[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 21:34:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไรจะส่งต่อพระพุทธศาสนาให้ถึงมือคนรุ่นใหม่ – ท่านว.วชิรเมธี  (อ่าน 1048 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 18:03:05 »



ทำอย่างไรจะส่งต่อพระพุทธศาสนาให้ถึงมือคนรุ่นใหม่ – ท่านว.วชิรเมธี

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยหลักธรรมคำสอนและทรงคุณูปการนับอเนกอนันต์ แม้แต่นักปราชญ์ราชบัณฑิตระดับโลกหลายต่อหลายคนซึ่งประกาศว่าตนเป็นคนไม่มีศาสนา ก็ยังอดที่จะยกย่องชื่นชมพระพุทธศาสนาไม่ได้

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่พระศาสนาซึ่งถึงพร้อมด้วยความดีงามเกินพรรณนาเช่นนี้ กลับไม่สามารถอำนวยประโยชน์ได้อย่างที่ควรจะเป็นในสังคมไทย เหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากหลายเหตุปัจจัยด้วยกัน เช่น

1. กำแพงแห่งความรู้ หมายถึงการที่ผู้รักษา เผยแผ่หลักธรรมคำสอน อันได้แก่ พระภิกษุสามเณร รวมทั้งชาวพุทธชั้นนำไม่ค่อยมีความรู้ในพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังขาดความรู้ทางโลกอันเป็นเหตุให้ไม่เข้าใจโลกและไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ไม่อาจบูรณาการพุทธธรรมเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ จึงส่งผลให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เฉพาะคำสอนพื้นๆ ทั่วไปอันเป็นเรื่องเปลือกผิวของพระพุทธศาสนา คุณค่าที่แท้จริงจึงไม่ปรากฏอย่างโดดเด่นเห็นชัด ไม่สามารถประยุกต์ธรรมมาชี้นำสังคมได้อย่างมีพลัง

2. กำแพงแห่งการเผยแผ่ หมายถึงการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยดำเนินไปในลักษณะตามยถากรรม คือขาดการวางยุทธศาสตร์การเผยแผ่อย่างเป็นกระบวนการ ใครอยากจะทำก็ทำ ต่างคนต่างทำ ไม่มีการเลือกคั้นกลั่นกรองผู้เผยแผ่อย่างมีมาตรฐาน

ผลก็คือ ในวงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงเต็มไปด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แหวกแนวจากพุทธธรรมออกไปมากมาย บางกลุ่มก็เน้นไปทางคุณวิเศษเวทย์ไสย บางกลุ่มก็เน้นไปทางทำนายทายทัก บางกลุ่มก็เน้นไปทางมนตรามหาเสน่ห์บางกลุ่มก็เน้นไปทางเครื่องรางของขลัง

ผลจากการขาดเอกภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทำให้คุณค่าเคลือบแฝงเหล่านี้ กลายมาเป็นไฝฝ้าราคีที่บดบังคุณค่าที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีมีวิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผล พลอยเข้าใจผิดไปว่าพระพุทธศาสนาไม่เห็นมีดีอะไร มีแต่พิธีกรรมที่รุ่มร่ามไร้สาระ มีแต่รดน้ำมนต์พ่นน้ำหมากงมงาย ไร้เหตุผล เป็นต้น

3. กำแพงแห่งพิธีกรรม หมายถึงการเน้นพิธีรีตองทางศาสนามากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อผู้มาร่วมกิจกรรมทางศาสนา ส่งผลให้ความสนใจในเชิงเนื้อหาหดหายไป และไม่อยากร่วมกิจกรรมทางศาสนาอีกต่อไป เช่น พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่เนื้อหาสาระ ก็กลับเน้นแต่เรื่องเปลือกผิว เช่น สวดมนต์อย่างยืดยาวหรือบางทีก็เน้นแต่การประกวดโต๊ะหมู่บูชาและการบอกบุญ แทนที่จะมุ่งเข้าสู่แก่นธรรม กลับมาติดอยู่ที่พิธีกรรมที่ใช้เวลาแสนนาน ไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและกาลเทศะ และไม่ตอบสนองต่อความสนใจของคนที่มาร่วมงานที่ต้องการเสพเนื้อหาธรรมะแท้ๆ เมื่อมาร่วมงานทางศาสนาบ่อยครั้ง แต่มองไม่พบแก่นกลับพบแต่เปลือก ความเบื่อหน่ายก็เข้ามาแทนที่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการไม่สนใจในพุทธศาสนา

4. กำแพงแห่งการไม่ยอมปรับตัว หมายถึงการไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ การสอน การสื่อสารให้สอดคล้องกับยุคสมัย เป็นต้นว่า พระบางรูปยังคงเทศน์ผ่านพระคัมภีร์ ซึ่งเขียนไว้สำหรับยุคสมัยหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว ในขณะที่สิ่งที่คนฟังต้องการคือธรรมะที่จะใช้ดับทุกข์เฉพาะหน้า ซึ่งเขากำลังเผชิญอยู่ในเวลานั้น หรือมีการเทศน์การสอนต่อเมื่อวันพระมาถึงเท่านั้นไม่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกออกไปจากธรรมเนียมเดิมๆที่ถือกันมา ตัวอย่างที่นำมาอธิบายก็ล้าสมัย เก่าเกินกว่าผู้ฟังจะจินตนาการไปถึงหรือรู้สึกมีส่วนร่วม มองไม่เห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่ ผลก็คือ ยังคงมีแต่คนกลุ่มเดิมๆ ที่ไปวัดเพื่อรักษาศีล ฟังธรรม แต่ไม่มีคนรุ่นใหม่อยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้เลย

เมื่อไม่มีการปรับตัว กิจกรรมทางศาสนาจึงเหมาะสำหรับคนแก่และคนเก่าเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังคนกลุ่มใหม่และรุ่นใหม่ ซึ่งลักษณะเช่นนี้่่ต่างจากพระสายมหายานหลายรูปที่เป็นที่ยอมรับในโลกตะวันตก เหตุผลก็เพราะท่านเหล่านั้นรู้เท่าทันโลก ปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์การสอนเสียใหม่ แต่ก็ไม่ทิ้งแก่นธรรม เช่น ท่านรู้เท่าทันปัญหาภาวะโลกร้อน รู้เท่าทันปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน รู้เท่าทันปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รู้เท่าทันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รู้เท่าทันการเปลี่ยนผ่านของโลกจากยุคอุตสาหกรรมสู่ยุคโลกาภิวัตน์ การรู้เท่าทันโลกทำให้ท่านรู้จักปรับคำสอนให้ทันสมัย ตอบโจทย์สำหรับคนในยุคเดียวกันได้

ผลจากการปรับตัวก็คือ ชาวตะวันตกหันมาสนใจในพระพุทธศาสนาที่ท่านเหล่านั้นเผยแผ่ ส่วนในเมืองไทยของเรานั้นยังมีการปรับตัวไม่มากนัก มีอยู่บ้างก็แทบนับเป็นรายรูปรายบุคคลได้ นั่นเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาในเมืองไทยถูกท้าทายหนักขึ้นจากคนรุ่นใหม่ และเมื่อไม่ตอบรับต่อการถูกท้าทาย ก็ทำให้ถูกลดบทบาทในทางสังคมมากลงไปทุกที

5. กำแพงแห่งภาษา หมายถึงการขาดทักษะในการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารภาษาธรรม ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวนไม่น้อยยังคงใช้ “อารามิกโวหาร” (ภาษาวัด) ในการเผยแผ่ ทั้งนี้จะโดยรู้ตัวหรือโดยมองว่าเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์ก็ตาม แต่ผลข้างเคียงจากการใช้อารามิกโวหารคือภาษาของชาววัดมากเกินไปได้ก่อให้เกิดกำแพงแห่งการสื่อสารขึ้น นั่นคือคนเทศน์กับคนฟังไม่เข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังสื่อสารอย่างถ่องแท้ เมื่อฟังกันไม่เข้่าใจ เมื่อคุยกันคนละเรื่อง (เดียวกัน) การสื่อสารจึงไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเสน่ห์ และนั่นคือสาเหตุของการขาดอรรถรสในการฟังเทศน์ฟังธรรม หรืออ่านหนังสือธรรมะไปโดยปริยาย

6. กำแพงแห่งมรรคผลนิพพาน หมายถึงการที่ผู้เผยแผ่เองไม่สามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานด้วยตนเองทั้งในระดับต้นท่ามกลาง และที่สุดด้วยตนเอง (เหมือนคนไม่เคยเดินทางด้วยตนเอง แต่สอนเรื่องวิธีการเดินทาง เหมือน
คนอ้วนแต่ไปโฆษณาขายยาลดความอ้วน) ดังนั้นจึงไม่สามารถสอนพุทธศาสนาเชิงลึกที่สามารถนำพาผู้ฟังและผู้ศึกษาให้บรรลุมรรคผลนิพพานเชิงประจักษ์ด้วยตัวเขาเอง ผลจากการนี้ก็คือ ทำให้ความเชื่อมั่นศรัทธาในพุทธศาสนาไม่แน่นแฟ้น คลอนแคลนหวั่นไหวง่าย และไม่อาจแก้ปัญหาชีวิตให้เขาได้จริง

ในทำนองกลับกัน หากผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนามีคุณสมบัติในข้อที่ 6 นี้ด้วยตนเอง ประสิทธิภาพในการเทศน์การสอนก็จะส่งผลตรงกันข้าม พระพุทธศาสนาก็จะมีชีวิตชีวา ดับทุกข์ได้จริงและปรากฏอย่างโดดเด่นเห็นชัดให้ผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติได้ลิ้มชิมรสธรรมด้วยตัวเขาเอง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ศรัทธาปสาทะอันแน่นแฟ้นก็จะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ

หากเราชาวพุทธหวังจะส่งต่อพระพุทธศาสนาให้ถึงมือคนรุ่นใหม่อย่างมีความหมาย เราคงต้องหันกลับมาวิพากษ์ตัวเองและร่วมกันแก้ข้อบกพร่องต่างๆ อย่างจริงใจ จากนั้นก็หันมาสร้างจุดแข็งร่วมกัน มีแต่วิธีนี้เท่านั้นที่พุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่จะมีชีวิตชีวาขึ้นมาจริงๆ

ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาควรอยู่กับการที่พระพุทธศาสนามีประโยชน์ต่อชาวโลกจริงๆ อย่างชนิดเห็นผลประจักษ์ได้ในชีวิตนี้ มากกว่าจะฝากความมั่นคงของพระพุทธศาสนาไว้กับการตรากฎหมาย (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่ง) เพียงอย่างเดียว

เรื่องและภาพ ว.วชิรเมธี

จาก http://www.secret-thai.com/article/dharma/4149/happiness-dhamma23122015/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิธีคิดเมื่อต้องอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ ว.วชิรเมธี
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 3 3866 กระทู้ล่าสุด 11 เมษายน 2553 20:13:32
โดย เงาฝัน
อยู่บ้านเรียนธรรมะกับพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 0 1847 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 10:06:50
โดย sometime
ว.วชิรเมธี ผู้เบิกบานในธรรมะ
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 2 3563 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2553 14:28:45
โดย เงาฝัน
วิธีอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ (ว.วชิรเมธี)
ธรรมะจากพระอาจารย์
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 2670 กระทู้ล่าสุด 15 มกราคม 2555 14:39:39
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ร้อยจดหมายพุทธทาส - สัญญา - ท่านว.วชิรเมธี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1208 กระทู้ล่าสุด 14 กรกฎาคม 2559 02:45:54
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.354 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 10:26:03