[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 10:38:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้าแม๊คพาเที่ยว - วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์ / วัดโบสถ์มโนรมย์) อ.เมือง จ.อุทัยธานี  (อ่าน 11973 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2557 01:17:31 »

น้าแม๊คพาเที่ยว - วัดอุโปสถาราม
(วัดอุโปสถาราม / วัดโบสถ์ / วัดโบสถ์มโนรมย์)
อ.เมือง จ.อุทัยธานี

วัดอุโปสถาราม - สุขใจดอทคอม



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 07:09:31 »

.


สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี
เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ภาพจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี
ปลาแรดรสดี   ประเพณีเทโว
ส้มโอบ้านน้ำตก   มรดกห้วยขาแข้ง
แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง   ตลาดนัดดังโคกระบือ


เล่าเรื่อง เมืองพระชนกจักรี

คำขวัญประจำจังหวัดอุทัยธานี บอกกล่าวแก่ผู้มาเยือนถึงความสำคัญในฐานะบ้านเกิดเมืองนอนของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่เรามักเรียกพระองค์ท่านว่า “พระชนกจักรี”

พระชนกจักรี กำเนิดที่บ้านสะแกกรัง ชาวอุทัยธานีจึงพร้อมใจกันสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้บนยอดเขาสะแกกรัง และจัดพิธีถวายสักการะเป็นประจำในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระนามเดิมว่า นายทองดี เป็นบุตรของนายทองคำ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ถือกำเนิดในวันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรง (ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙) ที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุไทธานี หรือจังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน ภายหลังจึงย้ายไปอยู่กรุงศรีอยุธยา รับราชการจนได้ตำแหน่งเป็นพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตรา และรักษาพระราชลัญจกร (ตราประจำพระเจ้าแผ่นดิน)

พระอักษรสุนทรศาสตร์ แต่งงานกับ “ดาวเรือง” (บางแห่งว่าชื่อหยก) มีบุตรธิดา ๕ คน คนแรกเป็นหญิงชื่อสา คนรองเป็นชายชื่อราม ถัดมาเป็นหญิงชื่อแก้ว คนที่สี่และห้าเป็นชายชื่อทองด้วง และบุญมา

ต่อมาเมื่อพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้นำบรรดาศักดิ์สุดท้ายของพระบิดา คือ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” มาใช้เป็นชื่อราชวงศ์จักรี  ส่วน “นายทองดี” ซึ่งเป็นบิดาได้รับการสถาปนาพระอัฐิเป็น “สมเด็จพระชนกาธิบดี” พระมหาชนกแห่งรัชกาลที่ ๑

เมืองอุทัยธานี แปลความตามชื่อ หมายถึง ดินแดนแห่งแสงแรกของดวงอาทิตย์ (อุทัย=พระอาทิตย์แรกขึ้น, ธานี=เมือง) หรืออาจตีความต่อไปว่าเมืองแห่งความเจริญรุ่งเรืองเหมือนแสงแรกยามอรุณรุ่ง

เรื่องเล่าตามตำนานอุทัยเก่า กล่าวถึงกำเนิดของเมืองว่า ในอดีตบริเวณพื้นที่แห่งนี้มีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งมอญ ละว้า ขมุ กะเหรี่ยง อาศัยอยู่ก่อนแล้ว เมื่อท้าวมหาพรหมได้สร้างเมืองขึ้นที่บ้านอุทัยเก่า (อำเภอหนองฉางในปัจจุบัน) ได้พาคนไทยเข้ามาอยู่ จึงได้ชื่อว่า “อู่ไท” อันหมายถึงที่อยู่ของคนไทย

บริเวณที่ตั้งเมืองอู่ไทเก่า เป็นที่ดอนห่างจากคลองสะแกกรังประมาณ ๕๐๐ เส้น แต่มีพื้นที่ราบทำนาได้มาก อีกทั้งมีธารน้ำไหลจากภูเขามาหล่อเลี้ยง ไม่มีช่วงฤดูใดที่น้ำจะท่วมนาข้าวเสียหาย จึงมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนมากจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินจนเจริญรุ่งเรือง แต่ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนเส้นทางเดินจึงเกิดความแห้งแล้ง ผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า (เชื้อสายจีน) ที่ต้องอาศัยลำน้ำในการขนส่งข้าวและสินค้าของป่าจึงพากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉางอยู่ริมน้ำสะแกกรังบริเวณบ้านท่า (ภายหลังเปลี่ยนมาเรียกตามชื่อลำน้ำว่าบ้านสะแกกรัง) จนกลายเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่และสำคัญเป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นที่อยู่ห่างไกล ต่อมาชื่อเมืองอู่ไทเพี้ยนเป็น “เมืองอุไท” หรืออุไทธานี ภายหลังจนถึงปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “อุทัยธานี” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐
...อ้างอิง : สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี (ศาลากลางจังหวัด) และข้อมูลของวัดอุโปสถาราม


อุทัยธานี

จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ ๖,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนป่าใหญ่และภูเขาสูง

ป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีเป็นป่าบริสุทธิ์ (Virgin Forest) สภาพโดยรวม รกทึบมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาก  เป็นแหล่งรวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก จนต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้  จึงเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน

เมืองอุทัยธานี มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ  ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด และภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า ดินแดนบางส่วนของอุทัยธานี พบหลักฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่ เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และเมืองโบราณการุ้ง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนั้น “ท้าวมหาพรหม” ได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า(อำเภอหนองฉางในปัจจุบัน) แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญ และคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า “เมืองอู่ไท” โดยเรียกตามชื่อกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย มีพืชพรรณ และอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น ต่อมากระแสน้ำไหลเปลี่ยนทิศทาง ทำให้เกิดกันดารน้ำ แผ่นดินแห้งแล้งเมืองอู่ไทจึงถูกทิ้งร้าง

จนต่อมา “พะตะเบิด” ได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไท โดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง และพะตะเบิดได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองอู่ไท ต่อมาได้เรียกกันเป็น "เมืองอุไท" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง และพระอินทรเดช เป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบัน แม่กลอง คือ อำเภออุ้มผาง และหนองหลวง คือ ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก) มีหน้าที่คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา

มาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๕๓) ได้โปรดให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่ง มีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า “เมืองอุไทธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย”

เมืองอุไทธานี เป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นชาวเมืองอุไทธานี จึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียนมาลงที่แม่น้ำ จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่าหมู่บ้าน “สะแกกรัง” เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำ และมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน

บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น “ซิเกี๋ยกั้ง” เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพื่อสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวง ซึ่งเป็นจำพวก มูลค้างคาว ไม้ซุง กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วย





วัดอุโปสถาราม
อำเภอเมือง  จังหวัดอุทัยธานี

วัดอุโปสถาราม เดิมชื่อ "วัดโบสถ์มโนรมย์" เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่บนเกาะเทโพ ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง ตรงข้ามตลาดเทศบาลเมืองอุทัยธานี  สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๒๔ ภายในอุโบสถและวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ด้านหลังอุโบสถและวิหาร มีเจดีย์สามยุคสามสมัย ทั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ นอกจากนั้นยังมีมณฑปแปดเหลี่ยมศิลปะผสมไทย-จีน อันวิจิตรอ่อนช้อยงดงาม ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกไทย

วัดอุโปสถาราม ครั้งหนึ่งเคยใช้ท่าน้ำหน้าวัดทำแพรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อคราวเสด็จประพาสและเยี่ยมเยือนหัวเมืองฝ่ายเหนือ  และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงถวายเครื่องอัฐบริขารแด่เจ้าอาวาสในขณะนั้น (เครื่องอัฐบริขารยังเก็บรักษาไว้ที่วัด)








มณฑปแปดเหลี่ยม สัญลักษณ์โดดเด่นของวัดอุโปสถาราม
มณฑปแปดเหลี่ยม มีลักษณะเด่นสวยงาม เป็นอาคารแปดเหลี่ยมสองชั้นทรงยุโรป
มีบันไดขึ้นชั้นบนด้านนอกเป็นสองทาง ซุ้มหน้าตึกทำเป็นมุขยื่นออกมาเหนือกรอบหน้าต่าง
ตกแต่งลวดลายด้วยปูนปั้น มุมตึกด้านทิศใต้ทำห้องยื่นคล้ายมุขบันได ด้านหน้าออกแบบ
ใช้เป็นห้องเก็บของ ผนังด้านนอกมีลวดลายปูนปั้นรูปพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอยู่ตรงกลาง
ประดับด้วยลวดลายนกหงส์ฟ้า นกกระสา เป็นฝีมือช่างชาวจีน  







พระอุโบสถ
พระอุโบสถเก่าแก่และงดงาม ก่อสร้างโดยช่างฝีมือชั้นครู สันนิษฐานว่าก่อสร้างมาเป็นร้อยปีล่วงมาแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ก็ยังคงรักษารูปทรงของเก่าได้อย่างเหมือนเดิม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างเขียนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตอนปลาย แล้วเสร็จในต้นสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยฝีมือช่างหลวง (ช่างจากกรุงเทพฯ) แบ่งการเขียนเป็น ๒ ส่วน เบื้องล่างเป็นภาพพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติ บรรพชา มารผจญ ตรัสรู้ โปรดปัญจวัคคีย์ ปรินิพพาน และถวายพระเพลิง เบื้องบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับพัดยศลายต่างๆ ปัจจุบัน ภาพบางภาพชำรุดและได้ซ่อมแซมใหม่ยังคงภาพจิตรกรรมเหมือนเดิม







พระวิหาร

พระวิหาร สร้างคู่มากับพระอุโบสถ ทำการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายในและภายนอกพระวิหาร ภายในเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสรวงสวรรค์ ภาพพิธีอสุภกรรมฐาน และด้านบนของฝาผนังเป็นภาพชุมนุมพระสงฆ์สาวก สลับพัดยศลวดลายต่างๆ  ด้านนอกหน้าพระวิหารเป็นภาพถวายพระเพลิงและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา  ภายในพระวิหารนอกจากมีภาพจิตรกรรมแล้วยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสมัยรัตนโกสินทร์หลายองค์

ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานอยู่ท่ามกลางพระพุทธรูปปางมารวิชัยอีก ๓ องค์



ภายในอุโบสถและวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านหลังอุโบสถและวิหาร มีเจดีย์สามยุคสามสมัย (สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์)
นอกจากนั้นยังมีมณฑปแปดเหลี่ยมศิลปะผสมไทย จีน อันวิจิตรอ่อนช้อยงดงาม
หน้าวัดมีแพโบสถ์น้ำ ครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นแพรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๕) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เมื่อคราวเสด็จประพาส
และเยี่ยมเยือนหัวเมืองฝ่ายเหนือ และใช้เป็นศาสนสถานลอยน้ำสำหรับชาวเรือนแพ
ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจและงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานโกนจุก บวชนาค งานแต่งงาน เป็นต้น









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2558 14:55:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: วัดอุโปสถาราม วัด อุทัยธานี ท่องเที่ยว เที่ยว น้าแม๊ค 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
น้าแม๊คพาเที่ยว อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 5 7538 กระทู้ล่าสุด 05 กุมภาพันธ์ 2553 12:24:20
โดย เงาฝัน
น้าแม๊คพาเที่ยว พุทธอุทยานนครสวรรค์
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 11 10853 กระทู้ล่าสุด 28 มิถุนายน 2553 15:58:49
โดย หมีงงในพงหญ้า
น้าแม๊คพาเที่ยว ป้อมพระสุเมรุ กทม. ยามค่ำคืน
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 13 12885 กระทู้ล่าสุด 07 เมษายน 2554 11:04:41
โดย หมีงงในพงหญ้า
น้าแม๊คพาเที่ยว - วัดขุนอินทประมูล นายอากรผู้ยักยอกเงินพระมหากษัตริย์มาสร้างวัด
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 3 31479 กระทู้ล่าสุด 24 สิงหาคม 2557 22:05:09
โดย หมีงงในพงหญ้า
น้าแม๊คพาเที่ยว - ดำน้ำ dsd ที่เกาะเต่า
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 14 8704 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2558 14:11:20
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.25 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 01:03:51