[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 21:25:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระนเรศวรฯ สวรรคตที่ไหน? คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ  (อ่าน 1984 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 มีนาคม 2558 06:41:23 »

.


ทุ่งดอนแก้วซึ่งได้รับการเสนอว่าเป็นสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“ครั้นจุลศักราช ๙๗๔ 
พระเจ้าอยุทธยาพระนเรศทรงเสด็จยกกองทัพ ๒๐ ทัพ 
ยกมาทางเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ  ครั้นเสด็จมาถึงเมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่ 
ก็ทรงประชวนโดยเร็วพลันก็สวรรคตในที่นั้น”


มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า

เป็นเวลากว่าทศวรรษที่นักประวัติศาสตร์ตั้งคำถามเรื่องสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากก่อนหน้านั้นทั้งแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ข่าวเกี่ยวกับเจดีย์ลึกลับในเมืองหาง รัฐฉานของประเทศพม่า ที่ชาวไทใหญ่เชื่อว่าเป็นเจดีย์พระนเรศวรฯ นั้น (ซึ่งทหารพม่าทำลายไปช่วงต้นทศวรรษที่ ๒๕๐๐) จะทำให้คนไทยจำนวนมากเข้าใจว่าสถานที่สวรรคตนั้นคือ “เมืองหาง” อย่างแน่นอน

เรื่องนี้เริ่มในปี ๒๕๔๔ เมื่ออาจารย์ชัยยง ไชยศรี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เสนอทฤษฎีประวัติศาสตร์ “พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอยู่ที่เวียงแหง” หรือในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และนำเสนอเส้นทางใหม่ ซึ่งหากใช้เส้นทางปัจจุบันคือการเดินทางไปยังอำเภอเชียงดาวสู่ถนนสายเล็กๆ เลียบลำห้วยแม่ขะจาน ลัดเลาะไปตามหุบเขาลึกเป็นระยะทาง ๙๒.๕ กิโลเมตร ผ่านบริเวณที่เคยเป็นเมืองกื๊ด เมืองก๋าย เมืองคอง ก่อนจะถึงเมืองแหงซึ่งคืออำเภอเวียงแหงในปัจจุบัน และจุดนี้จะไปถึงเมืองนายที่เป็นเส้นทางสู่เมืองอังวะซึ่งในอดีตเป็นเป้าหมายของสมเด็จพระนเรศวรฯ

อาจารย์ชัยยงเสนอว่า หากเชื่อตามความเชื่อเดิมว่า พระนเรศวรฯ ทรงยกทัพผ่านเส้นทางเมืองหาง ระยะทางไปสู่กรุงอังวะจะไกลขึ้นอีก ๗๐ กิโลเมตร (นับจากอำเภอเชียงดาว) ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เพราะต้องสิ้นเปลืองเสบียงเลี้ยงไพร่พลนับแสนเพิ่มขึ้นตามจำนวนวัน ยังไม่นับความผิดปรกติที่พงศาวดารไทยบอกว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ให้สมเด็จพระเอกาทศรถทรงยก “ทัพหน้า” ไปก่อน ๗ วัน โดยตั้งที่เมืองฝาง (ปัจจุบันคืออำเภอฝาง)  ตามแผนที่ถ้าสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงยกทัพไปเมืองหาง จะกลายเป็นว่า “ทัพหลวง” อยู่ด้านหน้าของ “ทัพหน้า”

นอกจากนี้ใน มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า เมือง “แหน” กับ “หัน” (หาง) ก็เขียนด้วยอักษรพม่าต่างกัน และเชื่อว่าน่าจะมีการคลาดเคลื่อนในพงศาวดารไทยอย่างแน่นอน

ต่อเรื่องนี้ลองสำรวจหลักฐานชั้นต้นคือพงศาวดารที่บันทึกใกล้เหตุการณ์ที่สุดอย่าง พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ที่เขียนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น (หลังการสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรฯ ในปี ๒๑๔๘ ราว ๗๕ ปี) รายละเอียดเรียกได้ว่า “คลุมเครือ” เพราะเมื่อจบตรงที่ “ครั้งนั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว” แล้วเนื้อความก็ขาดหาย และถึงตอนนี้ก็ยังไม่พบฉบับที่คาดว่าน่าจะมีต่อเนื่องหลายปีที่ผ่านมาหากใครไปเที่ยวเวียงแหงจะพบสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนเรศวรฯ และมีการอ้างถึงโบราณวัตถุจำนวนหนึ่ง เช่น บ่อน้ำที่ช้างทรงลงดื่มน้ำ พระมาลาโบราณซึ่งค้นพบในพื้นที่และเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุเวียงแหง ฯลฯ

ความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ได้รับการหยิบยกมาถกโดยภาครัฐครั้งล่าสุด คือระหว่างวันที่ ๒๙-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ โดยสำนักศิลปากรที่ ๘ จังหวัดเชียงใหม่ จัดเสวนา “สำรวจเส้นทางเดินทัพและสถานที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ที่กรีนเลค รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อ “ศึกษาและพิสูจน์ความคลุมเครือในประวัติศาสตร์ตามพงศาวดารที่ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้” มีวิทยากรคือ สด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา (ในฐานะอดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้สร้างภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมฟันธงว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ประชวรด้วยมาลาเรียหรือไข้ป่า จุดสวรรคตอยู่บนเนินสูงติดทุ่งกว้างซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระธาตุแสนไห

ขณะที่สดระบุว่า กรมศิลปากรต้องหาหลักฐานยืนยันต่อไป ส่วนตัวเขาเริ่มเอนเอียงไปทางทฤษฎีสวรรคตที่เวียงแหงมากขึ้นและเชื่อว่าควรหา “ทุ่งดอนแก้ว” ให้พบ ซึ่งวงเสวนามีทีท่าเห็นด้วย เพราะถ้ายึดชื่อเมืองนั้นพงศาวดารหลายฉบับระบุต่างกัน แต่ถ้ายึดชื่อ “ทุ่ง” น่าจะเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น และกรมศิลปากรก็มีโครงการสำรวจและขุดค้นโบราณสถานตามแนวเส้นทางนี้เช่นที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว และบริเวณวัดพระธาตุแสนไห วัดโบราณติดกับทุ่งกว้างที่น่าจะเป็นทุ่งดอนแก้ว โดยอยู่ระหว่างเสนอของบประมาณในการทำงาน

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ถูกค้านจาก สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเวียงแหง  เขามองว่ากรณี “ทัพหน้า” เดินช้ากว่าทัพหลวงในประวัติศาสตร์เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น สงครามระหว่างสยามกับเชียงตุงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ทัพหน้าของเจ้าพระยายมราชไปถึงช้ากว่าทัพหลวงของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท “โดยหน้าที่ทัพหน้าควรถึงก่อนทัพหลวง แต่ในทางปฏิบัติไปถึงช้าก็มีบ่อยครั้ง”

กรณี “แหน” กับ “หัน” นั้น ตาม มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า แปลโดย “นายต่อ” ซึ่ง ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่าเคยวิจารณ์เรื่องความคลาดเคลื่อนว่ามีมาก  สมฤทธิ์ยกตัวอย่างว่า “กรณี ‘เมืองนาย’ มีเขียนถึงด้วยคำที่ต่างกันห้าจุด”  เขาสันนิษฐานว่า ผู้แปลไม่น่าจะเขียนภาษาไทยได้ ต้องมีอาลักษณ์จดตามที่ “นายต่อ” แปลเป็นคำพูด เรื่องคำจึงมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง  ขณะเส้นทางเดินทัพเลียบลำห้วยแม่ขะจานนั้น กองทัพที่มีกำลังนับแสนไม่น่าจะใช้เส้นทางเล็กเช่นนี้  เขาจึงมองว่าก่อนจะเสนอสถานที่สวรรคตใหม่ “ต้องตรวจสอบหลักฐาน ไม่ใช่พยายามลากมาเวียงแหง  ส่วนสถานที่สำคัญในพื้นที่ เช่น บ่อน้ำช้างสำหรับกองทัพก็ขัดความจริงที่ว่าไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงลำห้วย ให้ช้างกินน้ำที่นั่นน่าจะสมจริงกว่า”

ถึงตอนนี้ข้อเสนอใหม่เรื่องสถานที่สวรรคตยังรอการพิสูจน์ และไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เราก็ได้แต่หวังว่านักประวัติศาสตร์จะใช้ “หลักวิชา” ค้นหา “ความจริง” สร้าง “ปัญญา” ให้สังคมไทยมากกว่าสร้างความ “งมงาย”



  จาก นิตยสารสารคดี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระนเรศวรฯ สวรรคตที่ไหน ? คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
สยาม ในอดีต
หมีงงในพงหญ้า 0 1715 กระทู้ล่าสุด 26 เมษายน 2558 12:27:03
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.252 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 10:37:40