[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 21:27:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัฒนธรรมร่วมอาเซียน  (อ่าน 19099 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2558 16:09:29 »

.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน จระเข้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ควบคุมน้ำ

จระเข้ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ควบคุมน้ำหล่อเลี้ยงให้คนมีชีวิตและพืชพันธุ์ธัญญาหารมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์
 
จระเข้ยุคเหล็ก
ด้านทิศเหนือของปราสาทวัดพู มีกลุ่มหินธรรมชาติขนาดใหญ่ ก้อนหินเหล่านี้ถูกสลักเป็นรูปนูนต่ำต่างๆ ทั้งรูปช้าง รูปบันไดที่มีพนักเป็นงู แต่ที่สำคัญคือสลักหินเป็นร่องลึกลงไปเป็นรูปจระเข้
 
กลุ่มประติมากรรมจำหลักบนหินใหญ่เหล่านี้ ควรจะกำหนดอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่ยุคเหล็ก-สุวรรณภูมิ เมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีที่แล้ว โดยเมื่อพิจารณาถึงลักษณะของประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อดั้งเดิมของพื้นถิ่นเหล่านี้ ชวนให้คิดไปได้ว่า น่าจะมีขึ้นมาก่อนรับวัฒนธรรมศาสนาจากอินเดียเมื่อราว พ.ศ. ๑๐๐๐
 
หินสลักเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหินตั้ง หรือหินใหญ่ การสลักรูปประติมากรรมเหล่านี้จำต้องมีเครื่องมือโลหะ โดยเฉพาะเครื่องมือเหล็กที่ผลิตขึ้นจากเทคโนโลยีโลหกรรมชั้นสูง เพราะต้องใช้เครื่องมือสลับทั้งใหญ่-เล็ก หนักและเบา ในการสลักโกลน และลงรายละเอียด ยิ่งร่องลึกรูปจระเข้ยิ่งต้องมีเครื่องมือสำหรับขัดแต่งผนังภายในร่องให้ราบเรียบเสมอกัน

ปราสาทวัดพู แขวงจัมปาสัก ในลาว องค์เทวาลัยมีการสร้างและใช้งานอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๘๐๐ เป็นอย่างน้อย แต่ก็น่าจะสร้างทับบนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เดิมที่สำคัญมาก่อนการรับวัฒนธรรมศาสนาพราหมณ์จากชมพูทวีปแล้ว
 
[คำอธิบายและรูปประกอบเรื่องจระเข้ ได้จากบทความวิชาการของ อ.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ พิมพ์ในสูจิบัตรงานปั้นเมฆ ขอฝน ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒



จระเข้ ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ยุคเหล็ก-สุวรรณภูมิ ในลาว
(ซ้าย) จระเข้สลักเป็นร่องลึกลงไปในหินใหญ่ ที่วัดพู และ(ขวา) จระเข้สลักด้วยหินทราย
พบอยู่ในบริเวณวัดพู แขวงจัมปาสัก ประเทศลาว (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในคลังของพิพิธภัณฑ์วัดพู)




(ซ้าย) จระเข้สลักอยู่เหนือรูปพระอิศวร อายุราว พ.ศ. ๑๖๐๐
กบาลสเปียน ใกล้เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา (ขวา) จระเข้สลักอยู่ที่ท้ายรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์
อายุราว พ.ศ.๑๖๐๐ ที่กบาล สเปียน ใกล้เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา

จระเข้หิน
จระเข้สลักหิน ในคลังของมิวเซียมวัดพู ฝีมือช่างท้องถิ่น และไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะตามสุนทรียศาสตร์แบบอินเดีย
 
เข้าใจว่าคงจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อพื้นเมือง และเป็นได้ว่าอาจสลักขึ้นในสมัยที่ใกล้เคียงกับรูปประติมากรรมบนหินใหญ่ ตรงกับยุคเหล็ก-สุวรรณภูมิ ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
 
ศาสนาผี และพราหมณ์
งานช่างของเขมรหลายแห่งมักแสดงรูปจระเข้อยู่ข้างบนสุดของภาพสลักรูปพระอิศวร ในปางภิกษาตนมูรติ คือตอนออกบวชเดินป่าชำระบาปที่ตัดพระเศียรที่ ๕ ของพระพรหม
 
จระเข้ยังปรากฏอยู่ร่วมกับพระนารายณ์อีกด้วย เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เช่น รูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ใต้น้ำที่กบาลสเปียน บนเขาพนมกุเลน ทางตอนเหนือของเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา
 
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ แล้ว สัตว์เหล่านี้ก็ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดเรื่องผีบรรพชนนั่นเอง
 
[สรุปจากบทความของ อ.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ พ.ศ.๒๕๕๒]

 


(ซ้าย) จะเข้ ในพม่า รักษาเค้าเก่าแก่สุด รูปร่างเป็นจระเข้ ทำจากไม้ทาสีฝังมุก เศษแก้วตกแต่ง
(หนังสือนิทรรศการเครื่องดนตรีนานาชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕)
(ขวา) จะเข้ปัจจุบันในไทย ลายเส้นจากหนังสือเครื่องดนตรีไทย ของกรมศิลปากร

 
จะเข้ มาจาก จระเข้
เครื่องดนตรีใช้ดีดที่เรียกจะเข้ เมื่อหลายพันปีมาแล้วทำจากตัวจระเข้จริงๆ ที่ตายแล้วตากแห้งไว้

จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีที่ได้ชื่อมาจากจระเข้จริงๆ เป็นวัฒนธรรมร่วมของผู้คนทั้งอุษาคเนย์ รวมตระกูลไทย-ลาว ด้วย จึงไม่ใช่สมบัติของใครพวกใดพวกหนึ่ง เช่น ไม่ใช่สมบัติของมอญหรือเขมรพวกเดียว
 
เสียงที่เกิดจากการดีดสายบนร่างจระเข้ คนยุคนั้นยกย่องเป็นเสียงศักดิ์สิทธิ์มีพลังสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ คือผีบรรพชนให้ช่วยคุ้มครองแล้วบันดาลความอุดมสมบูรณ์
 
เพราะคนยุคนั้นเชื่อถือยกย่องจระเข้เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองน้ำ และให้ความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับงู, เต่า, ตะกวด, ฯลฯ
 
โดยเฉพาะพวกจามในเวียดนามและเขมรยกย่องจระเข้เป็นบรรพชนผู้ยิ่งใหญ่
 
[น่าสังเกตคำว่า จาม ในนามจามเทวี ผู้รู้มอญบอกว่าเป็นภาษามอญว่า กฺยาม แปลว่า จระเข้]
 
นอกจากนั้นคนแต่ก่อนมักใช้เหล็กปลายแหลมหรือหนามแหลมขูดผิวหนังตัวเองให้เป็นรอยตะปุ่มตะป่ำอย่างจระเข้ แล้วกลายเป็นลายสักในสมัยหลังๆ จนปัจจุบัน


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๑๕) จระเข้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ควบคุมน้ำ" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน แต่งงานเอาลูกเขยเข้าบ้าน

บรรพชนคนอุษาคเนย์อาเซียน มีประเพณีเอาลูกเขยเข้าบ้านเหมือนกันทุกแห่ง
 
เพื่อให้ลูกเขยเป็นบ่าวงาน ทำงานรับใช้บ้านเจ้าสาว จนกว่าพ่อแม่และเครือญาติของเจ้าสาวจะพอใจว่าไม่ขี้เกียจ ถึงจะยอมให้แต่งงานเป็นทางการแล้วแยกครัวขึ้นเรือนใหม่
 
หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว
คำคล้องจองเก่าแก่ว่า “หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว” มีมาครั้งไหน? ไม่มีใครบอกได้
 
แต่แสดงให้เห็นว่าสังคมดั้งเดิมของคนดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ หญิงมีอำนาจสูงกว่าชาย (ชายมีอำนาจบ้างเหมือนกัน แต่มีต่ำกว่าหญิง)
 
แล้วเป็นรากเหง้าให้เรียกหญิงชายในพิธีแต่งงานว่า เจ้าสาว-เจ้าบ่าว

“เอาแฮงโต๋ ต่างควายนา” เป็นภาษาลื้อ (สิบสองพันนา ในจีน) ถอดเป็นคำไทยว่า เอาแรงตัว ต่างควาย
 
เป็นคำพังเพยเพื่อจะอธิบายว่าประเพณีลื้อ เมื่อหญิงชายจะแต่งงานเป็นผัวเมียกัน ชายต้องไปทำงานรับใช้พ่อแม่และตายายที่อยู่บ้านฝ่ายหญิง ต้องใช้แรงตัวเองของชาย ทำงานเหมือนควายให้ฝ่ายหญิง
 
ชาวขมุ ถือว่าบ้านไหนมีลูกสาวบ้านนั้นมั่งคั่งร่ำรวย เพราะต่อไปจะมีบ่าว คือชายมารับใช้ทำงานทำไร่ไถนาเพื่อเป็นเขย (อย่างนี้ทางปักษ์ใต้เรียก เขยอาสา ทางอีสานเรียก เขยสู่)
 
เมื่อชายเป็นบ่าวรับใช้บ้านหญิง เพื่อหวังจะแต่งงานเป็นผัวเมียต่อไปข้างหน้าต้องยอมเป็นบ่าวไปจนกว่าเครือญาติฝ่ายหญิงจะยอมรับ ซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นปีๆ หรือหลายปีก็ได้ เช่น ๕ ปี ๑๐ ปีก็มี
 
ระหว่างนี้สังคมยุคนั้นยอมให้ “อยู่ก่อนแต่ง” ได้ แล้วมีลูกก็ได้
 
ฐานะทางสังคม
คำนำหน้าชื่อของหญิงและชายในตระกูลภาษาไทย-ลาว มีความหมายบอกฐานะทางสังคม ดังนี้
 
นาง แปลว่า หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ ใช้กับเพศหญิง (มีความหมายอย่างเดียวกับนายที่ใช้กับเพศชาย)
สาว หมายถึงวัยรุ่นหญิง, หนุ่ม หมายถึงวัยรุ่นชาย
เจ้าสาว หมายถึงหญิงที่เข้าพิธีแต่งงาน
เจ้าบ่าว หมายถึงชาย (ซึ่งเป็นหนุ่ม) ที่เข้าพิธีแต่งงาน แต่ไม่เรียกเจ้าหนุ่ม ต้องเรียกเจ้าบ่าว เพราะต้องทำงานรับใช้เป็นขี้ข้าในบ้านสาว
 
ในพิธีส่งเข้าหอ เจ้าบ่าวต้องเดินเกาะหลังเจ้าสาวที่เดินนำหน้า แล้วต้องเป็นเขยอยู่บ้านเจ้าสาว เพราะเจ้าสาวเป็นผู้รับมรดกบ้านกับที่ดินและสืบสายตระกูล เจ้าบ่าวต้องรับใช้ในบ้านเจ้าสาวตลอดไป
 
อยู่ก่อนแต่ง เป็นประเพณีดั้งเดิม
เมื่อชายเป็นบ่าวรับใช้บ้านหญิง เพื่อหวังจะแต่งงานเป็นผัวเมียต่อไปข้างหน้า ต้องยอมเป็นบ่าวไปจนกว่าเครือญาติฝ่ายหญิงจะยอมรับ ซึ่งใช้เวลานานเป็นปีๆ หรือหลายปีก็ได้ เช่น ๕ ปี ๑๐ ปีก็มี
 
ระหว่างนี้สังคมยุคนั้นยอมให้ “อยู่ก่อนแต่ง” ได้ แล้วมีลูกก็ได้
 
กฎหมายลักษณะผัวเมีย ยุคต้นอยุธยา มากกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว ยอมรับ “อยู่ก่อนแต่ง” อย่างเป็นทางการ
 
ถ้าชายขี้เกียจทำงาน ฝ่ายหญิงก็ไล่เฉดหัวออกจากบ้าน แล้วเลือกชายคนใหม่เป็นบ่าวต่อไป แล้ว “อยู่ก่อนแต่ง” กับคนใหม่โดยไม่ถือเป็นผิดทำนองคลองธรรมอันใด
 
แยกครัว เป็นผัวเมีย
จนเลือกชายขยันทำมาหากินได้ถูกใจ ครอบครัวฝ่ายหญิงก็ให้มีพิธีแต่งงาน แล้วขยายเรือนมีครัวออกไปให้อยู่กินต่างหาก เรียก “แยกครัว” เพราะทำใหม่เพิ่มเฉพาะครัว แต่ตัวเรือนอยู่รวมกันลักษณะเรือนยาว (หรือ “ลองเฮาส์”) สมัยหลังถึงแยกเรือนต่างหาก
 
ทั้งหมดนี้หมายความว่าโดยประเพณีแล้วชายอยู่บ้านหญิง เรียก “แต่งเขยเข้าบ้าน” เท่ากับคนเป็นผัวต้องสงบปากสงบคำ เพราะอยู่ท่ามกลางเครือญาติของเมีย ถ้าโหวตเมื่อไรผัวก็แพ้เมียวันยังค่ำ
 
เหตุที่เป็นดังนี้ เพราะหญิงเป็นผู้รับมรดกจากครอบครัว เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน แล้วเป็นผู้สืบตระกูล ไม่ใช่ชาย
 
“เทพอุ้มสม” คืออยู่ก่อนแต่ง
วรรณกรรมโบราณแสดงให้เห็นเป็นพยาน ว่าสาวหนุ่มแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์กันได้ก่อนแต่งงาน แล้วเป็นที่รับรู้ทั่วไป ไม่ถูกประณาม (เหมือนสมัยนี้)
 
แต่เรียกด้วยศัพท์แสงผู้ดีชั้นสูงให้ดูดีมีระดับว่า “เทพอุ้มสม” (พจนานุกรมฉบับมติชนอธิบาย ว่าหมายถึงเทวดาจัดแจงให้มีคู่สู่สมโดยไม่มีพิธีแต่งงาน)
 
และเป็นที่รู้ทั่วกันอย่างยกย่อง ว่านิทานสำคัญเรื่อง “อนิรุทธ์สมอุษา” หมายถึงเทพอุ้มพระอนิรุทธ์ไปสมสู่นางอุษาโดยต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และยังไม่แต่งงาน
 
เสียผี
ในชุมชนหมู่บ้านมีประเพณีเสียผี หมายถึงขอขมาโดยเอาของไปเซ่นผีบ้านผีเรือนตามที่เขาตีค่าไว้เมื่อทำความผิด (เสีย แปลว่า จ่าย) เช่น ฉุดลูกสาวคนอื่นไปอุ้มสม, ทำลูกสาวเขาท้องก่อนแต่ง, ฯลฯ
 
เสียผีเป็นทางออกของชุมชนที่เปิดช่องให้ผู้ทำผิดประเพณี (จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) กลับตัวทำใหม่ให้ถูกต้อง แล้วอยู่ได้ต่อไปในชุมชนอย่างมีศักดิ์ศรี
 
ช่องทางนี้ช่วยให้หญิงสาวที่ถูกกีดกัน มิให้แต่งงานกับชายหนุ่มที่ปรารถนา ได้นัดหมายให้ชายฉุดหรือหนีตาม แล้วเสียผีก็สมปรารถนา ตราบทุกวันนี้ก็ยังประพฤติ





ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๑๗) แต่งงานเอาลูกเขยเข้าบ้าน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กรกฎาคม 2558 13:42:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2558 14:35:37 »

.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน กินข้าวเป็นอาหารหลัก

คนอุษาคเนย์อาเซียนโบราณ รู้จักปลูกข้าว แล้วกินข้าวเป็นอาหารหลัก

คนกินข้าวครั้งแรก ราว ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว (บางคนว่านานมากกว่านี้) พบหลักฐานในไทยเป็นเมล็ดข้าวจากถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน

กินข้าวเหนียว
ข้าวเหนียว หรือ ข้าวนึ่ง เป็นตระกูลข้าวเก่าแก่ในไทยและในภูมิภาค เป็นอาหารหลักของคนทุกชาติพันธุ์ในอาเซียนอุษาคเนย์

เมื่อรับศาสนาจากอินเดียสมัยหลังๆ ข้าวเหนียวยังเป็นอาหารหลักของพระสงฆ์ในวัดด้วย

ราวหลัง พ.ศ.๑,๐๐๐ พบแกลบข้าวเหนียว ผสมดินเหนียวในแผ่นอิฐสร้างเจดีย์แบบทวารวดีทั่วลุ่มน้ำเจ้าพระยา และที่อื่นๆ ทั่วประเทศ



(ซ้าย) เมล็ดข้าว ราว ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว จากถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน
(กลุ่มกลาง) เปรียบเทียบพันธุ์ข้าวปัจจุบันทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย
(ขวา) เปลือกข้าวที่ขุดได้จากถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน แสดงรอยแตกแบบเดียว
กับเปลือกข้าวที่แตกจากการตำแล้วฝัดเอาเปลือกออก
(ภาพจาก “Hoabinhian Horticulture : The Evidence
and the Question From Northwest THAILAND”.
Sunda and Sahul : Prehistoric Studies in Southeast Asia,
Melanesia and Austraria. J. Allen, J Golson and R. Jones Eds.
Academic Press, London 1977
.)

ราวหลัง พ.ศ.๑๘๐๐ พบเมล็ดข้าวเหนียวที่หุงหรือนึ่งแล้ว ตกอยู่ในดินบริเวณศาลาโถง (เนินปราสารท) หน้าวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย

น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่คนเอามาถวายพระสงฆ์ในงานทำบุญ

ต้นข้าว ตระกูลหญ้า
ต้นข้าว เป็นพืชตระกูลหญ้า มีขึ้นทั่วไปในอุษาคเนย์อาเซียนและในโลก เช่น ข้าวเหนียว, ข้าวเจ้า, ข้าวฟ่าง, ข้าวสาลี เป็นต้น

บางคนว่าต้นข้าวเป็นตระกูลหญ้าอร่อยที่สุด



หมาศักดิ์สิทธิ์เอาพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ปลูกกินในพิธีเซ่นวักเลี้ยงผีบรรพชน
มีรูปหมาขนาดมหึมาอยู่ศูนย์กลาง (ลายเส้นคัดลอกภาพเขียนสีอายุ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
บนเพิงผาริมแม่น้ำ ที่มณฑลกวางสี ในจีน)

หมาเก้าหาง หมาเก้าหาง หาพันธุ์ข้าวให้คนปลูกกิน

บนหน้าผาที่มณฑลกวางสีในจีน มีภาพเขียนสีแดงรูปหมาขนาดใหญ่สุดอยู่ท่ามกลางฝูงคนที่ทำท่าคล้ายกบเรียงรายล้อมรอบนับพันๆ คน ราวกับกำลังทำพิธีบูชายัญหมา ชาวจ้วง (พูดตระกูลภาษาไทย-ลาว) มีนิทานเล่าว่า

แต่ก่อนคนเรายังโง่ ยังไม่มีข้าวกิน เพราะไม่รู้จักและไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก

ครั้งนั้นมีหมา ๙ หางตัวหนึ่งขึ้นไปบนสวรรค์ แล้วเอาหางทั้ง ๙ จุ่มลงไปในกองข้าวของสวรรค์เพื่อขโมยพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ พันธุ์ข้าวสวรรค์ก็ติดที่หางทั้ง ๙ แล้วหนีมา

แต่เทวดาเห็นก่อน จึงไล่ตาม แล้วใช้เทพอาวุธฟาดฟันหมาที่ขโมยพันธุ์ข้าว

เทพอาวุธฟาดถูกหางขาดไป ๘ หาง หมาจึงเหลือหางเดียว พร้อมพันธุ์ข้าวที่ติดหางมาให้มนุษย์

นับตั้งแต่นั้นมามนุษย์ก็รู้จักปลูกข้าวกิน แล้วยกย่องหมาเป็นผู้วิเศษที่ทำคุณแก่มนุษย์

นิทานเรื่องหมาเก้าหาง เมื่อหลายพันปีมาแล้ว แพร่กระจายเป็นที่รับรู้ทั่วสุวรรณภูมิ จึงมีภาพเขียนสีรูปหมาบนผนังถ้ำและเพิงผา พบทั่วไปทั้งในไทยและที่ใกล้เคียง



หมาศักดิ์สิทธิ์เอาพันธุ์ข้าวให้มนุษย์ปลูกกิน ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ในภาพเขียนที่ถ้ำขาม ภูซำผักหนาม บ้านวังน้ำอุ่น ต.ทุ่งนาเลา อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
(ภาพลายเส้นคัดลอกจากหนังสือ ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.
พเยาว์ เข็มนาค เรียบเรียง. กองโบราณคดี กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ ๒๕๓๙.)


หมาศักดิ์สิทธิ์ ที่คนดึกดำบรรพ์เชื่อว่านำพันธุ์ข้าวจากฟ้ามาให้คนปลูกกินเป็นอาหาร
(ลายเส้นของกรมศิลปากร คัดลอกจากภาพเขียนสี ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ที่เขาปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๑๙) กินข้าวเป็นอาหารหลัก" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เรือนเสาสูง

เรือนเสาสูง
บรรพชนคนอุษาคเนย์ในอาเซียนหลายพันปีมาแล้ว มีวัฒนธรรมร่วมเรื่องที่อยู่อาศัย ล้วนปลูกเรือนเสาสูงเป็นที่อยู่ทั้งบนหุบเขาและทุ่งราบ ตั้งแต่ตอนใต้ลุ่มน้ำแยงซี (ในจีน) จนถึงหมู่เกาะ

เสาสูง
เรือนเสาสูง หมายถึงเรือนมีต้นเสา และมีหลังคาตั้งบนต้นเสา แล้วยกพื้นสูงอยู่ใต้หลังคาคลุม

ใต้พื้นเรือนถึงพื้นดิน เรียกใต้ถุน (ถุน เป็นคำดั้งเดิม แปลว่า ข้างใต้, ข้างล่าง)

ใต้ถุน
ใต้ถุน หมายถึงบริเวณใต้พื้นเรือนถึงพื้นดิน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนในชุมชน ตลอดวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำก่อนขึ้นไปนอนบนเรือนเพื่อหนีสัตว์ร้าย

กิจกรรมประจำวัน เช่น หุงหาอาหาร ๓ มื้อ, ตีหม้อ, ทอผ้า, เลี้ยงเด็กที่เป็นลูกหลานในชุมชน, เป็นคอกวัวคอกควายเลี้ยงสัตว์, ฯลฯ

ใต้ถุนไม่ได้มีไว้หนีน้ำท่วม (ตามที่บอกกันต่อๆ มา) แต่มีไว้ทำกิจกรรมชีวิตประจำวัน แล้วบังเอิญมีน้ำท่วมก็หยุดกิจกรรมชั่วคราว

เพราะเรือนของคนบนที่สูงในหุบเขาซึ่งน้ำไม่เคยท่วม ก็ล้วนใต้ถุนสูง

แต่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ย่อมมีน้ำท่วมถึงใต้ถุน แล้วคนหนีน้ำท่วมขึ้นไปอยู่บนเรือน โดยไม่ได้มีเจตนาทำใต้ถุนสูงไว้หนีน้ำตั้งแต่แรก

หลังคา
หลังคาเรือนมีไม้ไขว้กัน เป็นเทคโนโลยีค้ำยันไม่ให้หลังคายุบลงของไม้ไผ่สองลำในยุคเริ่มแรก ซึ่งคนบางกลุ่มเรียกอย่างนี้ว่า กาแล

ลักษณะอย่างนี้มีในทุกเผ่าพันธุ์ บางพวกใช้ส่วนไขว้กันเป็นที่แขวนหัวสัตว์เลี้ยงผีบรรพชน เช่น หัวควาย

บ้าน, เรือน
บ้าน แต่ดั้งเดิมคำนี้หมายถึงเรือนหลายหลังอยู่รวมกันเป็นชุมชน ตรงกับปัจจุบันว่า หมู่บ้าน หรือ village

เรือน หมายถึงที่อยู่อาศัยเป็นหลังๆ มีหลังเดียว ตรงกับ house (ปัจจุบันเรียกบ้าน)

สองคำนี้ต่อมาใช้รวมกันเป็นบ้านเรือน ตรงกับ house แล้วผูกคำใหม่คือ หมู่บ้าน ให้ตรงกับ village

๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนค่อยๆ ทยอยหยุดร่อนเร่ แล้วเริ่มตั้งหลักแหล่ง ปลูกเพิงอยู่อาศัยอย่างง่ายๆ ด้วยไม้ไผ่ และมุงด้วยใบไม้ทั่วไป หลังจากนั้นก็ทำให้แข็งแรงขึ้นเป็นกระท่อมหรือทับบริเวณที่ราบในหุบเขา

นานเข้าก็รวมอยู่ด้วยกันเป็นหมู่ แล้วมีบุคคลสำคัญเป็นหัวหน้า มีที่ฝังศพหัวหน้า เป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ถ้ำ และเพิงผา ฯลฯ แล้วมีพิธีฝังศพหรือพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายด้วย

แต่คนไมได้หยุดร่อนเร่พเนจรพร้อมกันทั้งหมด ฉะนั้นจึงยังมีบางพวกบางกลุ่มที่ล้าหลังยังคงร่อนเร่แสวงหาอาหารตามธรรมชาติต่อไปอีก



(ซ้าย) เรือนเสาสูงของชุมชนยุคแรกๆ นักโบราณคดีจินตนาการจากหลุมเสา ๖ หลุม
ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ขุดพบที่บ้านหนองแช่เสา ต.หินกอง อ.เมือง จ ราชบุรี
(ภาพจาก ลักษณะไทย เล่ม ๑ : ภูมิหลัง ภาค ๒ ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
โดย พิสิฐ เจริญวงศ์ อ้างถึง Sorensen, P. Archaeology
in Thailand : Prehistory through the Neolithic Age.
Sawaddi, July-August, Bangkok, 1972 : 21
.)
(ขวา) เรือนมุงหญ้าคาแบบหลังเต่าของกลุ่มชาติพันธุ์ทางพรมแดนลาว-เวียดนาม


(ซ้าย) เรือนของคนเมื่อ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว สลักเป็นลายเส้นบนหน้ากลองทองมโหระทึก
พบที่เวียดนาม เทียบกับ (ขวา) เรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ปัจจุบันที่แขวงอัตตะปือ ในภาคใต้ของลาว


เรือนเสาสูง และโครงสร้างหลังคาทรงอานม้า (มีกาแล)
ตัวอย่างจากที่พบในหมู่เกาะอินโดนีเซียตะวันออก (I-VII), ชวาตะวันออก  (VIII),
สุมาตรา (LX-XII), เวียดนาม (XIII)
ลายเส้นวาดโดย Bernard Vroklage ศาสตราจารย์ชาวเนเธอร์แลนด์ เมื่อ ค.ศ.๑๙๓๖
ผู้อธิบายความว่าหลังคาทรงอานม้าสร้างเลียนแบบเรือ โดยสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพชน
ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย (จากหนังสือ The Living House by Roxana Waterson,
Singapore Oxford University Press Oxford New York
๑๙๙๑, p.๒๑)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๑) เรือนเสาสูง" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน โลหะก่อนสร้างบ้านเมือง

โลหะ ก่อบ้านสร้างเมือง
บรรพชนคนอุษาคเนย์ในอาเซียน ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีเทคโนโลยีก้าวหน้าจากเครื่องมือหินเป็นเครื่องมือโลหะสำริดและเหล็ก

เทคโนโลยีนี้ส่งผลให้เกิดการเดินทางโยกย้ายไปมาหาสู่ของกลุ่มชนนานาชาติพันธุ์ แล้วเกิดเส้นทางการค้าข้ามภูมิภาคจนพัฒนาเป็นการค้าโลก (ต่อไปข้างหน้า)

เฉพาะสำริดเป็นพื้นฐานสำคัญให้เชี่ยวชาญหล่อรูปเคารพ หลังรับศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาจากอินเดีย เช่น เทวรูป, พระพุทธรูป

สำริด, สัมฤทธิ์
โลหะเก่าสุดคือ สำริด หรือสัมฤทธิ์ (เขียนได้สองอย่าง) เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก หรือ ฯลฯ

ทองแดง เป็นโลหะหลัก มีแหล่งใหญ่สุดและสำคัญสุดอยู่บริเวณสองฝั่งโขง ตั้งแต่มณฑลยูนนาน (ในจีน) ลงมาถึงลาวและอีสาน (ในไทย)

[มณฑลยูนนาน ราว ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีวัฒนธรรมร่วมสุวรรณภูมิ และเอกสารจีนโบราณไม่นับเป็นฮั่น แต่เป็นพวกหมาน, เยว์ หมายถึงป่าเถื่อน]

เหล็กสร้างบ้านแปลงเมือง
ราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีการถลุงเหล็กทำเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกว้างขวางทั่วไปหมด ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งไปมาเพื่อหาบริเวณที่มีแร่ธาตุและทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น เหล็ก และเกลือ

แหล่งที่มีเหล็กและเกลืออยู่มากที่สุด คือรอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้ (ในเขตอีสานใต้) จึงมีผู้คนจากที่อื่นเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานถาวรเพื่อถลุงเหล็กและต้มเกลือ เป็นเหตุให้มีประชากรเผ่าพันธุ์ต่างๆ หนาแน่นกว่าเดิม

ในจำนวนนี้มีพวกพูดตระกูลภาษาลาว-ไทย จำนวนหนึ่ง เคลื่อนย้ายมาจากดินแดนทางทิศตะวันออกบริเวณตอนใต้ของจีน เช่น มณฑลกวางสี-กวางตุ้ง และทางเหนือของเวียดนามปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีแหล่งแร่เหล็กและร่องรอยการถลุงเหล็ก อยู่บริเวณภาคกลางลุ่มน้ำปิง ยม น่าน และลุ่มน้ำป่าสัก-ลพบุรี เช่น สุโขทัย ลพบุรี เป็นต้น

เหล็กนี่แหละเป็นโลหะสำคัญที่สุดที่จะกระตุ้นให้เกิดการคมนาคมแลกเปลี่ยนค้าขายทั่วภูมิภาค จนมีการรวมตัวกันสร้างบ้านแปลงเมืองจนรุ่งเรืองเป็นรัฐ (ต่อไปภายหน้า) เช่น รัฐพิมาย (นครราชสีมา) รัฐละโว้ (ลพบุรี) รวมถึงรัฐสุโขทัยที่มีหลักฐานเป็นชุมชนถลุงโลหะ โดยเฉพาะเหล็ก ตั้งแต่เมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว



หอก


ขวาน


กำไล


เครื่องมือและเครื่องประดับทำด้วยโลหะ พบที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี


กำไลลูกกระพรวน


เบ็ด


คนพื้นเมืองในเขมรเมื่อราว ๑๐๐ ปีมาแล้ว ถลุงแร่โลหะธาตุด้วยเทคโนโลยีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์


เครื่องมือเหล็ก พบที่บ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี


เครื่องมือเหล็ก พบที่บ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๒) โลหะก่อนสร้างบ้านเมือง" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เครื่องดนตรีไม้ไผ่ และโลหะ


(ซ้าย) กลุ่มชาติพันทางมณฑลยูนนานในจีน ตีกระบอกไม้ไผ่
(ขวา) เครื่องดนตรีในวัฒนธรรมไม้ไผ่ (ลายเส้นจากหนังสือ เครื่องดนตรีไทย
ของ ธนิต อยู่โพธิ์ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. ๒๕๑๐)

คนอุษาคเนย์ในอาเซียน มีเครื่องประโคมร่วมกันในวัฒนธรรมไม้ไผ่ ไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นเครื่องตีจากกระบอกไม้ไผ่
 
หลังจากนั้นราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีเครื่องประโคมร่วมกันในวัฒนธรรมโลหะ เช่น กลองทอง (หรือมโหระทึก) เริ่มบริเวณมณฑลยูนนานกับมณฑลกวางสีทางตอนใต้ของจีน แล้วแพร่กระจายลงไปถึงหมู่เกาะ
 
เครื่องมือโลหะต่อมาภายหลังเรียก ฆ้อง มีหลายขนาด ประโคมตีมีเสียงศักดิ์สิทธิ์ดังกังวาน สื่อสารกับผีหรือเทวดา

ตีไม้ไผ่
คนอุษาคเนย์เริ่มทำเครื่องประโคมวัฒนธรรมไม้ไผ่ เพื่อพิธีกรรมสื่อสารวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ (คือผีบรรพชน)
 
โดยใช้ไม้ไผ่ขนาดต่างๆ ทำเครื่องมือ มีชื่อเรียกสมัยหลังว่า เกราะ, โกร่ง, กรับ

เป็นต้นแบบของโปง ใช้แขวนตีบอกสัญญาณ แล้วมีพัฒนาการเป็นกลองไม้ กระทั่งปัจจุบัน คือกลองเพล แขวนตามวัด มีทั่วไปทุกหนทุกแห่ง
 
กระบอกไม้ไผ่เป็นปล้องๆ ใช้ตีปล้องละหนึ่งเสียง ตัดมาวางเรียงกันหลายปล้อง ได้หลายเสียง ต่อมาภายหลังจะมีพัฒนาการจนเรียก ระนาด
 
เป่าไม้ไผ่
เครื่องเป่าแรกสุดคือใบไม้ เด็ดใบไม้ใบหนึ่ง คาบใบไม้ด้วยริมฝีปาก แล้วใช้ลมปากเป่าใบไม้ที่คาบไว้นั้นเป็นเสียงสูงต่ำ ทำนองตามต้องการ

แขนงไม้ไผ่เล็กๆ ทำให้กลวง หรือใช้ไม้ตระกูลไม้ไผ่ เช่น ไม้ซาง เอาด้านหนึ่งใส่ปากอมแล้วเป่า เรียก ปี่จุ่ม ยังมีในล้านนาและชาติพันธุ์ผู้ไทในเวียดนาม
 
ถ้าเสียบกับลูกน้ำเต้าแห้งแล้วเป่าได้เสียงเดียว เรียกชื่อภายหลังว่า ปี่น้ำเต้า แต่เสียงเบา บางทีก็เรียก เรไร
 
ต่อมาเอาไม้ไผ่, ไม้อ้อ หลายอันเสียบลูกน้ำเต้าแห้งเรียงกัน มีลิ้นทำด้วยโลหะบางเฉียบ เป่าได้หลายเสียง เรียก แคน พบหลักฐานเก่าสุดราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในยูนนาน (จีน) และเวียดนาม ต่อมาพบกระจายทั่วอุษาคเนย์ทั้งผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
 
แม้ปัจจุบันจะใช้ไม้จริงทำที่เป่าแทนผลน้ำเต้า มีไม้ซางเสียบเป็นแผง ก็ยังเรียกที่เป่านั้นว่า เต้าแคน สืบนามน้ำเต้าไว้



(ซ้าย) เป่าปี่น้ำเต้า
(ขวา) เป่าแคนกับฟ้อนเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นการละเล่นในพิธีกรรม
เพื่อความอุดมสมบูรณ์ นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง ประดับขนนก หรือใบไม้ไว้บนหัว
ประเพณีอย่างนี้ยังมีร่องรอยกระจายทั่วไปทั้งสองฝั่งโขง ถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
(ลายเส้นบนเครื่องมือสำริด พบที่เวียดนาม)

ฆ้อง
ฆ้องที่วางเรียงมีหลายเสียงลดหลั่น เป็นวิธีการเลียนแบบกระบอกไม้ไผ่ที่มีมาก่อน มีร่องรอยเหลือให้เห็นอยู่ในกาเมลันของอินโดนีเซีย
 
เมื่อมนุษย์ค้นพบโลหะ แล้วมีเทคโนโลยีก้าวหน้าถลุงและหล่อโลหะได้ ทำให้เกิดคนชั้นนำมีอำนาจและมีบริวารสร้างสรรค์วัฒนธรรมฆ้อง ขณะที่คนชั้นล่างใช้วัฒนธรรมไม้ไผ่ที่มีมาแต่เดิม
 
วัฒนธรรมฆ้องเก่าสุดอายุราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบที่ยูนนาน, กวางสี (ในมณฑลทางใต้ของจีน) และที่ดงเซิน (ในเวียดนาม)
 
มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น กลองทอง (ไทย, ลาว), ฆ้องบั้ง (ลาว), กลองกบ (กะเหรี่ยง), ฆ้องกบ, มโหระทึก (ไทย), ฯลฯ
 
กลองทอง หรือมโหระทึก มีหูระวิงอยู่ข้างๆ เอาไว้ใช้เชือกร้อยแขวนตีประโคม หูระวิงนี้เป็นต้นแบบให้กลองทัดต่อไปข้างหน้า
 
ฆ้องเป็นวัฒนธรรมร่วมเฉพาะภูมิภาคอุษาคเนย์ มีแหล่งกำเนิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ แล้วแพร่กระจายลงไปทางหมู่เกาะทะเลใต้ มีใช้ในทุกกลุ่มชาติพันธุ์สืบเนื่องถึงทุกวันนี้
 
ระฆ้อง-ระฆัง
คำว่าฆ้องมีรากจากภาษาตระกูลชวา-มลายู ว่า gong คู่กับ ระฆัง ใช้ไม้ตีจากข้างนอก เอกสารโบราณใช้คู่กันว่า ระฆ้อง-ระฆัง หรือ รังฆ้อง-รังฆัง ก็มี โลกตะวันตกรับอิทธิพลฆ้อง-ระฆัง จากอุษาคเนย์ แล้วทับศัพท์คำ gong ไปใช้ในภาษาตะวันตกด้วย

gong ของอุษาคเนย์ ต่างจาก bell ของตะวันตก เพราะ gong ตีจากข้างนอก แต่ bell ตีจากข้างใน (มีลูกกระทบแขวนข้างใน bell)



(ซ้าย) มโหระทึก หรือฆ้อง/กลองสัมฤทธิ์ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบที่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
(ขวา) ฆ้องทาสี ตรงปุ่มฆ้องเป็นรูปแฉกคล้ายดาว อายุราวหลัง พ.ศ. ๒๐๐๐
พบที่แหล่งเรือจมน้ำตื้นรอแยลกัปตัน บริเวณเกาะปาลาวัน ฟิลิปปินส์

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๓) เครื่องดนตรีไม้ไผ่ และโลหะ" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กรกฎาคม 2558 15:31:54 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2558 16:07:38 »

.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ฟ้อนระบำรำเต้น


(แถวบน) คนเต้นท่ากบ รวบรวมจากภาพเขียนสีราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่ผาลาย มณฑปกวางสี
(ภาพคัดลอกโดยสถาบันค้นคว้าทางวิชาการแห่งมณฑปกวางสี ในจีน)
(แถวกลาง) คนเต้นท่ากบ รวบรวมจากภาพเขียนสี ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบที่อีสานในไทย
(ภาคคัดลอกของกรมศิลปากร)
(แถวล่าง) คนเต้นท่ากับ บนหัวมีขนนกประดับ นุ่งผ้าปล่อยชายยาวออกไป ๒ ข้าง
กำลังมีการละเล่นในพิธีกรรม ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขียนสีที่ถ้ำ (เขา)
ผาแดง บ้านโป่งหวาย ต.ด่านแม่แฉลบ  อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)

ฟ้อนระบำรำเต้น
คนอุษาคเนย์กางแขน ถ่างขา ย่อเข่า เป็นหลักในการฟ้อนระบำรำเต้น เรียกสามัญลักษณะ ที่ศัพท์ละครไทยเรียกท่ายืด (ทำเข่าตรง) กับ ท่ายุบ (ทำย่อเข่า)
 
ท่าเต้น ถ่างขา ย่อเข่า เป็นมุมฉาก ได้จากทำเลียนแบบให้เหมือนกบศักดิ์สิทธิ์ เรียกท่ากบ ยกย่องเป็นท่าเต้นศักดิ์สิทธิ์
 
มีหลักฐานภาพสลักตามปราสาทหินในกัมพูชาและไทย เช่น ท่ารำศิวนาฏราช บนหน้าบันปราสาทพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และท่าโนรา, โขน, ละคร (พระ นาง ยักษ์ ลิง) กับ legon ของอินโดนีเซีย

เต้นท่ากบ
ยกมือสองข้าง กางแขนและถ่างขาตั้งฉากคล้ายกบ
 
กบ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพชนคนอาเซียนยกย่องอย่างสูงเมื่อไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นสัญลักษณ์ของกำเนิด เพราะมีรูปร่างเหมือนมดลูกของแม่ และเป็นผู้บันดาลน้ำฝนให้ทำนา
 
มีภาพเขียนสีราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบมากที่มณฑลกวางสี ในจีนตอนใต้ หลักแหล่งของพวกจ้วง พูดภาษาตระกูลลาว-ไทย ทำนาข้าวเหนียว ปลูกเรือนเสาสูง
 
ภาพเขียนสีแบบนี้ ยังพบแพร่กระจายบนหน้าผาและผนังถ้ำในไทย ตั้งแต่ภาคอีสาน ถึงภาคกลาง
 
กลุ่มคนทั่วไปบริเวณสองฝั่งโขงบางแห่ง เช่น ในอีสาน ยังเต้นท่ากบทำก้นเตี้ย (โดยธรรมชาติ) เมื่อมีการละเล่นในงานประเพณีพิธีกรรม เช่น เซิ้งบั้งไฟ, โยนโคลน, มวยโบราณ, บวชควาย (คนเล่นเป็นควายในพิธีขอฝน ชื่อนี้ตั้งเรียกใหม่ สมัยโบราณเรียกอย่างอื่น)
 
ฟ้อนยืดยุบ
แอ่นมือสองข้าง กางแขน ย่อเข่า ทำท่าเหมือนยืดขึ้น ยุบลง สลับกัน

ฟ้อนยืดยุบเก่าสุด พบในภาพลายเส้นสลักบนภาชนะโลหะสัมฤทธิ์ ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เช่น ขวานสัมฤทธิ์, กลองทองสัมฤทธิ์ (มโหระทึก) ในภาคเหนือของเวียดนาม
 
แบบแผนนาฏยศาสตร์ของอินเดียโบราณ มิได้มีอิทธิพลเหนือแบบแผนการละเล่นเต้นฟ้อนที่มีพัฒนาการบริเวณสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์มาแต่ดั้งเดิม
 
ท่าฟ้อนรำศิวนาฏราชที่หน้าบันปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ และที่ปราสาทอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในดินแดนไทยและดินแดนกัมพูชา ล้วนแสดงลีลาแตกต่างจากท่ารำของอินเดีย แต่เป็นท่าฟ้อนรำของท้องถิ่น ดังที่มีปรากฏอยู่กับท่าฟ้อนรำของบรรดานางอัปสรทั้งที่ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน
 
(ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศาสนาพราหมณ์ในราชอาณาจักรขอม, เรียบเรียงจากบทความของ Kamaleswar Bhattacharya เรื่อง Les Religions Brahmaniques dans I’ Ancien Cambodge d’ apres I’ Epigraphie et I’ Iconographie, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๑๖.)
 
ท่ารำ ๑๐๘ จากเมืองจิทัมพรัม (อินเดียใต้) พบไม่มากในประติมากรรมของภูมิภาคอุษาคเนย์ และไม่มีอิทธิพลมากนักในท่าเต้นฟ้อนโขนละครในไทยและในเพื่อนบ้าน ถ้าจะมีบ้างก็เป็นเพียงท่าดิบ, ท่าตาย คล้ายท่านิ่งเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งคราว ให้เข้ากับเนื้อเรื่องที่ต้องแสดงเป็นมหาเทพองค์สำคัญๆ
 
ฟ้อนรำในนาฏศิลป์อินเดีย แตกต่างกับฟ้อนรำของผืนแผ่นดินใหญ่ภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีลักษณะแตกต่างกับฟ้อนรำไทยมากทั้งในจังหวะซึ่งคล่องแคล่วว่องไวรวดเร็วกว่าของไทย และการใช้อวัยวะต่างๆ ซึ่งดูออกจะหนักหน่วงและเด็ดขาดกว่าการใช้อวัยวะในฟ้อนรำไทย ท่ารำต่างๆ ของอินเดียในสมัยก่อน ซึ่งปรากฏเป็นตำรับตำรานั้น หากจะพิจารณาแล้วก็เห็นว่าไม่มีความคล้ายคลึงกับท่ารำของไทย

 
(นาฏศิลป์ไทย โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๒๖)


มวยโบราณอีสาน มีพื้นฐานเต้นท่ากบอุษาคเนย์


(ซ้าย) โนราตั้งเหลี่ยมเหมือนท่ากบอุษาคเนย์
(ขวา) แม่ทำยักษ์ แม่ทำลิง มีต้นแบบจากท่ากบบนภาพเขียนสี เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
เป็นท่าพื้นเมืองของอาเซียน ไม่มาจากอินเดีย


ฟ้อนยืดยุบกับแคน ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว แสดงการละเล่นในพิธีกรรมคือฟ้อนแคนแล้วขับลำนำ
คล้องจองเป็นทำนองง่ายๆ นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง แล้วประดับขนนกหรือใบไม้ไว้บนหัว
ลายเส้นคัดลอกจากเครื่องมือสัมฤทธิ์ที่พบในเวียดนาม (ลายเส้นและรูปสำเนาขวานสัมฤทธิ์
ได้จากเอกสารวิชาการประวัติศาสตร์โบราณคดีของนักวิชาการฝรั่งเศสและเวียดนาม)


ฟ้อนย่อเข่าแสดงท่ายืดยุบแบบพื้นเมืองของอัปสรนางรำ
ในภาพสลักบนทับหลังปราสาทพิมาย ราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐


ศิวนาฏราช ทำท่าทรงตัวเป็นสามัญลักษณะของรำพื้นเมืองสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ มีย่อเข่า
แสดงท่ายืดยุบเหมือนท่ากบ มีมืออ่อน นิ้วยาวเหมือนสวมนิ้วปลอมทำด้วยใบตอง ทั้งหมดนี้
ไม่มีในท่ารำของอินเดีย   ภาพสลักราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐ บนหน้าบันปราสาทพนมรุ้ง บุรีรัมย์

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๔) ฟ้อนระบำรำเต้น" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ผ้าผืนเดียว

ผ้าผืนเดียว
ผ้าผืนเดียว เตี่ยวพันกาย เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์อาเซียนมาแต่ดึกดำบรรพ์ และอาจร่วมทั้งโลก

ผ้าเตี่ยว
เตี่ยว หมายถึง ผ้าผืนเล็ก แต่ยาว หรือผ้าแถบยาว แต่เล็กและแคบ ใช้ห่มพันรอบเอวแล้วตวัดลอดหว่างขาไปเหน็บไว้ข้างหลัง เป็นคำพูดเชิงดูถูกว่ายาจกยากจน

ผู้หญิงโบราณใส่เตี่ยวใช้ซับประจำเดือน



คนนุ่งผ้าปล่อยชายยาวออกไป ๒ ข้าง เป็นต้นเค้าผ้าผืนเดียว (แล้วเรียกผ้าขะม้าทุกวันนี้)
บนหัวมีขนนกประดับ กำลังมีการละเล่นในพิธีกรรม ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
[ลายเส้นคัดลอกของกรมศิลปากรจากภาพเขียนสีที่ถ้ำ (เขา) ผาแดง บ้านโป่งหวาย
ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี]


ช่างฟ้อนกับแคน นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง เหมือนผ้าขะม้า แล้วประดับขนนก
หรือใบไม้ไว้บนหัว ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว แสดงการละเล่นในพิธีกรรม
(ลายเส้นคัดลอกจากเครื่องมือสัมฤทธิ์ที่พบในเวียดนาม)


คนนุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง ต้นทางผ้าขะม้า กำลังทำพิธีกรรมเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
(ลายเส้นคัดลอกจากหน้ากลองมโหระทึกพบที่เวียดนาม)


ม้อยนุ่งเตี่ยว คนพื้นเมืองดั้งเดิม บริเวณพรมแดนลาว-เวียดนาม

ผ้าขะม้า
ผ้าผืนเดียว มีใช้ทั่วไป แต่เรียกชื่อต่างกันตามท้องถิ่น

ผ้าขะม้า เป็นชื่อไทย-ลาว เพี่ยนจากคำเขมรเรียก กรอมมา มีรากคำจากเปอร์เซีย (อิหร่าน) ว่า กะมัรฺ บันด์ (Kamar Band)

[ผ้าขะม้า มีคำอธิบายเก่าว่ากร่อนจากผ้าข่าวม้า เพราะใช้ผ้ามัดเอวห่อหนังสือข่าวสารขี่ม้าไปส่งข่าวอีกฟากหนึ่ง ซึ่งเป็นนิทาน]

คำ Kamar แปลว่า เอว, Band แปลว่า รัด, คาด ตรงกับ รัดประคด ใช้คาดเอว

[จากหนังสือ ความสัมพันธ์ของมุสลิม ทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ของ ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๐๕]



ม้อย กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมในเวียดนาม นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง เหมือนผ้าขะม้า
(ภาพนี้เป็นแถวรับเสด็จรัชกาลที่ ๗ เสด็จเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓)

ผ้านุ่ง
ต่อมาเอาผ้าผืนเดียว เย็บชายติดกันเป็นถุง เรียก ผ้าถุง, ผ้าซิ่น, ผ้าโสร่ง

ถ้าเป็นผืนยาว เรียก ผ้าหาง ใช้นุ่งโจงกระเบนก็ได้

เป็นพยานว่าโสร่งมิได้เป็นสมบัติของพวกใดพวกหนึ่ง เช่น พม่า, มอญ, มลายู แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์



เครื่องแต่งตัวขบวนเสียมกุกนุ่งโสร่ง บนภาพสลักที่ปราสาทนครวัด
ราว พ.ศ. ๑๖๕๐ (ก่อนมีสุโขทัย ราว ๑๐๐ ปี)

สยามนุ่งโสร่ง
โสร่ง มีทั้งเป็นผ้าพื้นเรียบและทั้งลายแบบผ้านุ่งผู้ไท ซึ่งนุ่งให้เชิงผ้าข้างล่างผายนิดๆ เหมือนโสร่งมอญ-พม่า

แต่สังเกตว่าไม่ได้เพลาะชายผ้าให้เป็นถุง หากเป็นผืน และนุ่งพันแบบมลายู

รอบเอวมีดอกไม้ห้อยเป็นระย้าลงมาเป็นสายยาวเกือบจรดเข่าเหมือนระย้าประดับเอวระบำฮาวาย มือถือหอกหรือทวน และดั้ง

สรุปจากจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายไว้ในหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม (มูลนิธิโครงการตำราฯ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๙ หน้า ๑๓๐-๑๕๐)


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๕) ผ้าผืนเดียว" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน นั่งยองๆ ชันเข่า

นั่งยองๆ ชันเข่า
คนอุษาคเนย์ในอาเซียน นั่งยองๆ นั่งชันเข่า ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ต่อเนื่องจนปัจจุบัน

นั่งยองๆ คือ นั่งโดยวิธีตั้งเข่าหรือชันเข่าทั้งสองข้างไม่ให้ก้นถึงพื้น

นั่งชันเข่า คือ นั่งก้นติดพื้นโดยวิธียกเข่าทั้งสองข้างตั้งขึ้น



คนพื้นเมืองดั้งเดิมสองฝั่งโขง นั่งยองๆ และนั่งชันเข่าตามสะดวก

นั่งยองๆ ของอุษาคเนย์

นั่งยองๆ เป็นวัฒนธรรมร่วมในการแสดงความนอบน้อมของคนอุษาคเนย์ในอาเซียนสืบมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์นับพันปีมาแล้ว

เมื่อนางมณฑาลงกระท่อมปลายนาของนางรจนากับเจ้าเงาะ เพื่ออ้อนวอนให้ช่วยออกตีคลีพนันในบทละครเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ ร.๔ เจ้าเงาะแสดงความนอบน้อมเคารพนางมณฑา (ซึ่งเป็นแม่ยาย) โดยนั่งยองๆ พนมมือเหมือนรับศีลจากพระสงฆ์ ดังมีกลอนพรรณนาว่า



นักโทษชาย ๕ คน นั่งยองๆ พนมมือ
[ที่คุกแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ค.ศ. ๑๙๑๐ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ภาพจาก www.oldindianphotos.in]

๏ เมื่อนั้น                     เจ้าเงาะทำเหมือนถวายตัวใหม่
เฝ้าแต่แลมาแลไป             ไม่เข้าใจนบนอบหมอบกราน
นั่งยองยองมองดูแล้วปูผ้า      พนมมือเมินหน้าท่าแบกขวาน
ราวกับจะรับศีลสมภาร        พังพาบกราบกรานท่านแม่ยาย



พระสงฆ์นั่งยองๆ เหมือนปลงอาบัติในวันพระใหญ่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนเข้าโบสถ์ทำวัตร
(จิตรกรรมฝาผนังใน หอพระไตรปิฎก สมัย ร.๓, ร.๔ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ)


นั่งชันเข่าข้างเดียวของเจ้านาย, ขุนนาง, ข้าราชการ เป็นท่านั่งอย่างนอบน้อมของคนชั้นสูง
ในราชสำนักกัมพูชา ราว พ.ศ. ๑๕๐๐ ในภาพสลักตามปราสาทหินในกัมพูชา
(ภาพโดย ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ท่านั่งยองๆ ตะวันออก-ตะวันตก
คำว่า นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ และนั่งงอตัว (รวมถึงการงอตัวของทารกในครรภ์มารดา) ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ squat (กริยา) หรือ squatting(นาม)

อาจเป็นเพราะในโลกตะวันตกไม่มีวัฒนธรรมการแยกท่านั่งในลักษณะดังกล่าว

ต่างจากตะวันออก ซึ่งมีคำศัพท์หลากหลาย แสดงถึงการให้ความสำคัญและการมีมาอย่างยาวนานของวัฒนธรรมการนั่งลักษณะนี้ เช่น

ผู้รู้ภาษามอญ อธิบายว่านั่งยองๆ มีศัพท์ว่า ฮะโจะฮะจุ่น มาจากคำว่า ฮะโจะ แปลว่า นั่ง ฮะจุ่น แปลว่า ยองๆ ซึ่งใช้เฉพาะท่านั่ง ไม่ใช้ในความหมายว่างอตัว

แม้ตะวันตกจะไม่ได้แยกศัพท์ แต่มองว่าท่านั่งลักษณะนี้เป็น ‘วัฒนธรรม’ อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับทางแพทย์และสาธารณสุข

ดังปรากฏบทความและงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับสุขอนามัยของประเทศโลกที่สาม ซึ่งใช้ส้วมแบบที่เรียกว่า ‘ส้วมนั่งยอง'



(ซ้าย) ฤๅษี ๕ ตน นั่งท่าโยคาสนะ บนทับหลังชั้นใน ด้านทิศตะวันออก ของปราสาทประธานที่ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
อายุราว พ.ศ. ๑๖๕๐ ทับหลังแผ่นนี้จำหลักรูปฤๅษี ๕ ตนประทับนั่งในท่าโยคาสนะ คือท่านั่งชันเข่าทั้งสองข้างแล้วเอาเท้าไขว้กัน
อย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปในปราสาทขอม หลายครั้งมักพบว่าจะสลักรูปสายโยคปัฏฏ์รัดไว้ที่หน้าแข้ง แต่ไม่มีในภาพสลักรูปนี้
(คำอธิบายโดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ)
(ขวา) โภชาชานียชาดก—ท่านั่งชันเข่าแบบนักบวชและคนชั้นสูง จากลายสลักบนแผ่นหินเรื่องชาดก ในอุโมงค์วัดศรีชุม จ.สุโขทัย
(ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๕ ประมวลจารึกอักษรไทย ภาพลายเส้นจำหลักบนแผ่นหินเกี่ยวกับเรื่องชาดกต่างๆ ในชาดกห้าร้อยชาติ
ที่ประดับไว้ในเจดียย์วัดศรีชุม สุโขทัย, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๕)

นั่งห้อยขา
คนชั้นสูงนั่งห้อยขาข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งพับไว้ เพราะนั่งบนที่นั่งรองก้นสูงขึ้นกว่าพื้นปกติ เช่น จอมปลวก, โขดหิน, ตั่ง, เก้าอี้, ฯลฯ

ประเพณีอย่างนี้ นักวิชาการอธิบายว่าน่าจะมีต้นแบบจากวัฒนธรรมอินโด-เปอร์เซีย พบหลักฐานเก่าสุดในไทยคือพระพุทธรูปสลักหิน ประทับนั่งห้อยพระบาทสองข้าง (ยุคทวารวดี) พบที่วัดพระเมรุ จ. นครปฐม


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๖) นั่งยองๆ ชันเข่า" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2558 19:43:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2558 19:51:48 »

.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน นอบน้อม ถ่อมตน

นอบน้อม ถ่อมตน
คนอุษาคเนย์นอบน้อมถ่อมตน เหตุจากมีสำนึกบ่าวไพร่ข้าช่วงใช้ยอมจำนนต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ (คือผี) และผู้เป็นนาย

ความนอบน้อมถ่อมตนนี่เอง ทำให้พร้อมยอมตนเป็นผู้น้อยคอยรับใช้ผู้อื่น ปัจจุบันเรียกมีสำนึกบริการ เป็นคุณต่อเศรษฐกิจภาคบริการ

นอบน้อมยอมจำนน
ลักษณะยอมจำนนต่ออำนาจเหนือกว่าของชาวสยาม มีหลักฐานในจดหมายเหตุลาลูแบร์ (ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางไปอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ดังนี้
“ความสุภาพเรียบร้อยเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชาวสยาม…

เขาหลีกเลี่ยงต่อการที่จะพูดจาปราศรัยกับชาวต่างประเทศ เพราะพวกเขารู้ว่าถ้าเกิดเรื่องอะไรที่ไม่งามขึ้น พวกเขาจะต้องได้รับการพิจารณาว่าเป็นฝ่ายผิดทั้งนั้น และถ้าเกิดวิวาทกันขึ้นกับชาวต่างประเทศ พวกเขาก็จะเป็นฝ่ายถูกลงโทษเสมอไป

 ฉะนั้นชาวสยามจึงฝึกบุตรของตนให้มีความเสงี่ยมเจียมตัวอย่างที่สุด ด้วยเป็นสิ่งจำเป็นในด้านดำเนินการค้าขาย และจำเป็นจะต้องสงบเสงี่ยมเป็นอย่างยิ่งในยามที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานหลวงปีละ ๖ เดือน หรือต่อขุนนางคนใดคนหนึ่งที่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ.”

นั่ง
ลาลูแบร์บันทึกถึงกิริยาของชาวบ้านกรุงศรีอยุธยาว่าโดยทั่วไปจะนั่งขัดสมาธิ แม้จะมีผู้ยกเก้าอี้มาให้นั่ง เขาก็จะนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ เพราะไม่กล้านั่งห้อยขาอย่างฝรั่ง ด้วยเห็นว่านั่งไม่เรียบร้อย

กิริยาอาการทั่วไปของชาวบ้านกรุงศรีอยุธยาที่ยอมจำนนอย่างสุภาพที่สุดนั้น ลาลูแบร์สังเกตว่า

“เมื่อตีวงกันอยู่ ชาวสยามจะไม่ลุกขึ้นยืนเป็นอันขาด แต่เขาจะไม่นั่งท่าขัดสมาธิ หากจะยอบกายหมอบลงเพื่อให้ความเคารพซึ่งกันและกัน พวกทาสและพวกบ่าวที่อยู่เบื้องหน้าเจ้าขุนมูลนายของตน และราษฎรสามัญที่อยู่เบื้องหน้าเจ้านาย จะจรดเข่าลงกับพื้นและนั่งทับส้น ศีรษะโน้มมาข้างหน้าเล็กน้อย และพนมมือยกขึ้นเสมอหน้าผาก ชาวสยามที่เดินผ่านบุคคลที่เขาปรารถนาจะให้ความเคารพนบนอบไป เขาจะเดินก้มตัว พนมมือสูงต่ำตามควร”

ยิ้มสยาม
 ยิ้มสยาม เป็นความนอบน้อมอย่างหนึ่ง มีความหมายหลายหลากมากมายไม่จำกัด มีทั้งความหมายดีและไม่ดีที่คนอื่นมักเข้าใจไม่ครบถ้วน ซึ่งต่างจากยิ้มของคนจำนวนมากในโลกที่มีความหมายจำกัด เช่น แสดงความพึงใจเท่านั้น ไม่มีความหมายเป็นอย่างอื่นอีก

เหตุที่ยิ้มสยามมีความหมายมากอย่างนั้น มาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ในเขตมรสุม ต้องยอมจำนนต่อธรรมชาติเพราะพึ่งพาน้ำฝนทำกสิกรรม ต้องมีพิธีกรรมแสดงความสุภาพอ่อนน้อมวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ ให้บันดาลความมั่นคงและความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ทางอาหารการกินให้แก่ตนเองและเผ่าพันธุ์ในชุมชน ซึ่งมียิ้มเป็นการแสดงความอ่อนน้อมอย่างหนึ่งที่สุภาพกว่าหัวเราะ

ยิ้มสุวรรณภูมิ
ยิ้ม เป็นกิริยาของคนทุกเพศทุกวัย แสดงออกทางริมฝีปากและดวงตา บอกความรู้สึกแรกสุดและเก่าแก่สุด คือ อ่อนน้อมถ่อมตัว  ต่อมาก็แสดงออกให้มีความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก, ชอบ, เกลียด, เสียดสี, เยาะเย้ย ฯลฯ และมีความหมายต่างๆ กัน

ยิ้มสยาม หมายถึงกิริยาอาการยิ้มของชาวสยาม ที่ประกอบด้วยคนสุวรรณภูมิหลายชาติพันธุ์ที่ล้วนมีลักษณะสังคมวัฒนธรรมร่วมกัน  อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน จนแยกออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้น ยิ้มสยามย่อมมีที่มาและมีความหมายอย่างเดียวกับยิ้มสุวรรณภูมิ โดยจะแยกเป็นยิ้มสยามโดดๆ ไม่ได้  เพราะยังมียิ้มอื่นๆ ด้วย เช่น ยิ้มลาว, ยิ้มเขมร, ยิ้มพม่า, ยิ้มมอญ, ยิ้มข่า, ยิ้มละว้า, ยิ้มมลายู, ยิ้มจาม, ยิ้มเรอแดว, ฯลฯ

ล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับยิ้มสยามที่มีพื้นฐานจากยอมจำนน มีเรื่องราวปัญหาอะไรก็ยิ้มไว้ก่อน เชื่อว่าปลอดภัย มั่นคง




ข้า, ข้อย
คำใช้เรียกแทนตัวเองที่แสดงความนอบน้อมอย่างยิ่งในประเพณีไทย-ลาว คือ ข้า, ข้อย

ข้า แปลว่า บ่าว, คนรับใช้ บางทีเรียกอย่างเหยียดหยามว่า ขี้ข้า หมายถึงต่ำต้อยยิ่งกว่าข้า

ข้อย แปลว่า ผู้น้อย, บ่าว, คนรับใช้ กร่อนจากคำว่า ข้าน้อย หมายถึงตัวผู้พูดเป็นข้า หรือขี้ข้า ซึ่งไม่มีศักดิ์ศรีอย่างยิ่ง ซ้ำยังเป็นขี้ข้าตัวน้อยๆ แทบไม่มีตัวตน



ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๗) นอบน้อม ถ่อมตน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน สงกรานต์

สงกรานต์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เกี่ยวกับการย้ายราศีของดวงอาทิตย์ จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ราวกลางเดือนเมษายนของทุกปี
ราชสำนักโบราณในอาเซียน รับประเพณีสงกรานต์จากพราหมณ์อินเดียเหมือนกันทุกแห่ง ทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อเสริมอำนาจการปกครอง
สมัยแรกๆ มีอยู่ในราชสำนักเท่านั้น ราษฎรทั่วไปไม่รู้จักสงกรานต์ ครั้นนานเข้าถึงสมัยหลังๆ จึงแพร่หลายสู่ราษฎร แล้วผสมผสานกับประเพณีพื้นเมืองสืบจนปัจจุบัน เช่น รดน้ำ แล้วกลายเป็นสาดน้ำ

สงกรานต์เมษายน
สังกรานติในราศีเมษ คือ เมษสังกรานติ มีความสำคัญในความเชื่ออินเดีย โดยเฉพาะในทางโหราศาสตร์

เนื่องจากพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ อันอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของจอมฟ้าเหนือศีรษะ พระอาทิตย์จะมีกำลังและความร้อนแรงสูงสุด   นอกจากนี้ราศีเมษยังเป็นราศีสถิตลัคนาของโลกและลัคนาของเมืองตามหลักโหราศาสตร์อินเดีย แต่ในปัจจุบันชาวฮินดูในอินเดียภาคเหนือเน้นความสำคัญของมกรสังกรานติมากกว่า

ส่วนการเปลี่ยนปีนั้น สำหรับปีวิกรามีสัมวัตซึ่งนิยมใช้มากในทางอินเดียภาคเหนือ จะมีการเปลี่ยนปีในช่วงเทศกาลนวราตรีหรือเทศกาลบูชาพระแม่ทุรคาในฤดูวสันต์ อยู่ในช่วงเดือนไจตระ ตกราวปลายมีนาคม-ต้นเมษายน แม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนศักราชของปีสัมวัตอย่างเป็นทางการ แต่พิธีกรรมถูกรวบไปอยู่ในส่วนการบูชาพระแม่ทุรคา ไม่ได้มีพิธีกรรมพิเศษแยกออกมา

สรุปจาก สงกรานต์ ปีใหม่ฮินดู สู่อุษาคเนย์ และไทย ต้นแบบจากชมพูทวีป ในอินเดีย โดย คมกฤช อุ่ยเต็งเค่ง (เชฟหมี) [อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว) ลงใน มติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖เมษายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๗]

สงกรานต์มีทุกเดือน
ชาวฮินดูมีสงกรานต์ทุกเดือน
     สงกรานต์ มาจากคำว่า สํกฺรานฺติ (สังกรานติ) ในภาษาสันสกฤตแปลว่า เคลื่อน หรือย้าย ซึ่งความหมายถึง การที่พระอาทิตย์ย้ายราศี
     ราศี คือการแบ่งท้องฟ้าออกเป็นสิบสิบสองส่วนเท่าๆ กัน จะได้ส่วนละ ๓๐ องศา แบ่งชื่อตามดาวจักรราศี
     พระอาทิตย์ เป็นดาวใหญ่ ศูนย์กลางของสุริยจักรวาล เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย จึงมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ในโลก พระอาทิตย์จะอยู่ในราศีละสามสิบวันโดยประมาณ  ดังนั้น สงกรานต์จึงมีทั้งปี เดือนละหนึ่งครั้ง เรียกตามการย้ายเข้าไปในราศีนั้น ซึ่งจะย้ายประมาณวันที่ ๑๔ หรือ ๑๕ ของเดือน เช่น ย้ายเข้าราศีมังกร เรียก มกรสังกรานติ, เข้าราศีมีน ก็มีนสังกรานติ, เมษ ก็เมษสังกรานติ

สงกรานต์ในไทย ไม่มาจากโหลี
สงกรานต์ไม่ได้มาจากโหลี (Holi) หรือเทศกาลสาดสีในอินเดีย

อ.คมกฤช อุ่ยเต็งเค่ง (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า
   ๑.โหลี กำหนดวันตามจันทรคติ (ดวงจันทร์) ส่วนสงกรานต์ตามสุริยคติ (ดวงอาทิตย์)
   ๒.โหหลี ไม่เกี่ยวกับพิธีเปลี่ยนศักราช ส่วนสงกรานต์เกี่ยวโดยตรงกับเปลี่ยนศักราช
   ๓.โหลี มีสาดสี เป็นสัญลักษณ์ของพิธีเจริญพืชพันธุ์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ส่วนสงกรานต์อินเดียไม่มีสาดน้ำ เมื่ออุษาคเนย์รับมาสมัยแรก ก็ไม่มีสาดน้ำ
สาดน้ำเป็นของใหม่เพิ่งมีสมัยอาณานิคม ดั้งเดิมรดน้ำ (ดำหัว) ไม่สาดน้ำ



ชาวบ้านพากันไปยังริมน้ำเพื่อรับปีใหม่ โดยสักการะพระสุริยเทพ (เทพสำคัญที่สุดในช่วงปีใหม่ฮินดู)
บรรดาสตรีกำลังบันลือสังข์ เพื่อต้อนรับพระสุริยเทพและขับไล่สิ่งอัปมงคล ถือหม้อกลัศ
อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และที่สถิตเทพแห่งน้ำหรือพระวรุณ
ภาพนี้จากริมแม่น้ำกษิประ เมืองอุชเชน รัฐมัธยประเทศ


พิธีฉลองปีใหม่ของชาวเตลุคุ (เมืองเชนไน) มีการตกแต่งพื้นด้วยผงสีต่างๆ เรียกว่า รังโคลี
เขียนว่า “นันทะนะ อุคาทิ” หมายความว่า สุขสันต์เทศกาลปีใหม่  ส่วนถาดในมือของหญิงสาว
บรรจุอาหารพิเศษสำหรับเทศกาลอุคาทิโดยเฉพาะ เรียกในภาษากรรนาฏ ว่า เพวุเพลลา (Bevu-Bella)
ประกอบด้วยอาหาร ๖ รส (ขม หวาน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว และรสฉุนจัด) ได้แก่ หน่อสะเดา
น้ำตาลอ้อย พริก เกลือ น้ำมะขาม มะม่วงดิบ เพื่อสะท้อนรสชาติของชีวิต ๖ อย่าง
คือ ความเศร้า ความสุข ความโกรธ ความกลัว ความเกลียด และความประหลาดใจ ที่ต้องพบเจอ
ในชีวิตและวางใจให้เสมอในรสเหล่านี้


สตรีอยู่ในขบวนแห่ เรียกว่า “โศภณยาตรา” คือการแห่แหนตามประเพณีในงานมงคล
โดยทูนหม้อ “กลัศ” หรือหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ ในภาพหม้อเหล่านี้เขียนคำมงคลต่างๆ
เช่น อาโรคยะ-ความไม่มีโรค,  เสวา-การปรนนิบัติรับใช้ เป็นต้น

[ภาพจากหนังสือพิมพ์ The New Indian Express www.newindianexpress.com  คำอธิบายโดย เชฟหมี]

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๒) สงกรานต์" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ น.๘๓ ฉบับที่ ๑๘๒๗ ประจำวันที่ ๒๑-๒๗ ส.ค.๕๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กันยายน 2558 10:53:48 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2558 14:37:58 »

.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ศาสนาพราหมณ์, พุทธ

ศาสนาพราหมณ์, พุทธ          
วัฒนธรรมร่วมอาเซียนยุคก่อนอินเดีย จบไปแล้ว แต่อาจไม่ครบถ้วนก็ได้ ถ้าพบว่ายังขาดอะไรกรุณาบอกด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง
 
นับแต่นี้ไปเป็นเรื่องยุคหลังอินเดีย
 
อซียน หรืออุษาคเนย์ มีวัฒนธรรมร่วมหลายอย่างมานานหลายพันปีแล้ว เพราะอยู่เขตมรสุมเดียวกันทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ จึงมีประวัติศาสตร์ร่วมกันอย่างแยกไม่ได้
 
แล้วมีวัฒนธรรมร่วมกันแบ่งกว้างๆ เป็น ๒ระยะ คือ ก่อนอินเดีย และหลังอินเดีย
 
ก่อนอินเดีย หมายถึง ก่อนรับอารยธรรมจากอินเดีย ตั้งแต่หลายแสนหลายหมื่นหลายพันปีมาแล้ว จนถึงราว พ.ศ. ๑๐๐๐
 
คนพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ในอาเซียน มีวัฒนธรรมร่วมอยู่แล้ว ก่อนรับอารยธรรมจากอินเดีย
 
หลังอินเดีย หมายถึง หลังรับอารยธรรมจากอินเดีย ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐

คนพื้นเมืองรับวัฒนธรรมจากอินเดียมาประสมประสานวัฒนธรรมดั้งเดิม แล้วเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่มีทั้งคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน มี ๓ ระยะ คือ
(๑) รับศาสนาพราหมณ์-พุทธ กับ
(๒) รับศาสนาอิสลาม และอื่นๆ
(๓) รับอาณานิคม

ศาสนาพราหมณ์, พุทธ
ราวหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ ภูมิภาคอุษาคเนย์รับศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธจากอินเดียและลังกา
 
บางท้องถิ่นมีตำนานคำบอกเล่าว่าเริ่มรับก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ไม่เคยพบหลักฐานสนับสนุนทางประวัติศาสตร์โบราณคดี
 
ศาสนาท้องถิ่น
ศาสนาผีเป็นรากฐานแข็งแรงอยู่ก่อนแล้วหลายพันปีในอุษาคเนย์ เมื่อหัวหน้าเผ่ารับศาสนาพราหมณ์, พุทธ จากอินเดียและลังกาเข้ามาใหม่ ต้องปะทะกันอย่างรุนแรง
 
ท้ายสุดเกิดการประนีประนอมประสมประสานกันระหว่างศาสนาผีกับศาสนาพราหมณ์, พุทธ แล้วมีศาสนาท้องถิ่นขึ้นใหม่สืบจนทุกวันนี้ ซึ่งมีลักษณะต่างกันไป
 
มีตัวอย่างในไทย ศาสนาท้องถิ่นเรียกศาสนาไทย
 
ศาสนาไทย มีศาสนาผีเป็นฐานรากอันแข็งแกร่ง แล้วรับเอาสิ่งละอันพันละน้อยของศาสนาพราหมณ์ กับศาสนาพุทธ โดยเลือกเอาส่วนที่ไม่ขัดกับหลักผี เข้ามาประดับศาสนาผี เพื่อให้ดูดี ทันสมัย มีสง่าราศี น่าเลื่อมใสศรัทธาขึ้นเท่านั้น
 
ศาสนาผีรักษากฎเกณฑ์ทางสังคม แต่พราหมณ์, พุทธ รักษากฎเกณฑ์ทางจิตวิญญาณของบุคคล [ศาสนาผี โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ ๒๑-๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ หน้า ๒๘-๒๙]
 
ปราบผีพื้นเมือง
คนพื้นเมืองบนเกาะชวา (ก่อนอารยธรรมอินเดียแผ่เข้าไป) ล้วนนับถือศาสนาผี มีหลากหลายเหมือนคนกลุ่มอื่นๆในอาเซียนโบราณ
 
เมื่อพ่อค้าหรือนักเสี่ยงโชคผจญภัยจากอินเดียยกกองเรือถึงเกาะชวา ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ โดยเชิญพระพิฆเนศเป็นเทวรูปสำคัญประจำเรือเพื่อขจัดอุปสรรคระหว่างเดินทาง
 
จากนั้นก็ปราบปรามคนพื้นเมืองให้อยู่ในอำนาจจนสำเร็จ ซึ่งต้องฆ่าคนพื้นเมืองจำนวนไม่น้อย
 
พระพิฆเนศนั่งทับหัวกะโหลก หมายถึงเทวดาชมพูทวีปมีอำนาจเหนือคนพื้นเมือง แล้วมีอำนาจเหนือผีทั้งปวงบนเกาะชวา
 
[พระพิฆเนศเป็นบรมครูของศิลปินร้องรำทำเพลงและวาดปั้น เป็นสิ่งที่ไทยประดิษฐ์ใหม่สมัย ร.๖ แต่ไม่มีความเชื่ออย่างนี้ในอินเดียและชวา]



พระพิฆเนศนั่งทับหัวกะโหลกคนพื้นเมือง เมื่อปราบคนพื้นเมืองสำเร็จแล้ว
รูปสลักจากหินภูเขาไฟ ฝีมือช่างชวาตะวันออก ผู้สำเร็จราชการฮอลันดาที่ปกครองชวา (อินโดนีเซีย)
ถวาย ร.๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสหมู่เกาะชวา พ.ศ. ๒๔๓๙ (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)



หลังศาสนาพุทธกับพราหมณ์สถาปนามั่นคงแล้ว คนพื้นเมืองถูกปราบปราม
แม้ศาสนาผี มีความสำคัญ แต่ต้องยกพุทธพราหมณ์มาคลุมเคลือบไว้ แล้วเหยียดสัญลักษณ์เดิม
เป็นฝ่ายเลว (ผู้ร้าย) เช่น นาค เป็นต้นตอของโรคภัยไข้เจ็บ  ภาพสลักรูปกษัตริย์เขมร
หรือพระเจ้าขี้เรื้อน (คงหมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ต่อสู้กับนาคร้าย สัญลักษณ์ของโรคภัยไข้เจ็บ
ที่พ่นพิษใส่กษัตริย์ ทำให้เป็นโรคเรื้อน อายุราว พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๐๐ ภาพสลักที่ปราสาทบายนในนครธม กัมพูชา


ทำขวัญนาคในพิธีบวช
ทำขวัญนาคในพิธีบวช กล่าวถึงพระคุณของแม่ที่มีต่อนาคผู้จะเข้าพิธีบวชเป็นพระสงฆ์
 
ประเพณีนี้ไม่มีในพุทธบัญญัติ และไม่เคยมีในอินเดีย, ลังกา
 
นาค เป็นสัญลักษณ์ของหญิงพื้นเมืองเจ้าของศาสนาผี ตามความเชื่อดั้งเดิมของอุษาคเนย์



ทำขวัญนาค พรรณนาพระคุณแม่ ตามความเชื่อศาสนาผีพื้นเมือง
ของกลุ่มชนดั้งเดิมในภูมิภาคอุษาคเนย์โบราณ แต่ไม่มีในพุทธอินเดีย, ลังกา

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๘) ศาสนาพราหมณ์, พุทธ" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน บวชนาค

บวชนาค
บวชนาค หมายถึง บวชคนพื้นเมืองให้เป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
 
มีเหมือนกันทุกประเทศในอุษาคเนย์ที่รับนับถือพุทธศาสนา แต่บางประเทศเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นแล้ว จึงไม่เหลือหลักฐาน

นาค
นาค หมายถึงคนพื้นเมืองเปลือยเปล่า สัญลักษณ์ของบรรพชนคนสุวรรณภูมิ เป็นคำดูถูกของชาวชมพูทวีป (อินเดีย) เรียกคนพื้นเมืองอุษาคเนย์
 
คำว่า นาค ไม่ใช่ตระกูลภาษาไทย-ลาว แต่มีรากมาจากภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แปลว่า เปลือย, แก้ผ้า คำนี้มีแพร่หลายในหมู่ชนชาวชมพูทวีปตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
 
ชาวสุวรรณภูมิ ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว นุ่งห่มใบไม้ เช่น ใบมะพร้าว ฯลฯ ถ้าจะมีผ้านุ่งบ้างก็เป็นผืนเล็กๆ แคบๆ เช่น เตี่ยว ใช้ปิดหุ้มรัดอวัยวะเพศเท่านั้น

เมื่อชาวชมพูทวีปเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชนชาวสุวรรณภูมิที่ยังล้าหลังทางเทคโนโลยีทอผ้า จึงพบว่าไม่มีผ้าผืนใหญ่ใช้นุ่งและห่มเหมือนชาวชมพูทวีป ก็เรียกชาวสุวรรณภูมิอย่างเหยียดหยามดูถูกด้วยถ้อยคำของตนว่า นาค หมายความว่า คนเปลือย, คนแก้ผ้า
 
ต่อมาชักชวนคนฝูงนั้นให้เลื่อมใสพุทธศาสนา เมื่อจะบรรพชาเป็นภิกษุจึงเรียกบวชนาค หมายถึงบวชคนพื้นเมืองเปลือยเปล่าป่าเถื่อนไม่นุ่งผ้า, ไม่ห่มผ้า
 
พิธีบวชนาคไม่มีในพระไตรปิฎก จึงไม่มีในอินเดีย, ลังกา มีแต่ที่สุวรรณภูมิ



ภิกษุสาวก ๓ รูป ครองจีวร ถือบาตร แสดงท่าบิณฑบาต
เป็นหลักฐานเก่าสุดที่แสดงว่ามีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ประติมากรรมดินเผาแบบทวารวดี ราวหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ พบที่เมืองอู่ทอง
อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี (ภาพจากหนังสือ สุวัณณภูมิ โดย ธนิต อยู่โพธิ์
กรมศิลปากร พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐)



บวชนาคพม่า
บวชนาค มีในทุกบ้านเมืองที่เคยนับถือพุทธศาสนา บางประเทศยังนับถือสืบเนื่องมา เช่น ลาว, กัมพูชา, ไทย, และพม่า
 
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องบวชนาคพม่าไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่า (ฉบับมติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๒๓๐) จะคัดมา ดังนี้
 
“พม่ายังแห่นาคเหมือนไทยเราแห่กันแต่ก่อน
 
ลักษณะการแห่บวชนาคนั้น ถ้าสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเจตนาจะให้เป็นทำนองเดียวกับแสดงตำนาน Pageant เรื่อง ‘มหาภิเนษกรมณ์’ จึงให้เจ้านาคขี่ม้าเหมือนอย่างพระพุทธองค์เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปทรงผนวช
 
สมมติพวกญาติโยมที่ห้อมแห่ไปเป็นเทวดาที่ห้อมล้อมพระโพธิสัตว์ และหาพวกจำอวดนำกระบวนสมมติว่าเป็นพระยามารที่คอยขัดขวาง
 
แต่ประหลาดอยู่ในเมืองเราแห่เช่นนั้นแต่บวชนาคราษฎร ถ้าเป็นนาคหลวงเช่นเจ้านายทรงผนวช ไม่แห่ หรือแห่ก็แห่เป็นกระบวนพยุหยาตรา
 
นาคเจ้านายทรงยานมาศและเสลี่ยง เคยได้ยินว่าบางทีทรงคอช้างก็มี แต่ที่จะทรงม้าเหมือนอย่างนาคราษฎรหามีไม่ หรือถ้าว่าอีกอย่างหนึ่งนาคหลวงแห่แต่เพื่อให้คนอนุโมทนา ไม่ทำเป็นแสดงตำนาน
 
พิเคราะห์ชวนให้สงสัยว่าแห่นาคราษฎรไทยจะได้แบบมาจากพม่าดอกกระมัง เค้าเงื่อนมีอยู่ที่แห่บวชนาคของราษฎรดูจะต้องมีพวกตีกลองยาวอย่างพม่าที่เราเรียกกันว่า ‘เถิดเทิง’ นำกระบวนเป็นนิจ
 
และเมื่อแห่ไปถึงวัด พวกกลองยาวเล่นจำอวดกั้นกางอย่างเป็นพระยามารห้ามเอารางวัลเสียก่อน แล้วจึงให้เจ้านาคเข้าโบสถ์ เป็นประเพณีมาอย่างนี้”
 
กลองยาว วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์
แห่นาคในไทย ไม่จำเป็นต้องรับจากพม่า เพราะประเพณีแห่ต่างๆ มีมาแต่ดั้งเดิมหลายพันปีมาแล้ว มีหลักฐานในภาพเขียนสีบนเพิงผาและผนังถ้ำ
 
กลองยาว คือกลองมีเอว [ล้านนาเรียก กลองแอว หรือ กลองมีแอว] เป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์หลายพันปีมาแล้ว ไม่ใช่สมบัติของพม่ากลุ่มเดียว
 
แต่คนทั่วไปถูกครอบงำว่ากลองยาวเป็นของพม่า เพราะเชื่อตามคำร้องเพลงสิบสองภาษา สำเนียงพม่า ซึ่งเพิ่งแต่งใหม่ ยุคหลัง ร.๔ ว่ามีพม่ากลุ่มหนึ่งเข้ามาทำมาหากินในไทย โดยรวมกันเล่นกลองยาวรับจ้างแห่ต่างๆ ดังนี้
ทุงเล ทุงเล                ทีนี้จะเห่พม่าใหม่
ตกมาอยู่เมืองไทย       เป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว
     ฯลฯ
 
แห่นาคในไทยจึงไม่จำเป็นต้องรับจากพม่า แต่มีเป็นวัฒนธรรมร่วมทั้งพม่าและไทย รวมถึงเขมร, ลาว



ม้าในขบวนแห่นาคไปวัด
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๙) บวชนาค" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ชายเป็นใหญ่

ชายเป็นใหญ่
ชายเป็นใหญ่ในอารยธรรมอินเดีย ดังนั้นหลังรับอารยธรรมอินเดีย คนอุษาคเนย์ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปยกย่องชายเป็นใหญ่เหนือหญิง
 
เห็นได้จากเทวดามหาเทพในศาสนาพราหมณ์ ล้วนเป็นเพศชาย
 
ส่วนศาสนาพุทธอนุญาตให้ชายบวชเป็นเป็นภิกษุ แต่ไม่อนุญาตให้หญิงบวชเป็นภิกษุณี และหญิงสัมผัสร่างกายภิกษุ หญิงต้องบาป ภิกษุไม่บาป






ผู้หญิงเป็นใหญ่
หลังรับอารยธรรมอินเดีย ผู้ชายขึ้นเป็นใหญ่แทนหญิง
 
คนอุษาคเนย์ดั้งเดิมก่อนรับอินเดีย ต่างนับถือศาสนาผีเหมือนๆ กัน โดยมีผู้หญิงเป็นใหญ่ หรือเป็นเจ้าของศาสนาผี [ตรงข้ามกับผู้ชายเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์, พุทธ]

ผู้หญิงสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ยุคดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีสถานะและบทบาททางสังคมสูงกว่าผู้ชาย เช่น
 
เป็นใหญ่ในพิธีกรรม, เป็นหมอผีหัวหน้าเผ่าพันธุ์, และเป็นเจ้าของเครื่องมืองานช่างทุกอย่าง รวมทั้งช่างฟ้อน (รำ), ช่างขับ (ร้อง), ช่างปี่ (แคน), ฯลฯ ผู้ชายไม่มีสิทธิ์ทำสิ่งสำคัญอย่างนี้
 
แม่ ผู้เป็นใหญ่
หลังรับอารยธรรมอินเดีย พ่อคือผู้เป็นใหญ่ในสังคมนอกบ้าน แต่ภายในครอบครัว แม่ยังใหญ่เหมือนเดิม
 
เหตุที่แม่หญิงเป็นใหญ่ เพราะโครงสร้างทางสังคมดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ จัดระเบียบครอบครัวโดยให้ความสำคัญกับความเป็นแม่ หรือเน้นแม่เป็นศูนย์กลางของเครือญาติ
 
แม่เป็นผู้ได้รับมรดกตกทอดจากครอบครัวให้ควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่น บ้านเรือน, ที่ดิน, เรือกสวนไร่นา, ฯลฯ จึงมีอำนาจเหนือพ่อและเครือญาติอื่นๆ
 
ลูกอยู่ใกล้ชิดแม่ เพราะแม่ควบคุมทรัพยากรเศรษฐกิจอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน แต่พ่อออกไปทำมาหากินนอกบ้าน จึงไม่ใกล้ชิดลูก ส่งผลให้แม่มีผู้แวดล้อมเป็นกำลังแรงงาน แต่พ่อมีน้อยกว่าแม่ หรือไม่มี
 
สังคมดั้งเดิมจึงเน้นความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง มากกว่าผัวกับเมีย การสืบตระกูลจึงเน้นทางฝ่ายแม่ เช่น พี่น้องท้องเดียวกัน หมายถึงมีแม่คนเดียวกัน (แต่อาจคนละพ่อก็ได้)
 
แม่ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า (เมีย ก็น่าจะเลื่อนเสียงจากคำว่า แม่)
 
เป็นคำร่วมมีในเกือบทุกภาษาของคนเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในอุษาคเนย์ แล้วมีความหมายอย่างเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
 
เมื่อจะเรียกสิ่งที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า เป็นสำคัญ จึงมีคำว่าแม่นำหน้า เช่น แม่น้ำ, แม่ทัพ, แม่เหล็ก, ฯลฯ
 
นาง แปลว่าหัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ ใช้กับเพศหญิง (มีความหมายอย่างเดียวกับนายที่ใช้กับเพศชาย)
 
หัวหน้าเผ่า
หลังรับอารยธรรมอินเดีย ผู้ชายริบอำนาจหัวหน้าเผ่าจากผู้หญิง แล้วเรียกชื่อตามอินเดีย เช่น ราชา ฯลฯ
 
ชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ มีผู้หญิงเป็นหัวหน้าพิธีกรรม ทำหน้าที่ปกครองดูแลควบคุม (ต่อมาอีกนานได้ชื่อเรียกว่าเจ้าเมือง) นับเป็นหน่วยทางการเมืองยุคแรกเริ่มที่ผู้คนรวมตัวกันขึ้นมา
 
หมอผีเป็นหญิง
แม้ผู้ชายริบอำนาจจากหญิงแล้ว แต่ผีบรรพชนยังเข้าร่างทรงผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย แสดงว่าอารยธรรมอินเดียปราบไม่ลงต่อความเชื่อพื้นเมือง
 
ผีบรรพชนจะเข้าสิงในร่างทรงของผู้หญิงเท่านั้น เรียกหมอผี
 
ผู้หญิงที่มีผีบรรพชนสิง ต้องทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาทั้งปวงของเผ่าพันธุ์ตนให้คนอื่นๆ รู้
 
มีตัวอย่างพิธีเลี้ยงผีของชุมชนหมู่บ้านทั่วไปในภูมิภาคอุษาคเนย์ เช่น ผีฟ้าของลาว ผีมดของเขมร ผีเม็งของมอญ ล้วนมีผู้หญิงเป็นร่างทรง ผีเหล่านี้ไม่เข้าร่างทรงที่เป็นผู้ชาย


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๐) ชายเป็นใหญ่" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2558 10:59:41 »

.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน กราบไหว้

กราบไหว้เป็นวัฒนธรรมฮินดูชมพูทวีป (อินเดีย) เมื่อหลายพันปีมาแล้ว เป็นที่รับรู้ทั่วโลก แล้วแพร่หลายถึงบ้านเมืองในอุษาคเนย์

อัญชลิ เป็นคำบาลี-สันสกฤต หมายถึงการไหว้ (ด้วยมือทั้งสองอันประนม)

มีในบทสวดมนต์ตอนสังฆคุณว่า อัญชลีกรณีโย แปลว่า (พระสงฆ์) เป็นผู้ควรได้รับการประนมมือไหว้
          

พระสงฆ์สาวกกำลังพนมมือไหว้พระพุทธเจ้า รูปสลักหิน ราว พ.ศ. ๕๐๐-๗๐๐
ฝีมือช่างอินเดียแบบคันธารราฐ (อยู่ในปากีสถาน) แสดงการไหว้มีกำเนิดเก่าสุดในอินเดีย
(ปัจจุบันเก็บไว้ที่ The Metropolitan Museum of Art ภาพจาก http://www.metmuseum.org)

อินเดียถึงอุษาคเนย์
ไหว้ คืออัญชลีในศาสนาพราหมณ์-พุทธ เมื่ออาศัยเรือพ่อค้าจากชมพูทวีปมาถึงอุษาคเนย์ ราวเรือน พ.ศ. ๑๐๐๐ ก็แพร่หลายสู่ตระกูลคนชั้นนำพื้นเมือง

ซึ่งมีทั้งตระกูลมอญ-เขมร, ชวา-มลายู, ไทย-ลาว, และอื่นๆ ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่เคล้าคละปะปนกันทั่วไป ไม่แยกเชื้อชาติ (เพราะไม่มีจริงในโลก และยุคนั้นไม่มีรัฐชาติ)

ทุกตระกูลรับประเพณีการไหว้จากศาสนาพราหมณ์-พุทธ ในคราวเดียวกัน ไม่มีกลุ่มนี้รับก่อน กลุ่มนั้นรับหลัง (ถ้าจะเคยมี ก็ไม่มีหลักฐาน)

เครื่องมือการเมือง
ตระกูลคนชั้นนำพื้นเมืองยกย่องศาสนาพราหมณ์-พุทธ เป็นเครื่องมือทางการเมืองการปกครองให้บ้านเมืองยุคนั้นเติบโตขึ้นเป็นรัฐ

วัฒนธรรมการไหว้อัญชลี ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการปกครองด้วย เพื่อควบคุมอย่างเคร่งครัดต่อผู้อยู่ใต้อำนาจ เช่น ขุนนาง, ข้าราชการ, ฯลฯ โดยกำหนดให้มีแบบแผนการไหว้กราบและหมอบกราบคนชั้นนำซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า

คนชั้นนำไทยไม่เกิน ๑๐๐ ปีมานี้ กำหนดประเพณีประดิษฐ์คิดสร้างใหม่ ให้การไหว้มีช่วงชั้นต่างๆ ด้วยระดับก้มหัวและประนมมือสูงแค่ไหนๆ เพื่อให้ยอมจำนนต่อผู้มีอำนาจเหนือ

แล้วทำให้แพร่หลายไปสู่ระดับล่าง ก็โดยผ่านระบบโรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนให้มีประกวดกิริยามารยาท ว่าใครจะยอมจำนนได้เนียนกว่ากัน


ไหว้เพื่อการตลาด
ปัจจุบันการไหว้เป็นจุดขายสำคัญในตลาดท่องเที่ยว

จึงไม่ว่าชาติไหนๆในสังกัดพราหมณ์-พุทธ ที่เคยรับการไหว้จากแขกอินเดียมาด้วยกัน ก็พากันไหว้เพื่อการตลาดทั้งนั้น เพราะขายได้ขายดี



แตงโม พุดทะมาลา สุดาวัน บัณฑิตสาวชาวลาว ก้มกราบแม่ที่เป็นอัมพาต
(เป็นภาพโด่งดังในลาว แล้วสื่อไทยนำมาเผยแพร่ต่อ)


ชาวเขมรไหว้ขบวนพระศพนโรดมสีหนุ เมื่อตุลาคม ๒๐๑๒
(ภาพจาก http://www.news.com.au)


นักบวชฮินดูประนมมือไหว้ ที่เกาะบาหลีอินโดนีเซีย
(ภาพจาก http://www.masterfile.com)


เด็กหญิงเวียดนาม ยกมือไหว้เคารพศพนายพล Vo Nguyen Giap
ที่กรุงฮานอย เวียดนาม เมื่อตุลาคม ๒๐๑๓ (ภาพจาก http://www.vietnambreakingnews.com)


เด็กพม่ายกมือไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ภาพถ่ายโดย Martin Hürlimann)


กลุ่มชาวพม่ายกมือสักการะเจดีย์ชเวดากอง (ภาพจาก วิกิพีเดีย ภาษาอังกฤษ)


ชาวมอญในพิธีไหว้ผี /เลี้ยงผี ที่กาญจนบุรี (ภาพจาก บางกอกโพสต์)


ชาวมอญในพิธีไหว้ผี /เลี้ยงผี ที่กาญจนบุรี (ภาพจาก บางกอกโพสต์)


ชาวจีนประนมมือไหว้ อธิษฐานและแสดงความเคารพต่อผู้เสียชีวิต
จากเหตุเรือล่มในแม่น้ำแยงซี เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๐๑๕ (ภาพจาก รอยเตอร์ส)


ชาวลื้อสิบสองปันนา ยกมือไหว้แสดงความเคารพทักทายนักท่องเที่ยว
(ภาพแนวส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาพจาก https://kimedia.wordpress.com)


ชาวญี่ปุ่นยกมือไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดอาซากุสะ โตเกียว (ภาพจาก http://www.windsorstar.com)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๑) กราบไหว้" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ตัวอักษร

ตัวอักษร
อุษาคเนย์รับอักษรอินเดียใต้ หลังจากนั้นพัฒนาเป็นอักษรพื้นเมือง เรียกชื่อสมมุติว่า อักษรทวารวดี

ในที่สุดก็วิวัฒนาการแยกตามท้องถิ่นเป็นอักษรมอญ, อักษรเขมร, อักษรกวิ ท้ายสุดเป็นอักษรไทย

จากอินเดียใต้ ถึงอุษาคเนย์
อักษรพราหมี แต่ในไทยนิยมเรียกชื่อว่าอักษรปัลลวะ แพร่จากอินเดียเข้ามาถึงดินแดนอุษาคเนย์เป็นรุ่นแรกๆ เมื่อราวหลัง พ.ศ. ๙๐๐

[อักษรปัลลวะได้ชื่อตามนามราชวงศ์ปัลลวะที่มีอำนาจครองดินแดนภาคใต้ของอินเดียสมัยนั้น]

อักษรชนิดนี้จะมีวิวัฒนาการต่อไปเป็นรูปอักษรที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ อักษรทวารวดี, อักษรมอญ, อักษรเขมร ในที่สุดก็วิวัฒนาการเป็นอักษรไทย

อักษรปัลลวะ ภาษามคธ
ภาษาและวรรณกรรมรุ่นแรกๆ จากอินเดีย ที่พบในดินแดนประเทศไทยอาจมีหลายเรื่อง

แต่เรื่องสำคัญและพบหลายชิ้นบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป คือ คาถา เย ธัมมา ที่หมายถึงคาถาหัวใจพุทธศาสนา แต่งเป็นร้อยกรองประเภทฉันท์ ใช้สวดในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา

ต่อมาราวหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ อักษรปัลลาวะจากอินเดียใต้ ก็มีวิวัฒนาการเป็นอักษรท้องถิ่น เรียก อักษรทวารวดี ซึ่งเสมือนกึ่งทางพัฒนาการระหว่างอักษรปัลลวะ กับอักษรท้องถิ่นของอุษาคเนย์อย่างแท้จริง ได้แก่

อักษรเขมร (ในกัมพูชาสมัยก่อนเมืองพระนคร) อักษรมอญ (ในรัฐทวารวดี-หริภุญชัย) และอักษรกวิ (ในคาบสมุทรและหมู่เกาะ) เป็นต้น

อักษรเขมร (หลัง พ.ศ. ๑๔๐๐-๑๖๐๐)
อักษรเขมร เป็นอักษรที่มีวิวัฒนาการมาจากอักษรทวารวดี ในบริเวณบ้านเมืองและรัฐสองฝั่งแม่น้ำโขง สมัยก่อนเมืองพระนคร แล้วเป็นอักษรท้องถิ่นของอาณาจักรกัมพูชาสมัยเมืองพระนคร ราวหลัง พ.ศ. ๑๔๐๐

ความแพร่หลายของอักษรเขมรเท่าที่พบในปัจจุบัน ครอบคลุมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยากับลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่เขตเวียงจันในลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไทย จนถึงเขมรและภาคใต้ของเวียดนาม

อักษรมอญ (หลัง พ.ศ. ๑๖๐๐)
อักษรมอญเป็นอักษรที่วิวัฒนาการจากอักษรทวารวดี พบในจารึกของรัฐหริภุญชัย ราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐ โดยเฉพาะบริเวณเมืองหริภุญชัยกับบ้านเมืองใกล้เคียง เช่น เวียงมโน (จ.เชียงใหม่) และเวียงเถาะ (จ.เชียงใหม่)

อักษรมอญส่งอิทธิพลต่ออักษรธรรมล้านนา (ที่ใช้ในภาคเหนือของไทย) รวมทั้งอักษรธรรมล้านช้าง (ที่ใช้ในลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยรับผ่านทางอักษรธรรมล้านนา) รูปอักษรมอญบางรูปน่าจะส่งอิทธิพลต่ออักษรไทยด้วย

อักษรกวิ (หลัง พ.ศ. ๑๗๐๐)
อักษรกวิ เป็นอักษรที่มีวิวัฒนาการมาจากอักษรรุ่นแรกของอุษาคเนย์บริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะ มีใช้แพร่หลายบริเวณเกาะชวา สุมาตรา และ ฯลฯ

รูปอักษรกวิไม่มีบ่าอักษร อักษรบางตัวจึงมีคล้ายคลึงกับอักษรมอญ แต่บางตัวก็มีรูปแบบต่างไป

อักษรไทยในอุษาคเนย์
เริ่มจากอักษรของชมพูทวีป ส่งแบบแผนให้เกิดอักษรทวารวดี จนมีพัฒนาการเป็นอักษรเขมร อักษรมอญ อักษรกวิ

ในที่สุดก็ส่งแบบแผนอีกทอดหนึ่งให้มีอักษรไทย (ได้ต้นแบบจากอักษรเขมร)





(ซ้าย) ตราประทับดินเผา สัญลักษณ์ทางศาสนา-การเมือง มีจารึกอักษรปัลลวะ
และรูปวัวหมอบ หงส์ ตรีศูล จักร พบที่เมืองจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
(ขวา) ตัวอักษรจารึก คาถา เย ธัมมา บนแผ่นอิฐ พบที่เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี


(ซ้าย) อักษรเขมร ราวหลัง พ.ศ. ๑๔๐๐ พบที่ปราสาททัพเสียม ๒ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
(ขวา) จารึกวัดเสมาเมือง อักษรกวิ ราวหลัง พ.ศ. ๑๔๐๐ พบที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช


อักษรมอญ ราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐ จารึกวัดดอนแก้ว อ. เมือง จ. ลำพูน

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๒) อักษร" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ลายกระหนก

ลายที่เรียกกันเองว่า “ลายประจำชาติ” ในอาเซียน ล้วนได้ต้นแบบจากลายกระหนกของอินเดีย (หรืออินโด-เปอร์เซีย) ที่แสดงลักษณะแตกต่างทางชนชั้นอย่างเข้มข้นของยุคนั้น
 
ราว พ.ศ.๑๐๐๐ เป็นต้นไป ผู้คนกลุ่มหนึ่งในบ้านเมืองบริเวณสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ มีการติดต่อทางทะเลสมุทร แล้วค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้ากับอินเดียและลังกา
 
เริ่มรับศาสนา และรับลายกระหนกจากอินเดียเป็นต้นแบบ แล้วเริ่มทำเลียนแบบ จึงสมมุติเรียกงานช่างนั้นว่าแบบทวารวดี (แต่มักนิยมเรียกศิลปะทวารวดี)

 
ลายกระหนก
กระหนก หมายถึงเส้นสายลวดลายต่างๆ จากอินเดีย ที่แพร่เข้ามาโดยผูกติดกับศาสนาพราหมณ์และพุทธ ถึงดินแดนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์โดยรวม ไม่จำเพาะเจาะจงบริเวณหนึ่งใด
 
เมื่อฝึกฝนเลียนแบบลายกระหนกจนชำนิชำนาญ จึงมีพัฒนาการเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่นสุวรรณภูมิ
 
กระทั่งเป็นรัฐชาติ มีชื่อชาติภาษา และประเทศชาติ เลยพากันสมมุติเรียกชื่อเส้นสายต่างๆ กันตามชื่อเหล่านั้นว่า ลายมอญ, ลายเขมร, ลายลาว, ฯลฯ จนถึงลายไทย
 
แท้จริงแล้วล้วนเป็นลายกระหนกจากอินเดียโบราณอย่างเดียวกัน ถ้าจะแยกย่อยให้ต่างกันก็ผิดความจริง เว้นเสียแต่บังคับให้แตกต่างตามการเมืองยุคล่าอาณานิคม
 
 
ลายไทย
คนทั่วไปเข้าใจตรงกันว่า กนก คือ ลายไทย เลยเรียกปนกันทั้งลายไทย-ลายกนก-(ลาย)กนกไทย คำว่า กนก เขียนเป็น กระหนก ก็ได้
 
มีบางคนบางพวกคลุ้มคลั่งมากเกินเหตุ เลยทึกทักว่าลายกนกไทยเป็นงาน สร้างสรรค์ของไทยโดย “ช่างไทย” แท้ๆ งดงามอ่อนช้อยกว่าใครในโลก
 
แต่ ไม่จริง—ไม่จริง—และไม่จริง
 
ลายกนก-ลายกระหนก-ลายไทย ได้ต้นแบบจาก “ครู” แขกชมพูทวีป หรือแขกอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ ราวหลัง พ.ศ.๘๐๐-๑๒๐๐ (มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือกระหนกในดินแดนไทย โดย ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๗ หน้า ๒๒)
 
ลายกระหนกอินเดียแพร่หลายมากับศาสนาทั้งพราหมณ์และพุทธ สู่ดินแดนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์คราวเดียวกัน ไม่ต้องไปหลงทางหาตรงไหนก่อน-หลัง เสียเวลาเปล่าๆ
 
เพราะมีต้นแบบพ่อแม่เดียวกัน คือลายกนกชมพูทวีปอินเดีย ในแง่ตัวลายจึงไม่มีอะไรต่างกัน เว้นเสียแต่พบอยู่ในเขตประเทศไหน? ก็สมมุติเรียกว่าลายของดินแดนนั้น
 
ถ้าอยู่ผิดที่ผิดทางก็บอกไม่ได้หรอกว่าลายใครเป็นลายใคร เพราะเป็นกระหนกเดียวกัน เช่น เอาลายไทยไปวางในเขมร, เอาลายเขมรไปวางในลาว, เอาลายลาวไปวางในพม่า, เอาลายพม่าไปวางในมอญ, เอาลายมอญมาวางในไทย ฯลฯ
 
จะต่างกันก็แต่ “ลายมือ” เพราะแม้คนกลุ่มเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเขียนลายก็ได้ลายต่างกันในรายละเอียด
 
ลายดั้งเดิม ก่อนรับกระหนกอินเดีย
ก่อนรับกระหนกจากอินเดีย ช่างเขียนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์วาดรูปลวดลายธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (หรือเบสิค) อย่างแข็งแรงแล้ว
 
มีหลักฐานเป็นลายเส้นบนหน้าผา, ผนังถ้ำ, โขดหิน, ฯลฯ เป็นภาพเขียนดึกดำบรรพ์ มีอายุเก่าแก่มากกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบทั่วไปในดินแดนไทยตั้งแต่ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, ภาคกลาง, ภาคใต้ แล้วพบกระจายอยู่ในดินแดนเพื่อนบ้านโดยรอบด้วย
 
ทุกแห่งที่พบล้วนเป็นภาพเขียนศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวข้องกับระบบความเชื่อในศาสนาผีพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ แล้วสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนและชุมชนยุคนั้น บริเวณนั้น ตั้งแต่ก่อนรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ และก่อนรับลายกระหนกจากอินเดีย
 
บริเวณโดยรอบของหน้าผา, ถ้ำ, โขดหิน, ฯลฯ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (เทียบเท่าโบสถ์, วิหารสมัยหลัง) ใช้ทำพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เช่น ขอฝน, ฯลฯ
 
คนเขียนลายเส้นเป็นรูปต่างๆ เหล่านั้น เช่น คน, สัตว์, ฯลฯ ได้รับยกย่องเป็นบุคคลพิเศษ (ที่ยุคต่อไปจะเรียกว่าช่าง) มีอำนาจระดับหมอผี หมายถึงผู้มีวิชามากกว่าคนอื่นในท้องถิ่นชุมชนนั้น
 
ทั้งหมดล้วนเป็นหลักฐานมั่นคง ว่าคนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งของสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว มีประสบการณ์ชำนาญและความสามารถระดับสูงแล้วในทางวาดรูป เขียนภาพ ทั้งเหมือนจริงและเหนือจริงเป็นเส้นสัญลักษณ์ ยุคก่อนรับลายกระหนกจากอินเดีย
 
งานช่างอื่นๆ ก็ไม่ต่างจากงานช่างเขียน ไม่ว่าช่างฟ้อน ช่างขับ รวมถึงช่างดีดสีตีเป่า ซึ่งรู้จักทั่วไปทุกวันนี้ว่างานดนตรีและนาฏศิลป์ ล้วนมีรากเหง้าร่วมกันมาแต่ยุค ดึกดำบรรพ์


ลายเส้นคัดลอกทั้งหมดนี้ จากหนังสือ “กระหนกในดินแดนไทย”
โดย ศ. ดร. สันติ เล็กสุขุม



กระหนก สลักหิน ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ราวหลัง พ.ศ.๘๐๐


กระหนก สลักหิน ศิลปะจาม ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐


กระหนก ปูนปั้น ศิลปะทวารวดี
ถ้ำฝาโถ เขางู จ.ราชบุรี ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐


กระหนก สลักหิน ศิลปะชวา ราวหลัง พ.ศ.๑๔๐๐


กระหนก สลักหิน ศิลปะเขมรแบบบาปวน ปราสาทหลังกลาง
ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐


กระหนก ปูนปั้น ศิลปะพม่าเมืองพุกาม
(ลายคล้ายกระหนกประดับศิขรของวิหารแบบพุกาม) ราวหลัง พ.ศ.๑๖๐๐


กระหนก ปูนปั้น ศิลปะอยุธยา หน้าบันหน้าต่างอุโบสถวัดมเหยงคณ์
พระนครศรีอยุธยา พระเจ้าท้ายสระบูรณะ พ.ศ.๒๒๕๔


กระหนกสามตัวหางหงส์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ จาก “สมุดตำราลายไทย”
ที่พระเทวาภินิมมิต เรียบเรียงขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๖


ลายไทยบนธนบัตรชนิดราคา ๑๐ บาท
ออกใช้วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๓

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๕) ลายกนก" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ น.๘๓ ฉบับที่ ๑๘๒๘ ประจำวันที่ ๒๘ ส.ค.-๓ ก.ย.๕๘


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน อิสลาม

คนอาเซียนในอุษาคเนย์ รับศาสนาอิสลามตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.๑๗๐๐
 
นับแต่นี้ไปในอุษาคเนย์จะเริ่มแตกต่างทางความเชื่อ แล้วมีพัฒนาการต่างกันไปทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม
 
อิสลามถึงอุษาคเนย์
ศาสนาอิสลามเข้าถึงอุษาคเนย์ มีรายละเอียดในบทความวิชาการเรื่อง สังเขปประวัติศาสตร์มลายูปัตตานี ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ในหนังสือมลายูศึกษา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๕๐ หน้า๓๓-๓๗) จะคัดมาโดยสรุป ต่อไปนี้
 
ก่อนหน้าที่จะหันมานับถือศาสนาอิสลาม คนอุษาคเนย์ดินแดนมลายูและหมู่เกาะ นับถือศาสนาพื้นเมืองมาก่อน แม้ว่าจะฉาบหน้าด้วยศาสนาฮินดู-พุทธอันเป็นศาสนาของราชสำนักและชนชั้นสูง
 
พ่อค้าชาวอาหรับ-เปอร์เซียผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามหรือมุสลิมเดินทางเข้ามาสู่รัฐมลายูตั้งแต่หลัง พ.ศ.๑๑๐๐

ต่อมาหลัง พ.ศ.๑๕๐๐ ได้พบหินสลักหลุมศพภาษาอาหรับในไทรบุรี หลุมศพมุสลิมนี้อาจเป็นชาวมลายูหรือพ่อค้าอาหรับ-เปอร์เซียก็ได้
 
ครั้นหลัง พ.ศ.๑๗๐๐ ก็มีหลักฐานการเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามของรัฐชายฝั่งเป็นแห่งแรกที่สุมาตรา (เมืองปะไซ หรือสมุทระ = สุมาตรา) อันเป็นรัฐมลายู
 
ในศตวรรษต่อมามะละกา (รัฐมลายู) ซึ่งเริ่มเจริญรุ่งเรืองทางการค้าก็เปลี่ยนเป็นอิสลาม จากนั้นศาสนาอิสลามก็แพร่หลายไปทั่วคาบสมุทรและหมู่เกาะต่างๆ (ที่เป็นอินโดนีเซียปัจจุบัน) จนถึงหลัง พ.ศ.๒๒๐๐ ก็ยังขยายต่อไปในภูมิภาคนี้

 

[จากหนังสือ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม ๑ ดี.จี.อี. ฮอลล์ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ)
มูลนิธิโครงการตำราฯ พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ.๒๕๔๙ หน้า ๒๑๐]


มาจากอินเดีย
ผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลามในระยะแรกน่าจะได้รับอิทธิพลของนิกายซูฟีซึ่งแพร่เข้ามาในอินเดียก่อน
 
แม้ตำราคำสอนของอิสลามที่ผลิตในอุษาคเนย์ระยะแรกๆ ก็มองเห็นอิทธิพลของซูฟีได้ชัดเจน
 
รวมทั้งประเพณีบางอย่างของมุสลิมในภูมิภาคนี้ก็เป็นประเพณีที่แพร่หลายในหมู่ผู้ปฏิบัติของซูฟี
 
 มาจากจีน
ศาสนาอิสลามที่แพร่เข้าสู่ปัตตานี ไม่ได้แพร่มาจากมะละกาดังที่กล่าวไว้ใน Sejarah Melayu (ประวัติศาสตร์มลายู อันเป็นตำนานของมะละกา)
 
แต่แพร่ลงมาจากจีน (เช่นเดียวกับจามปา) ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างจากมะละกา
 
อิสลาม ศาสนามวลชน
• ศาสนาอิสลามเป็น “ศาสนามวลชน” (เช่นเดียวกับพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์) นั่นก็คือต้องอาศัยความศรัทธาของประชาชนผู้นับถือจึงสามารถดำรงอยู่ได้
• กระแสความเชื่อที่ค่อนข้างมั่นคงในบรรดาชาวพุทธและชาวมุสลิมที่เหมือนกันคือความเชื่อในศาสนาพื้นเมือง
 
แม้ว่าศาสนาใหม่ซึ่งเข้ามาสู่ดินแดนแถบนี้พร้อมกันช่วงประมาณหลัง พ.ศ.๑๗๐๐ จะเป็น “ศาสนามวลชน” ซึ่งกระทบต่อววิถีชีวิตของประชาชนมากกว่าเดิม ศาสนาพื้นเมืองก็มิได้ถูกละทิ้งไปโดยสิ้นเชิง แต่กลับแฝงตัวกลมกลืนอยู่ในศาสนาใหม่อย่างแยกออกจากกันไม่ได้
 
๓. ผู้สอนศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ศาสนาใหม่ในหมู่ประชาชนทั่วไปก่อน และมีชุมชนมุสลิมเกิดขึ้นแล้วก่อนที่กษัตริย์ของรัฐมลายูจะยอมเปลี่ยนศาสนา
  


http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2015/09/culture3818-09-58-4.jpg
วัฒนธรรมร่วมอาเซียน

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๘) อิสลาม " โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ น.๘๓ ฉบับที่ ๑๘๒๘ ประจำวันที่ ๑๘-๒๔ ก.ย.๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ประเพณี ๑๒ เดือน

ประเพณี ๑๒ เดือน
ลอยกระทง มีครั้งแรก สมัย ร.๓
 
ลอยกระทงที่ทำสืบเนื่องถึงทุกวันนี้ เป็นประเพณีสร้างใหม่สมัย ร.๓ ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
 
แล้วสร้างคำอธิบายใหม่โดยอ้างอิงย้อนหลังถึงยุคสุโขทัย ๓ เรื่อง ดังนี้
๑. นางนพมาศ ริเริ่มประดิษฐ์กระทงทำจากใบตอง (กล้วย) ก่อนหน้านั้นไม่มี
๒. พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงลอยกระทงครั้งแรก ก่อนหน้านั้นไม่มี
๓. ลอยกระทง เนื่องในศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยัง นัมมทานที
 
แต่หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีไม่สนับสนุนคำอธิบายทั้ง ๓ เรื่องนั้น [รายละเอียดมีในหนังสือ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทง สมัยสุโขทัย (สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ) สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๓๐] จะสรุปมาดังนี้
 
๑. นางนพมาศเป็นหนังสือมีนิยายแต่งใหม่สมัย ร.๓ เป็นคู่มือลูกสาวผู้ดีที่ถวายตัวเข้ารับราชการในวัง เป็นสนมนางบำเรอ
๒. ลอยกระทง สมัยกรุงเทพฯ สืบจากลอยโคมในน้ำไหลสมัยอยุธยา ซึ่งมีพัฒนาการจากพิธีกรรมขอขมาน้ำและดินยุคดึกดำบรรพ์
๓. ลอยกระทง มีรากเหง้าเนื่องในศาสนาผี
 
ขอขมาธรรมชาติในศาสนาผี
ลอยกระทงเป็นประเพณีประจำฤดูกาลสืบเนื่องจากพิธีกรรมในศาสนาผี เพื่อขอขมาเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน (ก็คือขอขมาธรรมชาติ) ปีละครั้ง
 
เหตุที่ต้องขอขมาก็เพราะคนเราได้ล่วงเกินและดื่มกินข้าวปลาอาหารเลี้ยงชีวิตตลอดปีจากน้ำและดิน
 
เจ้าแม่ คือ ผีน้ำ ผีดิน ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน บางทีเรียกว่าผีเชื้อ แต่คนบางกลุ่มออกเสียงเป็นผีเสื้อ (คำว่าเชื้อ ออกเสียงเป็น เสื้อ)
 
มีร่องรอยอยู่ในคำสอนของพวกไทดำ (ในเวียดนาม) ว่า “กินข้าวอย่าลืมเสื้อนา กินปลาอย่าลืมเสือน้ำ”
 
“กินข้าว อย่าลืมเสื้อนา” หมายความว่าเมื่อกินข้าวอย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในท้องนา ซึ่งปลูกข้าวเติบโตออกรวงมีเมล็ดให้คนกิน
 
“กินปลา อย่าลืมเสื้อน้ำ” หมายความว่าเมื่อกินปลาก็อย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำ

 

พิธีกรรมขอขมาธรรมชาติ เจ้าแม่ของน้ำและดิน เป็นแบบแผนศักดิ์สิทธิ์
มีในราชสำนักกัมพูชา ตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๑๗๕๐ หรือก่อนยุคสุโขทัย
ลายเส้นจำลองจากภาพสลักที่ปราสาทบายน (ฝีมือ ธัชชัย ยอดพิชัย)

กัมพูชามีนานแล้ว
พิธีกรรมขอขมาธรรมชาติในศาสนาผี มีในราชสำนักกัมพูชามาก่อนนานแล้ว ก่อนยุคสุโขทัย
 
หลักฐานอยู่ในภาพสลักปราสาทบายน ราว พ.ศ.๑๗๕๐ เป็นรูปเจ้านาย, ขุนนาง, และนางใน ฯลฯ ลงเรือทำพิธีกรรมขอขมา มีภาชนะอย่างหนึ่งคล้ายกระทงบรรจุเครื่องเซ่น
 
ฤดูกาล
ลอยกระทง เป็นประเพณีคาบเกี่ยวระหว่างเดือน ๑๒ (สิ้นฤดูกาลเก่า) กับเดือนอ้าย (ขึ้นฤดูกาลใหม่)
 
ดังนั้น ลอยกระทงจะว่าเป็นประเพณีสิ้นฤดูกาลเก่าก็ได้ หรือจะว่าขึ้นฤดูกาลใหม่ก็ได้ เพราะเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ ฯลฯ) ในช่วงเวลานี้
 
จะเทียบว่าปีเก่า, ปีใหม่ ก็ได้ แต่ไม่ควรยึดถือจริงจังว่าปีเก่า, ปีใหม่ เพราะเป็นคำในวัฒนธรรมสังคมสมัยใหม่ตามแบบแผนตะวันตก ซึ่งไม่มีในสังคมตะวันออกยุคก่อนๆ
 
ฤดูกาลเก่ากับฤดูกาลใหม่ ไม่แบ่งเป็นเส้นตรงตายตัวเหมือนขีดด้วยไม้บรรทัด
 
แต่เป็นที่รับรู้จากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของน้ำ ตั้งแต่เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง ต่อเนื่องถึงเดือนอ้าย เดือนยี่ (เดือนที่หนึ่ง เดือนที่สอง) ดังมีกลอนเพลงของชาวบ้านดั้งเดิมร้องเล่นทั่วไปว่า
เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง     เดือนสิบสองน้ำทรง
เดือนอ้ายเดือนยี่         น้ำก็รี่ไหลลง

 

ภาพสลักขอขมาธรรมชาติ บนผนังระเบียงด้านนอก
บริเวณมุมผนังด้านทิศใต้มุมตะวันออกของปราสาทบายน
(ถ่ายภาพโดย วรรณิภา สุเนต์ตา)


สมุดไทยดำเรื่องนางนพมาศ ฉบับเจ้าพระยารัตนบดินทร์ มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ
ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ รับสั่งว่าเป็นลายพระหัตถ์ ร.๓


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๘) ลอยกระทง มีครั้งแรก สมัย ร.๓" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  ประจำวันที่ ๙-๑๕ ก.ย.๕๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ธันวาคม 2558 15:06:26 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2558 16:25:05 »

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน มหากาพย์

มหากาพย์
มหากาพย์ ๒ เรื่องจากอินเดีย คือ รามายณะกับมหาภารตะ แพร่หลายถึงอุษาคเนย์พร้อมการค้าและศาสนา

บางรัฐรับทั้งรามายณะและมหาภารตะ เช่น รัฐในอินโดนีเซีย, รัฐในกัมพูชา

แต่รัฐในไทยเลือกเฉพาะรามายณะ โดยรับผ่านรัฐกัมพูชา แล้วเรียกรามเกียรติ์



ขอมกัมพูชาสลักภาพรามายะณะ (รามเกียรติ์) บนปราสาทหิน ก่อนไทยสยามมีโขนเล่นรามเกียรติ์นับร้อยปี
(ซ้าย) รามายณะเป็นตอนๆ บนภาพสลักบนปราสาทบาปวน ในกัมพูชา ราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐
(ขวา) ทศกัณฐ์โยกเขาไกาลาส มีหน้ากากต่างๆ เป็นต้นแบบหน้ากากโขนสมัยหลังๆ
บนภาพสลักที่หน้าบันปราสาทบันทายสรี ในกัมพูชา ราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐

อินเดียใต้ถึงอุษาคเนย์
พ่อค้าอินเดียถึงไหน รามายณะกับมหาภารตะก็ถึงที่นั่น

อาเซียนโบราณรับมหากาพย์ ๒ เรื่อง จากพ่อค้าและนักบวชจากอินเดียภาคใต้ (ไทยเรียก ทมิฬ) โดยแพร่หลายไปกับการค้าทางทะเลเลียบชายฝั่ง และข้ามอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย

รามายณะที่เรียกรามเกียรติ์ในไทยและเพื่อนบ้าน จึงเป็นฉบับอินเดียใต้ ไม่ใช่ฉบับวาลมิกิโดยตรง

รามเกียรติ์
รามายณะเป็นการละเล่นในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ แรกมีเก่าสุด (เท่าที่พบหลักฐานขณะนี้) ในราชสำนักรัฐกัมพูชา ที่โตนเลสาบ (ทะเลสาบ) เมืองเสียมเรียบ เรียก ละโคนพระกรุณา

ต่อจากนั้น ราชสำนักกัมพูชาส่งแบบแผนการละเล่นรามายณะ ให้ราชสำนักขอม อโยธยา-ละโว้ (ยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา) ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

ราชสำนักไทยกรุงศรีอยุธยาสืบจากราชสำนักขอม อโยธยา-ละโว้ ก็สืบทอดการละเล่นรามายณะแบบขอมไว้ด้วย แต่ปรับเปลี่ยนเรียกรามายณะด้วยคำใหม่ว่ารามเกียรติ์ แล้วเรียกการละเล่นอย่างนี้ตามคำเขมรว่าละโขนละคอน ปัจจุบันคือ โขน, ละคร

เล่นหนังก่อนโขน
มีผู้รู้ประวัติศาสตร์ศิลป์อุษาคเนย์ อธิบายว่ารามายณะเล่นเป็นหนังก่อนอย่างอื่น [ชวาเรียกวาหยัง, เขมรเรียกแสฺบก (อ่านคล้าย สะ-แบก)]

แล้วหนังเป็นต้นแบบให้สลักภาพบนเทวสถาน เช่น ปราสาทหิน

พบภาพสลักเล่าเรื่องรามายณะเก่าสุดบนเทวาลัยปรัมบะนัม ในเกาะชวา สร้างหลัง พ.ศ.๑๔๐๐
 
โขนจากขอมกัมพูชา
ราชสำนักขอมกัมพูชา นับถือศาสนาพราหมณ์ มีการละเล่นแสฺบกธม (หนังใหญ่) เรื่องรามายณะ เป็นต้นแบบให้สลักภาพรามายณะบนปราสาทหิน ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐

และสลักภาพกวนเกษียรสมุทรบนปราสาทนครวัด ราวหลัง พ.ศ.๑๖๐๐ (ยังไม่มีกลุ่มชนเรียกตัวเองว่าคนไทย) เหล่านี้เป็นต้นแบบโขนสมัยหลัง



โขนปัจจุบันของกรมศิลปากร เล่นผสมละคร ตกทอดจากโขนและละครยุคอยุธยา
[ภาพจากหนังสือลักษณะไทย ศิลปะการแสดง เล่ม ๓ จัดพิมพ์โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พ.ศ.๒๕๕๑]

พิธีกวนเกษียรสมุทรของราชสำนักขอมกัมพูชา เป็นต้นแบบให้ราชสำนักไทยสยามอยุธยา ที่นับถือศาสนาผี-พราหมณ์-พุทธ มีการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งจะมีพัฒนาการเป็นโขนต่อไป

(ดึกดำบรรพ์ มีผู้รู้ภาษาเขมรบอกว่าเพี้ยนจากคำเขมรว่า ตึ๊ก แปลว่า น้ำ และ ตะบัล แปลว่า กวน หรือตำ รวมความแล้วหมายถึง กวนน้ำ หรือกวนเกษียรสมุทร)

ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา โขนเป็นเครื่องราชูปโภค หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวเท่านั้นที่จะทรงมีคณะโขนได้

คนเล่นโขนต้องเป็นผู้ดีมีเชื้อสายอยู่ในราชสำนัก เช่น มหาดเล็ก, ตำรวจ, ฯลฯ

โขนยุคแรกๆ เป็นการละเล่นกลางสนาม เล่นยกรบ มีแต่พากย์และเจรจา (ไม่มีร้อง) ในพิธีกรรมสำคัญที่สุดของราชอาณาจักร เช่น พระราชพิธีอินทราภิเษก ในรัชกาลหนึ่งอาจเล่นครั้งเดียวเท่านั้น และไม่เล่นเป็นมหรสพให้สามัญชนคนดูทั่วไปเหมือนปัจจุบัน

ละครเรื่องรามเกียรติ์เล่นทั้งกลางแจ้งและในโรง มีทั้งพากย์, เจรจา, และร้อง

 
ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" (๓๓) มหากาพย์ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  ประจำวันที่ ๑๔-๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ลอยกระทง มีครั้งแรก สมัย ร.๓

ลอยกระทงที่ทำสืบเนื่องถึงทุกวันนี้ เป็นประเพณีสร้างใหม่สมัย ร.๓ ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

แล้วสร้างคำอธิบายใหม่โดยอ้างอิงย้อนหลังถึงยุคสุโขทัย ๓ เรื่อง ดังนี้
๑.นางนพมาศ ริเริ่มประดิษฐ์กระทงทำจากใบตอง (กล้วย) ก่อนหน้านั้นไม่มี
๒.พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงลอยกระทงครั้งแรก ก่อนหน้านั้นไม่มี
๓.ลอยกระทง เนื่องในศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยัง นัมมทานที

แต่หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีไม่สนับสนุนคำอธิบายทั้ง ๓ เรื่องนั้น [รายละเอียดมีในหนังสือ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทง สมัยสุโขทัย (สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ) สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๓๐] จะสรุปมาดังนี้
๑.นางนพมาศเป็นหนังสือมีนิยายแต่งใหม่สมัย ร.๓ เป็นคู่มือลูกสาวผู้ดีที่ถวายตัวเข้ารับราชการในวัง เป็นสนมนางบำเรอ
๒.ลอยกระทง สมัยกรุงเทพฯ สืบจากลอยโคมในน้ำไหล สมัยอยุธยา ซึ่งมีพัฒนาการจากพิธีกรรมขอขมาน้ำและดิน ยุคดึกดำบรรพ์
๓.ลอยกระทง มีรากเหง้าเนื่องในศาสนาผี

ขอขมาธรรมชาติในศาสนาผี
ลอยกระทง เป็นประเพณีประจำฤดูกาลสืบเนื่องจากพิธีกรรมในศาสนาผี เพื่อขอขมาเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน (ก็คือขอขมาธรรมชาติ) ปีละครั้ง

เหตุที่ต้องขอขมาก็เพราะคนเราได้ล่วงเกินและดื่มกินข้าวปลาอาหารเลี้ยงชีวิตตลอดปีจากน้ำและดิน

เจ้าแม่ คือ ผีน้ำ ผีดิน ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน บางทีเรียกว่าผีเชื้อ แต่คนบางกลุ่มออกเสียงเป็นผีเสื้อ (คำว่าเชื้อ ออกเสียงเป็น เสื้อ)

มีร่องรอยอยู่ในคำสอนของพวกไทดำ (ในเวียดนาม) ว่า “กินข้าวอย่าลืมเสื้อนา กินปลาอย่าลืมเสือน้ำ”

“กินข้าว อย่าลืมเสื้อนา” หมายความว่าเมื่อกินข้าวอย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในท้องนา ซึ่งปลูกข้าวเติบโตออกรวงมีเมล็ดให้คนกิน

“กินปลา อย่าลืมเสื้อน้ำ” หมายความว่าเมื่อกินปลาก็อย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำ
 
กัมพูชามีนานแล้ว
พิธีกรรมขอขมาธรรมชาติในศาสนาผี มีในราชสำนักกัมพูชามาก่อนนานแล้ว ก่อนยุคสุโขทัย

หลักฐานอยู่ในภาพสลักปราสาทบายน ราว พ.ศ.๑๗๕๐ เป็นรูปเจ้านาย, ขุนนาง, และนางใน ฯลฯ ลงเรือทำพิธีกรรมขอขมา มีภาชนะอย่างหนึ่งคล้ายกระทงบรรจุเครื่องเซ่น

ฤดูกาล
ลอยกระทง เป็นประเพณีคาบเกี่ยวระหว่างเดือน ๑๒ (สิ้นฤดูกาลเก่า) กับเดือนอ้าย (ขึ้นฤดูกาลใหม่)

ดังนั้น ลอยกระทงจะว่าเป็นประเพณีสิ้นฤดูกาลเก่าก็ได้ หรือจะว่าขึ้นฤดูกาลใหม่ก็ได้ เพราะเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ ฯลฯ) ในช่วงเวลานี้

จะเทียบว่าปีเก่า, ปีใหม่ ก็ได้ แต่ไม่ควรยึดถือจริงจังว่าปีเก่า, ปีใหม่ เพราะเป็นคำในวัฒนธรรมสังคมสมัยใหม่ตามแบบแผนตะวันตก ซึ่งไม่มีในสังคมตะวันออกยุคก่อนๆ

ฤดูกาลเก่ากับฤดูกาลใหม่ ไม่แบ่งเป็นเส้นตรงตายตัวเหมือนขีดด้วยไม้บรรทัด

แต่เป็นที่รับรู้จากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของน้ำ ตั้งแต่เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง ต่อเนื่องถึงเดือนอ้าย เดือนยี่ (เดือนที่หนึ่ง เดือนที่สอง) ดังมีกลอนเพลงของชาวบ้านดั้งเดิมร้องเล่นทั่วไปว่า
     เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง     เดือนสิบสองน้ำทรง
     เดือนอ้ายเดือนยี่        น้ำก็รี่ไหลลง



พิธีกรรมขอขมาธรรมชาติ เจ้าแม่ของน้ำและดิน เป็นแบบแผนศักดิ์สิทธิ์
มีในราชสำนักกัมพูชา ตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๑๗๕๐ หรือก่อนยุคสุโขทัย
ลายเส้นจำลองจากภาพสลักที่ปราสาทบายน (ฝีมือ ธัชชัย ยอดพิชัย)


ภาพสลักขอขมาธรรมชาติ บนผนังระเบียงด้านนอก บริเวณมุมผนังด้านทิศใต้
มุมตะวันออกของปราสาทบายน (ถ่ายภาพโดย วรรณิภา สุเนต์ตา)


สมุดไทยดำเรื่องนางนพมาศ ฉบับเจ้าพระยารัตนบดินทร์ มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ
ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ รับสั่งว่าเป็นลายพระหัตถ์ ร.๓

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" ลอยกระทง มีครั้งแรก สมัย ร.๓ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  ประจำวันที่ ๘-๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เดือนอ้าย ขึ้นฤดูกาลใหม่ (ขึ้นปีใหม่สุวรรณภูมิ)

เดือนอ้าย ราวหลังกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นช่วงขึ้นฤดูกาลใหม่ เทียบปัจจุบันคือขึ้นปีใหม่ของชุมชนดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์

[สงกรานต์ อยู่ในเดือนห้าทางจันทรคติ เป็นช่วงเปลี่ยนราศีตามปฏิทินสุริยคติ จากราศีมีนสู่ราศีเมษ (ถือเป็นมหาสงกรานต์) เทียบสากลเป็นขึ้นปีใหม่ของอินเดีย แต่ไทยและเพื่อนบ้านรับสงกรานต์จากอินเดีย แล้วต่างเหมาเป็นขึ้นปีใหม่ของตน]

เดือนอ้าย
เดือนอ้าย แปลว่า เดือนที่หนึ่ง หรือเดือนแรกของ ๑๒ เดือน (ใน ๑ ปี) ตามปฏิทินจันทรคติ

หมายถึงเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ เริ่มปีนักษัตรใหม่ ตั้งแต่ลอยกระทง เดือน ๑๒ (เมื่อเทียบปฏิทินสากลทางสุริยคติ จะอยู่ราวหลังกลางเดือนพฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเดือนธันวาคม)

ปีนักษัตร ได้แก่ ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ ฯลฯ มีรูปประจำปีเป็นสัตว์ต่างๆ เช่น ชวด หนู, ฉลู วัว, ขาล เสือ, เถาะ กระต่าย ฯลฯ

เป็นวัฒนธรรมจากตะวันออกกลาง (ไม่มีในอินเดีย) เช่น อิหร่าน (เปอร์เซีย) ผ่านไปทางจีน เข้าสู่อุษาคเนย์ ถึงไทย

อ้าย
อ้าย ในภาษาไทยแปลว่าหนึ่ง เป็นคำเรียกลำดับและนับจำนวนที่เป็นเพศชาย

ในภาษาไทยมีใช้ต่างกันเมื่อเรียกลูกสาวกับลูกชาย เรียงลำดับลูกสาวว่า เอื้อย อี่ อ่าม ไอ อัว อก เอก แอก เอา อัง ฯลฯ ลูกชายว่า อ้าย ญี่ สาม ไส งัว ลก เจด แปด เจ้า จ๋ง ฯลฯ

[คำว่า อ้าย แผลงเป็น ไอ้ เช่น ไอ้เบิ้ม, ไอ้ห่า ฯลฯ คำว่า อี่ แผลงเป็น อี เช่น อีบัว, อีดอกทอง ฯลฯ]

เดือน
เป็นคำเรียกดวงจันทร์ ที่ทำให้มีน้ำขึ้น-น้ำลง หล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร

ดวงจันทร์เห็นได้ชัดตอนกลางคืน เรียกว่าค่ำ มีความเปลี่ยนแปลงเรียกเดือนขึ้น (หรือข้างขึ้น) สลับกับเดือนแรม (หรือข้างแรม) รวมกันได้ราว ๓๐ วันบางครั้ง ๓๑ วัน คนเราเลยยอมรับเรียกชื่อเวลาทั้งหมดว่าเดือนหนึ่ง หรือหนึ่งเดือน
คำว่าเดือนจึงหมายถึงระยะเวลา ๓๐-๓๑ วันตามจันทรคติ (แปลว่า คติที่มีดวงจันทร์เป็นแกนกลาง)

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ครั้งหนึ่งประมาณ ๓๖๕ วัน แบ่งเป็น ๑๒ เดือน

คนแต่ก่อนไม่เรียกปี แต่เรียกเข้า (ที่ปัจจุบันเสียงเป็นข้าว) ตามการเพาะปลูกทางกสิกรรม ทำนาปลูกข้าวแล้วได้ข้าวปีละครั้ง



ช่วงเดือนอ้าย ในทุ่งนาลุ่มน้ำเจ้าพระยา สมัย ร.๕
เม็ดข้าวเริ่มสุกเหลืองเต็มรวงรอเวลาเก็บเกี่ยว (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ภาคเหนือเร็วกว่าภาคกลาง
เดือนอ้ายของล้านนาอยู่ทางเหนือ เริ่มก่อนภาคกลาง ๒ เดือน (ขณะนั้นภาคกลางยังเป็นเดือน ๑๑)

เมื่อภาคกลางถึงเดือน ๑๒ มีลอยกระทง แต่ทางภาคเหนือเป็นเดือนยี่ (เดือน ๒) แล้ว จึงเรียกคืนวันเพ็ญลอยกระทงว่ายี่เป็ง (เป็ง คือ เพ็ญ)

เหตุที่ภาคเหนือเรียกประเพณีลอยกระทงว่ายี่เป็ง ก็เพราะรับพิธีลอยกระทงขึ้นไปจากภาคกลาง (ที่มีในกลางเดือน ๑๒) เลยต้องปรับกำหนดให้ตรงกับภาคกลางด้วย

แต่ขณะนั้นภาคเหนือเป็นเดือนยี่แล้ว จึงเรียกลอยกระทงว่ายี่เป็ง หมายถึง เพ็ญเดือนสอง (ไม่ใช่เพ็ญเดือนสิบสอง)

พอภาคกลางเริ่มปีใหม่เดือนอ้าย ทางภาคเหนือก็เข้าเดือนสามแล้ว

มีเหตุจากประเทศไทยมีพื้นที่เป็นรูปยาวตั้งแต่เหนือลงใต้ ทำให้แต่ละพื้นที่รับมรสุมไม่พร้อมกันจากมหาสมุทร

ภาคเหนือรับมรสุมก่อนภาคกลางและภาคใต้ ฝนจึงตกทางภาคเหนือแล้วเริ่มฤดูทำนาก่อนภาคกลางและภาคใต้

เป็นเหตุให้ข้าวทางภาคเหนือออกรวงสุกเต็มที่ ต้องเก็บเกี่ยวก่อนภาคกลางและภาคใต้ โดยเฉลี่ยราว ๖๐ วัน หรือ ๒ เดือน
 
 
ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" เดือนอ้าย ขึ้นฤดูกาลใหม่ (ขึ้นปีใหม่สุวรรณภูมิ)  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๑๖-๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน วิงวอนเจ้าแม่ ให้น้ำลด เดือนอ้าย

เพื่อบันดาลให้น้ำลดลงเร็วๆ ชาวนาต้องมีพิธีอ้อนวอนวิงวอนร้องขอต่อเจ้าแม่ผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ (หมายถึงผีที่สิงอยู่ในน้ำและดิน) เช่น ไหลเรือ (หรือส่วงเฮือ), ชักว่าวขอลม ฯลฯ อาจมีอย่างอื่นอีก แต่ยังไม่พบหลักฐาน หรือร่องรอยพิธีกรรม

เหตุเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล หลังน้ำขึ้นสูงสุดช่วงพระจันทร์วันเพ็ญ กลางเดือน ๑๒ (เฉลี่ยราวกลางพฤศจิกายน) พูดอีกอย่างก็ได้ว่าสิ้นสุดปีนักษัตรเก่า ขึ้นปีนักษัตรใหม่ เรียกเดือนอ้าย (เดือน ๑)

นับแต่นี้ไป ข้าวเต็มรวงในนามีเมล็ดข้าวค่อยๆ แก่เต็มที่จนสุกเต็มรวง พร้อมให้เก็บเกี่ยว

ขณะนั้นระดับน้ำสูงมากในท้องที่ภาคกลาง น้ำต้องค่อยๆลดลงจนแห้งหายจากท้องนา เพื่อชาวนาเข้าเก็บเกี่ยวข้าวในนา

ถ้าน้ำไม่ลด หรือลดช้า ชาวนาเข้าเก็บเกี่ยวไม่ได้ เมื่อปล่อยจมน้ำไว้นานข้าวก็เน่าน้ำ อาจไม่มีข้าวกินในปีนั้น
 
ไหลเรือ
ไหลเรือ คำลาวเรียก ส่วงเฮือ หมายถึงแข่งเรือเพื่อเบิกทางผลักดันให้น้ำไหลลดเร็วๆ ของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำโขง

ส่วง แปลว่า แข่ง เช่น แข่งเรือ, หลีกไป, หลบไป เช่น ไล่สัตว์ป่าให้หลีกหรือหลบไปทางใดทางหนึ่ง [สรุปจาก สารานุกรมภาษาอีสานฯ โดย ปรีชา พิณทอง พ.ศ.๒๕๓๒ หน้า ๗๕๔]
 
ไล่เรือ
ไล่เรือของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีความหมายอย่างเดียวกับไล่น้ำ เป็นพิธีกรรมอย่างเดียวกับไหลเรือ หรือส่วงเฮือ ทางลุ่มน้ำโขง

น่าเชื่อว่าไหลเป็นคำทางลุ่มน้ำโขง เมื่อเคลื่อนลงไปลุ่มน้ำเจ้าพระยาเรียกว่า ไล่

ยุคต้นอยุธยาราวเรือน พ.ศ.๒๐๐๐ มีในกฎมณเฑียรบาลว่า พระราชพิธีไล่เรือ แล้วมีในโคลงทวาทศมาสว่า ไล่ชล แปลว่า ไล่น้ำ

พระราชพิธี
พระราชาของบ้านเมืองต่างๆ บนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ ต้องทำพิธีกรรมตามประเพณี ๑๒ เดือน ของราษฎร

ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจของราษฎรในการทำมาหากิน ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ว่าอยู่รอดปลอดภัยจากการกระทำของผี ผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ

พิธีกรรมประจำเดือนในรอบปีที่พระราชาทำขึ้นนี้ มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า พระราชพิธี ๑๒ เดือน ปรับปรุงจากประเพณี ๑๒ เดือนของราษฎร โดยเพิ่มพิธีพราหมณ์กับพุทธเคลือบไว้ ไม่ขัดกับผี

ถ้าพระราชาละเว้นไม่ทำตามประเพณี ย่อมมีอันเป็นไป ไม่สงบสุข แล้วมักเกิดปัญหาเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในราชสำนัก

พิธีไล่เรือ ทำที่บางขดาน
พิธีไล่เรือทำที่ตำบลบางขดาน มีบอกไว้ในโคลงทวาทศมาส

บางขดาน มีเอกสารเก่าระบุว่าอยู่ใต้ขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์ (บ้านขนอนหลวง ต. ขนอนหลวง อ. บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา)
เพราะบริเวณนี้เป็น “ดินสะดือ” (ในกำสรวลสมุทรเขียนว่า “จากมามาแกล่ใกล้ บางขดาน”, “ขดานราบคือขดานดือ ดอกไม้”) หมายถึงมีน้ำวนเป็นเกลียวลึกลงไป ถือเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำ เป็นทางลงบาดาลของนาค

ต้องทำพิธีกรรมเห่กล่อมอ้อนวอนวิงวอนร้องขอต่อผี คือนาคที่บันดาลให้มีน้ำ โปรดรับน้ำคืนลงบาดาล จะได้น้ำลดเร็วๆ

 

พิธีไหลเรือ หรือส่วงเฮือในแม่น้ำโขง ลายเส้นฝีมือช่างในคณะสำรวจชาวยุโรป
ที่เดินทางเข้ามาสำรวจแม่น้ำโขง ระหว่าง พ.ศ.๒๔๐๙-๒๔๑๑ เมื่อปลายแผ่นดิน ร.๔ ถึงต้นแผ่นดิน ร.๕
(ภาพจาก A Pictorial Journey on the Old Mekong Cambodia, Laos and Yunnan.
Louis Delaporte and Francis Garnier. White Lotus, 1998
.)

เห่เรือ
เห่เรือ ถ้าจะมีก็มีในพิธีไล่เรือตอนเห่กล่อมที่บางขดาน เพื่ออ้อนวอนวิงวอนร้องขอเจ้าแม่แห่งน้ำบันดาลให้น้ำลดเร็วๆ

พบร่องรอยในโคลงทวาทศมาสว่า “ดลฤดูสั่งล้ำ ไล่ชล” ที่ว่า“สั่งล้ำ ไล่ชล” มีนัยยะถึงสถานการณ์ดังกล่าวโดยตรง คือเห่กล่อมขณะเรือจอดอยู่กลางน้ำ ตรงบริเวณที่เรียกดินสะดือ ดังนี้
     ๏ ชลธีปละปลั่งค้าง  ทางสินธุ์
     นาเวศนาวาวาง     วาดน้ำ
     ตกบางขดานดิน    สดือแม่
     ดลฤดูสั่งล้ำ         ไล่ชล ฯ

เห่หมายถึงทำนองขับลำนำเพื่อวิงวอนร้องขอ หรือทำให้เพลินใจแล้วเคลิบเคลิ้มถึงหลับไปก็ได้

บางทีก็ใช้ควบคู่กับกล่อม เช่น เห่กล่อมพระบรรทมถวายเจ้านายเมื่อจะบรรทม

กล่อม หมายถึงร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจ เช่น กล่อมเด็ก คือร้องลำนำกล่อมให้เด็กเพลินจนนอนหลับ, กล่อมหอ ขับร้องหรือเล่นดนตรีบนเรือนหอเพื่อให้รื่นเริงในพิธีแต่งงาน ฯลฯ

[ในพิธีพราหมณ์สยาม มีพิธีกล่อมหงส์ เป็นทำนองอย่างหนึ่งเรียกช้าเจ้าหงส์ คือเอาเทวดาลงเปลแล้วไกวพร้อมกล่อมเจ้าหงส์ เป็นต้น]

ในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นอยุธยาไม่มีกล่าวถึงเห่เรือ

เห่เรือ ทุกวันนี้หมายถึงขับลำนำเป็นทำนองอย่างหนึ่งในกระบวนเรือพระราชพิธี พยุหยาตราทางชลมารค มีต้นเสียงเห่นำ แล้วมีลูกคู่เห่ตาม เป็นประเพณีที่เพิ่งสร้างใหม่ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

พบร่องรอยเก่าสุดโดยไม่ให้ความสำคัญนักเมื่อเทียบอย่างอื่นในพระราชพิธีลอยพระประทีป (ลอยกระทง) สมัย ร.๔ ว่า “เรือพระที่นั่งนั้นพายร้องเห่ล่องลงไปตามลำน้ำ” [พระราชพิธีเดือนสิบสอง ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕]

แต่ไม่มีบอก “ร้องเห่” ว่าร้องอะไร? อย่างไร?

จนสมัย ร.๕ จึงพบเห่เรือในงานสร้างสรรค์เพลงดนตรีและละครของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แล้วถือเป็นแบบแผนสืบเนื่องจนปัจจุบัน
 
ฟันน้ำ
ฟันน้ำเป็นพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จลงประทับเรือพระที่นั่งไปกลางแม่น้ำ แล้วทรงใช้พระแสงฟันลงไปในน้ำ (หวังให้น้ำขาดจากกัน) เพื่อให้น้ำลดโดยเร็ว

มีคำบอกเล่าลักษณะตำนานและนิทานจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่าพระนารายณ์ทรงมีบุญญาภินิหารและอิทธิฤทธิ์มาก “วันหนึ่งเสด็จทรงเรือพระที่นั่งเอกชัยในเวลาน้ำขึ้น รับสั่งว่าให้น้ำลด แล้วทรงพระแสงฟันลงไป น้ำก็ลดลงตามพระราชประสงค์”

สมเด็จพระนารายณ์ “เสด็จไปประกอบพระราชพิธีฟันน้ำเพื่อมิให้น้ำท่วมมากขึ้น” มีบอกไว้ในบันทึกของนิโคลาส แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส

พิธีกรรมฟันน้ำนี้มิได้แสดงความอ่อนน้อมวิงวอนร้องขอแต่เพียงด้านเดียว แต่ยังแฝงไว้ด้วยลักษณะ “แกมบังคับ” หรือ “บงการ” อย่างแข็งกร้าว

พิธีไม่ประจำ
พิธีไล่เรือ ไล่น้ำ และฟันน้ำ มิได้ทำทุกปี และมิได้มีกำหนดเวลาแน่นอน หากขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และความตกลงของชุมชนว่าพร้อมจะมีเมื่อไร?

ถ้าปีไหนน้ำไม่ท่วมนานก็ไม่ต้องทำพิธี ต่อปีไหนมีน้ำมากเกินไปแล้วท่วมนานจึงทำ เรียกว่าเป็นพิธีจร เพราะไม่ได้ทำประจำ

แต่ปัจจุบันทำประจำเพื่อรายได้จากการท่องเที่ยว

 
ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" วิงวอนเจ้าแม่ ให้น้ำลด เดือนอ้าย  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๒๓-๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ประเพณี ๑๒ เดือนนาฏกรรมแห่งรัฐ

พระราชาไม่มีอำนาจจริง จึงต้องอ้างอิงพิธีกรรมตามประเพณี ๑๒ เดือนของประชาชน ที่คนทั้งหลายในชุมชนท้องถิ่นทำมาก่อนแล้วนับพันๆ ปี กับรับแบบแผนจากต่างประเทศมาประสมประสานให้ดูศักดิ์สิทธิ์ขึ้น แล้วเรียกพระราชพิธี ๑๒ เดือน

ในพิธีกรรม พระราชาต้องแสดงพระองค์เป็นแถน หรือเทพผู้มีอำนาจบงการ เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม (ทางการเมืองภายใน)

ขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามก็คอยจับผิดแล้วขยายผลความผิดพลาด เช่น ฟ้าฝนไม่ตกต้องฤดูกาล เพราะพระราชาประพฤติปฏิบัติผิดจารีตผิดทำนองคลองธรรม
 
รัฐนาฏกรรม
รัฐนาฏกรรม (หรือรัฐละคร) มีพระราชาและเจ้านายเป็นผู้สร้างและผู้แสดง โดยมีนักบวช เช่น พราหมณ์, พระสงฆ์ เป็นผู้กำกับ ส่วนราษฎรเป็นตัวประกอบและผู้ดู

พิธีกรรมเหล่านี้ต้องลงทุนสูงอันเป็นหน้าที่ของรัฐต้องจัดให้ยิ่งใหญ่ แสดงว่าอำนาจรับใช้นาฏกรรมที่โอ่อ่า ไม่ใช่นาฏกรรมโอ่อ่ารับใช้อำนาจ

[สรุปและดัดแปลงจากหนังสือ วัฒนธรรมคือความหมาย ทฤษฎี และวิธีการของ คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ โดย อคิน รพีพัฒน์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๕๑ หน้า ๑๘๘]



กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค และเรือพระราชพิธีสมัยสมเด็จพระนารายณ์
[ลายเส้นฝีมือชาวยุโรป พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑)]


กระบวนพยุหยาตราพระกฐินทางสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์
สมุดภาพริ้วกระบวนฯ ฉบับนี้ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
ให้ช่างคัดจำลองภาพเขียนที่ผนังอุโบสถวัดยม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐
วัดยม อยุธยา เป็นวัดเก่าแก่สมัยสมเด็จพระนารายณ์
ภาพต้นฉบับที่ฝาผนังอุโบสถวัดยมเลือนหายไปมาก จึงคัดลอกมาได้เพียงบางส่วน
โดยไม่อาจประมวลภาพรวมทั้งหมดของริ้วกระบวน
(ภาพจาก “กระบวนพยุหยาตรา : ประวัติและพระราชพิธี” กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ.๒๕๔๓)

นาฏกรรมคืออำนาจ
นาฏกรรมเข้ามาแทนที่อำนาจที่เป็นจริง นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบาย (มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ ๑-๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ หน้า ๓๐) จะสรุปย่อมาดังต่อไปนี้

พระราชาของรัฐโบราณในอุษาคเนย์ ไม่มีอำนาจมากล้นจริงจัง เพราะข้าราชบริพารที่ปฏิบัติราชการตามพระราชโองการ มักเป็นลูกท่านหลานเธอ หรือผู้มาจากตระกูลที่มีอำนาจในตัวเองที่พระราชาต้องประนีประนอมด้วย

ดังนั้น ระบบราชการจึงเป็นหอกข้างแคร่ของพระราชาเสมอ ไม่มีก็ไม่ได้ เมื่อมีก็ต้องระวังตัวทุกฝีก้าว

สรุปว่า พระราชาไม่มีเครื่องมือแห่งอำนาจของรัฐอย่างที่จะทำให้พระองค์มีอำนาจจริงๆ สักอย่าง

อำนาจจึงต้องตั้งอยู่บนการแสดง หรือเป็นอำนาจเชิงสัญลักษณ์

หนึ่งในการแสดงที่สำคัญคือพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งรัฐต้องทำให้ได้ชมกันเป็นประจำเกือบทุกเดือน (ดังมีในกฎมณเฑียรบาล)

ขบวนแห่ เป็นสิ่งหนึ่งที่แทบจะขาดไม่ได้ในพระราชพิธีต่างๆ

ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถวัดพระแก้ว คือภาพขบวนเสด็จพยุหยาตราทางชลมารคและสถลมารค เหมือนหนึ่งเป็นตำรา (แปลว่าที่ “ตรา” เอาไว้) สำหรับเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องตลอดไป

ขบวนแห่เป็น “ละคร” หรือนาฏกรรมที่ให้สารสำคัญบางอย่าง จึงต้องเคร่งครัดกับแบบธรรมเนียม สารที่ว่านั้นมีดังต่อไปนี้
๑.ความมั่งคั่งหรูหราอุดมสมบูรณ์ เพราะทุกคนแต่ง “เต็มยศ” แม้แต่ไพร่เลวที่ถูกเกณฑ์เข้าขบวนก็ยังสวมเสื้อสีต่างๆ อันเป็นหน้าที่ของคลังศุภรัตน์ต้องจัดหาให้
๒.สถานภาพอันสูงสุดของพระราชา หรือบุคคลที่พระราชามอบหมายให้ทำหน้าที่แทน หรือพระโกศ พระราชยานที่ประทับตั้งอยู่กึ่งกลางขบวนค่อนไปข้างหน้า แวดล้อมด้วยไพร่พลหน้าหลัง มีเครื่องยศนับตั้งแต่บังสูรย์และอื่นๆ ล้อมหน้าหลัง
๓.การแสดงช่วงชั้นทางสังคม ขุนน้ำขุนนางหรือแม้แต่พระบรมวงศานุวงศ์ จะเดินในขบวนแห่ตรงไหน ใกล้ไกลจากพระราชาเท่าไร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่คิดเอาเอง หรือแทรกลงไปในที่ว่างตามใจชอบ แต่ต้องจัดขึ้นให้ตรงกับสถานภาพที่แท้จริงของแต่ละคน

สารของ “ละคร” ตรงนี้ ช่วยตอกย้ำระเบียบทางสังคมของรัฐโบราณเหล่านี้ คือความไม่เสมอภาคเป็นระเบียบที่ขาดไม่ได้ในสังคมที่สงบสุข

อาจท้วงว่าในเมืองไทยโบราณเขาห้ามประชาชนเงยหน้าขึ้นดูพระราชา ต้องหมอบก้มหน้าอยู่กับพื้นเท่านั้น “ละคร” จึงแสดงโดยไม่มีคนดู และไม่มีผลในทางสังคมและการเมืองอย่างไร

ประชาชนผู้หมอบก้มหน้าบนหนทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น เป็นฉาก “ละคร” ที่ขาดไม่ได้ของขบวนแห่ เมื่อพระราชยานที่ประทับผ่านไปแล้ว ก็ย่อมเงยหน้าขึ้นชมขบวนแห่ได้ และหลังรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่ได้ห้ามชมพระบารมีอีกแล้ว

สรุปก็คือนาฏกรรมเข้ามาแทนที่อำนาจที่เป็นจริง
 
 
ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" ประเพณี ๑๒ เดือนนาฏกรรมแห่งรัฐ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๑๓-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ธันวาคม 2558 16:30:00 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2558 16:26:45 »

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ประเพณี ๑๒ เดือน ทำขวัญลาน เดือนยี่ (เดือน ๒)

น้ำลดหมดแล้วเมื่อล่วงถึงเดือนยี่ (หรือเดือน ๒) ชาวนาลงแขกเกี่ยวข้าวได้สะดวก พร้อมนวดข้าวเอาเมล็ดมากะเทาะเปลือกแล้วหุงกินในชีวิตประจำวัน

ต้นข้าว มีลำต้นกับรวงเมล็ดข้าวสีเหลืองแก่หรือน้ำตาลแก่ ติดปลายรวงเป็นช่อยาวที่ต้องเกี่ยวหรือตัดไปนวด (หรือตี หรือฟาด) เอาเมล็ดข้าวออกจากรวง

เกี่ยวข้าว
เกี่ยวข้าวโดยทั่วไปใช้เคียวทำด้วยเหล็กตีให้บางด้านหนึ่งจนคมเป็นจักๆ มีปลายโค้งเข้าหากันรูปครึ่งวงกลม

ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วตั้งแต่โคนถึงปลายรวงเฉลี่ยยาวเกือบวา (ราว ๒ เมตร) รวมกันเป็นหอบใหญ่ แล้วถูกมัดโคนด้วยตอกไม้ไผ่ เรียกแต่ละมัดว่าฟ่อน (หรือฟ่อนข้าว) วางกระจายในนาไว้ก่อน รอขนไปนวด

เมื่อเกี่ยวข้าวหมดแล้ว ชาวนาขนฟ่อนข้าวไปวางรวมกันที่ลานดินแห่งหนึ่งที่เตรียมไว้เป็นวงกลมใกล้หมู่บ้าน หรืออาจในหมู่บ้านก็ได้ เรียกลานนวดข้าว

ลานนวดข้าว
ลานนวดข้าว มีขวัญสิงอยู่ตามความเชื่อในศาสนาผีของบรรพชนคนสุวรรณภูมิอุษาคเนย์ ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ก่อนใช้งานต้องมีพิธีทำขวัญ เรียกทำขวัญลาน หมายถึงทำขวัญลานนวดข้าว แต่ประเพณีลาวลุ่มน้ำโขง เรียกบุญคูนลาน

ขวัญ คือส่วนที่ไม่เป็นตัวตนของคน, สัตว์, สิ่งของ ซึ่งมีในความเชื่อตรงกันของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ ว่าคนเรามีส่วนประกอบสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือส่วนที่เป็นตัวตน ได้แก่ ร่างกาย  กับส่วนที่ไม่เป็นตัวตนได้แก่ ขวัญ

ขวัญมีหน่วยเดียว แต่ฝังกระจายอยู่ทั่วทุกแห่งหรือทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่เกิดมามากกว่า ๓๐ แห่ง เช่น ขวัญหัว ขวัญตา ขวัญมือ ขวัญแขน ขวัญขา ฯลฯ และมีความสำคัญมากเท่าๆ กับส่วนที่เป็นตัวตนหรือร่างกาย

ถ้าขวัญอยู่คู่กับร่างกาย เจ้าของขวัญจะมีความสุขสบาย แต่ถ้าขวัญออกจากร่างกายไป เจ้าของขวัญจะไม่เป็นปกติ อาจเจ็บไข้ได้ป่วยจนถึงตาย

สัตว์และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำมาหากินของคนล้วนมีขวัญทั้งนั้น เช่น ขวัญวัว ขวัญควาย ขวัญเรือน ขวัญข้าว ขวัญเกวียน ขวัญลานนวดข้าว ขวัญยุ้ง ฯลฯ

พิธีทำขวัญ (หรือสู่ขวัญ หรือเรียกขวัญ) เป็นพิธีกรรมที่แสดงความผูกพันและความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติระหว่างบุคคลกับครอบครัว, บุคคลกับชุมชน, สิ่งของ, และสถานที่ในสังคมเกษตรกรรม

เมื่อรับศาสนาจากอินเดียแล้ว พิธีทำขวัญอย่างง่ายๆ ในท้องถิ่นก็ถูกปรับเปลี่ยนให้ซับซ้อนขึ้นโดยรับคติพราหมณ์กับพุทธเข้ามาประสมประสาน เช่น มีบายสีและแว่นเวียนเทียนเป็นเครื่องประกอบ และมีหมอขวัญเป็นผู้ชำนาญขับคำร้องขวัญ คือกล่าวเชิญทั้งผีฟ้าพญาแถนและทวยเทพยดามาปลอบขวัญ

บุญคูนลาน เป็นคำลาวลุ่มน้ำโขง หมายถึงลานที่มีเมล็ดข้าวเปลือกกองอยู่มาก (คูน มีความหมายเดียวกับ พูน แปลว่า ทำให้กองทับถมสูงขึ้น หรือพอกพูนขึ้น)

นวดข้าว
นวดข้าว หมายถึงทำให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง โดยไล่ควายขึ้นย่ำฟ่อนข้าว

แต่บางท้องที่ใช้ตีข้าว หรือฟาดข้าว โดยชาวนาหยิบต้นข้าวเป็นมัดตีฟาดกับขอบกระด้งใหญ่ให้เมล็ดข้าวหลุด

สงฟาง
เมื่อคะเนว่าเมล็ดข้าวหลุดจากรวงหมดแล้ว ชาวนาร่วมกันสงฟางให้เหลือแต่เมล็ดข้าวเปลือก

สงฟาง หมายถึงใช้ตะขอไม้ไผ่ เสมือนคันหลาวยาว เขี่ยฟางออกจากเมล็ดข้าว

สง แปลว่า หยิบหย่งๆ หรือเขย่าให้อีกสิ่งหนึ่งร่วงลง ฟาง แปลว่า ต้นข้าวแห้งที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว

[เพลงสงฟางของชาวบ้านแต่ก่อน ได้ชื่อจากชาวนาร่วมกันสงฟาง ไม่ได้เล่นเพลงไปสงฟางไป แต่เล่นตอนเสร็จงานสงฟางแล้ว]



(ซ้าย) ทำบุญคูนลาน คือทำขวัญลานนวดข้าว (ภาพเก่า)
(ขวา) ฟ่อนข้าววางตั้งเรียงเป็นวงกลม บนลานนวดข้าวที่ทำบุญทำขวัญแล้ว รอควายมานวด


(ซ้าย) ควายนวดข้าว (ภาพของโสมนิมิตต์ พ.ศ.๒๕๑๒)
(ขวา) สงฟางที่ควายนวดข้าวแล้ว (ภาพเก่า)
ภาพประกอบทั้งหมด ล้วนเป็นภาพเก่าในช่วงเวลาต่างๆ กัน
แต่จัดเก็บไม่เป็นระบบตั้งแต่แรก เลยจำไม่ได้ว่าภาพของใคร? ถ่ายเมื่อไร?
ล่าสุดใช้พิมพ์ประกอบหนังสือประเพณี ๑๒ เดือน สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๓๘

ชักกระดาน
เมื่อสงฟางออกหมดแล้ว จะมีเมล็ดข้าวตกกระจายเรี่ยรายปนเศษผงฟางข้าวเต็มลานนวดข้าว

ชาวนาต้องร่วมกันใช้ไม้กวาด (จากต้นมอน หรือต้นไม้กวาด) กวาดเมล็ดข้าวไปกองรวมกัน

แต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องเอาเชือก ๒ เส้น ผูกแผ่นกระดานเป็นสองสาย แล้วช่วยกันลากเอาข้าวเป็นกองพูนสูงขึ้นไป

[เพลงชักกกระดานของชาวบ้านแต่ก่อน ได้ชื่อจากชาวนาร่วมกันชักกระดานพูนข้าวเป็นกองสูงในลานนวดข้าว ไม่ได้เล่นเพลงขณะชักกระดาน แต่เล่นเมื่องานชักกระดานเสร็จสมบูรณ์แล้ว]

ยุ้งข้าว
เมื่อได้ข้าวเปลือกกองอยู่ลานนวดข้าว ต้องขนเก็บในยุ้งข้าว (บางแห่ง เรียก เยียข้าว, เล้าข้าว) หมายถึงเรือนเก็บข้าวเปลือกไว้กินตลอดปี

ยุ้งข้าวมีขวัญ ก่อนขนข้าวเปลือกขึ้นยุ้ง ต้องทำขวัญยุ้ง (เช่นเดียวกับทำขวัญลานนวดข้าว)

พระราชพิธีนวดข้าว
คำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าถึงนาฏกรรมแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ สรุปดังนี้
พระเจ้าแผ่นดินอยุธยา เสด็จออกไปนวดข้าวที่ทุ่งหันตรา (หานตรา) และอีกแห่งหนึ่งเรียกสารคู (ไม่ทราบที่ไหน?)

ได้ฟางข้าวจำนวนหนึ่งขนใส่เกวียน (รันแทะ) และใส่กระบะ (ล้อ) เข้าวัง เอาฟางประดิษฐ์เป็นฉัตรข้าวถวายพระทุกวัด แล้วมีการละเล่นมหรสพฉลองและให้ทาน
 

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" ประเพณี ๑๒ เดือน ทำขวัญลาน เดือนยี่ (เดือน ๒)  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๒๐-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เผาข้าว เดือนสาม พิธีส่งกลับแม่โพสพ

เผาข้าว เดือนสาม หรือบางกลุ่มเรียกพิธีส่งกลับแม่โพสพ เป็นประเพณีสืบเนื่องจากเดือน ๒ (เดือนยี่) เกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้ข้าวขนขึ้นยุ้งหมดแล้ว

[เดือนสาม (ทางจันทรคติ) อยู่ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมในปฏิทินสากล]

ต่อจากนี้ชาวบ้านมีข้าวใหม่ไว้หุงทำบุญเลี้ยงผี เลี้ยงพระ กับหุงกินเองตลอดปี ส่วนควายมีกองฟางขนาดมหึมาไว้เคี้ยวกิน

สิ่งที่เหลือตกค้างเต็มท้องนา คือ ตอ (ข้าว) หรือซัง (ข้าว) [หมายถึงต้นข้าวส่วนที่ติดกับดินเหลืออยู่ในนา หลังจากชาวนาเอาเคียวเกี่ยว (ตัด) ส่วนลำต้นกับรวงข้าวไปนวดแล้ว]

ตรงนี้เป็นสิ่งที่ชาวนาแต่ก่อนต้องจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือเป็นเรื่องสำคัญและศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เพราะหมายถึงความมั่นคงทางอาหารเลี้ยงชีวิตในอนาคต ว่าข้าวกล้าในปีเพาะปลูกต่อไปจะเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์มากน้อยอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการของปีนี้

ด้วยเหตุนี้เอง ร.๕ จึงทรงพระราชนิพนธ์ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน (เรื่องเดือนสาม) ว่า “พิธีเผาข้าวนี้เป็นการคู่กันกับพิธีจรดพระนังคัล”

เผาข้าว
การจัดการตอข้าวหรือซังข้าวเป็นพิธีกรรม เรียกเผาข้าว หมายถึงจุดไฟเผาตอหรือซังในนา พระเจ้าแผ่นดินในรัฐจารีตโบราณต้องเสด็จไปทำพิธี (หรือโปรดให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ไปแทนก็ได้)

กฎมณเฑียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยา เรียกเป็นพิธีพราหมณ์ว่า ธานยเทาะห์ (เป็นภาษาสันสกฤตว่า ธานฺย แปลว่าข้าว กับ เทาะห์ แปลว่าเผา) หมายถึงพิธีส่งแม่โพสพ (ซึ่งเป็นเทพีแห่งข้าว) กลับสู่ถิ่นเดิมหลังเสร็จสิ้นการช่วยเหลือมนุษย์ให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารแล้ว

ทวาทศมาสโคลงดั้น ยุคต้นกรุงศรีอยุธยาเรียก “ฤดูส่งพระไพสพราช” พิธีนี้ อ. ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยอธิบายไว้ (ในหนังสือ ทวาทศมาสโคลงดั้น พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๒ หน้า ๒๘๗-๒๘๘) ว่า

“ฤดูส่งพระไพ สพราช มาแม่” คือฤดูเสร็จการนวดข้าวและขนข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว จึงเริ่มด้วยแห่แม่ไพสพไปตามทาง ต่อจากนั้นเอาฟางข้าวไปเผา

พิธีเสี่ยงทาย
เผาข้าวเป็นพิธีเสี่ยงทายที่มีการละเล่น แล้วมีคำทำนายอนาคตของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในฤดูทำนาคราวต่อไป (ซึ่งจะเริ่มเดือน ๖ ในอีกสามเดือนข้างหน้า) มีในคำอธิบายของ ร.๕ ดังนี้

“พระจันทกุมารเป็นผู้ฉลองพระองค์ออกไปทำการพิธี ตั้งโรงพิธีที่ทุ่งนา เห็นจะเป็นทุ่งหันตราซึ่งเป็นทุ่งนาหลวง มีกระบวนแห่ออกไปเช่นแรกนา แล้วเอารวงข้าวมาทำเป็นฉัตรปักไว้หน้าโรงพิธี พระจันทกุมารนั่งที่โรงพิธี แล้วจึงเอาไฟจุดรวงข้าวที่เป็นฉัตรนั้นขึ้น

มีคนซึ่งแต่งตัวเสื้อสีเขียวพวกหนึ่ง เสื้อแดงพวกหนึ่ง สวมเทริดท่วงทีจะคล้ายๆ กับอินทร์พรหม หรือโอละพ่อ สมมติว่าเป็นพระอินทร์พวกหนึ่ง พระพรหมพวกหนึ่ง เข้ามาแย่งรวงข้าวกัน ข้างไหนแย่งได้มีคำทำนาย แต่คำทำนายนั้นก็คงจะ——ดีทั้งนั้น”
 
การละเล่นเผาข้าวเสี่ยงทาย
ในตำราพระราชพิธีเก่า บอกต่างไปว่ามีคนอีกพวกหนึ่ง แต่งตัวชุดดำขี่ควายบุกไปชิงเอาพนมข้าวไปเสีย ดังนี้

“ครั้นเดือนสาม พระราชพิธีธานยเทาะเผาข้าว ตั้งโรงราชพิธีดุจก่อน ให้เจ้าพนักงานแต่งที่ยาว ๓ เส้น กว้าง ๑๐ วา ให้ตั้งหลัก ๘ ทิศ

หลักกลางนั้นหลักหนึ่งให้เป็นสำคัญ เอาปลายไม้ลงทั้ง ๘ หลัก แล้วให้เจ้าพระยาแลพระยาพระหลวงขุนหมื่นเจ้าพนักงาน จับหลักตามทิศของตัวนั้น

ทิศบูรพาหลวงธรรมศาสตร ทิศอาคเนย์หลวงอัถยา ทิศทักษิณหลวงศรีสังกร ทิศหรดีหลวงเทพมุนี ทิศประจิมหลวงศรีเสาวภักดิ์ ทิศพายัพพระจักรปาณี ทิศอุดรพระศรีมโหสถ ทิศอิสานพระครูมเหธร

ให้ยืนตามทิศ ตามตำแหน่ง ถือพนมข้าวคนละอัน เป็น ๙ พนมด้วยทั้งกลาง เป็นพนักงานกรมนาทำส่ง

ครั้นได้เพลาฤกษ์ดีให้พระอินทรกุมารแต่งตัวโอ่โถง นุ่งสมปักใส่อินธนูเสนมกุฎ มีสัประทนกระชิงคานหาม แห่มายังโรงราชพิธี

จึงกรมพระนครบาลตั้งชุมรมพิธีอันหนึ่ง ใกล้โรงพิธี ๕ เส้น มีพวกเพื่อน ๗๐-๘๐ คน มีกระบือตัวหนึ่งใส่กระดึงแลพรวน มือถืออาวุธเปลือย แต่ขุนพลแต่งตัวนุ่งห่มเสื้อหมวกดำทั้งเครื่อง

ครั้นได้ฤกษ์ดีพระอินทรกุมารถือเอาพนมข้าวกับเทียนเล่มหนึ่งออกจากโลงพิธีมาทิศบูรพาก่อน แล้วพระหลวงขุนหมื่นทั้งปวงจับเอาพนมแลเทียนข้าวคนละอันๆ แห่มาเวียน ๓ รอบ จึงพระอินทรกุมารเอาเทียนจุดพนมเข้าก่อน พระหลวงขุนหมื่นทั้งปวงจึงจุดไฟพนมข้าว เข้าพร้อมกันทั้ง๘ ทิศ

แล้วขุนพลกับพวกเพื่อนจึงขี่กระบือโห่ร้องเข้ามาตีชิงเอาพนมข้าว ฝ่ายพระอินทรกุมารก็หนีเข้ามายังโรงราชพิธี ขุนพลกับพวกเพื่อนก็ต่างคนต่างไป”

เผาข้าว ของ เจ้าฟ้ากุ้ง
พระราชพิธีธานยเทาะห์เผาข้าว มีการละล่นสืบเนื่องมาจนถึงยุคปลายอยุธยา มีในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ว่า
     เดือนสามเคยตามพี่       ดูพิธีธานย์เทาะห์แสดง
     เผาเข้าเจ้างามแฝง        พงศ์พวกพ้องน้องเคยดู

     ๏ มาฆมาสอาจเปล่งถ้อย  เรียมแคลง
     ธานย์เทาะห์พิธีแสดง      บอกเบื้อง
     เผาเข้าเจ้าเคยแฝง        พงศ์พวก
     โนนาดยุรยาตรเยื้อง       ย่างน่าเอ็นดู

เผาข้าว ของ นางนพมาศ
พิธีเผาข้าวมีหลังพิธีนวดข้าวสงฟาง จึงนำเอาฟางข้าวไปเผารวมทั้งข้าวที่เสียหายเพราะเมล็ดลีบหรือถูกเพลี้ยด้วงแมลงลงด้วยเป็นการเผาทำลาย

ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยังมีพิธีเผาข้าวตามโบราณราชประเพณี ดังมีในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ (พระราชนิพนธ์ ร.๓) ที่ปรับปรุงจากตำราพระราชพิธีเก่า ได้ความว่า

เผาข้าวคือจุดเผาฟางและซังข้าว สมมุติเป็นเผาทุ่ง เผาป่า กำจัดเสนียดจัญไร มีความว่า “จึงเชิญพระเพลิงออกจุดเผาฟางและซังข้าว สมมุติว่าคลอกทุ่งเผาป่ากันอุปัทวจัญไร”

หลังทำพิธีเผาข้าวแล้วจะมีฝนตกลงมาอีกครั้ง ชาวบ้านเรียกกันว่าฝนชะลาน



เผาข้าวในท้องนาปัจจุบัน (ภาพจาก http://www.northpublicnews.net)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" เผาข้าว เดือนสาม พิธีส่งกลับแม่โพสพ  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน - ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน บุญข้าวหลาม เดือน ๓

        เดือน ๓ ชาวนาส่วนมากเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จแล้ว นวดข้าวแล้ว ได้ข้าวไว้กินทั้งปีแล้ว ขนข้าวเก็บขึ้นยุ้งหมดแล้ว
 
          ถือเป็นช่วงได้ข้าวใหม่ สิ่งแรกต้องทำคือหุงเลี้ยงผี (หลังรับศาสนาแล้ว เพิ่มเลี้ยงพระด้วย) โดยเฉพาะข้าวเหนียว ซึ่งเป็นข้าวไพร่ ได้แก่ข้าวที่สามัญชนคนชาวบ้านทั่วไปในสุวรรณภูมิใช้หุงหรือนึ่งกินในชีวิตประจำวัน (ส่วนคนชั้นสูงกินข้าวเจ้า)
 
          วิธีหุงยุคดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว น่าจะเป็นอย่างเดียวกับที่รู้จักทุกวันนี้ว่า หลาม เรียกกันว่า ข้าวหลาม ทำได้ทั้งจากข้าวเหนียวและข้าวเจ้า
 
หลาม
          ข้าวสารทำให้สุกด้วยการหลามในกระบอกไม้ไผ่ (เรียกบั้งข้าวหลาม) ส่วนมากใช้ข้าวเหนียวล้วนๆ ไม่ปรุงแต่งด้วยวัสดุอื่นใด เช่น กะทิ
 
          โดยตั้งกระบอกขึ้นเป็นแถวแล้วก่อไฟขนาบเผาล้อมรอบ แต่ต้องคอยหมุน หรือกลับกระบอกหลบไฟเผาไหม้ ขณะเดียวกันก็ให้โดนความร้อนรอบกระบอกจนข้าวสุก
 
          หลาม แปลว่า มากขึ้น, ขยายขึ้น หมายถึง ทำให้สุกในกระบอกไม้ไผ่ เช่น ข้าวหลาม, ปลาหลาม ฯลฯ

หุง, นึ่ง
          หุงข้าว หรือ นึ่งข้าว ต้องมีภาชนะดินเผา เรียกหม้อดิน หรือหม้อดินเผา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นจากภาชนะธรรมชาติ เช่น กะลา, กระบอกไม้ไผ่, เครื่องจักสาน
 
          [หุง, นึ่ง หมายถึง ข้าวสารเหนียวทำให้สุก ด้วยการหุง หรือนึ่งในภาชนะ]
 
          ในยุคแรกเริ่ม คนที่กินข้าวเหนียวด้วยวิธีหุงหรือนึ่ง เป็นคนชั้นสูงระดับหมอผีหัวหน้าเผ่าพันธุ์ เจ้าของเทคโนโลยี ส่วนคนทั่วไปกินข้าวหลามจากกระบอกไม้ไผ่




ภาชนะดินเผา (เก่าสุดแบบหนึ่ง) มีลายจักสานราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นต้นแบบหม้อดิน
ใช้หุงหรือนึ่งข้าว พบที่บ้านเชียง อ.หนองหาร จ.อุบลราชธานี


(ซ้าย) ข้าวหลามเมื่อเผาไฟสุกแล้ว
(ขวา) กรอกข้าวเหนียวใส่กระบอกไม้ไผ่ก่อนนำไปเผาเป็นข้าวหลาม

 
ข้าว
          ข้าวเหนียว หรือ ข้าวนึ่ง เป็นข้าวเมล็ดป้อม ตระกูลข้าวเก่าแก่ในไทยและสุวรรณภูมิในอาเซียน อาหารหลักของคนทุกชาติพันธุ์ในอาเซียนอุษาคเนย์
 
          เมื่อรับศาสนาจากอินเดียสมัยหลังๆ ข้าวเหนียวยังเป็นอาหารหลักของพระสงฆ์ ในวัดด้วย
 
          ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ พบแกลบข้าวเหนียว ผสมดินเหนียวในแผ่นอิฐสร้างเจดีย์แบบทวารวดีทั่วลุ่มน้ำเจ้าพระยา และที่อื่นๆ ทั่วประเทศ
 
          [ดูบทความเรื่อง แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจายของข้าวที่ปลูกในทวีปเอเชีย ของวาตาเบะ ทาดาโยะ แปลโดย สมศรี พิทยากร พิมพ์ในหนังสือ ญี่ปุ่น-ไทย-อุษาคเนย์ บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และฮายาโอะ ฟูกุย จัดพิมพ์โดยโครงการ Core University ธรรมศาสตร์-เกียวโต ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๔๑ หน้า ๗๕-๑๐๙]
 
          ราวหลัง พ.ศ.๑๘๐๐ พบเมล็ดข้าวเหนียวที่หุงหรือนึ่งแล้ว ปนอยู่ในดินบริเวณศาลาโถง (เนินปราสาท) หน้าวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่คนเอามาถวายพระสงฆ์เมื่อทำบุญเลี้ยงพระ
 
          ข้าวเจ้า หรือ ข้าวจ้าว เป็นข้าวเมล็ดเรียว พบพร้อมข้าวเมล็ดป้อมทั้งในไทยและอาเซียน แต่การแพร่กระจายและความต่อเนื่องต่างกัน
 
          เจ้า, จ้าว ในคำว่า ข้าวเจ้า, ข้าวจ้าว มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่สำคัญอยู่ในภาษาไทยอาหม และไทใหญ่ หมายถึง ร่วน, ซุย, ไม่เหนียว, หุง
 
          [จากหนังสือเทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ ของ ถาวร สิกขโกศล สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๕๗]
 
          มีคำบอกเล่าว่า ข้าวเจ้า เป็นคำกร่อนจากคำเรียกว่าข้าวเหลือเจ้า หมายถึงข้าว
 
          ที่เจ้านายเสวยก่อน แล้วเหลือไว้ให้พวกไพร่กินทีหลัง นานเข้าก็เรียก ข้าวเจ้า ส่วนข้าวที่เจ้าเสวย เพี้ยนเสียงเป็นข้าวสวย
  
บุญส่งฟืนใช้เผาข้าวหลามของชาวมอญ
          เดือนสามของชาวมอญในประเทศไทย มีประเพณีบุญส่งฟืน เรียก “จองโอะห์ต่าน”
 
          “จอง” แปลว่า เผา ส่วน “โอะห์” แปลว่า ฟืน “ต่าน” แปลว่า การบริจาคสิ่งที่ให้ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาบาลีว่า ทาน
 
          ประเพณีนี้ยังไม่มีชื่อแปลเป็นภาษาไทยได้ลงตัวตามต้องการ แต่ชาวบ้านหลายคนมักเรียกว่า บุญส่งฟืน หรือ บุญข้าวหลาม เพราะในงานบุญชาวบ้านมีส่งฟืนเผาข้าวหลาม ทำบุญเลี้ยงพระ




(ซ้าย) เผาข้าวหลาม โดยตั้งวางเรียกกระบอกข้าวหลามเป็นแถว
แล้วสุมไฟขนาบสองข้างจนกว่าข้าวเหนียวในกระบอกจะสุกทั่วกัน (ภาพจากห้องสมุดภาพมติชน)
(ขวา) บุญข้าวหลามเดือนสาม ยุคก่อนๆ ยังหนาวมากต้องอาศัยผิงไฟแก้หนาว
จากกองไฟเผาข้าวหลามในตอนเช้า ดังเห็นเด็กๆ ในภาพนี้ ที่ จ.กาฬสินธุ์
เมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๕๕ (ภาพจากห้องสมุดภาพมติชน)


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" บุญข้าวหลาม เดือน ๓  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๑๑-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มกราคม 2559 16:23:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2559 15:36:02 »

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เผาข้าว ในรัฐนาฏกรรม

เผาข้าว เดือน ๓ จำต้องทบทวนอธิบายใหม่ เพราะมีเงื่อนงำล้ำลึกมากทั้งในแง่ศาสนาผี และศาสนาพราหมณ์-พุทธ จนยากจะลงมติอธิบายความหมายไปทางใดทางหนึ่ง

ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์เป็นพิธีกรรมในศาสนาผี ครั้นรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ จากอินเดีย จึงปรับความเชื่อและพิธีกรรมให้เข้ากับศาสนาใหม่ที่รับมา
๑.ศาสนาผี เป็นพิธีขอขมาเจ้าแม่ข้าว ที่คนเอาเคียวเกี่ยวรวงออกจากต้นข้าว ซึ่งเท่ากับประหารด้วยการตัดขาดลำตัวของเจ้าแม่ พิธีขอขมามีเค้าว่าคือสู่ขวัญ
๒.ศาสนาพราหมณ์-พุทธ เป็นพิธีส่งแม่โพสพคืนสวรรค์ชั้นฟ้า หรือที่สถิตถิ่นเดิม โดยปลงด้วยไฟ หลังจุติลงมาบันดาลเม็ดข้าวเลี้ยงมนุษย์แล้ว

เผาข้าว ของรัฐนาฏกรรม
เผาข้าว เท่ากับเผาศพของเทพีแห่งข้าวตามคติพราหมณ์-พุทธ (ที่จดไว้ในเอกสารโบราณ คัดให้อ่านแล้วในฉบับก่อน) เช่น กฎมณเฑียรบาล, ทวาทศมาส โคลงดั้น, ตำราพระราชพิธีเก่า)
สรุปสาระสำคัญเป็นลำดับขั้นตอนพิธีกรรมได้ดังนี้
(๑) เผาข้าว เป็นพิธีกรรมทำกลางทุ่งนา (อยู่นอกกำแพงเมือง มีบอกในพระอัยการอาญาหลวง พ.ศ.๑๙๗๖ มาตรา ๑๓๐/๑)
(๒) เอารวงข้าวที่เกี่ยวแล้วมัดรวมกันเรียกพนมข้าว โดยสมมติเป็นฉัตร ปักหน้าโรงพิธี และใช้ในพิธีด้วย
(๓) มีคน ๒ พวก สมมติเป็นพวกพระอินทร์ กับพวกตรงข้ามพระอินทร์
(๔) หัวหน้าพิธีถือพนมข้าวกับเทียนเล่มหนึ่ง เดินนำขุนนางข้าราชการเวียนรอบโรงพิธี เสร็จแล้วเอาเทียนจุดไฟเผาพนมรวงข้าว
พนมข้าว เป็นสัญลักษณ์ของพระไพสพราช หมายถึง พระมารดาแห่งข้าว, เทพยดาประจำข้าว (ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ อธิบายไว้ในทวาทศมาส โคลงดั้น ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๒ หน้า ๒๘๔) ตรงกับ แม่โพสพ, เจ้าแม่ข้าว, เทพีข้าว
(๕) คนสองกลุ่ม แย่งพนมรวงข้าว แล้วมีคำทำนาย (ซึ่งจะเป็นไปทางดีเสมอ)

การละเล่นทั้งหมดไม่เป็นของราษฎร แต่เป็นของรัฐนาฏกรรมเพื่อประโยชน์ทางทางการเมืองการปกครองของยุคอยุธยาหรือก่อนหน้านั้น

พิธีเสี่ยงทาย
เผาข้าวเป็นพิธีเสี่ยงทายที่มีการละเล่น แล้วมีคำทำนายอนาคตของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในฤดูทำนาคราวต่อไป (ซึ่งจะเริ่มเดือน ๖ ในอีกสามเดือนข้างหน้า) มีในคำอธิบายของ ร.๕ ที่สอดคล้องกับตำราพระราชพิธีเก่า ดังนี้
“พระจันทกุมารเป็นผู้ฉลองพระองค์ออกไปทำการพิธี ตั้งโรงพิธีที่ทุ่งนา เห็นจะเป็นทุ่งหันตราซึ่งเป็นทุ่งนาหลวง มีกระบวนแห่ออกไปเช่นแรกนา แล้วเอารวงข้าวมาทำเป็นฉัตรปักไว้หน้าโรงพิธี พระจันทกุมารนั่งที่โรงพิธี แล้วจึงเอาไฟจุดรวงข้าวที่เป็นฉัตรนั้นขึ้น
มีคนซึ่งแต่งตัวเสื้อสีเขียวพวกหนึ่ง เสื้อแดงพวกหนึ่ง สวมเทริดท่วงทีจะคล้ายๆ กับอินทร์พรหม หรือโอละพ่อ สมมติว่าเป็นพระอินทร์พวกหนึ่ง พระพรหมพวกหนึ่ง เข้ามาแย่งรวงข้าวกัน ข้างไหนแย่งได้มีคำทำนาย แต่คำทำนายนั้นก็คงจะดีทั้งนั้น”

พิธีกรรม
เผาข้าว (เดือน ๓) มีในกฎมณเฑียรบาล (ยุคต้นอยุธยา) เรียกพิธี ธานยเทาะห์ (เป็นภาษาสันสกฤต ธานฺย แปลว่าข้าว กับ เทาะห์ แปลว่าเผา)

โดยไม่มีบอกรายละเอียดว่าเผาข้าวคืออะไร? ทำยังไง? หมายถึงอะไร? ฯลฯ

มีเบาะแสว่าเผาข้าว ตรงกับพิธีส่งแม่โพสพ (ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นเทพีข้าว หรือเจ้าแม่ข้าว) โดยไม่บอกว่าส่งแม่โพสพไปไหน? อยู่ในทวาทศมาส โคลงดั้น (ยุคต้นอยุธยา) เรียก “ฤดูส่งพระไพสพราช” อ. ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยอธิบายไว้ (ในหนังสือ ทวา ทศมาส โคลงดั้น พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๒ หน้า ๒๘๗-๒๘๘) ว่า “ฤดูส่งพระไพ สพราช มาแม่” คือฤดูเสร็จการนวดข้าวและขนข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว ต่อจากนั้นเอาฟางข้าวไปเผา

ทวาทศมาสพรรณนาว่ามีพิธีบวงสรวงพนมรวงข้าว มีผู้คนบ่าวสาวเข้าร่วมพิธีแห่ส่งแม่โพสพโดยจุดไฟเผา มีโคลงดังนี้
๏ อาจารย์รังเริ่มตั้ง พนมรวง แม่ฮา
ถวายสุคนธมาลา เรียบร้อย
รัถยาบ่าวสาวพวง พาลแพละ กันนา
ตามส่งไพสพคล้อย คลาดคลา ฯ
————————–
พลแพนร่อนรำฉวาง แหนแห่
เร่งรันลุงลาญไหม้ ผ่าวทรวง ฯ
————————
๏ เสร็จส่งไพสพสิ้น สารสุด
เพลิงฉี่ใบบัวบง เหี่ยวแห้ง
วาววางกระลาบุษย์ พนิกาศ
โอ้อุทรทรวงแล้ง ลั่นลิว ฯ

เผาข้าว ของ นางนพมาศ
ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยังรู้จักพิธีเผาข้าว ดังมีในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ (พระราชนิพนธ์ ร.๓) ที่อาจคัดลอกแล้วดัดแปลงจากตำราพระราชพิธีเก่า ได้ความว่า เผาข้าวคือจุดเผาฟางและซังข้าว สมมติเป็นเผาทุ่ง เผาป่า กำจัดเสนียดจัญไร

มีความในตำรับฯ ว่า “จึงเชิญพระเพลิงออกจุดเผาฟางและซังข้าว สมมุติว่าคลอกทุ่งเผาป่ากันอุปัทวจัญไร”
แสดงว่าได้ทิ้งความหมายเก่าไปแล้วว่าส่งแม่โพสพ
 


รวงข้าวคือแม่โพสพที่ถูกชาวนาเกี่ยวขาดจากลำต้น
(ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" เผาข้าว ในรัฐนาฏกรรม  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๑๘-๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน บุญเบิกฟ้า เดือน ๓ ฟ้าไขประตูฝน

บุญเบิกฟ้า (ในวัฒนธรรมลาวลุ่มน้ำโขง และอีสาน) หมายถึงงานต้นเดือน ๓ ทำบุญเลี้ยงพระกับเลี้ยงผี แล้ววิงวอนร้องขอต่อฟ้าเปิดประตูให้ฝนตกลงดิน เพื่อเข้าสู่ฤดูการผลิตใหม่

คนพวนเรียกประเพณีนี้ว่า บุญกำฟ้า เป็นช่วงเวลา “ฟ้าไขประตูฝน” (มีจารไว้ในใบลานหนังสือก้อม)

ช่วงเวลาต้นเดือน ๓ นี้ ในปฏิทินสากลราวกลางกุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน มีลมแปรปรวนทิศทางไม่แน่นอน ผู้คนยุคดึกดำบรรพ์ตกใจและหวาดกลัว ถือเป็นการกระทำของผีแถนผีฟ้า ต้องเซ่นวักเลี้ยงผีฟ้าผีแถนส่งผ่านหินก่ายฟ้า หรือหินตั้ง

งันเบิกฟ้า
บุญเบิกฟ้า กับ บุญกำฟ้า ยุคดั้งเดิมเริ่มแรกในศาสนาผี น่าจะเรียกด้วยคำลาวว่า งันเบิกฟ้า และงันกำฟ้า หมายถึงงานเลี้ยงผีบรรพชน เพื่อวิงวอนร้องขอต่อแถนเปิดประตูฟ้าให้ฝนตกลงดิน

งัน เป็นคำลาว แปลว่า ฉลอง, สมโภช, เอิกเกริก (ตรงกับภาษาภาคกลางว่า งาน) มีคำเทียบคือ งันเฮือนดี (ตรงกับ งานเรือนดี) หมายถึง งานศพ มีการละเล่นร้องรำทำเพลงต่างๆ อย่างสนุกสนานครึกครื้น

เฮือนดี (ภาคกลางว่า เรือนดี) หมายถึงเรือนที่มีคนตาย ต้องร่วมกันเรียกขวัญคืนร่างนั้นด้วยการละเล่นส่งเสียงดังๆ เพื่อให้ขวัญได้ยิน จะได้กลับถูกทาง แล้วคืนร่างเดิม

คำว่า บุญ ในชื่อบุญเบิกฟ้า, บุญกำฟ้า เป็นภาบาลี เพิ่งมีเติมเข้ามาหลังรับนับถือศาสนาพุทธ เพื่อโอนประเพณีเลี้ยงผีในศาสนาผี ให้เป็นเลี้ยงพระในศาสนาพุทธ

กำฟ้า, ก่ำฟ้า
ชาวพวนเรียก งัน (บุญ) เบิกฟ้า ว่า งัน (บุญ) กำฟ้า

กำ สะกดแบบไทย-ลาว หมายถึง ถือ, จับ, กุม แต่มักใช้เพราะเป็นคำพ้องเสียง เมื่อจะกล่าวถึงกรรมในภาษาบาลี หมายถึง บำเพ็ญ, กระทำ ดังนั้นเมื่ออยู่กับงัน (บุญ) กำฟ้า ย่อมมีปัญหา เพราะหาความหมายไม่ได้

กำฟ้า น่าจะกร่อนมาจาก ก่ำฟ้า หมายถึงฟ้าแดงก่ำครึ้มฟ้าครึ้มฝน ใกล้ฝนจะตก ซึ่งสอดคล้องกับงันเบิกฟ้าเพื่อขอฝน
ก่ำ แปลว่า เข้ม, จัด, จ้า (มักใช้กับสีแดง หรือทองที่สุก) หมายถึงสีเมฆที่ฝนกำลังจะตก

ก่ำฟ้า เป็นช่วงเวลาหมดฤดูหนาวขมุกขมัว เข้าฤดูร้อนสว่างฟ้า ตรงกับเบิกฟ้า
(วรรณกรรมเก่าเคยมีใช้ในโคลงนิราศนรินทร์ บทที่ ๔ บาท ๔ วรรคหลัง ว่า “ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์” หมายถึงแสงสีจากโคมแก้วสาดสุกใสสว่างฟ้าแดงจัดจนแสงจันทร์เลือนรางจางไป)

ช่วงนี้อยู่ราวกลางกุมภาพันธ์-มีนาคม (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) ชาวพวนเรียกวันฟ้าไขปักตู หมายถึงท้องฟ้าเปิดประตูน้ำฝน มีฝนตกฟ้าคะนอง คนภาคกลางเรียกหลายชื่อ เช่น ฝนชะช่อมะม่วง, ฝนชะลาน, ฝนหลงฤดู, ฝนหลงฟ้า ฯลฯ แล้วมีคำทำนายฟ้าฝนในฤดูทำนาที่จะมาถึงข้างหน้า

ทางภูมิศาสตร์เรื่องลมมรสุม เรียกระยะเวลานี้ว่า “ช่วงเปลี่ยนฤดู” ทำให้ลมแปรปรวน มีทิศทางไม่แน่นอน
ถือเป็นช่วงปลายลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เป็นฤดูหนาว ระหว่างกลางตุลาคม-กลางกุมภาพันธ์) รอเวลาจะเริ่มต้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เป็นฤดูฝน ระหว่างกลางพฤษภาคม-ปลายกันยายน)

ข้าวจี่
อาหารที่ใช้ทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ในบุญเบิกฟ้าและบุญกำฟ้า คือ ข้าวจี่ บางทีเรียก งานนี้ว่า บุญข้าวจี่

ข้าวจี่ ทำโดยหม่าข้าวเหนียว (หม่า คือ แช่ข้าวเหนียว) ไว้แต่หัวค่ำ ลุกขึ้นแต่ดึกนึ่งข้าวเหนียวปั้นให้มีขนาดใหญ่เท่าไข่เป็ด เสียบไม้ปิ้งไฟจนสุกเหลืองหอม ทาด้วยไข่แดง ใส่เกลือเล็กน้อย คือทาไปปิ้งไปให้ไข่เคลือบอยู่ที่ผิวส่งกลิ่นหอม
เมื่อสุกแล้วถอดไม้เสียบออก ใส่ไส้เข้าไปในรูไม้เสียบนั้นตามต้องการ

ก่อนถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ กวานบ้าน (หัวหน้าหมู่บ้าน) หรือมัคนายกวัดจะบอกกล่าวว่าจะถึงวันบุญกำฟ้า แล้วให้ชาวพวนเตรียมตำข้าว เก็บฟืนเก็บหลัว หาอาหารเตรียมไว้ทำบุญ  ไม่ให้ผู้ใดทำกิจการใดๆ ต้องหยุดเพื่อทำบุญ หากฝ่าฝืนเชื่อกันว่า “ขะลำ” หรืออาจจะมีอันเป็นไปแก่ตนเองและบุคคลในครอบครัว ดังพ่อเฒ่าชาวพวนเล่าว่า “เมื่อแต่ก่อนแต่กี้ ปู่ย่าตาทวดเฮาเพิ่นยึดมั่นถือมั่น เพิ่นบ่เฮ็ดเวียะเฮ็ดงานพิเลอทังมวล โผเมก็บ่แตะต้อง เหล็กฆ้องก็บ่ตี เพิ่นกำเพิ่นถือเหลือขนาด” (สมัยแต่ก่อนปู่ย่าตาทวดของเรา ท่านยึดมั่นถือมั่น ท่านไม่ทำงานทำการอะไรทั้งหมด ผัวเมียก็ไม่แตะต้องกัน ฆ้องกลองก็ไม่ตี ท่านยึดมั่นถือมั่นอย่างจริงจัง)

หินก่ายฟ้า
บุญเบิกฟ้า, บุญกำฟ้า ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว มีพิธีกรรมบริเวณศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเซ่นวักเลี้ยงผีฟ้าผีแถนส่งผ่านหินก่ายฟ้า หรือหินตั้ง เพื่อขอฟ้าเปิดประตูให้ฝนตกลงมาหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร

หินก่ายฟ้า คือแท่งหินหรือแผ่นหินวางซ้อนกัน บางทีเรียก หินตั้ง สมมุติว่าพาดจากดินถึงฟ้า ให้เชื่อมโยงคนบนดินกับแถนบนฟ้าไปมาหากัน โดยผ่านพิธีกรรมเซ่นวักฟ้าแถน (ก่าย แปลว่า ทอด, พาด)

[หินตั้ง เป็นสิ่งที่คนทำขึ้นในศาสนาผีอย่างน้อย ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว เรียกวัฒนธรรม หินตั้ง พบทั่วไปในอุษาคเนย์ หลังจากนั้นคนยังทำสืบเนื่องมา จนรับศาสนาจากอินเดียจึงปรับใช้ในศาสนาพุทธ-พราหมณ์]

หินก่ายฟ้า, หินตั้ง มีเค้ามูลในวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น ตำนานกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าปุง, นิทานเรื่องขุนบรม, ความโทเมืองของผู้ไทย, ฯลฯ



พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ตรุษเดือนสี่สิ้นปีเก่า
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม
จ.พระนครศรีอยุธยา


พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ตรุษเดือนสี่สิ้นปีเก่า
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
เขียนสมัย ร.๕  

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" บุญเบิกฟ้า เดือน ๓ ฟ้าไขประตูฝน  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๒๕-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน สิ้นปีเก่า เดือน ๔ พิธีพราหมณ์ พิธีพุทธ

พิธีสิ้นราศีเก่า (ปีเก่า) เรียกสัมพัจฉรฉินท์ ตรงกับเดือน ๔ ของไทยตามปฏิทินจันทรคติ (ราวมีนาคม-เมษายน)
เป็นช่วงเวลาเดียวกับราศีมีน ตามปฏิทินสุริยคติของพราหมณ์อินเดีย มีต่อเนื่องถึงราศีเมษ ขึ้นราศีใหม่ (ปีใหม่) เรียก สงกรานต์ ตรงกับจันทรคติเดือน ๕ (ราวเมษายน-พฤษภาคม)

พิธีพราหมณ์บูชาไฟ
สัมพัจฉรฉินท์มีพิธีพราหมณ์เป็นพิธีใหญ่ มีโหมกุณฑ์ (บูชาไฟ โดยใส่สิ่งของบูชาเข้ากองไฟ) ร.๕ ทรงอธิบายง่ายๆ ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ดังนี้
“ในหอราชพิธีนั้นมีเตียงสามเตียงตั้งลดเป็นลำดับลงมา ตามแบบที่ตั้งพระของพราหมณ์คล้ายกันทุกพิธี

ชั้นต้นตั้งพระอิศวร พระนารายณ์ พระมหาพิฆเนศวร และพระอิศวรทรงโค ซึ่งมีพระอุมาทรงอยู่ด้วย  เตาซึ่งสำหรับโหมกุณฑ์นั้น เป็นเตาทองแดง ตั้งในโรงพิธีนั้นด้วย แล้วมีหม้อกุมภ์ตั้ง ๙ ใบ หม้อกุมภ์นั้นหม้อข้าวเราไทยๆ นี้เอง การที่ทำน้ำมนต์ด้วยหม้อข้าวนี้ เป็นแบบมาจากอินดียแน่แท้ ข้างพราหมณ์ก็คือหม้อทองเหลืองซึ่งหุงข้าวและตักน้ำ

หม้อกุมภ์ทั้ง ๙ ใบนั้นตั้งอยู่กลางใบหนึ่ง รอบ ๘ ใบ ในหม้อกุมภ์นั้นมีเงินเฟื้องหนึ่งทุกๆ หม้อ พิธีที่ทำทุกวันนั้นมักจะทำกลางคืนดึกๆ ทุกพิธี (เว้นไว้แต่ที่เป็นการจำเป็นจะต้องทำกลางวัน) เริ่มทำพิธีอวิสูทธิ์อัตมสูทธิ์ชำระตัวตามแบบพิธีทั้งปวง และบูชา ๘ ทิศอ่านตำรับ เมื่อจบลงแล้วบูชาพระอิศวรแล้ว จึงได้บูชาเบญจคัพย์ เอาน้ำรินลงในถ้วย อ่านตำราบูชากลดสังข์ บูชากุมภ์แล้ว จึงได้เอาน้ำผสมกันกรอกในกลดในสังข์และในหม้อกุมภ์ทั้ง ๙ หม้อ ต่อนั้นก็ไปบูชากุมภ์ ใบไม้โหมกุณฑ์ที่เรียกว่าใบไม้สมมิทธิ มีในหมายรับสั่งมากอย่าง คือ ใบรัก ใบมะม่วง ใบตะขบ ใบยอ ใบขนุน ใบมะเดื่อ ใบเงิน ใบทอง ใบเฉียงพร้านางแอ ใบมะผู้ ใบระงับ ใบพันงู สิ่งละ ๕๐ ใบ มะกรูด ๑๕ ผล ส้มป่อย ๑๕ ฝัก

แต่ที่ได้ใช้โหมกุณฑ์อยู่เดี๋ยวนี้แต่สามอย่าง คือ ใบตะขบ ๙๖ ใบทอง ๓๒ ใบมะม่วง ๒๕  ที่เตากุณฑ์นั้นมีดินและมูลโครองในนั้น แล้วมีเต่าทองตัวหนึ่งหนักสองสลึงเฟื้อง สำหรับวางในกลางกองกุณฑ์  ฟืนที่สำหรับจะใช้โหมกูณฑ์นั้นใช้ไม้พุทรายาวดุ้นละ ๙ นิ้ว มัดละ ๙ ดุ้น วันละ ๒๐ มัด เมื่ออ่านเวทติดเพลิงถึงกำหนดแล้วก็เป็นเสร็จการพระราชพิธีส่วนวันนั้น”

ผลประโยชน์ของพราหมณ์
พราหมณ์ที่ทำหน้าที่ในเทวสถานย่อมได้ผลประโยชน์จากเครื่องบูชาที่มีคนเอามาถวายเทพเจ้า มีตัวอย่างการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ พราหมณ์ได้ประโยชน์จากสิ่งของถวายเทวดา ร.๕ อธิบายว่าได้แก่ “เต่าทองสำหรับโหมกุณฑ์หนักทองสองสลึงเฟื้อง เงินทักษิณบูชา ๖ บาท เงินหม้อกุมภ์หม้อละเฟื้อง เป็นเงินบาทเฟื้อง  ผ้าขาวห่อตำรับผืนหนึ่ง ผ้าพันหม้อกุมภ์ผืนหนึ่ง รองนพวรรคผืนหนึ่ง เบญจคัพย์ผืนหนึ่ง รองอาสนะพระผืนหนึ่ง รองอาสนะพราหมณ์ผืนหนึ่ง ผ้าโตรทวาร ๔ ผืน ผ้านุ่งผืนหนึ่ง ผ้าห่มผืนหนึ่ง  หม้อข้าวเชิงกรานสำหรับหุงข้าวบูชาเทวดา หม้อคะนนใหญ่สำหรับน้ำใช้หม้อหนึ่ง หม้อน้ำมนต์จุ ๑๒ ทะนานหม้อหนึ่ง  นมเนย ข้าวเปลือกกรองหม้อ ข้าวสารสำหรับหุงบูชาเทวดา มะพร้าวอ่อน  ส่วนเงินที่แบ่งปันกันในพราหมณ์ พระมหาราชครูได้กึ่งตำลึง พระครูอัษฎาจารย์ได้บาทเฟื้อง ปลัดสองคนๆ ละหนึ่งบาท ขุนหมื่นสี่คนๆ ละสองสลึง หมดเงินเจ็ดบาทเฟื้อง”

พิธีพุทธ
นอกจากพิธีพราหมณ์บูชาไฟแล้ว ยังมีพิธีพุทธทั้งฝั่งกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี ซึ่ง ร.๕ ทรงอธิบายว่าทำตามแบบอินเดียและลังกา ดังนี้  “การพระราชพิธีนี้มีโรงพิธีตั้ง ๘ ประตูเมือง และกลางพระนคร ๒ ตำบล อยู่ฝั่งตะวันออกนี้ทั้งสิ้น

โรงพิธีกลางเมืองฟากตะวันออกนี้ตั้งที่วัดสุทัศน์ซึ่งถือกันว่าเป็นกลางเมือง จึ่งได้ทำเทวสถานและปักเสาชิงช้าในที่นั้น
ประตูเมืองฝั่งตะวันออก ๔ ประตูนั้น ไม่ได้สวดที่ประตู เป็นแต่ชื่อประตูเมือง คงขึ้นสวดบนป้อมด้านเหนือป้อมพระสุเมรุ และฝั่งตะวันตกนั้นต้องปลูกโรง เพราะไม่มีที่อาศัย กำหนดให้ปลูกโรงกลางเมือง เวลาเย็นพระสงฆ์สวดมนต์ตั้งแต่วันแรม ๑๒ ค่ำ ๑๓ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ สวดอาฏานาฏิยสูตร คืนยังรุ่ง เมื่อสวดไปถึงกำหนดยิงปืนก็หยุดรอจนยิงปืนแล้วจึงได้สวดต่อไปเป็นระยะ”

เกร็ดความรู้ เก็บได้จากพิธีสัมพัจฉรฉินท์
ร.๕ ทรงแทรกเกร็ดความรู้เมื่อทรงอธิบายพิธีสัมพัจฉรฉินท์ มีดังนี้
ลพบุรี เมืองอกแตก คำที่ว่าพระนครในที่นี้ ไม่ได้กำหนดกำแพงที่กรุงตั้ง แต่ยกเมืองธนบุรีขึ้นเป็นกรุงเทพมหานคร ก่อกำแพงพระนครสองฟากน้ำ เอาแม่น้ำไว้กลาง อย่างเมืองพิษณุโลก โอฆบุรี

ต่อมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยกวังข้ามมาฝั่งตะวันออก ทรงพระราชดำริเห็นว่าการที่เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเป็นช่องกว้างใหญ่รักษายาก และต้องลัทธิเขากล่าวว่าเป็นเมืองอกแตกไม่ถาวรยืนยาว

วัดสุทัศน์ อยู่กลางเมือง
วัดสุทัศน์ ก็ว่าเป็นศูนย์กลางเมือง จึ่งได้สร้างวัดขึ้น แต่ที่จริงทำแผนที่อย่างใหม่นี้เห็นว่าไม่ตรงศูนย์กลางเมืองเลย การวัดเส้นเชือกและวางที่แต่ก่อนนี้ดูไม่มีตรงเลย จนที่สุดที่จะก่อสร้างขึ้นก็เบี้ยวๆ บูดๆ ทุกแห่ง เช่น โรงแสง และโรงม้า เป็นต้น  

แต่ที่วัดสุทัศน์นี้นับว่าเป็นกลางเมือง




แม่น้ำเจ้าพระยามี ๒ ฝั่ง คือตะวันออก-ตะวันตก ตั้งโรงพิธีพุทธ
มีพระสงฆ์สวดมนต์พิธีสัมพัจฉรฉินท์ สิ้นปีเก่า เดือน ๔
(ภาพวาดลายเส้นจากรูปถ่าย โดย เอ โบกูรต์ จากหนังสือ
บันทึกการเดินทาง ของ อองรี มูโอต์ แปลโดย กรรณิกา จรรย์แสง
สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๕๘ หน้า ๑๓)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" สิ้นปีเก่า เดือน ๔ พิธีพราหมณ์ พิธีพุทธ  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ประจำวันที่ ๑-๗ มกราคม ๒๕๕๙
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2559 19:46:39 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 มีนาคม 2559 20:23:18 »


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เดือน ๕ (เมษายน) ในประวัติศาสตร์อยุธยา, รัตนโกสินทร์

เมษายน ได้ชื่อจาก ราศีเมษ ในตำราโหราศาสตร์ของอินเดียโบราณ มี วันมหาสงกรานต์

แต่คนไทยโบราณในภาคกลาง เรียก เดือนห้า หมายถึงเดือนลำดับที่ ๕ ทางจันทรคติ (ทางล้านนานับเป็นเดือนเจ็ด)

มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างในประวัติศาสตร์ไทย อยู่ในความทรงจำของคน ว่าเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ช่วงสงกรานต์ ดังนี้

กรุงศรีอยุธยา ถูกกองทัพพม่าดีแตก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ ขณะนั้นถือเป็นช่วงสงกรานต์ เป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาต้องย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้อยู่ที่กรุงธนบุรี (กรุงเทพฯ ทุกวันนี้)

กรุงเทพฯ สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ บริเวณเดียวกันกับกรุงธนบุรี เพราะเกิดความขัดแย้งทางการเมือง แต่มีศูนย์กลางของอำนาจ คือ พระราชวังของกษัตริย์ ตั้งอยู่คนละฟากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านเมือง

กรุงธนบุรีมีวังอยู่ทางฝั่งตะวันตก ส่วนกรุงเทพฯ มีพระราชวังอยู่ฝั่งตะวันออก

เสียกรุงศรีอยุธยา ๒๓๑๐
เสียกรุง วันอังคาร ที่๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ (ตามปูมโหร วันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน นพศก)

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ว่าเป็นวันเนา ในปีนั้นเถลิงศกเป็นวันที่ ๑๒ เมษายน วันเนาจึงควรเป็นวันที่ ๑๑ เมษายน เห็นว่าจะพลาดไป เพราะจดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่ง ก็ว่าตรงกับวันที่ ๗ เมษายน ค.ศ.๑๗๖๗ จึงควรยุติลงได้

นับแต่วันสร้างกรุงมาจนถึงวันเสียกรุงศรีอยุธยา คือ ๔ มีนาคม ค.ศ.๑๓๕๑ (พ.ศ.๑๘๙๓) ถึง ๗ เมษายน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ.๒๓๑๐) จึงเป็น ๔๑๖ ปี กับ ๓๕ วัน

[วันเสียกรุง ๒๓๑๐ มีข้อทักท้วงถกเถียงหลายประเด็น อยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด รวมบทนิพนธ์ “เสาหลักทางวิชาการ” ของ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๔๙ หน้า ๑๑๑-๑๑๘]

กรุงแตก สงกรานต์
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พรรณนาเหตุการณ์กรุงแตก พ.ศ.๒๓๑๐ วันเนาสงกรานต์ ดังนี้

ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ ให้ปลูกหอรบเอาปืนใหญ่น้อยขึ้นยิงเข้ามาในกรุงทุกๆ ค่าย

ฝ่ายข้างในกรุงฯ ก็เกิดโจรผู้ร้ายปล้นกันเนืองๆ มิได้ขาด และคนที่อดอาหารซูบผอมป่วยไข้ล้มตายนั้นก็มาก ที่หนีออไปหาพม่านั้นก็เนืองๆ

ฝ่ายข้าราชการเจ้าหน้าที่ทั้งปวง จึงให้ชักเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งบนเชิงเทิน ยิงค่ายพม่าวัดการ้อง วัดนางปลื้ม และให้ลากเอาปืนปราบหงสาออกไปตั้งที่ท่าทราย ยิงค่ายวัดศรีโพธิ์ ยิงกระสุนแรกประจุดินน้อยต่ำไป ไปถูกตลิ่ง ครั้นประจุมากขึ้นกระสุนออกสูงข้ามเกินวัดศรีโพธิ์ไป และพม่าก่อป้อมสูงขึ้นที่ค่ายวัดนางปลื้ม เอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งยิงเข้ามาในกรุงถูกผู้คนเป็นอันมาก

ขณะนั้นเสนาบดีปรึกษากันกราบทูลพระกรุณาว่า จะขอให้ออกไปเจรจาความเมืองกับพม่า ก็โปรดให้กระทำตามคำปรึกษา——-

ลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก ถึง ณ วันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ วันเนาว์สงกรานต์ วันกลาง พม่าจุดเพลิงเผาฟืนเชื้อใต้รากกำแพงตรงหัวรอริมป้อมมหาไชย

และพม่าค่ายวัดการ้อง วัดนางปลื้ม และค่ายอื่นๆ ทุกค่าย จุดปืนใหญ่ปืนป้อมและหอรบยิงระดมเข้ามาในกรุงพร้อมกัน ตั้งแต่เพลาบ่ายสามโมงเศษจบพลบค่ำ

พอกำแพงที่จุดเชื้อฟืนเผารากนั้นทรุดลงหน่อยหนึ่ง ถึงเพลาสองทุ่มจึงให้จุดปืนสัญญาขึ้น พลพม่าทุกด้านทุกกองซึ่งเตรียมไว้ ก็เอาบันไดพาดที่กำแพงทรุด และที่อื่นๆ รอบพระนครพร้อมกัน ก็ปีนเข้ากรุงได้ในเพลานั้น

และจุดเพลิงขึ้นทุกตำบล เผาเหย้าเรือนอาวาสและพระราชวัง ทั้งปราสาทราชมนเทียร แสงเพลิงสว่างดังกลางวัน แล้วเที่ยวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ

ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๓๒๕
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา พรรณนาเหตุการณ์สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ใกล้วันสงกรานต์ ดังนี้

ฝ่ายพระยาสุริยอภัยผู้ครองนครราชสีมา ได้ทราบว่าแผ่นดินเป็นจลาจลมีคนขึ้นไปแจ้งเหตุ จึงออกไป ณ เมืองนครเสียมราบ แถลงการณ์แผ่นดินซึ่งเกิดยุคเข็ญนั้นแก่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกๆ จึงให้พระยาสุริยอภัยรีบยกกองทัพลงไปยังกรุงธนบุรีก่อน แล้วจะยกทัพใหญ่ตามลงไปภายหลัง

พระยาสุริยอภัยก็กลับมา ณ เมืองนครราชสีมา ให้พระอภัยสุริยาปลัดผู้น้องอยู่รักษาเมือง แล้วก็จัดแจงกองทัพได้พลไทยลาวพันเศษ ก็รีบยกลงมา ณ กรุงธนบุรี และกองทัพนครราชสีมามาถึงกรุงธนบุรี ณ วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ——-

ฝ่ายเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อให้พระยาสุริยอภัยมาแล้ว จึงแต่งหนังสือบอกข้อราชการแผ่นดินอันเป็นจลาจล ให้คนสนิทถือไปแจ้งแก่เจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งลงไปตั้งอยู่ ณ เมืองพนมเพญ ให้กองทัพเขมรพระยายมราชเข้าล้อมกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้อย่าให้รู้ความ แล้วให้รีบเลิกทัพกลับเข้ามา ณ กรุงโดยเร็ว

แล้วให้บอกไปถึงพระยาธรรมาซึ่งตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำพงสวาย ให้จับกรมขุนรามภูเบศจำครบไว้ แล้วให้เลิกทัพตามเข้ามา ณ กรุงธนบุรี

แล้วเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้ตรวจเตรียมพลโยธาหาญพร้อมแล้ว ให้เอาช้างเข้าเทียบเกยแล้วขึ้นบนเกยจะขี่ช้าง

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ทรงช้าง แล้วยกช้างม้ารี้พลคนประมาณห้าพันเศษ ดำเนินทัพมาทางด่านพระจารึกมาถึงเมืองปราจิน แล้วข้ามแม่น้ำเมืองปราจิน เมืองนครนายก ตัดทางลงมาท้องทุ่งแสนแสบ

ขณะนั้นชาวพระนครรู้ข่าวว่าเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับมา ก็ชวนกันมีความยินดีถ้วนทุกคน ยกมือขึ้นถวายบังคม แล้วกล่าวว่าครั้งนี้การยุคเข็ญจะสงบแล้ว แผ่นดินจะราบคาบ บ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุขสืบไป

จึงหลวงสรวิชิตนายด่านเมืองอุทัยธานีลงมาอยู่ ณ กรุง ก็ขึ้นม้าออกไปรับเสด็จถึงทุ่งแสนแสบ นำทัพเข้ามายังนคร

ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ เพลาสองโมงเศษ ทัพหลวงมาถึงกรุงธนบุรีฟากตะวันออก หลังจากนั้นก็ปราบดาภิเษก สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีสืบจากกรุงธนบุรี



เจ้าพระยาจักรีกลับจากราชการทัพเมืองเขมร หลังจากนี้จะสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
[จิตรกรรมสีปูนแห้งบนผนังโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม
ฝีมือช่างเขียนชาวอิตาเลียน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๕๖
(ภาพจาก จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก๒
ผศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์. กรุงเทพฯ : ๒๕๓๖.)]





วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน สงกรานต์ (เดือน ๕)
จากอินเดีย ถึงอุษาคเนย์ (และไทย) ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐

ราชสำนักสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ ราวหลัง พ.ศ. 1000 (ยุคทวารวดี) รับศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย พร้อมพิธีสงกรานต์ (เดือนเมษายน) แล้วเป็นมรดกตกทอดถึงยุคหลังๆ

มีหลักฐานสำคัญเป็นประติมากรรมหินรูปพระสุริยเทพ ที่แสดงให้เห็นว่าราชสำนักยุคแรกเริ่มในดินแดนแถบนี้เริ่มรู้จักสงกรานต์ที่เป็นประเพณีของอินเดีย (ไม่ใช่ของไทย)




พระสุริยเทพ

พระสุริยเทพ ทำจากหิน ประติมากรรมสวมหมวกทรงกระบอก พระหัตถ์ทั้งสองทรงดอกบัว อายุราวหลัง พ.ศ.๑๑๐๐

พบหลายองค์ที่เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

เป็นเทพเจ้าในลัทธิบูชาพระสุริยเทพตามคติศาสนาโซโลอัสเตอร์ วัฒนธรรมเปอร์เซีย (อิหร่าน) ต่อมาแนวคิดดังกล่าวแผ่ไปในอินเดีย แล้วกลายเป็นเสารัสสะนิกายหนึ่งในศาสนาพราหมณ์

ทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะมีคติการบูชาพระอาทิตย์อย่างเป็นหลักเป็นฐาน แล้วมีพิธีสงกรานต์ตามขนบอินเดีย ที่หมายถึงพระอาทิตย์โคจรข้ามจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง

[ภาพและคำอธิบายของ อ.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีคำอธิบายเพิ่มอีกในคอลัมน์สุวรรณภูมิฯ ฉบับวันนี้ หน้า ๑๗]

สงกรานต์เริ่มในราชสำนัก
สงกรานต์เป็นพิธีพราหมณ์จากอินเดีย เริ่มรับปฏิบัติก่อนในราชสำนักอุษาคเนย์

เมื่อราชสำนักจารีตโบราณรับมาปฏิบัติเป็นแบบแผนเหมือนๆ กันหมด ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ จึงจัดให้มีงานเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความมั่นคงและมั่งคั่งของราชอาณาจักร

มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่าง โดยขึ้นอยู่กับรัฐนั้นๆ นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นหลัก หรือนับถือพุทธเป็นสำคัญ

พระราชพิธีสงกรานต์ในราชสำนัก มีกำหนดแบบแผนไว้ในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นอยุธยา มีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีมีแต่ชนชั้นสูงในราชสำนัก เช่น พระเจ้าแผ่นดิน มเหสี โอรส-ธิดา เจ้านายเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

พิธีสำคัญมากเกี่ยวกับความมั่นคง คือพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือดื่มน้ำสาบานว่าจะไม่คิดขบถทรยศต่อพระเจ้าแผ่นดิน จึงแต่งโองการแช่งน้ำด้วยฉันทลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ให้พราหมณ์เป็นผู้อ่านเป็นทำนองในพิธีต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เทวรูป พระพุทธรูป

ดังมีพยานว่าสมัยต้นกรุงเทพฯ ต้องทำพิธีนี้ในโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อหน้าพระพักตร์พระแก้วมรกต เป็นเหตุให้สงกรานต์ของพราหมณ์ผสมกลมกลืนเข้ากับพุทธ (แล้วส่งแบบแผนสู่ชุมชนหมู่บ้านให้มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ ตลอดจนมีประเพณีและการละเล่นในวัดสืบจนทุกวันนี้)

ขึ้นปีใหม่ ยุคอยุธยา
ยุคอยุธยา ราชสำนักมีราชประเพณีขึ้นฤดูกาลใหม่ (ขึ้นปีใหม่) ทั้ง ๒ แบบ คือแบบเก่า กับแบบใหม่

แบบเก่าทางจันทรคติ ตอนเดือนอ้าย (คือ เดือน ๑) ราวพฤศจิกายน-ธันวาคม

แบบใหม่ทางสุริยคติ ตอนเดือนห้า ตรงกับเมษายน

มีหลักฐานสำคัญอยู่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ (แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร สำนักพิมพ์ก้าวหน้า พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๐ หน้า ๒๘๙) ดังนี้

“เดือนแรกของเขาก็คงเป็นไปตามทางจันทรคติ ตกอยู่ในเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนธันวาคมอย่างเดิม (เดือนอ้าย) คือไม่ละแบบเก่าอยู่นั่นเอง มาตรว่าจะลงศุภมาสไปตามแบบใหม่แล้วก็ตาม”

“เดือนแรกของปีตามศักราชใหม่นั้นก็ตกเป็นเดือนห้าหรือเดือนหก (เมษายน) ตามแบบเก่านั้น”

แต่ในหมู่ราษฎรไม่รู้จักสงกรานต์ เพราะเป็นพิธีกรรมที่พราหมณ์ทำอยู่ภายในราชสำนักเท่านั้น

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ราษฎรมีกิจกรรมตามประเพณีเลี้ยงผีบรรพชนเข้าทรงเสี่ยงทายแล้วแก้บน ให้ชุมชนมั่นคงและมั่งคั่งด้วยข้าวปลาอาหารที่ทำสืบเนื่องไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว





วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน สงกรานต์ เมษายน ประเพณีพราหมณ์จากอินเดีย ไม่ใช่ของไทย

สงกรานต์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย เกี่ยวกับการย้ายราศีของดวงอาทิตย์ จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ราวกลางเดือนเมษายนของทุกปี

ราชสำนักโบราณในอาเซียน รับประเพณีสงกรานต์จากพราหมณ์อินเดียเหมือนกันทุกแห่ง ทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อเสริมอำนาจการปกครอง

สมัยแรกๆ มีอยู่ในราชสำนักเท่านั้น ราษฎรทั่วไปไม่รู้จักสงกรานต์

ครั้นนานเข้าถึงสมัยหลังๆ จึงแพร่หลายสู่ราษฎร แล้วผสมผสานกับประเพณีพื้นเมืองสืบจนปัจจุบัน เช่น รดน้ำ แล้วกลายเป็นสาดน้ำ

สงกรานต์เมษายน
สังกรานติในราศีเมษ คือ เมษสังกรานติ มีความสำคัญในความเชื่ออินเดีย โดยเฉพาะในทางโหราศาสตร์

เนื่องจากพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ อันอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของจอมฟ้าเหนือศีรษะ พระอาทิตย์จะมีกำลังและความร้อนแรงสูงสุด

นอกจากนี้ราศีเมษยังเป็นราศีสถิตลัคนาของโลกและลัคนาของเมืองตามหลักโหราศาสตร์อินเดีย

แต่ในปัจจุบันชาวฮินดูในอินเดียภาคเหนือเน้นความสำคัญของมกรสังกรานติมากกว่า

ส่วนการเปลี่ยนปีนั้น สำหรับปีวิกรามีสัมวัตซึ่งนิยมใช้มากในทางอินเดียภาคเหนือ จะมีการเปลี่ยนปีในช่วงเทศกาลนวราตรีหรือเทศกาลบูชาพระแม่ทุรคาในฤดูวสันต์ อยู่ในช่วงเดือนไจตระ ตกราวปลายมีนาคม-ต้นเมษายน แม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนศักราชของปีสัมวัตอย่างเป็นทางการ แต่พิธีกรรมถูกรวบไปอยู่ในส่วนการบูชาพระแม่ทุรคา ไม่ได้มีพิธีกรรมพิเศษแยกออกมา

[สรุปจาก สงกรานต์ ปีใหม่ฮินดู สู่อุษาคเนย์ และไทย ต้นแบบจากชมพูทวีป ในอินเดีย โดย คมกฤช อุ่ยเต็งเค่ง (เชฟหมี) [อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว) พิมพ์ใน มติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๗]


สงกรานต์มีทุกเดือน
ชาวฮินดูมีสงกรานต์ทุกเดือน

สงกรานต์ มาจากคำว่า สํกฺรานฺติ (สังกรานติ) ในภาษาสันสกฤตแปลว่า เคลื่อน หรือย้าย ซึ่งความหมายถึง การที่พระอาทิตย์ย้ายราศี

ราศี คือการแบ่งท้องฟ้าออกเป็นสิบสิบสองส่วนเท่าๆ กัน จะได้ส่วนละ ๓๐ องศา แบ่งชื่อตามดาวจักรราศี

พระอาทิตย์ เป็นดาวใหญ่ ศูนย์กลางของสุริยจักรวาล เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย จึงมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ในโลก  พระอาทิตย์จะอยู่ในราศีละสามสิบวันโดยประมาณ

ดังนั้น สงกรานต์จึงมีทั้งปี เดือนละหนึ่งครั้ง เรียกตามการย้ายเข้าไปในราศีนั้น ซึ่งจะย้ายประมาณวันที่ ๑๔  หรือ ๑๕ ของเดือน เช่น

ย้ายเข้าราศีมังกร เรียก มกรสังกรานติ, เข้าราศีมีน ก็มีนสังกรานติ, เมษ ก็เมษสังกรานติ

สงกรานต์ในไทย ไม่มาจากโหลี
สงกรานต์ไม่ได้มาจากโหลี (Holi) หรือเทศกาลสาดสีในอินเดีย

อ.คมกฤช อุ่ยเต็งเค่ง (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า
• โหลี กำหนดวันตามจันทรคติ (ดวงจันทร์) ส่วนสงกรานต์ตามสุริยคติ (ดวงอาทิตย์)
• โหลี ไม่เกี่ยวกับพิธีเปลี่ยนศักราช ส่วนสงกรานต์เกี่ยวโดยตรงกับเปลี่ยนศักราช
• โหลี มีสาดสี เป็นสัญลักษณ์ของพิธีเจริญพืชพันธุ์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ส่วนสงกรานต์อินเดียไม่มีสาดน้ำ เมื่ออุษาคเนย์รับมาสมัยแรก ก็ไม่มีสาดน้ำ

สาดน้ำเป็นของใหม่เพิ่งมีสมัยอาณานิคม ดั้งเดิมรดน้ำ (ดำหัว) ไม่สาดน้ำ



ชาวบ้านพากันไปยังริมน้ำเพื่อรับปีใหม่ โดยสักการะพระสุริยเทพ
(เทพสำคัญที่สุดในช่วงปีใหม่ฮินดู) บรรดาสตรีกำลังบันลือสังข์
เพื่อต้อนรับพระสุริยเทพและขับไล่สิ่งอัปมงคล ถือหม้อกลัศ
อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และที่สถิตเทพแห่งน้ำหรือพระวรุณ
ภาพนี้จากริมแม่น้ำกษิประ เมืองอุชเชน รัฐมัธยประเทศ
[ภาพชุดจากหนังสือพิมพ์ The New Indian Express
www.newindianexpress.com
คำอธิบายโดย เชฟหมี]


พิธีฉลองปีใหม่ของชาวเตลุคุ (เมืองเชนไน) มีการตกแต่งพื้นด้วยผงสีต่างๆ
เรียกว่า รังโคลี เขียนว่า “นันทะนะ อุคาทิ” หมายความว่า สุขสันต์เทศกาลปีใหม่
ส่วนถาดในมือหญิงสาวบรรจุอาหารพิเศษสำหรับเทศกาลอุคาทิโดยเฉพาะ
เรียกในภาษากรรนาฏ ว่า เพวุเพลลา (Bevu-Bella)
ประกอบด้วยอาหาร ๖ รส (ขม หวาน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว และรสจัดฉุน)
ได้แก่ หน่อสะเดา น้ำตาลอ้อย พริก เกลือ น้ำมะขาม มะม่วงดิบ
เพื่อสะท้อนรสชาติของชีวิต ๖ อย่าง คือความเศร้า ความสุข ความโกรธ ความกลัว
ความเกลียดและความประหลาดใจ ที่ต้องพบเจอในชีวิตและวางใจให้เสมอในรสเหล่านี้


สตรีอยู่ในขบวนแห่ เรียกว่า “โศภณยาตรา” คือการแห่แหน
ตามประเพณีในงานมงคล โดยทูนหม้อ “กลัศ”
หรือหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ ในภาพหม้อเหล่านี้
เขียนคำมงคลต่างๆ เช่น อาโรคยะ-ความไม่มีโรค,
เสวา-การปรนนิบัติรับใช้ เป็นต้น


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน สงกรานต์ไทย

สงกรานต์ ไทย ไม่ได้มาจากโหลี (Holi)

เทศกาลสาดสีในอินเดีย
มีผู้พยายามโยงประเพณีสงกรานต์สาดน้ำของไทย ว่ารับจากโหลี (Holi) เทศกาลสาดสีของอินเดีย
 
แต่แท้จริงแล้ว สงกรานต์ไม่ได้มาจากโหลี (Holi) เทศกาลสาดสีในอินเดีย อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง [คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว)] อธิบายไว้ จะขอสรุปย่อคัดมาแบ่งปันไว้ดังต่อไปนี้
 
โหลี-สงกรานต์ ไม่เหมือนกัน
เทศกาลโหลี ประกอบด้วยสองวันสำคัญ คือวันโหลิกาทหนะ และวันโหลี
 
[คำว่าโหลีเป็นภาษาฮินดี มาจากคำว่าโหลาหรือโหลิกาในคำสันสกฤต (หรือคำอื่นๆที่บ่งถึงเทศกาลเดียวกัน เช่น โหลากา)]
 
อ.คมกฤช อธิบายว่าโหลี-สงกรานต์ ไม่เหมือนกัน ดังนี้

หนึ่ง โหลีกำหนดวันตามจันทรคติ ซึ่งต่างจากสงกรานต์ที่กำหนดตามสุริยคติ
 
เทศกาลโหลีจะเริ่มต้นในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือนผาลคุน (คือเดือนตามปฏิทินจันทรคติฮินดู ราวกุมภาพันธ์-ต้นมีนาคม) เรียกวันนี้ว่าวัน “โหลิกาทหนะ” (Holika Dahana) แปลว่าวันเผาหรือฆ่านางโหลิกา
 
วันรุ่งขึ้นเล่นสาดสีและกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เรียกว่า วันโหลี หรือ “วสันโตสวะ” หมายถึงเทศกาลแห่งฤดูวสันต์ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือนไจตระ (ราวต้นมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน)
 
[เทศกาลโหลี กำหนดโดยจันทรคติกาล จึงมีวันไม่ตรงกันในแต่ละปี บางปีอาจไปตกอยู่ในปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายนก็ได้]
 
สอง สงกรานต์ถือเป็น “ปีใหม่” หรือเปลี่ยนศักราชตามโหราศาสตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้ เพราะยังถือตรงกันทั้งไทย (เก่า)
 
โหลีไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนศักราชปีใหม่ แต่เป็นการฉลองการเข้าสู่ฤดูวสันต์ ซึ่งเป็นฤดูกาลที่จะเริ่มต้นเพาะปลูก จึงเป็นคนละคติความเชื่อกับสงกรานต์
 
ชาวทมิฬว่าสงกรานต์อันหมายถึงการที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ เป็นปีใหม่ ในอินเดียใต้เรียกว่าเทศกาลปุฑัณทุ หรือวิษณุกณิ (ปกติพระอาทิตย์ย้ายราศีเดือนละหนึ่งครั้ง สงกรานต์จึงมีทุกเดือน)
 
ถ้าจะนับเอาการเปลี่ยนศักราชเป็นปีใหม่แล้ว ปีใหม่ในอินเดียมีมากมายหลายเทศกาล และมีช่วงเวลาไม่ตรงกันเลย เนื่องด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นที่ ทำให้ฤดูกาลของแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันมาก และในแต่ละพื้นที่ยังมีระบบของปฏิทินของตนเองอีกด้วย
  
เผาหุ่นนางโหลิกา
 
อ.คมกฤชเห็นว่าโหลี น่าจะเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่ของอินเดีย และเป็นของชาวบ้านในสังคมกสิกรรม
 
อาจกล่าวได้ว่า โหลีเป็นประเพณี “ก่อนฮินดู” (pre-Hinduism)
 
โหลีแต่เดิมเป็นเทศกาลที่แพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและตะวันออก ซึ่งมีความแตกต่างของภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลมาก การมาถึงของฤดูวสันต์หรือใบไม้ผลิ จึงหมายถึงการเริ่มต้นใหม่ของชีวิต และเป็นสัญญาณของการเริ่มเพาะปลูก
 
ในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนผาลคุน หรือวันโหลิกาทหนะ ชาวบ้านจะสร้างกองเศษไม้ใบไม้ และทำเป็นหุ่นอย่างง่ายๆ สมมุติเป็นนางโหลิกา
 
เมื่อได้กระทำบูชาแล้วก็จะจุดไฟขึ้น ร้องเพลงและเล่นสนุกรอบกองไฟ และเอาเถ้าจากกองไฟนั้นเจิมหน้าผาก จากนั้นจึงเริ่มต้นการเล่นสาดสีกันต่อไปในวันรุ่งขึ้น
 
ในปัจจุบันมีคำอธิบายต่างๆ ตามตำนานของแต่ละท้องที่
 
สาดสี เป็นพิธีเจริญพืชพันธุ์
การสาดสีกันในเทศกาลโหลี จึงเป็นพิธีการเจริญพืชพันธุ์เพื่อความอุดมสมบูรณ์
 
หากปราศจากเลือด ไม่ว่าจะประจำเดือนหรือเลือดจากการบูชายัญ ปราศจากต้นไม้ใบหญ้าและเชื้อชีวิต แผ่นดินและการเพาะปลูกก็ย่อมจะสมบูรณ์ไม่ได้
 
นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นยังมีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเล่นไล่ตีผู้ชาย ซึ่งในเวลาปกติกระทำไม่ได้ เพื่อขับเน้นความสำคัญของ “เพศหญิง” ในบทบาทของศาสนาดั้งเดิม หรือมีการละเล่นร้องเพลงเกี้ยวพาราสีซึ่งล้วนมีนัยถึงการเจริญพืชพันธุ์ทั้งสิ้น
 
การสาดสีในเทศกาลโหลี ใช้ผงสีทำจากวัสดุธรรมชาติเช่นแร่ธาตุและพืช (ผงคุลาล ผงอพีระ ผงขมิ้น ฯลฯ) สีหลักที่ใช้มาแต่เดิมมีสามสี คือ แดง เขียว และเหลือง
 
โหลีในสายตาผู้คนปัจจุบันจึงหมายถึงความสนุกสนาน สีสันของชีวิตและความรักเป็นหลัก แต่หากตีความในอีกชั้นหนึ่ง สีเหล่านี้มักถูกใช้ในสัญลักษณ์ต่างๆ และพิธีกรรมในศาสนาฮินดูอยู่แล้ว
 
- สีแดงสะท้อนการกำเนิดเจ้าแม่และชีวิต สีแดงจึงแทนโลหิต
- สีเขียวคือความบริบูรณ์ของต้นไม้พืชพันธุ์ และ
- สีเหลืองคือเชื้อชีวิต และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งแทนอสุจิหรือปัสสาวะ (เทวดาฮินดู เจ้าแม่จึงมักทรงพัสตราภรณ์แดง หรือเขียว ในขณะที่เจ้าพ่อมักทรงเหลือง หรือขาว)
 
สงกรานต์ดั้งเดิมในไทยไม่มีเล่นสาดน้ำ มีแต่รดน้ำดำหัวพ่อแก่แม่เฒ่าในชุมชน เพิ่งมีสาดน้ำเมื่อไม่นานมานี้
  
โหลี กับพระราชพิธีธานยเทาะห์
พระราชพิธีธานยเทาะห์ หรือธัญเทาะห์ หรือพิธีเผาข้าว เป็นพระราชพิธีที่ปฏิบัติในกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีในกรุงรัตนโกสินทร์
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่าเป็นพระราชพิธีในเดือนสาม ตั้งโรงพิธีที่ทุ่งนา เอารวงข้าวมาทำเป็นฉัตรปักไว้ แล้วเอาไฟจุดรวงข้าวนั้น มีคนแต่งตัวแดงพวกหนึ่ง เขียวพวกหนึ่งสวมเทริด เข้าไปยื้อแย้งรวงข้าวนั้น แล้วมีคำพยากรณ์ ต่อจากพระราชพิธีนี้จึงเป็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
 
อ.คมกฤช อธิบายว่าที่น่าสนใจคือพระราชพิธีธานยเทาะห์จัดขึ้นในเดือนสาม ซึ่งมีช่วงเวลาใกล้เคียงกับเทศกาลโหลี หรือปลายเดือนผาลคุนของอินเดีย และมีการ “เผา” รวงข้าวที่ทำเป็นพุ่มฉัตรไว้ที่ทุ่งนา และมีการ “เล่น” ยื้อแย้งข้าวนั้น มีการแต่งตัว “สีสัน” เข้าในพระราชพิธี
 
ส่วนคำพยากรณ์หรือมูลเหตุที่กระทำคงมุ่งหมายถึงความสวัสดิมงคลและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นสำคัญ
 
พระราชพิธีธานยเทาะห์ต่างหากที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากเทศกาลโหลิกาทหนะ หรือโหลีที่ปฏิบัติกันในอินเดียบางภูมิภาค

 

ประเพณีเล่นสาดสี ในเทศกาลโหลี (Holi) ของอินเดีย
เริ่มเล่นในเช้าหลังจากวันโหลิกาทหนะ (Holika Dahana)
ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนไจตระ ซึ่งมีทั้งสาดด้วยผงสี และน้ำผสมสี
ประเพณีนี้แต่เดิมแพร่หลายอยู่เฉพาะในอินเดียภาคเหนือและบางส่วน
ของภาคตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
(ภาพจากเว็บไซต์ http://www.theguardian.com)
 

พิธี “โหลิกาทหนะ” หรือเผากองเศษไม้ (สมมุติว่าเป็นนางโหลิกา)
ซึ่งอ้างอิงจากตำนานเรื่อง ประหลาทะในคัมภีร์ปุราณะ
หลังเสร็จพิธีทุกคนก็จะนำเถ้าจากกองไฟนี้มาแต้มที่ศีรษะ
พิธีนี้เป็นหัวใจสำคัญของเทศกาลโหลี และน่าจะเป็น
พิธีโบราณที่มีมาก่อนคำอธิบายยุคหลัง

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มีนาคม 2559 15:15:29 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 14 มีนาคม 2559 15:48:49 »


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ก่อพระทราย สงกรานต์
อุบายขนทรายเข้าวัด ใช้ซ่อมสร้างปูชนียสถาน

ขนทรายเข้าวัด เป็นประเพณีผี-พราหมณ์-พุทธของชุมชนชาวบ้าน เพื่อเตรียมไว้ทำอิฐเผาเป็นวัสดุสร้างซ่อมศาสนสถานในวัด
 
ก่อพระทราย เป็นอุบายวิธีให้ชาวบ้านร่วมกันไปหาแหล่งทราย แล้วขนทรายเข้าวัด โดยอ้างว่าเพื่อเตรียมไว้ก่อพระทรายเอาบุญวันสงกรานต์
 
และไม่เกี่ยวกับทรายวัดติดตีนชาวบ้านที่เดินเข้าออกวัด เมื่อถึงสงกรานต์ต้องขนทรายมาคืน เพราะนั้นเป็นอุบายของคนสมัยก่อนๆ จะหาทรายเข้าวัดไว้ซ่อมสร้างสิ่งชำรุดทรุดโทรม
  
ประเพณีพุทธพื้นเมือง
ขนทรายเข้าวัดไม่ใช่ประเพณีพื้นเมืองดั้งเดิม เพราะทำเพื่อก่อพระเจดีย์ทราย แล้วเอาไว้ผสมดินเหนียวทำอิฐเผาซ่อมสร้างปูชนียสถานในวัด ซึ่งต้องมีขึ้นเมื่อหลังรับพุทธศาสนาจากอินเดีย ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐

นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ศิลป์อธิบายว่าอิฐเผายุคทวารวดีสืบเนื่องถึงอิฐเผายุคเขมร ล้วนมีทรายเป็นส่วนผสมสำคัญอยู่ด้วย เพื่อให้อิฐแกร่งและทนทาน
 
ช่างก่อสร้างเป็นใครก็ได้ เช่น ชาวบ้าน, พระสงฆ์, ฯลฯ เป็นผู้ใช้ทรายสงกรานต์ทำอิฐเผาซ่อมสร้างปูชนียสถานสำคัญในวัด
 
ชุมชนโบราณสามัญชนไม่สร้างบ้านด้วยอิฐไม่ว่ากรณีใดๆ อิฐใช้สร้างวัดกับวังเท่านั้น
 
ขนทรายเข้าวัด
ทรายไม่มีทั่วไป แต่มีเป็นที่ทางเฉพาะ เช่น บริเวณพื้นใต้แม่น้ำ, ลำคลอง, หนอง, บึง, ลำราง, ทางน้ำ, ลุ่ม, ลาด, ฯลฯ ต้องมีคนไปขุดตักควักคุ้ยเอามา (ไม่มีพ่อค้าดูดทรายใส่เรือใส่รถมาขายอย่างทุกวันนี้)
 
ก่อนถึงสงกรานต์สัก ๔-๕ วัน ชาวบ้านสมัยก่อนจะรวมกันออกไปหาแหล่งทราย แล้วพากันขนทรายเข้าวัด โดยอ้างว่าเตรียมไว้ให้ชาวบ้านร้านถิ่นเล่นก่อพระทรายวันสงกรานต์
  
ก่อพระทราย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขนทรายเข้าวัดเอาไว้ให้พระสงฆ์ใช้ทรายผสมดินเหนียวทำอิฐก่อสร้างโบสถ์, วิหาร, การเปรียญ และเสนาสนะอื่นๆ ที่ต้องสร้างด้วยอิฐ
 
เมื่อถึงสงกรานต์ก็พากันไปวัดทำบุญโดยก่อกองทรายสมมุติเป็นรูปพระเจดีย์ขนาดเล็กๆ เรียงรายตามถนัดของแต่ละคน
 
เสร็จแล้วก็โยงสายสิญจน์ถวายพระสงฆ์ในวัดเอาไว้ทำอิฐใช้ก่อสร้างในวัด แล้วเชื่อว่าได้บุญกุศลค้ำจุนพระพุทธศาสนา
 
ก่อพระทราย หรือก่อกองทราย เป็นภาษาปาก หมายถึงก่อพระเจดีย์ทรายในวัดเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์เดือน ๕ ทางจันทรคติ (ตรงกับเมษายน ทางสุริยคติ)
 
พระเจดีย์ทราย เป็นพยานสัญลักษณ์ว่าทรายเหล่านั้นจะใช้ซ่อมสร้างปูชนียสถานในวัด
 
เผาอิฐ
เผาอิฐไม่ใช่งานหลักของพระสงฆ์ แต่การขนทรายเข้าวัดเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องการสร้างและปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานและศาสนสถานอื่นๆ
 
เพราะปีหนึ่งๆ เสนาสนะภายในวัดย่อมชำรุดสึกกร่อนเสียหายไปบ้างไม่มากก็น้อย และทรายเป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ทั้งผสมในเนื้ออิฐ ผสมปูน ถมที่ ฯลฯ
 
ทุกวันนี้ยังมี ‘พระช่าง’ คือพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถด้านงานช่าง ซึ่งมีหลักฐานว่าพระสงฆ์เหล่านี้ลงมือทำงานศิลปกรรมด้วยตนเอง เช่น พระอาจารย์นาค, ขรัวอินโข่ง ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมไปถึงกลุ่มช่างพระสงฆ์ของเมืองเพชรบุรีที่ยังสืบงานฝีมือกันลงมา
 
นักประวัติศาสตร์ศิลป์พบหลักฐานเป็นก้อนอิฐและแผ่นกระเบื้องโบราณในวัดทางล้านนาบางแห่งเขียนตัวอักษรระบุชื่อบุคคลที่อาจเป็นพระสงฆ์ผู้ปั้น แสดงว่าการปั้นอิฐในการสร้างซ่อมวัดวาอารามก็เป็นงานช่างอย่างหนึ่งของพระสงฆ์
 
มิได้หมายความว่าพระสงฆ์จะต้องเผาอิฐเอง เพราะมีประเพณีเกณฑ์ชาวบ้านได้ ดังเอกสารสมัย ร.๔ ระบุว่าเมื่อจะสร้างพระราชวังและซ่อมแซมอารามต่างๆ ในเมืองเพชรบุรี โปรดให้เกณฑ์ชาวบ้านเมืองเพชรบุรีทำอิฐส่งครัวละ ๔๐๐ ก้อน
 
นักวิชาการอธิบายว่าการสร้างวัดสมัยโบราณที่ใช้อิฐจำนวนมหาศาลไม่มีทางที่พระสงฆ์จะผลิตขึ้นเองได้ทั้งหมด คงอาศัยระบบมูลนายเกณฑ์ทำอิฐตามที่กำหนดมาส่งให้ ถ้าเป็นวัดหลวงที่กษัตริย์สร้างมีขนาดใหญ่ก็เกณฑ์อิฐได้มาก วัดระดับรองลงมาก็ลดหลั่นกันไปตามฐานะ
 
ทรายที่ขนมาถวายให้วัดไม่ว่าจะไปผสมทำอิฐ (ในกรณีที่สัดส่วนของทรายในดินจากแม่น้ำมีไม่เพียงพอ) หรือไปผสมปูนฉาบผนังอาคาร หรือถมพื้นปรับระดับภายในวัด ถือเป็นของส่วนรวมที่ผู้ซึ่งมีหน้าที่ปฏิสังขรณ์วัดจะมานำไปใช้ในงานต่างๆ ได้ เพราะวัดเป็นพื้นที่กลางของชุมชน ดังนั้นข้าวของเครื่องใช้วัสดุต่างๆ ใครจะติดต่อขอยืมขอใช้สิ่งของใดก็มาเอาจากวัด
 
ก่อกองทรายในเรือ
เมืองปทุมธานีสมัยก่อนๆ มีชาวบ้านในท้องถิ่นเล่าว่าสมัยก่อนใครจะร่วมขนทรายเข้าวัด มักมีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหรือในลำคลอง จะนำเรือมาด (เรือขุดมีขนาดใหญ่) ร่วมกันเป็นคณะ ๘-๑๐ ลำขึ้นไป
 
ในยุคแรกไม่มีเครื่องจักรก็ใช้พายใช้แจวลงเรือลำละ ๔-๖ คน ไปตามแหล่งทรายในลำน้ำเจ้าพระยา
 
อ.สามโคก มีแหล่งงมทรายอยู่ที่คุ้งน้ำกว้างใหญ่ เรียกว่าคุ้งบ้านถั่ว มีหาดทรายกลางแม่น้ำและอีกแห่งเหนือเขตสามโคก เรียกว่าลานเท เป็นช่วงที่กว้างที่สุดของลำน้ำเจ้าพระยา มีหาดทรายริมสองฟากฝั่ง
 
เมื่อคณะเรืองมทรายถึงที่แล้วจอดเรือใช้ท่อปักยึดเรือ คนในเรือเตรียมบุ้งกี๋หรือกระป๋องตักน้ำโดดลงน้ำดำลงไปโกยตักทรายใต้ท้องน้ำ หรือจะโกยทรายตามหาดริมฝั่งส่งให้คนที่อยู่บนเรือเททรายกองไว้กลางลำเรือจนได้ตามต้องการ
 
แล้วช่วยกันก่อพระเจดีย์ทรายกลางลำเรือใช้ดอกไม้ธงทิวริ้วประดับตกแต่งให้สวยงามแล้วพายเรือกลับวัด ตีกลองร้องเพลงกันสนุกสนานไปตลอดทาง
 
จนถึงวัดจึงช่วยกันขนทรายขึ้นจากลำเรือมาก่อเป็นพระเจดีย์ทรายที่ลานหน้าวัดหรือหน้าโบสถ์ ก่อตามรูปแบบเจดีย์ที่มีอยู่ในวัดหรือเจดีย์ที่เคยพบเห็น เช่น พระปฐมเจดีย์, พระสมุทรเจดีย์, เจดีย์แบบรามัญ
 
ก่อเสร็จแล้วก็ตกแต่งด้วยธงทิวประดับประดาสวยงาม

 

ก่อพระทรายคล้ายเจดีย์มอญ (พ.ศ.๒๕๕๖)
วัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
(ภาพจาก http://www.taklong.com)
 

ก่อพระทราย เป็นรูปคล้ายพระปฐมเจดีย์ (พ.ศ.๒๕๕๖)
วัดโคกมะกอก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
(ภาพจาก http://www.innnews.co.th)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน การละเล่นสงกรานต์ ละเมิดข้อห้าม ขบถจารีตประเพณี
ปลดปล่อยผ่อนคลายความตึงเครียด

สงกรานต์เป็นช่วงเวลาปลดปล่อยผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยการละเล่นละเมิดข้อห้ามและขบถจารีตประเพณี ที่คนเราต้องเคร่งครัดทั้งปีที่ผ่านมา
 
การละเล่นสนุกสนานละเมิดข้อห้ามต่างๆ ได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ต้องมีขอบเขตไม่ทำร้ายบุคคลอื่นให้บาดเจ็บล้มตายและเดือดร้อน
 
เสฐียรโกเศศบันทึกเรื่องวันสงกรานต์ที่เชียงตุง (พม่า) ว่าเจ้าฟ้าเชียงตุงจะต้องออกขุนนางประทับนั่งขัดสมาธินิ่งคล้ายพระพุทธรูปอยู่บนอาสนะ พวกขุนนางก็เข้าเฝ้าถวายบังคมโดยลำดับ เมื่อเจ้าฟ้าอวยพรเสร็จ ประตูด้านหลังที่นั่งก็ค่อยแย้มออก เจ้าฟ้าเชียงตุงจะเสด็จหายเข้าไปในประตู ทันใดนั้นพวกข้าราชการซึ่งเฝ้าอยู่อย่างสงบเสงี่ยมต่างก็ลุกขึ้นแย่งกันหนีออกจากที่เฝ้าอย่างสับสนอลหม่าน เพราะขณะนั้นมีราษฎรยกพวกแห่กันมาสาดน้ำสงกรานต์
 
พฤติกรรมอย่างนี้ถ้ายามปกติจะมีโทษถึงตาย
 
ผู้หญิงกับพระสงฆ์
สังคมแต่ก่อนอนุญาตให้พระสงฆ์ในหมู่บ้านร่วมเล่นแข่งขันกับชาวบ้านได้ เช่น พระสงฆ์แข่งเรือ แข่งเกวียน แข่งจุดบั้งไฟ ฯลฯ
 
ขณะเดียวกันผู้หญิงชาวบ้านที่มีข้อห้ามรุนแรงว่าถูกเนื้อต้องตัวพระสงฆ์ไม่ได้ในยามปกติ แต่ในช่วงสงกรานต์บางชุมชนอนุญาตให้ผู้หญิงทำได้ เช่น ผู้หญิงร่วมกันอุ้มพระสงฆ์ (ที่นิมนต์มาฉันอาหาร) โยนลงไปในแม่น้ำลำคลองหนองบึงได้ และอาจละเมิดกฎเกณฑ์ได้มากกว่านี้ด้วย แต่ไม่ถึงขั้นผิดทางเพศ ผู้หญิงจะมีบทบาทสำคัญในการเล่นสาดน้ำและเล่นมอมหน้า การสาดน้ำนั้นไม่จำเพาะแต่จะสาดกันเองระหว่างหนุ่มสาว แต่สาดพระสงฆ์ก็ได้  เสฐียรโกเศศเล่าว่า “ถือขันน้ำ เร่ขึ้นกุฏิเพื่อสรงน้ำหลวงพี่ด้วยปะเหมาะหลวงพี่ไม่ทันรู้ตัว ได้ยินเสียงโครมครามเหมือนมีโจรขึ้นปล้น ยังไม่ทันรู้ว่าเรื่องอะไรก็พอดีถูกสาดน้ำเข้าโครมใหญ่ ดีมิดีที่นอนหมอนมุ้งถูกน้ำสาดเปียกหมด… ตอนนี้ไม่ใช่สรงน้ำพระ แต่เป็นเรื่องสาดน้ำพระ” ยิ่งหนักขึ้นไปอีกก็คือการแห่พระสงฆ์ด้วยเกวียนโดย “ชาวบ้านช่วยกันตกแต่งเกวียน คาดผ้าสีแพรเป็นเพดานหลังคา และประดับประดาด้วยสิ่งต่างๆ ตามแต่จะเห็นงาม….แล้วนิมนต์พระสมภารเจ้าวัดหรือพระสงฆ์ที่นับถือขึ้นนั่งบนเกวียนมีขบวนแห่อย่างครึกครื้น เวียนประทักษิณอุโบสถสามรอบ แล้วก็ชักเกวียนไปยังที่ซึ่งจัดไว้ แต่ว่าไม่ได้ชักอย่างตรงไปตรงมา เขาเล่นชักเย่อกันด้วย โดยแบ่งพวกชาวบ้านออกเป็นพรรคบ้านเหนือ และพรรคบ้านใต้ หรือตลาดบ้านเหนือและตลาดบ้านใต้
 
พวกที่ชักล้วนเป็นคนหนุ่มคนสาวกำลังฉกรรจ์ทั้งนั้น ชักเย่อกันไป ชักเย่อกันมา ไม่ไปถึงไหน ลางทีนานตั้งชั่วโมงก็ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะกัน ถ้านานถึงเช่นนั้นก็ต้องหยุดพักเอาแรงกันเสียพักหนึ่ง แล้วจึงลงมือชักเย่อกันใหม่ต่อไป จนกว่าใครจะแพ้ลงข้างหนึ่ง ฝ่ายที่ชนะก็เต้นรำทำเพลงเยาะเย้ยฝ่ายที่แพ้อย่างสนุกสนาน” พระสงฆ์เองก็ถือเป็นสนุกไปกับฆราวาส โดยไม่ยึดว่าเป็นอาบัติ
   
ผู้หญิง ผู้ชาย
การเล่นกันเองระหว่างหนุ่มสาวผู้เฒ่าผู้แก่ก็ถึงขนาดฉุดกระชากลากถูกันจนเสื้อผ้าขาดกะรุ่งกะริ่งไปทั้งหมด พวกผู้หญิงดูจะจงใจแก้แค้นผู้ชาย หรือผู้หญิงมักจะเล่นสนุกกับผู้ชายมากกว่าจะเล่นกับผู้หญิงด้วยกันเอง บางทีพวกผู้หญิงก็รวมกลุ่มกันจับผู้ชายมาเล่นแผลงๆ ด้วยการมัดไว้กับต้นเสาเพื่อเรียกค่าไถ่เป็นเหล้าหรือของกินต่างๆ สุดแต่จะหาซื้อได้ หากผู้ชายที่ถูกจับมัดเรียกค่าไถ่ไม่ยอมปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้หญิงต้องการก็อาจจะถูกทำประจาน เป็นต้นว่าถูกจับถอดเสื้อกางเกงล่อนจ้อนเปลือยกาย และอาจจะถูกทำพิเรนทร์ๆ กับของลับฝ่ายชาย บางรายถึงขนาดเอาใบสับปะรดซึ่งมีความหยาบจนสากมาแกล้งถูที่ของลับผู้ชายให้เจ็บปวด
 
ขบถจารีตประเพณี
จากการแสดงออกในเทศกาลสงกรานต์ จะเห็นว่าเป็นพิธีกรรมที่ต้องการขบถต่อจารีตประเพณีดั้งเดิมของสังคม โดยได้รับการอนุมัติหรือได้รับการยอมรับจากสังคมแล้ว จะเก็บความโดยสรุปจากบทความเรื่องการละเล่นและพิธีกรรมในสังคมไทย ของ ปรานี วงษ์เทศ (จากหนังสือ วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ จัดพิมพ์โดยโครงการไทยศึกษา และโครงการเผยแพร่งานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๒๘ หน้า ๒๒๕-๓๒๔) ดังต่อไปนี้
 
อาการขบถมีลักษณะต่อต้านความสัมพันธ์ทางสังคม ที่เน้นความแตกต่างทางเพศ เน้นระบบอาวุโส และเน้นการเคารพนับถือพระสงฆ์
 
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ในชีวิตประจำวันแล้วสังคมจะเคร่งครัดมากต่อการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ เห็นได้จากการอบรมสั่งสอนว่าเป็นประเพณีต้องปฏิบัติตาม ความกดดันที่สังคมไทยมีต่อผู้หญิง จะได้รับการผ่อนคลายและแสดงออกในวันสงกรานต์ ดูจากผู้หญิงกินเหล้า เล่นการพนัน สนุกทั้งวันทั้งคืน ไม่สนใจงานบ้าน แสดงกิริยาก้าวร้าวข่มขู่ผู้ชาย การยอมให้ชายอื่นถูกเนื้อต้องตัวได้ เพราะในยามปกติ สถานภาพของผู้หญิงในสังคมไทยต่ำกว่าผู้ชาย ต้องทำงานหนัก รับภาระในครอบครัว ในขณะที่ผู้ชายมักจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งปีหรือมากกว่าถูกเกณฑ์แรงงานรับใช้ราชการ ผู้หญิงไทยจึงมีภาวะค่อนข้างกดดันที่ต้องรับภาระหลังการแต่งงาน ทั้งในการอบรมเลี้ยงดูลูก ทำมาหากิน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางสังคมอีก ๒ ด้านก็ได้รับการปลดปล่อย ซึ่งแสดงถึงข้อขัดแย้งลึกๆ ในสังคมที่สมาชิกในสังคมเก็บกดไว้และแสดงออกในวันสงกรานต์ เช่น เด็กล้อเล่นกับผู้ใหญ่ได้ ยั่วเย้าได้ โดยไม่ถือว่าเสียมรรยาทหรือเป็นการล่วงละเมิด
 
สถาบันสงฆ์ซึ่งเป็นสถาบันที่ชาวบ้านให้ความเคารพยกย่องและพึงปฏิบัติต่อพระสงฆ์ด้วยความเคารพ ก็ถูกต่อต้านด้วยพฤติกรรมที่ไม่คำนึงถึงข้อห้ามหรือความเหมาะสมที่ผู้หญิงพึงสำรวมต่อสงฆ์ ทั้งพระสงฆ์เองตามประเพณีความเชื่อก็ต้องประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และมีข้อห้ามมากมายที่ไม่สมควรวิสาสะกับผู้หญิง
 
กฎเกณฑ์ข้อห้ามต่างๆ ได้รับการอะลุ้มอล่วยให้ละเมิดได้ในวันสงกรานต์ ถือเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดเพื่อให้กลับไปอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดต่อไปได้
 
คืนสู่ปกติ
การละเล่นในวันสงกรานต์ จึงเป็นพิธีกรรมต่อต้านข้อห้ามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้ โดยเฉพาะระหว่างความสัมพันธ์ของผู้หญิง-ผู้ชาย, ผู้น้อย-ผู้ใหญ่ และพระสงฆ์-ฆราวาส เป็นการต่อต้านที่ไม่เพียงเป็นที่ยอมรับจากสังคมเท่านั้น ยังได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติอีกด้วย
 
พิธีกรรมที่ขบถต่อระเบียบทางสังคมนี้ มีบทบาททางสังคมอย่างยิ่งที่ทำให้ความกดดันและความขัดแย้งในสังคมคลี่คลายระบายออก เพื่อสังคมจะกลับสู่ภาวะปกติสุขเช่นเดิมได้อีก  มักพบในกลุ่มสังคมดั้งเดิมหลายเผ่าพันธุ์ที่สังคมเน้นความแตกต่างของเพศชาย เพศหญิง ที่สถานภาพของผู้หญิงถูกกดว่าต่ำกว่าชาย และในกลุ่มที่มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ให้อิสระแก่ปัจเจกชนอย่างจำกัด พิธีกรรมดังกล่าวจึงทำหน้าที่ผ่อนคลายปัญหาต่างๆ ในแง่ความขัดแย้งในสังคม เพื่อรักษาดุลของสังคมให้อยู่โดยปกติสุข



พระเณรเล่นจุดบั้งไฟในสงกรานต์ที่สิบสองพันนา ไม่ถือเป็นผิด


แข่งวัวเทียมเกวียน งานรื่นเริงช่วงสงกรานต์ที่ จ.เพชรบุรี เมื่อหลายปีมาแล้ว
สมัยโบราณพระสงฆ์ ก็เล่นได้






วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน เข้าทรงแม่สี สงกรานต์ ผีบรรพชน คนสุวรรณภูมิ

แม่สี แปลว่าหญิงผู้เป็นใหญ่ หรือผู้หญิงที่เป็นหัวหน้า (มักเขียนว่า แม่ศรี เพราะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ามาจากคำบาลี-สันสกฤต) หมายถึงผีบรรพชนเพศหญิง

ผู้หญิงที่เป็นใหญ่ หรือเป็นหัวหน้า มีทั่วไปทั้งโลกยุคเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ มีร่องรอยและหลักฐานชัดเจนเป็นที่รู้ทั่วไป เช่น นิทานกำเนิดบ้านเมืองและรัฐทั้งเขมรและมอญ ฯลฯ โดยเฉพาะเขมรมีนิทานเรื่องนางนาค แล้วไทยรับนิทานเรื่องนี้มา ยังเหลือเค้าอยู่ในกฎมณเฑียรบาลชื่อพระราชพิธีเบาะพก ว่าพระเจ้าแผ่นดินต้องบรรทมด้วยแม่หยัวพระพี่ ก็คือนางนาคอย่างเดียวกับนิทานของนครธม  ฉะนั้น แม่สี หมายถึงผีบรรพชนผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้หญิง ก็คือนางนาค (มีเพลงนางนาค ในชุดทำขวัญเป็นพยาน) ที่ปกป้องคุ้มครองเผ่าพันธุ์บ้านเมืองและรัฐจนถึงราชอาณาจักรที่ทุกคนต้องเซ่นวักไหว้ดีพลีถูก หากละเลยเพิกเฉยก็จะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้วิบัติล่มจม

ด้วยเหตุดังนี้ คนแต่ก่อนจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีบรรพชน ที่เรียกไปต่างๆ ว่า พิธีเลี้ยงผี ในวันขึ้นฤดูกาลใหม่ เดือนอ้าย แล้วภายหลังเปลี่ยนเป็นมหาสงกรานต์เดือนห้า ด้วยการเชิญผีมาลงทรง หรือเข้าทรง เพื่อขอคำทำนายทายทักว่าพืชพันธุ์ธัญญาหารปีต่อไปที่จะมาถึงข้างหน้า จะอุดมสมบูรณ์หรือจะล่มแล้งแห้งตาย จะได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ได้ถูกต้อง
 
เข้าทรงแม่สี
เข้าทรงแม่สี เป็นการละเล่นสำคัญที่สุดของพิธีเลี้ยงผีบรรพชนช่วงสงกรานต์  เริ่มด้วยเชิญผีบรรพชนมาลงทรงหญิงคนหนึ่งมีผ้าปิดตา (เข้าทรง) แล้วร่ายรำทำท่าต่างจากอาการปกติในชีวิตประจำวัน โดยมีชาวบ้านที่ร่วมพิธีพากันร้องเพลงและปรบมือเข้าจังหวะพร้อมกัน บางทีเคาะโกร่ง, เกราะ, กรับ (กระบอกไม้ไผ่ขนาดต่างกัน)
 
มีคำร้องตัวอย่างจากความทรงจำต่างๆ กันหลายสำนวนของชาวบ้านแต่ก่อน ดังนี้
           ๏ แม่สีเอย                แม่สีสาสะ
           ยกมือไหว้พระ           ว่าจะมีคนชม
           ขนคิ้วเจ้าต่อ              ขนคอเจ้ากลม
           ชักผ้าปิดนม              ชมแม่สีเอย

           ๏ แม่สีเอย                แม่สีสาวสด
           ใส่แหวนมรกต            ใส่แล้วผัดหน้า
           ดอกไม้ห้อยหู             สีชมพูห้อยบ่า
           น้ำอบชุบผ้า               ห่มเวลาเย็นเอย

           ๏ แม่สีเอย                แม่สีสาคร
           นมยานหน้าอ่อน         ผัวร้างเจ้าไว้
           กระดิกช้างน้อย เป็นทองคำเปลว
           เชิญมาเร็วเร็ว            เถิดแม่ทองสีเอย
 
          ๏ แม่สีเอย                แม่สีสาคร
          นมยานหน้าอ่อน        ผัวมาร้างเจ้าไว้
           สักสองสามปี             ว่าจะมีผัวใหม่
           แค้นอกแค้นใจ           เจ้าแม่สีเอย
 
แม่สี-นางนาค
แม่สีกับนางนาค เป็นผีบรรพชนเดียวกันของคนในชุมชนลุ่มน้ำที่อยู่ใกล้ทะเล เช่น ตระกูลมอญ-เขมร บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา  เมื่อตระกูลไทย-ลาว เคลื่อนย้ายจากลุ่มน้ำโขงลงไปตั้งหลักแหล่งที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาปนกับตระกูลมอญ-เขมร  ก็รับความเชื่อนางนาคหรือแม่สีมาเป็นของพวกตนด้วย
 
มีเนื้อร้องเพลงนางนาคอยู่ในประชุมบทมโหรีโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะแต่งตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับแม่สี เช่น ห่มสไบสีชมพู ฯลฯ ร้องนางนาค พรรณนาความงามของนางนาคที่แต่งตัวปักปิ่นทัดดอกไม้ ประดับดอกจำปาสองหู และที่สำคัญคือห้อยสไบสองบ่าสง่างาม ตามนิทานและตามประเพณีแต่งงาน ที่เจ้าบ่าวจะต้องเดินตามหลังโดยเกาะชายสไบเจ้าสาวเข้าหอ ดังนี้
 
          ๏ เจ้าเอยนางนาค       เจ้าคิดแต่เท่านั้นแล้ว
          เจ้าปักปิ่นแก้ว           แล้วเจ้ามาแซมดอกไม้ไหว   
          จำปาสองหูห้อย         สร้อยสังวาลแลมาลัย 
          ชมพูผ้าสไบ               เจ้าห้อยสองบ่าสง่างาม
 
กิจกรรมหลังเก็บเกี่ยว
เข้าทรงแม่สี เป็นพิธีเลี้ยงผีของคนชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่มีอยู่ก่อนรับศาสนาและสงกรานต์จากอินเดีย  เป็นกิจกรรมเรียกรวมๆ กว้างๆ ว่าประเพณีหลังการเก็บเกี่ยวในฤดูการผลิตเก่า (ราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) เพื่อเตรียมตัวรับฤดูการเพาะปลูกใหม่ที่จะมาถึงในอีก ๒-๓ เดือนข้างหน้า (ราวเดือนมีนาคม-เมษายน)
 
เพลงดนตรี
สิ่งสำคัญในงานเลี้ยงผี คือ การละเล่น ที่ต้องทำร่วมกันทั้งชุมชน ทุกคนร่วมกันเล่นโดยไม่แยกว่าเป็นคนเล่นหรือคนดู   

เครื่องมือสื่อสารสำคัญคือดนตรีและเหล้า เพื่อหลอมละลายพฤติกรรมของทุกคนในชุมชนให้อยู่ในบรรยากาศและจินตนาการอย่างเดียวกันหมด 

ดนตรี มีหลากหลายไม่จำกัดเครื่องมือ สุดแต่ชุมชนนั้นๆ จะกำหนด แต่ที่เป็นหลักทั่วไปคือ ฆ้อง กลอง ปี่ แคน อันเป็นลักษณะร่วมของอุษาคเนย์ทั้งภูมิภาค
 
กลอง มีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญเรียกกลองโทน หรือโทน เป็นเหตุให้เกิดการละเล่นเต้นฟ้อนตามจังหวะกลองโทน แล้วเรียกรำโทน (ที่ต่อมามีผู้คิดค้นสร้างสรรค์ใหม่แล้วเรียกรำวง เพราะชาวบ้านหญิงชายรำเป็นวงกลม)



เข้าทรงแม่สี (แม่ศรี) วันสงกรานต์ แม่สีต้องมีสไบพาดเหมือนคำร้องนางนาค ยุคอยุธยา
(แสดงตัวอย่างที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗)


เข้าทรงแม่สี อ.ศรีประจันต์ จ. สพรรณบุรี
(เอนก นาวิกมูล ถ่าย อา๒๗ พย ๒๕๓๗ SLA-0306-029)


เชิญแม่สีลงทรง บ้านพรงลำบิด หมู่ที่ ๓ ต.หนองโสน อ.เมืองฯ จ.ตราด
(ภาพจาก https://www.youtube.com เผยแพร่โดย สมชาย ก้องสนั่น เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๖)


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2559 15:49:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2559 13:40:09 »


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน คนเล่นเป็นควาย ในพิธีขอฝน เดือน ๖


คนสวมเครื่องประดับศีรษะ และเครื่องแต่งกายคล้ายอยู่ในพิธีกรรม
จูงวัวหรือควายที่ตกแต่งร่างกายแสดงถึงความสำคัญซึ่งมีบทบาทต่อการทำไร่ไถนา
(ลายเส้นคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ภูปลาร้า จ.อุทัยธานี)

เลี้ยงผีบรรพชน เดือน ๕ หน้าแล้ง มีการละเล่นต่อเนื่องยาวนานถึงเดือน ๖ ขอฝน

บวชควาย เป็นการละเล่นในพิธีเลี้ยงผีบรรพชนประจำปีในหน้าแล้งของชาวบ้านเพื่อขอฝนทำนา โดยคนกลุ่มหนึ่งแต่งเป็นควายและแต่งเป็นอื่นๆ เล่นกันทั้งชุมชน แล้วจบลงด้วยกินเลี้ยงกินเหล้า

คนสวมเครื่องประดับศีรษะ และเครื่องแต่งกายคล้ายอยู่ในพิธีกรรม จูงวัวหรือควายที่ตกแต่งร่างกาย แสดงถึงความสำคัญ ซึ่งมีบทบาทต่อการทำไร่ไถนา (ลายเส้นคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ภูปลาร้า จ. อุทัยธานี)

คนสวมเครื่องประดับศีรษะ และเครื่องแต่งกายคล้ายอยู่ในพิธีกรรม จูงวัวหรือควายที่ตกแต่งร่างกาย แสดงถึงความสำคัญ ซึ่งมีบทบาทต่อการทำไร่ไถนา (ลายเส้นคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ภูปลาร้า จ. อุทัยธานี)

ยุคดึกดำบรรพ์ทำกันทั่วไปทั้งภูมิภาค ดังพบในภาพเขียนสีราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ทั้งบริเวณลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ทุกวันนี้เหลือร่องรอยในอีสานและมณฑลกวางสีในจีน

[บวชควาย เป็นชื่อใหม่ แต่โครงสร้างหลักของการละเล่นเป็นพิธีกรรมดั้งเดิมดึกดำบรรพ์]

คำว่า บวช (ในชื่อบวชควาย) ยืมจากศัพท์พุทธศาสนา หมายถึงพิธีกรรมปรับเปลี่ยนสถานะของคนเล่นเป็นควาย จากคนธรรมดาๆ เป็นควายศักดิ์สิทธิ์ ต้องเป็นบุคคลในตระกูลสายแหรกที่ได้รับมอบหมายถ่ายทอดจากชุมชนให้ทำพิธีกรรมนี้ (คนอื่นนอกสายแหรกทำไม่ได้)

[บวชในพุทธศาสนา หมายถึงชายเปลี่ยนสถานะจากคนธรรมดาเป็นนักบวช เช่น ภิกษุ, สามเณร โดยโกนผม แล้วนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมสีที่กำหนด]

 

ควายให้กำเนิดคน
คนสองฝั่งโขงเชื่อว่าควายให้กำเนิดคน โดยคนออกมาจากน้ำเต้าปุงที่งอกจากซากจมูกควายที่ตายแล้ว หลังจากพญาแถนส่งควายลงมาบนโลก อีกทั้งมีนิทานเล่ากันในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่าควายสอนคนให้ปลูกข้าว

นอกจากนี้ คนเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วยังฝังโครงกระดูกควายหรือควายดินเผาร่วมกับศพ เช่น ที่บ้านเชียง และบ้านนาดี จ. อุดรธานี แสดงถึงความสัมพันธ์ของควายต่อพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันชาวจ้วงทางตอนใต้ของจีนยังมีประเพณีที่ยกย่องวัวควายในฐานะผู้ทำให้การเพาะปลูกเจริญงอกงาม



คนแต่งเป็นควายและสัตว์อื่นๆ เกี่ยวกับทำนา เช่น กบ ฯลฯ ในการละเล่นบูชากบขอฝน
ที่หมู่บ้านชาวจ้วง (พูดตระกูลภาษาไท-กะได มณฑลกวางสี ในภาคใต้ของจีน
ติดกับมณฑลกวางตุ้งและเวียดนามภาคเหนือ (ภาพเมื่อมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗)


การละเล่นบวชควายเพื่อขอฝน เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘ บ้านหวายหลึม กับบ้านแมด อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
(ซ้าย) ชกมวยวาย “ปู่เผ้า เจ้าโฮงแดง” ซึ่งชาวเชียงขวัญเชื่อว่าเป็นบรรพชน
(ขวา) ขบวนควายหลวงหรือควายจ่า ฟ้อนเซิ้งครึกครื้นไปกับเสียงดนตรีที่มี “พังฮาด”
(ฆ้องไม่มีปุ่ม) เคียงข้างด้วย “นางว่า” ชายแต่งกายเป็นหญิง

กระอั้วแทงควาย

การละเล่นบวชควายในอีสาน เป็นร่องรอยที่หลงเหลือของพิธีฆ่าควาย (แทงควาย)เอาเลือดควายทำพิธีศักดิ์สิทธิ์เซ่นผีบรรพชน ยุคดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว

พบหลักฐานเก่าสุดในภาพเขียนสีราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว บนเพิงผาและผนังถ้ำ มีรูปควายกับคน ทั้งที่ภาคกลางและภาคอีสาน (นักโบราณคดีไม่อธิบายว่าพิธีอะไร?)

ยุคแรกเริ่มดั้งเดิมการละเล่นนี้ไม่ชื่อบวชควาย(อย่างที่ชาวบ้านเรียกปัจจุบัน) แต่ยังไม่พบหลักฐานว่าชื่อดั้งเดิมว่าอะไร?

ชื่อการละเล่นอย่างนี้เก่าสุดเรียกกระอั้วแทงควาย มีร่องรอยสืบเนื่องตั้งแต่สมัยอยุธยา, ธนบุรี, รัตนโกสินทร์ ในพระราชพิธีสมโภชต่างๆ

มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ในโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า [(วัดบวรสุทธาวาส) ใกล้โรงละครแห่งชาติ เชิงสะพานปิ่นเกล้า ฝั่งกรุงเทพฯ]




กระอั้วแทงควาย จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า
[ภาพจากหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๗ นาฏดุริยางคศิลป์ไทย กรุงรัตนโกสินทร์
พิมพ์เป็นที่ระลึกงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๕ หน้า ๖๓]


ลายเส้นคัดลอกกระอั้วแทงควายจากจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า
โดย ธัชชัย ยอดพิชัย

แล้วยังบอกมีไว้ในหนังสือโคลงดั้นเรื่องโสกันต์ พระราชนิพนธ์ ร.๕ ดังนี้

         นางกระอั้วกั้นร่มเว้า            เผอเรอ
         แป้งเปรอะห่มแดงนม            พลัดกลิ้ง
         เคี้ยวหมากผย่ำเผยอ           ยาจุก ตุ่ยนา
         ทำกระตุกกระติกตุ้งติ้ง          ติดผัว
         พบควายร้องหวีดว้าย           ตะกุย ตาแฮ
         ควายไล่กระชั้นตัว              หอกจ้อง
         กระจายหกกระจุกกระจุย       ของหมด
         ต่างวิ่งวุ่นว้าร้อง                 ช่วยที

ต่อมาชาวบ้านเลียนแบบไปเล่นสืบถึงทุกวันนี้ เรียกกระตั้วแทงเสือ แล้วมีบทร้องทำนองเพลงกราวตะลุงว่าบ้องตันถือหอกไปแทงเสือ



กระอั้วแทงควาย การละเล่นมหรสพหลวง
[ภาพจากหนังสือวัฒนธรรม ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๗หน้า ๒๖]

แทงควาย กลายเป็นแทงเสือ
กระตั้วแทงเสือ เป็นการละเล่นของชาวบ้านภาคกลาง ยุคปัจจุบัน [เป็นอย่างเดียวกันกับเพลงทำนองกราวตะลุง ร้องบ้องตันถือหอกไปแทงเสือ]

ลักษณะโครงสร้างเรื่องอย่างนี้ดัดแปลงเลียนแบบการละเล่นของหลวง ชื่อกระอั้วแทงควาย ทุกวันนี้ในอีสานยังมีการละเล่นแบบนี้ เรียกบวชควาย [มีรายงานพิเศษเรื่องบวชควายอยู่ในประชาชื่น มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๗]





วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน นาตาแฮก แรกนาขวัญ เดือนหก

เดือนหกเริ่มเข้าฤดูการผลิตใหม่ เพราะฝนเริ่มตกแล้ว ถึงเวลาต้องเตรียมเครื่องมือทำไร่ไถนา

ที่สำคัญก็คือต้องทำพิธีแรกนาหรือนาแรก ทางอีสานเรียกนาตาแฮก ในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้วว่า “ฤดูไพศาขยสร้อง ฝนสวรรค์” ต่อจากนี้ไปจะมีพิธีแรกนาขวัญ

แรกนาขวัญชุมชนหมู่บ้านทุกแห่งจะมีธงปักและผูกคันไถปลิวไปตามลมทุกหนทุกแห่ง ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาว่า
       ๏ เดือนหกเรียมไห้ร่ำ                  ฤๅวาย
          ยามย่อมชนบทถือ                 ท่องหล้า
          ธงธวัชโบกโบยปลาย                งอนง่า
          คิดว่ากรกวักข้า                    แล่นตาม ฯ
          ๏ ทันธงบใช่น้อง                    เรียมทรุด
          หิวคระหนรนกาม                   พรั่นกว้า
          ธวัชงอนโบกโบยสุด                 ลิ่วลี่
          กรใช่กรหน้าหน้า                   ใช่น้องนาไถ ฯ

จนถึงปลายกรุงศรีอยุธยาก็ยังมีพรรณนาแรกนาขวัญไว้ในนิราศธารโศกของเจ้าฟ้า ธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) ว่า
          ๏ เดือนหกสรกฝนสวรรค์           จรดนังคัลตามพิธี
          แรกนาเข้าธรณี                     พี่ดูเจ้าเปล่าใจหาย
          ๏ เดือนหกตกครั่นครื้น              ฝนสวรรค์
          พิธีจรดนังคัล                        ก่อเกล้า
          แรกนาจอมไอศวรรย์                 กรุงเทพ
          พี่แลบเห็นเจ้า                        เปล่าแล้วใจหาย

 นาตาแฮก แรกนาขวัญ
แรกนาขวัญ เป็นภาษาของคนในภาคกลางที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตรงกับภาษาของคนบริเวณลุ่มน้ำโขงว่า นาตาแฮก (แฮก คือ แรก)

หมายถึงการไถนาทำนาปลูกข้าวครั้งแรกในนาจำลองขนาดเล็กๆ ที่สมมุติขึ้น แล้วมีพิธีสู่ขวัญวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ (บางทีเรียกผีนาหรือพระภูมินา) จงบันดาลให้ทำนาจริงๆ ได้ผลผลิตเป็นข้าวงอกงามอุดมสมบูรณ์เหมือนนาจำลองที่สมมุติขึ้นครั้งแรกนี้ บางแห่งเช่นภาคเหนือจะทำพิธีสังเวยแม่โพสพพร้อมกันไปด้วย



นาตาแฮก มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว มีวัวหรือควาย กับมีคนถืออาวุธทำท่าล่าวัวควายและมีมือประทับทำแนวโค้ง
พร้อมด้วยลายขีดข่วน [ลายเส้นจำลองจากภาพเขียนสีราว๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ที่ผาหมอนน้อย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี]

พิธีอย่างนี้มีมาแต่ดั้งเดิมในชุมชนคนดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สมัยก่อนๆ ทุกคนที่มีอาชีพทำนาต้องทำกันทั่วไปก่อนจะทำนาจริง

ต่อมาเมื่อราชสำนักรับศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย จึงปรุงแต่งให้สอดคล้องกับพิธีพราหมณ์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์สูงขึ้น เช่น มีพระโคเสี่ยงทาย มีเชิญเทวดามาเสกเป่าข้าวเปลือกที่ใช้หว่านในพิธี

เมื่อเสร็จงานก็ให้ชาวบ้านเก็บเม็ดข้าวเปลือกไปบูชา และโปรยลงในนาของตนเพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวมากขึ้น และรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ

ภาษาทางราชการเรียกจรดพระนังคัล เป็นคำเขมร (นังคัล คือ ผาลไถนา) แปลว่าไถนาครั้งแรก มีหลักฐานในกฎมณเฑียรบาลว่าพระเจ้าแผ่นดินยุคต้นอยุธยาหรือก่อนนั้นมอบให้เจ้านายและขุนนางทำพิธีนี้เพื่อความมั่งคั่งในพืชพันธุ์ธัญญาหารของราชอาณาจักร จะละเว้นมิได้ ต้องทำทุกปี จึงมีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ขวัญ มีอยู่ในคน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติ
คนทุกคนในชุมชน (ยุคก่อนรับศาสนาจากอินเดีย) นานมาแล้วเชื่อว่ามีส่วนประกอบสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือ

ส่วนที่เป็นตัวตนได้แก่ร่างกาย กับส่วนที่ไม่เป็นตัวตนคือขวัญ

แม้สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติก็มีขวัญทั้งนั้น เช่น ขวัญควาย ขวัญยุ้งข้าว ขวัญนา จึงมีพิธีแรกนาขวัญ

ขวัญต่างจากวิญญาณ (ในคำสอนทางศาสนา) เพราะเมื่อคนตายไปวิญญาณก็ดับหายไป แต่ขวัญไม่หายไปพร้อมเจ้าของที่ตาย ในทางตรงข้าม ขวัญของผู้ตายยังมีอยู่ แล้วพยายามหาหนทางกลับเหย้าเรือนเดิมของตน ไม่ว่าเหย้าเรือนเดิมจะอยู่ส่วนไหนของโลก

ขวัญมีหน่วยเดียว แต่ฝังกระจายอยู่ทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่แรกเกิดมาเป็นตัวตน และมีความสำคัญเท่าๆ กันหมด รวมถึงสำคัญเท่ากับร่างกายด้วย เพราะร่างกายต้องมีขวัญ ถ้าไม่มีขวัญก็ไม่มีชีวิต ฉะนั้นร่างกายที่มีชีวิตต้องมีขวัญ เช่น ขวัญหัว ขวัญตา ขวัญมือ ขวัญแขน ขวัญขา ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้คนสมัยก่อนจึงเชื่อว่าถ้ามีขวัญอยู่กับร่างกาย เจ้าของขวัญจะมีความสุข แต่ถ้าขวัญออกจากร่างกายไปเจ้าของขวัญก็ไม่มีความสุข ไม่เป็นปกติ อาจเจ็บไข้ได้ป่วยจนถึงตายได้ ฉะนั้นเมื่อคนเราเจ้าของขวัญเจ็บป่วยแสดงว่าขวัญไม่ได้อยู่กับตัว มีความจำเป็นต้องจัดพิธีเรียกขวัญ หรือพิธีสู่ขวัญให้กลับเข้าสู่ตัวตนเหมือนเดิม จะได้อยู่ดีมีสุขตามปกติ

พิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามท้องถิ่น เช่น เรียกขวัญ, สู่ขวัญ, ทำขวัญ ฯลฯ เป็นพิธีกรรมที่แสดงความผูกพันในระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติระหว่างบุคคลกับครอบครัว และบุคคลกับชุมชน ที่เริ่มมีขึ้นในสังคมชาวนาที่ล้าหลังทางเทคโนโลยี ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว บรรดาเครือญาติจะจัดขึ้นเมื่อเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เช่น ฝันร้าย รวมทั้งได้รับอุบัติเหตุเภทภัยจากสถานการณ์ต่างๆ

ผู้ทำพิธีเกี่ยวกับขวัญด้วยการท่องบ่นคำสู่ขวัญเป็นทำนองอย่างหนึ่งด้วยฉันทลักษณ์กลอนร่าย เรียกหมอขวัญ เป็นคนเดียวกับหมอผี-หมอพร เทียบเท่ากับผู้เชี่ยวชาญพิเศษในวิชาความรู้เหมือนนักบวชในศาสนาต่างๆ สมัยหลัง โดยใช้เครื่องมือสื่อสารกับขวัญและอำนาจเหนือธรรมชาติคือดนตรี มีฆ้องกับแคนเป็นหลัก ที่ภายหลังเรียกปี่-กลอง



พิธีแรกนาขวัญของราชสำนักรัฐสุพรรณภูมิ (ร่วมยุครัฐละโว้-อโยธยา) ราวหลัง พ.ศ.๑๘๐๐
(เศษภาชนะดินเผามีลายประทับรูปบุคคล คันไถ และวัว จากเตาเผาบ้านบางปูน ต.พิหารแดง อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี)


(ซ้าย) ชาวบ้านอีสานกำลังสวดขวัญวิงวอนร้องขออำนาจเหนือธรรมชาติในพิธีนาตาแฮก
โดยปลูกต้นข้าว ๗-๘ ต้น เรียกปักกกแฮก (ภาพก่อน พ.ศ.๒๕๔๗)
(ขวา) ชาวบ้านกำลังแรกนาขวัญก่อนทำนาจริง บ้านโพธิ์สามต้น อ.บางปะหัน
จ.พระนครศรีอยุธยา (ถ่ายราว พ.ศ.๒๕๔๗)


พิธีแรกนาขวัญ แถวขบวนของพระยาแรกนาขณะทำพิธีแรกนาที่ท้องสนามหลวง
(ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ขอฝน เดือน ๖ กบ คางคก คันคาก

เดือนหกตามธรรมชาติจะเริ่มมีฝนตกลงมาบ้าง แต่บางปียังไม่มีฝน คนทั้งหลายเดือดร้อน เพราะวิตกว่าจะลงมือทำนาไม่ได้ เลยเกิดประเพณีขอฝน

ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือจุดบั้งไฟขอฝน จากระบบความเชื่อดั้งเดิมดึกดำบรรพ์เกี่ยวกับกบและคันคาก (คางคก) มากกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ให้น้ำ
ความเชื่อว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างกบ-คางคก-คันคาก เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว พยานหลักฐานมี ๒ อย่าง คือ

•กบสัมฤทธิ์ ประดับอยู่หน้ากลองทอง หรือกลองสัมฤทธิ์ ที่เรียกกันภายหลังว่ามโหระทึก ใช้ตีขอฝน ฯลฯ พบทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
•คนทำท่ากบ เป็นภาพเขียนสีบนหน้าผาในถ้ำ และสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ วาดรูปคนกางแขน-ขาทำท่าเหมือนกบ พบมากที่ชุมชนชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีในจีน แล้วยังพบในไทยด้วย มีอายุราว ๒,๐๐ ปีมาแล้ว

ลายสัก หรือสักหมึก ตามร่างกาย แขนขาของผู้คนชนเผ่าในอุษาคเนย์ ล้วนเกี่ยวข้องกับกบ เพราะยุคแรกเริ่มทำลวดลายเหมือนผิวหนังกบจริงๆ ถือเป็นเครื่องรางปกป้องคุ้มครองให้คลาดแคล้วจากภยันตรายและทำให้มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์

เหตุที่คนแต่ก่อนทำท่ากบ เพราะเชื่อว่ากบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์สื่อสารกับอำนาจอย่างหนึ่งได้ ทำให้มีน้ำฝนหล่นจากฟ้ามาสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหารความอุดมสมบูรณ์

แต่ฝนก็ไม่ได้ตกลงมาทุกคราวตามต้องการ เพราะยังมีฤดูที่ฝนไม่ตก ทำให้แห้งแล้ง คนเลยต้องบูชากบเพื่อวิงวอนร้องขอให้กบช่วยบอกผู้มีอำนาจบนฟ้าปล่อยน้ำลงมาเป็นฝนตก

นี่เองจึงมีพิธีกรรม มีการละเล่นเต้นฟ้อนทำท่ากบบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลานกว้างตรงหน้าผาที่เขียนรูปไว้บูชาเซ่นวักวิงวอน ดังมีอยู่ทั่วไปตั้งแต่ผาลายในมณฑลกวางสี จนถึงสองฝั่งโขงที่ผาแต้ม (จ.อุบลราชธานี) กับเขาปลาร้า (จ.อุทัยธานี)

คันคาก
แต่การวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติผ่านพิธีบูชากบไม่สำเร็จเสมอไป เพราะมนุษย์ควบคุมธรรมชาติไม่ได้ ฉะนั้นหลายครั้งฝนก็ไม่ตกตามที่คนต้องการ

เลยจินตนาการว่าผู้มีอำนาจบนฟ้ากำลังประพฤติมิชอบ ต้องกำราบปราบปรามให้อยู่ในความควบคุม แล้วปล่อยน้ำฝนหล่นมาตามต้องการเมื่อถึงเวลาฤดูกาลทำไร่ทำนา

ทำให้คนสร้างเรื่องขึ้นจากจินตนาการ แล้วบอกเล่ากันปากต่อปากสืบมาเป็นนิทาน เรื่องพญาคันคาก หรือคางคกยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า ทำให้เกิดประเพณีจุดบั้งไฟบอกแถนฟ้าให้ฝนตก แต่ลงท้ายก็ล้มเหลวหมด คือเอาชนะธรรมชาติอย่างแท้จริงไม่ได้

คันคาก เป็นคำลาว ตรงกับคำไทยว่า คางคก คันคาก หรือคางคก เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทเดียวกับกบ รวมทั้งเขียดและอึ่งอ่าง ที่คนดั้งเดิมเริ่มแรกยุคดึกดำบรรพ์ (หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์) เคารพยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของน้ำและฝน เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำนองทั่วไป ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผู้คนทุกชนเผ่าที่มีหลักแหล่งอยู่เขตมรสุมที่ทำกสิกรรมโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น เพราะยังล้าหลังทางเทคโนโลยี

คำบอกเล่าอย่างนี้ ยุคแรกเริ่มเป็นเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ ใช้บอกเล่าสาธยายในพิธีกรรมขอฝน นานเข้าก็แต่งเติมเสริมต่อยาวขึ้น เมื่อตกไปอยู่กับกลุ่มชนต่างๆ ก็ยิ่งเพิ่มรายละเอียดเข้าไปอีกให้เป็นไปตามประสบการณ์ของกลุ่มตน

ครั้นบางกลุ่มเมื่อรับศาสนาจากบ้านเมืองและรัฐที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้ว ก็ยังบอกเล่าเรื่องเก่าๆ ต่อเนื่องมา แต่เพิ่มความเชื่อใหม่ที่ได้จากศาสนาเข้าไปด้วย ดังมีแทรกในเรื่องพญาคันคาก

ส่วนกลุ่มชนที่อยู่ห่างไกลและล้าหลังทางเทคโนโลยี เพราะไม่ได้รับศาสนาจากที่ไหน ก็สืบทอดแบบแผนดั้งเดิมไว้มากที่สุด ดังพบในกลุ่มชนชาติจ้วงที่มณฑลกวางสี ยังมีพิธีกรรมบูชากบแล้วมีการละเล่นเต้นฟ้อนทำท่ากบเหมือนภาพเขียนสีเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วสืบจนทุกวันนี้

นอกจากนั้นยังมีคำบอกเล่าในรูปของนิทานบันทึกไว้ มีโครงเรื่องใกล้เคียงคล้ายคลึงกับนิทานเรื่องแถนที่แพร่หลายอยู่ในกลุ่มไทยดำทางภาคเหนือของเวียดนาม กับพงศาวดารล้านช้างในลาว

นิทานของชาวจ้วงไม่มีนาค แต่เรื่องพญาคันคากมีนาค เพราะคำนี้ไม่ใช่สมบัติของคนพื้นเมืองในภูมิภาคนี้ หากเป็นคำในตระกูลอินโด-ยุโรป ที่คนจากชมพูทวีป (อินเดีย) ใช้เรียกคนพื้นเมืองที่ล้าหลังทางเทคโนโลยีอย่างรวมๆ และโดยเฉพาะที่มีหลักแหล่งอยู่ทางปากน้ำโขง, เจ้าพระยา, และสาละวิน ต่อมาภายหลังจึงแพร่หลายทั่วไปถึงดินแดนภายใน แล้วมีความหมายเปลี่ยนไปเป็นงู ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษ แต่มีอำนาจควบคุมน้ำและมีหลักแหล่งอยู่ใต้ดิน เรียกว่าบาดาล

บริเวณสองฝั่งโขงยุคดึกดำบรรพ์เชื่อว่าหนองน้ำคือถิ่นที่อยู่ของนาค และน้ำผุด น้ำพุ น้ำซึม น้ำซับ รวมทั้งบ่อน้ำ คือรูนาค ที่เป็นเส้นทางไปมาของนาค จอมปลวกก็คือรูนาคอย่างหนึ่ง เพราะมีตาน้ำอยู่ข้างใน

แต่เรื่องพญาคันคากกำหนดให้น้ำอยู่บนฟ้า มีพญาแถนรักษาไว้ น้ำบนฟ้าจะตกลงมาเป็นน้ำฝนให้มนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อนาคจากบาดาลขึ้นไปเล่นน้ำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ไปกระทบโขดหินขุนเขาบนสวรรค์ คือหมู่เมฆนั่นเอง น้ำบนฟ้าจึงจะแตกกระจายกลายเป็นฝนหล่นลงมาสู่โลก ถ้านาคไม่ขึ้นไปเล่นน้ำก็ไม่มีฝน

โครงเรื่องอย่างนี้สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อของมนุษย์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างดินกับฟ้าว่าต้องอ้างอิงเกี่ยวข้องกัน

วัฒนธรรมฆ้อง
ฆ้อง เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ มีแหล่งกำเนิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ แล้วแพร่กระจายลงไปทางหมู่เกาะทะเลใต้ มีใช้ในทุกกลุ่มชาติพันธุ์สืบเนื่องถึงทุกวันนี้

คำว่าฆ้อง อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู คำเดียวกับระฆัง เคยมีใช้ในภาษาไทยคู่กันว่าระฆ้องระฆัง แต่ต่อมากร่อนกลายเหลือเป็นฆ้องคำหนึ่ง และระฆังอีกคำหนึ่ง

คำว่าฆ้องใช้เรียกเครื่องมือทำด้วยโลหะ เช่น ทองสัมฤทธิ์ ฯลฯ แต่มักรู้จักทั่วไปว่า กลองทอง (หรือมโหระทึก) และใช้ประโคมตีขอฝนให้เป็นเสียงสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ คือผี ฯลฯ ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาชนเผ่าชาติพันธุ์ทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

กลองทองบางใบมีรูปกบหล่อสัมฤทธิ์ลอยตัว ประดับหน้ากลองเป็นสี่ตำแหน่ง คนบางกลุ่มจึงเรียกฆ้องกบ เพราะกบเป็นสัญลักษณ์ของฝนที่บันดาลน้ำให้ทำนา



พิธีกรรมขอฝนมีกลองทองอยู่ด้วยเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว (จากภาพเขียนสีที่ถ้ำตาด้วง จ. กาญจนบุรี)


กบบนหน้ากลองทอง สัญลักษณ์สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ฝนตก


ฆ้องและกลองทอง เครื่องประโคมในพิธีแรกนาขวัญ เป็นสัญลักษณ์ขอฝน
(พิธีแรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวง พ.ศ.๒๕๔๗)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤษภาคม 2559 13:41:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2559 16:39:45 »


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน แห่นางแมว แล้วปั้นเมฆ ขอฝน เดือน ๖
(ประเพณี ๑๒ เดือน


ขอฝน เดือน ๖ ไม่มีกำหนดรูปแบบตายตัวว่าต้องอย่างนี้ อย่างนั้น อย่างโน้น

จะทำยังไง? เมื่อไร? แค่ไหน? ฯลฯ แท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ จะตกลงร่วมกัน เช่น ขอแล้วขอเล่าฝนก็ไม่ตก ท้ายสุดต้องจุดบั้งไฟ ง่ายสุดคือแห่นางแมว กับปั้นเมฆ



ขบวนแห่นางแมวที่บ้านหัวสำโรง กิ่ง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
(รูปจากรายการพื้นบ้านสัญจร พิมพ์ในหนังสือเพลงนอกศตวรรษ
ของ เอนก นาวิกมูล สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๐)


“ตุ๊กตาโดเรมอนก็เป็นแมวเหมือนกัน” ที่ชาวบ้านต้องใช้ตุ๊กตาโดเรมอนแทนแมวจริงๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายทารุณกรรมสัตว์ ที่เคยเกิดปัญหาในหลายพื้นที่ นับเป็นพลังสร้างสรรค์
ด้วยอารมณ์ขันยอดเยี่ยม ที่หลีกเลี่ยงกระทำทารุณแมว ขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งประเพณีแห่นางแมว

แห่โดเรมอน–ชาวบ้าน ๕ หมู่บ้าน ต.วังหลวง อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ รวมตัวกันแห่นางแมวขอฝน
หลังพื้นที่การเกษตรกว่า ๔,๗๕๐ ไร่ ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก โดยใช้ตุ๊กตาแมวโดเรมอนแทน
 เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายทารุณกรรมสัตว์ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน
(ภาพและคำอธิบายภาพจากมติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๑)

คาถาปลาช่อน
 แห่นางแมว ต้องมีคาถาปลาช่อนของชาวบ้านภาคกลางมีบทร้องขอฝนด้วย แต่มีหลายสำนวน จะยกตัวอย่าง ๒ สำนวน ดังนี้

“นิมนต์พระมา สวดคาถาปลาช่อน ปั้นเมฆเสียก่อน —–”

“นิมนต์ขรัวชั่ว สวดคาถาปลาช่อน ขี้เมฆสองก้อน มีละครสามวัน จับคนชนกัน ฝนเทลงมา ฝนเทลงมา…”

ปลาช่อน เป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย ที่มักรู้จักทั่วไปในนามปลัดขิก

ถ้าอวัยวะเพศหญิง บางทีเป็นปลาสลิด, ปลากระดี่ มีรูปร่างแบนๆ แต่มักจะใช้หอย เพราะพบเปลือกหอยบ่อยๆ ในแหล่งโบราณคดี ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว




ขอฝน – ชาว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา แต่งกายชุดสีขาวร่วมกันประกอบพิธี
สวดพุทธมนต์ขอฝนพระพุทธไสยาสน์ หน้าองค์พระพุทธไสยาสน์
วัดธรรมจักรเสมาราม อ.สูงเนิน (พระนอน) พร้อมโยงสายสิญจน์กับอ่างปลาช่อน ๙ ตัว
“สวดคาถาปลาช่อน” ตามความเชื่อท้องถิ่นในการขอฝน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ
ต่อการต่อปลูกข้าวนาปี เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน (ภาพและคำอธิบายภาพจากมติชน
ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๑)

ปั้นเมฆขอฝน
ชาวบ้านปั้นเมฆขอฝนด้วยดินเหนียว ขนาดเท่าคนจริง ชาย ๑ คน หญิง ๑ คน ร่วมเพศกัน โดยมีผู้ชายอีก ๑ คนนั่งดู บริเวณทางสามแพร่ง ปากทางเข้าบ้านนาตะกรุด ต.ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

ชาวบ้านบอกว่าทำเป็นประเพณีสืบทอดมากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว

หุ่นผู้ชายชื่อนายเมฆ และหุ่นผู้หญิงชื่อนางฝน และหุ่นผู้ชายที่นั่งดู หรือรอต่อคิว ชื่อนายหมอก

ภาพอุจาดประจานต่อสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา เชื่อว่าทำให้เกิดอาเพศ เทวดาทนดูไม่ได้ จึงดลบันดาลให้ฝนตกลงมา ชะล้างหุ่นดินเหนียวให้ละลายหายไป

(ข่าวสด ฉบับวันพุธที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ หน้า ๑๔)

“ปั้นเมฆ” กับ “เมฆสองก้อน” ในประเพณีดั้งเดิมของชาวบ้าน คือปั้นหอยกับหำขนาดใหญ่ แล้วตั้งไว้ที่โล่งแจ้งให้คนเห็นทั้งชุมชน

หรือมิฉะนั้นก็ปั้นหญิงกับชายเปลือยกายปี้กัน แล้ววางไว้กลางทุ่งนา หรือลานกลางบ้านก็ได้

ปั้นเมฆ เป็นคำเก่าแก่ดั้งเดิม หมายถึงพิธีขอฝน โดยทำรูปอวัยวะเพศหญิงกับชายไว้กลางแจ้งขนาดใหญ่และอุจาดที่สุด บางทีปั้นรูปหญิงชายร่วมเพศ เพราะเชื่อว่าทำให้มีน้ำฝนพุ่งหล่นจากเมฆบนฟ้า

เคยพบรูปหล่อสำริดหญิงชายเฮ็ดกันในวัฒนธรรมดองซอน (อยู่ภาคเหนือของเวียดนาม) ราว ๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว




พิธีโบราณ–ชาวบ้านนาตะกรุด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
ปั้นดินเหนียวเป็นรูปชาย-หญิงเสพสังวาส ตั้งไว้กลางสามแยกทางเข้าหมู่บ้าน
ระบุเป็นพิธีกรรมขอฝนแบบโบราณกว่า ๑๐๐ ปี หลังจากแห่นางแมวแล้ว แต่ฝนไม่ตก
(ภาพและคำบรรยายภาพจากข่าวสด ฉบับวันพุธที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ หน้า ๑)


พิธีร่วมเพศขอฝน เพื่อความอยู่รอดของคนทั้งเผ่าพันธุ์ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
(ซ้าย เส้นทึบ) ภาพเขียนสีที่ผาลาย ของชาวจ้วง มณฑลกวางสี จีน
(ขวา เส้นโปร่ง) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ ประดับภาชนะสัมฤทธิ์ พบที่เวียดนาม

ร่วมเพศ เป็นพิธีกรรม
นอกเหนือจากเพื่อสืบพันธุ์หรือดำรงเผ่าพันธุ์ ร่วมเพศยุคดึกดำบรรพ์เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอฝนด้วย

เพื่อขอความงอกงามอุดมสมบูรณ์ให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ มีหลักฐานโบราณคดีจำนวนไม่น้อย แสดงพิธีร่วมเพศ

คำขับบอกเล่าเรื่องราวบรรพชนในพิธีเลี้ยงผี มีพรรณนาการร่วมเพศเพื่อขอฝน เช่น คำเล่าความเมืองของผู้ไทในเวียดนาม เป็นต้น

ตำนานเมืองพระนครหลวง (นครธม) ในกัมพูชา เชื่อว่าทุกคืนนางนาคแปลงร่างเป็นสาว เพื่อร่วมเพศสมพาสกับพระราชาบนปราสาท ถ้าคืนใดพระราชาไม่ร่วมเพศสมพาสกับนางนาคคราวนั้นพระราชาก็จะถึงกาลวิบัติ และบ้านเมืองจะล่มจม

กฎมณเฑียรบาลกรุงศรีอยุธยา ระบุว่าพระราชพิธีเบาะพกที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จไปบรรทมกับแม่นางเมือง (เรียกแม่หยัวพระพี่) ในพระตำหนักศักดิ์สิทธิ์

[หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินต้องทรงร่วมเพศสมพาสกับนางนาค ซึ่งเป็นแบบแผนดั้งเดิมที่สืบจากกัมพูชา]






วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน บุญกลางบ้าน เลี้ยงผีบ้าน
(ประเพณี ๑๒ เดือน

บุญกลางบ้าน ปัจจุบันหมายถึงทำบุญเลี้ยงพระกลางหมู่บ้านเพื่อสะเดาะเคราะห์ เดือน ๖ ต่อเนื่องเดือน ๗ (ราวพฤษภาคม)

กำหนดเวลาไม่ตายตัว โดยขึ้นกับหมู่บ้านจะนัดหมายกัน เพราะเป็นงานเฉพาะชุมชนหมู่บ้าน

เช้า นิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์ฉันเช้า เสร็จแล้วเอากระทงเครื่องเซ่นไปพลีไว้ที่ใดที่หนึ่งของหมู่บ้าน เช่น ทางสามแพร่ง ฯลฯ

 
เลี้ยงผีบ้าน
บุญกลางบ้าน มีต้นเค้าหรือรากเหง้าเก่าแก่จากพิธีเลี้ยงผีบ้านบริเวณลานกลางบ้าน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนยุคแรกเริ่มมากกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว (ก่อนรับศาสนาจากอินเดีย) เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจากผีร้ายและการกระทำต่างๆ จากผีเลว

ผีบ้าน หมายถึงผีบรรพชนเจ้าที่ คอยปกป้องคุ้มครองชุมชนหมู่บ้าน

บ้าน ยุคดั้งเดิมหมายถึงหมู่บ้าน, ชุมชน ตรงกับ village, community

เรือน หมายถึงที่อยู่อาศัยเป็นหลังๆ ตรงกับ house, home แต่ละหลังมีผีเรือน คือ ผีบรรพชนของตระกูล หรือครอบครัวนั้นๆ

ลานกลางบ้าน
ลานกลางบ้านยุคดึกดำบรรพ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผี เป็นที่ฝังศพของตระกูลหมอมด, หมอผี, หัวหน้าเผ่า

ที่ฝังศพ
ที่ฝังศพของหัวหน้าเผ่า ซึ่งเป็นหมอมด, หมอผี อยู่ลานกลางบ้าน บางทีอยู่ใต้ถุนเรือนของใครของมัน

ตัวอย่างสำคัญเป็นพยาน ได้แก่ บ้านเชียง (จ. อุดรธานี) นักโบราณคดีขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ มีเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับจำนวนมากฝังรวมด้วย ล้วนเป็นของมีค่าในยุคนั้น และทำด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น สำริด, เหล็ก อายุราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว

โครงกระดูกเหล่านี้เป็นของตระกูลหมอมด, หมอผี, หัวหน้าเผ่า เพราะคนทั่วไปไม่มีสมบัติมากอย่างนั้น และไม่มีพลังขุดหลุมฝังศพ เพราะไม่มีบริวาร ต้องทิ้งศพไว้ในป่าดงให้แร้งกากิน

ที่ฝังศพยุคดึกดำบรรพ์ไม่เรียกป่าช้าสถานที่น่ารังเกียจเหมือนปัจจุบัน เพราะแนวคิดเกี่ยวกับคนตายต่างจากปัจจุบัน


ตุ๊กตาเสียกระบาน ไม่ใช่ตุ๊กตาคอหัก
ตุ๊กตาเสียกระบาน เป็นความเชื่อในศาสนาผีเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ก่อนรับศาสนาพราหมณ์-พุทธจากอินเดีย หรือก่อน พ.ศ.๑๐๐๐

เก่าสุดเท่าที่พบขณะนี้ทำด้วยดินเผา มีขนาดเล็กๆ ทั้งรูปคน, สัตว์ ราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และอายุหลังลงมาพบจากการขุดค้นที่เมืองอู่ทอง (อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี)

[มีในบทความเรื่องประติมากรรมพื้นบ้านของอู่ทอง ของ เขียน ยิ้มศิริ (อดีตคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร) พิมพ์ในหนังสือโบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง (กรมศิลปากร รวบรวมจัดพิมพ์ เนื่องในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ หน้า ๖๑-๗๐)]

ตุ๊กตาเสียกระบาน หมายถึงตุ๊กตาที่ใส่ลงกะบานผี พร้อมเครื่องเซ่นสังเวยในพิธีสะเดาะเคราะห์ ไปทิ้งตรงทางแยก, ตามโคนต้นไม้, ในป่าช้า ฯลฯ หรือลอยน้ำ (พจนานุกรม ฉบับมติชน พ.ศ.๒๕๔๗ หน้า ๓๗๙ และ ๘๘๘)

ตุ๊กตา คือรูปปั้นขนาดเล็กทำจากดินเหนียว เป็นรูปคน, สัตว์, สิ่งของ ฯลฯ ที่เจ้าภาพหรือเจ้าบ้านต้องการสะเดาะเคราะห์ให้พ้นโรคภัยไข้เจ็บจากการกระทำของผีร้าย

เสีย แปลว่า ทิ้ง

กระบาน หมายถึง กระบะ หรือภาชนะเป็นสี่เหลี่ยมใส่เครื่องเซ่นสังเวย เรียก กะบานผี (บางทีเขียนปะปนเป็น กบาล หรือ กระบาล ก็มี)

ทุกวันนี้ยังทำเสียกะบาน (แต่บางแห่งเรียกกระทง) ใส่เครื่องเซ่นสังเวยโดยไม่มีตุ๊กตาวางไว้ตามที่ต่างๆ ทั้งในกัมพูชา, ลาว, และไทย

แต่ก่อนมักเขียนว่า ตุ๊กตาเสียกระบาล แล้วเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าหมายถึงตุ๊กตาคอหัก หรือพระดินเผาขนาดเล็กคอหักเหมือนตุ๊กตาที่ใช้ทำบุญใส่บาตรว่าตุ๊กตาเสียกระบาล โดยเชื่อว่าต้องทำให้เศียรพระหักหรือคอหักเสียก่อน เท่ากับเสียเคราะห์หรือฟาดเคราะห์

ในความจริงเหตุที่หักเพราะตรงลำคอของรูปปั้นหรือหินแกะสลัก เป็นส่วนเปราะบางที่สุด แม้ขนาดใหญ่แกะด้วยหินก็ชำรุดตรงคอทั้งนั้น มีหลักฐานมากมายตามเมืองโบราณ โดยเฉพาะที่เมืองพะเยา (จ.พะเยา) มีพระพุทธรูปหินทรายเศียรหักเกลื่อนกลาด

กระบาล แปลว่า หัว, กะโหลกของหัว (แผลงจากคำเขมรว่ากฺบาล) ไม่เกี่ยวกับเรื่องตุ๊กตาเสียกระบานในการสะเดาะเคราะห์ แต่เสียงพ้องกับคำว่ากระบานที่ถูกลืมความหมายไปแล้ว เลยเอามาปนกัน




ตุ๊กตาเสียกระบาน ยุคดึกดำบรรพ์
(บน) ควายดินเผา ขุดพบในหลุมศพ ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว บ้านนาดี อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
(ล่างซ้าย) ควายดินเผา ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ขุดพบที่บ้านใหม่ชัยมงคล ใกล้เมืองจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
(ล่างขวา) วัวดินเผา อายุราว ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบที่บ้านโนนหมากลา จ.ลพบุรี



บุญกลางบ้าน ต.เนินพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมื่อเช้าตรู่วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
มีที่โรงเรียนวัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตเมืองพระรถ (ยุคทวารวดี ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐)
เพราะแต่เดิมเป็นบริเวณเนินสูงกลางหมู่บ้าน (ก่อนสร้างโรงเรียน)  ของสำคัญบุญกลางบ้าน
ที่คนไปร่วมต้องถือไปด้วย คือ กระทงกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยม ใบตองรองพื้น แต่ทำรูปสามเหลี่ยม
ก็ได้ตามถนัด แล้วมีห้องกั้นเล็กๆ ใส่ของ สำหรับใส่เครื่องสะเดาะเคราะห์ให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

ห้องต่างๆ ใส่เครื่องเซ่น เช่น อาหารคาวหวาน, ข้าวขาว, ข้าวดำ, ข้าวแดง ฯลฯ
ที่สำคัญคือปั้นดินเหนียวรูปคนและสัตว์ เช่น วัว, ควาย ที่มีในครอบครัวเป็นตัวแทน
ของครอบครัวนั้นๆ ทุกวันนี้เมื่อไม่เลี้ยงวัวควาย แต่เลี้ยงสัตว์อื่น ก็ปั้นสัตว์นั้นแทน
เช่น แมว, หมา, หมู, กระต่าย ฯลฯ ปัจจุบันหาดินเหนียวไม่ได้ หรือไม่อยากเลอะมือปั้น
ก็ใช้ดินน้ำมัน หรือซื้อตุ๊กตาสำเร็จรูป

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กรกฎาคม 2559 14:48:00 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2559 15:48:35 »


วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ตุ๊กตาเสียกระบาน บุญกลางบ้าน, บุญซำฮะ, บุญเบิกบ้าน
(ประเพณี ๑๒ เดือน)

ตุ๊กตาเสียกระบาน หมายถึงรูปจำลองคนและสัตว์ตามจำนาวนในครอบครัว ใส่ในกะบานผี ในงานเลี้ยงผีบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองจากผีร้าย

มีพิธีในเดือน ๖ ต่อเนื่องเดือน ๗ ทางภาคกลางเรียกบุญกลางบ้าน แต่ในอีสานเรียก บุญเบิกบ้าน, บุญซำฮะ

อ.สมชาย นิลอาธิ (จ. มหาสารคาม) ลงพื้นที่ร่วมงานบุญ แล้วมีรายงานพร้อมรูปถ่าย ดังต่อไปนี้
 
บุญเลี้ยงบ้าน
บุญซำฮะ (คือบุญชำระ) เป็นชื่อเรียกบุญประจำเดือน ๗ ในฮีต ๑๒ (แม้จะเป็นงานบุญประจำเดือน ๗ แต่บางแห่งก็จะเลื่อนมาจัดร่วมหรือติดๆ กันกับบุญบั้งไฟ เดือน ๖ ก็มี)

แต่ชาวบ้านอีสานรวมทั้งกลุ่มผู้ไท, ญ้อ เรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อ เช่น บุญเบิกบ้าน, บุญเลี้ยงบ้าน ฯลฯ เกี่ยวข้องกับความเชื่อผีปู่ตาและบือบ้าน

หลักบ้านของผีปู่ตา หรือเจ้าปู่ ตั้งอยู่ริมหมู่บ้าน มีข้อห้ามหลายอย่างในบริเวณที่กำหนดให้เป็นที่ดินของเจ้าปู่และเป็นเจ้าของผู้รักษาทั้งต้นไม้และสัตว์ทุกชนิดจนหนาทึบเป็นป่าปู่ตา หรือดอนปู่ตา ซึ่งมักเรียกกันว่าหลักบ้าน

บือบ้านอยู่กลางชุมชน โดยมีหมอสูด (สูตรสวด) เป็นผู้ทำพิธีตอกหลักเสาไม้เป็นสัญลักษณ์ไว้ เรียกว่า บือบ้าน (สะดือบ้าน) หรือ หลักบือบ้าน ปรกติจะเป็นบริเวณลานดินกว้างใช้ประโยชน์ร่วมกันในหลายๆ โอกาส โดยเฉพาะในงานบุญซำฮะ

เสาหลักไม้ที่ปักอยู่ในลานกว้างกลางบ้านคือสัญลักษณ์ศูนย์กลางร่วมของชุมชน ทำพิธีกรรมเลี้ยงบ้านประจำปี แต่เดิมชาวบ้านจะช่วยกันทำความสะอาดสถานที่และสร้างตูบผาม (ปะรำ) ชั่วคราว เพื่อเป็นที่พักร่มทำพิธีกรรมที่มักเรียกภายหลังว่า ศาลากลางบ้าน

โดยจัดเตรียมเครื่องพิธีต่างๆ เพื่อวางบูชาอย่างน้อย ๕ แห่ง คือ เครื่องพิธีสำหรับเสาหลักบือบ้าน และเครื่องทำพิธีสำหรับวางไว้ ๔ ทิศ รอบหมู่บ้านซึ่งบางแห่งก็จะวางไว้ตามทางแยกริมๆ หมู่บ้านก็มีบ้าง
      
เตรียมหินกรวดและทราย กับช่วยกันขึงโยงฝ้ายสายสิญจน์อ้อมโยงไปตามหลังคาเรือนต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน หรือโยงอ้อมรอบหมู่บ้านเพื่อเป็นสัญลักษณ์การร่วมพิธีกรรมที่จะขับไล่ผีร้าย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่จะเข้ามาในหมู่บ้าน

ต้องโยนหว่านหินกรวด เข้าในบริเวณบ้านหรือหลังคาเรือนให้เกิดเสียงขับไล่ผีร้ายไปด้วย

เครื่องพิธีสำคัญคือ ขันห้า มีดอกไม้ ๕ คู่ และเทียนขี้ผึ้ง ๕ คู่ สำหรับหมอสูดใช้ทำพิธีเกี่ยวกับผีวิญญาณทั้งผีดีและผีร้าย

พิธีกรรมเลี้ยงบ้านหรือเลี้ยงกลางบ้านมีสูด (สวด) มุงคุล โดยหมอสูดในตอนเย็น-ค่ำ ๓ วัน ติดต่อกัน เมื่อยอมรับศาสนาพุทธแล้วจึงมีการนิมนต์พระสงฆ์สวดพุทธมนต์เย็น ๓ วัน

หลายแห่งจะปรับการสร้างตูบผามชั่วคราวให้ถาวรด้วยการยกพื้นต่างระดับคล้ายจะเลียนแบบหอแจกคือศาลาการเปรียญในวัดจนเรียกว่าศาลากลางบ้าน

รุ่งเช้าของวันที่ ๔ ชาวบ้านร่วมถวายจังหันที่บริเวณหลักบือบ้าน จากนั้นร่วมขบวนกันไปตบประทายรอบๆ หมู่บ้าน และตามสี่แยก และให้ไปจบสุดที่บริเวณศาลปู่ตา ซึ่งตอนนี้จะมี “ควายจ่า” หรือ “ควายฮ้า” เข้าร่วมเล่นถวายบูชาเจ้าปู่ตา ร่วมกับชาวบ้าน ตบประทายด้วย

จบพิธีบุญเบิกบ้าน ด้วยการถวายเพลพระ
 
เครื่องพิธีบุญเบิกบ้าน
แต่เดิมทำกระทง ๙ ห้อง ด้วยกาบกล้วย ในแต่ละห้องปั้นดินเหนียวรูปคนและสัตว์ มีวัวควายใส่ไว้โดยไม่กำหนดจำนวน ทางภาคกลางเรียกตุ๊กตาเสียกระบาน ต่อภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้กาบกล้วยปาดแทงเป็นรูปคนสัตว์แทนดินเหนียว
 
สิ่งอื่นๆ ที่จัดใส่ในกระทง ๙  ห้อง มี เหมี้ยว, หมากคำ, ยากอก, ข้าวขาว, ข้าวดำ, ข้าวแดง, พริก, เกลือ, ปลาแดก, หอม, กระเทียม, เป็นต้น

ในอดีตเคยเชิญหมอสูตรทำพิธีสูตรเฉพาะในวันแรกเท่านั้น ภายหลังจึงนิมนต์พระสวดมงคลทั้ง ๓ วัน

ปัจจุบันตั้งเสาไม้ไผ่สูง ๔ เสาทำเป็นหอยกพื้นเหนือหลักบือบ้าน วางเครื่อง “คุรุพัน” เป็นเสมือนหลักประธานไว้กลางพื้นหอ ตบประทายไว้ ๔ มุมของเครื่องคุรุพัน, แต่งเสาทั้ง ๔ ต้นด้วยต้นกล้วย, อ้อย, ธงซ้อ (ธงหน้างัว), ฉัตร (กระดาษ), มุมเสาหอทั้ง ๔ วางเครื่องบูชามีขันหมากเบ็ง, กระทง, เครื่องคาว, กระทงหมากคำและยากอก, ดอกไม้

พื้นรอบหลักบือบ้าน ขึงราวเทียนรอบ ๔ ด้าน ยึดกับเสาหอ, โคนเสาวางอ่างใส่ใบบัว และจอกแหน, มะพร้าวแก่ออกงอกหน่อ
 
ทำพิธีบุญเบิกบ้าน
ชาวบ้านทยอยกันไปร่วมพิธีพร้อมเครื่องพิธีมีขัน ๕ บูชาหลักบือบ้านและบูชาพระพุทธรูป

แต่ละครอบครัวเตรียมหินย่อย, หินกรวด, หินแลง, หรือทราย แล้วแต่จะหาได้ของใครของมันมาวางไว้รอบๆ พื้นหลักบือบ้าน

เมื่อเสร็จพิธีบุญแล้ว ต่างนำหินและทรายไปหว่านที่ประตูรั้วบ้านหรือหน้าบันไดเรือนของตน



หลักบือบ้าน ตั้งอยู่มุมสี่แยกในชุมชน บ้านหวายหลึม ต.พระเจ้า อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
(ขวา) ชาวบ้านร่วมพิธีเลี้ยงบุญกลางบ้าน หน้าศาลากลางบ้าน เวลาประมาณ ๕ โมงเย็น
เสร็จพิธีประมาณ ๑๖.๔๐ น. (๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที)


(ซ้าย) หอหลักบือบ้าน (ด้านล่าง) ชาวบ้านแต่ละครอบครัวต่างเตรียมก้อนหิน,
กรวดหิน, กรวดหินแลง, ทรายมาวางร่วมพิธี รอบๆ หลักบือบ้านตลอดงาน ๓ วัน (ตอนเย็น)

ชั้นบนของหอที่สร้างเพิ่มเติมเฉพาะงานแต่ละปีวางเครื่อง “คุรุพัน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์
ของงานบุญผะเหวด ตั้งเป็นประธานไว้กลางหอ, ทั้ง ๔ เสารอบหอแต่งด้วยต้นกล้วย
 อ้อย ฉัตร และธงช่อ (ธงหน้างัว) โคนเสาทั้ง ๔ วางขันหมากเบ็ง, กระทงเครื่องคาว,
กระทงยากอก+หมากคำ, ประทายทราย และวางดอกไม้บูชา

(ขวา) โคนเสาวางอ่าง (กระโถน) ใส่ใบบัว, จอก, แหน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์
ของพระอุปคุต (สถิตอยู่ในน้ำ) และมะพร้าวแก่งอก, บนพื้นวางก้อนหิน, กรวดหิน ฯลฯ
ที่ต่างเตรียมมาเข้าร่วมพิธี เมื่อเสร็จพิธีในตอนเช้าของวันที่ ๔ แล้ว ต่างจะนำกลับไปหว่าน
ที่บ้านของตน, เหนือพื้นใช้กาบกล้วยยึดรอบ ๔ เสา ทำเป็นราวเทียนจุดบูชา


(ซ้าย) หอพระอุปคุต ยกพื้นสูงตั้งอยู่เหนือหลักบือบ้าน
(ขวา) ขันห้าที่ชาวบ้านต่างเตรียมมาบูชามีดอกไม้และเงินเหรียญ




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ขอฝนของชาวบ้าน เป็นพระราชพิธีพรุณศาสตร์
(ประเพณี ๑๒ เดือน)

ขอฝน ชาวบ้านทั่วไปทุกชุมชนร่วมกันทำพิธีตอนเดือน ๖ ต่อเนื่องเดือน ๗ เพื่อหาน้ำทำนาเริ่มฤดูการผลิตใหม่ เพราะแล้งน้ำมาตั้งแต่เดือน ๕

ประเพณีขอฝนของชาวบ้านมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นจะเชื่อแล้วทำตามคติแบบไหน? อย่างไร? เช่น ภาคอีสาน จุดบั้งไฟ ฯลฯ แต่ภาคกลางมีปั้นเมฆ, แห่นางแมว ฯลฯ
 
ปั้นเมฆ
ปั้นเมฆ หมายถึง พิธีขอฝนโดยทำรูปจำลองหญิงชายเปลือยแสดงอวัยวะเพศ หรือสมสู่ร่วมเพศกัน แล้วจัดวางกลางแจ้งในที่สาธารณะให้คนเห็นทั่วไป แล้วเรียกรูปจำลองนั้นว่ารูปปั้นเมฆ

[รูปจำลองทำได้หลายอย่าง เช่น หล่อโลหะ, แกะสลักไม้, ปั้นดินเหนียวแล้วทาปูนขาวหรือไม่ทาก็ได้]



ปั้นเมฆ แสดงอวัยวะเพศหญิง (รูปที่ทำวงกลมล้อมรอบ) ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
(ภาพเขียนสีพบที่ถ้ำเขาปลาร้า เขตติดต่อ อ.ลานสัก-อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี)

ปลาช่อน อวัยวะเพศชาย
ปลาช่อน เป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย มีน้ำอสุจิสีขาวเป็นน้ำเชื้อให้กำเนิดใหม่ แสดงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ว่านยา ข้าวปลาอาหาร

คนดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เซ่นวักเลี้ยงผีขอฝนด้วยปลาช่อน

นักโบราณคดีขุดพบซากปลาช่อนทั้งตัวในภาชนะดินเผา ฝังรวมในหลุมศพที่บ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา



ซากปลาช่อนในหม้อไหดินเผา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ขุดพบในหลุมศพดึกดำบรรพ์ที่บ้านโนนวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

ความเชื่อเกี่ยวกับปลาช่อน ยังมีสืบเนื่องจนปัจจุบันในพิธีปั้นเมฆขอฝน ต้องนิมนต์พระสวดคาถาปลาช่อน มีบทร้องของชาวบ้านว่า
     ๏ นิมนต์พระมา    สวดคาถาปลาช่อน
     ปั้นเมฆสองก้อน    มีละครสามวัน
     จับคนชนกัน       ฝนก็เทลงมา—-
[มีคำอธิบายอย่างพิสดารเรื่องคาถาปลาช่อน ในพระราชพิธีพรุณศาสตร์ เดือน ๙ หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕]



พระสงฆ์สวดคาถาปลาช่อน ในพิธีปั้นเมฆขอฝน
[แก้บน-ชาวบ้าน ต. แม่พูล และ ต.หัวดง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นำหัวหมู
พร้อมเครื่องบายศรี เซ่นไหว้หุ่นดิน “พ่อเมฆ” และ “แม่หมาก” หลังทำพิธีขอฝน
ตามพิธีโบราณ จากนั้นฝนก็ตกติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วัน เมื่อวันที่ ๖ พ.ค.
(ภาพและคำบรรยายจาก นสพ.ข่าวสด ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ หน้า ๑๑)]

พรุณศาสตร์
พรุณศาสตร์ เป็นพระราชพิธีขอฝน (ที่เชื่อว่า) ตามตำราพราหมณ์ มีในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน แต่จัดไว้เดือน ๙

ร.๕ ทรงอธิบายว่าเป็นพิธีจร หมายความว่า “ปีใดฝนบริบูรณ์ ก็ยกเว้นไม่ทำ” ต่อปีที่ฝนแล้ง จึงทำตามตำรา

หมายความว่าจนเดือน ๙ แล้ว ฝนไม่ตก และไม่มีน้ำให้ชาวบ้านทำนาทำไร่ ก็ต้องทำพระราชพิธีพรุณศาสตร์ เหตุนี้จึงลงพระราชพิธีนี้ในเดือน ๙
 
พระราชพิธีขอฝน มีปั้นเมฆ
ขอฝนโดยปั้นเมฆสัญลักษณ์สมสู่กัน น่าจะมีในราชสำนักยุคอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานตรงๆ

ครั้นล่วงถึงยุครัตนโกสินทร์ มีร่องรอยปั้นเมฆในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕ ทรงเล่าว่าปั้นเมฆในพระราชพิธีพรุณศาสตร์ (เดือน ๙) เป็นพิธีพราหมณ์ “อยู่ข้างจะเร่อร่าหยาบคาย” แต่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง จะคัดมา (โดยจัดย่อหน้าใหม่) ดังนี้

“การตบแต่งโรงพระราชพิธีและเทวรูป ก็คล้ายกันกับพิธีอื่นๆ คือปลูกโรงพิธี——-”
“ขุดสระกว้าง ๓ ศอก ยาว ๓ ศอก ลึกศอกหนึ่ง มีรูปเทวดาและนาคและปลาเหมือนสระที่สนามหลวง ยกเสียแต่รูปพระสุภูต

ตรงหน้าสระออกไปปั้นเป็นรูปเมฆสองรูป คือปั้นเป็นรูปบุรุษสตรีเปลือยกายแล้วทาปูนขาว

การที่จะปั้นนั้นต้องตั้งกำนลปั้นพร้อมกันกับที่พิธีสงฆ์ มีบายศรีปากชามแห่งละสำรับ เทียนหนักเล่มละบาทแห่งละเล่ม เงินติดเทียนเป็นกำนลแห่งละบาท เบี้ย ๓๓๐๓ เบี้ย ข้าวสารสี่สัด ผ้าขาวของหลวงจ่ายให้ช่างปั้นช่างเขียนนุ่งห่ม ช่างเหล่านั้นต้องรักษาศีลในวันที่ปั้น”

ทั้งหมดเป็นนาฏกรรมที่รัฐพัฒนาขึ้นจากประเพณีขอฝนของชาวบ้าน



ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กรกฎาคม 2559 15:51:19 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 3.353 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 23:35:38