[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 พฤศจิกายน 2567 07:57:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน  (อ่าน 40418 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2553 17:03:48 »





กุญแจเซน
โดย  ท่าน ติช นัท ฮัน
ภาค ๑ การกำหนดรู้ในสภาพปัจจุบัน
หนังสือเล่มน้อย



ข้าพเจ้าได้เริ่มเข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดเซน เมื่อข้าพเจ้าอายุได้ ๑๗ ปี
หลังจากใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ ในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
ในวัดแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ไปกราบคารวะต่อพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแล
เพื่อขอให้ท่านช่วยสอน " วิถีแห่งเซน " แก่ข้าพเจ้า
แต่ท่านกลับยื่นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ตีพิมพ์ด้วยตัวอักขระภาษาจีนให้
พร้อมกับทั้งกำชับให้ศึกษาหนังสือนั้นจนกว่าจะขึ้นใจ

หลังจากได้กล่าวคำขอบคุณต่อท่านแล้ว ข้าพเจ้าถือหนังสือเล่มนั้น
กลับมายังกุฏิ หนังสือนั้นเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไป
ในหมู่พระนิกายเซน หนังสือนี้แบ่งออกเป็นสามตอน คือ

ตอน ๑ ว่าด้วยการนำสารัตถะแห่งพระวินัยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอน ๒ ว่าด้วยพระวินัยข้อที่สำคัญ ๆ สำหรับผู้บวชใหม่
ตอน ๓ ว่าด้วยเทศนาของท่านกวยซัน อาจารย์


ไม่มีปรัชญาเซนอยู่ในหนังสือเล่มนี้เลย ทั้งสามตอนมุ่งจำเพาะแต่
การปฏิบัติการโดยตรง
ภาคแรก สอนวิธีในการควบคุมจิตและการตั้งดวงจิตให้แน่วแน่
ภาคสอง กำหนดหลักวัตรปฏิบัติและพระวินัยของพระภิกษุสามเณร
ภาคสาม เป็นร้อยแก้วอันมีคุณค่าและไม่อาจปล่อยให้สูญเปล่าไปอย่างไร้ประโยชน์



ข้าพเจ้าได้รับการยืนยันว่าหนังสือเล่มนี้ ( ซึ่งเรียก  ล้วตเถียว  ในภาษา
เวียดนาม อันมีความหมายว่า " คู่มือแห่งวัตรปฏิบัติเล่มน้อย " )
มิได้มีไว้เป็นคู่มือสำหรับพระเณรใหม่ ๆ ที่มีอายุขนาดข้าพเจ้าเท่านั้นเพราะแม้แต่
พระซึ่งมีอายุ ๓๐ หรือ ๔๐ แล้ว
ก็ยังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งคณะโดยนัยนี้เช่นกัน

ข้าพเจ้าได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมาบ้างแล้ว ก่อนที่จะเข้ามาในวัดแห่งนี้
และข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจ
ที่วิธีในการสั่งสอนลัทธิในวัดเป็นวิธีแบบดั้งเดิมสมัยก่อนทั้งสิ้น

ประการแรกเราจะต้องอ่านจนจำข้อความทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ให้ได้ ต่อไป
จึงนำสิ่งที่อ่านมาปฏิบัติ โดยจะไม่ได้รับการสอนในเรื่องปรัชญาพื้นฐาน
เกี่ยวกับเรื่องเซนเลย ข้าพเจ้าได้นำความสังสัยนี้ไปปรึกษากับพระฝึกหัด *
อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้อยู่ที่นี่มาสองปีแล้ว ท่านได้บอกว่า
" นี่แหละคือมรรค ประตูแห่งมรรคเริ่มเปิดออกที่จุดนี้ ถ้าเธอปรารถนา
จะศึกษาเซนแล้วละก็ เธอจะต้องยอมรับมรรควิธีนี้ "

ซึ่งข้าพเจ้าได้ฟังแล้วก็ต้องยอมจำนนต่อคำตอบนั้น


* พระฝึกหัด พระที่บวชในนิกายเซน จะต้องศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นพระฝึกหัด
อยู่ระยะหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้พิสูจน์ตนให้เห็นแล้วว่า
เป็นผู้ฝักใฝ่ธรรม จึงจะได้รับเลื่อนขึ้นเป็นพระเซนเต็มขั้น




 ยิ้ม :http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5189

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 13:52:27 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 มีนาคม 2553 17:26:44 »

http://img340.imageshack.us/img340/4633/59c19e1cb3ba8544724bd8a.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มีนาคม 2553 18:47:06 »






 เหงื่อตก  ฮึ๊บๆๆๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มีนาคม 2553 05:30:59 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 มีนาคม 2553 04:51:23 »



http://i269.photobucket.com/albums/jj73/yyswim/blog049/37.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


" การนำสารัตถะแห่งพระวินัยมาประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวัน "
 
อันเป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น

กล่าวถึงกฏเกณฑ์อันมุ่งที่จะก่อให้เกิดสัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบันสภาพ
ทุก ๆ อากัปกิริยาของพระฝึกหัดจะต้องเกิดขึ้นไปกับความคิด

อันประกอบขึ้นร่วมเฉพาะในอากัปกิริยานั้น ๆ เช่นว่าเมื่อข้าพเจ้าล้างมือ
ข้าพเจ้าก็จะต้องกระตุ้นให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า

" ด้วยมือที่กำลังล้างอยู่นี้ ข้าพเจ้าหวังว่าคนทั้งโลกจะมีมือที่สะอาดบริสุทธิ์
อันสามารถจับถือสัจภาวะแห่งพระนิพพานได้ "

เมื่อข้าพเจ้านั่งอยู่ในห้องโถงสำหรับฝึกสมาธิ ข้าพเจ้าจะคิดว่า
" ด้วยอิริยาบทแห่งกายอันตั้งตรงขึ้นนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย

จะสามารถดำรงตนอยู่บนบัลลังก์แห่งตรัสรู้ ดวงจิตของเหล่าสัตว์
ได้ขจัดเสียแล้วซึ่งมายา
และบาปโทษทั้งปวง "
แม้เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในห้องน้ำ

ข้าพเจ้าก็จะพูดกับตนเองว่า " ขณะกำลังอยู่ในห้องน้ำนี้ ข้าพเจ้าหวังว่า
สรรพสัตว์ทั้งหลายจะสามารถขจัดเสีย
ซึ่งความโลภ ความโกรธ ความหลง และสรรพกิเลสทั้งปวง "



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:15:34 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 มีนาคม 2553 05:13:29 »





" การนำสารัตถะแห่งพระวินัยมาประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวัน "
บรรยายถึง ความคิด

ในทำนองเดียวกันนี้ด้วยตัวอย่างอันมีจำกัด ซึ่งผู้มีเชาวน์ย่อมสร้าง "ความคิด"
ขึ้นในการกระทำชนิดอื่นที่ไม่ได้มีอยู่ในหนังสือ อันเกิดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ กัน
ส่วนที่มีเขียนไว้ในคู่มือเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น

ซึ่งผู้ฝึกหัดสามารถดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อนำเอาไปใช้ให้เหมาะ
กับความต้องการได้
ให้เหมาะกับเงื่อนไขทางจิตและทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล

ยกตัวอย่างว่าข้าพเจ้ากำลังจะใช้เครื่องโทรศัพท์และกำลังจะปลุกสำนึกแห่งจิต
เพื่อให้เกิดความคิดอันช่วยควบคุมข้าพเจ้า
ไว้ในภาวะแห่งการกำหนดรู้ ความคิดซึ่งเกิดขึ้นเมื่อจะใช้โทรศัพท์นี้

ย่อมไม่มีอยู่ในคู่มือเล่มเล็ก ด้วยในสมัยที่เขียนหนังสือคู่มือนี้ยังหามี
เครื่องใช้สื่อสารชนิดนี้ไม่ ข้าพเจ้าจึงต้องสร้างความคิดขึ้นดังต่อไปนี้
" ด้วยการใช้โทรศัพท์นี้ จะหลุดพ้นจากอคติและวิจิกิจฉา ( ความลังเลสงสัย )
เพื่อที่จะมาติดต่อสัมพันธ์กันด้วยดี "


เมื่อข้าพเจ้ามีอายุ ๑๗ ปี ข้าพเจ้าคิดว่าคู่มือเล่มเล็กนี้มีขึ้นสำหรับเด็ก ๆ
และบุคคลผู้เริ่มแสวงหา และยังอยู่ห่างไกลจากเซน
ข้าพเจ้าไม่ได้ศรัทธาและเห็นความสำคัญของวิธีการเหล่านี้มากไปกว่าที่เห็นว่า
เป็นการเตรียมตัวเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ ๒๙ ปีให้หลัง ข้าพเจ้าจึงได้รู้ว่า
คู่มือเล่มเล็กนั้น
คือแก่นอันสำคัญยิ่งของเซนเป็นสาระสำคัญยิ่งแห่งพระพุทธศาสนา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:13:12 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 14 มีนาคม 2553 05:28:10 »





สติเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงการสนทนาสั้น ๆ ระหว่างพระพุทธเจ้ากับนักปราชญ์ผู้หนึ่ง
ในสมัยพุทธกาล
" ดังที่ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พุทธศาสนาเป็นหลักลัทธิอันนำไปสู่การตรัสรู้
ดังนี้ ในการไปสุ่จุดหมายนั้นจะดำเนินไปตามมรรคคือหนทางใด กล่าวคือ
ทุก ๆ วี่วัน พระองค์ทรงประกอบกิจใดเล่าอันอาจอนุโลมให้เป็นไปตามมรรคนั้น "



" เราย่อมเดินบ้าง ฉันอาหารบ้าง สรงน้ำบ้าง นั่งลงบ้าง ... "
" มีอะไรพิเศษแฝงอยู่ในอริยาบทเหล่านั้นด้วยเล่า ในเมื่อทุกคนต่างก็เดินบ้าง
กินบ้าง ชำระล้างร่างกายบ้าง นั่งลงบ้าง ประพฤติอยู่โดยสามัญแล้ว "

" ดูกร ท่านผู้เจริญ สิ่งนั้นย่อมมีความแตกต่างอยู่ ด้วยยามเราเดิน เราย่อม
มีสติอยู่โดยสัจภาวะว่า
เราเดินอยู่ เมื่อยามเราฉันอาหาร เราย่อมมีสติ
รู้โดยสัจภาวะว่าเราฉันอาหารอยู่ เป็นไปดังนี้ ก็แหละ
ยามเมื่อบุคคลอื่น เดิน กิน ชำระกาย นั่งลง
บุคคลเหล่านั้นหาได้มีสติสำนึกรู้ว่าตนกำลังทำอะไรอยู่ไม่ "

การสนทนาในครั้งกระนั้น ย่อมแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงเรื่อง สัมมาสติ
ซึ่งในทาง พุทธศาสนา ถือว่าเป็น สิ่งเร้นลับมหัศจรรย์
อันจะเป็น เครื่องส่องแสงสว่าง ในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นการ
สร้างพลังแห่งการตั้งดวงจิตไว้มั่น และประการสุดท้ายเป็นการนำให้เกิด
ปัญญาญาณ อันจะยังให้บรรลุมรรคผลในบั้นปลายอีกด้วย ดังนั้น สัมมาสติ
จึงอาจนับได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในพระพุทธศาสนานั่นเทียว


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:19:20 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 08 เมษายน 2553 08:28:48 »

 หัวเราะลั่น พิมพ์ไว้เมื่อ เกือบ 2 ปีที่แล้ว ล่ะ
แต่ยังไม่เสร็จ บทท้าย ๆ นะ

ตั้งใจว่า จะทำให้เสร็จ ขอบคุณที่นำมาลงนะครับ
จะได้เตือนความจำ โพสไว้ 2 เว็บ ล่มไป 2เว็บเลย

นึกว่าหายโม๊ดดดดดด ที่แท้มีคนเอาไปโพสไว้ที่เว็บ เพื่อนสนิทนี่เอง

เจริญธรรม
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 09 เมษายน 2553 12:48:53 »



http://i412.photobucket.com/albums/pp209/JSeventh/sunset_perfsky.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


เป็นการจุดไฟให้แก่ความเป็นอยู่กระนั้นหรือ แน่นอน นี่แหละคือจุดเริ่มต้น
แห่งการเดินทาง หากข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่โดยปราศจากสติ
อันเป็นเครื่องกำหนดรู้
ในความเป็นไปแห่งชีวิต
ก็เท่ากับว่า
ตนเองมิได้มีชีวิตอยู่
 หากเป็นดังนี้ ข้าพเจ้าก็ควรจะพูดเหมือนดังที่อัลแบร์ กามู ได้เขียนไว้
ในนวนิยายเรื่อง "คนนอก" ของเขาว่า "ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ประดุจกับคนที่ตายไปแล้ว"

และดังคำพังเพยโบราณที่ว่า " ใครมีชีวิตอยู่อย่างหลง ๆ ลืม ๆ ผู้นั้นแหละ
ได้ตายไปแล้วในความหลับ
" คิดดูสิว่า
มีคนจำนวนมากมายเพียงใดรอบ ๆ ตัวเราที่ " มีชีวิตอยู่ดังคนที่ตายไปแล้ว "
ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรจะทำก็คือการหวนกลับมามีชีวิต ตื่นขึ้นจากความหลับ
รับรู้อยู่ว่าเป็นอะไร ทำอะไร คนที่กำลังกินอาหารอยู่นั่นน่ะใคร ผู้ที่กำลังดื่มน้ำอยู่
นั่นน่ะใคร และที่กำลังนั่งสมาธิอยู่นั้นล่ะ...
และใครเสียอีกล่ะที่ใช้ชีวิตให้หมดสูญไป
ในความหลง ๆ ลืม ๆ และความละเลย


http://i298.photobucket.com/albums/mm258/skploy/01132_29jpgrr.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


เป็นการสร้างพลังแห่งการดำรงจิตมั่นกระนั้นหรือ แน่ะล่ะด้วยอาศัยสัมมาสติ
เป็นหลักการที่จะช่วยให้มนุษย์บรรลุถึงการรู้แจ้งในตน ด้วยมนุษย์เป็นนักโทษ
ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ถูกบังคับบัญชาด้วยเหตุการณ์ในสังคมให้ฟุ้งซ่าน
ให้ขาดสติ
โดยไม่อาจกลับสู่สถานะอันเต็มเปี่ยมได้อีก

ในกรณีเช่นนี้ การกำหนดรู้ว่าตนทำอะไร พูดอะไรคิดอะไร คือการเริ่มต้นขัดขืน
ต่อการรุกรานจากสภาพแวดล้อม และเริ่มแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งความหลงลืมก่อให้เกิดขึ้น
เมื่อจุดดวงไฟแห่งสติขึ้น ก็เท่ากับเป็นการจุด ความมีศีลธรรมขึ้นด้วย


ความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดก็ย่อมกระจ่างชัด ย่อมเกิดความเคารพต่อผู้อื่นขึ้นมาด้วย
เงาแห่งมายาซึ่งคุกคามมนุษย์อยู่ก็ถูกขจัดออกไป จากสิ่งเหล่านี้เอง ที่พลังจิตวิญญาณ
จะเข้มข้นยิ่งขึ้นและสูงส่งขึ้นไปทุกที ๆ เดี๋ยวนี้ท่านมีสติอยู่ในความ
เป็นไปทุกอิริยาบถ มีสติอยู่ในคำพูดทุกคำพูด และมีสติอยู่ในความคิดทุกความคิด



หลักแห่งการกำหนดรู้นี้ มิได้คิดค้นขึ้นสำหรับพระฝึกหัดเท่านั้น แต่หลักการนี้
มีขึ้นเพื่อทุก ๆ คนรวมทั้งผู้สำเร็จธรรมขั้นอรหันต์แล้วด้วย
หรือแม้แต่พระพุทธองค์ก็ตาม พระองค์ทรงดำรงมั่นอยู่ในสัมมาสติตลอดเวลา
และด้วยพลังแห่งสมาธิจิตและพลังแห่งจิตวิญญาณนี้หรือมิใช่ ที่เป็นลักษณะ
ของอริยบุคคลผู้เป็นที่ยิ่งในมวลหมู่มนุษย์


ที่ว่านี้เป็นการทำให้ปัญญาญาณแผ่ขยายงอกงามนั้น หมายความว่าอย่างไร
ด้วยจุดมุ่งหมายอันสูงสุดของเซน ก็คือการเข้าถึงทัศนะแห่งสัจภาวะ หรือสัมมาทิฏฐิ อัน
อาจตรึงไว้ได้ด้วยพลังอำนาจแห่งสมาธิจิตและปัญญาญาณ นั่นคือการตรัสรู้
หรือการหยั่งรู้ถึงอริยสัจ อันเป็นการรู้แจ้งเห็นจริง
ซึ่งสภาวะธรรมทั้งหลาย
นี่แหละคือจุดมุ่งหมายที่ผู้ฝึกเซนทุกคนปรารถนาจะบรรลุถึง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:26:28 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 09 เมษายน 2553 13:18:02 »





ต้องประกอบไปด้วยสติ

ขั้นตอนในการจุดแสงสว่างให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ ในการสร้างพลัง
แห่งการตั้งดวงจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ในการทำให้ปัญญาญาณแผ่ขยายงอกงามนั้น ขั้นตอนเหล่านี้ในทางพุทธศาสนา
เรียกว่า " ไตรสิกขา " อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
คำว่าศีลอันได้แก่ข้อบัญญัติอันพึงปฏิบัตินั้นย่อมเป็นเครื่องอุดหนุนสัมมาสติ
ศีลมิได้หมายถึงข้อบัญญัติที่ห้ามการกระทำอันเป็นอกุศลด้วยการยึดมั่น
อยู่กับข้อบัญญัติ โดยมิได้รู้ความหมายของข้อบัญญัตินี้ เท่ากับการถือเอา
มรรคเป็นผล
นับเป็นความหลงผิด ซึ่งทางพุทธศาสนา
เรียกว่า " การยึดมั่นถือมั่นในข้อบัญญัติ " ซึ่งเป็นข้ออุปสรรคอย่างใหญ่อันเป็น
เครื่องกีดขวางต่อวิชชาคือความรู้ที่แท้


การเป็นผู้อยู่ในทำนองคลองธรรม เป็นผู้มีกุศลเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้
บุคคลเกิดปัญญาอันแท้จริงได้
หากจำต้องอาศัยสติในการดำรงกายและจิตไว้อย่างแน่วแน่ด้วย นี่จึงเป็นเหตุผล
ที่อธิบายว่า เหตุใดการกำหนดดวงจิตให้มีสติรับรู้ในสภาพความเป็นอยู่นี้
จึงถือได้
ว่าเป็น " สารัตถะ ( แก่น ) แห่งข้อวัตรปฏิบัติ "



เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำงานนห้องทดลอง เขาจะไม่ยอมสูบบุหรี่ ไม่กินขนม
ไม่ฟังวิทยุ เขายอมงดสิ่งเหล่านี้ มิใช่เพราะคิดว่ามันเป็น
ของเลวหรือเป็นบาปกรรม แต่เป็นเพราะเขารู้ว่านี่เป็นเครื่องทำจิตใจให้วอกแวก
ออกไปจากสิ่งที่กำลังค้นคว้าอยู่ นี้ก็เช่นเดียวกับ บทบัญญัติแห่งเซน
โดยที่บทบัญญัตินี้มิได้มีจุดมุ่งอยู่ที่การเป็นผู้มีศีลธรรม แต่ผู้ที่ตรวจตราดูแล
บทบัญญัติแห่งเซนจะต้องช่วยผู้ฝึกหัดให้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความมีสติเป็นประการสำคัญ

ปัญญาญาณแห่งเซนมิอาจเกิดขึ้นด้วยสติปัญญาอย่างสามัญ ไม่อาจเกิดขึ้น
จากการศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรม จากการวิเคราะห์ทฤษฎี
แต่ผู้ฝึกเซน จะต้องใช้ภาวะแห่งอัตถิภาวะ ( ภาวะสิ่งต่าง ๆ มีอยู่ ดำรงอยู่ ) ของตน

ทั้งหมดเป็นเครื่องมืออันจักนำมาซึ่งความรู้แจ้ง สติปัญญาเองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
ของภาวะแห่งการดำรงอยู่ในปัจจุบัน
ของคนเท่านั้น
และบ่อยครั้งที่สติปัญญาดึงมนุษย์ให้ห่างเหินออกไปจากชีวิตที่เป็นจริง

ซึ่งเป็นจุดหมายอันยิ่งของเซน
ด้วยเหตุนี้แหละที่ในหนังสือคู่มือเล่มเล็ก มิได้ถือเอา
การศึกษาทางด้านทฤษฎี เป็นวัตถุประสงค์
แต่มุ่งไปที่การชี้นำให้ผู้ฝึก
ดำเนินตามวิธีแห่งเซนโดยตรงเลยทีเดียว



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:08:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 09 เมษายน 2553 14:29:12 »



ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


http://img229.imageshack.us/img229/5831/71f19e8d4a16828dc23400ara0.gif
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


http://img220.imageshack.us/img220/6251/327a309d922ecaa62c897d2hr7.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2553 15:47:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 09 เมษายน 2553 14:42:10 »




ภายในวัดเซนนั้น สมณะผู้ปฏิบัติธรรมจะประกอบการงานทุกชนิด ท่านจะไปตักน้ำ
ผ่าฟืน หุงต้มอาหาร เพาะปลูกพืชผัก

ถึงแม้พระทุกรูปจะได้เรียนการนั่งสมาธิแบบเซน และปฏิบัติสมาธิในท่านั่งนั้นแล้ว แต่ทุกท่าน
จะต้องพยายามมีสติในกิจที่ตนทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าขณะกำลังตักน้ำ ปรุงอาหาร

หรือปลูกผัก แต่ละคนย่อมรู้ว่าการตักน้ำมิได้เป็นเพียงการงานอันมีประโยชน์เท่านั้น แต่ยังเป็นการ
ปฏิบัติเฝึกฝนซนอีกด้วย และหากบุคคลใด
ไม่รู้จักฝึกฝนเซนขณะที่กำลังตักน้ำอยู่ ก็นับว่าการมาอาศัยอยู่ในวัดเป็นการเปล่าประโยชน์สิ้นเชิง

ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า หนังสือคู่มือเล่มเล็กนั้นช่วยชี้แนะให้ผู้ปฏิบัติธรรม ได้เข้าไปในโลก
ของเซนโดยตรง แม้ว่าการงาน
ที่ผู้ฝึกหัดทำนั้น ดูเผิน ๆ แล้วคล้ายกับการงานที่คนผู้ไม่รู้จักมรรควิถีโดยทั่ว ๆ ไปเขาทำกัน

อาจารย์เซนมักจะเฝ้าสังเกตศิษย์ของตนอย่างเงียบ ๆ ในขณะที่ศิษย์พยายามจะจุดไฟแห่งชีวิตขึ้น
ในความดำรงอยู่แห่งตน ศิษย์เองอาจจะคิดไปว่าอาจารย์ขาดความเอาใจใส่ในตน

แต่ความจริงแล้ว การกระทำของศิษย์ทั้งหมดต่างไม่อาจรอดพ้นจากสายตาของอาจารย์ไปได้
อาจารย์ย่อมจะรู้ว่าศิษย์ของตนเป็น " ผู้ตื่นขึ้น " แล้วหรือยัง



ในอารามนั้น แต่ละคนจะต้องมีสติในสิ่งที่ตนกำลังกระทำอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่นหากมีศิษย์
ปิดประตูห้องด้วยเสียงอันดัง นี่เป็นการพิสูจน์ว่าเขาขาดสติรู้ในกิจที่กำลังทำอยู่

คุณความดีนั้นมิได้อยู่ที่การบรรจงปิดประตูอย่างปราศจากเสียง แต่อยู่ที่การรับรู้ความจริงที่ว่า
ตนกำลังอยู่ในกิจแห่งการปิดประตูนั่นต่างหาก
ในกรณีเช่นนี้ อาจารย์ก็อบรมและตักเตือนให้ศิษย์รู้จักปิดประตูอย่างนุ่มนวลขึ้น ซึ่งเป็นข้อจำเป็น

สำหรับศิษย์ที่จะต้อง " มีสติ " อยู่ตลอดเวลา ที่อาจารย์ต้องทำดังนี้มิใช่เพียงเพื่อให้เคารพต่อ
ความสงบเงียบในวัดเท่านั้น หากแต่เพื่อแสดงให้ศิษย์รู้ตนว่าการกระทำเช่นนั้น

ส่อว่าเขามิได้ดำเนินตามหนทางแห่งเซน เป็นเครื่องอธิบายถึงการขาด
" กรณียะอันประเสริฐ " และขาดสุขุมจริยา ( วิญญัติ ) " กิริยาอันละเอียดอ่อนนุ่มนวล "

กล่าวกันว่าในพุทธศาสนามี " สุขุมจริยา " ถึงเก้าหมื่นแบบซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องฝึกฝน
กิริยาอาการต่าง ๆ เหล่านี้คือการแสดงออก
ด้วยอาการแห่งความมีสตินั่นเอง ทุกสิ่งที่บุคคลได้พูด ได้คิด ได้กระทำไปในขณะที่มีดวงจิต
อันประกอบด้วยสติ อาจเรียกได้ว่าบุคคลเหล่านั้นได้ " ลิ้มรสแห่งเซน " แล้ว


หากผู้ฝึกหัดรู้สึกว่าตนได้ขาดการ " ลิ้มรสแห่งเซน " ในขณะที่ตนกำลังพูดกำลังทำการงานแล้วละก็
ผู้ฝึกหัดควรจะตระหนักไว้ด้วยว่า ตนได้ใช้ชีวิตให้ผ่านไปโดยขาดสติเสียแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2553 15:45:42 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 09 เมษายน 2553 15:39:02 »



           

ภาค ๒ น้ำชาถ้วยหนึ่ง
จงมองลึกลงไปในธรรมชาติของตน

วัดที่ข้าพเจ้าพำนักอยู่ก็ดุจเดียวกับวัดเซนแบบดั้งเดิมทั้งหลาย
กล่าวคือมีภาพเขียนอันงดงามของท่านโพธิธรรม
เป็นภาพวาดด้วยหมึกฝีมือพู่กันจีน แสดงให้เห็นถึงพระภิกษุชาวอินเดียผู้มีพักตร์อันสุขุม

และมีแววแห่งความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง ม่านตา ดวงตาและคางของท่าน
ล้วนแสดงให้เห็นสถานะแห่งดวงจิตอันมิรู้จัก
โยกคลอนเล่ากันว่า ท่านโพธิธรรมมีชีวิตอยู่ในสมัยพุทธสตวรรษที่ ๑๑

ลงความเห็นว่า ท่านเป็นมหาสังฆปรินายกองค์แรกแห่งพุทธศาสนานิกายเซน
ในประเทศจีน ถึงแม้ว่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติของท่าน
จะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แน่นอน แต่บุคลิกลักษณะและจิตใจ
ของท่านตามที่ได้ยินได้ฟังถ่ายทอดลงมาแต่โบราณ ได้ทำให้ท่านกลายเป็น
บุคคลในอุดมคติของผู้ที่ปรารถนาจะเข้าให้ถึงการตรัสรู้ โดยมรรคแห่งเซน

ภาพนั้นเป็นภาพของพระอริยบุคคลผู้สามารถผู้สามารถควบคุมตนเอง
ได้อย่างสมบูรณ์เป็นผู้พ้นไปสู่ความไม่มีอุปสรรคกีดขวาง
ตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นอริยบุคคล ผู้ซึ่งมีพลังแห่งจิตอันสูงส่ง




ซึ่งช่วยทำให้ดำรงความสงบราบคาบแห่งจิตไว้ได้
ไม่ว่าจะพบกับความสุข ความทุกข์หรือความเป็นอนิจจัง
ของชีวิต สิ่งที่เป็น แก่น สำคัญแห่งบุคลิกของท่านผู้นี้มิได้เกิดจาก
การค้นพบสัจจะอันสูงสุด และมิได้เกิดจากจิตใจอันเข้มแข็งของท่าน
แต่เกิดมาจากทัศนะอันสุดแสนลึกซึ้งแห่งจิตใจของท่านเอง
รวมทั้งการดำเนินชีวิตอยู่ ในความเป็นจริง ด้วย
จากจุดนี้เองที่เกิดคำพูดแบบเซนที่ว่า " จงมองให้ลึกลงในธรรมชาติแห่งตน "

ครั้นเมื่อบุคคลใดได้เข้าถึงสถานะแห่งการตรัสรู้เช่นนี้แล้ว บุคคลนั้น
จะรู้สึกว่ากระบวนการทางความคิด
อันผิดพลาดทั้งหมดที่อยู่ภายในตน ได้หักแหลกละเอียดลงอย่างสิ้นเชิง


ทัศนะและความคิดใหม่ของผู้ซึ่งได้ตรัสรู้นั้น ย่อมเต็มไปด้วยสันติสุขอันล้ำลึก
เป็นความสงบอันมิอาจหยั่งคาดได้ มีดวงจิตอันนิราศจากความกลัวใด ๆ ทั้งสิ้น
" ดังนั้น การมองให้ลึกลงในธรรมชาติแห่งตน "จึงเป็นจุดหมายปลายทางของเซน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:48:16 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 13:54:37 »





วาทะของท่านโพธิธรรม

แต่การมองให้ลึกลงในธรรมชาติแห่งตนมิใช่ผลอันเกิดมาจาก
การศึกษาเล่าเรียนและทำการค้นคว้า ปัญญาญาณ
จะเกิดขึ้นก็แต่โดยการใช้ชีวิตที่ลงลึกถึงแก่นแห่งความเป็นจริงเท่านั้น

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เซนนั้นคัดค้านต่อข้อคิดและข้อเขียนทั้งหมด
ด้วยถ้อยคำนั้น
ไม่อาจจะก่อให้เกิดปัญญาที่แท้จริงได้ ตามที่ท่านโพธิธรรมได้กล่าวไว้ เซนก็คือ

" การถ่ายทอดโดยเฉพาะเจาะจง    อันเป็นไปนอกพระสูตร
มิได้ถือตามถ้อยคำและตัวอักษร    แต่ชี้ตรงจี้ลงสู่ใจของมนุษย์
เพื่อให้เขาอาจแลเห็นธรรมชาติของตน    และบรรลุถึงภาวะแห่งการตรัสรู้ "


เมื่อท่านโพธิธรรมเดินทางมาเมืองจีนในศตวรรษที่ ๑๐ นั้น
พระพุทธศาสนาในเมืองจีน
กำลังย่างเข้าสู่
ยุคแห่งการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก โดยอาศัยพระสูตรต่าง ๆ

และวุ่นวายอยู่ด้วยการตั้งนิกายใหม่ ๆ ขึ้น วงการพุทธศาสนาสนใจอยู่
ด้วยสิ่งเหล่านี้ มากกว่าที่จะหันมาสนใจฝึกหัดการทำสมาธิ
วาทะการพุ่งทะยานไปเบื้องหน้าของท่านโพธิธรรมนั้นมิใช่อะไรอื่น

 

นอกจากเสียงสะเทือนเลือนลั่นจากสายอสนีบาตที่ปลุกคน
ในวงการพุทธศาสนาให้ตื่นขึ้น และช่วยให้กลับมาสนใจฝึกหัดปฏิบัติธรรม
และหันเข้าหาหัวใจของพุทธศาสนานั่นเอง

เพราะเหตุที่ว่าวาทะของท่านโพธิธรรมก้องไปประดุจเสียงของสายฟ้า
จึงดูเหมือนว่าวาทะของท่านออกจะกล่าวเกินเลยไปบ้าง
แต่ขอให้เราพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงลักษณะความสัมพันธ์
ระหว่างเซนกับพุทธศาสนาดั้งเดิมของอินเดีย และเราจะทราบได้ว่า
เซนนั้นมิใช่อะไรอื่น มิใช่นิกาย มิใช่ลัทธิที่เสริมแต่งดัดแปลง
และแตกแยกออกมาจากพระพุทธศาสนา หากคือสาระแห่งพุทธศาสนานั่นเอง

ท่านโพธิธรรมได้กล่าวว่า
" เซนได้รับการถ่ายทอดมาจาก พุทธองค์ โดยมิได้เกี่ยวพัน
กับพระสูตรและพระพุทธดำรัส ซึ่งพวกท่านกำลังศึกษากันอยู่ 
( เซนคือการถ่ายทอดโดยเฉพาะเจาะจง อันเป็นไปนอกพระสูตร ) "




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:56:26 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 14:12:54 »





จากทัศนะแรกนี้จึงดูคล้ายกับว่า เซนจะต้องมีวิธีการสอนอันลึกลับ
มีการถ่ายทอดจากอาจารย์มาสู่ศิษย์ผ่านมาหลายชั่วอายุคน
มีแก่นแท้เนื้อความซึ่งไม่อาจนำมาเขียนถกเถียงหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้
หรือถ้าจะขยายความให้ชัดขึ้น เซนก็คือ
มรดกตกทอดทางจิต ซึ่งไม่มีใครจะเข้าใจได้นอกจากผู้ตรัสรู้เท่านั้น

ไม่มีใครสามารถนำไปสอนโดยใช้สัญลักษณ์เท่าที่มีใช้อยู่ คือ
ภาษาพูดและภาษาเขียน ระบบเหตุผลตรรกะวิทยา
ด้วยเซนนั้นไม่อาจนำไปสั่งสอนกันได้ เพราะเซนสืบผ่านโดยตรง
จากอาจารย์มาสู่ศิษย์ จาก " จิตสู่จิต " เป็นตราประทับที่ใช้ประทับลงบนดวงจิต

เซนมิใช่ตราที่ทำด้วยไม้ทองแดงหรืองาช้าง แต่เป็น " ตราแห่งจิต " คำว่า
" การถ่ายทอด " ที่เอ่ยถึงนั้นหมายถึง
การถ่ายทอดจากตราแห่งจิตนี้เอง เซนนี่แหละคือตราแห่งจิต




สิ่งต่าง ๆ มากมายที่อาจค้นพบได้ในวรรณคดีและในพระสูตรของพระพุทธศาสนานั้น
อาจเรียกได้ว่าเป็นพุทธศาสนา แต่ก็หาใช่พระพุทธศาสนานิกายเซนไม่
ด้วยเซนนั้นไม่ อาจหาพบได้ในพระสูตร เพราะเซนนั้น
" ไม่อาจหาได้ในข้อเขียนใด ๆ เลย และนี่คือคำประกาศจากวาทะ
ของท่านโพธิธรรม ซึ่งอาจารย์เซนส่วนใหญ่ได้แสดงธรรมกถาเล่าสืบต่อกันมา


ตามความเป็นจริงแล้ว หลักการที่ว่า " ไม่ขึ้นอยู่กับข้อเขียน ทำให้เซน
แตกต่างไปจากพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ นั้น หลักการนี้ได้มีมานานแล้ว
โดยเฉพาะเป็นหลักการในพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม รวมทั้งฝ่ายมหายานด้วย

การอภิปรายโต้แย้งการบรรยายถึง สัจภาวะอันสูงสุด ด้วยถ้อยคำนั้น
เป็นหลักการที่ทางพุทธศาสนาปฏิเสธและไม่นิยมให้กระทำ
ดังนั้นวาทะของท่านโพธิธรรมจึงมิได้เป็นสิ่งใหม่ นอกจากเป็นการย้ำ
อย่างหนักแน่นและรุนแรงในหลักการเดิม
ซึ่งให้คุณค่าต่อการปฏิบัติฝึกฝน ทางจิต โดยตรงและละเว้นการไตร่ตรอง
หาเหตุผลตามระบบความคิดแบบต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในโลก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 14:43:53 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: img » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 14:28:56 »





              พุทธศาสนา : ศาสนาแห่งการปฏิบัติ

คำว่า " พุทธศาสนา " มาจากคำกริยาในภาษาสันสกฤตที่ว่า " พุทธะ "
ซึ่งในคัมภีร์พระเวทอธิบายความหมายไว้ว่า " การรู้แจ้ง " " การตื่นแล้ว "
ผู้ซึ่งรู้แจ้ง ผู้ซึ่งตื่นแล้วย่อมเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ในภาษาจีน
ได้แปลคำว่า พระพุทธเจ้า นี้ว่า ผู้ซึ่งตื่นอยู่
ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเป็นศาสตร์แห่งการตื่นขึ้น เป็นศาสตร์แห่งการตรัสรู้

แต่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้แต่เริ่มแรกว่า การรู้แจ้งจะไปถึงได้ก็ต่อเมื่อได้
ปฏิบัติตนตาม " มรรค " มิใช่ด้วยการศึกษาเล่าเรียนหรือการขบคิด
การไถ่ถอนผลกรรมทั้งสิ้นนั้น พระพุทธศาสนาถือว่าเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยปัญญาญาณ
หาใช่ด้วยการรู้จักผิดรู้จักชอบ หรือรู้จักคุณความดีตามธรรมดาที่มีอยู่ไม่

การกำเนิดขึ้นของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียนั้น อาจจะถือได้ว่าเป็นทัศนะอย่างใหม่
ซึ่งสัมพันธ์กับมนุษย์และชีวิต ทัศนะนี้ในเบื้องแรกแผ่ขยายไปในลักษณะของ
ปฏิกริยาต่อต้านแนวความคิดของลัทธิพราหมณ์ ซึ่งครอบงำสังคมอินเดียอยู่ในเวลานั้น

http://i1008.photobucket.com/albums/af205/NamraAravinda/GoldenDove_from_Liza_5-14-04.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


ดังนั้นพุทธศาสนาและระบบสังคม ซึ่งขัดแย้งกับแนวความคิดของพวกพราหมณ์
จึงเป็นธรรมชาติของการปฏิบัติอย่างชัดแจ้ง ก็สังคมอินเดียในครั้งกระนั้น
เป็นอย่างไรเล่า พวกพราหมณ์ในฐานะที่เป็นคุรุ เป็นปราชญ์และเป็นผู้ทรงความรู้
ได้มีอิทธิพลครอบงำสังคมอยู่ทั้งหมด คัมภีร์พระเวทพูดถึงการไถ่บาป
พูดถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และความสูงสุดของพระพรหม ตลอดจนพูดถึงอำนาจ
อันมหัศจรรย์ของการบูชายัญ เหล่านี้คือหลักพื้นฐานสามประการ อันไม่เปิดโอกาส
ให้ใคร ๆ แย้งได้ จากทัศนะความเชื่อทางศาสนาที่ว่า พระพรหม
พระวิษณุ ( นารายณ์ ) และพระศิวะ ( อิศวร ) เป็นจุดหมายปลายทางแห่งศาสนา

และจากทัศนะความเชื่อทางปรัชญาที่ว่า หลักการในคัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทเป็น
หลักการพื้นฐานแห่งความคิดความอ่านในทางปรัชญาทั้งหมด ทั้งหลักสางขยะ โยคะ
อันมีอยู่ในปรัชญาทั้งหกแขนง * * ปรัชญาทั้งหกแขนงเรียกว่า
ษัฑทะ อันประกอบด้วยสางขยะ โยคะ นยายะ ไวเศษิกะ มีมางสา และเวทานตะ


ได้ถือกำเนิดขึ้นและพัฒนามาจากพื้นฐานอันเดียวกันนี้ พุทธศาสนาต่อต้านกับ
อำนาจของคัมภีร์พระเวทและความคิดอื่นที่ถือกำเนิดมาจากคัมภีร์พระเวท
ในด้านความเชื่อถือ พุทธศาสนาปฏิเสธเรื่องพระผู้เป็นเจ้าและการบูชายัญทุกชนิด
ในด้านสังคม พุทธศาสนาเป็นปฏิปักษ์กับระบบวรรณะ

โดยการยอมรับเอาวรรณะจัณฑาลให้เข้าอยู่ในวรรณะเดียวกันกับวรรณะกษัตริย์
( ในกาลเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงพบกับชายในวรรณะจัณฑาลซึ่งกำลังขนอุจจาระอยู่
 พระองค์ได้ทรงนำชายนั้นไปยังริมฝั่งแม่น้ำชำระล้างร่างกายให้ และยอมรับ
เข้าในหมู่สงฆ์สาวก พระองค์ทรงทำไปดังนี้โดยไม่ยอมฟังคำคัดค้านของผู้อื่น )
ในด้านหลักความคิด
พุทธศาสนาปฏิเสธหลักแห่งตัวตน ( อัตตา ) ซึ่งเป็นแก่นอันสำคัญยิ่งแห่งลัทธิพราหมณ์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 15:07:07 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 15:10:34 »

 
         
 
จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงก้าวเดินทวนกระแสธารแห่งความคิดในเวลานั้นอย่างไร
หากจะได้อ่านพรหมชาลสูตรแห่งทีฆนิกายในพระไตรปิฎก จะเห็นได้ถึงความขัดแย้ง
ของพระองค์ที่มีต่อความคิดทางฝ่ายพราหมณ์ ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นปฐมฐานแห่งการปฏิวัติ

มากกว่าที่จะนับว่าเป็นการแสดงทัศนะทางศาสนาเท่านั้น การปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง
ต่อลัทธิพราหมณ์มิได้แสดงว่า หลักความคิดซึ่งมีอยู่ในพระเวทและอุปนิษัท
จะผิดไปเสียทั้งหมด หรือขัดแย้งกับความจริงเสียทั้งหมดก็หามิได้


การปฏิเสธหรือการคัดค้านนี้เป็นเพียงเสียงฟ้าผ่าที่มุ่งหวังจะให้เกิดการตระหนักขึ้น เพื่อ
จะได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หลักปฏิบัติ และแนวความคิด ซึ่งปิดล้อมมนุษย์
ไว้ในหนทางอันปิดตัน หนทางอันคับแคบ


ด้วยเหตุที่ลัทธิพราหมณ์ ถือเอาหลักปรัชญาแบบที่ถือว่ามีตัวตน ( อัตตา ) มาเป็นพื้นฐาน
ของวิชาวิธานวิทยา * และภววิทยา **
พระพุทธเจ้าจึงทรงเผยแผ่หลักแห่งความไม่มีตัวตน ( อนัตตา ) และหลักนี้พระพุทธองค์
ทรงหมายถึงอะไรเล่า คำตอบก็คือด้วยตัวตนที่เรามักพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นตัวตนอันต่ำหรือตัวตน
อันประเสริฐ ( อาตมัน ) สิ่งนั้นเป็นความคิดล้วน ๆ ซึ่งหาได้สัมพันธ์กับความเป็นจริงไม่

* วิธานวิทยา ( Methodology ) เป็นการศึกษาจำแนกแจกแจงเกี่ยวกับวิธีการ
และระบบที่ใช้ปฏิบัติอยู่ และที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

** ภววิทยา ( Ontology ) หลักปรัชญาหนึ่งในหกแขนงใหญ่ ศึกษาว่าด้วย
ภาวะของธรรมต่าง ๆ


การแห่งอัตตา ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ผิดแต่ถ้าาเรามาคิดกันในแง่ของวิธานวิทยา
เราก็จะเห็นได้ทันทีว่า หลักการแห่งอนัตตาเป็นหลักที่แท้ซึ่งมุ่งหวังจะปลดปล่อย

ให้มนุษย์หลุดพ้นออกจากพันธนาการแห่งกฏเกณฑ์ ก่อนที่จะมาพิจารณาถึงเรื่องสัตย์
และอสัตย์ได้ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในเรื่องหลักความคิดและวิธีการเสียก่อน

นี่อาจอนุโลมได้ว่าหลักแห่งอนัตตาเกิดขึ้นมา เพื่อที่จะปฏิเสธหลักแห่งอัตตา
ของพราหมณ์ มิใช่เป็นการค้นพบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความคิดในสมัยนั้น
เริ่มต้นขึ้นมาเป็นเพียงปฏิกิริยาธรรมดา ๆ แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นจุดแห่ง
การก้าวล่วงไปเพื่อการแสวงหาปัญญาญาณอย่างใหม่

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2553 18:22:47 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 11:32:02 »


http://i724.photobucket.com/albums/ww246/pinkyrose69_2008/Mee07.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


อนัตตา

ในพุทธศาสนามีการใช้อุบายอันรุนแรงหลายอย่างเพื่อถอดถอนอุปนิสัยและอคติบางอย่าง
และคุณลักษณะเด่นเป็นพิเศษข้อนี้ในพระพุทธศาสนานั้นได้แสดงออกมาอย่างแจ้งชัดในเซน

พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักอนัตตาเพื่อการถอดถอนและทำลายความหลงตลอดจน
อคติให้สิ้น แต่ต่อมาพระองค์ทรงใช้หลักการนี้ในการแผ่ขยายหลักแห่งการตรัสรู้
หรือนิพพาน อาจจะพูดได้ว่าหลักอนัตตานี้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพุทธศาสนา

ในพระสูตรต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนามักจะกล่าวถึงธรรมชาติเป็นอนัตตของ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ไม่มีสิ่งใดเลยที่ครอบครอง " ตัวตน " ไว้ สพ.เพธม.มาอนต.ตา
( สรรพธรรมในราตมยะ ) *

*
คำแรกในภาษาบาลี ในวงเล็บเป็นภาษาสันสกฤต มีความหมายว่าธรรมทั้งหลาย
ไม่มีตัวตน ( คำว่า ธรรม หมายถึง สิ่งทั้งปวงทั้งสิ้น วัตถุ สิ่งของ ชีวิต ทั้งที่มีรูป
และ ไม่มีรูป )


หมายความว่าไม่มีอะไรที่ครอบครองตัวตนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อพูดไปดังนี้แล้ว
ย่อมเป็นการขัดแย้งกับหลักการที่ถือว่ามีตัวมีตนอันเป็นปฐมฐานแห่งตรรกวิทยา

ซึ่งถ้าถือตามหลักตรรกวิทยาแล้ว ก. จะต้องเป็น ก. ข. จะต้องเป็น ข.
ดังนั้น ก.จะมาเป็น ข. หาได้ไม่

แต่หลักอนัตตากลับกล่าวว่า ก. มิใช่ ก. ข. มิใช่ ข. ดังนั้น
ก. อาจเป็น ข. ได้

นี่เป็นหลักที่ทำให้ผู้คนตื่นตระหนก เป็นหลักการที่ท้าทาย
และชวนให้ผู้คนหันกลับมาพิจารณาตนเอง

เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักอนัตตาดีขึ้น จำเป็นจะต้องพิจารณากันถึงเรื่องอนิจจังกันเสียก่อน

ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีลักษณะของ วิปริณาม ( การเปลี่ยนแปลง
ไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ) ไม่มีสิ่งใดที่คงอยู่ในภาวะเดิมแม้ในช่วงขณะหนึ่ง

ด้วยสิ่งทั้งหลายย่อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้เอง จึงเป็นเหตุให้มันไม่สามารถดำรง
อัตสภาพของมันไว้ได้ แม้แต่ขณะเดียวกัน เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่สามารถดำรงอัตสภาพไว้ได้

ดังนี้ สิ่งทั้งหลายจึงไม่อาจมีตัวตนปราศจากอัตสภาพที่สมบูรณ์ เมื่อปราศจากอัตสภาพ
ณ จุดหนึ่งแห่งกาลเวลา เมื่อช่วงเวลาผ่านไปขณะหนึ่ง ก. มิใช่ ก. อีกต่อไป

อนิจจังเป็นเพียงอีกชื่อหนึ่งหรือช่วงหนึ่งของอนัตตานั้นเอง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็น
อนิจจังอยู่ในกาลและเป็นอนัตตาอยู่ในเทศะ

ดังนี้ไม่เพียงแต่เป็นอนิจจังและอนัตตาตามปรากฏการณ์ทางกายภาพเท่านั้น แม้ในปรากฏการณ์
ทางจิตก็เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากกายและจิต อันเราทุกผู้มีอยู่

อย่างไรก็ดี หลักอนิจจังและหลักอนัตตา หาใช่อะไรอื่นไม่นอกจากสัจจะที่ค้นพบจากความเป็นจริงที่เป็นอยู่ ด้วยเจตนาเพื่อจะได้พบกฏแห่งกรรม แต่ก็มีคนเป็นอันมากที่มิได้ทราบความจริงข้อนี้พากันพูดว่า อนัตตาและอนิจจังเป็นรากฐานของศีลธรรมในทางลบและเป็นไปในแง่ร้าย เขามักจะกล่าวว่า " หากแม้นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจังและอนัตตาแล้วไซร้ จะดิ้นรนขวนขวายไปครอบครองอะไรให้ยากลำบากทำไมเล่า " นี้นับว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิที่มีต่อสารัตถะแห่งพระพุทธศาสนา เราย่อมรู้กันอยู่ว่าพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะขจัดผลกรรมด้วยวิถีทางแห่งปัญญา จึงควรพิจารณาหลักการต่าง ๆ ในพุทธศาสนาโดยอนุโลมตามหลักแห่งความเข้าใจ และไม่ควรจะรีบร้อนไปสรุปในเรื่องกฏแห่งกรรม ดังนั้นหลักอนิจจังและอนัตตาจึงเป็นหลักที่ควรจะศึกษา ในฐานะที่เป็นหลักการอันจักชี้นำไปสู่สัมมาทัศนะ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นข้อต้น


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 28 เมษายน 2553 14:21:18 »




วัตถุธรรมกับสัญลักษณ์

หลักอนัตตาช่วยส่องแสงให้เห็นถึงช่องว่างอันกว้างใหญ่
ที่เปิดอยู่ระหว่างตัววัตถุ ( ธรรม ) กับตัวสัญลักษณ์ ( บัญญัติ )
 
ที่เราใช้อยู่ วัตถุเป็นสิ่งที่มีพลังและมีชีวิตชีวา ขณะที่สัญลักษณ์ที่เราใช้แทน
มันออกจะคับแคบและตายตัว

สมมติว่ามีโต๊ะอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อเรามองเห็นโต๊ะ เราก็สร้างภาพพจน์และความคิดเกี่ยวกับโต๊ะขึ้นในใจ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นโต๊ะนั้นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากสัญลักษณ์ที่เราคิดขึ้น ในขณะที่โต๊ะจริง ๆ นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งผิดออกไปจากความคิดของเราโดยสิ้นเชิง เราก็มีความคิดอันกะพร่องกะแพร่งว่า โต๊ะนั้นมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทำด้วยไม้ มีสีน้ำตาล แข็ง สูงสามฟุต เก่า ฯลฯ คิดอยู่แต่สิ่งเหล่านี้ แต่โต๊ะจริง ๆ นั้นหาได้กะพร่องกะแพร่งเช่นนี้ไม่ นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์อาจบอกเราได้ว่า โต๊ะนั้นหาใช่ชิ้นวัตถุอันอยู่นิ่งตายตัวไม่

เพราะมันประกอบด้วยปรมาณูนับล้าน ๆ ตัว ซึ่งมีอีเล็กตรอนเคลื่อนที่วนเวียนคล้ายกับฝูงผึ้ง และหากเราสามารถนำปรมาณูเหล่านี้มาเรียงต่อกัน ก็จะได้สารที่มีขนาดเล็กกว่านิ้วมือเสียอีก โดยความเป็นจริง โต๊ะตัวนี้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งด้วยกาละและเทศะ มันต่อเนื่องเปลี่ยนแปลงไปจนเราอาจเรียกมันว่า " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ "ปรมาณูเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งว่าหากเรานำเอา " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ " ออกไปจากโต๊ะแล้ว ตัวโต๊ะเองก็จะไม่สามารถคงอยู่อีกต่อไป

ป่าไม้ ต้นไม้ เลื่อย ค้อน ช่างทำโต๊ะ ก็เป็นอีกอีกส่วนหนึ่งของ " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ "นี้ และยังมีอย่างอื่นอีกซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ " นี้ ดังเช่น บิดามารดาของช่างทำโต๊ะ ข้าวที่เขากิน ช่างตีเหล็กซึ่งเป็นผู้ทำค้อน ฯลฯ ถ้าเรารู้จักมองดูโต๊ะ ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โต๊ะนี้ เราก็อาจจะกล่าวได้ว่าการดำรงอยู่ของโต๊ะย่อมขึ้นอยู่กับการคงอยู่ของ " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ " ด้วย ซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะนี้คือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อันมีอยู่ระหว่างทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล ความคิดแบบนี้ได้แสดงอยู่ในระบบอวตังสกะในพุทธศาสนา ด้วยความคิดเกี่ยวกับสหสัมพันธ์สมุฏฐาน คือ ความคิดที่ว่า หนึ่งเดียวก็คือสรรพสิ่ง และ สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว



http://img77.imageshack.us/img77/4969/ecl2001bu7.gif
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 เมษายน 2553 12:03:58 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 28 เมษายน 2553 15:02:35 »




หลักสหสัมพันธ์แห่งสรรพสิ่ง

หลักแห่งเหตุผลมีชื่อเรียกกันตามภาษาทางพุทธศาสนาว่า หลักอิทัปปัจจยตา
 ความเกิด ความเจริญ และความเสื่อมของสิ่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง

มิใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียว การคงอยู่ของสิ่งสิ่งหนึ่ง ( ธรรมะ ) ย่อมต้องขึ้นอยู่
กับการคงอยู่ของทุก ๆสิ่ง พระอริยบุคคลผู้ตรัสรู้ชอบแล้ว มิได้แลเห็นสิ่งต่าง ๆ
แยกออกจากกันอยู่อย่างโดด ๆ แต่ได้แลเห็นความจริงทั้งหมดที่เปิดเผยออกอย่างสมบูรณ์

พระเซนชาวเวียดนามในสมัยศตวรรษที่ ๑๒ ชื่อท่านเด๋าฮัน ได้กล่าวไว้ว่า

" ถ้าจะพูดถึงเรื่องการดำรงอยู่
ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำรงอยู่ แม้แต่ผงธุลีอันละเอียดยิบ
ถ้าจะพูดถึงเรื่องความว่าง
ทุกสิ่งทุกอย่างก็ว่าง แม้แต่ จักรวาลนี้ "


หลักอนัตตา มีจุดมุ่งหมายที่จะนำแสงสว่างมาส่องให้เห็นถึง " กระบวนการอิทัปปัจจยตา
อันเป็นธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง "
ในขณะเดียวกัน หลักการอันนี้ยังช่วยเราให้เห็นข้อเท็จจริง

ของความคิดของเราที่มีต่อสรรพสิ่งอีกด้วย การจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นฝักฝ่าย
เป็นหมวดหมู่ เช่น การดำรงอยู่ ( อัตถิภาวะ )
การไม่ดำรงอยู่ ( นัตถิภาวะ ) เอกภาพ( เอกัตตะ )สหภาพ ( นานัตตะ ) ฯลฯ

สัญลักษณ์เหล่านี้ไม่อาจสะท้อนความจริงได้อย่างตรงไปตรงมาและไม่ก่อให้เกิดการรับรู้
ที่ถูกต้องได้ หากแสดงให้เราเห็นถึงโลกแห่งความคิดกับโลก
แห่งความจริงว่าเป็นคนละโลกกัน
 
เตือนให้เรารู้ว่าความรู้อันเกิดจากการคิดไตร่ตรองนั้น มิใช่เครื่องมือที่จะใช้ค้นหาสัจจะได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งนี้หมายถึง คำพูดที่เราใช้กันอยู่ ย่อมไม่สามารถแสดงสัจจะ
อันเกี่ยวกับความเป็นจริงอันสูงสุดได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2553 14:29:40 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 28 เมษายน 2553 15:29:46 »


http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/IMG0004.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน



อภิปรัชญา : เรื่องไร้สาระ

ข้อสังเกตุจากบทก่อน นับว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับเซน
จนอาจพูดได้ว่าหลักการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น
เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพุทธศาสนา และในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของเซนด้วย


ถ้าการขบคิดใคร่ครวญไม่อาจแสวงหาความจริงออกมาได้แล้ว ความรู้ที่เกิดจากการนึกคิด
อนุมานเอาเกี่ยวกับความเป็นจริงจึงอาจถือได้ว่าเป็นความรู้ที่ผิด

ตามที่มีปรากฏอยู่บ่อยครั้งที่พระพุทธเจ้ามักจะตรัสบอกสาวกของพระองค์
ไม่ให้เสียเวลาและพลังงานไปในการขบคิดเกี่ยวกับอภิปรัชญา

ทุกครั้งที่มีผู้ถามพระองค์ในปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอภิปรัชญา พระองค์ได้แต่ทรงดุษณี
โดยไม่ตอบคำถาม

พระองค์มักจะทรงแนะให้สาวกหันมาเอาใจใส่และมีความเพียรในการปฏิบัติธรรม
วันหนึ่งมีผู้ถามพระองค์เกี่ยวกับเรื่องอายุขัยของโลก
ว่าโลกนี้มีวันสิ้นสุดหรือไม่สิ้นสุด  พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า

" ไม่ว่าโลกนี้จะมีจุดจบหรือไร้จุดจบ ไม่ว่าโลกนี้จะมีขอบเขตหรือไร้ขอบเขต
เรื่องการหลุดพ้นจากวัฏสงสารก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม "


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2553 15:40:16 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สาระธรรมควรคิด ท่าน ว.วชิรเมธี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 0 3465 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2553 13:34:23
โดย เงาฝัน
หลักคิดชีวิตคู่ อยู่อย่างไรให้เหนียวแน่นหนึบ ท่าน ว.
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 3 3628 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2554 01:37:59
โดย เอส@_______@
สรรพสิ่งคือของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน ท่าน ว.
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2566 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2554 02:32:43
โดย หมีงงในพงหญ้า
สิ่งธรรมดาคือสิ่งพิเศษ :ท่าน ติช นัท ฮันท์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 2205 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2555 07:36:41
โดย เงาฝัน
ว่าด้วยเรื่องอนุภาค by S. N. Goenka (ท่าน อ.โกเอ็นก้า )
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2523 กระทู้ล่าสุด 29 กันยายน 2559 10:44:24
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.411 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 14 ตุลาคม 2567 13:44:55