[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:23:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลากคำสอนท่าน ก.เขาสวนหลวง  (อ่าน 9732 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 17:55:26 »




หลากคำสอนท่าน ก.เขาสวนหลวง
อุบาสิกา กี นานายน (ท่าน ก. เขาสวนหลวง)
สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง ราชบุรี


“ท่านทั้งหลายอย่านึกว่าข้าพเจ้าจำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า
มาแสดงแก่ท่านเลย  แต่ข้าพเจ้า
นำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติตาม แล้วจึงนำมาแสดง...”


นิสัยเถื่อน
(หลากคำสอนท่าน ก.เขาสวนหลวง)
ขอบพระคุณที่มาจาก : คุณนริศรา
: คุณเล็ก

จิตไม่สงบเพราะมันคุ้นกับการที่จะไปตามอารมณ์  ตามความคิดปรุงแต่งของมัน
การฝึกหัดใจ  คล้ายกับการฝึกหัดสัตว์  ที่เริ่มต้นนั้นยังป่าเถื่อน  ต้องค่อยๆ  ฝึก
เพราะความไม่รู้ที่เรียกว่า  อวิชชา  ตัณหา  ความทะยานอยาก 
และอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ  มันยังมีมาก  เต็มอัตราศึก 
มันก็จะไปตามกำลังเถื่อนของมัน

สัตว์ป่าเมื่อมันถูกผูกติดอยู่  มันก็จะดิ้นรน  พยศจนสุดกำลัง
จิตเมื่อถูกจับฝึกก็เช่นกัน  มันก็จะขัดขืนสุดๆ  เช่นกัน
อยู่ธรรมดาเราดูเหมือนไม่เดือดร้อนอะไร  พอจะหัดทำใจให้สงบ 
โดยการลองภาวนาอะไรดูบ้าง  มันไม่เป็นดังคิดมันดีดดิ้นออกไป
นึกถึงอย่างอื่นตามชอบของมัน

เราจะต้องพิจารณาให้มาก  จึงจะละนิสัย  ละความเถื่อนตามกิเลส 
หรือความขุ่นมัว  หลงใหลที่เคยมาแต่กาลก่อนลงได้

ต้องมองทะลุออกไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นของเที่ยงแท้ถาวร 
ว่างจากตัวตน  และหมดความหมายไปในตัว



ควรหมั่นทำ

ทุกข์โทษของกิเลสตัณหานั้น  มันมีหนักทับอยู่ในใจ
จะมาคอยแก้ไขที่ข้างนอกอย่างเดี่ยวจึงไม่ถูก 
ต้องคอยหมั่นสังเกต  หมั่นสำนึกตัวเองให้พร้อม
ตัวเองจะต้องคอยหัดขัดเกลา  ตัณหา  อุทาทานต่างๆ 
ให้มันเกลี้ยงเกลาลง

ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่มีทางจะพ้นทุกข์ 
จะถูกกิเลสมันเผาย่างเล่นต่อไป  ไม่มีวันสิ้นสุดหยุดได้ 
แม้นนานแสนนานชั่วกับปป์  ชั่วกัลป์ ชั่วพุทธันดร

จะยอมถูกกิเลสเผาอยู่ข้างเดี่ยวไปทำไม 
เราก็ต้องเล่นงานมันกลับบ้าง
เล่นงานมันด้วยการขัดขืนกระด้างกระเดื่องต่อสู้มัน
อะไรที่ไม่สมควรก็อย่างปล่อยตามใจ  ขัดขวางมันไว้ 
เป็นการทรมานกิเลสมันให้เร่าร้อน  การชนะอยู่ในจิตนั้น 
มีค่าสูงสุดเหลือเกิน

ด้วยการไม่ตามใจตัว  นี้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะตัดกำลังของกิเลสลงได้ 
หมั่นทำ  ไม่ตามใจตัวเองได้อย่างแยบยลแล้ว 
กิเลสมันจะอ่อนกำลังลง  และจะไม่มีเหลือได้ในที่สุด


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤศจิกายน 2553 22:20:08 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 18:16:11 »




คนจน

ปุถุชนนั้นเอาแต่ได้  เห็นข้าวของเงินทอง  ลาภยศ  เป็นสิ่งสำคัญ 
จึงต้องตกทุกข์ยาก  มากมายอย่างที่เห็น

เคยคิดไหมว่าทรัพย์ภายนอกเป็นของกลาง  ตายไปแล้วก็กลายเป็นของคนอื่น 
จะมีคุณค่าอยู่บ้างก็เมื่อเรายังมีชีวิต  ต้องรุ้จักพิจารณาใช้ให้ดีจึงจะเกิดมีกำไร

การนำทรัพย์ใช้จ่ายให้เป็นบุญกุศล  ให้กำไรกับชีวิตมาก 
เกื้อกูลทั้งตัวเองและสรรพสัตว์

ทางธรรมถือว่าทรัพย์สิน  ไม่ใช่เครื่องแสดงฐานะที่สำคัญของบุคคล 
คนมีศีลพร้อมต่างหาก  ที่ธรรมะถือว่าเป็นคนมั่งมี

การไม่มีศีลถือเป็นการขาดทุนสูญกำไรของชีวิตอย่างยิ่ง
เป็นคนทุศีล  ก็คือ  เป็นคนสิ่นเนื้อประดาตัวที่สุดอยุ่ในตัวเอง 
ถึงจะมีทรัพย์มากมาย  ในทางธรรมก็ถือว่ายากจนที่สุด

อย่างที่เรียกว่า  จนในใจ  ใจมันหิว  ใจมันอยาก 
ซึ่งเป็นเรื่องเสียหายมาก  เพราะคนจนศีล  จนธรรม 
ก็พาก่อกรรมไม่สิ้นสุด  เกิดมาก็มีแต่เพิ่มทุกข์  เพิ่มโทษให้กับตัวเอง 
หาความร่มเย็นได้ยาก  แม้ยังไม่ตาย  ก็เหมือนมีเปลวไฟนรกแลบเลียอยู่ให้เห็นแล้ว



รู้ตัวไหม?

พวกเราล้วนถูกกิเลสหลอกมานานแล้ว  เราหลงเชื่อมันมานานแล้ว
ไม่เห็นได้ดีอะไรขึ้น  ก็เห็นมีแต่ทุกข์อยู่อย่างนั้น

อยากให้คนเขาชม  ให้เขานับถือ  หรือให้คนเขารุ้จักยกย่อง  มันคืออะไร 
ถ้าไม่ใช่การชูหัว  ชูคอ  ของกิเลส

หวังจะได้  หวังจะมี  พอได้พอมีแล้วแทนที่จะเป็นสุขพอใจ 
ก็ไม่เห็นเป็นสุขกันสักที  กลับเห็นมีแต่โลภะจะเอาอีก  เอาอีก  และเอาอีก 
ก็เลยมีแต่โง่หนัก  จมปลักดัดดานยิ่งขึ้น

ลองทำงานด้วยความรุ้สึกที่ว่างลง  จะเห็นว่าต่างกับที่ทำงานด้วยความอยาก 
ที่ทั้งเหนื่อย  ทั้งหนัก  ทั้งวุ่น  ร้อนเร่าไปหมด  ยิ่งมีการแก่งแย่ง
มีผลประโยชน์รุนแรงเท่าไร  ก็ยิ่งเร่าร้อนจัดจ้านขึ้นเท่านั้น

ทำงานตามหน้าที่ของตน  ไม่หวังบุญคุณกับใครให้ยุ่งยากใจ 
ทำงานเพื่อให้สังคมเจริญตามกำลังความสามารถของตน 
ใครไม่ชอบก็ชั่ง  ใครชังก็เฉย  กลับทำให้ใจนั้นโปร่ง 
เบาและชุ่มเย็น  สุข  สันติ

การไม่หวังอะไร  อาจจะดูเหมือนจะทำให้หัวใจแห้งแล้งแต่พอลองทำได้ 
สัมผัสได้เข้าจริงๆ  ก็จะกลับรู้สึกสงบ  เย็นเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง           

ถ้ามัวแต่ยินดีในคำสอพลอ  อยากได้แต่คำสรรเสริญชื่นชม 
แล้วจะได้อะไร  รู้ตัวไหมว่า  ตัวเองกำลังโง่มากขึ้น  โง่อย่างไร้เทียมทาน!
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 18:43:16 »




ไม่ง่ายเหมือนปากพูด

การรู้โดยการฟัง  การอ่าน  เป็นเรื่องง่าย 
มรรคมีองค์แปดนั้นใครๆ  ก็ท่องได้
แต่พอไปสอบผลทางจิตใจ  
มันไม่ใช่เรื่องของการไปนั่งท่อง 
ไม่ใช่เป็นผลของการไปบอกกันแต่ปากว่า

ไม่รู้  ไม่เห็น  ไม่ชัดแจ้งในปัญญา 
ก็ปล่อยวางไม่ได้  คงได้แต่ยึดถือเข้ามา 
เพราะมันถนัดมาแต่อย่างนั้น 
ทำได้โดยไม่ต้องสอน

สิ่งที่นอนเนื่องกันมายาวนานในสันดานนั้น 
ต้องรู้จักกับมันให้ดีโดยแยบคายก่อน 
คือต้องรู้จักใช้โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย)

เมื่อมีความแยบคายแล้วมันจะค่อยๆ  ตัดได้ 
ปล่อยได้ไปทีละเล็กทีละน้อย 
ไม่ใช่รู้แล้วจะสามารถไปปล่อยวางได้ทั้งหมดเลยทีเดียว

มันไม่ใช่ของง่ายเหมือนปากพูด 
ต้องอบรมให้มาก  คิดพิจารณาให้มากให้ยิ่ง 
ให้แยบคายอยู่เสมอ  ถึงจะเห็นผล 
และก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา  แต่ก็ได้ผลคุ้มค่า

ขอให้มองในทางที่ว่างจากตัวตนให้ได้ทุกๆ  ขณะเถิด



น่าคิด

ที่จะเอาอะไรตามใจของตัวเอง
ใจมันพาเราไปตกหล่มจมปลักกันอยู่หรือเปล่า?
เห็นแก่ตัวของตัวอยู่ฝ่ายเดียว
ไม่นึกถึงเพื่อนร่วมทุกข์เกิด  แก่  เจ็บ ตาย

คิดเอาแต่ได้ประโยชน์ส่วนตน
ใครเป็นอย่างไรไม่ว่า  ข้าเอาของข้าไว้ก่อน
จะเสียหายแก่ส่วนรวม  ไม่นึกถึง
ตกลงนั่นก็คือ  ความเห็นแก่ตัวจัดนั่นเอง

จะคิดถึงประโยชน์ส่วนกลางสักหน่อยจะได้ไหม
จะกอดสมบัติ  อัตกรรมทำเวรใส่ตน
ขนบาปใส่ใจไปใช้ในชาติหน้ากันหรืออย่างไร?

โง่แกมหยิ่งนี้รุ้สึกตัวยากแท้
มันก็ล้วนแต่โง่เง่าหาเรื่องเผาตัวเอง
จะเอา  จะเป็นทั้งนั้น

งมงายไปจนหมดอายุ
ยิ่งแก่  ยิ่งหลง  อยากได้หนักขึ้น  กิเลสหนาหนักเข้า
วันเวลาของชีวิตเหลือน้อยเข้าไป


วันเวลาแห่งความตายใกล้เข้ามา
น่าสังเวชเหลือเกิน  สุขที่เคยคิดอยากได้เก็บไว้นั้น 
มันกำลังจะกลับกลายเป็นทุกข์ไปทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 19:04:44 »




ทางแก้

พึงเข้าใจว่า  ตัวเรานี่เองที่เป็นต้นเหตุ
ก่อทุกข์อะไรต่างๆ  เข้ามาสุมเผาใจตัวเอง
ให้เศร้าหมองอยู่ตลอดวันเวลา  แต่กลับไม่รู้ตัวกัน  
มองไม่ออกว่า  ตัวเรานี่แหละเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ของเรา

ก็ทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นติดในตัวเรา  
วางไม่ลง  ปลงไม่ตก  หวงแหน  ปกป้องตัวเราสุดชีวิต  
และดูเหมือนว่าการยึดเข้ามาจะง่ายกว่าที่จะปล่อยออกไปเสียอีก

ยึดติดตัวเรา  จึงกอบโกยเพื่อตัวเรา
กอบโกยกิเลสเก็บไว้ แล้วกิเลสมันก็ทับถมตัวเรา
บางวันกิเลสก็กลายเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาเผาตน
 
และก็เป็นปรกติที่ยังมีการเที่ยวระบายพิษ  
ไปเผาไหม้คนอื่นด้วยเผื่อแผ่กันไป  
กลัวว่าคนอื่นเขายังทุกข์ร้อนอยู่ไม่พอ  
ไม่เคยหลาบจำ  ทำจนชิน  ก่อกรรม  ก่อเวรภัย

คิดเอาแต่ได้  ว่าถูก  ว่าดี  ก็ไอ้ตัวถูก  
ตัวดีของเรานี่แหละที่มันเป็นตัวหลอกที่สำคัญ  
หลอกว่าตัวเองเก่ง  ว่าดี  หลอกให้ทะนงตัว  
ที่แท้ก็คือ  โง่เขลาบริสุทธิ์  งมงายทุกข์หนัก  
ดักดาน  หวังสิ่งไม่ควรหวัง  หวงสิ่งไม่ควรหวง

เชื่อไหมว่า  ถ้าวางตัวให้ว่างจากตัวเราแล้ว  
ทุกข์จะห่างหายจากไปเอง  แล้วความสุขที่ไม่เคยได้พบ  
ก็จะมาปรากฏให้เห็น  ให้รู้จัก



อย่านึกว่าจะพูดอะไรก็ได้

วจีกรรม  คำพูดบริสุทธิ์พร้อมดีหรือยัง  
ไม่พูดเท็จ  ไม่ส่อเสียด  ไม่กล่าวคำหยาบ  
ไม่เพ้อเจ้อโปรยประโยชน์  เราเข้าใจกันไหม  คำโปรยประโยชน์?

การพูดความจริง  บางครั้งก็ไม่สมควรพูด  
เช่น  เมื่อเราได้ยิน  คนนั้นนินทาคนโน้น  
แล้วเรานำเรื่องนั้นไปเล่าให้คนโน้นฟัง

การพูดความจริงเช่นนี้  เป็นการส่อเสียด  
จะกลายเป็นทุศีลโดยตัวเองไม่กลัว

ฉลาดแต่คิดไปภายนอก  ถนัดแต่จำเอามาคิด  
แต่ไม่เคยพิจารณาให้รู้เห็นเลย

เชื่อตามกิเลสเรื่อยไป  ใช้แต่สติปัญญาของกิเลส  
มีแต่การส่งเสริมการเอามาเพื่อตัวกู

ทำผิดคำสอนพระพุทธเจ้าแล้ว  
การกระทำนั้นจะพร้อมบริบูรณ์ไปได้อย่างไร?

การกระทำทุกสิ่งต้องใคร่ครวญ  โดยแยบคาย  
คำประชดประชัน  ถือเป็นคำหยาบ  เช่น  การประชดว่าแม่มหาจำเริญ  
แต่ใจมันโกรธจึงได้ประชดว่าอย่างนั้น  
อย่างนี้ถือว่าเป็นวาจาหยาบอย่านึกว่าจะพุดอะไรก็ได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤศจิกายน 2553 17:39:52 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 19:55:30 »



ตึกไสยาสน์ ที่บรรจุร่างของท่าน ก. เขาสวนหลวง
(เจ้าสำนักคนแรก)


กำไรสูง

เราจะต้องคอยดัดสันดานตนเองสารพัด 
ต้องหัดทำใจได้มีสติอยู่เสมอ  ที่เรียกว่า  มีสติสังวร
ต้องมีกติกากับตนเอง  และก็จะต้องเคร่งครัด

ถ้าใครยังมัวเล่นๆ  อยู่  ก็ให้รู้ว่าจะเสียเวลา 
มาสร้างกรรมกันเล่นอยู่เปล่าๆ 
และบางครั้งก็อาจจะทำให้คนอื่นเขาต้องมาพลอยเดือดร้อน 
เพราะการกระทำของเราด้วย

วันคืนก็ล่วงไป  ล่วงไป  มีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันแน่ 
ถ้าเพื่อกินๆ  นอนๆ  และคอยกอบโกยเอาอะไรต่างๆ  อยู่ 
จิตใจก็จะวุ่นวาย  ล้วนแต่เป็นทุกข์อยู่ในตัวทั้งนั้น

จะคอยแก้เฉพาะแต่ปัญหาจากข้างนอก  เป็นไม่สำเร็จแน่ 
จะต้องแก้ปัญหาจากภายใน  ต้องหมั่นพิจารณา 
ต้องหมั่นสำนึกตัวให้มากว่า  มีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันแน่ 
เพื่อจะหัดปฏิบัติขัดเกลาหรือเพื่อจะเพิ่มทุกข์ 
เพิ่มโทษให้แก่ตัวเอง  หมั่นสำนึก 
ก็จะสามารถระงับดับสันดานดิบลงได้

ทำงานตามฐานะ  ทำงานตามหน้าที่ 
ทำงานเพื่อประโยชน์เกื้อกุลแก่ผู้ร่วมทุกข์ทั้งหลาย 
ผลที่ได้รับจะกำไรสูงมากเหลือ  เพราะเราไม่คิดจะเอา




Pics by : Google
และ,ศิษย์กวง : http://www.oknation.net/blog/sitthi/2009/03/13/entry-1
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 20:25:35 »




ก. เขาสวนหลวง ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๗

หมายเหตุ สรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมนี้ ท่าน ก. เขาสวนหลวง
ได้เรียบเรียงเขียนขึ้นด้วยตนเอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗
เพื่อพิมพ์ในหนังสืออ่านใจตนเอง ท่าน ก. ได้สังเกตพิจารณา
ศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ตามแนวนี้มาด้วยตนเอง และเป็นแนวทางที่ท่านได้ย้ำอธิบาย
แก่ผู้ปฏิบัติธรรม ณ เขาสวนหลวงเสมอมา

ผู้ปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไป ดังนี้
การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาล
ทุกขณะได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า ก็คือ ศึกษาในห้องเรียน
กล่าวคือในร่างกายยาววา หนาคืบ มีสัญญาใจครอง
ในร่างกายนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

ขั้นของการศึกษา

ก.เบื้องต้นให้รู้ว่า กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ
ส่วนใหญ่ได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ
ส่วนย่อย ได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่
เป็นต้นว่า สี กลิ่นลักษณะ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เต็มไปด้วยของปฏิกูล พิจารณาให้ลึกจะเห็นว่าไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร
มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ ไม่มีภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเรา ของเรา”
เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจนก็จะคลายความกอดรัด
ยึดถือในกายว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขาเป็นนั่น เป็นนี่เสียได้

ข.ขั้นที่สองในส่วนของนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณกำหนดให้รู้ตามความเป็นจริง ล้วนเป็นเอง
ในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปคือ เกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา
พิจารณาเห็นจริงแล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรมว่าเป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

ค.การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟัง การอ่านเท่านั้น
ต้องการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

๑. ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง
(จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมอง วุ่นวายอย่างไร)
ด้วยความมีสติสัมปชัญญะกำกับ รู้กาย รู้จิตใจ อบรมจิตทรงตัวเป็นปรกติ

๒. เมื่อจิตทรงตัวเป็นปรกติได้ จะเห็นสังขาร หรืออารมณ์ทั้งหลายเกิดดับ
เป็นธรรมดาจิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

๓. ความรู้ว่าไม่มีตัวตนแจ่มชัดเมื่อใด จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายในเป็นสิ่งที่พ้นทุกข์
ไม่มีการหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ ไม่มีความเกิดความตาย
สิ่งที่มีความเกิดย่อมมีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา

๔. เมื่อเป็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะวาง ไม่เกี่ยวเกาะอะไร
แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร คือ ไม่ยึดถือตัวเอง
ว่าเป็นอะไรทั้งหมด จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

๕. เมื่อบุคคลมองเห็นสภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ย่อมเบื่อหน่ายในการทนทุกข์ ซ้ำๆ ซากๆ เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลก
และฝ่ายธรรมตลอดแล้วจะเห็นผลประจักษ์ว่า สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้น
มีอยู่อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเชื่อตามใครไม่ต้อง ถามใครอีก
เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตัง คือ รู้เฉพาะตนจริงๆ
ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 22:05:06 »





รวบรวมข้อปฏิบัติ คำสอน (ท่าน ก. เขาสวนหลวง)

การเกิดมานี้มิใช่เพื่ออะไรอื่น เพื่อจะมีการศึกษาให้รู้เรื่องทุกข์เรื่องเหตุ
ที่ทำให้เกิดทุกข์ และทางดำเนินไปสู่ความดับสนิทแห่งทุกข์
ให้มีความละอาย และมีความกลัวต่อทุกข์โทษนานัปประการ
ให้ค้นหาความจริง จนแน่ใจในตนเองให้ได้ ไม่ต้องไปเชื่อตามใคร

ถ้ามีหลักของพิจารณาตนเองพอสมควร ก็จะรู้เรื่องของกาย ของใจ
ที่มันเป็นกลุ่มของธรรมชาติ ที่มีความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ไม่ใช่ตัวตนถ้ารู้อยู่ในลักษณะอย่างนี้ก็ดับทุกข์ ดับกิเลสได้เรื่อยไป
และจะต้องตรวจกันให้ละเอียด ตรวจให้ลึก จึงจะทำลายโรคกิเลสได้

ขั้นแรก ต้องฝึกฝนอบรมให้จิตสงบ โดยมีกรรมฐานเป็นเรือนที่อยู่ของจิต
และก็ควบคุมอายตนะ ผัสสะให้อยู่ในอำนาจของสติ
แล้วก็คอยเฝ้ามองแต่จิตใจของตนเองทุกอิริยาบถ
อะไรจะเกิดขึ้นมาก็เห็นมันไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป จิตก็เป็นปรกติ
ก็รู้อยู่อย่างนั้น แล้วก็พิจารณาประกอบทุกอิริยาบถ

ฉะนั้นความรู้ที่เป็นการอ่าน การฟัง มันก็เท่ากับเป็นแผนที่อยู่แล้ว
แต่ตัวจริงนี้มันต้องมากำหนด ต้องมารู้ ต้องมาพิจารณา
มันจึงจะปล่อยวางได้เรื่องจริงมีอยู่อย่างนี้ มันจึงจะปล่อยวางได้



ดังนั้นจึงต้องใช้ปัญญาของตนเองเป็นเครื่องมือสำคัญ
การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ กำลังพูด กำลังฟังอยู่เดี๋ยวนี้
ให้รู้แจ้งด้วยใจจริงในลักษณะของความว่าง คือ ฟังให้เข้าใจ
และให้ความรู้สึกอย่างนี้เข้ามาอยู่ในใจด้วย แล้วก็ให้รู้ว่าเสียง
เป็นเพียงสื่อให้เข้าไปรู้ใจเป็นสื่อให้ใจรู้จริง แล้วก็เป็นสื่อให้ใจรู้แจ้ง

แม้จะมีข้อปฏิบัติมากมาย แต่ความสำคัญอยู่ตรงที่หยุด จะต้องย้ำอยู่อย่างนี้
ให้หยุดดูทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้วดับหมด พิจารณาเรื่องนี้เรื่องเดียว
แล้วจะแก้ปัญหาในข้อปฏิบัติได้มากมาย

ขอให้รู้อยู่ตรงจิต ตรงใจทุกขณะไปให้ได้ การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นการทำได้ง่ายๆ
จิตก็สงบ มันสงบจากการทำชั่ว ศีลก็บริสุทธิ์อยู่ในตัว
หยุดดู หยุดรู้ หยุดปล่อย หยุดวาง ดับหมด แล้วให้ทรงภาวะของจิตที่มีความรู้
ความรู้ในลักษณะที่ว่างอยู่ในตนเองไว้

ถ้าว่างอย่างนี้ได้ติดต่อ นิพพานก็ปรากฏอยู่ที่จิต เป็นการดับสนิทของทุกข์ได้ทุกขณะ
ดับความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ขณะไหน ก็เป็นนิพพานขณะนั้น
เป็นนิพพานทีละเล็กละน้อยไปก่อน จนกว่าเป็นนิพพานจริงคือ
โลภ โกรธ หลง หรือกิเลส ตัณหาสลายตัวหมดสิ้นเหมือนกับตาลยอดด้วนไม่มีงอกเลย

ในขณะที่ตาเห็นรูป จิตนี้ก็ยังเป็นปรกติอยู่ ในขณะที่ฟังเสียง จิตก็ยังเป็นปรกติอยู่
ตลอดจนการได้กลิ่น ลิ้นรู้รส หรือ การสัมผัสผิวกายอะไรขึ้นมานี้
จิตก็มีการดำรงสติอยู่ เป็นอันว่ารู้อยู่โดยเฉพาะตัวจิต ไม่มีการแส่ส่ายไปตามผัสสะ
ความรู้สึกรับสัมผัสอะไรทางทวารนี้ ขอ ให้มองเห็นเป็นธรรมชาติไว้


คือว่าไม่ให้ไปหมายว่ามันดี มันชั่ว หรือมันสุข มันทุกข์อะไรทั้งหมด
ปล่อยวางให้เป็นไปตามธรรมชาติแล้วจิตนี้จะอยู่ในภาวะที่อยู่ในความสงบได้
มันไม่มีเรื่องที่จะคิดนึก ปรุงแต่ง แส่ส่ายไป มันก็สงบตามธรรมชาติของมันได้


การอบรมข้อปฏิบัติในด้านจิตใจนี้เป็นของละเอียด และเป็นของสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นเราจะต้องสำรวมแล้ว สำรวมอีก ระวังอยู่รอบด้านทีเดียว
เพราะว่ากิเลสเกิดง่ายๆ ถ้าไม่สำรวม ไม่ระวังรักษาตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจไว้
กิเลสสำคัญนัก จะมาเผาให้จิตใจเร่าร้อน เศร้าหมอง



ที่มา : http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1145.php
ขอบพระคุณที่มา : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=35349
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26919
: http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3548.msg15147.html#top
: อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พฤษภาคม 2554 17:55:22 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลิ้งค์ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2553 15:59:03 »


สัจจะ
(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การมีสัจจะเป็นเครื่องบังคับตัวเอง  เป็นความดี
เป็นความเหมาะสม  เพราะถ้าไม่มีเครื่องบังคับ  กิเลสตัณหา
มันพาโลเล  เลื่อนลอย  พบอะไรมันก็จะเอา  จะหยิบจะฉวยรวบรัด
เอาเฉพาะหน้า  แบบเห็นแก่ได้

                สัจจะจะช่วยป้องกันความเหลวไหนได้รอบตัว
คุ้มครองให้ศีลบริสุทธิ์  ผุดผ่องขึ้น  ข้อปฏิบัติอื่นๆ
ก็เจริญงอกงามตามไป  ทำให้ศีล  สมาธิ  ปัญญา
ก็คล้อยตามกันไป  เกิดเป็นมรรคเป็นผลเต็มที่

                การมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว  จะเป็นกำลังผลักดัน
ให้ก้าวหน้า  ถ้าไม่มีอย่างนี้มันจะโลเลถอยหลัง
จะไปเป็นทาสของกิเลสตัณหา

                พอจะมีสัจจะเด็ดขาดขึ้น  อารมณ์โลเลพวกนี้
มันก็ดับหายไปหมด  ไม่มาสอพลออีก  ถ้าไปทำเล่นๆ
อารมณ์พวกนี้มันหาโอกาสมาแหย่  จะให้เลี่ยงวินัย
ข้อบังคับ ทีละน้อย

                คนที่ตั้งสัจจะนับว่าเป็นคนเด็ดขาดไม่เหลวไหล
ถ้าใครยังพูดให้กำลังกิเลสอยู่  คนนั้นเป็นคนเหลาะแหละโลเล
ระวังจะเอาตัวไม่รอด

                จะต้องรู้ว่า  กิเลสตัณหามันก็กลัวการมีสัจจะอยู่เหมือนกัน



ผลประโยชน์มากสุด

                คนมีความอดทน  เมื่อกระทบกระทั่งอะไรแล้วก็นิ่งได้
สงบได้  พิจารณาปล่อยวางไปได้  ไม่เที่ยวเอะอะโวยวาย
ไปกระทบกระเทือนคนอื่นเขาง่ายๆ  ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนแล้ว
เป็นอันไม่ถูก  ไม่ชอบทั้งนั้น

                ควรหัดสำรวมระวัง  สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ก็ให้รู้จักฝึกเลี่ยงหลีกปลีกตัวให้ได้  ศีลจึงจะบริสุทธิ์
ผุ้ปฏิบัติจะต้องมีความรุ้สึกอย่างนี้ไว้เป็นประจำ

                อย่างมุ่งแต่แก่งแย่งผลประโยชน์
อย่าไปเชื่อกิเลสเชื่อมามากแล้ว  ร้อนรน
ทนทุกข์มามากน้อยเท่าไรแล้ว?

                ค่อยๆ  ลองคิดทบทวนดู  ผลประโยชน์ที่ได้มานั้น
มันเป็นผลประโยชน์ของกิเลส  หรือประโยชน์ของเรา
เหนื่อยร้อนอ่อนใจขนาดนั้น  เคยคิด  เคยรู้สึกตัวไหม?
ผลน่าพึงพอใจคุ้มทุนดีหรือ?

          ควรหมั่นตรวจสอบดู  อย่าทำเฉยเมย
มัวประมาทอยุ่เลยหัดตัวเองให้รุ้จักอดทนยิ่งๆ  ขึ้น
อดทนต่อแรงยั่วยุของกิเลสแล้ว
จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด  คือ
จะสามารถดับทุกข์ดับกิเลสได้เป็นลำดับ  มีสันติอย่างนิรันดร
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2553 16:08:09 »


อันตรายของชีวิต
(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

            วันเวลาของชีวิตมันนับแต่จะหมดไป  สิ้นไปอยู่ในตัว

                อันตรายของชีวิตมีการเปรียบว่า  เหมือนประทีปที่จุดไว้ในที่แจ้ง
พายุจะพัดดับเมื่อไรก็ไม่รู้           จะต้องพยายามให้ได้ที่พึ่งของตัวเอง
ก่อนที่  ความแก่  ความเจ็บ  ความตาย  จะมาถึง

                การปฏิวัติเพื่อสร้างที่พึ่งก็ไม่มีเรื่องอื่น
มีแต่เรื่องการพิจารณาควบคุมจิตใจ  การพิจารณาให้ปลงตก
ไม่ยึดมั่นจนสามารถปล่อยวางได้ในที่สุด

                เมื่อรู้ด้วยสติปัญญาออกมาจริงๆ  แล้ว
มันก็จะปล่อยวางอะไรต่ออะไรออกไปได้เอง
ทำให้จิตใจเกิดการสงบยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น

                กิเลสตัณหาอุปทานแม้มีมากมาย  มันก็ไม่ได้ไปเกิดที่ไหน
ล้วนแต่มาเกิดกลุ้มรุมสุมเผาอยู่ที่จิตเท่านั้น

                ถึงแม้ว่ามันจะอาศัยการสัมผัส  และเครื่องอวัยวะที่รับสัมผัสต่างๆ
เป็นที่เกิด  แต่ในที่สุดแล้วมันก็กลุ้มรุมล้อมเข้ามาที่จิต

                จึงต้องระวังรักษาจิตให้มากเป็นพิเศษ
ควบคุมจิตไว้ได้อย่างเดียว  ศีลกี่ข้อๆ  ก็จะบริสุทธิ์ขึ้นมาได้

                การที่จะรู้จักใช้  กาย  วาจา  ใจ  ให้เป็นไปด้วยสติปัญญา
จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกหัดอบรม  ต้องฝึกให้เป็นความเคยชิน

                เท่ากับรู้จักสร้างที่พึ่งของตนเอง  ถึงตอนนั้นแม้ลมพายุจะมา
วันเวลาของชีวิตจะหมด  เราก็ไม่เสียใจ



คำสอน
(ท่านก.เขาสวนหลวง)

                พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปนานมากแล้ว
แต่คำสอนของพระองค์ยังคงอยู่  ก็อย่างที่พวกเรา
ได้นำมาปฏิบัติดับกิเลสกันอยู่นี้เป็นตัวอย่าง
ถ้าคำสอนของพระองค์ไม่มีเหตุผล
ก็คงต้องสูญหายไปนานแล้ว

                นี่เป็นแก่นธรรมแท้  จึงปรากฏคงอยุ่ได้จนปัจจุบัน
และทำให้เราสามารถนำคำสอนนั้นมาปฏิบัติ  ดับทุกข์
ดับกิเลสกันได้จริงตามสติกำลัง

                เราจะต้องพยายามดับความหลงของตนเอง
เกิดมาจะได้ไม่เสียเที่ยวเสียชาติ

                เมื่ออบรมปฏิบัติพิจารณาเรื่อยไป
การบรรลุธรรมแต่ละกระแส  จะรวมกำลังกันเข้าทีละน้อย
ทุกครั้งที่เราเอาชนะได้

                เมื่อมันรวมกำลังมากเข้า
บางที่อาจจะไปถึงจุดสิ้นสุด เรียกว่าการบรรลุธรรมสูงสุด
หมดอาสวะกิเลส  (สิ่งหมักหมมต่างๆ  ในใจ)  ไปก็ได้
เป็นของไม่แน่  เพราะเป็นปัจจัตตัง (รู้เฉพาะตน)
ไม่มีใครรุ้ของใครได้

                เมื่ออบรมจิต  ปฏิบัติใจไปอย่างนี้
จิตย่อมจะค่อยมีความสะอาด  สว่าง  สงบเพิ่มขึ้นเรื่อยไป
พอมันรวมจุดขึ้นมา  มันตัดอะไรได้เด็ดขาด
อาจจะว่า  สำเร็จบรรลุนิพพานได้ ก็ไม่มีใครรุ้ล่วงหน้า

                เป็นอย่างนี้  จะไม่น่าปฏิบัติได้อย่างไร
ใครจะมาปฏิบัติแทนก็ไม่ได้  ต้องทำเอง
กิเลสในหัวใจใคร  ก็ต้องดับเอาเองเพราะต่างคนต่างใจ
บันทึกการเข้า
คนดีศรีอยุธยา2
นักโพสท์ระดับ 4
****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 20


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 14:50:35 »

ตัวหนังสือมองไม่ค่อยเห็น
บันทึกการเข้า
คำค้น: การเจริญสติ คติธรรม หลักธรรม การปฏิบัติธรรม สรุปแนวทาง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.734 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 07:01:05