[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 15:53:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิจัย 'มจร' พบใช้ชีวิตพอเพียงทำ GDP สุขเพิ่ม  (อ่าน 954 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 02:32:27 »



วิจัย'มจร'พบใช้ชีวิตพอเพียงทำGDPสุขเพิ่ม

วิจัย'มจร'พบการรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียงความซาบซึ้งในการกระทำความดี เป็นตัวชี้วัดความสุขทางปัญญาเชิงพุทธ เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิต สร้างสังคมที่มีความสุขยั่งยืน

             21เม.ย.2559 ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นหนึ่งในคณะโครงการวิจัยเรื่อง "การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา" ที่มีพระมหาสุทิตย์ อาภากโร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร  เป็นหัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า แนวทางการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ มองถึงรายได้ จากมูลค่าตลาดและสินค้าบริหารที่เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) โดยใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักและใช้กลไกของภาครัฐและภาคเอกชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ

             แต่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจไม่ได้ตอบโจทย์ว่าคนในประเทศมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากการพัฒนาประเทศต่างๆยังคงประสบปัญหาในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ฉะนั้นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้มนุษย์มีความสุขอย่างแท้จริงได้ ประเทศที่นำดัชนีชี้วัดความสุขมาประยุกต์ใช้เป็นประเทศแรก ได้แก่ ประเทศภูฎานที่ได้มีการนำแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness – GNH) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยภูฎานได้สร้างแนวคิดใหม่ในการนิยามความเจริญก้าวหน้าแบบองค์รวม โดยการวัดความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริงมากกว่าการบริโภค

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและสร้างตัวชี้วัดความสุขตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mix Methodology Research) วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับพระเถระผู้ใหญ่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศไทยและประเทศภูฎาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาตัวชี้วัดความสุข หรือ Program Service Division & Administration and Finance Division Gross National Happiness Commission of Phutanนอกจากนี้ยังได้มีการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key-informants) ประกอบด้วยกลุ่มพระสงฆ์ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน  และแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชาชนจำนวน 421  คน

             ผลวิจัยพบว่า 1. การสร้างเกณฑ์ชี้วัดความสุขของประเทศภูฏานเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างวัตถุนิยม (materialism) และจิตวิญญาณ (spiritualism) โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีสติ อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดที่ครอบคลุมการบูรณาการอย่างรอบด้าน โดยเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลรวมเข้าด้วยกัน โดยมีหลักฐานคิดจากหลักการทางพระพุทธศาสนา คือ ทางสายกลาง ความพอดี พอเพียง

             2.องค์ประกอบตัวชี้วัดความสุขเชิงพุทธที่สามารถวัดได้ในระดับโลกิยสุข เนื่องจากสามารถวัดความเที่ยงตรง เหมาะสำหรับสร้างแบบวัดความสุขสำหรับประชาชน  โดยสรุปกรอบแนวคิดความสุขตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามี 2  ประเภท คือ ความสุขทางกาย หรือ กายิกสุข  และความสุขทางใจ เรียกว่า เจตสิกสุข ภายใต้กรอบนิยามของภาวนา  4  นำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์เข้ากับองค์ประกอบตัวชี้วัด 4  มิติ คือ สุขทางกายภาพ สุขทางสังคม (ศีล) สุขทางจิตใจ สุขทางทางปัญญาได้พัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสุขจำนวน 4  องค์ประกอบ 18  ตัวชี้วัดหลัก 65  ตัวชี้วัดย่อยดังนี้

             (1) ความสุขทางกายภาพ (Physical Happiness) หมายถึง ภาวะของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุหรือทางกายภาพ เพื่อตอบสนองความสุข สามารถรับรู้อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจต่างๆ การบริโภคใช้สอยปัจจัย 4   อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การใช้เทคโนโลยี เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา  แบ่งเป็นองค์ประกอบ 4  องค์ประกอบย่อย คือ สุขทางกาย ความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การจัดการทรัพย์สินโดยชอบธรรม

             (2) ความสุขทางสังคม (Moral Happiness) หมายถึง ความรู้สึก ความสะดวก ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในครอบครัว และในสังคมที่ไม่มีการเบียดเบียน ทำร้ายซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม แบ่งเป็นองค์ประกอบ 4  องค์ประกอบย่อย คือ ครอบครัวเป็นสุข ความรักสามัคคีในสังคม  สุขในสงเคราะห์ต่อผู้อื่น  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

             (3) ความสุขทางจิตใจ (Emotional Happiness) หมายถึง การมีส่วนประกอบทางด้านคุณธรรม ความดีงามภายในจิตใจ เช่น มีความเมตตา กรุณา ความขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ ผ่องใส สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ไม่ขุ่นมัวด้วยอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบที่จะมีกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถแบ่ง 4  องค์ประกอบย่อย คือ สุขภาพจิตเข้มแข็ง สมรรถภาพจิตดี คุณภาพจิตดี ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง

             (4) ความสุขทางปัญญา (Intellectual Happiness) หมายถึง การมีสติปัญญา ความเชื่อ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถอยู่กับความเป็นจริงของโลกและชีวิตได้อย่างปกติสุข มองเห็นและเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง มีเหตุผล สามารถพิจารณาเห็นปัจจัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุของความสุขและความทุกข์ในชีวิตได้ การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาและดับทุกข์ได้  แบ่งเป็น 6 ประกอบย่อย คุณค่าในพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสียสละเพื่อความสุขส่วนรวม การรู้เท่าทันในการใช้ชีวิต การรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียง การมีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต ความสุขสงบในทางธรรม

             จากการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ พระสงฆ์ นิสิต และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาเรียนรู้ตามหลักพระพุทธศาสนาเชิงบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพบว่า

             (1) สุขทางกายภาพ มีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความสุขทางกายได้แก่การไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ ได้แก่ การรู้จักพิจารณาก่อนการบริโภคใช้สอยสิ่งของในชีวิตประจำวัน

             (2)สุขทางสังคมมีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม ดินฟ้า อากาศที่ดีและเหมาะสม การจัดการทรัพย์สินโดยชอบธรรมได้แก่ การหาทรัพย์มาด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ครอบครัวเป็นสุข ได้แก่ การมีความอดทนและให้อภัยกัน ความรักสามัคคีในสังคม ได้แก่ ความประพฤติดีงาม มีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน สุขในสงเคราะห์ผู้อื่น ได้แก่ การแบ่งปันสิ่งของและให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ การไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น

             (3) สุขทางจิตใจ มีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สุขภาพจิตเข้มแข็ง ได้แก่ การมีความเชื่อมั่นว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ได้แก่ การมีจิตใจปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย ไม่เศร้าหมอง สมรรถภาพจิตดี ได้แก่ ความอดทนในการดำเนินชีวิต คุณภาพจิตดี ได้แก่การระลึกถึงและตอบแทนบุญคุณผู้อื่น ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ได้แก่ การมีคุณค่าต่อสังคม

             (4) สุขทางปัญญา มีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือคุณค่าในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ การใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท การเสียสละเพื่อความสุขส่วนรวม ได้แก่ การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้น การรู้เท่าทันในการใช้ชีวิต ได้แก่ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและการรับรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง การรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียงได้แก่ความพอประมาณในการบริโภคปัจจัย ๔ การมีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต ได้แก่ การมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิต ความสุขสงบในทางธรรม ได้แก่ ความซาบซึ้งในการกระทำความดี

             นอกจากนี้ยังพบว่า มีวิธีการเสริมสร้างความสุข โดยนัยที่เรียบง่ายได้แก่การอยู่ให้เป็นสุข สนุกกับสิ่งที่ทำมากที่สุดการทำหน้าที่ของตนเองให้ถูกต้องเป็นธรรมการเดินทางพักผ่อน การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสือเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ  การระลึกถึงบุญคุณและตอบแทนบุญคุณการมีความอิ่มเอมใจเมื่อมีโอกาสแบ่งปันสิ่งของและการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นที่ด้อยโอกาสการออกไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมช่วยเหลือชาวบ้านหรือพัฒนาชุมชนและสังคม การตั้งมั่นทำสมาธิให้จิตใจสงบพร้อมต่อสู่กับปัญหา การเดินทางพักผ่อน การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสือ  ลดการฟุ่มเฟือยและการใช้จ่ายเกินตัว รู้จักและเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสม และการอยู่กับครอบครัว เป็นต้น

             ดร.กมลาศ  กล่าวด้วยว่า จึงสรุปได้ว่า องค์ประกอบตัวชี้วัดความสุขตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าเป็นการสร้างตัวบ่งชี้ในการวัดคุณภาพของชีวิตอย่างหนึ่ง มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ ในระดับภาครัฐและภาคเอกชนกำหนดสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินคุณภาพของคนในสังคม และความเป็นสังคมอยู่ดีมีสุข โดยการนำหลักธรรมมากำหนดวิธีสร้างความสุขทั้งสุขภายนอกและสุขภายใน และเสนอแนวทางในการสร้างความสุขในระดับบุคคลระดับชุมชน  ระดับองค์กรระดับนโยบายเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศบนฐานความสุขเชิงพุทธที่ยั่งยืนต่อไป

จาก http://www.komchadluek.net/news/amulets/226298

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวสังคม] - 30 ปี ‘SIIT ธรรมศาสตร์’ ยกระดับสู่ ‘Education Hub’ตอบโจทย์การศึกษา วิจัย และธุรกิจ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 205 กระทู้ล่าสุด 02 กรกฎาคม 2565 17:06:46
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.381 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 01:59:52