[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 13:47:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย ที่ปลายฟ้า  (อ่าน 12077 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:44:15 »

ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (1)


 

“ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย” หนังสือของผู้เขียนที่รวบรวมบทความที่เคยลงบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6) บวกเนื้อหาเพิ่มเติม และอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่ีสีสวยงาม 16 หน้าเต็ม วางแผงแล้วนะคะ จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่

บทนำ



สุดขอบหล้าฟ้าใสไม่หม่นหมอง
ทุกทุ่งท้องทองปลิวเป็นทิวแถว
หาดหินเกลี้ยงเคียงคุ้งรายรุ้งแนว
คลอคลื่นน้ำใสแจ๋วแวววับวาว

หิมะขาวพราวระยับจับภูผา
ป่าสนเบียดเสียดฟ้าเวหาหาว
หิมาลัยใคร่หมายตะกายดาว
แลดูราวสวรรค์เคลื่อนมาเยือนดิน



……

เมื่อเอ่ยชื่อภูฏาน นักท่องเที่ยวประเภทแบกเป้เข้าป่าคงบ่นอุบว่าอยากไปแต่แพง นักท่องเที่ยวประเภทไปมิลานหรือนิวยอร์คปีละครั้งคงย่นจมูกใส่ และนักท่องเที่ยวประเภทไปฮ่องกงทุกปีช่วงซัมเมอร์เซลล์คงส่ายหน้าไม่รู้จักเลย

ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะประเทศเล็กๆ เพื่อนบ้านของทิเบตแห่งนี้ เพิ่งเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ปัจจุบันเก็บภาษีท่องเที่ยวแพงระยับถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน และไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางในประเทศโดยไม่มีไกด์ท้องถิ่นประกบติด ด้วยเกรงว่าการไหลบ่าของนักท่องเที่ยวจะทำลายสภาพแวดล้อมของประเทศ



เทือกเขาหิมาลัย ป้อถ่ายระหว่างทางไปเมืองพูนาคา

ตามเกณฑ์สากลที่ใช้วัดระดับ “ความเจริญ” ภูฏานเป็นหนึ่งใน 40 ประเทศยากจนที่สุดในโลก ทั้งประเทศมีทางหลวงเพียงหนึ่งเส้น ที่วิ่งอย่างฉวัดเฉวียนคดเคี้ยวเลียบเขาจากตะวันตกไปตะวันออก มีถนนเส้นตรงแต่เพียงในเมืองใหญ่สามเมือง (”ใหญ่” ในมาตรฐานภูฏาน คือมีประชากรเกิน 10,000 คน) ว่ากันว่ารถที่วิ่งในภูฏานนั้นต้องหักเลี้ยวทุกๆ 6 วินาที

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาลำเนาไพร และความท้าทายของยอดเขาหิมาลัยที่อยู่ลิบตาลดหลั่นลงมาจากทิเบต มองเผินๆ ภูฏานไม่น่าจะมีอะไรที่ดึงดูดให้ไปเที่ยว

แต่จุดเล็กๆ บนแผนที่โลกแห่งนี้ มีอะไรบางอย่างที่สะกิดใจนักท่องเที่ยวทุกคนที่ได้ไปเยือน ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะกร้านโลก เจนจัดชั่วโมงบินหรือหลักไมล์มามากเพียงใด


กงล้อภาวนาพลังน้ำที่สวยที่สุดตั้งแต่เห็นมา
อยู่ข้างถนน ระหว่างเมืองพาโรกับทิมพู

มนต์เสน่ห์ลึกลับของภูฏาน ที่แฝงอยู่ในรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คน เสียงกรากแกรกของกงล้อภาวนาพลังน้ำที่หมุนอย่างอ้อยอิ่ง และสายลมที่พัดผ่านธงภาวนาหลากสีที่ปักเป็นร้อยๆ อยู่บนเนินเขาทุกลูก สะกดจิตวิญญาณของผู้มาเยือนทุกคน ในหลากหลายรูปแบบ

อาทิเช่น ทำให้คนคิดมาก เสียงดัง มุทะลุร้อนรุ่มอย่างผู้เขียน กลับกลายเป็นคนละคนแทบจะในทันทีที่เครื่องบินร่อนลงแตะพื้นสนามบินเมืองพาโร

กลายเป็นคนใจเย็นที่สามารถนั่งมองภูเขาลูกแล้วลูกเล่าผ่านกระจกมัวๆ ของรถตู้ที่วิ่งโคลงเคลงน่าเวียนหัว ฝุ่นตลบบนถนนเลียบหุบเหวอันคดเคี้ยว ได้อย่างไม่รู้เวลา ไม่รู้เบื่อ และไม่มีเรื่องอะไรติดค้างเกรอะกรังอยู่ในสมอง

……

ในบรรดาประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัยทั้งหมด ภูฏานเป็นประเทศเดียวที่ยังรักษาอธิปไตยของตัวเองเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นและเด็ดเดี่ยว ได้แต่เฝ้ามองประเทศเพื่อนบ้านค่อยๆ ถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ที่ขนาบเหนือใต้ คือจีนและอินเดีย ไปทีละรายสองราย

ลาดักห์และสิกขิมตกเป็นดินแดนของอินเดียอย่างเงียบเชียบ ก่อนที่คนส่วนใหญ่ในโลกจะงัวเงียขึ้นมาสังเกตเห็น หรือแม้แต่จะล่วงรู้ว่าเคยมีประเทศชื่อนี้อยู่ในโลก

ทิเบตถูกจีนบุกยึดอย่างรุนแรงและเป็นข่าวอึกทึกครึกโครมไปทั่วโลก จนก่อเกิดขบวนการปลดปล่อยที่มีแนวร่วมเป็นดาราฮอลลีวู้ดหลายคน แต่จะพยายามเพียงใด ความหวังของทิเบตที่จะเห็นโปตาลาหรือวัดอื่นๆ ในอ้อมกอด “หลังคาโลก” กลับมากังวานเสียงระฆังขานเพลหรือก้องเสียงสวดมนต์ของพระสงฆ์เช่นในอดีตที่ผ่านมา ดูจะริบหรี่ลงเรื่อยๆ ในเมื่อมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่จำนวนมากเข้าไปตั้งรกรากในทิเบต เบียดบังจนเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมต้องกลายเป็นคนชายขอบ

เนปาลไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร หากทำร้ายตัวเองด้วยการตัดไม้ทำลายป่าอย่างไม่ลดละ จนเหลือแต่ที่ราบโล่งแห้งแล้ง ไม่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรได้อย่างเพียงพอ ความแร้นแค้นเป็นเหตุให้ประชาชนเรือนแสนตัดสินใจอพยพไปอยู่ภูฏาน กลายเป็นปัญหาคาราคาซังของรัฐบาลภูฏานมาจวบจนทุกวันนี้

ดังนั้น ใครที่อยากสัมผัสวัฒนธรรม และความเป็นอยู่แถบหิมาลัยของแท้ดั้งเดิม ภูฏานเป็นจุดหมายเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

……

ภูฏานไม่เหมือน “ประเทศท่องเที่ยว” อื่นใดในโลกกำลังพัฒนา ตรงที่ไม่มีวิวซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์สากลของการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ไปแล้ว คือตึกระฟ้าแบบตะวันตกที่สูงลิบลิ่ว บดบังกองขยะหรือสลัมที่อยู่เบื้องหลัง (แต่บางครั้งแผลเป็นจากการพัฒนาเหล่านี้ก็อยู่เบื้องหน้าอย่างโจ่งแจ้ง เช่นในมหานครของอินเดียส่วนใหญ่)

นักท่องเที่ยวต้องแกล้งมองไม่เห็น หรืออย่างน้อยก็ไม่สนใจความเป็นสากลเหล่านี้ ระหว่างเดินทางไป “สถานที่ท่องเที่ยว” ต่างๆ ที่ไกด์บุ๊คนิยามว่าเป็น “เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ของประเทศนั้นๆ

ย่อมไม่มีไกด์กรุงเทพคนไหนที่จะนำกรุ๊ปทัวร์เยี่ยมชมสลัมคลองเตย ระหว่างทางไปวัดพระแก้ว

ฉะนั้น ใครเลยจะเชื่อว่า ความแปลกแยกแตกต่างระหว่าง “สถานที่ท่องเที่ยว” และ “ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชากร” เช่นนี้ ไม่มีในภูฏาน

นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภูฏานเพื่อแสวงหาธรรมชาติบริสุทธิ์หรือพิชิตยอดหิมาลัย ย่อมต้องสังเกตเห็นอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรม ที่แยกไม่ออกจากวิถีชีวิตชาวภูฏาน เพราะธรรมชาตินั้นอยู่ท่ามกลาง และแวดล้อมหมู่บ้าน วัดวาอาราม ธงภาวนา และกงล้อภาวนาจำนวนนับไม่ถ้วน

เช่นกัน นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมอันแปลกตาและแปร่งหูที่มีพุทธวัชรยานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ย่อมต้องสังเกตเห็นธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ระหว่างทางไปวัดต่างๆ ซึ่งบางวัดอยู่บนยอดเขาที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากกว่าเส้นทางปีนเขาบางเส้น

ภูฏานไม่ซ่อนอะไรจากสายตาของผู้มาเยือน ภูฏานที่แท้จริงเป็นอย่างไร นักท่องเที่ยวก็เห็นอย่างนั้น

ในแง่นี้ ภูฏานอาจเป็นประเทศที่ “กลมกลืน” ที่สุดในโลก

แต่ก็เป็นความกลมกลืนที่ลึกๆ แล้วเต็มไปความย้อนแย้ง

ภูฏานจนเป็นอันดับท้ายๆ ของโลก คืออันดับที่ 189 จาก 222 ประเทศทั่วโลก

…แต่ไม่มีคนจรจัด หรือขอทานในภูฏาน



คนภูฏานมีรายได้ต่อหัวเพียง 4,300 บาทต่อเดือนเท่านั้น ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้ยากไร้

…แต่บ้านภูฏานล้วนมีขนาดใหญ่โต อย่างน้อยสองหรือสามชั้น ไม่เคยเห็นกระต๊อบหรือเพิงเล็กๆ ไม่ว่าหมู่บ้านนั้นจะแร้นแค้นเพียงใด



พระพุทธเจ้า เทวดา และนักบุญในศาสนาพุทธวัชรยานที่มีต้นตอมาจากทิเบต ผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น ส่วนใหญ่มีปางดุร้าย หน้าตาเหี้ยมเกรียม น่ากลัวมากกว่าน่าเลื่อมใส

…แต่คนภูฏานที่เห็นส่วนใหญ่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่เคยเจอเด็กภูฏานคนไหนที่โบกมือให้แล้วไม่โบกตอบ พร้อมแถมรอยยิ้มไล่หลังรถให้เราถ่ายรูปมือเป็นระวิงทุกครั้ง

ความย้อนแย้ง (paradox) เหล่านี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้อย่างไร?

คำตอบของภูฏาน อาจเป็นคำตอบของโลก

……

หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ “หนังสือนำเที่ยว” ทำนองแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ พร้อมที่อยู่และเบอร์ติดต่อของโรงแรมที่พักและร้านอาหาร

แต่เป็น “สมุดบันทึก” ความประทับใจ และข้อคิดต่างๆ ที่ผู้เขียนได้รับจากการไปเยือนภูฏานสิบเจ็ดวันสองครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2548 และ 2549

เป็นประจักษ์พยานในวันที่ชาวภูฏานกำลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การพัฒนาอันแสนสั้นของพวกเขา



ถ้าเป็นคน ภูฏานก็คงเป็นเด็กบ้านนอกวัยคะนองที่กำลังแตกเนื้อหนุ่ม หลงใหลสาวงามคนเมืองชื่อ “ความเจริญ” แต่ไม่แน่ใจว่า เขาต้องลงทุนเปลี่ยนตัวเองขนาดไหนเพื่อให้คู่ควรกับเธอ และเมื่อเปลี่ยนบางมุมของตัวเองไปแล้ว เขาจะยังคงเป็นตัวของตัวเองได้อีกต่อไปหรือไม่

อยากเขียนหนังสือแบบที่ทำให้คนไทยรู้สึกอยากเก็บเงินไปเที่ยวภูฏาน และคนอื่นที่ไม่คิดว่าจะได้ไปเพราะภาษีแพง อย่างน้อยก็ได้สัมผัสบางเสี้ยวของหนึ่งในประเทศที่ “น่ารัก” ที่สุดในโลก

ภูฏานไม่ได้เป็นสมบัติของชาวภูฏานเท่านั้น แต่เป็นสมบัติของคนทั้งโลก

เพราะภูฏานอาจเป็นอารยธรรมแห่งสุดท้าย ที่ทำให้คำขวัญของขบวนการต่อต้านความไม่เป็นธรรมของวิธีการที่ประเทศมหาอำนาจใช้รณรงค์โลกาภิวัตน์ ดูไม่ไกลเกินเอื้อม:

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:45:34 »

ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (2)




“ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย” หนังสือของผู้เขียนที่รวบรวมบทความที่เคยลงบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6) บวกเนื้อหาเพิ่มเติม และอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่ีสีสวยงาม 16 หน้าเต็ม วางแผงแล้วนะคะ จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่

ธรรมชาติสร้างนิสัย ธรรมวินัยสร้างชาติ : ภูฏานยุคก่อนสมัยใหม่



บนแผนที่โลกส่วนใหญ่ ภูฏาน เป็นเพียงก้อนสีเล็กๆ ที่ไม่มีที่พอเขียนชื่อประเทศตัวเอง ต้องล้นเกินพรมแดนออกไป ภูฏานมีเนื้อที่ประมาณ 46,500 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับพื้นที่ของ 6 จังหวัดเหนือสุดของประเทศไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง และแพร่ รวมกัน พรมแดนทิศเหนือของภูฏานติดกับทิเบต ซึ่งตอนนี้เป็นเขตปกครองอิสระของจีน ดินแดนอินเดียห้อมล้อมอีกสามทิศที่เหลือ เนปาลอยู่เลยไปเล็กน้อยทางทิศตะวันตก

เทือกเขาหิมาลัยอันปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีทอดตัวยาวผ่านตอนบนของภูฏานทั้งแถบ ลดหลั่นลงมาบรรจบกันเป็นหุบเขาในบริเวณตอนกลางของประเทศ แล้วค่อยๆ ลดระดับลงจนจรดที่ราบทางตอนใต้ที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย ทำให้ภูฏานมีภูมิประเทศหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่ยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตรทางตอนเหนือ ไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้



ภูฏานไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัย ตัดผ่านประเทศตามแนวเหนือ-ใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของภาคกลางและใต้ ส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100 ถึง 2,600 เมตร) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300 ถึง 1,600 เมตร) เทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากหิมาลัย เป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่างๆ ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่สามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้สะดวก หรือแม้แต่จะระแคะระคายว่ามีมนุษย์เผ่าพันธุ์เดียวกันปักหลักตั้งรกรากอยู่อีกฟากหนึ่งของภูเขาที่เห็นอยู่เจนตา

เป็นสาเหตุหลักที่ภูฏานมีภาษาท้องถิ่นถึง 20 กว่าภาษา และทั้งประเทศเพิ่งถูก “รวบรวม” เข้าอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองคนเดียวกันเมื่อไม่ถึง 500 ปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นประเทศเล็กนิดเดียวก็ตาม

ที่ราบลุ่มทางตอนใต้ดูเผินๆ เหมือนจะเป็น “ทางเข้า” หุบเขาตอนกลางที่ง่ายกว่าเทือกเขาหิมาลัยตอนเหนือ แต่เอาเข้าจริง มีแนวภูเขาสูงกว่า 2,000 เมตรกั้นกลางระหว่างที่ราบตอนใต้กับหุบเขาตอนกลาง บนเขาเต็มไปด้วยป่าดงดิบและหุบเหวอันตราย ทำให้สมัยก่อนการเดินทางระหว่างเมืองหลวงคือ ทิมพู ที่อยู่ในหุบเขาตอนกลาง ไปยังเมืองชายแดนภูฏาน-อินเดียชื่อ บุอาร์ ดูอาร์ ระยะทาง 100 กิโลเมตรเศษๆ ต้องใช้เวลาปีนเขาบุกป่านานกว่า 5 วัน



ข้อจำกัดทางกายภาพข้อนี้ที่เรามองไม่เห็นง่ายๆ จากแผนที่ ทำให้บรรพบุรุษของชาวภูฏานไม่ใช่ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในที่ราบทางตอนใต้ แต่กลับกลายเป็นชาวทิเบต เพื่อนบ้านทางทิศเหนือที่เดินทางอย่างทุลักทุเลผ่านช่องเขาธรรมชาติของหิมาลัย ที่หลายช่อง “เปิด” แม้ในฤดูหนาว เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในภูฏานจวบจนปัจจุบัน

แต่ถึงแม้จะไม่มีกำแพงภูเขากั้นแบ่งภาคกลางกับใต้ ชาวทิเบตก็อาจดั้นด้นมาถึงภูฏานก่อนชาวอินเดียอยู่ดี

ลองนึกดู – ระหว่างเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว กับอีกกลุ่มที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาแสนเย็นยะเยือกที่ต้องปีนป่ายหาพืชและสัตว์น้อยชนิดกินเพื่อยังชีพ ใครจะมีแรงจูงใจมากกว่ากันในการออกเดินทางแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าสำหรับลูกหลาน?

การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดมักผลักดันให้มนุษย์ทำสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของเราเสมอ

……

ภูเขาสูงชันที่กินเนื้อที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ภูฏานมีประชากรบางตา ปัจจุบันทั้งประเทศมีประชากรเพียง 700,000 คน คิดเป็น 45 คนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนภูเขาที่ระดับความสูงระหว่าง 3,500 ถึง 5,000 เมตร ยังชีพด้วยข้าวบาร์เลย์และพืชหัวที่ปลูกในที่นาแบบขั้นบันได (พืชหัวหลักของภูฏานคือมันฝรั่ง ชนิดหัวใหญ่ หวานมันอร่อยที่สุดในทัศนะผู้เขียนตั้งแต่เคยกินมันฝรั่งมา ซึ่งนับว่าโชคดีที่ชอบ เพราะข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ทำให้อาหารภูฏานไม่มีความหลากหลายเท่าไรนัก อาหารประจำชาติคือมันฝรั่งผัดพริกใส่เนยแข็งเรียกว่า เอมา ดาซี่ นอกนั้นก็เป็นแกงใส่กะทิแบบอินเดียที่คนไทยคุ้นเคยดี)

นักท่องเที่ยวที่ไม่คุ้นเคยกับที่สูง จะเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้เพราะความสูง ที่ระดับความสูงประมาณ 3,000 เมตร แต่ร่างกายจะสามารถปรับตัวให้คุ้นชินได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

ที่ระดับความสูงเกิน 5,000 เมตร บริเวณภาคเหนือสุดของประเทศ ไม่มีต้นไม้สีเขียวให้เห็นอีกต่อไป ภูเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี

ความแตกต่างสุดขั้วของภูมิประเทศ ทำให้ภูฏานมีทิวทัศน์สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจตลอดสองข้างทางหลวงแผ่นดิน ที่เชื่อมหุบเขาหลักตอนกลางของประเทศทั้งหมดเข้าด้วยกัน จากตะวันตกไปจรดตะวันออก ลัดเลาะไปตามขอบภูเขานับไม่ถ้วน


วิวหิมาลัยจากทางหลวง ความสูง 1,500 เมตร

ถ้าวันไหนอากาศปลอดโปร่ง สีขาวโพลนของภูเขาภาคเหนือที่เห็นอยู่ไกลลิบ จะตัดกับสีเขียวชอุ่มของภูเขาภาคกลาง เย้ายวนให้นักท่องเที่ยวรีบหาที่หยุดรถถ่ายรูปก่อนที่ภูเขาจะหายเข้ากลีบเมฆ (ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถนนเลียบภูเขามีเพียงเลนเดียวเท่านั้น ไม่มีจุดพักรถหรือ “rest stop” เป็นระยะๆ เหมือนอย่างในอเมริกา แถมเป็นถนนที่หักโค้งแคบเฉลี่ยทุกๆ 6 วินาที ทำให้คนขับรถต้องบีบแตรตลอดเวลาเพื่อเตือนรถสวนที่มองไม่เห็นเพราะอยู่อีกข้างของหน้าผา รินเชน เพื่อนชาวภูฏานเล่าให้ฟังว่า เขาชอบขับรถตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน เพราะตอนกลางคืนปริมาณรถสวนน้อยกว่าตอนกลางวัน ทำให้ต้องระวังจะตกเขาอย่างเดียว ไม่ต้องระวังรถสวน แต่คำอธิบายนี้ทำให้ผู้เขียนนึกค้านอยู่ในใจ เพราะถนนเลียบเขาในภูฏานไม่มีเสาไฟฟ้าส่องทางยามดึก มีแต่สีขาวหม่นๆ ของชอล์กที่รัฐบาลทาไว้บนหน้าผาตามทาง เพื่อป้องกันไม่ให้รถชนภูเขา และสีขาวของเกาะปูนกั้นอันเตี้ยๆ ตามหัวโค้ง ทำให้น่าคิดว่าขับรถข้ามเขาในประเทศนี้ไม่ว่าจะเวลาไหนก็อันตรายทั้งนั้น แต่หลังจากได้เห็นรินเชนยืนตบมือหัวเราะชอบใจอยู่บนสปีดโบ้ทที่กำลังโต้คลื่นโคลงเคลงอยู่ในอ่าวไทย ท่ามกลางสีหน้าตื่นตระหนกของชาวไทยหลายคน ทั้งๆ ที่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เพื่อนได้นั่งเรือเที่ยวทะเล ผู้เขียนก็ถึงบางอ้อว่า ชะรอยคำว่า “อันตราย” ของคนภูฏานกับ “อันตราย” ของคนไทยนั้น คงต้องแตกต่างกันลิบลับเป็นแน่)

ถ้าวันไหนโชคดีเป็นพิเศษ ก็อาจได้เห็นยอดเขาหิมาลัยที่อยู่ในเขตทิเบต เมื่อรถวิ่งขึ้นที่สูงกว่า 3,000 เมตร มั่นใจได้ว่าภูเขาอยู่ในทิเบตถ้าเห็นเทือกเขาสีขาวโพลนหลายๆ เทือกเป็นแนวซ้อนกัน แสดงว่ายอดเขาที่ไกลสุดนั้นอยู่เลยภูฏานไปอีก


วิวหิมาลัยจากทางหลวง ความสูง 3,000 เมตร ลองสังเกต
สีของท้องฟ้า ต้องอยู่ที่สูงเกิน 2,000 เมตรขึ้นไปจึงจะเห็น
ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้มขนาดนี้ได้

“โชค” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการชมทัศนียภาพภูฏาน เพราะความแตกต่างอย่างสุดขั้วของภูมิประเทศที่อัดแน่นอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ทำให้ภูฏานมีภูมิอากาศที่แปรปรวน และแตกต่างกันสุดขั้วตามไปด้วย

ท้องฟ้าที่ดูปลอดโปร่งเมื่อสิบนาทีก่อน อาจเทมรสุมแบบไม่ลืมหูลืมตาภายในชั่วพริบตา และเปลี่ยนจากแดดจ้าเป็นลมหนาวได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง

ครึ่งตะวันออกของภูฏานอุ่นกว่าครึ่งตะวันตก ที่ถูกกระหน่ำด้วยพายุหิมะในฤดูหนาว ฤดูที่อากาศดีที่สุดของปีคือฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน เพราะอุณหภูมิกำลังสบายๆ ประมาณ 16-18 องศาเซลเซียสในช่วงกลางวัน แม้ว่ากลางคืนดึกๆ อุณหภูมิจะแกว่งไปติดลบ พอเข้าต้นเดือนมิถุนายนลมจะเริ่มแรง พัดฝุ่นจากพื้นดินตลบขึ้นมาเป็นก้อน หลังคาบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นสังกะสีจะถูกลมพัดปลิวไปก็ตอนนี้ ชาวภูฏานไม่ตอกหลังคาบ้านติดกับตัวเรือน แต่จะใช้หินก้อนใหญ่ๆ ทับหลังคาไว้ เพื่อดูดความร้อนจากหินช่วงฤดูหนาว และยกหินออกเปิดหลังคาบ้านรับอากาศช่วงฤดูร้อน


บ้านคนภูฏาน สังเกตอิฐบนหลังคา

มรสุมจะเริ่มถาโถมเข้าสู่บ้านเรือนราวๆ กลางเดือนมิถุนายน เป็นสัญญาณบอกว่าฤดูฝนมาถึงแล้ว ฝนจะตกหนักเรื่อยไปจนถึงเดือนกันยายน ตกหนักที่สุดในภาคใต้ของประเทศที่อยู่ใต้แนวกำแพงภูเขา เพราะต้องรับเอามรสุมจากทางใต้ที่ก่อตัวในอ่าวเบงกอลของอินเดีย พัดผ่านที่ราบลุ่มมาทางเหนือไปเต็มๆ ในฤดูนี้แทบไม่มีทางมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยเลย เพราะทั้งประเทศมีเมฆฝนปกคลุมตลอดทั้งวัน ฝนตกหนักจนทัวร์ไม่ทำเพราะการเดินทางอันตรายและมองเห็นทิวทัศน์แต่เพียงรางๆ เท่านั้น

เมื่อถึงกลางเดือนกันยายน มรสุมทั้งหมดก็จะหายไป ท้องฟ้าเปิดรับฤดูใบไม้ร่วง อากาศเย็นสบายคล้ายกับตอนฤดูใบไม้ผลิ ติดลบตอนกลางคืนแต่อบอุ่นจากแสงแดดจ้าตอนกลางวัน ใครอยากล่องแก่งในภูฏานต้องมาฤดูนี้ เพราะน้ำหลากที่สุด อากาศจะดีเรื่อยไปจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เวลาที่ฤดูหนาวอันหฤโหดจะเวียนมาเยือนอีกครั้ง ขับไล่นักท่องเที่ยวทั้งหมดออกจากประเทศ รอเวลาที่ฤดูใบไม้ผลิรอบใหม่จะเวียนมาถึง

มรสุมและพายุหิมะที่กระหน่ำช่วงฤดูฝนและฤดูร้อน ทำให้ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงเป็นเพียงสองช่วงหกเดือนในรอบปีที่นักท่องเที่ยวไปเยือนภูฏานได้

……

ธรรมชาติอันสวยงามแต่โหดเหี้ยมไร้ความปรานี บังคับให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่แม้ในปัจจุบันดำรงชีวิตอยู่อย่างล่อแหลมเหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย หากเดินเขาหรือขับรถพลาดนิดเดียวอาจหมายถึงการดิ่งลงเหวสู่ปรโลก หากโชคร้ายอาจถูกเสือ หมี หรือสัตว์ป่าอันตรายชนิดอื่นๆ ขย้ำตายระหว่างทาง

ภูมิประเทศอันตัดกันสุดขั้ว แปลว่ามรสุมและพายุหิมะอาจก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไร้สัญญาณบ่งบอก เวลาปีนเขา ชาวภูฏานทุกคนถูกสอนตั้งแต่เล็กให้ระวังหมอกภูเขา (”mist” ในภาษาอังกฤษ) ที่สามารถลอยมาปกคลุมเขาทั้งลูกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มองไม่เห็นทาง ทำได้อย่างเดียวคืออยู่เฉยๆ รอให้หมอกจาง มิฉะนั้นอาจหลงทางหรือตกเขาตายได้ เพราะหมอกนี้อยู่ได้หลายชั่วโมงหรือเป็นวันๆ ไม่มีใครคาดเดาได้ ทำให้ชาวภูฏานไม่ขนของพะรุงพะรัง “ค่ำไหนนอนนั่น” และพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินตลอดเวลา

…จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ในปัจจุบันยังมีชาวภูฏานอาศัยอยู่บนที่สูงกว่า 5,000 เมตร ทางตอนเหนือของประเทศ ใช้ชีวิตกึ่งร่อนเร่ด้วยการเลี้ยงจามรีเอาขน เนื้อ นม และเนยแข็ง

…ไม่น่าแปลกใจ ที่พุทธศาสนิกชาวภูฏานผู้เคร่งครัด จะปีนเขาหลายกิโลเป็นกิจวัตรไปปลีกวิเวกเจริญภาวนาอยู่ในถ้ำหรือศาลาเล็กๆ ที่อยู่บนชะง่อนเขาสูงกว่า 2,000 เมตร


หนูน้อยชื่อพีมาในชุดประจำชาติ แต่งตัวหล่อเหลามาเที่ยว
งานเมืองพาโรกับคุณพ่อคุณแม่

และไม่น่าแปลกใจ ที่พื้นเพชาวภูฏานมีนิสัยเด็ดเดี่ยวไม่กลัวใคร รักพวกพ้องแต่ก็รักสันโดษ ขยันทำงานแต่ใจเย็น พูดน้อยแต่ยิ้มง่าย และเหนือสิ่งอื่นใด พึ่งตนเองได้และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง

วงสนทนาในหมู่ชาวภูฏานจึงเต็มไปด้วยเรื่องเล่ามากมาย ถึงวีรกรรมของชาวบ้านที่เผชิญกับเรื่องผจญภัยต่างๆ โดยไม่คาดฝัน (คงเป็น “วีรกรรม” เฉพาะสำหรับพวกเรานักท่องเที่ยวคนเมืองผู้เดียงสาต่อโลก แต่เป็น “เรื่องสนุก” ธรรมดาๆ สำหรับคนภูฏาน)

เพื่อนชาวภูฏานเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนเราไปเยือนไม่นานนักว่า มีชาวบ้านคนหนึ่งพาฝูงวัวไปกินหญ้า เห็นเงาตะคุ่มๆ ในหญ้า นึกฉุนว่าวัวตัวนี้หลบไปนอนเลยหยิบหินขึ้นมาขว้างใส่ ปรากฎว่าเงานั้นไม่ใช่วัวแต่เป็นหมีตัวใหญ่ ตื่นมาด้วยความโกรธ ไล่ตะปบคนขว้างหินจนหนังศีรษะกับกะโหลกหลุดออกมาซีกหนึ่ง เผยให้เห็นเนื้อสมองแดงๆ ข้างใน ชายคนนั้นสู้กับหมีด้วยมือเปล่าต่อ จนหมีวิ่งหนีไป แล้วเก็บซีกกะโหลกตัวเองขึ้นมา เดินกลับบ้านไปซดเหล้าหนึ่งถ้วยก่อน แล้วค่อยเดินหลายกิโลไปโรงพยาบาล ประคองซีกกะโหลกตัวเองไว้ในมือ พอถึงโรงพยาบาลก็ไปนั่งต่อคิวรอหมออย่างใจเย็น!

จวบจนปัจจุบัน ผู้ชายชาวภูฏานก็ยังพกของสองสิ่งติดตัวตลอดเวลาไม่ต่างจากที่บรรพบุรุษของเขาเคยทำ: ถ้วยเหล้า และมีด

อย่างแรกไว้ดื่มเวลาไปแวะเยือนบ้านคนอื่น (ภูฏานมีประเพณี “ใครมาเยือนถึงเรือนต้องต้อนรับ” เหมือนกับคนไทย)

อย่างที่สองไว้ป้องกันตัวเวลาเจอศัตรู หรือสัตว์ป่าระหว่างทาง

……

ประวัติศาสตร์ที่บันทึกได้ของภูฏานเริ่มขึ้นปลายพุทธศตวรรษที่ 13 หรือประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว เมื่อพระอรหันต์ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์องค์หนึ่งชื่อ ครูรินโปเช หรือชื่อบาลีว่า ปทุมสมภพ (Padmasambhava) ขี่เสือบินมาจากทิเบต ร่อนลงบนชะง่อนเขาสูงในหุบเขาพาโร ซึ่งชะง่อนเขานี้ต่อมาเรียกว่า “รังเสือ” หรือ ตักซัง ในภาษาท้องถิ่น เมื่อปี พ.ศ. 1290 และเริ่มเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน (หรือที่คนไทยคุ้นหูในชื่อ ตันตระ) ให้กับชาวภูฏานซึ่งสมัยก่อนนับถือเพียงภูตผีและเทวดาในความเชื่อท้องถิ่น


ครูรินโปเช หรือพระปทุมสมภพ พระที่ชาวภูฏานเคารพ
ที่สุด นี่เป็นผ้าถักผืนใหญ่ เรียกว่า “ตังก้า” ตังก้าผืนนี้เก่า
แก่กว่า 300 ปี คลี่ออกมาให้คนชมปีละครั้งเท่านั้นใน
เทศกาลเมืองพาโร คลี่ออกตั้งแต่เช้ามืด ต้องคลี่เก็บก่อน
ตังก้าจะโดนแสงอาทิตย์ยามสาย เชื่อกันว่าใครที่ปฏิบัติ
ธรรมมาจนแก่กล้า จะสามารถบรรลุนิพพานได้ เมื่อเพ่ง
สมาธิมองตังก้าผืนนี้

ครูรินโปเชประสบความสำเร็จในการเผยแพร่พระธรรมในภูฏาน จนทำให้ชาวภูฏานขนานนามว่าเป็น “พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง” หลังจากนั้นมีพระทิเบตอีกหลายรูปที่ธุดงค์มาสานต่อเจตนารมณ์ ทำให้ศาสนาพุทธนิกายนี้ได้รับความเลื่อมใสจากประชาชนทั้งประเทศภายในพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งนอกจากสอนศาสนาแล้ว พระจากทิเบตเหล่านี้ยังเป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารอีกด้วย เพราะทิเบตยกทัพมาตีภูฏานอยู่เนืองๆ และในภูฏานเองก็เกิดการต่อสู้ระหว่างนิกายย่อยต่างๆ ในพุทธวัชรยาน เพื่อช่วงชิงอิทธิพลระหว่างกัน (วัชรยานจากทิเบตแตกสาขาออกเป็นนิกายย่อยสี่โรงเรียน คือ คายุ นิงมา ศักยา และ เกลัก ในภูฏานคายุและนิงมามีอิทธิพลสูงสุด พระทะไลลามะองค์ปัจจุบันเป็นพระในนิกายเกลัก)

ในที่สุดราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ภูฏานทั้งประเทศก็ถูกรวมให้เป็นปึกแผ่นภายใต้พระลามะนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ชื่อ ชับดรุง นกาวัง นัมกัล ผู้เป็นพระในสายคายุชื่อ ดรุกปา (คำว่า “ดรุก” แปลว่า “มังกร”) ชับดรุงผู้นี้รวบรวมกฎหมายให้เป็นปึกแผ่น ยึดอำนาจจากพระในนิกายอื่นๆ แต่ยอมให้คู่แข่งสำคัญของคายุ คือนิกายนิงมา เผยแพร่ศาสนาในภูฏานต่อไปได้ในภาคกลางและตะวันออกของประเทศ ปัจจุบันพระในนิกายนิงมานี้มีจำนวนประมาณหนึ่งในสามของพระทั้งหมดในภูฏาน อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากชาวบ้าน ที่เหลือเป็นพระในสายดรุกปา คายุ ของชับดรุง ที่สถาปนาขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ พระเหล่านี้เลี้ยงดูโดยภาครัฐ

ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของชับดรุงที่ยั่งยืนมาจวบจนปัจจุบัน คือการใช้ระบบการปกครองแบบคู่ขนาน โดยแบ่งอำนาจการปกครองสูงสุดระหว่างตำแหน่งผู้นำทางธรรม (พระสังฆราชสูงสุด) เรียกว่า เจอ เคนโป และผู้นำทางโลกย์ เรียกว่า เดซี ดรุก แบ่งประเทศออกเป็นมณฑล เรียกว่า ซ้องคัก แต่ละมณฑลมีผู้นำทั้งทางโลกย์ (เจ้าเมือง เรียกว่า เพนล็อป) และทางธรรม ปกครองจากปราสาทขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ซ้อง ซ้องเป็นทั้งป้อมปราการที่ป้องกันมณฑลจากการรุกรานของศัตรู เป็นศูนย์กลางการปกครอง สถานที่ราชการ และเป็นที่ตั้งวัดประจำมณฑลและกุฏิพระ การใช้ซ้องเป็นสถานที่ราชการและประกอบพิธีทางศาสนานั้น กระทำสืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบัน



ชับดรุงปกครองประเทศจากซ้องประจำมณฑลพูนาคา ซึ่งเป็นหนึ่งในซ้องที่สวยงามที่สุดของประเทศ จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ปัจจุบันศพของชับดรุงถูกเก็บรักษาไว้ในห้องศักดิ์สิทธิ์ด้านในสุดของซ้อง ไม่อนุญาตให้คนธรรมดาหรือแม้แต่พระมหากษัตริย์เข้าไปเยือน



เห็นได้ว่าพระทิเบตไม่เพียงแต่นำพระธรรมมาเผยแพร่เท่านั้น แต่ยังวางรากฐานการปกครองและรวบรวมประเทศเป็นปึกแผ่น จับอาวุธต่อสู้เพื่อสันติสุขของประชาชน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนภูฏานส่วนใหญ่นับถือและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ดำเนินชีวิตตามพระธรรมคำสั่งสอนอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันตักซัง จุดที่ครูรินโปเชนำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ เป็นที่ตั้งของวัดอันสวยงามเป็นที่เคารพบูชาที่สุดของคนภูฏาน ตั้งอยู่บนชะง่อนเขาสูงกว่า 3,000 เมตร มีพระสงฆ์อาศัยอยู่สืบเนื่องมากว่าพันปี



ชัยชนะอันเด็ดขาดของนิกายดรุกปา คายุของชับดรุง ทำให้ปัจจุบันคนภูฏานเรียกประเทศตัวเองว่า ดรุก ยุล (Druk Yul) ซึ่งแปลว่า ดินแดนแห่งมังกรคำราม ที่โลดแล่นอยู่บนธงชาติภูฏานบนพื้นเหลืองตัดสีแสด สีเหลืองแสดงอำนาจของพระมหากษัตริย์ และสีแสดเหมือนจีวรพระ เป็นสัญลักษณ์ของวัดในนิกายดรุกปา



หลังสิ้นชับดรุง ภูฏานก็เข้าสู่ช่วงสงครามกลางเมืองอันร้อนระอุอีกครั้ง เมื่อเจ้าเมืองของมณฑลต่างๆ แย่งชิงอำนาจระหว่างกัน สงครามนี้กินเวลากว่าสองร้อยปี จนกระทั่งเจ้าเมืองของมณฑล ตรงซา ชื่อ อูเก็น วังชุก กำชัยชนะเด็ดขาดเหนือเจ้าเมืองอื่นๆ และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน ในปี พ.ศ. 2450

หลังจากนั้นภูฏานก็อยู่อย่างสงบสุขเรื่อยมา จนกระทั่งรัฐบาลจีนบุกยึดประเทศทิเบตในปี พ.ศ. 2502 เหตุการณ์ก็บังคับให้ประเทศเล็กๆ ตัดสินใจก้าวขึ้นบนเวทีโลกเป็นครั้งแรก…

(โปรดติดตามตอนต่อไป)
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:48:16 »

ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (3)




“ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย” หนังสือของผู้เขียนที่รวบรวมบทความที่เคยลงบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6) บวกเนื้อหาเพิ่มเติม และอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่ีสีสวยงาม 16 หน้าเต็ม วางแผงแล้วนะคะ จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่

(หมายเหตุ: บางส่วนในตอนนี้ตัดต่อมาจากบทความเรื่อง GNH ที่เคยเขียนลงบล็อกนานแล้ว อ้อ อัพเดทโค้ดให้เว้นบรรทัดในคอมเม้นท์ได้ถูกต้อง อ่านง่ายขึ้นแล้วนะคะ กรุณากด CTRL+F5 ที่หน้านี้เพื่อ refresh เว็บ ถ้ายังเห็นเป็นอย่างเดิมอยู่)

ความพอเพียงและความสุข : เมื่อพุทธเศรษฐศาสตร์เป็นรูปธรรม

ถ้าพ่อแม่คุณเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่คบค้าสมาคมกับเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่ง ที่มีฐานะและเชื้อชาติเดียวกัน คุณกับลูกชายเพื่อนบ้านไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนเดียวกัน เล่นด้วยกัน ถูกคอจนคบกันเป็นเพื่อนสนิท ต่างจากเพื่อนบ้านทางทิศใต้ที่เป็นครอบครัวไทยเชื้อสายอินเดีย โพกหัวทั้งบ้าน นับถือศาสนาฮินดู ความที่พวกเขาแตกต่างจากคุณมากมายทำให้คุณไม่เคยกล้าคุยกับคนบ้านนั้นเลย

อยู่ดีๆ วันหนึ่งพ่อคุณก็มาบอกว่า ต่อไปนี้เราต้องเลิกคบกับบ้านคนจีนแล้วนะ เพราะพ่อแม่บ้านนั้นกลายเป็นคนเลวไปแล้ว เราทุกคนต้องหันไปคบกับบ้านคนอินเดียแทน ลูกต้องตัดใจ ปรับตัวให้เข้ากับลูกชายบ้านโน้นให้ได้ ห้ามกลับไปคุยกับเพื่อนเก่าเด็ดขาด

คุณจะรู้สึกอย่างไร?

ความรู้สึกของคุณ ก็คงไม่ต่างจากความรู้สึกของคนภูฏาน ตอนที่พระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี กษัตริย์องค์ที่สามของราชวงศ์วังชุก ทรงประกาศปิดพรมแดนตอนเหนือของประเทศอย่างกะทันหันเมื่อปี พ.ศ. 2494 เมื่อกองทัพจีนบุกเข้ายึดครองทิเบต ภูฏานตัดขาดความสัมพันธ์กับประเทศจีน เพื่อนบ้านซึ่งมีประชากรเชื้อสายและศาสนาเดียวกันกับคนภูฏาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


พระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี วังชุก ผู้ประกาศ
ตัดความสัมพันธ์กับจีน และนำภูฏาน
เข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาสมัยใหม่

เมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์อันยาวนานหลายร้อยปี (แม้จะสัมพันธ์กันแบบคู่แค้นมากกว่าคู่รัก คล้ายไทยกับพม่า) ตลอดจนความใกล้เคียงกันของเชื้อชาติและศาสนา การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวครั้งโน้นของพระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแม้แต่น้อย

เพราะการปิดพรมแดนนับเป็นการ “ท้าทาย” มหาอำนาจอย่างจีน ซึ่งสามารถบุกมาครอบครองประเทศเล็กๆ อย่างภูฏานได้ทุกเมื่อ ถ้าเกิดครึ้มอกครึ้มใจขึ้นมา

ความที่เป็นประเทศเล็กนิดเดียวแต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำและป่าไม้ ทำให้ภูฏานเป็นเป้าชั้นดี น่าดึงดูดกว่าทิเบตหลายเท่า

อันตรายข้อนี้แปลว่า ภูฏานไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวเช่นที่ผ่านมาในอดีตได้อีกต่อไป เมื่อไม่คบกับจีน ก็ต้องหันไปคบกับอินเดีย มหาอำนาจเพื่อนบ้านอีกประเทศที่ภูฏานเป็น “กันชนธรรมชาติ” ให้ และต้องเริ่มพัฒนาประเทศให้เป็นสมัยใหม่ มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งพอที่จะช่วยตัวเองได้ เพื่อป้องกันการรุกรานทางเศรษฐกิจจากจีน

นอกจากนั้น พระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี ก็ทรงเล็งเห็นว่าภูฏานควรสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เพื่อหาแนวร่วมจากประชาคมโลก ป้องกันในกรณีที่จีนเกิดลุกขึ้นมาบุกจริงๆ

การตัดสินใจของพระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี จึงถือได้ว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ภูฏาน

……

จากประเทศที่อยู่คนเดียวเงียบๆ อย่างสันโดษ ภูฏานเริ่มคบค้าสมาคมกับอินเดียในทศวรรษ 2500 และเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2514

ตอนที่ภูฏานตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกสหประชาชาตินั้นก็มีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่คนภูฏานชอบมาเล่าต่อให้นักท่องเที่ยวฟัง ความที่ประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงที่ยากแก่การไปมาหาสู่ระหว่างชุมชนต่างๆ ทำให้ภูฏานไม่เคยทำสำมะโนประชากรอย่างจริงจัง และไม่รู้ว่าประชากรทั้งประเทศมีกี่คนกันแน่ เลยบอกสหประชาชาติไปว่า “600,000″ เพื่อให้ประเทศดูมีความหนาแน่นของประชากรที่สมน้ำสมเนื้อกับอาณาบริเวณ ปัจจุบันคนภูฏานส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเชื่อตัวเลขทางการที่ว่ามีประชากรกว่า 700,000 สักเท่าไหร่ แต่พวกเขาก็ดูจะไม่อนาทรร้อนใจอะไรกับความไม่แน่นอนข้อนี้ เพม่า เพื่อนคนภูฏานบอกว่า เอาเวลาไปเล่าโจ๊กสัปดนในวงเหล้าสนุกกว่าตั้งเยอะ


ทาคิน สัตว์ประจำชาติภูฏาน รูปนี้ถ่ายในสถานอนุรักษ์
ทาคิน นอกเมืองพาโร สหประชาชาติให้เงินอุดหนุน
เลี้ยงทาคินประมาณสิบตัว กับเก้งสีทองอีกหลายตัว

นอกจากจะรายงานตัวเลขประชากรแล้ว ภูฏานยังต้องแจ้งต่อสหประชาชาติด้วยว่า สัตว์ประจำชาติคืออะไร ภูฏานตัดสินใจเลือกตัวทาคิน สัตว์ขนปุกปุยหน้าตาเหรอหรา ตำนานภูฏานเล่าว่า ทาคินตัวแรกกำเนิดมาจากอิทธิฤทธิ์ของดรุกปา คุนเลย์ พระในนิกายดรุกปา 600 ปีก่อน ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในการเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบแปลกประหลาดและสัปดนจนชาวบ้านขนานนามว่า “พระบ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์” (the Divine Madman) วันหนึ่งสาวกของนักบวชรูปอื่น มาท้าให้ดรุกปา คุนเลย์ สำแดงปาฏิหาริย์ให้ดู คุนเลย์ก็บอกว่า ไปเอาวัวกับแพะมาให้ข้ากินเป็นอาหารเที่ยงก่อน คุนเลย์กินวัวกับแพะเข้าไปทั้งตัว เหลือไว้แต่กระดูก จากนั้นก็หยิบหัวแพะมาปักลงบนโครงกระดูกวัว ดีดนิ้วดังเปาะแล้วบอกว่า ข้าขอสั่งให้เจ้าลุกขึ้น ไปหากินอยู่บนเขาสูง ณ บัดนี้ เมื่อสิ้นเสียงพระคุนเลย์ โครงกระดูกพิสดารนั้นก็กลายร่างเป็นตัวทาคินตามสั่ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนที่ท้าเหล่านั้นจะกลายเป็นสาวกของใครนับจากนั้น

ตอนนี้ทาคินทั้งหมดอาศัยอยู่ในสวนสัตว์เืมืองทิมพู ซึ่งกลายเป็นสถานอนุรักษ์ทาคินไปโดยปริยายเมื่อพระเจ้าจิ๊กมี่ ซิงยี ทรงสั่งให้ปล่อยสัตว์ทั้งหมดในสวนสัตว์กลับเข้าป่า แต่ฝูงทาคินไม่ยอมขึ้นเขาไปเหมือนสัตว์อื่นๆ กลับมาเดินกีดขวางทางจราจรกลางเมืองทิมพู รัฐบาลก็เลยจำใจต้อนทาคินทั้งหมดกลับเข้าไปอยู่ในสวนสัตว์ดังเดิม


เมืองใหญ่ ยอดเขา และทางหลวงหลักของภูฏาน

เมื่อเอ่ยถึงอินเดีย ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าทำไมอังกฤษไม่เคยกรีฑาทัพไปยึดภูฏานมาเป็นเมืองขึ้นระหว่างที่อังกฤษปกครองอินเดียอยู่ อันที่จริง กองทัพอังกฤษรุกรานภูฏานบ่อยครั้งในสมัยนั้น แต่โชคดีที่อังกฤษมองภูฏานว่าเป็นเพียงรัฐกันชน (buffer state) ระหว่างจีนกับอินเดียเท่านั้น จึงไม่เคยตั้งใจรุกรานเพื่อปกครองอย่างจริงจัง ภูฏานตกลงประนีประนอมที่จะ “ยอมรับการชี้นำของรัฐบาลอังกฤษในนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ในขณะที่อังกฤษก็ยอมที่จะ “ไม่แทรกแซงการบริหารจัดการภายในของภูฏาน” ข้อตกลงนี้ช่วยทำให้ภูฏานไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครเลยตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา

หลังจากที่ภูฏานตัดสินใจผูกไมตรีกับอินเดียแล้ว อินเดียก็เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศภูฏานให้เป็นสมัยใหม่แทบจะทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณูปโภค แลกกับค่าจ้างและไฟฟ้า ปัจจุบันภูฏานมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตไฟฟ้าส่งอินเดียหลายแห่ง เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ

เหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์การพัฒนาอันแสนสั้นของภูฏานลำดับคร่าวๆ ได้ดังนี้

[LIST=1]
  • ทศวรรษ 2500 - 2510: ประกาศใช้สกุลเงินนุลตรัม (ปัจจุบัน 1 บาท แลกได้ประมาณ 1.16 นุลตรัม) แทนระบบแลกเปลี่ยนสิ่งของ (barter economy) เริ่มสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ส่งไฟฟ้าไปตามบ้านเรือน และวางเครือข่ายโทรคมนาคม
  • ทศวรรษ 2510 - 2520: พัฒนาระบบการศึกษา สร้างโรงเรียนทั่วประเทศโดยจ้างครูชาวอินเดียมาสอน วิชาทั้งหมดปัจจุบันยังสอนเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาซองก้าซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ เป็นเหตุว่าทำไมชาวเมืองส่วนใหญ่ และเด็กเล็กๆ ทุกคนพูดภาษาอังกฤษคล่องกว่าเราเสียอีก
  • ปี 2517: เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเป็นครั้งแรก
  • ปี 2518: สร้างทางหลวงสายแรกในประเทศ โดยจ้างแรงงานชาวเบงกอลจากอินเดีย
  • ทศวรรษ 2520 - 2530: ราดยางมะตอยบนถนน และสร้างโรงพยาบาลในชนบทจนครบทุกมณฑล
  • ปี 2542: ยกเลิกการแบนโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต เปิดสถานีโทรทัศน์ และให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตได้เป็นครั้งแรก (เนื่องในโอกาสพระเจ้าจิ๊กมี่ ซิงยี กษัตริย์องค์ปัจจุบันผู้สืบทอดบัลลังก์จากพระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี ครองราชย์ครบ 25 ปี) ทำให้คนภูฏานเป็นประเทศท้ายๆ ของโลกที่มีโทรทัศน์ใช้
  • ปี 2547: ดรุกแอร์ สายการบินแห่งชาติ ซื้อเครื่องบินแอร์บัส A319 ลำแรก ข่าวนี้นำความดีใจมาสู่นักท่องเที่ยวทุกคน เพราะภูฏานไม่อนุญาตให้สายการบินอื่นลงจอดในประเทศ สมัยก่อนดรุกแอร์ใช้เครื่องบินใบพัดของเยอรมัน เวลาบินพึ่บพั่บๆ เลียบเขาหิมาลัยทีไร คนนั่งต้องกลั้นหายใจทุกที
เพราะการพัฒนาประเทศเพิ่งเริ่มอย่างจริงจังหลังปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา และภูฏานก็ไม่ได้เป็นประเทศร่ำรวยที่จะมีเงินจ้างต่างชาติมาเนรมิตสาธารณูปโภคให้แบบรวดเร็วทันใจ ทำให้หลายๆ พื้นที่ในภูฏานยังล้าหลังอยู่มาก โดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลจากทิมพู เมืองหลวงของประเทศ ในมณฑลบุมทังทางภาคกลาง ซึ่งอยู่ห่างจากทิมพูประมาณ 7 ชั่วโมงรถ ชาวบ้านหลายคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยแสงไฟจากการเผาเปลือกไม้ ไม่ต่างจากบรรพบุรุษหลายร้อยปีก่อน และยังไม่คุ้นเคยกับระบบเงินตราดีเพราะใช้ระบบแลกเปลี่ยนสิ่งของจนเคยชิน ผู้เขียนประสบกับตัวเองหลายครั้งระหว่างเยือนบุมทัง ได้ท็อฟฟี่แทนเงินทอนมาหลายเม็ดจนเอามาแปะในบันทึกการเดินทางเป็นที่ระลึก:


ได้รับท็อฟฟี่แทนเงินทอนมาสองเม็ด ตอนไปซื้อหนังสือพิมพ์ควนเซล

……

แม้ว่าภูฏานจะได้รับความช่วยเหลือมากมายจากต่างชาติในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ (คนสวิสไปตั้งรกรากในภูฏานหลายสิบคน คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าชาวสวิสชอบภูฏานเพราะมีภูมิประเทศและอากาศดี คล้ายกับสวิสเซอร์แลนด์ที่เป็นประเทศเล็กๆ บนภูเขาเหมือนกัน แถมยังชอบกินชีสเหมือนกันอีกด้วย) ธนาคารโลก และองค์กรของสหประชาชาติ ภูฏานก็ยังคงรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่น และสามารถการเจรจาต่อรองกับมหาอำนาจ ให้ความร่วมมือต่างๆ เกิดผลประโยชน์สูงสุดโดยจำกัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด


คนงานก่อสร้างชาวอินเดียกำลังใช้ค้อนทุบหินก้อนใหญ่
ให้เป็นก้อนเล็กๆ ภาพนี้เห็นบ่อยครั้ง ตลอดสองข้างถนน
ภูฏานจ้างแรงงานจากอินเดีย และเนปาลมาสร้างถนนให้
ไม่เคยเห็นคนภูฏานทำงานนี้

ยกตัวอย่างเช่น ภูฏานตกลงจ้างคนอินเดียมาสอนหนังสือ แต่ระบุว่าครูเหล่านั้นต้องมาจากมณฑลในอินเดียที่อยู่ห่างไกลจากภูฏาน ไม่ให้มาจากมณฑลที่อยู่ติดชายแดนภูฏานเช่น สิกขิม เนื่องจากกลัวว่าคนอินเดียจำนวนมากจะอพยพมาตั้งรกรากในภูฏานถ้าพวกเขามาจากพื้นที่ใกล้เคียง เพราะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องได้สะดวก นอกจากนี้ ภูฏานก็ให้ใบอนุญาตคนอินเดีย (ทั้งที่เป็นครู และกรรมกรที่มาทำงานก่อสร้าง) มาทำงานได้คราวละ 1 ปีเท่านั้น รัฐบาลภูฏานให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะมีปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายหลายกรณี เช่น ปัจจุบันมีชาวเนปาลอพยพเข้าไปอยู่ในภูฏานกว่า 100,000 คน และขบวนการก่อการร้ายบางองค์กรทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียก็ข้ามมาใช้ภูฏานเป็นที่ตั้งในการจู่โจม เพื่อเรียกร้องอิสรภาพคืนให้กับรัฐของตน

คงไม่มีอะไรที่จะสะท้อน “ความเป็นตัวของตัวเอง” และแนวคิดการพัฒนาอันเป็นเอกลักษณ์ของภูฏาน ได้ดีกว่าแนวคิดเรื่อง “ความสุขประชาชาติ” หรือ Gross National Happiness (GNH) ดังที่พระเจ้าจิ๊กมี่ ซิงยี กษัตริย์ภูฏานองค์ปัจจุบัน ทรงประกาศอย่างเด็ดเดี่ยวในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2515 ว่า:

“Gross National Happiness is more important than Gross National Product.”
(ความสุขประชาชาติสำคัญกว่าผลผลิตรวมประชาชาติ)



พระเจ้าจิ๊กมี่ ซิงยี วังชุก กษัตริย์
ภูฏานองค์ปัจจุบัน กษัตริย์เท่านั้นที่
ใช้ผ้าพาดไหล่สีเหลืองได้

พระราชดำรัสของพระเจ้าจิ๊กมี่่ ซิงยี ไม่ใช่เป็นแค่คำพูดเพราะๆ ธรรมดา แต่เป็นปรัชญาที่พระองค์และคณะรัฐมนตรี ใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศที่จัดทำทุกๆ 5 ปี GNH คือหัวใจหลักของวิธีการพัฒนาประเทศโดยใช้หลักศาสนาพุทธเป็นที่ตั้ง ซึ่งกำลังก่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมอันน่าติดตามอย่างยิ่ง

ปัจจุบันภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่วัดความเจริญของประเทศด้วยปรัชญา GNH แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาประเทศ นั่นคือ การสร้างสมดุลระหว่างความเจริญด้านวัตถุ กับความเจริญด้านจิตใจ

ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับแนวคิดเรื่อง GNH ของภูฏาน ควรเล่าตรงนี้ก่อนว่า พระเจ้าจิ๊กมี่่ ซิงยี เป็นกษัตริย์นักพัฒนาสมัยใหม่ที่เข้าพระทัยความหมายของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” อย่างลึกซึ้งและในทุกมิติ พระองค์ไม่เพียงแต่สานต่อนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจจากพระบิดาเท่านั้น แต่ยังทรงสานต่อนโยบายปฏิรูปการเมืองอย่างเข้มข้น โดยผ่องถ่ายอำนาจทางการปกครองของพระองค์ไปยังประชาชนทีละน้อย

ในปี พ.ศ. 2541 พระองค์ทรงสละอำนาจส่วนใหญ่ให้กับนายกรัฐมนตรีคนแรกของภูฏาน และออกกฎหมายที่ยอมให้รัฐสภาโหวตถอดถอนพระมหากษัตริย์ออกจากอำนาจได้ ด้วยคะแนนสองในสาม (สองในสามของรัฐสภาภูฏานประกอบด้วย ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง อีกหนึ่งในสามเป็นตัวแทนของศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นผู้เสนอชื่อเจ้าหน้าที่รัฐในระดับต่างๆ ให้รัฐสภาอนุมัติ) ต่อมา พระองค์ทรงริเริ่มการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ซึ่งกำลังผ่านกระบวนการทำประชาพิจารณ์รอบสุดท้าย จะประกาศใช้ในปี 2551

เมื่อถึงวันนั้น ภูฏานจะใช้ระบอบประชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เช่นเดียวกับประเทศไทย และอังกฤษ พระเจ้าจิ๊กมี่่ ซิงยี จะทรงสละราชสมบัติให้มกุฎราชกุมารขึ้นครองราชย์แทน

ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่า กษัตริย์ภูฏานทุกพระองค์ต้องสละราชสมบัติเมื่อมีพระชนมายุครบ 65 พรรษา

นับเป็นเรื่องแปลกแต่น่าสรรเสริญ ที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจล้นเหลือในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะยอมมอบอำนาจในการปกครองประเทศของพระองค์ ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน

กลับมาเข้าเรื่อง GNH กันต่อ

ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์และนักพัฒนาในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะมหาอำนาจโลกตะวันตกทั้งหลาย กำลังหันมาสนใจเรื่อง GNH เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่ห่างขึ้น และคุณภาพชีวิตตกต่ำ ล้วนทำให้เราเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า GNP หรือ GDP เป็นตัววัด “ความเจริญ” ที่แย่มากสำหรับโลกปัจจุบัน เพราะวัดการ “สะสมด้านวัตถุ” เพียงมิติเดียวเท่านั้น แถมเป็นด้านวัตถุที่ถูกครอบงำโดยบริษัทและภาครัฐอย่างสิ้นเชิงด้วย เพราะไม่รวมกิจกรรมของผู้ที่อยู่ใน “เศรษฐกิจชายขอบ” (informal economy) ซึ่งไม่ได้เป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคม และไม่ได้รับการปกป้องทางกฎหมายใดๆ เช่น พ่อค้าแม่ค้ารถเข็น กรรมกรรายวัน ฯลฯ (เศรษฐกิจชายขอบของไทยมีมูลค่ากว่า 52% ของเศรษฐกิจรวม)

นอกจากนี้ GNP และ GDP ก็ไม่สามารถแยกแยะสินค้า “ดี” ออกจากสินค้า “เลว” (เช่น ปืน มีด เม็ดเงินที่นักการเมืองเลวๆ โกงชาติไป รวมทั้งค่าจ้างของที่ปรึกษาเฮงซวยทั้งหลาย เช่น ทนายที่หาช่องโหว่ของกฎหมายให้คนเลว หรือสถาบันการเงินที่หาวิธีต้มตุ๋นนักลงทุนให้ลูกค้า เช่นกรณีอื้อฉาวของ Enron) ออกจากกันได้ ดังนั้นปีไหนปืนขายดี (ซึ่งอาจทำให้สถิติการปล้นฆ่าสูงขึ้น) หรือปีไหนธุรกิจทนายรวยขึ้นเพราะมีลูกค้ามาจ้างทนายเลวๆ ให้แนะวิธีโกง ตัวเลข GDP ของประเทศก็ยังคงสูงขึ้น ทั้งๆ ที่สินค้า “เลว” เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม

เสียงสะท้อนของคนสมัยใหม่ให้ภาพไม่ต่างกัน เช่น ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา รายได้ของชาวอเมริกันสูงขึ้นสามเท่า แต่คนไม่ได้รู้สึกมีความสุขมากกว่าเดิม ผลการวิจัยใน “เศรษฐศาสตร์ความสุข” (happiness economics) เศรษฐศาสตร์แขนงใหม่มากๆ ก็กำลังชี้ให้เห็นว่า เงินอย่างเดียวซื้อความสุขไม่ได้ มีปัจจัยอื่นๆ มากมายที่ผลต่อความสุขของคนสมัยใหม่ เช่น ความรัก สุขภาพจิต ความรู้สึกปลอดภัย ระดับรถติด ระดับมลพิษ ฯลฯ

ในปี 2541 รัฐบาลภูฏานประกาศใช้แผนพัฒนาประเทศฉบับแรกที่ตั้งอยู่บนหลักการ GNH โดยมีสี่มิติที่เรียกว่า “Four Pillars of Happiness” (สี่เสาหลักแห่งความสุข) ได้แก่:

  • การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (sustainable economic development)
  • การรักษาสิ่งแวดล้อม (conservation of the environment)
  • การส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติ (promotion of national culture)
  • ธรรมาภิบาลที่ดี (good governance)
แม้ภูฏานจะใช้ GNH เป็น “ปรัชญา” ในการดำเนินนโยบาย ไม่เคยคิดจะวัดค่านี้ออกมาเป็นตัวเลข (เรื่องนี้ยังไงๆ ก็มีนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกพยายามทำอยู่ดี) แต่นโยบายเศรษฐศาสตร์ “นอกกระแส” ของภูฏาน กำลังเกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น ภูฏานมีนโยบายปลูกป่าทดแทนอย่างเคร่งครัด ทำให้ยังมีป่ากว่า 70% ของประเทศ แม้จะมีการตัดถนนอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีแล้ว นอกจากนี้ก็จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ด้วยโควต้าคนและภาษีท่องเที่ยวที่แพงลิบลิ่ว (US$200 ต่อคนต่อวัน) เพราะไม่ต้องการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเป็นแสนๆ เข้าไปทำลายความบริสุทธิ์ของป่าเขา หรือความเงียบสงบของวัด อีกตัวอย่างที่น่าคิดคือ เมื่อไม่นานมานี้หมู่บ้านหนึ่งติดตั้งไฟฟ้าให้ทุกบ้าน แต่ค้นพบว่านกกระเรียนหลายตัวบินไปติดสายไฟฟ้า ถูกไฟช็อตตาย ชาวบ้านก็พร้อมใจกันถอนเสาไฟฟ้าออกหมด แล้วหันมาใช้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แทน

ยอมลดระดับเทคโนโลยีลงมา เพราะไม่ต้องการเห็นนกกระเรียนถูกฆ่า นี่เป็นตัวอย่างของการหาจุดสมดุลระหว่างหลักธรรมะ กับความสะดวกสบายสมัยใหม่ ที่น่าประทับใจและหายากยิ่งในโลกปัจจุบัน

ตอนนี้ภูฏาน หนึ่งในประเทศยากจนที่สุดในโลก กำลังเป็นผู้นำในการเสวนาระดับโลกเรื่อง GNH ภูฏานจัดสัมมนาเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีนักวิชาการ นักวิจัยและนักพัฒนาเข้าร่วมกว่า 82 คน จาก 20 ประเทศ บทความต่างๆ จากการสัมมนานี้ มีการรวมเล่มเป็นหนังสือ ที่ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ได้ที่นี่ (PDF format, 233 หน้า) หรือจาก เว็บไซด์ Gross National Happiness ที่มีข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแนวคิดและการค้นคว้า GNH ที่น่าสนใจอีกมากมาย

……

ปรัชญา GNH ของภูฏาน จริงๆ แล้วก็ไม่ต่างจากปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ในพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 9 เท่าไรนัก

ผิดกันตรงที่รัฐบาลภูฏานนำปรัชญา GNH ไปวางแนวนโยบายจริงๆ ในขณะที่รัฐบาลไทยทุกชุดที่ผ่านมา “ดีแต่พูด” เท่านั้น

ตรงนี้อาจเห็นใจรัฐบาลไทยได้บ้าง เพราะการทำให้คน 700,000 คนมีความสุข คงง่ายกว่าการทำให้คน 60 ล้านคนมีความสุข

แต่ถ้ารัฐบาลยังไม่เริ่มทำอะไรจริงจัง ก็ไม่มีวันที่จะเห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร และข้อจำกัดของปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้น มีอะไรบ้าง

การที่ภูฏานยังมีประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคมได้อย่างค่อนข้างทั่วถึง เช่น ตอนนี้ชาวภูฏานไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และทุกคนได้เรียนฟรีถึงม. 4 (เกรด 10) นอกจากนี้ กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้ที่ทำกินประมาณ 10 ไร่ฟรีจากรัฐบาล (แม้ว่าระยะหลังจะเริ่มมีปัญหา เพราะที่ดินเปล่าเริ่มเหลือน้อย รัฐบาลมักให้ที่ดินบริเวณภาคใต้ ซึ่งคนภูฏานไม่ชอบไปอยู่เพราะมีชาวเนปาลแปลกหน้าอาศัยอยู่เยอะ มีปัญหาความรุนแรงตามแนวชายแดนที่เคยเล่าไปแล้ว)

คนภูฏานส่วนใหญ่อยู่กันเป็นครอบครัว ทุกคนช่วยกันทำมาหากิน ใครเข้าเมืองไปหางานทำ ไม่มีงานก็กลับมาทำนาที่บ้าน ยังไงๆ ก็ไม่อดตาย

ความที่ประชาชนทุกคนมีที่ดินทำกิน มีปัจจัยสี่ครบถ้วน และมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมากมาย ทำให้คนภูฏานส่วนใหญ่ไม่คิดว่าเขา “ยากจน”

แต่ความ “พอเพียง” ของคนภูฏาน เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งไปกว่าความพอเพียงด้านวัตถุ (ปัจจัยสี่) เพราะประกอบด้วยความรู้สึกทางจิตวิญญาณอีกมิติหนึ่ง ซึ่งเป็นมิติที่ซับซ้อน เป็นนามธรรม สะท้อนอยู่ในภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมีเงื่อนงำ

ในซองก้า ภาษาประจำชาติภูฏาน คำว่า “อยากได้” (want) และคำว่า “จำเป็น” (need) เป็นคำๆ เดียวกัน คล้ายกับคำว่า “ต้องการ” ในภาษาไทย แต่ซองก้าไม่มีคำว่า “อยากได้” ที่ใช้สื่อเวลาต้องการของที่ไม่จำเป็น


ศาลพระภูมิเคลื่อนที่ ประกอบด้วยพระพุทธรูป และพระ
โพธิสัตว์ในนิกายวัชรยานนับร้อยองค์ แบกมาเปิดให้คน
บูชาเฉพาะในงานเทศกาลที่สำคัญๆ ภาพนี้ป้อถ่ายในงาน
เทศกาลเมืองพาโร เมษายน 2549

อีกตัวอย่างหนึ่ง คนภูฏานมีคำกล่าวว่า “เป็นเรื่องยากที่จะฝึกลูกชายคนจนให้ทำงาน และยากที่จะเลี้ยงดูลูกชายคนรวย”

สุภาษิตบทนี้มาจากความเชื่อของชาวภูฏานว่า คนจนมีฐานะยากจนเพราะมีนิสัยเกียจคร้าน จึงยากที่จะฝึกให้ทำงาน ในขณะที่ลูกคนรวยมีสมบัติทุกชนิดเท่าที่พ่อแม่จะซื้อหามาประเคนให้ จึงหมดความสนใจที่จะเรียกร้องอะไรอีกแล้ว

สิ่งที่ซ่อนอยู่ในสุภาษิตบทนี้คือสมมุติฐานสองข้อ:

ข้อแรก สังคมเปิดโอกาสให้คนจนหายจนได้ ถ้าขยันทำงาน

ข้อสอง คนรวยนั้นเมื่อรวยถึงจุดหนึ่งแล้วก็จะรู้จักพอ

ดังนั้น สุภาษิตนี้คงใช้กับสังคมไทยสมัยใหม่ไม่ได้ เพราะคนจนในไทยหลายรายไร้โอกาสเสียจนทำงานเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหายจน ในขณะที่คนรวยบางคน มีเงินถึงเจ็ดหมื่นล้านแล้วก็ยังอยากจะรวยกว่าเดิม

ความพอเพียงด้านจิตใจของคนภูฏานนั้น เป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่าความพอเพียงด้านวัตถุหลายเท่า

เพราะถ้าใครไม่รู้จักคำว่า “พอ” ไม่ว่ารัฐบาลจะใช้ปรัชญา GNH ขนาดไหนอย่างไร ประชาชนก็คงไม่มีความสุขอยู่นั่นเอง

ความพอเพียงด้านจิตใจนี้มาจากไหน?

บางที คำตอบอาจอยู่ในความผูกพันของคนภูฏาน ต่อศาสนาที่แสดงออกทางการเต้นรำหลากสีสัน เสียงสวดระงมของพระหลายร้อยรูป ตลอดจนรูปวาดอันน่าเกลียดน่ากลัว และสัปดนเกินกว่าที่คนไทยส่วนใหญ่จะยอมรับว่าสืบเนื่องมาจากปรัชญาเดียวกันกับเถรวาทในไทย

นั่นคือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ ตันตระ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:49:53 »

ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (4)




“ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย” หนังสือของผู้เขียนที่รวบรวมบทความที่เคยลงบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6) บวกเนื้อหาเพิ่มเติม และอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่ีสีสวยงาม 16 หน้าเต็ม วางแผงแล้วนะคะ จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่

ความย้อนแย้งที่ไม่ขัดแย้ง : พุทธและไสยในชีวิตประจำวัน

เสียงระฆังภาวนาหมุนบนแกนไม้ดังครืดคราดๆ และแสงแวววาวของร่มกาสาวพัสตร์สีทองที่ประดับยอดหลังคา เป็นสัญญาณบอกว่าเราได้มาถึงวัดอีกแห่งแล้ว

ดูวัดมากๆ เข้าก็ชักเกิดอาการ “เบลอ” จำผิดจำถูก สงสัยสมองจะถูกฤทธิ์เหล้าขาวภูฏานที่เรียกว่า อะรา เล่นงานให้ฟั่นเฟือน แต่เจ้าอะรานี่ก็อร่อยไม่ใช่เล่น ทำจากข้าวสาลีหมัก ตอกไข่ใส่ก่อนกิน ทั้งฉุนทั้งคาวแต่รสชาติออกหวานอมเปรี้ยว ไกด์ชอบคะยั้นคะยอให้เราดื่ม บอกว่ามาภูฏานต้องปาร์ตี้ ถ้าไม่ปาร์ตี้ก็ยังไม่รู้จักภูฏานจริง

หยุดคิดเรื่องเหล้าได้แล้ว จิตใต้สำนึกเตือน นี่เขตวัดนะ สำรวมตัวหน่อย ดูซิ ขนาดพระตัวน้อยๆ ยังมีวินัย ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน มานั่งโยกตัวอ่านบทสวดมนต์งึมงำไม่ขาดสายไปจนกระทั่งอาทิตย์ตกดิน ยกเว้นเวลาหยุดฉันข้าวช่วงสั้นๆ ระหว่างวันเท่านั้น


พระตัวน้อยวิ่งเข้าอุโบสถวัดหลวง ในซ้องเมืองพูนาคา

แต่พระพวกนี้ยังไงๆ ก็ยังเป็นเด็กนะ อีกเสียงแย้งขึ้นมาในหัว เป็นเด็กแต่กลับถูกบังคับให้ทำตัวเป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้เล่นอย่างที่เด็กควรจะเล่น น่าสงสารจะตาย

เอาเถอะ เสียงแรกตัดบท อย่างน้อยพ่อแม่ที่ส่งเด็กพวกนี้เข้าวัดตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบก็คงรู้สึกปลื้มใจที่เห็นลูกอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ แถมเด็กพวกนี้ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ได้รับการศึกษา ไม่ต้องทำงานหนัก มีข้าวกินทุกมื้อจนตาย ดูเป็นชีวิตที่น่าอิจฉาออก

ก็อาจจะจริง เสียงแย้งไม่ลดราวาศอก แต่ถ้าเด็กไม่อยากเป็นพระล่ะ อย่าลืมว่าภูฏานไม่มีประเพณีประเภทผู้ชายบวชเรียนไม่กี่พรรษานะ ทุกคนที่บวชเป็นพระต้องทำใจว่าจะเป็นพระไปจนตาย พระที่ตัดสินใจสึกออกมาเป็นฆราวาสใหม่จะถูกเรียกว่า เก็ตเต้ ไปตลอดชีวิต ถูกสังคมดูแคลนว่าเป็นพวกใจเสาะ แม้ไม่ถึงขนาดแสดงความเหยียดหยามจนออกนอกหน้า เก็ตเต้ที่ตกเป็นเป้าสายตาก็สามารถรู้สึกได้ถึงชนักที่ปักหลังอยู่ ทั้งๆ ที่เขาอาจไม่เคยอยากเป็นพระเลย แต่ถูกพ่อแม่บังคับให้เป็น คนเราทุกคนเกิดมาก็ควรมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกทางเดินชีวิต มิใช่หรือ?

“ทางนี้ครับ!” เสียงทาชิ ไกด์ชาวภูฏานฉุดให้ออกจากภวังค์ ทำให้ต้องระงับการโต้วาทีคนเดียวไว้เท่านี้ก่อน


วัดคิชู (Kyichu Lhakhang) หนึ่งในสองวัดเก่าแก่ที่สุด

วันนี้เรามาเยือนวัดชื่อ คิชู ในหุบเขาพาโร คนภูฏานเรียกว่า คิชู ลาคัง (”ลาคัง” แปลว่า “วัด” ในภาษาซองก้า) เป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่เคารพสักการะที่สุดของประเทศ สร้างโดยกษัตริย์ทิเบตชื่อ ซองเซ็น กัมโป เมื่อประมาณ 1,400 ปีที่แล้ว หรือนับร้อยปีก่อนครูรินโปเชจะมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในภูฏาน ตำนานเล่าว่า เมื่อพระเจ้าซองเซ็นอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชาวจีนชื่อเหวินเชนนั้น พระนางเหวินเชนได้อัญเชิญรูปปั้นเจ้าชายสิทธัตถะจากจีน เพื่อเป็นสินสอดไปถวายพระเจ้าซองเซ็นในเมืองลาซาของทิเบต แต่ระหว่างทาง เจอยักษีตนหนึ่งใช้ร่างกายใหญ่โตนอนทับส่วนหนึ่งของทิเบตและภูฏานทั้งประเทศ กดรูปปั้นให้จมหล่มโคลนยกไม่ขึ้น พระเจ้าซองเซ็นจึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ ส่งรูปจำแลงของพระองค์ออกไปสร้างวัดพุทธ 108 แห่งในวันเดียว ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วร่างยักษีเพื่อกำราบมันให้อยู่หมัด วัดคิชูนี้ตั้งอยู่บนเท้าซ้ายของยักษี (วัดที่สร้างบนหัวใจยักษีชื่อ โจคัง อยู่ที่เมืองลาซา เมืองหลวงของทิเบต)

วัดที่พระเจ้าซองเซ็นสร้างในภูฏานมีสองวัดเท่านั้น คือคิชูและ จุมเป ในมณฑลบุมทัง ซึ่งเราจะไปเยือนในทริปนี้ด้วย

เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ ในภูฏาน วัดคิชูไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปข้างในอุโบสถ จริงๆ แล้ววัดภูฏานหลายวัดไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วยซ้ำ และห้องชั้นในสุด ซึ่งใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นและภาพวาดพระโพธิสัตว์มหายานในปางชั้นสูงสุด ก็ไม่อนุญาตให้ชาวภูฏานธรรมดาเข้า เข้าได้แต่เฉพาะคนที่พระมองเห็นว่าบรรลุธรรมะชั้นสูงพอที่จะเพ่งสมาธิมองพุทธศิลปะได้อย่าง “เข้าถึง” โดยไม่เกิดความเข้าใจผิด

ทั้งนี้ เพราะนิกายตันตระใช้สัญลักษณ์อันสลับซับซ้อนมากมายหลายพันชนิดเป็น “เครื่องมือ” ในการปฏิบัติธรรม ผู้นับถือตันตระปฏิบัติธรรมและเรียนรู้ธรรมะข้อต่างๆ ด้วยการเพ่งสมาธิมองจิตรกรรมและรูปปั้นทางศาสนา ชมการร่ายรำของพระสงฆ์ สวดมนต์ภาวนา ฝึกลมปราณด้วยท่าโยคะ และทำท่าพนมมือ (mudra) อันหลากหลายกว่าปางต่างๆ ของพระพุทธรูปแบบเถรวาท

หลักการที่สำคัญที่สุดในตันตระคือ “ใช้มรรคผลเป็นหนทาง” (use the result as the Path) ซึ่งหมายความว่า แทนที่จะตั้งนิพพานเป็นเป้าหมายโดยตรง พุทธศาสนิกควรพยายามฝึกฝนให้ กาย วาจา ใจ ของตน เข้าถึงสภาวะเดียวกันกับ กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว สภาวะนี้เรียกว่า “ภาวะพุทธองค์” (Buddha-form)

หากเข้าถึง “ภาวะพุทธองค์” ได้ ก็แปลว่าเข้าถึงนิพพานได้โดยปริยายด้วย

เนื่องจาก “ภาวะพุทธองค์” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการปฏิบัติธรรมผิดวิธีอาจเกิดอันตราย (เช่น บาดเจ็บจากการทำโยคะผิดท่า) ต่อร่างกายและจิตใจ ความลับจึงถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของตันตระ โดยเฉพาะความลับระหว่างพระกับลูกศิษย์ ปกติพระลามะชั้นผู้ใหญ่จะไม่อธิบายความหมายอันซับซ้อนของสัญลักษณ์และพิธีกรรมต่างๆ ให้ใครฟัง ยกเว้นคนที่ท่านเห็นว่ามีระดับสติปัญญาและจิตที่เข้มแข็งพอเท่านั้น

ข้อจำกัดของตันตระที่เน้นการสอนธรรมะแบบตัวต่อตัวแบบนี้ มักนำไปสู่ความสับสนงงงวยและความเข้าใจผิด โดยเฉพาะสำหรับคนนอกนิกายที่เห็นท่วงท่า “วิจิตรกามา” ที่คนภูฏานเรียกว่า “ยับ-ยัม” (yab-yam) เป็นครั้งแรกในชีวิต

ยับ-ยัมที่นิยมปั้นและวาดในภูฏานคือรูปเทวดาองค์หนึ่งในศาสนาพุทธ ชื่อ กาลจักร กำลังสมสู่กับพระมเหสีชื่อ วิศวมาต อย่างวิลิศมาหรา แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างในภาพล้วนมีความหมาย



ชาวไทยพุทธบางคนอาจเอามือปิดตาเมื่อเห็นภาพที่สมองขึ้นป้ายทันทีว่า “อุจาด” ปฏิเสธที่จะยอมรับว่านี่คือศาสนาเดียวกันกับที่พวกเขานับถือ

ลองมาเปิดใจให้กว้างกันสักนิด เพราะอันที่จริง หากนิพพานเป็นเรื่อง “ทางใครทางมัน” จริง หนทางสู่นิพพานก็น่าจะมีหลากหลายเท่ากับจำนวนมนุษย์บนโลกนี้ มิใช่หรือ?

หากการลด-ละ-เลิกกิเลสทุกชนิด ตามวิถีแบบเถรวาท เป็นหนทางหนึ่งในเข้าถึงนิพพาน การเสพกิเลสทุกชนิดเพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายจนคลายกิเลสในที่สุด ก็อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้ผล (จริงๆ แล้วนี่เป็นแนวทางที่พุทธมหายานหลายนิกายส่งเสริม ใครที่เคยลองเลิกกิเลสแล้วไม่สำเร็จ จะลองเปลี่ยนมาใช้วิธีตรงกันข้ามบ้างก็คงไม่มีอะไรเสียหาย ยกเว้นสุขภาพและเงินทองเท่านั้น)

เพศ และความหมายของการร่วมเพศ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของตันตระ โดยเฉพาะเมื่อตันตระเชื่อว่า เพศสัมพันธ์เป็นวิธี “ทำสมาธิ” ชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การบรรลุธรรมะขั้นสูง หรือแม้กระทั่งนิพพานได้ หากรู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง

นอกจากจะแสดงถึงความสำคัญของการร่วมเพศในฐานะแนวทางหนึ่งของการ “ปฏิบัติธรรม” แล้ว ยับ-ยัม ยังหมายถึงการ “แต่งงาน” ระหว่างปัญญา (เพศชาย) และความเมตตา (เพศหญิง) ที่ต้องมีควบคู่กัน เพื่อให้บรรลุธรรมที่แท้

คนภูฏานเขาปั้นรูปพวกนี้ได้ละเอียดไม่แพ้คนฮินดูในอินเดียที่จำลองฉากจากกามสูตรเลย ใครที่ใจกล้าพอที่จะก้มลงมองจากข้างใต้ของ ยับ-ยัม อาจระทึกใจไม่น้อยเมื่อพบว่าช่างปั้นลงทุนแกะสลักทุกส่วนสัดของอวัยวะเพศชายและหญิงอย่างสมส่วนในทุกมิติ จนใครที่เคยคิดว่าเทพและเทพีกอดกันเฉยๆ ต้องสิ้นสงสัยอย่างแน่นอน (ถ้าไม่เพ่งนานจนเป็นตากุ้งยิงไปก่อน)


รูปองคชาติและครุฑกินงูบนกำแพงบ้าน เมืองบัมทุง
งูเป็นสัญลักษณ์ของความโกรธ

ความ “ปกติ” ของรูปวาดและรูปปั้นในวัดที่แสดงการร่วมเพศอย่างโจ่งแจ้ง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ภูฏานเป็นประเทศที่ค่อนข้างเสรีเรื่องเพศ คนภูฏานไม่เคยรีรอที่จะเล่าโจ๊กสัปดนให้คนแปลกหน้าฟัง คุยกันเรื่องเซ็กซ์แบบหน้าตาเฉยต่อหน้านักท่องเที่ยว และวาดอวัยวะเพศชายบนกำแพงบ้าน นัยว่าเป็นการปกป้องครอบครัวจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ

บางบ้านถึงขนาดสลักองคชาติเป็นรูปสามมิติ ห้อยลงมาจากมุมหลังคา แถมมีปีกบิน และคาดด้วยดาบเสียด้วย (นัยว่าดาบเอาไว้ฟาดฟันอวิชชาให้หมดสิ้นไปจากจิต)

ทาชิบอกว่า อวัยวะเพศชายที่วาดหรือแขวนตามบ้านนั้นเป็นสัญลักษณ์ของดรุกปา คุนเลย์ พระธุดงค์ในตำนานที่สอนชาวบ้านด้วยการเล่าเรื่องสัปดนที่สอดแทรกคติธรรม และกำราบอสูรร้ายให้กลายเป็นสาวกในพุทธศาสนาด้วยการตีหัวพวกมันด้วยจ้าวโลกของตัวเอง (!)

เรื่องคุนเลย์นี้มีให้เล่าอีกเยอะ เพราะเป็นพระที่เรียกได้ว่า “มีสีสัน” ที่สุด เป็นที่รักที่สุดของชาวภูฏาน เดี๋ยวพอไปเยือนวัดของดรุกปา คุนเลย์ จะเล่าให้ฟังอีก

พระลามะชั้นสูงอาจเป็น “ที่เคารพ” กราบไหว้ก็จริง แต่พระ “ติดดิน” อย่างคุนเลย์ที่ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านต่างหากที่เป็น “ที่รัก” ของประชาชน

……

เรื่องเสรีภาพทางเพศของคนภูฏานนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก

กฎหมายภูฏานไม่มีข้อจำกัดเรื่องผัวเดียวเมียเดียว ผู้ชายจะมีภรรยากี่คนก็ได้ แต่ผู้หญิงจะมีสามีกี่คนก็ได้เช่นกัน กษัตริย์องค์ปัจจุบันก็มีพระมเหสีสี่คน เป็นพี่น้องกันหมด (อะไรจะโชคดีปานนั้น)

ก็นับว่ายุติธรรมดี

ผู้ชายภูฏานนิยมมีภรรยาสองคน แต่งคนแรกตอนอายุ 25 ปี คนที่สองตอนอายุประมาณ 40 แน่นอน เจ้าสาวโดยมากเป็นสาวรุ่นแรกแย้ม อายุระหว่าง 18-25 ทั้งคู่

ผู้หญิงภูฏานส่วนใหญ่มีสามีคนเดียว ยกเว้นในครอบครัวที่เลี้ยงจามรีเป็นอาชีพหลัก ผู้หญิงนิยมมีสามีสามคน คนแรกมีหน้าที่เลี้ยงฝูงจามรีในฤดูร้อนบนภูเขา (จามรีเป็นสัตว์เมืองหนาว จึงต้องอาศัยอยู่บนภูเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อหนีร้อนจากข้างล่าง) พอถึงฤดูหนาวก็ต้อนจามรีลงมาจากเขาให้สามีคนที่สองเลี้ยง (เพราะอากาศในฤดูนี้หนาวเกินกว่าที่จามรีจะทนอยู่บนยอดเขาได้) ส่วนสามีคนที่สามมีหน้าที่เอาเนยที่ทำจากจามรีไปขายที่ตลาด

การหย่าร้างเป็นเรื่องธรรมดาในภูฏาน เพราะทั้งชายและหญิงมีสิทธิหย่าขาดจากกันได้ และสังคมภูฏานก็ไม่มีอคติต่อแม่ม่ายเหมือนสังคมไทยสมัยก่อน ที่กดดันให้หญิงไทยยอมทนอยู่กับผู้ชายเลวๆ แทนที่จะหย่า (แต่จะว่าไป สังคมไทยสมัยนี้ก็ใจกว้างขึ้นเยอะ)

โสเภณีเป็นอาชีพถูกกฎหมายในภูฏาน (แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมเท่าไหร่ พวกเธอทั้งหลายจึงอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ) แต่เสรีภาพเรื่องเซ็กซ์ของคนภูฏานน่าจะทำให้บริการของพวกเธอค่อนข้างเป็นสิ่งไม่จำเป็น

สามีหรือภรรยาที่ถูกจับได้ว่ามีชู้อาจถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายกับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยตั้งจำนวนค่าเสียหายตามจำนวนปีที่แต่งงานกัน

ชนบทภูฏานมีประเพณีหนึ่งเรียกว่า “การล่ายามวิกาล” (night-hunting) คือการที่ผู้ชายแอบปีนขึ้นห้องนอนของผู้หญิงที่ตน “ปิ๊ง” ยามดึก (หรือแม้แต่ไม่เคยเห็นหน้าผู้หญิงก็ไม่เป็นไร ขอแค่รู้ว่าบ้านนี้มีลูกสาวโสดเป็นใช้ได้)

ก่อนจะมีอะไรกัน ฝ่ายหญิงเองก็ต้องยินยอมด้วย ไม่อย่างนั้นฝ่ายชายก็ต้องรีบจ้ำอ้าวก่อนจะเจอข้อหาข่มขืน ซ้ำร้ายถ้าทำผู้หญิงท้องแล้วถูกจับได้ กฎหมายบังคับให้จ่ายค่าทำคลอด และ 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกเดือนเป็นค่าเลี้ยงดูบุตร หากผู้หญิงไม่ยอมแต่งงานด้วย

เรื่องนี้น่าสรรเสริญ เพราะเสรีภาพทางเพศคงไม่มีประโยชน์อันใด หากไร้ซึ่งความเท่าเทียมกันของสิทธิชายหญิงควบคู่ไปด้วย

เมื่อมีอะไรกันแล้ว หากชายหญิงชอบพอกัน ผู้ชายก็เพียงแต่รอเฉยๆ ในห้องผู้หญิง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นผู้หญิงก็จะไปบอกพ่อแม่ ให้นิมนต์พระหรือ กอมเช็น (ฆราวาสที่ประกอบพิธีทางศาสนาเป็น) ประจำหมู่บ้านมาทำพิธีแต่งงานให้ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยโรงเรียนภูฏาน

ปัจจุบันนักล่ายามวิกาลยังมีอยู่มากมายตามชนบท แต่ไม่แน่ใจว่าสถิติความสำเร็จของพวกเขาจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร

แต่ที่แน่นอนกว่าก็คือ การล่ายามวิกาลอาจเป็นวิธี “หาเมีย” โดยไม่ฝืนใจใคร ที่รวดเร็วที่สุดในโลก!

(ถามทาชิกับเพม่าว่าเคยไปล่ายามวิกาลหรือไม่ สองหนุ่มเงียบ แต่ยิ้มกริ่มแววตาเป็นประกาย เหมือนล้อเล่นแต่ฉายแววเอาจริง แววตาแบบนี้เห็นบ่อยในคนภูฏานจนผู้เขียนเรียกมันว่า “สายตาแบบภูฏาน”)

เล่าเรื่องตันตระอยู่ดีๆ ทำไมกลายเป็นเรื่องประเพณีพื้นบ้านไปได้แฮะ


รถสิบล้อยี่่ห้อ Tata ของอินเดีย รถในภูฏานทั้งหมดต้อง
นำเข้า ส่วนใหญ่มาจากอินเดีย สังเกตสัญลักษณ์มงคล
แปดอย่างเหนือหน้าต่างคนขับ

ก็คงไม่เป็นไร เพราะพุทธกับไสยในภูฏานมีความใกล้ชิดกลมกลืนจนแยกจากกันไม่ออก มิหนำซ้ำครูรินโปเช และพระองค์อื่นๆ ที่เผยแผ่ศาสนาพุทธในภูฏาน ยังใช้ความแยบยลตรงที่กำราบเทวดาและอสูรต่างๆ ในความเชื่อพื้นบ้านดั้งเดิม (ที่ไม่มีชื่อเรียก แต่นักมานุษยวิทยาขนานนามว่า “บอน”) ให้กลายมาเป็นเทวดาผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธ แทนที่จะฆ่าฟันให้พินาศ

นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมตันตระจึงมีเทวดาจำนวนมากมายมหาศาลขนาดนี้

นับเป็น “เทคนิค” ในการเผยแพร่ศาสนาแบบโอนอ่อนผ่อนปรน บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในดินแดนแห่งมังกรคำราม

ใครที่นึกดูถูกไสยศาสตร์ว่าเป็นเรื่องงมงายของคนโง่ อาจกำลังงมงายกับพุทธแบบคนฉลาดที่ไร้ปัญญาอยู่ก็ได้ ผู้เขียนเองขอสารภาพว่าอาจเป็นหนึ่งในจำนวนนี้

แล้วถ้าไม่เห็นคนหลับในโลกนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตื่นแล้ว?

……

นอกเหนือจากเรื่องเพศแล้ว เอกลักษณ์เด่นของตันตระอีกประการหนึ่งเมื่อเทียบกับพุทธนิกายอื่นๆ คือความดุดันน่ากลัวของศิลปะ


ปางดุร้ายของพระอวโลกิเตศวร ชื่อ
“มหากาฬ”

พระโพธิสัตว์ เทวดา และพระอรหันต์แทบทุกองค์ในตันตระ มีทั้งปางธรรมดา และปางดุร้าย ปางธรรมดาให้อารมณ์เงียบสงบ สันติ ในขณะที่ปางดุร้ายก็ดุร้ายสมชื่อ

บ่อยครั้งจะเห็นเทวดาตาถลนแยกเขี้ยว ทิ่มหอกแหวกอกคนจนเห็นตับไตไส้พุงข้างใน มีหัวกะโหลก งูพิษ ซากศพ และอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์เป็นรูปประกอบฉาก

แน่นอน ทุกอย่างย่อมมีความหมาย ลามะอาวุโสรูปหนึ่งเล่าให้ฟังว่าส่วนใหญ่รูปคนที่เทวดาเหยียบหรือแทงนั้น เป็นสัญลักษณ์ของอวิชชา กิเลส หรือนามธรรมที่ไม่พึงปรารถนาอื่นๆ

แล้วทำไมต้องดุขนาดนี้ด้วยล่ะ? ผู้เขียนถาม

เพราะพลังของความชั่วร้ายสามารถใช้ในทางดีได้นะโยม พระท่านตอบยิ้มๆ ความชั่วร้ายบางอย่างสยบได้ด้วยความชั่วร้ายด้วยกันเท่านั้น

แม้จะไม่ค่อยเข้าใจที่พระท่านพูด แต่ก็รู้สึกเข้าใจได้ลางๆ เมื่อมานั่งคิดว่า ในเมืองไทยเราเองดูเหมือนว่า “คนเลว” ทั้งหลายจะไม่เคยแพ้ “คนดี” ประเภทดีบริสุทธิ์เลย แพ้แต่ “คนเลว” ด้วยกันที่ “เลวน้อยกว่า” ก็เท่านั้น

ส่ง “คนดี” ของเรามาภูฏานให้ศึกษาวิธีใช้พลังชั่วร้ายปราบคนชั่ว แลกกับให้ภูฏานส่งคนมาศึกษาวิธี “เลวน้อยปราบเลวมาก” แบบไทยๆ น่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่ไม่เลว

……


จากซ้ายไปขวาคือ พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร (องค์ยืน)
และชับดรุง ในอุโบสถใหญ่ของวัดหลวงในซ้องเมือง
พูนาคา สังเกตสีห้าสีแทนธาตุทั้งห้า ตรงขอบผ้าคลุมพระ

พระประธานในวัดคิชูเป็นพระโพธิสัตว์ชื่อ พระอวโลกิเตศวร หรือที่คนภูฏานเรียกว่า เชนเรสิก ปางนี้อยู่ในท่ายืน มี 11 เศียร สองมือตรงกลางอยู่ในท่าพนมมือ

ผ้าห่มพระพุทธรูปและรูปปั้นพระอาจารย์ทุกผืนในวัดทุกแห่งของภูฏานจะเป็นผ้าลายตาข่ายสีเหลือง-แดง ขลิบสีห้าสีแทนธาตุทั้งห้าในความเชื่อพื้นเมือง คือ ดิน (เหลือง) น้ำ (ฟ้า) ลม (ขาว) ไฟ (แดง) และ ไม้ (เขียว)

อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าเราเติมธาตุไม้เข้าไปในคติไทยเป็นธาตุที่ห้า แทนที่จะมีแค่ “ดินน้ำลมไฟ” จะช่วยกระตุกต่อมสำนึกให้คนไทยหันมาปลูกป่ากันมากขึ้นหรือเปล่า?

บนโต๊ะบูชาหน้าพระประธานมีเครื่องไหว้หลากสีที่ทำจากเนยปั้น เรียกว่า ตอร์ม่า ข้างหน้ามีถ้วยโลหะเล็กๆ ใส่น้ำวางเรียงกันสองแถว

คนภูฏานใช้น้ำเป็นหลักในการบูชาพระ เพราะมองว่าน้ำเป็นของหาง่าย ไม่ว่าคนจนคนรวยก็มีน้ำใช้

ลดความรู้สึกเหลื่อมล้ำในการทำบุญได้ดี

มุมห้องหนึ่งเป็นที่ตั้งตู้ไม้ที่เก็บพระสูตรโบราณ หลวงพี่ในวัดเล่าให้ฟังว่า พระสูตรหลักในนิกายดรุกปา คายุที่เป็นศาสนาประจำชาติภูฏานนั้นมีทั้งหมด 310 บท ถ้าจ่ายเงินคนดูแลวัดส่วนใหญ่ เขาจะอ่านให้ฟัง ใช้เวลา 3 วันกว่าจะอ่านจบทั้งหมด ผ้าห่อพระสูตรเป็นของถวายพระที่ฆราวาสนิยมใช้ในภูฏาน พระสูตรที่เรามายืนดูอยู่นี้ถูกหุ้มด้วยผ้าหนาถึง 16 ชั้น เพราะมีคนเอาผ้ามาถวายวัดอยู่เนืองๆ ในโอกาสมงคลต่างๆ

ภาพเขียนในวัดส่วนใหญ่ถูกคลุมด้วยผ้าสีเหลืองผืนใหญ่เพื่อกันฝุ่น ต้องค่อยๆ เลิกผ้าขึ้นมาดูเป็นระยะๆ ภาพพวกนี้ดูเปราะบางมาก เวลาเพ่งดูใกล้ๆ ต้องกลั้นหายใจด้วยความกลัวว่าภาพจะเสีย ลายเส้นทั้งหมดที่ใช้สีธรรมชาติแลดูละเอียดอ่อนช้อย งดงามสมกับเป็นพุทธตันตระ นิกายที่เชื่อว่าการรวบรวมสมาธิไปที่สัญลักษณ์ต่างๆ และใคร่ครวญถึงความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้น จะช่วยชี้หนทางสู่นิพพานได้


พระในท่าเต้นหมวกดำ เทศกาลประจำปีเมืองทิมพู

เนื่องจากศิลปะในตันตระไม่ได้ทำเพื่อสุนทรียะเป็นหลัก หากทำเพื่อช่วยมนุษย์ให้เข้าถึงนิพพาน ตันตระจึงให้ความสำคัญกับการใช้ศิลปะในการ “สื่อสาร” หลักธรรม เป็นที่มาของรูปวาดในกรอบวงกลมเรียกว่า มันดาลา ซึ่งแต่ละรูปสามารถสื่อได้ทั้งหลักธรรมะและความเกี่ยวโยงระหว่างกัน ได้อย่างสมบูรณ์ ลงตัว และสวยงาม (แม้คนนอกศาสนาอาจไม่มีวันเข้าใจสัญลักษณ์บนมันดาลารูปหนึ่งได้ในชาตินี้)

ศิลปะในตันตระไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะจิตรกรรมและรูปปั้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการร่ายรำอันงดงามของพระ ที่แสดงให้คนดูเฉพาะในเทศกาลสำคัญต่างๆ การร่ายรำที่ซับซ้อนที่สุดคือ ท่าเต้นหมวกดำ (black-hat dance) หากมองท่าเต้นนี้จากข้างบน จะเห็นว่าพระนักเต้นวาดเท้าเป็นรูปมันดาลา เต้นเสร็จก็เท่ากับวาดมันดาลาเสร็จไปหนึ่งวง น่าอัศจรรย์ใจมาก

เพราะศิลปะตันตระเป็นทั้งเครื่องมือในการสอนศาสนา และเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม ศิลปินที่วาดรูปตามวัด หล่อพระประธาน และเต้นรำทางศาสนาจึงล้วนแล้วแต่เป็นพระสงฆ์ ไม่ใช่ฆราวาสแบบในเมืองไทย นิกายดรุกปา คายุในภูฏานแบ่งพระออกเป็นสามฝ่าย ฝ่ายแรกมีหน้าที่วาดและปั้นรูปทางศาสนา ฝ่ายที่สองมีหน้าที่เต้นรำในพิธีและเทศกาลทางศาสนาต่างๆ และฝ่ายที่สามมีหน้าที่เรียนรู้จากพระสูตรและเทศน์สั่งสอน

เพราะภาพทางศาสนาเป็น “เครื่องมือ” หนึ่งในการปฏิบัติธรรม ทุกรายละเอียดในศิลปะตันตระจึงมีความหมาย ไม่เว้นแม้กระทั่งสีที่ใช้ สัตว์ป่าในฉากหลัง อาวุธและเครื่องใช้ชนิดต่างๆ ที่เทวดาหรือพระพุทธเจ้าถืออยู่ในมือ ตลอดจนจำนวนสิ่งของต่างๆ ในภาพ เช่น สาม หมายถึงพระรัตนตรัย แปด หมายถึงสัญลักษณ์มงคลแปดอย่างที่คนทิเบตและภูฏานเรียกว่า ทาชี่ ทักเย ทาชี่ ทักเย ประกอบด้วยสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้:



ความที่เป็น “ชุดสัญลักษณ์” ที่สรุปหัวใจหลักของศาสนาพุทธได้อย่างเข้าใจง่ายและครบถ้วน ทาชี่ ทักเยจึงเป็นสัญลักษณ์ “ยอดฮิต” ที่พบเห็นได้ทุกหนทุกแห่งในภูฏาน บนผนังวัด บนกรอบหน้าต่าง ในบ้านคน บนรถสิบล้อ ลายสลักบนกำไลกระดูกจามรีที่วางขายนักท่องเที่ยวตามตลาดในเมือง

ยิ่งไปกว่านั้น คนภูฏานที่มีหัวศิลปินหน่อยอาจคิดค้นดีไซน์ใหม่ๆ ที่ผสมผสาน ทาชี่ ทักเย ทั้งแปดชนิดไว้ในสัญลักษณ์เดียวกัน


สัญลักษณ์มงคลทั้งแปดแบบรวมมิตร ลอง
ดูสิว่าคุณหาทั้งแปดอย่างเจอหรือเปล่า?

……

หลังจากชื่นชมศิลปะในวัดคิชู และบริจาคเงินบำรุงวัดตามกำลังทรัพย์ของแต่ละคนเสร็จแล้วก็ได้เวลากลับออกมาข้างนอก เห็นพระตัวน้อยนั่งกลางลานวัดเป็นแถว รอรับอาหารจากพระรุ่นพี่พอดี

พระภูฏานไม่ออกไปบิณฑบาตเหมือนพระไทย แต่นั่งรอผู้บริจาคในวัด (ซึ่งก็เข้าใจได้ เดินทางลำบากขนาดนี้ ถ้าพระออกไปข้างนอก กว่าจะได้อาหารพอกินอาจขาดใจตายเสียก่อน) พระในนิกายดรุกปา คายุ ซึ่งเป็นนิกายประจำชาติ ได้รับการเลี้ยงดูฟรีจากรัฐบาล ส่วนพระในนิกายอื่นๆ ต้องอาศัยเงินและของบริจาค

อีกมุมหนึ่งของวัดเห็นหญิงชราตัวเล็กหลังงุ้ม เดาว่าอายุไม่ต่ำกว่า 70 ค่อยๆ คุกเข่าลง คลี่ฝากล่องสีน้ำตาลซีดออกมาปูบนพื้น ก้มลงกราบไปทางพระอุโบสถซ้ำแล้วซ้ำเล่า นับได้ไม่ต่ำกว่าเจ็ดสิบจบ จนพวกเราต้องขึ้นรถตู้ไปวัดต่อไปแล้ว ยายก็ยังอยู่ในท่าเดิม

ยายแก่คนนั้นจะต้องกราบพระกี่ครั้งคะ? ผู้เขียนหันไปถามเพม่าเมื่อรถออกวิ่ง


เณรน้อยฉันเพลกลางลานวัดคิชู อาหารที่พระหนุ่มกำลัง
เสิร์ฟคือข้าวต้มเละๆ ทำจากข้าวสาลี

ไม่รู้เหมือนกันครับ อาจเป็นร้อยหรือเป็นพันครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าเคยมาอธิษฐานหรือบนอะไรเอาไว้ ถ้าแกขอเรื่องยากๆ แล้วพระท่านให้ อาจต้องเทียวไปเทียวมาอีกหลายวัน เพม่ายิ้ม แล้วส่งสายตาแบบภูฏานมาอีกชุด

แรงศรัทธาของคนภูฏานนั้นน่านับถือมิใช่น้อย

ศาลาภาวนาหลังเล็กๆ สีขาว สำหรับให้คนไปปลีกวิเวกทำสมาธิ เห็นอยู่ทั่วไปตามชะง่อนเขาสูง

สิ่งแรกที่คนภูฏานทำทุกเช้าคือ จุดเทียนเนยบูชาพระ และเผากิ่งต้นสนชนิดมีกลิ่นหอมให้กับภูตผีเปรตในป่า เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมนี้จะช่วยบรรเทาความหิวโหยที่เป็นกรรมของเปรตได้ และยังช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บบางชนิดของคนอีกด้วย

ทุกเช้าตรู่ในชนบทจะเห็นควันสีเทาจางๆ พวยพุ่งออกจากปล่องเตาบ้านทุกบ้าน ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร และหากใครเดินเล่นในหมู่บ้าน ก็อาจได้กลิ่นเทียนเนยโชยออกมา

พุทธและไสยที่นี่แยกจากกันไม่ได้จริงๆ


บ้านภูฏาน ตามชนบทบางแห่งชั้นล่างสุดจะเปิดโล่งไว้เป็น
คอกเลี้ยงม้า วัว หรือแกะ

ห้องที่ใหญ่ที่สุด ประดับประดาด้วยสิ่งของราคาแพงที่สุดในบ้านของคนภูฏานคือห้องแขกควบห้องพระ ห้องนี้มีสามส่วนคือ ห้องใหญ่ มีอาสนะและเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา ห้องนี้ใช้เป็นที่นอนของแขกที่มาเยือนเจ้าบ้าน รวมทั้งพระธุดงค์เวลาออกเยี่ยมชาวบ้าน กั้นห้องอีกสองส่วนเป็นห้องที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และห้องน้ำสำหรับแขก

เวลาไม่มีแขก ก็จะไม่มีใครในบ้านใช้ห้องนี้ แต่จะดูแลทำความสะอาดอย่างดี รอวันที่จะมีแขกมาเยือน

ครอบครัวเจ้าบ้านเองนอนอุดอู้รวมกันในห้องเล็กๆ ข้างนอก ใช้ห้องน้ำนอกบ้านทุกวัน (คนภูฏานอาบน้ำในอ่างคอนกรีตหรืออ่างหิน ที่ถูกอุ่นให้ร้อนก่อนด้วยการเอาหินก้อนใหญ่ไปผิงไฟ แล้วโยนหินก้อนนั้นลงไปในอ่าง จึงเรียกการอาบน้ำแบบนี้ว่า “อาบน้ำหิน” หรือ stone bath)

บ้านภูฏานที่เห็นมีหลายชั้นนั้น จริงๆ แล้วใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงชั้นเดียว ชั้นล่างสุดเอาไว้เก็บข้าว และเครื่องมือทำการเกษตร ชั้นบนสุดใต้หลังคาเอาไว้เก็บพืชผล หญ้าฟางสำหรับเลี้ยงสัตว์ และเป็นที่หลับนอนในฤดูร้อน พอถึงฤดูหนาวทั้งครอบครัวจะย้ายไปนอนในห้องครัว เพราะเป็นห้องที่พื้นอุ่นที่สุดในบ้าน ในฤดูหนาวชาวภูฏานยังได้อาศัยไออุ่นจากสัตว์เลี้ยง ที่ต้อนเข้าคอกในชั้นล่างสุดของบ้านทุกคืน เป็นเครื่องทำความร้อนที่ไม่ต้องเสียเงินซื้ออีกด้วย

แ่ต่ไม่ว่าอย่างไรเจ้าของบ้านก็จะไม่เข้าไปนอนในห้องแขกเด็ดขาด

……

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบรอยเท้าที่บุ๋มลงไปในพื้นไม้กระดาน ลึก 3-4 เซนติเมตรหรือยิ่งกว่านั้น ตามวัดเก่าแก่ในภูฏาน รอยเท้าเหล่านี้เกิดจากการล้มลงกราบพระจากจุดเดิมหลายพันครั้ง เพราะการกราบพระแบบภูฏานนั้นเป็นแบบ “อัษฎางคประดิษฐ์” เหมือนกับในทิเบต คือต้องเหยียดตัวราบลงไปให้อวัยวะ 8 อย่างแตะพื้น คือ หน้าผาก แขน จมูก ฝ่ามือ ข้อศอก ลำตัว หัวเข่า และปลายเท้า แล้วลุกขึ้นมาใหม่โดยไม่ยกเท้าจากพื้น แบบที่แสดงในรูปนี้:



ในวัดเล็กๆ ใกล้กับซ้องเมืองพาโร ชื่อวัด จาง ซาบู เพม่าชี้ให้เห็นรอยเท้าแบบนี้หลายรอยตรงหน้าพระประธาน เพราะมีคนมากราบไหว้พระองค์นี้เยอะ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ตามตำนานเล่าว่าอัญเชิญมาจากทิเบตเพื่อมาประดิษฐานในซ้องใหญ่ แต่ระหว่างทางต้องผ่านช่องแคบ พระพุทธรูปกระแทกเข้ากับเขาจนเข่าของพระมีรอยบุ๋ม (ว่าแล้วเพม่าก็ชี้ให้ดูรอยบุ๋มที่องค์พระ) คนแบกปรึกษากันแล้วก็ลงความเห็นว่า ต้องแยกองค์พระออกเป็นชิ้นๆ ถึงจะผ่านช่องเขานี้ไปได้ ทันใดนั้นพระพุทธรูปก็สำแดงปาฏิหาริย์ พูดขึ้นมาว่า ไม่ต้องหรอก แค่หันตัวฉันไปข้างๆ จะผ่านไปได้ แล้วพระองค์ก็ทำตัวให้ลีบ คนก็ยกผ่านไปได้จริงๆ

พอใกล้จะถึงซ้อง คนแบกหยุดพักเหนื่อย พระพุทธรูปก็เปล่งเสียงขึ้นมาอีกว่า ฉันจะอยู่ตรงนี้

คนแบกเลยสร้างวัดครอบพระพุทธรูปขึ้นที่ตรงนั้น ไม่ยกต่อไปอีก

ทุกวัดในภูฏานมีตำนานไม่มากก็น้อย คล้ายกับทุกวัดในไทยที่คนเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์

อีกตำนานหนึ่งที่ชอบมากคือตำนานของวัด จุมเป วัดเก่าแก่รุ่นเดียวกับวัดคิชู สร้างโดยพระเจ้าซองเซ็นเหมือนกัน สร้างคร่อมหัวเข่าซ้ายของยักษีที่นอนทับภูฏานทั้งประเทศ

พระประธานในวัดนี้คือพระศรีอาริยเมตตรัย เรียกย่อๆ ว่า พระเมตตรัย (”จุมเป” คือชื่อของพระองค์นี้ในภาษาซองก้า) เป็น “พระพุทธเจ้าแห่งอนาคต” ที่ยังไม่เสด็จลงจากสวรรค์มาโปรดสัตว์ วัดนี้ทรุดลงเรื่อยๆ ตามเวลา คนภูฏานเขาตีความการทรุดตัวของวัดไว้อย่างนี้:



……


ธงภาวนาแบบแขวนระหว่างต้นไม้ ต้นถ่ายที่โดชูลา จุด
ชมวิวระหว่างเมืองพาโรกับทิมพู

หากสัญลักษณ์ทางศาสนาเป็นเครื่องวัด “แรงศรัทธา” อย่างหยาบแล้วไซร้ ก็ต้องนับว่าพุทธศาสนิกชนในภูฏานมีศรัทธาแก่กล้าไม่แพ้ใครในโลก เพราะสัญลักษณ์ทางศาสนาไม่ได้อยู่แต่ในวัด ศาล หรือบ้านคนเท่านั้น หากอยู่ท่ามกลางป่าเขา ละเมียดละไมกลมกลืนจนดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ

ศาลากงล้อภาวนาพลังน้ำหมุนเอื่อยเฉื่อยคร่อมธารน้ำทุกสาย ศาลากงล้อภาวนาพลังลมเฝ้าล้อลมบนยอดเขาทุกลูก ธงภาวนาหลากสีแบบแขวนห้อยระโยงระยางระหว่างต้นไม้ ธงแบบปักบนก้านไม้ไผ่ปลิวไสวตามลม ยิ่งสูงยิ่งแน่น เรียงติดกันนับร้อยนับพันจนตาลาย


พระน้อยยืนครุ่นคิดใต้แถวธงภาวนาแบบปัก นอกวัดชิมมี่

แม้ระยะทางระหว่างวัดจะยาวไกลเพียงใด ผ่านหุบเหวน่าหวาดเสียวมากเพียงไหน สัญลักษณ์อันอ่อนโยนของพุทธศาสนาที่โอบล้อมตัวเราตลอดเวลา และความสวยงามของธรรมชาติสองข้างทางทำให้การเดินทางในภูฏานไม่เคยน่าเบื่อ (แม้จะเจ็บก้นจากการกระดอนขึ้นลงของรถบ้างในบางครั้ง) แถมไกด์ภูฏานทุกคนรักสนุก ชอบร้องเพลง เล่านิทานแฝงโจ๊กสัปดน ให้เฮฮาเป่าปากเปี๊ยวป๊าวกันไปตลอดทาง

ขอเชิญทุกท่านมานั่งรถจากทิมพูไปบุมทังด้วยกันกับผู้เขียน ผ่านตัวหนังสือกันบ้างเป็นไร…

(โปรดติดตามตอนต่อไป)
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:52:07 »

ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (5)




“ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย” หนังสือของผู้เขียนที่รวบรวมบทความที่เคยลงบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6) บวกเนื้อหาเพิ่มเติม และอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่ีสีสวยงาม 16 หน้าเต็ม วางแผงแล้วนะคะ จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่

บุมทัง: เสน่ห์ของชนบทภูฏาน

“…พอรถผ่านโค้งหน้า จะมีที่เหมาะสำหรับการยิงกระต่ายและเก็บดอกไม้อีกจุดแล้วนะครับ ท่านใดที่อยากแวะกรุณาเตรียมตัวให้พร้อม” เสียงเพม่าดังทำลายความเงียบที่ปกคลุมรถเรามากว่าสองชั่วโมงแล้ว

ทุกคนถ้าไม่กำลังดื่มด่ำกับวิวสองข้างทาง ก็หลับเอาแรง หรือไม่ก็ต่อสู้กับอาการเมารถตู้ที่วิ่งโคลงเคลงและตีวงเลี้ยวแทบทุกสิบวินาที

“ยิงกระต่าย” และ “เก็บดอกไม้” เป็นโค้ดสุภาพของเพม่าที่มีความหมายเดียวกันกับ “ไปทุ่ง” ในภาษาไทย คำแรกใช้สำหรับผู้ชาย คำที่สองสำหรับผู้หญิง แต่ถึงแม้จะเป็นแค่โค้ด ดอกไม้ป่าอันแสนสวยของภูฏานทำให้พวกเราหลายคนอดไม่ได้ที่จะเก็บดอกไม้จริงๆ ติดไม้ติดมือขึ้นรถมาแทบทุกครั้งหลังเสร็จกิจ


ต้นศรีตรังบนหลังคาบ้าน

แม้จะรู้สึกผิดที่ทำลายธรรมชาติอันงดงาม แต่ด้วยตัณหาของนักท่องเที่ยวที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาสกลับมาเยือนภูฏานอีกเมื่อไหร่ ก็อดอยากจะนำเศษเสี้ยวของธรรมชาตินั้นติดตัวมากับเราด้วยไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเพม่าบอกว่า ดอกไม้ป่าหลายชนิดที่เราเห็นนั้นเป็นพันธุ์หายาก เช่น ดอกฝิ่นสีฟ้า (blue poppy) ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน, ศรีตรัง ดอกไม้สีครามสดที่ฝรั่งเรียกว่า jacaranda, ดอกซากุระ ที่สวยไม่แพ้ในญี่ปุ่น, โรโดเด็นดรอนป่า (wild rhododendron) ดอกไม้ประจำชาติเนปาลที่มีหลายร้อยชนิดให้เห็นในประเทศแถบหิมาลัย ที่เราเห็นบ่อยที่สุดในภูฏานคือดอกสีแดงสด ต้นสูงเด่นชัดเป็นสัญญาณให้เตรียมตัวกดชัตเตอร์แต่ไกล


ดอกแมกโนเลียบานสะพรั่งกลางเมษา

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ แมกโนเลีย ต้นไม้มหัศจรรย์ที่สลัดใบทิ้งทั้งต้น เหลือแต่ดอกสีขาวบานสะพรั่งเต็มทุกกิ่งก้าน สูงเสียดแซมต้นไม้อื่นๆ กว่า 20 เมตรขึ้นมาจากขอบเหว เห็นทีไรจะมีคนขอหยุดรถถ่ายรูปแทบทุกครั้ง (แต่ไกด์จะให้หยุดหรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

ดอกไม้ป่าอันสวยงามสองข้างทาง เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ฤดูใบไม้ผลิระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน เป็นช่วงที่เหมาะกับการเยือนภูฏานมากที่สุด (นอกเหนือจากเป็นช่วงที่อากาศดีและมีเทศกาลประจำปีในหลายเมือง) เพราะดอกไม้จะบานเฉพาะในช่วงนี้เท่านั้น

ไกด์ภูฏานต้องบอกแขกให้เตรียมตัวก่อนเวลาจอดรถให้คนลงไปยิงกระต่ายและเก็บดอกไม้ เพราะถนนภูฏานมีไหล่ทางที่กว้างพอให้รถจอดข้างทางน้อยมาก ไม่ต้องพูดถึงจุดแวะที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครันตั้งแต่ปั๊มน้ำมันไปจนถึงร้านอาหารแบบในเมืองไทย แต่เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาสำหรับพวกเรานักท่องเที่ยวชาวไทยที่เตรียมเสบียงไปแบบครบเครื่องโดยไม่ต้องมีใครบอก ตั้งแต่ขนมขบเคี้ยว เปลือกส้มแก้เมารถ ไปจนถึงน้ำพริกเผา และแม้กระทั่งหมูย่างข้าวเหนียว ที่พี่เจ้าของร้านอาหารคนหนึ่งมีน้ำใจทำมาหลายสิบห่อเผื่อพวกเราทุกคน


ซากุระบานในภูฏาน

อาหารภูฏานมีอยู่ไม่กี่อย่าง ถ้าไม่นับแกงแบบอินเดีย เนื้อ (วัว หมู แพะ และแกะ) ส่วนใหญ่ใส่พริกกับชีส อร่อยสู้อาหารจานผักไม่ได้ เพราะผักภูฏานแม้จะปลูกได้ไม่กี่ชนิดก็จริงแต่หวานอร่อยมาก โดยเฉพาะแอสพารากัส และมันฝรั่ง รัฐบาลภูฏานเคยเชื้อเชิญให้บริษัทเลย์ ผู้ผลิตมันฝรั่งกรอบรายใหญ่ของโลก มาตั้งฐานการผลิตในภูฏาน แต่เลย์ตอบปฏิเสธด้วยเหตุผลว่ามันฝรั่งภูฏานมีน้ำตาลสูงเกินไป ใช้ทำมันฝรั่งกรอบไม่ได้

ส่วนพริกภูฏานนั้นก็ใช่ย่อย ขนาดพอๆ กับพริกชี้ฟ้าแต่เผ็ดกว่า แม้ไม่เผ็ดเท่าพริกขี้หนู คนภูฏานชอบกินพริกเปล่าๆ จิ้มเกลือ บีบเอาเมล็ดออกก่อนกิน เขามองว่าพริกเป็นผักชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องปรุงรสเหมือนคนไทย

พอจอดรถให้คนลงไปยิงกระต่ายและเก็บดอกไม้เสร็จแล้วก็ได้เวลาออกเดินทางต่อ

ซักพักเพม่าร้องให้เราดูฝูงลิงหน้าขาวที่โหนตัวอย่างว่องไวอยู่ตามกิ่งไม้บนเขา คนภูฏานเชื่อว่า ถ้าเจอลิงหน้าขาวระหว่างทางจะโชคดี หน้าดำจะโชคร้าย

โดยทั่วไป คนภูฏานเชื่อว่าสีดำเป็นสีนำโชคร้าย ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้สีนี้ในการทาสีบ้าน หรือการแต่งตัว

เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นสัตว์ป่าอยู่บนเขาตลอดการเดินทาง บางครั้งรถเราต้องหยุดให้ลิง เก้ง หรือแมวป่าเดินข้ามถนน

พอรถผ่านฝูงจามรี เพม่าก็เล่านิทานเรื่องกำเนิดจามรีให้ฟัง:

“สมัยก่อนภูฏานไม่มีจามรี มีแต่ควาย ปีหนึ่งเกลือขาดแคลน (เกลือมีราคาแพงในภูฏานเพราะประเทศไม่มีทางออกทะเล จึงต้องนำเข้าเกลือจากประเทศเพื่อนบ้าน) ควายกลุ่มหนึ่งจึงอาสาเดินทางขึ้นเหนือไปทิเบตเพื่อนำเกลือกลับมา เนื่องจากทิเบตมีอากาศหนาวเย็น ควายนักเดินทางจึงขอยืมขนจากพรรคพวกไปคลุมร่างกายให้อบอุ่น พอควายขนปุยเดินทางถึงทิเบตก็ตกหลุมรักภูเขาหิมาลัย ตั้งรกรากอยู่ที่นั่น ไม่เดินทางกลับภูฏานอีกต่อไป ควายเหล่านั้นคือบรรพบุรุษของจามรี และถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าควายภูฏานหันหัวไปทางทิศเหนือเสมอเวลายืนอยู่นิ่งๆ เพราะยังเฝ้ารอวันเวลาที่เพื่อนควายขนปุยจะกลับมาจากหิมาลัย”

เสียดายที่ไม่เคยเห็นควายในภูฏาน เลยไม่รู้ว่าพวกมันยังชะเง้อคอรอเพื่อนอยู่หรือเปล่า

……

ใครนั่งที่ริมหน้าต่างรถตู้ต้องเป็นคนไม่กลัวความสูง เพราะถนนแคบจนรถทุกคันต้องขับชิดขอบถนน และความที่ถนนภูฏานแทบไม่มีไหล่ถนน ก็แปลว่าต้องขับชิดขอบเหวลึก 2,000-3,000 เมตรไปตลอดทางด้วย


ปรากฎการณ์ปกติระหว่างทางไปบุมทัง

บางครั้งรถตู้เราต้องหักหลบรถสิบล้อคันมหึมา ที่ตีคู่มาพร้อมกับฝูงจามรีนับสิบตัวที่ชาวบ้านจูงผ่านมาพอดี รถต้องเบียดหลบเจ้าจามรีพวกนี้ด้วย เพราะจามรีไม่เคยหลบเรา (บางครั้งดูเหมือนพวกมันจะตาบอดเสียด้วยซ้ำ) ส่งผลให้คนนั่งริมหน้าต่างไม่ค่อยกล้ามองลงล่าง หรือถามคนขับว่าล้อรถทั้งสี่ยังติดพื้นดีอยู่หรือเปล่า

ระทึกใจกว่าเล่นเรือเหาะตีลังกามาก

แต่อย่างว่า อยากได้รูปสวยๆ ก็ต้องลงทุนกันหน่อย

ดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างสุดขั้วในชั่วพริบตา แปลว่าพวกเราต้องเตรียมตัวกดชัตเตอร์ตลอดเวลา เพราะอาจมีเวลาแค่เสี้ยวนาทีที่จะบันทึกภาพ ถ้าโชคดีจริงๆ ฟ้าดินก็จะเป็นใจให้มีเวลาถ่ายรูปอย่างใจเย็น ดังเช่นรูปชุด “เมฆสวย” ที่น้องป้อ หนึ่งในตากล้องประจำทีมบรรจงบันทึกภาพ ระหว่างเดินทางออกจากเมืองพาโรไปทางทิศตะวันออก





นับถอยหลังไปหนึ่งปี เรากำลังเดินทางจากทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน ไปยังบุมทัง มณฑลในภาคกลางที่มีวัดเก่าแก่ที่สุด ผู้คนเคร่งศาสนาที่สุดของประเทศ

อีกสองวันรถเราจะวิ่งบนอีกข้างของถนนเส้นเดียวกันนี้ เพื่อกลับไปยังทิมพู และเลยไปขึ้นเครื่องบินกลับบ้านที่เมืองพาโร

ภูมิประเทศที่ยากต่อการเดินทาง และการที่ทั้งประเทศมีสนามบินเพียงแห่งเดียวในเมืองพาโร ที่อยู่เกือบสุดขอบชายแดนทิศตะวันตก ทำให้ใครที่มาเยือนภูฏานต้องเผื่อเวลาเป็นสองเท่าของเวลาที่ต้องใช้จริง ดังนั้นถ้าอยากไปไกลถึงบุมทัง ก็ต้องเผื่อเวลา 7-8 วันเป็นอย่างน้อย

เพราะ “ความเจริญ” ของการพัฒนาสมัยใหม่แผ่ขยายจากภาคตะวันตกไปยังภาคตะวันออกของประเทศ การเดินทางจากพาโรไปยังเมืองต่างๆ ทางทิศตะวันออก จึงให้ความรู้สึกราวกับเดินทางย้อนเวลาหาอดีต ยิ่งเดินทางไกลเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมของคนภูฏานมากขึ้นเท่านั้น


เครื่องทำความร้อนในโรงแรม Mountain Lodge ที่บุมทัง มีตะกร้าหวายใส่ฟืนให้ทุกห้อง

บุมทังถือว่าเป็นบริเวณที่ยังล้าหลังอยู่มาก ชาวบ้านหลายครัวเรือนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อาศัยแสงไฟจากการเผาเปลือกต้นสนยามค่ำ ทำให้โรงแรมบริเวณนี้ส่วนใหญ่ เช่นโรงแรมที่เราไปพักชื่อ Mountain Lodge ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เวลาแขกโรงแรมอาบน้ำพร้อมกันหลายคนไฟจะดับ น้ำร้อนจะกลายเป็นน้ำเย็นยะเยือกทันที ทำให้เราต้องจัดเวรผลัดกันอาบน้ำเพื่อรักษาสันติสุข และสุขภาพจิตของหมู่คณะ

……



พอรถเข้าเขตมณฑลบุมทัง ก็เริ่มเห็นนาข้าวสาลีแบบขั้นบันได สลับแซมด้วยสวนแอปเปิ้ล ไร่มันฝรั่ง และไร่หน่อไม้เป็นระยะๆ บุมทังประกอบด้วยหุบเขาสี่แห่ง มีวัดวาอารามมากมาย คนส่วนใหญ่เป็นมังสวิรัติเพราะเคร่งศาสนาพุทธ

อาหารท้องถิ่นของที่นี่คือก๋วยเตี๋ยวเส้นข้าวสาลี สีน้ำตาลอ่อน เหนียวกว่าเส้นใหญ่ไทย รสชาติคล้ายเส้นเฟ็ตตูชินี่ของอิตาลี ผัดกินกับผักแอสพารากัสยิ่งอร่อย



แถวนี้มีชื่อเสียงเรื่องหวาย บ้านในชนบทบุมทังจะทำจากหวายขัดเป็นลวดลายคล้ายของไทย ไม่ใช้หินหรือคอนกรีตเหมือนบ้านแถบเมืองพาโรหรือทิมพู

เงินช่วยเหลือจากสวิสเซอร์แลนด์ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาบริเวณนี้ของภูฏาน คนสวิสมาสอนให้คนภูฏานทำชีสแบบสวิส ทำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ น้ำผึ้ง และเหล้ารสแอปเปิ้ล ขายนักท่องเที่ยวในโครงการที่เรียกว่า Swiss Guest House ซึ่งเป็นโรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดในบุมทังด้วย รสชาติค่อนข้างดี คนในคณะเราซื้อชีสก้อนเท่าเขียงและเหล้าเป็นของฝากหลายก้อนและหลายขวด

ชาวนาในภูฏานไม่ชอบปลูกข้าวสาลี นิยมปลูกข้าวเจ้ามากกว่าเพราะอร่อยกว่าและเก็บเกี่ยวได้ปีละสองครั้ง ชาวนาที่ปลูกข้าวเจ้ามองพวกที่ปลูกข้าวสาลีว่าเป็นพวก “บ้านนอก” เพราะคนที่ปลูกข้าวสาลีคือคนที่อาศัยอยู่ในที่ทุรกันดารที่ปลูกข้าวเจ้าไม่ได้ จึงจำเป็นต้องปลูกข้าวสาลีแทน (ฟังดูคล้ายกับทัศนคติทีคนปลูกข้าวเจ้าในบ้านเราบางคน มองพวกชาวนาที่ปลูกข้าวเหนียวว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง)



ยามเช้าตรู่และพลบค่ำในบุมทังมักเห็นหมอกบางๆ ปกคลุมทั้งหุบเขา ช่วงเมษาที่เรามาเยือน อากาศที่นี่เย็นกว่าที่พาโรและทิมพู แต่ก็ไม่ถึงกับต้องใช้แจ็คเก็ตหนาเตอะ อุณหภูมิประมาณ 8-12 เซลเซียส หนาวกว่านั้นเล็กน้อยหลังอาทิตย์อัสดง

สีเขียวของป่าเขาค่อยๆ เลือนหายเข้าไปในสายหมอก สวยงามจนเข้าใจได้ว่า เหตุใดคนภูฏานจึงรักธรรมชาติ และเอาจริงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขนาดนี้

แม้คนบุมทังจะเคร่งศาสนาที่สุดในประเทศ คนภูฏานในชนบทส่วนใหญ่ก็เคร่งครัดไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องการถือศีลข้อแรก คือไม่ฆ่าสัตว์

คนมองโลกในแง่ดีอาจบอกว่า นี่แสดงว่าคนภูฏานมีความเมตตาสูง ในขณะที่คนมองโลกในแง่ร้ายอาจแย้งว่า คนภูฏานกลัวตกนรกเพราะบาปกรรมมากกว่าต่างหาก จำไม่ได้แล้วหรือว่าพระโพธิสัตว์และเทวดาในนิกายตันตระนั้นหน้าตาดุดันขนาดไหน

แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร การที่ชาวบ้านภูฏานถือศีลข้อแรกอย่างเคร่งครัดก็ทำให้เกิดปรากฎการณ์อันน่าสนใจเยอะแยะไปหมด

จริงๆ แล้ว ภูฏานยังใช้หลักพุทธธรรมที่สืบทอดมาจากสมัยชับดรุงในการปกครองประเทศ ดังนั้นจึงถือว่าการล่าสัตว์และจับปลาเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ยกเว้นฆ่าเพื่อรับประทานในครอบครัว คนที่จับปลากินกันในครัวเรือนจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และละเว้นจากการจับปลาในฤดูวางไข่ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อสัตว์ในตลาดเป็นเนื้อที่ชำแหละและนำเข้าจากอินเดีย ที่เหลือเป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าโดยชาวฮินดูที่เข้ามาตั้งรกรากในภูฏาน หรือไม่ก็เป็นสัตว์ที่คนภูฏานรอให้แก่ตายตามธรรมชาติ

ความที่เป็นเนื้อคุณภาพต่ำจากอินเดีย หรือไม่ก็เป็นเนื้อสัตว์ที่แก่ตาย เนื้อสัตว์ในภูฏานเลยเหนียวๆ ไม่ค่อยอร่อยเท่าไหร่ กินแต่ผักสบายใจกว่า

คนบุมทังที่เลี้ยงสัตว์นิยมใช้วิธีผูกวัวติดขอบเหว รอเวลาที่มันจะก้าวพลาดตกเหวลงไปตาย จะได้กินเนื้อวัวโดยไม่ต้องทำบาป

แต่ก็น่าคิดว่า ระหว่างการฆ่าสัตว์ด้วยน้ำมือตัวเอง กับการวางแผนฆ่าด้วยการยืมมือคนอื่นหรือโชคชะตานั้น ระดับของ “บาป” จะต่างกันขนาดนั้นจริงหรือ

ถ้าไม่ลงมือเองอาจไม่นับว่าผิดศีล แต่ในแง่ของบาปบุญคุณโทษ เรื่องอย่างนี้น่าจะเข้าข่าย “แค่คิดก็ผิดแล้ว”

คนแก่ในบุมทังบางคนไม่ดื่มชา เพราะหนอนและแมลงบางชนิดต้องถูกปลิดชีพในกระบวนการผลิตชา คนแก่ที่เคร่งกว่านั้นอีกจะใช้ผ้าผืนบางๆ ปิดหน้าตั้งแต่จมูกลงมาทุกวัน เพราะไม่อยากฆ่าแมลงตัวเล็กๆ โดยบังเอิญถ้ามันติดเข้าจมูกไปกับลมหายใจ

การรักษาศีลอย่างเคร่งครัดขนาดนี้ทำให้บุมทังมีแมลงวันและยุงมากมายกว่าในเมืองอื่นๆ ที่เราไปเยือน ไอ้เรานึกอยากตบก็ไม่กล้าตบต่อหน้าคนท้องถิ่น ต้องพยายามไล่กำมันไว้ในมือแล้วปล่อยออกไปนอกหน้าต่างแทน



สิ่งหนึ่งที่บุมทังมีไม่น้อยหน้าเมืองอื่นๆ คือหมาจรจัด เพม่าบอกว่าคนภูฏานรักหมามาก สังเกตว่ามีหมาจรจัดเดินเพ่นพ่านเต็มเมืองทุกหนแห่ง ทุกตัวดูอุดมสมบูรณ์เหมือนมีคนเลี้ยง ไม่มีหมาขี้เรื้อนตัวผอมโกรกแบบในกรุงเทพฯ

ปัญหาก็คือหมาพวกนี้หอนเสียงดังและนานมากเวลากลางคืน เป็นที่รำคาญของนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่คงรักหมาเหมือนกัน แต่ไม่ชินกับเสียงเห่าหอนเท่ากับคนภูฏาน

ใครไปเยือนภูฏานขอแนะนำว่า อย่าลืมพกที่อุดหูไปด้วย ไม่งั้นเดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

ปัญหาเรื่องหมาจรจัดนี้เป็นปัญหาเรื้อรังที่รัฐบาลพยายามแก้ไขหลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แม้จะอยากจับหมามายิงทิ้งก็ทำไม่ได้เพราะชาวภูฏานผู้รักหมาจะลุกฮือขึ้นประท้วง รัฐบาลเคยจับหมาจรจัดไปปล่อยไว้บนภูเขาสูง แต่ภายในสองเดือนหมาพวกนี้ก็เดินทางกลับมาเพ่นพ่านในเมืองใหม่ (รู้ทางสมกับเป็นหมาภูฏานจริงๆ) จนในที่สุดรัฐบาลตัดสินใจจับหมาจรจัดหลายร้อยตัวมาตอนเพื่อให้ออกลูกไม่ได้ ตัดหางพวกนี้ทิ้งเพื่อให้แยกแยะจากหมาที่คนเลี้ยง

การเคร่งศีลข้อแรกของคนภูฏานยังส่งผลในทางที่เราคิดไม่ถึง เช่น สาเหตุหลักที่ผ้าไหมภูฏานมีความหยาบกว่าไหมไทยหรือไหมจีนหลายเท่า เป็นเพราะคนภูฏานไม่อยากฆ่าหนอนไหม ดังนั้นจึงหยุดกระบวนการไว้ก่อนที่หนอนไหมจะคายเส้นใยออกมาหมด (ซึ่งเป็นจุดที่ไหมมีความละเอียดที่สุด) ทำให้ได้ไหมที่หยาบกว่าถ้าบีบให้หนอนคายออกมาหมดจนตาย (แล้วเอาไปต้มกินเป็นอาหารจานเด็ดแบบคนไทย)

ทาชิเล่าว่า ตอนที่รัฐบาลสวิสเริ่มโครงการพัฒนาธุรกิจน้ำผึ้งในแถบนี้ คนสวิสต้องคิดค้นรังผึ้งแบบพิเศษเพื่อสกัดน้ำผึ้ง เพราะคนภูฏานไม่ยอมใช้ควันรมรังผึ้งแบบวิธีปกติ เพราะกลัวว่าผึ้งจะตาย

ความเมตตา (หรือความกลัวเกรงต่อบาป หรือทั้งสองอย่างก็แล้วแต่) ของคนบุมทังไม่จำกัดแต่เฉพาะกับสัตว์เท่านั้น หากยังเผื่อแผ่ไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คือพืชพันธุ์ต่างๆ ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านจะรอให้ต้นไม้ตาย หรือแก่จนใกล้ตายก่อน จึงจะโค่นมันลงไปใช้สอย และบางครั้งก่อนโค่นก็จะทำพิธีกรรมเพื่อขอขมาผีสางนางไม้ที่อาจอาศัยอยู่ในนั้น

แม้จะล้าหลังในแง่วัตถุ แต่สำหรับอารยธรรมในแง่ความสูงส่งของจิตวิญญาณ ผู้เขียนคิดว่าชาวบุมทังไม่เป็นรองใครในโลก

……

เนื่องจากถนนหนทางภูฏานค่อนข้างแคบและอันตราย รถทัวร์ขนาดใหญ่จึงไม่มีให้เห็น ใช้แต่รถตู้ประมาณสิบห้าที่นั่งในการรับส่งนักท่องเที่ยว ดังนั้นถ้าคณะใหญ่กว่าสิบห้าคนก็ต้องใช้รถตู้สองคันและไกด์สองคน เพราะต้องมีไกด์ชาวภูฏานประจำรถแต่ละคัน

แต่นักท่องเที่ยวไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ เพราะการจองรถ จองโรงแรม รวมทั้งการจัดแผนการท่องเที่ยวทั้งหมด รวมอยู่ค่าใช้จ่าย US$200 ต่อหัวต่อวันที่ต้องจ่ายให้กับบริษัททัวร์ภูฏานก่อนออกเดินทาง เงินจำนวนนี้รวมค่าใช้จ่ายทุกประเภทแล้ว ตั้งแต่วีซ่า ภาษีท่องเที่ยว ค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าไกด์ ค่ารถ ค่าอาหาร ฯลฯ

นโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปรัชญา GNH และเป็นนโยบายที่ภูฏานให้ความสำคัญกว่าตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ภูฏานเลือกดำเนินนโยบายท่องเที่ยวแบบเข้มงวด เช่น รัฐบาลไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าภูฏานด้วยตัวเองโดยไม่มีไกด์ท้องถิ่นประกบไปด้วยตลอดทาง ยกเว้นว่าจะมาเยือนในฐานะแขกของคนภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องส่งแผนการเดินทางให้ทางการภูฏาน พร้อมกับแจ้งว่าใช้บริษัททัวร์ท้องถิ่นชื่ออะไร ก่อนจะได้รับอนุมัติวีซ่า เมื่อยื่นเอกสารทั้งหมดผ่านบริษัททัวร์แล้วนักท่องเที่ยวจะได้วีซ่าเมื่อไปถึงสนามบินภูฏาน

วิธี “เหมาจ่าย” แบบนี้ ประจวบกับการที่ไกด์ภูฏานทุกคนพูดภาษาอังกฤษคล่อง และบริษัททัวร์ส่วนใหญ่มีเว็บไซด์ มีอีเมล์ให้ติดต่อ ทำให้การวางแผนไปเที่ยวภูฏานในปัจจุบันเป็นเรื่องสะดวกกว่าสมัยก่อนมาก วางแผนล่วงหน้าเพียง 15-20 วันก็พอ

ใครที่มีเงินเก็บหลายหมื่นบาท สื่อสารภาษาอังกฤษพอรู้เรื่อง ไม่เกี่ยงเรื่องไปทุ่ง และไม่เมารถ (หรือเมาแต่เต็มใจกินยาแก้เมาทุกวัน) ก็สามารถไปเที่ยวภูฏานได้สบาย เริ่มจากการอีเมล์แจ้งความสนใจไปยังบริษัททัวร์ภูฏาน ผ่านเว็บไซด์ของเขาเท่านั้น ว่าจะไปกันกี่คน และสนใจทัวร์ด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก หรือด้านธรรมชาติเป็นหลัก

คนไปเที่ยวภูฏานไม่จำเป็นต้องแข็งแรงมาก ยกเว้นจะไปปีนเขาสูงที่ต้องใช้เวลาเดินเป็นวันๆ เพราะอากาศภูฏานไม่บางเท่ากับในทิเบต ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 5,000 เมตรเป็นอย่างต่ำ ที่ราบสูงในภูฏานตลอดทางหลวงนั้นสูงประมาณ 1,500-3,000 เมตร ครั้งแรกที่ขึ้นสูงกว่า 2,500 เมตรอาจรู้สึกหน้ามืด เวียนศีรษะเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้เองตามธรรมชาติ (แต่เห็นผู้ใหญ่อายุเกิน 70 บางท่านก็พกยาแก้ความสูงติดตัวมาด้วย แถมบอกว่าหาซื้อยาแบบที่กินแล้วไม่ทำให้ง่วงได้เฉพาะในเซ็นทรัลชิดลมเท่านั้น)

ความสะดวกในการจัดทัวร์เที่ยวภูฏานโดยผ่านอินเตอร์เน็ต นับเป็นประโยชน์ข้อหนึ่งของโลกาภิวัตน์ที่ย่อโลกทั้งใบลงได้จริงๆ แต่คนก็ต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้มันให้เป็นประโยชน์ด้วย ในแง่นี้ การที่รัฐบาลภูฏานบังคับให้ทุกโรงเรียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการเรียนการสอน นับเป็นนโยบายที่ชาญฉลาด เพราะเป็นการสร้าง “ทางลัด” ให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงขุมความรู้ที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้ นอกเหนือจากจะใช้เป็นช่องทางทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ

เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับ ลาทู วังชุก อธิบดีการท่องเที่ยวของภูฏาน ท่านลาทูเล่าให้ฟังว่า รัฐต้องการให้การท่องเที่ยวในประเทศเป็นแบบ “high value, low impact” (คุณค่าสูง ผลกระทบต่ำ) คืออยากได้นักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ อยู่ในวัยทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีวินัย รักธรรมชาติ และสนใจวัฒนธรรมของภูฏานจริงๆ ไม่ใช่มาเที่ยวเพียงเพราะเห่อ “ของแปลก” หรือมากินเหล้าเมากันในป่า ทิ้งขยะกองพะเนินให้เป็นภาระกับเจ้าของบ้าน

ท่านลาทูบอกว่า ปัจจุบันนโยบาย high value, low impact ของภูฏานประสบความสำเร็จค่อนข้างดี นักท่องเที่ยวที่มาภูฏานมีอายุเฉลี่ย 40 ปี อยู่ภูฏานเฉลี่ยคนละ 8 วัน ใช้เงินคนละกว่าวันละ 100 เหรียญสหรัฐ (4,000 บาท – นี่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวนอกเหนือจากราคาเหมาจ่ายคนละ 200 เหรียญสหรัฐต่อวัน) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียและยุโรป (ที่คนอินเดียมาเที่ยวเยอะ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะรัฐบาลยกเว้นภาษี 200 เหรียญให้นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย เป็นหนึ่งในข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสองประเทศ) แต่พักหลังเริ่มมีทัวร์พุทธศาสนาจากญี่ปุ่นและไทยมามากขึ้น


วิวหุบเขาทิมพู ป้อถ่ายเป็นพาโนรามา

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าภูฏานมีโควตานักท่องเที่ยวในแต่ละปี จริงๆ แล้วภูฏานไม่มีโควตา เพียงแต่ภาษีท่องเที่ยวที่แพง ขั้นตอนการขอวีซ่าที่เข้มงวด ความลำบากในการเดินทาง ภาวะขาดแคลนเครื่องอำนวยความสะดวกสมัยใหม่ และความเป็นดินแดนลี้ลับที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวยังค่อนข้างน้อย ในปี พ.ศ. 2548 ภูฏานมีนักท่องเที่ยวเพียง 13,600 คน แต่ก็นับว่าเป็นตัวเลขที่สูง เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆ อย่างทิมพูหรือพาโร ซึ่งมีประชากรเพียง 10,000 – 20,000 คนเท่านั้น

ผู้เขียนถามว่า ทำไมรัฐไม่ลดภาษีท่องเที่ยวลงหน่อย จะได้ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนภูฏานมากขึ้น เพิ่มรายได้ที่ภูฏานต้องใช้จำนวนมหาศาลในการพัฒนาประเทศ เพราะได้ยินมาว่าภูฏานต้องพึ่งพิงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในอัตราส่วนค่อนข้างสูง คือกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของ GDP

ท่านลาทูตอบว่า รัฐบาลพยายามเน้นการสร้างธุรกิจภาคเอกชนให้เป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศและลดการพึ่งพิงเงินช่วยเหลือ แทนที่จะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ จริงอยู่ นั่นอาจเป็นวิธีหาเงินที่ง่ายที่สุด แต่เนื่องจากภูฏานให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมมาก การเปิดประเทศจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป

ภูฏานยังไม่ค่อยมีนักธุรกิจเอกชนนอกจากในธุรกิจท่องเที่ยว เพราะคนภูฏานส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยกล้าเสี่ยง นอกจากนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยสี่ และความพอใจที่จะใช้ชีวิตพอเพียงแบบพุทธ ทำให้คนภูฏานส่วนใหญ่ไม่มีความกระตือรือร้นที่จำเป็นต่อการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ภายในประเทศ

“ความพอเพียง” เป็นเรื่องน่าสรรเสริญก็จริง แต่ความพอเพียงผิดจังหวะในยามที่ประเทศต้องการความขวนขวายจากปัจเจกชนผู้มีการศึกษา เพื่อหาเงินมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ก็อาจฉุดรั้งอัตราการพัฒนาประเทศ และกดดันให้รัฐบาลภูฏานต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็ง

หากชาวภูฏานขยับมาตรฐานของ “ความพอเพียง” ในชีวิตให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อตั้งเป็นเป้าหมายให้ผลักดันตนเองไปสู่จุดนั้น น่าจะเป็นการดีไม่น้อย

อย่างน้อยก็นับเป็นโชคดีของประเทศ เพราะการขยับนิยามของ “ความพอเพียง” ให้สูงขึ้น น่าจะง่ายกว่าการสอนให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ในโลกที่ติดกับดักบริโภคนิยมไปแล้วจนถอนตัวไม่ขึ้น หันมาเรียนรู้เรื่อง “ความพอเพียง” จากคนภูฏาน

อธิบดีผู้นี้ยังให้แง่คิดที่น่าสนใจว่า การที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายภาษีแพง ทำให้ต้องการใช้เวลาในภูฏานอย่าง “คุ้มค่า” ด้วยการสัมผัสกับธรรมชาติและวัฒนธรรมภูฏานให้ได้มากที่สุดเท่าที่เวลาและโอกาสจะอำนวย ความกระตือรือร้นของนักท่องเที่ยวนี้ก็ช่วยกระตุ้นให้คนภูฏานเอง โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ เกิดความสนใจและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตน

แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า ในอนาคตเมื่อคนภูฏานรุ่นใหม่มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นในแง่ความสะดวกสบายด้านวัตถุ ความผูกพันกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมก็ย่อมเจือจางลงเรื่อยๆ จนวันหนึ่งคนภูฏานอาจมองวัฒนธรรมโบราณต่างๆ ว่าเป็นเพียง “สินค้า” ขายนักท่องเที่ยวเท่านั้น ไม่มีความสลักสำคัญอะไรกับชีวิตของพวกเขาอีกต่อไป

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าเศร้าอะไร ในเมื่อธรรมชาติของวัฒนธรรมไม่เคยหยุดนิ่ง แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ค่านิยม และสภาพแวดล้อมของสังคม

หากสังคมสามารถ “ปลูกถ่าย” สิ่งดีๆ ในวัฒนธรรมเก่า ไปสู่วัฒนธรรมใหม่ เพียงเท่านั้นก็น่าจะพอแล้ว มิใช่หรือ?

หนุ่มภูฏานยุคใหม่อาจเลิกพกถ้วยเหล้าไว้ในกระเป๋าหน้าท้องของชุดประจำชาติ แต่ถ้าน้ำใจยังไม่หกหายไปไหน ไปเลี้ยงเพื่อนตามบาร์ยุคใหม่ก็ใช่ว่าจะด้อยค่ากว่ารินเหล้าเลี้ยงเพื่อนในบ้านตัวเอง

ลองไปสัมผัสชีวิต “คนเมือง” ภูฏานกันบ้างเป็นไร…

(โปรดติดตามตอนต่อไป)
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:53:30 »

ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (6)




(หากท่านใดไม่เคยอ่านบทความชุดนี้ ขอเชิญอ่าน ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 และ ตอนที่ 5 ก่อน)

ทิมพู: ชีวิตไม่รีบร้อนของคนเมืองภูฏาน


คิวรถติดยาวเป็นกิโล รอช่วงพัก
ของช่างทำถนน

แม้ว่าภูฏานจะยังไม่มีรถมากถึงขนาดติดเป็นตังเมทุกวัน ชาวกรุงเทพฯ ที่หวังว่าจะได้ “ซิ่ง” รับลมชมวิวแบบเต็มสปีดในภูฏานอาจต้องพกความผิดหวังกลับบ้าน

เพราะนอกจากถนนหนทางส่วนใหญ่จะคดเคี้ยวอันตรายจนต้องขับไม่เกิน 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว บางครั้งรัฐบาลภูฏานยังประกาศปิดถนนบางช่วง 3-5 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อขยายเลนหรือซ่อมแซมผิวถนนที่เจอทั้งแดด ลม ฝน หิมะ ตลอดจนรถสิบล้อที่วิ่งส่งสินค้าระหว่างเมืองอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเครื่องอุปโภคบริโภคของคนเมือง ที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่บรรทุกรถสิบล้อมาจากอินเดียทางชายแดนตอนใต้ ของที่แพงหน่อยนำเข้าจากเมืองไทยโดยเครื่องบินของสายการบิน ดรุ๊กแอร์ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ขนมขบเคี้ยว เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน ฯลฯ แม้กระทั่งวีซีดีและดีวีดีเถื่อนตอนนี้ก็เริ่มมีให้เห็นแล้วในทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน ขายทั้งหนังเทศและหนังไทย


ร้านขายดีวีดีเถื่อน เมืองทิมพู มีเรื่องต้มยำกุ้ง และ
องค์บากขายด้วย ดูเหมือนของจากแม่สาย

เมื่อเทียบกับของอินเดียที่โดยมากยังมีคุณภาพต่ำ สินค้าไทยที่คนไทยเราดูถูกนักหนาจึงกลายเป็นสินค้า “เกรดดี” สำหรับคนภูฏาน ร้านไหนขายของจากไทยถือว่าเป็นร้าน “ไฮโซ” กว่าร้านอื่น

แม้แต่ของที่ใครว่าแย่ที่สุด ก็กลับกลายเป็นดีได้เมื่อเทียบกับของที่แย่กว่า ตราบใดที่ผู้บริโภคยังไม่มีทางเลือกมากนัก

ความดีความเลวจึงอาจเป็นได้เพียงคุณค่าเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น ในมิติของวัตถุ ไม่ใช่ลักษณะสัมบูรณ์ใดๆ ที่มีความหมายในตัวมันเอง

แต่ถ้าเราชอบเปรียบเทียบกับสิ่งที่ด้อยกว่าอยู่เสมอ เพื่อให้รู้สึกว่าของของเรา “ดี” เราก็อาจคิดว่าเรา “ดีแล้ว” จนไร้ซึ่งแรงบันดาลใจที่จะทำอะไรๆ ให้ “ดีกว่าเดิม”

การหาจุดสมดุลระหว่าง “ความพอเพียง” ในการดำรงชีวิต กับ “ความกระตือรือร้น”ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีกว่าเดิมในแง่ความสะดวกสบายด้านวัตถุ อย่างน้อยก็เพื่อรุ่นลูกหลาน จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมทุกแห่งในโลก

พอเพียงเกินไปก็อาจทำให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควรจากการบริโภคสินค้าและบริการสมัยใหม่ ที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีกว่าเดิม มีความสุขก็จริง แต่ขาดความสบาย

แต่กระตือรือร้นเกินไปก็กลายเป็นความโลภไม่รู้จักพอ หลงวนเวียนอยู่ในวังวนบริโภคนิยมจนถอนตัวไม่ขึ้น มีความสบายก็จริง แต่ขาดความสุข

เป็นเรื่องน่าทึ่งไม่น้อย ที่แม้เวลาจะล่วงเลยไปแล้วกว่า 2,500 ปี คำสอนเรื่อง “ทางสายกลาง” ของพระพุทธองค์ยังไม่เคยตกยุค ซ้ำยังทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ

……

เนื่องจากถนนสายหลักในภูฏานมีอยู่เส้นเดียว เวลารัฐสั่งปิดถนนทีไร รถก็จะติดยาวเหยียดอยู่บนถนนเป็นกิโลทุกครั้งไป ดังที่พวกเราเจอระหว่างทางกลับทิมพูจากพูนาคา โชคดีที่เราไปถึงตอนใกล้ถึงเวลาเปิดถนนประจำวันแล้ว เลยไม่ต้องรอนานมาก – แค่ 40 นาทีเท่านั้นเอง

ปกติช่วงเวลา 40 นาที ไม่ใช่ “แค่” สำหรับผู้เขียน คนรุ่น(กลางเก่ากลาง)ใหม่ที่รู้สึกรำคาญแทบทุกครั้งเวลาเห็นเว็บไซด์ใช้เวลาโหลดนานกว่าหนึ่งนาที เพื่อนไม่ตอบอีเมล์ภายในหนึ่งวัน และลิฟต์ไม่มาภายในสองนาทีหลังจากกดปุ่มเรียก

แต่ชะรอยภูฏานจะมีเวทมนตร์อะไรบางอย่าง ที่ถ่วงฟันเฟืองนาฬิกาธรรมชาติในร่างกายเอาไว้ ให้มันเดินช้าลงกว่าเดิมลงไปเรื่อยๆ จนพอถึงวันที่สองหรือสาม ก็เลิกคิดว่าเราจะไปที่ไหนเมื่อไหร่ และจะทันตามแผนการเดินทางที่ต้องส่งให้รัฐบาลภูฏานอนุมัติหรือไม่

ขอแค่ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ของภูฏาน และเห็นภูเขาโอบล้อมทุกวันก็พอ

อาจเป็นอย่างที่นักคิดหลายคนกล่าวไว้ – เมื่อใดเรามีความสุขอยู่กับปัจจุบัน เมื่อนั้นเราจะไม่พะวงเรื่องเวลา

ไม่ว่าจะเจอฝนตกหนัก ถนนปิดซ่อมแซม ฝูงจามรีเดินข้ามถนน ทหารเช็คเอกสารเวลาข้ามเขตมณฑล ฯลฯ เราก็ไม่เคยรู้สึก “เสียเวลา” ตราบใดที่ฟ้ายังเปิดพอให้อิ่มเอมกับทิวทัศน์สองข้างทาง และเพม่ายังไม่รู้สึกเหนื่อยล้ากับการเล่านิทาน และร้องเพลงภาษาซองก้าให้ฟัง

เพม่าบอกว่า เพลงภูฏานส่วนใหญ่เป็นเพลงรักอารมณ์เศร้า ประมาณรักเธอแต่ไม่มีทาง คิดถึงเธอแต่ห่างกันเหลือเกิน ฯลฯ ท่วงทำนองคล้ายเพลงจีนคลาสสิกอย่าง “เถียนมีมี่”

อาจเป็นเพราะพวกเขาใช้ชีวิตในอ้อมกอดขุนเขา เดินขึ้นเขาลงห้วยทุกวันวันละหลายกิโล คนภูฏานส่วนใหญ่จึงดูเหมือนจะมีพลังงานเหลือเฟือ กินเหล้าเก่ง นอนน้อย คนภูฏานหลายคนบอกผู้เขียนว่าเขานอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น

พูดถึงเหล้า ดูเหมือนว่าศีลข้อห้าจะเป็นข้อที่คนภูฏานเคารพน้อยที่สุด แม้แต่ในเมืองที่เคร่งพุทธศาสนาอย่างบุมทัง ชาวบ้านหลายรายก็บริโภคเหล้าขาวท้องถิ่นเป็นกิจวัตร ขนาดบนผนังห้องหมักเบียร์ที่เราแวะเยือนในบุมทัง ยังมีโปสเตอร์โพนทะนาประโยชน์ของเบียร์เป็นภาษาอังกฤษ เสียดายไม่มีเวลาจดเนื้อหากลับมา จำได้ลางๆ ทำนองว่า เบียร์ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนของเลือดทำงานดีขึ้น

ใครที่คออ่อนเหมือนผู้เขียน เคยกินเบียร์จนหน้าร้อนผ่าว หัวใจเต้นถี่จนแทบจะหลุดออกมาข้างนอก คงยืนยันได้ถึง “ประโยชน์” ข้อนี้ของเบียร์


บาร์ The Zone เมืองทิมพู

ภูฏานมีบาร์เหล้าแบบตะวันตกมากกว่าหนึ่งบาร์ในเมืองทิมพู บาร์ที่เราไปชื่อ “The Zone” เปิดเพลงเสียงดังลั่น ตั้งโต๊ะชิดกันจนแทบไม่มีทางเดิน คนแน่นขนัด ดูเผินๆ ไม่ต่างจากบาร์ย่านอาร์ซีเอในกรุงเทพฯ ผิดกันแต่มีเหล้าและค็อคเทลน้อยชนิดกว่า เปิดเพลงป๊อปภาษาฮินดูและเพลงอเมริกันยุคซิกซ์ตี้แทนที่เพลงไทย และห้องไม่ตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นและควันบุหรี่

ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ประกาศห้ามประชาชนสูบบุหรี่ กฎหมายนี้เพิ่งประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2546 นักท่องเที่ยวสามารถนำบุหรี่เข้าประเทศได้ แต่ต้องเสียภาษีในอัตราสูง

อย่างไรก็ตาม กฎหมายห้ามสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในกฎหมายจำนวนน้อยของภูฏาน ที่เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ไม่มีใครปราบปรามอย่างจริงจัง เพราะสมาชิกชนชั้นกลางเกิดใหม่จำนวนไม่น้อยในภูฏานยินดีจ่ายเงินซื้อบุหรี่ในราคาตลาดมืด

เช่นเดียวกับทุกหนแห่ง เมื่อมีผู้บริโภคต้องการซื้อ ก็ย่อมมีผู้ขาย และแน่นอน เมื่อผลประโยชน์มีมูลค่าสูง ผู้ขายก็ย่อมหว่านล้อมตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้แกล้ง “หลับตาข้างเดียว” อย่างไม่ยากเย็นอะไรนัก

ธุรกิจบุหรี่จึงเป็น “ธุรกิจใต้ดิน” อันดับต้นๆ ของภูฏาน ที่มีเครือข่ายคอร์รัปชั่นกว้างขวางและโยงใยข้าราชการหลายระดับชั้น

นี่เป็นเหตุให้การหาซื้อบุหรี่ในภูฏาน ไม่ว่าจะทีละมวนหรือทั้งห่อ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คนออกกฎหมายต้องการเห็น เมื่อผู้เขียนถามเจ้าของร้านชำผู้หนึ่งว่าเอาบุหรี่มาจากไหน เขาตอบยิ้มๆ ว่า พนักงานสายการบินดรุ๊กแอร์นั่นแหละเอามาขายต่อ

บางครั้ง การแกล้งหลับตาข้างเดียวอาจเป็น “วิธี” หนึ่งของรัฐ ในการต่อกรกับประเด็นซับซ้อน ที่ความต้องการของประชาชนส่วนหนึ่ง ขัดกับหลักศีลธรรมหรือหลักกฎหมาย

แต่วิธีนี้ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

ในอนาคต หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกของภูฏานมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2551 คนภูฏานรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดีขึ้น ได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกมากขึ้น และมีกำลังซื้อมากขึ้น อาจรวมพลังกันเรียกร้องสิทธิส่วนบุคคลจากรัฐบาล ซึ่งตอนนี้เล่นบท “พ่อผู้เข้มงวดแต่หวังดี” เหมือนสมัยที่ประเทศยังอยู่ใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

จนในที่สุด รัฐบาลภูฏานก็คงจะถูกสถานการณ์บังคับให้ตีเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง “สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล” กับ “ประโยชน์ส่วนรวม” อย่างชัดเจนในทุกๆ เรื่อง

การตีเส้นไม่เคยเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะที่ไหนเวลาใด

……

ไฟในบาร์ภูฏานสลัวจนปวดตาจากการเพ่งอ่านเมนู เลยไม่ทันสังเกตว่ามีเบียร์สิงห์หรือเปล่า แต่เห็น ซาน มิเกล ของฟิลิปปินส์ นอกเหนือจากไฮเนเก้น หลายยี่ห้อคุ้นตาจากยุโรป และยี่ห้อแปลกๆ จากอินเดีย


ไม่มี 7-Eleven แ่่ต่มี 8-Eleven

เมื่อคิดถึงข้อเท็จจริงว่าภูฏานไม่มีสตาร์บัคส์ แมคโดนัลด์ เซเว่นอีเลฟเว่น มีเพียงป้ายโค้กและเป๊ปซี่ปิดหน้าร้านเป็นระยะๆ แล้ว เมนูเหล้าในบาร์แห่งนี้อาจเป็นศูนย์รวมสัญลักษณ์ของ “ทุนโลกาภิวัตน์” ที่แน่นขนัดที่สุดในภูฏาน

เหนือหัวพวกเรา ทีวีขนาดประมาณสิบหกนิ้วกำลังถ่ายทอดเกมฟุตบอลลีกอังกฤษ

แม้ว่าประเทศจะมีที่ราบน้อยเสียจนทำสนามฟุตบอลไม่ค่อยได้ และถึงแม้ทีมชาติภูฏานจะติดอันดับท้ายๆ ของโลก ภูฏานก็มีแฟนบอลจำนวนไม่น้อย

ในขณะที่สายตาหลายสิบล้านคู่กำลังเชียร์แมทช์ชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกประจำปี 2545 ระหว่างทีมบราซิลกับเยอรมัน วันเดียวกันนั้นในอีกฟากหนึ่งของโลก ทีมชาติภูฏานเป็นเจ้าบ้าน ลงสนามพบกับทีมชาติมอนเซอร์รัต สองประเทศที่ฟีฟ่าจัดอยู่อันดับโหล่สุดในโลกฟุตบอล เพื่อตัดสินให้รู้แล้วรู้รอดไปว่า ทีมไหนกันแน่คือทีมฟุตบอลที่ “ห่วยที่สุดในโลก”

ก่อนการแข่งขันจะเริ่ม รัฐบาลภูฏานกลัวทีมมอนเซอร์รัตจะเสียใจที่ไม่มีคนเชียร์ เลยขอร้องให้กองเชียร์ชาวภูฏานแบ่งคนครึ่งหนึ่งไปนั่งเชียร์ทีมคู่แข่ง

ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศที่แฟนบอลมีเลือดรักชาติรุนแรง อย่างอังกฤษหรือบราซิล คงไม่มีใครยอม ดีไม่ดีรัฐบาลอาจจะถูกเดินขบวนขับไล่

แต่นี่เป็นภูฏาน แมทช์นั้นก็เลยผ่านพ้นไปอย่างสนุกสนาน อัฒจันทร์กระหึ่มเสียงเชียร์ของทั้งสองทีม ที่คนเชียร์เกือบทั้งหมดมีสัญชาติเดียวกัน

แมทช์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้จบลงด้วยภูฏานเป็นฝ่ายชนะ สกอร์ 4 ประตูต่อ 0



แม้จะไม่ค่อยมีใครรู้จัก โชคดีที่มีผู้บันทึกแมทช์นี้ลงบนแผ่นฟิล์ม ตัดต่อเป็นหนังสารคดีเรื่อง “The Other Final” ซึ่งได้รับรางวัลสารคดียอดเยี่ยมจากหลายสำนัก

ผู้กำกับสารคดีเรื่องนี้เป็นชาวดัทช์ เลือกทำเรื่องนี้เพราะแค้นใจที่ทีมชาติดัทช์โชว์ฟอร์มแบบเสียฟอร์มในศึกบอลโลก เลยอยากทำเรื่องเกี่ยวกับทีมที่ห่วยกว่าดัทช์แน่ๆ

ผู้เขียนเองไม่เคยได้ดู แต่ได้ยินมาว่าสารคดีเรื่องนี้มีวางขายเป็นดีวีดีแล้ว

……

กฎหมายภูฏานกำหนดให้บาร์ปิดตีสอง แต่ในความเป็นจริง บาร์จะปิดเมื่อไหร่ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเจ้าของ และระดับความสนุกของแขกในบาร์เท่านั้น

คนที่มาเที่ยวบาร์ส่วนใหญ่อยู่ในชุดลำลองสไตล์ตะวันตก สวมเสื้อยืดกางเกงยีนส์ ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ดูแปลกตากว่าที่เห็นตอนกลางวัน เพราะกฎหมายภูฏานบังคับให้พลเมืองทุกคนใส่ชุดประจำชาติทุกวัน ยกเว้นชาวภูฏานเชื้อสายฮินดูจากเนปาลหรืออินเดีย



ชุดประจำชาติของผู้ชายเรียกว่า โคห์ ของผู้หญิงเรียกว่า คีร่า เป็นแบบกระโปรงทั้งคู่ กระโปรงโคห์ของผู้ชายมีลักษณะคล้ายกระโปรงชายชาวสก็อต แต่ไม่มีจีบ สั้นกว่าคีร่าของผู้หญิง มีกระเป๋าจิงโจ้หน้าท้อง เอาไว้ใส่เงินและของประจำตัว โดยเฉพาะมีดและถ้วยเหล้าของชาวบ้านที่เล่าให้ฟังก่อนหน้านี้

ของอีกอย่างที่คนภูฏานนิยมพกติดตัว คือหมาก ใบพลู และอุปกรณ์ในการกินหมาก เป็นกิจกรรมยอดนิยม กินกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สังเกตดูตามมุมกำแพงบ้านและเสาไฟฟ้าจะเห็นเศษหมากสีแดงที่คนบ้วนทิ้งติดแห้งเกรอะกรังไปหมด

นักวิชาการเชื่อว่าคนภูฏานติดนิสัยนี้มาจากการค้าขายกับคนอินเดีย แต่ตำนานท้องถิ่นของภูฏานมีคำอธิบายที่สนุกกว่าวิทยาศาสตร์

คนภูฏานเชื่อว่า ครูรินโปเช พระทิเบตที่นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแผ่ เป็นคนสอนให้คนภูฏานกินหมาก เพราะในสมัยโบราณ ตอนที่คนภูฏานยังนับถือแต่ภูตผีเทวดาในความเชื่อพื้นเมืองที่เรียกว่า “บอน” และทำสงครามกับทิเบต และระหว่างเผ่าพื้นเมืองต่างๆ นั้น การกินคนถือเป็นเรื่องปกติ ครูรินโปเชอยากให้ชาวบ้านเลิกกินคน เลยสอนให้คนกินใบพลูแทนเนื้อคน ลูกหมากแทนกระดูกคน และมะนาวแทนสมองคน ส่วนผสมของสามอย่างนี้รวมกันมีสีแดง ก็ให้ถือว่านั่นคือเลือดคน

ตั้งแต่นั้นคนภูฏานเลยเลิกกินคน หันมากินหมากแทน

นอกจากจะพกข้าวของเครื่องใช้ในกระเป๋าหน้าท้อง คนพุทธที่เคร่งครัดมากๆ หลายคนก็ยังนิยมพกพระเครื่องติดตัว โดยเฉพาะเวลาเดินทางไกล เขาใส่พระเครื่องไว้ในกล่องบรอนซ์แกะสลัก บางอันใหญ่เท่าฝ่ามือ ไม่ค่อยเห็นใครห้อยพระที่คอเหมือนคนไทย (แต่เห็นเด็กตัวเล็กๆ บางคนก็ห้อยพระเหมือนกัน ไปถามเด็กอายุประมาณห้าหกขวบคนหนึ่งว่าเอามาจากไหน เขาบอกว่าคนไทยที่มาไหว้พระแถวนี้ยกให้)

ผู้เขียนไม่กล้านั่งฝั่งตรงข้ามกับใครก็ตามที่ใส่โคห์ จนกระทั่งมีคนกระซิบบอกว่า เขาใส่กางเกงขาสั้นไว้ข้างในอีกชั้นหนึ่ง

ทำให้ใจชื้นขึ้นมาก

คีร่าของผู้หญิงมีลวดลายและสีสันสวยงาม แต่ไม่ใช่จะหาซื้อได้ง่ายๆ เพราะภูฏานไม่มีอุตสาหกรรมทอผ้า มีแต่ผ้าที่เขาเย็บกันใช้เองในครัวเรือนแล้วนำมาขายนักท่องเที่ยว ผืนหนึ่งต้องใช้เวลาทอหลายเดือนหรือเป็นปี ฉะนั้นผ้าที่เอามาขายนักท่องเที่ยวจึงมีราคาแพง เป็นหลักหมื่นหรือหลักแสนบาท ผ้าที่มีลวดลายละเอียดสวยงามแบบโบราณหาไม่ค่อยได้แล้ว

นอกเหนือจากสนนราคา ใครอยากซื้อผ้าภูฏานก็กรุณาอย่าลืมว่า ผ้าภูฏานส่วนใหญ่เนื้อค่อนข้างหยาบ อันเป็นผลพวงจากความปรารถนาที่จะไม่ฆ่าหนอนไหม ตามที่เล่าในบทที่แล้ว

กฎหมายที่บังคับให้ทุกคนใส่ชุดประจำชาติเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้าน “การส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติ” – หนึ่งในสี่เสาหลักของปรัชญา GNH

กฎหมายอื่นๆ ที่สำคัญของนโยบายด้านนี้คือ ตึกรามบ้านช่องทุกหลังในประเทศจะต้องสร้างเป็นแบบภูฏานดั้งเดิม ห้ามสูงเกิน 4 ชั้น


เมืองทิมพู ถ่ายจากทางหลวงระหว่างมาจากพาโร

แม้จะฟังดูเหมือนเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลค่อนข้างมาก ก็โชคดีที่สถาปัตยกรรมดั้งเดิมของภูฏานมีความสวยงาม และกลมกลืนกับธรรมชาติรอบด้าน จนไม่น่าจะมีใครบ่นเรื่องนี้เท่าไหร่

ยังไงๆ ในสายตาอันเปี่ยมอคติของผู้เขียน ผลที่เกิดขึ้นก็ดูดีกว่าทิวทัศน์ประเภทตึกเสากรีก-ผนังสีฟ้า-หลังคาเก๋งจีน ที่เห็นอยู่ดาษดื่นในเมืองไทย ที่นอกจากจะไม่เข้ากับบรรยากาศอย่างแรงแล้วยังชวนให้แคลงใจในรสนิยมของเจ้าของตึก และหน่วยงานราชการที่อนุมัติให้สร้าง


“สี่แยกไฟแดง” เมืองทิมพู

ขนาดของสมัยใหม่อย่าง “สี่แยกไฟแดง” ในทิมพู (ซึ่งมีตำรวจจราจรประจำป้อม ทำหน้าที่แทนไฟเขียวไฟแดง) ยังทาสีสวยงามในสไตล์ดั้งเดิม ให้ดูกลมกลืนกับขุนเขาได้เลย

ไม่มีอะไรดู “แปลกที่” ในภูฏาน

กฎหมายหนึ่งที่แสดงชัดว่ารัฐบาลเอาจริงแค่ไหนกับนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมคือ หนุ่มสาวชาวภูฏานที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศทุกคนจะต้องเข้ารับการอบรมเรื่องวัฒนธรรมประจำชาติ เรียกว่า ดริกัม นัมซา ในคอร์สระยะสั้นที่รัฐบาลจัด เมื่อกลับถึงภูฏานแล้ว

……

จังหวะชีวิตของคนภูฏาน ดำเนินไปอย่างช้าๆ เหมือนธารน้ำที่ไหลลอดใต้กงล้อภาวนา ไม่เว้นแม้แต่ในทิมพู เมืองหลวงของประเทศ

คนที่นี่เขาเดินเนิบๆ แบบทอดหุ่ย ยกเว้นเด็กเล็กๆ ที่วิ่งเล่นกัน หรือเด็กนักเรียนที่เร่งฝีเท้ากลับบ้าน เพราะอาจต้องเดินหลายกิโล


จัตุรัสกลางเมืองทิมพู

ในจัตุรัสกลางเมืองมีหอนาฬิกาตั้งอยู่ แต่ก็ไม่เห็นมีใครสนใจมองมัน ราวกับประโยชน์ของหอนาฬืกานี้มีแค่เป็น “หมุดหมาย” บอกตำแหน่งกันหลง เวลาใครหลงทางในเมืองก็เพียงแค่แหงนคอมองหาหอนาฬิกา ก็จะรู้ทันทีว่าตัวเองอยู่ทางทิศไหนของเมือง

ร้านขายของชำส่วนใหญ่ขายของผ่านหน้าต่างหน้าร้านที่เจ้าของร้านนั่งเฝ้าเหมือนคนขายตั๋ว คนซื้อไม่ต้องเดินเข้าไปข้างใน

ถามป้าเจ้าของร้านชำคนหนึ่งว่า ไม่กลัวใครล้วงมือเข้ามาขโมยของหรือคะ? ป้ายิ้มแล้วบอกว่า ไม่มีหรอกขโมย แล้วของแค่นี้ถ้าอยากได้ก็เชิญ ต้องถือว่าเป็นเคราะห์กรรมของป้าถ้าเกิดเรื่องอย่างนั้นขึ้น เธอตอบอย่างหนักแน่น แล้วก็ส่งสายตาแบบภูฏานตามมา


แถวร้านขายของชำ เมืองทิมพู

ความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างอารยธรรมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งใน “เมืองใหญ่” อย่างทิมพู เป็นมนต์เสน่ห์หนึ่งของภูฏานอันยากจะลืมเลือน

เจมี่ เซ็ปป้า ครูสอนภาษาอังกฤษชาวแคนาดาที่เป็นอาสาสมัครไปสอนหนังสือในภูฏานตอนอายุ 22 ปี ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการในการดำรงชีวิต พบรักและแต่งงานกับคนภูฏาน เล่าเรื่องความกลมกลืนของภูฏานไว้อย่างไพเราะในหนังสือเรื่อง “Beyond The Sky And The Earth” (ยิ่งกว่าผืนฟ้าและแผ่นดิน):

“สิ่งที่ฉันรักที่สุดคือความกลมกลืนของทุกสิ่งทุกอย่าง เวลาคุณเดินผ่านป่าทั้งป่าทะลุออกมาสู่หมู่บ้าน คุณจะมองไม่เห็นความแตกต่าง ไม่เห็นเส้นแบ่งใดๆ ไม่ใช่ว่าคุณอยู่ท่ามกลางธรรมชาติในนาทีหนึ่ง และอยู่ในอารยธรรมมนุษย์ในนาทีต่อมา บ้านเรือนผู้คนทำจากโคลน หิน และไม้ ที่ดึงมาจากธรรมชาติใกล้ตัว ไม่มีอะไรดูผิดที่ ไม่มีอะไรดูขัดแย้งกัน เวลากลายเป็นการผสมผสานระหว่างนาทีและเดือนและความรู้สึกถึงฤดูต่างๆ ที่ผันผ่าน… ฉันจำวันที่ไม่ค่อยได้แล้ว… ที่นี่เวลาไม่ผ่านไปอย่างรวดเร็วดุเดือด การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นช้ามาก ยายแก่และหลานสาวของเธอใส่เสื้อผ้าชนิดเดียวกัน ทำงานเหมือนกัน ร้องเพลงเพลงเดียวกัน… ตอนนี้ฉันมีเวลาเหลือเฟือ ไม่มีใครที่ฉันต้องวิ่งกวดให้ทัน และไม่ต้องไปที่ไหนนอกจากที่นี่ ฉันทำนาฬิกาข้อมือหายในเมืองทราชิกัง และหน้าปัดดิจิตัลของนาฬิกาปลุกก็จางหายไปแล้วในความชื้นที่มากับลมมรสุม แต่ฉันกำลังเรียนรู้วิธีบอกเวลาจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และสรรพเสียงนอกบ้าน และฉันก็แทบไม่เคยไปสาย”

……

เรื่องราวของดินแดนแห่งมังกรคำรามยังไม่จบเพียงแค่นี้…

…คนภูฏานขายอะไรให้นักท่องเที่ยว ในตลาดเมืองพาโรและทิมพู?
…เหตุใดพระที่มาสวดในงานศพจึงกุเรื่องโกหกในงานศพ กล่าวโทษคนตายในสิ่งที่เขาไม่ได้ทำ?
…ความหมายของผ้าพาดไหล่ ธงภาวนา และกงล้อภาวนาคืออะไร?
…จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กตัวเล็กๆ คือลามะกลับชาติมาเกิดจริง?
…ภาษาซองก้าไม่มีคำว่า “ฉันรักเธอ” จริงหรือ?
…ทำไมคนภูฏานจึงชอบเมืองไทย และชอบเที่ยวเมืองไทย?
…คนภูฏานอยากได้รัฐธรรมนูญหรือไม่?
…ความท้าทายและปัญหาของการพัฒนาประเทศตอนนี้คืออะไร?
…ทำไมผู้เขียนจึงเรียกภูฏานว่า “อารยธรรมแห่งสุดท้าย” ?

โปรดติดตามหาคำตอบได้ในหนังสือ “ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย?” รวบรวมบทความที่ลงในบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน บวกอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่สีสวยงาม 16 หน้าเต็ม ตามแผงหนังสือทั่วไป จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ

สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่

 

http://www.fringer.org/?p=147
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
▄︻┻┳═一
SookJai.com
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 794


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 28 มกราคม 2554 00:20:40 »

ขอบคุณมากเลยครับ
เนื้อหาดีมากครับ
ละเอียดมากเลย
บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระบรมสารีริกธาตุจากประเทศ{ภูฏาน}
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 11 6688 กระทู้ล่าสุด 07 มีนาคม 2555 19:46:46
โดย 時々๛कभी कभी๛
พื้นที่ชีวิต-ภูฏาน-กิเลสคือโพธิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1620 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2555 16:38:33
โดย เงาฝัน
ภูฏาน ดินแดนแห่งธรรม ธรรมชาติ แยกไม่ออกจากชีวิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 20568 กระทู้ล่าสุด 08 มกราคม 2557 15:49:19
โดย มดเอ๊ก
Spirit of Asia : ภูฏาน สมดุลแห่งความสุข
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 974 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2559 02:07:28
โดย มดเอ๊ก
วิถีโลก วิถีธรรม เรื่องน่ารู้ ที่ ภูฏาน โดย อาจารย์ ยุค ศรีอาริยะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1022 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2559 10:49:12
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 3.1 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 11:35:54