[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 09:34:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง จังหวัดขอนแก่น  (อ่าน 1531 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 มีนาคม 2559 15:55:43 »

.





พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น


วัดหนองแวง ตั้งอยู่ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๒ พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ.๒๓๕๔ ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ ๒ ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา

วัดแห่งนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด ๒๖ ไร่ ๖๕ ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด ๗๑๓ เลขที่ ๒๘ หน้าสำรวจ ๗๙๔ เล่มที่ ๘ หน้า ๑๓
 
ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๕๐ เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และ มหามังคลานุสรณ์ ๒๐๐ ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ ๘๐ เมตร มีพระจุลธาตุ ๔ องค์ ตั้งอยู่ ๔ มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค ๗ เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ ๖เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ.๒๕๒๖ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ.๒๕๒๗

พระมหาธาตุแก่นนคร (พระธาตุ ๙ ชั้น)
ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๔๖,๙๘๔,๕๙๑ บาท เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓

มูลเหตุการณ์สร้างพระมหาธาตุแก่นนคร
๑.สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธฯ ประทานพระบรมสารีริกธาตุให้ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒
๒.พระเทพวงศาจารย์ (คูณ ขันติโก ป.ธ.๔) เจ้าอาวาส ได้ตั้งปณิธานตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๗
    และได้รับพระบรมสารีริกธาตุตามนิมิต จากประเทศพม่า ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๘
๓.เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประทานปัจจัยบูชาพระธรรมเทศนา
    ให้เป็นทุนเริ่มต้น ๑๘,๕๐๐ บาท ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๘
๔.เมืองขอนแก่นมีอายุครบ ๒๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๐ และทางวัดก็มีที่ดินว่างอยู่ ๑๐ไร่เศษเหมาะสมในการก่อสร้างพระธาตุ

ลักษณะขององค์พระธาตุ
องค์พระธาตุมีอยู่ ๙ ชั้น ฐานพระธาตุกว้าง ๕๐x๕๐ เมตร องค์พระธาตุกว้าง ๔๐x๔๐ เมตร ความสูงของพระธาตุฯ สุดเนื้อปูน ๗๒ เมตร ถึงยอดฉัตรพระธาตุฯ ๘๐ เมตร  พื้นที่ทั้งหมดในองค์พระธาตุฯ ๗,๗๘๐ ตารางเมตร  พระจุลธาตุ ๔ องค์ ตั้งอยู่ ๔ มุม  มีกำแพงแก้วพญานาค ๗ เศียรล้อมรอบกว้าง ๗๒x๗๒ เมตร เป็นศิลปะสมัยทวารวดีหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผสมผสานศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบชาวอีสานตากแห

ภายในองค์พระธาตุมีอยู่ ๙ ชั้น ได้แก่
ชั้นที่ ๑ เป็นหอประชุม มีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน ๕ องค์อยู่ตรงกลาง ๑ องค์ ทางด้านทิศใต้ ๒ องค์ ทางด้านทิศเหนือ ๒ องค์ ต้นเสาเขียนลวดลายสีเบญจรงค์
         ลายกรวยเชิงดอกพุดตานและดอกบัว คานขื่อเขียนภาพเทพชุมนุมล้อมรอบ เพาดานเขียนลายเทพพนมปีกค้างคาวล้อมดาวเดือน จตุเทพดารา บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่อง จำปาสี่ต้น
         โดยเฉพาะบานประตูแกะสลักภาพ ๓ มิติและมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น
ชั้นที่ ๒ เป็นหอพักและเก็บของใช้ของชาวอีสาน บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์นิทานเรื่องสังสินไช ตามผนังด้านบนมีภาพเขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคะลำ หรือข้อห้ามต่างๆ ของชาวอีสาน
ชั้นที่ ๓ เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน
         และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น
ชั้นที่ ๔ เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า บานประตูหน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ และตัวพึ่ง – ตัวเสวย
ชั้นที่ ๕ เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๖ บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธประวัติ แกะสลัก ๑ มิติ
ชั้นที่ ๖ เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดก เรื่องเวสสันดร แกะสลัก ๑ มิติ
ชั้นที่ ๗ เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตมีย์ใบ้ แกะสลัก ๑ มิติ
ชั้นที่ ๘ เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรมคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม๑๖ ชั้น ถึงชั้นที่ ๙ แกะสลัก ๓ มิติ
ชั้นที่ ๙ เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักรูปพรหม ๑๖ ชั้น แกะสลัก ๓มิติ และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง ๔ ด้าน
         โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่สวยงาม


ข้อมูลจาก : วัดหนองแวง อ.เมือง จ.ขอนแก่น        


ในการเข้ากราบพระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง นั้น
ผู้โพสต์ ได้ถ่ายภาพไว้แต่เพียงบริเวณด้านนอกขององค์พระมหาธาตุ และจิตรกรรมฝาผนัง
ซึ่งวาดไว้สูงลิบลิ่วชิดเพดานชั้นล่างเท่านั้น  ได้อ่านประวัติความเป็นมาและรายละเอียดของโบราณวัตถุ
ในทางพุทธศาสนา เช่น พระธรรม คัมภีร์ ตาลปัตร พัดยศ และอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น
รวมถึงภาพวาดพุทธประวัติ ที่ได้จัดแสดงไว้ชั้นบน (ตั้งแต่ชั้นที่ 2-9) แล้วให้นึกเสียดายที่ไม่ได้ขึ้นไปเที่ยวชม
อันเนื่องจากสาเหตุสำคัญส่วนตัว คือ จะไม่ขึ้นไปชั้นบนของเจดีย์ โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
ที่ชั้นล่างจัดให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์  
ฉะนั้น ภาพที่ได้มาจึงไม่ครอบคลุมเนื้อหาที่นำเสนอ
ซึ่งได้คัดมาจากป้ายจารึกประวัติองค์พระมหาธาตุแก่นนคร ของวัดหนองแวง ค่ะ
 






















ตามหมู่บ้านในชนบทสมัยก่อน ชาวบ้านจะร่วมแรงขุดบ่อน้ำสาธารณะไว้สำหรับให้ชาวบ้านส่วนรวมไว้ใช้สอย
ส่วนใหญ่มักขุดไว้ในบริเวณวัด ถึงเวลาเย็น หนุ่มๆ สาวๆ จะมา "โพงน้ำ" (โพงน้ำ คือ ตักน้ำ)
ใส่ภาชนะ หาบกลับไปบ้าน บ่อน้ำสาธารณะจึงเป็นจุดนัดพบของคู่รักหนุ่มสาวสมัยก่อน




ตกเย็น หรือว่างจากงานในไร่นา กินข้าวกินปลาเรียบร้อยแล้ว
ผู้เฒ่าผู้แก่มักไปมาหาสู่เพื่อนบ้าน เพื่อเยี่ยมเยียน ถามไถ่ข่าวคราว หรือสารทุกข์สุกดิบ











ชั้นล่าง ขององค์พระมหาธาตุ มีภาพจิตรกรรมแสดงถึงการดำรงชีวิตของชาวอีสานในสมัยโบราณ
ที่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ในท่ามกลางธรรมชาติ ชีวิตมีความสุข โอบอ้อมอารี
และผูกพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น
(ภาพสวยงามมากๆ นี้ เฉพาะชั้นช่าง มีจำนวนหลายสิบภาพ ได้นำมาเผยแพร่เพียงบางส่วน)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มีนาคม 2559 16:15:57 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชมฮูปแต้ม "สิม" วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 2154 กระทู้ล่าสุด 11 มีนาคม 2559 16:06:04
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.425 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 22:16:47