[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 06:22:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประสบการณ์โลกทิพย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  (อ่าน 64931 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.104 Chrome 38.0.2125.104


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2557 13:54:41 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
(ตอนที่ ๑)

เรื่องราวของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมานานแล้ว แต่ก็ยังมีท่านผู้อ่านอีกเป็นจำนวนมาก? ที่ยังไม่ได้ทราบ เรื่องราวชีวประวัติการปฏิบัติธรรมะขั้นสูงของท่านอย่างแจ่มแจ้งเท่าที่ควร จึงใคร่ขอนำเรื่องราวจริยธรรมของท่านมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อเป็นคติธรรมสำหรับท่านที่ใคร่สนในใจธรรมะ
 
ยอดอริยะแห่งยุค
 
เหตุไฉน พระอาจารย์มั่นถึงได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งนักว่า เป็นนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานผู้เยี่ยมยอดในยุคนี้ คุณสมบัติอันประเสริฐเลิศมนุษย์ของท่านก็คือ มีนิสัยพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละ มีความพากเพียรอย่างยอดยิ่งไม่ลดละท้อถอย ตลอดชีวิตการเป็นนักบวชอันยาวนาน 58 พรรษา

ไม่ยอมลดละความเพียรทุกวินาที จะละความเพียร ก็เฉพาะเวลาพักผ่อนหลับนอนเล็กน้อยเท่านั้น พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นท่านจะรีบลุกขึ้นล้างหน้าทันที ไม่ยอมตกเป็นทาสของความโงกง่วง ท่านจะเดินจงกรมให้หายง่วง ถ้ายังไม่หายง่วงนอน ท่านจะเดินด้วยอิริยาบถเร็วๆ จนกว่าจะหาย? ต่อจากนั้นก็นั่งสมาธิภาวนาพิจารณา ธรรมะของพระพุทธองค์ ขับเคี่ยวต่อสู้กับกิเลสมารในตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตาย

ไม่กลัวความตาย แต่กลัวความบาปหาบทุกข์การเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร มีความตั้งมั่นอย่างเด็ดเดี่ยว ที่จะซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพื่อก้าวพ้นโลก เพื่อไปสู่แดนว่างแห่งการรอดปลอดจากทุกข์ อันเป็นแดนสุขอย่างเลิศประเสริฐยิ่ง นั่นคือแดนพระนิพพาน พระอาจารย์มั่นกล่าวว่า? นิพฺพาน ปรมสุข
 
นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง เป็นแดนของพระวิสุทธิเทพ คือพระอรหันต์ผู้เสวยความสุขอยู่ในแดนพระนิพพาน? ท่านกล่าวอีกว่า? นิพฺพาน ปรม สูญญ? รูปสูญ เวทนาสูญ สัญญาสูญ สังขารสูญ วิญญาณสูญ แต่จิตยังอยู่?

ผู้เขียนได้เคยอ่านเรื่องราวของท่านสาธุคุณ นักบุญฟรานซิสแห่งแอสซีซีในพระคริสตศาสนา ท่านนักบุญฟรานซิสสามารถทำให้สัตว์ร้ายในป่าทุกชนิดเชื่องได้ ท่านพูดกับหมาป่า พูดกับเสือ พูดกับงูพิษ และสัตว์ร้ายอื่น ๆ รู้เรื่องหมด ต้องการจะเรียกให้สัตว์เหล่านี้ มาหาเมื่อไหร่ก็สามารถเรียกได้ตามต้องการ แม้จะอยู่ห่างไกลเป็นร้อย ๆ ไมล์ คือท่านเรียกสัตว์ป่าเหล่านี้ทางกระแสจิต
 

สยบหมาป่า
เรื่องนักบุญฟรานซิสแห่งคริสตศาสนานี้ ทำให้นึกถึงเรื่องของท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (พระมหาทองสุก สุจิตฺโต ) ท่านได้เดินธุดงค์ขึ้นภาคเหนือเพื่อจะไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่ที่บ้านกกกอก เชียงใหม่ ในระหว่างเดินทางคืนวันหนึ่ง ขณะที่ท่านพระครูอุดมธรรมคุณกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่า

ณ ที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่สาขาร่มครื้ม ท่ามกลางแสงเดือนหงาย ได้ยินเสียงสุนัขป่าฝูงหนึ่งส่งเสียง เห่าหอนสนั่นป่ารอบ ๆ เสียงนั้นบอกว่าจะต้องเป็นสุนัขป่าฝูงใหญ่ทีเดียว เพราะมันเห่าหอนรับกันเซ็งแซร่ก้องไปทั้งป่าเป็นเวลานานกว่าจะหยุด พอหยุดสักครู่ก็เห่าหอนอีกเกรียวกราวน่ากลัวมาก เพราะเป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า

ถ้าสุนัขป่ารวมฝูงกันเมื่อไหร่ แม้แต่เสือ ช้าง หมี ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่เจ้าป่าก็จะต้องรีบเร้นหนีทันทีด้วยความเกรงกลัว สุนัขป่ารวมฝูงกัน มีความดุร้ายเหี้ยมหาญมาก มันจะสู้ดะไม่เลือกหน้า สู้อย่างบ้าคลั่งไม่กลัวตาย ท่านพระครูอุดมธรรมคุณเล่าว่า ฝูงสุนัขป่าได้เข้ามาล้อมท่านไว้เป็นวงกลมรอบด้านมีประมาณยี่สิบตัวแต่ละตัวใหญ่มาก

มันพากันนั่งบ้างหมอบบ้างแลบลิ้นหอบเห็นเขี้ยวขาว น่ากลัวจริงๆ ท่าทางดุร้ายกระหายเลือด มองจ้อง? ท่านอย่างเต็มไปด้วยความประสงค์ร้าย ท่านไม่รู้สึกกลัว แต่มีอาการสยองพองเกล้าจนตัวชาไปหมด ถ้ามันพากันกระโจนเข้ารุมกัดเวลานั้น ท่านไม่มีทางจะรอดตายไปได้เลย มันจะต้องรุมกัดทึ้งกินเนื้อท่านเหลือแต่กระดูกแน่ๆ
 
ท่านพยายามทำให้ใจสงบกำหนดจิตภาวนา? พุทโธ? แผ่เมตตาให้มัน อย่ารังแกซึ่งกันและกันเลย อย่าให้มีเวรภัยต่อกันและกัน ขอให้พวกมันจงเป็นสุข ๆ เถิด ท่านมาในป่านี้ ไม่ได้มาเบียดเบียนใคร มาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม พอท่านแผ่เมตตาให้มัน มันก็เห่าหอนกันใหญ่ ขยับตัวคลานเข้ามาแสดงท่าดุร้ายไม่ยอมรับเมตตาธรรม มุ่งหน้าจะกัดกินท่านให้ได้ ท่านจึงเร่งภาวนาใหญ่ เพื่อหยั่งจิตลงสู่ห้วงสมาธิ ไม่อาลัยในสังขาร ถ้ามันเห็นท่านเป็นเหยื่ออันโอชะอยากจะกินก็เอาเลย

ท่านพร้อมแล้วที่จะเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อให้เป็นทานแก่พวกมันผู้หิวโหย ท่านเล่าว่า เมื่อจิตไม่อาลัยในสังขารแล้วเช่นนี้ จิตก็หยั่งสู่สมาธิอย่างรวดเร็วน่าพิศวง ทันใดก็ได้นิมิตเห็น พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ปรากฏขึ้นในห้วงสมาธิ เห็นพระอาจารย์มั่นเดินออกจากป่าตรงเข้ามาหาแล้วพูดกับฝูงสุนัขป่านั้น

ด้วยถ้อยคำอันเปี่ยมเมตตาว่า " อย่านะ นี่คือสมณะผู้ครองธรรม พวกเจ้าจะทำอันตรายพระไม่ได้ พวกเจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉานชาติ ก็ถือว่ามีบาปกรรมอันหนักอยู่แล้ว

อย่าหาเวรภัยใส่ตัวให้ทับถามเป็นกองใหญ่อีกเลย โอกาสที่พวกเจ้าจะได้ไปเกิดในภาพชาติอันเจริญจะไม่มี หากทำอันตรายพระผู้บำเพียรสร้างบารมีธรรม " พอพระอาจารย์มั่นพูดจบลง ฝูงสุนัขป่าเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปรุมล้อมใช้จมูกสูดดมเท้าและเลียแข้งเลียขาพระอาจารย์มั่น ส่งเสียงครางหงิง ๆ กระดิกหางไปมา

แสดงความรู้ภาษาและรักใคร่ในตัวท่าน ต่อจากนั้นมันก็พากันเดินหางตกเลี่ยงจากไปอย่างเงียบๆ พระอาจารย์มั่นยิ้มให้ท่านพระครูอุดมธรรมคุณหน่อยหนึ่งแล้วก็หายวับไป ท่านรู้สึกประหลาดใจในนิมิตนี้มาก เมื่อลืมตาขึ้นอีกครั้งก็ปรากฏว่าได้เวลารุ่งสางสว่างแจ้งแล้ว รู้สึกเวลาผ่านไปรวดเร็วมากน่าพิศวง

และสุนัขป่าฝูงนั้นก็ได้หายไปเช่นกัน ต่อมาอีก 2?- 3 วัน พระครูธรรมคุณ ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นกลางทางในป่า อย่างไม่นึกฝัน ท่านพระอาจารย์มั่นยิ้มทักทายฉันเมตตาจิตแล้วว่า ผมไปอยู่บนดอยแม่กะดำกับพวกมูเซอร์รู้ว่าคุณมาตามหา เห็นหนทางไปยากลำบากนักเกรงว่าคุณไปแล้วจะไม่พบ ผมจึงรีบมาหา

พระครูอุดมธรรมคุณได้ฟังแล้วถึงกับ ตะลึง ขนลุกซู่ซ่าไปหมดด้วยความอัศจรรย์ใจ ที่ท่านพระอาจารย์มั่นรู้ได้ว่าท่านตั้งต้นบุกป่าฝ่าดงมาหา แต่แล้วก็ต้องตะลึงหนักลงไปอีก เมื่อพระอาจารย์มั่นถามว่า เมื่อคืนนั้นคุณกลัวหมาป่าจะกัดกินเนื้อมากนักหรือ ผมเองแหละส่งกระแสจิตมาไล่หมาป่าฝูงนั้นให้หนีไป
 
เพราะเห็นว่าลำพังคุณคงจะแผ่เมตตาให้มันไม่รู้เรื่อง เพราะกำลังจิตของคุณยังไม่แก่กล้าพอจะคุ้มตัวได้ ด้วยว่าหมาป่าฝูงนี้ดุร้ายป่าเถื่อนมาก ผมเห็นวาสนาบารมีของคุณพอที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไปได้อีกไกล จึงช่วยไล่หมาป่าฝูงนั้นให้หนีไป พวกมันเป็นเจ้ากรรมนายเวรเก่าของคุณนะ

แต่เมื่อผมมาห้ามพวกมันไว้ไม่ให้ทำอันตรายคุณ กรรมเก่าที่ผูกพันกันมาก็เป็นอโหสิกรรมไป ต่างฝ่ายต่างก็พ้นจากการจองเวรกัน และจะไปดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย

พระครูอุดมธรรมคุณได้ฟังแล้ว ก็ก้มลงกราบเท้าพระอาจารย์มั่นครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยความสำนึกในเมตตาธรรมอันมีอุปการคุณอันล้นพ้น แล้วกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า ไม่ได้คิดกลัวฝูงสุนัขป่านั้นเลย ได้ตัดสินใจอุทิศชีวิตร่างกาย ให้เป็นเหยื่อของมันด้วยความยินดี

ท่านพระอาจารย์มั่นได้ฟังแล้วก็หัวเราะตอบว่า ดีแล้วคุณคิดถูกแล้ว แต่อาการที่คุณขนพองสยองเกล้านั้น แสดงว่าจิตคุณยังกลัวอยู่ หากแต่ตัดใจข่มลงได้ด้วยอำนาจธรรมปัญญา ต่อไปนี้คุณคงไม่กลัวตายอีกแล้วนะ เมื่อไม่มีความกลัว ไม่มีความอาลัยในชีวิตเลือดเนื้ออย่างจริงใจแล้ว จิตจะได้บริสุทธิ์ผุดผ่องเต็มที่ไม่มีจุดด่างพร้อย ธรรม
 
ปัญญาก็จะผุดขึ้นเป็นแก้วสารพัดนึกในที่สุดที่เล่ามานี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจมหัศจรรย์ทางจิตของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (อภิญญาจิต) ได้แก่ ทิพยจักษุมีตาทิพย์ และ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น ท่านรู้เห็นได้รวดเร็วแผ่คลุมไปทั่วกว้างขวางมากอย่างไม่มีขอบเขตอันเกิดจากผลของการบำเพ็ญภาวนาอย่างเคร่งครัดยิ่งยวดจนบรรลุธรรมวิเศษ อันเป็นธรรมที่พ้นโลก อยู่เหนือโลก และไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลาด้วยประการทั้งปวง ท่านสามารถส่งกระแสจิตและส่งภาพของท่านให้มาปรากฏในห้วงสมาธิ ของพระลูกศิษย์ที่อยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตรได้อย่างแจ่มชัด เหมือนส่งภาพเคลื่อนไหวของโทรทัศน์จากห้องส่งมายังจอที.วี.ตามบ้านยังไงยังงั้น แล้วยังสามารถพูดจากับฝูงหมาป่าได้รู้เรื่องอีกด้วยเฉกเช่นท่านนักบุญฟรานซิสแห่งคริสต์ศาสนาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.104 Chrome 38.0.2125.104


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2557 14:02:41 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
(ตอนที่ ๒ : ตาทิพย์)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๒)
 
ตาทิพย์
 
ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ อำนาจมหัศจรรย์ทางจิต ของท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องลี้ลับน่าพิจารณาและน่าสงสัยอยู่มากสำหรับเราท่านปุถุชน ผู้ยังคิดข้องอยู่ในข่ายแห่งความสงสัยไม่เชื่ออะไรที่พิสดารเอาง่าย ๆ ท่านพระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน เล่าว่าสมัยเมื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พักอยู่วัดบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม สกลนคร บ้านหนองผือนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้งสี่ด้าน มีป่ามีเขามากไปจรดแดนกาฬสินธุ์ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งพระธุดงค์กรรมฐาน ในสมัยบั้นปลายชีวิตของท่านพระอาจารย์มั่น มีอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่งมีความเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์มั่นมาก มาเล่าเรื่องของตัวเองถวายท่านว่า
 
ขณะอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวผู้นี้แกนั่งสมาธิภาวนาตลอดกลางคืนยามดึกสงัด พอจิตรวมสงบลงสนิทไม่แสดงกิริยาใดๆ ปรากฏเฉพาะความสงบนิ่งในเวลานั้น? พลันก็เห็นกระแสจิตของตัวเองอันละเอียดยิ่งออกจากดวงจิตเป็นสายใยยาวเหยียดออกนอกกายนอกใจไปสู่ภายนอก แกเกิดความสงสัยเป็นล้นพ้น จึงกำหนดจิตดูว่า กระแสจิตนี้มันไหลออกไปทำไม และจะไปเกี่ยวข้องกับอะไร พอแกตามกระแสจิตอันละเอียดเป็นสายใยนั้นไปก็พบว่ากระแสจิตของแกไปเข้าที่ร่างของหลานสาวคนหนึ่ง เพื่อจับจองที่เกิดในท้องหลานสาวซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกัน แกรู้สึกตกใจมาก เพราะตัวเองยังไม่ตาย ทำไมจิตถึงส่งกระแสออกไปจับจองที่เกิดไว้แล้วเช่นนั้น
 
จึงรีบย้อนจิตกลับมาที่เดิมและถอนจิตออกจากสมาธิทันที แกใจไม่ดีเลยนับแต่ขณะนั้นเป็นต้นมา ในระยะเดียวกันก็ปรากฏว่าหลานสาวคนนั้น เริ่มตั้งครรภ์มาได้หนึ่งเดือนแล้วเช่นกัน พอตื่นเช้าวันหลังแกรีบมาวัด เล่าเรื่องนี้ถวายพระอาจารย์มั่นดังกล่าวแล้ว ขณะนั้นมีพระเณรหลายท่านนั่งฟังอยู่ด้วย ต่างก็งงไปตาม ๆ กัน

พระอาจารย์มั่นนั่งหลับตาอยู่ประมาณ 2 นาที แล้วลืมตาขึ้น อธิบายปรากฏการณ์แปลกประหลาดนั้นให้อุบาสิกานุ่งขาวหุ่มขาวคนนั้นฟังว่า " เมื่อจิตรวมสงบลงคราวต่อไป ให้โยมตรวจดูกระแสจิตให้ดี ถ้าเห็นแกระแสจิตนั้นส่งออกไปภายนอกดังที่โยมว่านั้น ให้กำหนดจิตตัดกระแสจิตนั้นให้ขาดด้วยปัญญาจริง ๆ ต่อไปกระแสจิตนั้นจะไม่ปรากฏ?  แต่โยมต้องกำหนดดูกระแสจิตนั้นด้วยดี และกำหนดตัดให้ขาดด้วยปัญญาจริง ๆ อย่าทำเพียงแต่ว่าทำเท่านั้น เดี๋ยวเวลาตายโยมจะเกิดในท้องหลานสาวนะจะหาว่าอาตมาไม่บอก "

นี่คือคำบอกของอาตมา จงทำให้ดี ถ้าโยมกำหนดตัดกระแสจิตนั้นไม่ขาด เวลาโยมตายต้องไปเกิดในท้องหลานสาวแน่ๆ ไม่ต้องสงสัยพออุบาสิกาผู้นั้น ได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์มั่นแล้วก็กลับบ้านไป ราวสองวันแกก็กลับมาหาท่านอีกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมาก พอแกนั่งลงเท่านั้น พระอาจารย์มั่นก็ถามเป็นเชิงเล่นบ้างจริงบ้างทันทีว่า " เป็นยังไงโยมห้ามกระแสจิตตัวเองอยู่หรือเปล่าที่จะไปเกิดกับหลานสาวทั้งที่ตัวยังไม่ตายน่ะ " แกเรียนตอบทันทีว่าโยมตัดขาดแล้วคืนแรก พอจิตรวมสงบลงสนิทแล้วกำหนดดูก็เด่นชัดดังที่เคยเห็นมาแล้ว มันส่งกระแสไปอยู่ที่ท้องหลานสาว โยมก็กำหนัดตัดกระแสจิตพิลึกนั้นด้วยปัญญาดังหลวงพ่อบอกจนมันขาดกระเด็นไปเลย เมื่อคืนนี้โยมกำหนดดูอีกอย่างละเอียดเพื่อความแน่ใจไม่ปรากฏว่ามีอีกเลย มันหายเงียบไป วันนี้อยู่ไม่ได้ต้องรีบมาเล่าถวายให้หลวงพ่อฟัง
 
พระอาจารย์มั่นพูดว่า นี่แลความละเอียดของจิตคนเรา จะรู้เห็นได้จากการภาวนาสมาธิเท่านั้น วิธีอื่นไม่มีทางทราบได้ จิตของคนเรามันลึกลับยิ่งนัก เราจะไปรู้เห็นมันด้วยวิธีการคาดคิดนึกเดาเอาตามตำราไม่ได้ ต้องลงมือปฏิบัติจิตสมาธิจริงๆ ถึงจะรู้แจ้งเห็นจริง โยมเกือบเสียตัวให้กิเลสขับไสไปเกิดในท้องหลานสาวแบบไม่รู้สึกตัวแล้วไหมล่ะ แต่ยังดีที่ภาวนาสมาธิจนรู้เรื่องของจิตเสียก่อน แล้วรีบแก้ไขกันทันเหตุการณ์ ฝ่ายหลานสาวคนนั้น พอถูกคุณยายอุบาสิกา ตัดกระแสจิตขาดจากความสืบต่อก็ปรากฏว่าหล่อนได้แท้งลูกในระยะเดียวกัน น่าประหลาดมหัศจรรย์จริง ๆ

ปัญหาที่ว่า คนยังไม่ตาย ทำไมจึงเริ่มไปเกิดในท้องคนอื่นแล้วเช่นนี้ พระอาจารย์มั่นได้เฉลยปัญหานี้ให้พระเณรลูกศิษย์ทั้งหลายที่สงสัยเป็นล้นพ้นฟังว่า จิตเป็นแต่เพียงเริ่มต้นจับจองที่เกิดไว้เท่านั้น แต่ยังมิได้ไปเกิดเป็นตัวเป็นตนโดยสมบูรณ์ ถ้าคุณยายอุบาสิกาคนนั้นไม่รู้ทันปล่อยให้จิตเกาะเกี่ยวกับการเกิดในท้องหลานสาวจนทารกในครรภ์ปรากฏเป็นตัวเป็นตนสมบูรณ์ขึ้นมาเมื่อไร คุณยายคนนั้นจะตายทันที ต่อปัญหาที่ว่าการที่คุณยายคนนั้นตัดกระแสจิตตัวเอง จนหลานสาวแท้งลูก จะไม่เป็นการทำลายชีวิตมนุษย์ในครรภ์ล่ะหรือ พระอาจารย์มั่นตอบว่า จะเป็นการทำลายก็แต่เฉพาะกระแสจิตตัวเองเท่านั้น มิได้ตัดหัวคนที่เกิดเป็นตัวเป็นตนแล้วแต่อย่างใด เพราะจิตแท้ยังอยู่กับคุณยาย

ส่วนกระแสจิตทีแกส่งไปยึดไว้ที่หลานสาวนั้น พอแกรู้สึกตัวก็รีบแก้ไขคือตัดกระแสจิตของตนเสีย มิให้ไปเกี่ยวข้องอีกต่อไป เรื่องก็ยุติกันไปเท่านั้น อีกอย่างก็คือทารกในครรภ์นั้นเพิ่งมีอายุได้ 1 เดือนเท่านั้นเป็นเพียงแต่ก้อนเลือดยังไม่เป็นตัวตนแต่อย่างใด? สาเหตุที่คุณยายุอุบาสิกาเผลอไผลปล่อยให้แกระแสจิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวกับหลานสาวนี้

คุณยายได้เล่าว่า แกรักหลานสาวคนนี้มากเสมอมา มีเมตตา ห่วงใย ได้ติดต่อเกี่ยวข้องกับหลานสาวคนนี้อยู่เสมอแต่มิได้คิดว่าจะมีสิ่งลึกลับคอยแอบขโมยไปก่อเหตุเช่นนั้นขึ้นมา ถึงกับจะต้องไปเกิดลูกของหลานสาวอีก ถ้าไม่ได้พระอาจารย์มั่นช่วยแก้ไขไว้ทันท่วงทีก็คงไม่พ้นไปเกิดในท้องหลานสาวแน่นอน

พระอาจารย์มั่นว่า จิตนี้พิสดารเกินกว่าความรู้ความสามารถของคนธรรมดาจะตามรู้ตามรักษาโดยมิให้เป็นภัยแก่ตัวผู้เป็นเจ้าของดังที่คุณยายพูดไม่มีผิดถ้าแกไม่มีหลักใจทางสมาธิภาวนาอยู่บ้างแล้ว แกก็ไม่มีทางเดินของใจได้เลย ทั้งเวลาเป็นอยู่และเวลาตายไป
 
ฉะนั้นการทำภาวนาสมาธิจึงเป็นวิธีปฏิบัติต่อใจได้ดีและถูกทาง ยิ่งเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อด้วยแล้ว สติปัญญายิ่งมีความสำคัญมากในการตามรู้และรักษาจิตตลอดการต้านทานทุกขเวทนาไม่ให้มาทับจิต ในเวลาจวนตัวซึ่งเป็นเวลาเอาแพ้เอาชนะกันจริง ๆ ถ้าพลาดท่าขณะนั้นก็เท่ากับพลาดไปอย่างน้อยภพหนึ่งชาติหนึ่ง เช่นไปเกิดเป็นสัตว์ชนิดใดก็ต้องเสียเวลานานเท่าชีวิตของสัตว์ในภพภูมินั้นๆ ขณะที่เสียเวลายังต้องเสวยกรรมในกำเนิดนั้นไปด้วย ถ้าจิตดีสติพอประคองตัวได้ อย่างน้อยก็มาเกิดเป็นมนุษย์มากกว่านั้นก็ไปเกิดในเทวสถานชมวิมานและเสวยทิพย์สมบัติอยู่นานปีถึงจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ลามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ไม่ลืมศีลธรรมที่ตนเคยบำเพ็ญรักษามาตั้งแต่บุพเพชาติ ทำให้เพิ่มอำนาจวาสนาบุญญาภิสมภารขึ้นโดยลำดับ จนจิตมีกำลังแก่กล้าสามารถรักษาตัวได้การตายก็เป็นเพียงการเปลี่ยนร่างจากต่ำขึ้นไปสูง จากสั้นไปหายาว จากหยาบไปหาละเอียดจากวัฏฏจักรไปเป็นวิวัฏฏจักร ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ เปลี่ยนเครื่องเสวยมาเป็นลำดับ สุดท้ายก็หมดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอะไรต่อไปอีกเพราะจิตได้รับการอบรมไปทุกภพทุกชาติ จนฉลาดเหนือสิ่งใด ๆ กลายเป็นนิพพานสมบัติขึ้นมาอย่างสมพระทัยและสมใจ ซึ่งล้วนไปจากการฝึกฝนอบรมจิตให้ดีไปโดยลำดับทั้งสิ้น. ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์ทั้งหลาย จึงไม่ท้อถอยในการสร้างกุศล อันเป็นสวัสดีมงคลแก่ตนทุกเพศทุกวัยจนสุดวิสัยที่จะทำได้ไม่เลือกกาล
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.104 Chrome 38.0.2125.104


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2557 14:47:07 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
(ตอนที่ ๓ : เจโตปริยญาณ)

เจโตปริยญาณ
มีอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับอำนาจทิพยจักษุและเจโตปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่น่าพิจารณาว่า น่ามหัศจรรย์เพียงไร....สมัยเมื่อพระอาจารย์มั่นไปพักบำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ท่านเล่าว่า ที่ชายเขาทางขึ้นไปถ้ำสาลิกาที่ท่านพักอยู่นั้น มีสำนักบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่แห่งหนึ่ง มีขรัวตาองค์หนึ่งพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรม คืนวันหนึ่งพระอาจารย์มั่นคิดถึงขรัวตาองค์นี้ว่า ขรัวตากำลังทำอะไรอยู่หนอเวลานี้

แล้วพระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตส่งกระแสจิตลงมาดู ขณะนั้นพอดีเป็นเวลาที่ขรัวตากำลังคิดวุ่นวายไปกับกิจการบ้านเมืองครอบครัวของตนให้ยุ่งไปหมด?

เรื่องที่ขรัวตาคิดเกี่ยวกับอดีตของตัวเอง พอตกดึกพระอาจารย์มั่นก็ส่งกระแสจิตลงมาดูขรัวตาอีกก็พบว่า ขรัวตากำลังคิดห่วงลูกคนนั้นหลานคนนี้อยู่ร่ำไป จวนสว่างท่านส่งกระแสจิตลงมาดูอีก ขรัวตาก็ยังไม่หลับไม่นอนกระสับกระส่ายคิดห่วงหน้าพะวงหลังห่วงลูกห่วงหลานให้วุ่นวายไปหมด

ท่านถอนใจ เวทนายิ่งนักที่ขรัวตาอุตส่าห์มาบวชแล้ว ยังตัดภาระความผูกพันกับครอบครัวไม่ขาด คิดแต่จะสร้างบ้านสร้างเรือนสร้างภพสร้างชาติ สร้างวัฏฏสงสารไม่มีสิ้นสุดวิถีแห่งการปรุงแต่งเอาเสียเลย? ตอนเช้าพระอาจารย์มั่นลงจากถ้ำมาบิณฑบาต ขากลับจึงแวะไปเยี่ยมขรัวตาถึงที่พัก แล้วพูดเป็นเชิงปัญหาว่า เป็นอย่างไรหลวงพ่อ ปลูกบ้านใหม่ แต่งงานกับคู่ครองใหม่แต่เป็นแม่อีหนูคนเก่าเมื่อคืนนี้ตลอดคืนไม่ยอมนอน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปด้วยดีมิใช่หรือ คืนต่อไปคงจะสบายใจไม่ต้องวุ่นวายจัดแจงสั่งลูกคนนั้นให้ทำสิ่งนั้น สั่งหลานคนนี้ให้ทำงานสิ่งนี้อีกละกระมัง
 
เมื่อคืนนี้รู้สึกว่าหลวงพ่อมีงานมากวุ่นวายพอดูแทบมิได้พักผ่อนหลับนอนมิใช่หรือ ขรัวตาได้ฟังแล้วถึงกับตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ แล้วยิ้มอายๆ
 
ถามว่า พระอาจารย์มั่นรู้ด้วยหรือครับ พระอาจารย์มั่นยิ้มตอบว่า ผมเข้าใจว่า ความคิดปรุงของหลวงพ่อเป็นไปด้วยเจตนาและพอใจในความคิดนั้นๆ จนลืมหลับลืมนอนไปทั้งคืน

แม้แต่รุ่งเช้าตลอดมาจนถึงขณะนี้ ผมก็เข้าใจว่าหลวงพ่อจงใจคิดเรื่องนั้นอยู่อย่างเพลินใจจนไม่มีสติยับยั้งและยังพยายามทำตัวให้เป็นไปตามความคิดนั้นๆ อยู่อย่างมั่นใจมิใช่หรือ

ขรัวตาได้ฟังถึงกับหน้าซีดเหมือนคนจะเป็นลม ทั้งอายและทั้งกล้าพูดออกมาด้วยเสียงอันสสั่นเครือว่า ท่านพระอาจารย์เป็นพระอัศจรรย์มาก ผมคิดอะไรอยู่ในใจท่านรู้หมด พระอาจารย์มั่นเห็นขรัวตางกๆ เงิ่นๆ ทั้งกลัวทั้งอาย ท่านทำท่าจะเป็นลมเป็นแล้งไม่สบายไปอย่างปัจจุบันทันด่วน  ก็ให้จิตเมตตาสงสาร ขืนพูดอะไรอีกต่อไป เดี๋ยวขรัวตาจะเป็นอะไรไปก็แย่ จึงเลยหาอุบายพูดไปเรื่องอื่นพอให้เรื่องจางหายไป แล้วก็ลาขึ้นถ้ำสาลิกา
 
สายวันต่อมา โยมผู้ปฏิบัติขรัวตาองค์นั้น ได้ขึ้นไปนมัสการพระอาจารย์มั่นในถ้ำแล้วกราบเรียนให้ทราบว่า ขรัวตาองค์นั้นหนีไปอยู่ที่อื่นเสียแล้วตั้งแต่เมื่อเช้าวานนี้ ให้เหตุผลว่า อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ไหวแล้ว เพราะอาจารย์มั่นมาหา แล้วเทศน์อาตมาเสียยกหนึ่งหนักๆ อาตมาอายพระอาจารย์มั่นแทบเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่าน  ถ้าพระอาจารย์มั่นขืนเทศน์ต่อไปอีกสักประโยคสองประโยค อาตมาต้องล้มตายต่อหน้าท่านแน่ๆ อาตมาอยู่ไม่ได้แล้วอับอายขายหน้าเหลือประมาณ ต้องไปให้ไกลจากที่นี่สุดหล้าฟ้าเขียว อาตมาคิดอย่างไร พระอาจารย์มั่นท่านรู้เสียหมด ธรรมดาปุถุชนก็ย่อมมีคิดดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดา จะห้ามไม่ให้คิดได้อย่างไร  ทีนี้พอเราคิดอะไร พระอาจารย์มั่นรู้เสียหมดอย่างนี้อาตมาอยู่ไม่ได้แน่ หนีไปตายที่อื่นดีกว่า อย่าอยู่ให้พระอาจารย์มั่นคอยเป็นห่วงกังวลหนักใจด้วยเลย

พระอาจารย์มั่นทราบแล้วก็บังเกิดความสลดใจ ที่ทำคุณให้โทษ โปรดสัตว์ได้บาป ที่พูดไปก็เป็นการเตือนขรัวตาด้วยเจตนาดีมีเมตตาสงสาร  อยากให้หยุดคิด ห่วงกังวลครอบครัวลูกเมียและหลานๆ เสีย เพราะการสละเพศฆราวาสออกบวชพระนี้ ก็เป็นการตัดขาดจากครอบครัวลูกเมียและญาติพี่น้องโดยสิ้นเชิงแล้ว ตัดขาดจากทรัพย์สมบัติ ตัดขาดจากทางโลกโดยสิ้นเชิง เพื่อมุ่งบำเพ็ญเพียรสมณธรรม ทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพาน ตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากวั้นนั้นเป็นต้นมา พระอาจารย์มั่นก็ระวังมิได้สนใจคิดและส่งกระแสจิดไปถึงขรัวตาอีก และถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ทักตักใจคนอื่นถึงความคิดนึกทั้งทางดีและชั่ว
โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนเดี๋ยวเจ้าตัวผู้ฟังจะเสียขวัญได้รับความกระทบกระเทือนใจโดยไม่จำเป็นอันการทักดักใจคนด้วยเจโตปริยญาณนี้ดุจดาบสองคมพึงใช้ให้เป็น.ให้ถูกกาลเทศะ และตัวบุคคลถึงจะชอบถึงจะควรเพราะใจคนเราย่อมเหมือนเด็กอ่อนเพิ่งฝึกหัดเดินเปะปะไปตามเรื่อง
 
ผู้ใหญ่เป็นเพียงคอยดูแลสอดส่อง เพื่อมิให้เด็กเป็นอันตรายเท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปกระวนกระวายกับเด็กให้มากไป ใจของสามัญชนก็เช่นกันปล่อยให้คิดไปตามเรื่องถูกบ้างผิดบ้าง ดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดาจะให้ถูกต้องดีงาม อยู่ตลอดเวลาจะให้ถูกต้องดีงามอยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.111 Chrome 38.0.2125.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2557 15:44:58 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
(ตอนที่ ๔ : คำสอนพระเณร)

ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะเทศนาธรรมสั่งสอนพระเณรสานุศิษย์อยู่เสมอว่า ผู้ก้าวหน้าเข้ามาบวชพระพุทธศาสนา ก็คือผู้ก้าวเข้ามาหาความรู้ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย มิใช่ว่าเข้ามาเพื่อสั่งสมความโง่เขลาเบาปัญญาต่อเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตัวหลอกลวง แต่เพื่อบวชเข้ามาเพื่อแสวงหาอุบายปัญญาพลิกแพลงให้ทัน เรื่องของกิเลสต่างหาก เพราะคนเราอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้อวกันตัวย่อมไม่ปลอดภัยอันตรายทั้งภายนอกและภายใน

เครื่องป้องกันตัวของนักบวชคือหลักธรรมวินัย มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ เป็นผู้มั่นคงต่อสิ่งทั้งหลายไม่สะทกสะท้าน จึงควรเป็นผู้มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอริยาบท จะคิดจะพูด จะทำอะไรๆ ก็ตาม ไม่มีการยกเว้น สติปัญญาที่จะไม่เข้ามาสอดแทรกอยู่ อยู่ในวงงานที่ที่ทำทั้งภายนอกและภายใน จะเป็นที่แน่นอนต่อคติของคนทุกๆ ระยะไป

พระเณรจะต้องเป็นผู้มีความเข้มแข็งต่อแดนพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ทุกประโยคที่เต็มไปด้วยสติปัญญา เป็นหัวหน้างาน ไม่งุ่มง่าม เขอะขะต่อตัวเองตลอดธุระหน้าที่ทั้งหลาย พบกับศาสนายอดเยี่ยม ด้วยหลักธรรมที่สอนคนให้ฉลาดทุกแง่มุม พระเณรไม่ควรเป็นคนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจและเกียจคร้าน ในกิจการที่จะยกตนให้พ้นจากวัฏฏสงสาร พระจึงเป็นผู้ที่พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลกสงสารวัฏฏ ไม่มีงานใดจะหนักหน่วงถ่วงใจ ยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นทุกข์จากห้วงแห่งวัฏฏทุกข์

งานนี้เป็นงานที่ต้องทุ่มเททั้งกายและใจ แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร เพื่อรื้อถอนตนให้พ้นจากหลุมลึกคือกิเลสทั้งมวล เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเกิดแบกหามบาปหาบกองทุกข์นานาชนิดอีกต่อไป

เจโตต่อพระอุบาลี
เรื่องทิพยจักขุและเจโตปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ที่ท่านแสดงอีกคราวหนึ่งคือ ก่อนที่ท่านจะอำลาจากถ้ำสาลิกามานั้นตอนกลางคืนดึกสงัดราวตี 4 ท่านคิดถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนโท) วัดบรมนิวาส พระนคร ว่า เวลานี้ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กำลังทำอะไรอยู่หนอ จึงกำหนดจิดจากถ้ำสาริกา เขาใหญ่มาดูท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่กรุงเทพฯ
 
พลันก็ทราบว่า เวลานั้น ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กำลังพิจารณาปัจจยาการคืออวิชชาอยู่ พระอาจารย์มั่นทราบใจท่านเจ้าคุณพระอุบาลีโดยตลอดแล้ว ก็จดจำวันเวลาไว้อย่างแม่นยำ ครั้นเวลาเดินทางลงมากรุงเทพฯ เมื่อได้มีอกาสเข้านมัสการท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็เรียนให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พิจจารณาปัจจยาการคือ อวิชชาอยู่ในคืนก่อน

ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอได้ทราบเช่นนั้นก็ตะลึงเลยต้องสารภาพว่า เป็นความจริงทุกประการ แล้วต่างฝ่ายก็พากันหัวเราะพักใหญ่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ได้กล่าวชมเชยว่าท่านมั่นนี้เก่งจริงๆ เราเองขนาดเป็นอาจารย์แต่ไม่เป็นท่า น่าอายท่านมั่นเหลือเกิน ท่านมั่นเก่งจริงให้ได้อย่างนี้ซิลูกศิษย์พระตถาคต ถึงจะเรียกว่าเดินตามครู


บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.111 Chrome 38.0.2125.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557 15:26:47 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
(ม้าขาวช่วย)

ขณะท่านมั่นกำลังขับลำเหงื่อแตก ตอบโต้กับหญิงสาวไปแกนๆ อย่างฝืนใจนี้ พอดีก็มีพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยไว้ได้ทัน

ท่วงทีเหมือนเทวดาโปรด นั่นคือเพื่อนฝูงที่อยู่ข้างเวที ก็เห็นท่านมั่นกำลังถูกหญิงสาวต้อนเอาๆ ด้วยเชิงกลอนต่างๆ ย่ำแย่ไปเลย ขืนปล่อยให้ท่านมั่นขับกลอนลำสู้ตกดึกไปกว่านี้ ท่านมั่นมีหวังหมดภูมิ ต้องกระโดดวิ่งหนี เอาหน้าไปซุกพื้นดิน ด้วยความอับอายขายหน้า เป็นแน่ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยดังนั้น เพื่อนๆ จึงรีบพากันไปตามหาตัวชายหนุ่มรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อจันทร์ สุภสร ซึ่งเป็นเพื่อนคนสำคัญที่ใครๆ นับถือเกรงใจ อันว่าหนุ่มจันทร์ สุภสรนี้ผู้นี้ต่อมาได้บวชเรียนมีชื่อเสียงบารมีโด่งดังได้นามว่า “ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์” วัดบรมนิวาส พระนคร
 
เมื่อพบหนุ่มจันทร์ สุภสร ในงานแล้ว ก็ขอร้องให้หาทางช่วยท่านมั่นที ขืนปล่อยให้ขับลำโต้ตอบกับหญิงสาวต่อไป มีหวังท่านมั่นเป็นลมต้องหามลงจากเวทีแน่ๆ หนุ่มจันมร์หัวเราะตอบว่า ได้นั่งฟังท่านมั่น ขับลำโต้ตอบกับหญิงสาวอยู่อย่างเอาใจใส่ตลอดเวลา เห็นว่าท่านมั่นมีหวังต้องหามลงจากเวทีแน่นอน เพราะสู้กลอนลำนำอันเฉลียวฉลาด และลึกซึ้งแตกฉานของหญิงสาวไม่ได้ เจ้ามั่นมันไม่รู้จักแม่เสือสาวเสียแล้วเห็นเป็นหญิงสาวหน้าขาวๆ จะฟ้อนจะรำก็อ้อนแอ้นอรชรนึกว่าเป็นหมูสนาม

เราต้องช่วยเจ้ามั่นมันไม่ให้สามเพลงตกม้าตายว่าแล้วหนุ่มจันทร์หรือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ในกาลต่อมา ก็รีบแหวกผู้คนนับพันๆ กระโดดขึ้นไปบนเวทีแล้วออกอุบายแกล้งร้องขึ้นดังๆ ว่า ไอ้มั่น ไอ้ห่า กูเที่ยวตามหามึงแทบตาย แม่มึงตกจากเรือนสูงลิ่งลงมากองอยู่กับพื้นอาการเป็นตายเท่ากัน พอกูโผล่จะเข้าไปช่วย เขาก็ใช้ให้กูรีบมาตามหามึงตั้งแต่ตอนกลางวันแล้วกูตามหามึงแทบตายข้าวยังไม่ตกถึงท้องเลย
 
หนอย .... ไอ้ห่า มึงหนีมาแอ่ว มารำอยู่ที่นี่ ก็จะเป็นลมตายอยู่แล้ว ด้วยความหิวข้าวมึงต้องรีบไปดูอาการแม่มึงเดี๋ยวนี้ (หนุ่มจันทร์เป็นเพื่อนรักอายุมากกว่าท่านมั่น ก็แบบลูกทุ่งขนานแท้แลดั้งเดิมสมัยเป็นฆราวาส ) หนุ่มมั่นได้ฟังเช่นนั้นก็ตะลึงตกใจจนหน้าซีด สาวหมอลำคนสวยฝีปากกล้าก็ตกตะลึงเช่นกัน หนุ่มจันทร์ ถือโอกาสฉุดแขนหนุ่มมั่น ลากลงจากเวทีไม่รอช้า ท่ามกลางสายตาของผู้คนจำนวนพันๆ ที่พากันตกตะลึงพรึงเพริดไปตามๆ กัน
 
ทั้งสองพากันวิ่งฝ่าฝูงชนออกไปอย่างรีบร้อน พอพ้นหมู่บ้านไปแล้ว หนุ่มมั่นก็ถามซักไซร้เอาความจริงว่าแม่กูไปทำอะไรถึงได้ตกจากเรือนชานลงมาวะไอ้จันทร์
 
หนุ่มจันทร์ก็ตอบว่ากูไม่รู้ ไงรีบไปดูก็แล้วกันอย่าซักถามให้สียเวลาเลย อาการแม่มึงหนักมากป่านนี้อาจจะตายแล้วก็ได้ หนุ่มมั่นได้ยินยิ่งตกใจไม่ถามเป็นห่วงแม่บังเกิดเกล้า เพราะท่านรักแม่มากพอวิ่งมากันได้ไกลจากหมู่บ้านมาก ผ่านดงใหญ่ที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าดุร้ายเช่น เสือ ช้าง หมี เป็นต้น
 
หนุ่มจันทร์เห็นว่าถ้าบอกความจริงแล้ว หนุ่มมั่นคงไม่กล้ากลับไปขับลำเพลงเป็นแน่ เพราะไม่กล้ากลับไปคนเดียว ด้วยกลัวสัตว์ป่าจะทำอันตราย จึงได้บอกความจริงว่า แม่มึงไม่ได้เป็นอะไรหรอกโว้ยไอ้มั่น กูหลอกมึงน่ะ เพราะเห็นมึงลำกลอนอึกๆ อักๆ ตอบโต้อีสาวหมอลำคนสวยไม่ได้ กูอับอายขายหน้า เหลือเกิน และขายหน้าบ้านเราด้วย ว่ามึงขับเพลงสู้ผู้หญิงบ่ได้ ปล่อยให้ผู้หญิงลบลายเสือเล่น เหมือนมึงเป็นเสือที่ตายแล้ว กูได้คิดออกอุบายหลอกมึง และหลอกอีสาวหมอลำตลอด จนหลอกชาวบ้านให้เชื่อกู ว่าแม่มึงกำลังจะตาย ที่มึงต้องรีบไป โจนลงมาจากเวทีหนีมานี้ และทำให้ทุกคนเชื่อว่า มึงยังไม่หมดประตูสู้ แต่ต้องหนีมาเพราะเหตุสุดวิสัย แม่บังเกิดเกล้าประสบอุบัติเหตุ กำลังจะเป็นจะตาย กูทำเพื่อช่วยกู้หน้ามึงไว้ ไม่ให้สามเพลงตกม้าตาย เป็นที่อับอายขายหน้าชาวบ้านนะเว้ย
 
หนุ่มมั่นได้ฟังความจริงแล้วเช่นนั้นก็หัวเราะลั่นร้องว่า โอ้โฮ ไอ้ห่าจันทร์มึงแหกตากูถึงเพียงนี้เชียวเรอะ มึงเข้าใจผิดแท้ๆ กูกำลังคันฟันห้ำหั่น กับอีสาวหมอลำคนสวยอยู่อย่างสนุกสนาน มึงเสือกหาเรื่องมาฉุดกูหนีหน้าแขก ที่กูทำเป็นอึกๆ อักๆ ติดกลอนลำตอบโต้เข้าไม่ได้นั้น กูแกล้งทำให้เขาตายใจจะได้ฮึกเหิม เพราะเห็นเป็นผู้หญิงต่างหาก

พอตกดึกเข้า ก็จะเอาชนะเขาให้ยืนไม่ติดไปเลย เขาต้องแพ้ กูแน่ๆ มึงไม่รู้อุบายกู เป็นอุบายเสือหลอกกินลิงเว้ย หนุ่มจันทร์ได้ฟังแล้วก็หัวเราะเยาะตอบว่า มึงอย่าทำเป็นปากแข็ง คุยโม้อยู่เลยว้าไอ้มั่นเอ๋ย ไอ้หน้าแพ้ผู้หญิง ยังจะมาทำเป็นปากเก่งอยู่อีก เดี๋ยวกูจะลากคอมึงกลับไปขึ้นเขียงบนเวที ให้อีสาวหมอลำสับแหลกเป็นชิ้นๆ เป็นหมูบะช่อหรอกไอ้เวร

ว่าแล้วทั้งสองเกลอก็หัวเราะกันใหญ่ แสดงให้เห็นว่า ในสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มคะนอง ท่านทั้งสองผู้จะเป็นนักปราชญ์ในอนาคต ได้สำเร็จบรรลุธรรมชั้นสูงเป็นพระอริยเจ้า มีเชิงพูดโต้ตอบกันอย่างเฉลียวฉลาดเพียงไร คำพูดที่ตอบโต้กันนี้ ของท่านผู้อ่านโปรดอย่าไปคิดว่าเป็นของหยาบคายเลย เป็นภาษาพูดพื้นบ้านของคนหนุ่มลูกทุ่ง ที่ใช้กันอย่างสนิทสนมแบบไทยๆ แท้ ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนว่า สมัยท่านทั้งสองเป็นฆราวาสหนุ่มคะนองรื่นเริงมีความเป็นอยู่อย่างไร

ครั้นในเวลาต่อมา เมื่อท่านทั้งสองได้สละโลกออกถือบวชในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านก็ตัดขาดจากทางโลกอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง ครองเพศสมณะอยู่ในพระธรรมวินับอย่างเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวยิ่งยวดน่าอัศจรรย์ตลอดชีวิต
 
ภิกษุมั่น
ต่อมา เมื่อท่านมั่นอายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆราวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า “ภูริทัตโต”
 
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐาน สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์ นตสิโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนาการ ข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านพระภิกษุมั่นได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “ พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซึ้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบรมธรรมอื่นๆ และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอา คำว่า “ พุทโธ ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอริยาบทต่างๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไปเมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทางโลกอย่างสิ้นเชิงไม่เหลียวแลความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่มีวอกแวก ยึดถือธรรมธุดงค์วัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยว ไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่านจนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานเป็นแดนเกษม
 
ธรรมธุดงค์วัตรที่ท่านถือเป็นข้อปฏิบัติมี 7 ข้อ คือ
1. ถือผ้าบังสุกลเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อชำรุดเปื่อยขาดไปเย็บประชุนด้วยมือตัวเอง ย้อมเป็นสีแก่นขนุนหรือสีกรัก จีวรเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใม่ยอมรับปติผ้าไตรจีวรสวยๆ งามๆ ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายด้วยมืออย่างเด็ดขาด
2. ออกบิณฑบาตรทุกวันเป็นประจำ แม้จะป่วยไข้ก็ตาม พยายามผยุงกายออกบิณฑบาตรยกเว้นเฉพาะวันที่ไม่ขบฉันอาหาร เพราะจะเร่งบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานด้วยความเพลิดเพลินอาจหาญร่าเริงในธรรม ซึ่งมีอยู่บ่อยๆ ที่ท่านเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ภาวนาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันโดยไม่ขบฉันอาหารเลย
3. ไม่ยอมรับอาหาร ที่ญาติโยมพุทธบริษัทตามส่งทีหลัง รับเฉพาะที่ใส่บาตร
4. ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่ยอมฉันอาหารว่างใดๆ ทั้งสิ้น ที่เป็นอามิสเข้าปะปน
 5. ฉันอาหารในบาตร คือมีภาชนะใบเดียว ไม่ยอมฉันในสำรับข้าวที่มีอาหารต่างๆ อาหารคาวหวานทั้งหลายคลุกเคล้าฉันรวมแต่ในบาตร ใม่ติดใจในรสชาติอาหาร ฉันเพียงเพื่อยังสังขารให้พออยู่ได้เพื่อเพียงจะได้บำเพ็ญเพียรภาวนาสร้างบารมีธรรม
6. อยู่ในป่าเป็นวัตร ปฏิบัติคือท่องเที่ยวเจริญสมณะธรรมกรรมฐานอยู่ใต้ร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดาบ้าง ในถูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง ในถ้ำ ในเงื้อมผาอันเป็นที่สงัดวิเวกไกลจากชุมชน
7. ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ สังฆาติ จีวรและสบง (เว้นผ้าอาบยน้ำฝนซึ่งจำเป็นต้องมีเป็นธรรมดา ในสมัยนี้) สำหรับธุดงควัตรข้ออื่นๆ นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ท่านพระ อาจารย์มั่นสมามานและปฏิบัติเป็นบางสมัย แค่เฉพะ 7 ข้อข้างต้นที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก
 
ท่านมีนิสัยพูดจริงทำจริงซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ต้องทำให้ได้เรียกว่าสัจจะบารมี แม้จะเอาชีวิตเข้าแลกก็ยอม มีความพากเพียรอย่างแรงกล้า มุ่งหวังต่อแดนหลุดพ้นพระนิพพานอย่างจริงใจ รู้ซึ้งถึงภัยอันน่ากลัว ของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอย่างถึงใจ ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้เฉยๆ  ท่านรู้จริงเห็นว่าจริงว่า การต้องเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด วนไปเวียนมาเป็นวงจักรไม่มีสิ้นสุดนี้เป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องน่าเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้าหามบาปหาบทุกข์ เปี่ยมแปล้ออยู่นั่นแล้วไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งคิดยิ่งพิจารณาไป ก็ยิ่งเห็นเป็นเรื่องน่ากลัว น่าเบื่อหน่ายเหลือประมาณ ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ ชาติหน้าเกิดแป็นเทวดาเกิดเป็นพรหม พอหมดจากพรหมลงมาเกิดในนรกจากนรกมาเกิดเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์ ดิรัจฉานวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ ไม่รู้กี่ภพกี่แสนชาตินับเป็นอสงไขย หรือหลายแสนหลายพันๆ ล้านปี เมื่อเกิดแต่ละภพแต่ละชาติก็ต้องใช้บาปกรรมของภพชาตินั้นอย่างถึงพริงถึงขิง ทั้งทุกข์ทั้งสุขอันไร้แก่นสารสาระน่าเบื่อหน่ายจริงๆ จะมีแต่แดนหลุดพ้น คือพระนิพพานเท่านั้น เป็นแดนสุขเกษมอย่างแท้จริง นิพพานปรมสุข นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง เป็นแดนรอดปลอดจากทุกข์ เป็นแดนของพระวิสุทธิเทพ หรือพระอรหันต์ผู้เสวยความสุขที่ยอดเยี่ยม และสูงสง่า เป็นความสุขสำราญทั้งกาย (ธรรมกาย) และใจ ที่สุขล้นพ้นเหนือมหาเศรษฐี เหนือพระราชาพระมหากษัตริย์ เหนือเทวดาและพรหมที่พึงได้รับเมื่อพระอรหันต์ทิ้งร่างมนุษย์ไปแล้ว รูปก็สูญ เวทนาสูญ สัญญาสูญ สังขารสูญ วิญญาณสูญ แต่ใจยังคงอยู่ เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ปราศจากอาสวะกิเลสทั้งหลายทั้งปวง เป็นจิตที่มีดวงสุกใสประดุจดาวประกายพรึก  จิตดวงนี้จะพุ่งไปสถิตย์อยู่ ณ แดนพระนิพพาน เมื่ออยากครองร่างสมบัติใดๆ เช่นกายทิพย์หรือธรรมกาย ก็พร้อมที่จะนฤมิตได้ เพื่อเสวยความสุขสุดยอดนานับการ ถ้าไม่อยากจะเสวยสุข ในร่างสมมติหรือธรรมกายจะอยู่เฉยๆ เหมือนเข้านิโรธสมาบัติทรงอยู่แต่จิตสุกใสดวงเดียวก็ได้ เป็นแดนที่ไม่ต้องตายอีกต่อไป ไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไป หากมีความทรงตัวอยู่เสวยความสุขอันยอดเยี่ยม ที่เทวดาและพรหมทั้งหลายมีความใฝ่ฝันปรารถนาถึงยิ่งนัก

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.111 Chrome 38.0.2125.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2557 15:32:01 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
นิพพานไม่สูญ

การแปลความความแบบนี้ ก็เพื่อจะยืนยันความคิดนึกเดาเอาตามมติของตนเองว่า นิพพานคือภาวะดับสูญอย่างเด็ดขาด ซึ่งมีค่าเท่ากับที่ลัทธิศูนยวาท ว่าไว้ว่าไม่มีอะไรๆ ก็หายสาปสูญไปหมด เรียกไม่รู้ กู่ไม่กลับ กู่ไม่กลับนั่นเอง

นิพพานไม่ใช่แดนสูญอย่างที่เข้าใจกันเลย! นิพพานเป็นแดนทิพย์คล้ายพรหมโลก แต่สวยงามวิจิตรพิสดารยิ่งกว่าพรหมโลก ผู้สำเร็จพระอรหันต์เข้าสู่แดนพระนิพพานนั้น มีร่างทิพย์ที่ละเอียดที่นฤมิต ไม่ใช่กายทิพย์ธรรมดาเหมือนโอปปาติกะทั้งหลาย

กายทิพย์ หรือ ธรรมกาย ของพระอรหันต์ในแดนนิพพาน เป็นกายทิพย์ที่นฤมิตขึ้นด้วยธรรม ไม่ได้เกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรมชาติของโลกวิญาณ ร่างธรรมกายของพระอรหันต์ เป็นทิพย์ละเอียดใสสะอาด ใสเป็นประกายคล้ายแก้วประกายพรึก มีรัศมีสว่างไสวมากกว่าพระพรหมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย มีความสุขที่สุดอย่างไม่มีอะไรเปรียบเทียบ เพราะความรู้สึกอื่นไม่มี

มีแต่จิตสงเคราะห์! พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ที่เข้าสู่แดนพระนิพพานไปนมนานกาเลแล้วนั้น ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดเหมือนไดโนเสาเต่าพันปี ดังที่เข้าใจ
 
พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายยังอยู่ ทรงอยู่ในสภาพของจิตคล้ายดาวประกายพรึก แต่เป็นดวงจิดที่รอบรู้สัพพัญุตญาณคือ ความเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอด หมดสิ้นในเรื่องของสกลจักรวาล รู้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาด โลกเราเป็นวัตถุก้อนหนึ่ง ล่องลอยโคจรไปในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขตไม่ได้ เปรียบไปก็คล้ายเป็นยานอวกาศลำกระจ้อยร่อยเหลือเกิน
 
เมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาล เวลานับแสนนับล้านปีของโลกเรา ที่หมุนไปอาจจะเป็นเสี้ยววินาทีเดียวของเวลาสากลจักรวาลก็ได้
 
ดังนั้นเวลา 2525 ปี นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระนิพพานไป อาจจะเป็นเวลาเพียงเศษหนึ่งส่วนล้านวินาทีของเวลาในแดนพระนิพพานก็ได้ พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกยังอยู่ในแดนพระนิพพาน ไม่ได้หายลับดับสูญไปไหน!
 
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริ ทัตตเถระ เล่าไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังจากท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้วในคืนวันต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์สาวกจำนวนมากได้เสด็จมาทางนิมิตรสมาธิ แสดงอนุโมทนาวิมุติกับท่าน คือแสดงความยินดีที่ท่านพระอาจารย์มั่นบรรลุอรหันตผล



ลวงตาหรือกายทิพย์
เรื่องนี้มีท่านผู้อ่านวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป็นไปไม่ได้ ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะยังมี “ร่างทิพย์” เหลืออยู่และเสด็จมาโปรดได้ เพราะพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระปรินิพานดับสูญสิ้นเชื้อพันธ์ไปกว่าสองพันปีแล้ว ให้อะไรเหลืออยู่อีกเลย พระพุทธองค์จะเสด็จมาได้อย่างไร แม้ว่าจะเสด็จมาในรูปกายทิพย์ก็ตามเถิดก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน
 
นักวิจารณ์ที่เป็นจอมปราชญ์ทางปริยัติก็กล่าวหาว่า ท่านพระอาจารย์มั่นน่าจะได้เห็นภาพลวงตาซึ่งเกิดจากเข้าสมาธิลึกๆ เสียมากกว่า อาการเห็นภาพลวงตาแบบนี้คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าเป็นความวิปลาสอย่างหนึ่ง คือความรู้เห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ความฝันแปรกลับกลายอันเป็นลักษณะมายาหลอนจิต
 
คำกล่าวหาว่า พระอาจารย์มั่นวิปลาสไปขณะเข้าสมาธิลึกๆ นี้ เป็นคำกล่าวหาที่อ้างอิงบิดเบือนไม่รู้จริงถึงเรื่องสมาธิ ตามหลักพระพุทธศาสนา หรืออาจจะรู้จริงเรื่องหลักสมาธิเหมือนกัน แต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติ
 
หากรู้ได้ด้วยการสักแต่ว่าอ่านจากตำราแบบความรู้ท่วมหัว แต่ไม่เอาตัวเข้าปฏิบัติ การรู้ด้วยวิธีนี้ เป็นการรู้ด้วยความคาดหมายหรือคาดคะเนเอา ตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบค้นชอบเดาเอาตามสันดาน เป็นความเห็นตามสัญญาหรือความจำได้หมายรู้จากตำราไม่ใช่รู้จากการลงมือปฏิบัติด้านสมาธิจิตวิปัสสนากรรมฐานเพราะการรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
 
เพราะการรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนานี้เป็นการหยั่งรู้ด้วยปัญญาล้วนๆ
 
ฉะนั้น ความเห็นตามสัญญา กับความเห็นตามปัญญา ผลย่อมจะต่างกันราวฟ้ากับดิน พระอาจารย์มั่น เห็นอะไรต่ออะไรได้ด้วยปัญญาของท่าน ไม่ใช่เห็นตามสัญญาความจำได้หมายรู้ การที่หาญไปวิพากษ์วิจารณ์ท่านพระอาจารย์มั่นเช่นนี้ เป็นการเอาระดับความนึกคิดของตน ซึ่งเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส ไปวัดอารมณ์และสติปัญญาของพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงภูมิธรรมขั้นสูง เปรียบไปแล้วก็เหมือนเราเป็นแค่นักเรียนอนุบาล หาญกล้าไปวิพากษ์วิจารณ์ภูมิรู้ในด้านการปฏิบัติของศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในห้องทดลองวิทยาศาสตร์
 
การวิพากษ์วิจารณ์นั้นย่อมจะไร้เดียงสาผิดพลาดอย่างน่าสงสาร ตามความเป็นจริงนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีญาณพิเศษตาทิพย์ หูทิพย์ รู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งอย่างทั้งภายในและภายนอกโดยไม่จำเป็นต้องเข้าสมาธิลึกๆ เลย เพียงแต่ท่านเข้าสมาธิอย่างอ่อนๆ ระดับอุปจาระสมาธิก็สามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้กว้างขวางโดยไม่จำกัดขอบเขต
 
ในบางครั้งบางคราวท่านไม่จำเป็นต้องเข้าสมาธิเลยก็เกิดญาณพิเศษสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตาทิพย์หูทิพย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำน่าอัศจรรย์ ญาณพิเศษนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัญญาอัตโนมัติหมุนทับรับรู้กับเหตุการณ์ณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องมีการบังคับบัญชาใดๆ เปรียบไปแล้วก็เหมือนเครื่องเรด้าร์ขนาดใหญ่สามารถรับรู้เหตุการณ์ณ์ทั้งใกล้และไกลได้ถูกต้องแม่นยำนั่นเอง
 
เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวกจำนวนมาก เสด็จมาแสดงความยินดีกับพระอาจารย์มั่นที่ท่านบรรลุอรหัตตผลนี้ ท่านได้เล่าให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังว่า



โอวาทตถาคต
พระพุทธองค์เสด็จมาในสมาธินิมิต แล้วประทานพระโอวาทอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่นมีใจความว่า
 
" เราตถาคตทราบว่า เธอพ้นจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแห่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก มีเครื่องยั่วยวนให้เผลอตัวและคิดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่างจึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์ในโลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมาว่า เป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่างๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น
 
ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหา ภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่า จะหายได้เมื่อไร สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือธรรมะจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล "
 
พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทต่อไปว่า ธรรมะแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรมะ
 
" ธรรมะก็อยู่แบบธรรมะสัตว์โลกหมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภาพน้อยภาพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงเมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเอง โดยยึดธรรมะมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม "
 
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงใด ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น
 
ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอย่างเดียวกันคือ สอนให้ละชั่ว ทำดี ทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้ว เป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผุ้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น
 
ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิมคนที่คล้อยตามมัน จึงเป็นผู้ลืมธรรมะไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นเป็นโทษ
 
ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่าๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผาไม่มีกาลสถานที่ ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตามๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน สิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.111 Chrome 38.0.2125.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557 15:15:50 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ร่างสมมติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระอาจารย์มั่นว่า นี่เธอเห็นเราพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ

พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั่นแล
 
ที่พระตถาคตมาหาเธอนี้ มาในร่างสมมติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก ท่านพระอาจารย์มั่นกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย แต่ที่สงสัยก็คือ พระองค์กับพระสาวกทั้งหลายได้เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไปแล้ว ไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย แล้วพากันเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร
 
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้ว ไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดจะมาแสดงเพื่ออะไรอีก

ฉะนั้น การมาในร่างสมมติครั้งนี้ จึงเพื่อสมมติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมติอย่างเดียวก็หมดปัญหา อันว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีต อนาคตก็ทรงถือเอานิมิต คือสมมติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้นๆ เป็นเครื่องหมายรู้ เช่นทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า ทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้นๆ เป็นเครื่องหมายรู้พิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมติของสิ่งนั้นๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมติ

เพราะวิมุตติล้วนๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ต้องอาศัยสมมติเป็นหลักพิจารณา ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นพอจะมีทางทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอรหันต์องค์นั้นๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้นๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้

เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแบ่งภาคแสดงออกโดยทางสมมติเพื่อความเหมาะสมกัน

ถ้าเป็นวิมุตติล้วนๆ เช่น จิตที่บริสุทธิ์ รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รับรู้เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ ว่าเป็นอย่างไรบ้างก็จำต้องนฤมิตสมมติ เข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่า วิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว

มีความสงบสุขเหนือสิ่งใดๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมติทั่วๆ ไป ผู้ทรงวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้วจึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติ แสดงตัวออกต่อสมมติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติไม่แสดงอาการ
 
ที่เธอถามเราตถาคตนี้ ถามด้วยความสงสัยหรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน ท่านพระอาจารย์มั่นได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมติ และวิมุตติของพระองค์ทั้งหลายเลย แต่ที่กราบทูลนี้ ก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มา ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ในอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์มิใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย
 
พระพุทธเจ้าทรงมีอาการกึ่งยิ้ม จ้าเจิดแจ่มใสและมีไมตรีจิตมิตรภาพ พระเนตรลดต่ำ ดวงพระพักตร์เพียบพูนด้วยวิมุตติสุขเปล่งปลั่ง สำแดงออกซึ่งอุเบกขาญาณตรัสว่า "การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัยแต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น"
 
บรรดาพระสาวกอรหันต์ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์ในครั้งนี้ มิได้กล่าวปราศัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีแต่พระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียว ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นแต่เพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยมน่าเคารพเลื่อมใสก็นั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม ทุกองค์ล้วนมีมารยาทอันสวยงามน่าเคารพเลื่อมใสมาก เหมือนผ้าที่ถูกพับไว้เป็นระเบียบงามตาไม่มีที่ติ ในเวลาต่อมาหากพระอาจารย์มั่นเกิดความสงสัยอะไร เป็นต้นว่าเกี่ยวกับระเบียบขนบประเพณีดั้งเดิมสมัยพุทธกาล เช่นการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ ความเคารพต่อกันระหว่างผู้อาวุโสกับภันเตและการครองผ้าเวลานั่งสมาธิหรือเดินจงกรมจำเป็นทุกครั้งไปหรือไม่อย่างไร

ขณะนั่งภาวนาท่านนึกวิตกอยากทราบความจริง ที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกพาดำเนินมาก่อนทำกันอย่างไร พอนึกวิตกเช่นนี้ พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในสมาธินิมิต แสดงวิธีให้ดูทันทีน่าอัศจรรย์ บางคราวพระสาวกอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่งก็มาแทนพระพุทธเจ้าแสดงให้ดูตัวอย่างจนได้เช่นว่า การเดินจงกรมควรจะปฏิบัติอย่างไร ในขณะเดินจะถูกต้อง และเป็นความเคารพธรรมดาตามหน้าที่ของผู้สนใจเคารพธรรมในเวลาเช่นนั้น ท่านก็เสด็จมาแสดงวิธีวางมือ วิธีก้าวเดิน วิธีสำรวมตนให้ดูอย่างละเอียด
 
บางครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาอีกก็ประทานพระโอวาทประกอบกับวิธีแสดงด้วย บางครั้งก็แสดงเพียงวิธีท่าต่างๆ ให้ดู แม้พระอรหันตสาวกมาแสดงให้ดูก็ทำในลักษณะเดียวกัน การนั่งสมาธิทำอย่างไรควรหันหน้าไปทางทิศใดเป็นการเหมาะกว่าทิศอื่นๆ ท่านั่งจะตั้งตัวอย่างไรเป็นการเหมาะสมในขณะนั้น ท่านแสดงให้ดูทุกวิธีจนสิ้นสงสัยทุกกรณีไป

ตลอดจนสีผ้าสบง จีวร สังฆาฏิอันเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระท่านก็แสดงให้ดู โดยแสดงผ้าสีย้อมฝาดหรือสีกรักคือสีแก่นขนุนออกเป็นสามสี มีสีกรักอ่อนสีกรักแก่น้ำตาลเข้มเท่าที่ผู้เขียนได้เล่ามานี้ ท่านผู้อ่านก็ย่อมจะพิจารณาตามเห็นว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระเป็นพระอาจารย์วิปัสสนาที่ทำอะไรลงไปอย่างมีแบบฉบับมา
 
เป็นเครื่องยืนยันรับรองความแน่ใจของท่านในการกระทำเสมอ มิได้ทำแบบเดาสุ่ม เอาตนเข้าไปเสี่ยงต่อกิจการที่ไม่แน่ใจ ปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น จึงราบรื่นสม่ำเสมอตลอดมา ไม่มีข้อที่น่าตำหนิติเตียนใดๆ ตลอดอายุขัยตั้งแต่ต้นจนอวสาน ซึ่งหาผู้เสมอได้ยากในสมัยปัจจุบัน
 
นอกจากนั้นท่านยังมีอะไรๆ ที่พูดไม่ออก บอกไม่ถูกอยู่ภายในอย่างลึกลับ เป็นเข็มทิศพาดำเนิน ถ้าพูดออกมาแล้วอาจจะถูกกล่าวหาเอาได้ว่าอวดอุตริมนุสสธรรม ท่านก็นิ่งเสียเก็บไว้รู้ภายในใจแต่ผู้เดียว ซึ่งผู้ปฏิบัติทั้งหลายยากที่จะมีได้อย่างท่าน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.111 Chrome 38.0.2125.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2557 10:29:10 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ต้นชาติ ศพเป็นดวงแก้ว

ต้นชาติ
แรกเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ๆ ในสำนักพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี พระอาจารย์มั่นได้สุบินนิมิตในคืนวันหนึ่งว่า ท่านได้เดินทางเข้าไปในป่าใหญ่ อันรกชัฏเต็มไปด้วยขวากหนาม จนจะหาที่ดั้นด้นไปแทบไม่ได้ แต่ท่านก็พยายามซอกแซกฝ่าไปจนได้ พอพ้นป่าใหญ่ก็พบทุ่งกว้างใหญ่ไพศาล ได้พบต้นชาติล้มจมดินอยู่กลางทุ่ง เปลือกและกระพี้ผุพัง

ต้นชาตินี้ใหญ่โตมาก ท่านได้ปีนขึ้นไปบนขอนไม้ใหญ่นี้แล้วพิจารณาด้วยปัญญา

พลันธรรมปัญญาก็ผุดขึ้นในใจว่าต้นไม้ใหญ่นี้ล้มแล้วเริ่มผุพังแล้ว ไม่มีทางจะงอกเงยขึ้นมาอีกได้ ชื่อต้นชาติก็เปรียบได้กับชาติภพของท่าน ต่อไปนี้ถ้าท่านไม่ลดละความเพียรเสียจักต้องตัดชาติภาพตัวเองให้สิ้นสุดลง ไม่มีการเกิดในสังสารวัฏ หรือกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกอีกต่อไป

อันว่าทุ่งกว้างเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตานี้ เปรียบได้กับความไม่มีสิ้นสุดของวัฏฏจักรของสัตว์โลกทั้งหลายนั่นเอง ขณะที่ท่านใช้อารมณ์วิปัสสนา อยู่บนขอนชาตินี้ พลันทันใดก็มีม้าขาวตัวหนึ่งสูงใหญ่สง่างามมาจากไหนไม่รู้ เข้ามายืนเทียบขอนชาติ แสดงกิริยาอาการสนิทสนมคุ้นเคยกับท่านอย่างน่ารัก

ท่านจึงก้มลงเอามือลูบหัวมันด้วยความเอ็นดู พลันก็นึกอยากจะขี่มันเล่นจึงก้าวจากขอนชาติขึ้นไปนั่งบนหลังม้า ทันทีที่ท่านนั่งลงบนหลังมันก็พา ท่านห้อตะบึงไปอย่างรวดเร็วประดุจลมพัด ขณะที่ม้าพาวิ่งไปรู้สึกว่าท้องทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด ม้าวิ่งมาได้พักใหญ่ก็แลเห็นตู้พระไตรปิฎกสีขาวสวยงามมากตั้งอยู่กลางทุ่งข้างหน้ามีประกายสุกสว่าง คล้ายติดไฟนีออนไว้ฉะนั้น ม้าได้พาท่านวิ่งเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎกนี้โดยไม่ได้บังคับเลย ท่านได้กระโดดลงจากหลังม้า เดินตรงเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎก ตั้งใจว่าจะเปิดออกดู แต่มิทันได้เปิดพลันก็สะดุ้งตื่นขึ้น ต่อมาเมื่อท่านมีกำลังจิตสมาธิมั่นคงพอสมควรบ้างแล้วได้ย้อนพิจารณาสุบินนิมิตนี้อีกด้วยปัญญาอันแหลมคม ก็ได้ความว่า ชีวิตคนเรานี้เปรียบเหมือนบ้านเรือน อันเป็นที่รวมแห่งสรรพทุกข์ ป่ารกชัฏดงใหญ่ย่อมเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ร้าย อันมีภัยนานาชนิด ทำไฉนคนเราถึงจะไปให้พ้นจากที่รวมแห่งทุกข์ และไปให้พ้นจากภัยอันตรายของสัตว์ร้ายทั้งปวงอันหมายถึงกิเลสมาร
 
การสละเพศฆราวาสออกบวชเท่านั้นเป็นทางเดียวที่จะไปให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ เพราะการบวชประพฤติธรรมก็คือการบวชซักฟอกจิตให้พ้นจากความผิดมลทินโทษทั้งหลาย ม้าขาวสง่างามฝีเท้ากล้าก็คือ พาหนะอันบริสุทธิ์ของผู้ทรงภูมิธรรม ที่จะขี่ข้ามทุ่งกว้างอันเปรียบได้กับสังสารวัฏ การได้พบตู้พระไตรปิฏกอันวิจิตรสวยงาม

แต่ไม่ได้เปิดดูเพื่อศึกษาให้แตกฉานสมใจเต็มภูมิที่กระหายใคร่รู้ เป็นนิมิตแสดงว่า กว่าท่านจะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดจะต้องฟันอุปสรรคนานานัปการ แสวงหาความรู้ ด้วยตนเองเป็นนักปราชญ์ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยตำรา แต่ก็จะทรงความเป็นปฏิสัมภิทานุศาสน์ มีเชิงฉลาดในเทศนาวิธีอันเป็นบาทวิถีแก่หมู่ชนพอเป็นแนวทางเท่านั้น ไม่ลึกซึ้งเหมือนภูมิธรรมแห่งจตุปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ (หมายความว่าในสุบินนิมิตนั้น ถ้าท่านได้เปิดตู้พระไตรปิฏกอ่านแล้วจะทรงคุณธรรมพิเศษปฏิสัมภิทาญาณ อันเป็นคุณธรรมพิเศษยอดยิ่งครอบอภิญญา 6 ไว้ทั้งหมด แต่แล้วท่านก็ไม่ได้เปิดตู้พระไตรปิฏกออกศึกษา)



ศพเป็นดวงแก้ว
การเจริญวิปัสสนาระยะแรกที่วัดเลียบนี้ คืนวันหนึ่งท่านได้อุคหนิมิตในสมาธิ นิมิตนั้นเป็นภาพคนตายพุพองน้ำหนองไหลขึ้นอึดเต็มที่ มีแร้งกาและสุนัขมาเยื้อแย่งจิกกิน ลากไส้ออกมาน่าขยะแขยงยิ่งนัก เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสะอิดสะเอียนน่ารังเกียจ ชวนให้เบื่อหน่ายในสังขารและสละสังเวชไม่มีประมาณ
 
ท่านได้พยายามไม่สนใจภาพซากศพนี้ ใช้กระแสจิตขจัดให้หายไป แต่พอหายไปได้เล็กน้อย ภาพนี้ก็ปรากฏขึ้นในสมาธิอีกครั้งแล้วครั้งเล่าคล้ายจะหลอกหลอนอารมณ์ ท่านจึงเปลี่ยนอุบายวิธีใหม่เพ่งเอานิมิตซากศพนี้ยกขึ้นพิจารณาเจริญวิปัสสนาเต็มที่ บอกตัวเองว่า ดีแล้ว เมื่อซากศพนี้ไม่ยอมหนี มาหลอนอารมณ์อยู่เรื่อยๆ เราจะเอาซากศพเป็นครู   จากนั้นท่านก็เพิ่งพิจารณาซากศพโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ เดินจงกรมก็ยึดเอานิมิตซากศพเป็นเครื่องพิจารณา นั่งภาวนาก็ยึดเอาซากศพมาพิจารณา ไม่ว่าอยู่ในท่าอิริยาบถใดท่านไม่ยอมให้นิมิตภาพซากศพนี้ได้เลือนหายไปเลย แม้แต่เวลาเดินไปบิณฑบาตท่านก็พิจารณาถึงซากศพนี้ ในที่สุดหลังจากเพ่งซากศพนี้ พิจารณาโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ นิมิตซากศพอันน่ารังเกียจขยะแขยงก็แปรเปลี่ยนไปเป็นดวงแก้วสุกใสอยู่ตรงหน้า ท่านก็รู้สึกประทับใจในดวงแก้วนี้มากแทนที่จะกำจัดภาพนี้ ให้หายไปไม่สนใจท่านกลับรู้สึกชอบใจหลงใหลได้เพ่งแก้วดวงนี้ต่อไป ปรากฏว่าหนักๆ เข้าดวงแก้วได้แปรเปลี่ยนสภาพไปต่างๆ นานา อย่างพิสดารพันลึก เป็นภูเขาบ้าง เป็นปราสาทราชวังบ้าง เป็นวัดวาอารามบ้าง และอะไรต่ออะไรพิลึกกึกกือร้อยแปดพันประการท่านพิจารณาแบบนี้อยู่สามเดือนทางสมาธิภาวนา ยิ่งพิจารณาไปเท่าไรก็เห็นสิ่งมาปรากฏมากมายไม่สิ้นสุด เมื่อออกจากสมาธิภาวนาแล้ว เวลาอารมณ์กระทบกับสิ่งแวดล้อมก็หวั่นไหว มีอารมณ์ดีใจ เสียใจ รักชอบและเกลียดชังไปตามเรื่อง

ทำให้ท่านฉุกใจคิดว่า การภาวนาสมาธิแบบนี้เห็นจะผิดทางแน่แล้ว สมาธิภาวนาย่อมจะยังใจให้สงบระงับมีแต่ความชุ่มชื่น  แต่นี่พอถอนจิตออกจากสมาธิภาวนาแล้วมีแต่ความหวั่นไหวในอารมณ์ไปต่างๆ นานาตามแบบชาวโลก เราดำเนินผิดทางแน่แล้ว เมื่อตรึกตรองรอบคอบแล้ว พระอาจารย์มั่นจึงได้เปลี่ยนอุบายเสียใหม่ เจริญวิปัสสนาย้อนจิตเข้ามาในวง แห่งร่างกายพิจารณาอยู่เฉพาะกายไม่ส่งจิตติดตามนิมิตออกไปภายนอกอย่างเตลิดเปิดเปิงหลงใหลในภาพนิมิตแปลกๆ อย่างแต่ก่อนการพิจารณากายนี้ พิจารณาตามเบื้องบน เบื้องล่าง ด้านขวางและสถานพลางโดยรอบ ใช้สติกำหนดรักษาโดยการเดินจงกรมไปมา มากกว่าอิริยาบถอื่นๆ เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งสมาธิภาวนาก็ไม่ยอม ให้จิตหลั่งลงสู่จุดสมาธิดังแต่ก่อน แต่ให้จิตท่องเที่ยวไปตามร่างกายส่วนต่างๆ

พินิจพิจารณาตามแนววิปัสสนาอย่างเต็มที่ ท่านได้ใช้อุบายวิธีพิจารณาแบบนี้อยู่หลายวัน เป็นการทดลองดูว่าจิตจะสงบลงแบบไหนกันอีกแน่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤศจิกายน 2557 11:40:09 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 38.0.2125.111 Chrome 38.0.2125.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2557 11:52:55 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

หนทางถูก
ปรากฏว่า จากการพิจารณาด้วยอุบายวิธีนี้ จิตได้รวมสงบลงอย่างรวดเร็วและง่ายดายผิดปกติ ขณะที่จิตสงบตัวลง ปรากฏว่าร่างกายได้แตกออกเป็นสองภาค และรู้ขึ้นมาในขณะนั้นว่า นี่เป็นวิธีที่ถูกต้องแน่นอนแล้วไม่สงสัย เพราะขณะที่จิตรวมลงไปมีสติประจำตัวอยู่กับที่ไม่ปล่อยให้จิตไร้สติเหลวไหลเที่ยวเร่ร่อน
 
ไปในที่ต่างๆ ดังที่เคยเป็นมาในครั้งก่อน นี่คืออุบายที่แน่ใจว่าเป็นความถูกต้องในขั้นแรกของการเจริญวิปัสสนา และในวาระต่อมาพระอาจารย์มั่น ก็ยึดถืออุบายนี้เป็นเครื่องดำเนินวิปัสสนากรรมฐานอย่างไม่ลดละ จนสามารถทำความสงบใจได้ตามต้องการ มีความชำนิชำนาญมากขึ้นไปด้วยกำลังความเพียร
 
ไม่ลดหย่อนอ่อนกำลัง นับว่าได้หลักฐานทางจิตใจที่มั่นคง ด้วยสมาธิแบบสมถะวิปัสสนา ไม่มีการหวั่นไหวคลอนแคลนง่ายดายเหมือนคราวบำเพ็ญตามนิมิตดวงแก้วในขั้นเริ่มแรก ซึ่งทำให้เสียเวลาเปล่าไปตั้งสามเดือน นี่แหละโทษแห่งการไม่มีครูบาอาจารย์ผู้ฉลาดคอยให้อุบายสั่งสอนท่าน

ย่อมมีทางเป็นไปต่างๆ ทำให้ผิดทาง ทำให้ล่าช้าเสียเวลา มีแต่ทางเสียหาย ท่านบอกตัวเองว่า ที่คนเจริญวิปัสสนาเสียสติเป็นบ้าเป็นหลังไปมากต่อมากราย ก็เห็นจะเป็นด้วยการเจริญวิปัสสนาผิดลู่ผิดทางนี้อย่างไม่มีปัญหา นับว่าเป็นบุญวาสนาของเราแล้วที่ค้นพบทางถูกต้อง



ออกป่าหาวิเวก
เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้ไปกราบลาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เพื่อออกป่าเที่ยวหาวิเวกบำเพ็ญเพียร ให้ห่างไกลจากหมู่บ้านและผู้คนพลุกพล่าน เจริญรอยตามพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลาย ที่ดำเนินมาก่อน ในสมัยพุทธกาลพระอาจารย์เสาร์ได้ทราบความตั้งใจของพระอาจารย์มั่นศิษย์รักแล้ว ก็มีความยินดีอนุญาตให้ออกธุดงค์กรรมฐานตามความปรารถนาพร้อมกับกำชับว่า ไปแล้วอย่าไปลับ ให้กลับมาหาสู่กันบ้าง มีความรู้ได้อะไรแปลกๆ ในภูมิธรรมก็จะได้แลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกัน เพื่อเป็นแนวทางก้าวหน้าของกันและกันเพราะพระธุดงค์ย่อมมุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถธรรมทางใจโดยแท้ การเที่ยวแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญเพียร
 
เพื่อความสงัดทางกายทางใจไม่พลุกพล่านวุ่นวายด้วยเรื่องต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ชอบแล้วท่านพระอาจารย์มั่นได้ออกเดินธุดงค์ไปตามลำพังอย่างโดดเดี่ยว เที่ยวไปตามป่าตามภูเขาในถิ่นจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี้ หนองคาย เลย หล่มสักแล้วข้ามโขงไปท่าแขก เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ที่เต็มไปด้วยป่าเขาลำเนาไพรชุกชุมด้วยสัตว์ร้าย โดยเฉพาะพวกเสือโคร่งชุกชุมมากเป็นพิเศษ ตัวใหญ่ๆ ทั้งนั้น ชอบกินคนแปลกอยู่อย่างที่เสือโคร่งในแดนลาวชอบอยู่กันเป็นฝูง เวลามันออกหากินในตอนกลางคืนจะส่งเสียงกระหึ่มร้องก้องสนั่นไปทั้งป่า ทำให้ป่าทั้งป่าเงียบงันราวกับต้องอาถรรพ์ เวลาเดินทางท่องเที่ยวธุดงค์

ท่านครองจีวรสีกรักแก่ บ่าข้างหนึ่งแบกกลด บ่าอีกข้างสะพายบาตรร กลดนี้เป็นมุ้งไปในตัวเสร็จ เมื่อรอนแรมไปจนค่ำลงก็จะเลือกเอาภูมิประเทศที่เหมาะสมเป็นที่ปักกลดพักผ่อน เลือกเอาที่ไม่ใช่ด่านสัตว์ซึ่งเป็นทางเดินหากินของสัตว์ป่า เพราะจะยังความแตกตื่นให้บรรดาสัตว์ป่าทั้งหลายหากินไม่สะดวกตามประสาของมัน


เจโตวิมุตติ
คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นปักกลดเจริญสมณธรรมบำเพ็ญเพียรอยู่ที่หุบเขาแห่งหนึ่งในแขวงสาละวันประเทศลาว คืนนั้นเดือนหงายกระจ่างนวลใย แผ่ซ่านไปทั่วหุบเขาลำเนาไพร ฟ้าเบื้องบนปราศจากกลุ่มเมฆ มองเห็นทิวเขาสูงตระหง่านโอบล้อมและเงาต้นไม้กระดำกระด่างที่โน่นที่นี่คล้ายลายฉลุอันไพศาล ประกอบกับมีลมพัดโบกเย็นสบายรื่นรมย์  ทำให้ท่านรู้สึกปลอดโปร่ง โสมนัสอินทรีย์ในภูมิภาพยิ่งนัก หลังจากได้อาบน้ำในลำธารใสไหลเย็นในหุบเขาแล้วท่านก็บำเพ็ญเพียรด้วยการเดินจงกรมท่ามกลางแสงเดือน เดินจงกรมนานพอสมควรแล้ว ก็นั่งภาวนาสมาธิ การบำเพ็ญเพียรในอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ที่ใด ไม่มีการลดละทั้งกลางวันกลางคืน ถือเป็นงานสำคัญยิ่งกว่าชีวิต
 
ถึงตัวเองจะตายเพราะ ความเพียรก็ยอม ท่านไม่เคยนึกกลัวตาย หากกลัวอยู่อย่างเดียวคือ กลัวจะไม่พบทางแห่งความหลุดพ้นจากสงสารทุกข์ เพื่อเข้าสู่แดนศิวโมกษนิพพาน นิสัยของพระอาจารย์มั่นไม่ชอบทางก่อสร้างวัดวาอารามมาแต่เริ่มแรก ท่านชอบบำเพ็ญเพียรทางใจหรือสมถยานิกโดยเฉพาะ คือบำเพ็ญเพียรทางสมถะ จนได้ฌานแล้วเจริญวิปัสสนาหาทางหลุดพ้นด้วยอำนาจฌานสมาบัติที่เรียกว่า “เจโตวิมุตติ” พระอรหันต์ที่เป็นเตโตวิมุตตินี้แสดงฤทธิ์ได้ เป็นที่ยกย่องว่ามีอิทธิฤทธิ์มาก ทรงอภิญญา ซึ่งในเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปีท่านพระอาจารย์มั่นก็สำเร็จบรรลุธรรมขั้นสูงสมปรารถนา เป็นพระอรหันต์เจโตวิมุตติ เมื่อท่านมรณภาพกระดูกได้กลายเป็นพระธาตุ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว นิสัยท่านพระอาจารย์มั่นไม่ชอบอยู่เพื่อนฝูงและชุมชนที่พลุกพล่าน ท่านชอบสัญจรร่อนแร่แต่โดยเดียว แสวงหามรรค ผล พระนิพพาน มีความเพียรเป็นอารมณ์ทางใจ มีศรัทธามุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์อย่างแรงกล้า ดังนั้นเวลาท่านทำอะไรจึงชอบทำจริงเสมอ ไม่มีนิสัยโกหกหลอกลวงตัวเองและผู้อื่น การบำเพ็ญเพียรของท่านเป็นเรื่องอัศจรรย์ไปตลอดสาย ทั้งมีความขยัน ทั้งมีความทรหดอดทนและมีนิสัยชอบใคร่ครวญ จิตท่านมีความก้าวหน้าทางสมาธิและทางปัญญาสม่ำเสมอ ไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม การพิจารณากายนับแต่วันที่ท่านได้อุบายจากวิธีที่ถูกต้องในขั้นเริ่มแรกมาแล้ว

ท่านไม่ยอมให้เสื่อมถอยลงได้เลย ยึดมั่นในวิธีนี้อย่างมั่นคง พิจารณากายซ้ำๆ ซากๆ จนเกิดความชำนิชำนาญ แยกส่วนแบ่งแห่งร่างกายให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่และละลาย ให้เป็นอนัตตาด้วยธรรมปัญญาได้ตามต้องการ จิตของท่านยิ่งนับวันหยั่งลงสู่ความสงบเย็นใจเป็นระยะไม่ขาดวรรคขาดตอน เพราะความเพียรหนุนหลังอยู่ตลอดเวลา


ชีปะขาวบอกเหตุ
ขณะที่พระอาจารย์มั่นนั่งบำเพ็ญสมาธิภาวนาอยู่นั้น เป็นเวลาดึกสงัดประมาณว่าสักตี 2 เห็นจะได้ จิตของท่านอยู่ในขั้นอุปจาระสมาธิคือสมาธิอย่างอ่อนๆ กำลังพิจารณาสังขารธรรมอยู่อย่างเพลิดเพลินเจริญใจไม่ลดละความเพียร พลันทันใดก็ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในห้วงสมาธิ มีชายผู้หนึ่งนุ่งขาวห่มขาวแบบชีปะขาว

ได้เดินเข้ามาคุกเข่าก้มลงกราบท่านแล้วพูดว่า นิมนต์หลวงพ่อย้ายกลดขึ้นไปอยู่บนเขาเสียเถิด ด้วยคืนนี้จะมีน้ำบำบัดผ่านมาที่นี่ หลวงพ่อจะเป็นอันตรายถึงชีวิต บอกแล้วภาพนิมิตของชีปะขวผู้นั้นก็หายวับไป ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่าท่านรู้สึกแปลกใจและสงสัย จึงอธิษฐานจิตบารมีพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย เพื่อขอตรวจดูเหตุการณ์ด้วยทิพยจักษุญาณ พลันก็พบว่า ไกลออกไปทางเหนือฝนกำลังตกใหญ่มืดครึ้มมีพายุและฟ้าแลบน่ากลัวมาก เห็นน้ำป่ากำลังทะลักทะลาย ลงมาจากภูเขาพัดพาถล่มต้นไม้ในป่าเสียงดังกึกก้องไปหมดน่ากลัวมาก กระแสน้ำป่านั้นกำลังพัดมาทางที่ท่านกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่อย่างรุนแรง
 
ท่านพระอาจารย์มั่นรู้สึกประหลาดใจระคนสงสัย จึงถอนจิตออกจากสมาธิลืมตาขึ้นดู พบว่าบริเวณหุบเขาที่ท่านพักอยู่แสงเดือนหงายยังแจ่มจรัสอากาศก็เย็นสบายปลอดโปร่งรื่นรมย์ ไม่มีเค้าเมฆฝนอยู่ในท้องฟ้าเลย ทั้งป่าก็สงัดเงียบวิเวกวังเวงใจไม่มีเค้าเสียงพายุฝนดังมาจากทิศไหนเลย ก็ให้ฉงนใจอยู่ไม่แน่ใจในเหตุการณ์ ที่รับรู้ในญาณพิเศษเมื่อกี้นี้ว่า จะมีน้ำเป่าพัดมาจริงๆ แน่ละหรือ น่าสงสัยจริง


เทวดาช่วยชีวิต
แต่ทันใดนั้น ท่านก็ได้ยินเสียงอื้ออึงดังมาจากเบื้องทิศเหนือ เสียงนั้นน่ากลัวมาก คล้ายเสียงรถไฟหลายขบวนวิ่งแข่งกันเข้ามาในป่าไม่มีผิด ทำให้ท่านแน่ใจทันทีว่า โอปปาติกะชีปะขาวที่เข้ามาแจ้งเหตุในนิมิตนั้นบอกกล่าวเป็นความจริง และทิพยจักษุญาณของท่านก็เห็นภาพแน่ชัดไม่ใช่ภาพหลอนหลอกแต่อย่างใด

เสียงอื้ออึงนั้นเป็นเสียงน้ำป่าห่าใหญ่กำลังพัดมาอย่างรวดเร็วรุนแรงมากอย่างแน่นอน นี่คือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลไม่มีใครจะไปห้ามมันได้ เราผู้เป็นสมณะผู้บำเพ็ญธรรมไม่บังควรจะกีดขวางธรรมชาติ รำพึงเช่นนี้แล้ว ท่านก็ถอนกลดจัดแจงจะย้ายขึ้นไปหลบน้ำป่าอยู่บนเขาสูงให้พ้นอันตรายแต่หาได้ตื่นกลัวแต่อย่างใดไม่

พอแบกกลดใส่บ่าข้างหนึ่งและสะพายบาตรอีกข้างแล้ว ท่านก็ออกเดินจะขึ้นเขาไป กระทำจิตให้มั่นคงภาวนาไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อนอะไร เพราะเสียงน้ำป่าอื้ออึงนั้นยังอยู่ไกล คงไม่มาถึงตัวท่านรวดเร็วแน่ กะว่าเดินภาวนาไปสักครู่ก็จะขึ้นเขาสูงหนีพ้นไปได้ แต่ความเข้าใจของท่านผิดถนัด เพราะน้ำป่ามารวดเร็วมากเนื่องจากท่านไม่เคยผจญกับน้ำป่ามาก่อน

จึงไม่รู้ว่าน้ำป่านั้นพอได้ยินเสียงก็แสดงว่าใกล้จะถึงจวนตัวเต็มทีแล้ว ทันใดท่านก็รู้สึกตัวว่า ถูกแรงกระแทกอันเย็นเฉียบเป็นก้อนมหึมาทำให้ร่างของท่านลอยขึ้นสูงคล้ายถูกจับโยนอย่างแรงด้วยมือยักษ์ พร้อมกับมีเสียงดังอู้จนแสบแก้วหู พอได้สติก็พบว่าร่างของท่านถูกกระแสน้ำป่าอันไหลรุนแรงเชี่ยวกรากพัดขึ้นไปติดอยู่บนหน้าผาสูงประมาณ 10 วา อย่างน่าอัศจรรย์ โดยที่ท่านไม่ได้รับอันตรายอย่างใดเลย จะมีก็แต่จีวรที่นุ่งห่มอยู่นั้นเปียกโชกไปหมดทั้งตัวท่านมองลงมาจากหน้าผาเห็นกระแสน้ำมหึมาไหลกรากท่วมต้นไม้ใบหญ้าบริเวณที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ในหุบเขานั้น กลายเป็นทะเลสาบไปหมดในพริบตา ทำเอาถึงกับตะลึงและให้อัศจรรย์ใจว่า ทำไมท่านถึงไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาจมหายไปหนอ ไฉนจึงลอยขึ้นมาอยู่บนหน้าผาได้อย่างน่าอัศจรรย์เช่นนี้ สักครู่น้ำป่านั้นก็หายวับไปกับตา นี่แหละธรรมชาติของน้ำป่ามาเร็วหายไปเร็วและเป็นภัยอันตรายอันแรงน่ากลัวยิ่งนักใครหนีไม่ทันมักจะจมน้ำตาย หรือไม่ก็ถูกน้ำพัดซัดไปกระแทกเข้ากับต้นไม้บ้าง กระแทกเข้ากับก้อนหินบ้างถึงแก่ความตาย ท่านพระอาจารย์มั่นนับว่ามีบุญญาภิสมภารสูงถึงรอดตายมาได้ในครั้งนี้ จะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาช่วยชีวิตไว้ก็ให้น่าสงสัยมากอยู่

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.71 Chrome 39.0.2171.71


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2557 16:16:07 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ป่าหลวงพระบาง
พระอาจารย์มั่นจาริกธุดงค์ไปยังหลวงพระบาง รอนแรมบุกป่าฝ่าดงอันหนาแน่นไปด้วยต้นไม้และขวากหนามเส้นทางทุรกันดารยากลำบาก วกไปเวียนมา มองไปทางไหนมีแต่ป่าแต่เขาสูงใหญ่จนอ่อนล้าเพราะหลงทิศทาง เดินไปทั้งวันก็วกกลับมาที่เดิมไม่น่าเชื่อ สัตว์ตัวกระจ้อยร่อยประเภทดูดเลือด เช่น ฝูงทากก็มากมาย คอยรบกวนให้ได้รับความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ตะวันยอแสงฉาบสีทองเอิบอาบขุนเขาสูงใหญ่เบื้องหน้าเป็นภาพสวยงามตระการตารวมกับสีมณีวิเศษอันมีสีต่างๆ ท่านรู้สึกชื่นชมกับธรรมชาติในยามใกล้สนธยาเบื้องหน้า จึงรีบรุดตรงไปยังเชิงเขาเพื่อจะยึดเอาเขาลูกนี้เป็นที่พักแรมคืน ภูมิภาพอันสวยงามเบื้องหน้า เงาหมู่ไม้อันทอดยาว แสงสะท้อนจากกลุ่มเมฆสีขาวสลับซับซ้อนเบื้องบนเป็นสีระยับวะวับวาว ทำให้หุบเขาแห่งนั้นกลายเป็นสีรุ้งดั่งว่าเนรมิตไว้ฉะนั้น

ท่านเห็นภูมิประเทศแห่งนี้งามประหลาด น่าชื่นชมก็หยุดรำพึงว่า ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จท่องเที่ยวธุดงค์ไปแต่ลำพังโดยเดียว ดุจพญาราชสีห์ตัวกล้า ไม่เกรงกลัวซึ่งภัยอันตรายใดๆ ทุกฤดูกาลเพื่อแสวงหาความจริงอันเป็นสัจจะแห่งความหลุดพ้น

พระองค์ต้องต่อสู้กับกิเลสมารอันหนาแน่นต้องกระทำทุกกรกิริยา ซึ่งมนุษย์อื่นที่แกล้วกล้าสามารถก็พากันย่อท้อทำไม่ได้ แต่พระพุทธองค์ก็ทำได้จนภายหลังเห็นแจ้งซึ่งสังสารทุกข์เสด็จออกจากทุกข์แล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  อันความเป็นไปของพระพุทธองค์ครั้งกระโน้น ได้เป็นเนติแบบฉบับให้บรรดาพระสาวกทั้งหลายทุกยุคทุกสมัยในกาลต่อมาได้ยึดเอาเป็นเยี่ยงอย่างเจริญรอยตามยุคลบาท
 
กาลบัดนี้ อันตัวเราผู้เป็นศิษย์ตถาคตกำลังดำเนินเจริญตามรอยพระองค์มิได้ลดละซึ่งความเพียรอันอาจหาญแกล้วกล้า สักวันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราไม่ลดละเสียซึ่งความเพียรแล้ว จะต้องค้นพบพระสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศไว้เป็นแน่นอน เมื่อนึกรำพึงเช่นนี้ พระอาจารย์มั่นก็รู้สึกมีกำลังใจชุ่มชื่นอาจหาญร่าเริงขึ้นมามากมาย ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าที่เดินหลงทางมาทั้งวันพลันก็เบาบางลง ค่ำวันนั้น ท่านได้หยุดปักกลดที่เชิงเขาในคูหาถ้ำอันกว้างขวางสะอาดสะอ้านคล้ายมีคนมาคอยปัดกวาดไว้เป็นประจำ ที่ใกล้ๆ มีลำธารน้ำใสไหลเย็นไหลผ่าน หลังจากลงไปอาบน้ำในลำธารเป็นที่ชุ่มชื้นเย็นกายเย็นใจแล้ว ท่านก็กลับเข้ามาในถ้ำนั่งพักผ่อนอยู่พักหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงได้นั่งสมาธิภาวนาด้วยบท “พุทธ - โธ” เป็นวัตรปกติเสมอมา แสงเดือนกระจ่างนวลใยสาดเข้ามาในถ้ำ กระแสลมที่พัดอยู่รวยริน ทำให้สดชื่นเย็นสบายใจ บรรยากาศภูมิประเทศก็เงียบสงัดวิเวกเหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณธรรมพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ด้วยประการทั้งปวง
 
เวลาผ่านไปอย่างสม่ำเสมอจนตกดึก ท่านจึงถอนจิตจากสมาธิ เปลี่ยนมาเป็นเดินจงกรมที่บริเวณหน้าถ้ำท่ามกลางแสงเดือนกระจ่างสว่างพราวเหมือนกลางวัน



ผจญเสือโคร่ง
มีเสียงเสือกระหึ่มร้องดังขึ้นสนั่นหวั่นไหว เสียงร้องรับกันทางโน้นทีทางนี้ที แสดงว่ามีเสือหลายตัวออกหากินในยามราตรี เสียงร้องของมันทำให้ป่าวังเวงด้วยเสียงจักจั่นเรไร ที่ร้องระงมป่าเงียบเสียงไปหมดสิ้นดั่งต้องมนต์อาถรรพณ์ ท่านพระอาจารย์มั่นมิได้สนใจ ไม่ได้นึกเกรงกลัวแต่อย่างใด ถือว่าสัตว์ป่าออกหากินไปตามประสาของมัน

ท่านคงเดินจงกรมไปตามปกติด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ มีมหาสติปัฏฐานเป็นหลักคอยควบคุมกายและใจอยู่ตลอดเวลาไม่วอกแวก เสียงเสือหลายตัวคำรามหลายตัวคำรามใกล้เข้ามาทุกที แล้วในที่สุดเสียงกระหึ่มร้องนั้นก็เงียบหายไป ท่านเดินจงกรมกลับไปกลับมาอยู่พักใหญ่ รู้สึกเฉลียวใจว่ามีอะไรผิดปกติข้างทางเดินจงกรมจึงชำเลืองมองไป

พลันก็ได้เห็นเสือโคร่งตัวใหญ่มาก ใหญ่จริงๆ เกือบเท่าม้าล่ำพีมีจำนวน 7 ตัวกำลังนั่งจ้องมองดูท่านอยู่อย่างเงียบๆ อาการนั่งของพวกมันคล้ายสุนัขตามบ้านนั่งดูเจ้าของไม่มีผิด ท่านรู้สึกสงสัยว่า มันมานั่งจ้องมองท่านอยู่เช่นนี้เพื่อต้องการอะไรหนอ ถ้ามันต้องการจะจับตะครุบท่านกินเป็นภักษาหารมันน่าจะทำลงไปแล้ว ไม่น่าจะพากันนั่งจ้องมองไม่กระดุกกระดิกเช่นนี้เลย ดูๆ ไปแล้วก็น่ารักน่าสงสาร พอท่านคิดเช่นนี้ พลันทันใดเสือโคร่งทั้ง 7 ตัว ก็ส่งเสียงคำรามร้องกระหึ่มขึ้นพร้อมๆ กันดังสนั่นหวั่นไหวไปหมดจนแก้วหูอื้อ เมื่อได้ยินเสียงมันคำรามขึ้นพร้อมๆ กันเช่นนั้น ท่านก็คิดในใจว่า ชะรอยพวกมันคงจะพูดบอกว่าความในใจท่านอันเป็นภาษาของมันละกระมั้ง พอท่านคิดเช่นนั้น มันก็พากันร้องสนั่นขึ้นอีกจนสะเทือนไปทั้งป่า เอ....มันต้องการอะไรของมันหนอ ถ้ามาหากันอย่างมีมิตรไมตรีก็ไม่ควรจะส่งเสียงร้องให้เป็นที่รำคาญหูเช่นนี้ ควรจะนิ่งสงบอย่างมีสัมมาคารวะ ท่านรำพึงในใจอย่างนี้จบลงก็เห็นว่าเสือทั้ง 7 ตัวพากันยอบตัวหมอบลงนิ่งเงียบไปทันทีอย่างแปลกประหลาด ท่านไม่ได้นึกกลัวมันแม้แต่น้อย คงเดินจงกรมผ่านหน้ามันไปมาเป็นปกติ มันก็ไม่ทำอะไร ได้แต่จ้องมองตามอิริยาบถเคลื่อนไหวของท่านอย่างเงียบๆ อยู่เป็นเวลานาน แล้วพวกมันก็พากันถอยห่างเดินหนีหายไปในป่า



เสือแม่ลูกอ่อน
ท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่พอสมควรแล้ว ก็กลับมานั่งภาวนาสมาธิที่ลานกว้างหน้าปากถ้ำ เวลานั้นแสงเดือนยังนวลสว่างอยู่

นั่งภาวนาสมาธิอยู่พักใหญ่จิตหยั่งลงรวมสงบลง พลันก็รู้สึกสัมผัสทางกายอันชวนให้น่าสงสัยพิกลอยู่ ทีแรกคิดว่าคงจะเกิดจากอุปาทานขณะพิจารณาอรรถธรรมในอารมณ์อุปจาระสมาธิมากกว่า แต่ก็รู้สึกๆ ว่าอาการสัมผัสนั้นรุนแรงยิ่งขึ้นทุกขณะจึงกำหนดจิตตรวจสอบดูก็รู่ว่าสัมผัสนั้นมาจากภายนอก จึงถอนจิตออกจากอุปจาระสมาธิลืมตาขึ้นดู ก็ได้เห็นลูกเสือตัวเล็กๆ น่ารักจำนวน 3 ตัว กำลังพากันมาเคล้าเคลียอยู่ที่ตักของท่านสูดๆ ดมๆ ตามร่างกายของท่านอย่างสนใจมีตัวหนึ่งซุกซนมากปีนขึ้นมานั่งบนตักท่านแล้วใช้ลิ้นเลียมือเลียแขนท่าน

กิริยาอันซุกซนของมันน่ารักน่าเอ็นดูมากกว่าน่าเกลียด ท่านให้รู้สึกสงสัยว่า ลูกเสืออายุน้อยเหล่านี้มันพากันมาจากไหนหนอ พอท่านคิดสงสัยแค่นี้ ทันใดก็ได้ยินเสียงเสือใหญ่ตัวหนึ่งกระหึ่มร้องขึ้นข้างๆ จนสะเทือนไปทั้งถ้ำ จึงหันไปมองดูก็พบว่ามีเสือโคร่งตัวใหญ่เกือบเท่าม้ากำลังนั่งสองขาจ้องมองท่านอยู่ในระยะห่างประมาณสองวา ฝ่ายลูกเสือทั้ง 3 ตัวนั้น พอได้ยินเสียงร้องของเสือใหญ่ก็พากันผละจากตักท่านวิ่งเข้าไปหาเสือตัวนั้นแล้วหมอบลงนิ่งสงบอยู่ข้างๆ แสดงอาการเกรงกลัวท่านก็รู้ได้ทันทีว่า เสือใหญ่ตัวนี้คือแม่ของมัน เป็นเสือแม่ลูกอ่อนที่พาลูกออกท่องเที่ยวหากินในยามราตรี พอรู้ว่าเป็นเสือแม่ลูกอ่อนพาลูกมาดูท่านนั่งภาวนาสมาธิท่านแปลกใจเล็กน้อย แล้วก็ไม่ได้สนใจมันอีกต่อไป ไม่ได้คิดหวาดกลัว หากคิดไปในทางสงสารมากกว่าจะคิดในทางเป็นภัย โดยคิดว่า สัตว์กับเราก็มีความเกิดแก่เจ็บตายเท่ากันในชีวิตชาตินี้แต่เรายังดีกว่าสัตว์ตรงที่เรารู้จักบุญบาปดีชั่วอยู่บ้างถ้าไม่มีคุณธรรมเหล่านี้แฝงอยู่ในใจบ้างเราก็คงมีสภาพเท่ากันกับสัตว์ดีๆ นี่เอง
 
เพราะคำว่า “ สัตว์ ” เป็นคำที่มนุษย์ไปตั้งชื่อให้พวกเขาเองโดยที่เขามิได้รับทราบจากเราเลย ทั้งๆ ที่เราก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งคือสัตว์มนุษย์ที่ตั้งชื่อกันเอง ส่วนพวกเขาไม่ทราบว่าตั้งชื่อให้พวกเราอย่างไร หรือไม่หรือเขาอาจจะตั้งชื่อพวกเราว่า “ ยักษ์ ” ก็ไม่มีใครทราบได้เพราะสัตว์มนุษย์นี้ชอบรังแกและฆ่าพวกเขา แล้วนำเนื้อมาปรุงอาหารก็มี ฆ่าทิ้งเปล่าๆ ด้วยสันดานโหดร้าย เห็นเป็นของสนุกมือก็มี จึงน่าเห็นใจสัตว์ที่ถูกพวกมนุษย์เราชอบรังแกเอารัดเอาเปรียบเขาเกินไป ไม่ได้คิดเสียเลยว่าสัตว์ก็มีหัวใจเหมือนกัน รู้จักคิด รู้จักรัก รู้จักเสียใจ รู้จักเจ็บปวด มีภาษาพูดรู้เรื่องกันในหมู่ของพวกมัน เพียงแต่มันพูดภาษามนุษย์ไม่ได้เท่านั้น

มนุษย์ควรจะเอาใจตัวเองไปใส่ใจสัตว์บ้างว่า ถ้าเราเป็นสัตว์แล้วโดนมนุษย์ด้วยกันข่มเหงรังแกบ้างเราจะรู้สึกอย่างไร สัตว์มีสัญชาตญาณในการระวังภัย มันมักจะรู้ได้เสมอว่าที่ไหนมีภัย ที่ไหนไม่มีภัยสัตว์หลายชนิดชอบอยู่ใกล้พระ พระอยู่ที่ไหน สัตว์มักจะไปอยู่ด้วย สังเกตดูวัดวาอารามพวกสุนัขก็ชอบมาอาศัยอยู่แหล่งน้ำหนอง บึง ลำห้วย และแม่น้ำที่อยู่ใกล้วัด ก็มักจะมีสัตว์น้ำ เช่น ปลามาอาศัยอยู่ใกล้ๆ วัดชุกชุมเป็นพิเศษ เพราะมันรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า พระคือผู้ทรงธรรม ธรรมะเป็นขอเย็นกายเย็นใจยังสัตว์โลกให้ปลอดภัยจากการเบียดเบียนกัน สัตว์จึงชอบอยู่ใกล้พระด้วยประการฉะนี้

พระอาจารย์มั่นภาวนาสมาธิต่อไปไม่เอาใจใส่เสือแม่ลูกอ่อนกับลูกๆ ของมันเลย พอถอนจิตออกจากสมาธิในตอนรุ่งเช้า ก็ปรากฏว่า เสือแม่ลูกอ่อนและลูกๆ ของมันยังคงหมอบสงบนิ่งมองดูท่านอยู่ไม่ได้หายไปไหน ท่านรู้สึกแปลก ที่มันไม่ยอมผละไปหากินมาหมอบเฝ้าดูท่านอยู่ใต้ทั้งคืน จึงแผ่เมตตาให้ด้วยจิตคิดสงสาร ขอให้มันและลูกจงมีความสวัสดีมีสุขในทางดำเนินไปตามวิถีชีวิต และขอให้มันพาลูกๆ ไปหาอาหารใส่ปากใส่ท้องเสียเถิด เดี๋ยวลูกๆ จะหิวโหยไม่เป็นการพอท่านแผ่เมตตาให้ในใจแล้วเช่นนั้น เสือแม่ลูกอ่อนก็ส่งเสียงคำรามขึ้นเบาๆ เหมือนจะรับรู้แล้วพาลุกเดินผละจากไป ต่อมาในตอนกลางคืน มันก็พาลูกๆ มาเฝ้าดูท่านเดินจงกรมและภาวนาสมาธิอีกอย่างเอาใจใส่ เป็นอยู่เช่นนี้ถึงสามคืนซ้อนๆ จนท่านแปลกใจมากที่เสือดุร้ายกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารยังชีพมีความเชื่องเหมือนแมวตามบ้านอุตส่าห์มาอยู่ใกล้ๆ มนุษย์อย่างเอาใจใส่ผิดวิสัยเสือ ท่านเกรงว่าขึ้นอยู่ที่ถ้ำนี้ต่อไป จะทำให้ลูกๆ ของมันลำบากเรื่องอาหารการกิน เพราะแม่ไม่เป็นอันออกหากินมาเฝ้าท่านอยู่ได้ทุกคืน ดังนั้นพอวันที่สี่ต่อมาท่านจึงจาริกธุดงค์ค์เดินทางไปที่อื่น



watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.71 Chrome 39.0.2171.71


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2557 13:16:05 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ป่าเปลี่ยวฆ่ากิเลส  
การอยู่ป่าเป็นวัตรธุดงค์นี้ท่านพระอาจารย์มั่น เห็นว่ามีคุณประโยชน์เอื้ออำนวยให้แก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างวิเศษ เพราะป่าเป็นสถานสงัดวิเวก ไม่ว่าจะมองไปทางใดก็ล้วนแต่ภูมิภาพอันเย็นตาเย็นใจปลุกประสาทให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาทนอนใจ นั่งอยู่ก็มีสติ ยืนอยู่ก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติกำหนดธรรมะทั้งหลายที่มีอยู่รอบตัว เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น ในอิริยาบถทั้งสี่เต็มไปด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่มีพันธะใดๆ มาผูกพัน มองเห็นแต่ทางมุ่งหวังพ้นทุกข์ที่เตรียมพร้อมอยู่ภายในใจไม่มีวันจืดจางและอิ่มพอ จิตใจเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะที่จะโลดโดดทยานขึ้นจากหล่มลึกคือตัวกิเลส

ความจริงกิเลสก็คงเป็นกิเลส ที่ฝังอยู่ในใจตามความมีอยู่ของมันนั่นแล แต่ใจมันมีความรู้สึกไปอีกแง่หนึ่ง เมื่อไปอยู่ในป่าอันสงัดวิเวกเช่นนั้น ความรู้สึกในบางครั้งเป็นเหมือนกิเลสตายลงไปวันละร้อยวันละพัน ยังเหลืออยู่บ้างก็ประปรายราวตัวสองตัวเท่านั้น นี่เป็นเพราะอำนาจของสถานที่ภูมิประเทศในป่าเขาลำเนาไพรช่วยส่งเสริมทั้งความรู้สึกโดยปกติและเวลาบำเพ็ญเพียร เป็นเครื่องพยุงใจให้มีมานะอาจหาญร่าเริงในธรรมอยู่ตลอดเวลา การธุดงค์อยู่ในป่าเปลี่ยวที่ชุกชุมไปด้วยส่ำสัตว์ร้ายนานาชนิด ย่อมเป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยอันตรายรอบด้าน ทำให้พระธุดงค์ผู้ปราศจากเครื่องป้องกันตัวมีความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้กับตัวย่อมเป็นทางถอดถอนกิเลสไปทุกโอกาส เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม หรือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่าสติปัฏฐานและสัจจธรรมอันเป็นจุดที่ระลึกรู้ของจิตแต่ละจุดนั้น ย่อมเป็นเกราะเครื่องป้องกันตัวเพื่อทำลายกิเลสแต่ละประเภทได้อย่างมั่นเหมาะ ซึ่งไม่มีที่อื่นใดจะยิ่งไปกว่า ฉะนั้นจิตที่ระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานหรืออริยสัจเพราะความเปลี่ยวของป่าและความกลัวเป็นเหตุ จึงเป็นจิตที่มีหลักยึดเพื่อการรบชิงชัยกับกิเลสเอาตัวรอดโดยสุคโตตามทางอริยมรรคไม่มีผิดพลาด
 

พระอาจารย์มั่นธุดงค์ท่องเที่ยวอยู่ในป่าเขาแดนประเทศลาวเป็นเวลานานพอสมควรก็ข้ามฟากกลับมาฝั่งไทย จาริกธุดงค์ค์ไปตามถิ่นอีสานที่มีภูเขาลำเนาไพรโดยเฉพาะ แล้วก็ข้ามไปทางฝั่งลาวอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายตลบเป็นเวลาหลายปี แล้วท่านก็บ่ายหน้าลงมาอยู่ทางถิ่นลพบุรี พักบำเพ็ญธรรมกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำไผ่ขวางบ้าง เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงห์โตบ้าง วัดบรมนิวาส ยสเส กรุงเทพฯ



เข้ากรุงมุ่งปริยัติ
ต่อจากนั้นก็เข้าไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสระปทุม กรุงเทพฯ แดนนักปราชญ์ราชบัณฑิต เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้านปริยัติ และหมั่นไปนมัสการเพื่อนเก่าที่บารมีสูงได้ดิบได้ดีไปแล้ว คือ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ วัดบรมนิวาส ยศเส เพื่อสดับธรรม ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็มีเมตตาต่อท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างยิ่งในฐานะเพื่อนเก่าลูกบ้านเดียวกัน เคยเล่นหัวกันมาก่อนสมัยเป็นฆราวาส ได้อบรมข้ออรรถธรรมให้พระอาจารย์มั่นผู้อ่อนอาวุโสกว่าอย่างถึงใจทุกแง่ทุกมุมที่อับจนสงสัย จนท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กล่าวชมเชยว่าท่านมั่นนี้เฉลียวฉลาดมากเหลือเกิน บอกอะไรก็จดจำได้แม่นยำไม่มีผิดพลาด ฟังข้ออรรถธรรมครั้งเดียวก็เข้าใจง่าย จดจำได้รวดเร็วไม่ต้องให้ครูอาจารย์ต้องอธิบายซ้ำสอง บางครั้งครูอาจารย์ถึงกับหมดภูมิเมื่อถูกท่านมั่นซักถามในข้อสงสัยอันลึกซึ้งเร้นลับบางประการ
 


watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.71 Chrome 39.0.2171.71


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2557 16:26:01 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ถ้ำสาริกา
ท่านพระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์ไปยังเขาใหญ่นครนายก เมื่อไปถึงบ้านกล้วย ใกล้ทิวเขาใหญ่กว่าหมู่บ้านอื่น ท่านได้ขอร้องให้ชาวบ้านพาไปส่งยังถ้ำสาริกาเพราะไม่เคยไปไม่รู้หนทาง ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นก็พากันตกใจหน้าซีดไปตามๆ กัน ได้ขอร้องห้ามปรามท่านไว้ไม่ให้ไปอยู่ที่ถ้ำนี้ เพราะถ้ำนี้มีผีหลวง รูปร่างใหญ่มีฤทธิ์มากเฝ้ารักษาอยู่ พระไม่ดีจริงๆ ไปอยู่ไม่ได้ ต้องมีอันเกิดเจ็บป่วยล้มตายมาแล้วหลายองค์
 
พระธุดงค์หลายองค์ที่ขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้ไม่มีใครกลับลงมาเลย พอชาวบ้านตามขึ้นไปดูก็พบแต่กองกระดูก ผีหลวงตนนี้ดุร้ายมาก ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ทำร้ายไม่เลือกพระเลือกเจ้า ยิ่งพระธุดงค์องค์ใดอวดดี อ้างว่ามีวิชชาอาคมขลังเก่งๆ เคยปราบผีมาแล้วไม่กลัวผีละก็ผีหลวงตนนี้ยิ่งชอบลองดี พระองค์นั้นต้องมีอันเป็นไปเร็วกว่าทุกองค์ ชาวบ้านสงสารพระอาจารย์มั่นกลัวจะถูกผีหลวงหักคอตายเสีย ได้พากันรบเร้าอ้อนวอนต่างๆ นานาขอร้องไม่ให้ท่านขึ้นไปที่ถ้ำผีร้ายแห่งนี้ พระอาจารย์มั่นรู้สึกสงสัย และสนใจมากได้ซักถามชาวบ้านถึงเรื่องราวของถ้ำสาริกา ชาวบ้านเล่าให้ท่านฟังว่า เวลาพระหรือฆราวาสขึ้นไปพักแรมอยู่ในถ้ำสาริกา เพียงคืนแรกก็เจอดีแทบทุกราย เวลานอนหลับจะต้องมีอันต้องละเมอเพ้อพกไหลหลงไปต่างๆ จะเห็นผีมีรูปร่างดำใหญ่ทะมึนกล้าปานยักษ์ ปักหลั่นมาหาขู่ตะคอกคุกคาม จะเอาตัวไปบ้างจะฆ่าให้ตายบ้าง โดยประกาศว่าตัวเขาเป็นเจ้าผู้รักษาถ้ำนี้มานานแล้ว เป็นผู้มีอำนาจแต่ผู้เดียวในเขตแขวงนั้น ไม่ยอมให้ใครมาลุกล้ำกล้ำกรายได้ ใครขืนอวดดีกำแหงแข็งข้อ เป็นหน้าที่ของเขาจะต้องกำจัดปราบปรามให้เห็นฤทธิ์ทันที

มีพระธุดงค์หลายองค์ไม่เชื่อคำห้ามปรามของชาวบ้านได้ขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้ อยู่ได้คืนเดียวก็ต้องรีบลงมาด้วยท่าทางที่น่ากลัวตัวสั่นแทบไม่มีสติสตังอยู่กับตัว พูดพร่ำเพ้อแต่เรื่องถูกผีหลอกหลอนเล่นงานต่างๆ นานา แล้วก็รีบหนีไปด้วยความเกรงกลัวและเข็ดหลาบ ไม่คิดจะหวนกลับมายังถิ่นถ้ำสาลิกาอีกเลย ครั้งหลังสุดมีพระธุดงค์ 4 องค์มาที่หมู่บ้านนี้ ขอร้องให้ชาวบ้านพาขึ้นไปยังถ้ำ อ้างว่ามีวิชาอาคมขลังปราบภูตผีปิศาจร้ายๆ มามากต้องการจะมาเอาเหล็กไหลและพระศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำสาริกา ชาวบ้านได้ห้ามปรามไว้ไม่ให้ไปที่ถ้ำนี้ แต่พระทั้ง 4 องค์ไม่เชื่อฟังคำเตือน ชาวบ้านจึงจำใจพาไปส่งถึงถ้ำ
 
ต่อมาไม่กี่วันก็ปรากฏเป็นที่เศร้าสลดใจว่าพระธุดงค์ทั้ง 4 องค์นี้มีอันเป็นไปถึงแก่มรณภาพหมดไม่เหลือรอดลงมาเลย เมื่อชาวบ้านเล่าให้ฟังจบลงท่านพระอาจารย์มั่นก็ยังไม่หายสงสัย คือไม่อยากจะเชื่อ เพราะปกติชาวบ้านมักจะมีอุปาทานเรื่องผีเรื่องสางฝังใจ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นผิดปกติมักจะถือสาเหตุว่า เป็นเรื่องของผีทำเอา แล้วเล่ากันไปปากต่อปากต่อเสริมแต่งให้ผู้ฟังเกิดความเสียวสยองน่ากลัวในฤทธิ์เดชอำนาจ อันพิลึกกึกกือของผีคนนั้นๆ

ท่านจึงบอกชาวบ้านว่าอยากจะขึ้นไปทดลองดู จะเป็นจะตายอย่างไร ก็ขอให้ได้รู้ได้เห็นด้วยตนเองก็แล้วกัน ผีจะกล้าหักคอพระผู้ทรงศีลมุ่งบำเพ็ญสมณธรรมก็ให้รู้ไป เรายอมตาย เพื่อที่จะพิสูจน์ความจริงของถ้ำนี้ให้จงได้ ไม่ใช่ท้าทายอำนาจผี และก็ไม่ใช่ประมาทแต่หากอยากจะรู้ความจริงยิ่งกว่าคำเล่าลือบอกเล่า ชาวบ้านเห็นท่านมีความตั้งใจเด็ดเดี่ยวเช่นนั้น ก็จำใจพาท่านไปถึงถ้ำสาลิกาด้วยความเกรงใจ ไม่อยากขัดใจพระเพราะกลัวจะเป็นบาป ด้วยความเป็นห่วงท่าน ชาวบ้านได้กำชับว่า ถ้าหากท่านเห็นท่าไม่ดีแล้วละก็ขอให้รีบลงมาจากถ้ำโดยเร็ว อย่าอยู่ค้างคืนเลย

ท่านพระอาจารย์มั่นรู้สึกพึงพอใจในถ้ำนี้มาก ถ้ำสะอาดเรียบร้อยดุจมีคนคอยปัดกวาดเป็นประจำทุกวัน ทำเลเหมาะสมอยู่ในที่ลับกระแสลมเย็นพัดพาให้สบายกาย รอบๆ ถ้ำเงียบสงัดวิเวกวังเวงใจจะมีบ้าง ก็แต่เสียงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ออกหากินตามประสาของพวกมันเท่านั้นเหมาะที่สุดสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนาแสวงหาวิมุตติ



watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2557 12:25:12 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ทุกขเวทนา
ระยะ 2–3 คืนแรก ที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำนี้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านรู้สึกปลอดโปร่งเย็นกายเย็นใจมีความสำราญอาจหาญร่าเริงในธรรมะ จะพิจารณาอะไรก็ลุล่วงแตกฉานไปด้วยธรรมปัญญาน่าพิศวง ทำให้ท่านพึงใจคิดที่จะอยู่ถ้ำนี้ต่อไปนานๆ แต่พอคืนที่ 4 ต่อมา เหตุผิดปกติก็ปรากฏขึ้นนั่นคือโรคเก่าของท่านได้กำเริบ ขึ้นมาเฉยๆ เป็นโรคเจ็บท้องเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ที่เคยเป็นมาประจำขันธ์เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหายเอาแน่ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะสืบเนื่องมาจาก
การขบฉันอาหารไม่สม่ำเสมอ
 
บางวันก็ได้ฉันอาหาร บางครั้ง 4–5 วันถึงได้ฉันก็มีอยู่บ่อยๆ ทำให้กระเพาะอาหารพิการไปตามเรื่องตามราวของมัน อาการเจ็บปวดเสียดแสยงท้องไส้ครั้งนี้ ไม่เหมือนทุกครั้งพอเริ่มเจ็บก็ทวีอาการกำเริบเสิบสานขึ้นอย่างรุนแรง จนถึงขั้นขับถ่ายออกมาอย่างนั้น ได้รับทุกขเวทนาเป็นที่สุดเรี่ยวแรงกำลังวังชาก็อ่อนล้าแทบจะทรงกายไว้ไม่ไหวอาการเจ็บปวดคราวนี้หนักจริง ๆ ทำให้พระอาจารย์มั่นเฉลียวใจคิดวิตกถึงคำตักเตือนของชาวบ้านที่ว่า มีพระธุดงค์ขึ้นมาตายในถ้ำนี้หลายองค์
 
เราอาจจะเป็นองค์ต่อไปที่มาตายในถ้ำนี้ละกระมัง โยมชาวบ้านขึ้นไปถ้ำเพื่อดูว่า พระอาจารย์มั่นยังอยู่เป็นปกติดีล่ะหรือ เมื่อพบว่าท่านกำลังป่วยไข้หนักก็พากันวิตกเป็นอันมาก แสดงความหวาดกลัวอิทธิฤทธิ์ผีหลวงเฝ้าถ้ำ เข้าใจไปว่าที่พระอาจารย์มั่นเจ็บป่วยในครั้งนี้จะต้องเป็นเพราะการกระทำของผีร้ายแน่นอน จึงรีบนิมนต์ท่านให้ลงไปจากถ้ำเสียโดยเร็ว ถ้าเดินไม่ไหวพวกเขาก็จะช่วยกันหามไปเอง เพื่อพาไปรักษาตัวในหมู่บ้าน แต่ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ตกลงด้วย ยืนยันจะอยู่ที่ถ้ำนี้ต่อไปได้ขอร้องโยมชาวบ้านเหล่านั้นให้พาท่านเข้าไปในป่าหาเก็บสมุนไพร ประเภทรากไม้ แก่นไม้เอามาต้มฉันบ้าง ฝนใส่น้ำฉันบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลอะไรอาการมีแต่ทวีกำเริบทุกเวลานาที กำลังกายก็อ่อนเพลียลดน้อยถอยลงกำลังใจก็ปรากฏว่าลดลงผิดปกติ


ยาอมตะ
ท่านจึงหยุดฉันยาและพิจารณาด้วยปัญญา ก็พอจะรู้ว่าอาการของโรคกำเริบนี้ รักษาด้วยยาไม่หายแน่ เพราะฉันยาเข้าไปอาการมีแต่กำเริบรุนแรงเข้าทุกที จำจะต้องหยุดฉันยาเสียแล้วรักษาด้วย ยาอมตะ นั่นคือ ธรรมโอสถ ถ้ารักษาด้วยยาธรรมโอสถไม่หายจะตายก็ให้มันตายไป ไม่อาลัยเสียดายแก่ชีวิต
 
เราได้บำเพ็ญเพียรทางใจมาพอสมควรจนเห็นผลและแน่ใจต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นลำดับ ทำไมจะขี้ขลาดอ่อนแอ
 
ในเวลาเกิดทุกขเวทนาเพียงเท่านี้ ก็เพียงทุกข์เกิดขึ้นเพราะโรคเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านี้ เรายังสู้ไม่ไหวกลายเป็นผู้อ่อนแอ กลายเป็นผู้แพ้อย่างยับเยินเสียแต่บัดนี้แล้ว เมื่อถึงคราวจวนตัวเวลาขันธ์จะแตกธาตุจะสลาย ทุกข์ยิ่งจะโหมกันมาทับธาตุขันธ์และจิตใจจนไม่มีที่ปลงวาง แล้วเราจะเอากำลังจากที่ไหนมาต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดไปได้โดยสุคโตไม่เสียท่าเสียทีในสงครามล้างอาสวะกิเลสเล่า พระอาจารย์มั่นรำพึงกับตนเอง

เมื่อพระอาจารย์มั่นทำความเข้าใจกับตนเองด้วยเหตุผลปัญญาแล้วเช่นนี้ ก็หยุดฉันยาในเวลานั้นทันที และเริ่มทำสมาธิภาวนาเพื่อใช้อำนาจสมาธิจิตโอสถรักษาความเจ็บป่วยอันทุกข์ทรมานและเป็นกำบำบัดบรรเทาจิตที่อ่อนแอลงเพราะธาตุขันธ์เป็นเหตุ ท่านเริ่มปล่อยวางไม่อาลัยเสียดายในชีวิตร่างกายอันเป็นธาตุขันธ์สมมติตัวตน ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดา สังขารเป็นของไม่เที่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครเลี่ยงพ้น ในขณะเดียวกันก็ดำเนินสติปัญญาหยั่งลงในทุกขเวทนา แยกแยะส่วนต่างๆ ของธาตุขันธ์ออกพิจารณาด้วยปัญญาอันแหลมคมใคร่ครวญไม่ลดละ ไม่สนใจคำนึงต่ออาการของโรคที่กำลังกำเริบเจ็บปวด ยกทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนา คือทุกข์ภายในทั้งส่วนสัญญาที่หมายกายส่วนต่างๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่า ส่วนนี้เป็นทุกข์ส่วนนั้นเป็นทุกข์ ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการวิปัสสนา
 
ท่านทำการพิจารณาขุดค้นคลี่คลายด้วยสติปัญญาอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่พลบค่ำจนถึงเที่ยงคืน ในที่สุดก็ลงเอยกันได้ จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดหมดสงสัยถึงทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบจากโรคในท้อง พลันโรคก็ระงับลงอย่างสนิท จิตรวมลงสู่ความสงบอันเยือกเย็น

โรคก็ดับทุกข์ก็ดับ ความฟุ้งซ่านของใจก็ดับ พอจิตรวมสงบลงถึงที่แล้ว (จตุตถฌาน) ก็ถอนจิตออกมาอยู่ที่ขั้นอุปจารสมาธิ

เมื่อถอนจิตออกมาทรงตัวอยู่ในระดับอุปจารสมาธิหรืออุปจารฌานแล้ว พลันจิตก็สว่างออกไปนอกกายอันเป็นพลังทิพยจักษุ ปรากฏเห็นบุรุษผู้หนึ่ง มีร่างใหญ่ดำมะเมื่อมสูงมากประมาณสัก 10 เมตร ถือตะบองเหล็กใหญ่เท่าเขา ยาวราว 2 วาเดินตรงเข้ามาหา พูดกับท่านอย่างดุดันว่า จะทุบตีท่านให้จมลงไปในดิน ถ้าไม่หนีจะฆ่าให้ตายเดี๋ยวนี้ ตะบองเหล็กที่เราถืออยู่นี้ ตีช้างสารตัวใหญ่ทีเดียวก็ตายจมดิน จมมิดไม่ต้องตีซ้ำอีกเลย  พระอาจารย์มั่นกำหนดจิตถามผีร่างยักษ์ผู้ดุร้ายนั้นว่า
 
"จะมาฆ่าตีอาตมาด้วยเรื่องอะไร " ผียักษ์ตอบว่า " เราเป็นเจ้าเป็นใหญ่รักษาภูเขาลูกนี้มานานแล้ว ไม่ยอมให้ใครมาครองอำนาจเหนือเราได้ ใครบังอาจมาต้องกำจัดทันที"
 
พระอาจารย์มั่นตอบว่า "อาตมามิได้มาครองอำนาจบนหัวใจใคร การมาที่นี่ก็เพื่อบำเพ็ญศีลธรรมอันดีงามเพื่อครองอำนาจเหนือกิเลสบาป ธรรมบนหัวใจตนเท่านั้น จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะมาเบียดเบียนและทำร้ายคนเช่นอาตมา ซึ่งเป็นนักบวชทรงศีลเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ผู้มีใจบริสุทธิ์ มีอำนาจในทางเมตตาครอบ ไตรโลกธาตุ ถ้าท่านมีอำนาจเก่งจริงดังที่อวดอ้างแล้ว ท่านมีอำนาจเหนือกรรมและเหนือธรรม อันเป็นกฎใหญ่ปกครองมวลสัตว์ในไตรภพด้วยหรือเปล่า" 

ผีร้ายตัวใหญ่ตอบว่า "เปล่า" พระอาจารย์มั่นเห็นได้ทีจึงเทศน์ยกใหญ่ต่อไปว่า "พระพุทธเจ้าท่านเก่งกล้าสามารถปราบกิเลสตัวที่คอยอวดอำนาจว่าตัวดีตัวเก่งอยู่ภายในใจของมวลสัตว์ได้ที่ท่านคุยอวดอ้างว่าเก่งนั้นท่านได้คิดที่จะปราบกิเลสตัวอวดดีอวดเก่งในใจท่านให้หมดสิ้นไปบ้างแล้วหรือยัง" ผีร่างยักษ์ใหญ่ตอบเสียงอ่อยๆ ว่า "ยังเลย เรายังทำไม่ได้ " พระอาจารย์มั่นจึงสำทับไปว่า  "ถ้ายัง...ก็แปลว่าท่านใช้อำนาจบาทใหญ่ไปในทางที่ทำตนให้เป็นคนมืดหน้าป่าเถื่อนต่างหาก นับว่าเป็นบาปและเสวยกรรมหนัก ท่านน่าสงสารมากที่ไม่มีอำนาจปราบความชั่วของตัวเองได้ แถมยังอวดฤทธิ์เดชแต่จะทำลายผู้อื่นท่าเดียว การกระทำของท่านเป็นการก่อไฟเผาตัวเอง จัดว่ากำลังสร้างกรรมหนัก มิหนำซ้ำยังจะมาฆ่าตีสมณะผู้ทรงศีลธรรมอันเป็นหัวใจของโลก ถ้าไม่จัดว่าท่านทำกรรมอันเป็นบาปหยาบช้ายิ่งกว่าคนทั้งหลายแล้วจะจัดว่าท่านทำความดีน่าชมเชยที่ตรงไหน อาตมาเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรม มุ่งมาที่นี่เพื่อทำประโยชน์แก่คนและแก่โลก โดยการประพฤติธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจท่านยังจะมาทุบตีสังหาร โดยมิได้คิดคำนึงถึงบาปกรรม ที่จะฉุดลากท่านลงนรกเสวยกรรมอันเป็นมหันตทุกข์เลย อาตมารู้สึกสงสารท่าน ยิ่งกว่าจะอาลัยในชีวิตของตัว เพราะท่านหลงอำนาจของตัวจนถึงกับจะเผาตัวเองทั้งเป็นอยู่ขณะนี้แล้วอำนาจอันใดบ้างที่ท่านว่ามีอยู่ในตัวท่าน อำนาจอันนั้นจะสามารถต้านทานบาปกรรมอันหนัก ที่ท่านกำลังจะก่อขึ้นเผาผลาญตัวเองอยู่เวลานี้ได้หรือไม่ท่านว่า ท่านเป็นผู้มีอำนาจอันใหญ่หลวงปกครองอยู่เขตเหล่านี้ แต่อำนาจนั้นมีฤทธิ์เดชเหนือกรรมและเหนือธรรมได้ไหม ถ้าท่านมีอำนาจและมีฤทธิ์เหนือกรรมเหนือธรรมแล้ว อาตมายินดีให้ท่านทุบตีให้ถึงตายได้ อาตมาไม่ได้กลัวตายเลย แม้ท่านไม่ฆ่าอาตมาก็ยังจักต้องตายอยู่โดยดีเมื่อกาลของมันมาถึงแล้ว เพราะโลกนี้เป็นที่อยู่ของมวลสัตว์ผู้เกิดแล้วต้องตายทั่วหน้ากัน แม้แต่ตัวท่านเองที่กำลังอวดตัวว่าเก่งมีอำนาจจนกลายเป็นผู้มืดบอดอยู่ขณะนี้ แต่ท่านก็มิได้เก่งไปกว่าความตายและกฎแห่งกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกไปได้เลย"



watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2557 13:37:04 »

.

ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เทวดาผู้อ่อนน้อม
ผีหลวงร่างยักษ์ใหญ่ได้ฟังคำเทศนาอันเผ็ดร้อนของพระอาจารย์มั่นโดยทางสมาธิจิตคือพูดทางจิตก็ให้มีอาการตะลึงตัวแข็งแบกตะบองเหล็กค้างเติ่งไม่กล้ากระดุกกระดิก แสดงอาการทั้งอับอายและเกรงกลัวพระอาจารย์มั่นอย่างถึงขนาดคล้ายไม่หายใจเอาทีเดียว ครั้นแล้วอย่างช้าๆ งกๆ เงิ่นๆ เขาก็ทิ้งตะบองเหล็กอันใหญ่โตลงกับพื้น แล้วเนรมิตร่างในพริบตากลับกลายเป็นร่างมานพหนุ่มรูปงามและนิ่มนวลด้วยมารยาทอัธยาศัย คุกเข่าลงคลานเข้ามากราบนมัสการพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคำขอโทษอย่างบุคคลผู้เห็นโทษสำนึกในบาปกรรม ที่แสดงกิริยาหยาบคายชั่วช้าสามานย์ล่วงเกินท่าน และได้สารภาพว่า "กระผมรู้สึกแปลกใจและสะดุ้งกลัวท่านพระอาจารย์มั่นตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว เพราะมองเห็นรัศมีแสงสว่างที่แปลกและอัศจรรย์มากไม่เคยพบเห็นมาก่อนพวยพุ่งออกมาจากร่างพระอาจารย์ รัศมีสว่างของพระอาจารย์กระทบเข้ากับตัวกระผม ทำให้กระผมอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปหมด ใจสั่นริกๆ เหมือนหัวใจจะวายวางเสียให้ได้ แต่ด้วยทิฏฐิมานะถือดีทำให้กระผมฝืนใจแสดงกิริยาดุร้ายคำรามขู่จะฆ่าตีพระอาจารย์ออกไปอย่างนั้นเอง แต่ใจจริงแล้วไม่ได้คิดจะทุบตีแต่อย่างใดเลย เป็นเพียงกิริยาหยาบช้าที่แสดงออกมาตามความรู้สึกที่เคยฝังใจอยู่ในสันดานมานานว่าตัวเองเป็นผู้มีอำนาจในหมู่ “อมนุษย์” ด้วยกัน มีอำนาจในหมุ่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรม ชอบรับบาปหาบความชั่วประจำนิสัยต่างหาก อำนาจอันชั่วร้ายนี้จะทำอะไรให้ใครได้รับความวิบัติบรรลัยเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ โดยปราศจากความต้านทานขัดขวางทิฏฐิมานะอันนี้แลทำให้วางตัวเป็นผู้มีอำนาจบาทใหญ่ แสดงความหยาบคายดุร้ายออกมาให้พระอาจารย์เห็นพอไม่ให้ตัวกระผมเองเสียลวดลาย ทั้งๆ ที่เกรงกลัวพระอาจารย์เหลือประมาณ ความจริงกระผมเป็นเทวดาแต่เป็นเทวดาผู้เต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นผิดเป็นชอบ มีแต่ความชั่วร้ายจนชาวบ้านเขาตราหน้าว่าเป็นภูตผีปิศาจร้าย เห็นแก่เครื่องอามิสเซ่นสรวงบูชา เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธความหลง ไม่วางตัวให้สมภูมิเทวดาเอาเสียเลย กรรมอันไม่งามใดๆ ที่กระผมแสดงต่อพระอาจารย์ในครั้งนี้ขอจงได้เมตตาอโหสิกรรมแก่กรรมนั้นๆ ให้กระผมด้วย อย่าต้องให้รับบาปหาบทุกข์ต่อไปอีกเลย เท่าที่เป็นอยู่เวลานี้ก็มีทุกข์อย่างพอเพียงอยู่แล้ว ยิ่งจะเพิ่มทุกข์ให้ตัวเองมากกว่านี้ ก็คงเหลือกำลังที่จะทนต่อไปได้ไหว"

ท่านพระอาจารย์มั่นได้ถามว่า  "ท่านเป็นผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนามาก กายก็เป็นทิพย์ ไม่ต้องหอบหิ้วเดินเหินไปมาให้ลำบากเหมือนมนุษย์ การเป็นอยู่หลับนอนก็ไม่
เป็นภาระเหมือนมนุษย์โลกที่เป็นอยู่กัน แล้วทำไมจึงบ่นว่ายังทุกข์อยู่อีก"

มานพหนุ่มพนมมือตอบว่า "ถ้าพูดกันอย่างผิวเผินและเปรียบเทียบกับกายมนุษย์ที่หยาบๆ พวกกายทิพย์อาจมีความสุขมากกว่าพวกมนุษย์จริง เพราะเป็นภูมิที่ละเอียดกว่ากัน แต่ถ้ากล่าวตามชั้นภูมิแล้วกายทิพย์ก็ย่อมมีความทุกข์ไปตามวิสัยของภูมินั้นๆ เหมือนกัน กระผมเป็นรุกขเทวดาชั้นหัวหน้าเป็นเจ้าเป็นใหญ่อยู่ในภูเขาและสถานที่ต่างๆ มีอาณาเขตบริเวณกว้างขวางมาก ติดต่อกันหลายจังหวัด มีบริวารมากมายที่อาศัยอยู่ในภูเขาอันเป็นที่สงัดเงียบวิเวกห่างไกลจากผู้คนพลุกพล่าน มิได้เป็นบุรุษลึกลับมีร่างกายดำสูงใหญ่ดังที่แสดงภาพกายหยาบต่อท่านเมื่อสักครู่นี้หรอกขอรับ นั่นเป็นแต่เพียงกายสมมติที่กระผมบิดเบือนเนรมิตขึ้นเพื่อแสดงการข่มขวัญท่านพระอาจารย์เท่านั้นเอง ขอท่านพระอาจารย์จงโปรดเมตตาให้อโหสิกรรมด้วยเถิด กระผมมีความเลื่อมใสเคารพในพระธรรมเป็นอย่างยิ่งและใคร่ขอปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมณ์ยึดพระอาจารย์เป็นสรณะและเป็นองค์พยานด้วย และใคร่ขอนิมนต์ให้ท่านพักอยู่ที่นี่นานๆ กระผมไม่อยากจะให้ท่านจากไปอยู่ที่อื่นเลยตลอดอายุขัยของท่าน กระผมจะคอยให้อารักขาท่านเป็นอย่างดีทุกอิริยาบถจะไม่ให้มีอะไรมารังแกเบียดเบียนได้เป็นอันขาด"

ท่านพระอาจารย์มั่นสนทนาธรรมกับหัวหน้ารุกขเทวดาองค์นี้อยู่จนถึงตี 4 เขาจึงได้นมัสการลาจากไป เมื่อท่านถอนจิตออกจากสมาธิเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถเป็นเดินจงกรมก็ปรากฏว่า อาการของโรคปวดท้องรุนแรงทุกขเวทนา ได้หายไปหมดอย่างสิ้นเชิง เป็นอันว่าโรคประจำกายได้หายไปอย่างเด็ดขาดด้วยธรรมโอสถทางภาวนาล้วนๆ ไม่ต้องอาศัยยาสมุนไพรรักษาอีกต่อไป จึงเป็นสิ่งอัศจรรย์น่าคิดยิ่งนัก เป็นความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมะโดยแท้อย่างมิได้สงสัย ธรรมะยังได้ทำให้เทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิหายพยศและเกิดความเลื่อมใสอีกด้วย ในตอนเช้าต่อมา ก็สามารถฉันอาหารได้เป็นปกติ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกายอีกต่อไป

โอหนอ...ธรรมะที่พุทธเจ้าทรงพระเมตตาประทานไว้แก่หมู่ชน ช่างเป็นธรรมะที่สุขุมลุ่มลึกนี่กระไร ยากที่จะมีผู้สามารถปฏิบัติและไตร่ตรองให้เห็นจริงตามได้ พระอาจารย์มั่นเกิดความภูมิใจและอัศจรรย์ในตัวท่านเองที่มีวาสนาได้ปฏิบัติและรู้เห็นความอัศจรรย์จากธรรมะ แม้จะยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิที่ใฝ่ฝันมานานก็ตาม แต่ก็ยังจัดว่าอยู่ในขั้นพอกินพอใช้ ไม่ขัดสนจนมุมในความสุขที่เป็นอยู่และที่จะเป็นไปซึ่งตัวเองก็แน่ใจว่า จะถึงแดนแห่งความสมหวังในวันหนึ่งข้างหน้าแน่นอน ถ้าไม่ตายเสียในระยะกาลที่ควรจะเป็นนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า การบำเพ็ญภาวนาต่อสู้กับทุกขเวทนาในคืนนี้ ยังได้ก่อให้เกิดความรู้แปลกๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนปรากฏขึ้นมากมายทั้งประเภทถอดถอนกิเลสอาสวะ และความรู้พิเศษด้วยอภิญญาจิตตามวิสัยวาสนาบารมี


watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 08 มกราคม 2558 11:41:30 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ลิงเพื่อนในป่า
บ่ายวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นออกจากสมาธิไปนั่งตากอากาศอันรื่นรมย์ห่างจากหน้าถ้ำพอประมาณ ขณะกำลังเสวยสุขเพลินอยู่กับการพิจารณาธรรมทั้งฝ่ายมรรคคือทางดำเนิน และฝ่ายผลคือความสมหวัง เป็นลำดับ จนถึงความดับสนิทแห่งกองทุกข์ภายในใจไม่มีเหลือพอดีมีฝูงลิงใหญ่พากันเที่ยวหากินมาบริเวณหน้าถ้ำ โดยมีหัวหน้ามาก่อนเพื่อน ปล่อยระยะห่างจากฝูงประมาณ ๑ เส้น พอหัวหน้าจ่าฝูงลิงมาถึงบริเวณหน้าถ้ำ ก็มองเห็นพระอาจารย์มั่นนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวลิงตัวนั้นหยุดชะงักจ้องมองด้วยความสงสัย มันค่อยๆ ด้อมๆ มองๆ วิ่งถอยไปถอยมาอยู่บนต้นไม้พิจารณาดูท่านคล้ายจะพูดว่า นั่นมันตัวอะไรกันแน่ ท่านจึงชำเลืองมองกำหนดวาระจิตดูจิตของลิงจ่าฝูงตัวนี้ก็เข้าใจมันเป็นห่วงเพื่อนฝูงมากกลัวจะเป็นอันตราย ท่านรู้สึกสงสารมันมาก จึงแผ่เมตตาส่งกระแสจิตไปยังมันว่า เรามาบำเพ็ญธรรม มิได้มาเบียดเบียนมุ่งทำร้ายใคร อย่าได้กลัวเราไปเลย จงพากันหาอยู่กินตามสบายเถิด ลิงจ่าฝูงรีบวิ่งกลับไปหาพรรคพวกบริวารที่กำลังดาหน้ามาเป็นฝูง พระอาจารย์มั่นเล่าว่าตอนนี้น่าหัวเราะและน่าสงสารมากเพราะลิงมันพูดกัน ภาษาของลิงคนเราปุถุชนฟังไม่รู้เรื่อง แต่ลิงก็มีภาษาของมันเหมือนกัน ซึ่งท่านสามารถฟังเข้าใจรู้เรื่องโดยตลอดด้วยธรรมปัญญา พอลิงตัวจ่าฝูงวิ่งไปถึงพรรคพวกมันรีบร้องบอกกันอย่างตื่นเต้นว่า “โก้ก” กระแสเสียงของมันเป็นระดับความถี่สูงซึ่งแปลออกมาเป็นภาษามนุษย์แล้วก็ได้ใจความเต็มประโยคว่า “โก้ก...เฮ้ยอย่าด่วนเข้าไปที่นั่น...มีอะไรอยู่ที่นั่นเว้ย โก้ก...ระวัง”
 
พรรคพวกบริวารของมันได้ยินได้ฟังเช่นนั้นก็ตื่นเต้นกันใหญ่ ร้องถามกันเซ็งแซ่ว่า “โก้ก..อยู่ที่ไหน” หัวหน้าลิงก็ตอบว่า “โก้ก..อยู่ที่นั่น นั่งอยู่นั่งไง เห็นไหม” ตอบแล้วก็หันมามองทางท่าน แล้วมันก็กำชับว่า “โก้กๆๆ...พวกเราอย่าพากันไปเร็วนักค่อยๆ ไป ดูเสียก่อนให้แน่ใจว่านั่นมันเป็นตัวอะไร” เมื่อหัวหน้าสั่งเช่นนั้นฝูงลิงก็ค่อยๆ เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง ส่วนตัวหัวหน้าฝูงรีบวิ่งขึ้นไปสังเกตดูท่านอยู่บนยอดไม้ใกล้ๆ กิริยาอาการของมันมีทั้งกลัวท่านและสงสัยเป็นล้นพ้นขณะเดียวกันก็เป็นห่วงเพื่อนฝูงจะได้รับอันตรายด้วย ท่านพระอาจารย์มั่นขันก็ขัน สงสารก็สงสาร ท่านได้ใช้วาระจิตกำหนดดูใจมันทุกระยะซึ่งเป็นเรื่องลึกลับสำหรับมนุษย์ธรรมดาจะรู้ได้ แต่ท่านอาจารย์มั่นมีเจโตปริยญาณจึงสามารถรู้คำพูด และรู้ความรู้สึกนึกคิดของมันทุกขณะจิต มันกระโดดขึ้นกระโดดลงตามกิ่งไม้ตามนิสัยหลุกหลิกของลิงอยู่วุ่นวาย มันสังเกตสังกาดูท่านซ้ำๆ ซากๆ อยู่พักใหญ่จนแน่ใจว่าท่าไม่เป็นอันตรายต่อพวกมันมันจึงรีบลงจากต้นไม้วิ่งไปบอกสมัครพรรคพวกว่า “โก้กๆๆ...ไปได้แล้วเว้ย โก้ก...ไม่มีอันตรายแล้ว เขาไม่ทำอะไรเราหรอก พากันหากินได้ตามสบายไม่ต้องกลัว”
 
ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่าถ้าไม่รู้คำที่มันพูดจะเห็นว่า เป็นเพียงเสียงที่เปล่งออกมาสั้นๆ ธรรมดา เช่นเดียวกับเราได้ยินเสียงนกเสียงกา แต่ความจริงนั้น ลิงมันเปล่งเสียงออกมาชัดถ้อยชัดคำทุกประโยคเหมือนคนเราพูดจากันดีๆ นี่เอง เสียงพูดของมันที่เปล่งออกมาแต่ละครั้งนั้นมีช่วงความถี่สูงมาก ในความถี่นี้ได้บรรจุถ้อยคำไว้เต็มประโยคฟังรู้เรื่องกันเป็นอย่างดี ฝูงลิงเหล่านั้นเมื่อหัวหน้าบอกกล่าวจนแน่ใจว่าไม่มีอันตรายแน่แล้ว มันก็พากันเคลื่อนไหวด้อมๆ มองๆ เข้ามารุมดูท่านเต็มไปหมด แต่อยู่ในระยะต่างๆ พลางก็ส่งภาษาโก้กเก้กบอกกล่าวกันให้แซ่ดแซ่ไปหมดทั้งป่าอยู่พักใหญ่ จนแน่ใจว่าไม่มีอันตรายแน่แล้ว จึงพากันแยกย้ายออกเก็บผลไม้แถวนั้นกินเป็นที่ร่าเริงสนุกสนานตามประสาของพวกมัน ไม่เอาใจใส่ต่อท่านอีกต่อไป
 
นอกจากฝูงลิงแล้วก็ปรากฏว่ามีสัตว์อื่นๆ เช่นเสือ หมี งู นก เก้ง กวาง เป็นต้น พากันมาวนเวียนหากินอยู่ใกล้ๆ ถ้ำเสมอพวกมันไม่เอาใจใส่ในตัวท่านแต่อย่างใดต่างก็หากินไปตามปกติ ท่านสังเกตว่า พวกสัตว์เขาก็มีความสุขดีเหมือนกัน พอใจในความเป็นอยู่ของตัวเองว่าเป็นเลิศแล้ว ไม่มีสัตว์ชนิดอื่นนอกจากพวกตัวจะเสมอเหมือน โดยมากพระไปอยู่ที่ไหน พวกสัตว์ชนิดต่างๆ ชอบไปอาศัยอยู่ด้วย ไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ เพราะความรู้สึกของพวกมันคล้ายคลึงกันกับมนุษย์ เป็นแต่พวกมันไม่มีอำนาจและมีความเฉลียวฉลาดรอบด้านเหมือนมนุษย์เท่านั้น จะมีความฉลาดเฉพาะการหาอยู่หากินและหาที่ซ่อนตัวเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น



พบฉลาด..ยิ่งเห็นโง่
คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นเกิดความสลดสังเวชใจอย่างมากจนน้ำตาร่วง คือเวลานั่งสมาธิจิตรวมลงอย่างเต็มที่ เพราะการพิจารณากายเป็นเหตุ ปรากฏว่าจิตว่างเปล่า และปล่อยวางอะไรๆ หมดโลกธาตุเป็นเหมือนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ในความรู้สึกขณะนั้น หลังจากสมาธิแล้ว พิจารณาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อลบล้างหรือถอดถอนความผิด ที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลก ซึ่งเป็นธรรมที่ออกจากความฉลาดแหลมคม แห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้า

พิจารณาไปเท่าไร ก็ยิ่งเห็นความฉลาด และอัศจรรย์ของพระพุทธองค์ และเห็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนยิ่งขึ้น เพราะการขบฉันตลอดจนการขับถ่าย ย่อมต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมาก่อนทั้งนั้น การยืน การเดิน นั่ง และนอนก็ต้องได้รับการอบรมให้มีสติตลอดเวลามาก่อน ไม่เช่นนั้นก็ทำไม่ถูก  นอกจากทำไม่ถูกแล้ว ยังผิดหลักเจริญวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย การปฏิบัติจ่อจิต จึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมสั่งสอน ตามหลักที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ ถ้าไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนก็ต้องทำผิดจริงๆ
 
อันว่าเรื่องจิตนั้นต้องมีศีลธรรมควบคุมจิต มนุษย์ไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะใดๆ เลย เพราะสามัญมนุษย์เราก็เหมือนเด็กซึ่งต้องได้รับการดูแล และอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่อยู่ทุกขณะ จึงจะปลอดภัยและเติบโตได้คนเราใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แค่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ความฉลาด ที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุข ทั้งทางกายและทางใจ โดยถูกต้องตลอดจนผู้อื่นให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขไปด้วยนั้น ไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตอีกด้วย จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะอะไรเลย


watpanonvivek.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มกราคม 2558 15:54:53 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 09 มกราคม 2558 16:01:46 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

รู้ภายในภายนอก
พระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำสาลิกาได้รับความรู้และอุบายแปลกๆ ต่างๆ มากมาย ทั้งที่เป็นเรื่องภายใน อันหมายถึงการซักฟอกจิตกำจัดกิเลสอาสวะ และทั้งเกี่ยวกับเรื่องรู้เห็นภายนอก อันหมายถึงตาทิพย์ หูทิพย์ และอภิญญาข้ออื่นๆ ที่ทำให้รู้เท่าทันโลกด้วยญาณปัญญาไม่มีประมาณ นึกอยากจะรู้เห็นอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลี้ลับซับซ้อนยากเย็นแสนเข็ญเพียงไร เป็นรู้ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ ไม่มีผิดพลาดไม่มีจำกัดขอบเขต
 
ท่านเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรมข้อบัญญัติ จนลืมเวล่ำเวลา ไม่ค่อยได้สนใจกับวันคืนเดือนปีที่ผ่านไปอะไรนักความแตกฉานรอบรู้ภายในใจเกิดขึ้นทุกระยะเหมือนน้ำไหลรินในฤดูฝน บางวันตอนบ่ายอากาศปลอดโปร่ง ท่านก็เดินเที่ยวชมป่าเขาลำเนาไพรภาวนาไปเรื่อยๆ ทำให้เพลิดเพลินเจริญใจสำราญในอิริยาบถ ไปตามทัศนียภาพที่มีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน เย็นๆ หน่อยค่อยกลับลงมายังถ้ำที่พัก เวลาเดินเที่ยวในป่าเขาใหญ่ก็พบสัตว์ต่างๆ เช่น โขลงช้างบ้าง เสือโคร่งบ้าง หมีบ้าง ตลอดจนเก้ง กวาง กระทิง เป็นต้น หากินไปตามประสาของมัน  เวลามันมองเห็นท่านก็เฉยๆ ไม่ได้แสดงอาการตกใจตื่นกลัวหรือคิดจะวิ่งเข้ามาทำร้ายแต่อย่างใด ท่านเห็นแล้วก็มีแต่เมตตาสงสาร เห็นว่าพวกสัตว์ป่าทั้งหลายก็เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเช่นเดียวกันกับคนเรา ไม่มีอะไรยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้วาสนาบารมีของสัตว์กับมนุษย์ต่างก็มีเช่นเดียวกัน ส่วนความยิ่งหย่อนแห่งวาสนาบารมีนั้นย่อมมีได้ทั้งคนและสัตว์
 
นอกจากนั้นสัตว์บางตัวที่มีวาสนาบารมีแก่กล้าและอัธยาศัยดีกว่ามนุษย์บางรายก็ยังมีอยู่เป็นอันมาก แต่เวลาที่เขาตกอยู่ในภาวะความเป็นสัตว์ก็จำต้องทนรับเสวยผลกรรมเป็นสัตว์ไปจนกว่าจะสิ้นกรรมหรือสิ้นวาระของตน เฉกเช่นเดียวกันกับมนุษย์เรา แม้จะตกอยู่ในความทุกข์จนข้นแค้นก็จำต้องทนรับเอาจนกว่าจะสิ้นเวรกรรม เพราะฉะนั้นคนเราไม่ควรดูถูกเหยียดหยามชาติกำเนิดของมนุษย์และสัตว์ร่วมโลก เพราะขึ้นชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายย่อมมีกรรมดีกรรมชั่วเป็นของตน



บรรลุอนาคามี
ขณะที่พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีธรรมอยู่ที่ถ้ำสาลิกานี้ ปรากฏว่า ในบางคืนมีพระอรหันตสาวก เสด็จมาแสดงธรรมให้ท่านฟังตามทางอริยประเพณี โดยมาปรากฏในทางสมาธินิมิต เมื่อพระอรหันตสาวกแสดงธรรมให้ท่านฟังจากไปแล้ว ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญอีกต่อหนึ่ง โดยแยกแยะออกเป็นแขนง ไตร่ตรองดูด้วยความละเอียดทุกครั้งที่พระอรหันต์สาวกแต่ละองค์เสด็จมาแสดงธรรมสั่งสอน ท่านได้อุบายต่างๆ จากการสดับธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาอบรมสั่งสอนแต่ละครั้งแต่ละองค์ ช่วยส่งเสริมกำลังใจกำลังสติปัญญาตลอดมา

ธรรมที่พระอรหันตสาวกแสดงให้ฟัง ท่านรู้สึกว่าประหนึ่งได้ฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ใจรู้สึกอิ่มเอิบและเพลิดเพลินไปตามเหมือนโลกธาตุขันธ์ไม่มีกาลเวลามาบีบบังคับเลย ปรากฏว่ามีแต่จิตล้วนๆ ที่สว่างไสวไปด้วยอรรถด้วยธรรมเท่านั้น พอจิตถอนออกจากสมาธินิมิต จึงทราบว่าตนมีภูเขาอันแสนหนักทั้งลูก คือร่างกายอันเป็นที่รวมแห่งขันธ์ ซึ่งแต่ละขันธ์ล้วนเป็นกองทุกข์อันแสนทรมาน แล้วธรรมะอันเป็นที่แน่ใจได้ปรากฏขึ้นแกท่านในถ้ำนี้ ธรรมะนี้คือ พระอนาคามีผล
 
ในพระปริยัติกล่าวไว้ว่าเป็นภูมิธรรมขั้น 3 ต้องละสังโยชน์ได้ 5 อย่างคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ ผู้บรรลุธรรมขั้นนี้ เป็นผู้แน่นอนในการไม่ต้องกลับมาอุบัติเกิดในมนุษย์อีกต่อไป ไม่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ที่มีธาตุสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเรือนร่างอีกต่อไปหากแต่ยังไม่เลื่อนชั้นขึ้นถึงพระอรหันตภูมิในอัตตภาพนั้น
 

ผู้บรรลุภูมิธรรมอนาคามีเวลาตายแล้วก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 5 ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่งตามภูมิธรรมที่ผู้นั้นได้บรรลุพรหมโลก 5 ชั้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระอนาคามีบุคคล ตามลำดับแห่งภูมธรรมที่มีความละเอียดต่างกัน (พรหมพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ก็คือพรหม 5 ชั้นนี้ หาได้ทรงภูมิธรรมขั้นสูงเทียบเท่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกแต่อย่างใดไม่...ผู้เขียน)
 
การทำสมาธิภาวนาบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกาท่านเล่าว่า เกิดความอัศจรรย์หลายอย่างที่ไม่คาดฝันว่าจะเป็นไปได้ในชีวิต แต่ก็ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างประจักษ์ใจติดๆ กันทุกคืน คือจิตเป็นสมาธิที่ละเอียดสุขุมมากเป็นพิเศษ นับตั้งแต่ได้บรรลุภูมิธรรมอนาคามี ความรู้เห็นทางภายใน(จิต) และ ภายนอก (อภิญญา) ได้ปรากฏขึ้นมากมายเป็นพิเศษ ถึงกับน้ำตาร่วงไหลออกมา ด้วยเห็นโทษแห่งความโง่เขลาของตนในอดีตที่ผ่านมา และความเห็นคุณของความเพียรของตนที่ตะเกียกตกายมาจนได้เห็นธรรมอัศจรรย์ขึ้นเฉพาะหน้าความเห็นในคุณของพระพุทธเจ้าผู้มีพระเมตตาประสิทธิ์ประสาทธรรมไว้พอเห็นร่องรอยได้ดำเนินตาม และความรู้สลับซับซ้อนแห่งกรรมของตนและผู้อื่น ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายอย่างประจักษ์ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยตรงตามธรรมบทว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นของตน เป็นต้น อันเป็นบทธรรมที่รวมความสำคัญของศาสนาไว้แทบทั้งมวล

พระอาจารย์มั่นได้เตือนตนว่า แม้ท่านจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว ได้ประสบความอัศจรรย์หลายอย่างมากมายควรแก่ภาคภูมิใจ แต่ก็หาได้ถึงซึ่งทางแห่งความพ้นทุกข์ไม่ ท่านจะต้องทุ่มเทกำลังสติปัญญาและความพากเพียรทุกด้านอย่างเต็มสติกำลังอีกต่อไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรมให้บรรลุขั้นสูงสุดอันเป็นทางรอดปลอดจากทุกข์โดยเด็ดขาดสิ้นเชิง นั่นคือบรรลุอรหันต์ตผล และท่านก็มั่นใจว่า ตนจะต้องบรรลุถึงธรรมแพนพ้นทุกข์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันหนึ่งแน่นอน (การบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกานี้ เป็นสมัยเดียวกันกับที่ประอาจารย์มั่นได้พบกับขรัวตาที่ถูกท่านพูดดักใจที่เล่าไว้ในตอนต้นๆ)



watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 12 มกราคม 2558 15:09:45 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

มุ่งเชียงใหม่
พระอาจารย์มั่นขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอิสานเสมอ บางเที่ยวก็โดยสารรถไฟบางเที่ยวก็เดินด้วยเท้า ที่กรุงเทพฯ ท่านพักและจำพรรษาที่วัดสระปทุม (หน้ากรมตำรวจ) สมัยนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล (หนู) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระธุดงค์ชาวอุบลฯ ด้วยกันมาก่อน
 
ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล มีความเคารพนับถือในตัวพระอาจารย์มั่นมาก ขณะจำพรรษาอยู่วัดสระปทุม พระอาจารย์มั่นหมั่นไปศึกษาอรรถธรรมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่วัดบรมนิวาสเสมอ ครั้นเมื่ออกพรรษาแล้วหน้าแล้ง ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ จะไปเชียงใหม่ ได้นิมนต์พระอาจารย์มั่นไปด้วย  พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอสมควรแล้ว ท่านก็กราบลาท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เพื่อไปเที่ยวธุดงค์แสวงหาที่วิเวกตามอำเภอต่างๆ ในเขตเชียงใหม่ที่มีป่าเขามาก
 
การธุดงค์บำเพ็ญเพียรเที่ยวนี้ เป็นการบำเพ็ญเพียรขั้นแตกหัก เพื่อที่จะได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดให้จงได้ จะเป็นหรือจะตายก็จะได้รู้กันคราวนี้เป็นแม่นมั่น เพราะจิตท่านทรงอริยธรรมขั้น 3 อย่างเต็มภาคภูมิมานานแล้ว (เป็นพระอนาคามี) แต่ไม่มีเวลาได้เร่งความเพียรตามใจชอบ เพราะต้องมีภารกิจไปยุ่งเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนหมู่คณะมากมีตลอดมา



ธรรมสุดยอด
ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปธุดงค์ยังป่าเขาลำเนาไพรถิ่นเชียงใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงได้เร่งความเพียรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และก็ได้อย่างใจหมายทุกระยะ ภูมิประเทศและบรรยากาศอันน่าทัศนาเย็นกายเย็นใจก็อำนวย พื้นเพของจิตท่านที่เป็นมาตั้งเดิมก็อยู่ในขั้นเตรียมพร้อม สุขภาพร่างกาย 38 พรรษาก็สมบูรณ์ ควรแก่ความเพียรทุกอิริยาบถ สามารถต้านทานกับดินฟ้าอากาศทั้งหน้าแล้ง หน้าฝนและหน้าหนาวของเมืองเหนือได้อย่างทรหด

ความหวังในธรรมขั้นสุดยอดอรหัตตผล ถ้าเป็นตะวันก็กำลังทอแสงอยู่แล้วทุกขณะจิตว่า แดนพ้นทุกข์กับท่านคงเจอกันในไม่ช้านี้แน่ท่านเทียบจิตกับธรรมและกิเลสขั้นนี้ว่า เหมือนสุนัขไล่เนื้อตัวสำคัญ เนื้อกำลังอ่อนกำลังเต็มที่ แล้วถูกสุนัขไล่ต้อนเข้าที่จนมุม รอคอยแต่วาระสุดท้ายของเนื้อจะตกเข้าสู่ปากและบดเคี้ยวให้แหลกละเอียดอยู่เท่านั้น ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นจิตที่สัมปยุตด้วยมหาสติมหาปัญญาไม่มีเวลาพลั้งเผลอตัวแม้ไม่ตั้งใจจะระวังรักษาเนื่องจากเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ หมุนทับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยลำพังตนเอง

เมื่อทราบเหตุผลแล้วปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่ต้องมีการบังคับบัญญาเหมือนขั้นเริ่มแรกปฏิบัติใหม่ๆ ว่าจะต้องพิจารณาสิ่งนั้นต้องปฏิบัติต่อสิ่งนี้ อย่าเผลอตัวดังนี้เป็นต้น แต่เป็นสติปัญญาที่มีเหตุมีผลอยู่กับตัวอย่างพร้อมมูลแล้วไม่จำต้องหาเหตุหาผลหรืออุบายต่างๆ มาพร่ำสอนสติปัญญาชั้นนี้ให้ออกทำงาน เพราะในอิริยาบถทั้ง 4 เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น เป็นเวลาทำงานของสติปัญญาขั้นนี้ตลอดไม่ขาดวรรคขาดตอน เหมือนน้ำซับน้ำซึมที่ไหลรินอยู่ตลอดหน้าแล้งหน้าฝน โดยถือเอาอารมณ์ที่คิดปรุงจากจิตเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เพื่อหามูลความจริงจากความคิดปรุงนั้นๆ ขันธ์ 4 คือนามขันธ์ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

นี่แลคือสนามรบของสติปัญญาขั้นนี้ ส่วนรูปขันธ์เริ่มหมดปัญหามาแต่ปัญญาขั้นกลางที่ทำหน้าที่เพื่ออริยธรรมขั้น 3 คือ อนาคามีธรรมนั้นแล้ว อริยธรรมขั้น 3 นี้ ต้องถือรูปขันธ์เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณาอย่างเต็มที่ และละเอียดถี่ถ้วนจนหมดทางสงสัยแล้วผ่านไปอย่างหายห่วง เมื่อถึงขั้นสุดท้ายนามขันธ์เป็นธรรมจำเป็นที่ต้องพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ทั้งที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป โดยมีอนัตตาธรรมเป็นที่รวมลง คือพิจารณาลงในความว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล หญิง ชาย เรา เขา ไม่มีคำว่าสัตว์ บุคคลเป็นต้น เข้าไปแทรกสิงอยู่ในนามธรรมเหล่านั้นเลย

การเห็นนามธรรมเหล่านี้ต้องเห็นด้วยปัญญาหยั่งทราบตามหลักความจริงอย่างจริงๆ ไม่ใช่เพียงเห็นตามความคาดหมาย หรือคาดคะเนเดาเอาตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบด้นเดาเอาตามสันดาน ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญาต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน



สัญญาพาหลง ปัญญาพาเห็น
ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรค์ตัวว่า มีความรู้มากทั้งที่กำลังหลงมาก จึงมีทิฏฐิมานะมากไม่ยอมลงใครง่ายๆ เราพอทราบได้เวลาสนทนาธรรมกันในวงนักศึกษา ที่ต่างรู้ด้วยความจดจำจากตำราด้วยกัน สภาธรรมมักจะกลายเป็นสภามวยฝึปาก ทุ่มเถียงกันหน้าดำหน้าแดงกันอยู่เสมอ โดยไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะและเพศวัยเลย เพราะความสำคัญตนพาให้เป็นไป

ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอนความสำคัญมั่นหมายต่างๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไปโดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริงๆ กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด ไม่มีกิเลสชนิดใดจะทนต่อสติปัญญาขั้นยอดเยี่ยมไปได้ ฉะนั้นสติปัญญาจึงเป็นอาวุธขั้นนำของธรรมะที่กิเลสทั้งมวลไม่หายสู้ได้แต่ไหนแต่ไรมา

พระศาสดาได้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะสติปัญญา พระสาวกได้บรรลุถึงพระอรหันต์ ก็เพราะสติปัญญาความรู้จริงเห็นจริง มิได้ถอดถอนกิเลสด้วยสัญญาความคาดหมายหรือคิดเดาเอาจากทฤษฎีในตำราคัมภีร์เลย นอกจากจะนำทฤษฎีมาใช้พอเป็นแนวทางในขั้นเริ่มแรกปฏิบัติธรรมเท่านั้น แม้เช่นนั้นก็จำต้องระวังสัญญาจะแอบแฝงตัวขึ้นมาเป็นความจริงให้หลงตามอยู่ทุกระยะมิได้นิ่งนอนใจ การประกาศพระศาสนาเพื่อความจริงแก่โลก ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสาวกทรงประกาศด้วยปัญญาความรู้จริงเห็นจริงทั้งนั้น ดังนั้น ผู้ปฏิบัติทางจิตภาวนาจึงควรระวังสัญญาเข้าทำหน้าที่แทนปัญญา โดยรู้เอาหมายเอาเฉยๆ แต่กิเลสตัวเดียวก็ไม่สามารถถอดถอนออกจากใจได้บ้างเลย และอาจกลายเป็นทำนองว่า มีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอดก็เป็นได้
 
ธรรมขั้นรู้เห็นด้วยปัญญานี่แล ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่กาลามชนว่า ไม่ให้เชื่อแบบสุ่มเดา แบบคาดคะเน ไม่ให้เชื่อตามๆ กันมา ไม่ให้เชื่อครูอาจารย์ที่ควรเชื่อได้เป็นต้น แต่ให้เชื่อด้วยปัญญาที่หยั่งลงสู่หลักความจริงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นความรู้ที่แน่ใจอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ ท่านมิได้มีคนประกันรับรองว่า ท่านได้บรรลุธรรมจริงอย่างนั้น ไม่จริงอย่างนี้ แต่สันทิฏฐิโกมีอยู่กับทุกคน ถ้าปฏิบัติธรรมที่แสดงไว้โดยสมควรแก่ธรรม

นับแต่ออกจากวัดเจดีย์หลวงไปบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่าเขาลำเนาไพร พระอาจารย์มั่นปฏิบัติธรรมอย่างอาจหาญเพลิดเพลินในธรรมจนลืมเวล่ำเวลา ลืมวันลืมคืน ลืมพักผ่อนหลับนอน ลืมความเหน็ดหน่อยเมื่อยล้า จิตตั้งท่านแต่จะสู้กับกิเลสทุกประเภทด้วยความเพียรเพื่อถอดถอนมันพร้อมทั้งราก ท่านเร่งรีบตักตวงความเพียรด้วยมหาสติมหาปัญญาเป็นสติปัญญาธรรมจักรหมุนรอบตัวและ สิ่งเกี่ยวข้องไม่มีประมาณตลอดเวลา


พระอรหันต์
ครั้นแล้ววันคืนอันสำคัญก็มาถึง ในคืนวันหนึ่งดึกสงัด พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางเตียนโล่ง อากาศปลอดโปร่งเยือกเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่ร่มครื้มตั้งอยู่โดดเดี่ยวต่างกลดกันน้ำค้างและฝน พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่นี้มาตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว จิตของท่านสัมผัสรับรู้อยู่กับปัจจยาการคืออวิชชาปัจจยาสังขาราเป็นต้นเพียงอย่างเดียว ทั้งในเวลาเดินจงกรมตอนหัวค่ำทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา ท่านสนใจพิจารณาในจุดนั้น โดยมิได้สนใจกับหมวดธรรมอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา โดยอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายในอันเป็นที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหา มีอวิชชาเป็นตัวการ

เริ่มแต่สองทุ่มที่ออกจากทางจงกรมแล้วเป็นต้นไป ตอนนี้ท่านว่าเป็นตอนสำคัญมาก ในการรบของท่านระหว่างมหาสติมหาปัญญาอันเป็นอาวุธคมกล้าทันสมัย กับอวิชชาอื่นเป็นข้าศึกที่เคย ทรงความฉลาดในเชิงหลบหลีกอาวุธอย่างว่องไว แล้วกลับโต้ตอบให้อีกฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยินไม่เป็นท่า แล้วครองตำแหน่งจักรพรรดิราชวัฏฏจักรบนหัวใจสัตว์โลกตลอดมา และตลอดไปชั่วอนันตกาล ไม่มีใครกล้าต่อสู้กับฝีมือได้
 
ประมาณตี 3 คืนนั้น การยุทธสงครามระหว่างพระอาจารย์มั่นกับจักรพรรดิราชวัฏฏจักรอย่างทรหดไม่ลดละ ผลปรากฏว่า ฝ่ายจักรพรรดิราชวัฏฏจักรถูกสังหารถูกทำลายบัลลังก์ลงพิเนาศขาดสูญโดยสิ้นเชิง สิ้นฤทธิ์ สิ้นอำนาจ สิ้นความฉลาดทั้งมวล ที่จะครองอำนาจอยู่เหนือใจท่านอยู่ได้อีกต่อไป  ขณะจักรพรรดิอวิชชาดับชาติขาดภพลงไปแล้ว พระอาจารย์มั่นเล่าว่า ขณะนั้นเหมือนโลกธาตุหวั่นไหว เสียงจากโลกทิพย์ประกาศก้องสาธุการสะเทือนสะท้านไปทั่วพิภพว่าศิษย์พระตถาคตปรากฏขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่งแล้ว เสียงจากโลกทิพย์ทั้งหลายแสดงความชื่นชมยินดีและเป็นสุขใจกับท่านอย่างกึกก้อง เป็นเสียงที่ท่านได้รู้เห็นลำพังตนเอง  ชาวโลกมนุษย์ทั้งหลายคงไม่มีโอกาสได้รับทราบด้วย เพราะการบรรลุธรรมวิเศษในพระพุทธศาสนา ย่อมเกินวิสัยมนุษย์ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ ปุถุชนย่อมจะเพลิดเพลินอยู่แต่กับการแสวงหาความสุขทางโลกอย่างมัวเมางมงายไปตามวิสัย น้อยคนนักที่ใครจะสนใจทราบว่า ธรรมอันประเสริฐในดวงใจที่เกิดขึ้นในแดนมนุษย์เมื่อสักครู่นี้ เกี่ยวข้องกับการวิปริตของดินฟ้าอากาศที่พวกเขาได้ประจักษ์หรือเปล่าก็ไม่รู้ได้ ผู้ที่จะรู้ได้หยั่งถึงนอกจากเทวบุตรเทวธิดาแล้วก็เห็นจะมีก็แต่พระอริยเจ้าด้วยกันเท่านั้นว่า ฟ้าดินหวั่นไหวไปทั่วโลกธาตุเมื่อสักครู่นี้คือ การปรากฏขึ้นของพระอรหันต์อีกองค์หนึ่งในโลกนั่นแล
 
ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าต่อไปว่า (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้บันทึกคำเล่านี้) พอขณะฟ้าดินอัศจรรย์กระเทือนโลกธาตุผ่านไปเหลือแต่วิสุทธิธรรมภายในใจพระอาจารย์มั่นอันเป็นธรรมชาติแท้ ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย และจิตใจแผ่กระจายไปทั่วโลกธาตุในเวลานั้น ทำให้พระอาจารย์มั่นเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ตัวเองมากมาย จนไม่สามารถจะบอกใครได้ ที่เคยมีเมตตาต่อโลก และสนใจจะอบรมสั่งสอนหมู่คณะและประชาชนมาดั้งเดิม พลันก็กลับกลายหายสูญไปหมด ทั้งนี้เพราะความเห็นธรรมที่ท่านบรรลุในครั้งนี้ เป็นธรรมละเอียดและอัศจรรย์จนสุดวิสัยของมนุษย์จะรู้เห็นตามได้ เป็นธรรมภายในใจที่ท่านรู้ได้เฉพาะคน ท่านบังเกิดความท้อใจไม่คิดจะสั่งสอนใครต่อในขณะนั้น คิดแต่จะเสวยธรรมอัศจรรย์ในท่ามกลางโลกสมมติแต่ผู้เดียว ในท่านหนักไปทางรำพึงรำพันถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูทรงรู้จริงเห็นจริงและสั่งสอนเวไนยเพื่อวิมุติหลุดพ้นจริงๆ ไม่มีคำโกหกหลอกลวงแฝงอยู่ในพระโอวาทแม้แต่บทเดียว บาทเดียวเลยแล้วพระอาจารย์มั่นก็กราบไหว้บูชาพระคุณพระพุทธเจ้าไม่มีเวลาอิ่มพอตลอดคืน
 
จากนั้นก็คิดเมตตาสงสารหมู่ชนเป็นกำลัง ที่เห็นว่าสุดวิสัยจะสั่งสอนได้ โดยถือเอาความบริสุทธิ์และอัศจรรย์ภายในใจท่านมาเป็นอุปสรรคว่า ธรรมนี้มิใช่ธรรมของคนมีกิเลสจะครองได้ เพราะเป็นธรรมขั้นสูงสุดละเอียดอ่อนอัศจรรย์พูดไม่ถูก ถ้านำไปสั่งสอนใครก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าท่านเป็นบ้า ไปหาเรื่องอะไรมาสั่งสอนกันก็ไม่รู้ คนดีๆ มีสติสตังอยู่บ้าง เขาจะไม่นำเรื่องทำนองนี้มาสอนกัน
 
ท่านรำพึงว่าเราเห็นจะต้องอยู่ไปคนเดียวอย่างนี้เสียแล้ว จนถึงวันตายละกระมัง ขืนไปสั่งสอนใครเข้าจะกลายเป็นว่า ทำคุณกลับได้โทษ โปรดสัตว์กลับได้บาปเปล่า ๆ นี่เป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นกับพระอาจารย์มั่นขณะที่ท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุดในพระศาสนาใหม่ๆ ยังมิได้คิดให้กว้างขวางออกไปเชื่อมโยงกับแนวทางการอบรมสั่งสอนตามแนวศาสนาธรรมที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินมา  แต่ครั้งในเวลาต่อมา พระอาจารย์มั่นค่อยมีโอกาสได้ทบทวนธรรมที่รู้เห็น และปฏิปทาเครื่องดำเนินตลอดตัวเองที่รู้เห็นธรรมวิเศษ ท่านก็รำพึงกับตัวเองว่า เราก็เป็นมนุษย์เดินดินกินผักกินหญ้าเหมือนชาวโลกทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรพิเศษแตกต่างกัน พอจะเป็นบุคคลพิเศษสามารถอาจรู้เฉพาะผู้เดียว ส่วนผู้อื่นไม่สามารถทั้งที่มีอำนาจวาสนาสามารถรู้ได้อาจมีจำนวนมาก จึงเป็นความคิดเห็นที่เหยียบย่ำทำลายอำนาจวาสนาของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะความไม่รอบคอบกว้างขวาง ซึ่งไม่เป็นธรรมเลย เพราะปฏิปทาเครื่องดำเนินเพื่อ มรรค ผล นิพพาน พระพุทธเจ้ามิได้ประทานไว้เฉพาะบุคคลเดียว แต่ประทานไว้เพื่อโลกทั้งมวล ทั้งก่อนและหลังการเสด็จปรินิพพาน
 
ผู้ตรัสรู้ มรรค ผล นิพพานตามพระองค์ด้วยปฏิปทาที่ประทานไว้มีจำนวนมหาศาลเหลือที่จะนับที่จะประมาณ มิได้มีเฉพาะเราคนเดียวที่กำลังคิดมองข้ามโลกว่าไร้สมรรถภาพอยู่เวลานี้ เมื่อพิจารณาทบทวนทั้งเหตุและผลทั้งต้นและปลายแห่งพระโอวาทของพระพุทธเจ้าที่ประกาศปฏิปทาทางดำเนินเพื่อมรรคเพื่อผลว่า เป็นธรรมสมบูรณ์สุดและควรแก่สัตว์โลกทั่วไป ไม่ลำเอียงต่อผู้หนึ่งผู้ใดที่ปฏิบัติชอบอยู่ จึงทำให้พระอาจารย์มั่นเกิดความหวังที่จะสงเคราะห์ผู้อื่นขึ้นมา มีความพอใจที่จะอบรมสั่งสอนแก่ผู้มาเกี่ยวข้องอาศัยเท่าที่จะสามารถทั้งสองฝ่าย
 
ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า ตอนที่คิดว่าตนไม่มีทางจะสั่งสอนคนอื่นให้รู้ตามได้นั้น ออกจะเป็นความคิดนอกลู่นอกทางไปบ้าง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ขณะที่ท่านบรรลุธรรมสูงสุดนั้น เป็นธรรมที่นึกไม่ถึง เป็นธรรมที่เกิดใหม่ ที่ไม่เคยพบเคยเห็น ทั้งๆ ที่ท่านมีธรรมอยู่กับตัวตั้งเดิมอยู่แล้ว ธรรมที่เกิดใหม่นี้ทำให้ตื่นเต้นและอัศจรรย์เหลือประมาณสุดวิสัยที่จะคาดคะเนหรือด้นเดาให้ถูกกับความจริงของธรรมชาติจริงๆ ได้ เปรียบไปแล้วเหมือนเราตายแล้วเกิดใหม่ แล้วพบเข้ากับความอัศจรรย์ตื่นตะลึงนั่นแล แต่ครั้นได้หยุดคิดใช้เวลาใคร่ครวญหาเหตุผลแล้วก็จะพบว่า ความมหัศจรรย์นั้นอยู่ในกรอบของเหตุผลกฎเกณฑ์ธรรมชาตินั่นเองไม่แปลกประหลาดอะไร เป็นแต่เพียงว่าธรรมสูงสุดที่ท่านค้นพบด้วยความยากลำบากมาเป็นเวลายาวนานนี้ สุดวิสัยที่คนทั่วไปจะรู้ได้ง่ายๆ นั่นแล



watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 14 มกราคม 2558 15:09:16 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

จิตอิทธิฤทธิ์
พระอาจารย์มั่นมีนิสัยจิตผาดโผดมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับตั้งแต่เริ่มออกปฏิบัติกรรมฐานใหม่ๆ แล้ว จิตผาดโผนของท่านที่ว่านี้คือ เป็นจิตอยากรู้อยากเห็นช่างคิดช่างค้นคว้า มีความอาจหาญยอมตายถึงไหนถึงกัน ขอให้ได้แสวงหาเพื่อที่จะรู้ สิ่งที่อยากรู้ให้รู้แจ้งเห็นจริงจนถึงที่สุด จิตผาดโผนอยากรู้อยากเห็นของท่านเป็นนิสัยนี้เอง ทำให้ท่านเป็นพระอริยเจ้าฝ่าย “เจโตวิมุติ” มีฤทธิ์มาก ทรงอภิญญา 6 คือ สำเร็จอรหันต์โดยการปฏิบัติทางสมถะกรรมฐานจนได้ “ฌาน” แล้วใช้อำนาจฌานสมาบัติเป็นบาทฐานปฏิบัติวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ผล
 
พระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุตินี้มีฤทธิ์มากกว่าพระอรหันต์ฝ่าย “ปัญญาวิมุติ” ที่หลุดพ้นโลกบรรลุธรรมด้วยดวงปัญญาล้วนๆ พระอรหันต์ฝ่ายปัญญาวิมุติ ท่านเห็นสังขารเป็นของแห้งแล้ง ประสงค์ “สุขวิปัสโก” คือ ความสุขจากความสงบอย่างเดียว ไม่สนใจอยากรู้อยากเห็นอิทธิฤทธิ์ใดๆ ไม่ต้องการฤทธิ์ แต่ท่านก็สามารถแสดงฤทธิ์ได้บ้างเป็นบางอย่าง เป็นแต่ว่าแสดงได้ช้ากว่าพระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุติ

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า แม้ขณะจิตของท่านจะเข้าถึงจุดอันเป็นวาระสุดท้าย ด้วยการสำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระศาสนา จิตของท่านก็ยังแสดงลวดลายอิทธิฤทธิ์ให้ท่านระลึกอยู่ไม่รู้ลืม ถึงกับได้นำมาเล่าให้บันดาลูกศิษย์ฟัง พอเป็นขวัญประดับใจและประดับสติปัญญา ท่านว่าจิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งนัก พอจิตของท่านพลิกคว่ำวัฏฏจักรออกไปจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว จิตยังแสดงฤทธิ์เป็นลักษณะฉวัดเฉวียดรอบตัววิวัฏฏจิตถึงสามรอบรอบที่หนึ่งสิ้นสุดลงแสดงบทบาลีขึ้นมาว่า “โลโป” บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการลบสมมติทั้งสิ้นออกจากใจ รอบที่สองสิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า “วิมุตติ” บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือความหลุดพ้นอย่างตายตัว และการเข้าถึงพระนิพพานอย่างแท้จริง รอบที่สามสิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า “อนาลโย” บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือ การตัดอาลัยอาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้มีอันเดียว ไม่มีสองเหมือนสมมติทั้งหลาย นี่คือวิมุตติธรรมล้วนๆ ไม่มีสมมติเข้าแอบแฝง จึงมีได้เพียงอันเดียว รู้ได้เพียงครั้งเดียว ไม่มีสองมีสามสืบต่อสนับสนุนกัน
 
พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ ล้วนแต่รู้เพียงครั้งเดียวก็เป็นเอกจิตเอกธรรอันสมบูรณ์ ไม่แสวงเพื่ออะไรอีก สมมติภายในคือขันธุ์ ก็เป็นขันธุ์ล้วนๆ ไม่เป็นพิษเป็นภัยและทรงตัวอยู่ตามปกติเดิมไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามความตรัสรู้ คือขันธุ์ที่เคยนึกคิดเป็นต้น ก็ทำหน้าที่ของตนไปตามคำสั่งของจิตผู้บงการ

จิตที่เป็นวิมุตติก็หลุดพ้นจากความคละเคล้าพัวพันในขันธ์ต่างอันต่างอยู่ ต่างอันต่างจริงต่างไม่หาเรื่องหลอกลวงต้มตุ๋นกันดังเคยที่เป็นมา ต่างฝ่ายต่างสงบอยู่ตามธรรมชาติของตน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ธุระประจำตนจนกว่าจะถึงกาลแยกย้ายจากส่วนผสม เมื่อกาลนั้นมาถึงจิตที่บริสุทธิ์ก็แสดง “ยถาทีโป จ นิพพุโต” เหมือนประทีบดวงไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไปฉะนั้น นี่คือธรรมแสดงในจิตท่านพระอาจารย์มั่น ขณะที่ท่านบรรลุธรรมวิเศษเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ ที่ท่านนำมาเล่านี้ใช่เป็นการอวดอุตริมนุสธรรม เป็นการเปิดเผยแย้มพรายให้ฟังเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นพระอริยเจ้าด้วยกัน ท่านไม่ได้เล่าโดยทั่วไป เมื่อลูกศิษย์ของท่านที่เป็นพระอริยเจ้าได้รับฟังระดับบารมีตนแล้วก็บันทึกไว้เป็นเรื่องมหัศจรรย์
 
พระอาจารย์มั่นเที่ยวบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ภาคเหนือเป็นเวลานานถึง 11 ปี การจำพรรษาของท่านเท่าที่จำได้ ท่านจำพรรษาที่หมู่บ้านจอมแดง อำเภอแม่ริม 1 พรรษา ที่บ้านโป่ง อำเภอแม่แตง 1 พรรษา ที่บ้านกลอย อำเภอพร้าว 1 พรรษา ในภูเขาอำเภอแม่สวย 1 พรรษา ที่บ้านปู่พระยา อำเภอแม่สวย 1 พรรษา ที่วัดเจดีย์หลวง 1 พรรษา ส่วนที่อื่นๆ นั้นจำไม่ได้ทั่วถึง เพราะตลอดเวลา 11 ปี ท่านจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ นับไม่ถ้วนอย่างที่เชียงราย ท่านจำพรรษาที่บ้านแม่ทองทิพย์ อำเภอแม่สาย 1 พรรษา ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 1 พรรษา เริ่มแรกที่ท่านออกปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานในเขตเชียงใหม่ หลังจากแยกย้ายกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่วัดเจดีย์หลวงแล้วพระอาจารย์มั่นออกธุดงค์เข้าป่าไปเพียงลำพังผู้เดียว หลังจากท่านบรรลุธรรมวิเศษได้อรหัตตผลแล้ว จึงปรากฏว่าค่อยมีพระลูกศิษย์ทยอยกันขึ้นไปเชียงใหม่หาท่าน มีท่านเจ้าคุณเทศน์ อำเภอท่าบ่อ หนองคาย อาจารย์สาร อาจารย์ขาววัดถ้ำกองเพล หลวงปู่ แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ตื้อจากนครพนม พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (ท่านพ่อลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ เป็นต้น
 
พระลูกศิษย์ทั้งหลายที่บุกบั่นรอนแรมเข้าป่าเข้าดงไปหาพระอาจารย์มั่น ท่านจะให้อยู่กับท่านไม่นานนัก แล้วท่านก็จะสั่งให้แยกย้ายกันออกหาที่วิเวกตามที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนามุ่งทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ท่านให้พักตามถ้ำบ้าง ตามชายเขาและยอดเขาบ้าง การขบฉันอาหารก็ให้ออกบิณฑบาต ไปตามหมู่บ้านชาวป่าชาวเขา บางครั้ง 7-8 วันถึงได้ออกบิณฑบาต กันเพราะมัวแต่เพลิดเพลินเจริญในสมาธิวิปัสสนาจนลืมเวล่ำเวลา ลืมคืนลืมวัน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าหิวโหยอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ป่วยกันแต่อย่างไร เพราะจิตสงเคราะห์มีความสุขชุ่มชื่นเย็นกายด้วยอำนาจบารมีธรรม มีพระลูกศิษย์ของท่านบางองค์มีอำนาจจิตแก่กล้าบุญญาบารมีสูง ทรงอภิญญา 6 สามารถทรงตัวอยู่ในสมาธิวิปัสสนาได้เป็นเวลานานถึง 3 เดือนก็มี ไม่ขบฉันอาหารเลยนอกจากฉันแต่น้ำอย่างเดียว นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์

พระธุดงค์กรรมฐานสมัยพระอาจารย์มั่นพาดำเนิน ล้วนเป็นผู้เด็ดเดี่ยวอาจหาญมากเที่ยวแสวงหาธรรมกันในป่าในเขาถิ่นอันตรายแบบเอาชีวิตเข้าแลกจริงๆ ไม่อาลัยชีวิตยิ่งกว่าธรรม ที่ใดมีเสือชุม พระอาจารย์มั่นจะสั่งให้พระไปอยู่ที่นั้นเพราะเป็นสถานที่กระตุ้นเตือนสติปัญญามิให้นิ่งนอนใจ ความเพียรก็จำต้องติดต่อกันไปเอง และเป็นเครื่องหนุนใจให้มีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น ท่านเองก็บำเพ็ญสุขวิหารธรรมอยู่โดดเดี่ยวในป่าในเขาอันชุกชุมด้วยสัตว์ร้านสงัดเงียบปราศจากผู้คนทั้งกลางวันกลางคืน การติดต่อกับพวกกายทิพย์ เช่น เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม พญานาค และภูตผีที่มาจากที่ต่างๆ ท่านถือเป็นเรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องมีจริง เป็นเรื่องลี้ลับพิสดารที่พระธุดงค์กรรมฐานเท่านั้นจะพานพบรู้เห็นได้ เหลือวิสัยที่จะพูดที่จะอธิบายให้ปุถุชนชาวบ้านเข้าใจได้ เพราะปุถุชนชาวบ้านทั่วไปมีความช่างสงสัยเป็นนิสัย ชาวบ้านศึกษาเรียนรู้ช่างจดช่างจำช่างสงสัยหมายรู้เอาด้วยทางวัตถุสิ่งมีตัวตนจับต้องได้มองเห็นได้ แต่ทางพระศึกษาเรียนรู้ทางจิตที่ไม่ใช่วัตถุ การรู้เห็นทางจิตจึงเป็นการรู้ด้วยสติปัญญานามธรรม ดังนั้น การเห็นการรู้ของพระและของชาวบ้านจึงแตกต่างกัน
 
พระอาจารย์มั่นมีการติดต่อกับพวกกายทิพย์จากโลกวิญญาณเช่นเดียวกับมนุษย์ติดต่อไปมาหาสู่กันกับพวกมนุษย์ชาติต่างๆ ที่รู้ภาษากันนั่นเอง เพราะท่านชำนิชำนาญในทางนี้มานานแล้ว การพบเห็นพวกวิญญาณของท่าน ไม่ใช่สิ่งลวงตาลวงใจหรือเป็นเพียงภาพมายา หากเป็นเรื่องจริงที่ท่านพิสูจน์เห็นแท้แน่นอนในทุกแง่ทุกมุมไม่มีผิดพลาด ท่านพักอยู่ในป่าในเขา โดยมากก็ได้ทำประโยชน์โปรดสัตว์อบรมสั่งสอนข้ออรรถธรรมแก่พวกกายทิพย์ แต่ละภูมิแต่ละชั้นตามภูมิปัญญาของแต่ละภูมิแต่ละชั้นให้พวกเขาได้ซาบซึ้งในอรรถธรรม พวกชาวป่าชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น อีก้อ ขมุ มูเซอ แม้วยางเหล่านี้ นับถือผีสางนางไม้ พระอาจารย์มั่นได้แผ่ธรรมะเข้าไปถึงชีวิตจิตใจพวกเขา ทำให้พวกเขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก ทำให้ชาวป่าชาวเขาเป็นคนดีมีสัตย์มีศีลหันมานับถือพระ พุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง

ดังมีเรื่องจะเล่าให้ฟัง



กลายเป็นเสือเย็น
ครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่นกับพระลูกศิษย์หนึ่ง ได้เดินธุดงค์ข้ามเขาหลายลูก และไปพักอยู่ชายเขาแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเขาราวสองกิโลเมตร โดยพักอยู่ใต้ร่มไม้ เวลาฝนตกลงมาก็เปียกโชกแต่ก็ทนเอาไม่เดือนร้อนไม่สนใจเพราะทนได้  ตอนเช้าพากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวเขา พวกชาวเขาเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตก็ถามว่า ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร? ท่านบอกว่ามาบิณฑบาต เขาถามว่า มาบิณฑบาตคืออย่างไร? พวกเขาไม่เขาใจ เขาเคยรู้จักพระเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของพระ ท่านบอกว่าบิณฑบาตก็คือพระมาขอแบ่งข้าวจากชาวบ้านไปกิน เขาถามว่าจะเอาข้าวสารหรือข้าวสุก? ท่านตอบว่าข้าวสุก
 
เขาก็บอกกันต่อๆ ไปให้เอาข้าวสุกมาใส่บาตรท่าน เมื่อได้ข้าวแล้วท่านก็พาพระลูกศิษย์กลับมายังร่มไม้ที่พัก และฉันข้าวเปล่าๆ อยู่นานวัน ขณะที่ท่านพักอยู่ใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านแห่งนี้พวกเขาใส่บาตรให้ก็จริง แต่พวกเขาไม่มีความเลื่อมใสและไว้ใจท่านเลย พอตกกลางคืนหัวหน้าชาวบ้านตีเกาะนัดให้ชาวบ้านมาประชุมกันแล้วประกาศว่า ขณะนี้มีเสือเย็นสองตัว (หมายถึงพระอาจารย์มั่นและพระลูกศิษย์) มาพักอยู่ที่ป่าใกล้หมู่บ้าน

คำว่า “เสือเย็น” หมายถึง “เสือสมิง” นั่นเอง ขอให้ชาวบ้านทั้งหลายอย่าได้ไว้ใจเสือเย็นสองตัวนี้ มันแปลงเป็นพระจะมาจับพวกเราไปกินเป็นอาหารห้ามไม่ให้เด็กและผู้หญิงเข้าไปในป่าเป็นอันขาด แม้ผู้ชายจะเข้าไปในป่าก็ควรจะมีพรรคพวกเป็นเพื่อนไปด้วยหลายๆ คนและต้องมีอาวุธป้องกันตัวไปด้วย ไม่ควรเดินป่าตัวคนเดียวเป็นอันขาดจะมีอันตรายถูกเสือเย็นสองตัวตะครุบกัดกิน ขณะที่ชาวบ้านประชุมกันอยู่นี้ พระอาจารย์มั่นกำลังนั่งเข้าสมาธิภาวนาอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณสองกิโลเมตร พระอาจารย์มั่นสามารถทราบได้ทุกถ้อยคำที่พวกเขาพูดกัน โดยทราบด้วยญาณวิเศษหูทิพย์ตาทิพย์
 
ท่านบังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่า ตนจะถูกเพ่งเล็งเป็นพระประเภทเสือเย็นหรือเสือสมิงกินคนดังคำกล่าวหา ท่านก็หาได้รู้สึกโกรธเคืองไม่ แต่กลับเกิดเมตตาจิตสงสารพวกเขาที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กลัวชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยจะพลอยหลงเชื่อไปตามคำกล่าวหาของหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งจะพลอยเป็นบาปกรรมไปๆ กัน เพราะการกล่าวหาพระอริยเจ้าผู้ทรงธรรมวิเศษสูงสุดในพระศาสนาจะต้องได้รับกรรมหนัก เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้ว พวกเขาจะไปเกิดเป็นเสือกันทั้งหมู่บ้าน
 
พอตื่นเช้าขึ้นพระอาจารย์มั่นก็รีบบอกพระลูกศิษย์ที่อยู่ด้วยให้ทราบว่า เมื่อคืนนี้พวกชาวบ้านประชุมกัน เขาว่าเราทั้งสองนี้เป็นเสือเย็น เสือสมิง ปลอมแปลงตัวเป็นพระมาหลอกลวงอย่างแยบยลลึกลับเพื่อให้พวกเขาตายใจหลงเชื่อถือ ได้โอกาสเมื่อไรเราจะจับตัวพวกเขากินเป็นอาหารแน่ๆ ถ้าหากเราทั้งสองหนีไปจากที่นี่เสีย เพื่อให้พวกเขาสบายใจ เวลาพวกเขาตายไปก็จะพากันเกิดเป็นเสือทั้งหมู่บ้าน ซึ่งนับเป็นกรรมไม่เบาแก่พวกเขาเลย  ดังนั้น เพื่อความอนุเคราะห์เขาซึ่งควรแก่สมณะกิจที่เราพอทำได้ เราควรอดทนอยู่ที่นี่ต่อไปก่อน เพื่อหาทางโปรดพวกเขาแม้เราจะทุกข์ยากลำบากอย่างไรก็ขอให้ทนเอา พระลูกศิษย์ก็ตอบว่า แล้วแต่พระอาจารย์จะเห็นสมควร กระผมไม่ขัดข้องขอรับ เป็นอันตกลงกันได้ว่า จะอยู่ที่นั่นต่อไป พวกชาวเขาได้จัดเวรยามครั้งละ 3 – 4 คน มีอาวุธมีดพร้าขวานแหละหน้าไม้ ให้มาคอยเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นแหละพระลูกศิษย์อยู่ใกล้ๆ ที่พักอยู่ตลอดเวลาทั้งวันและทั้งคืนเป็นผลัดๆ ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนา พวกเขาจะคอยสอดส่ายสายตาจับตาดูความเคลื่อนไหวไม่ยอมให้คลาดสายตาไปได้เลย

ไม่พูดไม่จาไม่ไถ่ถามอะไรทั้งนั้น เอาแต่จ้องมองทมึงทึงท่าเดียว แต่เวลาเข้าไปบิณฑบาตพวกเขาก็ใส่ให้อย่างเสียไม่ได้ ใส่ให้ด้วยความเกรงกลัวต้องการเอาใจไว้บ้างมากกว่า ถ้าไม่ใส่บาตรให้เสียเลย เดี๋ยวเสือเย็นจะโกรธใหญ่หาเรื่องทำร้ายเอาได้ง่ายๆ เหตุการณ์เป็นไปอย่างนี้อยู่หลายวันทีเดียว บรรยากาศภายในหมู่บ้าน ตึงเครียดมาก แต่พระอาจารย์มั่นก็หาได้หวั่นไหวไม่ ท่านกำหนดวาระจิตตรวจสอบดูจิตใจชาวบ้านทุกคนอยู่ทุกระยะ ในที่สุดหัวหน้าหมู่บ้านก็จัดให้มีการประชุมขึ้นอีก ได้มีการปรึกษาพิจารณาสถานการณ์ของหมู่บ้านอย่างเคร่งเครียดว่าจะเอายังไงกับพระสององค์นี้ต่อไป
 
พวกเวรยามที่มาคอยเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นได้รายงานว่า ไม่เห็นพระสององค์มีอะไรผิดแปลกเลย เห็นแต่ท่านนั่งหลับตาบ้าง เดี๋ยวลุกขึ้นเดินไปเดินมาบ้าง นอนงีบเดียวแล้วก็ลุกขึ้นมาเดินอีก เดินพักหนึ่งแล้วก็นั่งหลับตา ไม่รู้ว่าท่านนั่งหลับตาทำไมและเดินกลับไปกลับมาหาอะไร จะหาว่าของหายก็ไม่เห็นหาเจอสักที (หมายถึงเห็นท่านเดินจงกรม) ถ้าพระสององค์นี้เป็นเสือเย็นจริงๆ จะต้องไม่เป็นแบบนี้แน่ จะต้องหายตัวไปหากินหรือไม่ก็กลายร่างเป็นเสือไล่ขบกัดพวกเขาที่เฝ้าดูอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนแล้วเป็นแน่
 
หัวหน้าหมู่บ้านได้ฟังดังนั้นก็นิ่งอึ้ง มีชาวบ้านผู้อาวุโสคนหนึ่งเป็นผู้เฒ่าของหมู่บ้าน เคยเข้าไปในเมือง รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีคนเมืองอยู่บ้าง รู้จักพระสงฆ์องค์เจ้าปฏิบัติธรรมพอสมควร แกได้พูดขึ้นว่า "พระสององค์นี้เห็นจะเป็นพระจริงๆ ไม่ใช่เสือเย็นปลอมแปลงมาหรอก พระพวกนี้ชอบท่องเที่ยวอยู่ในป่าปฏิบัติตัวเป็นนักบุญ การที่พวกเราชาวบ้านไปสงสัยและกล่าวหาพระสององค์นี้ว่าเป็นเสือเป็นสางน่ากลัวจะไม่ถูกต้องเสียแล้ว จะทำให้พวกเรามีบาปหนักผีป่าผีปู่ย่าตาทวดจะโกรธเอาเปล่าๆ ทางที่ควรจะพากันไปพบพระสององค์นี้แล้วไถ่ถามเอาให้รู้ต้นสายปลายเหตุว่า มานั่งหลับตาทำไม มาเดินไปเดินมาหาอะไร บางทีท่านอาจจะเป็นตุ๊เจ้าผู้วิเศษมีของขลังของดีให้พวกเราก็ได้ อย่างครูบาศรีวิชัยพวกเราก็เคยได้ยินกิติศัพท์มาแล้วว่าท่านเป็นพระชอบอยู่ในป่าเป็นตุ๊เจ้าผู้วิเศษ เหาะเหินเดินอากาศได้ หายตัวได้ ดำดินได้ พระสององค์นี้อาจจะเก่งเหมือนครูบาตรุ๊เจ้าศรีวิชัยก็ได้ " หัวหน้าหมู่บ้านเห็นด้วย ตกลงจะพาชาวบ้านไปถามไถ่ตุ๊เจ้าสององค์ในวันรุ่งขึ้นให้รู้เรื่องกัน
 
ฝ่ายพระอาจารย์มั่นกำหนดวาระจิตตรวจสอบเหตุการณ์อยู่ไม่ประมาท ก็รู้ได้ด้วยญาณวิเศษทุกระยะ พอรุ่งเช้าขึ้นท่านก็รีบบอกพระลูกศิษย์ให้ทราบถึงเรื่องราวที่ชาวบ้านประชุมกันเมื่อคืนนี้ ให้เตรียมตัวคอยพบชาวบ้านไว้ให้ดี



watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 16 มกราคม 2558 16:19:14 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พุทโธหาย
พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริงๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่งๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวันกลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร พระอาจารย์มั่นตอบว่า 
“พุทโธหาย เรานั่งและเดินหาพุทโธ”
“พุทโธ เป็นตัวยังไง รูปร่างสูงต่ำดำขาวยังไงจะให้ชาวบ้านช่วยหาให้ได้ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถามด้วยความสงสัย
 
พระอาจารย์มั่นตอบว่า “ พุทโธ ที่ว่านี้ เป็นดวงแก้วอันวิเศษ สุดประเสริฐ ใครได้ไว้แล้วจะโชคดี ถ้าพวกสูจะช่วยเราหาให้พบก็ยิ่งดีใหญ่ จะได้เห็นพุทโธเร็วๆ”
“พุทโธ ของตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ” ผู้เฒ่าอาวุโสของหมู่บ้านถามบ้าง
“ไม่นานหรอก ถ้าพวกสูช่วยหาให้ยิ่งจะพบเร็วกว่าเราหาเพียงคนเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างเป็นปริศนาธรรม
“พุทโธ เป็นดวงแก้วใหญ่ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถาม
“ไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอดีกับเราและกับพวกสูนั่นแหละ ใครหาพุทโธ พบคนนั้นจะเป็นผู้ประเสริฐ มีตาทิพย์มองเห็นอะไรได้ตามใจหวัง” พระอาจารย์มั่นตอบ
 
“มองเห็นนรกสวรรค์ได้ไหมตุ๊เจ้า”
“มองเห็นซิ ถ้ามองไม่เห็นจะเรียกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษได้ยังไง”
“ลูกตาย เมียตาย ผัวตาย มองเห็นได้ไหมตุ๊เจ้า”
“เห็นซี เห็นหมดทุกอย่างถ้าต้องการอยากเห็น”
“ดวงแก้วพุทโธนี้สว่างมากไหมตุ๊เจ้า”
“สว่างมาก สว่างยิ่งกว่าพระอาทิตย์ตั้งร้อยดวงพันดวงเพราะพระอาทิตย์ไม่สามารถส่องให้เห็นนรกสวรรค์ได้แต่ดวงพุทโธสามารถส่องเห็นหมด” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างอารมณ์ดี
 
“ผู้หญิงช่วยหาดวงแก้วพุทโธได้ไหมตุ๊เจ้า ” เขาถาม
“ได้ซี ผู้หญิงก็หาได้ เด็ก ๆ ก็ช่วยกันหาได้”
“ดวงแก้วพุทโธประเสริฐในทางใดบ้าง กันผีได้ไหม”
“ดวงแก้วพุทโธประเสริฐใช้ได้หลายทางจนนับไม่ถ้วน ผีสางเทวดาต้องยอมกราบพุทโธทั้งนั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าดวงแก้วพุทโธ ผีกลัวพุทโธมากต้องกราบพุทโธ ใครหาพุทโธแม้ยังไม่พบ ผีก็เริ่มกลัวแล้ว” พระอาจารย์มั่นตอบยิ้มๆ
 
“พุทโธเป็นดวงแก้วสีอะไรตุ๊เจ้า” หัวหน้าหมู่บ้านถาม
“พุทโธเป็นดวงแก้วสว่างไสว มีหลายสีจนนับไม่ถ้วน พุทโธนี้เป็นสมบัติอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พุทโธเป็นองค์แห่งความรู้สว่างไสวไม่เป็นวัตถุ พระพุทธเจ้าท่านมอบไวให้เราหลายปีแล้ว แต่เราเองยังหาพุทโธที่ท่านมอบให้ยังไม่เจอ ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน แต่จะอยู่ที่ไหนไม่สำคัญนัก ที่สำคัญก็คือ ถ้าพวกสูจะพากันช่วยเราหาพุทโธจริงๆ ให้พากันนั่ง หรือเดินนึกในใจว่าพุทโธๆ ๆ อยู่ภายในใจโดยเฉพาะ ไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย ให้รู้อยู่กับคำว่าพุทโธเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้พวกสูอาจเจอพุทโธก่อนเราก็ได้”
 
“การนั่งหรือเดินหาพุทโธจะให้นั่งหรือเดินนานเท่าไรถึงจะพบพุทโธแล้วหยุดได้ตุ๊เจ้า”
“ให้นั่งหรือเดินเพียงชั่วหม้อข้าวเดือดจนสุกหรือนานกว่านั้นก่อน สำหรับผู้ตามหาพุทโธทีแรก พุทโธท่านยังไม่อยากจะให้เราตามหาท่านนานนัก กลัวจะเหนื่อยแล้วตามพุทโธไม่ทัน เดี๋ยวจะขี้เกียจเสียก่อน ทีหลังจะอยากตามหาท่านแล้วเลย จะไม่พบท่าน เอาเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าอธิบายมากกว่านี้จะจำวิธีไม่ได้แล้วตามหาพุทโธไม่พบ” พระอาจารย์มั่นให้อรรถาธิบายพวกชาวป่าได้ฟังแล้วก็ชวนกันกลับไปโดยไม่มีการยกมือไหว้ร่ำลาอะไร เพราะเป็นนิสัยของชาวป่ายังงั้นเอง เมื่อพวกเขาจะไปก็ลุกไปเฉยๆ พระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตติดตามดูความเคลื่อนไหวต่อไปก็พบว่า เมื่อพวกเขาไปถึงหมู่บ้านแล้ว พวกชาวบ้านทั้งหลายก็แห่กันมารุมซักถามเป็นการใหญ่

หัวหน้าหมู่บ้านก็อธิบายให้ฟังตามที่พระอาจารย์มั่นสั่งสอนเรื่องดวงแก้วพุทโธ พวกชาวบ้านต่างก็ตื่นเต้นอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธเอะอะกันใหญ่ เพราะเป็นของดีของวิเศษ ต่างก็พากันแยกย้ายไปฝึกหัดนึกท่องพุทโธในใจโดยทั่วกันไม่นึกอย่างอื่น นึกแต่คำว่าพุทโธๆ ๆ นับตั้งแต่หัวหน้าหมู่บ้านลงมาถึงผู้หญิงและเด็กๆ ที่พอจะรู้วิธีนึกท่องในใจหาพุทโธได้
 
พวกชาวป่าวเป็นคนซื่อโดยกำเนิด ถ้าเชื่อเลื่อมใสศรัทธาอะไรแล้วก็คิดเลื่อมใสเลยไม่มีอะไรสงสัยข้องใจ จิตของพวกเขาจึงเข้าถึงสมาธิได้รวดเร็วและเป็นที่อัศจรรย์ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า ปรากฏว่าไม่นานนัก ชาวป่าผู้หนึ่งซึ่งเดินท่องพุทโธนั่งท่องพุทโธตามหาดวงแก้วพุทโธนั้นบังเกิดประสบเข้ากับธรรมะ คือความสงบสุขทางใจด้วยอำนาจการนึกบริกรรมพุทโธตามวิธีสมาธิแยบยลที่พระอาจารย์มั่นใช้อุบายสอน เขารีบวิ่งออกจากหมู่บ้านมาเล่าให้พระอาจารย์มั่นฟังว่าก่อนหน้า 3 – 4

วันที่เขาจะประสบกับดวงแก้วพุทโธนั้น ได้นอนหลับและฝันไป ฝันเห็นพระอาจารย์มั่นเอาเทียนใหญ่จุดไฟสว่างไสวไปติดไว้บนศีรษะเขา ทำให้ร่างกายของเขาสว่างไสวไปหมดเขาดีใจมาก มีความสุขทางใจอย่างบอกไม่ถูก พระอาจารย์มั่นจึงได้เมตตาแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติมให้ฝึกขั้นสูงต่อไปโดยลำดับ ปรากฏว่าเขาไปฝึกอยู่ได้ไม่กี่วันก็เข้าถึงสมาธิขั้นสูงสามารถบังคับดวงแก้วพุทโธให้สว่างไสวใหญ่และเล็กได้ ให้เป็นไปตามต้องการได้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญา สามารถล่วงรู้ใจผู้อื่นได้ว่า ใจของใครคิดอะไร มีความเศร้าหมองและผ่องใสเพียงใด แถมยังบอกพระอาจารย์มั่นอย่างซื่อๆ ตรงไปตรงมาว่าเขาสามารถรู้เห็นสภาพจิตของพระอาจารย์มั่นและพระที่อยู่ด้วยได้อย่างชัดเจน
 
พระอาจารย์มั่นหัวเราะชอบใจจึงถามเป็นเชิงเล่นๆ ว่า "จิตของเราเป็นยังไง มีบาปไหม?" เขารีบตอบทันทีว่า " จิตของตุ๊เจ้าไม่มีจุดไม่มีดวงเหลืออยู่แล้ว มีแต่ความสว่างไสวน่าอัศจรรย์เหมือนดาวประกายพรึกลอยสุกปลั่งอยู่ในอก ตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกไม่มีใครเสมอเหมือน เฮาบ่เคยเห็น แหม.....ตุ๊เจ้ามาอยู่ที่นี่นานตั้งร่วมปีแล้ว ทำไมไม่สอนเฮาบ้างก๊าแต่แรกมาอยู่" (ก๊า แปลว่า เล่าหรืออะไร ๆ ได้อีกหลายอย่าง เป็นคำเหนือติดท้ายประโยคได้ทั้งคำถามคำตอบ)

พระอาจารย์มั่นตอบว่า จะให้เราสอนได้อย่างไรก็ไม่เคยเห็นพวกสูมาศึกษาไต่ถามเรานี่นา เขาตอบว่า เอาบ่ฮู้ก๊าว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้วิเศษ ถ้าฮู้ เฮาจะทนอยู่ได้อย่างไร ต้องรีบแล่นมาหาแน่ๆ ทีนี้พวกเฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นคนฉลาดมาก เวลาพวกเฮามาถามว่าตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่งๆ และเดินกลับไปกลับมาทำไม กำลังหาอะไรหรือ? ตุ๊เจ้าก็บอกพวกเฮาว่า พุทโธหาย กำลังหาพุทโธ ขอให้พวกเฮาช่วยตามหาที เมื่อถามถึงพุทโธเป็นลักษณะอย่างไร ตุ๊เจ้าก็บอกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษสว่างไสวความจริงตุ๊เจ้าเป็นพุทโธอยู่แล้ว มิได้ทำให้พุทโธสูญหายไปไหน แต่เป็นอุบายอันฉลาดของตุ๊เจ้าที่เมตตาสงสารพวกเฮาชาวป่าชาวดอย ให้พวกเฮาภาวนาพุทโธเพื่อให้จิตพวกเฮาสว่างไสวเหมือนจิตตุ๊เจ้าต่างหาก เฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐเฉลียวฉลาด ปรารถนาให้พวกเฮาได้บุญใหญ่ มีความสุข พบพุทโธดวงแก้วประเสริฐที่ใจตัวเอง มิใช่ให้หาพุทโธให้ตุ๊เจ้าเลย!
 
อนึ่ง....ที่ชาวป่าผู้บรรลุสมาธิเข้าถึงฌานขั้นสูงนี้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถรู้เห็นจิตใจผู้อื่นได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เขาไม่สามารถจะรู้เห็นสภาวะจิตใจของผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่าได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง แต่ที่เขาสามารถเห็นสภาวะจิตของพระอาจารย์มั่นเป็นดวงแก้วประกายพรึกได้นั้นเป็นเพราะพระอาจารย์มั่นยินยอมให้เห็นได้

ดังนั้น จึงมีหลักอยู่ว่า ผู้ได้ตาทิพย์และเจโตปริยญาณสามารถล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่นได้นั้น จะรู้ได้ในระดับจำกัดตามขั้นภูมิธรรมของตนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้สำเร็จฌานโลกีย์ได้อภิญญา จะไม่สามารถใช้อำนาจอภิญญาของตนตรวจสอบวาระจิตของพระอริยะเจ้าได้เลย ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะให้รู้ ในทำนองเดียวกัน พระอริยเจ้าขั้นโสดาบันที่สำเร็จฌานโลกีย์มาก่อนและได้อภิญญา ไม่สามารถจะตรวจสอบวาระจิตของพระอริยเจ้าที่มีอันดับขั้นสูงกว่าได้ เพราะถูกอำนาจวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นธรรมวิเศษหรือโลกุตราธรรมสูงสุดสกัดกั้นอำนาจอภิญญาจิตระดับฌานโลกีย์ไว้นั่นเอง แต่ก็สามารถจะรู้วาระจิตของผู้ที่ภูมิธรรมระดับเดียวกันได้และผู้ที่ต่ำกว่าได้ แต่จะรู้สูงกว่าตนไม่ได้ นี่เป็นกฎตายตัวเกี่ยวกับอำนาจอภิญญาทั้ง 6 ประการ
 
ดังเคยมีตัวอย่าง โยคีในลัทธิฮินดู สำเร็จฌานชั้นสูงและได้อภิญญา แสดงฤทธิ์ได้หลายประการ แต่ก็ต้องยอมพ่ายแพ้พระอริยเจ้าที่ทรงอภิญญาฝ่ายพระพุทธศาสนา เพราะอภิญญาจิตของโยคีนั้นอยู่ระดับฌานโลกีย์เท่านั้น แต่อภิญญาของพระอริยเจ้านั้นสูงกว่าเพราะมีวิปัสสนาฌานซึ่งเป็นธรรมวิเศษพ้นโลกอยู่เหนือโลกช่วยทำให้อภิญญาจิตมีความสมบูรณ์สูงสุดเต็มขั้นภูมิทรงความสุดยอดด้วยประการทั้งปวงนั่นแล



พบพุทโธวิเศษ
ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้านต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตามๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสพระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย

นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พากันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรมเพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อมมุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม ปัดกวาดคลานกุฏิให้สะอาดกว้างขวางน่าอยู่อาศัยกว่าเดิม ลงพวกชาวป่าได้เชื่อถือและเคารพศรัทธาเลื่อมใสแล้วเป็นต้อง นับถืออย่างถึงใจจริงๆ ถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกัน ตายก็ตายด้วยกัน แม้ชีวิตของพวกเขาก็ยอมสละได้ พระอาจารย์มั่นพูดอะไร พวกเขาเชื่อฟังและเคารพอย่างถึงใจ

การบริกรรมภาวนาหาพุทโธ ท่านได้ค่อยๆ สอนให้เขยิบขึ้นไปตามขั้นตามนิสัยของแต่ละคนซึ่งมีสติปัญญาไม่เหมือนกัน คนไหนฉลาดก็ได้รับการสอนวิปัสสนาสอดแทรกควบคู่ไปด้วยอุบายแปลกๆ อันชาญฉลาดแยบยลให้เกิดความรอบรู้ชำนาญขึ้นตามลำดับ ชั่วเวลาไม่นาน ชาวบ้านหลายคนก็สำเร็จทางในได้พบดวงแก้วพุทโธเพิ่มขึ้นหลายคน ปีนั้นท่านเลยต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นไปไหนไม่ได้ เพราะชาวป่าไม่ยอมให้ไป รวมเวลาแล้วนับปีกว่า


จำจากลา
ครั้นเห็นว่าได้เวลาที่จะธุดงค์ต่อไป ตามวิสัยพระกรรมฐานไม่ควรจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานเกินควร ยึดมั่นถือมั่นติดสถานที่ ชาวบ้านก็พากันร้องห่มร้องไห้ช่วยกันฉุดรั้งท่านไว้ทุลักทุเลไม่ยอมให้จากไป พวกเขาบอกว่าถ้าพระอาจารย์มั่นตายลงไปพวกเขาจะเผาศพเองให้สมเกียรติ พวกเขาขอมอบชีวิตตายด้วยกับท่าน ขออย่าได้ไปอยู่ที่อื่นเลย จงอยู่กับพวกเขาตลอดไปชั่วชีวิตเถิด อยู่เพื่อเป็นดวงแก้วพระพุทโธปกป้องคุ้มครองพวกเขาตลอดไป เป็นหลักชัยเป็นบุญกองใหญ่ของพวกเขา
 
พระอาจารย์มั่นบังเกิดความสงสารสังเวชใจ กับความรักความเลื่อมใสศรัทธาของชาวป่าที่มีต่อท่านอย่างลึกซึ้งใหญ่หลวง ท่านได้พยายามชี้แจงเหตุผลที่จำต้องจากพวกเขาไปปลอบโยนไม่ให้เศร้าเสียใจจนเลยขอบเขตแห่งธรรม คือความพอดี ในที่สุดชาวบ้านก็เข้าใจ ยอมให้ท่านจากไปแต่แล้วสิ่งไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นอีก พอท่านออกเดินทางพวกชาวป่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้พากันวิ่งกรูเกรียวไปรุมล้อมท่านไว้ แย่งเอาบริขาร กลด บาตร กาน้ำจากมือพวกที่ตามส่งท่าน แล้วเข้ารุมกอดแข้งกอดขา พระอาจารย์มั่นดึงกลับที่พักร้องห่มร้องไห้อื้ออึงวุ่นวายโกลาหลไปหมด ไม่ยอมให้จากไป ทำเอาพระอาจารย์มั่นอ่อนอกอ่อนใจ ต้องกลับมาแสดงเหตุผลปลอบโยนใจชาวบ้านอีกพักใหญ่ แล้วจึงออกเดินทางต่อไป แต่ก็ถูกชาวบ้านวิ่งตามกอดแข้งกอดขาร้องห่มร้องไห้อีกไม่ยอมให้ไป
 
เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ทุลักทุเลอยู่หลายชั่วโมง เสียงร้องไห้ระเบ็งเซ็งแซ่วุ่นวายฉุกระหุกไปทั้งป่า เป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอานักหนา กว่าพระอาจารย์มั่นจะจากมาได้ก็แทบแย่ ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังตามส่งมาเป็นระยะทางอันไกลร้องไห้พิไรรำพันว่า เมื่อตุ๊เจ้าไปแล้วให้รีบกลับคืนมาห พวกเราอีก อย่าอยู่นาน พวกเฮาคิดถึงตุ๊เจ้าแทบอกจะแตกตายอยู่เดี๋ยวนี้แล้วก๊า พระอาจารย์มั่นเต็มไปด้วยความสงสารสังเวชใจ แต่ก็เป็นสิ่งสุดวิสัยของโลก อนิจจัง จำมาจำต้องพรากเพราะการ พลัดพรากแปรผันเป็นสายเดินแห่งคติธรรมดา ไม่มีผู้ใดสามารถปิดกั้นหรือทำลายได้ แม้ท่านจะทราบอัธยาศัยของชาวป่าที่ศรัทธาเกี่ยวพันท่านอย่างหนักแน่นเปี่ยมล้นหัวใจก็จำต้องตัดใจจากไปตามวิถีทางจาริกของพระธุดงค์


watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1091


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.99 Chrome 39.0.2171.99


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 20 มกราคม 2558 15:55:53 »

.


ประสบการณ์โลกทิพย์
ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ออกจากป่า
ประมาณเดือนพฤษภาคม 2482 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาตั้งแต่เล็ก ได้เดินทางไปเชียงใหม่ เข้าพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เพื่อรอพบพระอาจารย์มั่นที่จะออกมาจากบำเพ็ญธุดงควัตรในป่าตามที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าทางจดหมายหลายฉบับแล้ว เพื่ออาราธนาพระอาจารย์มั่นกลับคืนสู่แดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอนเสียที เพราะพระอาจารย์มั่นจากมาหลายปีเต็มที ทำให้พระเณรและญาติโยมพุทธบริษัทคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายคิดถึงขาดที่พึ่งทางใจ
 
เมื่อพระอาจารย์มั่นออกจากป่ามาถึงวัดเดีย์หลวงแล้วก็พักอยู่ 6 – 7 คืน



วัดเจดีย์หลวง
ขณะที่พระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเตรียมจะเดินทางกลับอีสานนี้ คณะศรัทธาชาวเชียงใหม่ที่มีความเลื่อมใสในท่าน ได้พร้อมกันอาราธนานิมนต์ให้ท่านพักจำพรรษาอยู่นานๆ เพื่อโปรดชาวเชียงใหม่ แต่ท่านรับนิมนต์ไม่ได้ เพราะได้รับนิมนต์ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ไว้เรียบร้อยแล้วที่จะกลับคืนสู่อีสาน  ดังนั้นคณะศรัทธาชาวเชียงใหม่และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งเวลานั้นเป็นพระราชกวี จึงได้อาราธนาพระอาจารย์มั่นให้แสดงธรรมในวันวิสาขะเป็นกัณฑ์ต้น เพื่ออาลัยสำหรับศรัทธาชาวเชียงใหม่ทั้งหลาย พระอาจารย์มั่นได้แสดงธรรมเป็นกรณีพิเศษถึง 3 ชั่วโมง เป็นที่ประทับฝังใจชาวเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง เมื่อเทศนาจบลงจากธรรมาสน์ เดินมากราบพระประธาน ท่านเจ้าคุณราชกวีได้กราบเรียนขึ้นว่า วันนี้พระอาจารย์ใหญ่เทศนาใหญ่ สนุกมาก ไพเราะเหลือเกิน ฟังกันเต็มที่สำหรับกัณฑ์นี้

พระอาจารย์มั่นยิ้มแล้วตอบว่า กระผมเทศน์ซ้ำท้ายความแก่ชราของตนเอง ต่อไปจะไม่ได้กลับมาเทศน์ให้ชาวเชียงใหม่ฟังอีกแล้ว เวลานี้กระผมแก่เฒ่ามากแล้ว พระอาจารย์มั่นพูดนี้เหมือนเป็นนัยให้รู้ว่าในชีวิตนี้จะไม่ได้กลับมาเชียงใหม่อีกแล้ว ซึ่งต่อมาก็เป็นความจริง 



สู่กรุงเทพฯ
พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงพอควรแก่การแล้ว ก็ออกเดินทางลงมายังกรุงเทพฯ ก่อนเป็นจุดแรก ขณะออกจากวัดเจดีย์หลวง มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พระราชกวี - ในเวลานั้น) และคณะพระผู้ใหญ่ ตลอดจนภิกษุสามเณรและคณะศรัทธาญาติโยมชาวเชียงใหม่ตามมาส่งถึงสถานีมากมาย พระอาจารย์มั่นเล่าว่ามีเทพยดาเป็นจำนวนมากตามมาส่งท่านถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่แต่จะบอกให้ใครรู้ไม่ได้ เดี๋ยวคนเขาจะหาว่าท่านวิปลาส เอาเรื่องเหลวไหลมาพูด จึงเป็นเรื่องทิพยจักษุที่ท่านรู้ท่านเห็นแต่ผู้เดียวและเก็บไว้ในใจไม่บอกใคร เมื่อรถไฟเข้าถึงกรุงเทพฯ ได้เข้าพักที่วัดบรมนิวาสตามคำสั่งทางโทรเลขของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่นิมนต์ให้ท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดนี้ก่อนเดินทางขึ้นอีสาน

ในระยะที่พักอยู่วัดบรมนิวาส ปรากฏว่ามีคนมานมัสการและถามปัญหาธรรมมากมาย เพราะข่าวเล่าลือไปทั่วกรุงว่าพระอาจารย์มั่นเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบบรรลุธรรมวิเศษเป็นพระอรหันต์



ปัญหานานา
ปัญหาที่คนนำมาถามนั้นมีแปลกๆ และพิสดาร บางคนคุยว่า เคยถามปัญหาธรรมเอาจนพระมหาเถระเปรียญ 9 หงายหลังจนมุมมาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้ตอบปัญหาธรรมเป็นที่น่าอัศจรรย์สร้างความพออกพอใจให้ทุกคนโดยทั่วหน้ากัน บางคนแก่เปรียญเป็นจอมปราชญ์เจ้าตำราถือทิฏฐิมานะหวังจะตั้งปัญหาให้พระอาจารย์มั่นจนมุม ด้วยเห็นว่าพระอาจารย์มั่นเป็นพระป่าพระบ้านนอกไม่รู้ภูมิรู้เหมือนตน แต่ก็ถูกพระอาจารย์มั่นตอกเอาจนหน้าม้านไปเหงื่อไหลซิกๆ เพราะนอกจากจะสามารถโต้ตอบปัญญาธรรมได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว อาจหาญ ในธรรมจนแทบฟังไม่ทันแล้ว ท่านยังใช้เจโตปริยญาณพูดดักใจสามารถล่วงรู้ได้หมดว่าผู้ถามปัญหากำลังคิดอะไรอยู่และในอดีตเคยคิดอะไรบ้าง เคยทำอะไรมาบ้างในด้านปฏิบัติธรรม พอเจอคนจริงเข้าแบบนี้ คนถามปัญหาก็หมดสิ้นทิฏฐิมานะนั่งตัวสั่นขอขมาโทษท่านด้วยความละอาย และเกรงกลัวบารมีธรรมของท่านแทบว่าจะเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่านเสียให้ได้


ว่ากันเรื่องศีล
ปัญหาหนึ่งที่มีผู้ถามท่านเป็นปัญหาแปลกมีใจความว่า “ได้ทราบว่าท่านพระอาจารย์มั่นรักษาศีลข้อเดียว มิได้รักษาถึง 227 ข้อเหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหมขอรับ”
“ใช่....อาตมารักษาศีลเพียงอันเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบ
“ที่ท่านรักษาศีลเพียงอันเดียวคืออะไร ส่วนอีก 227 อันนั้นท่านพระอาจารย์ไม่ได้รักษาหรือ” ผู้ตั้งปัญหาเรียนถาม
 
ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาตอบว่า “อาตมารักษาใจไม่ให้คิด พูด ทำ ในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็นศีล 227 หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาเป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่าตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล 227 หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมานับแต่เริ่มอุปสมบท”
 
“การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือขอรับ” ผู้ถามซัก
“ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจ อาตมามิใช่คนตายจึงต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา” พระอาจารย์มั่นตอบ
 
“กระผมได้ยินในตำราไว้ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อย เรียกว่าศีล จึงเข้าใจว่า การรักษาศีลไม่จำต้องรักษาใจก็ได้ กระผมจึงได้เรียนถามไปอย่างนั้น” ผู้ถามว่า
“ที่ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยนั้นก็ถูก....” พระอาจารย์มั่นตอบ
 
“.....แต่ก่อนกายวาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้น ต้นเหตุเป็นมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกายวาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก เมื่อเป็นมาจากใจ ใจจะควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะเป็นผู้ควบคุมกายวาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตนเอง และน่าเคารพเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้ ไม่เพียงแต่ศีลธรรมที่จำต้องอาศัยใจเป็นผู้คอยควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่นๆ ก็จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่โดยดี การงานนั้นๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาด และทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน การรักษาโรค เขายังค้นหาสมุฏฐานของมันว่าจะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้ การรักษาศีลธรรมถ้าไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็น ผลก็คือความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาด ศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอธรรมบ้า ธรรมแตก ซึ่งล้วนเป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา ไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวอยู่ตามป่าตามเขา เรียนธรรมก็เรียนกับธรรมชาติต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำลำธาร หินผาหน้าถ้ำ เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ตามทัศนียภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้ตามความเป็นจริงของมันดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงเสมอเถิด ความจริงของธรรมชาติ สิ่งทั้งปวงก็คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เมื่ออาตมารู้แจ้งแทงตลอดความจริงสามประการนี้แล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นแทนความเขลาได้ประจักษ์แจ้งว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อาตมาไม่ค่อยจะได้เรียนในคัมภีร์ใบลานพอจะมีความรู้แตกฌานทางศีลธรรม การตอบปัญหาของคุณโยมในวันนี้อาตมาจึงตอบไปตามนิสัยของอาตมาที่ได้ศึกษาธรรมเถื่อนๆ มาจากในป่าในดง อาตมารู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรมที่ไพเราะเหมาะสมมาอธิบายให้คุณโยมฟังอย่างภูมิใจได้”


watpanonvivek.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
หมีงงในพงหญ้า 8 8312 กระทู้ล่าสุด 04 มิถุนายน 2553 10:16:39
โดย เงาฝัน
หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม พระกัมมัฏฐานรุ่นแรก สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1423 กระทู้ล่าสุด 27 กรกฎาคม 2558 06:51:25
โดย ใบบุญ
ตามรอยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากสถานที่จริงเป็น หาดูได้ยากมาก
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1327 กระทู้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2559 09:52:50
โดย มดเอ๊ก
อาจารย์มั่น ภูริทัตโต นิมิตพระอรหันต์นิพาน
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 0 1142 กระทู้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2559 09:55:35
โดย มดเอ๊ก
ต้นเค้าพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 643 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2563 14:34:00
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.739 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 28 ตุลาคม 2567 07:43:18