[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 ธันวาคม 2567 03:31:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ  (อ่าน 5108 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 16:15:44 »




ปรัชญาแห่งความมีอยู่


โดย.. เสถียร โพธินันทะ

เมื่อข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือ “สารัตถปรัชญาพระพุทธศาสนามหายาน” เพื่อผู้สนใจในวิทยาการจะได้ใช้ศึกษาปรัชญามหายาน หนังสือเล่มนั้นข้าพเจ้าได้บรรยายถึงความเป็นมาของมหายาน และปรัชญามหายาน ๘ นิกายใหญ่ อย่างพอควรแก่ความต้องการในตอนท้าย ก็ได้นำนิกายทางฝ่ายสาวกยาน ๒ นิกาย ซึ่งเคยเจริญในประเทศจีนมาผนวกเข้าด้วย ๒ นิกายนั้น คือ นิกายสรวาสติวาทิน และนิกายสัตยสิทธิ ข้าพเจ้าได้เขียนปรัชญาของนิกายทั้ง ๒ รวบรัด แต่คิดจะทำอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ในหนังสือเล่มใหญ่ชื่อ “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” และ อีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปริทัศน์แห่งพุทธปรัชญา” ซึ่งกำลังเขียนอยู่ ได้มีผู้อ่านไต่ถามถึงความละเอียดในปรัชญาสรวาสติวาทินบ่อยครั้ง ข้าพเจ้าจึงแถลงถึงหลักธรรมะข้อสำคัญของนิกายนี้ด้วยบทความชิ้นนี้ แต่พอได้ความ

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ สังฆมณฑลแห่งอินเดียได้เกิดการแตกแยกนิกายออกถึง ๑๘ นิกาย ในจำนวน ๑๘ นิกายนั้น มีอยู่ ๔ นิกายหรือ ๕ นิกาย ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในหน้าประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา นิกายเหล่านั้น คือ

นิกายมหาสังฆิกะ  นิกายเถรวาทิน
นิกายสรวาสติวาทิน นิกายเสาตรันติก แลนิกายวัชชีบุตร

นิกายสรวาสติวาทินมีคุณลักษณะพิเศษประจำของนิกาย คือ การบูชาอภิธรรมปิฎกเป็นชีวิตจิตใจ ปรากฏว่านิกายนี้มีอภิธรรมปิฎกอันสมบูรณ์ของตนเอง แตกต่างจากอภิธรรมปิฎกฉบับบาลีของฝ่ายเถรวาทิน ภาษาที่ใช้เขียนพระธรรมวินัยของนิกายนี้ ได้เลือกใช้ภาษาสํสกฤตระคน อภิธรรมปิฎกของสรวาสติวาทิน เรียกว่า “ษัฏปาทาภิธรรม” มีอยู่ ๖ ปกรณ์ คือ

๑. อภิธรรมสังคีติบรรยายของพระสารีบุตร

๒. อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์ของพระโมคคัลลานะ

๓. อภิธรรมบัญญัติปาทศาสตร์ของพระกัจจายนะ

๔. อภิธรรมวิญญาณกายปาทศาสตร์ ของพระเทวศรมัน

๕  อภิธรรมปกรณปาทศาสตร์พระวสุมิตร

๖. อภิธรรมธาตุกายปาทศาสตร์ของพระวสุมิตร


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 16:25:41 »


http://img131.imageshack.us/img131/6018/ps290049.jpg
ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ

ไม่ปรากฏว่าท่านผู้ใดเป็นต้นกำเนิดของสรวาสติวาทิน แต่เป็นการแน่นอนที่ว่า นิกายนี้เป็นกิ่งแยกออกมาจากนิกายเถรวาทิน ซึ่งเป็นนิกายบูชาภาษาบาลี อายุกาลของนิกายนี้ยังเป็นที่ไม่ตกลงกันแน่นอน ในปกรณ์ฝ่ายธิเบตกล่าวว่า เมื่อพุทธปรินิพพาน ๑๑๖ ปี เหล่าภิกษุสงฆ์ได้ใช้ภาษา ๙ ภาษา ในการบอกธรรมวินัย เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแตกเป็น ๔ นิกาย คือสงฆ์พวกหนึ่งใช้ภาษาสํสกฤต พวกนี้เป็นสงฆ์สืบเนื่องมาแต่พระราหุล เรียกว่าพวกสรวาสติวาทิน แต่ในปกรณ์สํสกฤต ชื่อ “เภทธรรมติจักรศาสตร์” แต่งโดยพระวสุมิตร ในราวพุทธศตวรรษที่ ๔ กล่าวว่านิกายนี้ แตกจากเถรวาทินราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๓และบูชาพระกัจจายนะ ในฐานะเป็นอภิธรรมาจารย์ อย่างไรก็ดีมูลเหตุสำคัญที่ทำให้สงฆ์หมู่หนึ่งแยกไปจากเถรวาทิน ก็คือ สงฆ์หมู่นี้มีความเห็นในหลักธรรมบางประการ ขัดกับฝ่ายเถรวาทิน และสงฆ์หมู่นี้ต้องการจะยกย่องอภิธรรมปิฎกขึ้นให้เป็นพิเศษ จึงแยกออกไปตั้งเป็นนิกายใหม่มีชื่อว่า “สรวาสติวาทิน” แปลว่า “วาทะที่กล่าวสิ่งทั้งปวงมีอยู่ในคัมภีร์กถาวัตถุเรียกนิกายนี้ว่า “สัพพัตถิกวาท” ซึ่งแปลอย่างเดียวกัน ในที่มาบางแห่งเรียกนิกายนี้ว่า “เหตุวาท"

ในหนังสือของศาสตราจารย์นลินักษทัตต์ ชาวอินเดียกล่าวสันนิษฐานว่า นิกายสรวาสติวาทิน น่าจะแยกออกมาจากนิกายมหิสาสกะ และว่านิกายมูลสรวาสติวาทินต่างกับนิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งเกิดในตอนหลัง

ความเจริญของนิกายนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ทำให้นิกายอื่นหมดรัศมีลงไป นิกายเถรวาทินเองก็ถูกอิทธิพลของนิกายนี้ข่มจนอับแสง สรวาสติวาทินได้แพร่หลายตลอดไปทั่วอินเดียภาคเหนือ มีแคว้นคันธาระ.กาศมีระ อุทยาน มถุรา ฯลฯ และจากดินแดนเหล่านี้ นิกายนี้ได้ขยายตัวแพร่เข้าสู่อาเซียกลาง จากอาเซียกลางก็ได้ ข้ามไปประเทศจีนในพุทธศตวรรษที่ ๖ เป็นยุคที่นิกายนี้รุ่งโรจน์ที่สุด ได้มีการร้อยกรองอรรถกถาแห่งพระไตรปิฎก กับการแต่งปกรณ์วิเศษต่าง เกี่ยวกับหลักปรัชญาของนิกายนี้โดยคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ภายใต้ความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะมหาราชกษัตริย์ชาติง้วนสี ซึ่งกำลังดำรงอำนาจปกครองอินเดียภาคเหนือ อภิธรรมปิฎกของนิกายนี้ ตลอดจนคัมภีร์ปกรณ์วิเศษที่สำคัญหลายสิบปกรณ์ ได้มีการแปลเป็นภาษาจีนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ส่วนวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ก็มีผู้แปลถ่ายออกเป็นภาษาจีนเป็นส่วนมากแล้วเช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาหลักธรรมของนิกายนี้ให้ละเอียด จึงจำเป็นต้องศึกษาจากคัมภีร์ภาษาจีน ทั้งนี้เพราะฉบับสํสกฤตได้สาปสูญไปแล้วเป็นส่วนมาก


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 16:33:39 »



ปรัชญา

นิกายนี้ มีหลักปรัชญาว่าด้วย “ความมีอยู่แห่งสิ่งทั้งหลาย” คือ “สรฺวมฺ อสฺติ” เป็นหัวใจสำคัญ นิกายนี้ถือว่า สิ่งทั้งหลายไม่ว่าสังขตะ ก็ดี อสังขตะก็ดี ย่อมมีสภาวะที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองตลอดกาล ทั้ง ๓ คือ มีอยู่ ดำรงอยู่ตลอดอดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล ตัวอย่างนามกับรูปซึ่งเป็นสังขตธรรม ก็มีสภาพเที่ยงคงที่ตลอดกาลทั้ง ๓ ความเกิดดับเป็นเพียงอาการของธรรมนั้น ๆ เท่านั้นกิริยาคุณของธรรมหนึ่ง หากยังมิได้ปรากฏอาการออกมา เรียกว่ายังเป็นสิ่งที่มิได้มาถึง คือ เป็นอนาคตกาล ในขณะที่กิริยาคุณของธรรมนั้น ๆ ปรากฏอาการออกมาเรียกว่า เป็นปัจจุบัน แล้วมีกิริยาคุณอันปรากฏอาการออกมาแล้วนั้นดับไป เรียกว่าอดีตกาล ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า ตัวสภาพธรรม มีนามกับรูปเป็นต้น นั้นเที่ยง มีอยู่ตลอดแต่อาการกิริยาคุณของมันต่างหากที่เกิดดับยักย้ายไป ตัวสภาวธรรมของนามรูป จักได้พลอยเกิดดับไปก็หาไม่ เหตุผลของนิกายนี้ก็คือ

๑. ทำกรรมใดไว้ย่อมมีวิบากของกรรมนั้น แต่กรรมซึ่งจักให้ผลเป็นวิบากนั้น เหตุกับผลจะมีขึ้นในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น ต้องมีกรรมสภาวะที่เป็นเหตุอยู่ในอดีต จึงสามารถให้ผลวิบากในปัจจุบันได้ แสดงว่าอดีตต้องมีอยู่ ถ้าอดีตกรรมไม่ดำรงอยู่ไซร้ ปัจจุบันนี้เป็นวิบากก็มีไม่ได้.

๒. วิญญาณความรู้ทางอายุตนะภายในทั้ง ๖ จักปรากฏมีขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยวิสัยภายนอก ๖ มาเป็นอารมณ์ เช่น จักขุวิญญาณ จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยรูปารมณ์ภายนอกมาเป็นปัจจัย มโนวิญญาณจะมีขึ้นก็ต้องอาศัยธรรมารมณ์เป็นปัจจัย ก็ธรรมารมณ์นั้น มีทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ถ้าไม่มีสภาวธรรมที่ดำรงอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓ ไซร้ มโนวิญญาณก็จักมีขึ้นหาไม่ได้ ทั้งนี้เพราะมโนวิญญาณจักเสพอารมณ์ที่เป็นอดีตอยู่ให้เสพ จึงบังเกิดเป็นอดีตธรรมารมณ์ได้.

อาศัยเหตุผลดั่งนี้ จึงลงมติว่า มีสภาวธรรมทั้ง ๓ โดยตลอด สภาวธรรมตัวปรมัตถ์ของรูปนาม ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ นั้นมีคงที่อยู่ตลอดไป ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ส่วนความเกิดดับสืบสันตตินั้นเป็นอาการกิริยาภายนอกของสภาวธรรมเท่านั้นเอง ตัวสภาพธรรมปรมัตถ์แห่งนามรูป จักพลอยเกิดดับไปด้วยก็หามิได้ สรวาสติวาทินไม่ยอมเห็นด้วยกับคติที่ว่า สิ่งที่เป็นอดีตย่อมดับไปแล้ว ปัจจุบันเท่านั้น ชื่อว่ามีอยู่ แต่ก็กำลังดับไปเป็นอดีตเหมือนกัน ส่วนอนาคตนั้นยังชื่อว่ายังไม่เกิดมีขึ้น อันเป็นคติธรรมของฝ่ายเถรวาทินเลย สรวาสติวาทินถือว่าทุกสิ่งมีสภาวะในตัวของมันเอง ซึ่งคงอยู่ตลอดไปไม่ยักย้ายแปรเปลี่ยน เช่น รูปธาตุ เมื่อทอนลงไปก็มีปรมาณูเป็นวัตถุสุดท้าย ซึ่งดำรงอยู่อย่างแท้จริง



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 16:40:26 »




คณาจารย์แห่งสรวาสติวาทินได้มีมติเกี่ยวกับความมีอยู่แบ่งออกเป็น ๔ มติใหญ่ คือ :

๑. มติของอาจารย์ธรรมตาระกล่าวว่า สภาวธรรมทั้งหลายมีความต่างกันโดยลักษณะประเภท เช่นเดียวกับทองรูปพรรณ ที่ทำเป็นสายสร้อย ตุ้มหู กำไล แหวน เข็มขัด อันมีลักษณะต่าง ๆ กัน ลักษณะนี้บางทีก็ดับหายไปเป็นอดีต และเกิดใหม่ในปัจจุบันในร่างใหม่ เปรียบการยุบสร้อยทองลงทำเป็นกำไลมือ แต่ทั้งนี้ ธาตุเนื้อทองนั้นเป็นเนื้ออันเดียวกัน ไม่ว่าเราจะยุบมันแล้ว ทำใหม่อีกสักกี่ร้อยครั้ง แสดงว่าสภาวธรรมจะต้องมีอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓

๒. มติของอาจารย์ศรีโฆษะกล่าวว่า สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ตลอด ๓ กาล เหมือนดั่งบุรุษผู้หนึ่งมีบุตรหลายคน ในขณะที่เขาได้เห็นบุตรคนใดคนหนึ่ง ความรักบุตรคนนั้นย่อมปรากฏชัดขึ้น แต่มิได้หมายความว่า ความรักในบุตรคนอื่น ๆ ของเขาในขณะนั้นไม่มี ความรักในบุตรคนอื่น ๆ ของเขายังคงมีอยู่ในจิตใต้สำนึกแต่มิได้ปรากฏออกชัดเท่านั้นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็มีอุปมัยเช่นกัน ย่อมมีอยู่ร่วมกัน  แต่ธรรมใดปรากฏชัดมาก ธรรมอื่นสงบอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่าไม่มี ฉะนั้น ปรากฏการณ์แห่งธรรมจึงต้องมีอยู่ทั่วไปใน ๓ กาล จะห่างกันที่ปรากฏการณ์

๓. แต่ของอาจารย์วสุมิตรว่า อาศัยสถานะที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่แก่นของธรรมทั้งหลายนั้น หาได้เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตไม่ เช่นเดียวกับเราเทน้ำใส่ลงในแก้ว เราเทน้ำใส่ลงในหม้อ น้ำก็มีลักษณะไปตามลักษณะของแก้วและของหม้อ แต่ความเป็นน้ำหรือความเป็นธรรมนั้น ๆ คงไม่บุบสลายไปตามสถานะนั้น ๆ เลย

๔. แต่ของอาจารย์พุทธเทวะว่า อาศัยการเปรียบเทียบจึงทำให้เห็นว่า มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต เช่นอาศัยอดีตจึงมีปัจจุบัน อาศัยปัจจุบันจึงมีอนาคต แต่แท้จริงแก่นแห่งธรรมทั้งหลาย หาได้เกิดดับเปลี่ยนแปลงตามความเปรียบเทียบนั้นเลย อุปมาดั่งสตรีผู้หนึ่งย่อมดำรงภาวะความเป็น ภริยาของสามี และดำรงภาวะความเป็นมารดาของบุตรธิดา ดำรงภาวะเป็นคุณยายของหลาน ฯลฯ แต่ก็เป็นสตรีคนเดียวกันนั้นเอง

ในคัมภีร์บาลีกถาวัตถุ ได้มีข้อโต้แย้งของอาจารย์ฝ่ายเถรวาทิน ที่มีต่อฝ่ายสรวาสติวาทิน อันเป็นปรวาทีทำนองว่า ฝ่ายปรวาทิน ถือว่าขันธ์ทั้งหลายในกาลทั้ง ๓ ย่อมไม่ละสภาวะแห่งขันธ์ โดยยกบาลีพุทธวจนะขึ้นยืนยันว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีต, ปัจจุบัน, อนาคต เป็นภายใน, ภายนอก, หยาบ, ละเอียด, เลว, ประณีต, อยู่ใกล้, ทั้งสิ้น ฯลฯ ชื่อว่ารูปขันธ์ ฯลฯ” พุทธภาษิตนี้แสดงให้เห็นอยู่ชัด ๆ ว่า รูปขันธ์ที่ดำรงสภาวะ ความเป็นรูปขันธ์ของมันตลอดกาลทั้ง ๓ พระพุทธองค์จึงดำรัสว่า รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอดีต, ปัจจุบัน, อนาคต ฯลฯ ดั่งนี้ ฝ่ายเถรวาทินแย้งขึ้นว่า ฝ่ายปรวาทีตีความพระพุทธภาษิตผิดไป อดีตดับไปแล้ว แปรไปแล้ว อนาคตยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ขอถามท่านปรวาทีหน่อยเถอะว่า ปัจจุบันคืออะไร ? ฝ่ายปรวาทีตอบว่า ปัจจุบันคือสิ่งยังไม่ดับ ยังไม่ไปปราศ ยังไม่แปร ยังตั้งอยู่ ฝ่ายเถรวาทินสอดขึ้นว่า ถ้าเช่นนั้น อดีตก็ดี อนาคตก็ดี ที่ท่านถือว่ามีอยู่ ก็มิกลายเป็นปัจจุบันไปด้วยหรือ ?



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 16:50:04 »


               

อนึ่ง ถ้าท่านปรวาทีถือว่ารูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ มีอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓ ไซร้ รูป ฯลฯ อดีตก็จะไม่อาจละความเป็นรูปที่เป็นอดีต ซึ่งกำลังเป็นอดีต แม้รูป ฯลฯ อนาคต ก็เช่นกัน ทั้งนี้เพราะท่านถือว่ามันมีอยู่ตลอดทั้ง ๓ กาล ที่ฝ่ายปรวาทียกอุปมาว่า เหมือนผ้าขาวผืนหนึ่ง ถูกนำไปย้อมสีดำ ผ้านั้นละความเป็นของขาว สู่ความเป็นของดำ แต่ยังไม่ละความเป็นผ้า ฉันใด ขันธ์ทั้งหลายย่อมเป็นทั้งอดีต, ปัจจุบัน, อนาคตได้ แต่ไม่ละความเป็นขันธ์ในกาลทั้งปวง แม้ฉันนั้น อนึ่ง ท่านสกวาทีจักแยกความขาวกับผ้าไม่ออกฉันใด อดีตกับรูป, ปัจจุบันกับรูป, อนาคตกับรูป, ก็ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ ฝ่ายเถรวาทีแย้งว่า ถ้าเช่นนั้น ผ้าขาวก็ไม่ควรไม่อาจละความขาวได้ด้วยซิ เหตุไฉนจึงละความขาวได้ด้วยเล่า ?


อนึ่ง การที่ท่านปรวาทีกล่าวว่า ขันธ์ไม่ละความเป็นขันธ์ใน ๓ กาล ท่านก็ชื่อว่ากำลังรับว่าขันธ์นี้เป็นของเที่ยง คงทน ค้านพระพุทธพจน์ที่ว่า รูปํ อนิจฺจํ เป็นต้น อนึ่ง พระนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพานตลอดกาลทั้ง ๓ พระนิพพานจึงเป็นของเที่ยง ถ้าขันธ์ทั้งหลายไม่ละความเป็นขันธ์ตลอดกาลทั้ง ๓ ขันธ์ก็เป็นเหมือนพระนิพพาน อนึ่งที่ท่านถือว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓ ไซร้ กิเลสของพระอรหันต์ในอดีตมีอยู่ แต่มาในปัจจุบัน ท่านบรรลุอรหัตผลแล้ว พระอรหันต์นั้นก็ยังนับว่าประกอบด้วยกิเลสที่เป็นอดีตอยู่อีกซี ? อนึ่ง ขันธ์ ๕ ก็ต้องเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น ขันธ์ ๑๕ (กาละx ๕ ขันธ์) ธาตุก็ต้องเพิ่มเป็นธาตุ ๕๔ (กาละ x ๑๘) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิในโลกทั้ง ๓ ก็จักชื่อว่ามีอยู่พร้อมกัน มิกลายเป็นว่า ในโลกนี้มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ พระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์พร้อมกันหรือ ?
(มีพระพุทธภาษิตว่า พระพุทธเจ้า, พระเจ้าจักรพรรดิ จะเกิดขึ้นในโลกพร้อมกันคราวเดียว ๒ องค์ ไม่ได้)

ฝ่ายเถรวาทีก็ยกพระพุทธพจน์ขึ้นอ้างว่า พระผัคคุนะทูลถามพระศาสดาว่า ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ซึ่งเป็นอดีตที่ทำให้เห็นรูป ฯลฯ ธรรมารมณ์นั้นมีอยู่หรือ ? พระศาสดาก็ตรัสตอบว่า ไม่มี พระพุทธพจน์ข้อนี้ ท่านปรวาทียอมรับไหมเล่า ? และพระพุทธพจน์อื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ที่ตรัสว่ารูป ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว, ดับไปแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ฯลฯ ดังนี้ท่านรับไหมเล่า ? ถ้าท่านรับ ก็ควรเชื่อว่าอดีตไม่มี เพราะล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกำลังจะแปรไป ส่วนอนาคตนั้น ก็ยังไม่ปรากฏขึ้นตามคติของเรา

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นปัญหาธรรมชั้นสูง ควรที่จักได้รับการไตร่ตรองโดยละเอียด




http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-main-page.htm
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 19:10:12 »

สาธุ อนุโมทนา อ.ป้าแป๋ม ครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ปรัชญามหายาน นิกาย มติคณาจารย์ สภาพ สภาวะธรรม 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.334 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 18 พฤศจิกายน 2567 07:18:27