[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 08:05:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นวัตกรรมใหม่...ในศตวรรษแห่งสมอง  (อ่าน 3371 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 ตุลาคม 2558 19:28:02 »

.
นวัตกรรมใหม่...ในศตวรรษแห่งสมอง


ทุกความเคลื่อนไหวตลอดจนความนึกคิดของเรานั้น ล้วนมาจากการสั่งงานของ “สมอง” ทั้งสิ้น การค้นคว้าวิจัยเพื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในศตวรรษที่ 21 จึงมุ่งไปสู่การขยายขีดความสามารถของสมอง ตลอดจนการรักษาโรคทางสมองและฟื้นฟูความสามารถของสมอง จนกลายเป็นที่ยอมรับกันโดยกว้างขวางว่า ศตวรรษนี้เป็น “ศตวรรษแห่งสมอง” นั่นเอง

“สมอง” เป็นหนึ่งในกลไกหลักของร่างกายที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ด้วยจำนวนเซลล์สมองที่มีมากถึง 1-1.2 หมื่นล้านเซลล์ อัดแน่นอยู่ภายในสมองเล็กๆ ของเรา โดยแต่ละเซลล์สมองมีเส้นใยในการเชื่อมต่อคลื่นกระแสไฟฟ้าเคมีถึงกัน และสมองของมนุษย์นั้นก็มีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่า มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดของร่างกาย

“สมอง” ทำหน้าที่หลักในการควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว จดจำพฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ นอกจากนี้ หน้าที่ของสมองยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การแสดงออก จัดการกับอารมณ์ ความจำ และความรู้สึกต่างๆ อีกมากมาย

การที่เราสามารถจดจำเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆ ได้ก็เพราะมีการเชื่อมต่อของกระแสไฟฟ้าภายในสมอง แต่เมื่อไหร่ที่สมองทำงานบกพร่อง การใช้ชีวิตประจำวันบางส่วนก็จะเริ่มผิดปกติ รวมถึงมีโรคภัยต่างๆ ตามมา การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ควบคุมความเครียด จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสมองให้ทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงสุด



ปัจจุบันสังคมไทยเรามีผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่า กำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ โรคทางสมองจึงได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ความสามารถในการทำงานของกลไกการควบคุมในร่างกายย่อมลดลง แต่โรคทางสมองบางชนิดก็ไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนที่มีอายุมากเท่านั้น ถึงจะเป็นหนุ่มสาวเยาว์วัย ถ้าใช้ชีวิตอย่างประมาทก็อาจเปิดประตูต้อนรับโรคเหล่านี้ได้เช่นกัน

โรคทางสมองที่พบบ่อยและถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามอยู่ในขณะนี้ ก็มีอยู่ดังนี้ครับ
1.โรคหลอดเลือดสมอง 2.โรคหลอดเลือดสมองโป่ง 3.อัลไซเมอร์ 4.โรคพาร์กินสัน 5.ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ 6.ลมชัก ทำให้สมองถูกทำลาย สูญเสียความจำ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองที่ช้าลงในเด็กเล็ก 7.อาการวูบหรือเบลอ อาจเป็นสัญญาณของการเป็นลมชักแอบแฝง ที่เชื่อมโยงมาจากโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองฝ่อลง และโรคทางกายอย่างตับไตเสื่อม รวมทั้งโรคติดเชื้อ กรรมพันธุ์ และปัจจัยภายนอกจากอุบัติเหตุ 8.ปวดไมเกรนเรื้อรัง 9.เครียด โดยมีอาการปวดคอร้าวขึ้นศีรษะ ซึ่งเกิดจากความเครียด การนั่งท่าเดียวนานๆ การใช้สายตานานๆ กินอาหารผิดเวลา นอนน้อยหรือมากไป ขาดน้ำ เป็นต้น

นอกจาก 9 โรคฮิตที่คนในสังคมปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงแล้ว โรคเนื้องอกในสมอง ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ไปจนถึงผู้สูงวัย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเอง แต่อาจมีบางรายที่พบว่า มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมองจะทำให้มีญาติพี่น้องเป็นโรคทุกคน และยังมีสาเหตุอื่นที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ด้วย เช่น การเป็นมะเร็งที่ส่วนอื่นของร่างกายซึ่งมีโอกาสกระจายไปที่สมอง

โดยทั่วไป เนื้องอกในสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้องอกของเซลล์ที่อยู่ที่สมองเอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็นชนิดที่เป็นเนื้อร้ายกับชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ส่วนใหญ่แล้วจะพบชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้ายมากกว่า กับอีกประเภทคือเนื้องอกที่กระจายมาจากส่วนอื่นของร่างกายและลุกลามมาที่สมอง



อาการของโรคเนื้องอกในสมองมีหลายรูปแบบ ที่พบมากได้แก่ ปวดศีรษะ ซึ่งผู้ป่วยโรคทางสมองประมาณ 60-70% จะมีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว แต่การปวดเพราะโรคเนื้องอกในสมองจะมีอาการเฉพาะเจาะจง เช่น ปวดศีรษะติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจจะหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน มีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปวดศีรษะตอนกลางคืน จนอาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก อาการอ่อนแรงของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือมีการทำงานของเส้นประสาทบางเส้นอ่อนแรงลงไป ส่วนใหญ่อาการนี้มักค่อยเป็นค่อยไป และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลา ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหน้าเบี้ยวหรือหูไม่ได้ยิน หรืออาการที่เกิดจากมีการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เช่น อาการกระตุก ชัก โดยเฉพาะอาการชักเฉพาะที่ เช่น ชักเฉพาะแขน หรือชักเฉพาะขา ใบหน้ากระตุกอย่างเดียว หรืออาการชักในผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีอาการมาก่อนก็อาจมีสาเหตุจากการมีเนื้องอกได้เช่นกัน ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนครับ


ปัจจุบันแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ 3 วิธีใหญ่ๆ คือ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาโดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น อาการของผู้ป่วย ตำแหน่งของเนื้องอก และขนาดของเนื้องอก หากผู้ป่วยมีเนื้องอกที่มีลักษณะไม่ใช่เนื้อร้าย หรือมะเร็ง เนื้องอกที่ไม่ได้เกิดอาการและมีขนาดเล็กมาก อยู่ในตำแหน่งของสมองที่ไม่ได้ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของร่างกาย คุณหมอก็อาจเพียงแค่ติดตามอาการ เพื่อดูว่ามีการขยายตัวของเนื้องอกเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงค่อยทำการรักษา แต่ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่และทำให้เกิดอาการบางอย่าง เช่น อ่อนแรงหรือปวดศีรษะมาก ก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้องอกออกไป ในกรณีที่ผ่าตัดเนื้องอกออกไปแล้ว หากพบว่าเป็นเนื้อร้ายก็อาจต้องทำการฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย

ดูไปแล้วก็เหมือนการรักษาโดยทั่วไป ที่มีขั้นตอนการรักษาตามวิถีทางการแพทย์ แต่การผ่าตัดเนื้องอกในสมองไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ เพราะเนื้อสมองเมื่อถูกตัดออกไปแล้ว ไม่สามารถงอกออกมาผสานส่วนที่ถูกตัดออกไปได้ ซึ่งแน่นอนว่า ความสามารถในการใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอาจต้องสูญเสีย หรือถูกลดทอนลง และทุกพื้นที่ในสมองก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในบางตำแหน่งก็อาจจะตัดออกได้มาก และในบางตำแหน่งอาจตัดได้น้อยเพราะเป็นส่วนที่สำคัญมาก ซึ่งบางครั้งเนื้องอกจะแทรกไปตามส่วนสำคัญของสมองทั้งหมดในการผ่าตัด บางครั้งก็ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนระหว่างเนื้องอกกับเนื้อของสมองเอง

เท่าที่ผ่านมามีเทคนิคหลายอย่างเพื่อช่วยในการผ่าตัด เช่น การใช้สารเรืองแสงบางชนิด ซึ่งสารนี้จะทำให้เนื้องอกในกลุ่มที่เป็นเนื้องอกร้ายแรงมีลักษณะเรืองแสงขึ้นมาให้เห็นเด่นชัด นอกจากนั้น ยังมีการผ่าตัดโดยการใช้ Computer based เป็นตัวไกด์ตำแหน่งของเนื้องอก รวมถึงขอบเขตของเนื้องอก ใช้คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ในการจำลองเนื้องอกและแนวทางของเส้นประสาทของสมอง และยังมีการอัลตราซาวนด์เพื่อดูขอบเขตของเนื้องอก แต่วิธีทั้งหมดนี้ก็ยังมีอุปสรรคในขั้นตอนของการผ่าตัดอยู่ เพราะเมื่อทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะขึ้นมา ภาพที่เราเห็นจากในคอมพิวเตอร์กับเนื้อสมองของจริงจะมีความแตกต่างกัน สมองอาจจะเลื่อนตำแหน่งจากเดิม เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก และการใช้กล้องไมโครสโคปบวกกับสารเรืองแสง แม้จะช่วยให้เห็นส่วนที่เป็นเนื้องอกดีขึ้น แต่ก็ทำได้เฉพาะในกลุ่มที่เป็นเนื้องอกร้ายแรงเท่านั้น


นวัตกรรมล่าสุดในปัจจุบันมีการคิดค้นเครื่องมือที่เรียกว่า ไทม์ รีซอลว์ เลเซอร์ (Time Resolved Laser Device) เป็นการใช้เลเซอร์ที่ไม่มีอันตรายต่อคนเรายิงเข้าไปที่เนื้องอกในสมอง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ จะมีพลังงานเข้าไปในตัวเนื้อเยื่อที่กระทบถูกเลเซอร์ พลังงานที่เข้าไปนี้ในที่สุดก็จะสะท้อนกลับออกมา ช่วยให้แพทย์สามารถทราบได้ถึงลักษณะของเนื้อเยื่อที่สะท้อนพลังงานออกมา และแยกได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อประเภทใด ขนาดเท่าไหร่ การใช้ไทม์ เลเซอร์ รีซอลว์จะทำให้สามารถตัดเนื้องอกได้มากเพิ่มขึ้น กำหนดขอบเขตได้ดีขึ้น เสียเนื้อสมองน้อยลง ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์แบบ

เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยเราได้มีโอกาสอัพเดตความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการผ่าตัดเนื้องอกสมองและมะเร็งสมองจากศัลยแพทย์สมองชื่อดังของโลก ศ.นพ.คีธ แอล. แบล็ค (Keith L. Black) ผู้อำนวยการสถาบันศัลยกรรมระบบประสาทแมกซีน ดันนิทซ์ แห่งซีดาร์-ไซไนน์ เมดิคัล เซ็นเตอร์, ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ว่า เป็น 1 ใน 20 บุคคลที่ทรงคุณค่าในศตวรรษที่ 21 และยังเคยขึ้นหน้าปกและลงตีพิมพ์เป็นบทความในนิตยสารไทม์ พ.ศ.2540 ในฐานะหนึ่งในวีรบุรุษทางการแพทย์ (Heroes of Medicine) เขามีผลงานบทความด้านวิทยาศาสตร์กว่า 260 เรื่อง ซึ่งมีคนในวงการเดียวกันคอยติดตามศึกษามาโดยตลอด ผลงานของเขายังถูกนำไปเป็นหัวข้อพูดคุยในสื่อระดับโลกต่างๆ อย่างต่อเนื่องจำนวนมาก

คุณหมอแบล็คเป็นศัลยแพทย์ที่มีความสามารถเฉพาะตัว ในการเชื่อมโยงความรู้ทางการวิจัยอันล้ำหน้าผสานกับประสบการณ์ด้านการผ่าตัดที่ผ่านมาอย่างโชกโชน นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 จนถึงปัจจุบัน คุณหมอแบล็คผ่าตัดเอาเนื้องอกออกจากสมองไปแล้วกว่า 6,000 ครั้ง ซึ่งหลายต่อหลายครั้งเป็นเนื้องอกที่ยากจะผ่าตัดเอาออกมาได้ เขายังเป็นผู้ริเริ่มแนวทางการผ่าตัดรูปแบบใหม่ในกรณีของเนื้อ งอกกะโหลกสมอง (Clival Chordoma) มะเร็งชนิดร้ายกาจที่มักเกิดขึ้นตรงฐานกะโหลก สร้างความเสียหายต่อสมองอย่างไร้ การเยียวยาให้กลับคืนมาใหม่ได้ โดยคิดค้นวิธีการเข้าถึงฐานกะโหลกผ่านทางโพรงจมูก เพื่อแยกเนื้อเยื่อมะเร็งออกมา โดยไม่กระทบกระเทือนสมองเลยแม้แต่นิดเดียว ในทุกวันนี้เขาก็ยังร่วมกับทีมงานวิจัยและพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ในการรักษาโรคเนื้องอกในสมองและมะเร็งในสมองอยู่อย่างต่อเนื่อง

การมาเมืองไทยในครั้งนี้ ศ.นพ.แบล็คได้รับเชิญให้มาปาฐกถาในหัวข้อ Global Alliance to Excellent Health Care” งานประชุมวิชาการร่วม ประจำปี 2558 โดยบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS

คุณหมอแบล็คกล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีในการผ่าตัดสมองได้ก้าวไปไกลมาก ทำให้การผ่าตัดสมองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ล่าสุดได้มีการวิจัยร่วมกับ BDMS ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผ่าตัดสมองโดยสูญเสียพื้นที่สมองส่วนดีน้อยที่สุด ซึ่งนี่เป็นเพียงก้าวแรกของการยกระดับความก้าวหน้าทางการแพทย์ด้านศัลยกรรมสมอง ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยด้วยโรคเนื้องอกหรือมะเร็งสมองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ง่ายและได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ เพราะสมองมีความแตกต่างจากอวัยวะส่วนอื่น ซึ่งเมื่อสูญเสียไปแล้วไม่สามารถสร้างเซลล์เพิ่มขึ้นมาได้อีก แม้ในปัจจุบันการผ่าตัดเนื้องอกในสมองจะมีวิวัฒนาการใหม่ๆเข้ามาสนับสนุนมากมาย แต่เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจว่า จะต้องผ่าตัดในสมองออกไปกว้างเท่าใดจึงจะปลอดภัยต่อการลุกลามของโรค และรักษาพื้นที่สมองส่วนที่ดีเอาไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเชื่อมต่อกับอวัยวะอื่นๆของร่างกายในภายหลังนั้น คือความยากในการผ่าตัด ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์และการวิจัยอย่างรอบคอบในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยในเวลาที่จำกัด แต่ด้วยความร่วมมือกับ BDMS ในครั้งนี้จะทำให้ผู้ป่วยอีกมากมายในซีกโลกตะวันออก ที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกสมอง จะมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเปี่ยมประสิทธิภาพที่มีอยู่ในขณะนี้”

ในอนาคตยังจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับสมองถูกคิดค้นขึ้นมาอีกมากมาย โดยเฉพาะโรคที่กำลังเพิ่มสถิติมากขึ้นในแต่ละปีอย่างอัลไซเมอร์ ถ้าเมืองไทยเราได้เป็นศูนย์กลางการรักษาโรคเกี่ยวกับสมองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการเยียวยาโดยไม่ต้องเดินทางไปรักษายังประเทศที่ห่างไกล แต่ทั้งนี้ การรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ.

โดย : รายทาง
ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.537 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 08:54:36