[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 23:31:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชม "พุทธมณฆลทราย" (sand mandala) วัชรยานบูชา การบำเพ็ญกุศล ถวาย “พระสังฆราช”  (อ่าน 30408 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 มีนาคม 2557 18:27:36 »



ขอเชิญร่วมพิธีเปิด "เทศกาลอินเดีย India Festival" ณ ลานตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร

ร่วมงาน “วัชรยานบูชา การบำเพ็ญกุศลพระศพทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก สัมพันธ์ อินเดีย-ไทย”

ชม "พุทธมณฆลทราย" หรือ มันดาล่าทราย (sand mandala) ซึ่งทำจากการนำเม็ดทรายที่ย้อมสีมาจัดเรียงกัน คำว่า "มันดาล่า" แปลตรงตัวว่า “ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลาง” โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า “โพธิ” หรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งบ่งถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น มันดาล่า คือ จักรวาลอันบริสุทธิ์ ที่ซึ่งสิ่งประเสริฐทั้งมวลถูกรวมไว้อยู่ภายในวงกลมศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการทำมันดาล่าเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลอย่างยิ่ง เป็นการแสดงออกแห่งสภาวะของการรู้แจ้งอย่างถ่องแท้ เนื่องจากต้องมีความประณีตในการทำสูงมาก การทำมันดาล่ายังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการทำสมาธิอีกด้วย

โดยทั่วไปแล้ว มันดาล่าจะถูกแสดงไว้เป็นรูปแบบสองมิติ ทำจากกระดาษ สิ่งทอ และผงทรายย้อมสี สำหรับมันดาล่าที่ทำจากทรายเมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็ทำถูกทำลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งในจักรวาล

นอกจากมันดาล่าแล้ว ยังมีการจัดแสดงศิลปกรรมที่สร้างจากเนยแข็งที่หาดูยาก ศิลปกรรมนี้มีอยู่แพร่หลายในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ทิเบต โดยเนยแข็งจาก yak จะถูกนำมาย้อมสี และแกะสลัก ปั้น ตกแต่งเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีทางศาสนาหรือในวันสำคัญเช่นปีใหม่

[ กำหนดการ ]

วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๗

๐๙.๐๐ น.- พิธีสร้าง “พุทธมณฑลทราย” (Sand Mandala) และปั้น “เครื่องบูชาสักการะเนย” (Butter Sculpture) ตามโบราณประเพณีทางวัชรยาน (เปิดให้ประชาชนเช้าชมตลอดทั้งวัน)

๑๗.๐๐ น. อัญเชิญ “เครื่องบูชาสักการะเนย” (Butter Sculpture) มาบูชาหน้าพระโกศ ณ ตำหนักเพ็ชร เวลา ๑๘.๐๐ น. ฯพณฯ มร. ฮัช วาร์ดัน ชริงลา เอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย พร้อมคณะและเจ้าภาพ (ตระกูลเตชะไพบูลย์) เดินทางถึงบริเวณตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เข้ากราบสักการะเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร

๑๘.๑๕ น. เยี่ยมชม “พุทธมณฑลทราย” (Sand Mandala) ณ บริเวณศาลาแดง วัดบวรนิเวศวิหาร

๑๘.๔๕ น. เข้าถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตำหนักเพ็ชร และชม “เครื่องบูชาสักการะเนย” (Butter Sculpture)

๑๙.๐๐ น. เริ่มพิธีงาน “วัชรยานบูชา การบำเพ็ญกุศลพระศพทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สัมพันธ์ อินเดีย-ไทย"

- พระลามะ ๑๐ รูป เริ่มสวดมนต์อัญเชิญพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ พร้อมพระโพธิสัตว์ (Nyensen: Invocation of Enlightened Forces)
- พระลามะ สวดบูชาและสวดภาวนาน้อมถวายพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (Offering and supplication to the Supreme Patriarch) จบแล้ว
- คณะเจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม
- ประธานในพิธีกรวดน้ำ อุทิศถวายเป็นพระกุศล
- พระลามะอนุโมทนา แล้วลงจากอาสนสงฆ์
- ประธานในพิธีกราบลาพระรัตนตรัย กราบลาพระศพ เพื่อไปร่วมพิธีรำบูชา ณ ลานตำหนักเพ็ชร
๑๙.๓๐ น. พิธีกรกล่าวเรียนเชิญ ฯพณฯ มร. ฮัช วาร์ดัน ชริงลา เอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงาน
๑๙.๔๐ น. พิธีกรกล่าวเรียนเชิญเจ้าภาพ (ตัวแทนตระกูลเตชะไพบูลย์) ขึ้นกล่าว
๑๙.๔๐ น. ผู้แทนสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย กล่าวแนะนำพิธีการและความเป็นมาของพิธี “วัชรยานบูชา”
๑๙.๕๐ น. พิธีการรำบูชาวัชรยานถวายพระศพ ๓ ชุด

ชุดที่ ๑ การรำบูชาเพื่อเปิดมณฑลพิธีบวงสรวงตามแนวพิธีวัชรยาน Khadro Garcham หรือรำบูชาของเทวฑูตจากสรวงสวรรค์ (Dance of Celestial Travellers)

ชุดที่ ๒ การรำบูชาขจัดความหลง และก่อให้เกิดปัญญาในอนิจจธรรม Lang Dang Phag-cham หรือ รำบูชาของเทพดาวัวและหมู (Ox and Boars dance with masks)

ชุดที่ ๓ การรำเพื่อบูชาแจ้งอนิจจธรรม Durdak Garcham หรือรำบูชาธรรมบาลแห่งยมโลก (Dance of the Skeleton Lords)
๒๐.๒๐ น. พิธีกรเรียนเชิญ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวอนุโมทนา
พิธีกรกล่าวขอบคุณ
๒๐.๓๐ น. เป็นเสร็จพิธี

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

จาก https://www.facebook.com/buddhadasaarchives

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มีนาคม 2557 18:37:19 »



สร้างพุทธมณฑลทราย-ปั้นเครื่องสักการะเนย ตามพิธีวัชรยานฯ ถวาย “พระสังฆราช”

รัฐบาลอินเดียจัดพิธีวัชรยานบูชา ถวาย “สมเด็จพระสังฆราช” จัดพระลามะ 19 รูปสวดอ้อนขอให้กลับมาประสูติเป็นพระสังฆราชอีกครั้ง พร้อมสร้างพุทธมณฑลทราย-ปั้นเครื่องสักการะจากเนย ระบุใช้สำหรับบุคคลสำคัญเท่านั้น วัดบวรฯเผยถือเป็นครั้งแรกในไทย ส่วนการออกพระเมรุคาด พ.ย.นี้ เร่งจัดทำหนังสือที่ระลึก
       
       วันนี้ (17 มี.ค.) ที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรฯ เปิดเผยถึงการงาน “วัชรยานบูชา” การบำเพ็ญกุศลพระศพทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยานน้อมถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ระหว่างวันที่ 17-24 มี.ค.โดยมีพระลามะนิกายวัชรยาน 19 รูปจากประเทศอินเดียเข้าร่วม ว่า รัฐบาลอินเดียจัดพิธีวัชรยานบูชา น้อมถวายสมเด็จพระสังฆราช เพื่อแสดงความอาลัยและแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและอินเดีย โดยพิธีประกอบด้วย การสร้างพุทธมณฑลทราย (มันดาลา) และการปั้นเครื่องบูชาสักการะจากเนย ซึ่งเป็นพิธีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ตามปกติพิธีนี้จัดขึ้นสำหรับบุคคลสำคัญและพิธีสำคัญเท่านั้น ดังนั้น การจัดพิธีวัชรยานบูชาถวายสมเด็จพระสังฆราช จึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นครั้งแรกในไทยด้วย
       
       พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ จะมีพิธีสวดมนต์ โดยพระลามะ 10 รูป โดยจะใช้บทสวดพิธีเพื่ออ้อนวอนขอให้สมเด็จพระสังฆราชทรงกลับมาประสูติเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกครั้ง และจะมีการรำบูชาวัชรยานถวายพระศพตามโบราณประเพณีวัชรยาน 3 ชุด ส่วนการสร้างพุทธมณฑลทรายจะสร้างเป็นรูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม ใช้หินอ่อนตกผลึกสีขาวนำมาบดเป็นทรายหลายขนาด นำไปย้อมสีต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สรรพสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงแท้ แน่นอนทุกขั้นตอนการสร้างต้องใช้สมาธิขั้นสูง ส่วนการปั้นเครื่องบูชาสักการะจากเนยเป็นพุทธศิลปะโบราณทางทิเบตและหิมาลัย โดยปั้นจากเนยสีต่างๆ เป็นรูปทรงสวยงาม ซึ่งในงานครั้งนี้ได้ปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าและรูปดอกไม้ โดยจะมีพิธีอัญเชิญ “เครื่องบูชาสักการะเนย” มาบูชาหน้าพระโกศ
       
       พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า พิธีทั้งหมดจะเริ่มวันที่ 19 มี.ค.ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ณ ปะรำพิธีด้านหน้าตำหนักเพ็ชร ส่วนพุทธมณฑลทรายจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมจนถึงวันที่ 24 มี.ค.จากนั้นจะทำพิธีลบพุทธมณฑลทราย ซึ่งถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีตามแบบวัชรยาน ส่วนความคืบหน้าการออกพระเมรุพระศพสมเด็จพระสังฆราช ยังรอการโปรดเกล้าฯ อย่างเป็นทางการ แต่ได้หารือเบื้องต้นและเตรียมการไว้ช่วง พ.ย.นี้ ซึ่งขณะนี้วัดบวรฯ กำลังเร่งจัดทำหนังสือที่ระลึกงานออกพระเมรุฯ จำนวน 16 เล่ม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.หนังสือเกี่ยวกับคัมภีร์โบราณ 2.พระประวัติ 3.พระนิพนธ์ นอกจากนี้ มีการจัดทำเครื่องสังเค็ด ซึ่งเป็นตู้ไม้สัก ประมาณ 200 ใบ มอบให้กับวัดต่างๆ โดยในตู้จะมีหนังสือพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชและหนังสือการออกพระเมรุ


จาก http://astv.mobi/Audr9QE












ภาพที่เหลือ ดูตามลิ้ง http://astv.mobi/Audr9QE

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 27.0 Firefox 27.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 มีนาคม 2557 18:48:24 »

ครั้งแรกที่ไทย! "ลามะ อินเดีย" ร่วมสร้างพุทธศิลปะ"วัชรยานบูชา" ถวายพระศพ"พระสังฆราช"

ที่ข้างตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร  เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557  พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมด้วย นายฮาร์ช วาร์ดัน  ชริงลา เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย (H.E.Mr.Harah Vardhan Shringla,Ambassador of India)  พร้อมด้วยทูตานุทูต  ท่านเกชิ จัมเบ ดอจี (Geshe Jambey Dorjee) หัวหน้าคณะพระลามะ และพระลามะ จากอินเดีย19 รูป รวมถึง นายวิวิศฐ์ เตชะไพบูลย์  ได้ร่วมกันแถลงข่าว  การจัดงาน "วัชรยานบูชา  การบำเพ็ญกุศลพระศพทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน น้อมถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" ซึ่งจัดถวายโดยรัฐบาลอินเดีย และเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ทาง อินเดีย ได้อัญเชิญพระลามะ  นิกายวัชรยาน มาร่วมสร้างพุทธศิลปะ เพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงมีความใกล้ชิดและความสัมพันธ์อันดีกับนิกายวัชรยานมายาวนาน



พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า ในงานวัชรยานบูชา ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดพิธี วัชรยานบูชา อย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย  ซึ่งทางสถานทูตอินเดียได้มีการเชิญพระลามะจาก รัฐอรุณาจัลประเทศ  จำนวน 19 รูป มาร่วมสร้างพุทธะศิลปะ ตามแบบโบราณประเพณีของทิเบตและหิมาลัย   โดยภายในงานมีพิธีการสร้าง “พุทธมณฑลทราย” (Sand Mandala) การปั้น “เครื่องบูชาสักการะเนย” (Butter Sculpture) มีพิธีอัญเชิญ “เครื่องบูชาสักการะเนย” (Butter Sculpture) มาบูชาหน้าพระโกศ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พิธีสวดมนต์โดยพระลามะ ๑๐ รูป และการรำบูชาวัชรยานถวายพระศพ ๓ ชุด ตามโบราณประเพณีทางวัชรยาน


ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เผยว่า   การสร้างมันดาล่า หรือพุทธมณฑลทราย  ในงานบำเพ็ญกุศลพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกในครั้งนี้   จะมีการสร้างเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม โดยใช้หินอ่อนตกผลึกสีขาวนำมาบดเป็นทรายหลายขนาด นำไปย้อมสี ซึ่งมีทั้งสีน้ำเงิน ขาว เหลือง แดง เขียว ดำ น้ำตาล ส้ม ฟ้า เหลืองอ่อน แดง และเขียวอ่อน   สะท้อนให้เห็นถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สรรพสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ทุกขั้นตอนในการทำมัลดาล่าต้องผ่านการปฏิบัติอย่างตั้งใจและต้องใช้สมาธิขั้นสูง การ สร้างพุทธมณฑลทราย หรือมันดาล่าทราย จะถูกสร้างบนแท่นพื้นเรียบ ด้วยอุปกรณ์ซึ่งเป็นกรวยโลหะที่เรียกว่า ชัคปอร์ (Chak-pu)   และเครื่องขูดที่ทำจากไม้เรียกว่า ชิงก้า ( shing-ga)  โดยการสร้างมัลดาล่าโดยทั่วไปนั้นอาจสร้างขึ้นจากดอกไม้ เมล็ดข้าวแห้ง หรือการแกะสลัก ก็ได้เช่นเดียวกัน






ทั้งนี้  ท่านเกชิ จัมเบ ดอจี  ระบุว่า   ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในมันดาล่าทราย คือ “ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรยั่งยืน สังขารไม่เที่ยง" ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอนิจธรรม ตามธรรมเนียมของการสร้างมันดาล่าทรายของพุทธศาสนามหายาน คือ เมื่อสร้างแล้วก็จะต้องทำการทำลายทิ้ง ซึ่งเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความไร้แก่นสาร และความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต ทรายมันดาล่าทั้งหมดที่สร้างในงานครั้งนี้จะถูกรวบรวม และแจกจ่ายให้แก่ผู้ร่วมงานในวันที่ 24 มีนาคม 2557





"เพียงแค่ได้เห็นมันดาล่าก็จะก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ และทำให้จิตใจของเราสงบสุข การทำความเข้าใจมันดาล่าก็หมายถึงการทำความเข้าใจหนทางทั้งหมดในการไปสู่ความรู้แจ้ง แต่ละส่วนของมันดาล่าเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ และย้ำเตือนผู้ปฏิบัติสมาธิถึงความเข้าใจอันถ่องแท้ มันดาล่าทราย คือวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างสมคุณความดีและความบริสุทธิ์ขึ้นจากพลังในตัวมันดาล่าเอง ทั้งยังสร้างสมบุญให้แก่ผู้ทำมันดาล่าทราย ผู้สนับสนุนการสร้างมันดาล่า และผู้ที่ได้เห็นมันดาล่า ชาวธิเบตมีความเชื่อว่า มันดาลาสร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ ในขณะที่สร้างพระสงฆ์ได้อัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์มาสถิตในมันดาลา ซึ่งจะเป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่ได้มาเยี่ยมชม และยังช่วยคุ้มครองปกป้องสถานที่ซึ่งมันดาลานั้นตั้งอยู่อีกด้วย"

ขณะที่การปั้นเครื่องบูชาสักการะเนย  (Butter Sculpture)  นั้น   พระศากยวงศ์วิสุทธิ์  กล่าวว่า  เป็นพุทธศิลปะโบราณทางทิเบตและหิมาลัย ที่มีมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 15  ซึ่งการปั้นเครื่องบูชาเหล่านี้ เป็นการปั้นตามประเพณี โดยปั้นจากเนยสีต่างๆ เป็นรูปทรงสวยงาม ซึ่งในงานครั้งนี้ ได้ปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้า และรูปดอกไม้ โดยจะมีพิธีอัญเชิญมาบูชาหน้าพระโกศ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันที่ 19 มีนาคม 2557  เวลา 19.00 น.

ส่วนความหมาย เครื่องบูชาสักการะเนยนั้น  หัวหน้าพระลามะ จากอินเดีย อธิบายว่า มีขึ้นพื่อให้สิ่งมีชีวิตเกิดการรู้แจ้งด้วยสิ่งที่สามารถรับประทานได้ ในรูปแบบการตกแต่งที่สวยงามเพื่อการสะสมบุญในรูปแบบมวลที่จะนำความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรืองและความโชคดีมาสู่บุคคลและสังคม ประเพณีนี้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีพระสงฆ์จำนวนมากที่ปฏิบัติกิจเป็นเวลาหลายเดือนเพื่อการปั้นเครื่องบูชาสักการะเนยในงานที่ยิ่งใหญ่ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่๑๕หรือวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนจันทรคตที่๑ซึ่งเป็น Losar (ปีใหม่) หรือการเฉลิมฉลองปีใหม่ และเป็นการถวายสักการะแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในงานเฉลิมฉลองนี้จะมีการสาธิตการปั้นเครื่องบูชาสักการะเนยให้ชม และปิดท้ายด้วยพิธีแบบดังเดิมในการถวายเครื่องบูชาสักการะเนยที่ได้ปันเสร็จแล้ว

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรฯยังกล่าวต่อว่า  ในงานวันพิธีเต็มรูปแบบ นั้น จะมีการสวดมนต์แบบลามะ ในรูปแบบการสวดตามทำนองดนตรี หรือคาถา ซึ่งบทสวดเหล่านี้มีอยู่ในทุกหนแห่งของโลกที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ นับตั้งแต่วัดในประเทศไทยไปจนถึงวัดพุทธในทิเบตและในอินเดีย เกือบทุกโรงเรียนของชาวพุทธจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์นี้ ไม่ว่าจะเป็นเถรวาทหรือมหายานก็ตาม   ทั้งนี้  ตามประเพณีทางวัชรยาน การสวดมนต์จะใช้ในพิธีกรรมเพื่อการอ้อนวอน การกำหนดจิตในพิธีบูชาเทพ ตันตระ การบูชาผ้ายันต์ หรืออื่นๆ ซึ่งพระสงฆ์ในแถบหิมาลัยจะมีความสามารถในการใช้เสียงเวลาสวดมนต์ที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยสามารถสวดมนต์ในระดับเสียงสูงและระดับเสียงต่ำที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนได้ในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีการ การเต้นรำบูชาเทพเจ้า ถือเป็นการเต้นรำศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้เต้นรำจะสวมหน้ากากและเครื่องแต่งกายที่สดใสมีชีวิตชีวา มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานิกายมหายานและเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลของชาวพุทธ ในขณะเต้นรำจะมีเพลงที่บรรเลงโดยพระสงฆ์ซึ่งใช้เครื่องดนตรีแบบดังเดิม มักจะมีนำเสนอการสั่งสอนทางศีลธรรมในการแสดงความเมตตาปราณีต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และเพื่อเป็นการสร้างบุญกุศลให้แก่กับทุกคนที่รับรู้ในสิ่งเหล่านั้น


การเต้นรำศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นรูปแบบของการทำสมาธิและบูชาเทพเจ้า ตามปกติผู้นำการเต้นรำจะเป็นนักดนตรี ใช้เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตีเพื่อกำหนดจังหวะในการเต้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ และมักจะเป็นการพรรณนาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ปัทมสัมภวะ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ในศตวรรษที่ 9 และนักบุญรูปอื่นๆ ในอินเดีย และการเต้นรำนี้จะมีในภูมิภาคเทือกเขาหิมาลัย เช่น ลาดัคห์, รัฐอุตตราขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, สิกขิม และอรุณาจัลประเทศ ในระหว่างเทศกาลทางวัฒนธรรมและศาสนา





งาน วัชรยานบูชา การบำเพ็ญกุศลพระศพทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน น้อมถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  ในครั้งนี้ ได้จัดให้มีการเต้นรำบูชา 3 ชุด คือ ชุดที่ 1  การรำบูชาเพื่อเปิดมณฑลพิธีบวงสรวงตามแนวพิธีวัชรยาน Khadro Garcham หรือ รำบูชาของเทวฑูตจากสรวงสวรรค์ ชุดที่ 2  ระบำบูชาขจัดความหลง และก่อให้เกิดปัญญาในอนิจธรรม  Lang Dang Phag-cham หรือรำบูชาของเทพดาวัวและหมู และชุดที่ 3  การรำเพื่อบูชาแจ้งอนิจจธรรม Durdak Garcham หรือรำบูชาธรรมบาลแห่งยมโลก โดยจะมีขึ้นในวันที่  19  มีนาคม 2557  เวลา  17.00  น. โดยมีเอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย  พร้อมคณะ และตระกูลเตชะไพบูลย์ เจ้าภาพในพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพฯ เข้าร่วมในงานดังกล่าวด้วย

 ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมงานและพิธีการต่างๆได้ตลอดระยะเวลาการจัดงาน

จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395057441&grpid=03&catid=02&subcatid=0200



บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 เมษายน 2557 13:08:02 »



สองศิลป์แสดง แฝงธรรม ′พุทธมณฑลทราย-เครื่องบูชาสักการะเนย′ น้อมสักการะสมเด็จพระสังฆราช

สวรรค์ นรก โลก จักรวาล" เรื่องราวของการศึกษาจากสองศาสตร์ที่ไม่เข้ากัน อันได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทววิทยา

เช่นการให้ความหมายของ "ชีวิต" ทางวิทยาศาสตร์บอกว่า ชีวิตคือการดับสูญของเซลล์และเนื้อหนัง ในขณะที่ทางเทววิทยามองว่า ชีวิตมีการ ′เวียนว่ายตายเกิด′

สำหรับพุทธศาสนา ในส่วนของนิกาย ′วัชรยาน′ ยังถ่ายทอดเรื่องราวของการศึกษาจักรวาลผ่านงานศิลปะด้วย ใช้วิธีการสรรค์สร้างงานด้วยเม็ดทรายเป็นแผนภาพจักรวาลที่แสดงถึงที่อยู่อาศัยหรือที่สถิตของเทพสวรรค์ ซึ่งเรียกกันว่า "พุทธมณฑลทราย" (Sand Mandala) พิธีกรรมสำคัญที่ "พระลามะ" แห่งนิกายวัชรยาน ใช้ฝึกฝนตนเพราะถือเป็นการบำเพ็ญเพียรอย่างหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อการบูชาพระพุทธเจ้า และเพื่อความเป็นสิริมงคลในพิธีสำคัญ


พระลามะค่อยๆ เติมทรายลงในมันดาลาทราย


"พุทธมณฑลทราย" หรือ "มันดาลา" ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่แสดงถึงจิตที่รู้แจ้งทั้งหมดของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ ในขณะที่สร้างได้อัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์มาสถิตในมันดาลานี้

สำหรับภาพที่เลือกมาทำนั้นเป็นรูปวาดในคติพุทธแบบทิเบต กล่าวกันว่าสืบทอดมาจากอินเดียโบราณ เพื่อสื่อหลักปรัชญาและคติธรรม หรือเป็นธรรมเจดีย์ของชาวพุทธที่เชื่อมโยงในขอบเขตวงกลม เพราะคำว่า "มันดาลา" มาจากคำสันสกฤตว่า มณฑล หมายถึง ขอบเขต โดยเป็นการแสดงภาพพระโพธิญาณ หรือบางทีก็รวมจักรวาลเข้าด้วยกัน

ขั้นตอนในการทำนั้นพระลามะจะต้องทำพิธีสวดมนต์ก่อนที่จะเริ่มสร้าง จากนั้นจะใช้พิมพ์เขียวที่ออกแบบไว้ร่างเป็นโครงร่างขึ้นมา โดยจะเริ่มสร้างจากศูนย์กลางออกไปก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้นด้วยกัน ได้แก่ "ชั้นนอก" เป็นตัวแทนของโลกในรูปแบบของพระเจ้า "ชั้นใน" เป็นตัวแทนของแผนที่จิตมนุษย์ธรรมดาที่กลายเป็นจิตที่รู้แจ้ง และสุดท้าย "ชั้นความลับ" เป็นการพยากรณ์ความสมดุลที่สมบูรณ์แบบในชั้นต้นของพลังงานที่สำคัญในร่างกายและมิติความสว่างของจิตใจที่ชัดเจน


(บน) อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำมันดาลาทราย (ล่าง) มันดาลาทรายที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

สำหรับวิธีการใส่ทรายนั้น จะกระทำผ่านช่องโลหะของอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ชัคปอร์" (Chakpu) และเครื่องขูดที่ทำจากไม้เรียกว่า Shing-ga แล้วก็ค่อยๆ ขูดชัคปอร์เพื่อให้ทรายไหลออกมา โดยที่ตัวชัคปอร์นั้นมีรูหลายขนาด ขนาดเล็กเพื่อให้ได้งานที่ละเอียด และรูขนาดใหญ่หากต้องการปล่อยให้ทรายไหลออกมาได้มาก ส่วนการขูดนั้นก็เพื่อจับจังหวะให้การไหลออกมาเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ตัวของชัคปอร์จะมีร่องริ้วถี่ห่างไม่เท่ากัน หากต้องการให้ไหลเร็วก็ใช้ช่องถี่ แต่ถ้าต้องการให้ไหลช้าก็จะใช้ช่องที่ห่างออกไป

อย่างไรก็ตาม การสร้างมันดาลาสามารถสร้างจากสิ่งอื่น เช่น ดอกไม้ เมล็ดข้าวแห้ง หรือการแกะสลักก็ได้ แต่การใช้ทรายถือว่าเป็นสื่อที่ยอดเยี่ยมที่สุด เนื่องจากเม็ดทรายมีความละเอียดและสีสันสวยงาม

ทว่า ความสวยงามวิจิตรนี้ก็ต้องถูกทำให้สลายมลายในพริบตา!!

เพราะเหตุใดนั้น พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ขยายความว่า มันคือปริศนาธรรมที่แฝงว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรยั่งยืน ′สังขารไม่เที่ยง′ ตรงกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอนิจธรรม เนื่องจากตามธรรมเนียมแล้วเมื่อสร้างเสร็จก็จะต้องมีการทำลายทิ้ง ซึ่งเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ สื่อถึงความไร้แก่นสาร และความไม่จีรังยั่งยืน

"เพียงแค่ได้เห็นมันดาลาก็จะก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ และทำให้จิตใจของเราสงบสุข การทำความเข้าใจมันดาลาก็หมายถึงการทำความเข้าใจหนทางในการรู้แจ้ง แต่ละส่วนของมันดาลาเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ และย้ำเตือนผู้ปฏิบัติสมาธิเข้าถึงความจริงอันถ่องแท้ ′มันดาลาทราย′ คือวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างสมคุณความดีและความบริสุทธิ์ขึ้นจากพลังในตัวเอง ทั้งยังสร้างสมบุญให้แก่ผู้ทำ ผู้สนับสนุนการสร้าง และผู้ที่ได้เห็นอีกด้วย" พระศากยวงศ์วิสุทธิ์กล่าว



เครื่องบูชาสักการะเนยเต็มรูปแบบ


ศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่น่าสนใจคือ "การปั้นเครื่องบูชาสักการะเนย" (Butter Sculpture) เป็นพุทธศิลปะโบราณทางทิเบตและหิมาลัย มีประวัติความเป็นมายาวนาน ย้อนไปถึงศตวรรษที่ 15 โดยเป็นการปั้นตามประเพณี ใช้เนยสีต่างๆ ปั้นเป็นรูปทรงสวยงาม

เครื่องบูชาเนยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น เป็นรูปแบบการบูชาอันเก่าแก่ตามคติความเชื่อของพุทธนิกายวัชรยาน มักปั้นจากเรื่องราวชาดกและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นบทสอนให้ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อ

ปกติการปั้นเครื่องบูชาสักการะเนย จะมีขึ้นในวันที่ 15 หรือวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนจันทรคติที่ 1 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ (Losar) หรือการเฉลิมฉลองปีใหม่ และเป็นการถวายสักการะแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานเฉลิมฉลองนี้จะมีการปั้นเครื่องบูชาสักการะเนยให้ชมกัน และปิดท้ายด้วยพิธีแบบดั้งเดิมในการถวายเครื่องบูชาสักการะเนยที่ได้ปั้นเสร็จแล้ว

ขั้นตอนในการทำนั้น พระลามะจะใช้วิธีนำเนยที่ผลิตจากน้ำนมของจามรีตัวเมีย (gyag) ผสมกับสีน้ำมัน (ในอดีตผสมจากสีธรรมชาติ) ปั้นเป็นก้อนสีสันสวยงาม จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆ ตามที่ได้ร่างเอาไว้ ก่อนจะประกอบกันอีกครั้งเพื่อสร้างเป็นเครื่องบูชาสักการะใหญ่อันวิจิตร โดยมีเคล็ดลับที่สำคัญคือการใช้น้ำเย็นเป็นตัวหล่อเลี้ยง เพื่อไม่ให้เนยแข็งแห้งหรือละลายเร็วเกินไป แล้วจึงนำเครื่องบูชาสักการะนั้นไปตกแต่งในพิธีสำคัญๆ

สำหรับการแสดงศิลปะทั้งสองแขนงนี้ รัฐบาลอินเดีย โดย มร.ฮัรสะ วารธัน ชริงลา เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย นำคณะพระลามะกว่า 10 รูปจากรัฐอรุณาจัลประเทศ ดินแดนใต้การปกครองของประเทศอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับชายแดนภูฏานและพม่า เรียกอีกอย่างว่าทิเบตใต้ นำโดย ท่านเกชิ จัมเบ ดอร์จี หัวหน้าคณะ มาเป็นผู้รังสรรค์ผลงานให้

เพื่อถวายสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อเป็นการระลึกถึงพระเมตตากรุณาที่พระองค์มีต่อประเทศอินเดียและนิกายวัชรยาน โดยได้จัดสร้างมันดาลาทรายเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในขณะที่การปั้นเครื่องบูชาสักการะเนยได้ปั้นถวายเป็นรูปพระพุทธเจ้า ช้างเผือก และดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะวางบูชาอยู่หน้าพระโกศ ภายในพระตำหนักเพ็ชร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสชื่นชมกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากผลงานศิลปะทั้งสองชิ้น คือความงดงามภายนอก แม้จะวิจิตรพิสดารเพียงใด หรือพากเพียรสรรหามารังสรรค์แค่ไหน แต่สุดท้ายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่จีรังยั่งยืน

ดังเช่นการศึกษาชีวิตของวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าเมื่อเซลล์ตายชีวิตก็มลาย ถ้าเช่นนั้นแล้ว...หรือการศึกษาศาสตร์ทั้งสองด้านนี้ อาจจะกำลังบอกเราในเรื่องเดียวกันก็เป็นได้

หน้า 17 มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395913965&grpid=&catid=08&subcatid=0804
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 เมษายน 2557 13:46:20 »



พุทธมณฑลทราย (Sand Mandala) มหัศจรรย์แห่งความศรัทธา

พุทธมณทลทราย (Sand Mandala) จัดถวาย สักการะพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตำหนักเพ็ชร โดยรัฐบาลอินเดีย ระหว่างวันที่ 17 – 24 มีนาคม 2557 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธมณฑลทราย (Sand Mandala) เป็นรูปวาดในคติพุทธแบบทิเบต กล่าวกันว่าสืบทอดมาจากอินเดียโบราณ พระทิเบตจะเป็นผู้วาดเพื่อสื่อหลักการ ปรัชญา และ คติธรรม หรือเป็นธรรมเจดีย์ ของชาวพุทธที่เชื่อมโยงกันในขอบเขตวงกลม บางทีการแสดงพระโพธิญาณ หรือบางทีก็รวมจักรวาลเข้าด้วยกัน คำว่า Mandala มาจากคำสันสกฤตว่า มณฑล หมายถึง ขอบเขต หรือ วงกลม การสร้างพุทธมณฑลทรายขึ้นจากเม็ดทรายสีต่างๆ นับเป็นสิ่งสุดยอดของศิลปะทิเบต ต้องใช้เวลา และ สมาธิ อย่างสูงในการทำแต่ละครั้ง และสุดท้ายก็จะทำการลบพุทธมณฑลทรายที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นการสอนสัจธรรมว่า ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ เสื่อมสลายไป มณฑลศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกว่า มันดาลา เป็นแนวคิดของพุทธศาสนาวัชรยาน หรือมนตรยาน ว่า เป็นการเรียงแนวของจักรวาลที่มีความสัมพันธ์กันกับโลกมนุษย์ในแต่ละพุทธเกษตร เช่น การแสดงถึงมณฑลศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธเจ้าไภสัชยคุรุ (พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งการรักษาโรคทางกายและโรคกิเลศ)

พิธีการสร้างพุทธมณฑลทราย (Sand Mandala) และปั้นเครื่องบูชาสักการระจากเนย (Butter Sculpture) ตามโบราณราชประเพณีทาง

วัชรยาน*




การสร้าง “ พุทธมณฑลทราย” (Sand Mandala) ในงานครั้งนี้ ได้สร้างเป็นรูปพระอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ ปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม โดยใช้หินอ่อนตกผลึกสีขาวนำมาบดเป็นทรายหลายขนาด นำไปย้อมสี ซึ่งมีทั้งสีน้ำเงิน ขาว เหลือง แดง เขียว ดำ น้ำตาล ส้ม ฟ้า เหลืองอ่อน แดง และเขียวอ่อน สะท้อนให้เห็นถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สรรพสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ทุกขั้นตอนในการทำมัลดาล่าต้องผ่านการปฏิบัติอย่างตั้งใจและต้องใช้สมาธิขั้นสูง



ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในมันดาล่าทราย คือ “ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรยั่งยืน สังขารไม่เที่ยง” ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอนิจธรรม ตามธรรมเนียมของการสร้างมัลดาล่าทรายของพุทธศาสนามหายาน คือ เมื่อสร้างแล้วก็จะต้องทำลายทิ้ง ซึ่งเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความไร้แก่นสาร และความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต ทรายมัลดาล่าทั้งหมดที่สร้างในงานครั้งนี้จะถูกรวบรวม และแจกจ่ายให้แก่ผู้ร่วมงานในวันที่ 24 มีนาคม 2557 ด้วย



การปั้นเครื่องสักการะเนย (Butter Sculpture) การปั้นเครื่องบูชาสักการะเนยเป็นพุทธศิลป์โบราณในแถบเทือกเขาหิมาลัย และทิเบต การปั้นเครื่องปั้นเครื่องบูชาเหล่านี้เป็นการปั้นตามประเพณี รูปปั้นบูชาจะทำจากเนยบริสุทธิ์จากส่วนผสมของเนยสัตว์และขี้ผึ้งที่มีอุณภูมิอุ่นสามารถปั้นเป็นรูปทรงได้ โดยปั้นเนยที่ผสมเป็นสีต่างๆ แล้วนำมาปั้นเป็นรูปทรงหลากหลายแล้วนำมาประกอบกันอย่างสวยงาม เครื่องบูชาเนยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น เป็นสัญลักษณ์แทนการบูชาทางพุทธศาสนา เป็นรูปแบบการบูชาอันเก่าแก่ตามพุทธคติความเชื่อของวัชรยาน และมักปั้นเรื่องราวจากชาดกและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นบทสอนให้ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อ



ส่วนการปั้นเครื่องสักการะเนย (Butter Sculpture) ในงานครั้งนี้ ได้ปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้า รูปช้าง กระต่าย ลิง นก และดอกไม้ เพื่ออัญเชิญไปบูชาหน้าพระโกศ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งการปั้นเครื่องบูชาสักการะเนยนั้นเป็นการปั้นตามประเพณี และนับเป็นพุทธศิลปะโบราณทางทิเบตและหิมาลัย ที่มีมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 15





*ควาหมายของ พุทธศนามหายาน – วัชรยาน

http://riwochet.blogspot.com/p/buddhismvajrayana.html

จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=915169
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 เมษายน 2557 14:23:36 »

"ทราย-เนย-มนต์เพลง-เต้นรำ" ปริศนาธรรม"จากดินแดน"หลังคาโลก"


เสียงสวดมนต์ด้วยภาษาไม่คุ้นหู  ทุ้มบ้าง สูงบ้าง สอดรับกับเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า จังหวะเสียดหู ดังกึกก้องทั่วอาณาบริเวณพระตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร  ระหว่างงาน "วัชรยานบูชา"  เมื่อช่วงค่ำของวันพุธที่ 19 มีนาคม  2557  

อันเป็นการบำเพ็ญกุศลพระศพ น้อมถวาย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยรัฐบาลอินเดียที่จัดถวายเป็นสังฆราชบูชาแสดงกตเวทิตา หลังสมเด็จพระสังฆราช ทรงมีคุณูปการมากมายกับประเทศอินเดีย  ต่อความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของ 2 ประเทศ สืบเนื่องด้วยดีมาตลอด






และเป็น "ครั้งแรกในประเทศไทย"  ที่มีการอัญเชิญ "พระลามะ" ภายใต้การนำของ ท่านเกชิ จัมเบ ดอจี (Geshe Jambey Dorjee) หัวหน้าคณะ จากดินแดนหลังคาโลก  มาร่วมประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์  ในการสร้าง "พุทธศิลปะ" แบบ"นิกายวัชรยาน"  ผ่านเรื่องเล่าจาก "พุทธมณฑลทราย (Sand Mandhala)   และเครื่องบูชาสักการะเนย (Butter Sculpture)  ตามประเพณีโบราณของทิเบตและหิมาลัย  


ท่าน Geshe Jambey Dorjee




ตลอดห้วงเวลา เกือบ 3 วันเต็ม เหล่าตัวแทนพระลามะ จากรัฐอรุณาจัลประเทศ   ( Arunachal Pradesh)  ต้องเพ่งสมาธิขั้นสูงสุด  จากการใช้กรวยโลหะทองเหลือง ในชื่อ  ชัคปอร์ (Chak-pu)   และเครื่องขูดไม้ เรียกว่า ชิงก้า ( shing-ga)  อุปกรณ์ช่วยที่ทำงานควบคู่ด้วยแรงมือ   ค่อยๆ บรรจงสรรค์ ทราย หรือมันดาล่า หลากสี   ที่บดจากหินอ่อนจนเหลือแต่เม็ดละเอียดยิบ  สร้างเป็นลวดลาย แปลงผืนกระดานแผ่นเรียบอันว่างเปล่า  กระทั่งกลายเป็นลวดลายอันวิจิตร




ผลงาน "พุทธมณฑลทราย" ที่เสร็จสมบูรณ์ครั้งนี้   หากสังเกตดีๆ ตรงกลาง คือ  ดอกบัว  นั่นคือ ตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม หรือพระอวโลติเกศวร  เป็นรายละเอียดที่ "ลามะ" พยายามวาดคำสอนของพระพุทธศาสนา ผ่านสัญลักษณ์
 
พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร  อธิบายถึงการสร้าง "มันดาล่า" ว่า    ความวิริยะอุตตสาหะ ของ พระลามะ ไม่ต่างจาก  การกำเนิดโลกของเรา   มณฑลนี้เป็นสื่อของจักรวาลของโลก การสร้างจักรวาล ก็ไม่ใช่สร้างในวันสองวัน  แต่เป็นการสร้างตลอดไป    มนุษย์เรามีตัวตนชัดเจนอย่างทุกวันนี้  มีทั้งดีและชั่ว  แต่ตามหลักพระพุทธศาสนามันคือความไม่จีรัง ในหลักวัชรยานคือ สุญญัตตา   ความละเอียดละออ ของ "พุทธมณฑลทราย   ในที่สุดววันหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนแปลง สูญสลาย...



ในแต่ละวินาที ที่พระลามะ  นั่งฝนทราย  ใช้สมาธิ ปัญญาในการสร้างภาพจนออกมาเป็น พุทธมณฑลสวยงาม  แต่แล้ว วันหนึ่ง สิ่งนี้ก็ต้องสูญสลายไป  ดังนั้น จึงต้องมีพิธีลบ  แต่ต้องเป็นการลบที่มีศิลปะ เช่นเดียวกัน ...  

  ดังคำที่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรฯว่า
 
"แม้โลกเราจะวิจิตรพิสดารมาก ขนาดไหน  ดีขนาดไหน แต่มันก็ไม่ถาวร ก็ต้องดับไป ต้องมีสัญลักษณ์ที่ทำลาย ไอ้ความสวยงาม ความเพียรที่ทุ่มเทสร้างไว้ตั้งหลายวัน  เมื่อถามลามะ เขาก็ว่า เสียดายแต่จะมีประโยชน์อะไร  มันคือสัจธรรม ความสวยงามทั้งหลายแหล่มันไม่จีรัง นั่นคือคำสอนพระพุทธศาสนา"

นี่เป็นสิ่งเพียรพยายามในการถวายเครื่องบูชาตามแบบ"วัชรยาน"  ซึ่งจุดประสงค์ของ"พุทธมณฑลทราย"   ก็เป็นการใช้ศิลปะสอนชาวบ้านในเรื่องของธรรมมะ  ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่  ในความรื่นเริงใจ  โสมนัส  ทำให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาเกิดขึ้น

"เนื้อหาธรรมมะนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอนิจธรรมของโลก    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 เมษายน 2557 14:28:24 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 เมษายน 2557 14:25:02 »



อีกหนึ่งวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น แถบทิเบต  ที่สำคัญ สืบทอดมาร่วมพันปี เฉกเช่นเดียวกัน อย่าง เครื่องบูชาสักการะเนย (Butter Sculpture)   ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สิ่งมีชีวิตเกิดการ"รู้แจ้ง "ด้วยสิ่งที่สามารถรับประทานได้

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ  ก็เหมือนกับการที่  เราชาวไทย ถวายข้าวบูชาพระพุทธ หรือถวายข้าวบิณฑบาตรพระ  แต่ในแถบหิมาลัยนั้น ปลูกแต่ทุ่งข้าวสาลี อาหารที่เขากินก็เป็นแป้ง และนม จาก จามรี เมื่อภูมิประเทศอันหนาวเหน็บ ไร้ซึ่งความสดสวยของดอกไม้ ไม่มีอาหารการกินที่เลือกได้มาก ชาวบ้าน รวมถึงพระจึงได้นำ แป้ง และเนย  (สกัดจากนม จามรี) มาผสมสีสันตามธรรมชาติ   แล้วปั้นเป็นรูปต่างๆ ทำเป็นเครื่องบูชา สอดแทรกนิทานชาดก เป็นเรื่องเล่าคำสอนของพระพุทธเจ้า  ตามวัตถุดิบที่เขามีอยู่...

เครื่องปั้นสักการะเนย ไม่ได้จำเป็นว่า ต้องเกิดจากฝีมือของพระลามะ    จะเป็นชาวบ้านก็ได้  เพียงแต่ผู้ปั้น  ต้องผ่านการฝึกฝนจากโรงเรียนศิลปะ ที่สอนด้านการปั้น หรือสร้างพุทธศิลป์เฉพาะ คล้ายกับสถาบันที่เน้นสอนเฉพาะด้าน อย่างมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือ โรงเรียนเพาะช่าง ของบ้านเรา


พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร


ะหว่างการอัญเชิญ เครื่องสักการะบูชาเนย ที่ตกแต่งด้วยการปั้นเสร็จสิ้นแล้ว ไปไว้หน้าพระโกศ สมเด็จพระสังฆราช   ผู้เข้าร่วมงาน ทั้งชาวไทย และต่างชาติ  ต่างล้วนได้สดรับ มนต์ จากการสวดของ ลามะ  (Lama Chant) ทั้ง 19 รูปที่เดินขบวนเป็นทิวแถวขึ้นไปบน พระตำหนักเพ็ชร 

ทำนองสวด ชวนขนลุก รับรู้ได้จากแรงแห่งศรัทธาอันมากล้นที่ได้ยินวันนั้น  หากฟังด้วยความรู้สึกเผินๆ  จะเสมือนกับว่า ใกล้เคียงกับเสียงเพลง  แต่ลึกซึ้งกว่า...



ประเพณีทางวัชรยาน  การสวดมนต์จะใช้ในพิธีกรรมเพื่อการอ้อนวอน การกำหนดจิตในพิธีบูชาเทพ ตันตระ การบูชาผ้ายันต์ หรืออื่นๆ ซึ่งพระสงฆ์ในแถบหิมาลัยจะมีความสามารถในการใช้เสียงเวลาสวดมนต์ที่มีรูปแบบเฉพาะ ด้วยการควบคุมระดับเสียงสูงและต่ำที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเวลาเดียวกัน เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากพลังของลำคออย่างเดียว  ตามความเชื่อว่า พลานุภาพเหล่านี้จะสามารถสื่อสารไปยังโลกหน้า หรือโลกที่แฝงอยู่ในโลกนี้  คนที่จิตใจไม่เข้มแข็งพอก็อาจพินาศได้   

 บทสวดมนต์แบบลามะ ตามทำนองดนตรี หรือคาถาเหล่านี้ มีอยู่ในทุกหนแห่งของโลกที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ นับตั้งแต่วัดในประเทศไทยไปจนถึงวัดพุทธในทิเบตและในอินเดีย เกือบทุกโรงเรียนของชาวพุทธจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นเถรวาทหรือมหายานก็ตาม
 

ทว่าความพิเศษครั้งนี้เป็นที่ปรีดาอย่างยิ่งสำหรับชาวพุทธไทย ด้วยเพราะ พระลามะ  ทั้ง 19 รูป ที่มานี้ ล้วนสวดอ้อนวอนให้ สมเด็จพระสังฆราชของเรา กลับชาติมาเกิดใหม่เหมือนองค์ลามะของเขา  เพื่อช่วยเหลือมนุษย์...




อีกหนึ่งพิธีกรรม ที่น่าจะมีแต่ "วัชรยาน"  นิกายเดียว เท่านั้น ก็คือ  รำบูชาเทพเจ้า (Cham/Sacred Dance)    ซึ่งเราได้เห็น พระลามะ  แปลงกายแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยเสื้อผ้า และอุปกรณ์ สีสันสดใส พร้อมสวมหน้ากาก

การรำบูชา ถือเป็นรูปแบบของการทำสมาธิและบูชาเทพเจ้าอีกอย่างหนึ่ง  ตามปกติผู้แสดงจะแบ่งเป็นนักดนตรี ใช้เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตีเพื่อกำหนดเวลาในการเต้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ เนื้อหาพรรณนาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ปัทมสัมภวะ สั่งสอนศีลธรรมเกี่ยวกับความเมตตาปราณีต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมทั้งสร้างบุญกุศลให้แก่ทุกคนที่รับรู้ในสิ่งเหล่านั้น

ในอินเดียการรำบูชาจะมีในภูมิภาคเทือกเขาหิมาลัย เช่น ลาดัคห์, รัฐอุตตราขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, สิกขิมและอรุณาจัลประเทศในระหว่างเทศกาลทางวัฒนธรรมและศาสนา

ทว่า... การรำบูชาวัชรยาน ถวายพระศพ ที่ปะรำพิธี ในค่ำคืนนั้น ถูกนำมาจัดแสดงด้วยกัน 3 ชุด




เริ่มที่ การรำบูชาเทวทูตจากสรวงสวรรค์ (Dance of Celestial Travelers)  ประกอบด้วยพระลามะ 5 รูป  อันเป็นสัญลักษณ์ของธาตุแห่งลมและปัญญาทั้ง 5  รังสรรค์จังหวะการเคลื่อนไหวราวกับเป็นเทวทูตเสด็จลงมา จากสวรรค์ เพื่อประทานพรแก่โลกมนุษย์ในเวลาที่เกิดปัญหา หรือภัยพิบัติ โดยนำเทวอำนาจมาดลบันดาลให้เกิดความสามัคคีและนำสันติสุขมาสู่โลกอีกครั้ง



ตามด้วยชุด  การรำบูชาขจัดความหลง และก่อให้เกิดปัญญาในอนิจจธรรม Lang Dang Phag-cham หรือรำบูชาของเทพดาวัวและหมู (Ox and Boars dance with masks)   จรรโลงขึ้นเพื่อกำจัดพลังอันเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆ ผ่านรูปแบบ Dark po หรือ “ปางกริ้วโกรธ” โดยถือสัญลักษณ์ของอุตรภาพแห่งการแสดงอัตตาต่อภายนอก     (สภาวแวดล้อม) ภายใน (อารมณ์) และความลับ (ความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจอันละเอียดอ่อน) ท่วงทำนองการรำบูชาเป็นสัญญลักษณ์ของความโสมนัสและอิสรภาพแห่งการได้เห็นสัจธรรม อันถ่องแท้ 
 
ปิดท้ายด้วยการรำเพื่อบูชาแจ้งอนิจจธรรม DurdakGarcham    หรือรำบูชาธรรมบาลแห่งยมโลก (Dance of the Skeleton Lords)  เป็นระบำเทพเจ้าแห่งโครงกระดูก   เพื่อย้ำเตือนแก่โลกมนุษย์ได้ตระหนักถึงธรรมชาติอันไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง เป็นการปลดปล่อยและการรักษาสมดุลของการหยั่งรู้และความเป็นจริง แสดงโดยพระลามะ 4 รูป เปรียบเสมือนกองทัพแห่งความดีในขบวนพระยมราช ผู้ซึ่งเป็น “พระธรรมบาล” หรือ ผู้ปกป้องความเป็นจริงหรือสัจธรรม ที่มาพร้อมด้วยพระธรรมอันจะชักนำจิตใจไปสู่ชีวิตอันประเสริฐ




ความตื่นตา ที่เราได้เห็น ผ่านงาน "วัชรยานบูชา" นี้ ไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกเพลิดเพลิน ที่ให้เพียงแต่ความรู้สึกตื่นเต้นเท่านั้น แต่นี่ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่ พระลามะ บรรจงทำทุกอย่าง อย่างมีความหมาย
 
แต่ละ งานพุทธศิลป์ แต่ละการขับเครื่องดนตรี เปล่งเสียงสวดมนต์  ล้วนผ่านการฝึกฝนมาอย่างหนัก

ท่วงท่าร่ายรำ ที่เห็นว่าสนุก ในสายตามนุษย์ธรรมดา ล้วนบังคับด้วยบทสวด มีวัชระ สัญลักษณ์ของวัชรยาน   มีระฆัง มีกระดิ่ง มุทรา (ปาง)  แต่ละมือที่วาดลวดลาย มีความหมาย  การอวตาร ผ่านชุดฉูดฉาด  แฝงให้เห็นถึงทั้งกิเลส และตัวธรรม เราคนธรรมดาอาจไม่เข้าใจแก่นแท้ และมองเป็นเรื่องของการชื่นชม และรู้สึกว่าได้บุญ

นัยยะ ของ "วัชรยาน" ผ่านการสื่อสารของ "พระลามะ" ล้วน คือ  "ธรรมมะ"








นับเป็นบุญ ใต้ร่มพระกรุณาธิคุณ ของ สมเด็จพระสังฆราช ที่บันดาลให้คนไทย  มีโอกาสร่วมชมและใกล้ชิดกับ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ จากวัตรปฏิบัติของ พระลามะ นิกาย "วัชรยาน" ที่ตั้งใจเดินทางมาจากดินแดนแสนไกล เพื่อเข้าร่วมน้อมถวายพระศพนี้

ทั้งยังทำให้ เราสดรับได้ถึงแก่นแท้ แห่งธรรมที่ว่า ... 
 
"ทุกสิ่ง ทุกอย่าง  ล้วนไม่มีอะไร ยั่งยืน..."

 
 
คลิกอ่านครั้งแรกที่ไทย! "ลามะ อินเดีย" ร่วมสร้างพุทธศิลปะ"วัชรยานบูชา" ถวายพระศพ"พระสังฆราช" http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395057441&grpid=01&catid=08&subcatid=0804

จาก https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395416937&grpid=03&catid=08&subcatid=0804
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประเพณีทูลเกล้าฯ ถวาย "ฎีกา" ร้องทุกข์
สยาม ในอดีต
Kimleng 0 3713 กระทู้ล่าสุด 21 มีนาคม 2560 19:56:41
โดย Kimleng
พระสังฆราช สา ปุสฺสเทโว “สังฆราช 18 ประโยค”
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 1 910 กระทู้ล่าสุด 03 ธันวาคม 2564 15:45:49
โดย ใบบุญ
[ข่าวสังคม] - เมืองพัทยาพร้อมรับนักท่องเที่ยว 2 รูปแบบ Test&Go-Sand Box
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 214 กระทู้ล่าสุด 23 มกราคม 2565 02:22:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - หน่วยทหาร สวดมนต์ "โพชฌังคปริตร" ถวาย "พระองค์ภา"
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 127 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2565 10:09:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - "พระสังฆราช" โปรดประทานผ้าไตร เงินเยียวยาผู้เสียชีวิตจากพายุถล่มพิจิตร
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 73 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2566 04:32:03
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.986 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 18:32:33