.สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี
เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชภาพจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรีอุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี
ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว
ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกห้วยขาแข้ง
แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ เล่าเรื่อง เมืองพระชนกจักรีคำขวัญประจำจังหวัดอุทัยธานี บอกกล่าวแก่ผู้มาเยือนถึงความสำคัญในฐานะบ้านเกิดเมืองนอนของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่เรามักเรียกพระองค์ท่านว่า “พระชนกจักรี”
พระชนกจักรี กำเนิดที่บ้านสะแกกรัง ชาวอุทัยธานีจึงพร้อมใจกันสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้บนยอดเขาสะแกกรัง และจัดพิธีถวายสักการะเป็นประจำในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระนามเดิมว่า นายทองดี เป็นบุตรของนายทองคำ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ถือกำเนิดในวันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรง (ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙) ที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุไทธานี หรือจังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน ภายหลังจึงย้ายไปอยู่กรุงศรีอยุธยา รับราชการจนได้ตำแหน่งเป็นพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตรา และรักษาพระราชลัญจกร (ตราประจำพระเจ้าแผ่นดิน)
พระอักษรสุนทรศาสตร์ แต่งงานกับ “ดาวเรือง” (บางแห่งว่าชื่อหยก) มีบุตรธิดา ๕ คน คนแรกเป็นหญิงชื่อสา คนรองเป็นชายชื่อราม ถัดมาเป็นหญิงชื่อแก้ว คนที่สี่และห้าเป็นชายชื่อทองด้วง และบุญมา
ต่อมาเมื่อพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้นำบรรดาศักดิ์สุดท้ายของพระบิดา คือ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” มาใช้เป็นชื่อราชวงศ์จักรี ส่วน “นายทองดี” ซึ่งเป็นบิดาได้รับการสถาปนาพระอัฐิเป็น “สมเด็จพระชนกาธิบดี” พระมหาชนกแห่งรัชกาลที่ ๑
เมืองอุทัยธานี แปลความตามชื่อ หมายถึง ดินแดนแห่งแสงแรกของดวงอาทิตย์ (อุทัย=พระอาทิตย์แรกขึ้น, ธานี=เมือง) หรืออาจตีความต่อไปว่าเมืองแห่งความเจริญรุ่งเรืองเหมือนแสงแรกยามอรุณรุ่ง
เรื่องเล่าตามตำนานอุทัยเก่า กล่าวถึงกำเนิดของเมืองว่า ในอดีตบริเวณพื้นที่แห่งนี้มีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งมอญ ละว้า ขมุ กะเหรี่ยง อาศัยอยู่ก่อนแล้ว เมื่อท้าวมหาพรหมได้สร้างเมืองขึ้นที่บ้านอุทัยเก่า (อำเภอหนองฉางในปัจจุบัน) ได้พาคนไทยเข้ามาอยู่ จึงได้ชื่อว่า “อู่ไท” อันหมายถึงที่อยู่ของคนไทย
บริเวณที่ตั้งเมืองอู่ไทเก่า เป็นที่ดอนห่างจากคลองสะแกกรังประมาณ ๕๐๐ เส้น แต่มีพื้นที่ราบทำนาได้มาก อีกทั้งมีธารน้ำไหลจากภูเขามาหล่อเลี้ยง ไม่มีช่วงฤดูใดที่น้ำจะท่วมนาข้าวเสียหาย จึงมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนมากจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินจนเจริญรุ่งเรือง แต่ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนเส้นทางเดินจึงเกิดความแห้งแล้ง ผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า (เชื้อสายจีน) ที่ต้องอาศัยลำน้ำในการขนส่งข้าวและสินค้าของป่าจึงพากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉางอยู่ริมน้ำสะแกกรังบริเวณบ้านท่า (ภายหลังเปลี่ยนมาเรียกตามชื่อลำน้ำว่าบ้านสะแกกรัง) จนกลายเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่และสำคัญเป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นที่อยู่ห่างไกล ต่อมาชื่อเมืองอู่ไทเพี้ยนเป็น “เมืองอุไท” หรืออุไทธานี ภายหลังจนถึงปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “อุทัยธานี” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐...อ้างอิง : สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี (ศาลากลางจังหวัด) และข้อมูลของวัดอุโปสถาราม อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ ๖,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนป่าใหญ่และภูเขาสูง
ป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีเป็นป่าบริสุทธิ์ (Virgin Forest) สภาพโดยรวม รกทึบมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาก เป็นแหล่งรวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก จนต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ จึงเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน
เมืองอุทัยธานี มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด และภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า ดินแดนบางส่วนของอุทัยธานี พบหลักฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่ เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และเมืองโบราณการุ้ง
ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนั้น “ท้าวมหาพรหม” ได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า(อำเภอหนองฉางในปัจจุบัน) แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญ และคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า “เมืองอู่ไท” โดยเรียกตามชื่อกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย มีพืชพรรณ และอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น ต่อมากระแสน้ำไหลเปลี่ยนทิศทาง ทำให้เกิดกันดารน้ำ แผ่นดินแห้งแล้งเมืองอู่ไทจึงถูกทิ้งร้าง
จนต่อมา “พะตะเบิด” ได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไท โดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง และพะตะเบิดได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองอู่ไท ต่อมาได้เรียกกันเป็น "เมืองอุไท" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง และพระอินทรเดช เป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบัน แม่กลอง คือ อำเภออุ้มผาง และหนองหลวง คือ ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก) มีหน้าที่คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา
มาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๕๓) ได้โปรดให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่ง มีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า “เมืองอุไทธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย”
เมืองอุไทธานี เป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นชาวเมืองอุไทธานี จึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียนมาลงที่แม่น้ำ จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่าหมู่บ้าน “สะแกกรัง” เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำ และมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน
บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น “ซิเกี๋ยกั้ง” เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพื่อสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวง ซึ่งเป็นจำพวก มูลค้างคาว ไม้ซุง กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วยวัดอุโปสถารามอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี วัดอุโปสถาราม เดิมชื่อ "วัดโบสถ์มโนรมย์" เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่บนเกาะเทโพ ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง ตรงข้ามตลาดเทศบาลเมืองอุทัยธานี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๒๔ ภายในอุโบสถและวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านหลังอุโบสถและวิหาร มีเจดีย์สามยุคสามสมัย ทั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ นอกจากนั้นยังมีมณฑปแปดเหลี่ยมศิลปะผสมไทย-จีน อันวิจิตรอ่อนช้อยงดงาม ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกไทย
วัดอุโปสถาราม ครั้งหนึ่งเคยใช้ท่าน้ำหน้าวัดทำแพรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อคราวเสด็จประพาสและเยี่ยมเยือนหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงถวายเครื่องอัฐบริขารแด่เจ้าอาวาสในขณะนั้น (เครื่องอัฐบริขารยังเก็บรักษาไว้ที่วัด) มณฑปแปดเหลี่ยม สัญลักษณ์โดดเด่นของวัดอุโปสถาราม
มณฑปแปดเหลี่ยม มีลักษณะเด่นสวยงาม เป็นอาคารแปดเหลี่ยมสองชั้นทรงยุโรป
มีบันไดขึ้นชั้นบนด้านนอกเป็นสองทาง ซุ้มหน้าตึกทำเป็นมุขยื่นออกมาเหนือกรอบหน้าต่าง
ตกแต่งลวดลายด้วยปูนปั้น มุมตึกด้านทิศใต้ทำห้องยื่นคล้ายมุขบันได ด้านหน้าออกแบบ
ใช้เป็นห้องเก็บของ ผนังด้านนอกมีลวดลายปูนปั้นรูปพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอยู่ตรงกลาง
ประดับด้วยลวดลายนกหงส์ฟ้า นกกระสา เป็นฝีมือช่างชาวจีน
พระอุโบสถ พระอุโบสถเก่าแก่และงดงาม ก่อสร้างโดยช่างฝีมือชั้นครู สันนิษฐานว่าก่อสร้างมาเป็นร้อยปีล่วงมาแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ก็ยังคงรักษารูปทรงของเก่าได้อย่างเหมือนเดิม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างเขียนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตอนปลาย แล้วเสร็จในต้นสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยฝีมือช่างหลวง (ช่างจากกรุงเทพฯ) แบ่งการเขียนเป็น ๒ ส่วน เบื้องล่างเป็นภาพพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติ บรรพชา มารผจญ ตรัสรู้ โปรดปัญจวัคคีย์ ปรินิพพาน และถวายพระเพลิง เบื้องบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับพัดยศลายต่างๆ ปัจจุบัน ภาพบางภาพชำรุดและได้ซ่อมแซมใหม่ยังคงภาพจิตรกรรมเหมือนเดิม พระวิหาร สร้างคู่มากับพระอุโบสถ ทำการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายในและภายนอกพระวิหาร ภายในเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสรวงสวรรค์ ภาพพิธีอสุภกรรมฐาน และด้านบนของฝาผนังเป็นภาพชุมนุมพระสงฆ์สาวก สลับพัดยศลวดลายต่างๆ ด้านนอกหน้าพระวิหารเป็นภาพถวายพระเพลิงและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ภายในพระวิหารนอกจากมีภาพจิตรกรรมแล้วยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสมัยรัตนโกสินทร์หลายองค์
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานอยู่ท่ามกลางพระพุทธรูปปางมารวิชัยอีก ๓ องค์ภายในอุโบสถและวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านหลังอุโบสถและวิหาร มีเจดีย์สามยุคสามสมัย (สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์)
นอกจากนั้นยังมีมณฑปแปดเหลี่ยมศิลปะผสมไทย จีน อันวิจิตรอ่อนช้อยงดงาม
หน้าวัดมีแพโบสถ์น้ำ ครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นแพรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๕) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เมื่อคราวเสด็จประพาส
และเยี่ยมเยือนหัวเมืองฝ่ายเหนือ และใช้เป็นศาสนสถานลอยน้ำสำหรับชาวเรือนแพ
ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจและงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานโกนจุก บวชนาค งานแต่งงาน เป็นต้น