[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 00:09:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกรัก : จับงูให้ถูกวิธี (ติช นัท ฮันห์)  (อ่าน 1043 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 02:00:02 »




......จับงูให้ถูกวิธี......

......ในพระสูตรว่าด้วยการจับงูให้ถูกวิธี อลคัททูปมสูตรพระพุทธเจ้าทรง ชี้หนทางให้เราได้เห้นความจริงอย่างชัดแจ้งโดยไม่ติดอยู่กับมโนทัศน์ หรือถ้อยคำ ก่อนรู้จักพระสูตรว่าด้วยการจับงูนี้ อาตมาได้ศึกษาวัชรสูตร มาแล้วหลายปี อาตมาจึงสบายใจเมื่อได้รู้ว่าความเปรียบเกี่ยวกับแพ และ ...... ความเงียบเหมือนฟ้าผ่า ...... พระพุทธเจ้าทรงกล่าวเอง และมีราก มาจากพระสูตรรุ่นแรก ๆ พระสูตรนี้ ......

......พระสูตรว่าด้วยการจับงูสอนเราว่า เมื่อศึกษาธรรมะเราต้องระมัดระวัง เพราะถ้าเราเข้าใจผิด ๆ เราอาจทำอันตรายแก่ตัวเองและคนอื่นได้ พระ พุทธเจ้าตรัสว่าการเข้าใจธรรมะก็เหมือนการจับงู ถ้าเธอจับลำตัวงู งูอาจ แว้งกัดเอาได้ แต่ถ้ารู้วิธี และใช้ไม่ง่ามตรึงตรงโคนหัวมันไว้ งูก็ทำ อันตรายใครไม่ได้ ...... เมื่อฟังธรรมะ ถ้าเธอไม่ฟังอย่างมีสติ ไม่ฟังด้วย กายและใจทั้งหมดแล้ว เธออาจเข้าใจธรรมะผิด ๆ ซึ่งอาจเป็นผลร้าย แก่เธอและคนอื่นมากกว่าจะเป็นผลดี เมื่อศึกษาธรรมะ เธอจึงต้องศึกษา ด้วยความระมัดระวังและด้วยความตั้งใจ ............

 ......พระพุทธเจ้ายังกล่าวด้วยว่า ...... บางคนศึกษาพระสูตรเพียงเพื่อสนองความ พอใจของตน หรือเพื่อนำไปโต้เถียงเอาชนะกัน ...... ไม่ได้ศึกษาธรรมะเพื่อ ความเป็นอิสระหลุดพ้น ถ้าศึกษาธรรมะอย่างนี้ เขาก็เข้าไม่ถึงวิญญาณของ คำสอน เขาอาจเหนื่อยยากลำบาก แต่ไม่ได้รับผลอย่างคุ้มค่า แล้วเขาก็ เหนื่อยล้าไป......

....... ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศึกษาธรรมะด้วยวิธีที่ว่านี้ อาจเปรียบได้กับบุรุษผู้ พยายามจับงูพิษในป่า ถ้าเขายื่นมืออกไป งูอาจกัดมือ ขาหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเขาได้ การจับงูด้วยวิธีนี้ นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังอาจ นำความทุกข์มาให้ด้วย ......

....... ภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้าใจคำสอนของตถาคตผิด ๆ ก็ทำนองเดียวกัน ถ้าเธอ ไม่ปฏิบัติธรรมให้ถูกต้อง เธออาจเข้าใจตรงข้ามกับเจตนาของตถาคต แต่ ถ้าปฏิบัติอย่างฉลาด เธอจะเข้าใจอรรถพยัญชนะและวิญญาณของคำสอน แล้วเธอจะอธิบายธรรมะนั้นได้อย่างถูกต้อง อย่าปฏิบัติเพียงเพื่ออยากอวด หรือเพื่อได้โต้เถียงกับคนอื่น จงปฏิบัติเพื่อความเป็นอิสระ ถ้าทำอย่างนี้ เธอจะเจ็บปวดน้อยลงและจะเหนื่อยน้อยลงด้วย ......

........ ภิกษุทั้งหลาย ผู้ศึกษาธรรมะอย่างฉลาดเปรียบได้กับบุรุษผู้ใช้ง่ามไม้จับงู เมื่อเขาเห็นงูพิษในป่า เขาจะเสียบง่ามไม้ตรึงไว้ใต้หัวงูและใช้มือจับคอมัน ไว้ ถ้าจับงูได้อย่างนี้แล้ว ถึงงูจะรัดแข้งรัดขา หรือรัดส่วนอื่น ๆ ของร่าง กายชายคนนั้น งูก็กัดเขาไม่ได้ นี่แหละเป็นวิธีจับงูที่ถูกต้อง เธอจะไม่เหนื่อย และไม่เจ็บตัว ............

 ......ถ้าเราศึกษาพระสูตรรุ่นแรกอย่างลึกซึ้ง เราจะเห็นวิธีการหลายอย่างที่ พระสูตรในนิกายมหายานได้เสนอแก่เราในเวลาต่อมา บางประโยคใน ปรัชญาปารมิตาวัชรสูตรเหมือนกับข้อความในพระสูตรคนจับงูนี้คำต่อคำ ...... แม้แต่ธรรมะก็ต้องละเสีย จักกล่าวไปใยถึงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมะ ...... ต่อให้ เป็นธรรมะที่แท้ เธอก็ต้องปล่อยวางอย่ายึดถือจนเกินไป......

......มีหลายอย่างในพระไตรปิฏกที่แสดงถึงความเข้าใจคำสอนของพระพุทธ เจ้าอย่างผิด ๆ ครั้งหนึ่งก่อนเสด็จไปปลีกวิเวกที่ใกล้ ๆ เมืองเวสาลี พระ พุทธองค์ได้แสดงธรรมเกี่ยวกับความไม่ยั่งยืน ความไม่บริสุทธิ์ ของร่าง กายและความใช่ตัวใช่ตน ภิกษุบางรูปเข้าใจผิดกล่าวขึ้นว่า ...... ชีวิตนี้ไม่มี ค่า ทุกอย่างล้วนไม่บริสุทธิ์ เป็นสิ่งควรละเสีย ...... และเมื่อพระตถาคตเสด็จ ปลีกวิเวกไปแล้ว ภิกษุหลายรูปได้ทำอัตตวินิบากกรรมในอารามที่พระผู้ มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมนั้นเอง......

......เป็นไปได้อย่างไรกันที่ภิกษุเข้าใจพระผู้มีพระภาคเจ้าผิดไปถึงขนาดนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านเหล่านั้นคิดว่านั่นคือคำสอนที่แท้จริงของพระ ตถาคต และจริง ๆ แล้วทุกวันนี้ก็ยังมีคนบางคนคิดอย่างนั้นอยู่ ในเมื่อ พระพุทธองค์ทรงสอนว่าทุกข์มีอยู่ พวกเขาจึงคิดว่าถ้าจะดับทุกข์ก็ต้อง ดับการดำรงอยู่เสียด้วย คำสอนของพระพุทธเจ้าอาจทำให้เข้าใจผิด ได้ง่าย พระยะมะกะก็คิดอย่างนี้ จนวันหนึ่งรู้ไปถึงพระสารีบุตร ท่าน จึงมาทำความเข้าใจและได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่พระยะมะกะด้วย......

......พระสูตรจับงูให้ถูกวิธีกล่าวถึงภิกษุชื่ออริตธะ ผู้อ้างคำสอนของพระ พุทธเจ้า ว่ากามสุขไม่เป็นอุปสรคต่อการปฏิบัติ ภิกษุเพื่อน ๆ ของ อริตธะพยายามเกลี้ยกล่อมไม่ให้อริตธะพูดอย่างนั้น แต่พระอริตธะ ก็ยังยึดความเห็นของตนต่อไป เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงรับสั่ง ให้อริตธะไปเข้าเฝ้า และตรัสถามอริตธะท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ ...... ดูกร อริตธะ เธอเที่ยวพูดว่าตถาคตสอนว่ากามสุขไม่เป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติจริงหรือ ............

 ......อริตธะตอบ ...... ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เชื่อตามคำสอน ของพระองค์ ว่ากามสุขไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ พระเจ้าข้า ......

 ......อาตมาใช้เวลานานมากเพื่อพินิจพิจารณาข้อความนี้ และอาตมาก็ได้ ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เมื่อเธออ่านพระสูตรไม่ว่าพระสูตรใด เธอ ต้องจดจำบริบทของพระสูตรนั้นพร้อม ๆ กับจดจำคำสอนทั้งหมดของ พระพุทธเจ้าด้วย เพื่อเธอจะได้เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วได้เกิดอะไรขึ้น อาตมาค้นพบว่าอริตธะเป็นภิกษุที่ฉลาดปราดเปรื่องบุคลิกดี เป็นที่ต้อง ตาต้องใจของผู้พบเห็น เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนเกี่ยวกับการประหาร ตัวตน ท่านใช้เวลาถึงหกปีปฏิบัติการสละตัวตนอย่างเคร่งครัด พระ พุทธเจ้าทรงค้นพบว่า การทรมาณตนจนเกินไปนั้นไม่ช่วยให้เกิดการรู้แจ้ง แต่การรู้แจ้งจะเกิดก็เมื่อเธอรู้จักดูแลตัวเอง อริตธะจึงยอมฉันน้ำข้าวและ อาหารอื่น ๆ ที่ชาวอุรุเวลานำาถวายท่าน ......

......พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระผู้เบิกบาน ยามเช้าอันงดงาม หรือน้ำสะอาด หนึ่งแก้ว ก็อาจทำให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญได้ ครั้งหนึ่งเมื่อ ประทับบนยอดเขาคิชฌกูฏกับพระอานนท์ พระองค์ทรงชี้ไปที่นาข้าวเบื้อง ล่าง และตรัสว่า ...... ดูกร อานนท์ เมื่อยามข้าวสุกเหลือง นาข้าวเหล่านี้ สวยมากใช่หรือไม่ จงทำจีวรตามลักษณะผืนนานี้เถิด ...... อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสด็จผ่านเมืองเวสาลี พระองค์ตรัสว่า ...... ดูกร อานนท์ เมืองเวสาลี นี้งามยิ่งนัก ...... เมื่อพระเจ้ามหานามะทูลนิมนต์พระพุทธองค์และเหล่าภิกษุ ไปฉันภัตตาหารในพระราชวัง พระพุทธองค์ตรัสว่า ...... มหานามะถวาย อาหารดีที่สุดแก่เรา ...... พระพุทธองค์ทงตระหนักถึงคุณค่าของอาหาร เป็นอย่างดี ......

......อาตมาพบพระบางรูปที่ไม่กล้าพูดว่าอาหารที่ท่านฉันนั้นอร่อย วันหนึ่ง ที่ประเทศไทยมีผู้ถวายข้าวเหนียวมะม่วงแก่อาตมา อาตมาชอบมาก จึง บอกเจ้าภาพว่า ...... อร่อยมาก ...... อาตมารู้ว่าพระภิกษุในประเทศไทยจะไม่ พูดอย่างนี้ แต่อาตมาคิดว่าเราจะหาความสุขจากสิ่งรอบกายและภายใน ตัวเราได้อย่างปลอดภัย ถ้าเราตระหนักถึงธรรมชาติอันเป็นอนิจจังของ มัน การที่เธอดื่มน้ำอย่างมีความสุขเมื่อยามกระหายน้ำนั้น ไม่ใช่ความผิด อะไรเลย แท้จริงแล้ว การจะดื่มได้อย่างมีความสุขแท้จริงนั้น เธอจะ ต้องอยู่กับปัจจุบันขณะตลอดเวลา ......

......เวลาดอกไม้ร่วงโรยเราไม่ร้องไห้ เรารู้ว่ามันเป็นอนิจจัง ถ้าเราฝึกจนเข้าใจ ธรรมชาติของอนิจจัง เราจะทุกข์น้อยลงและหาความสุขในชีวิตได้มากขึ้น ถ้าเรารู้ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เราก็จะถนอมทุกสิ่งเหล่านี้ไว้กับปัจจุบัน เรารู้ว่าทุกคนที่เรารักก็ล้วนมีธรรมชาติเป็นอนิจจัง เราจึงต้องพยายามอย่าง เต็มที่ที่จะทำให้เขามีความสุขตอนนี้เดี๋ยวนี้ ความเป็นอนิจจังไม่ใช่เรื่อง เสียหาย ชาวพุทธบางคนคิดว่าเราไม่ควรมีความสุขพอใจกับอะไรทั้งนั้น เพราะทุกอย่างล้วนอนิจจัง เขาคิดว่าการเป็นอิสระหลุดพ้นได้ เราต้อง ปฏิเสธทุกอย่าง อย่ามีความพอใจกับมัน แต่ถ้าถวายดอกไม้แก่สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาเชื่อว่าพระองค์ทรงเห็นความงามและเห็นคุณค่า ของมัน ดูเหมือนพระอริตธะไม่อาจแยกแยะระหว่างการมีความสุขพอใจ กับจิตใจและร่างกายซึ่งมีความเป็นอยู่ดี กับการหลงมัวเมาอยู่กับกามกิเลส......

 ......ในวิมลเกียรติสูตร พระโพธิสัตว์มัญชุศรีตรัสสรรเสริญความเงียบของ ฆราวาสชื่อวิมลเกียรติว่าเป็น ...... ความเงียบเหมือนฟ้าผ่า ...... ซึงกัมปนาท กึกก้องไปทั้งกว้างและไกล มีพลังทำลายบ่วงความยึดมั่ถือมั่น นำไปสู่ ความหลุดพ้น ดุจเดียวกับเสียงคำรามของราชสีห์ที่ประกาศว่า ...... ต้องละ คำสอนที่แท้ทั้งหลาย จักกล่าวไปใยถึงคำสอนที่ไม่แท้ ...... ถ้าเราต้องการ เข้าใจพระสูตรการจับงูให้ถูกวิธี เราต้องมีจิตใจดังที่ว่ามานี้......

 ......ในพระสูตรการจับงูนี้ พระพุทธเจ้าทรงบอกเราว่า ธรรมะเปรียบเหมือน พ่วงแพที่เราใช้เพื่อนำเราข้ามแม่น้ำไปสู่ฝั่งโน้น แต่ถ้าเมื่อข้ามแม่น้ำไป แล้วเรายังแบกแพอยู่ต่อไป นั่นเป็นเรื่องโง่มาก ...... แพไม่ใช่ฝั่ง ...... ต่อไปนี้ คือถ้อยคำที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ...... ภิกษุทั้งหลาย เราได้บอกเธอแล้ว หลายครั้ง ว่าเธอจำต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรต้องปล่อยแพทิ้ง อย่าแบกไว้โดย ไม่จำเป็น เมื่อน้ำจากลำธารบนภูเขาทะลึกไหลล้นฝั่ง พัดพาเศษหินดินสวะ ปนมาด้วย บุรุษหรือสตรีที่ต้องการข้ามลำธารนี้ย่อมต้องคิดว่า เขาจะข้าม โดยวิธีใดจึงจะปลอดภัยที่สุด เมื่อพิจารณาสถานการณ์แล้ว เธออาจตัด สินใจหากิ่งไม้ใบหญ้ามาผูกแพ แล้วถ่อแพนั้นข้ามไปอีกฝั่ง แต่พอแพไป ถึงฝั่งโน้นแล้วเธอคิดว่า เราเสียเวลาเสียแรงงานมากเพื่อผูกแพนี้ มันเป็น สมบัติล้ำค่า เราต้องนำติดตัวไปด้วย ถ้าเธอเดินทางบกต่อไปแล้วยังทูนแพ บนศีรษะหรือแบกไปบนบ่าแล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย เธอคิดว่านี่เป็นการ กระทำที่ฉลาดละหรือ ............

......เหล่าภิกษุตอบ ...... ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยพระเจ้าข้า ............

 ......สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงต่อไปว่า ...... แล้วบุรุษหรือสตรีนั้น ควรทำอย่างไรให้ฉลาดกว่านี้ เธออาจคิดว่า แพนี้ช่วยให้เราข้ามมาได้ อย่างปลอดภัย ตอนนี้ควรปล่อยไว้ที่ริมน้ำนี่ เผื่อคนอื่นอาจใช้มันได้อีก อย่างนี้จะไม่เป็นการกระทำที่ฉลาดกว่าละหรือ ............ .

 ......เหล่าภิกษุตอบ ...... เป็นเช่นที่กล่าวมา พระเจ้าข้า ............

 ......พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่า ...... เรายกเรื่องแพนี้มาสอนเธอหลายครั้ง หลายครา เพื่อเตือนเธอทั้งหลายว่าจำเป็นต้องละแม้คำสอนที่แท้ จัก กล่าวไปใยถึงคำสอนที่ไม่แท้เล่า ...... ......

 ......ขั้นตอนแรกในการเจริญสติอย่างชาวพุทธคือสมาธิ ( หยุดอยู่กับความ สงบ ) ขั้นที่สองคือวิปัสสนา ( การเห็นแจ้ง พิจารณาอย่างลึกซึ้ง ) มีพุทธศาสนายุคต้น ๆ นิกายหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในนาม วิปัสสนา ( บาลี เทียบได้กับ ...... วิปัสญาณ ...... ในภาษาสันสกฤต ) ถ้าเราศึกษาพุทธศาสนา มหายาน เราจะเห็นว่าวิปัสญาณ หรือการมองอย่างลึกซึ้งนี้เป็นหัวใจ สำคัญของศาสนาพุทะมหายานเลยทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงสอนการ ปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมหลายอย่าง เพื่อช่วยโพธิสัตว์ทั้งหลายให้เข้าใจแจ้ง และบรรลุถึงการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณที่ไม่ใช่เพื่อตัวเอง หากแต่ เื่่พื่อสรรพชีวิตทั้งปวง......

......เมื่อเราศึกษาพระสูตรการจับงู ซึ่งเป็นคำสอนยุคแรก ๆ ของพระ พุทธองค์ เราจะเห็นว่านี่เป็นการเกริ่นนำอันยอดเยี่ยมให้เราได้เข้าใจ ถึงคำสอนของพุทธศาสนามหายาน ทัศนะที่เปิดกว้าง ความไม่ยึดมั่น กับทิฏฐิใด ๆ และความขี้เล่นเช่นนี้ เป็นประตูธรรมะที่นำเราเข้าสู่ อาณาจักรแห่งพุทธศาสนามหายานได้อย่างดี ช่วยให้เราได้เห็นอย่าง ชัดเจนว่าเมล็ดพันธุ์ความคิดและการปฏิบัติของหมายานนั้นมีอยู่แล้ว ในคำสอนยุคแรก ๆ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ......


 - จาก ปลูกรัก วิธีฝึกมองอย่างลึกซึ้งตามคติพุทธศาสนามหายาน ผู้เขียน   ติช นัท ฮันห์ -



...... ปลูกรัก คือสิ่งที่หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องความรัก ในเพศบรรพชิตยามวัยหนุ่มของท่าน โดยนำคำสอนต่างๆ ของพระสูตรมหายานมาพิจารณาความรักของท่านได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าถึงความเป็นอิสระจากความรักอันลุ่มหลง ติดยึด และสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ในจิตแห่งรักที่แท้จริงที่มีต่อสรรพชีวิต อันเป็นความรักที่หนักแน่นมั่นคง......

......ไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลเดียว แต่เป็นความรักเมตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน นอกจากคุณจะได้สัมผัสกับความหมายของ รักแรก ที่แท้จริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ สัมผัสความรักแห่งพระพุทธองค์ โดยผ่านการศึกษาพระสูตรต่างๆ ของมหายาน อันช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างเกินกว่าความคิด และการกระทำที่เป็นแค่ตัวฉัน ของฉัน ถือเป็นความงดงามอย่างยิ่งที่หลวงปู่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนพระสูตรมหายานต่างๆ ในเล่มนี้ ทำให้ได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนของพุทธมหายานมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์จิตแห่งรักที่แท้จริงของเรา ผ่านพระสูตรเหล่านั้นด้วย......

จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=175975.0

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2559 02:01:37 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ปลูกรัก : หยาดฝนแห่งธรรม (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1272 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 01:32:39
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : อุบัติการแห่งพุทธศาสนามหายาน (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1360 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 01:50:07
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : เพชรตัดมายา (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2247 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 02:13:13
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : ธรรมสามตรา (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 962 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2559 00:21:46
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : ประตูสู่อิสรภาพ (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1202 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2559 00:46:37
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.459 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 18:34:43