[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 ตุลาคม 2567 02:18:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิแห่งพระวัชรสัตว์เพื่อชำระล้างกรรม (Vajrasattva Meditation)  (อ่าน 7525 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 เมษายน 2557 23:00:00 »



สมาธิแห่งพระวัชรสัตว์เพื่อชำระล้างกรรม (Vajrasattva Meditation for Karmic Purification)


    พระวัชรสัตว์(Vajrasattva)  คือพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนาแบบตันตระยานหรือวัชรยาน หรืออาจจะเรียกว่าพุทธศาสนาแบบทิเบต  ถือว่าท่านคือพุทธสภาวะที่อยู่เหนือต่อกาละและเวลา  ท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปฐม (อาทิพุทธเจ้า) ซึ่งบริสุทธิ์สะอาด ปราศจากมลทินและบาปอกุศลทั้งปวง  และเป็นธรรมชาติของพุทธะที่มีอยู่ในเหล่าสรรพสัตว์ ตั้งแต่เริ่มแรก  

       พระวัชรสัตว์ทรงได้อธิษฐานว่าเมื่อพระองค์ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์แล้ว  ขอให้สรรพสัตว์ได้รับการชำระบาปทั้งปวง ความไม่รู้ทั้งปวง  ด้วยการได้ยินนามของท่าน  เห็นรูปของท่าน  คิดถึงท่าน  หรือภาวนามนตราที่มีพระนามของท่าน
      
    หลักการปฏิบัติสมาธิพระวัชรสัตว์ก็คือการสารภาพบาปเพื่อการชำระล้างด้วยเมตตาและแสงแห่งปัญญาญาณภายในของเราเพื่อนำจิตเข้าสู่ธรรมชาติเดิมแท้ภายในตนนั่นเอง  โดยอาศัยการสร้างจินตภาพในสมาธิถึงองค์ท่าน  การน้อมใจเข้าถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ และอธิษฐานโพธิจิตคือการระลึกถึงเหล่าสรรพชีวิตที่ร่วมทุกข์ให้ได้มีโอกาสได้รับการชำระล้างด้วย   การทบทวนความผิดบาปในอดีตพร้อมการระลึกเสียใจ  การอธิษฐานขอพลังแห่งพระวัชรสัตว์มาชำระล้างบาปนั้น  การสำนึกว่าจะไม่ก้าวล่วงในบาปกรรมนั้นอีก  และการอุทิศกุศลบุญที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ
พลัง 4 ประการของการปฏิบัติ

 1.พลังของการมีพระรัตนตรัยและพระวัชรสัตว์เป็นที่พึ่ง
 2.พลังของการสำนึกผิด
 3.พลังของการชำระล้างให้บริสุทธิ์
 4.พลังของการละเว้นบาปและการอุทิศ



ขั้นตอนการปฎิบัติ(สรุป)

 1.ให้สร้างจิตภาพพระวัชรสัตว์ให้ชัดเจนในมโนสำนึก  ตั้งแต่ฐานดอกบัวและแผ่นจานสีขาวพระจันทร์ที่ท่านประทับอยู่  เห็นท่านในท่านั่งขัดสมาธิด้วยความสงบและยิ้มยินดี  กายของท่านสีขาวสว่างบริสุทธ์เรืองรองดั่งดวงอาทิตย์พันดวง และว่างเปล่าดุจสายรุ้งบนท้องฟ้า  มีเครื่องทรงประดับสวยงามประดับด้วยเพชรนิลจินดา  มือขวาถือวัชระทองคำที่ระดับหัวใจหมายถึงความรักเมตตา  ส่วนมือซ้ายถือระฆังเงินซึ่งหมายถึงปัญญา  ให้เห็นท่านลอยอยู่เหนือศีรษะ ห่างประมาณหนึ่งฟุต และหันหน้าไปทางเดียวกัน  

2.จินตภาพว่าตัวเรานั่งอยู่ท่ามกลางสรรพชีวิต ในทุกภพสภาวะ คือ พรหม เทพเทวดา มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา  สัตว์ทั้งหลาย รวมถึงผี เปรต อสุรกาย สัตว์นรกทั้งหมดนั้นแวดล้อมท่านอยู่  เพื่อได้ปฏิบัติชำระจิตใจร่วมกัน

3.สวดภาวนาออกเสียง ขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งดังนี้ “ ข้าพเจ้า ขอถือพระพุทธเจ้า พระวัชรสัตว์  พระธรรม  พระอริยะสงฆ์  เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ข้าพเจ้า จะปฏิบัติสู่ความหลุดพ้น เพื่อช่วยสรรพชีวิตให้พ้นทุกข์ทั้งปวง”

   4. ทบทวนชีวิต  ระลึกถึงบาป ความชั่วทั้งหลายที่เคยทำมาในชาตินี้ ในอดีตชาติ ทั้งที่ระลึกได้และยังระลึกไม่ได้  ว่าเคยเบียดเบียนตนเอง  บุพการี  ญาติพี่น้อง เพื่อน สรรพชีวิต  ทั้งทางกาย วาจา ใจ  พร้อมทั้งระลึกเสียใจในบาปกรรมนั้นจากใจจริงส่วนลึกของตน

  5. สร้างความเชื่อมั่นพุทธภาวะในตนเองที่จะเป็นอิสระจากความชั่วเหล่านั้น  พร้อมกับตั้งจิตปรารถนาที่จะชำระบาปกรรมนั้นให้หมดสิ้นไป  เห็นพระวัชรสัตว์ทรงยิ้มและกล่าวด้วยเสียงอันอ่อนโยนว่า  “ลูกรัก  บาปกรรมทั้งหลายจะถูกชำระล้างจนหมดสิ้น”

   6. เริ่มการชำระล้างด้วยการอธิษฐานถึงพลังแห่งพระวัชรสัตว์  ให้ช่วยชำระบาปกรรมทั้งหมดในอดีตทั้งของข้าพเจ้าและสรรพชีวิตทั้งหลาย

7. สวด มนตราพระวัชรสัตว์หนึ่งร้อยคำ 21 จบ  โดยแบ่งเป็นทีละ 7 จบ
    7 จบแรกให้ชำระล้างกาย ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ
    7 จบที่สองชำระล้างวาจา ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ
    7 จบที่สามชำระล้างใจ  ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ
 
8. ท่องมนตราย่อ คือ โอม เบนซา ซาโต ฮุง ไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งจินตภาพให้ทุกสิ่งในพุทธภูมนี้ิ ทุกชีวิตในจักรวาล  หลอมสภาพเป็นแสงพุ่งเข้าสู่ตัวเราที่เป็นพระวัชรสัตว์
  
9. เมื่อค่อยๆออกจากสมาธิความว่างอันเจิดจรัส ให้รับรู้ มอง ทุกสิ่งเป็นพุทธภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ล้วนเป็นพุทธสภาวะ เสียงทั้งหลายคือมนตรา  ผู้คนทั้งหลายคือพุทธะ  จากใจภายในที่สะอาดผ่องใส แล้วนั่นเอง

    10. อธิษฐานบุญกุศลที่ได้กระทำการชำระจิตนี้

 อธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่าจะไม่กระทำความชั่วเช่นที่ผ่านมาอีก  หากเป็นนิสัยที่ติดตัวมานานก็ให้ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่กระทำในช่วง 7 วัน 14 วัน หรือ 1 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถละได้สำเร็จ

 “ ขออุทิศบูชาแด่ พระพุทธ พระวัชรสัตว์ พระธรรม  พระอริยสงฆ์  ต่อบิดามารดา สามีภรรยาลูกหลาน ญาติทั้งปวง  สรรพชีวิตทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู  ทั้งที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล  ที่ยังจมอยู่ในความทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ที่มีสุขก็ขอให้พบสุขละเอียดขึ้นและได้พบธรรมปฏิบัติธรรมจนพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งหมด  เทอญ "

จาก http://www.anamcarathai.com/2012/01/vajrasattva-meditation-for-karmic.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2557 23:05:01 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.293 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 30 กันยายน 2567 07:42:21