[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 02:57:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตรกรรมวัดเขียน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง  (อ่าน 5009 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2558 15:03:58 »

.

อ่างทอง เป็นดินแดนหนึ่งในภาคกลาง แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะเป็นแนวกึ่งกลางระหว่างอารยธรรมขอมและมอญโบราณ
ตามหลักฐานที่ปรากฏในจารึกภาษามอญ ที่ขุดพบวัตถุโบราณ
อันเป็นหลักฐานที่แสดงว่า "อ่างทอง" เคยเป็นชุมชนอารยธรรม "ทวารวดี"

ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
ทำให้จังหวัดอ่างทอง เต็มไปด้วยวัดวาอารามที่มีความเก่าแก่น่าสนใจมากมายกว่า ๒๐๐ วัด
อันเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์ และเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยในอดีต



ภาพจิตรกรรมฝาหนังในอุโบสถวัดเขียน

จิตรกรรมวัดเขียน (WAT KHIAN)
ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง


วัดในจำนวนมากมายหลายร้อยวัดในอ่างทอง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ให้เห็นอยู่หลายวัด

วัดเขียน เป็นวัดหนึ่งที่ขอนำท่านไปชมจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับอิทธิพลจากภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เขียนแบบคตินิยมทั่วไป คือ ด้านหลังพระประธานเขียนลายดอกไม้ร่วง บนพื้นสีดำ ตอนบนสุดเป็นลายเฟื่องอุบะ ด้านตรงข้ามพระประธานเขียนเรื่องสุธนชาดก  ผนังด้านซ้ายพระประธานเขียนเป็นเรื่องทศชาติ เท่าที่ปรากฏมีมหาชนก สุวรรณสาม มโหสถ จันทกุมาร วิทูรบัณฑิต และเวสสันดร

บริเวณเหนือหน้าต่างของผนังทั้งซ้ายขวาเขียนลายหน้ากระดานรองรับภาพเทพชุมนุมชั้นเดียว ภายในเส้นสินเทา พื้นทาแดงชาด เหนือขึ้นไปเป็นภาพนักสิทธิ์ วิทยาธร เขียนได้สนุกสนานยิ่ง บ้างก็แต่งกายแบบจีนแมนจู ผมเปีย บ้างก็ดำทะมึน บ้างอุ้มมักกะลีผล บ้างก็ยิ้มเริงร่า ห้อยคอด้วยปลัดขิก บ้างก็ยกขวดเหล้าเท


• ประวัติวัดเขียน (เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ)
วัดเขียน เป็นวัดเล็กๆ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ บ้านคงกะพัน หมู่ที่ ๘ ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง บนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน้อย มีหมู่บ้านและลำคลองโดยรอบบริเวณวัด เดิมถูกปล่อยให้รกร้างอยู่เป็นเวลานาน เมื่อมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากขึ้นกลายเป็นชุมชน วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมของชุมชนในเวลาต่อมา

สำหรับคำว่า วัดเขียน อาจสันนิษฐานได้ ๒ กรณีคือ  
กรณีแรก เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนที่สวยงามจึงเรียก วัดเขียน ตามอย่างโบสถ์เขียนหรือวิหารเขียนที่วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง  ตามแนวคิดของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  อีกกรณีหนึ่ง เดิมวัดนี้ชื่อ วัดเขียน อยู่แล้ว แต่เพื่อให้สมกับชื่อจึงมีการเขียนภาพไว้ในพระอุโบสถ

เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างวัดแห่งนี้ จึงไม่สามารถกำหนดอายุที่แน่นอนได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากสภาพแวดล้อมและลักษณะของวัดบริเวณใกล้เคียง สันนิษฐานว่าวัดเขียนและวัดบริเวณใกล้เคียงเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน และได้ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานก่อนจะมีการบูรณะขึ้นใหม่ แต่จากหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานของวัดแห่งนี้ เช่น อุโบสถ ใบเสมา เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ล้วนสนับสนุนการกำหนดอายุของวัดแห่งนี้ว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น ดังนั้นก็เป็นที่น่าเชื่อว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถก็เป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน


ศิลปะโบราณวัตถุสถานที่น่าสนใจภายในวัดเขียน ได้แก่ อุโบสถ อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถหลังเดิมมีขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นประตูหลอก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ ๓ บาน เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็กๆ ๒ บาน ที่เหลืออีกบานหนึ่งเป็นหน้าต่างหลอก เสาภายในอาคารเป็นเสาเหลี่ยมติดผนัง บัวหัวเสาเป็นหัวกลีบยาวซึ่งเป็นลักษณะของบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาพระราชทานกฐิน ณ วัดเขียนนี้ เมื่อทรงทอดพระเนตรสภาพความทรุดโทรมของอุโบสถจนทำให้น้ำฝนไหลชะภาพเขียนภายในเสียหายเป็นอันมาก จึงทรงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถขึ้นใหม่ จากนั้นจึงได้มีการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง ๗.๔๐ เมตร ยาว ๙.๖๐ เมตร ครอบอุโบสถหลังเดิม แต่ยังคงลักษณะของอาคารหลังเดิมคือมีทางเข้าทางเดียว และเปลี่ยนโครงเครื่องบนใหม่ทั้งหมดทำเป็นหลังคาชั้นเดียวแต่มีชั้นลดเพิ่มเป็น ๒ ชั้น มุงหลังคาด้วยกระเบื้องแผ่นตามแบบปัจจุบัน

ใบเสมา ใบเสมาหินทรายสีขาวที่ตั้งอยู่รอบพระอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ เป็นใบเสมาเก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งลักษณะพิเศษของใบเสมาสมัยนี้คือ ใบเสมาจะทำด้วยหินทรายขาวทั้งหมดเป็นชนิดใบเสมานั่งแท่น ซึ่งตั้งอยู่บนฐานสิงห์และฐานบัวกลุ่ม เนื่องจากใบเสมามีขนาดเล็กและแบบบาง จึงต้องมีการก่ออิฐถือปูนเป็นฐานรองรับ มีแถบเส้นกลางขนาดใหญ่เท่าขอบเสมา ตรงกลางแถบจะมีนมเสมาซึ่งทำเป็นลายประจำยามลักษณะคล้ายทับทรวง ส่วนอกเสมาเหนือนมเสมาเป็นรูปดอกไม้กลมทั้งสองข้าง เรียกว่า ตาเสมา ยอดเสมาทำเป็นรูปมงกุฎครอบท้องเสมาเป็นลายประจำยามครึ่งเดียว และมีกระหนกตัวเหงาอยู่ที่เอวเสมา เนื่องจากการสร้างพระอุโบสถจะต้องมีการกำหนดพัทธสีมาในคราวเดียวกัน ดังนั้นจึงชื่อว่าพระอุโบสถหลังเก่านี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย



ภาพพระอุโบสถหลังเดิมของวัดเขียน ก่อนการบูรณะ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรสภาพความทรุดโทรมของอุโบสถ
จนทำให้น้ำฝนไหลชะภาพเขียนภายในเสียหายเป็นอันมาก จึงทรงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถขึ้นใหม่


พระอุโบสถที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ ครอบอุโบสถหลังเดิม


พระประธานอุโบสถวัดเขียน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิตั้งอยู่บนฐานชุกชี
ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปอีกหลายองค์ เหนือพระเศียรพระประธานเป็นฉัตร ๗ ชั้น
(สังเกตให้ดีจะเห็นร่องรอยอุโบสถหลังเดิม และหลังใหม่ที่สร้างครอบ ปรากฎชัดเจนเหนือภาพ)




หน้าบันอุโบสถเดิมก่อนได้รับการบูรณะ
เป็นหน้าบันไม้ขนาดเล็กแกะสลักลวดลายเป็นลายเทพนมและลายกระจังรวนอ่อนช้อยงดงาม
ในคราวที่มีการปฏิสังขรณ์อาคารใหม่หลังจากได้เคยถูกทิ้งร้างมาครั้งหนึ่ง หน้าบันทั้ง ๒ ชิ้นได้ถูกรื้อลง
ท่านเจ้าอาวาสรูปก่อนหน้าปัจจุบัน ได้นำไปประกอบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านถนนชลประทาน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤษภาคม 2558 15:23:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2558 16:14:34 »

.



ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยอยุธยาตอนปลายใช้สีเรียบแบนระบายบางๆ
โทนสีส่วนใหญ่เป็นแดงเขียนแบบคตินิยมทั่วไป จิตรกรสมัยโบราณท่านนิยมใช้สีแดงสดเป็นพื้น
เพื่อจะคัดทองคำของพระพุทธรูปในอาคารให้ดูแจ่มใสมลังเมลืองขึ้น

จึงนิยมต่อๆ กันมาว่าจะต้องระบายสีท้องฟ้าของปราสาท ภาพไตรภูมิ ภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ให้เป็นสีแดงเชื่อมกันหมด เพื่อที่จะให้เนื้อหาของโครงสร้างภาพเขียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอด

จากนี้ในที่อื่นๆ เช่นที่ภายในช่องปราสาทก็เป็นสีแดงด้วย หรือภาพบางอย่าง เช่น ภาพวิวภูเขาต้นไม้
บางทีก็ระบายเป็นท้องฟ้าสีแดงเสียด้วย   ในสมัยรัตนโกสินทร์จะหันมานิยมเขียนแบบธรรมชาติ
คือระบายสีท้องฟ้าด้วยสีเทาดำๆ และเมฆสีขาว เป็นแบบธรรมชาตินิยม (Realism) มากขึ้น
ดังนั้น ในบางตอนก็เขียนรูปเป็นไปในแบบธรรมชาติ แต่บางตอนก็ยังคงแบบฉบับไอเดียลิสม์ (Idealism) แบบเดิมไว้

(น. ณ ปากน้ำ)



การเขียนเบื้องหลังปราสาทใช้สีแดงชาด มีความนิยมกันมาแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง

























ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเขียน  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง


จิตรกรรมไทยโบราณนั้น มักจะเขียนบนแผ่นผนังที่เตรียมการลงพื้นและทาสีขาวเป็นสีพื้นเรียบร้อยแล้วด้วยสีฝุ่นผสมกาว  สีฝุ่นนั้นเป็นสีจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดินแดง สีดินขาว สีดำจากเขม่าไฟ ซึ่งการจะนำสีต่างๆ มาเขียนก็จะต้องบดสีด้วยโกร่งอันทำด้วยดินเผาหรือดินเผาเคลือบ ใช้เวลาบดสีประมาณ ๑-๔ ชั่วโมง หากว่าก้อนสีจับตัวแข็งก็จะต้องแช่น้ำไว้สัก ๑ หรือ ๒ ชั่วโมง บางทีจิตรกรผู้เขียนจะนำเอาแอลกอฮอล์เทลงไปด้วย เพื่อให้สีละลายเร็วขึ้น

สีขาวนั้นจะใช้ปูนขาว เมื่อจะเอามาทาพื้นเป็นการลงพื้นก็จะเอาสีขาวที่บดแล้วมาผสมกับกาวยางไม้ เช่น กาวกระถิน กาวยางสน หรือกาวจากยางบง ในตำราของช่างเขียนบางคน ท่านใช้ดินขาวหรือดินสอพองมาบดละเอียดกับน้ำ แล้วเอากาวจากเม็ดมะขามต้มจนเหนียวเป็นกาวใส่ลงไปด้วย เรียกว่า "ฝุ่น"

สีดำน้้นเอาเขม่าจากก้นหม้อ ก้นกระทะในครัว เอามาบดปนไปกับน้ำและกาวธรรมชาติ เสร็จแล้วเป็นสีผสมกาวเรียกกันว่า "เขม่า" ส่วนสีจากดินธรรมชาติอื่นๆ เช่น สีเหลือง สีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้มจนแดงจัด หรือสีน้ำตาลไหม้ น้ำตาลเหลือง ก็เรียกตามสีของดินสีนั้นๆ บางทีก็เอาสีจากดินผุหรือหินผุนำมาบดเช่นเดียวกัน แต่จำต้องบดนานเป็นพิเศษ แล้วเอาสีที่บดแล้วแต่ละสีแยกออก เทใส่ภาชนะที่มีฝาปิดได้ เช่น กระปุกหรือโกร่งขนาดย่อม เติมน้ำเล็กน้อยกันสีแห้ง แล้วปิดฝาทิ้งไว้ เมื่อจะใช้ก็เอามาบด แล้วตักเอาปริมาณที่ต้องการมาใส่ภาชนะเป็นจานเขียนสีก็จะมีสีต่างๆ นำมาใช้ได้ทันท่วงที

สีบางอย่างจะใช้ในการย้อมผ้า เป็นสีที่ใช้แช่เปลือกไม้หรือแท่งไม้อันเป็นสีค่อนข้างใส ไม่นิยมเอามาเขียนในงานจิตรกรรม หรือสีที่นำมาใช้ในการทำขนม เช่น สีของดอกอัญชัน สีแดงจากไม้ฝาง ฯลฯ นิยมใช้ในการย้อมผ้ามากกว่า

สีที่ใช้ในการเขียนรูปจิตรกรรมไทย มักเป็นสีประเภททำจากวัตถุธาตุ เช่น ดินสีต่างๆ หรือหินผุ จะทำให้สีอ่อนแก่ก็โดยการบดสีกับกาวผสมไว้แล้วในโกร่งที่เรียกว่า "น้ำยา"

จิตรกรรมที่เขียนตามผนังพระอุโบสถสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยอยุธยาตอนต้นนั้นจำกัดในเรื่องการใช้สี เพราะมีสีที่ใช้จากสีวัตถุธาตุธรรมชาติในบ้านเมืองเรา เช่น ฝุ่นขาว เขม่าดำ สีดินแดง สีดินเหลือง มีอยู่เพียง ๔ สีเท่านั้น ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางมีสีแปลกๆ ทำจากวัถุธาตุพวกสีฝุ่นจากหินผุ เช่น สีเขียว สีคราม ยิ่งสมัยอยุธยาตอนปลายก็มีสีสดใสอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกคือ สีเสน สีคราม สีเขียวสด ดังเช่นภาพเขียนในสมุดข่อยวัดหัวกระบือ บางขุนเทียน สมัยอยุธยาตอนปลาย

ในสมัยอยุธยาตอนปลายสุดหรือรัตนโกสินทร์มีสีสดใสจากจีนเข้ามาขาย เช่น สีแดงแสด สีแดงเสน สีชาด สีเหลืองสด สีเขียวแจ่มใส สีฟ้า ได้แยกผสมเป็นน้ำยาไว้พิเศษ เช่น สีดินแดง ทำจากดินแดงบด  เมื่อมาผสมกับสีชาดหรือสีแดงเสนก็จะมีสีแดงสด มีรสสีแดงฉ่ำ ถ้าจะใช้เป็นสีแดงทึบ เช่น สีน้ำตาลเข้ม ก็เอาเขม่าดำมาผสม หรือจะใช้เป็นสีแดงอ่อน เช่น สีดอกกุหลาบ ก็ผสมกับดินเหลืองและฝุ่นขาวเรียกว่า หงสบาท  คือสีของเท้าหงส์กับนกต่างๆ  สีเขียวเมื่อนำมาผสมกับดินผุหรือผสมกับฝุ่นขาวกลายเป็นสีเขียวอ่อนก็เรียกว่า สีก้านดอกมะลิ  เมื่อแซมเหลืองเข้าไปก็กลายเป็น สีตองอ่อน  เป็นสีเหมือนกับธรรมชาติที่เคยชิน ในภาษาช่างสมัยก่อนจึงมีชื่อสีต่างๆ เช่น สีขาบ คือสีน้ำเงินเหมือนสีนกตะขาบ  สีกรมท่า คือสีน้ำเงินเข้ม เป็นสีผ้านุ่งของข้าราชการกรมท่า  สีกลาโหม ก็คือสีน้ำตาลแดง  สีดอกบัวโรย  สีดอกอัญชัน  สีเขียวหัวเป็ด เป็นต้น
...น. ณ ปากน้ำ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤษภาคม 2558 16:20:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
นมัสการเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง วัดท่าอิฐ จ.อ่างทอง
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 8196 กระทู้ล่าสุด 09 กันยายน 2557 18:06:15
โดย Kimleng
หลวงพ่อซำ อินทสุวัณโณ วัดตลาดใหม่ ต.ตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1384 กระทู้ล่าสุด 05 มิถุนายน 2561 15:11:12
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม วัดนางในธัมมิการาม ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 640 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2562 18:53:43
โดย ใบบุญ
หลวงปู่ผาด อภินันโท วัดไร่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 816 กระทู้ล่าสุด 28 มกราคม 2563 11:39:24
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี วัดศาลาดิน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 542 กระทู้ล่าสุด 29 กรกฎาคม 2563 14:01:18
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.335 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 10 เมษายน 2567 16:53:33