[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:36:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญของผ้าไทยและการแต่งกายไทย  (อ่าน 15054 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 มิถุนายน 2557 16:20:55 »

.



ผ้าไทยและการแต่งกายไทย

เพื่อสืบสานพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ต้องการให้คนไทยมีชุดประจำชาติไว้สวมใส่ในโอกาสต่างๆ ทั้งยังเป็นการเผยแพร่คุณค่าผ้าไทยและเอกลักษณ์การแต่งกายไทยที่ใช้ผ้าเพียงผืนเดียว สามารถนำมานุ่ง ห่ม จับ จีบ จนกลายเป็นชุดที่ประณีตงดงาม โดดเด่น และมีเสน่ห์เป็นอย่างมาก เหล่านี้เป็นสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรมที่ลูกหลานควรร่วมกันอนุรักษ์หวงแหนและรักษาไว้ให้คงอยู่

พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นอีกหนึ่งในพระราชดำริที่ทรงจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผ้าทั้งในราชสำนักและท้องถิ่น ตลอดจนประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายของไทย ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นว่าผ้าไทยงดงามและมีเอกลักษณ์ ควรแก่การอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย

การศึกษาค้นคว้าการแต่งกายของไทยแบบต่างๆ ในอดีต เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสืบสานเอกลักษณ์การแต่งกายไทยและผ้าไทย ได้แก่ สไบ ผ้าแถบ ผ้าแถบปล่อยชาย โจงกระเบน ลอยชาย ตะเบ็งมาน สะพัก จีบหน้านางคลี่ชายพก จีบหน้านาง หางไหล แพรสะพาย และซิ่น โดยเชื่อว่าการนุ่งห่มจับจีบผ้านั้นยังสามารถนำมาปรับใช้ได้อยู่ทุกยุคทุกสมัย และมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป  

ลอยชาย เป็นการนุ่งผ้าแบบลำลองเมื่ออยู่กับเรือนชานของผู้ชายไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยไม่สวมเสื้อ แต่จะมีผ้าพาดบ่าไว้ใช้สอยใกล้ตัว แม้จะเป็นเพียงการแต่งกายอยู่บ้าน แต่การนุ่งลอยชายยังคงความพิถีพิถัน โดยเฉพาะการจับจีบชายผ้านุ่งให้เกิดริ้วสวยงาม

ตะเบ็งมาน สะท้อนภาพสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างชัดเจน ด้วยตลอดระยะสมัยรวม ๔๑๗ ปี กรุงศรีอยุธยาต้องเผชิญหน้ากับสงครามรอบด้านโดยตลอด เป็นเหตุให้ไม่ว่าชายหรือหญิงมักอาสาเข้าร่วมเป็นนักรบเพื่อปกป้องแผ่นดิน เมื่อผู้หญิงร่วมออกศึกสงครามจะต้องห่มตะเบ็งมาน โดยไขว้ผ้าพันรอบอกไปผูกไว้ที่ด้านหลัง เพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกคล่องแคล่วและทะมัดทะแมงเฉกเช่นผู้ชาย

ผ้าแถบปล่อยชาย เป็นการห่มผ้าแถบแบบดั้งเดิมของผู้หญิงไทยทุกชนชั้น เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน และกิจวัตรประจำวันที่ต้องดูแลงานบ้านงานเรือน การห่มผ้าแถบนั้นจะใช้ผ้าผืนยาวหน้าแคบมาพันรอบอกอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องกลัดหรือเย็บ ทว่ามีความแน่นหนาและสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วสะดวกสบาย โดยประยุกต์ให้สวยงามอ่อนช้อยมากขึ้น เป็นการห่มผ้าแถบปล่อยชาย หากเป็นหญิงสาวชาวบ้านชายผ้าแถบจะใช้ประโยชน์ในการซับหน้าซับเหงื่อขณะทำงานได้อย่างดี

ไม่เพียงแต่การสร้างสรรค์รูปแบบการนุ่ง ห่ม จับ จีบ การดูแลรักษาเครื่องนุ่งห่มเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สะท้อนภูมิปัญญาอันน่ายกย่องของคนรุ่นก่อน ดังเช่นการดูแลรักษาผ้าไหมของหญิงชาววังที่จะนำผ้ามาซักด้วยน้ำมะพร้าวหนึ่งครั้งก่อนซักในน้ำสะอาด จะทำให้ผ้าไหมนุ่มเนียนสวมใส่สบายและคงทนใช้ได้นาน

รูปแบบการแต่งกายของไทยยังสามารถประยุกต์ใส่ได้ในงานสำคัญต่างๆ ในปัจจุบัน อาทิ ห่มสะพัก ที่เจ้าสาวมักใช้สวมใส่ในงานหมั้น โดยนุ่งจีบหน้านาง หรือนุ่งหางไหลเข้าชุดกัน เป็นรูปแบบการแต่งกายที่สะท้อนความประณีตบรรจงของสตรีไทยในอดีต

การห่มสะพักนั้นหมายถึงการห่มผ้าทับลงไปบนผ้าสไบอีกชั้นหนึ่ง หรือห่มผ้าทับลงไปบนเสื้อ ซึ่งผ้าชิ้นที่ไม่สัมผัสโดนผิวนี้จะเรียกว่าผ้าสะพัก ทั่วไปแล้วผู้หญิงชาววังฝ่ายในจะห่มสะพักเมื่อเข้าร่วมงานพระราชพิธีที่ต้องแต่งกายเต็มยศเท่านั้น ส่วนแขกที่เข้าร่วมงานพิธีอาจห่มแพรสะพาย คู่กับนุ่งซิ่น มีความสวยงามแบบไทย แต่ดูทันสมัย มีเอกลักษณ์

ความสำคัญของผ้าไทยและการแต่งกายไทยนั้น ผ้าเพียงผืนเดียวนำมาผ่านกรรมวิธีการทอผ้าที่ต้องอาศัยฝีมือช่างและทอด้วยความพิถีพิถัน บวกกับภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนที่รู้คิดหยิบจับผ้านำมานุ่งห่ม จับพับจีบ เป็นเครื่องนุ่งห่มที่ประณีตสวยงาม ปราศจากการตัดเย็บ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
...ความสรุปจาก 'นุ่ง ห่ม จับ จีบ อวดภูมิปัญญาไทย' หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


ภาพจาก : อาคารพิพิธภัณฑ์ 'นิทรรศน์รัตนโกสินทร์'
ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2557 16:38:47 »

.



ผ้าไทย

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๕ กล่าวถึงผ้าไทย ว่า ผ้าที่คนไทยเราใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มนั้น จะค้นคิดประดิษฐ์ได้สำเร็จตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานแน่นอนเด่นชัด ทราบแต่ว่าคนไทยรู้จักนำเอาฝ้าย ปอและไหม มาทอเป็นผ้าได้นานแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบ แสดงให้เห็นว่าบนแผ่นดินไทยมีร่องรอยการใช้ผ้าและทอผ้าได้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือเมื่อราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ยังมีจดหมายเหตุจีนที่บันทึกเกี่ยวกับดินแดนของไทยเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ ปรากฏข้อความเกี่ยวกับผ้าอยู่ในภาพเขียน "คนไทย" ของ เซียะสุย (Hsich-Sui) จิตรกรแห่งราชสำนักจีน ใน ค.ศ. ๑๗๖๒ รัชกาลพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ซิง เป็นหลักฐานสำคัญถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมานานนับพันปี โดยเฉพาะเรื่องผ้า

ความว่า "สยาม ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแจ้นเฉิน ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังเรียกประเทศนี้ว่า ซื่อถู่กวั๋ว แปลว่าประเทศที่มีดินสีแดง ต่อมาซื่อถู่กวั๋วแบ่งออกเป็นสองรัฐ รัฐหนึ่งเรียกว่าหลัวฮู่ รัฐหนึ่งเรียกว่าฉ้วน (เสียนหรือเสียมในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมารัฐฉ้วนถูกรัฐหลัวฮู่เข้าตีและรวมกันได้ พระเจ้าหงอู่แห่งราชวงศ์หมิงจึงทรงเรียกประเทศใหม่ว่า ฉ้วนหลัว" และ "ตำแหน่งขุนนางมี ๙ ชั้น ๔ ชั้นแรก ปกติจะสวมหมวกทองที่มียอดสูงและประดับด้วยอัญมณีต่างๆ ชั้นต่ำลงมาใช้ผ้าโพกศีรษะ ซึ่งจีนเรียกว่าหลงต้วน ทำด้วยผ้าไหม กำมะหยี่ ผ้าเหล่านี้ปักอย่างสวยงามและทอด้วยเส้นทอง หรือมีผ้าสั้นที่มีลายพิเศษด้านนอก ผู้ชายมีผ้าคาดเอวทำด้วยผ้าปักไหม ผ้าคลุมชั้นนอกมี ๕ สี ส่วนผ้าชั้นในมีสีสันสวยงามและทอผสมกับเส้นทอง ผ้านุ่งยาวมากกว่าตัวผู้นุ่ง ๒-๓ ชั้น"

ผ้าไทยมี "ผ้ากรองทอง" ผ้าถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองเป็นลวดลาย ส่วนมากนำมาทำเป็นผ้าสไบใช้ห่มทับลงบนผ้าแถบและผ้าสไบอีกชั้นหนึ่ง มักใช้แต่เฉพาะเจ้านายผู้หญิง

"ผ้าขาวม้า" เดิมเรียกผ้ากำม้า ผ้าประจำตัวของผู้ชายใช้สารพัด เป็นผ้าฝ้ายผืนยาวทอเป็นลายตาตาราง

"ผ้าเขียนทอง" ผ้าพิมพ์เน้นลวดลาย แล้วเขียนเส้นทองตามขอบลาย เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๑ ใช้เฉพาะกษัตริย์ลงมาถึงชั้นพระองค์เจ้าโดยกำเนิดเท่านั้น

"ผ้าตาโถง" ผ้าลายตาสี่เหลี่ยมหรือตาทะแยง เป็นผ้านุ่งของผู้ชายคล้ายผ้าโสร่ง

"ผ้าปักไทย" ใช้กันในบรรดาเจ้านายชั้นสูง ส่วนมากใช้ผ้าไหมพื้นเนื้อดีปักลวดลายด้วยไหมสีต่างๆ ทั้งผืน ถ้าใช้ไหมสีทองมากก็เรียกว่าผ้าปักไหมทอง

"ผ้าปูม" หรือมัดหมี่ เป็นผ้าส่วยของหลวงมาจากเมืองเขมรที่ใช้พระราชทานเป็นเครื่องยศขุนนาง เดิมไทยเรามีโรงไหมของหลวงทอผ้าสมปักปูมและสมปักเชิงกรวยพระราชทาน ทอด้วยไหมเพลาะ กลางผืนผ้าเป็นลายสีต่างๆ มีสมปักปูมเป็นชนิดสูงสุด สมปักริ้วเป็นชนิดต่ำสุด ดังนั้น ผ้าปูมคงหมายถึงเฉพาะผ้าสมปักปูม

"ผ้าพิมพ์" ในสมัยอยุธยามีช่างเขียนลายบนผ้าอยู่แถววัดขุนพรหม และน่าจะมีสั่งทำจากอินเดียด้วย ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานว่า สั่งทำผ้าพิมพ์หรือผ้าลายจากอินเดียตามแบบลายไทยที่สั่งไป เรียกว่าลายอย่าง ต่อมาอินเดียทำผ้าพิมพ์เองโดยเขียนเป็นลายแปลงของอินเดียผสมลายไทย เรียกลายนอกอย่าง

"ผ้าเปลือกไม้" ทอจากใยที่ทำจากเปลือกไม้ มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และเข้าใจว่าคงจะทอใช้เรื่อยมาจนสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

"ผ้ายก" คำว่ายกมาจากกระบวนการทอ เวลาทอเส้นด้ายหรือไหมที่เชิดขึ้นเรียกว่าเส้นยก ที่จมลงเรียกว่าเส้นข่ม แล้วพุ่งกระสวยไประหว่างกลาง และเมื่อเลือกยกเส้นข่มขึ้นบางเส้นก็จะเกิดลายยกขึ้น

"ผ้าสมปัก" ผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนาง ทอด้วยไหมเพลาะ กลางผืนผ้าเป็นสีและลายต่างๆ

"ผ้าสมรด" หรือสำรด ผ้าคาดทับเสื้อครุยในงานพระราชพิธีของขุนนางชั้นสูง หรือเรียกว่าผ้าแฝง ทำด้วยไหมทอง บางทีหมายถึงผ้าคาดเอวที่ทำด้วยผ้าตาดทองปักดิ้น ปักปีกแมลงทับ

"ผ้าไหม" ผ้าทอด้วยเส้นไหม
... นสพ.ข่าวสด
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.32 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 12:59:15