[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 09:13:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฮับเบิลเผยโฉมพลูโต [ข่าวดาราศาสตร์]  (อ่าน 2992 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553 11:29:32 »

ฮับเบิลเผยโฉมพลูโต


http://thaiastro.nectec.or.th/news/uploads/2010/news-24-MjQgMC.jpg
ฮับเบิลเผยโฉมพลูโต [ข่าวดาราศาสตร์]


ภาพถ่ายพลูโตที่มีความละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยถ่ายได้ ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ในช่วงปี 2545-2546 ภาพกลางปรากฏจุดขาวสว่างซึ่งคาดว่าเป็นบริเวณที่มีคาร์บอนไดออกไซด์แข็งมากเป็นพิเศษ
(จาก NASA/ESA/M. Bule (SwRI))


16 ก.พ. 2553รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย
          ดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระที่อยู่ห่างไกล เคยถูกจัดเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์เก้าดวงของระบบสุริยะ ปัจจุบันก็ยังเป็นดาวเคราะห์แคระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ด้วยระยะทางที่ไกลแสนไกล ทำให้นักดาราศาสตร์รู้จักดาวพลูโตน้อยมาก ภาพถ่ายของดาวพลูโตที่ดีที่สุดยังมีขนาดเพียงไม่กี่พิกเซลเท่านั้น
          ล่าสุดนาซาได้เผยภาพถ่ายดาวพลูโตที่มีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีการถ่ายมา ภาพชุดนี้ได้แสดงถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
          ดาวพลูโตมีสีแดงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซีกเหนือของดาวก็สว่างกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้คาดว่าน่าจะมาจากการที่น้ำแข็งบนพื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ละลายไปแล้วไปจับตัวแข็งกันอีกที่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของดาวพลูโตที่มีคาบยาวนานถึง 248 ปีของโลก
          เมื่อเปรียบเทียบภาพที่ได้จากกล้องฮับเบิลที่ถ่ายในปี 2537 กับภาพที่ถ่ายในปี 2545-2546 นักดาราศาสตร์พบว่าพื้นผิวบริเวณขั้วเหนือของดาวพลูโตสว่างขึ้น ส่วนซีกใต้ของดาวกลับดูคล้ำลง
          ภาพจากฮับเบิลยืนยันว่าดาวพลูโตเป็นดินแดนแห่งความแปรเปลี่ยน ไม่ใช่เพียงแค่ก้อนหินปนน้ำแข็งธรรมดา บรรยากาศที่นี่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ฤดูกาลบนดาวพลูโตก็ต่างจากของโลกที่ขับเคลื่อนโดยความเอียงของแกนโลกเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับดาวพลูโต ความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเป็นผลจากความรีของวงโคจรในระดับที่มากพอ ๆ กับความเอียงของแกนหมุน ความรีมากของวงโคจรยังทำให้ฤดูกาลของพลูโตไม่สมมาตรอย่างโลก ช่วงเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิไปเป็นฤดูร้อนของซีกเหนือเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะดาวพลูโตในช่วงนั้นเคลื่อนที่เร็วกว่าช่วงอื่นเนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่ามาก
          การสำรวจจากภาคพื้นดินในช่วงปี 2531-2545 แสดงว่ามวลของบรรยากาศในขณะนั้นมีมากกว่าปัจจุบันถึงสองเท่า สาเหตุอาจเกิดจากการที่ไนโตรเจนแข็งได้รับความร้อนแล้วหลอมละลาย ภาพใหม่ที่ได้จากฮับเบิลช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจถึงลมฟ้าอากาศของพลูโตขึ้นเป็นอย่างมาก
          แม้ภาพจากฮับเบิลหยาบเกินกว่าจะมองออกถึงสภาพทางธรณีวิทยาบนดาวพลูโต แต่ในแง่ของสีและความสว่าง ฮับเบิลได้แสดงถึงดินแดนแห่งสีสันที่มีตั้งแต่สีขาว ส้มคล้ำ และพื้นที่สีดำสนิท สีโดยรวมของดาวพลูโตคาดว่าเป็นผลจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ทำให้โมเลกุลมีเทนบนพื้นผิวแตกออก ทิ้งไว้เพียงส่วนตกค้างจำพวกคาร์บอนสีแดงและดำ
          ภาพดาวพลูโตชุดนี้ของฮับเบิลจะเป็นภาพที่คมที่สุดไปอีกหลายปี จนกระทั่งยานนิวเฮอไรซอนส์ของนาซาไปถึงดาวพลูโตในปี 2558
          ภาพจากฮับเบิลชุดนี้จะมีส่วนช่วยในภารกิจของยานนิวเฮอไรซอนส์อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ของนิวเฮอไรซอนส์ใช้ภาพจากฮับเบิลเพื่อคำนวณหาระยะเวลาเปิดหน้ากล้องสำหรับการถ่ายภาพดาวพลูโตให้แม่นยำยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการถ่ายภาพให้ได้รายละเอียดดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากยานนิวเฮอไรซอนจะพุ่งเฉียดดาวพลูโตอย่างรวดเร็ว ยานนิวเฮอไรซอนส์จึงไม่มีเวลาให้ลองผิดลองถูก ต้องคำนวณเวลาไว้ให้ดีล่วงหน้า
          นอกจากนี้ภารกิจที่เร่งรีบอย่างมากของนิวเฮอไรซอนส์ทำให้ยานจะถ่ายภาพละเอียดของดาวเคราะห์แคระดวงนี้ได้เพียงซีกเดียวเท่านั้น นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับจุดสว่างจุดหนึ่งบนพลูโตที่คาดว่าเป็นบริเวณที่มีคาร์บอนไดออกไซด์แข็งปกคลุมหนาแน่นเป็นพิเศษ ซึ่งจุดนี้ก็ปรากฏในภาพที่ถ่ายโดยฮับเบิลคราวนี้ด้วย




ที่มา:
Pluto's white, dark-orange, and charcoal-black terrain captured by the Hubble Space Telescope - astronomy.com
ข้อมูลดึงมาจาก:
เวบไซท์สมาคมดาราศาสตร์ไทย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ดาวเคราะห์น้อยชนกัน เหมือนดาวหาง แต่ไม่ใช่ดาวหาง [ข่าวดาราศาสตร์]
วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
หมีงงในพงหญ้า 0 2373 กระทู้ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ 2553 11:35:26
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.26 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 08:00:21