้ว”

เป็นคำถามทิ้งท้ายให้กับสองสังฆะวัชรยาน ว่าเราจะสร้างต้นทุนแบบไหนให้กับคนรุ่นต่อไปดี ความทุกข์บนโลกใบนี้มีมากมายเหลือเกิน เราจะสร้างสังฆะกันยังไง ที่จะทำให้คนรุ่นต่อไปสามารถมาเก็บเกี่ยวดอกผลได้ทัน โดยที่ไม่ต้องมานั่งไถพรวนดินแบบรุ่นเรา หากมองในแง่นี้ “หยั่งรากวัชรยาน” อาจหมายถึงพันธกิจร่วมกันบางอย่างในฐานะผู้ปฏิบัติ การปฏิบัติภาวนาจะช่วยพัฒนาเราให้มองเห็นภาพใหญ่นั้นร่วมกันได้ เป็นการแชร์วิสัยทัศน์แห่ง enlightenment กับครูบาอาจารย์ การค้นพบศักยภาพแห่งตื่นรู้ในตัวเองและในสรรพชีวิต ที่ไปพ้นจากเส้นแบ่งของสายปฏิบัติ กระทั่งไปพ้นความเป็นพุทธศาสนาเสียด้วยซ้ำ





++++++++++++++++++++++++++++++++

หากท่านได้ประโยชน์จากการอ่านบทความชิ้นนี้ และชื่นชมการสร้างสรรค์เนื้อหาดีๆ บนเว็บไซท์นี้
ท่านสามารถร่วมบริจาคสนับสนุนการดำเนินงานของ vajrasiddha.com ได้ที่
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกระบือ ชื่อบัญชี “มูลนิธิวัชรปัญญา” เลขที่ 053-3-67904-8






วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน
จาก https://www.vajrasiddha.com/article-sewanavajrayana/


<a href="https://www.youtube.com/v//DdoJjxf6p0k" target="_blank">https://www.youtube.com/v//DdoJjxf6p0k</a>

https://youtu.be/DdoJjxf6p0k?si=Cu6KPmkH1Gu3DWtL

Playlist อีกมากมาย ตามไปเลย https://youtube.com/@vajrasiddha?si=jFdwKhszg3pzoThD

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16194.0.html
122  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / “หยั่งรากวัชรยาน” : แรงบันดาลใจ แนวทางการสอน ความท้าทายของสังฆะวัชรยานในสังคมไทย เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 12:44:47
“หยั่งรากวัชรยาน” : แรงบันดาลใจ แนวทางการสอน และความท้าทายของสังฆะวัชรยานในสังคมไทย



โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย TOON วัชรสิทธา


นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1959 ที่กองทัพจีนบุกยึดทิเบตและทำให้ประชาชนชาวทิเบตต้องระหกระเหินจากประเทศของตน ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้าง คัมภีร์ทางศาสนา ถูกทำลายย่อยยับ ลามะและผู้คนชาวทิเบตมากมายถูกเข่นฆ่า และจำนวนมากต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิดของตัวเอง

แต่น่าอัศจรรย์ ที่เหตุการณ์นี้ไม่ได้ทำให้พุทธศาสนาทิเบตล่มสลายลง กลับกันมันได้ทำให้ผู้นำทางศาสนา คุรุระดับสูงในนิกายต่างๆ รวมถึงลามะมากมาย กระจายออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโลก ผู้คนเหล่านี้ได้นำเอาหัวใจคำสอน ประสบการณ์ รวมถึงวิถีปฏิบัติติดตัวไปด้วย และได้ส่งต่อสิ่งเหล่านี้ให้กับเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่ที่เขาย้ายไปอยู่อาศัย ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะมีความต่างด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือค่านิยมแบบใดก็ตาม เมื่อพุทธศาสนาทิเบตหรือพุทธวัชรยาน ได้ถูกสอนนอกประเทศทิเบตเป็นครั้งแรก พลวัตนี้ก็เริ่มสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหม่และครั้งใหญ่ให้กับพุทธศาสนา โดยมีศูนย์กลางของพลวัตเป็นโลกตะวันตก ซึ่งทำให้รูปแบบการเรียนรู้พุทธธรรมย่างเข้าสู่พื้นที่แห่งการศึกษาเรียนรู้ที่เป็นสากลมากขึ้น

ในประเทศไทยเองมีกลุ่มคนที่สนใจและศึกษาพุทธวัชรยานอย่างลึกซึ้ง โดยได้เดินทางไปศึกษาทั้งจากทิเบตและจากโลกตะวันตก พวกเขาได้นำคำสอนที่มีคุณค่าเหล่านั้นกลับมาเผยแพร่ให้กับลูกศิษย์ชาวไทยเป็นเวลานานกว่าทศวรรษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจว่าพุทธศาสนาวัชรยานนี้กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คล้ายกับว่ากำลังเริ่มต้น “หยั่งราก” ลงสู่ผืนดินไทย

มูลนิธิพันดาราร่วมกับมูลนิธิวัชรปัญญาจึงได้จัดงานเสวนา “หยั่งรากวัชรยาน” ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2566 เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสองสังฆะ รวมถึงความคิดเห็นต่อการงานทางธรรมที่จะทำให้พุทธวัชรยานสามารถหยั่งรากในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาคือ อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล, อ.เยินเต็น, วิจักขณ์ พานิช, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, ตัวแทนสังฆะพันดารา และตัวแทนสังฆะวัชรปัญญา



แรงบันดาลใจในการศึกษาพุทธวัชรยาน

อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล เล่าย้อนไปถึงช่วงที่เพิ่งเรียนจบใหม่ๆ ว่าตอนนั้นได้มีโอกาสเป็นตัวแทนยุวพุทธเถรวาทที่ได้เดินทางไปทำกิจกรรมร่วมกับตัวแทนจากชาติอื่นๆ ซึ่งในทริปนั้นอาจารย์ได้พบกับพระทิเบตสองรูปซึ่งจุดประกายให้เกิดความสนใจในวิถีและวัฒนธรรมของทิเบต จน 5 ปีหลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอกด้านภาษาและวรรณกรรมทิเบต และได้พบกับหนังสือของท่านศานติเทวะที่ชื่อ “โพธิสัตว์จรรยาวจาร” หรือ “จริยวัตรของพระโพธิสัตว์” ซึ่งทำให้เกิดความประทับใจถึงความยิ่งใหญ่ของแนวคิดแบบมหายาน-วัชรยานผ่านตัวอักษรทิเบต

จากนั้นอ.กฤษดาวรรณ ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาภาคสนามที่ประเทศเนปาลเป็นเวลาหนึ่งปี โดยได้ใช้ชีวิตอยู่กับผู้อพยพชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กับพระมหาสถูปโพธินาถ ตลอดปีนั้นเป็นช่วงเวลาที่อาจารย์ได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจากวิถีการใช้ชีวิตของชาวทิเบตที่ผูกรวมอยู่กับศาสนา

“การได้ทุนไปทำวิจัยในทิเบตเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ของเรา เพราะมันทำให้เราได้เห็นความมหัศจรรย์แห่งจิตวิญญาณของชาวทิเบต แม้เราจะเกิดในดินแดนพุทธ แต่เรารู้สึกว่ามันขาดแรงบันดาลใจบางอย่างที่เสริมสร้างความรู้สึกของการให้ แต่พอได้ไปใช้ชีวิตในทิเบตช่วงนั้นมันเติมเต็มในส่วนนี้ของเรา และทำให้เราได้พบกับชีวิตใหม่”

อาจารย์เล่าต่อว่าแรงบันดาลใจนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดจากการฟังบรรยายของคุรุอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง แต่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมผ่านการใช้ชีวิตกับชาวทิเบต ได้เรียนภาษาทิเบต ได้อ่านวรรณกรรมทิเบต แล้วก็ได้เดินทางไปอยู่ในทิเบต จนได้พบกับพระปฐมอาจารย์ที่ทำให้อยากจะศึกษาและฝึกปฏิบัติวัชรยานอย่างลงลึก

ด้านวิจักขณ์ พานิช ก็ได้เล่าถึงความสนใจด้านพุทธศาสนาของตัวเองตั้งแต่วัยหนุ่ม โดยเริ่มจากการฝึกปฏิบัติภาวนาในสายปฏิบัติของคุณแม่สิริ กรินชัย (ยุวพุทธิกะสมาคมฯ) ซึ่งในระหว่างการฝึกครั้งนั้นเขาได้มีประสบการณ์บางอย่างที่จุดประกายความอยากรู้อยากเห็นของเขาขึ้นมา

“ในการภาวนาครั้งนั้น เกิดประสบการณ์ที่พาให้ได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติบางอย่างของจิตใจ ซึ่งไม่สามารถอธิบายเป็นถ้อยคำหรือหลักเหตุผลได้เลย ประสบการณ์นั้นทำให้เกิดความคิดที่ชัดขึ้นมาในใจว่า หากจะมีอะไรที่อยากเข้าใจอย่างถ่องแท้ในชีวิต ก็คือสิ่งนี้”

หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย วิจักขณ์ได้บวชอยู่ที่สวนโมกข์เป็นเวลาหนึ่งปี โดยระหว่างนั้นเขาได้เรียนการภาวนากับพระอาจารย์สิงห์ทอง เขมิโย อุปัฏฐากย์ของท่านอาจารย์พุทธทาส

“ช่วงที่อยู่สวนโมกข์ เรามีความดื่มด่ำกับการศึกษาธรรมะมาก เริ่มอินกับการฝึกฝนตนเอง การเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ และฝึกท้าทายตัวเองเรื่องความกลัว นิสัย รูปแบบ และความเคยชินในชีวิตต่างๆ ตอนนั้นชอบชีวิตพระมากเลยนะ แต่ขณะเดียวกันก็เห็นถึงข้อจำกัดด้วย อยากเรียนรู้อะไรที่กว้างขึ้น เลยเริ่มมองหาสถานที่ที่จะได้ทั้งภาวนาและเรียนไปด้วย เลยตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ”

“ช่วงแรกไม่ได้มีความสนใจเกี่ยวกับพุทธวัชรยานเลย แต่ก็เริ่มสัมผัสถึงความเปิดกว้างและได้รู้จักสายปฏิบัติที่หลากหลายตั้งแต่ตอนอยู่ที่สวนโมกข์ เริ่มเห็นว่าเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ไม่ได้มีกำแพงกั้นระหว่างกันอย่างที่เคยรับรู้มา ตอนก่อนจะไปนาโรปะ รู้สึกอยู่ลึกๆ ประมาณว่า ทำไมพุทธศาสนาต้องแบ่งแยก ทำไมต้องมีข้อห้ามหรือเงื่อนไขเต็มไปหมด ทั้งเรื่องเพศ สังคม ความเป็นธรรม สังคม การเมือง ฯลฯ ในใจเกิดคำถามว่า จะมีสักที่ไหมที่ตอบความสนใจทั้งหมดของเราตรงนี้”

จนวิจักขณ์ได้เจอกับ อ.เรจินัลด์ เรย์ อาจเรียกว่า การได้พบคุรุถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเขา


“อาจจะเรียกว่า เราเจอครูก่อน ที่จะเจอวัชรยานก็ได้ เราไม่สนเลยว่าจะชื่อว่าพุทธอะไร แต่เราอยากเรียนกับครูคนนี้ พอได้เจอครูแล้ว จึงค่อยเห็นว่าแผนที่วัชรยานนำไปสู่อะไร แล้วเกิดความรู้สึกว่านี่แหละคือสิ่งที่เราตามหา นี่แหละตรงกับความปรารถนาลึกๆ ของเรา ถ้าถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้สนใจวัชรยาน มันคือเรื่องความใกล้ชิดระหว่างศิษย์กับครู ความศรัทธาต่อบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่กว่าตัวเรามากๆ แล้วก็เรื่องของภาษาและประสบการณ์ที่พ้นไปจากการแบ่งขั้วทวิลักษณ์ เรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ความรัก ความงาม และการย้อนกลับมาเคารพสังสารวัฏ สัมพันธ์กับผู้คน เพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ อย่างเท่ากันเสมอกัน”


ในวงเสวนายังมี อ.เยินเต็น อีกหนึ่งท่านที่เข้ามาร่วมพูดคุยด้วยกัน โดย อ.เยินเต็น เป็นหนึ่งในคุรุประจำสังฆะพันดาราซึ่งเดินทางมาจากทิเบตโดยตรง อ.ตุล จึงชวนพูดคุยถึงสถานการณ์และความเป็นไปของศาสนาพุทธในทิเบตในปัจจุบัน

อ.เยินเต็น เริ่มจากการอธิบายว่าส่วนใหญ่แล้ว ชาวทิเบตจะบวชเรียนกันตั้งแต่เด็ก โดยมีพ่อแม่พาไปบวช โดยมีประเพณีว่า หากครอบครัวไหนมีลูกชายสองคน หนึ่งในนั้นจะต้องบวช (แต่ในปัจจุบันประเพณีนี้เริ่มมีน้อยลง) ซึ่งนักบวชรุ่นใหม่ๆ เหล่านี้จะได้เรียนพุทธธรรมแบบ “ข้ามนิกาย” ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการศึกษาแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมลามะทิเบต

“ชาวทิเบตมีนิกายมากมายและแต่ละนิกายก็มีรายละเอียดของหลักสูตรไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในส่วนของคำสอนขั้นสูง ซึ่งในสมัยก่อนนิกายเหล่านี้ไม่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันข้ามสาย แต่ทุกวันนี้สังคมทิเบตเปลี่ยนไปแล้ว แต่ละนิกายพร้อมที่จะเปิดรับองค์ความรู้จากนิกายอื่นๆ วัดขนาดใหญ่จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างนิกายมาบรรยายและแลกเปลี่ยนในลักษณะของงานเสวนาอย่างที่เราทำกัน สิ่งนี้นับว่าเป็นอนาคตของพุทธธรรมในทิเบตที่ทำให้เหล่านักบวชรุ่นใหม่ๆ สามารถเรียนรู้หลักปฏิบัติที่หลากหลายและรุ่มรวยของนิกายวัชรยานในทิเบต”



จุดเด่นของพุทธศาสนาวัชรยาน

อ.กฤษดาวรรณ เล่าว่ามีหลายอย่างในพุทธวัชรยานที่เธอประทับใจ ช่วงแรกอาจจะเป็นเรื่องของความรัก ความกรุณา การได้พบคุรุแล้วเกิดแรงบันดาลใจจากท่าน แต่เมื่อเดินบนเส้นทางไปเรื่อยๆ ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติ ความประทับใจแรกจะพัฒนาสู่ความหมายและการเติบโตของคำว่า “โพธิจิต” ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยให้คนอื่นได้ตื่นรู้และเห็นความหมายของชีวิต โดยพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคนานา

“เรารู้สึกว่าวิถีนี้มันช่างนำพาเราไปโดยไม่ให้สนใจจุดมุ่งหมายของตัวเองเลย เป้าหมายของตัวเองมันไม่มี เพราะเป้าหมายของเราและชีวิตอื่นคือสิ่งเดียวกัน นั่นคือการหลุดพ้น อีกสิ่งที่ประทับใจมากๆ ตั้งแต่วันแรกคือคำว่าคุรุ สิ่งที่คุรุทำให้กับศิษย์ เราไม่ต้องไปหาพระโพธิสัตว์ที่ไหนไกลเพราะท่านอยู่กับเราตรงนี้แล้ว เราพบกับท่านในฐานะบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดัง และการที่เรามีเขาอยู่ เราจึงเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ใช่หน้าตาของท่าน ไม่ใช่เสื้อผ้าที่ท่านสวมใส่ หมวกที่ท่านมี หรือบัลลังก์ใหญ่ที่ท่านได้รับ แต่มันคือหัวใจที่ท่านพร้อมจะให้กับศิษย์ เพราะท่านอุทิศตัวเองที่จะช่วยเราและคนอื่น”

“เมื่อเราฝึกวัชรยาน ขอให้เราเปิดกว้าง อย่ารีบหาคำตอบสำหรับสิ่งใด เพราะความเข้าใจนั้นไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูป มันเป็นเพียงคำตอบของคนอื่นหรือเป็นการท่องจำข้อความในหนังสือ ความเข้าใจในวัชรยานจะมาพร้อมกับความเข้าใจในความหมายของสายสัมพันธ์คุรุ-ศิษย์ หรือความเข้าใจเรื่องโพธิจิต ซึ่งแม้จะสวดมนตราเป็นแสนๆ ครั้งก็อาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะความเข้าใจเกิดขึ้นผ่านการเปลี่ยนจากข้างใน ไม่ใช่เรื่องของจำนวนการสวดมนตรา”

อ.กฤษดาวรรณเล่าย้อนไปถึงก้าวแรกที่ตัดสินใจเดินบนเส้นทางของการทำงานทางธรรม ที่จนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 20 มาแล้ว

“ไม่เคยเลยที่จะรู้สึกว่าเวลาที่ผ่านมาเป็นสิ่งน่าเสียดาย แต่อาจจะมีวันที่รู้สึกกังวลบ้างว่าเราจะไปอย่างไรต่อ เพราะเราไม่เคยได้วางแผนเส้นทางเอาไว้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นมันคือการลงมือทำมาตลอด คิดจะทำแล้วก็ทำเลย บางวันจึงอาจจะมีความกังวลเกิดขึ้นมาบ้างซึ่งมันมาแล้วก็ผ่านไป แต่ความสุข ความเบิกบาน ความสบายใจมีเยอะมาก ทั้งยังภูมิใจที่เราได้นำคำสอนเหล่านี้มาบอกเล่าแก่ผู้อื่น”

ด้านของวิจักขณ์เล่าว่า เมื่อได้ก้าวขาเข้าสู่โลกวัชรยานแล้ว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเด่นชัดคือ “Enlightenment is real” ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนแต่เป็นเส้นทางที่พาเราไปสู่การตื่นรู้

“การตรัสรู้ การรู้แจ้ง การสัมพันธ์กับครูบาอาจารย์ สายปฏิบัติ สังฆะ หรือแม้แต่จักรวาลที่ทำงานกับเราในแต่ละขณะ มันไม่ได้เป็น myth อีกต่อไป ทุกสถานการณ์ที่เราต้องเข้าไปสัมพันธ์ด้วย อุปสรรค ความท้าทาย และปัญหาทั้งหมด คือส่วนสำคัญของเส้นทางสู่ Enlightenment เมื่อฝึกวัชรยาน เรารู้สึกได้จริงๆ ว่าทั้งหมดทั้งปวงที่เข้ามาทำงานกับเรา มาช่วยให้เราหลุดพ้น คำว่า “ตรัสรู้” ที่เคยอ่าน เคยเรียน เคยได้ยิน แต่ลึกๆ ยังไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้จริง แต่วัชรยานทำให้สัมผัสได้จริง เราอยู่ในมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในอ้อมกอด การเกื้อหนุน และความรักของครูบาอาจารย์ และพรที่ส่งมาอย่างไม่ขาดสาย”

“ในการทำงานทางธรรม ผมก็รู้สึกคล้ายกับ อ.กฤษดาวรรณ คือบ่อยครั้ง ไม่รู้จะไปต่อยังไง แต่แล้ว ก็มักจะมีสัญญาณ หรือสิ่งนำทางเกิดขึ้นในชีวิตอยู่โดยตลอด หลายคนอาจคิดว่าที่ทำมูลนิธิวัชรปัญญา สร้างสังฆะ ทำวัชรสิทธา หรือโครงการต่างๆ มาจากการวางแผน แต่จริงๆ ผมไม่เคยวางแผนอะไรสักอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดล้วนคือ พรจากครูบาอาจารย์”

“เหมือนจู่ๆ เราก็หลุดเข้าไปอยู่ในวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของครูบาอาจารย์ จนทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้อีกแล้ว เพราะนี่คือสิ่งที่งดงามและมีค่าที่สุด ซึ่งจริงๆ ตัวเองก็ไม่ได้มีความทะเยอทะยานที่จะมาทำอะไรแบบนี้เลยนะ แต่รู้ตัวอีกทีก็ทำอย่างอื่นไม่ได้แล้ว ตอนกลับไทยมาใหม่ๆ ยังมีความลังเลนะว่าจะทำอะไรดี แต่ทั้งหมดเริ่มต้นด้วยความปรารถนาที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาจากอาจารย์ให้กับคนอื่น เพราะมันคือสิ่งมีค่ามาก ที่เราไม่อยากให้มันหายไป”

นอกจากนี้วิจักขณ์ยังเสริมว่า จริงๆ แล้ววัชรยานมีฐานเป็นมหายาน ซึ่งก็คือโพธิจิต หรือศักยภาพของจิตใจที่เปิดกว้าง โอบรับทุกความเป็นไปได้ ทุกแง่มุมของมนุษย์ ทั้งในตัวเราเองและคนอื่น วัชรยานจะยิ่งทำให้โพธิจิตนี้เบ่งบานและเปล่งประกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามและมีค่ายิ่ง

“วัชรยานจะมีความภูมิใจเรื่อง unbroken lineage หรือ “ความไม่ขาดสาย” ของสายปฏิบัติ เพราะวัชรยานเป็นธรรมะที่มีชีวิต ส่งผ่านจากจิตสู่จิต เป็นธรรมะที่มอบให้กันด้วยความรัก เหมือนที่อาจารย์กฤษดาวรรณบอกว่า คำสอนวัชรยานต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อที่จะได้รับมา ในแต่ละรุ่นมีคนที่อุทิศตนเพื่อรับและส่งต่อสิ่งนี้ ซึ่งเมื่อผมเองก็ไปรับมาแล้ว เราเลยไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้นอกจากหาวิธีส่งต่อมันให้กับคนอื่น ซึ่งแม้มันจะยาก ก็ถือเป็นเกียรติของชีวิตนะ ที่ได้ทำสิ่งนี้”

123  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / วิกรมจริต สุดยอดวรรณคดีสันสกฤต ผู้นิยมอ่านมากที่สุดไม่แพ้นิทานเวตาล เมื่อ: 26 ธันวาคม 2566 17:43:02


วิกรมจริต

เป็นยอดวรรณคดีเอกของสันกฤตที่มีผู้นิยมอ่านมากที่สุดไม่แพ้นิทานเวตาล เป็นต้นสกุล นิทานสิบสองเหลี่ยม หรือ นิทานอิหร่านราชธรรม
ที่ปราชญ์ไทยแปลไว้ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื้อเรื่องกล่าวสดุดีพระเจ้าวิกรมาทิตย์ ราชาแห่งกรุงอุชชยินี กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ต่อกับศตวรรษที่ ๖ มุ่งให้คติธรรม ความกล้าหาญ ความเสียสละ และความสุขในการดำเนินชีวิต

นิยายสันสกฤต ประเภทรวบรวมนิทานสดุดีพระราชาผู้ทรงคุณธรรม คือ พระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งกรุงอุชชยินี พระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ในช่วงคริสตศตรรษที่ 5 ต่อกับศริสตศวรรษที่ 6 กับการรวบรวมนิยายต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของพระองศ์



เรื่องวิกรมจริต (เรื่องราวของพระเจ้าวิกรม) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สิงหาสนทวาตริงศติกา (เรื่องของพระแท่นที่ประกอบด้วยตุ๊กตาสามสิบสองตัว) แปลและเรียบเรียงเป็นพากย์ไทย พิมพ์รวมเล่มสืบจากนิยายสันสกฤต 100 เรื่อง (ภารตนิยาย) วิกรมจริตเป็นงานประเภทรวบรวมนิทานสดุดีพระราชาผู้ทรงคุณธรรม คือ พระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งกรุงอุชชยินี พระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ในช่วงคริสตศตรรษที่ 5 ต่อกับศริสตศวรรษที่ 6 การรวบรวมนิยายต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของพระองค์คงจะเกิดจากการดัดแปลงมาจากเรื่องราวอันเป็นคติธรรมในศาสนาไชน์ ความเก่าแก่ของนิยายวิกรมาทิตย์นี้คงจะมีก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 11 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศอินเดีย การที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอเรื่องวิกรมจริตในพากย์ไทยดังนี้ ก็เพราะคำนึงถึงเหตุ 2 ประการคือ เรื่องวิกรมจริตนี้เป็นวรรณคดีเอกของสันสกฤตเล่มหนึ่ง ซึ่งมีผู้อ่านนิยมอ่านมากที่สุด ไม่แพ้ นิทานเวตาล หิโตปเทศ ทศกุมารจริต และอื่น ๆ ควรจะนำมาเผยแพร่ในวงวรรณกรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์ นี้เป็นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ ต้องการจะชี้ให้เห็นคุณธรรมของมหาบุรุษตัวอย่าง ผู้มีความกล้าหาญเป็นเลิศ มีความเสียสละอย่างยอดยิ่ง และเป็นผู้มีเมตตาธรรมอันสูงสุด ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรจะนำเสนอต่อผู้อื่น เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งในด้านเนื้อหาและคติธรรมอันดีงามในชีวิตสืบไป..."

ตัวอย่าง หนังสือเสียงบางบท

<a href="https://www.youtube.com/v//9l71Q1zGVmI" target="_blank">https://www.youtube.com/v//9l71Q1zGVmI</a>

https://youtu.be/9l71Q1zGVmI?si=8l9pcEwQTsZGhq40

<a href="https://www.youtube.com/v//ACDcPRV0svc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//ACDcPRV0svc</a>

https://youtu.be/ACDcPRV0svc?si=uON2-vbfkX1G_ipk

<a href="https://www.youtube.com/v//FEh7bMLhYL4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//FEh7bMLhYL4</a>

https://youtu.be/FEh7bMLhYL4?si=9JTwmWgfUvMNLezJ

<a href="https://www.youtube.com/v//PHcLNrKOu_0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//PHcLNrKOu_0</a>

https://youtu.be/PHcLNrKOu_0?si=CIgFM60lDR71KiwK

Playlist ฟังจนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLFdy70zLYvEHAv3vzehUM06VDvYMrIw5T&si=HEPndHNCVKR9WAnY

สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16193.0.html
124  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / สัมภารวิบาก: อสงไขยกาลกับปณิธานพระโพธิสัตว์ (ชื่อรอง กว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า) เมื่อ: 26 ธันวาคม 2566 11:21:14
สัมภารวิบาก: อสงไขยกาลกับปณิธานพระโพธิสัตว์ (ชื่อรอง กว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า)

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่ง ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

** หาเล่มเต็มอ่านเอง คัดมาแค่ ฉบับย่อ ดาวโหลด ตามลิ้ง




















ฉบับย่อ https://fliphtml5.com/xmfa/uubi/basic/51-52

เพิ่มเติม https://archive.org/details/PaitoonInthavong02?webamp=default


ขยายความ ฟังเพิ่มเติม

<a href="https://www.youtube.com/v//FPNaS5yU6Fo" target="_blank">https://www.youtube.com/v//FPNaS5yU6Fo</a>

https://youtu.be/FPNaS5yU6Fo?si=sGAVMYiBRwL1Ye0C

<a href="https://www.youtube.com/v//BKpUoze1r-M" target="_blank">https://www.youtube.com/v//BKpUoze1r-M</a>

https://youtu.be/BKpUoze1r-M?si=_hih2cI9DkLradlm

<a href="https://www.youtube.com/v//AxFfLq6v7a0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//AxFfLq6v7a0</a>

https://youtu.be/AxFfLq6v7a0?si=tQT5VH55QJhVdzlE

Link นี้ ฟังจนจบเลย https://youtube.com/playlist?list=PLJETxa2KOI1n2MF8_2qCypslrZwDog1Ok&si=xCIX4l7_hX1GfdM1

เพิ่มเติม

เรื่องราวโดยย่อในสัมภารวิบาก

๑.เรื่องราวก่อน ๒๐ อสงไขย แสนกัป มีนิทาน ๒ คือ

๑.๑ ชื่อว่า พาหิรนิทาน มี ๓ ชาติ คือ



ชาติที่ ๑ เรื่องนายเรือผู้เป็นที่รักของมารดา
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกภายนอกพระพุทธศาสนา



ชาติที่ ๒ เรื่อง พระเจ้าคชัปปิยะ หรือพระเจ้าสัตตุตาปะ
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งที่ ๒ ภายนอกพระพุทธศาสนา



ชาติที่ ๓ เรื่องพรหมฤาษี
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งที่ ๓ ภายนอกพระพุทธศาสนา

๑.๒ ชื่อว่า อัชฌัตติกนิทาน มี ๑ ชาติ คือ



เรื่องพระราชบุตรี ผู้ถวายน้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งที่ ๔ ภายในพระพุทธศาสนา


๒. มโนปณิธานมี ๗ อสงไขย
ชื่อว่า มหานิทาน



เรื่องพระเจ้าอติเทพ หรือพระเจ้าอรดีเทวราช
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าภายในใจครั้งแรก
ต่อพระพักตร์ของพระพรหมเทพสัมมาสัมพุทธเจ้า



๓.วจีปณิธานมี ๙ อสงไขย
ชื่อว่า อติทูเรนิทาน



เรื่องพระเจ้าสาคร
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าด้วยการเปล่งวาจาครั้งแรก
ต่อพระพักตร์ของพระปุราณศักยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า


๔. เรื่องราวภายใน ๔ อสงไขย แสนกัป
ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน



สุเมธดาบส ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก
จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า

 ในระหว่าง ๔ อสไขย แสนกัปนี้ พระโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์     จากพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่ทรงอุบัติขึ้น นับได้ ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น มีพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด.



การเดินทางแห่งพระพุทธเจ้า..จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์..คือ..พระนิพพาน

การตั้งจิตปรารถนาครั้งแรกนอกพระพุทธศาสนา เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในชาตินั้น พระโพธิสัตว์กล่าวได้ว่าเป็น อนิยตโพธิสัตว์ เกิดเป็นมานพหนุ่มยากจน ได้สละชีวิตแบกมารดาข้ามมหาสมุทร เป็นเรื่องราวเบื้องต้นก่อน ๒๐ อสงไขยแสนกัปป์ และจวบจนได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นนิยตโพธิสัตว์ หลังจากนั้นได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มาตลอด ๔ อสงไขยแสนกัป จวบจนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

จาก http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=137.0

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16191.0.html
125  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / เมื่อทุกอย่างพังทลาย : หนทางฝึกใจในช่วงเวลาวิกฤตของชีวิต เมื่อ: 23 ธันวาคม 2566 14:05:13




เมื่อทุกอย่างพังทลาย : หนทางฝึกใจในช่วงเวลาวิกฤตของชีวิต : When Things Fall Apart : Heart Advice for Difficult Times

โอกาสแห่งการได้สัมผัสกับความสุขนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ช่างน่าขันที่เรามักพลาดโอกาสนั้น เพราะมัวลนลาน พยายามหลีกหนีออกจากความทุกข์และความเจ็บปวด...

โดย : เพม่า โชดรัน (Pema Chodron)
แปล : วิจักขณ์ พาณิช และ อัญชลี คุรุรัช

โอกาสแห่งการได้สัมพัสกับความสุขนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ช่างน่าขันที่เรามักพลาดโอกาสนั้น พยายามหลีกหนีออกจากความทุกข์และความเจ็บปวด เมื่อทุกย่างพังทลาย...คือ คำสอนอันเรียบง่ายและลึกซึ้ง ซึ่ง "เพม่า โชดรัน" กลั่นกรองจากประสบการณ์การฝึกฝนในพุทธศาสนาธิเบต คำชี้แนะอันห้าวหาญและเปี่ยมกรุณาของเพม่าเหมาะสำหรับช่วงเวลาที่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตพังทลาย มันช่างแตกต่างไปจากคำสอนทั่วไปที่เราคุ้นเคยและคาดหวังว่าจะได้ยิน เพราะมีเพียงหนทางเดียวที่จะยังประโยชน์อย่างยั่งยืน เพม่ากล่าวว่าหนทางนั้นคือการเคลื่อน "เข้าหา" สถานการณ์อันเจ็บปวดด้วยความเป็นมิตร ความสงสัยใคร่รู้ และผ่อนคลายในภาวะไร้หลักยืน อาจกล่าวได้ว่า...ท่ามกลางความโกลาหลนั่นเองที่เราจะสามารถค้นพบสัจธรรมและความรักอันไม่อาจถูกทำลายได้

สารบัญ

- สนิทสนมกับความกลัว
- เมื่อทุกอย่างพังทลาย
- ชั่วขณะนี้คือครูที่ดีที่สุด
- ผ่อนคลายตามที่เป็น
- ไม่มีคำว่าสายเกินไป
- ไม่ทำบาป
- ความสิ้นหวังและความตาย
- โลกธรรม 8
- ความโดดเดี่ยวหกแบบ
- สนใจใคร่รู้กับชีวิต
ฯลฯ


<a href="https://www.youtube.com/v//dh_QSIxoeig" target="_blank">https://www.youtube.com/v//dh_QSIxoeig</a>

https://youtu.be/dh_QSIxoeig?si=0VjnGW552uAiuvg1


<a href="https://www.youtube.com/v//I8rw2FPuIcQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v//I8rw2FPuIcQ</a>

https://www.youtube.com/live/I8rw2FPuIcQ?si=6_F-IO-lL9k2Qcmv

<a href="https://www.youtube.com/v//TIJTrXHYsJM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//TIJTrXHYsJM</a>

https://youtu.be/TIJTrXHYsJM?si=y1JrKAGBjFmleR5f

จาก http://www.tairomdham.net/index.php?topic=16187.msg47304#msg47304
126  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด : การผจญภัยทางจิตวิทยา เมื่อ: 23 ธันวาคม 2566 11:25:13
คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด : การผจญภัยทางจิตวิทยา








คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด
หนังสือจิตวิทยาโรคซึมเศร้าในรูปแบบงานวรรณกรรม บอกเล่ากระบวนการจิตบำบัดผ่านตัวละครที่มีคาแร็กโดดเด่น

นายคางคกตกอยู่ในสภาพหดหู่อย่างมาก และเพื่อนรักของเขาทั้งหนู ตัวตุ่นและแบดเจอร์ ต่างพากันกังวลว่า เขาอาจทำอะไรโง่ๆ… ในที่สุด แบดเจอร์ก็ทนไม่ไหวอีกต่อไป เขาเห็นว่าคางคกอาการแย่เกินกว่าจะหายด้วยการปลอบใจจากกลุ่มเพื่อน สิ่งที่คุณคางคกต้องการในตอนนี้ก็คือ “การเข้ารับการปรึกษาจากนักจิตบำบัด”


นี่คือหนังสือจิตวิทยาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในรูปแบบงานวรรณกรรม ผลงานของ Robert de Board บอกเล่ากระบวนการจิตบำบัดสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า ผ่านตัวละครที่มีคาแร็กเตอร์โดดเด่นอย่างคางคกซึ่งเป็นตัวละครหลักจากวรรณกรรมคลาสสิกเรื่อง Winds in the Willows  ของเคเนท แกรม ภายในเล่มผู้อ่านจะได้เห็นลักษณะอาการพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ ของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ผ่าน "คุณคางคก"  ติดตามกระบวนการทำจิตบำบัดของ “คุณนกกระสา” และยังได้เห็นมิตรภาพ ความคิดความรู้สึกและวิธีการของคนรอบข้างที่พึงปฏิบัติต่อผู้ป่วย อย่าง หนู ตัวตุ่น และแบดเจอร์ ที่อยากจะช่วยคนไข้ให้อาการดีขึ้น
















จาก https://www.nanmeebooks.com/product/counselling-for-toads/230308778

<a href="https://www.youtube.com/v//bPXY0e6xp0w" target="_blank">https://www.youtube.com/v//bPXY0e6xp0w</a>

https://youtu.be/bPXY0e6xp0w?si=xuAkUhylmJRSbts8

<a href="https://www.youtube.com/v//aucZFSLj7xA" target="_blank">https://www.youtube.com/v//aucZFSLj7xA</a>

https://youtu.be/aucZFSLj7xA?si=ouSUoHo7IedtzjNi

<a href="https://www.youtube.com/v//xGcTCEzKpVE" target="_blank">https://www.youtube.com/v//xGcTCEzKpVE</a>

https://youtu.be/xGcTCEzKpVE?si=YCYpWaCy-fgq1BTc

เจอ 2 ตอน เขาพึ่งลงหนังสือเสียง เข้าอ่านจนจบเล่มเองนะ https://youtu.be/xGcTCEzKpVE?si=YCYpWaCy-fgq1BTc

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16186.0.html
127  นั่งเล่นหลังสวน / หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง) / 'คำโกหกที่รู้สึกดี' กับ 'ความจริงที่ปวดใจ' ใน 'Analog Squad ทีมรักนักหลอก เมื่อ: 23 ธันวาคม 2566 09:41:54
 'คำโกหกที่รู้สึกดี' กับ 'ความจริงที่ปวดใจ' ใน ซีรีส์ 'Analog Squad ทีมรักนักหลอก'

Analog Squad ทีมรักนักหลอกโกหกเพื่อความสุข…สนุกกับความปลอม90s จัดเต็ม …. โคตร “คลาสสิก”


สำหรับ Analog Squad ทีมรักนักหลอก เป็นซีรี่ส์ความยาว 8 ตอน เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 บนแพลตฟอร์ม Netflix น่าจะเป็นคอนเทนต์ของไทยชุดสุดท้ายก่อนปิดปี 2566 ที่ใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวก็ไต่ขึ้นไปเป็นซีรีส์คนดูมากสุดอันดับ 1 ใน Netflix ประเทศไทย



เพจหนัง, เพจรีวิวซีรี่ส์ ต่างๆ พร้อมใจกันอวยยศอย่างพร้อมเพรียงโดยมิได้นัดหมาย ให้คะแนนตั้งแต่ 10/10 ไปยัน 2000/10 เชียร์กันแบบไม่พัก ตกหลุมรักเรื่องราวของ “ทีมรักนักหลอก” กันแบบถอนตัวไม่ขึ้น และผู้เขียนก็เป็นอีก 1 ที่มิอาจต่อต้าน ได้แต่เข้าร่วมขบวนอวย ช่วยกันเชียร์แต่โดยดี



ต้องยอมรับว่า ซีรี่ส์ชุดนี้จากฝีมือการกำกับของ ต้น-นิธิวัฒน์ ธราธร (คิดถึงวิทยา, หนีตามกาลิเลโอ และ Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย) ทำออกมาได้กลมกล่อม ลงตัวครบองค์ประกอบในแทบทุกด้านจริงๆ

เมนคอนเซ็ปต์ที่แข็งแรง ว่าด้วยเรื่องทีมเฉพาะกิจที่รับจ้างไปแสดงตัวเป็นครอบครัวปลอมๆ ของ “ปอนด์” เพื่อกลับไปเยี่ยม “ปู่เขียว”, “ย่าสดใส” บนความคาดหมายว่า ทำเพื่อวาระสุดท้ายให้ “ปู่เขียว” ชื่นใจก่อนจะลาโลก แล้วทุกคนก็แยกย้าย ได้เงินกันไปตามที่ตกลง (แบบที่เราเคยได้ยินข่าวว่า ในจีน, ญี่ปุ่น มีบริการรับจ้างเป็นญาติ รับจ้างเป็นแฟนเพื่อกลับไปให้คนในครอบครัวสบายใจ)



นั่นกลายเป็น Messege หลักที่ชวนคิดว่า มันก็ไม่น่าจะผิดบาปอะไรกับการ “โกหกเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจ”

แต่เรื่องราวก็ค่อยๆ ขยายออกไปไม่จบสิ้นกันง่ายๆ เพราะครอบครัวตัวปลอมที่ดันอินจัดเกินค่าจ้าง แถมยังค่อยๆ สานต่อความสัมพันธ์ที่พัฒนาไปอย่างน่าสนใจสำหรับคนแปลกหน้ากลุ่มนี้ ขณะเดียวกันก็เริ่มคลี่ขยายปมของตัวละครแต่ละคน แต่ละคู่ ที่ต่างก็มีบาดแผล และเรื่องราวที่ชวนให้ผู้ชมเข้าไปสำรวจกันทีละจุดๆ

ขอชื่นชมทีมเขียนบทที่ต้องทำการบ้าน, รีเสิร์ช อย่างหนักทั้งในแง่การเล่าเรื่องของตัวละครอย่างน้อย 3-4 ครอบครัววางประเด็นเชื่อมโยงอย่างมีเหตุมีผลและความเป็นไปได้ที่น่าเชื่อถือ ยังไม่นับการทำข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตของคนในช่วงเวลาดังกล่าว (พ.ศ.2542หรือ ค.ศ.1999) อันเป็นรอยต่อของยุค 90s ที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคมิลเลเนียม (ค.ศ.2000)

ความคลั่งไคล้ในยุค 90-2000 ถูกหยิบใส่มาแบบจัดเต็ม และจังหวะดีมาก ทั้งเรื่องข่าว เหตุการณ์ระดับโลก (Y2K) เพลง, ดนตรี, กีฬา (แมนฯยู-ลิเวอร์พูล), ร้านเช่าวิดีโอเทป , สื่อสารผ่านเพจเจอร์, ตู้โทรศัพท์สาธารณะ , ทามาก๊อตจิ, เกมบอย, การถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ฯลฯ (วัยรุ่นและคนยุค 90s ย่อมฟิน ถวิลหาอดีตอันดีงามในห้วงเวลานั้น)

ในซีรี่ส์ยังมีมีลายเซ็นของความเป็นคนรักหนัง ดูหนังอย่างเนิร์ด จำประโยคที่ตัวละครสนทนากันได้ขึ้นใจ แอบเสียบเข้าไปในหลายฉาก และแน่นอนว่าในซีนที่ให้ปู่เขียวเลือกกินยาเม็ดสีฟ้า, สีแดง นั้น แฟนานุแฟน Matrix ต้องมีแอบยิ้มกันบ้างละ



มีความประดิษฐ์ประดอยอย่างเนี๊ยบ ให้ทุกซีน ทุกฉาก มีความลงตัวขององค์ประกอบ โทนสี การจัดแสง สไตล์คล้ายๆ งานของผู้กำกับญี่ปุ่น (ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ) หรืออารมณ์ประมาณที่ พี่เก้ง-จิระ มะลิกุล ปั้นงาน “เหมืองแร่” ได้เป๊ะทุกสิ่งอัน (ผมชอบทั้งฉากในร้านถ่ายรูป, ห้องของ ลิลลี่ และเกสต์เฮ้าส์บ้านของ เก๊ก)

ที่สำคัญ เท่าที่ผานมานั้น มีหนัง-ซีรี่ส์ไทยมีน้อยเรื่องมาก ที่เล่นกับยุค 90 อันยึดโยงกับจุดเปลี่ยนสำคัญของสังคม นั่นคือ วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540(1997) ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตคนทุกระดับชั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาวะ ตกงาน, ขาดทุนจากการทำธุรกิจ กลายเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องเปลี่ยนตัวเอง ตั้งต้นชีวิตใหม่ ฯลฯ (ทุกครอบครัวในเรื่องต่างก็โดนชะตากรรมนี้)

งานเขียนบทพาร์ทโรแมนติก ก็ทำออกมาได้พอดีๆ ไม่เวิ่นเว้อ  ทั้งคู่ของ ปอนด์-ลิลลี่ (สาวเฟี๊ยวกับหนุ่มใหญ่แบดบอย), เก๊ก-บุ้ง (วัยรุ่นสร้างตัว กับสาวทอมที่สับสนว้าวุ่น) , ป๋ารัก-ปูเป้ (รักรุ่นใหญ่ที่ผ่านชีวิตมาโชกโชนและอยากแก้ไขอะไรบางอย่าง)



ทีเด็ดแบบเหนือความคาดหมายคือการแคสติ้งแบบฟ้าประทาน และ นักแสดงปล่อยของกันแบบโคตรเทพ  เหล่าศิลปินดารา-นักร้อง ที่เราต่างคุ้นตาในยุค 90s มารวมตัวกันรับบทต่างๆ ในเรื่องนี้ ซึ่งการได้เห็นคนที่ไม่คิดว่าจะกลับมารับงานแสดงอย่าง น้ำฝน-กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์, ตุ๊ก-วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, โยโกะ ทาคาโน่, กษาปณ์ จำปาดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พี่อ้อง-สุรสีห์ อิทธิกุล (ซึ่งผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าแกรับงานแสดง) มาโลดแล่นถ่ายทอดเรื่องราวพร้อมกันแบบนี้

ขออนุญาตอุทานแบบในซีรี่ส์เลยว่า

“เชี่ย!… แม่งโคตร คลาสสิก”

แล้วไม่ใช่แค่กลับมาปรากฎตัวตามบทธรรมดา แต่ทุกคนทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม จนต้องยอมรับว่า พลังฝีมือในการแสดงของนักแสดงเหล่านั้น มีส่วนสำคัญที่พาให้ผู้ชมรู้สึกผูกพัน เห็นอกเห็นใจ อินไปกับเรื่องราวของแต่ละคนที่ต่างก็มีปมแตกต่างกันไป

พี่อ้อง-สุรสีห์ ในบทปู่เขียว เล่นน้อยๆ แต่อิมแพ็คดีมาก ถือว่าเหนือความคาดหมายจริงๆ (อารมณ์เดียวกับที่พี่มาด-สามารถ พยัคฆ์อรุณ โดดเด่นเหลือเกินใน “มนต์รักนักพากย์”) น้ำฝน ไม่ได้แค่มาโชว์หุ่นเซี๊ยะเกินวัย แต่ถ่ายทอดอารมณ์ของคนเหงาได้อย่างมีมิติ(ผมชอบฉากกินเหล้าข้างโลงศพมาก)

ขณะที่นักแสดงหลักทั้งหมดก็ไม่มีใครเป็นจุดด้อย ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์แบบ ชนิดที่ ผู้กำกับฯ ก็น่าจะขออะไรได้ไม่มากไปกว่านี้





ส่งท้ายกลับไปที่เมนไอเดียเริ่มต้น ซีรี่ส์พาผู้ชมไปสำรวจการให้คุณค่ากับชีวิต ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว คนในครอบครัวซึ่งที่สุดแล้ว มันก็ไม่ง่ายที่จะไปพิพากษาใครต่อใคร จากมุมที่เรามองเข้าไป แล้วอาจยังเห็นไม่ครบถ้วน

แทนที่จะสั่งสอนว่า ต้องเป็นคนดี มีจริยธรรม ไม่โกหก … แต่หนังกล้าตั้งคำถามชวนให้ถกกันว่าแล้วถ้า โกหกมันช่วยให้คนสบายใจล่ะ…??

เช่นเดียวกับคำว่า “ยอมรับ” หรือ “ให้อภัย” จริงๆ แล้วเป็นคำใหญ่ เป็นความรู้สึกที่ต้องผ่านความเจ็บปวด อดทน จนตกผลึกมาพอสมควร กว่าที่จะเลือกตัดสินใจได้

และมุมหนึ่งที่ซี่ส์ พยายามส่งสารออกมายังผู้ชมโดยเฉพาะในช่วงกลาง-ท้ายเรื่องนั่นคือ ที่สุดแล้ว ก็ต้องกลับไปเผชิญหน้ากับความจริง และผลักดันให้ชีวิตเดินหน้าต่อไป กล้าที่จะสู้ กล้าที่จะลองผิดลองถูก กับทุกๆ เรื่อง เหมือนที่ ย่าสดใสสอนม่อนเอาไว้ให้ตะโกนใส่มัน….

“กูไม่กลัวมึงหรอกโว้ยยยย”

แค่มองย้อนอย่างเข้าใจ เชิดหน้าเดินต่อ มูฟออน กับชีวิต… เพราะโลกก็ยังไม่แตกง่ายๆ หรอกนะ วัยรุ่น Y2K



จาก https://feedforfuture.co/feed-ent/46686/

จาก
http://www.tairomdham.net/index.php?topic=16185.msg47302#msg47302

<a href="https://www.youtube.com/v//m6KAeB8Or10" target="_blank">https://www.youtube.com/v//m6KAeB8Or10</a>

https://youtu.be/m6KAeB8Or10?si=ladpBFoCqnsgI2wg


128  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ / นางยักษ์ผู้อาฆาต​ กินลูกทุกภพชาติ​ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 18:33:46
นางยักษ์ผู้อาฆาต​ กินลูกทุกภพชาติ​

วันนี้แสงธรรมะนำใจ​ นำเรื่องเล่าสมัยพุทธกาล​ ความอาฆาตจองเวร​ที่ไม่รู้จักจบจักสิ้น​ การระงับการไม่จองเวรนั้นจะสามารถหยุดนางยักษ์ตนนี้ได้หรือไม่​ ไปรับฟังกันค่ะ

<a href="https://www.youtube.com/v//vKSl03N31g4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//vKSl03N31g4</a>

https://youtu.be/vKSl03N31g4?si=5jC9kXtE8DBN6gQL

มีอีกมากมาย สาธุ https://youtube.com/@sangtham?si=_d234OyqQbJgLMoY
129  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ / เปรตที่พระโมคคัลลานะเห็น​ ทำบาปกรรมอะไรไว้​ โดนค้อนหล่นใส่หัวมากมาย เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 18:31:20
เปรตที่พระโมคคัลลานะเห็น​ ทำบาปกรรมอะไรไว้​ โดนค้อนหล่นใส่หัวมากมาย

วันนี้แสงธรรมะ นำใจ นำเรื่องเล่าสมัยพุทธกาล เมื่อพระโมคคัลลานะ เห็นเปรต สัฏฐิกูฏเปรต เปรตที่โดนค้อนเหล็กเพลิงทุบหัวจนเละ เวียนไปมา ทรทุกข์มรมาณ เปรตตนนี้ ทำบุพกรรมอะไรไว้ถึงได้เป็นแบบนี้ จะเล่าให้ฟังค่ะ


<a href="https://www.youtube.com/v//viQXhJ-6tUM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//viQXhJ-6tUM</a>

https://youtu.be/viQXhJ-6tUM?si=Ti8fsEK0QjsIqSj6

มีอีกมากมาย สาธุ https://youtube.com/@sangtham?si=_d234OyqQbJgLMoY
130  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ / เมื่อยักษ์ลองดีพระสารีบุตร​ ผู้ที่มีขันติธรรมเป็นเลิศ​ อะไรจะเกิดขึ้น​ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 18:28:40
เมื่อยักษ์ลองดีพระสารีบุตร​ ผู้ที่มีขันติธรรมเป็นเลิศ​ อะไรจะเกิดขึ้น​

พระสารีบุตรเถระ พระอัครสาวกเบื่องขวาของพระพุทธเจ้า ผู้ที่มีขันติธรรมเป็นเลิศ จนมีผู้ที่อยากจะลองดีลองวิชา ทั้งคนทั้งมารทั้งยักษ์, แล้วพระสารีบุตร จะสามารถใช้ขันติธรรมในการปราบพวกยักษ์ดีได้อย่างไร ไปรับฟังกันค่ะ

<a href="https://www.youtube.com/v//eLvQlKq_gg4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//eLvQlKq_gg4</a>

https://youtu.be/eLvQlKq_gg4?si=uutJmzlOK0cKpcUu

มีอีกมากมาย สาธุ https://youtube.com/@sangtham?si=_d234OyqQbJgLMoY
131  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ชัมบาลา: พุทธธรรมโลกวิสัย (โอม มณีปัทเมหุม เขียน ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 17:47:20
ชัมบาลา: พุทธธรรมโลกวิสัย

โอม มณีปัทเมหุม เขียน



ในสังคมสมัยใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยทุนนิยม วัตถุนิยม และความรู้เชิงเหตุผล พลังศาสนธรรมมักถูกตั้งคำถามว่ายังเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่? อดีตสอนเราว่า ศาสนาไม่ได้ช่วยให้คนเป็นคนดีและไม่จำเป็นต้องช่วยปลดปล่อยมนุษย์เสมอไป เพราะบางทีศาสนาก็มอมเมา กดขี่ ทำให้คนโง่เขลาดักดาน ศาสนาเป็นชนวนก่อสงครามและความรุนแรงต่อมนุษย์ด้วยกันเองในหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะเมื่อศาสนาพัฒนาไปสู่ “ความเชื่อหนึ่งเดียวสูงสุด” ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อใดที่สถานะความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันศาสนาถูกผูกเข้ากับสถาบันทางการเมือง ก็ยิ่งทำให้ศาสนากลายเป็นอาวุธพลานุภาพสูงของชนชั้นมีอำนาจ

อีกด้าน การพยายามทำให้ศาสนาย้อนกลับไปหาความดั้งเดิมเพียวบริสุทธิ์ ก็ดูน่ากลัวไม่แพ้กัน เมื่อเข้ากับสังคมสมัยใหม่ไม่ได้ การพยายามแยกตัวออก เพื่อคงไว้ซึ่งสังคมอุดมคติแบบศาสนา อย่างน้อยก็ทำให้ศาสนามีที่ทางของตัวเอง ตามโลกไม่ทัน ก็ช่างโลกมันปะไร …มันจะไม่มีปัญหาอะไรเลย หากรัฐไม่ยกศาสนานั้นๆ ให้เป็นศาสนาของรัฐที่มีอำนาจและบทบาทมากกว่าศาสนาอื่น กระทั่งอุดมคติอนุรักษ์นิยมแบบถอยหนีจากโลกกลายเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองหลักที่ถูกสนับสนุนด้วยความเชื่อทางศาสนา กระทั่งประชาชนถูกหลอกว่า โลกสมัยใหม่เป็นภัย และไม่ใช่ความจริง…

แล้วมันจะมีไหม ศาสนาที่คุยกับโลกสมัยใหม่รู้เรื่อง? ศาสนาที่มีเหตุมีผลและโลดแล่นบนการแข่งขันเสรีของโลกทุนนิยมได้? ความเป็นไปได้เกิดขึ้นจากการลงมาคลุกคลีและสัมพันธ์กับบริบทใหม่ อันเป็นจุดเริ่มต้นของ “การกำเนิดเกิดใหม่” ที่พร้อมจะถอดความเป็นศาสนาแบบเดิมๆ อันเทอะทะทิ้ง

ทิเบตน่าสนใจตรงนี้ สถานการณ์ทำให้พุทธศาสนาทิเบตจำต้องเคลื่อนย้ายจากโลกก่อนสมัยใหม่สู่โลกสมัยใหม่อย่างไม่ทันตั้งตัว ด้วยความที่คนทิเบตต้องหนีตาย ไม่มีบ้านให้กลับ พวกเขาจึงไม่มีทางเลือกที่จะถอยหนีจากโลกสมัยใหม่มากนัก

ตรุงปะ รินโปเช เคยกล่าวไว้ว่า “เราต้องขอบคุณกองทัพจีน ถ้าทิเบตไม่โดนจีนบุก พุทธศาสนาก็จะยิ่ง corrupt เละเทะ ใน bubble ที่ลอยตัวอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงของโลกนั่นแหละ”

“โลกวิสัย” คือดินแดนแห่งใหม่ที่ทิเบตเดินทางเข้าไปพึ่งพิง การเคร่งศาสนาไม่ใช่เรื่องคูลในดินแดนแห่งนี้ เผลอๆ พล่ามเรื่องศาสนามากไปอาจกลายเป็นเรื่องน่ารังเกียจด้วยซ้ำ ชีวิตโลกย์ๆ สำคัญกว่าชีวิตทางธรรม (จึงเรียกว่าโลกวิสัย) ฆราวาสสำคัญกว่านักบวช (จึงเรียกว่า ฆราวาสวิสัย)  มันคือดินแดนที่ศาสนาถูกกำหนดให้ปรับตัว ลดทอนสถานะอำนาจของตนลง เพื่อมาสัมพันธ์กับโลกอย่างเท่าเทียม




ประวัติศาสตร์และที่มาของ “ชัมบาลา”  

“ชัมบาลา” คือดินแดนในตำนาน เรื่องเล่าขานถึงสังคมในอุดมคติ ที่ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข จะว่าไปตำนานแบบนี้เราก็เคยได้ยินกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น “โลกพระศรีอาริย์” “สุขาวดี” หรือกระทั่ง “นิพพาน” เอง ที่นอกจากสะท้อนถึงเป้าหมายทางศาสนา ยังมีภาพอุดมคติเป็นดินแดนที่ผู้ศรัทธาใฝ่ฝันจะไปถึง

ตำนานชัมบาลาสามารถย้อนกลับไปยังสมัยพุทธกาล ว่ากันว่าคำสอนนี้ถูกถ่ายทอดโดย ศายมุนีพุทธะ ต่อกษัตริย์อินเดียองค์หนึ่งชื่อ “ดาวา ซังโป” กษัตริย์องค์นี้ได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธะ จึงถามท่านว่ามีคำสอนใดที่จะนำเขาไปสู่การรู้แจ้งโดยสมบูรณ์ โดยที่เขายังสามารถใช้ชีวิตเป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง อย่างที่เป็นอยู่นี้ได้หรือไม่?

พระพุทธะพยักหน้า แต่ก่อนที่เขาจะถ่ายทอดคำสอนนั้นต่อดาวา ซังโป ภิกษุทุกรูปถูกเชิญให้ออกจากห้อง และคำสอนที่มีชื่อว่า “กาลจักรตันตระ” ก็ได้ถูกถ่ายทอดตัวต่อตัว ระหว่างพระพุทธเจ้ากับกษัตริย์ดาวา ซังโป นั่นเอง

คำสอนชัมบาลามีที่มาจากคำสอนกาลจักรตันตระที่กษัตริย์ดาวา ซังโปได้รับ ตำนานกล่าวต่อว่า ดาวา ซังโป นำคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติจนรู้แจ้ง และอาณาจักรของเขาพบแต่สันติสุข ผู้คนเคารพกันและกันบนพื้นฐานของความเมตตากรุณาและการเคารพซึ่งกันและกัน สังคมดังกล่าวถูกแปรเปลี่ยนไปสู่อีกมิติหนึ่งของความจริงแท้ และในตำนานบอกว่าชัมบาลายังคงดำรงอยู่ที่ไหนสักแห่งในเทือกเขาหิมาลัย
 

มิติทางสังคมของชัมบาลา

ความน่าสนใจของตำนานของชัมบาลา ไม่ได้อยู่ที่การมีกษัตริย์เป็นตัวเอกของเรื่อง (ซึ่งในแง่นึงภาพและตำนานธรรมราชาลักษณะนี้ ก็มีให้ได้ฟังบ่อยๆ อยู่แล้ว) แต่อยู่ที่คำถามพื้นฐานที่ว่า “จะเป็นไปได้ไหมที่ฉันจะปฏิบัติพุทธธรรมในชีวิตโลกย์ๆ แบบที่เป็น?” แทนที่จะถูกเรียกร้องให้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตไปสู่ความเป็นนักบวชและปฏิเสธความจริงแบบโลกย์ๆ ว่าไม่ใช่ความจริงแท้ เราจะสามารถเข้าสู่สัจธรรมในการใช้ชีวิตทุกๆ แบบในแบบที่เป็นได้หรือไม่?  เราจะสามารถปฏิบัติคำสอนสูงสุดโดยไม่ต้องหลีกเร้นไปจากโลกที่เรามีชีวิตอยู่ได้หรือไม่? คำถามเหล่านี้น่าจะเป็นคำถามท้าทายต่อพุทธศาสนา และเป็นคำถามที่ดูจะสอดคล้องกับความเป็นสมัยใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ไม่ว่าเราจะมองตำนานชัมบาลาว่าเป็นแค่เรื่องขานหรือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม สิ่งสำคัญที่ตำนานนี้ต้องการจะสื่อก็คือ “ความเป็นได้” ที่การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกในระดับสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่าแนวคิดแบบ secular enlightenment นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ เชอเกียม ตรุงปะ ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นคำสอนที่มีที่มาทางประวัติศาสตร์ที่สามารถย้อนกลับไปถึงสมัยพุทธกาล

คำสอนชัมบาลาพูดถึงความใฝ่ฝันที่จะเห็นสังคมอุดมคติ ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจตามมาก็คือ เราจะตีความคำสอนพุทธศาสนาไปสู่อุดมคตินั้นอย่างไร??  เราต่างเคยได้ยินถึงการพยายามตีความพุทธศาสนาให้มาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ศีลธรรมพุทธ การศึกษาแนวพุทธ การออกกฏหมายห้ามดื่มเหล้า ค่านิยมเรื่องความดี คนดี ธรรมาธิปไตย เผด็จการโดยธรรม ฯลฯ

สังคมในอุดมคติแบบพุทธคือสังคมที่ทุกคนเข้าวัด ทำบุญ อย่างนั้นหรือไม่?
สังคมในอุดมคติแบบพุทธคือสังคมที่ทุกคนปฏิบัติธรรม ฝึกสติอยู่เสมออย่างนั้นหรือเปล่า?

หากการนำอุดมคติดังกล่าวไปปฏิบัติ หมายถึงการที่อำนาจรัฐออกกฏหมายบังคับให้คนปฏิบัติตาม การควบคุมบังคับทางศีลธรรมดังกล่าวจะยังได้ชื่อว่าเป็นกระบวนการที่นำไปสู่อุดมคติแบบพุทธหรือไม่???? อันนี้เป็นคำถามที่น่าสงสัยอยู่ไม่น้อย

ความดีพื้นฐาน  (ฺBASIC GOODNESS: The First Principle of Shambhala)

หลักการข้อแรกของสังคมในอุดมคติแบบชัมบาลา คือ ผู้คนไม่กลัวที่จะเป็นตัวเอง พื้นฐานคำสอนตั้งอยู่บนการตระหนักรูัในธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์และสรรพสิ่งที่เรียกว่า BASIC GOODNESS หรือ “ความดีพื้นฐาน”

เราสามารถเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ความเป็นมนุษย์ที่โดยปกติแล้วมีสติปัญญา มีความรักความกรุณา และมีความเป็นปกติสุขในจิตใจอยู่เป็นพื้นฐาน เราไม่จำเป็นต้องไปมองหาหรือออกตามหาที่ไหน เพราะธรรมชาติดังกล่าวมีอยู่ในตัวคนทุกคนอยู่แล้ว อีกทั้งไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายหรือขโมยธรรมชาติพื้นฐานอันนี้จากเราไปได้

โอเค… ชัมบาลาไม่ใช่สังคม “แนวพุทธ” แบบที่เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ (อย่างหมู่บ้านศีล ๕ )  ณ ตรงนี้ จุดเริ่มต้นคือมุมมองที่ว่า มนุษย์นั้นดีโดยพื้นฐาน ดังนั้นเราจึงสามารถให้อิสระทุกคนที่จะเป็นตัวเอง มิติทางสังคมของชัมบาลาไม่ใช่การสร้างความรู้สึกผิดหรือความกลัว แต่คือการสร้างพื้นที่ของการเคารพ “สิ่งต่างๆ อย่างที่เป็น” โดยมองเห็นถึงคุณค่าของการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นในแบบของมัน

แทนที่จะมองว่าความดีคืออุดมคติบางอย่าง และคนดีสามารถอ้างความดีเพื่อใช้ในการควบคุมคนเพื่อบรรลุถึงอุดมคติของตนได้ ชัมบาลารื้อถอนมายาคติของสังคมที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวดังกล่าว และตระหนักว่าคนทุกคนนั้นมีธรรมชาติพื้นฐานที่ควรค่าแก่การเคารพ



Empowerment : การตระหนักถึงพลังอำนาจภายใน

ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีอยู่แล้วโดยพื้นฐาน คำสอนศาสนาเพียงเข้ามาชี้ให้ตระหนักและเชื่อมั่นในศักยภาพนั้น ศาสนาไม่ได้มีหน้าที่สั่งสอนให้มนุษย์มองเห็นความชั่วร้ายเป็นธรรมชาติพื้นฐานแล้วให้มนุษย์มีศาสนาเพื่อที่จะถูกช่วยให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายนั้น โอ้.. หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของคุณค่าศาสนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ก็เป็นได้

ง่ายมาก ที่เราจะตกสู่กับดักของ Guilt หรือความรู้สึกผิดที่ศาสนามอบให้ เรารู้สึกว่าการเกิดมาเป็นมนุษย์ “เป็นบาป” การมีอารมณ์ทางเพศ “เป็นบาป” การไม่เชื่อฟังพ่อแม่ “เป็นบาป” ฯลฯ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงสถานการณ์ข้อผิดพลาดในชีวิตอื่นๆ ที่ไม่อาจให้อภัยตัวเองได้จาก “บาปกรรม” ที่ตนเคยกระทำมาในอดีต

สังคมที่มีศาสนาเป็นความเชื่อหลักมาเป็นเวลายาวนาน ได้ใช้อำนาจศาสนาลักษณะนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการปกครอง มนุษย์เกิดมาไม่สมบูรณ์และมีบาปติดตัว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีศาสนา คนไม่มีศาสนาเป็นคนไม่ดี การมีศาสนาช่วยขัดเกลาให้มนุษย์เป็นคนดีและปกครองได้ คำว่า “อิสรภาพ” จึงเป็นคำที่อันตราย เพราะการให้อิสรภาพคือการให้อิสระแก่กิเลสตัณหา และศาสนาต้องทำหน้าที่ควบคุมสัญชาตญาณอันชั่วร้ายของมนุษย์

เมื่อเป็นเสียแบบนี้ เราก็มอบ inner authority ให้นักบวชทางศาสนาไปจนหมด ศาสนาไม่เคยบอกว่าเราสามารถเป็นตัวเองหรือรักตัวเองอย่างที่เป็นได้



จริงอยู่ที่มนุษย์มีกิเลสตัณหา มีความต้องการ ความอยาก ซึ่งนำเราไปสู่ปัญหาและความทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด…

กระนั้นชัมบาลาก็ยืนยันว่า กิเลสตัณหาหรือความสับสนเหล่านั้นไม่อาจทำให้ธรรมชาติของความดีพื้นฐานในตัวคนเราแปรเปลี่ยนไปได้ มันเป็นเพียงแค่เมฆหมอกที่มาบดบังแสงอาทิตย์ชั่วคราว ทว่าผืนฟ้าหรือดวงอาทิตย์ก็จะคงอยู่ตรงนั้นเสมอไม่ไปไหน

การฝึกปฏิบัติทางจิตวิญญาณคือการฝึกฝนให้เรามีความเชื่อมั่นในธรรมชาติความดีพื้นฐานนั้นที่มีอยู่ในตัวเรา “อยู่แล้ว”…

แทนที่เราจะมองว่าการปฏิบัติทางจิตวิญญาณเป็นไปเพื่อ “แก้” หรือ “เปลี่ยน” นิสัยหรือสิ่งที่ไม่ดีในตัวเราเพื่อให้เรากลายเป็นคนที่ “ดีขึ้น” เรากลับให้พื้นที่สำหรับการยอมรับและทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่เป็น ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความโกรธ ความอยาก อารมณ์หรือสภาวะจิตต่างๆ โดยที่ผลลัพธ์ของการปฏิบัติยิ่งทำให้เราเชื่อมั่นว่าโดยพื้นฐานแล้วมีท้องฟ้าอันกว้างใหญ่และดวงอาทิตย์ส่องสว่างอยู่หลังเมฆหมอกเสมอ…

การปฏิบัติทางจิตวิญญาณเพื่อเข้าถึง BASIC GOODNESS ส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกัน เพราะความไม่ไว้วางใจในธรรมชาติของมนุษย์นี่เองที่ทำให้เราต้องใช้กำลัง ควบคุม ออกคำสั่ง หรือกดขี่มนุษย์ด้วยกัน เพื่อเป้าหมายของการปกครองสังคมให้มีสันติสุข พื้นฐานของการฝึกใจเพื่อการเข้าถึงความดีอันเป็นสากลของมนุษยชาติส่งผลต่อความเปิดกว้างและการเปิดใจที่เราสามารถมีต่อกันได้ และนั่นคือหัวใจของมนุษย์ที่มีศักยภาพที่จะรัก

ความอยากที่จะออกจากปัญหา แก้ไขตัวเอง แก้ไขคนอื่น หรือความหวังที่จะพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นคนดีขึ้น คือตัวอย่างของความคิดที่จำเป็นจะต้องถูกปล่อยวางในการฝึกปฏิบัติทางจิตวิญญาณ เราไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้ตัวเองเป็นคนพิเศษหรือทำให้มีประสบการณ์ที่พิเศษเกิดขึ้นในการภาวนา ทว่าด้วยความเต็มใจที่จะ “ปล่อย” และ “stay present” หรืออยู่ตรงนั้นกับตัวเอง อย่างปราศจากเป้าหมายหรือสิ่งเร้าใจ นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการมีประสบการณ์ของการเป็นตัวเองอย่างแท้จริง

การพัฒนาความอ่อนโยนกับตัวเองทำให้เรามองเห็นทั้งปัญหาและศักยภาพของเรา เราไม่จำเป็นต้องเพิกเฉยปัญหาหรืออวดโอ่ศักยภาพที่มีเกินจริง ความสามารถในการอ่อนโยนกับตัวเองและชื่นชมสิ่งที่เราเป็นได้เสมอ เป็นพื้นฐานที่จำเป็นมากๆ ต่อการช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น




ความจริงแท้ในตนเอง

การปฏิบัติทางจิตวิญญาณบนหลักความดีพื้นฐานไม่ได้เรียกร้องให้เรา “เป็นคนดี” หรือ “เป็นคนดีขึ้น” แต่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความจริงแท้ในตนเอง” (Authenticity)  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความกล้าอย่างมาก ในทุกลมหายใจเข้าออก เราพร้อมที่จะเปิดต่อทุกสภาวะจิต ทุกอารมณ์ ทุกความคิดที่ผ่านเข้ามา เรานั่งเฉยๆ และทำความรู้จักมันอย่างที่เป็น พร้อมที่จะปล่อยให้มันเป็นไป แล้วกลับมาอยู่กับร่างกายและลมหายใจอีกครั้ง ความกล้ายังสะท้อนอยู่ในความเต็มใจที่จะปล่อยวางจากการยึดมั่นทางความคิดทั้งหลาย ทั้งที่เรามีต่อโลกและต่อตัวเราเองอีกด้วย

ความกล้าที่จะยอมให้โลกเข้ามาสัมผัสใจเราอย่างไม่ต่อต้านขัดขืน คือหนทางแห่งนักรบชัมบาลา โดยปกติแล้ว ความกลัวได้สร้างโลกจากการยึดมั่นทางความคิด เราสร้างโลกในหัวจาก conceptual framework  ซึ่งซ้อนทับโลกแห่งความเป็นจริงอยู่อีกชั้นหนึ่ง เราไม่ต้องการสัมพันธ์กับโลกที่มีชีวิตเพราะมันคาดไม่ถึง เดาไม่ได้ แล้วกลไกดังกล่าวก็ย้อนกลับมาเราใช้ชีวิตอย่างน่าเบื่อหน่าย จำเจ ซังกะตาย จากการพยายามควบคุมบงการให้โลกเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น

ยิ่งทำเช่นนี้ เราก็ยิ่งค้นพบว่าเราต้องเผชิญหน้ากับความกลัวภายใน เป็นความกลัวต่อ unknown หรือความไม่รู้ ผลของการปฏิบัติภาวนาจะนำพาเราไปสู่โลกอีกแบบนึง เป็นโลกที่ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยความหวังและความกลัว หรือความเคยชิน สำหรับอัตตา unknown เป็นสิ่งที่น่าหวั่นกลัว แต่สำหรับนักรบชัมบาลา ความกล้าที่จะสัมพันธ์กับ unknown นำไปสู่โลกแห่งการตื่นรู้และอิสรภาพ  

หนทางอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนักรบ

วิสัยทัศน์แห่งชัมบาลาสะท้อนอยู่ในวิถีชีวิตของผู้ฝึกตนที่เชื่อมั่นในความดีพื้นฐานของมนุษย์ พวกเขาไม่กลัวที่จะเป็นตัวเองและมีความจริงแท้ต่อทุกประสบการณ์อย่างเปลือยเปล่า เราเรียกผู้คนที่มีความจริงแท้ในตัวเองเช่นนี้ว่า “นักรบ” ไม่ใช่นักรบที่ใช้ความรุนแรงหรือเอาอาวุธไปสู้รบกับใคร แต่มีความอ่อนโยนและกล้าหาญในการเผชิญตัวเองอย่างถึงที่สุด และด้วยความจริงแท้นี่เองที่ทำให้นักรบชัมบาลามีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาอยู่

การสัมพันธ์กับสถานการณ์ชีวิตบนพื้นฐานของการเปิดใจต่อ unknown ทำให้นักรบชัมบาลาค้นพบเวทมนตร์ “MAGIC” ซึ่งเป็นธรรมชาติอีกประการหนึ่งของสังคมแห่งการตื่นรู้ เมื่อเปิดใจ เราก็ค้นพบความเป็นไปได้ในทุกสถานการณ์ที่เปิดกว้างไปพร้อมๆ กัน ราวกับมีเวทมนตร์หรือความมหัศจรรย์เกินกว่าที่จะคาดคิดได้ล่วงหน้า

การปฏิบัติทางจิตวิญญาณไม่ได้เป็นการกดข่มหรือควบคุม sense perception แต่กลับช่วยทำให้การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสมีความละเอียดอ่อนและปราศจากเครื่องกั้นขวางทางความคิดยิ่งขึ้น โลกภายนอกผ่านการเปิดตาเปิดใจจะยิ่งเป็นสิ่งที่เข้ามา “ช่วย” ปลุกให้เราตื่น ดังนั้นการภาวนา แม้จะไม่ใช่อะไรที่เร้าใจ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ตายซากน่าเบื่อ เพราะเราเปิดประสาทรับรู้ต่อโลกตามที่เป็นจริงให้เข้ามาปลุกเราอยู่ตลอดเวลา



DECONSTRUCT เป้าหมายการตรัสรู้

วิถีชัมบาลารื้อสร้างเป้าหมายการตรัสรู้ ที่อาจถูกมองว่าเป็นการปล่อยวางจากโลกและถอยห่างไม่สัมพันธ์กับชีวิตทางโลกย์ๆ โดยสิ้นเชิง ด้วยการเชื้อเชิญให้เรา “ใส่ใจ” ต่อรายละเอียดของการดำเนินชีวิตเราในแต่ละขณะยิ่งขึ้น ไม่มีสิ่งใดจำเป็นต้องถูกปฏิเสธหรือผลักออกไป เพราะหากสามารถสัมพันธ์กับโลกปรากฏการณ์ทั้งหลายด้วยใจที่เปิดกว้าง โลกก็จะมีชีวิตราวกับเวทมนตร์ เป็นโลกอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยปลุกเราให้ตื่นอย่างเหมาะเจาะ

ตัวอย่างเช่น หากเราเดินเข้าไปในห้องห้องหนึ่งที่มีการจัดวางสิ่งต่างๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ สิ่งแวดล้อมในห้องนั้นก็จะมีผลกระทบต่อจิตใจเรา อาจทำให้เราใจเย็นลงหรือรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น หรือการที่เรารักษาความสะอาดร่างกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่มีกลิ่นหอมและสะอาด ก็จะมีผลต่อสภาวะจิตของเราในวันนั้นด้วยเช่นกัน เราแต่ละคนสามารถแสดงออกซึ่งการดำเนินชีวิตอย่างสง่างามในแบบของเราเอง เป็นการแสดงออกซึ่งความใส่ใจต่อโลก ผู้คน และสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่

แม้คำสอนชัมบาลาจะพูดถึงเรื่องการฝึกตน แต่ท้ายที่สุดมันก็ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวกับเราทั้งหมดเสียทีเดียว ด้วยความเชื่อมั่นในความดีพื้นฐานและความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้คนและต่อโลก เราตระหนักได้ถึงความเร่งด่วนของการมีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่โลกใบนี้ เราสามารถทำอะไรบางอย่างในแบบของเรา ช่วยเหลืออะไรบางอย่างแก่ผู้คนและแก่โลกใบนี้  การช่วยเหลือของเราไม่ได้ถูกขับเคลื่อนจากความคิดที่ว่า เราต้องเป็นอะไรบางอย่างเสียก่อนจึงจะไปช่วยคนอื่นได้ เช่น ถ้าเรารวย… ถ้าเรามีเงิน… ถ้าเราจบด็อกเตอร์ ถ้าเรามีความสามารถกว่านี้… ถ้าเราเข้มแข็งกว่านี้… เราไม่จำเป็นต้องรอให้ตัวเองดีกว่านี้ จึงจะมีประโยชน์ต่อโลกใบนี้ได้ ด้วยการตระหนักในความดีพื้นฐาน เรามีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นอยู่ในตัวเองอยู่แล้วตอนนี้ การเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและต่อสังคมที่เราอยู่ คือ การเริ่มต้นจากสิ่งที่เราเป็น


จาก https://www.vajrasiddha.com/article-shambhala/

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16181.0.html
132  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Death Cleaning ทิ้งก่อนตาย ( พื้นที่ชีวิต ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 13:00:20
Death Cleaning ทิ้งก่อนตาย | พื้นที่ชีวิต

Death Cleaning หรือการเก็บกวาดทำความสะอาดก่อนตาย เป็นแนวคิดของชาวสวีเดนที่ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือ และได้รับความนิยมไปทั่วโลก หลักการของการเก็บกวาดแบบ Death Cleaning มีอะไรบ้าง ? เราควรเริ่มเก็บกวาดก่อนตายเมื่อไหร่ ? การเก็บกวาดก่อนตายทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร ? แนวคิดนี้ต่างจากวิถีของชาว Minimalist หรือการเก็บกวาดแบบมาริเอะ คอนโดะอย่างไรบ้าง ?

ติดตามนิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ไปพูดคุยกับนักเขียนหนังสือที่ศึกษาแนวคิดดังกล่าวจากต้นธารประเทศสวีเดน และสำรวจห้างสรรพสินค้ามือสองของสวีเดนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเก็บกวาดความสูญเสียทิ้งสิ่งใดไว้บ้าง ?

ร่วมสำรวจคุณค่าร่วมสมัย ในคำสอนทางจิตวิญญาณ ติดตามชมได้ในรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด Degrowth สู่การเติบโตแบบใหม่ ตอน Death Cleaning ทิ้งก่อนตาย


<a href="https://www.youtube.com/v//LWoDTp4IPvM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//LWoDTp4IPvM</a>

https://youtu.be/LWoDTp4IPvM?si=RQj7_zurOoZqKRGx
133  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Sisu ปรัชญาชีวิตฉบับฟินแลนด์ (พื้นที่ชีวิต ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 12:59:29
Sisu ปรัชญาชีวิตฉบับฟินแลนด์ | พื้นที่ชีวิต

“ฟินแลนด์” ถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก โดยครองแชมป์ติดต่อกันยาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2560 กล่าวกันว่า เบื้องหลังความสำเร็จนี้มาจากจิตวิญญาณของการไม่ยอมแพ้ แม้ต้องเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า พวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ซิสุ” หรือ Sisu

แล้วซิสุคืออะไร ? ติดตามนิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ไปร่วมค้นหาความหมายของคำว่า ซิสุ ยังประเทศฟินแลนด์ ค้นไปยังรากปรัชญาคิดผ่านประวัติศาสตร์ยาวนานนับร้อยปี เพื่อให้เจอจิตวิญญาณที่ยืดหยุ่น ยอมรับแต่ไม่ยอมแพ้ อันเป็นรากมั่นคงของดินแดนที่มีความสุขและความเจริญอย่างมากแห่งหนึ่งของโลก


ร่วมสำรวจคุณค่าร่วมสมัย ในคำสอนทางจิตวิญญาณ ติดตามชมได้ในรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด Degrowth สู่การเติบโตแบบใหม่ ตอน Sisu ปรัชญาชีวิตฉบับฟินแลนด์


<a href="https://www.youtube.com/v//zuHfmGWZktY" target="_blank">https://www.youtube.com/v//zuHfmGWZktY</a>

https://youtu.be/zuHfmGWZktY?si=LzEnYnhP3o-yCUn2
134  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ฮุกกะ เคล็ดลับความสุขฉบับเดนมาร์ก (พื้นที่ชีวิต) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 12:58:28
ฮุกกะ เคล็ดลับความสุขฉบับเดนมาร์ก | พื้นที่ชีวิต

คำว่า “ฮุกกะ” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เมื่อพจนานุกรมออกซฟอร์ด ยกให้เป็น 1 ใน 10 คำศัพท์แห่งปี 2559 กล่าวกันว่า เบื้องหลังชีวิตที่มีความสุขของชาวเดนมาร์ก มีพื้นฐานมาจากการมี "ฮุกกะ" ในวิถีชีวิต แล้วฮุกกะคืออะไร ? เราจะสร้างฮุกกะให้กับตัวเองและสังคมได้อย่างไร ? การมีฮุกกะ จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากน้อยแค่ไหน


ติดตาม “นิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์” ไปสำรวจความสุขของผู้คนยังประเทศเดนมาร์ก ประเทศที่มีดัชนีความสุขอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก เคล็ดลับของสุขใจจากคนในดินแดนแห่งนี้มีอะไรซ่อนอยู่

ร่วมสำรวจคุณค่าร่วมสมัย ในคำสอนทางจิตวิญญาณ ติดตามชมได้ในรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด Degrowth สู่การเติบโตแบบใหม่ ตอน ฮุกกะ เคล็ดลับความสุขฉบับเดนมาร์ก


<a href="https://www.youtube.com/v//3JDZ343vUNQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v//3JDZ343vUNQ</a>

https://youtu.be/3JDZ343vUNQ?si=ggq24wWavak_nDiw
135  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / “นิกเซน” ศิลปะแห่งการไม่ทำอะไรแบบชาวดัตช์ (พื้นที่ชีวิต ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 12:57:09
“นิกเซน” ศิลปะแห่งการไม่ทำอะไรแบบชาวดัตช์ | พื้นที่ชีวิต


“นิกเซน” เป็นแนวคิดหนึ่งที่บอกว่า การไม่ทำอะไรเลย หรือการอยู่เฉย ๆ เป็นบางเวลา จะทำให้ชีวิตเรามีความสุข เราจะฝึกนิกเซนได้อย่างไร ? แล้วเส้นแบ่งระหว่างนิกเซนกับความขี้เกียจอยู่ตรงไหน ? นิกเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากน้อยแค่ไหนและมีประโยชน์ต่อการทำงานของสมองจริงหรือ ?

ติดตาม “นิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์” ไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ มองเห็นแนวคิดนิกเซนจากชาวดัตซ์ต้นกำเนิด อยู่เฉย ๆ อย่างไร ให้มีความสุข อยู่เฉย ๆ อย่างไร ไม่ใช่ขี้เกียจ กับประเทศที่สมดุลชีวิตดีที่สุดประเทศนึงของโลก


ร่วมสำรวจคุณค่าร่วมสมัย ในคำสอนทางจิตวิญญาณ ติดตามชมได้ในรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด Degrowth สู่การเติบโตแบบใหม่ ตอน นิกเซน ศิลปะแห่งการไม่ทำอะไรแบบชาวดัตช์


<a href="https://www.youtube.com/v//9PXArzxSMEE" target="_blank">https://www.youtube.com/v//9PXArzxSMEE</a>

https://youtu.be/9PXArzxSMEE?si=_uA3R4STsArBRo60
136  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / สัจธรรมเหนือความคิด หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ( พื้นที่ชีวิต ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 12:55:10
สัจธรรมเหนือความคิด หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ | พื้นที่ชีวิต

สืบค้นที่มาของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ตามรอยชีวิต และวิเคราะห์แก่นคำสอนของ “หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ” ผู้บุกเบิกวิถีการเจริญสติที่ตัดตรงสู่ความพ้นทุกข์ ผ่านปากคำของศิษย์ต่างยุคสมัยกว่า 20 ชีวิต ด้วยเวลาถ่ายทำถึง 3 ปี ใน 3 ประเทศ (ไทย, ลาว และพม่า) พร้อมข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน

ร่วมสำรวจคุณค่าร่วมสมัย ในคำสอนทางจิตวิญญาณ ติดตามชมได้ในรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด Degrowth สู่การเติบโตแบบใหม่ ตอน สัจธรรมเหนือความคิด หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ


<a href="https://www.youtube.com/v//9nr9VIEJW_8" target="_blank">https://www.youtube.com/v//9nr9VIEJW_8</a>

https://youtu.be/9nr9VIEJW_8?si=UejhjuqAjMl8Gn3A

<a href="https://www.youtube.com/v//im7PNSFb7OM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//im7PNSFb7OM</a>

https://youtu.be/im7PNSFb7OM?si=MoXFFMh5Yv-x3AmV

137  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ / ชาดก พระเจ้า 30 ชาติ (บารมี 30 ทัศ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 12:48:09
ชาดก พระเจ้า 30 ชาติ (บารมี 30 ทัศ)

<a href="https://www.youtube.com/v//3lJe740ulf8" target="_blank">https://www.youtube.com/v//3lJe740ulf8</a>

https://youtu.be/3lJe740ulf8?si=gAnl6n8tY6gBK4Pk
138  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / How to ทิ้ง อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ( ซะซะกิ ฟุมิโอะ ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 11:22:29



อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

ผู้เขียนเคยมีชีวิตวุ่นวาย วันๆ รู้สึกว่ามีเวลาไม่เพียงพอ แถมที่พักก็สกปรกรกรุงรัง จนได้รู้จักกับแนวคิด Minimalist ซึ่งเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และความเชื่อ ทำให้เขามีเวลามากขึ้น ได้พักผ่อนมากขึ้น มีของใช้เท่าที่จำเป็นโดยไม่รู้สึกขาดอะไร เป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง ดูแลเวลาในชีวิตประจำวัน และดูแลที่พักอาศัยของคนในเมืองใหญ่ด้วยการเปลี่ยนแนวความคิดไปสู่ความ Minimal หรือการมีสิ่งของเท่าที่จำเป็น คล้ายหนังสือ "ชีวิตดีขึ้นทุกด้านด้วยการจัดบ้านเพียงครั้งเดียว" แต่เป็นแนวคิดของการใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ทั้งตารางเวลาในชีวิตแต่ละวัน การจัดการกับงาน จัดบ้าน สังสรรค์ ล้วนใช้หลักการ minimalist ได้ทั้งนั้น 3.ผู้เขียนมีการยกตัวอย่างเรื่องของตนเองเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น และเรื่องที่ยกตัวอย่างนั้นเป็นชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเมืองอันวุ่นวายทั่วโลก


สารบัญ : อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

มินิมัลลิสม์มาจากไหน

ทุกคนเป็นมินิมัลลิสต์กันมาตั้งแต่แรก

1 วันก่อนที่ผมจะเป็นมินิมัลลิสต์

1 วันในการเป็นมินิมัลลิสต์ของผม

ของที่ถูกทิ้ง

ทำไมผมถึงมาเป็นมินิมัลลิสต์

ชาวญี่ปุ่นคนไหนก็เป็นมินิมัลลิสต์

เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่การเป็นมินิมัลลิสต์


เนื้อหาปกหลัง : อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

ความสุขจากการมีข้าวของน้อยชิ้นผลักดันชีวิตของเราให้ดีขึ้น และมีความสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มีเวลามากขึ้น สนุกกับชีวิต สัมผัสตัวตนของตัวเอง ไม่ต้องคอยเปรียบเทียบกับใคร ไม่ต้องกลัวสายตาคนรอบข้าง รู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีสมาธิมากขึ้น รู้จักผลักดันตัวเอง ประหยัด เป็นมิตรกับธรรมชาติ สุขภาพแข็งแรง สบายใจ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป น้ำหนักลดลง ง่ายๆ แค่ทิ้งข้าวของที่ไม่จำเป็นไปซะ

รีวิวโดยผู้เขียน : อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

หลังจากที่ผมลดจำนวนข้าวของให้น้อยลง ทุกๆ วันก็เริ่มมีความสุขมากขึ้น และก็เริ่มเข้าใจทีละนิดว่า สิ่งที่เรียกว่าความสุขนั้นคืออะไร สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนน่าสมเพชเหมือนกับผม หรือเป็นคนที่เอาแต่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นอยู่ตลอด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คนที่คิดว่าตัวเองไม่มีความสุขเลย ผมแนะนำให้ลองนำตัวเองออกห่างจากข้าวของที่มีอยู่สักครั้งหนึ่ง ในโลกของเราอาจจะมีคนที่ไม่ได้รู้สึกหลงใหลในสิ่งของตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หรืออาจจะมีคนที่มีพรสวรรค์ในการมองหาสิ่งล้ำค่าในบรรดาข้าวของพวกนั้นอยู่ แต่ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่คนทั่วไปจะสามารถเข้าถึงความสุขได้ ใครๆ ก็หวังจะมีความสุข แต่ทว่าข้าวของที่เรามีอยู่ให้ความสุขแก่พวกเราเพียงแค่หยิบมือเท่านั้น จริงๆ แล้วพวกเราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความสุข การลดจำนวนข้าวของที่มากจนเกินจำเป็นคือการได้ทบทวนถึงความสุขอีกครั้ง เรื่องนี้ก็อาจจะฟังดูเกินจริงไปหน่อยแต่ผมคิดเช่นนั้นจริงๆ

epigraph



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

ใครๆ ต่างก็เฝ้าฝันถึง "ความสุข" ในชีวิตกันทั้งนั้น หลายคนเลือกทำงานหนักเพื่อเก็บเงินซื้อข้าวของราคาแพงเพราะคิดว่าจะมีความสุขแต่เมื่อถึงวันที่ได้ของชิ้นนั้นมาครอบครองแล้ว ความสุขนั้นกลับไม่มากเท่าที่คิดฝันไว้ เพราะอะไรกันนะ บางคนเติมเต็มชีวิตประจำวันที่แสนเหนื่อยหน่ายด้วยการหาข้าวของมาปรนเปรอตัวเอง แต่จนแล้วจนรอดก็ต้องเสียทั้งเวลาและเงินทองไปกับการดูแลรักษาข้าวของเหล่านั้นมากกว่าที่คาด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ บางคนพยายามยกระดับตัวเองด้วยข้าวของราคาแพง เพราะคิดว่าเมื่อมีสิ่งเหล่านั้นแล้วจะทำให้ทุกคนยอมรับ แต่ตัวเองกลับไม่มีความสุขจริงๆ สักทีต้องแก้ไขอย่างไรกันดี เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างความรู้สึกของผู้คนที่ตามหาความสุขโดยที่ไม่รู้เลยว่า "ความสุข" นั้นหาได้ง่าย แค่เพียง "ทิ้งข้าวของที่ไม่สำคัญ" ไปซะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แค่ลองลงมือทิ้งข้าวของรอบๆ ตัวดูสิ แล้วจะรู้ว่าคุณทำใจได้ยากและใช้เวลาอาลัยอาวรณ์มันมากแค่ไหน หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประสบการณ์ตรงของหนุ่ม "มินิมัลลิสต์" ผู้ซึ่งเคยวิ่งไล่ความสุขไม่ต่างจากพวกเรา เขาเคยวุ่นวายเพราะจำนวนข้าวของรอบตัว เฝ้าฝันถึงข้าวของจนหาความสงบสุขในชีวิตไม่ได้ แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเพียงแค่เขาทิ้งข้าวของที่ไม่สำคัญเพื่อให้ตัวเองได้พบกับสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับตัวเองจริงๆ นอกจากเรื่องเล่าที่ไม่ธรรมดาและคล้ายคลึงกับชีวิตประจำวันของพวกเราที่เต็มไปด้วยข้าวของมากมายจนน่าตกใจแล้ว เขายังบอกเล่าเคล็ดลับต่างๆ ที่ช่วยให้เรากลายเป็น "มินิมัลลิสต์" ซึ่งหมายถึง บุคคลผู้เรียบง่าย มีข้าวของเท่าที่จำเป็น และมีความสุขในชีวิต แค่ฟังก็รู้สึกสบายและได้กลิ่นอายของความสุขแล้วใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นลองค่อยๆ อ่านและทำตามแนวทางของเขา เริ่มต้นจากอะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

จาก https://www.naiin.com/product/detail/211204


<a href="https://www.youtube.com/v//Xq44s5fD1A8" target="_blank">https://www.youtube.com/v//Xq44s5fD1A8</a>

https://youtu.be/Xq44s5fD1A8?si=KQ0a0sHvb4_1_k2t


<a href="https://www.youtube.com/v//KDyLGIrDP4I" target="_blank">https://www.youtube.com/v//KDyLGIrDP4I</a>

https://youtu.be/KDyLGIrDP4I?si=VS82G0r0ZTf0M1u3

<a href="https://www.youtube.com/v//jG8GYFDaVrA" target="_blank">https://www.youtube.com/v//jG8GYFDaVrA</a>

https://youtu.be/jG8GYFDaVrA?si=-Xvh2QsvmPrUaNrJ

มีอีกจนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLV8Tyvuuh60H5mdUYwmj2UOJBadTYNe-m&si=aO8GMrhtrVCFwQfT

สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php?topic=16178.0
139  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / เราทุกคนล้วนมีร้านเวทมนตร์อยู่ในใจ​(Into The Magic Shop)​ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 07:58:24


เราทุกคนล้วนมีร้านเวทมนตร์อยู่ในใจ​(Into The Magic Shop)​

เนื้อหาเป็น​ เป็นเรื่องเล่าประวัติของประสาทศัลยแพทย์​คนหนึ่งที่เกิดในครอบครัวยากจนและมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว​ แต่ประสบความสำเร็จจากกลของร้านขายของเวทมนตร์​

เล่มนี้คล้ายเล่ม The​Secret ที่บอกให้เชื่อแล้วเราจะได้ทุกอย่าง คล้ายกับกฎแรงดึงดูด แต่ละเอียดกว่าและเป็นเรื่องจริง ได้เรียนรู้ไปกับตัวละครในเรื่องที่นอกเหนือจากกฎนี้

ความคิดเห็นส่วนตัว​ ชอบเล่มนี้​ ดีมากเลย​ แค่บทนำก็ดีมาก เข้าไปอยู่ในลิสหนังสือที่ชอบแล้ว​ เป็นเล่มที่อ่านแล้วน้ำตาซึมตลอดเล่ม เขียนดี เล่มนี้บุคลากร​ทางกายแพทย์น่าอ่านมาก มันสะท้อนคิดเรื่องของตัวเราเอง จากคนที่มีประสบการณ์​มากกว่า แต่มาจากคนที่born to be หมอ นะ ไม่ใช่จากคนที่เรียนๆไปเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีเป็นแล้ว

อ่านจบ​
-อยากอ่านวิธี​ผูกมิตรและจูงใจคนเลย ของแดล คาร์เนกี้ เพราะจิม(ตัวละครในเล่ม)​ก็อ่านเหมือนกัน
-คิดว่า บางทีเราอาจจะเปลี่ยนศาสนาเพราะเล่มนี้ ศาสนา แห่งความเอื้ออารี ทำให้อยากอ่านเล่มของที่องค์ไทลามะเขียน คือเล่มข้ามพ้นศาสนา​ เป็นเล่มที่Ray Dalio แนะนำมีแปลไทยแล้ว​เตรียมอ่านต่อ และทำให้อยากอ่านเล่มแค่รู้วิธีให้คนรับได้เท่าไรคนให้ได้มากกว่า

-เล่มนี้ทำให้เรายิ่งชอบชีวิตตอนนี้ อาชีพตอนนี้มากขึ้นมากนะ​ รู้สึกว่าเราโชคดีในหลายๆอย่าง ถึงจะไม่เคยมีเป้าหมายอะไรตั้งแต่เด็ก แต่เหมือนมาอยู่ในที่ทางที่ถูกต้องแล้ว ทำไมเมื่อก่อนไม่คิดยังงี้ไม่รู้นะ

https://t.co/vJT45jf51t
ไปเจอลิ้งค์นี้​เขียนรีวิวโดยบังเอิญ เขียนดีมาก เป็นประสบการณ์​คนที่มีปัญหาเรื่องอารมณ์​จนไปพบจิตแพทย์​แล้วก็เชื่อมโยงกับเล่มนี้

NOTE: ข้อความที่ชอบ//สิ่งที่คิด
-สมองคือเครื่องจักรที่ยิ่งใหญ่ แต่หากปราศจากหัวใจ มันก็คือก้อนซับซ้อนที่พร้อมจะพาเราหลงทาง
-ผมจะเรียกมันว่าหน้ากากยอดมนุษย์และห้องสว่างเพื่อไม่ให้เขารู้สึกกลัวเกินไป//ประโยค​นี้นึกถึงpapoose board เรามักจะเรียกมันว่าผ้าห่มกับเด็กๆ หมอผ่าตัดสมองก็มีคำเรียกของเขาเหมือนกันนะ
-ผมยังจำได้ถึงครั้งแรกในห้องผ่าตัดในฐานะผู้ช่วยของศัลยแพทย์​ชื่อดังคนหนึ่ง ผู้ที่แม้มีความสามารถปราดเปรื่องแต่ก้าวร้าวและเจ้าอารมณ์​มากๆเวลาผ่าตัด//คุ้นๆนะ พูดถึงตอนนี้เรากลับนึกถึงตอนเรียนของภาควิชาหนึ่ง
-ทีมที่ดีทำให้เกิดจังหวะและความลื่นไหลอย่างยอดเยี่ยม//จริงมาก นึกถึงผู้ช่วยเลย นึกถึงตอนผ่าตัด แค่ผ่าเล็กๆน้อยๆเรายังหงุดหงิดเลยถ้าเป็นผู้ช่วยหัดใหม่ จนต้องบอกว่าให้เปลี่ยนคน สลับผู้ช่วยจากเตียงอื่น
-เธอจะทำอะไรก็ได้ที่ต้องการ.. แค่ฝึกฝน..เธอแค่ยังไม่รู้จักมัน // สะดุดกับคำพวกนี้
-ผมมักได้ยินผู้ป่วยหลายคนกล่าวถึงความเจ็บปวดที่รู้สึกโดยเฉพาะตอนกลางคืน ไม่ใช่ว่าความเจ็บปวดมีมากขึ้นตอนกลางคืน แต่เพราะตอนกลางคืนไม่มีสิ่งรบกวนใจ เมื่อจิตใจสงบลง ความเจ็บปวดที่มีอยู่ทั้งวันก็ดูชัดเจนขึ้น
-ตอนที่หัวใจของเราบาดเจ็บ มันจะเปิดออกและเราจะโตขึ้นจากการบาดเจ็บนั้น
-ในชีวิตทุกๆคน เราเลือกได้ว่าอะไรยอมรับได้ ตอนเป็นเด็ก เราไม่ได้มีทางเลือกมาก เราเกิดในครอบครัวและสถานการณ์​ที่เหนือความควบคุม แต่เมื่อเราโตขึ้น เราเลือกได้
-อย่าดูถูกตัวเองเกินไป //????????
-เพียงเพราะบางอย่างหักพังไม่ได้หมายความว่ามันพังไปทั้งหมด.. ทุกอย่างไม่ได้เลวร้ายเพียงเพราะบางอย่างเลวร้าย ผมไม่จำเป็นต้องร้ายไปด้วย
-การได้เห็นพ่อแม่มีความสุขทำให้ผมรู้ว่าตะกร้าเหล่านี้มีค่าเพียงใดกับอีกหลายคน..ไม่บ่อยนักที่จะได้อยู่ทั้งสองฝั่งของการให้หรือความเอื้อเฟื้อ.. ผมได้เรียนรู้ความสุขจากการให้และการรับ.. การรู้จักทั้งสองด้านนี้เองช่วยส่องทางชีวิตในวัยผู้ใหญ่ของผม //คือต้องมีทั้งสองด้านสินะ ให้และรับให้เป็น ไม่ใช่ให้อย่างเดียว คือเจอจากไหนมาก่อนหน้านี้แล้วนะที่สอนเกี่ยวกับอันนี้
-เส้นทางของพวกเรานั้นไม่ได้มีแต่การเดินทางภายใน แต่ยังมีการเดินทางภายนอกและการเชื่อมโยงกับคนอื่นๆด้วย
-อาการที่รู้สึกโดดเดี่ยว กังวล และซึมเศร้าแพร่หลายเพิ่มขึ้นในโลกโดยเฉพาะฝั่งตะวันตก เพราะจิตวิญญาณและการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้คนนั้นถดถอยไป
-เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการการติดต่อทางสังคม เราพัฒนามาเพื่อทำงานร่วมกันและติดต่อประสานกับคนอื่น และเมื่อสิ่งเหล่านี้ขาดหายไปก็ทำให้เราป่วย
-บ่อยครั้งที่เราตัดสินใครบางคนด้วยลักษณะท่าทาง การพูด หรือความประพฤติ และการตัดสินเหล่านั้นส่วนมากเป็นทางลบและผิดไปจากความจริง เราต้องมองผู้อื่นแล้วคิดว่า เขาก็เหมือนเรา เขาก็ต้องการสิ่งที่เราต้องการ คืออยากมีความสุข
-ในเวลาที่รู้สึกดีเรามักมีแนวโน้มที่จะพยายามเก็บรักษาและยึดติดกับความปิติยินดีเกินไป จนดึงเราไปจากชั่วขณะที่เราอยู่ปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับการวิ่งหนีความรู้สึกไม่ดี.. อารมณ์​ที่ขึ้นและลงนั้นล้วนแต่เกิดชั่วคราว
-การให้อภัย เป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งที่เราจะให้ผู้อื่นได้และเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราให้ตัวเองได้เช่นกัน
-ความจริงแล้วพวกเราทุกคนเคยทำผิดกับคนอื่นทั้งสิ้น เราต่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่เปราะบาง พร้อมจะผิดพลาด ที่หลายครั้งในชีวิตไม่สามารถไปถึงความสมบูรณ์​ที่เราหวังไว้ และหลงทำร้ายหรือทำให้คนอื่นต้องเจ็บ
-ความซาบซึ้งใจ คือการรู้สึกขอบคุณ​ชีวิตที่เป็นอยู่ แม้จะมีความเจ็บปวดและทุกข์.. บ่อยครั้ง.. เรามองดูกันและกันอย่างอิจฉาริษยา​การรู้สึกซาบซึ้งใจแค่ช่วงเวลาสั้นๆก็มีผลอย่างมากต่อเจตคติในใจ คุณจะรู้สึกทันทีว่าคุณโชคดีแค่ไหนแล้ว
-ความเอื้ออารี คือ ความห่วงใยผู้อื่น เป็นเหมือนภาคการแสดงออกของความเมตตา.. การแสดงความเอื้ออารีจะกระเพื่อมวงออกไปส่งผลให้เพื่อนและคนที่อยู่รอบตัวคุณ​มีความเอื้ออารีมากขึ้น เป็นเหมือนโรคติดต่อทางสังคมที่ทำให้สังคมดีขึ้น และในที่สุดความอารีนั้นก็จะกลับมาถึงเราในรูปของความรู้สึกดีข้างในใจและในรูปของสิ่งที่คนอื่นทำต่อเราด้้วยความเอื้ออารี//อันนี้คิดว่าจริงนะ
-ผมเริ่มปล่อยวางเรื่องราวที่นิยามความหมายชีวิตผม ผมได้สร้างตัวตนขึ้นมาจากความยากจน แต่ตราบใดที่ผมยังแบกตัวตนนั้นไว้ ไม่ว่าผมมีเงินทองมากมายเพียงใด ผมจะยังจมปลักอยู่ในความยากจน
-ผมเปิดหัวใจให้แม่และพ่อ และผมก็รู้สึกว่าผมให้อภัยพวกเขา ผมเปิดหัวใจของผมให้เด็กที่ผมเคยเป็น และพบความเมตตา ผมเปิดหัวใจของผมให้ความผิดพลาดทั้งหมดที่ผมเคยทำและให้หนทางโง่ๆที่ผมพยายามจะพิสูจน์​คุณค่าของผมในโลกใบนี้และได้พบกับความถ่อมตน.. เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว ผมก็รู้ว่าผมไม่ใช่คนเดียวในโลกที่รู้จักโดดเดี่ยว รู้สึกทิ้งขว้าง หรือแตกต่างจากคนอื่น ผมเปิดหัวใจและพบว่าหัวใจของผมมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงกับหัวใจดวงอื่นๆที่ได้พบ//แบบนี้นี่เองที่เค้าบอกว่าเชื่อมโยงกับผู้คนในหน้าก่อนหน้า
-การศึกษาหลายครั้งแสดงว่าเมื่อผู้ป่วยได้ฟังดนตรีก่อนผ่าตัด ผลคือผู้ป่วยกังวลน้อยลง ต้องการยาลดปวด และยาสลบลดลง ดนตรีส่งผลเช่นเดียสกับยาที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความเครียด และควาทดันโลหิต ให้ผลด้านความสงบทั้งกับผู้แ่วยและศัลยแพทย์​เอง // ไปค่ะเปิดเพลงไประหว่างทำ ก่อนนี้เคยเปิด ก็รู้สึกอารมณ์​ดีตอนทำนะ รู้สึกอยากทำงานมากขึ้น ตอนเบื่อๆ เช่น​ ตอนทำโอที
-แย่หน่อยที่ประสาทศัลยแพทย์​บางคนอธิบายอาการที่ร้ายแรงที่สุดอย่างทื่อๆตรงไปตรงมาด้วยข้อเท็จจริง บอกวิธีการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้เข้าใจเลยว่า แม้นี่จะเป็นงานปกติประจำวันของแพทย์อย่างเรา แต่การรักษานั้นมักจะเป็นเรื่ิองใหญ่มากในชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา.. เธอจึงกลับมาด้วยความหวาดกลัว ด้วยความรู้สึกเหมือนตนเองไม่ใช่คน แต่เป็นโรค ????????// เราคนนึงเหมืิอนจะไม่ค่อยได้มองในมุมนี้เลย หรือบางทีก็ลืมไป
-ผมรู้เสมอว่าการใช้เวลากับผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นแพทย์ สุดท้ายแล้วพวกเราอยู่กับคนจริงๆที่มีความกังวลและความกลัวจริงๆ ผู้ป่วยไม่ใช่เครื่องจักรที่ทำงานผิดปกติ และศัลยแพทย์​ไม่ใช่ช่างเครื่อง
-การที่คนไข้มั่นใจในความสามารถของคุณนั้นเป็นเรื่องวิเศษ แต่มันต่างไปถ้าเขาหรือเธอเป็นเพื่อนด้วย
-เป็นเรื่องอันตรายมากสำหรับศัลยแพทย์​ที่จะคิดถึงความเป็นมนุษย์​ของผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด งานนี้ต้องเป็นเรื่องทางเทคนิคล้วนๆ คุณจำเป็นต้องมองคนเหมือนว่าเขาเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง หากคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเพื่อนมนุษย์​คนนี้ คุณจะผ่าตัดต่อไม่ได้ //ฉุกคิดขึ้นมาว่า เวลาทำเคสคนใกล้ตัวชอบมีอะไร เพราะแบบนี้รึเปล่า หรือนี่เป็นคนเดียวนะ
-เราทุกคนมีพรสวรรค์​และความสามารถที่จะเชื่อมโยงถึงผู้อื่น ไม่ว่าจะผ่านดนตรี ศิลปะ บทกวี หรือเพียงฟังซึ่งกันและกัน มีวิธีการหลายล้านวิธีที่หัวใจจะพูดคุยกัน
-//เล่มนี้มีบอกที่มาของพิธีมอบเสื้อกาวน์นิดหน่อย แต่พึ่งรู้เลย มันเริ่มจากประเพณี​ท่องคำปฏิญาณว่าจะรักษามาตรฐาน​ทางจริยธรรมอย่างสูงสุด จากสำนวนละติน Primum non nocere แปลว่าเหนือสิ่งอื่นใด ห้ามทำให้เกิดอันตราย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการแพทย์
-//เล่มนี้ทำให้คิดได้ว่า อย่าดูถูกเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง เหมือนกับคนเขียนหนังสือเล่มนี้ ที่สุดท้ายก็ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นอาจารย์​ ทุกคนเรียนรู้ได้ และบางทีมันมาจากโอกาสด้วยเหมือน​เล่มoutlierบอก และเล่มนี้บอก

-การเชื่อมโยงจุดต่างๆในชีวิตทำได้ง่ายเมื่อมองย้อนหลัง แต่จะยากกว่ามากที่จะเชื่อว่าจุดเหล่านี้จะเชื่อมกันเป็นภาพอันสวยงามขณะที่ชีวิตพัวพันอยู่ในความยุ่งเหยิง
-การให้ความรักเป็นไปได้เสมอ รอยยิ้มให้กับคนแปลกหน้าอาจเป็นของขวัญได้ ทุกขณะของการไม่ตัดสินมนุษย์คนอื่นเป็นของขวัญ ทุกขณะของการให้อภัยตัวเองและคนอื่นเป็นของขวัญการแสดงออกซึ่งความเมตตา
-ความตั้งใจที่จะทำเพื่อผู้อื่นทุกครั้งเป็นของขวัญให้กับโลกและตัวคุณเอง
-การหยิบยื่นให้คนอื่น.. กระตุ้นศูนย์ความพึงพอใจและให้รางวัลในสมองยิ่งกว่าเวลาเราเป็นผู้รับ และเมื่อเราเห็นคนทำสิ่งที่เอื้ออารีหรือช่วยเหลือผู้อื่น ผลคือเราจะยิ่งแสดงความเมตตากรุณามากขึ้น //นี่เองคือเหตุผลเวลาบริจาคจะรู้สึกดีแต่ไม่รู้จะมากกว่าการรับแบบที่เค้าทดลองไหม แต่ข้อความที่สองคิดว่าจริงนะเช่นเวลาเห็นใครบริจาคเราก็อยากจะทำด้วย อย่างงี้ใครทำดีช่วยเหลือคนอื่นก็ควรแชร์อ่ะ มันจะได้สร้างสิ่งดีๆต่อๆไปได้ในสังคม เหมือนเป็นโรคติดต่อ
-ผมตระหนักว่าผมตั้งใจพูดประโยค​ในช่วงท้ายนี้มากจนไม่สามารถสนใจผู้ฟังเมื่อพูดจบผมเห็นหลายคนร้องไห้//me too ???????? เล่มนี้นี่น้ำตาคลอหลายรอบไม่ได้เศร้านะ​ แต่มันตื้นตันแปลกๆ
-เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุคความเมตตา ผู้คนเรียกร้องหาความเข้าใจที่ยืนของตนในโลก และหนทางที่จะมีความสุข

จาก https://medium.com/@preawampanmaipetra


<a href="https://www.youtube.com/v//2040dHr4lNo" target="_blank">https://www.youtube.com/v//2040dHr4lNo</a>

https://www.youtube.com/live/2040dHr4lNo?si=vYHx_NDn9j5slQHd


<a href="https://www.youtube.com/v//UN27v3NSz5Q" target="_blank">https://www.youtube.com/v//UN27v3NSz5Q</a>

https://youtu.be/UN27v3NSz5Q?si=b_TVNq_dPj08cDkn

<a href="https://www.youtube.com/v//wUPB0N_LUSQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v//wUPB0N_LUSQ</a>

https://youtu.be/wUPB0N_LUSQ?si=xt3w_1xXv9HRqbD

สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16172.0.html
140  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / อิคิไก เหตุผลของการมีชีวิต ( พื้นที่ชีวิต ) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 05:30:05
อิคิไก เหตุผลของการมีชีวิต | พื้นที่ชีวิต

ในตอนเช้า ทำไมบางคนจึงมีชีวิตอยู่อย่างกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ในขณะที่บางคนใช้ชีวิตผ่านไปแต่ละวัน ด้วยความเบื่อหน่ายสิ้นหวัง และสับสน

สำหรับคนญี่ปุ่น สิ่งที่เป็นเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ หรือเหตุผลของการตื่นขึ้นมาในทุก ๆ วัน คนญี่ปุ่นเรียกสิ่งนั้นว่า “อิคิไก”

ตามร้านหนังสือมีหนังสือภาษาอังกฤษหลายเล่มรวมถึงหนังสือที่ได้รับการแปลในเป็นภาษาไทยพูดถึงคำว่า อิคิไก เหตุใดจึงมีการพูดถึงคำ ๆ นี้กันมากขึ้นในยุคปัจจุบัน


<a href="https://www.youtube.com/v//k-kMh8EXO30" target="_blank">https://www.youtube.com/v//k-kMh8EXO30</a>

https://youtu.be/k-kMh8EXO30?si=hFsKaqlfYeEwoqHo
หน้า:  1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 236
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.757 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤษภาคม 2567 15:26:55