[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 03:08:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 7 8 [9] 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 238049 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.190 Chrome 88.0.4324.190


ดูรายละเอียด
« ตอบ #160 เมื่อ: 09 มีนาคม 2564 20:16:01 »


พระกริ่งตั๊กแตน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราพูดกันถึงพระกริ่งที่สร้างจากภายนอกประเทศกันมาถึง 4 องค์แล้ว ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ในวันนี้ผมก็จะขอกล่าวถึงพระกริ่งนอกอีกองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเช่นกัน เรียกว่าในสมัยก่อนรุ่นคุณปู่คุณตานั้นต่างก็ยกย่องว่าเป็นเจ้าแห่งกฤษฎาคม เป็นเลิศในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด และต่างก็เสาะหาพระกริ่งรุ่นนี้กันมาก พระกริ่งนี้ก็คือพระกริ่งตั๊กแตน

พระกริ่งตั๊กแตน หรือพระกริ่งเขมรนี้ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศกัมพูชา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจ และได้สร้างกันต่อๆ มาหลายยุคหลายสมัย แต่ที่นิยมเสาะหากันนั้นเป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นในยุคแรกๆ ซึ่งพระพักตร์ของพระกริ่งตั๊กแตนในยุคแรกๆ นั้น จะมีพระนาสิกใหญ่ พระเนตรจะเป็นรอยลึกลงไปในเนื้อพระ ที่มักเรียกกันว่าตาเจาะ

สันนิษฐานว่าเวลาสร้างหุ่นเทียนนั้นคงจะใช้วัสดุเซาะขีดลงไปในหุ่นเทียน พระโอษฐ์ก็เป็นการเซาะขีดลงไปในหุ่นเทียนเช่นกัน พระศกเป็นเม็ดกลมๆ พระเกศจะเป็นตุ้มกลมๆ เช่นกัน คนในสมัยก่อนคงจะเห็นลักษณะแปลกๆ คล้ายหน้าตั๊กแตนหรืออย่างไรไม่ทราบได้ จึงเรียกพระกริ่งชนิดนี้ว่า “พระกริ่งหน้าตั๊กแตน” และเป็น “พระกริ่งตั๊กแตน” ในที่สุด

พระกริ่งตั๊กแตนนี้เป็นการสร้างแบบปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ ดังนั้น พระแต่ละองค์จะไม่มีองค์ใดๆ เลยที่จะเหมือนกันเปี๊ยบ เนื่องจากไม่ได้ถอดหุ่นเทียนออกมาจาก แม่พิมพ์ จะมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันไปไม่มากก็น้อย การวางพระหัตถ์ก็จะไม่เหมือนกันทีเดียวนัก กล่าวคือมีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย และปางมารวิชัยกลับด้าน หรือที่นิยมเรียกกันว่าปางสะดุ้งกลับ การถือสิ่งของในมือก็เช่นกัน มีทั้งแบบที่ไม่ถืออะไรเลย จนมีถือดอกบัวบ้าง ถือหม้อน้ำมนต์บ้าง ถือหอยสังข์บ้างก็มี พระทุกองค์จะมีประคำสวมใส่ที่คอทุกองค์ และบัวที่ฐานก็มีแบบต่างๆ เช่น บัวฟันปลา บัวตุ่ม บัวย้อย บัวเม็ดมะยม และบัวฟองมัน เป็นต้น

พระกริ่งตั๊กแตนเป็นพระกริ่งที่บรรจุกริ่งในตัว มีรอยอุดที่ด้านหลังแถวๆ สะโพก ที่ใต้ฐานมักทำเป็นลักษณะคล้ายเลขหนึ่งไทย ลักษณะการปั้นเป็นเส้นแบบขนมจีนและขดวางลงไปที่หุ่นเทียน มีความหมายถึงคำว่า “โอม” พบว่าบางองค์เป็นฐานเรียบๆ ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ก็มี ส่วนเนื้อหาพระกริ่งตั๊กแตนยุคต้นๆ นั้นจะเป็นเนื้อสำริดแก่เงิน ผิวจะเป็นสีดำคล้ำๆ

ส่วนพระกริ่งในรุ่นต่อๆ มาเนื้อของพระมักจะเป็นสีออกเหลือง ผิวสีน้ำตาล และที่เป็นผิวอาบเมฆพัดก็มี ที่ใต้ฐานก็มักจะมีเส้นเป็นกากบาทและเลขหนึ่งไทย ส่วนบัวมักจะทำเป็นแบบบัวฟันปลา

พระกริ่งตั๊กแตนยุคต้นๆ นั้นเป็นที่นิยมมาก และหายากสนนราคาสูง พุทธคุณว่ากันว่า ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ซึ่งเป็นที่เกรียงไกรมานานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งตั๊กแตนยุคต้นๆ มาให้ท่านได้ชมกันครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งพระพุทธชินสีห์

“ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายตั้งใจศึกษาธรรมะ อยากรู้ความจริงของธรรมะ คือต้องการรู้ความจริงของกายและใจ ของเรานั่นเอง” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“พระกริ่งพระพุทธชินสีห์” หรือพระกริ่ง 7 รอบ พระกริ่งที่มีค่านิยมสูงรุ่นหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร ด้วยเป็นการจำลองแบบมาจาก “พระพุทธชินสีห์” พระพุทธรูปองค์สำคัญในพระอุโบสถมูลเหตุการสร้างพระกริ่งพระพุทธชินสีห์ เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) พระราชอุปัธยาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จัดสร้างเมื่อวันที่ 3 พ.ย.2499

ในพิธีเททองหล่อพระกริ่งฯทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย มีจำนวนการจัดสร้างเพียง 500 องค์

“หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” วัดบางคลาน จ.พิจิตร พระเกจิอาจารย์ดังแห่งพิจิตร เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ เป็นอีกหนึ่งในตำนานของวงการพระเครื่องไทย โดยเฉพาะเหรียญจอบ เป็นที่นิยมจากบรรดาเซียนพระเป็นอย่างมาก มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์จอบเล็กและพิมพ์จอบใหญ่ เหรียญหล่อทั้ง 2 พิมพ์ เป็นเนื้อทองผสม พิมพ์จอบเล็ก-จอบใหญ่ เป็นพระหล่อที่ดูง่าย ไม่มีลวดลายพิสดาร ตะไบเห็นชัดเจน แต่ผิวพรรณรูปทรงองค์พระดูงดงาม

ลักษณะเป็นรูปคล้ายจอบเป็นสามเหลี่ยม มีหู ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปนั่งขัดสมาธิ ด้านหลังเหรียญ ผิวเรียบไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเหรียญหล่อโบราณ พิมพ์จอบเล็ก และพิมพ์จอบใหญ่ มีจำนวนสร้างไม่มาก มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน มีการเช่าหาที่ราคาสูงยิ่ง จึงนิยมเก็บไว้ในครอบครองและไม่ยอมปล่อยมือ ปัจจุบันเป็นที่นิยมและเป็นพระยอดนิยม

“หลวงปู่ใจ อินทสุวัณโณ” วัดเสด็จ ต.เหมืองใหม่ จ.สมุทรสงคราม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง จัดสร้าง “เหรียญงบน้ำอ้อย” หรือ “เหรียญอริยสัจ” เมื่อราวปี พ.ศ.2489-2490 แจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมงานทำบุญในวันฝังลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดเสด็จ ลักษณะเป็นเหรียญกลมหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปกลีบบัวบาน มีอักขระขอมกำกับแต่ละกลีบ ตรงกลางเป็นหัวใจอริยสัจว่า “ทุ สะ นิ มะ”

ด้านหลังเหรียญเป็นรูปธรรมจักร ตรงกลางมี “ยันต์เฑาะว์” ถัดมาเป็นพระปิดตา วงนอกสุดเป็นอักขระขอมโดยเหรียญงบน้ำอ้อย หรือเหรียญอริยสัจ มีความแตกต่างไปจากเหรียญพระคณาจารย์อื่น ซึ่งระบุชื่อพระเกจิ วัด และปี พ.ศ.ที่สร้าง ดังนั้น ผู้ที่ไม่อยู่ในวงการพระเครื่องหรือศึกษาเหรียญวัตถุมงคลจริงๆ จะไม่ทราบว่าเหรียญอริยสัจสร้างโดยหลวงปู่ใจ
… ข่าวสดออนไลน์



หลวงปู่ชู วัดนาคปรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน แถวย่านธนบุรีในอดีตมีพระเกจิอาจารย์ที่เก่งๆ มากมาย พระเกจิที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมากองค์หนึ่งก็คือ หลวงปู่ชู วัดนาคปรก ขนาดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านได้เคยพูดยกย่องอยู่เสมอว่า หลวงปู่ชูท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีญาณสมาธิสูงมาก

หลวงปู่ชูเป็นชาวนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เข้ามาสร้างบ้านเรือนมีครอบครัวอยู่ที่สวนหลังวัดนางชี ในขณะที่หลวงปู่ชูครองเพศฆราวาสอยู่นั้น ท่านเป็นผู้ใฝ่ในธรรม และชอบศึกษาวิทยาคม และแพทย์แผนโบราณ ได้ขึ้นไปศึกษาอยู่กับท่านอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (ปัจจุบันมีชื่อว่าวัดชีโพ้น) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านอาจารย์พลับมีชื่อเสียงปรากฏขจรขจายอยู่ในขณะนั้น

ต่อมาท่านก็ได้กลับมาอุปสมบทที่วัดนางชี โดยมีพระครูเปรม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดนางชี 1 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนาคปรกและได้เป็นเจ้าอาวาส

ในการย้ายมาอยู่ที่วัดนาคปรกนี้ปรากฏว่ามีพระภิกษุจากวัดนางชีได้ย้ายติดตามไปอยู่ที่วัดนาคปรกด้วยจำนวน 10 รูป ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาคปรกนั้น ท่านได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะตลอดจนกุฏิ วิหาร ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาอีกวาระหนึ่งประกอบด้วยชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่เป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงวัดนาคปรกเสมอมา

หลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านมาตลอดไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยมาให้ท่านช่วยรักษา ท่านก็ช่วยรักษาให้จนหายขาดทุกรายไป ด้วยคุณธรรมของหลวงปู่อันนี้แหละ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธาและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของปวงชนเป็นอย่างดี

ในวัดนาคปรกสมัยนั้นจะเต็มไปด้วย ว่านยา สมุนไพรต่างๆ มากมาย ยาดีของ หลวงปู่ชูขนานหนึ่งก็คือ ยาดองมะกรูด ยานี้ท่านจะทำใส่โอ่งตั้งไว้กลางแจ้งตากแดดตากน้ำค้างเป็นจำนวนมาก ถ้าผู้ใดต้องการท่านก็จะแจกให้ไป ยานี้เป็นยาดองที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้สารพัดแบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ เป็นฝีหนอง มีอาการแพ้อักเสบต่างๆ เมื่อดื่มกินยาดอง น้ำมะกรูดของท่านแล้วส่วนมากจะหายทุกรายไป

สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้องค์หนึ่ง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนทั่วไป และท่านก็ได้สร้างพระเครื่องรูปหลวงพ่อโต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์และชาวบ้าน ส่วนที่เหลือท่านก็ได้บรรจุไว้ในองค์หลวงพ่อโต นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเครื่องหลวงพ่อโตไว้อีกหลายรุ่น และมีเหรียญหล่อเป็นรูปเสมา เป็นพระพุทธรูปนั่งมารวิชัยประทับนั่งซ้อนกัน นิยมเรียกกันว่าพิมพ์พุทธซ้อน

ส่วนเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่หายากก็คือเหรียญรูปท่าน ซึ่งศิษย์ขออนุญาตท่านสร้างเป็นที่ระลึกในคราวทำบุญอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ.2470 ซึ่งเป็นเหรียญเงินที่มีจำนวนน้อยมาก ด้านหลังเป็นรอยบุ๋มแบบหลังแบบ ปัจจุบันหายากมาก ราคาหลักแสนครับ หลวงปู่มรณภาพในปี พ.ศ.2475

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหลวงพ่อโตมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตา พระมหาอุตม์ หรือพระมหาอุด

ความหมายของพระปิดตาที่พระเกจิอาจารย์นำมาสร้างเป็นวัตถุมงคล หรือพระเครื่องนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร มีการพูดถึงมาแต่โบราณต่างๆ นานา มีหลากหลายความคิดเห็นแล้วแต่จะได้ยินได้ฟังกันมาอย่างไร ประการแรกเราควรจะรู้ถึงความหมาย และพระปิดตาเป็นรูปเคารพซึ่งองค์แทนของพระพุทธเจ้า หรือพระอัครสาวกรูปใด

พระมหากัจจายนะ เราก็คงจะพอรู้จักกันนะครับ ว่าท่านก็คือพระอรหันต์รูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล ท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ณ กรุงอุชเชนี พระมหากัจจายนะท่านเรียนจบไตรเพท ของศาสนาพราหมณ์ ท่านได้พบกับสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับบริวารอีก 7 คน และได้รับฟังคำเทศนาครั้งนั้น จนบรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 8 คน จึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็นพระภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ครั้นพระมหากัจจายนะเถระได้อุปสมบทแล้วก็ได้ไปแสดงธรรมแก่พระเจ้าจัณตา ปัชโชติ ที่กรุงอัชเชนี และได้รับความเลื่อมใสจากพระเจ้าจัณตาปัชโชติและชาวเมือง เมื่อกลับมาสู่สำนักพระบรมศาสดาก็ได้รับคำยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า “พระมหากัจจายนะนั้นเป็นเอตทัคคะ และฉลาดล้ำเลิศในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อได้อย่างพิสดาร” พระมหากัจจายนะท่านเป็นพระเถระรูปงามผิวพรรณวรรณะงดงาม เป็นที่สร้างเสน่ห์นิยม มิว่าท่านจะไปที่ใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญ

มีอยู่ครั้งหนึ่ง บุตรของเศรษฐีชื่อว่า โสเรยยะ เมื่อได้ประสบพบเห็นพระมหา กัจจายนะเถระเป็นผู้มีรูปงามผิวพรรณผุดผ่อง ด้วยความคึกคะนองใจยิ่งนัก และคิดเลยไปว่า ถ้าเราจักได้ภรรยารูปงามเช่นนี้ก็จะดี ด้วยอำนาจแห่งอกุศลจิตเพียงเท่านั้น เขาได้กลับกลายเป็นเพศสตรีในทันที และได้รับความอับอายจนต้องหนีไปอยู่ที่เมืองอื่น ภายหลังได้สำนึกผิด ได้มาขอขมา ท่านจึงได้ให้อภัย และได้กลับมาเป็นเพศชายดังเดิม

ด้วยความมีรูปกายงดงาม และแสดงพระธรรมได้ยอดเยี่ยมจึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธากันมาก และบางครั้งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าท่านเป็นองค์พระบรมศาสดาเสียด้วยซ้ำ ท่านจึงได้รับสมญานามหนึ่งว่า “พระภควัมปติ” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ ท่านจึงมาคิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านดังนี้เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง สุดท้ายท่านจึงเนรมิตกายให้เตี้ยลงจึงดูท้องพลุ้ย ไม่เป็นที่น่าดู มนุษย์และเทพยดาจะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป

ด้วยรูปลักษณ์ตอนที่เนรมิตกายดูอ้วนลงพุงอย่างอุดมสมบูรณ์นี้เอง ผู้ที่พบเห็นก็ยังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส มาสักการะด้วยข้าวของมากมาย ท่านจึงเข้านิโรธสมาบัติตัดกิเลสทั้งปวง มิให้เข้ามากล้ำกรายได้ ด้วยกิริยาปิดทวารทั้งเก้าปิดสนิท คืออาสวกิเลสต่างๆ ไม่อาจจะเข้ามาแผ้วพานได้เลย พระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณท่านจึงได้สร้างพระเป็นรูปพระปิดตา ปิดทวารทั้งเก้า เพื่อให้มองเห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า ตอนที่ทวารทั้งเก้าถูกปิดสนิทหมดนั้น เป็นตอนที่องค์พระภควัมปติกำลังเข้านิโรธสมาบัติ คือทวารทั้งเก้าปิดสนิทหรือดับสนิท ซึ่งถือว่าเวลานั้นเป็นเวลาที่วิเศษและบริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง ดังนั้น พระมหากัจจายนะ หรือพระมหาสังกัจจายนะ และพระภควัมปติ หรือพระภควัมบดี นั้นก็คือพระอรหันต์องค์เดียวกัน

ในสมัยโบราณมีบางท่านเข้าใจก็นึกเอาเองว่า พระปิดทวารทั้งเก้าเป็นมหาอุด ห้ามเก็บไว้ในบ้าน ขณะที่กำลังมีคนจะคลอดลูก จะคลอดไม่ออก เป็นต้น ซึ่งความจริงไม่เกี่ยวกันเลยครับ ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า ท่านก็คือพระอรหันต์พระมหากัจจายนะเถระนั่นเองครับ การบูชาพระอรหันต์ผู้ปราศจากอาสวกิเลสแล้วนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษสุด อันเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ ท่านบูชาพระมหาสังกัจจายน์กับพระปิดตา ปิดทวารก็คือการบูชาพระอรหันต์องค์เดียวกัน ซึ่งดลบันดาลให้ท่านอุดมด้วยโชคลาภ พระเกจิอาจารย์ท่านจะสร้างเป็นรูปพระปิดตาปิดเพียงใบหน้า หรือปิดทวารทั้งเก้าก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือหมายถึงพระอรหันต์สาวก “พระมหากัจจายนะเถระ”

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตามหาอุตม์ของหลวงพ่อทับ วัดทอง มาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระกรุวัดอัมพวา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อผงที่มีอายุความเก่าแก่กรุหนึ่งของกรุงเทพฯ และในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยม แต่สนนราคายังไม่สูงมาก อีกทั้งก็ยังพอหาได้ไม่ยากนัก อาจจะเป็นเพราะประวัติความเป็นมายังไม่ค่อยมีการเผยแพร่กัน อีกทั้งจำนวนพระมีจำนวนมากพอสมควร สนนราคาจึงยังไม่สูง แต่ก็เป็นพระกรุอีกกรุหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ

วัดอัมพวา กทม. ตั้งอยู่ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่วัดแห่งนี้มีพระกรุเนื้อผงน้ำมันที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ ด้านหลังพระอุโบสถ และได้แตกกรุออกมาในปี พ.ศ.2484 ตอนที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาวะสงคราม เจ้าอาวาสวัดอัมพวาในสมัยนั้นคือ พระครูแป้น ได้เปิดกรุออกมา เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนและทหาร ตำรวจ

พระกรุนี้ได้สร้างขึ้นเนื่องในงานปฏิสังขรณ์วัดอัมพวา ประมาณ พ.ศ.2440 กว่าๆ โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณฯ เป็นประธานในการพุทธาภิเษก และได้บรรจุพระทั้งหมดไว้ในองค์พระเจดีย์ สำหรับพระพุทธโฆษาจารย์ฤทธิ์นั้น ท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านผงพุทธคุณ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก

ประวัติเท่าที่ทราบท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2380 เมื่ออายุได้ 10 ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนกับพระมหาพลาย วัดนาคกลาง พออายุได้ 13 จึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาอยู่ที่วัดราษฎร์บูรณะ ขณะเป็นสามเณรสอบได้เหรียญ 3 ประโยค ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2400 จึงได้อุปสมบท และได้เข้าแปลบาลีได้เปรียญ 5 ประโยค ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระอมรโมลี ครองวัดบพิตรภิมุข ในปี พ.ศ.2442 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระโพธิวงศาจารย์

ปี พ.ศ.2428 ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ พ.ศ.2437 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม พ.ศ.2441 ได้ รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพุฒาจารย์ ไปครองวัดอรุณฯ และปี พ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และมรณภาพ ในปี พ.ศ.2456 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 55

สำหรับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) นั้น ท่านเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และด้านการทำผงพุทธคุณ เล่ากันว่าท่านเรียนมาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ศิษย์ของท่านต่อมามีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูป เช่น พระพิมลธรรม (นาค) วัดอรุณฯ พระอุปัชฌาย์คง วัดบางกะพร้อม หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นต้น

พระเนื้อผงกรุวัดอัมพวา เป็นพระเนื้อผงที่มีพุทธคุณสูงทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย นับว่าเป็นพระกรุที่น่าสนใจมาก อีกทั้งยังหาได้ไม่ยากนักครับ สนนราคาก็ยังไม่สูงมาก บางพิมพ์อาจจะสูงหน่อยเช่นพิมพ์พระปิดตา เป็นต้น

ในวันนี้ผมได้นำพระปิดตากรุวัดอัมพวา พิมพ์จักจั่น ซึ่งหายากพอสมควรสำหรับพิมพ์นี้และเป็นพิมพ์นิยมพิมพ์หนึ่งของพระปิดตากรุนี้มาให้ชมกันครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราชวัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม วัดสามจีน ผิดกันที่ของวัดเสาธงทองเป็นเนื้อดิน ส่วนวัดสามจีนเป็นเนื้อชิน พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองนี้มีพุทธคุณอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด โด่งดังมากในสมัยก่อน ในปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

วัดเสาธงทอง เป็นวัดโบราณมีอายุราว 600-700 ปี มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมา วัดเสาธงทองตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดพระบาท ด้วยเหตุที่มีรอยพระพุทธบาทสร้างด้วยศิลาแลง มีเรื่องเล่ากันว่า พระพุทธบาทนี้ลอยมาตามน้ำมาวนเวียนอยู่หน้าวัดนี้ ตาปะขาว 2 คนได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาและประดิษฐานยังวิหาร ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพระบาท

เรื่องพระพุทธบาทศิลาแลงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเมืองสุพรรณบุรี ได้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธบาทศิลาแลงนี้ และตรัสถามสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่า “เชื่อหรือไม่ว่า ฝ่าพระพุทธบาทศิลาแลงนี้จะลอยน้ำได้จริง” สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทูลตอบว่า “เชื่อ” โบราณวัตถุวัดเสาธงทองที่สำคัญนอกจากรอยพระพุทธบาทศิลาแลง แล้วยังมีพระประธานซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมว่า “งามนัก”

วัดเสาธงทอง เคยรกร้างว่างเปล่าปราศจากการดูแลรักษามาก่อนอยู่ระยะหนึ่ง จนในที่สุดโบราณวัตถุเสนาสนะต่างๆ มีอันต้องปรักหักพังลงจนหมด ต่อมาในราวปี พ.ศ.2410 หลวงพ่ออยู่เป็นพระภิกษุรูปแรกได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุขึ้นใหม่ โดยเคยสร้างกุฏิสงฆ์ขนาดเล็ก 2-3 หลัง พอเป็นที่อาศัยแก่พระสงฆ์ ท่านครองวัดเสาธงทองได้ประมาณ 10 ปี ก็มรณภาพ

สืบต่อมาหลวงพ่อเพิ่มได้มาปกครองวัดแทนหลวงพ่ออยู่ ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ต่อเป็นการใหญ่โดยจัดสร้างพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ราวปี พ.ศ.2460 ท่านก็ได้สร้างพระเครื่องแจกเป็นครั้งแรกก็คือพระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง สร้างเป็นเนื้อดินเผา เนื้อละเอียด ถ้าผ่านการใช้จะมีเนื้อจัดมาก มีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองและไม่ได้ลง หลังจากที่หลวงพ่อเพิ่มมรณภาพแล้ว พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองได้มีการแจกต่อมาในสมัยหลวงพ่อวอน และต่อมาถึงสมัยหลวงพ่อหรุ่น เนื่องจากหลวงพ่อเพิ่มท่านสร้างไว้จำนวนมาก

พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองได้แพร่หลายไปหลายจังหวัด และมีพระพุทธคุณโดดเด่นในด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในสมัยก่อนก็รู้กันแค่เป็นพระของวัดเสาธงทอง ก็มีผู้เข้าใจผิดเป็นวัดเสาธงทอง ลพบุรีก็มี ซึ่งความเป็นจริงวัดเสาธงทองสุพรรณบุรี ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ต้องพิจารณาดีๆ สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก แต่ปัจจุบันก็หาได้ไม่ง่ายนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธชินราช วัดเสาธงทองมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ซึ่งเป็นเหรียญหนึ่งที่นิยมกันมากและจัดเข้าชุดอยู่ในเบญจภาคีเหรียญเช่นกัน ปัจจุบันหายากมากๆ ครับ ประวัติความเป็นมาของเหรียญรุ่นนี้มีอย่างไร จะได้นำมาเล่าสู่กันฟังครับ

หลวงพ่อพุ่ม (พระครูรัตนรังษี) วัดบางโคล่นอก เป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคมสูงสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ให้ความเคารพหลวงพ่อพุ่มมาก กรมหลวงชุมพรฯ ท่านก็เป็นศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อพุ่มด้วยเช่นกัน

หลวงพ่อพุ่มเกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2399 ที่บ้านหนามแดง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในสมัยเด็กท่านชอบแสวงหาศึกษาวิทยาคม พออายุได้ 12 ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนามแดง ต่อมาจนอายุได้ 20 ปี ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดหนามแดง ได้รับฉายาว่า “จันทโชติ” เมื่อท่านได้บวชแล้วท่านก็สนใจศึกษาวิปัสสนาธุระและออกธุดงควัตร

ต่อมาหลวงพ่อพุ่มก็ได้รับอาราธนาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางโคล่นอก ในปี พ.ศ.2461 และได้รับสมณศักดิ์เป็นพระปลัดพุ่ม ต่อมาก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนรังษี และเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพุ่ม ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2489 สิริอายุได้ 90 ปี พรรษาที่ 70

ในปี พ.ศ.2477 ศิษยานุศิษย์ของท่านได้ร่วมกันจัดบุญฉลองอายุของหลวงพ่อขึ้น และในงานนี้ พระครูวินัยธรสวัสดิ์ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพุ่มได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อพุ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้ให้ทางโรงงานปั๊มเหรียญประดิษฐ์ภัณฑ์ เป็นผู้ปั๊มเหรียญ จำนวน 1,000 เหรียญ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญอายุในครั้งนั้น

เป็นเหรียญรูปไข่หูเชื่อม ข้างกระบอก ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปยันต์น้ำเต้าทอง อักขระตัวบนสุดเป็นตัวอุณาโลม อักขระที่อยู่ในยันต์น้ำเต้าทองตัวบนเป็นตัวนะ แถวล่างเป็น มะ อะ อุ เหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้ามี แม่พิมพ์เดียว

ส่วนด้านหลังมี 2 บล็อก รูปแบบตัวยันต์เหมือนกัน เพียงแต่บล็อกด้านหลังช่างต้องแกะไว้ 2 ตัว เนื่องจากพอปั๊มไประยะหนึ่งบล็อกด้านหลังมักจะชำรุด จึงต้องทำบล็อกด้านหลังไว้เป็น 2 ชุด ด้านหลัง จึงมี 2 แบบ แบบแรกคือยันต์จรดขอบ กล่าวคือตัวอักขระตัวอุณาโลมด้านบนจะมีหางยาวไปจรดขอบของเหรียญ ซึ่งบล็อกนี้เป็นแบบบล็อกนิยม สนนราคาสูงกว่าอีกบล็อกหนึ่ง คือ แบบยันต์ไม่จรดขอบ ตัวอักขระ อุณาโลมหางจะยาวไม่จรดขอบของเหรียญ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ครับ

ทั้ง 2 แบบนี้นิยมทั้ง 2 แบบ เพียงแต่แบบยันต์จรดขอบจะมีสนนราคาสูงกว่าเท่านั้นครับ เท่าที่ทราบเหรียญรุ่นแรกนี้สร้างเพียงเนื้อทองแดงเนื้อเดียวเท่านั้นครับ

เหรียญหลวงพ่อพุ่มมีผู้ใช้คล้องคอเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมกันมาก สนนราคาในปัจจุบันสูงมากเช่นกันครับ

ในวันนี้ก็ได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อพุ่มมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระครูนนทวุฒาจารย์ – หลวงปู่ช่วง

หลวงปู่ช่วง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2404 ที่บ้านในคลองบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โยมบิดาชื่อ สิงห์โต โยมมารดาชื่อ เฟี้ยม นามสกุล เพ็งแจ่ม เมื่อท่านอายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดขวิด (วัดแสงสิริธรรม) ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในละแวกบ้านของท่าน ต่อมาเมื่ออายุได้ 12 ปี ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเขมาภิรตารามมีพระครูเขมา ภิมุขธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุ 19 ปี ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ

พอปี พ.ศ.2424 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบางแพรกใต้ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดาของท่าน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2424 โดยมีพระอธิการทับ วัดนครอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการศรี วัดบางแพรกใต้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เสือ วัดนครอินทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทโชโต” เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดบางแพรกใต้ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่านทั้ง 3 องค์ อีกทั้งทางด้านพุทธาคมต่างๆ ซึ่งท่านทั้งสามองค์นี้ก็มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้น

นอกจากนี้ก็ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงเรื่องวิชาโสฬสมงคลและไตรสรณคมน์ เรียนวิชาทำผ้าประเจียดและธงแดงจากพระธรรมานุสารี (สว่าง) วัดเทียนถวาย เรียนวิชาทำผงวิเศษห้าประการจากพระครูนิโรธมุนี วัดตำหนักเหนือเรียนทางคงกระพันชาตรีกับหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

ในปี พ.ศ.2435 พระอาจารย์ศรี เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้ได้มรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อแทน ต่อมาในปี พ.ศ.2450 หลวงปู่ช่วงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พอปี พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลส่วนใหญ่ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในระเบียบวินัยและมีเมตตาธรรมสูง หลวงปู่ช่วงจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

สร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ หอระฆัง เป็นต้น ทั้งเอาใจใส่บูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา จึงทำให้วัดบางแพรกใต้คืนสภาพจากความเสื่อมโทรมจนเจริญขึ้นเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ท่านเป็นพระอุปัชฌายะ บวชคนมาตั้งแต่บิดาจนถึงบุตรหลาน เหลน นับอยู่ในเกณฑ์ยาว ถึง 3-4 ชั้น แม้ในยามที่ท่านชราภาพ ท่านก็สงเคราะห์คนอื่นตลอดมา ใครไปหาไม่มีผิดหวังต้องการอะไรให้ทันที

ในเทศกาลออกพรรษาจะมีลูกศิษย์ของท่านมาให้ท่านช่วยลงกระหม่อม ท่านจะใช้ดินสอพองที่ได้ทำไว้มาลงให้ เรื่องวัตถุมงคลของท่านก็มีผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ตะกรุด พิสมร ซึ่งผู้ที่อยากได้จะนำวัสดุมาขอให้ท่านทำให้ ปัจจุบันหาดูได้ยากมากครับ ท่านเคยสร้างพระเครื่องเนื้อดินสอพองผสมผงวิเศษและใบแคอัดพิมพ์ ในคราวสงครามเอเชียบูรพา ปัจจุบันก็หาชมยากเช่นกันครับ ในปี พ.ศ.2488 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเป็นรุ่นแรกในการทำบุญฉลองอายุครบ 85 ปี ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก สนนราคาสูงและหายาก

ในปี พ.ศ.2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูนนทวุฒาจารย์ ในปี พ.ศ.2496 วัดลานนาบุญได้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ช่วงออกเป็นที่ระลึกในการจำลองพระคันธารราษฎร์ ปี พ.ศ.2497 วัดบางแพรกเหนือได้มีการยกเครื่องบนก่อสร้างพระอุโบสถในการนี้คณะกรรมการวัดผู้ดำเนินการได้ ขออนุญาตสร้างรูปท่านมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นรูปอาร์มเหมือนเหรียญรุ่นแรก แต่ย่อขนาดลง

เหรียญรุ่นสุดท้ายเป็นแบบรูปสามเหลี่ยมสองหน้า ด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธโสธร ด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ช่วง สร้างในปี พ.ศ.2497 แต่ทว่ายังไม่ได้ออกมาแจก จนกระทั่งท่านมรณภาพในปีต่อมาจึงนำมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงของท่าน

มรณภาพในปี พ.ศ.2498 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 74

ในวันนี้ผมนำรูปเหรียญหลวงปู่ช่วง ออกที่วัดลานนาบุญ ปี พ.ศ.2496 เป็นเหรียญรูปเสมา ซึ่งสนนราคายังไม่สูงนักมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์


บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.190 Chrome 88.0.4324.190


ดูรายละเอียด
« ตอบ #161 เมื่อ: 09 มีนาคม 2564 20:19:00 »



หลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระสงฆ์ที่มีประชาชนเคารพศรัทธามาก ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานมากตั้งแต่สมัยอยุธยาก็ตาม แต่ก็ยังมีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาก

จนกระทั่งปี พ.ศ.2497 ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ได้เกิดนิมิตและสร้างพระเครื่องรูปหลวงปู่ทวดขึ้นเป็นครั้งแรก และเกิดอภินิหารประสบการณ์ต่างๆ มากมาย และมีการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดกันต่อมาอีกหลายรุ่นหลายวัดจนทุกวันนี้ก็ยังได้รับความเลื่อมใสศรัทธาโดยตลอด

วันนี้จะพูดถึงหลวงปู่ทวดของวัดประสาท บุญญาวาส กทม. ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2505 ก่อนอื่นขอกล่าวถึงที่มาที่ไปวัด ประสาทฯ ก่อนนะครับ วัดประสาทบุญญาวาส ตั้งอยู่ที่ถนนดาวข่าง แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

แรกเริ่มสร้างมีชื่อว่า “วัดคลองสามเสน” แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดขวิด เนื่องจากในสมัยนั้นบริเวณวัดมีต้นมะขวิดขึ้นอยู่จำนวนมาก จนถึงปี พ.ศ.2487 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดประสาทบุญญาวาส”

ต่อมาปี พ.ศ.2498 สมัยที่พระสมุห์อำพลเป็นเจ้าอาวาส ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ เกิดความเสียหายมาก พระสมุห์อำพลจึงได้ระดมศรัทธาชาวบ้านเพื่อหาทุนก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ซึ่งพระอุโบสถมีความเสียหายมาก จึงดำริว่าจะสร้างวัตถุมงคลเพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ในการนี้

ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ก็ได้นิมิตว่า “หลวงปู่ทวดได้บอกให้ท่านไปช่วยบูรณะวัดประสาทฯ ที่ถูกเพลิงไหม้” ท่านจึงได้เดินทางมาที่วัดประสาทฯ มาพบกับพระสมุห์อำพล ในปี พ.ศ.2502 โดยท่านได้นำพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด 3 พิมพ์มาให้ถอดพิมพ์ และได้มอบผงว่านจากวัดช้างให้มาให้จำนวนมาก ทั้งนี้พระเครื่องของวัดประสาทฯ ยังได้รับมอบผงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ที่ชำรุดในการเปิดกรุปี พ.ศ.2500 มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย

มีพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 14-16 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน โดยมีพระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธี 108 รูป ดังจะนำมายกตัวอย่างดังนี้

พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปัตตานี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้างนนทบุรี หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต กทม. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา

เจ้าคุณผล วัดหนัง กทม. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองสิงห์บุรี หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ อยุธยา หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน เพชรบูรณ์ หลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง กทม. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ กทม.

หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเชอ ชลบุรี หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ สุพรรณบุรี หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ปทุมธานี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง นนทบุรี หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง ชลบุรี หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน ลพบุรี หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง หลวงปู่เขียว วัดหรงมน นครศรีฯ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ พัทลุง หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี หลวงพ่อแดง วัดมะเดื่อ ปัตตานี หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว นครสวรรค์ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กทม. หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว สุพรรณบุรี หลวงพ่อเทียม วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี หลวงพ่อดี วัดเหนือ กาญจนบุรี หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี

พระเครื่องวัดประสาทฯ ที่สร้างในครั้งนี้มีอยู่หลายพิมพ์ หลายเนื้อ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะพระหลวงปู่ทวดเนื้อผง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีขาว เนื้อสีออกดำ และเนื้อ

สีออกเทาๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันก็ยังพอได้ สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ เพียงแต่ต้องพิจารณากันดีๆ หน่อย หรือได้จากผู้ที่ไว้ใจได้เนื่องจากมีการทำปลอมกันมานานแล้วครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อขาวมาให้ชมกันด้วยครับ
… ข่าวสดออนไลน์



ทำไมต้องเป็นพระสมเด็จฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เริ่มปีใหม่ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ช่วยคุ้มครองทุกท่านให้ปลอดภัยจากวิกฤตโรคระบาด และสิ่งไม่ดีทั้งหลายให้แคล้วคลาดผ่านพ้นไปด้วยดี ขอให้ท่านมีสุขภาพดี มีความสุขตลอดไปครับ วันนี้เรามาคุยกันเล่นๆ นะครับ ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรเหมือนกัน ก็ต้องยอมรับครับว่าอายุเริ่มมากขึ้นสมองและความจำก็เริ่มเสื่อมลงไปตามอายุร่างกายก็เริ่มเสื่อมลงเช่นกัน ต่อไปก็จะเขียนงานน้อยลงด้วยครับ

มาเริ่มกันเกี่ยวกับพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ทำไมประชาชนจึงศรัทธาในพระสมเด็จฯ กันมาก ก็ต้องบอกว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงาม เทศน์สั่งสอนได้ไพเราะและเข้าใจง่าย ประชาชนจึงเคารพศรัทธาในตัวเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันมาก และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เสื่อมคลาย

ตามประวัติของท่านก็ได้ทราบว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระเครื่องไว้ให้แก่ประชาชนและลูกศิษย์ เท่าที่มีหลักฐานแน่นอนและสืบค้นได้ก็มีพระที่สร้างและแจกที่วัดระฆังฯ พระที่สร้างบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ประธานของวัดบางขุนพรหม และที่บรรจุไว้ที่วัดไชโยวรวิหารอ่างทอง หลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้มรณภาพก็มีประชาชนอยากจะได้พระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันมากเพื่อไว้เป็นสิริมงคลและคุ้มครองตัว

ต่อมาผู้ที่ได้มีพระสมเด็จฯ ก็ได้รับสิ่งดีๆ และคุ้มครองให้พ้นภัย แม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็ยิ่งมีการเล่าลือกันมากต่อๆ มา ดังนั้นจึงมีผู้ที่อยากได้พระสมเด็จฯ และเสาะหากันมาก จนกระทั่งมีการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเป็นตัวเงินที่สูงมากตามลำดับ ในปัจจุบัน ถ้าองค์ที่ไม่หักไม่ซ่อมก็ต้องมีเป็นหลักล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากจำนวนพระที่แท้ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับนั้นมีน้อยต่อความต้องการมาก ในปัจจุบันแม้มีเงินพร้อมก็ยังไม่แน่ว่าจะได้พระสมเด็จฯ แท้ๆ ที่มีมาตรฐานไปครอบครอง

ครับเมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีการทำปลอมแปลงกันมาก และมีการทำปลอมเพื่อหลอกลวงกันมานานมากแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปลอมซึ่งได้ทำขึ้นพร้อมนิยายที่แต่งขึ้นเองมา หลอกขายพระสมเด็จฯ กันมากเช่นกัน ยิ่งในปัจจุบันมูลค่าของพระสมเด็จฯ แท้ๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานนั้นสนนราคาเป็นหลักล้านบาทก็ยิ่งทำให้พวกมิจฉาชีพคิดทำปลอมและสร้างนิทานกันต่างๆ นานา มาล่อลวงให้หลงเชื่อ

เรื่องนี้พิสูจน์กันไม่ยากครับ ถ้าเป็นพระแท้ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับแน่นอน ไปขายที่ไหนก็มีคนอยากได้ และมีตัวเลขจำนวนเงินรองรับแน่นอนครับ แต่ถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานก็ไม่มีมูลค่ารองรับ เดินขายที่ไหนก็ไม่มีใครรับซื้อ เรื่องเหล่านี้พิสูจน์ไม่ยากเลย เพียงแต่ใช้เหตุผลความจริงในการพิจารณาเท่านั้น ก็จะทราบได้ด้วยตัวเอง อย่าไปมโนเอาเองหรือคิดเข้าข้างตัวเอง ไม่อย่างนั้นก็จะอยู่แต่ในความฝันไม่ได้อยู่ในความเป็นจริงครับ

คิดง่ายๆ ครับ อะไรก็ตามถ้ามีความต้องการมากกว่าจำนวนของที่มี ก็ย่อมมีมูลค่าสูงและหายาก ไปที่ไหนๆ ก็มีคนขอซื้อ ไม่มีหรอกที่จะแกล้งทำเป็นไม่ซื้อแล้วให้คนมาขอซื้อทีหลัง เพราะใครๆ ก็ต้องการ พอบอกว่าไม่ซื้อจะมีคนอื่นมาขอดูและขอซื้อในทันทีถ้าพระสมเด็จฯ องค์นั้นเป็นพระแท้ถูกต้อง แม้ว่าจะหักชำรุดก็ยังมีราคา อย่าว่าแต่หักชำรุดเลย มีเพียงเสี้ยวที่หักเพียงชิ้นเล็กชิ้นน้อยยังขายได้เลยครับถ้าแท้นะ

พระสมเด็จฯ เป็นพระยอดนิยมที่ใครๆ ก็อยากได้ ถ้ามีเข้ามาบอกขายก็แทบจะแย่งกันซื้อเลยครับ ขอให้แท้ถูกต้องตามมาตรฐานนะครับ ไม่ว่าจะซื้อมาเพื่อบูชาเอง หรือซื้อมาเพื่อนำไปขายต่อก็มีความต้องการสูงทั้งนั้นเพราะซื้อง่ายขายคล่อง มีส่วนต่างของผลกำไรทั้งสิ้น ในทางกลับกันถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคมก็ไม่มีใครสนใจเลย ไม่มีมูลค่ารองรับใดๆ ครับ

เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าเป็นทองคำแท้ไปร้านทองที่ไหนก็ได้เขารับซื้อทั้งสิ้น ไม่ว่าจะนำมาขายเป็นกิโลเขาก็รับซื้อ แต่ถ้าเป็นทองไม่แท้เขาก็ไม่รับซื้อครับ เรื่องมันก็ง่ายๆ เท่านี้ครับ ในเรื่องของพระสมเด็จฯ ที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม ก็พิสูจน์ง่ายๆ เช่นกัน ในกลุ่มเดียวกันที่รับรองว่าแท้แน่นอนนั้น ก็นำไปขายในกลุ่มเลยครับ ดูซิว่าเขาจะรับซื้อไหม ราคาเท่าไร เรื่องนี้พิสูจน์ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองครับ

ครับก็คุยกันเล่นๆ แก้เหงานะครับ และก็ไม่อยากให้ท่านผู้อ่านไปถูกหลอกลวง ในปัจจุบันมีเยอะมากเท่าที่ผมเห็น และในวันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จ พิมพ์ฐานคู่ ของกรุวัดบางขุนพรหมมาให้ชม พระองค์นี้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับหลายล้านบาทครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระนิลพัตร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องเก่าๆ พระเก่าๆ ที่คนในสมัยก่อนเขานิยมและนำมาจัดชุดกัน เช่นเดียวกับพระเบญจภาคีที่ท่านอาจารย์ตรียัมปวายท่านได้จัดไว้ในการจัดชุดพระเบญจภาคีอันมีพระสมเด็จฯ พระนางพญา พระซุ้มกอ พระรอด และพระผงสุพรรณนั้น ความจริงก็มีท่านผู้กองสันทัดร่วมในการช่วยกันจัดพระชุดนี้ด้วย ท่านผู้กองสันทัด ท่านเป็นนายทหารอากาศ ยศนาวาอากาศโทและเป็นเพื่อนกับท่าน อาจารย์ศรีฯ แต่ใครๆ ก็มักจะเรียกท่านว่า ผู้กองสันทัดกันจนติดปากในสมัยนั้น

ผู้กองสันทัดท่านนี้ได้จัดพระชุดมังกรดำไว้ แต่ต่อมาท่านได้เสียชีวิตเสียก่อนที่จะ เผยแพร่ออกมา จึงไม่ค่อยได้มีใครทราบเรื่องการจัดชุดพระชุดนี้กันนัก นอกเสียจากท่านผู้อาวุโสที่เล่นหาสะสมพระในยุคบาร์มหาผัน อายุตอนนี้ก็น่าจะประมาณ 80 ปีขึ้นไป ผมเองได้รับการบอกเล่าจากผู้อาวุโส บอกเล่าให้ฟังในเรื่องการจัดพระชุดมังกรดำ จึงนำพระที่อยู่ในชุดนี้มาเล่าสู่กันฟัง ขอเริ่มด้วย “พระนิลพัตร”

ครับชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูนัก นอกจากจะเป็นคนรุ่นเก่าๆ พระนิลพัตรเป็นพระที่ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็นพระที่เด่นทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดในสมัยก่อน “พระนิลพัตร” ก็คือพระเชตุพนหน้าโหนกหรือพระร่วงนั่งหน้าโหนก แต่จะต้องเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีสีดำเท่านั้นครับ แต่ก็มีพระร่วงนั่งหน้าโหนกแบบเดียวกับของกรุวัดเชตุพน ที่พบในจังหวัดสุโขทัยอยู่หลายกรุ พระที่พบในสมัยสุโขทัยก็มักจะเรียกว่า “พระเชตุพนหน้าโหนก” เช่นเดียวกัน

พระเชตุพนหน้าโหนกหรือพระร่วงนั่งหน้าโหนกนั้น เนื่องจากการพบที่กรุวัดเชตุพนจังหวัดสุโขทัยเป็นปฐม จึงใช้ชื่อวัดเป็นชื่อเรียกพระเครื่องที่พบ และเหตุที่พุทธลักษณะขององค์พระนั้นมีพระพักตร์โหนกนูนเด่นชัด จึงนำเอาพุทธลักษณะที่เด่นชัดมาเป็นคำตามหลัง พระเชตุพนหน้าโหนกที่พบนั้นเป็นพระเครื่องขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.3 ซ.ม. พระที่พบมีทั้ง 2 เนื้อคือเป็นพระเนื้อชินและเนื้อดินเผา และพบทั้งแบบฐานเขียงชั้นเดียวกับพิมพ์ฐานบัว 2 ชั้น แต่พระที่เป็นเนื้อดินเผาและมีเนื้อพระเป็นสีดำนั้นมีน้อยมาก และก็หายากเช่นเดียวกับพระคงดำ พระเชตุพนหน้าโหนกมีพุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ท่านผู้กองสันทัดจึงนำมาจัดชุดอยู่ในพระชุดมังกรดำ โดยเอาเฉพาะพิมพ์บัวชั้นเดียวที่เป็นเนื้อดินเผาสีดำเท่านั้น

นอกจากนี้พระแบบเดียวกันก็ยังพบที่จังหวัดกำแพงเพชรอีกหลายกรุ ชื่อเรียกก็มักจะเป็น “พระกำแพงหน้าโหนก” เนื่อง จากสถานที่พบนั้นพบที่จังหวัดกำแพงเพชร และพุทธลักษณะก็เหมือนกับของวัดเชตุพน สุโขทัย แต่พระพักตร์จะดูโหนกนูนกว่าของกรุของจังหวัดสุโขทัย มีการพบพระกำแพงหน้าโหนกอยู่หลายกรุของจังหวัดกำแพง เพชร เช่นที่กรุวัดอาวาสน้อย วัดอาวาสใหญ่ วัดพระนอน วัดพิกุล วัดบรมธาตุ วัดพระเเก้ว และวัดป่ามืด เป็นต้น การพบพระมีทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง แต่พบน้อยและพระเนื้อดินเผา แต่พระเนื้อดินเผาที่เป็นสีดำสนิทนั้นก็พบน้อยมากเช่นกัน ขนาดขององค์พระก็เท่าๆ กับพระที่พบในจังหวัดสุโขทัย

พระร่วงนั่งหน้าโหนก ทั้งของสุโขทัยและกำแพงเพชร เฉพาะที่เป็นเนื้อดินเผาสีดำสนิท ถ้าผ่านการสัมผัสใช้มาก่อนก็จะมีสีดำมันเงาสวยงาม ปัจจุบันนั้นหายาก และมักเรียกกันอยู่ในยุคหนึ่งว่า “พระนิลพัตร” ท่านผู้กองสันทัดจึงได้นำมาจัดเป็นหนึ่งในพระชุดมังกรดำครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเชตุพน หน้าโหนกเนื้อดินเผาสีดำ กรุวัดเชตุพน สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์



พระรอดลำพูน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระรอดลำพูน ถ้าเอ่ยคำคำนี้ในสมัยก่อนก็จะหมายถึงพระรอดของกรุวัดมหาวัน ที่จัดอยู่ในพระชุดเบญจภาคีเท่านั้น ซึ่งพระรอดเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของพระชุดนี้

เท่าที่มีการศึกษากันมาทำให้ทราบว่าเป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นในสมัยของพระนามจามเทวีขณะที่สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ๆ นั้น ก็ได้มีการสร้างวัดสี่มุมเมืองเป็นจตุรพุทธปราการ เพื่อเป็นสิริมงคลและปกป้องคุ้มครองบ้านเมืองและประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข วัดสี่มุมเมืองก็มี วัดพระคง วัดดอนแก้ว วัดประตูลี้ และวัดมหาวัน ซึ่งตั้งอยู่ประจำทิศทั้ง 4 ทิศของเมือง

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระรอดกรุ วัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กที่สุดของพระในสกุลลำพูน ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อย แต่ก็เป็นพระที่มีความนิยมมากที่สุดของพระสกุลลำพูนสนนราคาก็สูงมากเช่นกัน พระรอดที่มีการขุดพบในวัดมหาวันมีการจดบันทึกไว้ตั้งแต่ต้นๆ ที่มีการขุดพบพระว่ามีพระอยู่กี่พิมพ์อะไรบ้าง เท่าที่มีการบันทึกและเป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานก็มีอยู่ 5 พิมพ์

คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์ต้อ พระที่พบก็เป็นพระเนื้อ ดินเผาทั้งสิ้นซึ่งเป็นพระที่มีเนื้อละเอียด หนึกแกร่ง มีมูลค่ารองรับ ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนกันมาแต่โบราณตั้งแต่มีการขุดพบพระแล้ว

ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงมาก ยิ่งองค์ที่มีความสมบูรณ์และสวยๆ นั้นมูลค่าเป็นหลักล้านบาท พระรอดเป็นพระขนาดเล็กก็ตามแต่ศิลปะบนองค์พระที่ช่างแกะแม่พิมพ์ไว้นั้นงดงามมาก เป็นศิลปะแบบหริภุญชัย ซึ่งก็อยู่ในยุคของทวารวดีตอนปลาย อายุราว 1,200-1,300 ปี ซึ่งเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีศิลปะแบบพื้นถิ่น

ผสมผสานกับศิลปะแบบทวารดี ซึ่งมีกลิ่นอายของศิลปะแบบคุปตะปะปนอยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ถึงอายุยุคสมัยของโบราณวัตถุได้ว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่เท่าไร ประกอบกับบันทึกจามเทวีวงศ์ และชินกาลลินี ก็พอจะปะติดปะต่อได้ถึงอายุของเมืองหริภุญชัย ทำให้รู้ได้ว่าพระเครื่องของเมืองลำพูนในยุคแรกๆ นั้นอยู่ในยุคของทวารวดี ตอนปลาย

พระรอด กรุวัดมหาวันก็เป็นพระที่อยู่ในยุคแรกของเมืองลำพูน รูปแบบพิมพ์พระเท่าที่บันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการขุดพบ และบันทึกศึกษากันต่อมา จนเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยกำหนดมาตรฐานของพิมพ์ไว้ว่ามีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น โดยเฉพาะพิมพ์ตื้นนั้น ยังแยกออกเป็น 2 แม่พิมพ์ ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อยตรง รอยแตกของแม่พิมพ์ แต่ความนิยมเล่นหานั้นก็เท่าๆ กันทั้ง 2 แม่พิมพ์

พระรอดพิมพ์ตื้นนั้นในสมัยก่อน เมื่อ 40-50 ปีก่อน ก็ไม่ค่อยมีการลงรูปภาพกันสักเท่าไร จึงทำให้ไม่มีการทำปลอมกันนัก ยังได้พระแบบบังเอิญได้เสมอ แต่ในปัจจุบันนั้นมีการทำปลอมทุกพิมพ์ เวลาจะเช่าหาต้องระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบก่อนจ่ายเงินครับ

เอกลักษณ์ของพระรอดพิมพ์ตื้นนั้น จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 แม่พิมพ์ ตรงซอกแขนหรือร่องระหว่างหน้าตัก และร่องบริเวณฐานนั้นจะมีความตื้นกว่าทุกพิมพ์ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ แต่ในส่วนของพระเศียรและลำพระองค์กับผนังโพธิ์นั้นจะลึกเหมือนๆ กับพระพิมพ์อื่นๆ

พระรอดพิมพ์ตื้นที่มีอยู่ 2 แม่พิมพ์ก็เนื่องจากรอยแตกของแม่พิมพ์นั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ จะเป็นแม่พิมพ์ที่มีรอยแตกที่ข้างพระเศียรตรงหูซ้ายขององค์พระวิ่งไปหาผนังโพธิ์ กับรอยแตกที่บริเวณหัวไหล่ซ้ายขององค์พระ ลากยาวลงมาข้างแขนจนเกือบถึงข้อศอกของพระ

ส่วนอีกแม่พิมพ์หนึ่งนั้นรอยแตกของแม่พิมพ์จะมีรอยแตกตรงบริเวณเหนือพระเศียรด้านซ้ายขององค์พระเล็กน้อยวิ่งลากยาวลงมาบริเวณข้างหูขององค์พระ และอีกเส้นหนึ่งจะแตกที่บริเวณข้างหูซ้ายขององค์พระ วิ่งลงมาที่หัวไหล่ขององค์พระ พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นที่นิยม และเป็นมาตรฐานของสังคม ซึ่งมีมูลค่ารองรับ ซึ่งผมได้นำรูปมาให้ชมกันทั้ง 2 แม่พิมพ์ครับ

ครับลองศึกษาดูนะครับ เปรียบเทียบกันทั้ง 2 องค์ พระแบบนี้เป็นที่ยอมรับ เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับ และมีมูลค่ารองรับครับ ผมคงย้ำบ่อยๆ นะครับ เรื่องมาตรฐานมีมูลค่ารองรับ เพราะเป็นเรื่องที่ยืนยันและพิสูจน์ได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนักครับ พระแบบนี้แท้และมีมูลค่าหลักล้านครับ
… ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 91.0.4472.124 Chrome 91.0.4472.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #162 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2564 16:34:07 »


พระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตร พิมุข) ผู้นิยมพระเครื่องต่างก็รู้จักกันดี พระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ล้วนเป็นที่ปรารถนาของผู้นิยมพระเครื่องมาก เช่น พระปิดตา และเหรียญของท่าน ซึ่งหายากมากในปัจจุบัน และมีสนนราคาสูงมากๆ ครับ แต่ก็มีพระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ก่อนมรณภาพ และมีจำนวนพอสมควร สนนราคาก็ไม่สูงนัก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนทราบกันมากนักว่าเป็นพระเครื่องที่ท่านสร้างและทันท่าน

หลวงปู่ไข่เกิดที่ ต.ท่าไข่ จ.ฉะเชิงเทราเมื่อปี พ.ศ.2400 บวชเณรที่วัดแหลมใต้ และต่อมาได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่ วัดโสธรฯ และได้ย้ายมาจำพรรษาที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยต่อ และได้เข้ามาศึกษาต่อที่วัดใน กทม. และมาจำพรรษาอยู่ที่ จ.สมุทรสงคราม จนกระทั่งอายุครบบวช จึงอุปสมบทที่ วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม หลวงปู่ไข่ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและธุดงค์ไปหลายจังหวัดจนกระทั่งกลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดเชิงเลน กทม. เนื่องจากในสมัยนั้น ท่านเห็นว่าวัดเชิงเลนเป็นวัดที่เงียบสงบดี เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

เมื่อมาอยู่จำพรรษาที่วัดเชิงเลนแล้วก็ได้สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาสช่วยเหลืออนุเคราะห์แก่ประชาชนโดยทั่วไป และท่านได้พัฒนาวัดเช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมแซมพระพุทธรูปที่ชำรุด สร้างกุฏิ สร้างถนน สร้างสระน้ำ ถังรับน้ำฝน เป็นต้น หลวงปู่ไข่มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่รักเคารพของประชาชนในแถบนั้นมาก

ลูกศิษย์ได้ขอให้สร้าง พระไว้บูชาคุ้มครองป้องกันตัว ท่านจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักตามตำราของพระปิดตาทางสายตะวันออกขึ้น ซึ่งปัจจุบันหายากมาก และมีสนนราคาสูงมาก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงปู่ไข่จัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุของหลวงปู่ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญ พระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมากๆ ครับ

นอกจากวัตถุมงคลที่เป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก และเหรียญแล้ว พระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่าพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งทางวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาต จัดสร้างขึ้น และขออนุญาตหลวงปู่ไข่ในการสร้างครั้งนี้ ในการสร้างนั้นได้จัดสร้างจำนวนมากเพื่อให้พอแจกจ่ายแก่ผู้ที่เคารพศรัทธา ในตัวหลวงปู่ พระกลีบบัวอรหังในปัจจุบันยังพอได้

สนนราคาหลักหมื่นต้นๆ ซึ่งย่อมเยากว่าพระเครื่องอื่นๆ ของท่านมากเนื่องจากสมัยก่อนมีจำนวนมากหาได้ไม่ ยากนัก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก

นอกจากนี้หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้ว ทางวัดยังมีการสร้าง ขึ้นอีกครั้ง รูปลักษณ์คล้ายๆ กันแต่ก็เป็นคนละแม่พิมพ์กันโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ การเช่าหาสะสมจึงสับสนกันไปบ้างในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันแยกแยะกันได้ด้วยตัว แม่พิมพ์ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกลีบบัวอรหัง รุ่นแรกที่ทันหลวงปู่ไข่มาให้ชม เรียกได้ว่าเป็นของดีราคาไม่สูงมากครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตา กรุวัดเงินคลองเตย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน  ถ้าเรากล่าวถึง วัดเงินคลองเตย เราก็จะนึกถึงพระเนื้อผงสีขาวๆ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง แต่พิมพ์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าในกรุวัดเงินคลองเตยก็มีพระปิดตาเนื้อผงสีเทาๆ อมดำอยู่ด้วย เนื่องจากมีจำนวนน้อยและค่อนข้างหายาก อีกประการหนึ่ง วัดเงินคลองเตยนั้นตั้งอยู่ที่แห่งใดใน กทม.

ครับ ก่อนอื่นก็คงต้องกล่าวถึงตำแหน่งของตัววัดและประวัติสักหน่อย เมื่อก่อนนี้วัดเงินคลองเตยก็อยู่ที่คลองเตยตรงบริเวณที่เป็นท่าเรือแห่งประเทศไทยนี่แหละครับ ณ บริเวณนี้มีวัดตั้งอยู่ถึงสามวัดครับ คือ วัดพระธาตุ วัดทอง และวัดเงิน วัดทั้งสามวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณ

ต่อมาทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณที่ตั้งวัดพระธาตุ วัดทอง และวัดเงิน เพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตย วัดธาตุและวัดทองได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่รวมกันที่ถนนสุขุมวิท มีชื่อเรียกใหม่ว่า วัดธาตุทอง

ส่วนวัดเงินนั้นได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่เช่นกัน ชื่อวัดไผ่เงิน วัดพระธาตุและวัดทอง ในรื้อถอนไม่มีบันทึกว่าพบพระเครื่องแต่อย่างใด ส่วนวัดเงินพระเครื่องบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์จำนวนมากพอสมควร จนทำให้วัดเงินมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนทุกวันนี้ แต่น้อยคนนักที่จะสนใจประวัติว่าวัดเงินคลองเตยนั้นตั้งอยู่ ณ บริเวณใด

จากการรื้อถอนในครั้งนั้น ได้พบพระเครื่องบรรจุอยู่ในเจดีย์รายและฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถเป็นจำนวนนับหมื่นองค์ พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อผงสีขาว มีอยู่หลายพิมพ์ทรง และนิยมทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก สนนราคาสูงกว่าทุกๆ พิมพ์สำหรับพระเนื้อผงสีขาว ส่วนพระปิดตาของกรุนี้พบบรรจุอยู่ที่ซุ้มคอระฆังในองค์พระเจดีย์ และในองค์พระประธาน ซึ่งพบมีจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อผงขาวทั่วๆ ไป ดังนั้นจึงทำให้บางท่านอาจจะไม่ทราบว่า กรุวัดเงินคลองเตยก็มีพระปิดตา เนื้อผงใบลานด้วย

พระปิดตาของกรุวัดเงินคลองเตยเท่าที่พบมีอยู่ด้วยกันสามพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์รัศมี และพิมพ์เล็ก พระปิดตาของวัดเงินนี้จะมีรูปทรงสัณฐานมนโค้งด้านบน คล้ายซุ้มตัวกอไก่ ทุกพิมพ์ ชื่อเรียกก็เรียกตามขนาดขององค์พระ ส่วนพิมพ์รัศมีก็คือที่บริเวณพระเศียรจะมีเส้นรัศมีอยู่โดยรอบและตรงปลายเส้นรัศมีจะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ เฉพาะพระปิดตาพิมพ์ใหญ่นี้ ที่พบเป็นเนื้อผงสีขาวก็มีอยู่บ้างแต่น้อยมาก นอกนั้น พระปิดตาของกรุนี้จะเป็นเนื้อผงใบลานสีเทาๆ ไปจนถึงสีเทาอมดำเป็นส่วนมากครับ

ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นพระปิดตาของกรุนี้นัก เนื่องจากมีจำนวนน้อยและหายาก สนนราคาก็ค่อนข้างสูงในปัจจุบันครับ พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาของกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์ใหญ่ และพระปิดตา พิมพ์รัศมี มาให้ชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์



พระกลีบบัว วัดลิงขบ

พระกลีบบัว วัดลิงขบ – สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในยุคข้าวยากหมากแพงนี้ ส่งผลกระทบกับประชาชนที่มีฐานะปานกลางจนถึงระดับล่างอย่างมาก อะไรๆก็แพงไปหมด ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันก็ลำบากมากขึ้น วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องที่สนนราคาไม่แพงนัก และเป็นพระที่มีพุทธคุณดีเยี่ยมกันดีกว่านะครับ

วัดบวรมงคล หรือที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า วัดลิงขบ นั่นเองครับ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องกับวัดราชาธิวาส ในเขตบางพลัด อำเภอบางกอกน้อย กทม. เดิมเป็นวัดราษฎร์โบราณอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมากขึ้น จึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน

สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนา นุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็น พระอารามหลวง ถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวร ทรงปฏิสังขรณ์ทั้งพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดบวรมงคล”

ที่วัดแห่งนี้ได้มีการพบพระเครื่องเนื้อดินเผา แตกออกมาจากพระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งอยู่ตรงมุมทางด้านเหนือ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างมาแต่เมื่อใด พระเจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ชิดกับฝั่งแม่น้ำ มีบ้านเรือนของชาวบ้านล้อมรอบอยู่ ก่อนที่ทางวัดจะเปิดกรุนั้น มีเด็กๆ แถบนั้นได้ไปพบว่าองค์พระเจดีย์มีรอยร้าว และมีพระไหลออกมาตามแนวผุกร่อน จึงเก็บกันเอามา

ต่อมาข่าวก็รู้กันไปทั่ว ในที่สุดก็มีคนเข้าไปขุดเอาพระไปเป็นจำนวนมาก ทางวัดโดยพระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้แจ้งไปยังกรมการศาสนาเพื่อดำเนินการเปิดกรุ เพราะหากทิ้งไว้อย่างนี้ ไม่ช้าคงมีคนเข้าไปขุดกันจนองค์พระเจดีย์เสียหายแน่

ทางวัดได้ดำเนินการเปิดกรุเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือ จากเรือรบหลวงจันทบุรีให้ความช่วยเหลือ การเปิดกรุในครั้งนั้น ชั้นล่างพบพระพิมพ์กลีบบัวบรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ส่วนกรุชั้นบนตรงคอระฆัง พบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน และพระกลีบบัวอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังพบเหรียญเสี้ยวรัชกาลที่ 5 กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง

หลังจากที่ได้สำรวจจำนวนพระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่างๆ แล้ว เฉพาะพระพิมพ์กลีบบัวที่เหลืออยู่มีประมาณ 70,000 องค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่างๆ ต่อมาทางวัดจึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัวในราคาองค์ละ 30 บาท พระกลีบบัวทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อค่อนข้างหยาบ ส่วนใหญ่มักจะมีคราบรารักติดอยู่ที่ผิวของพระ ในส่วนที่เป็นพระแบบลงรักน้ำเกลี้ยงและแบบทาชาดก็มีบ้างเล็กน้อย เข้าใจว่าน่าจะเป็นพระคะแนน

พระกลีบบัววัดลิงขบนั้น พุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี มีประสบการณ์มาแต่ในอดีต ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก อยู่ที่หลักพันต้นๆ ตามแต่ความสวยสมบูรณ์ขององค์พระ

ในวันนี้ได้นำรูปพระกลีบบัว วัดลิงขบ องค์สวยมีหน้ามีตา ซึ่งหาดูค่อนข้างยากมาให้ชมกันหนึ่งองค์ครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์



เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อห่วง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์สายนครปฐม ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เคารพและยกย่องว่าเก่งกว่าท่านก็คือ หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อเต๋ ทั้งสามท่านนี้ในสมัยก่อนได้เคยออกธุดงค์ด้วยกันเสมอจึงสนิทสนมกันดี

“พระครูสิริวุฒาจารย์” หรือ “หลวงพ่อห่วง สุวัณโณ” วัดท่าใน จ.นครปฐม

เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2428 ที่บ้านตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ต่อมาจึงได้อุปสมบทที่ วัดทรงคะนอง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2449 โดยมีพระอธิการรุ่ง วัดทรงคะนอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์มี และพระอธิการแจ่ม วัดทรงคะนอง เป็นพระคู่สวด

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดทรงคะนอง ครั้นออกพรรษาจึงได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่อันสงบในป่าเขาลำเนาไพร นานถึง 6 พรรษา ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระและวิทยาคมต่างๆ จากพระอาจารย์หลายองค์ที่พบในป่านั้น

ต่อมาท่านจึงได้มาปักกลดอยู่ที่วัดท่าใน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีสภาพทรุดโทรม ปรากฏว่าประชาชนในย่านนั้นต่างพากันเคารพศรัทธาเลื่อมใสในจริยวัตรของท่าน และพร้อมกันอาราธนาให้จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าใน ซึ่งท่านก็มิได้ขัดข้องอนุโลมตามศรัทธาและความประสงค์ของชาวบ้าน

นับแต่นั้นมาท่านก็ได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ประพฤติดีประพฤติชอบ และช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญขึ้นโดยลำดับจนทุกวันนี้ ด้วยศีลาจารวัตรอันน่าเลื่อมใส และวิริยอุตสาหะของท่าน ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งดังต่อไปนี้

ปี พ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดท่าใน พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา พ.ศ.2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสิริวุฒาจารย์ หลวงพ่อห่วงมรณภาพ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 78 ปี พรรษาที่ 57

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นที่ได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน และเชือกถักมงคล ซึ่งทำไว้ไม่มากนัก เนื่องจากท่านจะพิจารณาดูเสียก่อนว่าจะให้ใคร และผู้ที่ได้รับไปนั้นสัญญากับท่านก่อนว่าจะไม่ไปปล้นใคร

โดยท่านจะบอกว่า “มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ” มีลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่งต่อมาประพฤติไม่ดี ท่านก็เรียกมาพบและขอดูตะกรุด พอชายคนนั้นถอดตะกรุดให้ท่านดู ท่านก็กำเอาไว้ ตะกรุดดอกนั้นกลับละลายไปเลยแล้วท่านก็โยนทิ้งลงน้ำไป เจ้าของถึงกับร้องไห้

นอกจากนี้ยังได้สร้างพระเนื้อผงเกสรขณะนี้หาดูยากครับ พระผงนี้เมื่อกดพิมพ์และแห้งดีแล้ว ท่านจะใส่ไว้ในบาตรมี น้ำเต็ม จะบริกรรมปลุกเสกจนพระผงลอยน้ำขึ้นมาจึงจะใช้ได้ ส่วนองค์ไหนที่จม ท่านว่าเป็นพระเสียใช้ไม่ได้

เหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2499 จัดสร้างประมาณ 500 เหรียญ โดยศิษย์สร้างถวายเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหลังเป็นยันต์กระต่ายสามขาซ้อนกันสองชั้น

เป็นยันต์ทางคงกระพันชาตรีครับ
แทน ท่าพระจันทร์…ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #163 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2565 20:16:54 »



เหรียญรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ

“พระธัมม วิตักโกภิกขุ” หรือ “พระยานรรัตนราชมานิต” วงการพระเครื่องเรียกขานนามว่า “เจ้าคุณนรฯ” เป็นข้าราชสำนัก ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตจึงได้บวชถวายเป็นพระราชกุศลตลอดชีวิต

สำหรับ เหรียญรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ รุ่นแรก สร้างขึ้นในงานทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี เมื่อปี พ.ศ.2510

ลักษณะเป็นเหรียญหลังเต่า มีหู ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนท่านครึ่งองค์หันหน้าตรง มีเส้นขนแมวในหูเหรียญ ดวงตาคมชัด สันเหรียญมีร่องรอยการตัด ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ ๗๐” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นยันต์คมชัด พบว่ามี 2 แบบคือ แบบบล็อกเคลื่อนกับบล็อกไม่เคลื่อน ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของนักสะสมอย่างมาก
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระครูนครธรรมโฆสิต (หลวงปู่นิล อิสสริโก)

“หลวงปู่นิล อิสสริโก” หรือ “พระครูนครธรรมโฆสิต” วัดครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา จัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภท แต่ที่ได้รับความนิยมสูงคือ เหรียญหลวงปู่นิล รุ่นฉลองอายุครบ 6 รอบ 72 ปี สร้างเมื่อปี พ.ศ.2516

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงรมดำ สร้างประมาณ 10,000 เหรียญ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปของท่านครึ่งองค์ เขียนว่า “พระครูนครธรรมโฆษิต” ด้านล่างเขียนว่า “วัดครบุรี” ด้านหลังเป็นยันต์สี่เหลี่ยม ด้านบนเขียนว่า “ครบ ๖ รอบ” ด้านล่างเขียนว่า “พ.ศ.๒๕๑๖” ซึ่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ผู้มีไว้ครอบครองก็ต่างหวงแหน
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์



“เหรียญโสฬสมงคล”  หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล

ย้อนไปปี พ.ศ.2520 พ.อ.แสวง อริยะกุล ขออนุญาตจัดสร้าง “เหรียญโสฬสมงคล” ถวาย “หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล” เจ้าอาวาสวัดศรีสวรรค์สังฆาราม หรือวัดถือน้ำ หลังค่ายจิรประวัติ มณฑลทหารบกที่ 31 นครสวรรค์ หารายได้สมทบทุนบูรณะวัด จัดสร้างเพียง 2 เนื้อ มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดงมันปู

ลักษณะเหรียญ ทรงกลมรูปไข่ หูห่วงยกซุ้ม ด้านหน้าเหรียญ รอบขอบเหรียญเป็นเกลียวเชือก ซุ้มหูห่วงเป็นลายกนก ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงพ่อสมควรครึ่งองค์ ด้านซ้ายและขวาหลวงพ่อมียันต์นูน “สุริยันจันทรา” ด้านล่างมีอักษรไทย “โสฬสมงคล”

ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ กลางเหรียญเป็นเส้นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก 16 ช่อง แต่ละช่องเป็น เลขไทย (ยันต์โสฬส) รอบๆ ตารางสี่เหลี่ยมใหญ่ มีอักขระขอม รอบเหรียญมีอักษรไทย เขียนคำว่า “พ.อ.แสวง อริยะกุล อนุโมทนา พระอาจารย์สมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์ สังฆาราม (ถือน้ำ) นครสวรรค์ ๒๕๒๐” เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นที่ได้รับการกล่าวขวัญ
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงปู่ฮุ่ง / พระสมเด็จหลังพระสีวลี / เหรียญหลวงพ่อจง

หลวงปู่ฮุ่ง ปคุณธัมโม อดีต เจ้าอาวาสวัดทุ่งหนองแวงสองคอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม วัตถุมงคลที่เป็นเหรียญรูปเหมือน สร้างออกมาหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความสนใจ คือ เหรียญกลมคล้ายหยดน้ำ ปี 2536 เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมคล้ายหยดน้ำ มีหูห่วง เป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ ด้านหน้า บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ฮุ่งครึ่งองค์หันหน้าตรง ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า“ลาภ ผล พูนทวี” ขอบด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนว่า “หลวงปู่ฮุ่ง ประคุณธมฺโม”




[ด้านหลัง ยกขอบ เริ่มจากด้านขวาของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนไปด้านซ้าย เขียนว่า “ต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม” จากด้านขวาโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนว่า “วัดทุ่งหนองแวงสองคอน พ.ศ. ๒๕๓๖” เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ



หลวงพ่อกวย ชุตินธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม(วัดบ้านแค) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงหนึ่งในนั้นคือ “พระสมเด็จหลังพระสีวลี” เป็นพระเครื่องที่สร้างเอง ผสมเนื้อและกดพิมพ์สร้างเมื่อประมาณปี 2514-2515 กดพิมพ์เองที่วัดบ้านแค เป็นพระสมเด็จพิมพ์ฐาน 3 ชั้น หลังเป็นพระสีวลีแบ่งเป็นพิมพ์เอวเล็กและพิมพ์เอวใหญ่

จุดสังเกตในพระสมเด็จพิมพ์นี้ คือ เนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อผงผสมน้ำมันตั้งอิ้ว ที่เป็นเนื้อผงใบลาน และเนื้อผงอิทธิเจ ด้วยเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันนานหลายสิบปีแล้ว พระจึงแห้งผาก แต่ดูแกร่ง และบางองค์ปรากฏคราบกรุให้เห็น พิมพ์ทรงคมชัด เนื้อแกร่งเก่าได้อายุ ส่วนพระสีวลีด้านหลัง ทั้งพิมพ์เอวเล็กและเอวใหญ่ จะมีขอบสองขอบ และอักขระนะชาลีติ ปรากฏอยู่สี่มุม ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ




หลวงพ่อจง พุทธสโร พระเกจิดังแห่งวัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายหลายอย่างและสร้างแจกทหาร-ตำรวจ ในสงคราม อินโดจีน ในช่วงปี 2483-2485 เป็นต้นมา มีทั้งเหรียญผ้ายันต์ตะกรุด แผ่นยันต์มหาลาภ และกันไฟ ฯลฯ จนทำให้ทหารที่มีวัตถุมงคลไว้บูชารอดชีวิตกลับมา

เหรียญหลวงพ่อจง รุ่นแรก สร้างเมื่อปี 2484 เพื่อแจกลูกศิษย์ในการร่วมสร้างหอสวดมนต์ เป็นเหรียญปั๊มแบบโบราณเนื้อเงินลงยา และเนื้อทองแดง ทรงข้าวหลามตัด ด้านหน้าเหรียญโหนกนูนมาก เป็นรูปหลวงพ่อจง ริ้วจีวรคมชัด มีชื่อ “หลวงพ่อจง” อยู่ข้างล่าง ด้านหลังเหรียญเป็นท้องกระทะ มีข้อความ “ที่รฤกในการสร้างหอสวดมนต์ พ.ศ.๒๔๘๔” อักขระยันต์คมชัด ขอบเหรียญปลิ้น เหรียญรุ่นนี้ปัจจุบันหายาก สนนราคาเล่นหาสูงมาก
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระครูปทุมวรกิจ (หลวงปู่บัวพันธ์ ปัญญาวโร)

หลวงปู่บัวพันธ์ ปัญญาวโร วัดขวัญเมืองระบือธรรม อ.บรบือ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ รุ่นจัดสร้างในปี 2539 ขณะดำรงสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูปทุมวรกิจ” เป็นที่ระลึกเนื่องในงานมุทิตาอายุครบ 65 ปี

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ยกขอบ มีหูห่วง จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ เป็น เนื้อทองแดงอย่างเดียว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่บัวพันธ์ ครึ่งองค์ บริเวณใต้รูปเหมือนมีตัวอักษรเขียนว่า “พระครูปทุมวรกิจ” ด้านหลังเหรียญ จากด้านขวาของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนลงไปด้านซ้ายเขียนว่า “วัดขวัญเมืองระบือธรรม” บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์นะโม พุทธายะ ใต้อักขระยันต์มีตัวเลข เขียนว่า “๒๕๓๙” เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง และล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า “อ.บรบือ จ.มหาสารคาม” ราคาเช่าหายังไม่สูง




หลวงพ่อต่วน อินทปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดกล้วย จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังเมืองกรุงเก่า วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ “เหรียญหลวงพ่อต่วน รุ่นปี 2525” ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อต่วน รอบเหรียญยกขอบนูนขึ้น ที่ขอบเหรียญด้านซ้ายมีอักษรเขียนว่า “ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ” ขอบเหรียญด้านขวาเขียนว่า “วัดกล้วย จ.อยุธยา” ขอบล่างเขียนว่า “หลวงพ่อต่วน อินฺทปญฺโญฺ”

ด้านหลังเหรียญเรียบไม่ยกขอบมีรูปยันต์ตรงกลาง เขียนอักษรขอมใต้ยันต์มีอักษรเขียนว่า พ.ศ.๒๕๒๕ (เป็นเลขไทย) ปัจจุบันเหรียญ หลวงพ่อต่วน รุ่นปี 2525 กลายเป็นเหรียญที่หายาก ด้วยเป็นเหรียญที่หลวงพ่อต่วนได้นั่งอธิษฐานจิตเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาร่วมทำบุญ ในงานยกช่อฟ้าอุโบสถในครั้งนั้น




ย้อนไปในปี พ.ศ.2531 “หลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสังวโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมอญ (สุวรรณโคตมาราม) อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท พระเกจิผู้สืบทอดวิทยาคมสาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ก่อสร้างวิหารหลวงปู่ศุข ที่วัดคลองมอญ ท่านจัดสร้าง “เหรียญหล่อโบราณ” เนื้อทองเหลือง พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เป็นที่ระลึก

ลักษณะเป็นเหรียญจอบ ห่วงขวาง ด้านหน้ามีขอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อ มหาโพธิ์นั่ง มือทั้งสองข้าง วางบนเข่า ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นพื้นเรียบ ไม่มีขอบ หลวงพ่อมหาโพธิ์ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส พร้อมจารมือ “พุทธม้วนโลก” กำกับด้วย “อิติปิโส” เหรียญรุ่นนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของบรรดาเซียนพระ
อริยะ เผดียงธรรม…ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2565 20:18:50 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #164 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2566 13:11:45 »


          (ซ้าย) หลวงพ่อรุ่ง ปุญญกโร (ขวา) เหรียญกงจักร หลวงพ่อรุ่ง (หน้า-หลัง)

เหรียญกงจักร 16 แฉก หลวงพ่อรุ่ง ปุญญกโร วัดโพธิ์พระใน เพชรบุรี

ที่มา : คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2564

พระครูปุญญกรวิโรจน์” หรือ “หลวงพ่อรุ่ง ปุญญกโร” วัดโพธิ์พระใน อ.เมือง จ.เพชรบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ชาวตำบลโพพระเคารพนับถือ

วัตถุมงคลได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ “เหรียญกงจักร 16 แฉก หลวงพ่อรุ่ง” มีทั้งหมด 3 รุ่น

รุ่น 1 สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2490 เพราะช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่เคยจัดสร้างแต่อย่างใด แต่ได้พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย

มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อรุ่งครึ่งองค์ หันหน้าตรง ในวงกลมด้านล่างมีอักษร เขียนคำว่า “พระครูปุญญกรวิโรจน์”

ด้านหลังเป็นเส้นยันต์มีอักขระขอม คาถาพระเจ้าห้าพระองค์ อ่านว่า นะโมพุทธายะ ด้านล่างเป็นตัวเลขอารบิก “2490”

เหรียญกงจักร รุ่นที่ 2 สร้างในปี พ.ศ.2513 ลักษณะเหมือนกับเหรียญรุ่น 1 ทุกประการ มีข้อแตกต่างตรงด้านหลัง ใต้อักขระยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๑๓”

ส่วนรุ่นที่ 3 เหมือนกับเหรียญรุ่น 1 และรุ่นที่ 2 มีข้อแตกต่างตรงด้านหลัง ใต้อักขระยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๓๙” อีกทั้งยังจัดสร้างเหรียญแบบมีลงยาสีประจำวันด้วย

ทั้ง 3 รุ่น หลังจัดสร้างแล้วเสร็จ ได้รับความนิยมอย่างดี ถึงแม้จะเป็นเหรียญตาย ที่สร้างหลังมรณภาพไปแล้วก็ตาม  ผู้มีไว้ในครอบครองจึงเป็นที่หวงแหนกันมาก

มีนามเดิมว่า รุ่ง สุวรรณเพ็ชร เกิดที่ ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2425 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเมีย บิดา-มารดาชื่อ นายสว่างและนางเปี่ยม สุวรรณเพ็ชร

เมื่ออายุ 11 ปี นายสว่างผู้เป็นบิดา นำไปฝากเป็นศิษย์พระปลัดบุญ วัดชีว์ประเสริฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เพื่อรับการศึกษาเล่าเรียน ศึกษาด้วยความอุตสาหวิริยะ จนสามารถอ่านเขียนได้คล่องทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม

ครั้นอายุ 15 ปี จึงกลับมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนตาล

พ.ศ.2448 ขณะนั้นอายุ 22 ปี เข้าสู่พิธีอุปสมบท ณ วัดปากทะเลนอก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากทะเลนอก เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการกรานต์ วัดโพธิ์พระใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ศึกษาวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อดิษฐ์ และเดินทางไปมาระหว่างวัดโพธิ์พระในกับวัดปากทะเลนอกอยู่เสมอ

นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์สุ่ม พระภิกษุสูงอายุที่วัดโพธิ์พระใน ซึ่งท่านมีความชำนาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ และมีวิทยาคมสูงมาก ซึ่งหลวงพ่อรุ่งท่านได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ไว้จนหมด

กระทั่งปี พ.ศ.2460 พระอธิการทิพย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์พระใน มรณภาพลง จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส พร้อมเป็นเจ้าคณะหมวดในปีเดียวกัน

วัดโพธิ์พระใน ตั้งอยู่ที่ ต.โพพระ อ.เมือง จ.เพชรบุรี สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตอนปลายรุ่นราวคราวเดียวกับวัดเกาะ ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ประวัติเท่าที่สืบค้นได้มีเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดอยู่ 7 รูป (ก่อนหน้านี้คาดว่ามีหลายรูป แต่ไม่สามารถสืบค้นประวัติได้) คือ 1.พระอธิการสงค์ 2.พระอธิการโต 3.พระอธิการกรานต์ 4.พระอธิการทิพย์ 5.พระครูปุญญกรวิโรจน์ (หลวงพ่อรุ่ง) พ.ศ.2460-2488 6.พระครูโพธิวรคุณ (หลวงพ่อพลัด) พ.ศ.2488-2541 7.พระครูบวรโพธิวิโรจน์ (หลวงพ่อสมจิต) พ.ศ.2541-ปัจจุบัน

วัดโพธิ์พระใน ผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมชำรุดเรื่อยมา หลวงพ่อรุ่งดำเนินการก่อสร้างซ่อมแซมถาวรวัตถุต่างๆ ที่เกือบสิ้นสภาพให้กลับคืนยังประโยชน์ดังเดิม พร้อมจัดการงานอันเป็นสิ่งสาธารณูปการต่างๆ อาทิ สร้างกำแพงล้อมรอบพระอาราม ขุดสระน้ำกักเก็บไว้เป็นสาธารณะ สร้างโรงเรียนประชาบาล สร้างศาลาการเปรียญ ตั้งโรงเรียนนักธรรมศึกษาปริยัติธรรม สร้างหอพระไตรปิฎก ฯลฯ

พ.ศ.2475 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2481 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน นามว่า พระครูรุ่ง

พ.ศ.2484 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร นามว่า “พระครูปุญญกรวิโรจน์”

ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2486 หลวงพ่อรุ่งได้เริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นอีก 1 หลัง กว้าง 11 เมตร ยาว 23 เมตร (แต่ไม่ทันเสร็จก็มรณภาพเสียก่อน)

วัตถุมงคลต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นของที่มีผู้มาขอให้ทำเฉพาะตัว เช่น ตะกรุดลูกอม ที่เป็นของท่านสร้างจริงๆ ก็มีแต่ผ้ายันต์ ทำขึ้นเพื่อแจกทหารในครั้งสงครามอินโดจีนเท่านั้น

ส่วนเหรียญนั้น หลวงพ่อพลัดเจ้าอาวาสรูปต่อมา เป็นผู้ดำเนินการสร้างขึ้น หลังมรณภาพไปแล้ว เพื่อแจกในงานฌาปนกิจ โดยนำแผ่นโลหะไปให้คณาจารย์ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรีลงอักขระแล้วนำมาหล่อหลอมรีดเป็นแผ่น แล้วนำไปจ้างโรงปั๊มเป็นเหรียญ เมื่อเรียบร้อยจึงจัดพิธีพุทธาภิเษกโดยได้นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของเพชรบุรีมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ช่วงบั้นปลายชีวิต เริ่มป่วยเป็นโรคลม แต่อาการของโรคประจำตัวนี้ หายบ้างเจ็บบ้างเป็นครั้งคราว ครั้นถึง พ.ศ.2488 โรคซึ่งเป็นประจำตัวนี้ได้เริ่มทำพิษบ่อยครั้งขึ้น ครั้นถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2488 อาการอาพาธทรุดหนักยิ่งขึ้น

เมื่อถึงวันที่ 4 กันยายน 2488 เวลา 01.15 น. จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ

สิริอายุ 61 ปี 7 เดือน 16 วัน






          (ซ้าย) หลวงปู่หนู ปัญญาโสโต
          (บนขวา) เหรียญหลวงปู่หนู รุ่นแรก (ล่างขวา) พระสมเด็จหลวงปู่หนู(หน้า-หลัง)

เหรียญ-พระสมเด็จ มงคล ‘หลวงปู่หนู’ เทพเจ้าแห่งเขาขลุง

ที่มา : คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง- มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 ตุลาคม 2564
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2564


หลวงปู่หนู ปัญญาโสโต” หรือ “พระครูปัญญาวิภูษิต” อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่สามเกาะ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี พระเกจิชื่อดัง ได้รับการขนานนามว่า “เทพเจ้าแห่งเขาขลุง”

เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล-เครื่องราง ในวาระต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์

วัตถุมงคลที่ออกมาแต่ละรุ่น ได้รับความนิยมจากบรรดานักสะสมพระในตัวจังหวัดราชบุรีและใกล้เคียง คือ เหรียญรุ่นแรก และพระสมเด็จ ทั้งหมดจะนำรายได้สมทบทุนใช้ด้านสาธารณประโยชน์

เหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2515

สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ สร้างจำนวน 10,000 เหรียญ โดยบรรจุไว้ใต้อุโบสถจำนวน 3,000 เหรียญ และเนื้อทองแดงกะไหล่ไฟ สร้างจำนวน 5,000 เหรียญ

ออกให้บูชาในงานปิดทองผูกพัทธสีมา (ฝังลูกนิมิต) ในปี พ.ศ.2515

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ แบบมีหูในตัว ขนาดความกว้าง 2.1 เซนติเมตร ส่วนสูง 3 เซนติเมตร

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เขียนว่า “พระครูหนู ปัญญาโสโต” ถัดขึ้นไปเป็นอักขระเลขยันต์ 3 ตัว อ่านได้ว่า มะ อะ อุ ด้านบนเขียนว่า “วัดไผ่สามเกาะ อ.บ้านโป่ง”

ด้านหลัง ของเหรียญเป็นยันต์นะละลวย รายล้อมด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “จ.ราชบุรี ๒๕๑๕”

สำหรับพระสมเด็จ รุ่นแรก สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2520 เนื้อผงพุทธคุณที่มีเอกลักษณ์สามารถจดจำได้ง่าย ที่ระลึกให้กับลูกศิษย์ลูกหาที่บริจาคเงินเพื่อพัฒนาวัด โดยใช้เนื้อผงพุทธคุณที่รวบรวมและลบผงเองเป็นส่วนผสมหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระสมเด็จพิมพ์พระประธานฐาน 3 ชั้น ครอบซุ้มระฆัง ภายในครอบระฆังมีต้นไผ่เป็นสัญลักษณ์มีเอกลักษณ์สามารถจดจำได้ง่าย

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “วัดไผ่สามเกาะ อ.บ้านโป่ง ราชบุรี”

ปัจจุบัน วัตถุมงคลทั้งสองชิ้น เป็นที่เสาะแสวงหากันมากมาย จนสนนราคาเล่นหาขยับสูงขึ้นมาก

มีนามเดิม หนู กันขำ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2462 ที่บ้านไผ่สามเกาะ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

วัยเด็กจบการศึกษาชั้น ป.4 ที่โรงเรียนเขาขลุง เมื่ออายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสระตะโก ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง มีพระครูเมธาธิการ (หลวงพ่อหวาน) เจ้าคณะตำบลหนองปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูบุญนาค สักการวโร วัดลำพยอม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ม่วง วัดไผ่สามเกาะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปัญญาโสโต

หลังอุปสมบทย้ายมาอยู่จำพรรษาอยู่วัดไผ่สามเกาะ ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาด้านพุทธาคม วิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระเกจิชื่อดัง

ในปี พ.ศ.2486 เดินทางไปกราบนมัสการหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ฝากตัวเป็นศิษย์ขอศึกษาพุทธาคม

ได้รับความเมตตาสอนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้เป็นอันดับแรก สอนพระคาถากำบัง วิชามหาอุด และคงกระพันชาตรี ใช้เวลาศึกษาเป็นเวลา 1 ปี

พรรษาที่ 7 เดินทางไปกราบนมัสการหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอศึกษาเรียนพุทธาคม เช่น คาถาเสกหุ่น หนุนธาตุ คาถามหาอุด และการทำกสิณต่างๆ เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ และปัฐวีธาตุ จนสามารถบรรลุกสิณ 10

หลังจากนั้น ไปกราบนมัสการหลวงพ่อเต๋ คงทอง ที่วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ซึ่งหลวงพ่อเต๋เป็นศิษย์หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ด้วยเช่นกัน เข้าขอศึกษาและปรึกษารับการแนะนำในการใช้วิชาต่างๆ จากหลวงพ่อเต๋ ซึ่งเป็นศิษย์ผู้พี่และเป็นทั้งพระอาจารย์

พ.ศ.2490 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไผ่สามเกาะ

พ.ศ.2512 เป็นพระอุปัชฌาย์

ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งปกครอง แต่หาได้หยุดนิ่งในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

อีกทั้งเป็นพระนักพัฒนา สร้างความเจริญให้กับชาวตำบลเขาขลุง ทั้งในด้านพระศาสนา ก่อสร้างอาคารศาสนสถาน

ในด้านการศึกษา มอบที่ดินวัดจำนวน 20 ไร่ สำหรับสร้างโรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) และยังได้ซื้อที่ดินบริจาคสร้างสถานีตำรวจชุมชนเขาขลุง สถานีอนามัยเขาขลุง และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง

ยังสงเคราะห์ช่วยเหลือชาวบ้านให้พ้นจากความแห้งแล้ง ด้วยการยกที่ดินของวัดจำนวน 5 ไร่ สำหรับขุดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคร่วมกัน

เป็นนักอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติ ด้วยการชักชวนชาวบ้านให้ปลูกต้นไม้นานาพันธุ์ บนเนื้อที่ 25 ไร่ ให้กลายเป็นผืนป่าที่สำคัญของชุมชน

เวลาใดปลอดญาติโยม จะเข้าอุโบสถปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

หลักธรรมคำสอนเน้นในเรื่องของความเป็นผู้สันโดษ มักน้อย ใช้ชีวิตอย่างพอดี พอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ธรรมที่แสดงจึงเรียบง่าย ทุกคนได้ฟังแล้วมีความเข้าใจ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเวลา 12.02 น. วันที่ 20 สิงหาคม 2560 สิริอายุ 98 ปี พรรษา 76

ก่อนหน้านี้ มีอาการอาพาธตามวัย โดยอาการทรงและทรุดมาตลอด จนถึงวาระสุดท้าย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลซานคามิลโล อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด ระบบทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว คณะแพทย์ไม่สามารถรักษาประคับประคองได้

สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 114.0.0.0 Chrome 114.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #165 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2566 13:06:18 »



(ซ้าย) หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย (ขวา) เหรียญเสือยืน หลวงพ่อสมชาย

เหรียญเสือยืน วัดเขาสุกิม หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย เพื่อทหาร-คนไทยรักถิ่น

ที่มา : คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 14 ตุลาคม 2564
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2564


พระวิสุทธิญาณเถร” หรือ “หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย” พระเถระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์พระป่า

เหรียญและวัตถุมงคลมีหลายรุ่น มีชื่อเสียงโด่งดังแทบทุกรุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมคือ เหรียญรุ่นเสือยืน จัดสร้างโดยวัดเขาสุกิม เฉพาะเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 50,000 เหรียญ เหตุที่จัดสร้างรุ่นดังกล่าวและจำนวนมากนั้น มีเหตุว่า…

ในช่วงปี พ.ศ.2520 แถบชายแดนจันทบุรีและตราด ซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศกัมพูชา มีภัยสงคราม-ความไม่สงบเกิดขึ้นเป็นระยะ เหล่าทหารหาญ ข้าราชการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต่างต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นมิ่งขวัญแก่ตนเอง

คราวนั้น หลวงพ่อสมชายนำคณะศิษย์ออกให้กำลังใจบำรุงขวัญชาวบ้านอยู่เป็นประจำ ทุกครั้งที่หลวงพ่อเดินทางไปถึง ชาวบ้านมักจะขอวัตถุมงคลเป็นขวัญกำลังใจด้วย…

จึงอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกรุ่น โดยการจัดสร้างของวัดเขาสุกิม มีวัตถุประสงค์ว่า “สร้างเพื่อแจกทหารและคนไทยรักถิ่น”

ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย”

ด้านหลังเหรียญ ข้างบน เขียนคำว่า “วัดราษฎร์บูรณะคุณาราม (เขาสุกิม)” ตรงกลางเป็นรูปเสือยืนหันหน้าคำราม บนพื้นหญ้า ด้านล่างสุดมีตัวเลขไทย “๓. ๕.๑๕ ๒๕๒๐”

อธิษฐานจิต ในวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธศักราช 2520 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิด

จากนั้นจึงนำไปแจกแก่ผู้ที่เคารพศรัทธา หลายครั้งหลายโอกาส

ปัจจุบันวัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

มีนามเดิมว่า สมชาย มติยาภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2468 ที่หมู่บ้านเหล่างิ้ว ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด

อายุ 19 ปี บรรพชาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

ช่วงปลายปี พ.ศ.2487 ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปฝากตัวเป็นศิษย์ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร

ในระหว่างที่พำนักอาศัย ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ใช้ความเพียรต่อการปฏิบัติสมาธิอย่างยิ่งยวด ตลอดจนอุปัฏฐากครูบาอาจารย์โดยไม่บกพร่อง

อายุครบ 21 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดศรีโพน อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2489 มีพระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายา ฐิตวิริโย มีความหมายว่า ผู้ตั้งมั่นในความเพียร

ถือเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ครั้งหนึ่งเคยบีบนวดถวายหลวงปู่มั่นเป็นเวลานาน เกิดความคิดว่า “เราไม่ได้นอนมา 2 วัน 2 คืนแล้ว พรุ่งนี้ต้องเดินทางไกลไปหนองคาย” ในขณะกำลังคิดอยู่นั้น หลวงปู่มั่นพูดสวนขึ้นมาว่า “จะไปพักก็ไปได้นะ สังขารร่างกายอย่าหักโหม พรุ่งนี้ต้องเดินทางไกล” หลวงปู่สมชายแปลกใจว่าคำพูดของท่านตรงกับความคิดพอดี

ทำให้มั่นใจว่าหลวงปู่มั่นทราบวาระจิตด้วยสมาธิญาณ เกิดความปีติอิ่มเอิบ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง ตั้งหน้าตั้งตาบีบนวดหลวงปู่มั่น พลางคิดว่าเราจะต้องศึกษาวิชาแบบท่านให้ได้

พอท่านคิดจบ หลวงปู่มั่นพูดสวนความคิดขึ้นมาทันทีว่า “ตั้งใจเอาแน่หรือ” เมื่อได้ยินคำพูดหลวงปู่มั่นดังนี้แล้ว ทำให้เชื่อแน่ว่าอภิญญาสมาบัติมีจริง

วันรุ่งขึ้นได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกไปแสวงหาที่บำเพ็ญตามป่าเขาสถานที่ทุรกันดาร เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ด้วยความวิริยะและอดทนเป็นเลิศ

ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2501 หลวงปู่สมชายได้อยู่จำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาสายัณห์ โดยท่านไม่ได้ฉันภัตตาหาร 15 วันติดต่อกัน และถือเนสัชชิกังคะ คือยืน นั่ง เดิน โดยไม่เอนกายลงนอนทั้งคืน บางครั้งเป็นเดือน

ช่วงกลางวันยังสามารถช่วยงานทางวัดได้ สามารถแบกปูนครั้งละ 2 ลูกขึ้นไปบนเขาเพื่อสร้างโบสถ์วิหาร

จนกลายเป็นเรื่องน่าประหลาดว่าเอาเรี่ยวแรงมาจากไหน ถ้ามิใช่ผลแห่งสมาธิจิต

นอกจากจะเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านยังฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่สีลา อิสฺสโร และพระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังอีกหลายรูป ด้วยความเป็นพระสงฆ์นักปฏิบัติ ออกธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรไปทั่วทุกหนแห่ง

กล่าวสำหรับวัดเขาสุกิมนั้น หลวงปู่สมชายบุกเบิกพัฒนา สร้างสรรค์วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ บนเนื้อที่กว่า 3,280 ไร่ ให้เป็นศาสนสถานอันร่มรื่น สวยงาม เป็นศรีแก่จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2507

แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นป่ารกทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่า ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวได้แปรสภาพถูกจัดระเบียบกลายเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งภาคตะวันออก จนกลายเป็นที่กล่าวขานว่าใครไปเยือนเมืองจันท์ ถ้าไม่ได้ไปนมัสการวัดเขาสุกิมถือว่ายังไปไม่ถึงเมืองจันท์

ในปี พ.ศ.2542 หลวงปู่สมชายเริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคหัวใจ และต้องเข้ารับการรักษาอาการที่โรงพยาบาลศิริราช โดยคณะแพทย์ตรวจพบว่าหลวงปู่มีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ และทำการรักษาอาการอาพาธจนดีขึ้น

ต่อมาสุขภาพทรุดหนักลงเป็นระยะต้องเข้าโรงพยาบาลวิชัยยุทธเป็นประจำ ในปี พ.ศ.2545 มีอาการอาพาธหนักจนคณะแพทย์ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ และล้างไตมาตลอด

กระทั่งปลายปี พ.ศ.2547 อาการอาพาธด้วยโรคหัวใจมีอาการทรุดหนักลง เหนื่อยหอบ และต้องล้างไตถี่ขึ้น

ท้ายที่สุด เวลา 10.40 น. วันที่ 18 มิถุนายน 2548 จึงมรณภาพลงอย่างสงบ ที่ห้องไอซียู ชั้น 7 โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

ด้วยวัย 80 ปี พรรษา 60




บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 114.0.0.0 Chrome 114.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #166 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2566 12:06:47 »



เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค พระเกจิสรรคบุรี-ชัยนาท

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 ธันวาคม 2564
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2564


“หลวงพ่อกวย ชุตินธโร” วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง นามขจรขจายไปทั่วภาคกลาง  วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังทุกประเภท ล้วนเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตสืบมาถึงปัจจุบัน

เหรียญหลังหนุมาน พ.ศ.2521 เป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญหนึ่งของหลวงพ่อกวย พุทธคุณเหมือนดังสักหนุมานกับหลวงพ่อทีเดียว

ด้วยความที่หลวงพ่อกวยเป็นอาจารย์สักยันต์ที่ขึ้นชื่อและนิยมกันอย่างมาก โดยเฉพาะยันต์ลายหนุมานเชิญธง

เหรียญรุ่นดังกล่าว จัดเป็นเหรียญรุ่น 3 หรือที่เรียกกันว่า “เหรียญรุ่นฝังลูกนิมิต” หรือ “เหรียญหลังหนุมาน” จัดสร้างเนื่องในโอกาสผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ.2521

จัดสร้างเนื้ออัลปาก้า จำนวนประมาณ 20,000 เหรียญ แบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองประมาณ 500 เหรียญ สมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคข้าวสาร 1 กระสอบในงานผูกพัทธสีมา จะได้รับเหรียญกะไหล่ทอง 1 เหรียญ ส่วนเหรียญที่เหลือเป็นเนื้ออัลปาก้า ออกให้ทำบุญเหรียญละ 100 บาท

ลักษณะเป็นเหรียญโล่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ มียันต์นะอุดปืนอยู่สองข้าง ใต้รูปเหมือนหลวงพ่อกวย เขียนคำว่า “หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม”

ด้านหลังเป็นรูปหนุมานเชิญธง ขอบด้านล่าง ระบุว่า “ที่ระลึกในงาน พ.ศ. ๒๕๒๑ ผูกพัทธสีมา”

ปัจจุบันหายากมากและราคาเช่าบูชาสูง




หลวงพ่อกวย ชุตินธโร

เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2448 ณ หมู่บ้านบ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท  ในช่วงวัยเยาว์มารดาได้นำมาฝากไว้กับหลวงปู่ขวด ที่วัดบ้านแค เพื่อให้เรียนหนังสือ  ครั้นเมื่อครบอายุบวช เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2467 ที่วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า ชุตินธโร

อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ หัดเทศน์เวสสันดรชาดก หลังจากนั้นไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อรักษาโรคระบาด หรือโรคห่าและโรคไข้ทรพิษ

พ.ศ.2472 เดินทางไปเรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลังกับหลวงพ่อศรี วิริยโสภิโต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

พ.ศ.2477 ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เพื่อเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ

ขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม มีพระภิกษุชื่อแจ่ม เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพ์แรงมาก จึงได้มาชักชวนให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้

จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า “ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น” ก่อนอัญเชิญตำรานั้นมาเก็บไว้

ครั้งหนึ่ง เมื่อไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นที่เป็นที่รู้จักกันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย

ต่อมาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กลับมาอยู่วัดบ้านแค สักยันต์ให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดลงมือสักกันทั้งกลางวันกลางคืน

ในช่วงนั้น ข้าวยากหมากแพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะแถบภาคกลางตอนล่าง นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นแหล่งกบดานของโจรเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านแคได้อาศัยบารมีเพื่อคุ้มครองครอบครัวและทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด

จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ที่บ้านแค เล่าว่า พวกโจรเสือไม่มีใครกล้ามาลองดี มีอยู่รายหนึ่งเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านแคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก แต่ก็โดนตะพดจนต้องรีบพาสมุนกลับและก็ไม่มาแถวบ้านแคอีกเลย

เล่ากันว่าในสมัยนั้น เมื่อโจรเสือเดินผ่านวัด ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง

ลําดับสมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2511 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน

ปี พ.ศ.2521 เข้ารับการรักษาอาพาธที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคขาดสารอาหารมาเป็นเวลา 30 ปี

มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

ปัจจุบัน วัดโฆสิตาราม และบรรดาศิษย์ ยึดถือเอาวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญประจำปี เพื่ออุทิศและรำลึกถึง





(ซ้าย) หลวงพ่อสาย อัคควังโส (ขวา) เหรียญหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน รุ่นแรกทอง

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2513 หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 ธันวาคม 2564
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2564


“พระครูสุวรรณเสลาภรณ์” หรือ “หลวงพ่อสาย อัคควังโส” วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี พระเกจิชื่อดังที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และรู้จักชื่อเสียงเป็นอย่างดี

เป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ รวมทั้งร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอยู่เสมอ

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญรุ่นแรก

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2513 ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัว สร้างเป็นเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง แบ่งออกเป็น 2 บล็อก คือ บล็อกนิยม และบล็อกเสริม สร้างประมาณ 1,000 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (สาย)”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ และมีอักขระภาษาไทย เขียนว่า “วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓”

นับเป็นเหรียญที่หายาก

มีนามเดิมว่า สาย ไกวัลศิลป์ เกิดวันอาทิตย์แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม 2457 ที่ ต.หลานหลวง เขตนางเลิ้ง กรุงเทพฯ บิดา-มารดาชื่อ นายเพิ่มและนางจันทร์ โกวัลศิลป์

ช่วงวัยเยาว์ บิดา-มารดาส่งเสียให้เรียนจนจบชั้น ม.8 และเข้ารับราชการในการรถไฟ จนเมื่อปี พ.ศ.2457 ขณะนั้นอายุย่าง 32 ปี ขณะที่ยังรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ป่วยเป็นฝีประคำขึ้นรอบคอ ได้รักษาตัวโดยหมอแผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่หาย

จึงเข้ากราบมอบตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ท่านเมตตารักษาจนหายขาด 

อันเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา จึงขอบวชเป็นพระภิกษุ

เข้ารับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2488 ที่พัทธสีมาวัดเขาทอง ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีพระครูนิรันตสีลคุณ เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์น้อย วัดหนองโพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ไชย วัดเขาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า อัคควังโส
 
จากนั้นย้ายมาจำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมจากหลวงพ่อเดิม ที่วัดหนองบัว เป็นเวลา 5 พรรษา จนเมื่อหลวงพ่อเดิมมรณภาพลงในปี พ.ศ.2494 จึงออกเดินธุดงค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สำหรับวัดท่าขนุน ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในสมัยนั้นมีหลวงปู่พุก อุตตมปาโล ซึ่งพื้นเพเดิมเป็นชาวมอญ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี บุกเบิกสร้างวัดและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 1 ของวัดท่าขนุน จนท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.2472

ต่อมาหลวงปู่เต๊อะเน็ง โอภาโส พื้นเพเป็นชาวพม่า ได้รับเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดท่าขนุนจนถึงปี พ.ศ.2494 ก่อนเดินทางกลับไปพม่า โดยไม่ได้กลับมาอีก

คณะสงฆ์ส่งพระภิกษุจากในเมืองกาญจน์มาช่วยดูแลวัดให้ แต่อยู่ได้ไม่นานก็หนีกลับไป เพราะทนไข้ป่าไม่ไหว

วัดท่าขนุนจึงกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง

กระทั่งวันที่ 26 ธันวาคม 2495 หลวงพ่อสายเดินธุดงค์มาจากนครสวรรค์ ปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวณวัดท่าขนุน ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใส จึงให้การอุปัฏฐากเป็นอย่างดี จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2496 จึงได้ลาชาวบ้าน เดินธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า

ครั้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2496 เดินธุดงค์กลับจากพม่ามาถึงวัดท่าขนุน และอยู่จำพรรษาอยู่จนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2496 ชาวบ้านซึ่งนำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก นิมนต์ให้อยู่ต่อเป็นเจ้าอาวาส

จึงแนะให้นายบุญธรรมนำคณะชาวบ้านไปกราบขอกับหลวงปู่น้อย เตชปุญโญ (พระครูนิพันธ์ธรรมคุต) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์และเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแล จากนั้นจึงลาชาวบ้านเดินทางกลับไปที่วัดหนองโพธิ์

หลังออกพรรษา พ.ศ.2497 นายบุญธรรมจึงนำศรัทธาชาวบ้านเดินทางไปนครสวรรค์กราบหลวงปู่น้อย เพื่อขอตัวหลวงปู่สายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะศรัทธาชาวบ้าน ถึงวัดท่าขนุนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2497 และเริ่มบูรณะวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระวิสุทธิรังษี (ดี พุทธโชติ) วัดเหนือ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ตามหนังสือแต่งตั้งเลขที่ 1/2498 ลงวันที่ 1 มกราคม 2498

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ.2503 ได้รับเเต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตำบล

พ.ศ.2514 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสุวรรณเสลาภรณ์

ท่านร่วมกับชาวบ้านที่ศรัทธา ช่วยกันพัฒนาวัดท่าขนุนเรื่อยมาจนกลับมาเป็นวัดโดยสมบูรณ์อีกวาระหนึ่ง จนได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ.2516 อีกด้วย

หลวงพ่อสายมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2535

สิริอายุ 78 ปี พรรษา 47

 
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 114.0.0.0 Chrome 114.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #167 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2566 11:02:15 »


(ซ้าย) หลวงพ่อพิณ อินทสาโร
(ขวาบน) เหรียญมหาปราบหลวงพ่อพิณ พ.ศ.2492 (ขวาล่าง) เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อพิณ


เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่น 1 หลวงพ่อพิณ วัดอุบลฯ พระเกจิดังดำเนินสะดวก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 ธันวาคม 2564
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2564

พระครูประสิทธิ์สารคุณ” หรือ “หลวงพ่อพิณ อินทสาโร” อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุบลวรรณาราม ต.ศรีสุราษฎร์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

เป็นศิษย์ผู้ที่สืบทอดวิชามหาปราบจากหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

เหรียญและพระเครื่องล้วนมีประสบการณ์แคล้วคลาด ส่งผลให้ได้รับความนิยมสูง อาทิ เหรียญหล่อชินราช พิมพ์หลวงพ่อวัดบ้านแหลม

ส่วนเหรียญปั๊มที่โด่งดัง คือ เหรียญมหาปราบ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2492

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ไม่มีหู จัดสร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ ด้านหน้า เป็นรูปหนุมานเชิญธงมีอักขระยันต์ต่างๆ ด้านหลัง เป็นรูปยันต์ ไม่มีอักขระภาษาไทย

สำหรับเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2499 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหู จัดสร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดง และเนื้ออัลปาก้าเท่านั้น ถือเป็นรุ่นแรกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ด้านหน้า เป็นรูปจำลองครึ่งบนห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เขียนคำว่า “หลวงพ่อวัดอุบลฯ”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่มีอักขระภาษาไทย

จัดเป็นเหรียญหายากและเป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องและชาวราชบุรีเป็นอย่างมาก

มีนามเดิมว่า พิณ อิ้มสำราญ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2444 ที่บ้านคลองใหม่ อ.สามพราน จ.นครปฐม บิดา-มารดาชื่อ นายหลงและนางพริ้ง อิ้มสำราญ

ในวัยเยาว์ พ่อนำไปฝากร่ำเรียนกับเจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ ต่อมาบิดาให้มาอยู่กับทนายสมบุญ ซึ่งสนิทสนมคุ้นเคยกัน เพื่อศึกษาในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ศึกษาจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 2 บิดาก็ถึงแก่กรรม จึงต้องออกมาช่วยมารดาประกอบอาชีพ

พ.ศ.2465 ขณะที่มีอายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบางช้างเหนือ จ.นครปฐม โดยมีหลวงพ่อใจ วัดเชิงเลน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อแหวน วัดบางช้างใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแหวน วัดบางช้างเหนือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อินทสาโร

จำพรรษาและเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดบางช้างเหนือ ต่อมาได้ศึกษาบาลี ที่สำนักเรียนวัดทองนพคุณ อ.คลองสาน กทม. ศึกษาทั้งแผนกธรรมและบาลี จนมีความรู้ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญ 5 ประโยค

จากนั้น สนใจทางนักเทศน์จนมีความรู้ความชำนาญในการแสดงพระธรรมเทศนา พร้อมทั้งร่ำเรียนวิชาโหราศาสตร์และพุทธาคมจนช่ำชอง

ต่อมาช่วยกิจการพระศาสนา โดยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลี โดยเป็นพระครูสอนพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดทองนพคุณ, วัดท่าล้อ จ.กาญจนบุรี, วัดอมรญาติสมาคม, วัดประสาทสิทธิ์ และวัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี ตามลำดับ

ในปี พ.ศ.2481 มาอยู่ประจำที่วัดประสาทสิทธิ์ (หลักห้า) อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โดยเปิดการสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีเป็นแห่งแรกใน อ.ดำเนินสะดวก โดยเป็นผู้อำนวยการสอนด้วยตนเอง

นอกจากนี้ ท่านได้เห็นการขาดแคลนโรงเรียนแก่เด็กๆ ศึกษาไม่เพียงพอ ต้องอาศัยศาลาการเปรียญของวัด ท่านจึงได้ปรึกษาพระครูล้อม เจ้าอาวาสวัดประสาทสิทธิ์ เพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดประสาทสิทธิ์ ชื่อว่า “ศรีพรหมมินทร์” และได้ทำการฉลองโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.2484

ต่อมา ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอุบลวรรณาราม พระอธิการนิ่ม เจ้าอาวาสวัดอุบลวรรณาราม ปรึกษาหารือกันเพื่อที่จะสร้างโรงเรียนวัดอุบลวรรณาราม โดยขอร้องให้ช่วยเป็นกำลังหาทุนก่อสร้าง ก็เต็มใจช่วยเหลือจนสำเร็จ เป็นโรงเรียนอุบลวรรณาราม (นิ่มพิณมุขประชานุกูล)

นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างโรงเรียนอีกหลายโรงในแถบนั้น และยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมหลายแห่ง เป็นพระธรรมกถึกนักเทศน์ มีญาติโยมนิยมการแสดงธรรม มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก

ในปี พ.ศ.2490 พระอธิการนิ่ม ลาสิกขา คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัด พร้อมใจกันให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนับแต่นั้นมา

หลังจากดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้พัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัดอุบลวรรณารามให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

นอกจากจะเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงแล้ว ด้านพุทธาคม มีประชาชนทั่วไปให้ความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ จะได้รับการอาราธนาให้ไปร่วมปลุกเสกอยู่เสมอ ใครมีเรื่องเดือดร้อนหรือมีทุกข์มาขอให้ท่านช่วยเหลือ จะเมตตาสงเคราะห์ช่วยเหลือทุกราย จึงเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ และประชาชนโดยทั่วไป

ชาวบ้านวัดอุบลวรรณารามจะรับรู้กันว่า เป็นพระที่มีบารมีสูงของอำเภอดำเนินสะดวก มีจิตใจโอบอ้อมอารี เก่งทางด้านพระธรรมและบาลี มองดูเผินๆ เป็นพระนักพัฒนาและเป็นครูสอนพระธรรมและบาลีธรรมดา แต่อีกนัยหนึ่งชาวบ้านอำเภอดำเนินสะดวกจะรู้กันดีว่า เก่งด้านการเทศน์และอาจารย์สอนพระธรรมและบาลี

เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่ชาวดำเนินสะดวกตลอดมาอย่างยาวนาน กระทั่ง พ.ศ.2520 เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ก่อนมรณภาพอย่างสงบ ในวันที่ 14 ธันวาคม 2520

สิริอายุ 77 ปี พรรษา 55





(ซ้าย) หลวงปู่ดี พุทธโชติ
(ขวาบน) พระท่ากระดานหลังยันต์นะ หลวงปู่ดี (ขวาล่าง) พระอู่ทองหลังลิ่ม หลวงปู่ดี


เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่ดี พุทธโชติ วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 6 มกราคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2565


“พระเทพมงคลรังษี” หรือ “หลวงปู่ดี พุทธโชติ” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

อีกทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งที่ทรงกลับมาอุปสมบทที่วัดเหนือและจำพรรษาอยู่ 1 พรรษา

จากนั้น กลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำญัตติเป็นธรรมยุต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

วัตถุมงคลที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง มีทั้งพระบูชา ภปร, รูปหล่อ, พระกริ่ง, เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

โดยเฉพาะพระท่ากระดานหลังยันต์นะ และพระอู่ทองหลังลิ่ม

กล่าวสำหรับพระท่ากระดานหลังยันต์นะ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2481 โดยใช้เนื้อชินตะกั่วของพระท่ากระดาน และชิ้นส่วนพระกรุแตกหักของวัดเหนือ เป็นส่วนผสม โดยคัดแยกเอาเฉพาะเนื้อชินแข็ง มาจัดสร้าง เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร

พระพิมพ์นี้เป็นที่แสวงหากันมาก ด้วยมีชื่อในทางด้านแคล้วคลาด จำนวนการสร้างประมาณไม่เกิน 500 องค์ ด้วยเนื้อโลหะมีจำกัด

ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปแบบเดียวกับพระท่ากระดานทั่วไป

ด้านหลัง มีตัวอักขระยันต์อ่านได้ว่า นะ

ส่วนพระอู่ทองหลังลิ่ม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2481 พร้อมกับพระท่ากระดานหลังยันต์นะ โดยใช้เนื้อชินตะกั่วของพระท่ากระดาน และชิ้นส่วนพระกรุแตกหักของวัดเหนือ เป็นส่วนผสมโดยคัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นตะกั่วนม หรือชินนิ่ม มาทำการจัดสร้าง เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร จำนวนสร้างประมาณไม่เกิน 500 องค์ ด้วยเนื้อโลหะมีจำกัด

ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปแบบเดียวกับพระอู่ทองทั่วไป

ด้านหลัง มีร่องสำหรับเทหล่อชนวนโลหะ ภายในร่องมีอักขระยันต์ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์

เป็นพระที่หายากมากอีกรุ่น

อัตโนประวัติ เกิดที่บ้านทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2416 บิดา-มารดาชื่อ นายเทศ-นางจันทร์ เอกฉันท์

บรรพชาในปี พ.ศ.2434 ณ วัดทุ่งสมอ มีพระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่ได้ 6 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาทำงานช่วยครอบครัว จนอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดทุ่งสมอ มีพระครูวิสุทธิรังษี (หลวงปู่ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการรอด และพระใบฎีกาเปลี่ยน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “พุทธโชติ”

จำพรรษาที่วัดทุ่งสมอ ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ โดยมีความชอบเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการสวดปาฏิโมกข์ จึงมีความมานะพยายาม จนที่สุดสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์ในพรรษาที่ 2

ช่วงออกพรรษาท่านมักธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมเพิ่มเติมกับพระเกจิหลายรูป อาทิ พระอาจารย์เกิด วัดกกตาล นครชัยศรี, หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว ฯลฯ

ชะตาผกผัน ในพรรษาที่ 12 ที่มาจำพรรษาที่วัดรังษี ครั้งที่ 2 นั้น พบพระครูสิงคิบุราคณาจารย์ (หลวงพ่อสุด) เจ้าอาวาสวัดเหนือ ซึ่งรู้จักกันมาก่อนในครั้งที่รับนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้

หลวงพ่อสุดทำหนังสือขอเดินทางเพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงขออนุญาตเดินทางไปด้วย ตลอดทางทั้งไปและกลับ หลวงพ่อสุดเกิดอาพาธ ซึ่งหลวงปู่ดีคอยปรนนิบัติดูแลจนกลับถึงวัดเหนือ

หลวงพ่อสุดยังปรารภว่า “ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปด้วยกัน ท่านก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่”

หลวงปู่ดีกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ดังเดิม แต่ก็มีจดหมายไต่ถามทุกข์สุขกันเสมอมา บางครั้ง หลวงพ่อสุดลงมากรุงเทพฯ จะมาแวะพักพูดคุย จนช่วงหลังๆ ท่านอาพาธหนัก เดินทางไปไหนไม่ได้ จึงมีจดหมายถึงหลวงปู่ดีขอให้ไปเยี่ยมท่าน

จึงหาโอกาสขึ้นไปเยี่ยมที่วัดเหนือ หลวงพ่อสุดให้ศิษย์นิมนต์หลวงปู่ดีอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ แต่ท่านก็ไม่รับปาก แต่ได้ช่วยดูแลกิจการต่างๆ เช่น สวดปาฏิโมกข์ หรือเทศน์แทนท่าน เป็นต้น

คราหนึ่ง หลวงพ่อสุดให้หลายคนมาขอร้องให้เป็นสมภาร แต่ก็ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด

จนเมื่อหลวงพ่อสุดมรณภาพลง กรรมการและศิษย์วัดและชาวบ้านทั้งหลาย จึงนิมนต์ขอให้เป็นสมภารอีกครั้ง ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ จึงต้องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดเหนืออย่างเต็มตัว

เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาจิต ท่านปรับปรุงและพัฒนาทุกอย่างในวัด ทั้งขนบธรรมเนียม ระเบียบพิธีการ และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด พระทุกรูปมีวัตรปฏิบัติเรียบร้อย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับได้ว่า วัดเหนือได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่ชื่นชมศรัทธาของเหล่าสาธุชน แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ยังทรงยกย่องให้เป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลาย

ในปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดเหนือ

มีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภปร จารึกไว้เหนือผ้าทิพย์ของ “พระพุทธรูปปางประทานพร” ที่วัดจัดสร้างเพื่อนำปัจจัยมาบำรุงวัด ทั้งพระราชทานแผ่นทอง เงิน และนาก ลงในเบ้าหลอมพระพุทธรูปทุกเบ้า อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง

ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลรังษี และเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี

มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2510

สิริอายุ 94 ปี พรรษา 73
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 114.0.0.0 Chrome 114.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #168 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2566 17:56:09 »


เหรียญรุ่นสิบตัง 2490 หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติฯ


หลวงพ่อเฟื่อง ธัมมปาโล
วัดอมรญาติสมาคม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
พระเกจิชื่อดังดำเนินสะดวก


เหรียญรุ่นสิบตัง 2490 หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติฯ พระเกจิชื่อดังดำเนินสะดวก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 มกราคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2565


จังหวัดราชบุรี ดินแดนเมืองเก่า เทือกเขางูและถ้ำที่สลักภาพพระพุทธรูปลงบนผนังถ้ำสมัยทวารวดี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะของชาวบ้าน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่ขึ้นชื่ออย่างคลองดำเนินสะดวกและภาพชีวิตตลาดน้ำ

สำหรับอำเภอดำเนินสะดวก มีพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่ง คือ “พระครูอดุลสารธรรม” หรือ “หลวงพ่อเฟื่อง ธัมมปาโล” วัดอมรญาติสมาคม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ทรงพุทธาวิทยาคมที่ชาวราชบุรีและชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียงเลื่อมใสศรัทธา วิทยาคมถือเป็นอันดับต้นในพื้นที่

สร้างวัตถุมงคลหลายรุ่น อาทิ เหรียญ พระปรก ฯลฯ ซึ่งวัตถุมงคลทุกรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม

โดยเฉพาะ “เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติฯ รุ่นสิบตัง” สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2490 กว่าๆ โดยผู้สร้างคือ ผู้ใหญ่สง่า ช่วงทอง สร้างถวายหลวงพ่อเฟื่อง ปลุกเสกแจกในงานเปิดป้ายโรงเรียนวัดอมรญาติฯ

ลักษณะเป็นรูปวงกลมขนาดเท่าเหรียญสิบสตางค์สมัยเก่า จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์นี้ สร้างด้วยเนื้อโลหะดีบุก และเนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเฟื่องครึ่งองค์ ห่มจีวรคลุมไหล่ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า “พระครูอดุลสารธรรม”

ด้านหลัง ปรากฏอักขระยันต์ตรีนิสิงเห ไม่มีอักขระภาษาไทยเลย

พุทธคุณวัตถุมงคลนั้น คนสมัยก่อนนับถือกันว่าไม่เป็นสองรองใคร เป็นที่ประจักษ์ชาวดำเนินสะดวกและคณะศิษย์มานักต่อนัก

จัดเป็นวัตถุมงคลที่หายากและมีราคา ผู้ใดครอบครองมักจะยิ่งหวงแหนเป็นยิ่งนัก

มีนามเดิมว่า เฟื่อง ภู่สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2420 ที่บ้านหมู่ที่ 3 ต.ท่านัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายภู่ และนางมิ่ง ภู่สวัสดิ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

วิถีชีวิตในวัยเด็กของท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่ห่างไกลจากระบบการศึกษาในสมัยนั้น แต่ได้มาศึกษาร่ำเรียนต่อเมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว

เข้าพิธีอุปสมบทในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ.2440 ที่วัดโชติทายการาม มีพระครูวรปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ทองอยู่ วัดโชติทายการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการโต เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จากนั้นได้อยู่จำพรรษาที่วัดโชติทายการามกับพระอุปัชฌาย์ พร้อมศึกษาวิทยาคมจากตำรับตำรา มีความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการปฏิบัติธรรมหรือวิทยาคม แม้เมื่อตอนที่บวชนั้นไม่อาจอ่านหนังสือออก หากก็พากเพียรร่ำเรียนอาศัยการท่องจำจากพระภิกษุด้วยกัน เพียงพรรษาแรกก็สามารถท่องจำบทสวดมนต์และพระปาติโมกข์ได้จนจบ

ทั้งยังไม่ปล่อยให้เวลาล่วงไปโดยปราศจากประโยชน์ หลวงพ่อเฟื่องได้พากเพียรต่อการเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอม สามารถจะอ่านออกเขียนได้ทั้งไทยและขอม สามารถเขียนยันต์ได้อย่างถูกต้อง

เคยกล่าวไว้ว่า “การเจริญกัมมัฏฐานทำให้เกิดปัญญาได้เหมือนกัน เพราะกัมมัฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งการงาน คือเป็นรากเหง้าของปัญญา ซึ่งเมื่อผู้ใดได้ฝึกกัมมัฏฐานก็เท่ากับ ฝึกจิตใจให้มีสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็โปร่งใส อ่านอะไรก็ทะลุปรุโปร่ง เพราะมีปัญญาที่อยู่เหนือกว่าปัญหาทั่วๆ ไป คือปัญญาของพระอริยะ”

ต่อมา ย้ายไปจำพรรษายังวัดไผ่ล้อม ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี ในห้วงระยะนั้นอุโบสถของวัดได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก จนไม่สามารถที่จะทำสังฆกรรมอีกต่อไปได้

จึงได้ร่วมมือกับพระอธิการโต เจ้าอาวาสวัด ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ จัดการก่อสร้างขึ้นใหม่หมดทั้งกุฏิ วิหาร และศาลาการเปรียญ บูรณะวัดจนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน เมื่อครั้งพระอธิการโตมรณภาพลงด้วยโรคชรา ก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน

เมื่อเจ้าอาวาสวัดอมรญาติสมาคม หรือหลวงพ่อน้อยมรณภาพ จึงได้รับนิมนต์ให้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้ด้วยอีกวัดหนึ่ง จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด พ.ศ.2455 ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน จึงได้ย้ายมาจำพรรษายังวัดอมรญาติสมาคม

ด้วยความที่วัดกับบ้านเป็นที่พึ่งกันและกัน จึงได้พัฒนาทั้งวัดและบ้าน กล่าวคือ ไม่เพียงแต่จะพัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว ด้านการศึกษานั้นหาได้ปล่อยทิ้งละเลยไม่ ขณะนั้นย่านนั้นหาได้มีสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรไม่ จึงได้จัดสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมในปี พ.ศ.2473 และได้จัดหาครูมาสอนให้ด้วย กระทั่งมีพระภิกษุสามเณรมาศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างมากมาย

พ.ศ.2477 จัดสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ด้วยของเดิมคับแคบ

พ.ศ.2483 ดำเนินการสร้างโรงเรียนประชาบาลอมรวิทยาคาร ไม่เพียงพัฒนาวัดเท่านั้น หากยังได้ก่อสร้างถนนหลวงและสะพานข้ามคลองมอญ ย้ายโรงเรียนปริยัติธรรมมายังด้านทิศตะวันตก

ส่วนตำแหน่งหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2471

พ.ศ.2473 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอดุลสารธรรม

มรณภาพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2500 สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60





พระสมเด็จรุ่นวัวชน หลวงปู่กรับ วัดโกกราก

พระสมเด็จรุ่นวัวชน หลวงปู่กรับ วัดโกกราก พระเกจิชื่อดังมหาชัย

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2565


“พระครูธรรมสาคร” หรือ “หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก ต.โกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร และอดีตเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต 2 พระเกจิทรงวิทยาคม และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวมหาชัย

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้น มีหลายรุ่นด้วยกัน ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะ “พระสมเด็จรุ่นวัวชน”

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2505 ลักษณะเหมือนพระสมเด็จทั่วไป เนื้อหามวลสารออกสีขาวอมน้ำตาล ซึ่งเป็นผงที่ทำขึ้นเอง

เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ลูกศิษย์ลูกหา โดยมีเรื่องเล่าขานว่า ผู้ที่พกติดตัวเกิดโดนวัวขวิดเข้าอย่างจัง จนตัวลอยกระเด็นไปหลายเมตร แต่กลับไม่เป็นอะไรแม้แต่น้อย จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นวัวชน

จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่คาดว่าน่าจะน้อยมาก เนื่องจากลงมือทำพระด้วยตัวเองและพบเห็นหมุนเวียนในวงการน้อยมาก

ด้านหน้า จำลองรูปพระแบบพระสมเด็จ ฐานสามชั้น แบบทั่วไป

ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระยันต์ใดๆ

หลวงปู่กรับเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคมสูง จนมีผู้กล่าวขวัญกันว่า “ถ้ามีวัตถุมงคลหลวงปู่กรับแขวนคอแล้ว จะแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง ถึงจะตกระกำลำบากอยู่ที่ใด ก็จะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย”

จัดเป็นพระที่หายาก เพราะน้อยมาก อีกทั้งจำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้




หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน

มีนามเดิมว่า กรับ เจริญสุข เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2436 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเส็ง จุลศักราช 1255 สมัยรัชกาลที่ 5 ที่บ้านบางปิ้ง ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นบุตรนายไข่ และนางลอย ไข่ม่วง มีพี่น้องต่างมารดา 2 คน ร่วมมารดาเดียวกัน 11 คน

เมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม 2456

มีพระครูสมุทรคุณากร วัดตึกมหาชยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการโต วัดโกรกกราก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชิด วัดราษฎร์รังสรรค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวัฑฒโน

จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดราษฎร์รังสรรค์ จากนั้นย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโกรกกราก จนกระทั่งในปี พ.ศ.2463 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ริเริ่มพัฒนาวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และในปี พ.ศ.2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต 2

ต่อมาในปี พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนาม พระครูธรรมสาคร

กล่าวสำหรับวัดโกรกกราก สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่า มีมาแต่โบราณไม่ปรากฏชื่อ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2375 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2423 ตรงกับสมัยของรัชกาลที่ 2

ในสมัยพระอธิการโต อดีตเจ้าอาวาส เกิดเพลิงไหม้เสนาสนะต่างๆ จนหมดสิ้น เหลือแต่อุโบสถเท่านั้น หลักฐานต่างๆ ของวัดจึงถูกเพลิงเผามอดไหม้ไปด้วย

เดิมบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวจีน สิ่งปลูกสร้างของวัดที่น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้คือ อุโบสถไม้สักหลังคาแอ่น คล้ายเก๋งจีน เสาระเบียงเฉียงออกทั้งสี่ด้าน

บริเวณด้านหน้ามีเจดีย์สององค์ มีเรือสำเภาจีนสร้างด้วยคอนกรีต องค์ละ 1 ลำ ลักษณะคล้ายกับเรือสำเภาจีนของวัดยานนาวาในกรุงเทพมหานคร แต่เล็กกว่า กาลต่อมา สูญหายไปหมดเหลือแต่องค์เจดีย์

ในจดหมายเหตุการเสด็จประพาสต้นของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปรากฏชื่อวัดโกรกกราก โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2448 เรือพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จอดเทียบท่าวัดโกรกกราก เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นล่องเรือมาจากบ้านแหลม จ.เพชรบุรี แวะซื้ออาหารที่บ้านท่าฉลอมและนำมาปรุงที่ศาลาท่าน้ำวัดโกรกกราก

โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นมาบนวัดเพื่อให้พระรดน้ำมนต์ เนื่องจากเมาเรือ

วัดโกรกกรากมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ “หลวงพ่อปู่” ซึ่งประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวลุ่มน้ำมหาชัยและใกล้เคียงมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นเป็นที่กล่าวขวัญด้วยการสวมแว่นตาดำ

องค์พระพุทธรูปมีการใส่แว่น ทั้งแว่นดำ แว่นแฟชั่น และแว่นสายตา รวมทั้งรูปหล่อหลวงปู่กรับ อดีตเจ้าอาวาสก็สวมแว่นตาสีดำเช่นเดียวกัน

พระครูวิสุทธิ์สิทธิคุณ หรือหลวงพ่อพระมหาสัมฤทธิ์ วิสุทธสีโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน บอกเล่าว่า การถวายแว่นแก้บน เกิดขึ้นเมื่อเกือบร้อยปีมาแล้ว เกิดโรคตาแดงระบาด ชาวบ้านจึงบนบานให้หายจากโรคตาแดง ปรากฏว่าหายป่วยทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงแห่กันมาปิดทองที่ดวงตาของหลวงพ่อปู่ เพื่อแก้บนกันยกใหญ่

อย่างไรก็ตาม หลวงปู่กรับ เกรงพระเก่าแก่จะเสียหายและขาดความสวยงาม ได้ออกอุบายนำแว่นตามาใส่แทน ชาวบ้านและผู้ศรัทธาเห็นเข้าก็ยึดถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา

ครั้งหนึ่ง มีคนร้ายได้เข้าไปลักลอบเจาะช่องท้องพระพุทธรูป หลวงปู่กรับลงไปทำวัตรในอุโบสถพบเข้าจึงนำทองคลุกยางรักอุดรอยเจาะนั้นไว้ และทำพิธีบวงสรวงสักการะ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1) และในวันนี้ของทุกปี

จึงเป็นที่มาของวันไหว้หลวงพ่อปู่ เรียกวันดังกล่าวว่า “วันแซยิดหลวงพ่อปู่” ทางวัดจัดงาน มีดนตรีและมหรสพให้ดูฟรีตลอดงานทุกปี

ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2517 สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61

วัดโกรกกราก หล่อรูปเหมือนไว้ให้ลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ โดยมีผู้นำแผ่นทองมาปิดจนเหลืองอร่าม และนำแว่นตามาถวายเช่นเดียวกับหลวงพ่อปู่

โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องตา มีความเชื่อว่าจะช่วยให้ดีขึ้นด้วยบารมีของทั้งสองรูป






หลวงพ่อแง ปาสาทิโก
วัดบางไผ่เตี้ย บางกระเจ้า จ.สมุทรสาคร


พระสมเด็จ-พระหยดน้ำ หลวงพ่อแง วัดบางไผ่เตี้ย บางกระเจ้า จ.สมุทรสาคร

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อแง ปาสาทิโก” อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขาราม (วัดบางไผ่เตี้ย) หมู่ที่ 2 บ้านบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ทรงวิทยาคมที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

สร้างวัตถุมงคลและเครื่อรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยม แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คือ “พระสมเด็จรุ่นแรก”

สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2507 แจกให้กับผู้ที่บริจาคสนับสนุนวัด ลักษณะเป็นพระพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยม เนื้อผงพุทธคุณสีขาว ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญ นอกจากมีผงวิเศษ และผงพุทธคุณต่างๆ แล้ว ยังมีผงที่หลวงพ่อแง ลบผงเองผสมอยู่อีกด้วย จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้




พระสมเด็จหลวงพ่อแง รุ่นแรก

ด้านหน้าจำลองเป็นรูปพระสมเด็จฐาน 3 ชั้น พื้นองค์พระส่วนใหญ่จะมีรอยจารอักขระยันต์มอญเป็นเอกลักษณ์

ด้านหลังเรียบ มีจารอักขระยันต์มอญ

นอกจากนี้ ยังมี “พระหยดน้ำ” ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2500 เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัด ลักษณะเป็นพระหยดน้ำ เนื้อผงผสมใบลานและผงว่าน ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญนอกจากมีผงวิเศษ และผงพุทธคุณต่างๆ แล้ว ยังมีผงที่หลวงพ่อแง ลบผงเองผสมอยู่อีกด้วย จัดเป็นพระที่หายากของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้




พระหยดน้ำ หลวงพ่อแง

ด้านหน้าจำลองเป็นรูปพระพุทธปางสมาธิประทับภายในกลีบบัว 3 ชั้น เป็นเอกลักษณ์

ด้านหลังเรียบแบบหลังเต่า ไม่ปรากฏอักขระยันต์ใดๆ

ต่อมาได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันนับเป็นที่นิยมและหายากในพื้นที่



หลวงพ่อแง ปาสาทิโก

มีนามเดิมว่า แง รองทอง พื้นเพเป็นคนบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2442

พ.ศ.2477 อายุ 35 ปี เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้ตัดสินใจอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดโพธิ์ (วัดโพธิ์ราษศรัทธาธรรม) อ.บางเลน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2477 โดยมีพระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อคล้าย) วัดศิลามูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เขียว เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และพระอาจารย์ยุทธ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปาสาทิโก

ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อคล้าย วัดศิลามูล แล้วจึงเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดดอนโฆสิตาราม ต.หนองบัว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และมีโอกาสสนิทสนมกับพระครูนาควุฒาจารย์ (หลวงปู่ตั้ง วัดใหม่เจริญราษฎร์), หลวงปู่แขก วัดบางปลา, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และหลวงปู่โน้ต วัดศิริมงคล

สำหรับวัดเจริญสุขาราม หรือวัดบางไผ่เตี้ย ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2448 วัดตั้งอยู่บริเวณริมคลองหมาหอน ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยตระกูลปั้นอุดม และตระกูลมิลาวรรณ บริจาคที่ดินเพื่อสร้างสำนักสงฆ์ ทั้งหมด 5 ไร่ ซึ่งในพื้นที่นี้มีไผ่ขนาดเล็กขึ้นเต็มพื้นที่

โดยมีพระมหาเล่า เป็นเจ้าอาวาสปกครองรูปแรก ต่อมาเมื่อมรณภาพลง พระอาจารย์เปลี่ยน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสและปกครองสำนักสงฆ์ตลอดมากระทั่งมรณภาพ

พระอาจารย์อ่อน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดต่อมา และในยุคนี้เอง ชาวบ้านเริ่มมีความศรัทธา เริ่มเข้าวัดมากขึ้น จึงได้ยกฐานะจากสำนักสงฆ์ ขึ้นเป็นวัดบางไผ่เตี้ย จวบจนสิ้นบุญของอาจารย์อ่อน

พระอาจารย์โอด ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และปกครองดูแลวัดจนท่านมรณภาพลง ชาวบ้านบางไผ่เตี้ยมีความศรัทธามากขึ้นจึงได้จัดพิธีปลงศพให้อย่างสมเกียรติ และในช่วงงานพิธีปลงศพของพระอาจารย์โอดนั้น หลวงพ่อแงเดินทางมาร่วมในงานปลงศพของหลวงพ่อโอดด้วย

หลังจากพิธีปลงศพอาจารย์โอดเสร็จสิ้น อุบาสกอุสิกกา ตลอดจนผู้มีศรัทธากับวัดบางไผ่เตี้ย เห็นศีลจริยาวัตรอันงดงามของหลวงพ่อแงไม่มีที่ติอันใด จึงพร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อแงให้ช่วยรับหน้าที่ปกครองวัดบางไผ่เตี้ยไปก่อน

แม้ว่าหลวงพ่อแงจะปฏิเสธ ด้วยติดขัดเพราะสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย แต่ชาวบ้านก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคอันใด ถึงเวลาลงทำสังฆกรรมก็ต่างคนต่างทำสังฆกรรมในสังกัดของตนไป ก็อยู่ร่วมกันได้ไม่มีปัญหาอันใด จึงไม่มีเหตุให้ปฏิเสธได้ จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดสืบต่อมา

หลังจากรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการสร้างอุโบสถไม้สักแทนหลังเก่าที่ผุพัง นอกจากนี้ ยังเทศนาสั่งสอนและพัฒนาจิตใจของชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรมอีกด้วย

ปกครองวัดเรื่อยมา จนกระทั่งมรณภาพลง เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2511 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวันลอยกระทงในปีนั้นพอดี

สิริอายุ 69 ปี พรรษา 34 •
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กรกฎาคม 2566 17:59:10 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #169 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2566 14:59:47 »


พระสมเด็จ หลวงปู่หยอด

พระสมเด็จ-อกครุฑ รุ่นแรก ‘หลวงปู่หยอด’ วัดแก้วเจริญ อัมพวา

ที่มา -   มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2565


“หลวงปู่หยอด ชินวังโส” หรือ “พระครูสุนทรธรรมกิจ” อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นักบุญลุ่มน้ำแม่กลอง ศูนย์รวมศรัทธา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ ไหมเบญจรงค์ 5 สี ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ

เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตาและแคล้วคลาดจากภยันตราย นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคล เช่น พระสมเด็จ พระปิดตา เหรียญกว่า 100 รายการ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “พระสมเด็จ รุ่นแรก” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 หารายได้สร้างศาลาการเปรียญ

พระสมเด็จ หลวงปู่หยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม สร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง มีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆ ที่รวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ ยังมีผงพุทธคุณที่ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก

ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จอกครุฑ หูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง 5 ชั้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ มีซุ้มระฆังครอบสวยงาม ด้านหลังเรียบ



หลวงปู่หยอด ชินวังโส

หลวงปู่หยอดมีนามเดิมว่า สุนทร ชุติมาศ ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2454 ที่บริเวณตลาดบางน้อย (ตรงข้ามศาลเจ้าพ่อโรงโขน) ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ในวัยเยาว์ ศึกษาหาความรู้จากบิดาจนอ่านออกเขียนได้ เมื่อเติบโตได้เป็นกำลังช่วยมารดาค้าขาย แบ่งเบาภาระให้ครอบครัว

เมื่ออายุ 18 ปี ฝากตัวเข้าบรรพชากับพระครูเปลี่ยน สุวัณณโชโต เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2472

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2474 มีพระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสุทธิสารวุฒาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเปลี่ยน สุวัณณโชโต วัดแก้วเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดมสุตกิจ (พลบ) วัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานาม ชินวังโส มีหมายความว่า ผู้สืบวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า

ศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนได้รับวิทยฐานะความรู้สามัญ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สมัครสอบ) พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ดูแลปรนนิบัติพระครูเปลี่ยนซึ่งอาพาธอย่างใกล้ชิด ด้วยกตัญญูกตเวทิตา จวบจนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2484

วันที่ 17 สิงหาคม 2484 พระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) เจ้าคณะอำเภออัมพวา จึงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่

วัดแก้วเจริญ เป็นวัดโบราณของชาวรามัญ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรกร้างมาเป็นเวลานาน

มีเรื่องเล่าว่า ชาวบ้านท่าใหญ่กรุงศรีอยุธยา อพยพหลบภัยพม่าเมื่อเสียกรุง พ.ศ.2310 มาถึงสถานที่แห่งนี้แล้วเห็นว่ามีทำเลเหมาะสม จึงช่วยกันแผ้วถางป่าลึกเข้าไปประมาณ 3 เส้น พบวัดร้าง มีซากอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแลงปางต่างๆ มากมาย และพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้ว มีใบเสมารอบอุโบสถ พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดไม่มีผ้าพาด

บริเวณวัดยังมีเจดีย์รามัญ 2 องค์ ชำรุดหักพังอยู่ ชาวบ้านเห็นว่าคงไม่เหมาะกับการสร้างที่อยู่อาศัยเพราะมีวัดร้างอยู่ จึงไปแผ้วถางสถานที่แห่งใหม่ ห่างจากวัดประมาณ 5 เส้น ตั้งเป็นหมู่บ้านท่าใหญ่ตามชื่อเดิมของผู้อพยพ

กระทั่งปี พ.ศ.2340 พระอธิการต่าย ปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพดีขึ้น โดยพระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ ประชาชนจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดแก้ว

ต่อมาพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย และเห็นว่าควรจะเก็บไว้ในที่ปลอดภัย จึงฝังไว้ที่ใต้ฐานชุกชีของพระประธาน ปัจจุบันอยู่ภายนอกฐานชุกชี

วัดประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2375 ชื่อว่า “วัดแก้วเจริญ” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2529

พ.ศ.2487 หลวงปู่หยอดได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่

หลังจากได้รับตำแหน่ง พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ทั้งการจัดการให้วัดเป็นสถานพยาบาลรักษาญาติโยมที่เดือดร้อนต่างๆ

แต่ที่โด่งดังมาก คือ การต่อกระดูก ประสานกระดูก เรียกว่าสมัยก่อนใครแขนหักขาหัก ไม่มีชาวบ้านคนไหนไปโรงพยาบาล แต่มารักษาที่วัดแก้วเจริญกันแทบทั้งสิ้น

ลําดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2491 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุนทรธรรมกิจ

พ.ศ.2499 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

ผลงานด้านการศึกษา เป็นเจ้าสำนักเรียนธรรมชั้นตรี-โท-เอก และเป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่ อำเภออัมพวา

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาและอุปสมบท ปกครองสงฆ์สำนักวัดแก้วเจริญ ในการอบรมสั่งสอนสามเณรและภิกษุในเรื่องจริยาวัตร กิจวัตรและศาสนพิธี จัดเทศนาอบรม สั่งสอนคฤหัสถ์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ผลงานด้านสาธารณูปการ เป็นผู้นำบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ บำรุงรักษาวัดและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ สืบทอดตามเจตนารมณ์ของเจ้าอาวาสในอดีต

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2541

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •





เหรียญรุ่นแจกงานศพ หลวงพ่อเล็ก ปุสสเทโว วัดสามจีน อ.บางคนที

ที่มา -  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อเล็ก ปุสสเทโว” หรือ “พระครูสุตสาร” อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีจินดาวัฒนาราม หรือวัดสามจีน ต.บางกุ้ง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ชาวบ้านลุ่มน้ำแม่กลองต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์หลวงพ่อเพชร ปุญญวชิโร วัดไทรโยค พระเกจิดังผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก

สำหรับหลวงพ่อเล็ก เป็นผู้สร้างเหรียญนาคเกี้ยว อันโด่งดัง โดยนำเอายันต์นาคเกี้ยว ซึ่งเป็นยันต์ประจำวัดที่หลวงพ่อเพชร วัดไทรโยค ค้นพบในถ้ำที่รัฐไทยใหญ่ และคัดลอกมาในสมัยที่หลวงพ่อเพชรออกเดินธุดงค์

นอกจากนี้ เหรียญรูปเหมือนก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2510 เป็นเหรียญที่สร้างไว้แจกให้ศิษยานุศิษย์ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ปรากฏหน้าในเหรียญ มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้




เหรียญหลวงพ่อเล็ก พ.ศ.2510

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์มแบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุตฺตสาร (เล็ก) ปุสฺสเทว วัดตรีจินดาวัฒนาราม สมุทรสงคราม” ที่คัดลอกมาจากถ้ำในรัฐไทยใหญ่โดยหลวงพ่อเพชรธุดงค์ไปพบเข้า

ด้านหลัง มีอักขระยันต์สาม ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ศิษย์สร้างบูชาคุณหลวงพ่อ ๒๕๑๐” ซึ่งคือปีที่สร้าง




เหรียญหลวงพ่อเล็ก พ.ศ.2514

ยังมีอีกหนึ่งเหรียญ คือ เหรียญรุ่นแจกงานศพ สร้างขึ้นหลังจากละสังขารแล้ว จึงเป็นเหรียญตาย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 สร้างไว้แจกเป็นที่ระลึกผู้ที่มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุตสาร วัดตรีจินดาวัฒนาราม ๑๔ ก.พ.๑๔” ซึ่งคือวันที่มีพิธีพระราชทานเพลิง

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

จัดเป็นอีกเหรียญที่หายาก




หลวงพ่อเล็ก ปุสสเทโว

มีนามเดิม เล็ก รัตนไพศาล (แซ่ตัน) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2443 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปี ชวด บิดา-มารดาชื่อ นายฮวดและนางจี่ รัตนไพศาล ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.กระดังงา อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน

ช่วงเยาว์วัย ศึกษาที่โรงเรียนวัดสามจีน เรียนหนังสือใหญ่หรือที่ในสมัยปัจจุบันเรียกว่าภาษาขอม และเรียนต่อวิชามูลกัจจาญยนะที่วัดเกาะใหญ่ จนเมื่ออายุ 16 ปี บรรพชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว

อายุ 18 ปี สึกไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย

พ.ศ.2463 อายุครบ 20 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสามจีน (วัดตรีจินดาวัฒนาราม) ต.บางกุ้ง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม มีหลวงพ่อเพชร ปุญญวชิโร วัดไทรโยค เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเหมือน วัดกลางเหนือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเลี้ยง วัดเกาะใหญ่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีนเป็นระยะเวลา 2 พรรษา จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดใหม่ยายแป้น ธนบุรี เพื่อไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ จนได้นักธรรมชั้นตรี

เมื่อปี พ.ศ.2466 รับอาราธนาไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ที่วัดหวายเหนียว จ.กาญจนบุรี ซึ่งขณะนั้นมีหลวงพ่อปิ๋ว เป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ.2469 กลับมาเปิดสอนพระปริยัติธรรมขึ้นที่วัดสามจีน ซึ่งในระหว่างกลับมาที่วัดสามจีนนี้เอง จึงได้เริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นการบำเพ็ญตามสมณวิสัยของบรรพชิต โดยเดินทางไปตามป่าราชบุรี กาญจนบุรี ตาก เชียงราย ติดต่อไปจนถึงปี พ.ศ.2471 จึงกลับวัด

ในตอนนั้นหลวงพ่อเพชร พระอุปัชฌาย์ เริ่มอาพาธ และถึงมรณภาพลงในปี พ.ศ.2472 ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจึงได้อาราธนาให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2474

เมื่อขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการเล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษาของบุตรหลานรอบวัด

พ.ศ.2479 หลังเปิดการเรียนการสอนมาได้ 4 ปี จึงขอเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล (เฉลิมรัฐราษฎร์นุกูล)

พ.ศ.2483 เปลี่ยนนามวัดสามจีน เป็นวัดตรีจินดาวัฒนาราม รวมทั้งยังซ่อมอุโบสถและหอสวดมนต์ รวมทั้งสร้างสะพานข้ามคลองไทรโยค สร้างสะพานข้ามคลองวัดกลาง สร้างสะพานข้ามคลองบางน้อย ตรงข้ามวัดเกาะแก้ว

อัญเชิญพระประธานปูนปั้น ขนาดหน้าตัก 2.77 เมตร จากวัดกลางใต้ ประดิษฐานไว้ที่วิหาร และภายหลังจึงอัญเชิญมาเป็นพระประธานในอุโบสถ

พ.ศ.2488 สร้างหอพระไตรปิฎกชื่อ “หอพระไตรปิฏกเพชรรัตนไพศาลประชากุล” โดยซื้อบ้านของประชาชนมาสร้าง

พ.ศ.2498 อำนวยการสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนที่หลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ในพื้นที่ที่ซื้อใหม่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2499 และผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2500

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 เวลา 04.00 น. บันทึกไว้ว่า ท่านให้พระที่พยาบาลพยุงให้นั่ง แล้วถามว่า “สว่างหรือยัง” พระตอบว่า “ตี 5 แล้ว” จากนั้นก็มรณภาพอย่างสงบ

สิริอายุ 70 ปี พรรษา 50 •






เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่โถม กัลป์ยาโณ

เหรียญรูปเหมือน 2520 หลวงปู่โถม กัลยาโณ พระเกจิชื่อดังสุโขทัย

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ - 19 สิงหาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2565


“พระมงคลสุนทร” หรือ “หลวงปู่โถม กัลยาโณ” อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยและอดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย เป็นพระเกจิชื่อดัง มีวิชาแก่กล้า รอบรู้ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและพุทธาคม แต่มักเก็บตัวและไม่แสดงออก

นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในเรื่องของการปั้นพิมพ์และการหล่อพระแบบโบราณ

ปัจจุบันวัตถุมงคลที่อธิษฐานจิตปลุกเสกไว้ ได้รับความนิยมหลายรุ่น โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือน

พ.ศ.2520 ออกเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก เพื่อหาทุนสร้างอุโบสถวัดธรรมปัญญาราม

ลักษณะกลม รูปไข่ มีหูห่วง สร้างไว้ไม่เกิน 5,000 เหรียญ

ด้านหน้า ขอบเหรียญเป็นจุดไข่ปลา ตรงกลางเป็นรูปเหมือนเต็มองค์นั่งขัดสมาธิ ขอบเหรียญถัดมาด้านในติดจุดไข่ปลา ล้อมรอบไปด้วยอักขระยันต์ ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อเล็ก กลฺยาโณ (โถม ขำแย้ม)”

ด้านหลังเหรียญยกขอบ มีความเรียบ ตรงกลางเหรียญมียันต์ ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า “ดวงฤกษ์อุโบสถ” ใต้ยันต์เขียนว่า “วัดธรรมปัญญาราม อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ๑๒ พ.ค.๒๐”

ทุกวันนี้กลายเป็นเหรียญที่หาได้ยากมาก




หลวงปู่โถม กัลยาโณ

สําหรับอัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า โถม ขำแย้ม เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2464 ตรงกับเดือน 6 ปีระกา ที่หมู่ 3 ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย พ.ศ.2473

สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนประชาบาล วัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท วันที่ 17 เมษายน 2484 ที่พัทธสีมาวัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิด โดยมีพระครูคีรีมาศเมธี วัดวาลุการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา กัลยาโณ

ภายหลังพิธีอุปสมบท พระโถมได้มุ่งมั่นตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแข็งขัน ในปี พ.ศ.2488 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักศาสนศึกษาวัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

สร้างคุณูปการไว้หลายด้านมากมาย อาทิ การพัฒนาด้านการพระศาสนา ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดทั้งสาธารณประโยชน์ต่างๆ

สนับสนุนส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันภายในชุมชน โดยให้ประชาชนร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ ทำนา ทำบุญกลางหมู่บ้าน ทอดกฐิน ผ้าป่า งานอุปสมบทหมู่

ส่งเสริมการจัดประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับและทุกรูปในเขตปกครอง ทุกวันขึ้น 7 ค่ำ ของทุกเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมกันแก้ไขและปรับปรุงงานคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นอกจากนี้ ยังได้สร้างศาลาการเปรียญ ก่อสร้างกุฏิ ก่อสร้างศาลาธรรมสังเวช ก่อสร้างอุโบสถ ก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ หอสวดมนต์ หอระฆัง และกำแพงอุโบสถ ให้กับวัดต่างๆ ในพื้นที่ เป็นจำนวนมาก

รวมทั้งจัดให้ทุกวัดจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม โดยหากวัดแห่งใดไม่มีความพร้อมในการสอนได้ ก็จะให้พระภิกษุสามเณรไปเรียนกับสำนักเรียนที่มีการเรียนการสอน แบบเช้าไปเย็นกลับ ถ้าไม่สามารถส่งไปเรียนได้ ให้เจ้าคณะตำบลมอบหมายให้เจ้าอาวาสหรือพระภิกษุสามเณรผู้ที่มีความสามารถสอน จัดการเรียนการสอนขึ้นภายในวัดนั้นๆ แทน

ไม่เพียงแต่สั่งหรือให้นโยบายเท่านั้น แต่ออกตรวจเยี่ยมตามสำนักเรียนนักธรรมอยู่เป็นประจำ เพื่อคอยให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาแต่ละสำนักเรียนทุกเดือน พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์การเรียนการสอนเพิ่มเติมให้แก่สำนักเรียนที่ขาดแคลน

หลักธรรมความสามัคคี ออกแนะนำให้ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้รักใคร่ปรองดองสร้างสรรค์ประสานความสามัคคี โดยการไม่ให้เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัวและให้ช่วยเหลือผู้อื่นในคราวได้รับความเจ็บไข้ได้ทุกข์ และให้ความร่วมมือกันสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

หลวงปู่โถม เป็นพระที่สวดปาติโมกข์ได้อย่างไพเราะ เนื่องจากมีเสียงดังกังวาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของญาติโยมที่ได้สดับฟัง นอกจากนี้ ท่านยังมีความชำนาญในการปั้นพระพุทธรูปและการหล่อระฆัง โดยได้ปั้นพระพุทธรูปและหล่อระฆังมอบให้กับวัดทั้งในจังหวัดสุโขทัย และวัดในเขตพื้นที่ติดต่อกับสุโขทัยเป็นจำนวนมาก

ผลงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ หลวงปู่โถมได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 31 ไร่ 3 งาน สร้างโรงพยาบาลคีรีมาศ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ และยังจัดสร้างสถานีอนามัย พร้อมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ มอบให้กับทางโรงพยาบาลคีรีมาศ รวมทั้งจัดสร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน และสร้างถนนทางเดินระหว่างหมู่บ้านและวัดอีกหลายแห่ง

ลําดับงานปกครองของหลวงปู่โถม

พ.ศ.2490 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม

พ.ศ.2491 เป็นเจ้าคณะตำบลโตนด
พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2508 เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง

พ.ศ.2516 เป็นเจ้าคณะอำเภอคีรีมาศ

พ.ศ.2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม

พ.ศ.2542 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

พ.ศ.2547 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

ลําดับสมณศักดิ์
พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษที่ พระครูพิลาศธรรมคุณ

พ.ศ.2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลสุนทร

ก่อนจะถึงวาระสุดท้าย ฝากให้คณะศิษย์ช่วยกันสะสางงานก่อสร้างศาลาการเปรียญที่ยังคั่งค้าง ให้แล้วเสร็จด้วย

จากนั้น จึงได้หลับตาลง พร้อมท่องสวดมนต์เบาๆ ละสังขารด้วยอาการสงบ ใบหน้ามีรอยยิ้ม คล้ายดั่งกับคนนอนหลับตามปกติเท่านั้น

มรณภาพลงเมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2548 สิริอายุ 84 ปี พรรษา 64 •

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #170 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2566 11:38:57 »



มงคลเหรียญกฐินต้น หลวงปู่ดี วัดเหนือ

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2 - 8 กันยายน 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2565


“พระเทพมงคลรังษี” หรือ “หลวงปู่ดี พุทธโชติ” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวเมืองกาญจน์

อีกทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งที่พระองค์กลับมาอุปสมบทที่วัดเหนือและจำพรรษาอยู่ 1 พรรษา จากนั้นกลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุตอีกครั้ง โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

วัตถุมงคลที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง มีทั้งพระบูชา ภปร, รูปหล่อหลวงปู่ดี, เหรียญพระพุทธชินราช, พระกริ่ง, เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

โดยเฉพาะ “เหรียญกฐินต้น” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2506 ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินและเททองหล่อพระพุทธรูปบูชา ภปร. ที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2506  เป็นครั้งแรกที่เสด็จมายัง จ.กาญจนบุรี

โดยให้กองกษาปณ์จัดทำเหรียญรุ่นนี้ขึ้น ลักษณะเป็นรูปทรงกลม แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระพุทธสุทธิมงคล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม เขียนคำว่า “พระพุทธสุทธิมงคล วัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง”

ด้านหลัง เป็นรูปช้างสามเศียรอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นเทวดา 2 องค์ มีภาษาไทยเขียนคำว่า “ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ๒๖ ต.ค.๒๕๐๖”

นับเป็นเหรียญที่หายากมากเหรียญหนึ่ง

 


หลวงปู่ดี พุทธโชติ วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี

หลวงปู่ดี พุทธโชติ เกิดที่บ้านทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2416 บิด-มารดาชื่อ นายเทศ-นางจันทร์ เอกฉันท์

บรรพชาในปี พ.ศ.2434 ณ วัดทุ่งสมอ มีพระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่ได้ 6 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยงานครอบครัว จนอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดทุ่งสมอ มีพระครูวิสุทธิรังษี (หลวงปู่ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการรอด และพระใบฎีกาเปลี่ยน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “พุทธโชติ”

จำพรรษาที่วัดทุ่งสมอ ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ชื่นชอบการสวดปาฏิโมกข์ จึงมีความมานะพยายาม จนที่สุด สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์ในพรรษาที่ 2

ช่วงออกพรรษามักธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมเพิ่มเติมกับพระเกจิหลายรูป อาทิ พระอาจารย์เกิด วัดกกตาล นครชัยศรี, หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว ฯลฯ

ชะตาผกผัน ในพรรษาที่ 12 ที่มาจำพรรษาที่วัดรังษี ครั้งที่ 2 นั้น ท่านพบพระครูสิงคิบุราคณาจารย์ (หลวงพ่อสุด) เจ้าอาวาสวัดเหนือ ซึ่งรู้จักกันมาก่อนในครั้งที่ได้รับนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้

หลวงพ่อสุดทำหนังสือเดินทางเพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงขออนุญาตเดินทางไปด้วย ตลอดทางทั้งไปและกลับ หลวงพ่อสุดเกิดอาพาธ ซึ่งหลวงปู่ดีคอยปรนนิบัติดูแลจนกลับถึงวัดเหนือ หลวงพ่อสุดยังปรารภว่า “ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปด้วยกัน ก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่”

ต่อมาหลวงปู่ดีกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ดังเดิม แต่ก็มีจดหมายไต่ถามทุกข์สุขกันเสมอมา บางครั้ง หลวงพ่อสุดลงมากรุงเทพฯ จะมาแวะพักพูดคุย จนช่วงหลังๆ อาพาธหนัก เดินทางไปไหนไม่ได้ จึงมีจดหมายถึงหลวงปู่ดีขอให้ไปเยี่ยมเสมอ

จึงหาโอกาสขึ้นไปเยี่ยมที่วัดเหนือ หลวงพ่อสุดให้ศิษย์นิมนต์อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ซึ่งก็ไม่รับปาก แต่ได้ช่วยดูแลกิจการต่างๆ เช่น สวดปาฏิโมกข์ หรือเทศน์แทนท่าน เป็นต้น

คราหนึ่ง หลวงพ่อสุดให้หลายคนมาขอร้องให้เป็นสมภารจึงปฏิเสธอย่างเด็ดขาด

จนเมื่อหลวงพ่อสุดมรณภาพลง กรรมการและศิษย์วัดและชาวบ้านทั้งหลาย จึงนิมนต์ขอให้เป็นสมภารอีกครั้ง ซึ่งท่านไม่สามารถปฏิเสธได้ จึงต้องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดเหนืออย่างเต็มตัว

เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาจิต ปรับปรุงและพัฒนาทุกอย่างในวัด ทั้งขนบธรรมเนียม ระเบียบพิธีการ และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด พระทุกรูปมีวัตรปฏิบัติเรียบร้อย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับได้ว่า วัดเหนือได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่ชื่นชมศรัทธาของเหล่าสาธุชน แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ยังทรงยกย่องให้เป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลาย

ในปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดเหนือ และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภปร จารึกไว้เหนือผ้าทิพย์ของ “พระพุทธรูปปางประทานพร” ที่วัดจัดสร้างเพื่อนำปัจจัยมาบำรุงวัด ทั้งพระราชทานแผ่นทอง เงิน และนาก ลงในเบ้าหลอมพระพุทธรูปทุกเบ้า อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง

ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลรังษี และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี

มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2510 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 73 •





เหรียญรุ่นแรก 2515 หลวงปู่มี กันตสีโล วัดดงส้มป่อย จ.มหาสารคาม

เหรียญรุ่นแรก 2515 หลวงปู่มี กันตสีโล

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 กันยายน - 6 ตุลาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2565



“หลวงปู่มี กันตสีโล” วัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) ต.แวงดง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม พระป่าสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมหาสารคาม มีเมตตาธรรมสูง มักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามจึงขจรขจายไปทั่วภาคอีสาน

วัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม จัดสร้างเหรียญหลวงปู่มี เมื่อปี 2515 เป็นรุ่นแรก มอบให้ผู้บริจาคทำบุญสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ

เป็นเหรียญทองแดงรมดำทั้งหมด จำนวนการสร้าง 3,000 เหรียญ
 
เหรียญหลวงปู่มี ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่มี นั่งเต็มองค์ ด้านซ้ายมือของเหรียญเขียนชื่อ “หลวงพ่อมี กนฺตสีโล วัดป่าสันติธรรม” โค้งลงไปตามขอบเหรียญด้านล่างเลยไปถึงขอบเหรียญด้านขวา   ส่วนด้านหลัง จากขอบซ้ายโค้งลงไปด้านล่างไปถึงขอบเหรียญด้านขวา เขียนคำว่า “ต.ขามเรี่ยน” (ที่ถูกต้องเป็น ต.ขามเรียน ไม่มีไม้เอก ช่างแกะบล็อกผิด) อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม และใต้ขอบเหรียญด้านหลังจะเป็นคาถาเขียนว่า “จิ เจ รุ นิ ติ อุ ละ นะ เส ติ” ส่วนตรงกลางเหรียญจะเป็นคาถาหัวใจธาตุ 4 นะ มะ อะ อุ

รุ่นนี้ หลวงปู่มี ประกอบพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสกเดี่ยว 1 ไตรมาส จัดเป็นเหรียญดังอีกเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสารคาม

“หลวงปู่มี กันตสีโล” เป็นพระสงฆ์ในดวงใจชาวมหาสารคาม ผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย

ดำรงตนอย่างสมถะ มุ่งมั่นวิปัสสนากรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยว แสวงหาความหลุดพ้น


 

หลวงปู่มี กันตสีโล

สําหรับอัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า มี ลุนศิลา ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2441 ที่บ้านปอพาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

บรรพชาเมื่ออายุได้ 12 ปี ที่วัดดงบัง มีพระครูจันดี เป็นพระอุปัชฌาย์

ได้โอกาสศึกษาวิชามูลกัจจายน์ควบคู่กับสรรพวิชาไสยเวทจนแตกฉาน

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าอุปสมบทที่วัดทองนพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม มีพระครูจันทร สีตลคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูจันดี วัดดงบัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูบาทูล วัดดอนหลี่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ไปไกลถึงต่างแดนไม่ว่าจะเป็นลาว เขมร พม่า พร้อมกับเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมกับครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านไสยเวทศาสตร์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่พระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย หลวงปู่จันดา วัดทองนพคุณ หลวงปู่สา วัดบ้านเหล่า พระครูปลัดดำ พระอาจารย์ปี เป็นต้น

เป็นพระที่มีปฏิปทางดงาม พูดน้อย รักความสงบ กอปรด้วยเมตตาธรรม จนร่ำลือว่าสามารถล่องหนหายตัวหรือย่นระยะทางที่ไกลให้ใกล้ได้ แต่ไม่เคยแสดงอวดอิทธิฤทธิ์ให้ใครเห็น

สำหรับสหธรรมิกที่มีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่พระครูวรพรตวิธาน วัดแวงน้อย จ.ขอนแก่น พระครูพิสัยนวกา (ดือ) วัดดงบังนาดูน สมัยบรรพชาเรียนด้วยกัน (ปัจจุบันมรณภาพ) พระครูพิสัยรังสี (แสง) วัดหัวช้างยางสีสุราช และหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เคยมาจำพรรษาเพื่อขอคำชี้แนะการวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดป่าสันติธรรมแห่งนี้

ในปี พ.ศ.2495 กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด และบุกเบิกสร้างวัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) จนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน

ด้วยชื่อเสียงโด่งดังมาก บรรดาญาติโยมทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางมารับฟังธรรมและขอปะพรมน้ำพุทธมนต์

สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาคจากศรัทธา นำมาพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้วัด ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญด้านการศึกษาสงฆ์ สนับสนุนให้พระภิกษุ-สามเณร ศึกษาค้นคว้านำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบันทึกไว้เพื่อการศึกษา และท่านยังให้ทุนอุปถัมภ์การศึกษาแก่พระสงฆ์ รวมทั้งนักเรียนที่เรียนดี

บริจาคปัจจัยส่วนตัวเป็นเงินจำนวนมาก ก่อสร้างสาธารณประโยชน์หลายแห่ง

มรณภาพเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 สิริอายุ 100 ปี

ปัจจุบันสังขารบรรจุอยู่ในโลงแก้ว ตั้งอยู่ในมณฑปภายในวัดป่าสันติธรรม

ภายในมณฑป เก็บรวบรวมเครื่องอัฐบริขาร เครื่องใช้หนังสือผูกใบลานไสยเวทที่ใช้ศึกษาและพกพาติดตัวตลอดทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งประติมากรรมรูปเหมือน ตั้งแสดงไว้ด้วย

แม้จะละสังขารไปนานหลายปี แต่ช่วงวันหยุดหรือวันครบรอบวันมรณภาพ ยังคงมีคณะศิษยานุศิษย์เข้ามากราบไหว้เป็นประจำ

ครั้งหนึ่ง วัดป่าสันติธรรม จัดงานปฏิบัติธรรมรวม 7 วัน มีหลวงปู่เฉย วัดแวงน้อย จ.ขอนแก่น เป็นประธานจัดงาน และชาวบ้านร่วมกันสรงน้ำรูปเหมือนและเปลี่ยนจีวรใหม่ให้สังขารหลวงปู่มี

เป็นที่น่าอัศจรรย์ ด้วยสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อย แต่กลับมีเล็บและเส้นผมงอกออกมาทุกปี •





หลวงพ่อใหญ่ พระประธาน วัดตาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

เหรียญหลวงพ่อใหญ่ พระประธานวัดตาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2565


“วัดตาล” ตั้งอยู่เลขที่ 73 หมู่ที่ 3 ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินที่ตั้งวัด เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา

มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 3 ตารางวา อยู่ริมหมู่บ้านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

มีชื่อเต็มว่า “วัดตาลสราญรมณ์” แต่คนทั่วไปมักเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดตาล”

“หลวงพ่อใหญ่ วัดตาล” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.95 เมตร สูง 4.19 เมตร ประดิษฐานในวิหาร

ศิลปะแบบล้านช้าง คาดว่ามีอายุการสร้างมากว่า 600 ปี เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาว อ.หล่มเก่าและหล่มสัก อย่างยาวนาน

ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สักการบูชาเป็นที่พึ่งด้านจิตใจ ต่างพากันมากราบขอพร ขอให้คุ้มครองรักษาอำนวยพรให้ครอบครัวลูกหลานได้อยู่ดีมีสุข

มีตำนานเล่าขานปากต่อปากจากรุ่นปู่ย่าตายายถ่ายทอดสู่ลูกสู่หลานสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน บอกเล่าเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ว่า มีพระเถระผู้ใหญ่เดินทางนั่งเรือมาจากทางใต้ ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัด แล้วมานำพาประชาชนในละแวกนี้ พัฒนาวัดและสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ขึ้นมา

วันที่นำพาช่างและประชาชนปั้นแต่งพระเศียรพระพักตร์ของพระพุทธรูปนั้น ยังไม่ทันได้แต่งพระเศียร พระพักตร์ พระนาสิก พระเนตร ก็ได้เวลาพักเที่ยง พากันมาหุงหาอาหารกันที่ป่าไผ่ด้านตะวันออก (บริเวณต้นหางนกยูงปัจจุบัน)

ขณะนั้น พากันเห็นคนแก่นุ่งขาวห่มขาวเดินไปเดินมาระหว่างบ่อน้ำ (บริเวณใต้ต้นจันทร์ เป็นบ่อน้ำที่สร้างขึ้นมา พร้อมกับการสร้างหลวงพ่อใหญ่) กับพระพุทธรูป คือ หลวงพ่อใหญ่วัดตาล ที่กำลังได้รับการบูรณะในครั้งนั้น

หลังจากที่รับประทานอาหารกันเรียบร้อยพากันมาจะปั้นแต่งพระพุทธรูปกันต่อ แต่ปรากฏว่า พระพักตร์ พระเศียรของพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ ได้รับการปั้นแต่งพระพักตร์แล้วเสร็จบริบูรณ์งดงาม และบ่อน้ำแห่งนั้น ปรากฏว่ามีน้ำผุดขึ้นมาพร้อมกับการปั้นแต่งพระพักตร์ของหลวงพ่อใหญ่สำเร็จ

จึงพากันเข้าใจว่าเทวดามาช่วยสร้าง

ในปี พ.ศ.2516 คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อใหญ่ ออกมาหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งหลวงพ่อใหญ่ เหรียญสร้างวิหาร

วัตถุมงคลแต่ละรุ่นที่จัดสร้างออกมา ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก พากันไปเช่าหาบูชา ทำให้หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

ทุกรุ่น ล้วนหายากยิ่ง ไม่มีวางแผงในตลาดพระเครื่อง ด้วยทุกคนที่มีไว้ในครอบครอง จะเก็บไว้บูชาเองหรือเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลาน ที่หายากคือ “เหรียญหลวงพ่อใหญ่ ขวัญถุงเงินล้าน”




เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดตาล (หน้า)

ลักษณะเป็นเหรียญปั้มทรงกลม ขนาด 3 เซนติเมตร ยกขอบ 2 ชั้น ภายในขอบจะมีจุดไข่ปลาโดยรอบ ตรงกลางเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อใหญ่ประดิษฐานบนตั่ง เหนือเศียรเขียนตัวหนังสือ เขียนคำว่า “เหรียญขวัญถุง” ใต้ฐานจารึกคำว่า “หลวงพ่อใหญ่ วัดตาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์”




เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดตาล (หลัง)

ด้านหลังเป็นอักขระ เขียนโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปถุงบรรจุเงิน และเขียนตัวเลขในถุงว่า “๑,๒๕๐,๐๐๐” ส่วนบนปากถุง เป็นตัว “นะเศรษฐี” ใต้ถุงเขียนตัวเลข “๒๕๑๖”

จัดสร้างจำนวนประมาณ 5,000 เหรียญ เพื่อสมทบทุนสร้างวิหารหลังใหม่ให้หลวงพ่อใหญ่

หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือพระครูวิชิตพัชราจารย์ วัดพุทธบาทชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ อดีตพระเกจิชื่อดังเมืองมะขามหวาน ขณะที่ปลุกเสกเหรียญนี้ จำพรรษาอยู่ที่วัดช้างเผือก ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

เป็นเหรียญที่มีพุทธคุณเข้มขลัง เมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย ยังทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย ผู้ที่มีไว้ในครอบครองส่วนมากจะไม่มีใครปล่อย เพราะเป็นเหรียญที่หายาก

โดยเฉพาะหลวงพ่อทบปลุกเสกเดี่ยวด้วย จึงนับว่าหายากที่สุดๆ

กล่าวได้ว่า หลวงพ่อใหญ่ วัดตาล ประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา มีความเชื่อว่า ใครที่ได้มากราบไหว้ขอพร จะบรรลุผลสำเร็จตามที่ได้อธิษฐานขอพร โดยเฉพาะเรื่องการทำมาค้าขาย คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก เมื่อได้มากราบขอพรหลวงพ่อใหญ่ จะได้บุตรสมปรารถนา

บางครั้งมีพ่อแม่ผู้ปกครอง พาบุตรหลานของตนที่ติดยาเสพติดมาสาบานต่อหน้าหลวงพ่อใหญ่ ว่าจะเลิกเสพยาเสพติด ผู้ที่ผิดคำสาบาน มักประสบเหตุร้ายเสมอ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง นิยมนำผู้ที่ติดยาเสพติดมาสาบานตน เพื่อให้เลิกยาเสพติดโดยเด็ดขาด

วัดแห่งนี้ จึงมีผู้คนเดินทางมาท่องเที่ยวกันอย่างไม่ขาดสาย จนเป็นอีกหนึ่งคำขวัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอหล่มเก่า ที่ว่า “ไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดตาล ทานขนมจีน นอนกางเต็นท์ภูทับเบิก”

วิหารหลวงพ่อใหญ่ เปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการบูชาได้ทุกวัน •

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #171 เมื่อ: 06 กันยายน 2566 15:16:42 »


เหรียญรุ่นบาตรน้ำมนต์ หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ

เหรียญรุ่นบาตรน้ำมนต์ หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ
วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ที่มา - คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง 
เผยแพร่ - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2565 วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2565


“พระครูอุทัยธรรมกิจ” หรือ “หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี

พระเกจิอาจารย์ลุ่มน้ำสะแกกรัง ชื่อดังแห่งอุทัยธานี ศิษย์สายธรรมหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู และหลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมาแต่ละรุ่น มีความโดดเด่น ไม่ว่าจะเมตตามหานิยม โชคลาภ และอยู่ยงคงกระพัน จึงเป็นที่นิยมเสาะหา

โดยเฉพาะเหรียญรุ่นบาตรน้ำมนต์ ที่ระลึกที่เข้ามาทำบุญกับทางวัด รายได้ทั้งหมดบูรณะและฉลองวิหาร




เหรียญบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ตี๋ (หน้า)

รูปแบบทรงพิมพ์เป็นเหรียญปั๊มวงกลม ขนาด 4 เซนติเมตร ด้านหน้า มีรูปเหมือนหลวงปู่ตี๋ครึ่งร่าง หน้าตรง

ใกล้ขอบด้านบนมีตัวหนังสือ “พระครูอุทัยธรรมกิจ (หลวงปู่ตี๋) วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี อายุ ๘๗ ปี พ.ศ.๒๕๔๒” ขอบด้านล่างมีอักขระขอบกำกับ 1 แถว




เหรียญบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ตี๋ (หลัง)
 
ด้านหลังมียันต์เทพรัญจวนและยันต์นารายณ์แปลงรูป มีอักขระขอบล้อมรอบ 2 แถว คมชัดเป็นเหรียญปั๊ม ยันต์ดังกล่าว เป็นยันต์เดียวกับที่สักไว้ที่หลังของหลวงปู่ตี๋ ยันต์นี้ใช้แทนตะกรุดโทนได้ มีโค้ดตัว “นะ” อยู่เหนือบ่าซ้าย ด้านหน้า

จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน 186 เหรียญ และเนื้อทองเหลือง 2,000 เหรียญ ส่วนชนิดหลังไม่มียันต์เทพรัญจรและยันต์นารายณ์แปลงรูปปั๊ม ด้านหลังเหรียญจะเรียบใช้จารอักขระด้วยมือของหลวงปู่ตี๋

รุ่นนี้ หลวงปู่ตี๋อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา ยังประกอบพิธีพุทธาพิเษก โดยนิมนต์สุดยอดพระเกจิอาจารย์ดังเข้มขลังวิทยาคมยุคนั้น รวมพลังนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ, หลวงพ่อนะ วัดหนองบัว, หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์, หลวงพ่อรัง วัดอมฤตวารี, หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค และหลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว

ปัจจุบัน แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลใน จ.อุทัยธานี และจังหวัดใกล้เคียง ต่างออกปากว่าติดลมบนไปแล้วและหายาก




หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ

อัตโนประวัติ เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า ตี๋ แซ่ตั้ง เกิดที่ ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2455 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน บิดา-มารดา ชื่อนายก้าง และนางเหล็ง แซ่ตั้ง ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ช่วงวัยเยาว์ เรียนหนังสือที่โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ จ.อุทัยธานี จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3

หลังจากนั้น เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2476 ที่พัทธสีมาวัดธรรมโฆษก (โรงโค) มีพระสุนทรมุณี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณโสภโณ มีความหมายว่า ผู้มีจิตอันงดงาม

จากนั้น จำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก

ต่อมาเมื่อเกิดไฟไหม้ตลาดอุทัยธานีครั้งใหญ่ ได้ไปอยู่กับหลวงพ่อพูนที่วัดหนองตางู เป็นเวลา 2 พรรษา

ศึกษาวิทยาคม จนกระทั่งหลวงพ่อพูนมรณภาพลงในปี พ.ศ.2480 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษกอีกครั้ง

ในปี พ.ศ.2497 ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวงราชาวาส

พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัและได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระราชอุทัยกวี (พุฒ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี

พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูอุทัยธรรมกิจ

นอกจากได้รับการถ่ายทอดการฝึกจิตวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งวิทยาคมด้านอื่น จากหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู จ.อุทัยธานี

ยังได้ศึกษาจากตำราสมุดข่อยโบราณของหลวงพ่อแป้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส เกี่ยวกับยันต์เทพรัญจวน เป็นยันต์เดียวกับที่จารลงในตะกรุดโทน ซึ่งหลวงพ่อป๊อก อดีตเจ้าอาวาสวัดอุโปสถารามใช้อยู่เป็นประจำ

ต่อมาจึงได้ให้ช่างหลี เป็นช่างตัดผมในตลาดอุทัยธานี สักยันต์เทพรัญจวนที่ตัวของท่านที่อกและหลังเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่อแป้น และเห็นว่าเป็นยันต์โบราณที่ใช้สืบทอดกันมา

ท่านยังได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระราชอุทัยกวี หรือท่านเจ้าคุณพุฒ วัดทุ่งแก้ว

ด้วยความสมถะและถือสันโดษมาตลอดระยะเวลาในชีวิตสมณเพศ ชอบศึกษาหาความรู้และอยู่อย่างเงียบๆ มีวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย ยึดมั่นในศีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมสะสมกันในวงการพระเครื่อง

แต่ก็ยึดคำโบราณที่ว่า “ฆ้องดังเองไม่มีคนตี เรียกว่า ฆ้องอัปรีย์ ฆ้องที่ดีต้องมีคนตีถึงจะดัง”

วัตถุมงคลไม่ว่าจะเป็นเสือพุทธาคม ตะกรุดเทพรัญจวน เหรียญและรูปหล่อ สร้างขึ้นมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบการปลุกเสกเดี่ยวและใช้เวลายาวนานตลอดไตรมาส หรือ 3 เดือนเป็นส่วนใหญ่ จึงบังเกิดความเข้มขลังในพุทธคุณ จนเป็นที่เล่าลือโจษขานกันมากมาย

วันที่ 1 มีนาคม 2546 เวลา 11.57 น. ละสังขารลงด้วยอาการสงบ

สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71

ปัจจุบัน สรีรสังขารนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วโปร่งใส ที่วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี •




เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย ที่ระลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทรงหล่อพระประธาน

เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย
ที่ระลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทรงหล่อพระประธาน

ที่มา - คอลัมน์ โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 ตุลาคม 2565 วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2565


“พระกรุกันทรวิชัย” เป็นพระกรุเนื้อดินเผา ขุดพบบริเวณโคกดอนพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ขุดพบรวม 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยปาลวะหรือคุปตะตอนปลาย ตรงกับสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ สมัยอาณาจักรทวารวดีกำลังรุ่งเรือง บริเวณที่ขุดพบพระมีหลักฐานทางศิลปะโบราณวัตถุ บ่งชี้ว่าเคยเจริญรุ่งเรืองเป็นชุมชนมาก่อน ชื่อเมืองคันธารราษฎร์

สำหรับพระกรุกันทรวิชัย องค์พระประทับนั่งในลักษณะแบบสมาธิเพชร พุทธศิลป์สวยงามมาก มีคุณค่าทางศิลปะอย่างสูงยิ่ง ฝีมือช่างประณีตเป็นพิเศษ พระพักตร์อิ่มเอิบบริสุทธิ์ แสดงถึงความหลุดพ้น ประทับบนดอกบัวหงาย อันหมายถึงปรัชญาอันเป็นญาณนำไปสู่นิพพาน

ส่วนเรือนแก้วด้านหลังองค์พระ แสดงถึงรูปคลื่นกิเลสตัณหาและไฟราคะ อันเป็นวัฏฏะของการเวียนว่ายตายเกิด




เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย (หน้า)

นับแต่การขุดพบพระกรุกันทรวิชัยในครั้งนั้น ด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงาม พระพิมพ์นี้ได้กลายเป็นพุทธศิลป์เอกลักษณ์ประจำถิ่นของมหาสารคาม

ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จัดสร้างพระพุทธรูปพุทธศิลป์พระกันทรวิชัย ครั้งแรกในปี พ.ศ.2524 โดยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคามในปัจจุบัน)

นายอาคม วรจินดา ผอ.สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ขณะนั้น เป็นหัวเรือใหญ่ในการออกแบบและปั้นหุ่น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประติมากรรม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองมหาสารคาม




เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย (หลัง)

เป็นพิธีการสร้างพระพุทธรูปที่ยิ่งใหญ่มาก เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททองหล่อ ณ พลับพลาพิธีข้างสนามกีฬามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คือ ฝั่งด้านโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” สร้างจากเนื้อโลหะสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 82 นิ้ว พร้อมกับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร ไว้ ณ ผ้าทิพย์ด้านหน้าฐานพระพุทธรูป

ปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานในหอพระ บริเวณหน้าสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




พระพุทธกันทรวิชัย

ครั้งนั้นยังได้มีการจำลองพระพุทธรูปกันทรวิชัย ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว จำนวน 99 องค์ พระพุทธกันทรวิชัยรุ่นนี้ จึงนับเป็นรุ่นแรก นับแต่นั้นมาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ไม่ว่าจะเป็นวัด หรือหน่วยงานต่างๆ ได้มีการจัดสร้างพระพุทธกันทรวิชัย ออกมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับรูปแบบพระประธาน พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก ได้ประยุกต์จากต้นแบบพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบ ณ บ้านโนนเมือง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พุทธศิลปะสมัยทวารวดี หรือสมัยปาลวะของอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและปรัชญาสูงส่ง

ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก นั่งปรกทองที่จะใช้หล่อองค์พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก วันที่ 19 เมษายน 2524 มีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมพิธี โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) เป็นประธานจุดเทียนชัย

ภายในพิธีนี้ ยังได้นำพระพุทธกันทรวิชัย จำลองเป็นพระบูชาและเหรียญที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธาน เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ด้วย

สําหรับ “เหรียญที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธาน พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” จำนวนการสร้างประมาณ 40,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญจอบ ความสูง 4 เซนติเมตรเศษ ฐานกว้าง 2.5 เซนติเมตร เป็นเหรียญทองแดงรมดำไม่มีเนื้ออื่น

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธกันทรวิชัย ประทับนั่งบนดอกบัวหงาย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว

ด้านหลังเป็นภาพสถูปพระบรมสารีริกธาตุ มีตัวอักษรเขียนว่า “ที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธานกันทรวิชัย” โค้งไปตามด้านขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวา ส่วนด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า “ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มศว.มหาสารคาม 20 เมษายน 2524” เป็นชื่อย่อของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตมหาสารคาม และวันเดือนปีที่สร้าง

เหรียญที่ระลึกเกือบทั้งหมดตอกโค้ดหมายเลข 9 บริเวณภาพสถูปด้านหลังเหรียญ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตอกโค้ด

จากการสอบถามคณะกรรมการดำเนินงานในครั้งนั้น ทราบว่า ได้มีการระดมกำลังตอกโค้ดกันทั้งคืน แต่ไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม ได้นำเหรียญเข้าพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมด

หลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก เปิดให้เช่าบูชาเหรียญละ 20 บาท

นับเป็นเหรียญสุดยอดวัตถุมงคลของเมืองมหาสารคาม ในวงการพระเครื่อง เรียกชื่อเหรียญนี้ว่า “เหรียญ มศว 24”

ด้วยความงดงามของรูปเหรียญ และพิธีใหญ่ จึงเป็นเหรียญยอดนิยม ที่ติดรายการประกวดพระของภาคอีสานมาโดยตลอด

เหรียญที่ระลึกในการเสด็จทรงหล่อพระประธาน “พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” จึงเป็นสุดยอดวัตถุมงคลอีกรุ่น ที่มีความน่าสนใจยิ่ง •
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 116.0.0.0 Chrome 116.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #172 เมื่อ: 08 กันยายน 2566 14:01:15 »


เหรียญหลวงพ่อเพชร อินทโชติ

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2470 หลวงพ่อเพชร อินทโชติ
วัดวชิรประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี


ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2565
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ -    วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2565


“พระครูประกาศิตธรรมคุณ” หรือ “หลวงพ่อเพชร อินทโชติ” อดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอาวาสรูปแรกวัดวชิรประดิษฐ์ บ้านเฉงอะ ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีเมตตาธรรมสูง มักน้อย และถือสันโดษ

วัตถุมงคลได้รับความนิยมแทบทุกชนิด เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหา นักนิยมสะสมพระทั่วไป และหาชมของแท้ ยังหาได้ยากยิ่ง

โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก จัดสร้างในปี พ.ศ.2470 จำนวนไม่ได้บันทึกไว้ แต่มีจำนวนน้อยมาก

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกระบอก รูปไข่ มีหูห่วง เนื้ออัลปาก้า

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนนั่งพับเพียบบนผ้าอาสนะ มือขวาวางบนตัก มีดอกไม้ 4 กลีบ อยู่ใต้ฐาน ด้านบนเขียนคำว่า “ให้ไว้เป็นที่ระลึก” ด้านล่างจารึกข้อความว่า “พระครูประกาศิตธรรมคุณ”

ด้านหลังเรียบ มีทั้งแบบจารอักขระ และไม่มีจาร

จัดอยู่ในทำเนียบเหรียญหลักของพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมของปักษ์ใต้ 




หลวงพ่อเพชร อินทโชติ มีนามเดิมว่า เพชร แซ่ตั้น (ภายหลังมีพระราชบัญญัตินามสกุล ท่านใช้นามสกุลว่า ยี่ขาว) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปี ฉลู พุทธศักราช 2395 (ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ที่บ้านประตูไชย เหนือ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

บิดา-มารดาชื่อ นายขาวและนางกิมล้วน แซ่ตั้น

ครั้นอายุ 8 ขวบ บิดามารดานำไปฝากศึกษาเล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของท่านพระครูการาม (จู) วัดมเหยงค์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

จนอายุ 13 ปี จึงลาอาจารย์ออกจากวัดมเหยงค์ ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพระศิริธรรมบริรักษ์ (ขั้น) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

ในขณะที่อาศัยอยู่กับพระศิริธรรมบริรักษ์ ช่วยกิจการหลายอย่าง แต่ภารกิจที่สำคัญคือ ครั้งหนึ่งเกิดจีนฮ่อยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของไทยตอนใต้ ท่านเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าว จึงได้ส่งท่านพร้อมพรรคพวกจำนวนหนึ่งไปปราบจีนฮ่อที่มายึดเมืองไทรบุรี จนกระทั่งได้รับชัยชนะ จีนฮ่อแตกหนีไป

กระทั่งอายุ 30 ปี บิดา-มารดาถึงแก่กรรม หลังจากออกจากบ้านพระศิริธรรมบริรักษ์แล้ว ได้ประกอบอาชีพส่วนตัวอยู่ที่บ้านของตน ในระหว่างนี้เองท่านได้ถือโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับท่านอาจารย์ ในด้านการอยู่ยงคงกระพันและอื่นๆ

ครั้นเมื่ออายุท่านได้ 42 ปี เกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้าน ตัดสินใจออกเดินทางจากบ้าน เพื่อไปเยี่ยมน้องชาย ซึ่งประกอบอาชีพอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เดินทางมาได้เพียงแค่ถึงบ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ก็เกิดเจ็บป่วยลงอย่างกะทันหัน ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ได้เข้าไปขอพักอาศัยและรักษาตัวอยู่กับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทรจนกระทั่งหายป่วยเป็นปกติดี

เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้เปลี่ยนใจขอบรรพชาอุปสมบทที่วัดกลาง บ้านดอน มีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกากล่อม วัดโพธิ์ไทรงาม (หรือวัดโพธาวาส ในปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร บ้านดอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า อินทโชติ ซึ่งแปลว่า ผู้รุ่งเรืองดุจพระอินทร์

ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่กับพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร เป็นเวลาถึง 2 พรรษา

พ.ศ.2442 ชาวบ้านเฉงอะเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติ ได้พากันนิมนต์ให้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดวชิรประดิษฐ์ (ขณะนั้นเรียกว่า วัดดอนตะเคียน)

ต่อมาจึงได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้วัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสและนิยมยกย่องของชาวบ้านเป็นอันมาก

พ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะเป็นวัดตามกฎหมาย โดยมีชื่อว่า “วัดวชิรประดิษฐ์ ซึ่งหมายความว่า วัดที่ท่านหลวงพ่อเพชรเป็นผู้สร้างขึ้น”

ดำเนินการจัดการขอวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา และยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ และอุโบสถก็ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยในปีเดียวกันนี้

พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะแขวงกาญจนดิษฐ์

พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูประกาศิตธรรมคุณ

เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรและพรหมวิหารธรรม มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาชอบช่วยเหลือแก่ประชาชนทั่วไป

ในช่วงบั้นปลายชีวิต ด้วยเหตุที่ชราภาพลงและมีอาการอาพาธเป็นประจำ จึงมรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2480 สิริรวมอายุ 85 ปี พรรษา 42

คณะศิษยานุศิษย์จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลศพเป็นเวลา 3 วัน ก่อนเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลตามประเพณีและได้จัดสวดพระอภิธรรมทุกวันธรรมสวนะ

จากนั้นได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2481 •
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #173 เมื่อ: 20 กันยายน 2566 15:04:14 »


เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก พระเกจิ ‘หลวงพ่อคล้อย’ วัดถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2565
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2565


“หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม” หรือที่ชาวบ้านว่า “พ่อท่านคล้อย” วัดถ้ำเขาเงิน ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการกล่าวขาน ชาวชุมพรให้ความเลื่อมใสศรัทธา และรู้จักชื่อเสียงเป็นอย่างดี

เกียรติคุณความแก่กล้าในวิทยาคม ยังได้รับการกล่าวขานจนถึงปัจจุบัน พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ปลุกเสกไว้ ล้วนเป็นที่ปรารถนา หลายรุ่นได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่างมาก อาทิ

พระกำแพงนิ้ว พิมพ์ใหญ่เนื้อว่าน ปี 2511 พระสีวลี รุ่นไตรมาส เนื้อเกสร ปี 2511 พระปิดตามหาลาภองค์น้อย เนื้อผงเกสร ปี 2533 พระสมเด็จขาโต๊ะ รุ่นเสาร์ห้า เนื้อผงผสมว่าน ปี 2536 พระปิดตาไม้แกะ ก้นอุดผงใต้ฐาน ปี 2537 พระปิดตามหาโภคทรัพย์ เสาร์ห้า เนื้อผงผสมว่าน ฝังตะกรุดทองแดง ปี 2536 เป็นต้น

โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2522” ซึ่งเป็นเหรียญยอดนิยมในปัจจุบัน

จัดสร้างในวาระครบ 60 ปี มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟและเนื้อนวโลหะ

เหรียญหลวงพ่อคล้อย (หน้า) ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “พระครูใบฎีกาคล้อย ฐานธัมโม”

ด้านหลังตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ขอบด้านล่าง เขียนว่า “วัดถ้ำเขาเงิน ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร ครบ 60 ปี”

เนื่องจากเป็นที่ต้องการในแวดวงพระเครื่องอย่างมาก จึงถูกจัดวางให้เป็นอันดับต้น เป็นเหรียญที่มีค่านิยมและราคาเช่าสูง

หลวงพ่อคล้อย เป็นชาวหลังสวนโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า คล้อย ทองเสมียน เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2463 ที่บ้านปากลา ต.ขันเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร บิดา-มารดาชื่อ นายพุ่ม และนางแจ้ม ทองเสมียน มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน

ในวัยเยาว์เป็นเด็กที่อยู่ใกล้ชิดวัดใกล้ชิดพระมาโดยตลอด เมื่อจบการศึกษาชั้น ป.4 ได้ไปศึกษาเรียนนอโม และอักขระวิธีจากพระอาจารย์ชุบ สุวณฺโณ วัดปากสระอยู่นานหลายปี

ต่อมาพระธรรมจารีย์มุนีวงศาจารย์ (จันทร์ โกสโล) วัดขันเงิน อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร มาทำธุระที่วัดปากสระ เห็นลักษณะท่าทางดี ขยันศึกษาทางธรรม จึงชวนให้ไปอยู่วัดขันเงิน

ปรนนิบัติอยู่กว่า 10 ปี จึงตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดขันเงิน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2504 มีพระธรรมจารีย์มุนีวงศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ซุ่ม ติกขปัญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “ฐานธัมโม”

มุ่งมั่นในด้านปฏิบัติวิปัสสนาและสนใจศึกษาพระเวทวิทยาคม หากรู้ว่ามีพระอาจารย์ที่ไหนเก่งๆ จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อขอเรียนสรรพวิชาต่างๆ นอกจากศึกษานอโมและอักขระวิธีจากพระอาจารย์ชุบแล้ว ยังได้ศึกษาวิชาจากพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อหลายรูป อาทิ พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา หลวงพ่อคง สิริมโต วัดบ้านสวน พระอาจารย์หมุน วัดเขาแดง

จากนั้นได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแดง ติสโส วัดแหลมสอ เรียนวิชาการประสานกระดูกกับพระครูอาทรธรรมวัตร วัดปากสระ

เมื่อมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำเงิน ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรับตำราของหลวงพ่อแดง พุทโธ อดีตเจ้าอาวาสที่เป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมยุคสมัยกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัย มีชื่อเสียงทางด้านการเป่าแผ่นทองซึมหายไปในหน้าผากหรือตามผิวหนัง ลูกศิษย์ต่างเชื่อมั่นและศรัทธาไปหาให้ทำพิธีให้จำนวนมาก

ด้วยความโดดเด่นในเรื่องนี้เอง ศรัทธาสาธุชนได้หลั่งไหลเข้าสู่วัดถ้ำเขาเงินมิได้ขาด ทำให้มีปัจจัยมาสร้างอุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ ตึกฐานธัมโม โรงพยาบาลหลังสวน สำเร็จลุล่วงสมความประสงค์ของท่าน





หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม

นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแล้ว ยังเป็นพระนักพัฒนาที่สร้างคุณูปการแก่ชุมชนสังคมและสร้างความเจริญให้กับวัดและชุมชนมากมาย สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานต่างๆ ภายในวัดมากมาย จนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ และยังมีสาธารณประโยชน์ต่างๆ อีกหลายอย่างที่ตั้งใจจะสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์แก่สาธุชนและประชาชนทั่วไป

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงจุดเริ่มต้น ต้องมีที่สิ้นสุดเป็นปกติธรรมดาของโลกมนุษย์

หลังจากงานบูชาครูประจำปี 2539 เป็นต้นมา สุขภาพของท่านได้เสื่อมถอยลงตามลำดับด้วยโรคชรา

จวบจนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2539 จึงละสังขารลงอย่างสงบ •





เหรียญรูปเหมือนหลวงรุ่น 2 หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก พระเกจิชื่อดังมหาสารคาม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2565


หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ” หรือ “พระครูสุนทรสาธุกิจ” วัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าเรืองวิทยาคม มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วภาคอีสาน

วัตถุมงคลในห้วงที่ยังมีชีวิต จัดสร้างออกมาเพียงไม่กี่รุ่น แต่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ซุน”

จัดสร้างรุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2500 ราคาเช่าหาบูชาสูงแตะถึงหลักหมื่นแล้ว

ต่อมา จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน รุ่น 2 สร้างปี พ.ศ.2502 ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้เหรียญรุ่นแรก

สำหรับเหรียญรุ่นปี พ.ศ.2502 คณะศิษย์บ้านเสือโก้กและบ้านสนาม ร่วมจัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานฉลองอายุครบรอบ 74 ปี ที่ระลึกผู้ที่มาร่วมงานได้เก็บไว้บูชา

ลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงผิวไฟ จำนวนสร้าง 3,000 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “พระครูสุนทรสาธุกิจ” ด้านล่างสุดเขียนว่า “๒๕๐๒” เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ด้านหลัง มีลักษณะเรียบ ไม่มีขอบ แกะรูปอักขระยันต์ อ่านว่า “มะ อะ อุ นะ จะ โล สะ นะ” เป็นคาถาตั้งธาตุ

สำหรับเหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ซุนประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลานานนับเดือน เป็นที่โจษขานพุทธคุณรอบด้าน

ครั้นเมื่อถึงวันงานมุทิตาสักการะ ก็นำมามอบให้ผู้ที่มาร่วมงานทุกคน รวมทั้งผู้ที่บริจาคทำบุญก่อสร้างเสนาสนะภายในวัด

จัดเป็นเหรียญดังอีกรุ่นที่ค่อนข้างหายาก และกลายเป็นเหรียญยอดนิยม

เกิดในสกุลประสงคุณ เมื่อปี พ.ศ.2429 ที่บ้านเปลือย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด





หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ

ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป

ต่อมาครอบครัวของหลวงปู่ได้อพยพย้ายที่ทำมาหากินมาอยู่ที่บ้านเสือโก้ก ในช่วงวัยเยาว์ได้ช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง ยามว่างจากทำไร่ทำนา จะคอยต้อนวัวออกไปเลี้ยงกลางทุ่งนา

เมื่ออายุได้ 18 ปี ในวันหนึ่ง ขณะที่กำลังเลี้ยงวัวควายตามปกติ ปรากฏว่ากระดิ่งแขวนคอวัวควายหล่นหาย จึงเกิดความกลัวว่าบิดาจะลงโทษ ประกอบกับเป็นคนใฝ่รู้และมีใจเอนเอียงเข้าหาพระธรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ขอร้องบิดาของเพื่อนคนหนึ่ง ให้นำไปบรรพชาที่วัดบ้านเสือโก้ก เพื่อหนีความผิด

ครั้นบิดา-มารดาทราบว่าบุตรชายได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์เป็นที่เรียบร้อย ก็มิได้คัดค้านหรือตำหนิแต่อย่างใด อีกทั้งได้ร่วมอนุโมทนาบุญด้วย

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระอธิการสา เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความขยันขันแข็ง

ด้วยความเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย วัตรปฏิบัติสวดมนต์เช้าเย็นไม่เคยขาด หลังจากฉันภัตตาหารเพล ก็จะนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานภายในกุฏิ

นอกจากนี้ หลังออกพรรษาทุกปี ท่านจะออกเดินธุดงควัตรไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นตามป่าเขาลำเนาไพรในภาคอีสาน

รวมทั้งยังได้ไปศึกษาวิทยาคมจากสมเด็จลุน พระเกจิชื่อดังจากประเทศลาว ในด้านอักขระโบราณ ทำให้มีความรู้สามารถเขียนอักษรลาว-ขอม และอักษรไทยอย่างแตกฉาน

ในเวลาต่อมา ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรมและประพรมน้ำพุทธมนต์ และปรารถนาวัตถุมงคลตะกรุดโทน และตะกรุดคู่ที่เข้มขลังอย่างล้นหลาม

ยุคสมัยนั้น ราคาเช่าวัตถุมงคลตะกรุดหลวงปู่ซุน 1 ดอก เท่ากับทองคำหนักหนึ่งบาท

อย่างไรก็ดี มักจะพร่ำสอนญาติโยมอยู่ตลอดเวลาว่า “อย่าได้ประมาท และอย่าเบียดเบียนกันแล้วชีวิตจะพานพบแต่สิ่งดีงาม”

นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักการศึกษา ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเสือโก้ก ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทราบดีว่าการบวชเรียนเป็นหนทางหนึ่งของคนยากคนจนชาวอีสาน

ท่านรับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบ้านเสือโก้ก

พระภิกษุ-สามเณรที่เรียนกับท่านต้องเรียนหนักมาก บางวันเรียนไปจนถึง 3 ทุ่ม ทำให้สำนักเรียนบ้านเสือโก้กยุคนั้น มีชื่อเสียงโด่งดัง

แต่ละปีจะมีภิกษุ-สามเณรมาจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย จำนวน 100 รูป

พ.ศ.2461 อยู่จำพรรษาที่วัดเสือโก้ก จนถึงปี พ.ศ.2493 ท่านได้มาทำพิธีสรงน้ำที่ซากกู่เทวสถานสมัยขอม ภายในป่าโคกบ้านสนาม สถานที่ตั้งวัดกู่สุนทรารามปัจจุบัน

ชาวบ้านลือว่าในป่าโคกแห่งนี้ ผีดุมาก ไม่มีใครกล้าบุกรุกเข้าไป

มีความตั้งใจสร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงขอความร่วมมือจากชาวบ้านในการสร้างวัด

ก่อนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2500 วัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม”

นับแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ซุนอยู่จำพรรษาที่วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม มาโดยตลอด

บั้นปลายชีวิตของหลวงปู่ซุน สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง อาพาธบ่อยครั้ง

สุดท้ายมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2504 สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56

แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่นามยังอยู่ในศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวเมืองสารคามไปตราบนานเท่านาน •

 
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #174 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2566 16:29:16 »



บน - เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นแรก   ล่าง - เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นผูกพัทธสีมา

เหรียญรุ่นแรก-ผูกพัทธสีมา หลวงพ่อช่อ วัดโคกเกตุ พระเกจิชื่อก้องอัมพวา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2 - 8 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2565


หลวงพ่อช่อ ปัญญาทีโป” วัดโคกเกตุบุญญศิริ ต.ปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังไว้หลายชนิด และโด่งดังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวอัมพวา ล้วนนับถือเลื่อมใส

วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นแรก




เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นแรก

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2513 เพื่อเป็นที่ระลึกผู้ที่บริจาคสร้างเสนาสนะ มีเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองและเหรียญรมดำ

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสังวรานุโยค วัดโคกเกตุ”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ลาภผลพูนทวี ๒๕๑๓”

นอกจากนี้ ยังมีอีกเหรียญที่โด่งดังไม่แพ้กัน คือ เหรียญรุ่นผูกพัทธสีมา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519 ที่ระลึกผู้ที่บริจาคในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด สร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างรวมกันราว 20,000 เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อช่อ รุ่นผูกพัทธสีมา  ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม มีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสังวรานุโยค”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ด้านบนของเหรียญ มีอักขระยันต์ใต้ยันต์ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดโคกเกตุ ๒๕๑๙”

กล่าวได้ว่า พระเครื่องล้วนมีประสบการณ์ไม่ธรรมดา ได้รับความนิยมอย่างสูง




หลวงพ่อช่อ ปัญญาทีโป

มีนามเดิมว่า ช่อ มุสสะ พื้นเพเป็นชาวเมืองเพชร เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2460 ที่บ้าน ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี

พ.ศ.2482 ท่านมีอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดกุฏิบางเค็ม ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี วันที่ 28 เมษายน 2482 มีหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์หงส์ วัดกุฏิบางเค็ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อชื่น วัดโพธิ์บางเค็ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปัญญาทีโป

อยู่จำพรรษาที่วัดกุฏิเค็ม เพื่อศึกษากัมมัฏฐานและพุทธาคมกับหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม จากนั้น จึงเดินทางไปศึกษาวิชากับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

พ.ศ.2495 พระอธิการวงศ์ นวลจันทร์ เจ้าอาวาสวัดโคกเกตุ มรณภาพลง วัดไม่สามารถหาเจ้าอาวาสมาดำรงตำแหน่งแทนได้ เนื่องด้วยในสมัยนั้นวัดโคกเกตุเป็นวัดเล็ก ที่มีอุโบสถสร้างด้วยไม้ผุพังและมีน้ำท่วมทุกปี

พระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่จึงมีบัญชาแต่งตั้งหลวงพ่อช่อ ให้ไปครองวัดโคกเกตุ

วัดโคกเกตุบุญญศิริ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ใน ต.ปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.2440 ภายในวัดมีต้นเกดใหญ่อยู่บนโคก จึงชื่อว่า “วัดโคกเกตุ” โดยพระอธิการบุญมี สายทอง เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างและได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นวัดในปีเดียวกัน

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและผูกพัทธสีมาอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2445 อุโบสถได้ก่อสร้างมาแล้ว 3 หลัง ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด ต่อมาได้ทรุดโทรมไป จึงสร้างใหม่ในสมัยพระอธิการวงศ์ นวลจันทร์ เป็นเจ้าอาวาส และขอวิสุงคามสีมา ผูกพัทธสีมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2478

อุโบสถหลังที่ 3 สมัยหลวงพ่อช่อ เมื่อปี พ.ศ.2519 วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา โดยเฉพาะในสมัยพระครูใบฎีกาช่อ หรือพระครูสังวรานุโยค

สิ่งสำคัญได้แก่ พระประธานในอุโบสถเป็นพระปูนปั้นปางมารวิชัยคู่มากับวัด กุฏิสงฆ์ทรงไทย สำนักชีเกตุสันตินารี ซึ่งหลวงพ่อช่อเป็นผู้บริจาคปัจจัยส่วนตัว ซื้อที่ดินให้ วัดนี้พระยังพายเรือบิณฑบาตอยู่ เพราะหน้าวัดติดกับคลองขุดตากล่อม จึงมีพระบิณฑบาตทั้งทางบกและทางน้ำ

เมื่อหลวงพ่อช่อได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัด ซึ่งท่านขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่ง ท่านจึงพัฒนาวัด โดยมีคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาช่วยกันอีกแรงหนึ่ง

หลวงพ่อช่อปรับพื้นดินบริเวณวัดที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังทุกปี ให้เป็นที่สูงพ้นน้ำ และเริ่มก่อสร้างอุโบสถ 4 มุก 2 ชั้น ในปี พ.ศ.2519 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้นกว่า 3 ล้านบาทเศษ

โดยเงินที่นำมาจัดสร้างทุกบาททุกสตางค์ ไม่เคยเรี่ยไร มาจากความศรัทธาของพระพุทธศาสนิกชนทั้งสิ้น

นอกจากจะพัฒนาวัดโคกเกตุจนเจริญรุ่งเรืองแล้ว ยังสร้างวัดบ้านกล้วย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ควบคู่ไปด้วย

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูสังวรานุโยค

ปกครองวัดเรื่อยมา จนถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551

สิริอายุ 91 ปี พรรษา 69 •
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #175 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2566 15:03:28 »



เหรียญนิยม หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันพฤหัสที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2565


“พระครูนวการโฆษิต” หรือ “หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก” วัดหาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองอุตรดิตถ์ จนได้รับฉายา “เทพเจ้าชาวหาดสองแคว”

ด้วยคณะศิษย์ต่างมีความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะอย่างที่สุด กระทั่งคณะกรรมการวัดพร้อมใจขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลหลายครั้งแต่ก็บอกว่ายังไม่ถึงเวลา ในที่สุด เห็นในความจริงใจและศรัทธาจึงได้อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกขึ้นในปี พ.ศ.2491 มอบเป็นที่ระลึกแก่คณะศิษย์ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคสิ่งของช่วยเหลืองานวัดเป็นประจำ

พ.ศ.2520 เป็นปีที่อายุครบ 80 ปี พรรษา 58 คณะศิษย์ขออนุญาตสร้างวัตถุมงคล เป็นที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิตอุโบสถ ซึ่งการสร้างวัตถุรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ 7 รุ่นสุดท้าย

ประกอบด้วยเหรียญทองคำ จำนวน 10 เหรียญ เหรียญเงิน จำนวน 1,000 เหรียญ เหรียญทองแดงกะไหล่ทอง จำนวน 2,000 เหรียญ เหรียญทองแดงรมดำ จำนวน 10,000 เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อจันทร์ (หน้า)  ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านบน เขียนคำว่า “หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก” ด้านล่าง เขียนคำว่า “อายุ ๘๐ ปี”

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์อุณาโลม มีอักขระด้านข้าง 4 ตัว คือ นะ ชา ลี ติ ยันต์น้ำ 3 บ่อ มะ อะ อุ อยู่ด้านล่างยันต์อุณาโลมขอเหรียญเขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิตพระอุโบสถวัดหาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ๔ มี.ค.๒๕๒๐”

ปัจจุบัน เริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ





หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์

มีนามเดิม จันทร์ ตรีพุฒ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2440 ตรงกับวันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ที่หมู่บ้านหาดสองแคว ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ บิดา-มารดาชื่อ นายกิและนางบัว ตรีพุฒ

ในวัยเด็ก เป็นคนว่านอนสอนง่าย ไม่เคยสร้างปัญหาให้บิดามารดา มีความเมตตาปรานีต่อเพื่อนและสัตว์ทั่วไป ถึงกับในบางครั้งครอบครัวต้องอดอาหาร เพราะแอบนำปลาที่บิดาจับไว้เป็นอาหาร นำไปปล่อยลงแม่น้ำน่านด้วยเพราะความสงสาร

พร้อมกับใช้เวลาว่างส่วนใหญ่เข้าวัดหัดเรียนเขียนอ่านท่องบทสวดมนต์กับพระภิกษุในวัดจนเย็น

สมัยก่อนไม่มีการศึกษาภาคบังคับเช่นปัจจุบัน การเรียนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตั้งใจที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองกับพระสงฆ์ในวัด แต่ด้วยเป็นผู้มีความสนใจในหนังสือไทยและตำราขอมตั้งแต่ยังเล็ก ว่ากันว่าสามารถสวดมนต์ร่วมกับพระได้อย่างคล่องแคล่ว

บิดามารดาเห็นถึงความตั้งใจ จึงนำเข้าพิธีบรรพชาเมื่อปี พ.ศ.2453 ขณะอายุ 13 ปี

เป็นที่กล่าวขานกันว่า สามารถท่องบทสวดปาติโมกข์ และพระคาถาชินบัญชรอย่างคล่องแคล่วแตกฉาน

เมื่ออายุครบบวช จึงอุปสมบท ณ วัดบ้านแก่งใต้ ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน เมื่อปี พ.ศ.2462 มีพระวิเชียรปัญญามุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัฌาย์, หลวงพ่อพุ่ม จันทสโร เจ้าอาวาสวัดคลึงคราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเมธาวรคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่งใต้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งบาลี สันสกฤต หาเวลาไปศึกษาและหัดเทศน์ธรรมกับหลวงพ่อพุ่มที่วัดคลึงคราช ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม กิตติศัพท์เป็นพระนักเทศน์มีชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์

พร้อมกับศึกษาวิทยาคมตำราภาษาขอม จากหลวงพ่อพุ่ม ร่วมกับหลวงพ่อทองคำ แห่งวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

ตามประวัติเล่ากันว่า หลวงพ่อพุ่ม และหลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม เคยร่วมเดินทางไปศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ส่วนหนึ่งศึกษาจากตำราภาษาขอมด้วย

มักกล่าวปรารภเสมอ ยามที่มีผู้ถามถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิทยาคม ว่า “ศึกษาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์”

กระทั่งท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหาดสองแคว

ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร ทั้งเกื้อกูลต่ออุบาสก-อุบาสิกา มายาวนาน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กุลบุตรทั้งหลายได้บรรพชาอุปสมบท เป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

จากวัตรปฏิบัติและเมตตาธรรม จึงเป็นที่เคารพนับถือ ประกอบกับเมื่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลและมีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดผลเป็นสุข ความเจริญ หรือแคล้วคลาดจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทำให้ชื่อเสียงอยู่ในทำเนียบของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูนวการโฆสิต

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น อาทิ เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2491 แจกแม่ครัว, เหรียญ พ.ศ.2504, เหรียญ พ.ศ.2516 รุ่นเสาร์ห้า, เหรียญ พ.ศ.2520 รุ่นแซยิด 80 ปี พร้อมวัตถุมงคลชนิดอื่น อาทิ ภาพถ่ายขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว ขนาดโปสการ์ด ล็อกเก็ต รูปหล่อจำลองขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว กิเลนทองนำโชคตัวผู้ตัวเมียรุ่นสอง พระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อเงิน พระสิวลี และแหนบติดกระเป๋า ฯลฯ

ตลอดชีวิตนำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาช่วยเหลือชาวบ้านและลูกศิษย์อย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นสงฆ์ที่รักสันโดษ ครองบรรพชิตอย่างเรียบง่าย และไม่เคยโอ้อวดตนเอง

มรณภาพอย่างสงบ ที่วัดหาดสองแคว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 เวลา 24.40 น. สิริอายุ 82 ปี พรรษา 60 •





เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร.

เหรียญปืนไขว้หลวงพ่อแดง
ที่ระลึก 30 ปี-รุ่น12 นายทหาร-ตำรวจ ‘จปร.’

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 ธันวาคม 2565
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อแดง รัตโต” หรือ “พระครูญาณวิลาศ” วัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ยอดพระเกจิที่มีชื่อเสียงไม่เพียงแต่ในเพชรบุรีเท่านั้น

สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ เป็นที่นิยมเสาะหากันแพร่หลาย

หลังสร้างเหรียญรุ่นแรก จนได้รับความนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปเหมือนอีกรุ่นที่ยอดฮิต ได้แก่ เหรียญรุ่นนายทหาร-ตำรวจ จปร. ปี พ.ศ.2513

สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 30 ปี ในการรับราชการของคณะนายทหาร-นายตำรวจ รุ่นที่ 12 (รุ่น 12 ธันวาคม 2483) นำโดย พล.ท.ฉลาด หิรัญศิริ ประธานรุ่น เป็นผู้ขออนุญาตจัดสร้าง จากนั้นจึงดำเนินการ โดยมีการตั้งชื่อรุ่นว่า “จปร.”

เพื่อนำรายได้ทั้งหมดจากการสั่งจองเหรียญครั้งนั้น สร้างอุโบสถวัด 12 ธันวาราม หรือวัดหัวลำภูทอง จ.สมุทรปราการ

หลวงพ่อแดงปลุกเสกนาน 3 เดือน ก่อนนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศในยุคนั้นหลายรูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต จำนวนการสร้างครั้งนั้นประมาณ 60,000 เหรียญ แบ่งพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ คือ เหรียญพิมพ์หนาและเหรียญพิมพ์บาง

วงการพระเครื่อง นิยมเรียกขานเหรียญรุ่นนี้ว่า “เหรียญปืนไขว้”

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ลักษณะเป็นเหรียญทรงรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้ามีรูปเหมือนหลวงพ่อแดงครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างรูปเหมือนหลวงพ่อแดง เขียนคำว่า “ที่ระลึกรับราชการครบ ๓๐ ปี” ตรงขอบเหรียญช่วงกลางฝั่งซ้ายและขวาเป็นรูปปืนไขว้ทั้ง 2 ฝั่ง

รอบเหรียญทางด้านบนจากซ้ายไปขวา เขียนคำว่า “พระครูญาณวิลาศ (แดง)” และขอบด้านล่างจากซ้ายไปขวา เขียนคำว่า “นายทหาร นายตำรวจ จปร. รุ่น ๑๒ ธันวาคม ๒๕๘๓”

ด้านหลังมีรูปยันต์ตรงบริเวณกึ่งกลางเหรียญ และมีเส้นลากยาวผ่านตรงยันต์ มีการตอกโค้ดคำว่า “แดง” โดยการนำลายมือของหลวงพ่อแดงไปแกะเป็นแม่พิมพ์ แล้วจึงทำการตอกโค้ด จากนั้น นำเหรียญออกให้เช่าบูชา ช่วงปลายปี พ.ศ.2512

ปัจจุบันค่อนข้างหายาก





หลวงพ่อแดง รัตโต
 
เกิดในสกุลอ้นแสง ที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2422

วัยเด็กช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ

ครั้นถึงวัยหนุ่ม พ่อแม่หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับพระอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี มีพระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า รัตโต

เคร่งครัดต่อพระวินัยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เป็นอย่างดี พระอาจารย์เปลี่ยนจึงเมตตสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิยาคมให้อย่างไม่ปิดบัง

เหตุนี้ทำให้มีความปีติเพลิดเพลินในการศึกษาวิชาความรู้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึกในรสพระธรรม ไม่มีความคิดลาสิกขาแต่อย่างใด จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีที่มีอาวุโสสูงสุด

กระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง จึงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 เป็นต้นมา และแม้จะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน

ไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิใดๆ แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ระหว่าง พ.ศ.2477-2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตาย สัตวแพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระบาดสัตว์ให้

จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ ปรากฏว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตาย

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ มหาสงครามเอเชียบูรพา เมืองเพชรบุรีมีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด

และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูญาณวิลาศ พร้อมรับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ

เป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด เพราะทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74

ก่อนสิ้นลม ได้ฝากฝังกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้ และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

พระปลัดบุญส่งรับปากและได้ทำตามประสงค์ไว้ทุกประการ

ทุกวันนี้ หลวงพ่อแดงยังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาไม่เสื่อมคลาย •
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #176 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2566 15:33:44 »


เหรียญหลวงพ่อจุ่น รุ่น 3

เหรียญหลวงพ่อจุ่น วัดโคกบำรุงราษฎร์ พระเกจิดำเนินสะดวก

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2565 - 5 มกราคม 2566
 เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2565


“หลวงพ่อจุ่น รตนลาโภ” หรือ “พระครูมงคลรัตนาภิรักษ์” วัดโคกบำรุงราษฎร์ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

นอกจากการปกครองพระ-เณร พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองแล้ว ยังช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน พร้อมสั่งสอนธรรมะ อบรมให้กระทำแต่ความดี

ด้านวิทยาคมถือเป็นอันดับต้นในพื้นที่ดำเนินสะดวก ยุคนั้นร่ำลือกันว่า เมื่อครั้งที่วัดนักบุญอันตน ดอนมดตะนอย จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นวัดคริสต์ สร้างเหรียญนักบุญอันตน ยังต้องให้เป็นผู้เสก

ด้านวัตถุมงคล หลายรุ่นล้วนแต่ได้รับความนิยม

โดยเฉพาะเหรียญรุ่น 3 พ.ศ.2514 ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เหรียญรุ่นแรก

ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์และงานทำบุญอายุครบ 72 ปี สร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงรมดำ ไม่ได้บันทึกว่าสร้างจำนวนเท่าใด

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกลม มีหูห่วง ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนเขียนว่า “พระครูมงคลรัตนภิรักษ์” ด้านล่างเขียนคำว่า “วัดโคกบำรุงราษฎร์”

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ มีภาษาไทยล้อมรอบขอบว่า “งานฉลองสมณศักดิ์ทำบุญอายุครบ ๖ รอบ ๒๕๑๔”

จัดเป็นวัตถุมงคลที่หายากและมีราคา ผู้ใดครอบครองมักจะหวงแหน





หลวงพ่อจุ่น รตนลาโภ เกิดในสกุลใบบน ที่บ้านวัดแก้ว ต.วัดแก้ว อ.บางแพ จ.ราชบุรี เมื่อวันพุธ เดือน 11 แรม 1 ค่ำ ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม 2442 บิดา-มารดาชื่อ นายทิมและนางลำใย ใบบน

ในสมัยเด็ก เรียนหนังสือกับพระอธิการแจ้ง วัดแก้ว จนอ่านได้ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอมตั้งแต่เด็ก ต่อมา ย้ายมาอยู่กับลุงและป้าที่ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก

อายุครบ 23 ปี ลุงกับป้าจัดบวชพระให้ ที่พัทธสีมาวัดโคกบำรุงราษฎร์ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ได้รับฉายาว่า รตนลาโภ โดยมีหลวงพ่อฮั้ว วัดกลางวังเย็น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการแจ้ง วัดโคกบำรุงราษฎร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ชม วัดกลางวังเย็น เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดโคกบำรุงราษฎร์นานถึง 10 พรรษา ต่อมาบิดาป่วย จึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแก้ว เป็นระยะเวลา 8 พรรษา เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดและดูแลบิดาจนสิ้นชีวิต

เมื่อจัดการงานศพเสร็จจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดโคกบำรุงราษฎร์ดังเดิม

พ.ศ.2486 พระอาจารย์เกิด อดีตเจ้าอาวาสลาสิกขาไป ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

วัดโคกบำรุงราษฎร์ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็กๆ ในหมู่บ้านโคกตานาค ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก เป็นที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันก่อสร้างขึ้น เมื่อแรกก่อตั้งมีกุฏิ 2 หลัง ชาวบ้านนิมนต์พระภิกษุมาจำพรรษา

ต่อมาในราวปี พ.ศ.2454 เมื่อหลวงพ่อรัตน์จำพรรษา ทำนุบำรุงและก่อสร้างวัดขึ้นมาเป็นหลักเป็นฐาน มีการสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิเพิ่มเติม และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2456

พ.ศ.2501 หลังจากที่หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติสมาคม มรณภาพลง จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่านัด

พ.ศ.2506 รับตำแหน่งพระครูชั้นประทวน

พ.ศ.2514 รับตำแหน่งพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูมงคลรัตนาภิรักษ์

เป็นพระเกจิที่มีวิทยาคมเข้มขลัง กระทั่งหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ยังยกย่องว่าเก่งกาจหาใครเทียบได้ยาก

นอกเหนือจากเรียนวิชาอาคมกับพระอธิการวัดแก้วแล้ว ยังร่ำเรียนวิชาจากพระอธิการแจ้ง พระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งมีชื่อด้านการทำน้ำมนต์และมหาอุด เรียนวิชาการทำตะกรุดโทน เสื้อยันต์ และผ้ายันต์จากพระวินัยธรกล่อม วัดดีบอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เรียนวิชาคงกระพันชาตรีจากหลวงพ่อพวง วัดเอียน อ.บางแพ จ.ราชบุรี

ยังมีเรื่องราววัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขาน คือ “ธงกันฝน” ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์การหยุดลมหยุดฝน ธงกันฝนถือว่ายอดนักแล หลายต่อหลายครั้งที่แสดงให้คนได้เห็นว่าลมฝนมาแรงๆ ก็ให้เอาธงมาเสก เพียงไม่นานลมฝนหยุดทันตา

มีเรื่องเล่าว่า ตอนที่สร้างอุโบสถหลังใหม่เอาธงขึ้นไปแขวน ฝนไม่ตกบริเวณนั้นเป็นปี จนชาวบ้านเริ่มจะเดือดร้อน ลูกศิษย์ต้องมาขอร้องให้เอาธงลง ฝนถึงได้ตกตามปกติ

ศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนที่สร้างเหรียญเพื่อหาเงินทำบุญ ได้เดินทางไปด้วย โดยทำหน้าที่ขับรถให้ท่านเวลาไปไหนมาไหนอยู่เป็นประจำ

มีอยู่วันหนึ่งไปที่ปราณบุรีเพื่อหาผ้าป่า ชาวไร่สับปะรดถามว่า เหรียญท่านแน่จริงหรือ ท่านจึงให้ศิษย์แขวนเหรียญเอาไว้ แล้วให้ชาวไร่สับปะรด ลองเอาปืนมายิง ปรากฏว่าปืนยิงไม่ออก จนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ต่างพากันมาขอเหรียญหล่อ แต่ก็ไม่ให้ใครเลยสักเหรียญ และเดินทางกลับวัดเสียดื้อๆ

ปรากฏว่าวันงานผ้าป่าที่วัดมีคณะผ้าป่า เดินทางมาจากปราณบุรีด้วยกันถึงสองคันรถบัส เมื่อมาถึงชาวบ้านปราณบุรีเหล่านั้น ก็ได้ช่วยกันถากหญ้าพัฒนาวัด และร่วมทำบุญ เพื่อจะขอเหรียญเอาไปบูชา

เป็นพระเถระที่ให้ความสำคัญของการศึกษา จะรับเลี้ยงเด็กกำพร้าและส่งให้เรียนหนังสือจนจบ มีหลายคนที่ได้ดิบได้ดี ส่วนที่มาบวชเป็นพระมีอีกหลายรูปได้เป็นเจ้าอาวาส

แม้กระทั่งหลวงพ่อพร เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็คือเด็กกำพร้าหนึ่งในจำนวนมากที่ส่งเสียให้เรียนหนังสือ

มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2515

สิริอายุ 73 ปี พรรษา 50




เหรียญรุ่นเสือเผ่น-ผู้ชนะ หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6 - 12 มกราคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2566


พระครูจันทสโรภาส” หรือ “หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร” อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เจ้าตำรับตะกรุดหนังเสืออันลือลั่น

เป็นศิษย์และยังมีศักดิ์เป็นหลานพระวิสุทธิรังษี (หลวงปู่เปลี่ยน) วัดใต้หรือวัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระเกจิชื่อดัง รวมทั้งเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อีกทั้งมีความสนิทสนมอย่างมากกับหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม

ว่ากันว่าเรียนวิชาทำตะกรุดหนังเสือมาจากสำนักเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีสหธรรมิกอีกหลายท่านที่พบกันในงานพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ เป็นวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมาก สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2520 จัดเป็นเครื่องรางยุคแรกที่จัดสร้างและทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง




เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม รุ่นเสือเผ่น

นอกจากตะกรุดหนังหน้าผากเสือ กล่าวได้ว่า เหรียญรุ่นเสือเผ่น ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519 จัดสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น ซึ่งเนื้อทองแดงนี้ ยังแบ่งออกเป็น เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยา และเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา แบบมีหูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทยเขียนคำว่า “พระครูจันทสโรภาส(เที่ยง)”

ด้านหลัง มีรูปพัดยศ และรูปเสือเผ่นใต้เสือมีเลขไทย “๒๕๑๙” มีอักขระภาษาไทยเขียนคำว่า “วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี”




เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม รุ่นผู้ชนะ

นอกจากนี้ ยังมีเหรียญรุ่นผู้ชนะ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2520 จัดสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดงลงยาสีต่างๆ โดยทุกเหรียญจะตอกโค้ดที่ใต้อาสนะ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว โดยสร้างขึ้น ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเที่ยง นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคต มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม อายุ ๙๐” มีการตอกโค้ดไว้ใต้รูปหลวงพ่อ

ด้านหลัง เป็นรูปยันต์สามตรงกลาง ด้านบนเขียนคำว่า “ผู้ชนะ” ด้านล่างเขียนคำว่า “กาญจนบุรี”

จัดเป็นวัตถุมงคลหายากในปัจจุบัน

 


หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร

มีนามเดิมว่า เที่ยง ท่านกเอี้ยง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2431 เป็นบุตรของนายเขียวและนางทองแคล้ว ท่านกเอี้ยง มีพี่น้องรวม 8 คน

ในวัยเด็ก มีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และรักความยุติธรรม เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร จึงเป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกัน ยกให้เป็นพี่ใหญ่

พ.ศ.2452 อายุ 21 ปีบริบูรณ์ ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการ กลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา

อายุ 24 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดบ้านถ้ำ อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง แล้วย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน

เนื่องจากในวัยเด็กมีโอกาสเล่าเรียนไม่มาก เพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้มีความแตกฉานอย่างมาก

หลังจากศึกษาพระปริยัติธรรม และพิธีกรรม จึงเริ่มหันมาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ ในฐานะที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เปลี่ยนเป็นพิเศษในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพุทธาคม จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก

ชาวบ้านทั่วไปมักกล่าวขวัญว่า “ใครแขวนวัตถุมงคลของท่าน แมลงวันไม่ได้กินเลือด” หมายความว่า คนคนนั้นหนังเหนียว แทงไม่เข้า ยิงไม่ออก

แม้กระทั่งหลวงปู่แย้ม พระเกจิอาจารย์ดังแห่งวัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ยังกล่าวยกย่องว่าเก่งกล้า โดยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง (อาจารย์หลวงปู่แย้ม) ซึ่งทั้งสองท่านต่างมีชื่อเสียงอย่างมากในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

เป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ภาษาที่ใช้สื่อสารก็เหมือนหลวงพ่อคูณเป็นภาษาไทยแท้ๆ ฟังไม่เพราะหู แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ญาติโยมที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่านจะได้รับความเมตตาช่วยเหลือในทุกๆ เรื่องด้วยดี

จากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าชอบกีฬาชกมวยอย่างมาก การละเล่นนิยมลิเกและหนังตะลุง เป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบท ชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย

จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดัง

หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร ลงมือสร้างอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2484 ค่อยสร้างอุโบสถตามกำลังที่มี โดยไม่มีการเรี่ยไร เพราะไม่ต้องการเป็นภาระของชาวบ้าน

ช่วงนั้นประเทศไทยยังตกอยู่ในระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองกาญจน์ได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างมาก ด้วยทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพหลายแห่ง ทำให้ทหารพันธมิตรนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพของญี่ปุ่น

เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ชาวบ้านก็ช่วยบริจาคทุนทรัพย์สร้างอุโบสถจนสำเร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2494

มรณภาพด้วยอาการสงบ เวลา 09.00 น. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 ที่วัดม่วงชุม สิริอายุ 92 ปี พรรษา 69  






พระท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี

ที่มา คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 มกราคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ.2566


พระโสภณสมาจาร” หรือ “หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ” อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) และอดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี

ได้ชื่อว่าเป็นศิษย์เอกใกล้ชิดและได้รับการสืบทอดวิทยาคมจาก “หลวงปู่ยิ้ม” เจ้าอาวาสรูปสำคัญของวัดหนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี อันเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีพุทธาคมสูง

ที่สำคัญ ยังได้เคยสั่งสอนศิษย์ให้เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในด้านไสยเวทในยุคต่อมาอีกหลายรูป

นอกจากหลวงปู่เหรียญ ยังมีหลวงปู่ดี วัดเหนือ, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า, หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี, หลวงพ่อหัง วัดเหนือ, หลวงพ่อดอกไม้ วัดดอนเจดีย์, หลวงพ่อเหมือน วัดกลางเหนือ เป็นต้น

สร้างวัตถุมงคลและเครื่อรางไว้มากมาย อาทิ ตะกรุด ลูกอม ลูกอมแผง แหวนพิรอด พระปิดตา ซึ่งสร้างตามแบบของหลวงปู่ยิ้ม แต่มีขนาดย่อมกว่า สันนิษฐานว่าได้สร้างมาเรื่อยๆ ตามแต่จะมีผู้เลื่อมใสศรัทธาขอและแจกเรื่อยมา

จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงบั้นปลายชีวิต บรรดาลูกศิษย์เห็นว่าวัตถุมงคลที่ได้รับแจกมามีประสบการณ์ ประกอบกับเห็นว่า หลวงปู่ชราภาพมากแล้ว จึงกราบขอให้จัดสร้างพระเครื่องวัตถุมงคล เพื่อไว้เป็นที่ระลึก

วัตถุมงคลทุกรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะ พระท่ากระดาน




พระท่ากระดาน หลวงปู่เหรียญ พ.ศ.2497

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 ลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว เล่ากันว่า วัดหนองบัว สมัยหลวงปู่เหรียญ เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น เนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ขณะที่รื้อซ่อมอุโบสถเก่า ได้พระท่ากระดานจำนวน 93 องค์ แต่ชำรุดเสียหายเป็นส่วนใหญ่ เหลือสภาพสมบูรณ์เพียง 7 องค์เท่านั้น

นอกจากนี้ ยังได้ค้นพบพระพิมพ์ต่างๆ ของหลวงปู่ยิ้มอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดถูกบรรจุรวมกันอยู่ภายในโถโบราณ หรือบาตรลูกหนึ่ง ตั้งอยู่บนเพดานพระอุโบสถ ตรงกับทับหลังของประตู ด้านหลังพระประธาน

พระท่ากระดานที่ชำรุดแตกหักเหล่านั้น นำมาหล่อหลอมรวมกับโลหะอื่นๆ สร้างเป็นพระท่ากระดานขึ้น โดยหลอมรวมกับตะกั่วโบราณ หรือเนื้อชินโบราณ ซึ่งลูกศิษย์นำมาถวาย จำนวนสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง องค์พระไม่ตัดชิดแบบพระท่ากระดานทั่วๆ ไป พระเกศขององค์พระแหลมแต่สั้นไม่โค้งงอ

ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระยันต์




พระท่ากระดาน หลวงปู่เหรียญ พ.ศ.2500

นอกจากนี้ ในเวลาต่อมา ยังได้สร้างพระท่ากระดาน ในปี พ.ศ.2500 ลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว โดยรวบรวมตะกั่วโบราณ หรือเนื้อชินโบราณ ซึ่งลูกศิษย์นำมาถวายเป็นส่วนผสมหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เช่นกัน

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง แบบพระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ พระเกศขององค์พระโค้งงอไปทางขวาขององค์พระ

ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระยันต์

จัดเป็นเครื่องรางพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์ ที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก





หลวงปู่เหรียญ สุวัณณโชติ มีนามเดิมว่า เหรียญ รัสสุวรรณ เป็นบุตรของชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2419 ตรงกับวันเสาร์ แรม 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ที่บ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายโผ และนางแย้ม รัสสุวรรณ มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด 7 คน

ถึงแม้จะเกิดมาในตระกูลชาวนา-ชาวไร่ มีอาชีพที่เรียกว่าหาเช้ากินค่ำ ต้องช่วยบิดา มารดา หาเลี้ยงชีพตามวิสัยชาวชนบท

แต่กระนั้น ก็ยังสามารถเสาะแสวงหาความรู้ ด้วยความเอาใจใส่กับวิชาที่เล่าเรียน จนสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญยิ่งทั้งภาษาไทย และภาษาขอม เป็นที่พึ่งแก่คนทั่วไป นับได้ว่าควรแก่การสรรเสริญ จากนั้นท่านจึงได้กลับมาช่วยเหลือบิดา มารดา ทำไร่ไถนา เป็นการแบ่งเบาภาระตามความจำเป็นในยุคนั้น

อายุย่าง 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2440 มีเจ้าอธิการยิ้ม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสิงคิบุรณคณาจารย์ (คง ทองสุด) วัดเทวสังฆาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์อยู่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “สุวัณณโชติ”

อยู่จำพรรษาอยู่วัดศรีอุปลารามตลอดมา ครั้นมีพรรษาพอสมควร หลวงปู่ยิ้ม ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ มอบกิจการต่างๆ ให้ช่วยดูแล และเป็นพระกรรมวาจาจารย์สวดนาค

ระหว่างที่ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิทยาคมจนหมดสิ้น

เป็นพระนอบน้อมถ่อมตน ไม่ชอบโอ้อวดว่ามีดี ให้เกียรติและยกย่องพระอุปัชฌาย์และศิษย์รุ่นพี่ร่วมสำนักอยู่เสมอ

พ.ศ.2454 พระครูวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินทสโร) วัดชัยชุมพลชนะสงคราม เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยพระครูสิงคิบุรคราจารย์ (สุด) วัดเทวสังฆาราม รองเจ้าคณะจังหวัด ตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวสืบมา

ลําดับงานปกครอง

พ.ศ.2458 เป็นเจ้าคณะแขวงเมือง

พ.ศ.2473 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูนิวิฐสมาจาร

พ.ศ.2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณสมาจาร

มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2503

สิริอายุ 84 ปี พรรษา 63 •
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พฤศจิกายน 2566 15:38:08 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #177 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2566 11:36:27 »



เหรียญรุ่นแรก-รุ่น 2 หลวงพ่อแง วัดบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า จ.สมุทรสาคร

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 - 26 มกราคม 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2566


“หลวงพ่อแง ปาสาทิโก” อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขาราม (วัดบางไผ่เตี้ย) บ้านบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ทรงวิทยาคมที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยม แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คือ “เหรียญรุ่นแรก”

ขึ้นในปี พ.ศ.2490 เพื่อหารายได้สร้างพระอุโบสถ สร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

เหรียญหลวงพ่อแง รุ่นแรก
ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้ามีจุดไข่ปลาล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระทศพลญาณ พระประธานศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย รอบองค์พระเขียนว่า “ที่ระลึกการสร้างพระอุโบสถของพระอธิการแง ปาสาทิโก วัดเจริญสุขาราม”

ด้านหลังไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์

เหรียญหลวงพ่อแง รุ่น 2
นอกจากเหรียญรุ่นแรกอันโด่งดัง ยังมีเหรียญรุ่น 2 ด้วย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2495 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกที่สามารถสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ สร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้าเหรียญ มีรูปจำลองพระทศพลญาณ พระประธานศักดิ์สิทธิ์ของวัดเจริญสุขาราม ประทับบนฐานชุกชีสวยงาม รอบองค์พระด้านบนมีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกสร้างโบสถ์วัดเจริญสุขาราม” ใต้รูปองค์พระ มีอักขระภาษาไทย เขียนว่า “พระทศพลญาณ”

ด้านหลัง เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแงครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระยันต์มอญอ่านได้ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ด้านบนของรูปมีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “พระอธิการแง(โกศล)”

ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันหายาก





หลวงพ่อแง ปาสาทิโก

มีนามเดิมว่า แง รองทอง พื้นเพเป็นคนบางไผ่เตี้ย ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2442

พ.ศ.2477 อายุ 35 ปี เกิดความเบื่อหน่ายจึงได้ตัดสินใจอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดโพธิ์ (วัดโพธิ์ราษศรัทธาธรรม) อ.บางเลน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2477

มีพระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อคล้าย) วัดศิลามูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เขียว เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และพระอาจารย์ยุทธ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปาสาทิโก

ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อคล้าย วัดศิลามูล แล้วจึงเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดดอนโฆสิตาราม ต.หนองบัว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และมีโอกาสสนิทสนมกับพระครูนาควุฒาจารย์ (หลวงปู่ตั้ง วัดใหม่เจริญราษฎร์), หลวงปู่แขก วัดบางปลา, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และหลวงปู่โน้ต วัดศิริมงคล

สําหรับวัดเจริญสุขาราม หรือวัดบางไผ่เตี้ย ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2448 วัดตั้งอยู่บริเวณริมคลองหมาหอน ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยตระกูลปั้นอุดม และตระกูลมิลาวรรณ บริจาคที่ดินสร้างสำนักสงฆ์ ทั้งหมด 5 ไร่ ซึ่งในพื้นที่นี้มีไผ่ขนาดเล็กขึ้นเต็มพื้นที่

มีพระมหาเล่า เป็นเจ้าอาวาสปกครองรูปแรก ต่อมาเมื่อมรณภาพลง พระอาจารย์เปลี่ยน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสและปกครองสำนักสงฆ์ ตลอดมาจนถึงมรณภาพ

จากนั้น พระอาจารย์อ่อน จึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดต่อมา และในยุคนี้เอง ชาวบ้านเริ่มมีความศรัทธา เริ่มเข้าวัดมากขึ้น จึงได้ยกฐานะจากสำนักสงฆ์ ขึ้นเป็นวัดบางไผ่เตี้ย จวบจนสิ้นบุญของอาจารย์อ่อน

พระอาจารย์โอด ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และปกครองดูแลวัดจนมรณภาพลง ชาวบ้านบางไผ่เตี้ยมีความศรัทธามากขึ้นจึงได้จัดพิธีปลงศพให้อย่างสมเกียรติ และในช่วงงานพิธีปลงศพนั้น หลวงพ่อแง เดินทางมาร่วมพิธีด้วย

หลังจากพิธีปลงศพอาจารย์โอดเสร็จสิ้น อุบาสกอุบาสิกาตลอดจนผู้มีศรัทธากับวัดบางไผ่เตี้ย เห็นศีลาจารวัตรอันงดงามของหลวงพ่อแง จึงพร้อมใจกันอาราธนาให้ช่วยรับหน้าที่ปกครองวัดบางไผ่เตี้ยไปก่อน

แม้ว่าจะปฏิเสธ ด้วยติดขัดเพราะสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย แต่ชาวบ้านก็ไม่ถือเป็นอุปสรรค ถึงเวลาลงทำสังฆกรรมก็ต่างคนต่างทำสังฆกรรมในสังกัดของตนไป ก็อยู่ร่วมกันได้ไม่มีปัญหาอันใด จึงไม่มีเหตุให้ปฏิเสธได้ จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดสืบต่อมา

หลังจากรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการสร้างอุโบสถไม้สักแทนหลังเก่าที่ผุพัง

นอกจากนี้ ยังเทศนาสั่งสอนและกล่อมเกลาจิตใจของชาวบ้านให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมด้วย

ปกครองวัดเรื่อยมา จนกระทั่งมรณภาพลงเมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2511 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวัดลอยกระทงในปีนั้นพอดี

สิริอายุ 69 ปี พรรษา 34 •
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #178 เมื่อ: 09 มกราคม 2567 16:23:50 »


เหรียญรุ่นแซยิด-72 ปี มงคล ‘หลวงปู่หยอด’ วัดแก้วเจริญ อัมพวา

เหรียญรุ่นแซยิด-72 ปี มงคล ‘หลวงปู่หยอด’ วัดแก้วเจริญ อัมพวา

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


“หลวงปู่หยอด ชินวังโส” หรือ “พระครูสุนทรธรรมกิจ” อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นักบุญลุ่มน้ำแม่กลอง

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ ไหมเบญจรงค์ 5 สี ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตาและแคล้วคลาดจากภยันตราย

นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลอื่น เช่น พระสมเด็จ พระปิดตา เหรียญกว่า 100 รายการ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “เหรียญรุ่นแรก”

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 ในโอกาสฉลองอายุครบ 5 รอบ หรือ 60 ปี จัดสร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะทองแดงและทองแดงกะไหล่ทอง

ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ในวงกลมรูปไข่ ด้านบนมีอักขระยันต์เฑาะว์ พร้อมรัศมีแฉกจากขอบบน

ด้านล่างเป็นโบ ภายในมีอักษรภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุนทรธรรมกิจ” ด้านขอบล่างเหรียญเป็นมุมขยัก

ด้านหลังพื้นเรียบ มีอักขระอักษรไทย เขียนคำว่า “วัดแก้วเจริญ อายุครบ ๕ รอบ ๒๕๑๔”

เหรียญหลวงปู่หยอด รุ่นแรก นอกจากนี้ ยังมีเหรียญรุ่น 2

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2526 ในโอกาสฉลองอายุครบ 6 รอบ หรือ 72 ปี เนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาแบบมีหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองนั่งสมาธิเต็มองค์บนพรม ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ

ด้านบนมีอักขระยันต์ อ่านได้ว่า อะ ระ หัง พุท โธ นะ โม พุท ธา ยะ ด้านล่างมีอักษรภาษาไทย เขียนคำว่า “พระครูสุนทรธรรมกิจ วัดแก้วเจริญ จังหวัดสมุทรสงคราม”

ด้านหลัง พื้นเรียบ มีอักขระยันต์เฑาะว์ ตรงกลางเหรียญ มีอักขระอักษรไทย เขียนคำว่า “งานอายุครบ ๖ รอบ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖”

จัดเป็นเหรียญหายากและเป็นที่นิยมของชาวอัมพวา




หลวงปู่หยอด ชินวังโส มีนามเดิมว่า สุนทร ชุติมาศ ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2454 ที่บริเวณตลาดบางน้อย (ตรงข้ามศาลเจ้าพ่อโรงโขน) ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ในวัยเยาว์ ศึกษาหาความรู้จากบิดาจนอ่านออกเขียนได้ เมื่อเติบโตได้เป็นกำลังช่วยมารดาค้าขาย แบ่งเบาภาระให้ครอบครัว

เมื่ออายุ 18 ปี ฝากตัวเข้าบรรพชากับพระครูเปลี่ยน สุวัณณโชโต เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2472

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2474 มีพระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสุทธิสารวุฒาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเปลี่ยน สุวัณณโชโต วัดแก้วเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดมสุตกิจ (พลบ) วัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับนามฉายา ชินวังโส มีหมายความว่า ผู้สืบวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า

การศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น วิริยะ อุตสาหะ สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนได้รับวิทยฐานะความรู้สามัญ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สมัครสอบ) พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ดูแลปรนนิบัติพระครูเปลี่ยน ซึ่งอาพาธอย่างใกล้ชิด ด้วยกตัญญูกตเวทิตา จวบจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2484

วันที่ 17 สิงหาคม 2484 พระราชมงคลวุฒาจารย์ เจ้าคณะอำเภออัมพวา จึงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่

วัดแก้วเจริญ เป็นวัดโบราณของชาวรามัญ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรกร้างมานาน

มีเรื่องเล่าว่า ชาวบ้านท่าใหญ่กรุงศรีอยุธยา อพยพหลบภัยพม่า เมื่อเสียกรุง พ.ศ.2310 มาถึงสถานที่แห่งนี้แล้วเห็นว่ามีทำเลเหมาะสม จึงช่วยกันแผ้วถางป่าลึก เข้าไปประมาณ 3 เส้น พบวัดร้าง มีซากอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแลงปางต่างๆ มากมาย และพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้ว มีใบเสมารอบอุโบสถ พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดไม่มีผ้าพาด

บริเวณวัดยังมีเจดีย์รามัญ 2 องค์ ชำรุดหักพังอยู่ ชาวบ้านเห็นว่าคงไม่เหมาะกับการสร้างที่อยู่อาศัย เพราะมีวัดร้างอยู่ จึงไปแผ้วถางสถานที่แห่งใหม่ ห่างจากวัดประมาณ 5 เส้น ตั้งเป็นหมู่บ้านท่าใหญ่ตามชื่อเดิมของผู้อพยพ

กระทั่งปี พ.ศ.2340 พระอธิการต่าย ปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพดีขึ้น โดยพระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วเป็นปูชนียวัตถุสำคัญ ประชาชนจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดแก้ว

ต่อมาพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย และเห็นว่าควรจะเก็บไว้ในที่ปลอดภัย จึงฝังไว้ที่ใต้ฐานชุกชีของพระประธาน แต่ปัจจุบันอยู่ภายนอกฐานชุกชีแล้ว

ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2375 ชื่อว่า “วัดแก้วเจริญ” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2529

พ.ศ.2487 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่

หลังจากได้รับตำแหน่ง พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ทั้งการจัดการให้วัดเป็นสถานพยาบาลรักษาผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ

แต่ที่โด่งดังมาก คือ การต่อกระดูก ประสานกระดูก เรียกว่าสมัยก่อนใครแขนหักขาหักมารักษาที่วัดแก้วเจริญกันแทบทั้งสิ้น

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2491 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุนทรธรรมกิจ

พ.ศ.2499 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

ผลงานด้านการศึกษา เป็นเจ้าสำนักเรียนธรรมชั้นตรี-โท-เอก และเป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่ อำเภออัมพวา

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาและอุปสมบท ปกครองสงฆ์สำนักวัดแก้วเจริญ ในการอบรมสั่งสอนสามเณรและภิกษุในเรื่องจริยาวัตร กิจวัตรและศาสนพิธี จัดเทศนาอบรม สั่งสอนคฤหัสถ์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ผลงานด้านสาธารณูปการ เป็นผู้นำบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ บำรุงรักษาวัดและศาสนสมบัติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ สืบทอดตามเจตนารมณ์ของเจ้าอาวาสในอดีต

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2541

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •





มงคลพระกริ่ง 3 พิมพ์ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 กุมภาพันธ์ 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


ในยุคสงครามอินโดจีน มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่ 4 รูป ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธามากมาย วัตถุมงคลเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะโดดเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เล่าลือกันปากต่อปากเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

พระเกจิอาจารย์นามพยางค์เดียว นิยมเรียกผูกติดกัน “จาด-จง-คง-อี๋”

ประกอบด้วย หลวงพ่อจาด คังคสโร วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี

“หลวงพ่อจาด คังคสโร” หรือ “พระครูสิทธิสารคุณ” พระเกจิเรืองวิทยาคมแห่งวัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมสะสม นอกจากเหรียญรุ่นแรก ที่ได้รับความนิยมแล้ว ยังมีพระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ออกที่วัดบางหอย อ.เมือง จ.นครนายก

พระกริ่งรุ่นนี้ ประกอบพิธีเททองที่วัดสุทัศนเทพวราราม โดยพระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) หรือ “ท่านเจ้าคุณศรี” (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดบางหอย จ.นครนายก เมื่อ พ.ศ.2485

มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 9 รูป นั่งปรกอธิษฐานจิต คือ 1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 2.หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม จ.ฉะเชิงเทรา 3.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี 4.หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา 5.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี 6.หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 8.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม

ที่ขาดไม่ได้คือ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

กล่าวสำหรับพระกริ่งรุ่นนี้มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ทุกพิมพ์จะมีตัว “อุ” เป็นภาษาขอม หล่อติดอยู่ด้านหลังตรงฐานองค์พระทุกองค์ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการระบุไว้

หลังเสร็จพิธีแล้ว หลวงพ่อจาดยังได้นำกลับไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งที่วัดบางกระเบา ก่อนนำออกให้ทำบุญบูชา

ได้รับการยกย่องให้เป็นพระกริ่งยอดนิยม จ.ปราจีนบุรี





หลวงพ่อจาด คังคสโร มีนามเดิมว่า จาด วงษ์กำพุช เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2415 ตรงกับวันอังคาร เดือนสี่ ปีวอก แรม 6 ค่ำ ที่บ้านดงน้อย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

ช่วงวัยเยาว์ บิดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมของนายถิน และนางหลิน สีซัง คหบดีชาวบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

เมื่ออายุครบ 20 ปี บิดาบุญธรรมนำท่านไปฝากกับพระอาจารย์ที่วัดบ้านสร้าง เพื่อเรียนการขานนาค และการปรนนิบัติพระอาจารย์

เมื่อฝึกอบรมได้เป็นเวลาพอสมควร ในวันที่ 13 เมษายน 2436 พิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระครูปราจีนบุรี แห่งวัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เดินทางไปโปรดโยมบิดาที่วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ต.ดงน้อย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา แล้วได้จำพรรษาที่วัดนี้

ขณะที่จำพรรษาที่วัดเวฬุวัน ได้มีโอกาสศึกษาวิชาจากพระอาจารย์จัน (บางตำราว่าชื่อ พระอาจารย์จีน) ซึ่งเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และยังเป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ จึงได้ฝึกกรรมฐานจนแก่กล้า

ครั้นพรรษาที่สอง จึงได้ติดตามพระอาจารย์อ้วน ไปศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์อยู่ วัดไกรสีห์ บางกะปิ กทม. และเมื่อพรรษาที่ 4 จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบางกระเบา

หลังจากนั้นออกธุดงค์อยู่ในป่าเป็นเวลาหลายปี ได้พบสหธรรมิกมากมาย อาทิ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม เป็นต้น

ศึกษาวิชาหลายแขนง เช่น คาถาการปล่อยคุณไสย เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน

เมื่ออายุประมาณ 40 ปี จึงได้เดินทางกลับไปจำพรรษา ณ วัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

เป็นพระที่เชี่ยวชาญวิทยาคม โดยเฉพาะในด้านวิชามหาอุดอยู่ยงคงกระพัน แต่จะไม่แสดงตนอวดวิชา แต่จะใช้วิชาดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด จัดสร้างกันหลายครั้ง แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่และสร้างกันเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2483 ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาคมทั่วประเทศ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญ

ได้รับอาราธนาจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ร่วมประกอบปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หลวงพ่อจาด สร้างเป็นเหรียญนั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์ นั่งอยู่กลางดอกบัว มีทั้งเนื้อเงินลงยาและทองแดง

เกียรติคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อจาดได้มาประจักษ์ขึ้น เมื่อเครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิด แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเกิดปาฏิหาริย์เลื่องลือไปทั่ว จนได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

หลวงพ่อจาด ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั่วไป และเป็นที่เคารพนับถือของพระเถระผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

ลำดับสมณศักดิ์และงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2447 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระครูฐานานุกรม

พ.ศ.2457 เป็นเจ้าคณะแขวง อ.บ้านสร้าง

พ.ศ.2461 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูสิทธิสารคุณ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2499 สิริอายุรวม 85 ปี
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #179 เมื่อ: 11 มกราคม 2567 15:49:56 »


เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่รอด วัดสามไถ

เหรียญหล่อรูปเหมือน หลวงปู่รอด วัดสามไถ พระเกจิชื่อดัง-กรุงเก่า

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


“หลวงปู่รอด อินทปัญญา” อดีตเจ้าอาวาสวัดสามไถ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อดีตพระเกจิเรืองนามแห่งกรุงเก่า เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เคารพนับถือ

ในปี พ.ศ.2467 มีการจัดงานยกช่อฟ้าอุโบสถ ลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือน โดยมีคณะกรรมการ 12 คน ประกอบพิธีหล่อที่วัด โดยมีหลวงปู่รอดจารแผ่นโลหะให้

ลักษณะเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองผสม มีหูในตัว รูปทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปจําลององค์หลวงปู่รอดนั่งอยู่เหนือรูปเสือ ขอบเหรียญ เขียนคำว่า “ในการยกช่อฟ้าอุโบสถวัดสามไถ”

ด้านหลังเป็นยันต์แปด ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า “ที่ระฤก” ด้านล่างใต้ยันต์ เขียนคำว่า “พ.ศ.๒๔๖๗”

รุ่นนี้เป็นที่กล่าวขานในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องว่า เป็นเหรียญหล่อพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองกรุงเก่า เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่สร้างขึ้น

มีเรื่องเล่าว่า ในขณะที่ช่างนำแผ่นโลหะมาหลอม ปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนหลวงปู่ว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่า หลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดู ปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว

หลังจากนั้น หลวงปู่รอดนำเหรียญทั้งหมดเข้าปลุกเสกในอุโบสถ โดยปลุกเสกเดี่ยวตลอดคืน ท่ามกลางเหล่าพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ตลอดเวลา

ปัจจุบัน หายาก





หลวงปู่รอด อินทปัญญา มีชื่อเดิมว่า รอด เกิดปีขาล พ.ศ.2384 ณ บ้านสามไถ จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ มารดาชื่อแม่เฒ่ากา เป็นคนเชื้อสายลาว มีพี่น้อง 3 คน

เมื่ออายุ 7 ขวบ นำท่านไปฝากให้เรียนอักขระกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ

ต่อมา บรรพชาเมื่ออายุ 11 ขวบ เล่ากันว่ามีอุปนิสัยชอบหาความสงบวิเวก หลังจากศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระอธิการแดงได้ 4 ปี จึงกราบลาไปศึกษาพุทธาคมทางภาคอีสาน

ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเข้าพิธีอุปสมบท แต่จากประวัติไม่ทราบได้อุปสมบท ณ วัดใด และใครเป็นพระอุปัชฌาย์ เพียงทราบว่าหลังจากที่ศึกษาวิทยาคมจนเชี่ยวชาญ จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง

มีเรื่องกล่าวขานบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อครั้งศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในกรุงเทพฯ ร่วมกับพระภิกษุรุ่นน้องเป็นคนอยู่บ้านเดียวกัน เมื่อทั้งสองรูปได้เรียนสำเร็จพระปริยัติธรรมแล้ว จึงเดินทางกลับภูมิลำเนา

ซึ่งการเดินทางกลับมาครั้งนี้ ได้มีคหบดีท่านหนึ่งชื่อ นายเทศ จัดงานเฉลิมฉลองเกียรติคุณให้แก่พระภิกษุทั้งสองรูปนี้ โดยจัดให้มีขบวนแห่ทางน้ำ ตั้งแต่อำเภอนครหลวง จนถึงอำเภอท่าเรือ ในขณะที่ประชาชนกำลังร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานอยู่กลางลำน้ำป่าสักนั้น เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก ทั้งที่ท้องฟ้าแจ่มใสและยังมีแดดจัด เม็ดฝนที่ตกลงมาทำให้ประชาชนที่ร่วมขบวนแห่เปียกปอนไปตามกัน

แต่กับพระภิกษุทั้งสองรูป สายฝนกลับไม่สามารถทำให้เปียกแต่อย่างใด

ต่อมาคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถ เมื่อปี พ.ศ.2427 สืบต่อจากพระอธิการแดง ที่มรณภาพ

พ.ศ.2429 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะที่มีอายุได้ 45 ปี พรรษา 25

หลวงปู่รอด อินทปัญญา เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เข้มงวดกวดขันความประพฤติของพระภิกษุที่อยู่ในความปกครองให้ถือปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด

เช่น การกำหนดให้พระภิกษุที่อยู่ในวัดสามไถต้องมาปลงอาบัติกับท่านเป็นการส่วนตัวในช่วงเวลาเช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน ฯลฯ

หากพระภิกษุรูปใดทำผิดพลาดความประพฤติ ท่านจะลงโทษด้วยไม้เรียวทันที ด้วยถือว่าผู้ที่เป็นพระภิกษุเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมวินัยมาแล้ว จึงสมควรที่จะต้องตั้งมั่นอยู่ในศีล

ด้วยเกียรติคุณที่แผ่ขยายออกไป ทำให้ได้รับความเคารพเลื่อมใส ต่างพาบุตรหลานที่มีอายุครบบวชมาอุปสมบทที่วัดสามไถ ซึ่งจากทัศนคติของท่านที่ว่า “การนำสาธุชนทั้งหลายเข้าสู่ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ในพระศาสนาทั้งสิ้น…”

ครั้งหนึ่งมีผู้ร้องเรียนถึงคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง โดยได้กล่าวหาว่าบรรพชาอุปสมบทให้พวกที่มีคดีติดตัวอยู่ เป็นเหตุให้พระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ขึ้นมายึดพัดอุปัชฌาย์และห้ามบวชนาคเป็นการชั่วคราว

ว่ากันว่าหลังจากที่พระญาณไตรโลกนาถยึดพัดอุปัชฌาย์จากหลวงปู่รอดไปแล้วยังไม่ถึง 7 วัน ก็เกิดความไม่สบายใจจนต้องนำพัดอุปัชฌาย์มาคืน ก่อนปรับความเข้าใจกัน พร้อมทั้งให้ความนับถือหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง โดยจะเดินทางมากราบนมัสการเป็นประจำทุกปี

มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา ที่กุฏิภายในวัด เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2480 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู

สิริอายุ 96 ปี พรรษา 75 •





เหรียญรุ่นแรก-หลวงปู่ทวด มงคล ‘พระอาจารย์นอง’ วัดทรายขาว จ.ปัตตานี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


“พระครูธรรมกิจโกศล” หรือ “พระอาจารย์นอง ธัมมภูโต” อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นสหธรรมิกที่ใกล้ชิดกับพระอาจารย์ทิม โดยมีอายุน้อยกว่า 7 ปี

หากเอ่ยถึงวัตถุมงคลหลวงปู่ทวด สุดยอดพระเกจิแห่งแดนใต้ วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ผู้สร้างตำนานศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือเหยียบน้ำทะเลจืด

ที่ได้รับความนิยมจะมีวัตถุมงคลพระหลวงปู่ทวดของ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร และพระอาจารย์นอง ธัมมภูโต วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานีเท่านั้น

พระครูวิสัยโสภณ หรือหลวงปู่ทิม ธัมมธโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดช้างให้ จ.ปัตตานี เป็นผู้สร้างตำนานพระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้

ส่วนพระอาจารย์นอง เป็นผู้ที่มีส่วนให้กำเนิดพระเครื่องหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นแรก ของวัดช้างให้ จึงทราบส่วนผสมที่ดีเยี่ยมเช่นเดียวกัน กล่าวได้ว่า พระหลวงปู่ทวด วัดทรายขาว คือพระคู่แฝดของวัดช้างให้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นพระรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่

ยิ่งในยุคถัดมา ภายหลังจากพระอาจารย์ทิมมรณภาพ มีเพียงพระอาจารย์นองที่ได้รับการยอมรับว่าปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดได้เข้มขลัง และมีประสบการณ์

gหรียญพระอาจารย์นอง รุ่นแรก : วัตถุมงคลสร้างกันหลายรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2534 สร้างในวาระอายุครบ 6 รอบ (72 ปี)

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ขอบเหรียญเป็นลายกนก ด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อนอง”

ด้านหลังเป็นยันต์นารายณ์แปลงรูป มีเลขไทย “๒๕๓๔” ด้านบนมีตัวอักษรคำว่า “ครบรอบ ๗๒ ปี” ด้านล่างมีอักษรคำว่า “วัดทรายขาว จ.ปัตตานี”

เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นกูรอดตาย : ยังมีอีกเหรียญที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นกูรอดตาย ด้านหลังเป็นรูปพระอาจารย์นอง จัดสร้างในปี พ.ศ.2537

กล่าวขานกันว่า เหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญที่อนุญาตให้จัดสร้างเหรียญขึ้นมา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ หลังฟื้นจากอาการอาพาธ

ด้วยเหตุที่พระอาจารย์นองอาพาธหนัก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ท่านได้กล่าวปรารภว่า “ขอให้สร้างมณฑปเสร็จก่อน แล้วจะไป” ท่านจึงฟื้นมาอีกครั้ง อาการอาพาธของท่านค่อยดีขึ้นตามลำดับ จนหายเป็นปกติ ก่อนดำริให้ลูกศิษย์จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ โดยระบุคำว่า “กูรอดตาย”

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเต็มองค์นั่งขัดสมาธิ หน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อทวด วัดช้างให้”

ด้านหลังเป็นรูปเหมือนพระอาจารย์นองครึ่งองค์ หันหน้าไปด้านขวา รอบขอบเหรียญ เขียนคำว่า “พระธรรมกิจโกศล” (อ.นอง) รุ่นกูรอดตาย วัดทรายขาว ๓๐ พ.ค.๒๕๓๗”

ได้รับความนิยมมากอีกเหรียญเช่นกัน




พระอาจารย์นอง ธัมมภูโต  มีนามเดิม นอง หน่อทอง เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

ท่านเรียนจบชั้น ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเมื่ออายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ โดยมีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง

จนกระทั่งอายุ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง) วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวด

จำพรรษาอยู่ที่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์

ยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาล ซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ

แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบวัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก

ในเรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น บอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มาก ประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของอุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาอารมณ์ดีจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง

พระอาจารย์นองเคยพูดให้ฟังเสมอว่า “คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกินวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไป เรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้น เป็นการสั่งสมบารมี ลดกิเลสลงไป”

ดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย พัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้า

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2542 ที่โรงพยาบาลโคกโพธิ์

สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60 •




พระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว นครสวรค์ หลวงปู่ศุขปรกปลุกเสก

มงคลพระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว นครสวรค์ หลวงปู่ศุขปรกปลุกเสก

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2566


“พระครูวิมลคุณากร” หรือ “หลวงปู่ศุข เกสโร” วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิผู้เปี่ยมด้วยพุทธาคมแก่กล้า จนได้รับสมญา “เจ้าสำนักพุทธาคมยิ่งใหญ่แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา”

เป็นพระอาจารย์พุทธาคมรูปแรกของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ทรงให้ความเคารพนับถือและใกล้ชิด

ทั้งวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่สร้างล้วนเป็นที่นิยม ด้วยพุทธคุณเป็นเลิศ และยังคงเป็นที่กล่าวขานและแสวงหามาจวบจนปัจจุบัน อาทิ เหรียญรูปเหมือน พระพิมพ์สี่เหลี่ยมประภามณฑล พระปรกใบมะขาม ตะกรุด ประคำ ฯลฯ

อีกวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ “พระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว” เป็นพระเครื่องที่หลวงปู่ศุขสร้างและปลุกเสกให้วัดส้มเสี้ยว สมณาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์บูรณะเสนาสนะวัดส้มเสี้ยว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

ขณะนั้น พระครูนิรุติธรรมธร หรือหลวงพ่อน้อย ธัมมโชโต เป็นเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว และมีความสนิทสนมกัน หลวงปู่ศุขจึงสร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นมา เพื่อมอบให้หลวงพ่อน้อยนำไปแจกที่วัดส้มเสี้ยว




หลวงพ่อน้อย ธัมมโชโต

ประวัติหลวงพ่อน้อย นามเดิมภาษาจีนว่า “เก็งลี้” เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410 ที่บ้านส้มเสี้ยว บิดาชื่อ หย่วนเพียว มารดาชื่อ ปราง

วัยเยาว์ได้เรียนภาษาจีนที่โรงเรียนจีนบ้านสะแก เรียนภาษาไทยกับพระอาจารย์จง เคยเป็นเจ้าพนักงานเก็บภาษีอากรที่มีผู้ผูกขาดจากรัฐบาล

อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดบางตาหงาย

เคยจำพรรษาที่วัดบ้านแก่ง วัดโบสถ์ เมืองอุทัยธานี วัดสระเกศ กทม. และวัดระฆังฯ กทม.

ต่อมา กลับมาจำพรรษาที่วัดส้มเสี้ยว โดยเป็นเจ้าคณะหมวด วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2451 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิรุติธรรมธร ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบรรพตพิสัย

มรณภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2480 สิริอายุ 71 ปี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิง ที่วัดส้มเสี้ยวเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2482

จากคำบอกเล่าของพระครูยุตธรรมศาสน์ (หลวงพ่อมหาแกร ฐาปโน) เจ้าอาวาสรูปถัดจากหลวงพ่อน้อย เล่าเรื่องพระพิมพ์สี่เหลี่ยมหลวงปู่ศุขให้ฟัง ว่า

“เมื่อครั้งนั้นหลวงพ่อน้อย มีดำริจะบูรณะและสร้างเสนาสนะของ วัดส้มเสี้ยว หลวงพ่อน้อยก็ได้ไปมาหาสู่หลวงปู่ศุขอยู่เสมอๆ จึงได้ไปปรึกษาและขอพระพิมพ์สี่เหลี่ยมจากหลวงปู่ศุข เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในครั้งนั้น หลวงปู่ศุขก็กรุณาจัดสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมพิมพ์นี้ขึ้น เพื่อมอบให้แก่หลวงพ่อน้อยไปแจกจ่ายหาทุนต่อไป”

พระพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดส้มเสี้ยว เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่ว ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานสองชั้น ขอบด้านข้างมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว

ด้านหลังมีจารตัวพุทธ และมีเส้นล้อมรอบตามแบบรอยจารของหลวงปู่ศุข

ปัจจุบัน หายาก สนนราคสูงพอสมควร กำลังเป็นที่เสาะหาอย่างมาก





หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า

สําหรับหลวงปู่ศุข เกิดในสกุล เกษเวช (ภายหลังใช้เป็น เกษเวชสุริยา) เป็นชาวชัยนาทโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านมะขามเฒ่า (ปัจจุบันคือ บ้านปากคลอง) ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

บิดา-มารดาชื่อ นายน่วม-นางทองดี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายและทำสวน มีพี่น้องรวมกัน 9 คน โดยท่านเป็นพี่ชายคนโต

ในวัยเด็กเป็นคนมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเชื่อมั่นในตัวเอง จึงมักถูกยกให้เป็นผู้นำของเด็กในย่านตลาดวัดสิงห์

ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ในแถบลำคลองบางเขน จ.นนทบุรี จนมีครอบครัวและมีบุตรชายหนึ่งคน ชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

แต่ด้วยจิตตั้งมั่นที่จะบวชทดแทนคุณบิดามารดา พออายุครบ 22 ปี จึงได้ลาไปอุปสมบท ที่วัดโพธิ์บางเขน (ปัจจุบัน คือวัดโพธิ์ทองล่าง) โดยมีหลวงพ่อเชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่เป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่เคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง ทั้งเป็นผู้ทรงคุณด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมเข้มขลัง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากพระอุปัชฌาย์อย่างครบถ้วน

จากนั้น ก็เริ่มออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวกฝึกฝนวิทยาการต่างๆ พร้อมแสวงหาและศึกษาเพิ่มเติมจากพระเกจิผู้ทรงคุณหลายรูปในด้านพระกัมมัฏฐานและวิทยาคม อาทิ พระสังวราเมฆ ผู้เชี่ยวชาญพระกรรมฐานลำดับมัชฌิมาปฏิปทาในสมัยนั้น ที่สำนักวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม), หลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม ด้านการเล่นแปรธาตุและโลหะเมฆสิทธิ์ โดยพักอยู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ซึ่งเป็นสหธรรมิกในฐานะชาวชัยนาทด้วยกัน ฯลฯ

จึงเป็นผู้รอบรู้และแตกฉานทั้งพระไตรปิฎก วิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ

เวลาล่วงเลยไป มารดาที่พำนักอยู่ที่บ้านมะขามเฒ่าก็แก่ชราลง จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า แล้วขยับขยายออกมาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่า จนเสร็จสมบูรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2447 โดยมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ เป็นกำลังสำคัญ

ที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยาน คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ และภาพเขียนสีน้ำมันรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มองค์และถือไม้เท้า ที่ยังคงรักษาไว้อย่างสมบูรณ์

สมณศักดิ์สุดท้ายป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิมลคุณากร ตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันคือเจ้าคณะอำเภอ) รูปแรกของ อ.วัดสิงห์ ก่อนมรณภาพลงในปลายปี พ.ศ.2466 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 50

ทุกวันนี้ผู้เคารพศรัทธายังขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลอย่างต่อเนื่อง

นาม “หลวงปู่ศุข” ยังทรงพุทธาคมมาจนถึงทุกวันนี้ •
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 7 8 [9] 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.707 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 03:35:33